เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 05 มิถุนายน 2024, 20:14:37
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 [18] 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 ... 96 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 408311 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #340 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 21:49:48 »

จอบขยัน  เรียกชื่อกันอย่างนี้คงเป็นเพราะจับจอบนี้ไปทำงานได้นานไม่ค่อยเหนื่อย  เนื่องจากตัวจอบมีน้ำหนักเบา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคมทั้งด้านยาวและด้านกว้าง  เหมาะสำหรับใช้ถากหล้าพรวนดินตื้นๆในแปลงพืชผัก เพื่อจะเข้าที่แคบได้ก็หมุนสลับคมด้านยาวเป็นด้านกว้าง (ไม่พลาดโดนโคนพืชที่ปลูก)


* p1220207.jpg (114.73 KB, 600x450 - ดู 10568 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #341 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 21:51:45 »

จอบขุดที่แข็ง/แคบ  จะใช้แบบอีเตอร์ก็หนักไปและไม่ได้เน้นงานปูน  จึงต้องสร้างแปลงจอบนี้มาจากเหล็กแหนบรถ เหมาะดีสำหรับการขุดเซาะดินออกจากรากไม้ (ขุดล้มแล้ว)  ขุดดินปนหินที่แน่นแข็งมากๆ


* p1220208.jpg (117.65 KB, 600x450 - ดู 12210 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #342 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 21:52:37 »

จอบถาก/สับหญ้าชายคันนา    ดัดแปลงทำให้คมหน้ากว้างมากด้วยการเชื่อมต่อแต่ละครึ่งของจอบผาลจานเข้ากันจอบถาก  ใช้สับหญ้าชายคันนาได้อย่างรวดเร็ว  ใช้สับดินที่ดอนแล้วเหวี่ยงโยนให้กระจายก็ดี


* p1220209.jpg (113.32 KB, 600x450 - ดู 9454 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #343 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 21:53:37 »

คทาหน้ายาว  แปลงมาจากจอบที่สึกจนสั้นใช้งานไม่ค่อยดีแล้ว โดยติดแผ่นไม้เข้าไปดังรูปคล้ายตัว T ใช้ดันหรือลากข้าวเปลือกที่ตากลานให้รวมเป็นกอง   และใช้ดันลูบปรับเทือกในนาที่ดอนเป็นหย่อมๆให้ราบเรียบ


* p1220210.jpg (109.76 KB, 580x369 - ดู 5744 ครั้ง.)

* p1240329.jpg (115.7 KB, 600x441 - ดู 5444 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #344 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 21:55:10 »

จอบถากที่ตัดตัวจอบด้านข้างให้เหลือคล้ายเป็นรูปสามเหลี่ยมโดยคงด้านคมให้คงเดิม,จอบที่ตัดแปลงมาจากผาลจาน  ถ้าจอบไม่หนาเกินไปจะเหมาะมากในการถากพรวนในแปลงที่ปลูกตันไม้ที่ค่อนข้างหนาแน่น  คือจะเซาะได้ชิดโคนต้น และตอนที่เหวี่ยงง้างจอบจะลดการสะบัดกระทบกับกิ่งก้านใบต้นไม้ที่ปลูกอยู่
  จอบง่าม   มีทั้งแบบ 3 ง่าม 2 ง่าม(...ไม่ใช่สองง่ามสามแง่นะ) ใช้สับกลับกอง สับโกยปุ๋ยหมัก  ถ้าเป็นชนิด 2 ง่าม นิยมใช้ขุดมันเทศ ช่วยลดปัญหาหัวมันถูกสับเสียหาย

ข้อควรระวังในการใช้งานจอบ เนื่องจากจอบมีด้ามยาว  ถ้าจับเหลือปลายด้ามยื่นมากต้องไม่ให้ไปโดนคนอื่นที่ทำงานใกล้กัน  บริเวณที่แคบ หรือมีกิ่งไม้,เถาวัลย์,วัสดุกีดขวางไปเกี่ยวกระทบด้ามหรือตัวจอบ อาจเกิดจังหวะการทำงานที่ผิดพลาด ทำใหตัวเราได้รับบาดเจ็บ ควรใส่รองเท้าหุ้มส้นขณะใช้จอบ จะช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้


* p1250241.jpg (116.12 KB, 600x429 - ดู 8223 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #345 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 21:57:14 »

1.คราดเล็ก(ผลิตเองตามความต้องการใช้งาน) มีระยะระหว่างซี่ไม่ห่างมากนัก เหมาะกับการดึงสางหญ้าที่เลื้อยทอดลงไปในนา(หลังจากการใช้เครื่องตัดหญ้าชายคันนาแล้ว) ไม่ต้องลงนาดึงสางด้วยมือโดยตรง
  2.คราดเหล็กลวด มีน้ำหนักเบา เหมาะกับการครูดสางหญ้าแห้งที่ถูกตัดแล้ว  เก็บรวมกองใบไม้ หรือหญ้าสดในนาหลังการตีเทือกแล้วรากขาดลอยแพถูกลมพัดไปรวมกัน
  3.คราดใหญ่(ทำเสริมเพิ่มซี่ขาให้มากขึ้น) เหมาะกับการใช้ครูดดึงหญ้าที่ค่อนข้างยาวให้รวมกอง เกลี่ยตากข้าวเปลือก สางให้ฟางลอย สับโกยปุ๋ยหมัก แกลบ ใส่เข่ง  คุ้ยแผ่เพื่อใช้น้ำดับกองที่เผาแกลบ,ถ่าน
  4.เสียมพลั่ว  คนสมัยก่อนใช้เสียมพลั่วขุดคู ขุดบ่อ เป็นเรื่องปกติ  การใช้ก็จับด้ามกดแทงดินที่อ่อนนุ่ม งัดให้ดินติดแล้วเหวี่ยงออกไปได้ไกลตามกำลัง  ยังใช้ขุดหลุม ลอกดินร่องน้ำ  แทงอัดดินคันนาเพื่ออุดน้ำรั่ว
  5.เสียมแหนบ (ทำจากเหล็กแหนบรถ) ใช้เป็นเสียมขุดดินแข็งขุดหลุมเสา  ขุดแยกหน่อกล้วย กอข่า เหง้ากอไผ่ ได้ดีมาก  ใช้เป็นเหมือนขวาน กระแทกตัดรากต้นไม้ที่ต้องการโค่นหรือขุดไปเจอ  ใช้เเป็นเหมือนชะแลง  งัดไม้กระดานให้หลุดจากที่ตอกตะปูไว้  ปลายด้ามยังใช้กระทุ้งได้อีก 


* p1250253.jpg (118.1 KB, 600x450 - ดู 6217 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #346 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 22:01:54 »

