เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 02:32:50
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 [8] 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 407061 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #140 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 10:22:34 »

ลักษณะต้นข้าวที่ให้ผลผลิตดี

สำหรับชาวนาบางท่านอาจลืมสังเกตุไปครับข้าวที่ให้ผลผลิตดีนั้นต้องมีลักษณะอย่างไรที่ผมสังเกตุและได้ลองศึกษามาจะมีดังนี้

-  ข้าวที่ต้นเตี้ยจะให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวต้นสูง นอกจากจะสามารถส่งหาอาหารได้ดี ข้าวต้นเตี้ยยังไม่ล้มไม่เสียหายอีกด้วย จึงจะเห็นว่าศูนย์วิจัยข้าวต่าง ๆ ก็พยายามพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีลักษณะเตี้ย แม้แต่พืชสวนทั่วไปก็จำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งให้ต้นไม่สูงทั้งสะดวกในการเก็บเกี่ยวและยังได้ผลผลิตที่ดีด้วยใช่ไหมครับ  การใส่ปุ๋ยโตรเจนมากเกินไปและบางช่วงของการเจริญเติบโตของข้าวจึงไม่เหมาะสม  ข้าวที่ต้นสูงสังเกตุจะมีใบมากทำให้ใบข้างล่างได้รับแสงน้อยการสังเคราะห์แสงจึงไม่ดี

- ต้นข้าวที่ลำต้นและรวงตั้งตรงและใบไม่โน้ม ทำให้แสงแดดกระจายได้อย่างทั่วถึง เมื่อแสงและอากาศสามารถกระจายได้ทั่วถึงก็ลดโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคจากเชื้อราได้ อีกทั้งแมลงศัตรูพืชก็ไม่ค่อยชอบอีกด้วย เราควบคุมอย่างไรก็กล่าวผ่านมาว่าการควบคุมระดับน้ำที่เหมาะสมและการใส่ปุ๋ยที่เหมาะ และหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในอยู่ใต้เงาต้นไม่หรืออาคารสามารถช่วยได้ครับ

- เมื่อระยะออกรวงใบธงต้องอยู่สูงกว่ารวงข้าวเพื่อประโยชน์ในการรับแสง เมื่อต้นข้าวสมบูรณ์เมล็ดก็จะสมบูรณ์ตามมา

- ใบข้าวจะต้องตั้งตรงและเหยียดยาวเพื่อช่วยในการรับแสง แต่ถ้าใบหักก็จะรับแสงได้ไม่เต็มที่ข้าวก็ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้เต็มที่

-  รากข้าวจะต้องยาวสีขาว  หากรากสั้นหรือปลายรากมีสีดำจะทำให้ความสามารถในการหาอาหารได้น้อยควบคุมความยาวรากด้วยน้ำ

-  ข้าวที่ดีต้องแตกกอมาก  การแตกกอแตกหน่อยจะช่วยเพิ่มผลผลิตเพราะมีรวงมากขึ้น การทำให้ข้าวแตกกอนอกจากต้องใส่ปุ๋ยแล้วในช่วงนั้นเราควรลดระดับน้ำลงครับ น้ำมากๆ  ข้าวจะแตกกอน้อยครับ

หวังว่าจะมีประโยชน์อยู่บ้างนะครับ


* 2.jpg (34.94 KB, 400x277 - ดู 1560 ครั้ง.)

* 3.jpg (24.19 KB, 448x320 - ดู 1559 ครั้ง.)

* 4.jpg (18.57 KB, 400x302 - ดู 1475 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #141 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 11:05:34 »

ปัจจัยที่ทำให้เมล็ดข้าวมีน้ำหนักมาก

ก่อนหน้านี้ได้พูดถึงเรื่องลำต้นไปบ้างแล้วครับ ต่อไปเป็นเรื่องการทำอย่างไรให้เมล็ดข้าวมีน้ำหนักก่อนอื่นต้องรู้ว่าในเมล็ดข้าวมีแป้ง 80-90%  หากต้องการให้ข้าวมีน้ำหนักก็ต้องให้มีแป้งมากถูกจริงไหมครับมารู้กันครับว่าแป้งมาจากไหน

- สารพวกแป้งสร้างในใบสีเขียว ใบข้าวประกอบด้วยเซลล์เล็ก ๆ มากมายใบข้าวจะรับแสงและมีสารสีเขียวคือส่วนในการสร้างอาหารของต้นข้าว

