เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 18 กรกฎาคม 2025, 08:06:15
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 [15] 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 ... 96 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 417604 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #280 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 16:27:31 »

ถังพ่นยาเครื่องยนต์

เป็นถังพ่นที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว  ใช้เครื่อนยนต์เบนซิลมีทั้งแบบ 2 จังหวะและ 4 จังหวะ มีหลากหลายยี่ห้อ  ส่วนมากที่พบเห็นจะผลิตในประเทศจีนเนื่องจากราคาค่อนข้าวถูก มีหลายขนาดส่วนใหญ่มีขนาด 20-25 ลิตร  การใช้งานจะมีทั้งคันเร่งความแรงในการพ่นยา มีวาร์วเปิดปิดระดับน้ำ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่พ่นออกไป


* a.jpg (45.65 KB, 483x603 - ดู 1524 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #281 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 20:14:42 »

วันนี้ช่วงเย็นแวะไปดูที่นาครับ ข้าวโตพอสมควรแต่ก็ช้ากว่าช่วงนาปีเพราะอากาศค่อนข้างหนาวการเจริญเติบโตจึงช้ากว่า อายุข้าวตอนนี้หว่านข้าวไปเกือบครบ 1 สัปดาห์อีกไม่กี่วันก็ต้องพ่นยาคุมหญ้าเพื่อกำจัดวัชพืชและเมล็ดวัชพืช  ครั้งต่อไปคงเลิกทำนาหว่านแล้วเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีอันตราย คงจะหันไปทำนาโยนไม่ก็นาปลูกแทนครับ


* IMG_8158.JPG (69.59 KB, 700x525 - ดู 1372 ครั้ง.)

* IMG_8160.JPG (38.87 KB, 700x525 - ดู 1418 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #282 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 21:01:50 »

พรุ่งนี้ช่วงเช้าไปช่วยเค้าโยนข้าวนาโยนซักหน่อย กลับมาทำน้ำหมักปุ๋ยน้ำซึ่งเน้นไปทางธาตุไนโตรเจน และทำน้ำหมักสมุนไพรขับไล่แมลงครับ พวกสมุนไพรหาได้ในเขตบ้านเลย พวกฟ้าทะลายโจร ข่า ตะไคร้ สาบเสือ พริก บอระเพ็ด กระเพราดำ ผมเคยไปลองถามราคาน้ำหมักสมุนไพรขับไล่แมลงเค้าขายเป็นขวดขวดละ 35 บาทขนาดครึ่งลิตร ถ้าทำเองจะประหยัดกว่ามากช่วยลดต้นทุนได้มาก เหลือก็นำไปแจกจ่ายเพื่อนบ้านครับ

อย่างส่วนผสมที่จะทำปุ๋ยน้ำก็เตรียมไว้แล้วครับ ถั่วเหลืองซื้อจากแมคโคร กกละ 52 บาท  , สับปะรดเจ้าของสวนใจดีให้ฟรีครับแถวนางแล เค้าบอกพวกนี้เปรี้ยวไม่เอาไปขายแต่กินได้นะ , กากน้ำตาลพอดีเอามอเตอร์ไซด์ไปเลยซื้อเป็นขวด ขวดละ 1 ลิตรราคา 22 บาทครับ ส่วนน้ำซาวข้าวให้แม่ผมเก็บไว้ให้ทุกเช้าจนเยอะมากครับจนสั่งเบรค ส่วนจุลินทรีย์หมักมีอยู่แล้วก็นำมาผสมร่วมได้เลย


* IMG_8169.JPG (51.83 KB, 700x525 - ดู 1363 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #283 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2013, 21:52:12 »

วันนี้ช่วงเช้าไปดูนาโยนของญาติก็ได้ช่วยโยนนิดหน่อยครับ นาโยนเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นทางเลือกหนึ่งของชาวนา ใช้เวลาการปลูกในแปลงนาข้าวไม่นานรวดเร็วกว่าการใช้แรงงานดำ แต่อาจต้องมีการลงทุนเรื่องแผงเพาะกล้า ( แผงเพาะกล้าสามารถใช้งานได้หลายครั้ง ) นา 1 ไร่นาปรังใช้ประมาณ  120 แผงหากต้องการให้ข้าวแน่น นาปีอาจลดจำนวนแผงลงได้เนื่องจากฝนตกบ่อยเสี่ยงต่อการเป็นเชื้อราอาจจะประมาณ 80-100 แผง หากทำนาโยนหลายไร่จะต้องมีการถอนกล้าจากถาดเตรียมไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจจะถอนใส่ตะกร้าแต่ถ้าไม่มีก็อาจใส่ในถุงกระสอบปุ๋ยก็ได้ครับ หลังจากโยนเสร็จแนะนำพ่นกากชาเพื่อกำจัดหอยเชอรี่ที่จะมากินต้นข้าวครับ


* IMG_8193_resize.JPG (55.77 KB, 750x563 - ดู 1372 ครั้ง.)

* IMG_8194_resize.JPG (59.48 KB, 750x563 - ดู 1364 ครั้ง.)

* IMG_8195_resize.JPG (51.69 KB, 750x563 - ดู 1362 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #284 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2013, 22:01:44 »

นาโยนเมื่อข้าวถูกโยนลงมาก็จะปักลงดินแบบนี้ครับ ซึ่งการเตรียมดินสำหรับทำนาโยนควรเป็นดินที่ทำเทือกเสร็จไม่นานและมีน้ำเลี้ยงบ้างเล็กน้อยเพื่อให้น้ำช่วยพยุงให้ข้าวสามารถทรงตัวตั้งตรงได้ หากดินแข็งหรือเริ่มแห้งข้าวจะไม่พุ่งปักดิน  ข้อดีของการมีน้ำในนาคือ เวลาเราอยู่ในนาหากไม่มีน้ำดินจะเหนียวเดินจะยากเพราะดินจะติดรองเท้าทำให้เหนื่อยมากขึ้น แต่หากมีน้ำมากเกินไปก็ไม่ดีเพราะจะท่วมต้นข้าวอีกควรระบายน้ำออกบ้าง


* DSCN1056_resize.JPG (47.54 KB, 750x563 - ดู 1334 ครั้ง.)

* DSCN1057_resize.JPG (33.76 KB, 750x563 - ดู 1362 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #285 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2013, 22:06:28 »

หากทำนาโยนเยอะอาจต้องมีรถช่วยในการขนกล้าไปยังแปลงต่าง ๆ ของนาข้าวครับ ช่วยเบาแรงได้มากดีกว่าการขนด้วยแรงงานคนไปตามคันนา อาจใช้รถไถเดินมาประยุกต์ได้เหมือนกันครับ


* DSCN1061_resize.JPG (51.23 KB, 750x563 - ดู 1318 ครั้ง.)

* DSCN1064_resize.JPG (48.27 KB, 750x563 - ดู 1394 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #286 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2013, 22:17:49 »

กลับมาทำน้ำหมักจุลินทรีย์เพื่อใช้เป็นปุ๋ยทางใบครับก็มี

น้ำซาวข้าว, จุลินทรีย์หน่อกล้วย , สับปะรด , ถั่วเหลือง ,กากน้ำตาล ครับ


* DSCN1071_resize.JPG (22.68 KB, 750x563 - ดู 1319 ครั้ง.)

