เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 23:49:47
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 [11] 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 407099 ครั้ง)
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #200 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 14:54:51 »

กระทู้ดีน่าปักหมุด ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #201 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 15:29:44 »

อนุรักษ์พันธ์ข้าวตุ๊หล่าง

เกี่ยวกับการรักษาพันธุ์ข้าว การปรับแต่งสายพันธุ์ให้เหมาะสมครับ



IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721



« ตอบ #202 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 15:49:56 »

กระทู้ดีน่าปักหมุด ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
ปักเลยครับ สนับสนุน ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #203 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 15:53:00 »

คนบันดาลใจ: กฤษฎา รากแก่น ชีวิตเปลี่ยนได้ (เรื่องจริงที่อยากให้ทุกคนได้ดู)

กฤษฏา รากแก่น ชายหนุ่มวัย 30 ต้น ๆ เป็นชาวอำเภอเขื่องใน จ. อุบลราชธานี พื้นฐานครอบครัวประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ตั้งแต่จำความได้ครอบครัวเขาก็ต้องเดินทางเร่ร่อนไปทำก่อสร้างตามเมืองใหญ่ ๆ ไม่เว้นแม้แต่ในกรุงเทพ เมื่อเรียนจบ ปวช.3 เขาก็ออกมาทำงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ทำงานกินเงินเดือนหาเลี้ยงครอบครัว ต่อมาก็ออกมาทำก่อสร้างกับภรรยา ระหว่างที่กำลังทำงานรับจ้างอยู่ในเมือง ในใจเขาก็ร่ำร้องที่จะกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านนอกทำไร่ทำนาอยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยพื้นฐานครอบครัวตัวเองที่ทำงานรับจ้างมาตลอดไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง เขาก็ได้แต่รอ..แต่ไม่เคยเลิกหวัง วันหนึ่งกฤษฎาได้ดูรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งและได้ฟังพระราชดำรัสของในหลวงท่านเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงทำไร่นาสวนผสม ทำให้เขาเกิดกำลังใจและตามมุ่งมั่นจะมีวิถีชีวิตตามแนวพระราชดำริอย่างแรงกล้า เขาจึงตัดสินใจละทิ้งสังคมเมืองที่ต้องหาเช้ากินค่ำเป็นลูกจ้างรายวัน จูงมือครอบครัวออกมาจากวงจรการเป็นกรรมกรก่อสร้างมุ่งหน้าสู่วิถีดั้งเดิมของบรรพบุรุษคือการเป็นชาวนา โดยที่ตัวเองไม่มีต้นทุนชีวิตเลยสักอย่าง ทั้งความรู้เรื่องการทำเกษตร และที่ดินทำกินหรือเงินทุนและที่สำคัญคือ... เขาต้องอดทนต่อคำปรามาสจากพ่อแม่ที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางชีวิตที่เขาเลือก เมื่อเขาพาครอบครัวกลับมาบ้านนอก พ่อของภรรยาก็แบ่งที่นาให้ 3 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้งเป็นทรายไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เขาเริ่มต้นทำเกษตรโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เขาทดลองปลูกพืชผักตามหนังสือหรือคำแนะนำแต่ก็ต้องเจอกับความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่านับร้อยครั้งพันครั้ง ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ สาเหตุสำคัญเพราะเขาไม่มีทุนทรัพย์จะมีก็เพียงแรงกายแรงใจเท่านั้น ระหว่างที่ฝันยังไม่เป็นจริงเขาก็ต้องหารายได้โดยการรับจ้างทำก่อสร้างบ้างก็ออกเก็บของเก่าสลับกันไปเพราะลูกเมียก็ต้องกินต้องใช้ ผู้คนในหมู่บ้านรวมทั้งครอบครัวภรรยาต่างก็ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาทำพากันดูถูกและหัวเราะกับความคิดของเขา แต่อุปสรรคต่างๆ ก็ไม่สามารถบั่นทอนความมุ่งมั่นของเขาได้แม้แต่น้อย ในกลับกันอุปสรรคเหล่านั้นกลับสร้างพลังให้เขามุ่งมั่นเดินตามความฝันของตัวเองอย่างไม่ย่อท้อ แล้ววันหนึ่งเขาได้มีโอกาสดูรายการคนค้นฅน ตอน อรหันต์ชาวนา ซึ่งเป็นการทำนาแบบผสมผสาน ทำให้เขาเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้าจึงเดินทางมาบ้านพี่แหลมที่อำเภอกุดชุมจังหวัดยโสธร ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนรู้การทำเกษตร ทำนา ปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ และเพาะเห็ด วันที่เขาเรียนจบพี่แหลมได้มอบขอนไม้เห็ดให้เป็นของขวัญ กฤษฏาเดินทางกลับบ้านพร้อมกับขอนเห็ดในมือและหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยความหวังที่จะสร้างอนาคตของครอบครัวและจะดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำรัสของในหลวงท่าน อย่างที่เขาได้ตั้งปณิธานไว้ว่า “ชั่วชีวิตนี้จะไม่ยอมแพ้เขาจะพลิกฟื้นผืนดินที่แห้งแล้งจำนวน 3 ไร่ นี้ ให้กลายเป็นพื้นที่เขียวชอุ่ม”



ตอนที่ 2 http://www.tvburabha.com/tvb/playoldprogram/programold_playflv.asp?flv_id=119&flv_program_id=1



* 96578948.gif (71.44 KB, 396x278 - ดู 3069 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #204 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 21:56:44 »

