เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 23:05:09
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 [27] 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 407127 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #520 เมื่อ: วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2013, 21:48:59 »

กิจกรรมยามเย็นเวลาไปนาครับหากไม่ได้เอาเครื่องมืออะไรไป มักจะปั่นจักรยานไปช่วยลดต้นทุนเรื่องการดูแลข้าวโดยเฉพาะค่าน้ำมันรถ ได้ออกกำลังกายไปในตัว  จักรยานคันนี้ผมพึ่งทำสีและประกอบเสร็จเป็นจักรยานทัวร์ริ่งที่ใช้สำหรับเดินทางไกลจะมีตะแกรงเหล็กไว้ใส่กระเป๋าทั้งหน้าและหลังปกติราคาหลายหมื่นแต่ผมซื้อมามือสองหลักพัน นักปั่นจักรยานรอบโลกก็จะใช้จักรยานแบบนี้ครับ  ผมมี Plan ไว้ว่าจะปั่นจักรยานคันนี้จากเชียงของไปเวียดนามซักครั้งครับ เคยเห็นคุณน้าคุณลุงนักปั่นหลายท่านก็ปั่นจากเชียงของไปทิเบตบ้าง ปักกิ่งบ้าง เวียดนามบ้างก็หลายท่าน การปั่นจักรยานจึงเป็นทางเลือกในการท่องเที่ยวอย่างหนึ่งแม้จะใช้เวลามากก็ตามแต่ได้เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ค่อนข้างดีแถมประหยัดด้วย


* IMG_0252.JPG (35.42 KB, 700x525 - ดู 730 ครั้ง.)

* IMG_0261.JPG (51.45 KB, 700x525 - ดู 794 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #521 เมื่อ: วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013, 10:07:16 »

วันนี้ขี่มอเตอร์ไซด์ผ่านทุ่งนาแปลงหนึ่งครับห่างจากบ้านประมาณ 2 ก.ม. มีอาการเหมือนเพลี้ยลง  แต่ไม่ได้เอากล้องติดตัวไปด้วยเลยไม่ได้จอดแวะถ่ายรูปครับ  ดูลักษณะทั่วไปของต้นข้าวในแปลงมีเหลืองไหม้เป็นบริเวณหย่อมประมาณ 6 ตร.ม. ตรงที่ไม่เป็นใบมีลักษณะเขียวเข้มน่าจะเกิดจากการใส่ปุ๋ยค่อนข้างมากโดยเฉพาะธาตุ N ครับ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown planthopper)

ลักษณะการทำลาย

ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นข้าวเหนือระดับน้ำ ในขณะเดียวกันจะคอยขับถ่ายมูลน้ำหวาน (honey dew) ออกมา เป็นสาเหตุให้เกิดโรคราดำ เมื่อมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจำนวนมากดูดกินน้ำเลี้ยงต้นข้าว จะทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองแห้ง คล้ายถูกน้ำร้อนลวก ซึ่งเรียกว่า "อาการไหม้เป็นหย่อม" (Hopper burn) ถ้ารุนแรงมาก ต้นข้าวจะแห้งตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว นอกจากนี้ยังเป็นพาหะนำเชื้อวิสา ซึ่งทำให้เกิดโรคใบหงิกหรือโรคจู๋ (Rice ragged stunt) มาสู่ต้นข้าวอีกด้วย โรคนี้เกิดกับต้นข้าวได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ต้นข้าวอายุตั้งแต่ 15-45 วัน ถ้าได้รับเชื้อโรคจู๋ จะแสดงอาการรุนแรงมาก ส่วนต้นข้าวอายุเกิน 60 วันไปแล้ว ได้รับเชื้ออาการจะไม่รุนแรง ต้นข้าวที่ได้รับเชื้อแล้วจะมีอาการต้นเตี้ยแคระแกรน และไม่ออกรวงหรือออกรวงน้อย ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม ปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะเพิ่มขึ้นตามอายุข้าว จากระยะกล้าถึงระยะออกรวง ซึ่งในระยะตั้งท้องและออกรวงมักจะพบประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสูงที่สุด และอาการใบไหม้มักจะเกิดในระยะนี้

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงศัตรูข้าวพวกปากดูด ชอบอาศัยอยู่บริเวณโคนต้นข้าวและดูดน้ำเลี้ยงจากบริเวณนั้น ตัวเมียจะวางไข่บริเวณเส้นกลางใบหรือกาบใบข้าว ไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีสีขาว ลักษณะเป็นกลุ่ม เรียงเป็นแถวในแนวตั้งฉากกับกาบใบคล้ายหวีกล้วย ทำให้กาบใบเป็นรอยช้ำสีน้ำตาล มองเห็นได้ชัด ตัวเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ถึง 200 ฟอง ระยะไข่ใช้เวลา 7 วัน จึงฟักเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อน หลังจากฟักออกจากไข่จะอาศัยอยู่บริเวณโคนต้นข้าว ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความชื้นสูง ตัวอ่อนมีสีขาว มีการลอกคราบ 5 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 16 วัน และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในระยะตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา ขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 มม. กว้าง 1 มม. ตัวเต็มวัยมีรูปร่าง 2 แบบ คือ เป็นได้ทั้งชนิดปีกยาวและชนิดปีกสั้น ตัวเมียมีอายุประมาณ 15 วัน ตัวเมีย 13 วัน มีนิสัยชอบเล่นไฟในเวลากลางคืน

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

พบระบาดทั่วไปในแถบที่มีการปลูกข้าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี แมลงจะอพยพจากทะเลจีนใต้ จากตอนล่างของประเทศจีนทุกต้นฤดูกาลเพาะปลูก และเพิ่มปริมาณมากขึ้นหลังจากเริ่มลงทำลายข้าว สำหรับในประเทศไทยพบทั่วประเทศ แต่การระบาดถึงกับทำความเสียหาย พบมากโดยเฉพาะในภาคกลาง เช่น จังหวัดนครปฐม ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท สุพรรณบุรี และกรุงเทพมหานคร การระบาดอาจเกิดขึ้นได้ทั้งนาปีและนาปรัง พืชอาหาร เช่น ข้าวป่า หญ้าต่างๆ

การป้องกันและกำจัด

1. ควรงดการปลูกข้าวนาปรัง และปลูกพืชอื่นทดแทน เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

2. ควรปลูกข้าวพันธุ์ที่มีความต้านทาน หรือค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหรือพันธุ์อื่นๆที่เกษตรกรพบว่ามีการทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลน้อยในฤดูเดียวกัน

3. ควรปลูกข้าวหลายๆพันธุ์ และพยายามหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวพันธุ์เดียวตลอดในท้องที่เดียวกัน

4. ลดการใช้ปุ๋ยยูเรีย

5. ใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราที่แนะนำ

6. ในนาที่สามารถควบคุมน้ำได้ ถ้าพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในขณะที่ข้าวยังเล็กอยู่ ให้ไขน้ำท่วมยอดข้าว จะช่วยทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ถ้าพบระบาดในระยะข้าวแตกกอเต็มที่แล้ว ให้ระบายน้ำออกจากนาให้หมด จะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพนิเวศน์ ทำให้ไม่เหมาะสมในการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้

7. หมั่นสำรวจตรวจนับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตามโคนกอข้าวอย่างสม่ำเสมอ ไร่ละ 10 จุด ๆ ละ 10 ต้น (นาหว่าน) ถ้าเป็นนาดำไร่ละ 10 กอ เมื่อพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 1 ตัวต่อต้น หรือ 10 ตัวต่อกอ ให้พิจารณาศัตรูธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมในนาก่อนตัดสินใจใช้สารเคมี

8. ควรใช้สารเคมีให้ถูกต้องตามคำแนะนำ และพ่นสารเคมีในจุดที่มีการระบาดเท่านั้น โดยพิจารณาถึงสมดุลย์ของศัตรูพืช และศัตรูธรรมชาติ ตลอดจนการวิเคราะห์ระบบนิเวศน์วิทยาด้วย


ศัตรูธรรมชาติ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีศัตรูธรรมชาติทั้งตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อโรค

1. ตัวห้ำ

1.1 มวนเขียวดูดไข่ (Cyrtorhinus lividipennis) เป็นตัวห้ำในระยะไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีบทบาทในการลดปริมาณของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาก ตัวเต็มวัยสีเขียว หัวและอกสีดำ ลำตัวยาว 2.5 - 3.3 มม. กินไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลประมาณ 7-10 ฟองต่อวัน

1.2 ด้วงเต่า ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงเต่าลายหยัก ด้วงเต่าลายสมอ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เป็นตัวห้ำ กินไข่ กินตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วันละ 5-10 ฟองต่อตัว

1.3 แมงมุง

1.3.1 แมงมุมหมาป่า มีลักษณะเด่นคือส่วนบนหัวใต้ตา มีลายรูปสามง่ามสีน้ำตาลอ่อน ตัวยาว 5-18 มม. ตัวสีน้ำตาลออกดำ แมงมุมชนิดนี้ไม่สร้างใย อาศัยจับเหยื่อบริเวณโคนต้นข้าว ตัวเมียมีอายุประมาณ 3-4 เดือน ปกติถุงไข่จะเกาะติดส่วนท้องของเพศเมีย จนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัวและตัวอ่อนยังคงเกาะติดอยู่อีกระยะเวลาหนึ่ง อาหารของแมงมุมนี้ ได้แก่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดด และหนอนกอ เป็นต้น โดยเฉลี่ยแมงมุม 1 ตัว สามารถทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ 3-15 ตัวต่อวัน

1.3.2 แมงมุมตาหกเหลี่ยม ตัวยาว 7-10 มม. ตาเรียงเป็นรูปหกเหลี่ยม ลำตัวมีสีน้ำตาลปนแดง หรือสีเขียวอ่อนสลับขาวตามความยาวของลำตัว อาศัยจับเหยื่อบรเวณใบข้าวแต่ไม่สร้างใยเช่นเดียวกับแมงมุมหมาป่า ตัวเมียผลิตไข่ได้ 200-350 ฟอง มีอายุไข่ประมาณ 3-5 เดือน

1.3.3 แมงมุมสวน ตัวยาว 5-20 มม. ตัวสีน้ำตาลปนเหลือง หัวส่วนกลางและด้านข้างมีลายสีเงินแวววาว แมงมุมชนิดนี้จะชักใยคอยดักเหยื่อบริเวณใบข้าว ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง มีอายุประมาณ 2-3 เดือน

1.3.4 แมงมุมขายาว ตัวยาว 10-18 มม. ตัวสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีส้ม มีเขี้ยวยาวและใหญ่ ขายาวมาก

1.4 มวนจิงโจ้น้ำ ตัวดำเป็นมัน ลำตัวยาว 1.5 มม. อยู่เป็นกลุ่มตามผิวน้ำหรือโคนต้นข้าว กินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 7 ตัวต่อวัน

1.5 ด้วงดิน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยกินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 3-5 ตัวต่อวัน

1.6 แมลงปอเข็ม ตัวอ่อนแมลงปอเข็มจะคอยจับตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกิน อาศัยอยู่บริเวณโคนกอข้าว

2. ตัวเบียน ตัวเบียนที่สำคัญที่ทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

2.1 แตนเบียนอะนากรัส (Anagrus sp.) ตัวเล็กมาก ยาว 0.8 มม. ตัวสีส้มแดง เป็นตัวเบียนทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 15-30 ฟองต่อวัน ไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ถูกทำลายแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

2.2 แตนเบียนโอลิโกซิต้า (Oligosita sp.) ตัวเต็มวัยมีสีเหลืองเขียว มีปีกใส เป็นตัวเบียนทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 2-8 ฟองต่อวัน

2.3 แตนเบียนซูโดโกนาโตพัส (Pseudogonatopus sp.) เป็นแตนเบียนที่ทำลายตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ประสิทธิภาพในการทำลายค่อนข้างต่ำ รูปร่างคล้ายมด ลำตัวเป็นสีน้ำตาล ตัวเมียไม่มีปีก ตัวผู้จะมีปีก

2.4 เชื้อรา ได้แก่ เชื้อราขาว (Beauveria bassiana) เชื้อราเขียว (Metarhizium sp.) และเชื้อราเฮอร์ซูเทลล่า (Hirsutella citriformis) ทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล



* brown_planthopper_3.jpg (66.5 KB, 457x355 - ดู 1122 ครั้ง.)

* 1.jpg (78.98 KB, 700x525 - ดู 981 ครั้ง.)

* table_gap04.jpg (97.19 KB, 650x327 - ดู 1644 ครั้ง.)

* brown_planthopper_4.jpg (28.34 KB, 284x392 - ดู 1254 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #522 เมื่อ: วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013, 11:52:51 »

เมื่อวานสมาชิกเชียงรายโฟกัส คุณ ~ lทวดาไร้ปีก ~ ได้ไปเยี่ยมชมนาของคุณ ลุงทองคำ อินพรม  ที่แม่สายมาครับ เผื่อใครจะไปดูงานบ้างก็น่าจะได้ความรู้ดี ๆ ครับ แถมได้แหนแดงกลับบ้านด้วย

IP : บันทึกการเข้า
kuntawong
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 152



« ตอบ #523 เมื่อ: วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013, 13:17:26 »

ฉันจะเป็นชาวนาผู้ยิ่งใหญ่


* 100.jpg (66.14 KB, 467x312 - ดู 825 ครั้ง.)