เรื่อย ๆ นะครับเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจได้ใช้  ต้องขอบคุณ คุณ titcan  จากเว็ป www.kasetporpeang.com  ครับ

1,2 มีดขอเคียว  ลักษณะโค้งงอเล็กน้อย  มีฟันคมเหมือนเคียวเกี่ยวข้าว ต่อใส่ด้ามยาวเพื่อถนัดในการเกี่ยวดึง หรือหวด เช่นตัดดึงสางเถาหญ้าที่เลื้อยพัน  เกี่ยวแยกข้าวปนในนา เกี่ยวดึงเฉือนรากกอหญ้า(ชิดติดดิน)ซึ่งถอนขึ้นยาก ตัดต้น/ฝักข้าวโพด
3 มีดดาบ  ใช้ฟาดฟันลุยป่าหญ้าพงเถาวัลย์ปรก หรือบึงหนองน้ำที่มีหญ้าสวะรกหนาแน่น (การใช้มีดฟันในน้ำต้องระวังมาก มันจะแฉลบ บังคับทิศทางได้ยาก)
4.มีดปลายตัด  ใช้ลุยสวน ตัดแต่งกิ่ง ทรงพุ่ม ตัดกิ่งกาฝาก ทำงานได้ทั้งวันไม่ทันเมื่อย
5.มีดปลายตัด เบอร์ห้า  เหล็กหนากว่าค่อนข้างหนัก  ใช้ตัดทอนท่อนไม้ ตัดกิ่งใหญ่ๆ  ตัด/ผ่าฟืน
6.มีดโต้  อาวุธประจำกายของแก้วหน้าม้า    เหมาะกับการใช้สับงัด เช่นปอกเปลือกมะพร้าว  สับฟาก  ผ่าลำไม้ไผ่ (แล้วใช้ค้อนไม้ตอกทุบสันมีดเพื่อให้ผ่าได้ตลอดความยาว)
7.มีดเหน็บ  ลักษณะของส่วนคมมีดท้องป่อง ปลายแหลม  ถ้าจะให้สมบูรณ์ครบ ก็ต้องมีฝักมีดไว้สอดเก็บตัวมีดด้วย เพื่อความปลอดภัยในการพกพา นี่คงเป็นที่มาของชื่อมีดเหน็บ  ซึ่งเขาจะเหน็บไว้ที่เอว


* p1250242.jpg (115.93 KB, 600x456 - ดู 10756 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #347 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 22:04:14 »

รองเท้าที่เข้ากันกับงานเกษตร

ตัวอย่างอุบัติภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจาก
แก้วแตก หินบิ่น หนามแหลม เปลือกหอย เศษโลหะ มาทิ่มตำ มด แมลง สัตว์รำคาญ สัตว์มีพิษ น้ำเน่า โรคฉี่หนู เล็บขบ ฯลฯ
ไม่ประมาท ปลอดภัยไว้ก่อน ป้องกันได้ เมื่อจะก้าวเท้าเดินลงไปทำสวนไร่นา
ใส่รองเท้าที่หุ้มยาวถึงข้อเข่า  เลือกแบบพื้นรองเท้าที่เป็นยางแข็ง (1,2จากทางขวา)มีร่องหยักเพื่อการเกาะยืดที่ดี กันเลื่อนไถล
เหมาะที่จะใส่ลุยบนพื้นที่แห้ง ไม่มีน้ำขังเป็นโคลนตม เพราะถ้าพื้นที่ย่ำไปเป็นหล่มจะดูดดึงรองเท้าก้าวขาไม่ออก หรือรองเท้าจมถูกโคลนดูดไม่ติดมากับเท้า
รองเท้าที่ตัดเย็บด้วยผ้าควรเลือกที่เข้ารูปกับเท้าเรา เพื่อใส่ได้เป็นเวลานานๆไม่บีบฝืนขืนให้เจ็บบวม
รองเท้าบู้ทที่มีเนื้อยางค่อนข้างหนา ใช้ใส่ตัดหญ้าช่วยบรรเทาแรงกระทบจากเศษดิน หิน ไม้ ที่กระเด็นมาโดน
ถ้าจะใส่ลุยลงน้ำ เช่นในนาที่เป็นเทือก  เลือกแบบพื้นที่เป็นยางนิ่ม(1,2จากซ้าย) เพราะจะเดินถอนก้าวขาได้ง่ายเหมือเท้าเปล่า
ทั้งสองแบบนี้ปกติจะกันน้ำได้  แบบ 1 สีส้มที่ผมนิยมใช้ เมดอินไทยแลนด์ เนื้อยางยืดหยุ่นได้มาก ถอดง่ายใส่สะดวก  ใช้เสร็จต้องล้างเก็บผึ่งในที่ร่มไม่ให้โดนแดดนานานๆ เพราะจะเปื่อยเร็ว
การสวมใส่รองเท้าเหล่านี้ มักมีเหงื่อออกมาแฉะชื้นเป็นที่น่ารำคาญ
จึงควรสวมถุงเท้าไปก่อนอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะช่วยซับและระเหยเหงื่อที่ออกมาได้บ้าง


* p1250288.jpg (112.96 KB, 600x347 - ดู 7005 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #348 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 22:23:10 »

เครื่องบดตีดินป่นสำหรับเพาะกล้านาโยน
ของคุณทิดแคน เกษตรพอเพียงดอทคอม

เครื่องนี้...เดิมไปจ้างช่างเหล็กแถวบ้านทำเขาคิดราคาเฉพาะค่าแรง...พันห้า  แต่ลองใช้งานแล้วมีปัญหาไม่ลงตัวคือ...ช่องใส่ดินลงเจาะตรงกลางดินกระเด็นมากมาย รูตะแกรงช่องดินออกแคบไป ติดขัดขึ้นมาแล้ว...แกะยาก...เสียเวลานาน   ฝุ่นดินเข้ายัดในตลับลูกปืน...ฝืดและแตกเร็ว หัวเพลาเครื่องตีและมอเตอร์ต่อชนกันหมิ่นเหม่ไม่ลึกพอ จึงต้องมารื้อแก้ไขทำใหม่หมด