เห็นว่าเป็นประโยชน์เพื่อเข้าใจระบบรากพืชเพื่อใช้กับนาข้าวครับ


ความสำคัญของรากพืช  
   

เนื่องจากรากพืชเป็นอวัยวะที่สำคัญของพืชที่ทำหน้าที่ในการดูดน้ำและธาตุอาหารไปเลี้ยงต้นพืช ซึ่งช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตและพัฒนาได้เป็นปกติ แต่เนื่องจากเป็นส่วนของพืชที่ยากต่อการศึกษาเพราะเป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน ทำให้การวิจัยด้านนี้ค่อนข้างจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาโดยใช้ส่วนอื่น ๆ ของพืช แต่เมื่อ Turner และคณะ (1985) และ Gollan และคณะ (1985)  ได้รายงานว่ารากพืชมีความสำคัญต่อขบวนการทางสรีรวิทยาของพืชอย่างมาก คือรากพืชมีความสามารถในการส่งสัญญาณ (signal) ไปยังส่วนยอดเพื่อการปรับตัวต่อความกดดันของสภาวะแวดล้อม เช่น ภายใต้สภาวะขาดน้ำมีผลทำให้รากพืชมีการสังเคราะห์ไซโตไคนิน (cytokinin หรือ CK) ลดลง ส่งผลให้ระดับความสมดุลระหว่าง CK ต่อ ABA (abscissic acid) ลดลง มีผลให้ปากใบปิด ส่งผลสืบเนื่องให้การสังเคราะห์ด้วยแสงของใบลดลงด้วย จากความสำคัญเช่นนี้ทำให้นักสรีรวิทยาให้ความสนใจในการศึกษารากพืชมากขึ้น โดยมีการพัฒนาเทคนิคในการศึกษาให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามในการศึกษาความสำคัญของรากพืชจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานดังต่อไปนี้
 
ความสัมพันธ์ระหว่างรากและยอด (Relationships between Roots and Shoots)    นอกเหนือจากหน้าที่หลักของรากที่มีต่อพืชบางประการ เช่น ทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุ อาหาร (ดังที่กล่าวแล้วในบทที่ เจ๋ง ทำหน้าที่ยืดเกาะดินให้พืชทรงตัวอยู่ได้ ทำหน้าที่สะสมอาหาร และขยายพันธุ์ได้ในพืชบางชนิด และทำหน้าที่เป็นแหล่งเริ่มต้นในการสร้างฮอร์โมนพืช เป็นต้น ยังมีการพบว่าการเจริญเติบโตของรากมีความสัมพันธ์กับการเจริญของส่วนยอด Russell (1977) พบว่าการเจริญเติบโตของรากและยอดมีความสัมพันธ์กันในสภาพที่สภาพแวดล้อมคงที่ แต่เมื่อมีความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมจะมีผลทำให้เกิดความแปรปรวนในการกระจายน้ำหนักแห้งในส่วนของรากและต้น ดังนั้นในการวิเคราะห์การเจริญเติบโตจึงพิจารณาโดยใช้หลักการของความสัมพันธ์ระหว่าง source และ sink เมื่อพืชมีการเจริญในส่วนยอดคือมีการเจริญของใบที่ทำหน้าที่สังเคราะห์แสงได้ดี ซึ่งถือเป็น source ที่ส่งเสริมให้มีการเจริญของราก คือ sink ได้ดีด้วย เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของรากที่มีต่อสรีรวิทยาของส่วนยอดภายใต้อิทธิพลของสภาวะแวดล้อม Sdoodee (1990) ได้แสดงการปรับตัวของรากพืชตระกูลถั่วเมื่อได้รับผลกระทบจากสภาวะขาดน้ำ

ความสัมพันธ์ระหว่างรากกับ Rhizosphere
   Russell (1977) อธิบายว่า rhizosphere หมายถึงส่วนของดินในส่วนที่สัมผัสกับรากหรือบริเวณรอบ ๆ รากพืช ซึ่งมีกิจกรรมของจุลินทรีย์ อันจะมีผลต่อความสามารถในการดูดธาตุอาหารของรากพืช เช่น การตรึงไนโตรเจนโดยบักเตรีที่ปมของรากตระกูลถั่ว เป็นต้น  ปกติในธรรมชาติการตรึงไนโตรเจนจากอากาศเกิดขึ้นโดย symbiotic และ free-living organism ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งไนโตรเจนที่สำคัญต่อพืช
   นอกจากนี้ไมโคไรซาจัดว่าเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับระบบรากพืชด้วย ซึ่งแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ คือ ectotrophic และ endotrophic  สำหรับไมโคไรซาที่มีโครงสร้างเป็นแบบ vesicular-arbuscular (VA) มีความสำคัญในการช่วยให้รากพืชมีการดูดฟอสเฟตจากดินได้ดีขึ้น
 
ระบบราก (Root Systems)