* 101.jpg (87.75 KB, 393x262 - ดู 836 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013, 13:19:37 โดย kuntawong » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #524 เมื่อ: วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013, 14:15:17 »

ฉันจะเป็นชาวนาผู้ยิ่งใหญ่

ยินดีที่ได้รู้จักครับ ยังไงขอให้ความตั้งใจสำเร็จนะครับ ผมก็มีความตั้งใจและความใฝ่ฝันของผมอยู่เหมือนกันก็ค่อย ๆ ทำไปไม่นานก็คงสำเร็จหากเรายังไม่เลิกล้มความตั้งใจไปเสียก่อนครับ 

ช่วงนี้พบเจอบัณฑิตวิศวกรรมหลายท่านที่หันมาทำนา สาขาอื่นก็ไม่น้อย จบระดับอะไรสายอะไรก็ทำนาได้  ผมก็ไม่ได้เรียนจบเกษตรเช่นกัน บางคนก็ว่าจบปริญญาแล้วมาทำนาทำไม ร้อนก็ร้อน เหนื่อยก็เหนื่อยผมว่าอาชีพอะไรก็ตามที่ทำแล้วดีมีความสุขก็ควรจะทำ  จบมาทำงานบริษัท รับราชการ เป็นลูกน้องเขาอาจไม่ได้มีความสุขเสมอไป  พี่ที่รู้จักแกเป็นอาจารย์มหาลัย จบ ป.เอก จากเมืองนอก แกก็ยังทำนาแต่งตัวไม่ได้ต่างอะไรจากชาวนา แกก็ใส่ปุ๋ย พ่นฮอร์โมนเองทุกอย่างทั้งที่จบสูงแกก็ยังทำเลย  อีกหน่อยผมก็คิดจะเป็นนายของตัวเองซักวัน Plan ไว้ไม่เกิน 7 ปี ผมว่าคนที่มีพื้นฐานเรียนมาสูง ๆ ค่อนข้างมีข้อได้เปรียบหากรู้จักอ่าน รู้จักค้นคว้าด้วยตนเองมีความรู้ภาษาต่างประเทศ มีพื้นฐาน(หลายเรื่องถ้ามีพื้นฐานจะเข้าใจเรื่องที่กำลังศึกษาง่ายขึ้นคนจบเกษตรจึงเข้าใจได้เร็วกว่า) ไม่ว่าจะด้วยการอ่าน หรือ การฟัง หรือการค้นจากอินเตอร์เน็ตก็จะดีกับการประกอบอาชีพทุกอาชีพ ไม่ว่าจะทำนา ทำไร่ ทำสวน หรือทำอะไรก็ตาม


* 561025_10151161400792731_582788399_n.jpg (57.12 KB, 800x700 - ดู 873 ครั้ง.)

* 577133_10151165367047731_1407301401_n.jpg (70.41 KB, 800x504 - ดู 933 ครั้ง.)

* 564821_10151161356282731_1604401862_n.jpg (65.71 KB, 800x500 - ดู 876 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
kuntawong
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 152



« ตอบ #525 เมื่อ: วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013, 17:20:54 »

ฉันจะเป็นชาวนาผู้ยิ่งใหญ่

ยินดีที่ได้รู้จักครับ ยังไงขอให้ความตั้งใจสำเร็จนะครับ ผมก็มีความตั้งใจและความใฝ่ฝันของผมอยู่เหมือนกันก็ค่อย ๆ ทำไปไม่นานก็คงสำเร็จหากเรายังไม่เลิกล้มความตั้งใจไปเสียก่อนครับ 

ช่วงนี้พบเจอบัณฑิตวิศวกรรมหลายท่านที่หันมาทำนา สาขาอื่นก็ไม่น้อย จบระดับอะไรสายอะไรก็ทำนาได้  ผมก็ไม่ได้เรียนจบเกษตรเช่นกัน บางคนก็ว่าจบปริญญาแล้วมาทำนาทำไม ร้อนก็ร้อน เหนื่อยก็เหนื่อยผมว่าอาชีพอะไรก็ตามที่ทำแล้วดีมีความสุขก็ควรจะทำ  จบมาทำงานบริษัท รับราชการ เป็นลูกน้องเขาอาจไม่ได้มีความสุขเสมอไป  พี่ที่รู้จักแกเป็นอาจารย์มหาลัย จบ ป.เอก จากเมืองนอก แกก็ยังทำนาแต่งตัวไม่ได้ต่างอะไรจากชาวนา แกก็ใส่ปุ๋ย พ่นฮอร์โมนเองทุกอย่างทั้งที่จบสูงแกก็ยังทำเลย  อีกหน่อยผมก็คิดจะเป็นนายของตัวเองซักวัน Plan ไว้ไม่เกิน 7 ปี ผมว่าคนที่มีพื้นฐานเรียนมาสูง ๆ ค่อนข้างมีข้อได้เปรียบหากรู้จักอ่าน รู้จักค้นคว้าด้วยตนเองมีความรู้ภาษาต่างประเทศ มีพื้นฐาน(หลายเรื่องถ้ามีพื้นฐานจะเข้าใจเรื่องที่กำลังศึกษาง่ายขึ้นคนจบเกษตรจึงเข้าใจได้เร็วกว่า) ไม่ว่าจะด้วยการอ่าน หรือ การฟัง หรือการค้นจากอินเตอร์เน็ตก็จะดีกับการประกอบอาชีพทุกอาชีพ ไม่ว่าจะทำนา ทำไร่ ทำสวน หรือทำอะไรก็ตาม

ครับผมก็วางแผนไว้เหมือนกันครับ ตอนนี้กำลังเริ่มต้นครับ ชักวันเราต้องทำได้ แล้วอีกอย่างแค่ลำบากกาย ไม่ได้ลำบากใจ เหนื่อยก็ผัก แล้วถ้าเราทำเกษตรแบบผสมเราก็ประหยัดเรื่องกับข้าวอีก   (เจ้านายตัวเองดีที่สุดครับ)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #526 เมื่อ: วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013, 23:50:49 »

ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาหลาย ๆ ด้านทั้งจำนวนชาวนาลดลง ทั้งที่พื้นที่เพาะปลูกข้าวเพิ่มมากขึ้นแต่ก็มีทุนนิยมต่างประเทศเข้ามาลงทุนแย่งอาชีพชาวนาไทย มาตั้งโรงสีข้าวในไทยก็มีเชียงรายก็มีให้เห็น  อย่างสิงค์โปร์ซึ่งเป็นประเทศที่ค้าขายเก่งซึ่งมีเงินทุนหลายแสนล้านดอลล่าสหรัฐก็เล็งลงทุนธุรกิจโรงสีข้าวในไทยเช่นกัน  สำหรับปัญหาชาวนาลดลงก็เพราะครอบครัวในปัจจุบันจะมีลูกน้อยและมักมีค่านิยมส่งลูกเรียนสูง ๆ เพื่อหลีกหนีอาชีพชาวนาเพราะเห็นว่าเป็นอาชีพที่ลำบาก อยากให้ลูกเป็นเจ้าคนนายคน กลับมาดูชาวนารุ่นเก่าซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ได้เรียนสูงยังไม่ทันต่อเทคโนโลยีทำให้ง่ายต่อการถูกชักนำได้ง่ายส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสูงและได้ผลผลิตต่ำ  หากมองอนาคตในปี 2558  หากมีการเปิดประชาคมอาเซียน AEC ซึ่งประเทศสมาชิกต้องเปิดตลาดเสรีการค้าและบริการระหว่างกัน ทำให้สินค้าเกษตรอาเซียนที่มีคุณภาพดีกว่าหรือราคาถูกกว่าจะเข้ามาแข่งขันและแย่งตลาด ทำให้ผู้ประกอบการภาคการผลิตทั้งทางด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวมทั้งเกษตรของไทยที่มีขีดความสามารถในการผลิตต่ำจะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่มีขีดความสามารถในการผลิตสูงกว่าได้ เกษตรกร ผู้ประกอบการ หรือผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าวจึงต้องเร่งหาแนวทางและมาตรการเพื่อปรับตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น การปรับพฤติกรรมการผลิต การเพิ่มศักยภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิตสินค้าของตนเองเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับประเทศสมาชิกรายอื่นในประชาคมอาเซียนที่เข้ามาแย่งชิงพื้นทีตลาดเดิม  ซึ่งมีการสำรวจแล้วพบว่าชาวนาไทยไม่พร้อมรับมือในการเปิดประชาคมอาเซียน  อีกหน่อยเมื่อมีการแข่งขันก็จะมีมาตรฐานต่าง ๆ เข้ามาใช้ ทั้งมาตราฐานการผลิต สินค้า และการควบคุมสารพิษตกค้าง หากเรายังหลงสบายกับนโยบายรับจำนำ ไม่มีการปรับตัว ไม่ควบคุมต้นทุนในการปลูกข้าวและเพิ่มปริมาณผลผลิต ปี 2558 ก็จะลำบาก อีกหน่อยข้าวพม่า ข้าวเวียดนาม กัมพูชาก็คงเข้ามาตีตลาดบ้านเราแน่นอนเพราะโรงสีสามารถซื้อมาสีได้ในราคาที่ต่ำกว่าข้าวไทยทั้งที่คุณภาพใกล้เคียงกัน สำหรับผู้บริโภคหากคุณภาพข้าวเท่ากันเค้าคงไม่สนใจว่าข้าวไทยหรือข้าวต่างประเทศเค้าก็คงดูข้าวตัวไหนถูกกว่าก็ซื้อข้าวตัวนั้น  หลายคนคงงงว่าทำไมต้องเพิ่มผลผลิตก็เพราะว่าต้องเตรียมรับมาหากราคาข้าวลดต่ำลงยกตัวอย่างเช่น

ปี 2557  นาย ก.  ต้นทุน  3000 บาท  ผลผลิต  1000 กก/ไร่  ข้าวราคา 15 บาท/กก ขายข้าวได้ 15000 บาท  กำไร  12000 บาท
แต่หากปี 2558  ราคาข้าวเหลือ 12 บาท/กก  นาย ก. ก็ต้องเพิ่มผลผลิตให้ได้มากกว่าเดิมเป็น 1250  กก/ไร่ กำไรจึงจะได้เท่ากับ 12000 บาท แต่หากไม่สามารถเพิ่มผลิตได้นาย ก. ก็ต้องลดต้นทุนในการผลิตลงเพื่อชดเชยกำไรที่เสียไป

นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ผมจะลองปรับตัวมาทำนาปลูก เพื่อควบคุมคุณภาพ ไม่ใช้สารเคมีอันตรายเพื่อลดปริมาณสารพิษตกค้างในนา อีกทั้งยังดีต่อสุขภาพของตัวเราครอบครัวและคนกินข้าวครับ ผมมีญาติที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่เกิดจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรทั้งที่อายุ 53 ปีและไม่กี่ปีก็จะเกษียนอายุราชการแล้ว หมดค่ารักษาพยาบาลเกือบ 2 ล้านบาทแต่ก็ช่วยยื้อเวลาเท่านั้น แม้จะเบิกได้แต่ก็มีค่าใช้จ่ายหลาย  ๆ อย่างที่ต้องเสีย เบิกไม่ได้ ซึ่งก็ไม่คุ้มครับกับคำว่าง่ายสะดวกดี เงินเกือบ 2 ล้านสามารถนำมาจ้างแรงงาน มาซื้อเครื่องจักรทดแทนแรงงานได้ตั้งเยอะ บางคนชอบใช้ยาฆ่าหญ้าแทนการตัดหญ้าคันนาเพราะเห็นว่าอยู่ได้นานกว่า ผมว่าเลี่ยงอะไรได้ก็เลี่ยงครับ ยังไงขอเป็นกำลังใจกับชาวนารุ่นใหม่ที่ไม่ใช้สารเคมีอันตราย และปรับลดการใช้ปุ๋ยเคมีเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ให้ได้ครับ  ผมก็กำลังพยายามอยู่เช่นกัน นาปลูกคงช่วยลดเรื่องปุ๋ยเคมีได้บ้างครับ ดินเริ่มดีกว่าแต่ก่อนมากและตั้งใจจะไม่ใช้สารเคมีอันตรายอีกต่อไป
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #527 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 09:31:25 »

แปลงนาเมื่อวานที่ว่าครับ ลองจอดรถดูแล้วไม่ใช่จากเพลี้ยครับเป็นเพาะการพ่นยาฆ่าหญ้านั่นเอง แปลงนี้เสียดายที่เป็นแปลงนาดำโดยรถปลูกครับแต่เจ้าของไม่ควบคุมระดับน้ำและกำจัดหญ้าวัชพืชเมื่อยังเล็ก ๆ อยู่ สุดท้ายเมื่อหญ้าขึ้นแซงต้นข้าวก็เลยพ่นยาฆ่าหญ้าครับ ต้นข้าวก็ได้รับยาด้วยทำให้ข้าวหยอดหรือชะงักการเจริญเติบโตไปหลายวันซึ่งมีผลในการแตกกอ ยิ่งเป็นช่วงข้าวตั้งท้องจะมีผลต่อการออกรวงข้าวด้วย หากโดนมาก ๆ ข้าวก็ตายด้วยเช่นกันครับ


* IMG_0281.JPG (83.25 KB, 700x525 - ดู 827 ครั้ง.)

* IMG_0282.JPG (71.82 KB, 700x525 - ดู 889 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #528 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 09:54:26 »

บทความเทอดพระเกียรติ์

ในหลวง.. กับพืชที่เรียกว่าข้าว



ข้าวนี้มีคุณ

“...ข้าวที่ออกเป็นสีลักษณะนี้เป็นข้าวที่มีประโยชน์ อย่างข้าวกล้อง คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกินกัน เพราะเห็นว่าเป็นข้าวของคนจน ข้าวกล้องมีประโยชน์ทำให้ร่างกายแข็งแรง ข้าวขาวเมล็ดสวยแต่เขาเอาของดีออกไปหมดแล้ว...

มีคนบอกว่า คนจนกินข้าวกล้อง เรากินข้าวกล้องทุกวัน เรานี้ก็คนจน...”


(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่สื่อมวลชน วันที่ 18 พฤศจิกายน 2541)


"ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก.."


(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการพระราชดำริ ที่บ้านโคกกูแว จ.นราธิวาส วันที่ 28 กันยายน 2536)


"ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาการทดลองและทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมี ความยากลำบากอยู่ มิใช่น้อย จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิชาการต่างๆด้วยจึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน อีกประการหนึ่งที่นานั้น เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วควรปลูกพืชอื่นๆบ้าง เพราะจะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่ใช่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกากพืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้น เหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป"


(พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนา เมื่อ พฤษภาคม 2504 จากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพั
พัฒนาข้าวไทย : หน้า 2)


"...ในสมัยปัจจุบัน อาชีพเพาะปลูกนี้มีความสำคัญมาก เพราะการเพาะปลูกนี้เป็นจุดเริ่มต้น ของชีวิตมนุษย์ ถ้าเราไม่มีการเพาะปลูก ก็จะไม่มีวัตถุดิบที่จะมาเป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องนุ่งห่ม หรือเป็นสิ่งก่อสร้าง ฉะนั้นต้องทำการกสิกรรม..."