ตัวเครื่องเป็นเหล็กท่อทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 22 cm ยาว 20.5 cm หนา 0.4 cm
   เจาะช่องใส่ดิน 7cmx15cm ที่ตำแหน่งระหว่างแนวกลางกับข้างท่อเหล็ก ด้านที่ใบตีหมุนลง และมีคอสูง 10 cm ป้องกันดินกระเด็นออก แล้วเสริมต่อเป็นกระบะรับดินให้กว้างใหญ่ขึ้นตามต้องการ
   ช่องดินออกขนาด 18cmx18cm  เชื่อมติดแบบบานพับปิดเิปิดได้ด้วยเหล็กตะแกรงขนาดรู 0.5cm  ทำกว้างกว่าช่อง โค้งให้เข้ารูป เมื่อปิดแล้วล็อกแน่นได้ด้วยน้อต
   แกนเพลาเหล็กผ่านศูนย์กลางขนาด 1.25 นิ้ว ยาว 36 cm กลึงหัวท้ายให้เหลือ 1 นิ้วเพื่อใส่ตลับลูกปืนรูปโอเมก้าทางด้านที่ชนกับมอเตอร์  และใส่ตลับลูกปืนรูปสี่เหลี่ยมอีกข้าง ซึ่งยึดติดกับฝาเหล็กแผ่นกลมที่ออกแบบให้ถอดเข้าออกได้ เหลือความยาวเพลาส่วนกลางประมาณ 20 cm เชื่อมเหล็กแผ่นมีรู 4 หุน ขนาดเท่าใบตี แต่สั้นกว่า เข้ากับแกนเพลาส่วนนี้ 3 ตำแหน่ง แนวรูทั้งสามเป็นแนวเส้นตรงเดียวกัน โดยให้จุดศูนย์กลางรูห่างผิวเพลาประมาณ 2 cm  เชื่อมเหล็กแบบนี้อีกแนวให้อยู่ตรงข้ามกัน
   ฝาเหล็กแผ่นแบนกลมดังกล่าวนี้ใช้ 2 แผ่น อีกแผ่นขนาดผ่านศูนย์กลางน้อยกว่าคือเท่ากับท่อพอดี เชื่อมปิดติดตายตัวกับท่อเหล็กอีกข้าง ทั้งนี้ต้องเจาะรูขนาดโตกว่า 1 นิ้วเล็กน้อยที่จุดกึ่งกลางของแผ่นทั้งสองไว้ก่อนแล้ว
ใบตี จำนวน 18 ใบ ตัดส่วนมาจากใบมีดเก่าของรถพรวนดินซึ่งเป็นเหล็กแข็งมาก มีรูขนาด 4 หุนอยู่แล้ว...ไม่ต้องเจาะ ความยาวประมาณ 7 cm  นำไปเสียบร้อยกับเหล็กแท่งกลม 4 หุน และสอดร้อยร่วมกับเหล็กรู 4 หุนที่เชื่อมติดกับเพลาดังกล่าว ข้างละ 9 ใบ
   การติดตั้งใบตีนี้เป็นลักษณะแฮมเมอร์ ควรจะต้องมีเหล็กวงแหวนคั่นระหว่างใบและให้สลับตำแหน่งใบที่อยู่ตรงข้ามไม่ให้ตรงกัน
มอเตอร์ที่ใช้ขนาด 1.5 แรง ไม่ใช้สายพาน แต่ส่งกำลังด้วยข้อต่อยอย ซึ่งต้องติดตั้งให้แนวเพลาของมอเตอร์และเพลาของเครื่องตีฯตรงแนวกันแป๊ะ
  ขาตั้งเป็นเหล็กฉาก 1.25 นิ้วอย่างหนา ทำให้ขาถ่างเพื่อมั่นคงไม่ล้มง่าย
  ขณะใช้งาน เปิดปากกระสอบรองรับได้พอดี โดยมีแม่เหล็ก(แกะจากฮาร์ดิสก์) ประกบตรึงดึงไว้
  ดินที่จะใส่นั้น ควรต้องย่อยซอยให้ก้อนเล็กกว่าช่องลง ด้วยรถพรวนดินเล็ก หรือใช้จอบสับ ตากแห้งสนิท ชนิดที่มีฝุ่นขณะทำงาน ไม่อย่างนั้น ดินจะร่วงลงไม่ดีมีอาการติดขัด ต้องหยุดเปิดแผ่นตะแกรงแคะกันบ่อย
  ดินที่หาโกยเก็บมาเป็นก้อนใหญ่ อาจนำมาตากบนลานที่พื้นแข็งเช่นลานปูน แล้วใช้รถอีแต๋น/กระบะย่ำเดินหน้า-ถอยหลังให้แตกย่อย ปล่อยให้แห้งก็ได้ แล้วจึงโกยตักมาเทใส่เครื่องฯ
  ดินก้อนโตหน่อยอาจไม่ค่อยลง จึงต้องมีแท่งเหล็กคอยเขี่ยบ้าง แต่ระวังอย่าแหย่ลึกไปโดนใบตี
  อัตราการทำงานได้ดินป่นประมาณชั่วโมงละ 1 ตันเพิ่มเติมเสริมความคิด

  ใช้แผ่นเหล็กรูตะแกรงแบบที่ใช้ร่อนทำความสะอาดข้าวเปลือก มาสร้างเป็นตะแกรงโยกร่อนดินที่ตักโกยมาจากที่พรวนย่อยแล้วก็ได้ดินป่นอีกวิธีหนึ่ง ใช้มอเตอร์ 0.5 แรง
  แยกใช้หัวโม่ป่นของเครื่องสีข้าวจีน ให้อัตรารอบน้อยลง เปลี่ยนตะแกรงเป็นขนาดรู 0.5 cm มอเตอร์ 1 แรง ทำดินป่นได้อีกเหมือนกัน
  ถังในของเครื่องซักผ้าเก่าแบบนี้ ซื้อมาจากร้านรับซื้อของเก่า ก็น่าจะนำมาดัดแปลงติดมอเตอร์ให้หมุนกลิ้งแนวนอน ร่อนดินได้ เพราะมีรูอยู่แล้วโดยรอบ ขนาด 0.5 cm พอดีด้วย


* pn1270357.jpg (117.66 KB, 640x481 - ดู 6459 ครั้ง.)

* pn1270354.jpg (123.45 KB, 640x481 - ดู 5307 ครั้ง.)

* pn1270353.jpg (118.42 KB, 640x480 - ดู 5030 ครั้ง.)

* pn1270345.jpg (121.07 KB, 640x481 - ดู 6981 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #349 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 22:53:04 »

ตอนเย็นวันนี้ไปดูนาข้าว  ตอนนี้นับจากหว่านข้าวมีอายุได้ 13 วันแล้วครับ  จ้างเค้ามาพ่นยาคุมหญ้าครับ ช่วงนี้เป็นช่วงไม่ปลอดภัยหากไปนา ซึ่งควรมีผ้าปิดจมูกหรือสวมแว่นตาไปด้วยเพราะยาคุมหญ้าบางยี่ห้อมีพิษต่อการหายใจ และระคายเคืองตา ไม่ควรนำเด็กเล็ก ๆ ไปนาด้วยครับ ทำนาหว่านหลีกเลี่ยงได้ยากหากไม่มีการคุมหญ้า  ช่วงที่เริ่มปลอดภัยคือประมาณข้าวมีอายุได้ 1 เดือนครึ่งเป็นต้นไปเพราะชาวนาจะไม่ค่อยมีการใช้สารเคมีกันนอกจากยาฆ่าแมลงที่ใช้พ่นกำจัดหนอนกอข้าว


* IMG_8281.JPG (118.54 KB, 800x600 - ดู 4797 ครั้ง.)