- น้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีในอากาศเป็นส่วนประกอบใหญ่ในการสร้างแป้ง ข้าวเมื่อขาดน้ำเมล็ดก็จะลีบ

- น้ำและแร่ธาตุจะถูกดูดซึมทางราก   สำหรับอากาศก็เข้าสู่รูเล็ก ๆ บนใบข้าว  หากขาดน้ำรูเล็ก ๆ ในใบข้าวก็จะปิดเพื่อลดการสูญเสียน้ำ อากาศก็ไม่สามารถเข้ามาทางรูบนใบข้าวได้

- พลังงานจากแสงแดดจะทำให้น้ำในใบข้าวแยกตัวแล้วไปผสมกับคาร์บอนไดออกไซด์เกิดการสังเคราะห์แสงกลายเป็นอาหารของต้นข้าวขึ้น

- ยิ่งมีแสงมาก ๆ ยิ่งทำให้ข้าวสร้างแป้งได้มาก

สรุปคือสิ่งจำเป็นในการสะสมแป้งคือ   น้ำ  อากาศ  แสงแดด  ส่วนธาตุอาหารเป็นส่วนช่วยในการบำรุงต้นข้าวหากต้นข้าวมีความแข็งแรงมีการลำเลียงน้ำที่ดี ใบข้าวสมบูรณ์  ได้รับแสงเต็มที่ก็จะทำให้ข้าวผลิตแป้งได้มากส่งผลให้เมล็ดข้าวมีน้ำหนักตามมา


* plant23.jpg (65.74 KB, 535x431 - ดู 3042 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #142 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 11:52:56 »

เมื่อกี้พูดถึงเรื่องเทคนิคเพิ่มน้ำหนักของเมล็ด เรื่องการสะสมแป้งของต้นข้าวที่มีใบข้าวมาเข้าใจกันอีกนิดครับสำหรับการเจริญเติบโตของใบข้าว

- ใบข้าวจะขึ้นทีละใบ
- ใบข้าวจะเกิดขึ้นในทิศตรงกันข้ามกัน
- จำนวนใบข้าวขึ้นอยู่กับข้าวในแต่ละพันธุ์
- จำนวนใบข้าวในแต่ละพันธุ์จะมีจำนวนใบที่เท่ากัน  แต่อาจมีผิดปกติที่จะมากขึ้นหรือน้อยขึ้นอยู่กับความยาวของช่วงกลางวันและอุณหภูมิ
- ข้าวพวกไวต่อช่วงแสงจะมีใบมากขึ้นหากกลางวันยาวนานขึ้น
- ใบที่มีอายุมาก ๆ จะเริ่มเหี่ยวและมีการสร้างใบทดแทน


* 5.JPG (53.64 KB, 800x487 - ดู 1520 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
เสือท่าสุด
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 755


« ตอบ #143 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 11:59:13 »


   ผมกำลังติดตามอยู่ครับ  พอดีปีที่ผ่านมา  ทำเป็นปีแรก  ทำแค่ 2 ไร่ครับ

   ปีนี้ จะทำเพิ่มอีก 5 ไร่  รวมเป็น 7 ไร่ครับ  กำลัง พยายามเก็บข้อมูณอยู่ครับ

   กระทู้นี้ มีความรู้มากมายครับ   ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #144 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 13:06:13 »


   ผมกำลังติดตามอยู่ครับ  พอดีปีที่ผ่านมา  ทำเป็นปีแรก  ทำแค่ 2 ไร่ครับ

   ปีนี้ จะทำเพิ่มอีก 5 ไร่  รวมเป็น 7 ไร่ครับ  กำลัง พยายามเก็บข้อมูณอยู่ครับ

   กระทู้นี้ มีความรู้มากมายครับ   ขอบคุณครับ

ยินดีครับ..
IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721



« ตอบ #145 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 13:22:06 »


   ผมกำลังติดตามอยู่ครับ  พอดีปีที่ผ่านมา  ทำเป็นปีแรก  ทำแค่ 2 ไร่ครับ

   ปีนี้ จะทำเพิ่มอีก 5 ไร่  รวมเป็น 7 ไร่ครับ  กำลัง พยายามเก็บข้อมูณอยู่ครับ

   กระทู้นี้ มีความรู้มากมายครับ   ขอบคุณครับ
สู้ๆครับ ชาวนา ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #146 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 13:42:49 »