   เนื่องจากพืชแต่ละชนิดมีลักษณะของระบบรากที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการเจริญ แผ่กระจายของราก อันมีผลต่อความสามารถในการดูดน้ำและธาตุอาหารซึ่งสัมพันธ์กับความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม ดังนั้นจึงแบ่งออกกว้าง ๆ เป็น 2 พวก คือ
   1)   ระบบรากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เป็นต้น  มีระบบรากที่เรียกว่าระบบรากฝอย  (fibrous root system)  ซึ่งประกอบไปด้วยรากประเภทต่าง ๆ (อภิพรรณ และคณะ, 2529) ดังนี้
   - Primary root เกิดจาก radicle ของเมล็ดที่เจริญเติบโตลงไปในดินขณะที่เมล็ดเริ่มงอก ทันทีที่ radicle ยืดตัวออกกลายเป็นราก coleorhiza ก็จะฉีกขาดและเน่าเปื่อยไปในที่สุด radicle ก็จะกลายเป็นรากที่เรียกกันว่ารากชนิดแรก ซึ่งเหยียดยาวลงสู่ดินต่อไปไม่นานหลังจากที่รากชนิดแรกเจริญเติบโตลงสู่ดิน ที่ปลายรากชนิดนี้จะมีรากฝอยเล็ก ๆ เจริญเติบโตอยู่ด้วย รากฝอยดังกล่าวนี้มีส่วนร่วมกับ primary root ดูดซับน้ำและเกลือแร่ได้มากขึ้น 
   - Seminal root เกิดขึ้นบริเวณล่างของปล้องที่ 1 (first internode หรือ mesocotyl) ขณะที่ปล้องที่หนึ่งยืดตัวออกเพื่อให้ coleoptile โผล่พ้นดิน และ radicle เจริญเติบโตลงไปในดิน จำนวน seminal root จะเกิดขึ้นประมาณ 6-7 เส้น และเกิดขึ้นเกือบเป็นเวลาเดียวกับรากชนิดแรก ในการเริ่มเจริญเติบโตของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
   - Permanent root เกิดขึ้นในระยะหลังที่พืชเจริญเติบโต เช่น ในระยะที่พืชเริ่มออกรวง เป็นต้น รากประเภทนี้จะเกิดขึ้นในบริเวณปล้องที่   2-6 ของพืช และจะมีขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาเจริญเติบโตลงไปในดิน รากประเภทนี้จะเห็นได้ในข้าวโพดหรืออ้อย มีชื่อเรียกต่างๆคือ brace root, crown root และ coronal root เป็นต้น
   ทันทีที่พืชมี permanent root เกิดขึ้น เมล็ดซึ่งอยู่ใต้ดินรวมทั้ง primary root และ seminal root จะหยุดการเจริญเติบโต เสื่อมสลายและเน่าเปื่อยไปในที่สุด permanent root จะเป็นรากที่เหลืออยู่ เพื่อการเจริญเติบโตของพืชต่อไป
 
   2)   ระบบรากพืชใบเลี้ยงคู่ ปกติระบบรากพืชใบเลี้ยงคู่จะมีขนาดใหญ่ รากพืชเจริญหยั่งลึกลงในดิน จุดเจริญของรากเริ่มจากส่วน terminal meristem ได้เป็น primary root  ซึ่งเรียกว่ารากแก้ว (tap root) นับเป็นการพัฒนาของรากจาก  radicle  พุ่งลงสู่ดิน โคนรากมีขนาดใหญ่และค่อย ๆ เรียวไปทางปลายราก มีการแตกแขนงเป็นรากกิ่ง (secondary root) และรากแขนง (tertiary root) ตามลำดับ ระบบรากของพืชใบเลี้ยงคู่เรียกว่า ระบบรากแก้ว (tap root system) ระบบรากแบบนี้มีความแข็งแรงในการพยุงหรือค้ำจุนต้นพืช ตลอดจนมีประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำและเกลือแร่ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ในบางพืชระบบรากแบบนี้ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารด้วย  เช่น  แครอท และมันสำปะหลัง เป็นต้น
 