* IMG_8286.JPG (40.62 KB, 800x600 - ดู 4784 ครั้ง.)

* IMG_8287.JPG (65.47 KB, 800x600 - ดู 5017 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #350 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 22:59:20 »

นาแปลงคนอื่นที่ติดกันที่เสียหายจากฝนตกเมื่อวันก่อน ทำนาหว่านเหมือนกับผมครับ หากระบายน้ำช้า ไม่กำจัดหอยก็จะเสียหายมาก ๆ ผมใช้กากชาซึ่งปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ นาแปลงติดกันใช้ยาฆ่าแมลงชนิดน้ำกำจัดหอย ก็ลำบากใจเหมือนกันที่ทำนาติดกันเพราะมีกลิ่นเหม็นมาก ๆ หากเค้ามาพ่นเราก็ไม่สามารถอยู่ในแปลงนาเราได้เพราะลมจะพัดเอากลิ่นและละอองมาซึ่งก็เป็นอันตรายกับเราด้วย บางคนแพ้อาจเวียนหัวอาเจียนได้ครับ


* IMG_8291.JPG (74.38 KB, 800x600 - ดู 4723 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #351 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 23:07:21 »

นาโยนแปลงที่อยู่ใกล้ๆ ครับ  เสียหายเหมือนกัน เมื่อสังเกตุดี ๆ จะรู้ว่าการโยนกล้าจะต้องพยายามโยนให้สูง เพื่อให้ข้าวพุ่งปักลงดินจึงจะดีที่สุด ถ้าพุ่งไม่ปักลงดินรากต้นข้าวจะใช้เวลานานในการยึดติดพื้นดิน หากมีฝนตกลงมาจะไปละลายดินที่เกาะที่ราก หากฝนตกมาก ๆ ข้าวก็จะลอยไหลไปกับทางระบายน้ำได้  และจะต้องมีการกำจัดหอยเชอรี่ด้วยครับ 


* IMG_8294.JPG (71.63 KB, 800x600 - ดู 4727 ครั้ง.)

* IMG_8296.JPG (95.34 KB, 800x600 - ดู 4719 ครั้ง.)

* IMG_8297.JPG (82.38 KB, 800x600 - ดู 4688 ครั้ง.)

* IMG_8300.JPG (56.08 KB, 800x600 - ดู 4824 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #352 เมื่อ: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2013, 11:28:47 »

ตามมาอ่าน ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #353 เมื่อ: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2013, 22:14:16 »

ช่วงนี้มีฝนตกครับ กรมอุตุประกาศว่าจะมีฝนในช่วงวันที่ 2-4 ก.พ. ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่สำหรับคนที่ข้าวยังต้นเล็ก ๆ ต้องดูเรื่องน้ำและหอยเชอรี่ด้วยครับ หรือหากกำลังจะหว่านหรือโยนข้าวอาจต้องหลีกเลี่ยงในช่วงนี้ครับ  วันนี้แถวบ้านฝนตกหนักเลยต้องไประบายน้ำออกเพราะไม่อยากให้มีน้ำมากเพราะต้นข้าวยังเล็กอาจเสียหายจากหอยเชอรี่ได้

รูปนาข้าววันนี้หลังจากฝนตกครับ


* IMG_8309.JPG (37.49 KB, 700x525 - ดู 4663 ครั้ง.)

* IMG_8317.JPG (57.33 KB, 700x525 - ดู 4661 ครั้ง.)

* IMG_8321.JPG (57.99 KB, 700x525 - ดู 4639 ครั้ง.)

* IMG_8369.JPG (31.28 KB, 700x525 - ดู 4682 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #354 เมื่อ: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2013, 22:25:47 »

ในนาผมแม้ว่าใส่กากชาแล้วก็อาจมีหอยเชอรี่เหลือรอดบางทีก็ข้ามมาจากแปลงนาข้างเคียงของคนอื่น  หากระดับน้ำสูงหอยเชอรี่จะเริ่มกินจากยอดลงทำให้กินได้ไวมากขึ้นและน้ำหนักของตัวหอยเชอรี่อาจทำให้ต้นข้าวหักด้วย  หากระดับน้ำมีไม่มากหอยไม่สามารถกินจากยอดต้นข้าวได้ซึ่งเป็นใบที่อ่อนกินง่าย ก็จะเห็นแบบนี้แหล่ะครับพยายามจะกินทั้งต้นแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลยเพราะลำต้นจะแข็งกว่าใบการกินก็กินได้ช้าการเสียหายก็น้อยกว่าระดับน้ำมาก แต่ถ้าน้ำแห้งเลยหญ้าก็ขึ้นได้ช่วงนี้ หากสามารถควบคุมน้ำได้ก็อาจหลอกล่อโดยการไขน้ำเข้าและปล่อยน้ำออกให้หน้าดินไม่แห้งหญ้าจะได้ไม่ขึ้นครับ  แต่หากน้ำในนามีมากระบายออกไม่ได้ก็จะต้องใช้กากชากำจัด  ตรงกันข้ามหากระดับน้ำมีน้อยหรือไม่มีเลยอาจใช้อาหารกำจัดหอยจัดการได้ อีกวิธีในกรณีที่พบไม่มากก็อาจจะเก็บหรือทำสวิงผูกกับไม้ยาว ๆ ซัก 2-3 เมตรตักหอยก็ได้ครับ


* DSCN1307.JPG (71.25 KB, 700x525 - ดู 4636 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #355 เมื่อ: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2013, 22:47:39 »

วันนี้คนแถวบ้านเอาชารางจืดมาให้ดื่มครับ เอามาจากโรงพยาบาล  หากใครเสี่ยงต่อสารพิษก็แนะนำให้ดื่มเพราะเค้ามีการทดสอบจากกระทรวงสาธารณะสุขแล้วสามารถลดสารพิษตกค้างในร่างกายได้ครับ

รางจืด ซึ่งจัดว่าเป็นราชาของยาแก้พิษ...เป็นสมุนไพรชนิดเดียวที่มีการใช้แก้พิษในอดีตและมีข้อมูลการวิจัยสนับสนุน