เคยสังเกตุไหมครับว่านาดำเมื่อมีการถอนต้นกล้าเพื่อนำใบปักดำชาวนาทำไมมีการตัดใบข้าว สาเหตุก็เพราะ
          ชาวนานิยมถอนกล้าข้าวเมื่อต้นแก่ก่อนการแตกกอเป็นช่วงที่พ้นจากกินของหอยเชอรี่ ซึ่งใบข้าวจะยาวมากหากเราไม่ตัดใบข้าวก็จะแตะกับน้ำครับ น้ำมีส่วนประกอบหลายอย่างทั้งเชื้อโรคเมื่อใบข้าวแตะน้ำเชื้อโรคก็สามารถเข้าสู่ทางใบได้ทำให้เกิดโรคข้าวได้  แต่ในทางกลับกันหากมีการตัดใบข้าวเชื้อโรคก็สามารถเข้าสู่แผลทางใบเช่นกัน เหมือนกับคนที่ถูกมีดบาดหากไปเจอสิ่งสกปรกอีกก็จะทำให้แผลอักเสพต้องทายาหรือฉีดยารักษาอีก ควรหลีกเลี่ยงให้ใบข้าวสัมผัสน้ำสกปรก การพ่นฮอโมนก็เช่นกันน้ำที่ผสมควรเป็นน้ำที่สะอาดจึงจะได้ผลดีบางคนเอาน้ำคลองมาผสมมาพ่นทางใบข้าวกับเป็นโรคอีก  ในการปักดำควรถอนต้นกล้าในช่วงที่เหมาะสมการใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตจนเกินใบจึงอาจไม่เหมาะสม จึงควรถอนกล้าในระยะที่พอเหมาะเมื่อนำไปปักดำใบจะได้ไม่แตะน้ำและถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องตัดใบข้าวครับ ชาวนาบางคนอาจไม่รู้ใบข้าวยาวไม่ยาวก็ขอตัดใบไว้ก่อนครับพ่อผมก็เป็นเช่นนั้น  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  การตัดใบเป็นวิธีนิยมในปัจจุบันในช่วงก่อนข้าวตั้งท้องในกรณีที่ในแปลงนามีมีหญ้าวัชพืชขึ้นแข่งกับต้นข้าวการตัดอาจใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายเมื่อตัดไปแล้วข้าวสามารถแทงยอดใหม่ได้เร็วกว่าวัชพืชทำให้มีความสูงที่สูงกว่าการเจริญเติบโตของวัชพืชก็จะน้อยลงไปตามส่งผลให้ข้าวแตกกอและผลผลิตดีมากขึ้นกว่าการไม่ตัดครับ


* IMG_3670-pre200.jpg (96.43 KB, 800x534 - ดู 1551 ครั้ง.)

* 40799.jpg (103.99 KB, 800x582 - ดู 1525 ครั้ง.)

* 6.jpg (135.62 KB, 800x536 - ดู 1506 ครั้ง.)

* DSC_1741.jpg (117.74 KB, 800x565 - ดู 1530 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #147 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 14:22:01 »

แวะมาศึกษาความรู้ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #148 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 14:41:58 »

วัชพืชทำให้ข้าวได้ผลผลิตลดลง

      วัชพืชทำให้ข้าวได้ผลผลิตที่ลดลงไม่ว่านาปีหรือนาปรัง เพราะวัชพืชจะไปแย่งธาตุอาหารที่มีอยู่ทำให้ข้าวได้รับสารอาหารได้ไม่เต็มที่ วัชพืชจะหาอาหารกินเก่งกว่าข้าว จึงไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนก่อนการกำจัดวัชพืชเสียก่อน อีกทั้งบางชนิดก็ไปแย่งแสงกับต้นข้าวอีกด้วย วัชพืชมีทั้งหญ้า กก วัชพืชใบแคบ ใบกว้างแล้วแต่ขนาดของใบ