* DSCN1076_resize.JPG (44.43 KB, 750x563 - ดู 1302 ครั้ง.)

* DSCN1067_resize.JPG (47.94 KB, 750x563 - ดู 1326 ครั้ง.)

* DSCN1068_resize.JPG (64.28 KB, 750x563 - ดู 1294 ครั้ง.)

* DSCN1072_resize.JPG (43.79 KB, 750x563 - ดู 1310 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #287 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2013, 22:32:28 »

สำหรับชาวนาที่มีเวลาไม่มากอาจต้องพึ่งเครื่องทุ่นแรงต่างๆ  ซึ่งหากใช้งานเสร็จอาจต้องหมั่นซ่อมบำรุงบ้าง อย่างเครื่องพ่นลม ซึ่งใช้ในการหว่านข้าว  พ่นกากชากำจัดหอยเชอรี่ หว่านปุ๋ย ก็อาจต้องมีการถอดชิ้นส่วนมาล้างบ้างครับเพราะบางทีอาจมีพวกเศษต่าง ๆ ที่เราพ่นไปติดทำให้ใช้งานได้ไม่เต็มที่ครับ อาจเสียเวลาด้วย

ชิ้นส่วนหลัก ๆ ที่ต้องหมั่นตรวจสอบและทำความสะอาดคือคือ

-ถังเก็บวัสดุ
-ตัวเครื่องซึ่งประกอบด้วยเครื่องยนต์
-ลิ้นปิดเปิดเพื่อควบคุมปริมาณวัสดุที่พ่น

เราสามารถปรับแต่งระยะลิ้นปิดเปิดวัสดุด้วยการถอดสลักซึ่งจะมีรูที่ยึดจากคันโยกสามาถเปลี่ยนระยะได้ครับ


* DSCN1079_resize.JPG (45.39 KB, 750x563 - ดู 1275 ครั้ง.)

* DSCN1080_resize.JPG (37.05 KB, 750x563 - ดู 1314 ครั้ง.)

* DSCN1081_resize.JPG (41.23 KB, 750x563 - ดู 1300 ครั้ง.)

* DSCN1086_resize.JPG (36.76 KB, 750x563 - ดู 1293 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #288 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2013, 22:42:29 »

บ้านปลายนาครับ หลังนี้ผมชอบครับเลยถ่ายรูปมาฝากเผื่อใครคิดกำลังจะสร้างบ้าง หลังนี้เจ้าของแกทำงานอยู่ ธกส.  เดิมเป็นสวนแต่หันมาเปลี่ยนเป็นแปลงนาตั้งแต่ราคาข้าวดีครับ


* IMG_8196_resize.JPG (91.62 KB, 750x563 - ดู 1330 ครั้ง.)

* IMG_8197_resize.JPG (103.27 KB, 750x563 - ดู 1329 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #289 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2013, 10:14:49 »

ประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่ประชาชนมีความกระตือรือร้นและระเบียบวินัยสูง เช่นเดียวกับชาวอิสราเอลที่แรงงานเป็นที่ต้องการของหลายประเทศเพราะชาวอิสเอลทั้งชายและหญิงจะต้องถูกฝึกเป็นทหารจากความขัดแย้งแบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์ ชาวยิว ชาวอาหรับ แรงงานจึงมีความอดทนและมีระเบียบวินัยสูงแบบทหาร  อิลราเอลเป็นประเทศตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ทะเลทรายกินพื้นที่เกือบครึ่งประเทศ และอีกด้านคือทะเลสาบเดดซี ทะเลแห่งความตายที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆ อยู่รอด ปัจจุบันอิสราเอลเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีในการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระดับแนวหน้าของโลก   กลับมาที่ประเทศญี่ปุ่น ในการจัดการน้ำในนาข้าว ในเขตชุมชนไร่นาจะมีการจัดการน้ำค่อนข้างดี และไม่ยุ่งยาก จะมีการจัดการน้ำค่อนข้างดีมีระบบน้ำเข้า น้ำออกซึ่งสามารถควบคุมระดับน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงแต่ระยะยาวก็มีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน จะใช้คลองเล็ก ๆ เป็นคอนกรีต ใช้ไม้กั้นเพื่อเปลี่ยนแปลงทิศทางน้ำ หรือควบคุมระดับน้ำ ใครมีพอมีเงินเหลือพอก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในนาตัวเองได้ครับ


* IMG_1518_resize.JPG (173.93 KB, 682x511 - ดู 1322 ครั้ง.)

* IMG_1517_resize.JPG (148.7 KB, 636x477 - ดู 1318 ครั้ง.)

* IMG_1704_resize.JPG (186.45 KB, 636x477 - ดู 1252 ครั้ง.)

* IMG_1701_resize.JPG (140.7 KB, 795x596 - ดู 1335 ครั้ง.)

* IMG_1685_resize_resize.JPG (168.47 KB, 718x538 - ดู 1292 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #290 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2013, 10:30:48 »

อิสราเอล พันธะสัญญาเหนือผืนทะเลทราย
โดย Creative Thailand

จากชนชาติที่ถูกกระทำอย่างเจ็บปวดที่สุดเท่าที่มนุษยชาติพึงจะกระทำต่อกันในประวัติศาสตร์โลก ชาวยิวเดินฝ่าความขมขื่นเพื่อร่วมกันสร้างดินแดนในแผ่นดินที่ยึดถือว่าเป็นพันธสัญญาของพระเจ้าภายใต้ชื่ออิสราเอล แต่ลมฝนจากทะลเมดิเตอร์เรเนียนก็ไม่อาจบรรเทาความแห้งแล้งจากเบื้องบน เมื่อทะเลทรายกินพื้นที่เกือบครึ่งประเทศ และอีกด้านคือทะเลสาบเดดซี ทะเลแห่งความตายที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆ อยู่รอด ซ้ำยังถูกขนาบข้างด้วยปัญหาการแบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์และพื้นที่ฉนวนกาซาที่ยืดเยื้อยาวนาน ถึงอย่างนั้นก็กลับไม่มีข้อกังขาใดในผลิตผลทางปัญญาของชาวยิว เพราะในดินแดนที่เต็มไปด้วยอุปสรรคนี้ เทคโนโลยีการเกษตรและระบบชลประทานสมัยใหม่ได้แผ้วถางความกันดารและนำความอุดมสมบูรณ์มาสู่ผืนทราย จากดินแดนที่มีพันธะต่อพระเจ้า สู่พันธสัญญาใหม่เพื่อหล่อเลี้ยงผู้คนบนโลกใบนี้