(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้นำสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์นิคม ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2521
จากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาข้าวไทย : หน้า 2)


"ในอนาคต...ข้าวไร่มีบทบาทมากเพราะไม่ต้องใช้น้ำมาก และอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ สำหรับพวกข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์ให้เป็นพืชเสริมสำหรับแปรรูป เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชาวเขาและเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง"

(กระแสพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จทอดพระเนตรแปลงทดลองข้าว ณ สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง  วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519
จากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาข้าวไทย : หน้า 13)

การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาข้าว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว..ทรงตระหนักถึงความสำคัญของข้าวว่าเป็นอาหารหลักของคนไทย และเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ จึงทรงให้ความสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาข้าวอย่างต่อเนื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการวิจัยและส่งเสริม การปลูกข้าวนาสวน ข้าวไร่ ตลอดจนการปรับปรุงระบบการผลิตข้าวในโครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ 6 แห่ง คือ


-  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ
-  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ
-  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ
-  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ
-  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
-  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ


โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถพึ่งตนเองได้ ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ดำเนินการทางด้านการเกษตรต่างๆ เพื่อเป็นตัวอย่างและเป็นแหล่งความรู้ ทรงทุ่มเทเพื่อการศึกษาวิจัย เพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะการทดลองเกี่ยวกับการผลิตข้าวอย่างครบวงจร ภายในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

ในปี พ.ศ. 2504 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมการข้าว(ปัจจุบันคือกรมวิชาการเกษตร) ดำเนินการจัดทำแปลงนาในบริเวณสวนจิตรลดา และนำพันธุ์ข้าวต่างๆมาปลูกทดลองเพื่อทำการศึกษา โดยในครั้งแรกทรงขับรถไถนาเตรียมแปลงหว่านข้าว และทรงเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์เอง
 
ปัจจุบันแปลงนาข้าวทดลอง เป็นที่ปลูกข้าวพันธุ์ดี ซึ่งส่งเสริมให้ชาวนาปลูกในภาคต่างๆ เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้จากนาข้าวทดลอง จะนำไปใช้ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และนำไปบรรจุซองเล็กๆ จัดเป็น "พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน" แจกจ่ายให้กับพสกนิกรและเกษตรกรทั่วประเทศ เพื่อเป็นสิริมงคลในการประกอบอาชีพ


ระบบสหกรณ์

"ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมผลผลิตให้ได้ปริมาณสูงสุดแต่เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นการสิ้นเปลืองค่าโสหุ้ย และทำลายคุณภาพดิน แต่ควรศึกษาสภาวะการตลาดการเกษตร ตลอดจนการควบคุมราคาผลิตผลไม่ให้ ประชาชนได้รับความเดือนร้อน" (จาก หนังสือ "ใต้ร่มพระบารมี" 20 ปี กปร. หน้า 66)


"เวลานึกถึงทำไมมีข้าวมาก ราคาข้าวก็ตก ก็น่าจะเป็นการดีที่มีข้าวมาก พวกเราที่บริโภคข้าวก็จะได้ซื้อข้าวในราคาถูก แต่หารู้ไม่ว่าข้าวที่บริโภคทุกวันนี้ ราคาก็ยังแพงเป็นที่เดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไป ก็ต้องหาเหตุผล ทำไมแพง ข้าวที่บริโภคแพง และข้าวที่ชาวนาขายถูก...


เข้าไปหากลุ่มชาวนา ถามเขาว่าเป็นอย่างไร เขาบอกว่าแย่ ข้าวราคาถูก ก็ถามเขาว่า ยุ้งฉางมีหรือเปล่าที่จะเก็บข้าว เขาบอกว่ามี ก็เลยเห็นว่าควรที่จะเก็บข้าวเอาไว้ก่อน หลังจากที่ข้าวล้นตลาด แต่ว่าไม่ทันนึกดูว่า ทำไมเขาเก็บข้าวไม่ได้ แม้จะมียุ้งฉาง ก็เพราะเขาติดหนี้


เหตุที่ติดหนี้ก็คือ เสื้อผ้าเหล่านั้น หรือกะปิ น้ำปลา หรือแม้กระทั่งข้าวสาร ก็ต้องบริโภค ถ้าไม่ได้ไปซื้อที่ตลาด หรือร่วมกันซื้อ ก็คงเป็นพ่อค้า หรือผู้ที่ซื้อข้าวเป็นผู้นำมา อันนี้ก็เป็นจุดที่ทำให้ข้าวถูก ... ข้าวเปลือกถูก แล้วก็ทำให้ข้าวสารแพง คือว่าชาวนาทำนาไปตลอดปี ก็ต้องบริโภค เมื่อต้องบริโภคก็ต้องเอาสิ่งของ ต้องไปติดหนี้เขามาสำหรับหาสิ่งของบริโภค แล้วก็เอาเครื่องบริโภคก็ได้รับบริการอย่างดีที่สุดจากผู้ที่มาซื้อข้าว บอกว่าไม่ต้องเอาข้าวมาเดี๋ยวนี้ เวลาได้ผลแล้วก็จะเอา แต่ว่าเอาสิ่งของมาให้แล้วก็เชื่อ ของนั้นก็มีราคาแพง เพราะว่านำมาถึงที่ ข้าวที่เวลาได้แล้วจะขายก็ต้องขายในราคาถูก เพราะว่าเขามักรับถึงที่


อันนี้เป็นปัญหาสำคัญถ้าจะแก้ปัญหานี้ ก็จะต้องแก้จุดนี้ ต้องแก้ด้วยการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มผู้บริโภคเหมือนกัน แล้วก็ไปติดต่อกับกลุ่มผู้ผลิต โดยที่ไปตกลงกันและอาจจะต้องตั้ง หรือไปตกลงกับโรงสีให้แน่ จะได้ไม่ต้องผ่านหลายมือ ถ้าทุกคนที่บริโภคข้าวตั้งตัวเป็นกลุ่ม แล้วก็ไปซื้อข้าวเปลือก แล้วไปพยายามสีเองหรือให้ผู้แทนของตัวสี ก็ผ่านมือเพียงผู้ที่ผลิต ผู้ที่สี และผู้ที่บริโภค ก็ตัดปัญหาอันนี้ (คนกลาง) ลงไป "


(พระราชดำรัส ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรี ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2514
จากหนังสือ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาข้าวไทย : หน้า 6-7)


ไม่ว่าจะเสด็จประพาสยังท้องถิ่นชนบทที่ทุรกันดาร ณ แห่งหนใด พระองค์จะทรงแนะนำให้นำ หลักการสหกรณ์มาใช้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพซึ่งข้อดีของระบบนี้ คือ สอนให้ราษฎรรู้จักช่วยเหลือตัวเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ลดการเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลางและนายทุน ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มราคาผลิตผลของตนเอง โครงการสหกรณ์ตามพระราชดำริ จึงเกิดขึ้นตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งกิจการโรงสีข้าว ธนาคารข้าว ธนาคารโคและกระบือ เป็นการดำเนินงานโดยใช้หลักของระบบสหกรณ์ทั้งสิ้น



ธนาคารข้าว

"ธนาคารข้าว... ให้มีคณะกรรมการควบคุม ที่คัดเลือกจากราษฎรในหมู่บ้าน เป็นผู้เก็บรักษา และพิจารณาจำนวนข้าวที่จะให้ยืมและรับข้าวคืน ตลอดจนจัดทำบัญชีทำการของธนาคารข้าว ราษฎรที่ต้องการข้าวไปใช้บริโภคยามจำเป็น ให้คงบัญชียืมข้าวไปใช้จำนวนหนึ่ง เมื่อสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้แล้วก็นำมาคืนธนาคาร พร้อมด้วยดอกเบี้ย (ข้าว) จำนวนเล็กน้อยตามแต่ตกลงกัน ซึ่งข้าวซึ่งเป็นดอกเบี้ยดังกล่าวก็จะเก็บรวบรวมไว้ในธนาคาร และถือเป็นสมบัติของส่วนรวม...ราษฏรต้องร่วมมือกันสร้างยุ้งที่แข็งแรง ทั้งนี้หากปฏิบัติตามหลักการที่วางไว้ จำนวนข้าวที่หมุนเวียนในธนาคารจะไม่มีวันหมด แต่จะค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้น และจะมีข้าวสำหรับบริโภคตลอดไปจนถึงลูกหลาน ในที่สุดธนาคารข้าวจะเป็นแหล่งที่รักษาผลประโยชน์ของราษฎรในหมู่บ้าน และเป็นแหล่งอาหารสำรองของหมู่บ้านด้วย"


(ทรงพระราชทานแนวทางดำเนินงานธนาคารข้าวแก่ราษฎรชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2519 จากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาข้าวไทย : หน้า เจ๋ง


ทรงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคารข้าว เพื่อเป็นการเก็บรักษาข้าวไว้บริโภคเมื่อขาดแคลน โดยมีผู้เก็บพิจารณาจำนวนข้าวที่จะให้ยืมและรับข้าวคืน ราษฎรที่ต้องการยืมข้าวให้ลงบัญชีไว้ เมื่อเก็บเกี่ยวได้แล้วให้นำมาคืนธนาคารพร้อมด้วยดอกเบี้ย(ข้าว) นำมาเก็บในธนาคารเป็นสมบัติของส่วนรวม ธนาคารข้าวยังเป็นการสร้างรากฐานของการพัฒนา สร้างความสามัคคี รู้จักการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหา มีส่วนร่วม มีความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีแก่ชุมชนนั้นต่อไปในอนาคต

ขอขอบพระคุณ : คุณ yyswim แห่ง bloggang.com สำหรับบทความดี ๆ

ที่มา : คัดจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yyswim&month=31-10-2005&group=6&gblog=11
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #529 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 09:57:08 »

ในหลวงกับเทคโนโลยีการเกษตร

ทฤษฎี "แกล้งดิน" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่า หลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุเพื่อจะได้มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วยการแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อย อยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตรเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้นเมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน" เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #530 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 09:58:43 »

ทฤษฎีใหม่ : การบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ



ในทุกคราที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศนั้นได้ทรงถามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดล พระราช หฤทัย อันเป็นแนวคิดขึ้นว่า

1. ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มปริมาณเม็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น
2. หากเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน
3. การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัด ของปริมาณที่ดิน เป็นอุปสรรคสำคัญ
4.หากแต่ละครัวเรือนมีสระน้ำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้วเมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับปริมาณในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อย และเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า
ในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการทดลอง"ทฤษฎีใหม่"เกี่ยวกับการจัดการที่ดิน และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้นณวัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

แนวทฤษฎีใหม่กำหนดขึ้นดังนี้ให้แบ่งพื้นที่ถือครอง ทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทย มีเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ต่อครอบครัว แบ่งออกเป็นสัดส่วน 30-30-30-10 คือ

ส่วนแรก :
ร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 3 ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตรโดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรจะสามารถนำน้ำนี้ไปใช้ในการเกษตร ได้ตลอดปีและยังสามารถเลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย

ส่วนที่สอง :
ร้อยละ 60 เนื้อที่เฉลี่ย ประมาณ 10 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่นี้ออกเป็น2ส่วนคือร้อยละ30ในส่วนที่หนึ่ง:ทำนาข้าวประมาณ5ไร่ร้อยละ30ในส่วนที่สองปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพ ของ พื้นที่และภาวะตลาด ประมาณ 5 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนโดยใช้หลักเกณฑ์ว่า ในพื้นที่ทำการเกษตร นี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ถ้าหากแบ่ง แต่ละแปลงเกษตรให้มีเนื้อที่ 5 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการน้ำจะต้อง ใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง

ส่วนที่สาม :
ร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่ เหลือ มีเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 2 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง คันคูดินหรือคูคลอง ตลอดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ ทฤษฎีใหม่จึงเป็นแนวพระราชดำริใหม่ที่บัดนี้ได้รับการพิสูจน์และยอมรับกันอย่าง กว้างขวางในหมู่เกษตรกรไทยแล้วว่า พระราชดำริของพระองค์เกิดขึ้นด้วย พระอัจฉริภาพ สูงส่งที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ความสมบูรณ์พูนสุขแห่งราชอาณาจักรไทย อุบัติขึ้นในครั้งนี้ด้วยพระปรีชาสามารถอันเฉียบแหลมของพระมหากษัตริย์ไทยผู้มิเคยทรงหยุดนิ่งที่จะระดมสรรพกำลังทั้งปวงเพื่อความผาสุข ของชาวไทย


IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #531 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 10:02:10 »

ในหลวงกับน้ำ

“… หลักสำคัญว่า ต้องมีน้ำ น้ำบริโภคและน้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำ คนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้า คนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้…”  พระราชดำรัส 17 มีนาคม 2539



สังคมไทยมีรากฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม การปลูกข้าวเป็นผลผลิตของคนส่วนใหญ่ในประเทศ วิถีชีวิตของคนเพาะปลูกข้าว จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการรังสรรค์วัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ทั้งวัฒนธรรมการเมืองการปกครอง วัฒนธรรมการกินอยู่ วัฒนธรรมทางความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรมทางภาษา และตลอดจนการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งรวมเรียกได้ว่า “เป็นวัฒนธรรมข้าว” (Rice Culture)



แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น มิได้เน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเป็นสำคัญ แต่ทรงให้ความสำคัญ และเน้นการพัฒนาในทุกด้านอย่างสัมพันธ์กัน ทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาด้านสังคม รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งตามแนวพระราชดำริในการพัฒนาเช่นนี้ จะเป็นผลให้เกิดความสมดุลต่อการพัฒนาประเทศ และกล่าวได้ว่า วิธีการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ โดยการยึดหลักความต้องการที่แท้จริงของประชาชน สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และประเพณีของชุมชนในสังคมนั้นเป็นหลัก



“น้ำ” คือชีวิตของราษฎร ในหลวงของเราจึงทรงงานอย่างหนัก เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์อยู่เย็นเป็นสุข มีงานทำตามอัตถภาพ