รางจืด...ล้างพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

     ด้วยกระแสของการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร ที่เกษตรกรต้องใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีจำนวนมากในการผลิต จากการสำรวจตัวอย่างเลือดของเกษตรกรของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีสารเคมีในกระแสเลือดอยู่มากว่าร้อยละ ๕๑ เพราะฉะนั้นจากเกษตรกร ๑๔.๑ ล้านคนจะพบ ๗ ล้านกว่าคนมีสารพิษฆ่าแมลงทั้งชนิดออร์กาโนฟอสเฟต (organophospjate) คาร์บาเมต (carbamate)  และอาการที่เกิดขึ้นคือ วิงเวียนศีรษะ อาเจียน ปวดเมื่อย และระบบสมองเสื่อมเร็ว รวมไปถึงการพัฒนาสู่การเป็นมะเร็ง ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้นับว่าเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขเลือกสมุนไพรรางจืด มาทำการรณรงค์เพื่อใช้ล้างพิษในกระแสเลือดให้เกษตรกร ซึ่งรางจืดเป็นสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยทั้งในห้องทดลองและการศึกษาในคน มากกว่า ๓๐ ปีแล้ว

     โดยการศึกษาทางเภสัชวิทยาของรางจืดครั้งแรกเริ่มจากแพทย์หญิงพาณี เตชะเสน คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รางจืด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Thumbergia laurifolia Lindl

วงศ์  Acanthaceae

ชื่อสามัญ  Laurel clockvine, blue trumphet vine

ชื่อ อื่นๆ รางจืดมีมากมาย เช่น รางจืด รางเอางย็น ว่านรางจืด เถา ยาเขียว เครือเถาเขียว กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง (ภาคกลาง) ย้ำแย้ (อุตรดิตถ์)  ฮางจืด ฮางเย็น เครือเข้าเย็น หนามแน่ (ภาคเหนือ) คาย (ยะลา) และดุเหว่า (ปัตตานี) เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Thumbergia laurifolia Lindl.

ลักษณะ พิช รางจืดเป็นไม้เถาสามารถเลื้อยไปตามพื้นดินหรือพาดพันขึ้นคลุมต้นไม้ใหญ่ๆ ได้ทั้งต้น เถามีลักษณะกลม สีเขียว เมื่อเถาแก่เป็นสีน้ำตาลมากขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้มออกเป็นคู่ตรงข้ามตรงข้อของลำต้น ใบมีลักษณะคล้ายใบย่านางรูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง ๔-๗ เซนติเมตร (ซม.) ยาว ๘-๑๕ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนเว้าหรือหยักรูปหัวใจ ขอบใบเรียบหรือหยักตื้น เส้นใบมี ๕ เส้น ออกฐานใบเดียวกัน

ดอกช่อ ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อละ ๓-๔  ดอก กลีบดอกแผ่ออกเป็นรูปแตร ปลายแยกเป็น ๕ แฉก โคนดอกเป็นหลอดกรวยยาวราว ๑ เซนติเมตร มักมีน้ำหวานบรรจุอยู่ในหลอด สีม่วงแกมน้ำเงิน ผลเป็นผลแห้งแล้วแตก ๒ ซึก จากจะงอยส่วนบน มักมีดอกในฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายน-กุมพาพันธ์) ดอกที่โรยแล้วบางดอกอาจติดผล เมื่อแก่เปลือก ผลเป็นสีน้ำตาล แตกออกเป็น ๒ ซึก เมล็ดมีสีน้ำตาลมีปุ่มเล็กๆ คล้ายหนามอยู่บนเปลือกเมล็ด และสามารถนำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อไปได้ แต่การขยายพันธุ์รางจืดส่วนใหญ่นิยมนำเถาแก่หรือใบมาปักชำมากกว่า

การกระจายพันธุ์ รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศแถบอินเดีย อินโดจีน ศรีลังกา พม่า ไทย มาเลเซีย อินโนดีเซีย ฟิลิปปินส์ มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน และไตหวัน

การขยายพันธุ์  นิยมใช้เถาในการปักชำ ในการชำเถา วิธีที่ดีที่สุดคือเลือกข้อแก่ๆ ของรางจืดที่ใบติดอยู่สอบใบมา ๑ ข้อ เด็ดใบออก ๑ ใบ นำไปชำในทรายหรือแกลบที่ไม่มีดิน รดน้ำให้ชุ่มจนรากงอก จากนั้นนำไปลงถุงเพาะชำ หรือเลือกเถาแก่มาตัดเป็นท่อน ยาวประมาณ ๖-๘ นิ้ว ให้มีตาติดอยู่ ๒-๓ ตา ถ้าชำเถาในฤดูฝนจะออกรากเร็วกว่า

สาร พิษฆ่าแมลง ทั้งชนิดออร์กาโนฟอสเฟส (organophostpate)   คาร์บาเมต (carbamate) และอาการที่เกิดขึ้น คือ วิงเวียนศรีษะ อาเจียน ปวดเมื่อย และระบบสมองเสื่อมเร็ว รวมไปถึงการพัฒนาสู่การเป็นมะเร็ง ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้นับว่าเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขเลือกสมุนไพรรางจืด มาทำการรณรงค์เพื่อใช้ล้างพิษในกระแสเลือดให้เกษตรกร ซึ่งรางจืดเป็นสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยทั้งในห้องทดลองและการศึกษาในคน มากกว่า ๓๐ ปีแล้ว

โดยการศึกษาทางเภสัชวิทยาของรางจืดครั้งแรกเริ่มจากแพทย์หญิงพาณี เตชะเสน คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่ารางจืดสามารถช่วยชีวิตแมวของท่านที่ถูกวางยาพิษได้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ทำการศึกษาวิจัยรางจืดในการแก้พิษสารกำจัดศัตรูพืช ตั้งแต่ พ.ศ ๒๕๒๒-๒๕๒๓ โดยเริ่มจากสารกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (เช่น โฟลิดอล พาราไทออน)

ต่อมามีการศึกษาพบว่ารางจืดยังสามารถลดพิษของสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มคาร์บอเนต เช่น เมโทรมิล เป็นต้น

จากการศึกษาวิจัยการต้านฤทธิ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของรางจืดนั้นอาจเกิดจากหลายกลไก เช่น

สารสกัด รางจืดทำให้ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสเพิ่มขึ้น หรือลดการยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส ว ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้ทำหน้าที่ทำลายโคลีนที่เป็นสาร สื่อประสาท ที่ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ สารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอตเฟตและคาร์บาเมต จะไปทำลายเอนไซม์ตัวนี้ และเกิดการสะสมของโคลีนทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง นำสู่อาการชัก จากการศึกษาพบว่ารางจืดไปเพิ่มปริมาณของเอนไซม์ดังกล่าว