ปัจจัยที่มีต่อการเจริญเติบโตและการแผ่กระจายของราก

   เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเจริญของรากพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินซึ่งเป็นส่วนที่รากพืชสัมผัสจะมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อม การเจริญเติบโตของส่วนยอดนับว่ามีผลต่อการเจริญของรากด้วย เพราะมีการเคลื่อนย้ายอาหารไปเลี้ยงส่วนราก นอกจากนี้ปัจจัยต่าง ๆ ในส่วนของ rhizosphere นับว่ามีผลต่อรากพืชโดยตรงด้วย  นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก จึงได้มีการจำแนกปัจจัยต่าง ๆ ออกได้ดังนี้
   1)   พันธุกรรมของพืช เนื่องจากพืชปลูกส่วนใหญ่ได้มีการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์มาเป็นเวลานาน ทำให้พันธุ์แต่ละชนิดมีการเจริญเติบโตของระบบรากที่แตกต่างกันเพื่อให้มีคุณสมบัติในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีในพื้นที่ปลูกแต่ละแห่ง เช่น พันธุ์พืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีความสามารถในการทนต่อสภาพแห้งแล้ง  จะได้รับการคัดเลือกให้มีระบบรากที่หยั่งลึกและแผ่กระจายของรากได้อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้มีการดูดน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
   2)   การแข่งขันกันของพืช (plant competition) เป็นผลมาจากการแข่งขันระหว่างพืชต่างชนิด หรือพืชชนิดเดียวกันเมื่อมีการเพิ่มประชากรของพืชโดยการลดระยะปลูกให้แคบขึ้น เช่น มีรายงานว่าเมื่อปลูกข้าวโพดโดยการเพิ่มปริมาณต้นต่อพื้นที่จาก 12,000 ต้นต่อเฮกตาร์ เป็น 62,000 ต้นต่อเฮกตาร์ มีผลทำให้น้ำหนักแห้งของรากต่อต้นลดลง 72 เปอร์เซ็นต์
   3   การลดลงของพื้นที่ใบ ปกติการเจริญของรากขึ้นอยู่กับการเจริญของยอด ดังนั้นเมื่อมีการตัดส่วนยอดจะมีผลทำให้น้ำหนักของรากลดลง  เช่น การการตัดยอดของ  sudangrass ให้สั้นลงไป 10 ซม. มีผลทำให้น้ำหนักของรากลดลง  85 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ในพืชยืนต้นก็มีผลเช่นกัน เช่นในช่วงฤดูกาลที่ยอดพักตัวมีผลทำให้การเจริญของรากลดลงด้วย
   4)   อากาศในดิน เนื่องจากก๊าซออกซิเจนมีความสำคัญต่อขบวนการหายใจ การดูดซับน้ำและธาตุอาหารของราก เช่น การดูดน้ำของรากข้าว barley เพิ่มขึ้นเมื่อมีการเพิ่มก๊าซออกซิเจน เป็นต้น ในทางตรงกันข้ามเมื่อดินอยู่ในสภาพ anaerobic เช่นในสภาพน้ำขังจะมีผลทำให้ขบวนการทางสรีรวิทยาของรากพืชถูกจำกัด
   5)   pH ของดิน เมื่อ pH ของดินต่ำกว่า 5.0 หรือสูงกว่า 8.0 จะมีผลทำให้การเจริญของรากพืชถูกจำกัดได้ นอกจากนี้ในสภาพที่ดินเป็นกรดจัดมีผลทำให้เกิดความเป็นพิษของธาตุอาหารบางตัว เช่น อลูมิเนียม มังกานีส และเหล็ก เป็นต้น
   6)   อุณหภูมิของดิน ปกติอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของรากจะต่ำกว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของส่วนยอด แต่ถ้าอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป จะมีผลยับยั้งการเจริญของรากพืชได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์พืชด้วย ดังนั้นในเขตเมืองหนาวมีการเพิ่มอุณหภูมิรากโดยการทำท่อน้ำอุ่นฝังในดิน เพื่อช่วยให้รากพืชเจริญได้ดีขึ้น
   7)   ความอุดมสมบูรณ์ของดิน การเจริญของรากต้องการชนิดและระดับของธาตุอาหารที่พอเหมาะ แต่ถ้าพืชได้รับธาตุอาหารที่สูงหรือต่ำเกินไปทำให้พืชมีการเจริญผิดปกติได้ เช่น การให้ปุ๋ยไนโตรเจนที่สูงเกินไปมีผลทำให้พืชมีการเจริญทางยอดมากกว่าการเจริญทางราก หรือเป็นการเพิ่มอัตราส่วนของยอดต่อต้น ขณะที่การให้ฟอสฟอรัสมีผลส่งเสริมการเจริญของราก ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาถึงสัดส่วนของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่เหมาะสมในการให้ปุ๋ยแก่พืช ตัวอย่างเช่นมีการแนะนำว่าสัดส่วนของไนโตรเจนต่อฟอสฟอรัสที่เหมาะสมกับข้าวโพดคือ 1:5 เป็นต้น
   เจ๋ง   น้ำหรือความชื้นของดิน น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญของรากพืช เมื่อพืชขาดน้ำมีผลทำให้น้ำหนักของรากลดลง ดังนั้นพันธุ์พืชที่แนะนำให้ปลูกได้ในพื้นที่แห้งแล้งจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่ปรับตัวได้ดี เช่น มีคุณสมบัติของ osmotic adjustment ที่ช่วยให้พืชรักษาความเต่งของเซลล์ไว้ได้นานช่วยให้พืชสามารถมีการเจริญของรากเพื่อชอนไขไปดูดน้ำในดินชั้นที่อยู่ลึกลงไปทำให้พืชสามารถอยู่รอด หรือให้ผลผลิตได้เมื่อฝนทิ้งช่วง
   9)   ข้อจำกัดทางฟิสิกส์ของดิน  เนื่องจากผลของทางฟิสิกส์ของดินในพื้นที่ปลูกบางแห่งจำกัดการเจริญของรากพืชได้ เช่น ดินที่อัดตัวแน่น (soil compaction) หรือดินที่มี bulk density สูง ดินที่ขาดอินทรียวัตถุ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้การแผ่กระจายของรากถูกจำกัด  นอกจากนั้นยังพบว่ามีผลทำให้รูปร่างของรากผิดปกติด้วย
 