พระปรีชาสามารถในการจัดการทรัพยากรน้ำให้เพียงพอต่อการกินอยู่ของพสกนิกร ผ่านแนวพระราชดำริมากมาย จนได้รับขนานพระนามว่า “ครูทรัพยากรน้ำของแผ่นดิน”


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 10:06:41 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #532 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 10:38:07 »

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว

1. ปัจจุบันประชากรทั่ว 7,068,600,000 คน(มากกว่าครึ่งของประชากรทั้งโลก)นิยมบริโภคข้าว
มากกว่าขนมปังและมีแนวโน้มว่าจะมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายถึงตลาดข้าว โลกที่มีโอกาสโตขึ้น
               
2. ทั่วโลกมีข้าวประมาณ 120,000 สายพันธุ์......ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ที่ได้มากหรือ
น้อยต่างกันนั้น นอกจากข้อจำกัดของลักษณะทางสายพันธุ์แล้ว สภาพอากาศ สภาพแวดล้อมและเทคนิคการปฏิบัติบำรุงก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย                             
                               
ข้าวไวแสง  หมายถึง  ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วเจริญเติบโตได้ดีในช่วงกลางวันสั้นกว่ากลางคืน หรือวันสั้นซึ่งมีแสงน้อยกว่า 12 ชม. เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวนาปีหรือปลูกในฤดูฝนแล้วให้ออกดอกในต้นฤดูหนาว                     
 
ข้าวไม่ไวแสง หมายถึง  ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วเจริญเติบโตได้ดีทุกฤดูกาลตราบเท่าที่มีน้ำอย่างเพียงพอ ปริมาณแสงไม่มีอิทธิผลต่อการเจริญเติบโต เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวนาปรังหรือช่วงฤดูร้อน
                     
           
ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีแต่ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ดีมาก  ทั้งนี้เป็นเพราะสายพันธุ์ได้ผ่านกระบวนการพัฒนามาโดยธรรมชาติ  ในขณะที่ข้าวลูกผสมหรือสายพันธุ์ที่สร้างขึ้นมาใหม่จำเป็นต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี  คงเป็นเพราะเทคโนโลยีในการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีเรื่อง  “เชิงพานิช”  เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนั่นเอง             
       

3. ข้าวอายุสั้นฤดูกาลเดียว ปลูกได้ทุกพื้นที่และทุกฤดูกาลที่มีน้ำ โดยหลังเมล็ดงอก 90-
120 วัน (ตามชนิดของสายพันธุ์)ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้  เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดที่มีอินทรีย์วัตถุมากๆ โปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวก               
 

4. ข้าวไม่มีฤดูกาล  ลงมือหว่าน/ดำเมื่อใดให้นับต่อไปอีก 90-120 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้ การทำ
นาข้าวส่วนใหญ่รอน้ำฝนอย่างเดียว โดยเริ่มลงมือดำ/หว่านเมื่อถึงฤดูฝน  จึงทำให้มีข้าวออกสู่ตลาดพร้อมกันทั้งประเทศ (พ.ย.และ มี.ค. ข้าวเปลือกล้นตลาด) ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกถูกลง เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะข้าวล้นตลาด นาในเขตชลประทานซึ่งมีน้ำบริบูรณ์ สามารถผันน้ำเข้าแปลงนาได้ทุกเวลาที่ต้องการ  ควรวางแผนหว่าน/ดำ ก่อนหรือหลังนาน้ำฝน 1½ เดือน-2 เดือน จะทำให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนหรือหลังนาน้ำฝน 1½-2 เดือน ซึ่งช่วงนี้ข้าวเริ่มมีราคาดีขึ้นแล้ว  หลังจากจัดตารางช่วงการทำนาได้ ในปีแรกก็จะใช้ตารางช่วงการทำนานี้ได้ตลอดไป

ข้าวเปลือกเก็บในที่ควบคุม (ไซโล) ยังไม่สีเอาเปลือก (แกลบ)ออก จะยังคงรักษากลิ่นไว้ได้ เมื่อนำออกสีก็ยังได้กลิ่นเดิม แต่หากสีเอาแกลบออกแล้วกลิ่นจะอยู่ได้ไม่นานแม้จะจัดเก็บอย่างดี.....
ข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ (ไม่มีแกลบ)แต่จมูกข้าวยังอยู่ สามารถนำไปเพาะขายพันธุ์ได้เหมือนเมล็ดที่ยังมีแกลบห่อหุ้มทุกประการ.....เมล็ดข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือไม่มีแกลบ ทดสอบด้วยการใช้ฟันกัดเมล็ดด้านปลาย (ตรงข้ามกับจมูกข้าว) จะสัมผัสได้กับกลิ่นตามสายพันธุ์ของข้าวพันธุ์นั้น
               
     

5. นาข้าวเป็นกิจกรรมทางการเกษตรที่มีประชากรทำมากที่สุด หรือมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดจนได้รับสมญาว่าเป็นชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ และข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ชนิดเดียวที่มีโรคและแมลงศัตรูพืชมากที่สุด
                                             

6. เมล็ดพันธุ์ข้าวบางสายพันธุ์ไม่มีระยะพักตัว บางสายพันธุ์มีระยะพักตัวยาว  หรือ  0-80 วัน
ดังนั้น ก่อนหว่าน/ดำจำเป็นต้องรู้ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ด้วย.....เมล็ดพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวในช่วง
แล้ง อุณหภูมิร้อนมักมีระยะพักตัวสั้น ความสำคัญของระยะพักตัว คือ เมล็ด พันธุ์ที่ผ่านระยะพักตัวครบกำหนดตามธรรมชาติของสายพันธุ์  จะให้เปอร์เซ็นต์งอกสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ที่พักตัวไม่ครบกำหนด หรือไม่ได้พักตัวเลย หรือพักตัวเกินกำหนด               
                   

7. การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน)ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก
               
     

8. แปลงนาน้ำพอแฉะหน้าดิน ตอบสนองต่อปุ๋ย(เคมี-อินทรีย์)ดีกว่าแปลงนาน้ำขัง สังเกตแปลงนาต้นข้าวที่ขึ้นในแปลงบริเวณรอยต่อระหว่างที่ลุ่มกับที่ดอนซึ่งมีน้ำพอแฉะดินไม่ท่วมโคนต้น ต้นข้าวบริเวณนั้นมักเจริญเติบโต สมบูรณ์ แตกกอมีจำนวนลำมากกว่าต้นข้าวในบริเวณที่มีน้ำหล่อโคนต้น แสดงว่าธรรมชาติหรือนิสัยของต้นข้าวชอบน้ำพอดินแฉะเท่านั้น
               

9. แก๊สคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จากอากาศมีประโยชน์ต่อต้นข้าวในการสร้างแป้งหรือเปลี่ยนธาตุอาหารต่างๆ ให้เป็นแป้ง                 
     

10. ข้าวที่ปลูกระยะระหว่างกอห่างๆ แล้วบำรุงให้แต่ละกอแตกหน่อเกิดเป็นลำใหม่จำนวนมากจะให้ผลผลิตดีกว่าทั้งคุณภาพและปริมาณ เมื่อเทียบกับการปลูกระยะระหว่างกอชิดมากๆ แต่ละกอจะแตกหน่อเกิดเป็นลำใหม่น้อยๆ ปริมาณและคุณภาพไม่ดีนัก         
       

11. การลดความสูงต้นของต้นข้าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพ นอก  จากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรงไม่ล้มหักง่าย และโรคแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย....ลำต้นสูงมากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้น จึงทำให้มีสารอาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ ฟางมากเมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก....ต้นข้าวในน้ำที่ระดับพอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตกกอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือท่วมโคน....ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก ไนโตรเจนมาก) จะมีรวงสั้น แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำพอแฉะหน้าดิน สารอาหารสมดุลทุกตัว)จะมีรวงยาว...ต้น ข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน ควบคู่กับช่วงตั้งท้องแต่งตัวให้  0-42-56 โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตข้างอวบอ้วน เหมือนต้นไม้ผลมีอาการอั้นตาดอก....การตัดใบยอดช่วงตั้งท้องแต่งตัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ต้นข้าวไม่สูงต่อ แล้วอวบ อ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน                       

12. ต้นข้าวที่ปลูกโดยวิธีปักดำ ฐานรากยึดดินลึกและแน่น สามารถต้านทานการล้มได้ดีกว่าปลูกแบบหว่าน.....เทคโนโลยีสมัยใหม่ ปัจจุบันมีเครื่อง (รถ)ดำนา ด้วยการปักต้นกล้าข้าวลงดินโดยตรง สามารถจัดปรับระยะห่างระหว่างกอได้ตามความต้องการและ ทำงานด้วยแรงงาน 2 คน...เครื่อง(รถ) หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ขับเคลื่อนตัวเองหรือลากด้วยรถไถเดินตาม หยอดเมล็ดเป็นหน้ากว้าง 2.5-3 ม. ทำงานด้วยแรงงานเพียง 1 คน เมล็ดพันธุ์ที่ถูกหยอดลงบนผิวขี้เทือกจึงเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่หว่านด้วยมือ แต่ระยะห่างระหว่างเมล็ดต่อเมล็ดสามารถกำหนดได้ตามความต้องการ
               
       
13. ดอกข้าวเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน และผสมกันเอง
ได้.....ดอกจะเริ่มบานจากส่วนปลายรวงลงมาโคนรวง ดอกบานครบทั้งรวงใช้ระยะเวลาประมาณ 7วัน และช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบเพราะอาจทำให้เกสรเปียกชื้นจนผสมไม่ติดได้ หรือผสมติดก็ได้คุณภาพเมล็ดไม่ดี
             
ดอกข้าวที่บานในวันอากาศสดใสแสงแดดดีช่วงเช้าถึงเที่ยงจะผสมเกสรติดเป็นผล(เมล็ด)ได้ดี ซึ่ง
ดอกข้าวจะบานและเกสรพร้อมผสมได้ภายในระยะเวลา 30-60 นาที
- ระยะข้าวเป็นน้ำนม ใช้เวลาประมาณ 7 วันหลังผสมติด                       
- ระยะข้าวเม่าหรือเป็นไต ใช้เวลาประมาณ 14-21 วันหลังผสมติด
- ระยะเมล็ดแก่เต็มที่หรือระยะเก็บเกี่ยว ใช้เวลาประมาณ 30 วันหลังผสมติด
               

14. อากาศหนาว (15-20 องศาเซลเซียส/ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง)ติดต่อกัน 10 วันมีผลต่อ
ต้นข้าวหลายอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า ต้นแคระแกร็น ใบเหลือง ออกดอกช้า และช่วงออกดอกเป็นช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อ ผสมไม่ติด หรือผสมติดก็เป็นเมล็ดลีบ แก้ไขโดยให้ แม็กเนเซียม+ สังกะสี + กลูโคส หรือ ฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศหนาว ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศหายหนาว
                         

15. อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติดหรือเริ่มเป็นน้ำนมจะกลายเป็นข้าวลีบมาก แก้ไขโดยการให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.+ ฮอร์ โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนอากาศร้อน 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ
               
       
16. สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียด เนื่องจากต้องคายน้ำมาก มีผลทำให้เมล็ดข้าวลีบ รวงจะเป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด
                 

17. การนับอายุข้าว นาดำเริ่มนับที่วันปักดำ ส่วนนาหว่านเริ่มนับที่วันหว่าน แต่อย่างไรก็ตาม ใน
ธรรมชาติไม่มีตัวเลข ทุกอย่างต้องขึ้นกับปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตรทั้งสิ้น
               

18. ตกกล้าสำหรับนาดำ ระหว่างการตกกล้าในกระบะ (ตาป๊อก) กับการตกกล้าในแปลงบนพื้นใช้เวลา 16-20 วัน เท่ากัน แต่ต้นกล้าในแปลงบนพื้นจะสูงกว่า.....ต้นกล้าในกระบะเหมาะสำหรับใช้ปักดำด้วยเครื่องดำนาส่วนต้นกล้าในแปลงบนพื้นเหมาะสำหรับปักดำด้วยมือ
               

19. ในนาหว่าน ถ้าระดับน้ำท่วมเมล็ดมาก (น้ำลึก)เมล็ดจะงอกช้าเพราะในน้ำมีอากาศน้อย หลัง
จาก งอกขึ้นมาแล้วลำต้นจะสูงและอ่อนแอ แต่ถ้าหว่านเมล็ดระดับน้ำพอท่วมเมล็ดหรือท่วมน้อยที่สุดจะงอกเร็วเพราะเมล็ดพันธุ์ได้รับอากาศดี
                       

20. ระดับอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เมล็ดพันธุ์งอกได้ดีที่สุด....อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศา
เซลเซียสเมล็ดพันธุ์จะไม่งอก....การทำให้เมล็ดพันธุ์อบอุ่น โดยหลังจากแช่น้ำ 24 ชม. แล้วนำ
ขึ้นกองบนพื้นซีเมนต์ ปิดทับด้วยพลาสติกนาน 24 ชม. อุณหภูมิในกองจะสูงขึ้นส่งผลให้ได้
เปอร์เซ็นต์งอกสูง                 
       

21. ต้นข้าวที่เจริญเติบโตในช่วงอุณหภูมิสูง จะเจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตดีกว่าต้นข้าวที่เจริญเติบโตในช่วงที่อุณหภูมิต่ำ                           
     

22. ต้นกล้าที่มีขนาดอวบอ้วน น้ำหนักมาก จะเจริญเติบโตเร็วและให้คุณภาพผลผลิตดีกว่าต้นกล้าผอม น้ำหนักน้อย..ต้นข้าวที่สมบูรณ์ ภายใต้ปัจจัยพื้นฐานแห่งการเพาะปลูกจะแตกใบใหม่ทุก 7 วัน
                 
     
23. นาดำ  ปักดำกล้ากอละ 1 หรือ 2 ต้น หรือมากว่า ให้ผลผลิตไม่ต่างกันแต่สิ้นเปลืองต้น
กล้า แรงงาน และเวลาต่างกัน                       
     

24. การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8
หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1  จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการ
ใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ
               