ที่พึ่งหลังสุดท้ายแห่งศรัทธา
         อิสราเอลเป็นประเทศที่เผชิญหน้ากับความขัดแย้งมาโดยตลอด ทันทีที่สหประชาชาติได้แบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วน เมื่อปี 1947 โดยส่วนหนึ่งให้เป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนเป็นพื้นที่ของชาวอาหรับ หนึ่งปีต่อมาชาวยิวได้สถาปนารัฐอิสราเอลขึ้น และเป็นเหตุที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวกับชาวอาหรับทวีความรุนแรงขึ้น กลุ่มอาหรับ ที่ประกอบด้วยอียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน และเลบานอนได้สนับสนุนการตั้งองค์การเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine LiberationOrganization: PLO) และเมื่อยัสเซอร์ อาราฟัต เข้ามาเป็นผู้นำพร้อมนโยบายแข็งกร้าว ดีกรีความขัดแย้งก็ยิ่งเข้มข้นขึ้น เขาพยายามอย่างยิ่งในการแสดงให้ชาวโลกยอมรับการมีตัวตนของชาวปาเลสไตน์และพยายามแสดงให้เห็นถึงความชอบธรรมในการกอบกู้ดินแดนของชาวปาเลสไตน์คืนจากอิสราเอล ในปี1972 กลุ่มนักรบปาเลสไตน์ได้ลงมือในปฏิบัติการที่เขย่าขวัญคนทั้งโลกในขณะที่มหกรรมโอลิมปิกเกิดขึ้น ณ เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ด้วยการบุกเข้าหอพักนักกีฬาโอลิมปิก และจับตัวนักกีฬาชาวอิสราเอลจำนวน 11 คนเป็นตัวประกัน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยตัวนักโทษการเมืองชาวปาเลสไตน์ 234 คน และอีก 2 คนที่ถูกคุมขังอยู่ที่เยอรมนี เหตุการณ์ครั้งนั้นจบลงที่ความสูญเสีย และปัญหาระหว่างทั้งสองฝ่ายก็ยิ่งลุกลามขึ้นไปอีก และแม้นานาชาติจะได้พยายามทุเลาความเลวร้ายต่างๆ ผ่านเวทีเจรจาสันติภาพอย่างต่อเนื่องนานหลายสิบปี รวมถึงมีโครงการพัฒนาความร่วมมือมากมายที่หลั่งไหลเข้าไปเพื่อกอบกู้และเยียวยาด้านมนุษยธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย แต่ก็ทำได้แค่เพียงบรรเทาเท่านั้น เพราะเหตุการณ์รุนแรงมักจะปะทุขึ้นเสมอๆ

ขณะที่มหากาพย์แห่งความขัดแย้งรอบเขตแดนดำเนินไป แต่ภายในประเทศ รัฐบาลอิสราเอลยังคงมุ่งมั่นที่จะฟูมฟักความแข็งแกร่งของชาติด้วยวิทยาการทันสมัยทุกแขนง ตั้งแต่การเพาะปลูกเพื่อความอิ่มท้องจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อประกาศศักดิ์ศรี นับจากการตั้งประเทศเมื่อปี 1948 อิสราเอลคือรัฐที่เติบโตจากการอพยพเพื่อการตั้งถิ่นฐานอย่างแท้จริง จำนวนประชากรขยายตัวอย่างรวดเร็วถึง 5เท่า เป็นราว 7.3 ล้านคนในปัจจุบัน กว่าร้อยละ 80 คือคนเชื้อสายยิว และอีกราวร้อยละ 20 เป็นเชื้อสายอาหรับ พวกเขาอพยพมาจาก 5ทวีป จากกว่า 100ประเทศ และได้นำเอาวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นติดตัวมาด้วย อิสราเอลจึงมีความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นซิมโฟนีแบบรัสเซีย บทประพันธ์อย่างอังกฤษ หรือกระทั่งสถาปัตยกรรมแบบเบาเฮาส์จากเยอรมนี ที่รวมอยู่ภายใต้ความเป็นอิสราเอลซึ่งให้ความสำคัญกับรากฐานที่แข็งแกร่งของชุมชน เมื่อประกอบกับประวัติศาสตร์บนดินแดนที่ยาวนานกว่า 3 พันปีเช่นเมืองหลวงเยรูซาเล็ม จึงทำให้อิสราเอลมีองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่ทั้งเสื่อมสลายและยังมีชีวิตอยู่ โดยมีเมืองเทลอาวีฟ ศูนย์กลางทางการเงินที่ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางแห่งพลังชีวิตของหนุ่มสาว การเริ่มต้นธุรกิจ  ความทันสมัย ทั้งแฟชั่น อาหาร และศิลปะ ขณะที่เมืองไฮฟา เมืองท่าสำคัญก็ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรม และเมืองเบเออร์เชวา กลายเป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจทางตอนใต้ของประเทศ และแม้จะอยู่ในภาวะยุ่งเหยิง แต่การท่องเที่ยว ก็ถือเป็นหนึ่งในรายได้หลักของประเทศ โดยในปี 2011 มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางไปอิสราเอลถึงกว่า 3.45 ล้านคน



อิสราเอลปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะสลัดภาพจำจากฉนวนกาซา และความคุกรุ่นจากกลิ่นอายความขัดแย้ง ประเทศจึงได้เปิดรับการลงทุนใหม่ๆ จากต่างชาติอย่างกว้างขวาง โดยมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสวนทางกับสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศที่ลุ่มๆ ดอนๆ ปริมาณการลงทุนจากต่างชาตินั้นสูงประมาณปีละเกือบพันล้านเหรียญสหรัฐฯ เรื่อยมา และเพิ่มสูงถึง 25,000 ล้านเหรียญในปี 2006 โดยประเภทของธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชั้นสูง โดยเฉพาะการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ (R&D) และธุรกิจด้านการเงิน ซึ่งมีกองทุนต่างชาติขนาดใหญ่เข้ามาดำเนินการอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะอิสราเอลมีชื่อเสียงด้านการบริหารกองทุนและการเงินไม่แพ้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ 

อย่างไรก็ดี ความถดถอยในเศรษฐกิจยุโรปและอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของอิสราเอลได้ส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อเศรษฐกิจของอิสราเอลเอง ขบวนประท้วงและนัดหยุดงานจึงเกิดขึ้นบนท้องถนนเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐบาล ขณะเดียวกัน คลื่นผู้อพยพลี้ภัยจากแอฟริกาก็เริ่มสร้างความปั่นป่วนในสังคม เมื่อความแออัดนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรม และชาวเมืองเริ่มต่อต้านคนแปลกหน้าเหล่านี้ แต่รัฐบาลยังคงมั่นใจว่าจะก้าวข้ามความยุ่งยากต่างๆ ไป เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจเลวร้ายแบบช็อกโลกเมื่อปี 2008อิสราเอลก็สามารถส่งผ่านช่วงเวลาวิกฤตินั้นได้อย่างนุ่มนวล เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้ขึ้นกับธุรกิจสินเชื่อหรือภาคอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว แต่กลับใช้เทคโนโลยีและการวิจัยเป็นตัวขับเคลื่อน และเพิ่มผลผลิตของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ การมีบริษัทด้านเทคโนโลยีมากกว่ายุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน  ในขณะที่พลเมืองของอิสราเอลนั้นน้อยกว่ารัฐนิวเจอร์ซีย์ของสหรัฐอเมริกา  ก็ยังทำให้อิสราเอลสามารถดึงดูดการลงทุนในกองทุนร่วมลงทุน (Venture Capital Fund)ได้มากกว่าอเมริกาถึง 2.5เท่า