เทคนิคการศึกษารากพืช
   เนื่องจากในปัจจุบันนักสรีรวิทยาพืชให้ความสนใจเกี่ยวกับการศึกษารากพืชมากขึ้น แต่เนื่องจากวิธีการศึกษาทำได้ยาก ใช้แรงงานและทุนในการศึกษาค่อนข้างสูง จึงได้มีการนำเทคนิคต่าง ๆ มาช่วยในการศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ให้ผล
   Caldwell และ Virginia (1989) ได้แสดงวิธีการศึกษาไว้หลายวิธี ดังนี้
   1)   วิธี trench profile เป็นการศึกษาด้วยการขุดดินเพื่อศึกษาระบบรากโดยตรงในระหว่างแถวปลูกของพืชแล้วทำการวัดโดยตรงและถ่ายภาพ
   2)   วิธี framed monolith และ pinboard เป็นวิธีที่ประยุกต์มาจากวิธีtrench profile  ซึ่งช่วยให้ทราบถึงการแผ่กระจายของระบบราก  มีการตอกเหล็กแหลมให้กระจายทั่วไปบนแผ่นไม้ ทำให้รากพืชทั้งหมดเกาะอยู่บนแผ่นไม้ได้ ซึ่งช่วยให้เห็นระบบรากทั้งหน้าตัดดิน  เมื่อตัดดินขึ้นมาแล้วยกแผ่นไม้นั้นขึ้นมาแล้วฉีดน้ำล้างดินออก  ส่วนที่เหลืออยู่บนแผ่นไม้คือระบบรากทั้งหมดของพืช จากนั้นทำการวัดความยาวและน้ำหนักของรากได้โดยตรง
   3)   วิธี core sampling เป็นวิธีการเจาะดินบริเวณระบบรากพืช ทำให้ทราบปริมาตรของดิน จากนั้นจึงทำการแยกรากออกจากดินโดยวิธีล้างราก เพื่อคำนวณกลับไปเป็นค่าความหนาแน่นของราก หรือความยาวรากต่อปริมาตรของดิน วิธีนี้เมื่อกำหนดจุดศึกษาทั่วระบบราก ทำให้สามารถคำนวณความหนาแน่นรากทั้งระบบรากได้
   4)   วิธีการวัดการใช้น้ำ (soil moisture depletion) จัดว่าเป็นวิธีการวัดโดยอ้อมวิธีหนึ่ง โดยการวัดปริมาณในดินที่ลดลงไปเนื่องจากการดูดน้ำของรากพืช แล้วคำนวณกลับไปเป็นความหนาแน่นรากในปริมาตรดินแต่ละส่วนในระบบราก เป็นวิธีที่ทำได้เร็วแต่ก็มีความคลาดเคลื่อนสูง เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำไปจากดินโดยการระเหยของน้ำด้วย
   5)   วิธีการใช้ minirhizotron ปัจจุบันเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้ในต่างประเทศเพราะว่าสามารถศึกษารากได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ทำลายส่วนของระบบรากพืช เป็นการฝังท่อแก้ว pyrex หรือวัสดุใสที่ทนต่อแรงกดได้  จากนั้นใช้ periscope สอดเข้าไปในท่อดังกล่าวทำให้ทราบการเจริญเติบโตของรากได้อย่างต่อเนื่องในสภาพแปลงปลูก
   6)   วิธีใช้ radioactive isotope เป็นวิธีการวัดโดยอ้อมด้วยวิธีการวัดการเปลี่ยนแปลงของ 14C/12C ในระบบรากพืชในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อมีการให้ 14C ทางยอดเพื่อให้มีการใช้ 14C ในการสังเคราะห์ด้วยแสงจากนั้นจะมีการเคลื่อนย้ายไปยังเนื้อเยื่อส่วนราก วิธีนี้จะทำให้ทราบถึงปริมาณรากที่เพิ่มขึ้นโดยคำนวณจาก 12C ที่เพิ่มขึ้นในระบบราก
   นอกจากนี้มีการใช้ 32P ในดินที่ระดับความลึกต่าง ๆ จากนั้นจึงทำการวัดว่ามีการใช้ 32P ไปมากน้อยเท่าไรในแต่ละระดับความลึกเป็นวิธีการวัดโดยอ้อมว่ามีปริมาณรากมากน้อยในแต่ละระดับความลึก
   7)   วิธี allometry เป็นวิธีการวัดโดยอ้อมซึ่งอาศัยอัตราส่วนระหว่างยอดต่อราก เพราะฉะนั้นก่อนใช้วิธีนี้ต้องมีการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของความสัมพันธ์ระหว่างยอดต่อรากของพืชแต่ละชนิด จากนั้นจึงใช้วิธีการคำนวณกลับไป วิธีนี้เป็นวิธีการประมาณการอย่างหยาบ ๆ เพราะจะมีข้อผิดพลาดได้ถ้ามีปัจจัยสภาพแวดล้อมที่แตกต่างออกไป
   จากวิธีการดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการที่จะเลือกวิธีการใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายด้วย


เอกสารอ้างอิง
อภิพรรณ  พุกภักดี  ไสว  พงษ์เก่า  และวิจารณ์  วิชชุกิจ (2529)  เอกสารคำสอนวิชา พร.451 สรีรวิทยาการผลิตพืช  ภาควิชาพืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.
Caldwell, M.M. and R.A. Virginia (1989).  In R.W. Pearcy et al. (eds.) :  Plant Physiological Ecology.  Field Methods and Instrumentation. Chapman and Hall, London : 367-398.
Gardner, F.P., B.R. Pearce and R.L. Mitchell (1985).  Physiology of Crop Plants. Iowa State University Press, U.S.A.
Gollan, T., N.C. Turner and E.D. Schulze (1985)  Oecologia 65 : 356-362.
Russell, R.S. (1977).  Plant Root Systems : Their function and interaction with the soil. McGraw-Hill Book Company (UK)  Limited, London.
Sdoodee, S. (1990).  Adaptive Mechanisms of Blackgram (Vigna mungo (L.) Hepper) and Pigeon pea (Cajanus cajan (L.) Millsp.) to Water Stress at Different Growth Stages.  Ph.D. Thesis, Univ. of Queensland, Australia.   
Turner, N.C., E.D. Schulze and T. Gollan (1985).  Oecologia  65 : 348-355.