การกำจัดวัชพืช

   ในช่วงข้าวมีอายุไม่เกิน 1 เดือนครึ่งจะง่ายที่สุดเพราะต้นข้าวยังขึ้นไม่สูงและหนาแน่นสามารถกำจัดได้ง่ายกว่าสามารถกำจัดได้โดยวิธี
- การใช้สารเคมี หรือสารชีวภาพ ปัจจุบันมีทั้งแบบ ผง  น้ำ และเมล็ด
- การถอนด้วยมือ วิธีนี้ผมทำประจำ ควรทำก่อนที่วัชพืชออกดอกเพื่อป้องกันการร่วงลงในนากลายเป็นวัชพืชต่อไป แต่อาจเป็นวิธีที่ใช้เวลานาน การทำนาครั้งแรกผมหญ้าเต็มนาเลย ปัจจุบันไม่ค่อยมีแล้วครับ เพราะรู้จักการป้องกันที่ถูกวิธีมากขึ้น
- การใช้เครื่องมือไถพรวนทำได้ง่ายในนาดำเพราะข้าวเป็นแถวเป็นแนวดี

การควบคุมป้องกันการเกิดวัชพืช

- การควบคุมด้วยระดับน้ำควรปรับที่นาให้เรียบ เพื่อให้น้ำได้ระดับวัชพืชจำพวกหญ้าและกกสามารถป้องกันด้วยระดับน้ำ 5-10 ซม. เมล็ดวัชพืชหลายชนิดไม่ขึ้นในน้ำแต่บางชนิดแม้น้ำท่วมก็ไม่ตาย
- การควบคุมด้วยระยะของต้นข้าว การปลูกข้าวถี่จะช่วยบังแสงไม่ให้วัชพืชได้รับแสงเต็มที่ การปรุงอาหารของวัชพืชก็น้อย ก็จะกินอาหารน้อยตาม


* rice99.jpg (147 KB, 500x375 - ดู 3064 ครั้ง.)

* 1257.jpg (114.19 KB, 640x480 - ดู 1471 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #149 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 14:48:39 »

วิธีการทำนาปลอดเคมีและความคิดปลูกข้าว แบบลดต้นทุน เพิ่มกำไร โดย ชัยพล ยิ้มไทร ปริญญาทำนา

ข้อมูลจาก เฟสบุ๊ค ของคุณ ชัยพล ยิ้มไทร

บทที่ 1 ไถนา
 อุปกรณ์ประกอบไปด้วย รถไถเดินตาม ผาน เลื่อนนั่ง เครื่องตัวนี้ซื้อจากเชียงกง เป็นเครื่อง 10 แรงม้าซื้อมาตัวละ 16000 บาท รถไถซื้อจากร้านขายของเก่ากิโลละ 11บาท เป็นเงิน3240บาท ผานก็มือสองราคา500 บาท การทำนาไม่จำเป็นต้องเริ่มจากของมือหนึ่งครับ ค่อย ๆหา ค่อย ๆซื้อ ครับ ค่อยเป็นค่อยไป ผมเองเริ่มจากทำนา 9 ไร่ และเครื่องมือราคาประหยัด  หลังจากที่ไถกลบฟางและใส่น้ำไว้สี่ถึงห้าวัน จึงเริ่มใช้ลูกควักพรวนดิน ที่เห็นต่อข้าวเขียว ๆคือ ควักไว้หนึ่งรอบ(ตลบ) และทิ้งไว้หนึ่งคืน ตรงดินดำ ๆคือรอบที่สอง(อีกหนึ่งตลบ) การทำนาไม่เผาฟาง ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ต้องใช้เครื่องมือให้เหมาะสมและให้เวลากับงานบ้างเท่านั้นเอง…ทำนาอย่างเร่งร้อนจนคนชั่วรุ่นหนึ่งกำลังจะจากไป..ไม่เห็นมีความมั่นคงในชีวิตสักที…มาทำช้า ๆกันดีกว่าใหมครับ ^__^” เผื่อชีวิตอาจดีขึ้น..





* 1.jpg (35.51 KB, 500x333 - ดู 1534 ครั้ง.)