ส่วนเหตุผลที่ความสามารถของชาวอิสราเอลเป็นที่ต้องตาต้องใจนั้น ไม่ใช่เพราะพวกเขาเก่งกาจเหนือกว่าเหล่าเด็กโอลิมปิกวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ซึ่งมีอยู่มากมายในอินเดียและสิงคโปร์ หรือผู้คนจากประเทศที่มีเศรษฐกิจน่าประทับใจอย่างเกาหลี แต่สิ่งที่อิสราเอลทำนั้น เริ่มตั้งแต่การวางนโยบายเพื่อการวิจัยและพัฒนา โดยถือเป็นประเทศที่ทุ่มเทงบประมาณเพื่องานวิจัยมากเป็นอันดับ 4 ของโลกและสิ่งที่สำคัญก็คือการสร้างระบบนิเวศของเทคโนโลยีขึ้นในชีวิตประจำวันของชาวอิสราเอล ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากระบบห้องปฏิบัติการของบริษัท แต่เป็นวัฒนธรรมการฝึกฝนในชีวิตประจำวันที่เด็กทุกคนจะต้องเรียนรู้ เช่น คนหนุ่มสาวซึ่งเข้าเป็นทหารที่จะต้องผ่านการฝึกด้านการทำงานเป็นทีม วิธีการบริหารและจัดการกับความทุกข์ยาก การเอาชนะเงื่อนไขต่างๆ ภายใต้ความบีบคั้นอย่างภาวะทรัพยากรไม่เพียงพอและข้อมูลไม่สมบูรณ์ นอกจากนั้น พวกเขายังถูกฝึกให้ท้าทายผู้บังคับบัญชาได้ในสิ่งที่คิดว่าไม่ถูกต้อง

การฝึกความอดทน การเอาชนะธรรมชาติด้วยความรู้และตรรกะ เป็นเรื่องที่เด็กๆ ชาวอิสราเอลถูกฝึกฝนในระบบนิเวศที่สร้างให้พวกเขาเติบโตขึ้นด้วยความกล้าที่มากพอในการทดลองทำสิ่งใหม่ๆ และท้าทายต่อสภาวการณ์ที่อาจไม่เป็นใจ

พิชิตทะเลทราย
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก แต่อิสราเอลประกอบด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่ต่างกันสุดขั้ว ด้านหนึ่งติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนรับอากาศร้อนชื้น ทางตอนเหนือเป็นที่ราบสูงมีหิมะตกในฤดูหนาว และพื้นที่เกือบครึ่งประเทศเป็นทะเลทรายที่มีอากาศร้อนและแสงแดดตลอดปี ปริมาณฝนอันน้อยนิดและไม่ทั่วถึงสร้างปัญหาใหญ่ด้านการเพาะปลูก ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ทั้งประเทศยังมีแหล่งน้ำจืดจำกัด และแหล่งดินคือเนินหินทรายที่เต็มไปด้วยผลึกตะกอนเค็มสีขาว และบางส่วนก็เป็นกรวดปนทรายที่พอจะเพาะปลูกได้คิดเป็นร้อยละ 11 ของประเทศ

และเมื่อมนุษย์ไม่อาจมีข้อโต้แย้งหรือคำร้องขอใดๆ จากธรรมชาติได้ ชาวอิสราเอลจึงจำต้องดำเนินชีวิตบนความจำกัดเช่นนี้ พวกเขาจัดการบริหารพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชนและพื้นที่การเกษตรอย่างเป็นระบบ ด้วยการบริหารจัดการแบบรวมกลุ่มที่เรียกว่า คิบบุตซ์ (Kibbutz) และ โมชาฟ (Moshav) โดยคิบบุตซ์เป็นรูปแบบของการนิคมสำหรับเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง และรายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตรจะถูกนำมารวมกันเพื่อแบ่งปันกำไรเท่าๆ กัน ขณะที่ โมชาฟ คือชุมชนจัดตั้งที่มีการรวมกลุ่มกันของเกษตรกร เพื่อช่วยกันทำมาหากินแบบพึ่งพาอาศัยกันอย่างมีกติกาในรูปแบบคล้ายสหกรณ์ แต่ละแห่งมีสมาชิกประมาณ 60-200 ครอบครัว แต่ละครอบครัวสามารถมีที่ดิน บ้าน และเครื่องมือทำการเกษตรเป็นของตนเอง โดยโมชาฟจะรับผิดชอบด้านการตลาด การจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ให้สมาชิกในราคาถูก รวมทั้งจัดการให้สมาชิกทุกคนได้ใช้น้ำและที่ดินอย่างเท่าเทียมกัน



 เมื่อสามารถบริหารพื้นที่การเพาะปลูกและอยู่อาศัยได้ การบริหารจัดการทรัพยากรก็ตามมา อิสราเอล ทุ่มเทอย่างหนักเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรในทุกขั้นตอนและทุกมิติ เริ่มตั้งแต่การวางแผนการผลิตก่อนปลูกพืช โดยฝ่ายการตลาดจะวิเคราะห์ว่าพืชชนิดใดที่มีศักยภาพทางการตลาดสูง  จากนั้นก็จะส่งมาให้หน่วยงานวิจัยศึกษาถึงความเป็นไปได้ และคำนวณหาตัวแปรที่จะมีผลกับการเติบโตและคุณภาพของพืชชนิดนั้นๆ เช่น เมื่อวางแผนจะปลูกดอกไม้เมืองหนาวที่มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ฝ่ายวิจัยจะคิดหาพันธุ์ที่มีความแข็งแรงและงอกงามได้ภายในโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้  ทั้งยังมีการออกแบบโรงเรือนและวัสดุต่างๆ เช่น ตาข่ายมุ้งหลังคาที่มีสีและขนาดความถี่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของพืชซึ่งต้องผ่านขั้นตอนการวิจัยและทดสอบ ทั้งการควบคุมความชื้น แสง และแมลง แต่กระบวนการคิดจะยังไม่จบแค่การเพาะปลูกในโรงเรือนเท่านั้น เพราะยังต้องคำนึงถึงระยะทางการขนส่ง ซึ่งทำให้ฝ่ายวิจัยต้องพัฒนาสายพันธุ์ให้กลีบดอกมีความแข็งแรงมากขึ้น เพื่อความสดที่นานขึ้น ขนส่งได้ไกลขึ้น และขยายตลาดได้มากขึ้น นอกจากนี้เพื่อระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลจึงได้ลงทุนทำถนนที่แข็งแรงและราบเรียบเพื่อการขนส่งพืชผลทางการเกษตรไว้ทั่วประเทศอีกด้วย

               การวางแผนการเพาะปลูกจะถูกกำหนดเป็นรายปีหลังจากได้รับโจทย์จากฝ่ายการตลาด เพื่อควบคุมผลผลิตไม่ให้ล้นตลาด และขายได้รายได้งาม รวมทั้งเพื่อการจัดสรรน้ำสำหรับการเพาะปลูกในแต่ละฤดูกาล เนื่องจากแหล่งน้ำแหล่งเดียวของประเทศคือทะเลสาบกาลิลี ซึ่งรับน้ำมาจากแม่น้ำจอร์แดนกับทะเลสาบคินเนเรตนั้นเป็นน้ำกร่อยที่มีคลอไรด์หรือเกลือปนอยู่ในระดับ 10 ไมโครกรัมต่อลิตร ส่วนน้ำในทะเลสาบคินเนเรตก็มีระดับเกลือสูงถึง 200 ไมโครกรัมต่อลิตร และน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินก็มีระดับคลอไรด์ที่เข้มข้นถึง 1,500 ไมโครกรัมต่อลิตร ดังนั้น น้ำที่จะนำมาใช้ในการเพาะปลูกจึงต้องผ่านนวัตกรรมการบำบัดน้ำเค็มให้เป็นน้ำจืดก่อนที่ถูกส่งต่อไปยังพื้นที่แต่ละแห่งและแปลงของเกษตรกรแต่ละราย ซึ่งเกษตรกรจะต้องเข้าใจธรรมชาติของพืชว่าต้องการน้ำในปริมาณเท่าใดสำหรับพันธุ์พืชที่แตกต่างกันในแต่ละฤดูกาลเพาะปลูกด้วย