* untitled.jpg (42.64 KB, 400x300 - ดู 2690 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #205 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 22:02:15 »

ดินในแปลงนาแน่นแข็งรากข้าวขาดอากาศ ก่อให้เกิดโรครากเน่า

ผืนนาของเกษตรกรที่ผ่านการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานานจะสะสมกรดซัลเฟตตกค้างอยู่ค่อนข้างมาก อีกทั้งยิ่งมีการใช้รถไถรถแทรกเตอร์เข้ามาย่ำทำแปลงถึงแม้ผานจะไถพลิกหน้าดินแต่น้ำหนักของตัวรถที่หนักหลายตันก็ทำให้ดินถูกกดทับเป็นชั้นดานอยู่ด้านล่างเมื่อผ่านการทำนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาขาดการพักดินหรือมีเผาฟางด้วยแล้วจะทำให้ดินแน่นแข็ง รากข้าวจะเจริญเติบโตได้เฉพาะที่ผิวหน้าดินไม่สามารถแทงทะลุลงไปไปในดินช้างล่างได้ ทำให้ต้นข้าวอ่อนแอ แคระแกร็นเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย

รากข้าวที่เจริญเติบโตอยู่ในดินที่แน่นแข็ง น้ำลึก อากาศหรือออกซิเจนจะน้อยทำให้เกิดสภาพขาดอากาศอ่อนแอรากเน่าดำ นำพามาซึ่งโรคต่างๆ มากมายแก่ต้นข้างทั้งทางดินและทางอากาศเพราะเมื่อสภาพต้นอ่อนแอเสียแล้ว เชื้อโรคต่างๆ ไม่ว่าจะชนิดใดก็สามารถที่จะเข้ามากระหน่ำซ้ำเติมได้ทันที ทำให้ข้าวเจริญเติบโตช้า ผลผลิตน้อยทำให้เสียโอกาสของการนำไปจำหน่ายหรือรับรายได้

การป้องกันแก้ไข จะต้องหยุดการเผาฟาง ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกทดแทนปุ๋ยเคมีให้มากขึ้นจากเดิมทำการตรวจวัดกรดด่างของดินและปรับให้อยู่ในระยะที่เหมาะสมคือมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง5.8-6.3 สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความต้านทานต่อโรคและแมลงด้วยการใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์เพื่อยับยั้งการเข้าทำลายของเชื้อราโรคพืชและช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตช่วยกระตุ้นให้ข้าวดูดกินปุ๋ยได้มากขึ้น(อิทธิพลของซิลิกอนและฟอสฟอรัสต่อการดูดใช้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสของข้าวและข้าวโพดที่ปลูกในดินเปรี้ยวจัดชุดดินรังสิตกรดจัด วารสารดินและปุ๋ย โดย รัตนชาติ ช่วยบุดดา,จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข, พจนีย์มอญเจริญและ เอ็ด สโรบล)


มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




* 1035_1.jpg (60.02 KB, 300x400 - ดู 4483 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #206 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 22:25:48 »

แก้ปัญหาโรคเมาตอซังอย่างถูกวิธี

ข้าวไม่กินปุ๋ย สาเหตุหลักที่พบอยู่เป็นประจำก็คืออาการข้าวเมาตอซัง หลายท่านอาจจะสงสัยว่าข้าวเมาตอซังได้อย่างไรในเมื่อการเริ่มทำนาทุกครั้ง พอเกี่ยวเสร็จเศษฟางข้าวในแปลงไว้ 1-2 วัน จากนั้นเผาจนหมด จะเกิดอาการข้าวเมาตอซังได้อย่างไร ขออธิบายดังนี้นะครับ การเกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) เกิดจากตอซังที่ไถกลบลงไปในดินไม่มีจุลินทรีย์ลงไปย่อยสลายทำให้เกิดการเน่าของตอซังและเกิดเป็นก๊าซไข่เน่า ทำให้ข้าวบริเวณที่มีก๊าซนี้มีอาการเหลือง ไม่แตกกอ รากสั้นดำ และยืนต้นแห้งตายในที่สุด ลำพังฟางข้าวที่แห้งและทำการเผาทิ้งจนหมดไม่ทำให้เกิดอาการข้าวเมาตอซัง แต่ปัญหาที่แท้จริงนั้นมาจากตอซัง ไม่ใช่ฟาง ตอซังที่เกี่ยวข้าวยังสดอยู่ เมื่อมีการตีดินหรือไถกลบตอนี้ลงไปใต้ดินจึงทำให้เกิดการเน่า หมักหมมกันมาหลาย ๆ รอบจึงทำให้เกิดก๊าซไข่เน่า ปัจจุบันการหว่านข้าวของชาวนามักหว่านข้าวหนาจึงทำให้ปริมาณตอซังในนาข้าวมีมาก ไม่มีการย่อยตอซังให้สลายอย่างถูกวิธี จึงทำให้เกิดปัญหาข้าวเมาตอซัง ไม่กินปุ๋ย จึงทำให้ชาวนาต้องใส่ปุ๋ยเพิ่ม เปลืองต้นทุนโดยไม่รู้ถึงต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา

การแก้ไขข้าวเมาตอซังเบื้องต้นให้ชาวนาปล่อยน้ำออกจากแปลงนาจนแห้งแตกระแหง วิธีนี้ก็จะแก้ปัญหาอาการข้าวเมาตอซังได้ดี แต่ข้อเสียก็คือเป็นการแก้แบบเฉพาะหน้าป้องกันปัญหาข้าวตายเนื่องจากก๊าซไข่เน่า คือ เมื่อดินแตกระแหง ก๊าซระเหยออกไปในอากาศได้ง่าย ข้าวจึงเขียวขึ้นมา เมื่อนำน้ำเข้านา ปัญหาข้าวเหลืองเมาตอซังก็กลับมาเหมือนเดิม การเจริญเติบโตของข้าวก็ชะงัก ส่วนในเรื่องของการแก้ปัญหาระยะยาว ให้ชาวนาควรนำจุลินทรีย์หน่อกล้วยไปหยดตรงบริเวณที่พบอาการข้าวเมาตอซัง ไม่จำเป็นต้องหยดหมดแปลงเพราะจะทำให้สิ้นเปลือง หรือหากชาวนาท่านใดไม่กลัวสิ้นเปลืองเพราะมีจุลินทรีย์หน่อกล้วยเยอะ หมักไว้มาก อาจจะใช้วิธีหยดตรงบริเวณนั้น หลังจากนั้นนำจุลินทรีย์หน่อยกล้วยปล่อยไปกับการสูบน้ำเข้านาก็จะวิธีที่ดีมาก ๆ ครับ หลังจากหยดจุลินทรีย์หน่อกล้วยเรียบร้อยแล้ว ประมาณ 5-7 วันข้าวจะกลับมากินปุ๋ยเหมือนเดิมครับ



* rice_akioshi1_05_019_B.jpg (77.22 KB, 799x505 - ดู 2723 ครั้ง.)

* 23.jpg (49.24 KB, 800x594 - ดู 2573 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #207 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 22:48:34 »

กระทู้ดีน่าปักหมุด ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
ปักเลยครับ สนับสนุน ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ขอบคุณทั้งสองท่านที่มาแวะอ่านประจำครับ ช่วง3-4 วันนี้อาจไม่ค่อยได้อัพกระทู้เพราะลางานไปทำเทือกนาต่อให้เสร็จเตรียมหว่านข้าวบางคืนอาจได้นอนเฝ้านาด้วยครับ  


* IMG_7820_resize.JPG (179.66 KB, 750x563 - ดู 2547 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
เสือท่าสุด
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 755


« ตอบ #208 เมื่อ: วันที่ 16 มกราคม 2013, 15:44:28 »



   กำลัง  ติดตามผลงานอยู่ครับ   
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #209 เมื่อ: วันที่ 17 มกราคม 2013, 20:24:15 »

ช่วงนี้ไม่ได้อัพกระทู้เลยครับต้องไปทำเทือกนาเตรียมหว่านข้าว ต้องย่ำเทือกซ้ำเพื่อให้ดินเละมากที่สุดและปรับพื้นนาให้เสมอกัน พรุ่งนี้ก็ไปลูบเทือกเพื่อให้พื้นนาเรียบและชักร่องก็เป็นอันเสร็จในการเตรียมดิน ย่ำเทือกไป นกกระยางก็ตามติดตลอดเพื่อหาอาหารพวกลูกกบ ลูกเขียด แมลงต่าง ๆ ที่อยู่ในนากิน


* IMG_7982_resize.JPG (92.85 KB, 750x563 - ดู 2514 ครั้ง.)

* IMG_7981_resize.JPG (109.46 KB, 750x563 - ดู 2495 ครั้ง.)

* IMG_7978_resize.JPG (190.89 KB, 750x563 - ดู 2504 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 มกราคม 2013, 20:27:54 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #210 เมื่อ: วันที่ 17 มกราคม 2013, 20:32:06 »

ย่ำเทือกไปหยอดจุลินทรีย์ไปด้วยเพราะมีมาก ทำเองต้นทุนต่ำใกล้หมดก็ต่อเชื้อเพิ่มหรือทำใหม่ก็ไม่ยากครับ


* IMG_7967_resize.JPG (240.56 KB, 750x563 - ดู 2565 ครั้ง.)

* IMG_7970_resize.JPG (148.36 KB, 750x563 - ดู 2464 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #211 เมื่อ: วันที่ 17 มกราคม 2013, 20:43:10 »

อุปกรณ์ย่ำเทือกที่ใช้ครับ ดัดแปลงจากของรถไถเดินตาม ซื้อมา 1200 บาทดัดแปลงเพิ่มอีก 1000 กว่าบาทรวมเป็น 2200 บาทครับใช้ในการย่ำดินให้แตก ที่จริงรถแบบผมสามารถใส่ตัวจอบหมุนได้ แต่ราคาจอบหมุนราคา 42000 บาทเลยมาใช้แบบนี้ดีกว่าเพราะทำนาของตัวเองไม่ได้ไปรับจ้างช่วยประหยัดเงินได้ครับ


* IMG_7983_resize.JPG (320.56 KB, 750x1000 - ดู 2446 ครั้ง.)

* IMG_7984_resize.JPG (247.64 KB, 750x563 - ดู 2503 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #212 เมื่อ: วันที่ 17 มกราคม 2013, 20:48:44 »

ข้าวก็แช่เรียบร้อยครับ ตอนนี้เอาขึ้นจากน้ำแล้วรออีก 2 วันก็สามารถนำไปหว่านได้  ข้าวที่แช่ไปในน้ำจะต้องตักเอาเมล็ดข้าวที่ลอยออก เพราะบางเมล็ดจะลีบ หรือเบาไม่สมบูรณ์ ตักออกเลยครับไม่ต้องเสียดาย


* IMG_7962_resize.JPG (201.54 KB, 750x563 - ดู 2492 ครั้ง.)

* IMG_7965_resize.JPG (242.47 KB, 750x563 - ดู 2417 ครั้ง.)