รางจืด...แก้พิษจากยาฆ่าหญ้า

ยา ฆ่าหญ้าจำพวกพาราควอต นับเป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงต่อร่างกายมนุษย์มากที่สุดชนิดหนึ่งเนื่องจาก ในขนาดกินประมาณ ๑ ช้อนโต๊ะ ก็สามารถทำให้คนตายได้ โดยสารตัวนี้จะไปทำให้เกิดการสร้างออกซิเจนที่ไม่เสถึยรขึ้นอย่างมาก ออกซิเจนเหล่านี้จะไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์เกิดการออกซิเดชันของไขมันที่อยู่ บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์และทำให้เซลล์ตาย พิษของพาราควอตจะเห็นชัดที่สุดในปอดเพราะปอดเป็นบริเวณที่มีออกซิเจรมากที่ สุด ซึ่งพาราควอตจะทำให้เนื้อเยื้อปอดถูกทำลายจนไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ จนเสียชีวิตในที่สุด

จากรายงานผู้ป่วยของโรงพยาบาล เจ้าพระ-ยา ยมราช จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บตัวอย่างเป็นเวลา ๓ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๕ มีผู้ป่วยที่กินพาราควอตมาที่โรงพยาบาล ๖๔ ราย พบว่ามีผู้ป่วยรอดชีวิต ๓๓ ราย เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังกับการรักษาในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๒ มีผู้ป่วยที่กินพาราควอต ๑๑ รายพบว่าเสียชีวิตทุกราย ซึ่งตัวเลขของโรงพยาบาลศิริราชที่มีการรักษาพิษพาราควอตเช่นเดียวกัน มีอัตราการตายประมาณร้อยละ ๘๐  แต่การรักษาพิษพาราควอตนั้นไม่ได้ให้แต่รางจืดอย่างเดียว แต่จะมีการทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาก่อนแล้วล้างท้องด้วยฟูลเลอร์สเอิร์ท (Fuller's earth) และทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะออกมามากๆ ให้แอนติออกซิแดนซ์หรือสารต้านอนุมูลอิสระ โดยการให้วิตามินซีปริมาณสูงๆ และสตีรอยด์ รวมทั้งการรักษาแบบประคับประคองอื่นๆ ให้ยาต้มรางจืด วิธีเตรียมคือนำใบแห้งหนัก ๓๐๐ กรัม ใส่ในน้ำสะอาด ๑ ลิตร ต้มในหมอดินโดยใช้ไฟกลางเดือนนาน ๑๕ นาที ทิ้งไว้ให้เย็น ให้ผู้ป่วยดื่มหรือให้ทาง NG tube ครั้งละ ๒๐๐ มิลลิลิตร ทุก ๒ ชั่วโมง ตลอดเวลาที่อยู่โรงพยาบาลแม้ว่ารายงานนี้ไม่ถือเป็นงานวิจัยแต่เป็นข้อมูล ที่มีประโยชน์มาก

พ.ศ. ๒๕๔๓ มีรายงานการศึกษาสัตว์ทดลองเกี่ยวกับการต้านพิษพาราควอตของสารสกัดด้วยน้ำ ของใบรางจืด พบว่าสามารถทำให้อัตราการตายของหนูทดลองลดลง รวมทั้งพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดรางจืดมีระดับพลาสม่า malondialdehyde (MDA) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แสดงว่าสารสกัดใบรางจืดมีฤทธิ์ยับยั้ง lipid peroxidation และฤทธิ์นี้เป็นกลไกการออกฤทธิ์ต้านพิษพาราควอตกลไกหนึ่งของรางจืด รวมทั้งรางจืดยังไปเพิ่มกิจกรรมของเอนไซม์ที่เรียกว่า NADPH quinineoxidonnereductase เป็นเอนไซม์ที่ย่อยสลายสารที่เรา ได้รับเข้าไปในร่างกาย

รางจืด...แก้พิษจากสัตว์ที่เป็นพิษและพืชพิษ

ใช้ แก้พิษแมงดาทะเลเป็นอีกหนึ่งรายงานของการใช้รางจืดแก้พิษ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีครอบครัวหนึ่ง ๔ คนที่กินไข่แมงดาทะเล ๒ ราย มีอาการรุนแรงจนหมดสติต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งสารพิษที่อยู่ในแมงดาทะเล คือ เทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) สารนี้จะพบในแมงดาทะเลและปลาปักเป้า ซึ่งมีพิษทำให้ผู้ป่วยอาจถึงตายได้

ความ รุนแรงของอาการพิษที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับปริมาณไข่แมงดาทะเลที่ได้รับ เริ่มแสดงอาการตั้งแต่ ๔๐ นาทีถึง ๔ ชั่วโมง ทุกรายมีอาการชารอบปาก คลื่นไส้ อาเจียน อาการชาจะลามไปยังกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ที่เป็นอันตรายคือทำให้หายใจไม่ได้ อาการรุนแรง หมดสติ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ วิธีการรักษาปัจจุบันไม่มีวิธีเฉพาะ ไม่มีสารแก้พิษโดยเฉพาะ ต้องรักษาแบบประคับประคองจนผู้ป่วยขับเอาสารนี้ออกจากร่างกายให้หมดแพทย์ผู้ รักษาใช้รางจืดจากการร้องขอของญาติ เมื่อกรอกใส่สายยางลงไป ๔๐ นาที อาการดีขึ้น ซึ่งแพทย์ผู้รักษารู้สึกประทับใจกับรางจืดมากและบอกว่าจังหวัดที่อยู่ชาย ทะเลปีหนึ่งจะมีคนตายจากพิษแมงดาทะเลหรือปลาปักเป้าทุกปี ถ้าทุกโรงพยาบาลสามารถปลูกต้นนี้และใช้กับผู้ป่วยของตัวเองจะช่วยให้ไม่มี ผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

รางจืด...สู้กับมลภาวะ ออกฤทธิ์ต้านพิษของตะกั่วต่อสมอง

 ตะกั่ว เป็นมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ คนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ที่มีรถติด มีโอกาสได้รับสารตะกั่วสูงกว่าคนทั่วไป พิษตะกั่วต่อร่างกายมี อยู่หลายระบบ ที่สำคัญคือสมอง เนื่องจากตะกั่วจะไปสะสมอยู่ในสมองส่วนฮิปโพแคมพัสซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยว ข้องกับการเรียนรู้และความจำ มีงานวิจัยออกว่ารางจืดแม้จะไม่ได้ช่วยลดระดับตะกั่วในเลือดของหนูที่เราให้ ตะกั่วเข้าไป แต่ไปช่วยลดพิษของตะกั่วต่อความจำและการเรียนรู้ของหนู และทำให้เซลล์ประสาทตายน้อยลง ด้วยกลไกการต้านออกซิเดชัน โดยตัวของรางจืดเองและการไปช่วยรักษาระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง

รางจืดช่วยในการลด เลิกยาบ้า

จาก การที่ชาวบ้านนำรางจืดมาแก้พิษยาเสพติดภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวทิยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงได้ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดรางจืดต่อเซลล์สมอง พบว่ารางจืดมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทคล้ายกับสารเสพติดแอมเฟทามีน และโคเคน โดยทั่วไปเพิ่มการหลั่งโดพามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่หลั่งมากในขณะที่ผู้ป่วยได้รับสารแอมเฟทามีน รวมทั้งไปเพิ่ม activity ของเซลล์ประสาทในสมองส่วน nucleus accumbens , globus pallidus,amygdala,frontal cortex ,caudate putamen and hippocampus ที่เกี่ยวข้องกับ  reward and locomotor behaviour ทำให้คาดว่าในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสารสกัดรางจืดอาจเกิดความพิงพอใจ เช่นเดียวกับการรับยาเสพติด หากนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทุรนทรายมาก จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งทีการรักษาด้วยสารสกัดสมุนไพรได้ผล

ราง...จืดต้านพิษเหล้า

จาก การที่ประชาชนส่วนหนึ่งได้นำรางจืดมาใช้ในการต้านพิษสุรา เช่น ใช้เพื่อป้องกันหรือลดอาการเมาเหล้า คณะเภสัชศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ศึกษาวิจัยฤทธิ์ของรางจืดในการต้านพิษแอลกอฮอล์ต่อตับ พบว่าสารสกัดด้วยน้ำของรางจืดช่วย ป้องกันการตายของเซลล์ตับจากพิษของแอลกอฮอล์ ทั้งในหลอดทดลองและในหนูแรตทีได้รับแอลกอฮอล์ โดยทำให้ค่า AST,ALT ในพลาสม่าและไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับลดลง และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางจุลพยาธิวิทยาของตับเมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ ได้รับเเอลกอฮอล์อย่างเดียว

เนื่องจากสารสกัดด้วย น้ำของรางจืดช่วยลดการเกิด heppatic lipid peroxidation ลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด และเพิ่มระดับเอนไซม์ alcohol dehydrogenase และ aldehyde dehydrogenase

ส่วนมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ ศึกษาฤทธิ์ของรางจืดต่ออาการขาดเหล้า พบว่าสารสกัดรางจืดให้ผลลดภาวะซึมเศร้าและทำให้พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการ เคลื่อนไหวของหนูเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่ไม่มีผลลดความวิตกกังวล โดยสารสกัดราถงจืดช่วยลดการถูกทำลายเซลล์ประสาทของหนูเนื่องจากขาดเหล้าใน สมองส่วน messolimbic dopaminergic system โดยเฉพาะที่บริเวณ  nucleus accumbens และ ventral tegmental area

รางจืด...เพื่อคุณภาพชีวิตของโรคเรื้อรัง

การ ที่มีหมอยาพื้นบ้านจำนวนหนึ่งใช้รางจืดในการคุมเบาหวานและความดัน ซึ่งมีการทดลองที่สนับสนุนการใช้ดังกล่าวคือ ในหนูเบาหวานที่ได้รับน้ำต้มใบรางจืดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ส่วนน้ำคั้นใบรางจืดสดในขนาด ๕๐ มก./มล.ที่ให้หนูเบาหวานดื่มแทนน้ำนาน ๑๒ วัน ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

นอก จากนี้ ยังมีการทดลองพบว่าการให้สารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และทำให้บีต้าเซลล์ของตับอ่อนฟื้นฟูขึ้นบ้างแม้จะไม่สมบูรณ์ ในเรื่องของฤทธิ์ลดความดันนั้นพบว่าสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดแห้งมีผลทำให้ ความดันโลหิตของหนูแรตลดลง โดยกลไกการออกฤทธิ์ส่วนหนึ่งอาจผ่าน Cholinergic receptor และทำให้หลอดเลือดแดงคลายตัว

หมายเหตุ : การ ใช้สมุนไพรในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันนี้พึงระลึกว่าต้องมีการรักษาร่วม ไปกับแผนปัจจุบันและมีการวัดระดับน้ำตาลและระดับความดันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการศึกษายังอยู่ในขั้นตอนของสัตว์ทดลองเท่านั้น รวมทั้งต้องระมัดระวังการเกิดการเสริมฤทธิ์กันของตัวยาดังกล่าว

รางจืด… ต้าน แก้อักเสบ
การที่หมอยาพื้นบ้านนิยมใช้รางจืดมารักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น ผด ผื่นคัน แมลงกัดต่อย เริม งูสวัด มีการศึกษาว่ารางจืดมีฤทธิ์ต้านการอับเสบสูงกว่ามังคุดประมาณ ๒ เท่า(ทดสอบด้วยวิธี Carrageenan induced paw edema) ในหนูถีบจักรและยังมีความปลอดภัยสูงกว่าอีกด้วย นอกจากนั้นยังพบว่า สารสกัดรางจืดในรูปแบบของครีมสามารถลดการอักเสบได้ดีเท่ากับสตีรอยด์ครีม

รางจืด… กับมะเร็ง
รางจืดยังมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง โดยมีการศึกษาฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ กล่าวคือสารใดๆ มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์มีศักยภาพสูงสามารถก่อมะเร็งได้ แต่รางจืดมีฤทธิ์ต้านไม่ให้สารนั้นออกฤทธิ์ มีการศึกษาโดยให้หนูกินสารสกัดของกวาวเครือซึ่งกวาวเครือจะไปมีฤทธิ์กระตุ้น การแบ่งตัวและการสร้างนิวเคลียสของเม็ดเลือดแดง กล่าวคือนิวเคลียสของเม็ดเลือดแดงจะเป็นก้อน ใหญ่ขึ้น และมีการแบ่งตัว นั่นคือกวาวเครือไปทำให้การเกิด micronuclei ของเม็ดเลือดแดงเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้าให้สัตว์ทดลองกินรางจืดร่วมด้วย พบว่าสามารถลดการเกิด micronuclei ได้ ซึ่งทั้งรางจืดแบบสดและแบบแห้งสามารถใช้ได้ผลเช่นกัน นับเป็นข้อดีอีกข้อหนึ่งของรางจืด