          ทรัพยากรน้ำที่จำกัดยังผลักดันให้้อิสราเอลคิดค้นเทคโนโลยีระบบ Micro Irrigation หรือ ระบบการให้น้ำแบบหยดเพื่อการเพาะปลูกที่ได้ประสิทธิภาพโดยสูญเสียน้ำน้อยที่สุด โดยฝ่ายวิจัยจะศึกษาว่าพืชแต่ละชนิดต้องการน้ำปริมาณเท่าใด และดินที่ใช้ปลูกซึมน้ำได้เร็วแค่ไหน และเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นทรายละเอียด การให้น้ำอย่างมากก็จะไหลผ่านชั้นรากพืชไปอย่างรวดเร็ว จนรากพืชอาจดูดซับไว้ไม่ทัน ดังนั้นเกษตรกรจึงไม่จำเป็นต้องรดน้ำลงไปครั้งเดียว แค่ปล่อยน้ำผ่านระบบน้ำหยดให้น้ำค่อยๆไหลลงไป รากพืชก็จะมีเวลาดูดซับน้ำได้ทัน การสูญเสียน้ำจึงน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย



 ทั้งนี้ ขั้นตอนในการควบคุมการผลิต ตั้งแต่ปริมาณน้ำ การวัดความชื้นในโรงเรือน และปัจจัยอื่นๆ เกือบทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ เช่น วาล์วน้ำจะถูกสั่งเปิดจากคอมพิวเตอร์ทันทีที่เครื่องวัดความชื้นในดินรายงานว่าพืชต้องการน้ำ และเครื่องพ่นหมอกจะปล่อยละอองน้ำในโรงเรือนเมื่อตัววัดความชื้นรายงานว่าอากาศเริ่มแห้งเกินไป ส่วนพัดลมดูดอากาศจะทำงานทันทีที่ความชื้นภายในโรงเรือนมากเกินกว่าความต้องการของพืช คงเหลือแต่กระบวนการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีมูลค่าสูงและต้องการลดความบอบช้ำซึ่งจะใช้แรงงานฝีมือในการเก็บเกี่ยว  แบบแผนเกษตรกรรมตั้งแต่การศึกษาความต้องการของตลาด การวิจัย เพาะปลูก เก็บเกี่ยว ไปจนถึงระบบโลจิสติกส์นี้ เป็นระบบที่ใช้ในฟาร์มปศุสัตว์และการประมงชนิดอื่นๆ ด้วย โดยในทุกๆ ปีของฤดูกาลเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ เจ้าของฟาร์มจึงมีงานทดลองทุกปี เพื่อนำไปพัฒนาการเกษตรในฤดูกาลต่อไป เช่น การเปรียบเทียบสายพันธุ์ เปรียบเทียบวัสดุปลูก หรือเปรียบเทียบโรงเรือนที่แตกต่างกันบนตรรกะเช่นนี้ทำให้อิสราเอลไม่ขาดแคลนอาหาร อีกทั้งยังเป็นผู้ส่งออกพืชผลเกษตรรายใหญ่ที่สุดให้แก่ภูมิภาคยุโรปอย่างต่อเนื่อง

             นอกจากนวัตกรรมด้านการเกษตร ชาวยิวผู้รอบรู้ยังได้พัฒนาระบบนวัตกรรมเทคโนโลยีน้ำเพื่อครัวเรือนและอุตสาหกรรมที่ชาญฉลาดที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ทั้งระบบการเปลี่ยนน้ำเค็มให้เป็นน้ำดื่ม  กระบวนการบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมมาเป็นน้ำใช้ และยังถือเป็นประเทศที่มีการรีไซเคิลน้ำได้มากที่สุดในโลกถึงร้อยละ 75 ของน้ำอุปโภคบริโภคทั้งหมด (มีสเปนเป็นอันดับสองอยู่ที่ระดับร้อยละ 20) พร้อมกันนี้ อิสราเอลยังเป็นประเทศที่มีการส่งออกระบบเทคโนโลยีเรื่องน้ำ ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก คิดเป็นมูลค่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  โดยหนึ่งในนั้นคือนวัตกรรมผลิตน้ำดื่มจากน้ำทะเลในระบบรีเวิร์ส ออสโมซิส ของบริษัท ไอดีอี-แอชเคลอน ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ไอดีอี เทคโนโลยีของอิสราเอลกับโวลลา วอเตอร์ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งใช้เทคนิคการปั้มน้ำทะเลด้วยแรงดันสูงผ่านเข้าไปในระบบกรองของไส้กรองเมมเบรนที่สกัดเอาเกลือออกจากน้ำทะเล ในอัตราส่วนน้ำทะเล 2 คิวบิกเมตร เพื่อให้ได้น้ำดื่ม 1 คิวบิกเมตร โดยโรงงานขนาดใหญ่ 2 แห่ง สามารถผลิตน้ำได้ครอบคลุมถึงร้อยละ 50 ของปริมาณน้ำเพื่อการบริโภคของคนอิสราเอลทั้งหมด และสัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70 เมื่อตั้งโรงงานแห่งที่ 3 แล้วเสร็จในอนาคต

            นอกจากนี้ ทุกๆ 3 ปี อิสราเอลจะจัดมหกรรมแสดงแสนยานุภาพทางนวัตกรรมด้านการเกษตรเพื่ออนาคตที่เรียกว่า “Israel Agriculture Innovation & Agritech” ขึ้น โดยจะมีประเทศต่างๆ ร่วมนำเสนอนวัตกรรมเพื่อมวลมนุษยชาติ อาทิ จีน เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น รวมถึงยังมีงานแสดงเทคโนโลยีการเกษตรอื่นๆ ที่จัดขึ้นกลางทะเลทรายอะราวาเพื่ออวดความสามารถของระบบทดน้ำ ตลอดจนความสวยงามของดอกไม้และเมล็ดพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่สามารถปลูกได้ดีแม้ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรอย่างเช่นกลางทะเลทราย ไปจนถึงงานแสดงผลงานทางอุตสาหกรรมน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง WATEC เพื่อแสดงนวัตกรรมบริหารจัดการน้ำที่ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่เรื่องของการแสวงหาแหล่งน้ำ การบำบัดน้ำ เรื่อยไปจนถึงการควบคุมสภาวะแวดล้อม และพลังงานทางเลือก ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำเสนอความรู้ และความเข้าใจในหลักการและความคิดเบื้องหลังเทคโนโลยีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เมื่อประเทศต้องประสบกับวิกฤตจากน้ำ