                                 
25. ข้าวหอมมะลิ กข.105 ถือกำเนิดที่ จ.ฉะเชิงเทรา ดังนั้นจึงไม่น่าที่จะปลูกในพื้นที่จังหวัด
อื่นๆไม่ได้ การที่ข้าวหอมมะลิ กข.105 มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวนั้น นอกจากเป็นผลงานของจุลินทรีย์ชนิดแล้ว ลักษณะสภาพโครงสร้างของดินที่มีเกลือสินเธาว์ก็น่าจะมีส่วนด้วย
             
ข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ กับข้าวพันธุ์ข้าวขาวหอมมะลิ เป็นข้าวละสายพันธุ์และมีคุณสมบัติแตกต่างกัน


26. ต้นข้าวที่ขึ้นห่างๆ จะแตกกอจำนวนมาก  แต่ละกอมี 20-30 ลำ 1 ลำได้ผลผลิต 1 รวง
ต้นและใบที่ได้รับแสงแดดเต็มที่จะส่งผลให้คุณภาพผลผลิตดี โรคแมลงรบกวนน้อย การเดินเข้าไปตรวจแปลงง่ายและสะดวก......ต้นข้าวที่ขึ้นถี่ๆจะแตกกอน้อย ต้นและใบได้รับแสงแดดน้อย ส่งผลให้คุณภาพผลผลิตไม่ดี  กับทั้งโรคแมลงรบกวนมากด้วย
                       
ช่วงต้นข้าวระยะน้ำนมสามารถตรวจสอบปริมาณผลผลิตในเนื้อที่ 1 ไร่ ได้โดยเดินทแยงมุมจากมุมกระทรงหนึ่งไปยังมุมกระทงตรงข้าม เก็บข้าวรวงแรก แล้วดินต่อไปอีก 10 ก้าวให้เก็บรวงที่สอง  และให้เก็บรวงข้าวทุกๆระยะเดิน 10 ก้าว จนสุดมุมกระทงนา เก็บรวงข้าวมาแล้วนับจำนวนรวงที่เก็บมา จากนั้นให้เด็ดเมล็ดข้าวออกจากรวงทุกรวง  นับจำนวนเมล็ดทั้งหมดแล้วหารด้วยจำนวนรวงเพื่อหาค่าเฉลี่ย ตัวเลขผลหารคือ ผลผลิตโดยประมาณของผลผลิตข้าวในเนื้อที่ 1ไร่นั้น เช่น เก็บรวงข้าวมาได้ 10 รวง เด็ดเมล็ดออกมานับรวมกันได้ 1,230 เมล็ด ค่าเฉลี่ย (1,230 หารด้วย 10) เท่ากับ 123.3 แสดงว่านาข้าวไร่นั้นจะได้ผลผลิตโดยประมาณ 123 ถัง นั่นเอง
                                           
ตัวเลขหนึ่งในนาข้าวที่หายไปอย่างน่าสงสัย คือ.....
เมล็ดข้าว 1 เมล็ดปลูกแล้วได้ต้นข้าว 1 กอ                     
ต้นข้าว 1 กอ บำรุงดีแตกกอได้ 50 ลำ                     
ลำต้นข้าว 1 ลำ ได้เมล็ดข้าว 1 รวง                     
ข้าว 1 รวง บำรุงปกติได้ 100 เมล็ด                     
 
ดังนั้น ลำข้าว 50 ลำซึ่งเกิดจากเมล็ดพียง 1 เมล็ด จะได้เมล็ดข้าว 5,000 เมล็ดหรือได้มากขึ้น
5,000 เท่า...กรณีที่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก 1 ถัง ก็น่าจะได้เมล็ดข้าว 5,000 ถัง ใช่หรือไม่ ?     

27. ต้นข้าวที่ขึ้นห่างๆ ใบแผ่กางรับแสงแดดได้เต็มหน้าใบ จะสมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตมาก และคุณภาพดีกว่าต้นข้าวที่ขึ้นเบียดชิดจนใบไม่สามารถแผ่กางรับแสงแดดเต็มหน้า ใบได้
               
28. ต้นข้าวระยะพลับพลึง (ก่อนเกี่ยว)แต่ใบยังเขียวหรือเขียวอมเหลือง บ่งบอกถึงความสมบูรณ์
สูงของต้น ซึ่งจะส่งให้เมล็ดข้าวคุณภาพดี ให้น้ำ 100 ล.+ น้ำคั้นใบเตยสด 250-300 ซีซี.+
กลูโคสน้ำ 100 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบ ก่อนเกี่ยว 5-7 วัน จะช่วยบำรุงให้ข้าวมีกลิ่นหอมดีขึ้น


* DSC_0133.jpg (184.24 KB, 872x579 - ดู 843 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #533 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 11:03:49 »

29. ระยะน้ำนม รวงข้าวเริ่มโค้งลง ถ้าลำต้นสูงมากหรือความสมบูรณ์ต่ำ เมื่อถูกลมพัดมักจะล้มหรือหัก อาการล้มหรือหักของต้นทำให้น้ำเลี้ยงจากรากลำเลียงไปสู่รวงไม่ได้จึงทำให้ได้เมล็ดข้าวคุณภาพต่ำแนวทางแก้ไข คือ ช่วงตั้งท้องต้องบำรุงด้วย 0-42-56 ย่างน้อย 2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วันจะช่วยลำต้นไม่สูงแต่อวบอ้วนดี
           
ให้ฮอร์โมนสมส่วน หรือน้ำคั้นเมล็ดข้าวน้ำนม หรือรกสัตว์หมักข้ามปี ซึ่งมีโซโตคินนินจะช่วยบำรุงเมล็ดข้าวให้มีขนาดใหญ่ขึ้น                     
           
ให้ ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน โดยแบ่งเฉลี่ยให้ 1-2 รอบ ตลอดอายุตั้งแต่ระยะกล้าถึงเก็บเกี่ยว จะช่วยเสริมสร้างให้ได้เปอร์เซ็นต์แป้งสูงขึ้น
                   
                                           
30. นาข้าวที่ได้ 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก. ......ปริมาณฟาง 1 ตัน จะให้
สารอาหารพืชประกอบด้วย ไนโตรเจน 6.0 กก. ฟอสฟอรัส 1.4 กก. โปแตสเซียม 17.0
กก. แคลเซียม 1.2 กก. แม็กเนเซียม 1.3 กก. ซิลิก้า 50.0 กก.       
           
ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่)ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก.
เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย
           
ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้ง ต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ
           
มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์ อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี จะทำให้เกิดการ สะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้นและดีขึ้น ตามลำดับ
                     
       
31. ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3รุ่นแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้วยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
                 
32. นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด จากนั้น จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนา จะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์)สำหรับต้นข้าว
                 
33. นาดำหลังจากปักดำแล้วใส่แหนแดงหรือแหนเขียว อัตรา 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่ หรือกระทงนา ปล่อย
ไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนดำนาก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมๆกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วยแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย(ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว                 
       

34. ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ) เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง.......แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุ และสารปรับ
ปรุงบำรุงดินมากจะให้ผลผลิตดีมากไม่เฝือใบ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า ต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ)แก้ไขโดยการให้ “โมลิบดินั่ม + แคลเซียม โบรอน” 1 ครั้ง
     

35. สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน ฯลฯ ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติหรือ เกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ                       
           
วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโต สาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งพืชคือผู้นำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร (จุลินทรีย์)นั่นเอง ดังนั้นจากคำกล่าวที่ว่า ดินมีสารอาหารพืช ต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่าดินเคยมีสารอาหารจึงจะถูกต้องตามข้อเท็จจริง
                 
           
แนวทางแก้ไข คือ จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ
                   
       

36. การดัดแปลงคันนาให้กว้าง 3-4 ม. แล้วปลูกพืชสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ ฯลฯ
บนคันนานั้น ผลผลิตที่ได้เมื่อเทียบกับจำนวนเนื้อที่แล้วจะได้มากกว่าข้าว
                     

37. การเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยการทำร่องน้ำรอบแปลงนาเพื่อให้ปลาอยู่นั้น ร่องน้ำกว้าง 2.5-3
ม. ลึกจากพื้นระดับในแปลงนา 80 ซม.- 1 ม. มีน้ำจากแหล่งธรรมชาติที่สามารถหล่อเลี้ยงปลา
ในร่องได้ตลอดอายุของปลา หรือบางครั้งให้น้ำล้นจากร่องน้ำเข้าสู่แปลงนาหล่อเลี้ยงต้นข้าวได้ด้วย
                                                     
การเลี้ยงปลาในนาข้าวสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น  ดัดแปลงปรับปรุงพื้นที่ลุ่มที่มีอยู่เดิมในแปลงนาให้กักเก็บน้ำได้ตลอดฤดูกาลหรืออายุปลา ทำร่องล้อมรอบแปลงนาหรือ ขุดเป็นบ่อขึ้นมาใหม่ที่บริเวณลาดต่ำในแปลงนา ข้อควรคิดต่อการเลี้ยงปลาในนาข้าวที่จำเป็นต้องวางแผนแก้ปัญหาล่วงหน้าก่อนลงมือเลี้ยง ได้แก่ อายุปลาตั้งแต่เริ่มปล่อยลงน้ำถึงจับนาน 6 เดือน-1 ปี ซึ่งระยะเวลาขนาดนี้ปลูกข้าวได้ 2-3 รุ่น ระหว่างที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตนั้นสามารถปล่อยน้ำจากแหล่งที่อยู่ของปลาเข้าไปในแปลงนา จนกระทั่ง  น้ำท่วมต้นข้าวเพื่อให้ปลาจับกินแมลงได้ และก่อนเกี่ยวข้าวต้องงดน้ำให้ข้าว ช่วงนี้ปลาจะกลับเข้าไปอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เตรียมไว้ให้อย่างเดิม
                 
       
38. ตั้งเป้าหมายทำนาข้าวเพื่อขายเป็นพันธุ์ข้าวปลูก หรือเพื่อสีเป็นข้าวกล้องอินทรีย์ โอท็อป จะได้ราคาดีกว่าปลูกข้าวแล้วขายเป็นข้าวเปลือกแก่โรงสี
                         

39. ข้าวนาดำ ให้ผลผลิตเหนือกว่านาหว่าน  ทั้งคุณภาพ ปริมาณและต้นทุน
                 
40. ข้าวนาดำ  ต้นกล้าที่ถอนขึ้นมาจากแปลงตกกล้า มัดรวมแล้วนำไปตั้งไว้ใน น้ำ 100 ล.+
มูลค้างคาว 250 กรัม นาน 12 ชม. จึงนำไปปักดำ เมื่อต้นข้าวโตขึ้นจะแตกกอดีกว่ากล้าที่ไม่ได้
แช่ในน้ำมูลค้างคาว                         
       

41. นาปี  หมายถึง นาข้าวที่ทำหรือหว่าน/ดำในช่วงฤดูฝนโดยรอแต่น้ำฝนในฤดูกาลเท่านั้น เช่น นาข้าวที่หว่านวันแม่ (ก.ค.-ส.ค.) เกี่ยววันพ่อ (พ.ย.-ธ.ค.) มักมีปัญหาข้าวเปลือกล้น
ตลาด เนื่องจากชาวนาส่วนใหญ่หว่าน/ดำพร้อมกันทั้งประเทศ
                       
       
42. นาปรัง  (ปรัง.เป็นภาษาเขมร แปลว่า แล้ง.) หมายถึง นาข้าวที่ทำหรือหว่าน/ดำในช่วง
หน้าแล้ง หรือทำนารุ่น 2 ต่อจากนาปี โดยหว่าน/ดำในเดือน พ.ย.-ธ.ค.แล้วเก็บเกี่ยวช่วงเดือน
ก.พ.-มี.ค.ซึ่งต้นข้าวจะต้องเจริญเติบโตตลอดหน้าแล้ง บางปีบางแหล่งได้น้ำจากชลประทาน แต่บางปีบางแหล่งที่น้ำจากชลประทานมีน้อยไม่สามารถปล่อยออกมาช่วยเหลือได้ บางปีบางแหล่งรอน้ำฝนอย่างเดียว นาประเภทนี้มักมีปัญหาขาดแคลนน้ำเสมอ บ่อยครั้งที่ชาวนาบางแหล่งบางที่ต้องยอมเสี่ยงทำนาปรัง เพราะผลผลิตราคาดี เนื่องจากมีคน ทำนาน้อย...