* 2.jpg (58.74 KB, 500x333 - ดู 1490 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #150 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 14:50:36 »

บทที่ 2 ควักดิน
หลังจากไถนาเสร็จแล้ว ให้ใส่น้ำจมขี้ไถไว้ เพื่อให้ขี้ไถนิ่ม(ยิ่งนานยิ่งดี จะทำให้ฟางเปื่อยและดินเละ) หากมีเวลาก็ควักสักสองรอบ(ตลบ)แล้วทิ้งไว้อีก ข้อดีของลูกควักคือ ทำให้ดินฟู(อุ้มน้ำดี)และลูกควักยังช่วยกระจายกลุ่มฟางที่แน่นหนาออกจากกัน ทำให้ไม่เกิดแก้สฟางเน่า เครื่องมือนี้ลดขั้นตอนการทำนาลงได้มาก ทำให้ดินกลายเป็นเทือกได้ไว้ขึ้น ข้อเสียคือ หนักกำลังเครื่องยนต์ และถ้ารถไถไม่แข็งแรงพอหรือดินเป็นหล่มจะหนักแรงเครื่องยนต์มาก รถไถอาจโซ่ขาดหรือเฟืองแตกได้ ควรลดขนาดวินเครื่องยนต์ลดอย่างน้อยครึ่งนิ้ว

ปล.นายแบบโดย @ท — กับ ทรงวุฒิ ยิ้มไทร



* 3.jpg (54.7 KB, 500x333 - ดู 2176 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 11 มกราคม 2013, 14:54:54 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #151 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 14:52:40 »

บทที่ 3 ย่ำเทือก
หลักการง่าย ๆ คือ ทำให้ดินที่ไถไว้และควักซื่งยังเป็นก้อน กลายเป็นน้ำเลน อุปกรณ์ที่ใช้มีทั้งลูกจิ้ม ลูกควัก คราด ย่ำไปเรื่อย ๆกระทั่งดินแตกตัว ฟู เทือกยิ่งหล่ม ข้าวยิ่งงาม ในภาพใช้คราดสองคัน และลูกควักหนึ่งคัน เพื่อเก็นงานตรงที่ดินแข็ง ๆ หรือเป็นที่ดอน


* 4.jpg (73.15 KB, 600x400 - ดู 1518 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 11 มกราคม 2013, 14:57:05 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #152 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 14:58:10 »

บทที่ 4 ลูบเทือก
อุปกรณ์ที่ใช้คือกระดานลูบเทือก หลังจากที่ควักดินจนฟูแล้ว ดินจะยังไม่เรียบ ต้องปรับหน้าดินโดยอุปกรณ์นี้ ให้พื้นเลนเรียบ ยามหว่าน เมล็ดข้าวจะได้ไม่จมน้ำ เพราะพื้นสม่ำเสมอ อุปกรณ์นี้ยังใช้ปรับระดับของดิน โดยดันเอาเลนจากที่ดอนลงไปที่ลุ่ม(เหยียบห้ากระดาน)


* 5.jpg (24.74 KB, 500x333 - ดู 1452 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #153 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 15:00:08 »

บทที่ 5 แช่ข้าว
นำกระสอบข้าวปลูกลงแช่ในน้ำ 24 ชั่วโมง ก่อนจะนำขึ้นมาไว้บนแห้งอีก 24 ชั่วโมง เพื่อให้ข้าวแตกตา และพร้อมสำหรับการนำไปหว่าน โดยปรกติผมจะแช่ข้าวในอ่าง แต่ที่นาไม่มีอ่างเลยใช้ไม้ไผ่สองอันพาดร่องน้ำ และใช้พลาสติกกันน้ำทำเป็นเปลอุ่มข้าวไว้อีกที ที่ต้องทำอย่างนี้เพราะต้องใส่เชื้อราไตรโครเดอร์ม่าลงไปตอนแช่ข้าวด้วย ในกระป๋องคือไตรโครเดอร์มาร์ที่เพาะเชื้อกับข้าวสุกและน้ำมาใส่น้ำขยำ ๆ ให้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าละลายออกมา(สปอร์) ประโยชน์คือ ราไตรโคเดอร์ม่าจะไปกินราชนิดอื่น ๆที่ทำให้ข้าวอ่อนแอ และช่วยสงเสริมการเจริญของตุ่มตาข้าว

อัตราการหว่านของผม ไร่ละยี่สิบกิโลครับ ต้นข้าวจะไม่หนาแน่นเกินไปแล้วข้าวจะแตกกอดี ไม่แย่งกันสูง ทำให้ไม่ล้มง่าย ช่วยให้แสงแดดส่องถึง โรคแมลงจะไม่รบกวน โดยเฉพาะฤดูกาลนี่เพลี้ยมักระบาด และผมใช้ข้าว กข 31 ซึ่งทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล กันไว้ดีกว่าแก้ครับ เริ่มให้ถูก วางแผนให้ดี แล้วการทำนาจะไม่ใช่เรื่องยากครับ ฝากไว้สักนิดครับ