กิ่งก้านแห่งวิทยาการ

ผลผลิตอันอุดมสมบูรณ์จากแหล่งทะเลทรายในอิสราเอลทำให้โลกต้องอิจฉา ไม่เพียงสำหรับความอิ่มท้องของชาวอิสราเอล แต่ยังแตกกิ่งก้านสาขาไปงอกเงยในแห่งอื่น



  ศูนย์ความร่วมมือการพัฒนาระหว่างประเทศเกษตรกรรม (CINADCO) ตั้งขึ้นในปี 1950 เพื่อแบ่งปันความรู้ด้านการพัฒนาทางการเกษตรแก่ประเทศกำลังพัฒนา เช่น เซเนกัล ,อินเดีย ,เอลซัลวาดอร์ , จีน และคาซัคสถาน .องค์กรดังกล่าวได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้กับวิกฤตอาหารทั่วโลก เพื่อช่วยให้ประเทศที่ขาดแคลนอาหารได้บรรลุผลผลิตจากที่ดินทำกินของพวกเขาด้วยวิธีการพัฒนาระบบนิเวศการเกษตร

·        อุตสาหกรรมพลาสติกโพลีแซค เกิดขึ้นในปี 1974 เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการกับความท้าทายในการรักษาผลผลิตทางการเกษตรท่ามกลางความร้อนสูงของประเทศ โพลีแซคพัฒนาผลิตภัณฑ์และสามารถทำการตลาดได้กว้างขวาง ผ่านตาข่ายป้องกันยูวีสำหรับการใช้งานด้านการเกษตร เช่น การป้องกันพืชและให้ร่มเงา  การจัดการแสงสเปกตรัม ตลอดจนคลื่นความถี่ โพลีแซคยังมีส่วนร่วมในโครงการเกษตรทั่วโลก เช่น รัสเซีย ,ยูเครน ,ไทย ,เม็กซิโก และบราซิล เป็นต้น

·      เนต้าฟิม (Netafim) บริษัทผู้บุกเบิกและพัฒนาระบบชลประทานน้ำหยด เริ่มดำเนินการในปี 1965 เพื่อปฏิวัติการใช้น้ำในพื้นที่ขาดแคลน บริษัทได้พัฒนานวัตกรรมรุ่นใหม่ๆ มาโดยตลอด ล่าสุดได้พัฒนาระบบน้ำหยดสำหรับพื้นดินน้อย โดยเนต้าฟิมได้ดำเนินการหลายโครงการทั่วโลก เช่น การฝึกอบรมทางการเกษตรรัฐอานธรประเทศของอินเดีย เพื่อเพาะปลูกอ้อย มะม่วง มะนาว และฝ้าย ในพื้นที่กว่า 6,000 เฮกเตอร์ ซึ่งได้ผลผลิตดีเยี่ยม

· นวัตกรรมเครื่องกรองน้ำพกพา Sulis ของบริษัท Water Sheer ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ โดยสามารถกรองน้ำจากเกือบทุกแหล่งน้ำจากพื้นดินให้สะอาด ด้วยการใช้เม็ดคลอรีนกรองสารปนเปื้อนออก ซึ่งอุปกรณ์หนึ่งชิ้นสามารถกรองน้ำได้ถึงครั้งละ 700 ลิตร โดยนำไปต่อกับปากขวด ก๊อก หรือแท็งก์น้ำทั่วไปได้สะดวก และยังมีขนาดที่เล็กและเบานอกจากนี้ บริษัทหลายแห่งยังได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อการเข้าถึงแหล่งน้ำคุณภาพสูงในทุกสถานการณ์ ที่ผ่านมาอิสราเอลส่งเครื่องกรองน้ำพกพาและระบบกรองน้ำลิตรไปยังพม่าในปี 2008 เมื่อคราวเกิดพายุไซโคลนไต้หวันในปี 2009 และเฮติ ในปี 2010 และยังได้พัฒนาระบบกรองน้ำฉุกเฉินให้สามารถกรองได้แม้แต่น้ำทะเลหรือน้ำปัสสาวะ

·      เทคโนโลยีฟาร์มโคนมของอิสราเอลถือว่าทันสมัยและให้ผลผลิตน้ำนมสูงที่สุดในโลก โดยพวกเขาศึกษาถึงพฤติกรรมการมีอารมณ์แปรปรวนและก้าวร้าว เพื่อลดทอนปัญหาและหาทางทำให้แม่วัวสบายใจที่จะมอบน้ำนม  ด้วยเหตุนี้วัวในอิสราเอลจึงให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงถึง 1.2หมื่นลิตรต่อปี ขณะที่ฟาร์มในยุโรปผลิตน้ำนมได้เพียง 5-6พันลิตรต่อปี และฟาร์มไทยเพียง 2 พันลิตรต่อปี

· เกษตรออร์แกนิกอิสราเอลได้จัดพื้นที่ฟาร์มออร์แกนิกขึ้น โดยสินค้าที่ผลิตได้จากฟาร์มเหล่านี้จะมีราคาสูงกว่าสินค้าปกติถึงร้อยละ 30-40มีตลาดใหญ่คือสหภาพยุโรปที่นำเข้ามันฝรั่งถึง 31,000 ตัน รวมถึงผักผลไม้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นซีตรัส อะโวคาโด และอินทผาลัม มูลค่าของการส่งออกราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 13 จากยอดการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด

ที่มา: “Israel: A World Leader in AgriculturalTechnology” จาก www.theisraelproject.org

           จากการระดมศักยภาพของชาวยิวทั่วทุกแห่งในโลกที่ได้อพยพกลับมาเพื่อตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่ยึดมั่นด้วยศรัทธา และไม่มีวันที่จะเดินจากไปไม่ว่าจะถูกสถานการณ์รุมล้อมมากเพียงใดก็ตาม พวกเขาหลอมรวมความหิวโหย ทุกข์ยาก และแร้นแค้น เข้าด้วยกัน แล้วเปลี่ยนเป็นจิตสำนึกและเล่ห์เหลี่ยมในการเอาชนะอุปสรรคที่มาจากมนุษย์หรือธรรมชาติก็ตามที และในวันหนึ่งข้างหน้า ที่หนทางการต่อรองกับธรรมชาติอาจริบหรี่ลง อิสราเอลจะยังมีเมล็ดพันธุ์แห่งอนาคตมากมาย ที่ไม่ได้เกิดจากผืนดินหรือผืนทราย แต่หากบ่มเพาะด้วยปัญญาของพวกเขาเอง
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #291 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2013, 20:52:43 »

สำหรับนาหว่านเมื่อดินเริ่มแห้งวัชพืชก็จะเริ่มขึ้นครับ สำหรับมือใหม่ลองสังเกตุครับว่าหญ้าวัชพืชขึ้นมาลักษณะใกล้เคียงกับต้นข้าวแค่ไหนถ้าไม่สังเกตุดี ๆ ก็คงคิดว่าเป็นต้นข้าว ต้นที่ผมวงกลมไว้ครับสังเกตุจะมีปลอกใบสีแดงต่างจากต้นข้าวครับ


* IMG_8205_resize.JPG (79.47 KB, 750x563 - ดู 1237 ครั้ง.)