ชาวนาบางรายลงทุนแก้ปัญหานาปรังขาดแคลนน้ำโดยเจาะบ่อบาดาลในแปลงนาโดยตรง ต้องการใช้น้ำเมื่อใดก็สูบขึ้นมาใช้เมื่อนั้น               
           
เมื่อไม่มีน้ำบนหน้าดินหล่อเลี้ยงแปลงนาก็ให้อาศัยแหล่งน้ำใต้ดิน โดยใส่อินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชลงไปในดินลึกมากๆ ติดต่อกันหลายๆรุ่น อินทรีย์วัตถุประเภท เศษซากพืชจะช่วยกักเก็บและอุ้มน้ำไว้ในเนื้อดินลึกอยู่ได้นานนับเดือนถึงหลายๆ เดือน
           
เตรียมอินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชไว้ใต้ดิน แนะนำให้เลือกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว-เหลือง-แดง-ดำ หรือถั่วปรับปรุงดินของกรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ เนื่องจากเป็นพืชโตเร็ว พันธุ์เบา อายุ 80 วัน.พันธุ์หนัก อายุ 130 วัน (พันธุ์หนักให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์เบา)  ต้องการน้ำน้อยมาก  ไม่ยุ่งยากในการปลูกและบำรุง เศษซากเปื่อยสลายตัวเร็ว (ภายใน 7-15 วัน).....กรณีถั่วเหลืองนั้นดีมากเพราะมีระบบรากลึกถึง 1-1.20 ม. แผ่ออกทางข้าง 30-50 ซม. ซึ่งรากที่หยั่งลึกลงไปในเนื้อดินนี้ จะช่วยนำร่องให้น้ำจากผิวดินซึมลึกลงไปได้ง่าย...เนื้อที่ 1 ไร่ ปลูกถั่วเหลืองเพื่อเอาผลผลิตให้ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 10-13 กก./ไร่ ซึ่งจะได้ไนโตรเจนมากถึง 45 กก./1 รุ่น แต่ถ้าต้องการเอาเศษซากต้นไถกลบลงดินจำนวนมากๆ เพื่อไม่ให้เสียเวลาก็ให้ใช้เมล็ดพันธุ์ 20-25 กก./ไร่ไปเลย  ทั้งนี้ที่รากพืชตระกูลถั่วทุกชนิดนอกจากจะมีปมไนโตรเจนแล้ว ยังมีจุลินทรีย์กลุ่มคีโตเมียม.ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. แอ็คติโนมัยซิส. และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อดิน  จุลินทรีย์ประจำถิ่น และพืชข้างเคียงทั้งสิ้น               
           
ต้นข้าวระยะกล้า ผิวดินมีน้ำหล่อ ใส่แหนแดง 2 ปุ้งกี๋ /ไร่ ทิ้งไว้จนกว่าน้ำแห้งลงถึงผิวหน้าดินแหนแดงจะขยายพันธุ์จนเต็มพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อน้ำแห้งแหนแดงจะยังคงติดอยู่ที่ผิวหน้าดินแล้วรอเวลาเน่าสลายกลายเป็นไนโตรเจน (อินทรีย์) บำรุงต้นข้าวได้เป็นอย่างดี
                               
       
43. นาหว่านสำรวย หมายถึง แปลงนาในที่ดอน ไม่มีน้ำหล่อหน้าดิน (หน้าดินแห้งไม่เปรอะเปื้อนเท้า) ทำนาโดยหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วไถดินกลบ เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดพันธุ์ก็จะงอกแล้วเจริญเติบโตตามธรรมชาติภายใต้ปริมาณน้ำฝน ถ้าฝนตกซ้ำก็ดีแต่ถ้าไม่มีฝนตกอีกเลยก็เสียหาย ทุกอย่างดำเนินไปตามธรรมชาติแท้ๆ
                                   
       
44. นาหว่านน้ำตม  หมายถึง แปลงนาในที่ลุ่มมีน้ำหล่อหน้าดินตลอดเวลา บางแปลงสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ บางแปลงควบคุมไม่ได้ ในเมื่อธรรมชาติของต้นข้าวชอบน้ำพอแฉะหน้าดิน แต่นาหว่านน้ำตมมีน้ำมากจนขังค้างโคนต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมปริมาณน้ำให้ได้ด้วยการ สูบเข้า-สูบออก เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของต้นข้าวซึ่งจะส่งผลให้ได้ผลผลิตสูงสุด
                       

45. นาไร่ หรือ ข้าวไร่ หมายถึง นาในที่ดอนหรือบนไหล่เขาที่มีน้ำน้อยหรือไม่มีน้ำหล่อหน้าดิน
(เหมือนาสำรวย) นิยมทำโดย ไถ-พรวน ดินก่อนแล้วใช้วิธีปลูกแบบ หยอดเมล็ดพันธุ์ จากนั้น
ปล่อยให้ต้นข้าวเจริญเติบโตเองโดยอาศัยน้ำฝนและน้ำค้าง
                 
       
46. นาลุ่ม หรือ นาเมือง หรือ นาข้าวขึ้นน้ำ หมายถึง แปลงนาในพื้นที่ลุ่มก้นกระทะ (ลักษณะทางภูมิศาสตร์)มีน้ำมาก บางแหล่งลึกถึง 3 ม. ซึ่งต้นข้าวก็สามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ นิยมใช้ข้าวพันธุ์โตเร็ว ต้นสูง สามารถทนต่อสภาพน้ำท่วมมิดต้นระยะสั้นๆได้ แล้วเร่งโตจนยอดโผล่พ้นน้ำได้ทันการเก็บเกี่ยวบางปีระดับน้ำมากถึงกับพายเรือเกี่ยวข้าวด้วยมือ เมล็ดข้าวที่ได้มักมีความชื้นสูงมาก
                             

47. นาสวน หมายถึง นาข้าวแบบปักดำด้วยมือที่ระดับน้ำลึกไม่เกิน 80 ซม.- 1 ม. ในฤดูน้ำ
มากแต่ไม่มากเท่านาเมืองหรือนาข้าวขึ้นน้ำ                 
       

48.  นาขั้นบันได หมายถึง นาบนไหล่เขาที่ดัดแปลงกระทงนาเป็นเหมือนขั้นบันได้เพื่อกักเก็บน้ำ เนื้อดินนาแบบนี้อุ้มน้ำได้ดีระดับหนึ่งแต่ก็อยู่ได้ไม่นานนัก เนื่องจากความลาดเอียงของไหล่เขาที่น้ำต้องไหลหรือซึมจากที่สูงไปหาที่ต่ำเสมอ
                       

49. นาร่องน้ำ หมายถึง นาข้าวริมร่องน้ำในสวนยกร่องน้ำหล่อ มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน นิยมปลูกข้าวเพื่อเอาผลผลิตไว้เลี้ยงสัตว์                 
     

50. นอกจาก ข้าวจ้าว-ข้าวเหนียว ที่คนไทยนิยมกินเป็นอาหารหลักแล้ว สภาพภูมิอากาศทางภาคเหนือของประเทศไทยยังสามารถปลูกข้าวมอลท์.  ข้าวบาเลย์. สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเบียร์ได้ซึ่งวันนี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศหรือแม้แต่ข้าวจาปอนนิก้า. สำหรับตลาดญี่ปุ่นก็สามารถปลูกได้เช่นกัน คงจะเป็นการดีไม่ใช่น้อยที่ชาวนาเขตภาคเหนือส่วนหนึ่งจะหันมาปลูก ข้าวมอลท์. ข้าวบาเล่ย์. หรือข้าวจาปอนนิก้า. ซึ่งนอกจากมีตลาดรองรับแน่นอนแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณข้าวจ้าว-ข้าวเหนียวที่ต่างก็แย่งตลาดกันเองอยู่ขณะนี้อีกด้วย
             
     
51. การติดตั้งสปริงเกอร์แบบหัวหมุน  น้ำที่ฉีดพ่นเป็น เม็ดน้ำ+ ละอองน้ำ ในนาข้าวสามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์สปริงเกอร์แบบ ถอด-ประกอบได้ กล่าวคือ ประกอบชุดสปริงเกอร์ก่อนหว่าน/ดำ (ด้วยมือ)หรือหว่าน/ดำ (ด้วยเครื่องจักร)แล้วจึงประกอบสปริงเกอร์ และก่อนเกี่ยวข้าวก็ให้ถอดสปริงเกอร์ออกเพื่อให้รถเกี่ยวเข้าทำงานได้
                 
เปรียบเทียบ.....แปลงผักสวนครัวซึ่งอายุปลูกเพียง 40-45 วัน เนื้อที่ 40-200 ไร่  ติดตั้ง
สปริงเกอร์แล้วต้อง ถอด-ประกอบ ทุก 40-45 วัน สำหรับการปลูกแต่ละรุ่นยังสามารถทำได้ ใน
ขณะที่ข้าวซึ่งอายุปลูกนานถึง 120 วัน จึงไม่น่าจะมีปัญหา หากจะติดสปริงเกอร์แบบ ถอด-
ประกอบ ได้เหมือนสปริงเกอร์ในแปลงผักสวนครัวบ้าง
               
สปริงเกอร์ (ใช้ปั๊มไฟฟ้า 3 แรงม้า)สามารถให้ น้ำ. สารอาหาร (ธาตุหลัก-ธาตุรองธาตุเสริม-
ฮอร์โมน). สารสกัดสมุนไพร. และอื่นๆ ได้ทุกเมื่อ ณ เวลาที่ต้องการ  ด้วยแรงงานเพียง 1-2
คน ภายในเวลาเพียง 3-5 นาที/เนื้อที่ 2 ไร่ (1 โซน)นอกจากนี้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ของเนื้องานยังเหนือกว่าการฉีดพ่นด้วยเครื่องฉีดพ่นทุกประเภทอีกด้วย
                             

หมายเหตุ  :               
- ภายใต้สภาวะที่แรงงานหายากในปัจจุบัน การติดตั้งสปริงเกอร์แบบ “ถอด-ประกอบ”  ได้ด้วยแรงงานในครัวเรือน (2-3 คน)ก็สามารถติดตั้งได้เรียบร้อยพร้อมใช้งานภายในเวลา 2-3 วัน ต่อแปลงเนื้อที่ 10-20 ไร่
- เกษตรกรออสเตรเลีย ติดตั้งสปริงเกอร์แบบโอเวอร์เฮด หรือท็อปกัน แบบถาวร ด้วยการออกแบบติดตั้งไม่ให้กีดขวางการเข้าทำงานของเครื่องจักรกล สปริงเกอร์นั้นอยู่ได้นานนับ 10 ปี โดยไม่ได้รับการกระทบกระเทือนจากเครื่องจักรกลทุกประเภท                 
       

52. การผสม น้ำ + สารอาหาร สำหรับให้ทางใบ ให้ได้ประสิทธิภาพของสารอาหารเต็ม 100
เปอร์เซ็นต์นั้น จะต้องปรับค่ากรด-ด่างของน้ำที่ใช้ผสมให้ได้ค่ากรด-ด่าง 6.0-6.5 หรือทำให้น้ำ
เป็นกรดอ่อนๆเสียก่อนจึงใส่สารอาหาร               
           
จากหลักการทางเคมีเบื้องต้นที่ว่า กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ โดยสารอาหารพืชมีสถานะเป็นกรด น้ำที่ใช้ผสมเป็นด่าง เมื่อ กรดกับด่าง ผสมกันจึงมีสถานะเป็นกลาง หรือเสื่อมสภาพนั่นเอง แต่ถ้าได้ปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนเสียก่อน เมื่อผสมกับสารอาหารจึงเป็น กรดกับกรด ผสมกัน หรือสารอาหารยังคงสถานะเป็นกรดอยู่เหมือนเดิมนั่นเอง           
       

53. ทำนาเอา “โล่” หมายถึง ทำนาได้ข้าว 150 ถัง/ไร่ แต่ลงทุน 5,500 ความที่ได้ผลผลิตสูง
มากจึงได้รับโล่รางวัล ทำนาแบบนี้ไม่สนใจต้นทุน สนใจแต่ชื่อเสียงเท่านั้น (การประกวดนาข้าวกรรมการจะตัดสินแต่ปริมาณผลผลิตข้าวที่ได้ ไม่ได้พิจารณาต้นทุน)
                                           

54. ผลจากการทำนาข้าวที่ทำให้เกิดแก๊ส ซึ่งส่งผลต่อสภาวะโลกร้อน ได้แก่ แก๊สจากปุ๋ยเคมีและจากการย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุหรือฟอสซิล แต่เมื่อเทียบกับปริมาณแก๊สที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว แก๊สจากนาข้าวน้อยกว่ามาก
       

55. ข้าวเปลือก 1 ตัน ความชื้น 1 เปอร์เซ็นต์  หมายถึงมีน้ำปนอยู่ในข้างเปลือก 15 กก. 

56. "ข้าวเมาตอซัง" คือ ต้นข้าวตั้งแต่ระยะกล้า - แตกกอ  มีอาการต้นเหลือง ใบเหลือง  เกิด
จากก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) ซึ่งก๊าซนี้เกิดจากการไถกลบฟางแล้วฟางหรือซากวัชพืชที่ย่อยสลายยังไม่เรียบร้อย ..... การตรวจสอบ คือ หลังจากปล่อยน้ำเข้านาพร้อมกับใส่จุลินทรีย์ลงไปส่วนหนึ่งเพื่อการหมักฟาง 7-10 วันแล้ว ให้เดินย่ำลงไปในแปลงนา จะมีฟองอากาศเกิดขึ้น ให้สังเกตุกลิ่นที่ออกมาจากฟอง  ถ้ามีกลิ่นหอมหรือไม่มีกลิ่นเหม็น หรือหยิบเนื้อดินขึ้นมาดมจะมีกลิ่นหอม แบบนี้แสดงว่า กระบวนการย่อยสลายเรียบร้อยแล้ว ให้ลงมือทำนาต่อได้เลย .... แต่ถ้าฟองนั้นมีกลิ่นเหม็น หรือหยิบดินขึ้นมาดมแล้วมีกลิ่นเหม็น นั่นคือ กลิ่นของก๊าซไข่เน่า ขืนปลูกข้าวลงไป ต้นข้าวที่โตขึ้นมาจะเป็นโรคเมาตอซัง เทคนิคการแก้ไขเรื่องก๊าซไข่เน่าทำโดยปล่อยน้ำออกจากแปลงให้หมด เหลือน้ำติดผิวดินแค่ระดับรอยตีนวัวตีนควาย  แล้วฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วยลงไปให้ทั่วแปลง  ทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อให้เวลาจุลินทรีย์มีประโยชน์กำจัดก๊าซไข่เน่า  จากนั้นให้เดินย่ำลงไปในแปลงตรวจสอบกลิ่นดินซ้ำอีกครั้ง  ถ้ายังคงมีกลิ่นเหม็นเหมือนเดิมอยู่ ให้ฉีดพ่นซ้ำจุลินทรีย์หน่อกล้วย แล้วทิ้งไว้อีก 5-7 วัน ให้ตรวจสอบซ้ำอีก ทำซ้ำอย่างนี้หลายๆรอบจนกว่าจะหมดกลิ่น.....แต่ถ้าหลังจากใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยครั้งแรก ครบกำหนดแล้วตรวจสอบ ไม่มีกลิ่นก๊าซไข่เน่า  ก็ให้ปล่อยน้ำเข้าแล้วลงมือทำเทือกได้เลย

วิธีป้องกันการเกิดไข่เน่าวิธีหนึ่ง คือ ก่อนไถกลบฟาง ให้เอาฟางออกตรึ่งหนึ่ง หรือเอาออก 3 ใน 4ส่วนของฟางที่มีทั้งหมด  ทั้งนี้ การมีปริมาณฟางมากๆ ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนานมากกว่าการมีฟางน้อยๆ ดังนั้น ชาวนาจะต้องพิจารณา เอาฟางออกหรือเอาฟางไว้ทั้งหมด ด้วยความเหมาะสม
 
57. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของต้นข้าวที่ "ใบ" .....ลักษณะใบใหญ่ หนา เขียวเข้ม ตอนเช้า
7-9 โมง ใบธงไม่มีอาการโค้งงอลง  ใช้ท้องแขนกดลงที่ปลายใบ (ให้ปลายใบแทงท้องแขน) จะ
รู้สึกเจ็บที่ท้องแขน

58. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของต้นข้าวที่ "ราก" ..... ถอนต้นข้าวทั้งต้นขึ้นมาดูราก  ถ้ามี
รากขาวมากกว่ารากดำ มีจำนวนมาก ขนาดความยาวเท่าครึ่งหนึ่งของลำต้น แสดงว่าระบบรากดี  ในทางตรงกันข้าม  ถ้ามีรากดำมากกว่ารากขาว  จำนวนรากน้อย  รากสั้น  แสดงว่าต้นไม่สมบูรณ์กรณีนี้ควรเปรียบเทียบระหว่างต้นที่โตสมบูรณ์ กับต้นที่มีลักษณะแคระแกร็น  ก็จะเห็นความแตกต่างชัดเจน

59. ต้นข้าวต้องการสารอาหาร (ปุ๋ย) 14 ตัว ประกอบด้วย ธาตุหลัก 3 ตัว  ธาตุรอง 3 ตัว และ
ธาตุเสริม 9 ตัว.....การใส่ปุ๋ยยูเรียทำให้ต้นข้าวได้รับปุ๋ยเพียงไนโตรเจนเพียงตัวเดียว  กับใส่
16-20-0 ก็จะได้ไนโตรเจน.กับฟอสฟอรัส.เท่านั้น....ชาวนาที่ใส่ยูเรีย 1 กส.(50 กก.)
ใส่ 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) ใส่ 2 สูตรรวม 100 กก.  ต้นข้าวก็ยังได้ปุ๋ยเพียง 2
ตัวเท่านั้น

60. ลักษณะ เด่น/ด้อย ทางพันธุกรรม เกิดจากการนำพันธุ์ข้าว 2 สายพันธุ์มาผสมกันให้เป็นข้าว
สายพันธุ์ใหม่ตามต้องการ ระหว่าง 2 สายพันธุ์ที่นำมาผสมกันนี้ แต่ละสายพันธุ์ย่อมมีทั้ง  "ลักษณะด้อย และ ลักษณะเด่น" ทางสายพันธุ์ ซึ่งลักษณะใดลักษณะหนึ่งของสายพันธุ์หนึ่งอาจไปปรากฏในสายพันธุ์ที่ถูกผสมขึ้นมาใหม่ได้ การแก้ปัญหาลักษณะด้อยประจำสายพันธุ์สามารถทำได้โดยการ  "เน้น"  สารอาหารเพื่อบำรุงส่วนนั้นโดยตรงให้มากขึ้น  เช่น  สายพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์เป็นเมล็ดลีบสูง แก้ไขด้วยการให้ธาตุสังกะสี  สายพันธุ์ที่มีอัตราการแตกกอน้อย แก้ไขด้วยการธาตุอาหาร P และ K สูงในช่วงแตกกอ เป็นต้น  การเน้นสารอาหารเพื่อให้พืชได้รับมากเป็นกรณีพิเศษ ควรให้ทางรากโดยใส่ไว้ในเนื้อดินตั้งแต่ตอนทำเทือก  หลังจากนั้นจึงให้เสริมทางใบเป็นระยะ สม่ำเสมอ

สาเหตุอื่นที่ทำให้ข้าวเป็นเมล็ดลีบ เช่น ข้าวระยะออกดอก ระยะตากเกสร ระยะน้ำนม ถ้าสภาพอากาศอุณหภูมิผิดปกติ (หนาว-ร้อน กว่าปกติ)การพัฒนาของต้นจะชงัก แก้ไขด้วยการให้ธาตุสังกะสี โดยให้แบบล่วงหน้าและระหว่างอุณหภูมิผิดปกติ 

61. การให้แคลซียม โบรอน ทางใบแก่ต้นข้าวก่อนเกี่ยว 7-10 วัน จะทำให้ระแง้คอรวงเหนียว
เครื่องเกี่ยวสลัดเมล็ดข้าวไม่หลุด

62. การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภท "ยาฆ่า-ยาคุม" หญ้า/วัชพืช ทุกชนิดในนาข้าว จะส่งผลให้
ต้นข้าวชงักการเริญเติบโต 7-15 วัน แล้วแต่ความเข้มข้นของสาร  แนวทางแก้ไข คือ หลังจากฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชไปแล้ว 3 วัน (วัชพืชเริ่มใบเหี่ยว) ให้ฉีดพ่นสารอาหาร แม็กเนเซียม +
สังกะสี + น้ำตาลทางด่วน ที่ต้นข้าว ฉีดพ่น 2 รอบ ห่างกันรอบละ 3 วัน ต้นข้าวจะไม่ชงักการเจริญเติบโตแล้วโตต่อตามปกติ

ขอบคุณข้อมูล http://www.kasetloongkim.com/
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #534 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 11:21:09 »

หลากหลายวิธีไม่เผาฟาง               

หลักการและเหตุผล  :               
ฟาง คือ อินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชที่มีราคาประหยัดที่สุด และมีประโยชน์ต่อต้นข้าวมากที่
สุด กล่าวคือ ฟางคือต้นข้าว  ในต้นข้าวย่อมมีสารอาหารที่ต้นข้าวต้องใช้พัฒนาตัวเอง เมื่อฟางถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์  สารอาหารที่เคยมีในฟางก็จะออกมากลายเป็นสารอาหารพืชสำหรับข้าวต้นใหม่ นอกจากเป็นสารอาหารพืชแล้ว ฟางยังมีคุณสมบัติที่ดีต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวอีกหลายประการ อาทิ  เป็นแหล่งอาหารจุลินทรีย์  ทำให้ดินโปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวก ช่วยซับหรืออุ้มน้ำไว้ใต้ดินโคนต้น   เป็นต้น
           
ต้นข้าวในแปลงปลูกที่ดินมีความความชื้นสูง (ดินแฉะ)จะเจริญเติบโต แตกกอ สมบูรณ์แข็งแรง มีภูมิต้านทานสูงและให้ผลผลิตดีกว่าต้นข้าวในแปลงปลูกที่ดินมีน้ำขังท่วม
           
มาตรการทำให้ดินมีความชื้นสูง มีน้ำใต้ผิวดินมากๆ ทั้งๆ ที่หน้าดินแห้งจนแตกระแหง ก็คือ  การให้มีอินทรีย์วัตถุ (เศษซากพืช เศษซากสัตว์ และจุลินทรีย์)อยู่ในเนื้อดินมากๆ ถึงอัตราส่วน 1:1 สะสมต่อเนื่องติดต่อกันมานานหลายๆปี
                             
           
แนวทางปฏิบัติ :                       
หลังจากรถเกี่ยวข้าวออกไปแล้ว ให้ดำเนินการส่งฟาง และ/หรือ เศษซากพืช-อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ลงไปอยู่ใต้ผิวดิน  ผสมคลุกกับเนื้อดินให้เข้ากันดี ตามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอนก็ได้  ดังนี้
               
1. ตากฟาง-ไม่ตากฟาง
วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางแห้ง เพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายทำให้ฟางเปื่อยได้เร็วขึ้น อันที่จริงนั้น จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ทั้งฟางสดและฟางแห้ง เพียงแต่การย่อยสลายฟางแห้งทำได้ง่ายและเร็วกว่าฟางสดเท่านั้นเอง ดังนั้น การตากฟางหรือไม่ตากก่อนไถกลบจึงไม่ต่างกันนัก ก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสม 
               
2. เกลี่ยฟาง-ไม่เกลี่ยฟาง
วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางกระจายตัวเท่าๆกันทั่วแปลง และแห้งเร็วๆ เมื่อไถกลบลงไปในดินแล้วเนื้อดินผสมกับฟางสม่ำเสมอกันซึ่งจะส่งผลให้ดินมีคุณภาพเท่าๆกันทั้งแปลงนั่นเอง.......ล้อรถเกี่ยวข้าวเป็นสายพานตีนตะขาบ ขณะที่รถเกี่ยววิ่งไปนั้น  ตอซังที่ถูกสายพานตีนตะขาบเหยียบย่ำจะแบนราบแนบติดพื้น ส่วนตอซังที่อยู่บริเวณใต้ท้องรถเกี่ยวจะไม่ถูกเหยียบย่ำ ยังคงเป็นตอตั้งตรงเหมือนเดิม  นอกจากนี้เศษฟางที่รถเกี่ยวพ่นออกมา ซึ่งรถเกี่ยวข้าวบางรุ่นพ่นเศษฟางให้ฟุ้งแผ่กระจายไปทั่วได้ แต่รถเกี่ยวบางรุ่นพ่นเศษฟางตรงๆลงทับบนตอซังกลายเป็นกองเศษฟาง  กรณีนี้  ถ้าต้องการให้ฟางแผ่กระจายก็ให้ใช้ไม้เขี่ยฟางที่เป็นกองออก แต่ถ้าไม่ต้องการให้ฟางแผ่กระจายก็ไม่จำเป็นต้องเขี่ยออก  เพราะช่วงที่รถไถผานโรตารี่เข้าทำเทือกนั้น ผานโรตารี่ก็จะช่วยกระจายฟางไปในตัวเองได้แต่อาจจะไม่กระจายดีกับการเกลี่ยก่อนเท่านั้น 
             
3.ย่ำฟาง-ไม่ย่ำฟาง
วัตถุประสงค์คือ ทำให้ฟาง  ฉีก-ขาด-ช้ำ เพื่อเป็นช่องทางให้จุลินทรีย์ผ่านเข้าไปง่ายๆแล้วย่อย
สลายฟาง   ปฏิบัติโดยการใช้รถไถเดินตามล้อเหล็กวิ่งย่ำไปบนเศษฟางให้ทั่วแปลง วิ่งย่ำซ้ำหลายๆรอบ ฟางที่ถูกล้อเหล็กย่ำจะ ฉีก-ขาด-ช้ำ เกิดเป็นบาดแผลช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟางให้เปื่อยยุ่ยได้เร็วกว่าฟางที่ยังคงเป็นชิ้นๆอยู่ 
             
4.หมักฟาง
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ฟางเปื่อยยุ่ยโดยเร็ว ไม่ว่าฟางในแปลงนาจะตากแห้งแล้วหรือยังสด  เกลี่ย
กระจายแล้วหรือยังเป็นกลุ่มกอง  ย่ำให้เป็นแผลช้ำแล้วหรือยังเป็นชิ้นเดิมๆ  ทุกสภาพของฟางไม่อาจรอดพ้นฝีมือของจุลินทรีย์ไปได้  เริ่มด้วยการปล่อยน้ำเข้าแปลงพร้อมกับใส่จุลินทรีย์ 2-5 ล./ไร่ รักษาระดับน้ำให้ลึกราว 20-30 ซม. ทิ้งไว้ราว 10-20 วัน  น้ำจะเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ 
สภาพของฟางเริ่มเปื่อยยุ่ย   เมื่อเดินย่ำลงไปจะมีฟองเกิดขึ้น ให้สังเกตฟอง  ถ้ามีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์เป็นพิษให้  ระบายน้ำออกทั้งหมดแล้วเติมน้ำใหม่ พร้อมกับจุลินทรีย์ชุดใหม่เข้าไปแทน แล้วเริ่มหมักใหม่อีกรอบ........ถ้าฟองนั้นไม่มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์ดี ให้หมักต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าฟางจะเปื่อยยุ่ยได้ที่ตามต้องการแล้วจึงลงมือทำเทือก               
         
ถ้าหมักฟางยังไม่ได้ที่หรือยังมีกลิ่นเหม็น (แก๊ส) จะมีผลต่อต้นข้าวระยะกล้า (ต้นเหลืองโทรม)
เรียกว่า  “เมาตอซัง”  กรณีนี้แก้ไขโดยระบายน้ำเก่าออกพร้อมๆกับส่งน้ำใหม่เข้าไปแทนที่หรือใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย  จากนั้นบำรุงต้นกล้าด้วยฮอร์โมนทางด่วน 2-3 รอบ  ห่างกันรอบละ 3-5 วัน 
             
5.ไถกลบฟาง
วัตถุประสงค์คือ การส่งฟางลงไปคลุกเคล้ากับเนื้อดินจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วให้จุลินทรีย์ย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ยกลายเป็นปุ๋ยฟางที่อยู่ในแปลงนานั้นจะตากหรือไม่ตาก  เกลี่ยหรือไม่เกลี่ย  ย่ำหรือไม่ย่ำ หมักหรือยังไม่หมัก สามารถไถกลบลงดินได้ทั้งสิ้น เพียงแต่แบบไหนจะยากง่ายกว่ากัน ด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้

- ไถด้วยรถไถจอบหมุนโรตารี่ เป็นรถไถขนาดกลางนั่งขับ ขณะไถมักมีฟางพันผาน  แก้ไขโดยการเดินหน้าสลับกับถอยหลังเพื่อสลัดฟาง หรือยกผานขึ้น ใส่เกียร์ถอยหลังแล้วเร่งเครื่องแรงๆ ผานจะหมุนฟรีแล้วสลัดฟางออกเองได้

- ไถด้วยรถไถเดินตาม (ควายเหล็ก) ผานเดี่ยว (ผานหัวหมู) ขณะไถมักมีฟางพันผาน  แก้ไข
โดยต่อใบผานให้ยาวขึ้น 10-12 นิ้ว หรือมากกว่า เพื่อส่งขี้ไถและฟางให้ตกห่างจากผานมากๆ