* 6.jpg (33.54 KB, 500x333 - ดู 1466 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #154 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 15:03:52 »

ผานหัวหมูมีสองแบบครับ แบบ ไถพุ่งกับไถแซะ อันนี้ของผมเป็นแบบไถแซะ หน้า 16 นิ้ว เบาแรงเครื่อง กลบฟางได้มิดและฟางไม่ค่อยติดคอผานเพราะขี้ไถจะถูกยกตัวในช่วงท้านของใบผาน(เรียกว่าใบเพล่) ข้อดีอีกอย่างคือขี้ไถจะหักเป็นข้อ ๆ ทำให้ย่ำเทือกง่านกว่าแบบไถพุ่ง



* 7.jpg (70.34 KB, 500x750 - ดู 2998 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #155 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 15:05:17 »

ลูกควัก อันนี้ของอาชัยพรครับ



* 8.jpg (55.86 KB, 500x333 - ดู 1384 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #156 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 15:07:23 »

คราดจัมโบ้ กว้าง 2.5 เมตร คอคราดยาว ช่วยให้ฟางติดน้อยลง ตาคราดยาว ช่วยกดฟางได้ลึกและเบาแรงเครื่องยนต์(ประหยัดน้ำมัน)



* 9.jpg (56.01 KB, 600x400 - ดู 2494 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #157 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 15:10:29 »

แนะนำหรับหรับคนที่ทำนาเยอะสักหน่อย ถ้ามีท่าสูบน้ำถาวร นี่เลยครับ เครื่อง daihatsu สามสูบ ดัดแปลงติดหม้อต้ม ใช้แก้ส ประหยัดค่าสูบน้ำไปกว่า 40 เปอร์เซน ข้อเสียคือต้องงรู้เรื่องระบบไฟพอควรและใช้ขอดน้ำออกจากนาไม่ได้เพราะรอบมันจัดครับ

ราคาเครื่องยนต์9000-12000แล้วแต่สภาพครับ ค่าหม้อต้ม 2000 แบ็ตอีกสองพันกว่าบาท อัตราสินเปลืองก็แล้วแต่เรื่องเครื่องครับ ยกตัวอย่างให้เห็นนะครับ ฤดูกาลที่แล้ว 143ไร่ค่าสูบน้ำของผม เป็นค้าน้ำมันหกหมื่นกว่าบาท ฤดูนี้หมดค่าแก้สไป สองหมื่นกว่าบาท+ค่าน้ำมันอีกหมื่นกว่าบาทครับ

ก็ได้เครื่องแก๊สนี่แหละ เชื้อเพลิงราคาถูกฤดูกาลนึงหมดไป45ถัง 14000 กว่าบาท น้ำมันใช้หมดไป 90000 กว่าบาท (เก้าหมื่นกว่าบาท) แล้วคุณๆจะเลือกอะไร

จบครับ...ชัยพล ยิ้มไทร


* 10.jpg (54.1 KB, 600x400 - ดู 1446 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #158 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 15:30:18 »

พักสายตาด้วยภาพสวย ๆ ก่อนครับ


* Picture-554.jpg (101.05 KB, 800x534 - ดู 1424 ครั้ง.)

* Picture-502.jpg (146.77 KB, 800x533 - ดู 1425 ครั้ง.)

* Picture-030.jpg (127.05 KB, 800x534 - ดู 1419 ครั้ง.)

* Picture-545.jpg (130.9 KB, 800x534 - ดู 1393 ครั้ง.)

* Picture-449.jpg (56 KB, 800x534 - ดู 1411 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #159 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 15:33:37 »

ดูแล้วก็มีความสุขครับ


* 5.jpg (72.86 KB, 800x534 - ดู 1469 ครั้ง.)

* 15.jpg (148.05 KB, 800x536 - ดู 1433 ครั้ง.)

* 15-1.jpg (110.97 KB, 800x536 - ดู 1417 ครั้ง.)

* PX012.jpg (177.81 KB, 960x640 - ดู 1399 ครั้ง.)

* 14.jpg (149.09 KB, 800x536 - ดู 1414 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 [8] 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!