โดยพบว่าสารออก ฤทธิ์อาจเป็นกรดฟีนอลิก ได้แก่ caffeic acid และ apigenin และสารกลุ่มคลอโรฟิลล์ ได้แก่ chlorophyll a, chlorophyll b, pheophorbide a และ pheophytin a ซึ่งสารเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก

รางจืด… ผักพื้นบ้านที่มีความปลอดภัย
รางจืดเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงชนิดหนึ่ง ทั้งจากการที่ชาวบ้านกินยอดอ่อน ดอกอ่อนเป็นผัก ใช้ลวกกิน แกงกิน เช่นเดียวกับผักพื้นบ้านทั่วๆ ไป

นอกจากนี้ ยังนิยมกินน้ำหวานจากดอกรางจืดที่บานอีกด้วย ในส่วนของการศึกษาวิจัย มีการศึกษาทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง โดยการศึกษา ๒๘ วันก็ไม่พบหนูตาย ไม่เกิดความผิดปกติในอวัยวะภายใน ต่อมามีการศึกษาระยะ ๖ เดือน ที่เรียกว่าการศึกษาพิษเรื้อรัง พบว่ามีค่าที่เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในซีรั่มในเนื้อเยื่อของหนูไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มควบคุม เรียกว่ามีความปลอดภัย ค่าที่พบเปลี่ยนแปลงบางค่าหรือบิลิลูบินเพิ่มขึ้นแต่ก็อยู่ในช่วงค่าปกติ

อย่างไรก็ตาม การกินรางจืดปริมาณมากต่อเนื่องกัน มีคำเตือนว่าต้องมีการศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงโลหิตวิทยาหรือเคมีคลินิกที่อาจเกิดขึ้น

บทสรุปแห่ง…รางจืด
จากประวัติการใช้ที่ยาวนานในแผ่นดินไทย ประกอบกับการศึกษาวิจัยที่บอกว่ามีความปลอดภัยและการศึกษาวิจัยที่สนับสนุน การใช้ของคนโบราณร่วมกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนไปด้วย สารพิษและปัญหายาเสพติดทุกหย่อมหญ้าในขณะที่อีกทางต้องไปแก้ไขที่ต้นตอแห่ง ปัญหาเช่น การลดการใช้สารเคมี ในขณะเดียวกันก็ต้องหาทางช่วยเหลือเยียวยาปัญหาที่ยังดำรงอยู่ ขอเพียงแต่มีดินให้รากยึดหาอาหาร มีโครงให้เลื้อย รางจืดจะแตกใบแตกยอดเป็นยาสมุนไพรที่ใช้แสนง่าย เพียงแต่นำมาต้มมาชงกิน ฤาว่าในยามนี้ภูมิปัญญาไทยจะหวนกลับมาช่วยสังคม


คอลัมน์ : เรื่องเด่นจากปก
ที่มา นักเขียนหมอชาวบ้าน :ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร


* untitled.jpg (34.15 KB, 720x540 - ดู 4645 ครั้ง.)

* hk.jpg (43.9 KB, 375x500 - ดู 5041 ครั้ง.)

* untitled1.jpg (81.46 KB, 439x800 - ดู 4628 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #356 เมื่อ: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2013, 21:29:50 »

พยายามค้นหาหลักการทำงานของรถดำนาแบบถาดหลุมมานาน เพราะค้นจากภาษาไทยก็ไม่เจอ ภาษาอังกฤษก็ไม่เจอ สุดท้ายต้องพึ่ง Google แปลภาษา  ในที่สุดก็เจอครับ ตอนแรกคิดว่าจะปักดำโดยเราจะต้องถอนกล้าจากถาดเองและนำมาเรียงที่รถดำนาให้ แต่ผิดคาดครับ รุ่นนี้เพียงยกถาดเข้าเรียง รถดำนาถอนต้นกล้าและปักดำให้เสร็จสรรพ รถทำได้ดีกว่าที่คิดไว้มาก สาเหตุที่สนใจเพราะการดำนาจากกล้าที่เพาะจากถาดหลุมต้นข้าวจะช้ำน้อยกว่าการดำแบบอย่างอื่น อย่างรถดำนาที่เห็นทั่วไปในบ้านเราข้าวก็ยังช้ำเนื่องจากรากจะขาดจากการถูกตัดจากส้อมปลูกของรถ รถดำนาแบบถาดหลุมยังเรียงต้นข้าวได้สวยงามเหมือนรถดำนาทั่วไปแต่ได้ข้อดีของการปลูกแบบนาโยนแต่สวยงามกว่า สำหรับรถประเภทนี้หากนำเข้ามาขายในไทยราคาคงจะเฉียด ๆ เลข 7 หลักหรือไม่ก็คงจะเกินแน่ ๆ ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2013, 22:06:21 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #357 เมื่อ: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2013, 21:39:14 »

ถาดหลุม ความลึกจะมากกว่าถาดนาโยนที่บ้านเราใช้กันครับ

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #358 เมื่อ: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2013, 22:02:45 »

ขั้นตอนการเพาะข้าวในถาดหลุมโดยเครื่องจักรครับ

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #359 เมื่อ: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2013, 22:15:15 »

เมื่อเตรียมถาด โรยดินและเมล็ดเสร็จก็จะถูกส่งไปยังเรือนเพาะชำที่หุ้มด้วยพลาสติกอย่างดีป้องกันแมลงศัตรูข้าว ควบคุมระบบน้ำและอุณหภูมิได้ดีแถมป้องกันการติดเชื้อราจากน้ำค้างหรืออื่น ๆครับ แต่ติดใจส่งถาดไปยังเรือนเพาะชำยังไม่ใช้คนนี่สิครับ ทันสมัยจริง ๆ เคยมีชาวญี่ปุ่นคือ ดร.มิซาบุโร ทานิกุจิ เกษตรกรชาวญี่ปุ่นที่ทำการเกษตรในเมืองไทยมากกว่า 25 ปี เป็นประธานมูลนิธิศูนย์อบรมเกษตรกรรมและอาชีพ บ้านสักลอ - พวงพะยอม ต.หงส์หิน อ.จุน จ.พะเยา ท่านว่า "ถ้าคุณอยากเห็นอนาคตการเกษตรของไทยในอีก 20 ปี ก็ให้มองการเกษตรญี่ปุ่น"  ก็คงอาจจะจริงเพราะในไม่ช้าแรงงานมีอายุเพิ่มขึ้น และมีจำนวนลดลงก็ต้องพึ่งเครื่องจักรเข้ามาทดแทนแบบนี้

IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 [18] 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 ... 96 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!