- ย่ำด้วยลูกทุบ (อีขลุบ) ลากด้วยควายเหล็ก ลูกทุบจะย่ำฟางให้ยุบลงแนบกับเนื้อดินบริเวณผิว
หน้าดินเท่านั้นไม่ได้ลงไปคลุกหรือจมลงไปในเนื้อดิน เมื่อหว่านเมล็ดข้าวลงไป เมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งจะติดค้างอยู่บนหญ้าที่หน้าดิน ช่วงที่เมล็ดเริ่มงอก ระบบรากยังแทงไม่ทะลุกองหญ้าลงไปถึงเนื้อดินด้านล่างได้ ครั้นเมื่อปล่อยน้ำเข้าแปลง ฟางจะลอยขึ้นพร้อมกับยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมาด้วย กรณีนี้แก้ไขโดย ปล่อยให้รากต้นข้าวเจริญยาวลงไปถึงเนื้อดินล่างดีแล้วจึงปล่อยน้ำเข้า หรือนำเส้นฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากต้นข้าวแล้วย่ำ....วิธีการหมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำด้วยอีขลุบหลายรอบ ให้มากรอบที่สุดเท่าที่จะมากได้  ฟางที่เปื่อยยุ่ยแล้วถูกย่ำด้วยล้อเหล็กจนแหลกละเอียดจะคลุกเคล้าผสมกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดิน กรณีนี้แม้ต้นกล้าข้าวจะงอกบนเศษฟางเปื่อย เมื่อปล่อยน้ำเข้าก็จะไม่ยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมา นาข้าวที่ผ่านการไถกลบฟางมา 2-3 รุ่น  จนขี้เทือกลึกระดับครึ่งหน้าแข้งแล้ว การทำนารุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องไถอีก แต่ให้ปล่อยน้ำเข้าเพื่อหมักฟางหรือล่อให้วัชพืชขึ้นจากนั้นหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จนแน่ใจว่าฟางเปื่อยยุ่ย ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าและเมล็ดวัชพืชงอกขึ้นมาจนหมดแล้วก็ให้ลงมือย่ำด้วย “อีขลุบหรือลูกทุบ” ได้เลย ทั้งนี้ลูกทุบหรืออีขลุบจะช่วยคลุกเคล้าเนื้อดินกับฟางและวัชพืชให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าไถลงได้

6.ไม่ไถ
หลังจากรถเกี่ยวเสร็จสิ้นภารกิจ ในแปลงมีตอซังและเศษฟาง แนวทางการทำเทือกโดยไม่ต้องไถ ไม่ว่าจะเป็นการไถด้วยรถไถใหญ่ผานจาน 3 หรือผาน 7 รถไถเดินตามผานจานเดี่ยวรือคู่ รถไถโรตารี่สามารถทำได้โดยจัดการกับตอซังและเศษฟาง ตากฟางหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ยก็ได้  แล้วเริ่มด้วยการสูบน้ำเข้าให้ลึกประมาณ 30 ซม. ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือกากน้ำตาล 5-10 ล./ไร่สาดให้ทั่วแปลง ทิ้งไว้ 7-10 วัน จนน้ำเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ จากนั้นให้ลงมือย่ำด้วย อีขลุบ หรือ ลูกทุบ ได้เลย  ย่ำหลายๆรอบจนกว่าตอซังและเศษฟางรวมทั้งเศษซากต้นวัชพืชแหลกละเอียดลงไปคลุกกับเนื้อดิน เสร็จแล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ก็ให้ลงมือย่ำรอบสองด้วยวิธีการเดิม แล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ตรียมการย่ำต่อรอบสามเป็นรอบสุดท้าย ก่อนลงมือย่ำรอบสามให้ใส่อินทรีย์วัตถุ และ ปุ๋ย สำหรับนาข้าวตามปกติ เสร็จแล้วให้ลงมือปลูก(ดำหรือหว่าน)ข้าวได้เลย ถ้าเป็นนาข้าวที่เตรียมแปลงแบบไม่เผาฟางหรือไถกลบฟางครั้งแรก จะพบว่าชี้เทือกลึกเหนือกว่าตาตุ่มอย่างชัดเจนซึ่งถือว่าเพียงต่อการเพาะปลูกข้าวแล้วทั้งดำและหว่าน......หากเป็นนาที่เคยไม่เผาฟางแต่ไถกลบมาหลายรุ่นแล้ว การย่ำเพียงรอบแรกรอบเดียวก็จะได้ขี้เทือกลึกถึงระดับครึ่งหน้าแข้ง

ประโยชน์ที่ได้จากการย่ำเทือกหลายๆ รอบที่เห็นชัดที่สุด คือ นอกจากได้กำจัดวัชพืชโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชแล้วยังได้ปุ๋ยอินทรีย์จากเศษซากพืชอีกด้วย
                     
       
หมายเหตุ :               
- ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือแบบใด ที่ด้านหน้ารถดัดแปลงให้มีตะแกงสำหรับตั้งถังขนาดจุ 20-50
ล. เจาะรูก้นถัง 2-3 รู มีก๊อกปรับอัตราการไหลช้า/เร็วได้  ในถังใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์
น้ำ แล้วปล่อยให้ไหลออกมช้าๆ ขณะที่รถไถวิ่งไปนั้นก็จะปล่อยปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์หยดลงพื้นที่ด้านหน้า แล้วถูกผานด้านหลังไถผสมลงไปคลุกผสมกับเนื้อดินเอง

- การทำนาแบบไถกลบฟางลงดินรุ่นแรก หมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำซ้ำหลายๆรอบ จะทำให้ได้  “ขี้เทือก”  ลึก 20-30 ซม.(ครึ่งหน้าแข้ง) ในขณะที่การทำเทือกแบบเผาฟางก่อนนั้นจะได้ขี้เทือกลึกน้อยกว่ามาก

- นาข้าวแบบไถกลบฟาง  จากรุ่นแรกที่ไถกลบนั้นจะมีฟางลงไปอยู่ในเนื้อดินราว 1 ตัน  ต่อมารุ่นที่ 2 ก็จะมีฟางชุดใหม่ลงไปสมทบอีก 1 ตัน หรือทำนาข้าวจะได้ฟางรุ่นละ 1 ตัน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแบบรุ่นต่อรุ่น ทั้งนี้เนื่องจากฟางรุ่นแรกๆ แม้จะเปื่อยยุ่ยดีแล้วแต่ก็ยังคงมีเศษซากหลงเหลืออยู่ ยิ่งมีเศษซากฟางอยู่ในดินมากเท่าใดยิ่งทำให้ได้ขี้เทือกลึกมากเท่านั้น
         
จากประสบการณ์ตรงพบว่า การทำเทือกแบบไถกลบฟางสี่รุ่นติดต่อกัน ปรากฏว่าได้ขี้เทือกลึกถึงหัวเข่าซึ่งถือว่ามากเกินไป  ผลเสียคือ เดินเข้าไปสำรวจแปลงได้ยาก ก่อนเกี่ยวซึ่งต้องงดน้ำ 7-10 วันเพื่อให้หน้าดินแห้งทำไม่ได้  และทำให้รถเกี่ยวเข้าทำงานไม่ได้อีกด้วย
         
แนวแก้ไข คือ ไถกลบฟาง 2 รุ่นติดต่อกันไปก่อน เมื่อจะทำนารุ่น 3 ให้นำฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากในดินก็พอ  ต่อมาเมื่อจะทำนารุ่น 4 ก็ให้วิเคราะห์ปริมาณเศษซากฟางในดินก่อนว่า สมควรนำฟางของนารุ่น 3 ออก แล้วเหลือแต่เหง้ากับราก  หรือต้องไถกลบฟางรุ่นใหม่เติมลงไปอีก ทั้งนี้ความลึกของขี้เทือกจะเป็นตัวชี้บอก ประเด็นสำคัญก็คือ จะต้อง “ไม่เผา” อย่างเด็ดขาด.ตามเกณฑ์ของการเตรียมดินปลูกข้าว ควรมีอินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืช 2-3  ตัน/ไร่/รุ่น
               

- ฟางข้าวในนาข้าว คือ อินทรีย์วัตถุหรือปุ๋ยพืชสดที่มีราคาต่ำที่สุดและมีประโยชน์มากที่สุด  ฟางข้าวเป็นทั้งแหล่งสารปรับปรุงบำรุงดิน บำรุงจุลินทรีย์ และเป็นแหล่งสารอาหารสำหรับต้นข้าวทั้งรุ่นปัจจุบัน รุ่นหน้า และรุ่นต่อๆไป    นอกจากฟางแล้วควรจัดหาแหล่งเศษซากพืชอื่นๆเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้มากขึ้น
                           
เกษตรกรชาวนาและชาวไร่ของสหรัฐอเมริกา หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในนาหรือในไร่แล้วไม่มีการเผาทิ้งหรือนำออก แต่ใช้วิธีการไถกลบด้วยรถไถกลบขนาดใหญ่  ซึ่งขณะไถกลบนั้นก็จะเติมอินทรีย์วัตถุสารปรับปรุงบำรุงดิน จุลินทรีย์  และสารอาหารอื่นๆไปพร้อมๆกัน เพื่อประหยัดเวลา  แรงงาน และให้เกิดความหลากหลายตามธรรมชาติ

ที่มา http://www.kasetloongkim.com


* Q5749-OJ30etXeXm.jpg (54.75 KB, 700x469 - ดู 810 ครั้ง.)

* Q5749-iB9L97vKS3.jpg (55.47 KB, 700x469 - ดู 789 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #535 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 12:24:53 »

Application “BaiKhaoNK” (ใบข้าวเอ็นเค)

Application “BaiKhaoNK” (ใบข้าวเอ็นเค) ผลงานการวิจัยของนักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เป็นโปรแกรมประมาณความต้องการธาตุอาหารของต้นข้าวในนาโดยใช้โทรศัพท์มือถือ พร้อมแสดงปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสมกับต้นข้าวในระดับต่างๆ ของการเจริญเติบโต ซึ่งมีการสอบเทียบและอ้างอิงปริมาณการใส่ปุ๋ยยูเรียด้วยวิธีการวัดแบบกำหนดเวลาจากแถบวัดระดับสีจากใบข้าว หากใครมีโทรศัพท์มือถือแบบ Smart Phone ที่มีระบบปฏิบัติการ android 2.0 ขึ้นไป สามารถดาวน์โหลด application ไว้ใช้คำนวณปริมาณการใส่ปุ๋ยให้กับต้นข้าวได้อย่างเหมาะสม และตรงตามความต้องการของต้นข้าว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น หรือลดอัตราการสูญเสียความเจริญเติบโตของต้นข้าวจากกรณีที่ใส่ปุ๋ยบำรุงไม่เพียงพอ







IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #536 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 12:38:06 »

หรืออาจขอแผ่นเทียบสีจากศูนย์วิจัยข้าวใกล้บ้านก็ได้ครับ 

แผ่นเทียบสี เป็นอุปกรณ์วัดสีของใบข้าว ประกอบด้วยแถบสีระดับต่างๆ 4-6 แถบ มีร่องเล็กๆเลียนแบบลักษณะของใบข้าว ซึ่งระดับสีบนแผ่นเทียบจะจำลองจากสีของใบข้าว หลังจากการใส่ปุ๋ยเคมี ประกอบด้วยสีเขียวเข้ม จางลงตามลำดับ กระทั่งใบข้าวเป็นสีเหลืองเนื่องจากขาดธาตุอาหารไนโตรเจนอย่างรุนแรง


รายละเอียดทั้งหมด :
เวลาที่เหมาะสมในการวัดหาข้อมูล จะอยู่ในช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ เพราะแสงไม่จ้าเกิน ซึ่งอาจทำให้สีแผ่นที่มองเห็นเพี้ยนได้ โดยใช้ใบข้าวที่ 3 นับจากยอดกอ เป็นใบที่อ่อนที่สุดแต่โตเต็มที่ ทำการสุ่ม 10 จุด/แปลง ซึ่งหลังผ่านฤดูการเก็บเกี่ยวพบว่า แปลงนาที่จังหวัดฉะเชิงเทรา แปลงที่ ใช้วิธีสังเกต ได้ผลผลิต 600 กก./ไร่ ส่วนแปลงที่ ใช้แผ่นเทียบสี ได้ผลผลิต 900-1,100 กก./ไร่ ส่วนที่สุพรรณบุรี แปลงนา ใช้วิธีสังเกต ได้ผลผลิต 700 กก./ไร่ ส่วนแปลงนาที่ ใช้แผ่นเทียบสี ได้ผลผลิตสูงถึง 1,000 กก./ไร่ ฉะนั้น...จึงพอสรุปได้ว่า การทำนาข้าวให้ได้ผลผลิตตรงตามเป้านั้น มิใช่การใส่ปุ๋ยเร่งกันแบบไม่ลืมหูลืมตา เพราะจะกลายเป็นการลงทุนสูงอย่างไม่คุ้มค่าที่ถูกต้องสำคัญอยู่กับการสังเกต เอาใจใส่ ดูแลรักษา ปุ๋ยก็ให้ในปริมาณพอเหมาะ และตรงต่อช่วงเวลาที่ต้นพืชต้องการ...ผลผลิตออกมา จึงจะคุ้มค่ากับที่คาดการณ์ไว้




 


* 1276517065.jpg (108.08 KB, 500x375 - ดู 861 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #537 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 12:49:35 »

มีหลายท่านเคยถามผมว่าทำไมถึงใส่ปุ๋ย K โพแทสเซียม ทั้งที่โครงสร้างดินทั่วไปมีอยู่แล้วแต่ปัจจุบันเมื่อมีการทำนาทั้งนาปี นาปรัง ส่วนผลให้ดินอุ้มน้ำมีความชื้น ต้นข้าวก็ใช้ประโยชน์จากธาตุโพแทสเซียมในดินได้น้อยจึงต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมีโพเทสเซียมลงไป ซึ่งเห็นผลได้ค่อนข้างชัดในนาเขตชลประทาน



IP : บันทึกการเข้า
TNK_DGT
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 80


« ตอบ #538 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 13:27:07 »

แผ่นเทียบสีหาชื้อได้ที่ใหนครับ
  ผมหาอยู่พอดีเลย รบกวนหน่อยนะครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #539 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 13:39:01 »

แผ่นเทียบสีหาชื้อได้ที่ใหนครับ
  ผมหาอยู่พอดีเลย รบกวนหน่อยนะครับ

สามารถติดต่อขอรับได้ที่ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย  อ.พาน ครับ เมื่อเช้าพี่ที่รู้จักกันก็ไปขอมาทดลองใช้  ดูเหมือนว่าร้านค้าเอกชนก็มีนะครับลองไปถามดู ในเว็ปก็เห็นมีขายแผ่นละ 150 บาทครับ

ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย
เลขที่ 474 หมู่ 9
ตำบลเมืองพาน  
อำเภอพาน  
จังหวัดเชียงราย  
โทรศัพท์ ( TEL ) : 053721578  
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 [27] 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!