* IMG_7963_resize.JPG (259.41 KB, 750x563 - ดู 2373 ครั้ง.)

* IMG_7964_resize.JPG (302.9 KB, 750x1000 - ดู 2370 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 มกราคม 2013, 20:56:42 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #213 เมื่อ: วันที่ 17 มกราคม 2013, 20:56:08 »

เมื่อวานไปนอนที่บ้านกลางนาครับแต่ยังไม่เสร็จเลยเอาเต้นท์ไปกาง  อากาศเย็นสบาย หนาวนิด ๆ ได้ยินเสียงกบ เสียงเขียดร้องตลอดคืน หลังจากหว่านข้าวเสร็จก็จะเริ่มทำบ้านกลางนาต่อให้เสร็จครับ


* IMG_7997_resize.JPG (182.63 KB, 750x563 - ดู 2546 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #214 เมื่อ: วันที่ 17 มกราคม 2013, 21:02:30 »

แอบถ่ายแปลงนาโยนใกล้ ๆ บ้านครับ สีเขียวดูแล้วสบายตาเหมือนสนามหญ้าเลยครับ เจ้าของเป็นเจ้าของกระทู้นาโยนในบอร์ดนี่แหล่ะครับ ปกติดินที่ใช้ในการโยนกล้านอกจากเป็นดินที่ละเอียดแล้วยังต้องมีธาตุอาหารให้กับข้าวด้วยอาจนำดินมาผสมปุ๋ยหมักก็ช่วยให้ต้นข้าวแข็งแรงสมบูรณ์มากขึ้นถึงได้ต้นข้าวสีเขียวแบบนี้ครับ


* IMG_7985_resize.JPG (185.87 KB, 750x563 - ดู 2335 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #215 เมื่อ: วันที่ 17 มกราคม 2013, 21:13:19 »

สำหรับใครมีรถไถเดินตามใช้อุปกรณ์แบบนี้ก็เข้าท่า หากที่นาแปลงใหญ่ก็ใช้วิธีนี้โยนกล้าก็ช่วยให้เบาแรงได้เยอะ


* p1280289u.jpg (117.66 KB, 640x480 - ดู 2457 ครั้ง.)

* p1280431s.jpg (119.71 KB, 640x480 - ดู 6531 ครั้ง.)

* P1280610.jpg (116.66 KB, 640x480 - ดู 5956 ครั้ง.)

* P1280625.jpg (116.92 KB, 640x480 - ดู 9122 ครั้ง.)

* P1280637.jpg (113.49 KB, 640x480 - ดู 2296 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721



« ตอบ #216 เมื่อ: วันที่ 18 มกราคม 2013, 09:35:56 »

 ท่านเคยผสมไคโตชานกับ เชื้อราเดอโรราม่าตอนพ่นไหมครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #217 เมื่อ: วันที่ 18 มกราคม 2013, 21:48:03 »

ท่านเคยผสมไคโตชานกับ เชื้อราเดอโรราม่าตอนพ่นไหมครับ

ไม่เคยผสมครับ ส่วนใหญ่ไคโตซานมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราและบางบริษัทที่ผลิตก็มีการผสมยาเคมีด้วยซึ่งเกรงว่าอาจมีผลกับเชื้อราซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตอาจจะตายได้หากนำมาผสมกัน แต่ไม่เคยทดลองนะครับ  ปกติสามารถพ่นไคโตรซานก่อนเพื่อบำรุงต้นให้แข็งแรงและพ่นเชื้อราไตรโครเดอร์มาหลังซักสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ครับหรือเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถใช้ไตรโครเดอร์มาผสมกับน้ำจุลินทรีย์ ปุ๋ยน้ำก็พอได้ครับ  ไคโตรซานจะนิยมผสมกับพวกสารบำรุงข้าวหรือยาเคมี บางเจ้าก็สามารถผสมกับยาคุมหญ้าได้  หรือแม้แต่ยากำจัดเชื้อราครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #218 เมื่อ: วันที่ 18 มกราคม 2013, 21:53:43 »

มีเวลาน้อยครับไม่ได้เอาบทความเรื่องข้าวมาลงอัพเดทสถานะการทำนาครับ

วันนี้ลูบเทือกและชักร่องครับ 13 ไร่อุปกรณ์ก็อาจแตกต่างจากชาวบ้านนิดหน่อยเพราะเป็นรถไถไม่เหมือนคนอื่นครับ ดัดแปลงเอาครับปรับมุมกวาดของไม้ได้ตามความต้องการ

อุปกรณ์ลูบเทือกครับอยากทำแบบ อ.ชัยพรเหมือนกันแต่ยกไม่ไหว เลยต้องใช้แบบนี้เพราะบางครั้งต้องไปนาคนเดียวครับ


* IMG_7998_resize.JPG (130.81 KB, 750x563 - ดู 2339 ครั้ง.)

* IMG_7999_resize.JPG (156.36 KB, 750x563 - ดู 2320 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #219 เมื่อ: วันที่ 18 มกราคม 2013, 21:57:38 »

ตัวชักร่องครับ  ทำที่ดึงตัวชักร่องใหม่เพื่อความสะดวก ตอนแรกทดลองแรงกดไม่มากพอต้องเพิ่มน้ำหนักด้วยกระสอบทรายก็ได้ร่องน้ำที่ต้องการ


* IMG_8002_resize.JPG (117.73 KB, 750x563 - ดู 3711 ครั้ง.)

* IMG_8004_resize.JPG (106.4 KB, 750x563 - ดู 2406 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 [11] 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!