* IMG_8211_resize.JPG (66.87 KB, 750x563 - ดู 1233 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #292 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2013, 20:57:17 »

เมื่อวานทำน้ำหมักปุ๋ย ซึ่งได้จากสับปะรด ถั่วเหลือง ซึ่งผลไม้บางอย่างเมื่อมีการหมักจะเกิดแก๊สขึ้นมาหากเราปิดฝาแน่นเกินไปจะเกิดการบวมของถังดีไม่ดีอาจเกิดการระเบิดขึ้นได้ครับแต่ถ้าเปิดฝาแมลงวันอาจไปไข่ได้เช่นกัน


* IMG_8213_resize.JPG (96.52 KB, 750x563 - ดู 1209 ครั้ง.)

* IMG_8219_resize.JPG (99.25 KB, 750x563 - ดู 1201 ครั้ง.)

* IMG_8220_resize.JPG (94.25 KB, 750x563 - ดู 1269 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #293 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2013, 21:01:26 »

ต้นดอกดาวเรืองที่เพาะไว้สำหรับจะน้ำไปปลูกใกล้คันนาเพื่อสร้างระบบนิเวศน์ ก็โตแข่งกับข้าวเหมือนกัน ดอกของดอกดาวเรืองก็นำมาหมักทำเป็นน้ำหมักขับไล่แมลงได้เช่นกันครับเนื่องจากมีกลิ่นที่ค่อนข้างฉุน ตอนนี้นับได้ 70 กว่าต้นแล้วครับ


* IMG_8214_resize.JPG (92.83 KB, 750x563 - ดู 1225 ครั้ง.)

* IMG_8217_resize.JPG (62.9 KB, 750x563 - ดู 1208 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #294 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2013, 21:35:50 »

โลกร้อนขึ้นทำผลผลิต "ข้าว" หดลงทั่วเอเชีย 20%

วิกฤติโลกร้อน ทำผลผลิตข้าวทั่วเอเชียตกต่ำลงถึง 20% ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ผลการวิจัยระบุกลางคืนร้อนขึ้นยิ่งทำให้ข้าวออกรวงน้อยลง คาดเป็นเพราะต้นข้าวใช้พลังงานไปกับการหายใจมากขึ้น เผยเป็นสัญญาณอีกไม่กี่ทศวรรษทั่วโลกจะมีประชากรผู้หิวโหยและยากจนพุ่งสูงขึ้นจากเดิมที่มีอยู่แล้วพันล้านคน
          กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือเอฟเอโอ (Agriculture Organization : FAO) ที่มีสำนักงานอยู่ในสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ และกรุงโรมในอิตาลี ได้เฝ้าติดตามผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนที่มีต่อผลผลิตข้าวในเขตนาชลประทานจำนวน 227 แห่ง ในประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก ทั้งจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย ในช่วงระหว่างปี 1994-1999
          "ในขณะที่อุณหภูมิต่ำสุดในช่วงเวลากลางวันเพิ่มขึ้น หรือช่วงเวลากลางคืนที่ร้อนขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง" จาร์รอด เวลซ์ (Jarrod Welch) นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานดิเอโก (University of California, San Diego) สหรัฐฯ ผู้เป็นหัวหน้าคณะวิจัยครั้งนี้เปิดเผยในเอเอฟพี ส่วนผลงานวิจัยนั้นได้ตีพิมพ์ลงในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (Proceedings of the National Academy of Sciences : PNAS) เมื่อไม่นานมานี้
          เวลซ์ให้ข้อมูลว่า อุณหภูมิช่วงกลางวันที่สูงขึ้นสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวได้ในช่วงเริ่มต้น แต่ในที่สุดแล้วก็จะทำให้ผลผลิตตกลง เพราะมีผลน้อยกว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นในเวลากลางคืนที่ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง ซึ่งบีบีซีนิวส์ระบุว่านี่เป็นรายงานล่าสุดที่ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะสร้างความยากลำบากมากขึ้นในการผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกที่กำลังเติบโตขึ้นจากการที่ผลผลิตของพืชพันธุ์ธัญญาหารลดต่ำลง
          บีบีซีนิวส์รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า นักวิจัยยังไม่ได้ความชัดเจนว่าสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อกลไกใดของข้าว แต่อาจเกี่ยวข้องกับการที่ต้นข้าวต้องหายใจมากขึ้นในช่วงเวลากลางคืนที่ร้อนขึ้น ทำให้ต้นข้าวต้องใช้พลังงานไปกับกิจกรรมดังกล่าวสูงขึ้น และทำให้มีพลังงานไปใช้ในกิจกรรมการสังเคราะห์ด้วยแสงลดน้อยลง จึงทำให้ผลผลิตข้าวลดลง
          ทั้งนี้ ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวโลกส่งผลให้ผลผลิตข้าวในพื้นที่เพาะปลูกหลักๆ ลดต่ำลงมาแล้วประมาณ 10-20% ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าหากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นไปกว่านี้ จะทำให้ผลผลิตข้าวตกต่ำลงอย่างเลวร้ายที่สุดในช่วงกลางศตวรรษนี้ และหากอุณหภูมิในช่วงกลางวันสูงมาก มันจะไปจำกัดการให้ผลผลิตของข้าว และยิ่งทำให้ผลผลิตลดลงไปอีก และในปี 2004 นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งยังได้ศึกษาพบว่าผลผลิตข้าวในฟิลิปปินส์ลดลงประมาณ 10% ต่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 องศาเซียลเซียสในช่วงเวลากลางคืน
          ข้อมูลจากเอฟเอโอยังระบุอีกว่า ข้าวเป็นอาหารหลักของประชากรโลก โดยในแต่ละวันมีผู้บริโภคข้าวมากถึง 3 พันล้านคนทั่วโลก และข้าวยังเป็นอาหารหลักของชาวเอเชียประมาณ 600 ล้านคน ที่เป็นส่วนหนึ่งของประชากรที่ยากจนที่สุดในโลกจำนวน 1 พันล้านคนด้วย ซึ่งการที่ผลผลิตข้าวตกต่ำลงนั้นยังหมายถึงว่าจะมีประชากรโลกที่อดอยากและยากจนเพิ่มมากขึ้น
          "หากเราไม่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตข้าวหรือพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ที่ทนทานต่ออุณหภูมิสูงได้ จะเกิดหายนะขึ้นกับพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งหมดได้ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้าอันเนื่องมาจากอากาศที่ร้อนขึ้นทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน" เวลซ์ กล่าวเตือน และยังมีอีกการศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ไปเมื่อต้นปีที่แล้วให้ข้อสรุปไว้ว่า ประชากรโลกครึ่งหนึ่งอาจต้องเผชิญกับวิกฤติอาหารอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศภายในปี 2100
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #295 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2013, 22:00:00 »

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อเกษตรไทย

โดย สมาน ครอบกระโทก พนักงานวิจัย 9
ศูนย์วิจัย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

     สถานการณ์ภาวะโลกร้อนมีแนวโน้มรุนแรงต่อเนื่อง คาดการณ์ปี 2554 จะมีอากาศร้อนมากกว่าปี 2553 เพราะในบางจังหวัดโดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทย มีอุณหภูมิสูงถึง 43 องศาเซลเซียส ถือเป็นอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยเผชิญ แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ ในอนาคตว่า สภาพอากาศของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะการที่อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเกิน 3 วันขึ้นไปนั้น ตามหลักวิชาการจะทำให้เกิดคลื่นความร้อน และคนที่ได้รับคลื่นความร้อนนี้จะได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็กเล็ก ที่ผ่านมาประเทศไทย พบว่า มีผู้เสียชีวิตหลายราย หากสภาพอากาศยังมีลักษณะร้อนเช่นนี้ยาวไปถึงปี 2554 จะยิ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเพิ่มมากขึ้น สำหรับภาวะอุณหภูมิโลกร้อนผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของพลเมืองโลกและการเจริญเติบโตทางด้านอุตสาหกรรม และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปในชั้นบรรยากาศมากเกินไป ส่งผลให้อุณหภูมิที่ห่อหุ้มโลกสูงขึ้น

ดังนั้น ทุกคนจึงต้องช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด และช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากขึ้นเพื่อเป็นตัวดูดซับก๊าซเรือนกระจก หากทุกคนยังไม่ตระหนักถึงวิกฤตการณ์ดังกล่าว จะต้องประสบกับปัญหาภัยแล้งและเผชิญกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงมากขึ้น ส่วนเหตุการณ์แผ่นดินไหวในหลายประเทศที่เกิดขึ้นหลายครั้ง แม้จะไม่ได้มีสาเหตุมาจากสภาวะโลกร้อนโดยตรง แต่ก็มีโดยทางอ้อมและมีแนวโน้มที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน เนื่องจากมีการพยากรณ์ว่าในระยะเวลาอันใกล้จะเกิดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน อาจจะเกิดคลื่นยักษ์'สึนามิ' ในบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามันของไทย ฉะนั้น การจัดทำระบบเตือนภัยต่างๆ จึงต้องมีการเตรียมพร้อมไว้อย่างดี และทุกคนต้องมีความตื่นตัวที่จะเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในหลายประเทศหากเกิดขึ้นใกล้กับประเทศไทยอาจจะทำให้ 'รอยเลื่อน' ที่มีอยู่ในไทยจำนวน 13 แห่ง โดยเฉพาะในพื้นที่รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี อาจเกิดพิบัติภัยซ้ำ

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อภาคเกษตรไทย

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน ได้สรุปสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูแล้งพบว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 38,217 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างทั้งหมดเมื่อเทียบกับปี 2552 โดยเขื่อนภูมิพล มีปริมาตรน้ำในอ่าง 4,807 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ มี ปริมาตรน้ำในอ่าง 3,609 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 146 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 36 38 และ 15 ของความจุอ่างทั้งหมด เมื่อเทียบกับปี 2552 นอกจากนี้ สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ภาคตะวันออก พบว่า จังหวัดชลบุรีมีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 7 แห่งรวมกัน 74.0 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างทั้งหมด น้อยกว่าปี 2552 ร้อยละ 1 ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำบางพระ 48.8 ล้าน ลบ.ม. หนองค้อ 9.9 ล้าน ลบ.ม. มาบประชัน 4.2 ล้าน ลบ.ม. หนองกลางดง 3.9 ล้าน ลบ.ม. ชากนอก 2.2 ล้าน ลบ.ม. ห้วยขุนจิต 2.7 ล้าน ลบ.ม. ห้วยสะพาน 2.4 ล้าน ลบ.ม. ส่วนพื้นที่จังหวัดระยอง ลุ่มน้ำระยองและลุ่มน้ำประแสร์ มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 4 แห่งรวมกัน 346.6 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่างทั้งหมด น้อยกว่าปี 2552 ร้อยละ 7 ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 103.1 ล้าน ลบ.ม. ดอกกราย 41.0 ล้าน ลบ.ม. คลองใหญ่ 27.1 ล้าน ลบ.ม. และประแสร์ 175.4 ล้าน ลบ.ม.

สำหรับปี 2553 คาดว่า ทั่วประเทศจะใช้น้ำเกินแผนที่กำหนดไว้ถึง 1,589 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 108 ของแผนจัดสรรน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์-แควน้อย-ป่าสัก และผันน้ำมาจากลุ่มน้ำแม่กลอง) จนถึงปัจจุบันมีการใช้น้ำไปแล้ว 10,290 ล้าน ลบ.ม.(มากกว่าแผนที่กำหนดไว้ 2,290 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 129 ของแผนจัดสรรน้ำ เนื่องจากปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดแต่มีการใช้น้ำเกินเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้กรมชลประทานต้องลดปริมาณการจัดสรรน้ำลงอย่างต่อเนื่อง จากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ โดยช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา จัดสรรน้ำเหลือวันละประมาณ 30 ล้าน ลบ.ม. และเดือนพฤษภาคมจะจัดสรรน้ำเหลือเพียงวันละ 20 ล้าน ลบ.ม. เท่านั้น กรมชลประทานตรวจสอบ พบว่า มีเกษตรกรจำนวนมากปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 ไปแล้วกว่า 1.16 ล้านไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน จึงมีความเสี่ยงสูงต่อการขาดแคลนน้ำ อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้ให้โครงการชลประทานทุกโครงการทั่วประเทศ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้น้ำในแต่ละพื้นที่อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำอีกทางหนึ่ง

ผลผลิตการเกษตร

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง ทำให้เกษตรกรจำนวนมากหันไปปลูกอ้อยและมันสำปะหลังที่ให้ผลตอบแทนสูงและทนทานต่อปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปี 2553 มีแนวโน้มปรับตัวลดลงไม่ต่ำกว่า 20% จากพื้นที่ปลูกทั้งหมดปีละ 6 ล้านไร่ นอกจากนี้เวียดนามและจีนก็เข้ามาแย่งซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพม่า ลาว และกัมพูชา เป็นจำนวนมาก ทำให้มีผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านเข้าสู่ประเทศไทยในสัดส่วนลดลง คาดว่าภาวะราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยปีนี้จะอยู่ในเกณฑ์สูงไม่ต่ำกว่า 10-12 บาท/ก.ก. หากภาวะราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศปี 2553 ปรับตัวสูงขึ้นอาจจูงใจให้เกษตรกรหันมาเสี่ยงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รอบ 2 ในพื้นที่นาเพิ่มมากขึ้นถึง 200,000-300,000 ไร่ จากเดิมที่มีปลูกข้าวโพดไร่ในพื้นที่นาเฉลี่ยปีละ 100,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม คาดว่าปี 2553 ประเทศไทยจะมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประมาณ 5.5 ล้านไร่ และมีมูลค่าตลาดรวม 2,500 ล้านบาท
 
ข้าว ภาวะภัยแล้งยังส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังปี 2553 ลดลง 30% จากที่คาดการณ์ไว้ 8.3 ล้านตันข้าวเปลือก เหลือเพียง 5 ล้านตันข้าวเปลือก โดยในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ผลิตในพื้นที่ภาคกลาง สัดส่วนมากกว่า 80% ส่วนที่เหลืออีก 20% หรือราว 1 ล้านตันข้าวเปลือกผลิตในพื้นที่บางจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี และนครราชสีมา เป็นต้น โดยมีทั้งข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเหนียว แต่ในปีนี้ผลผลิตในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะลดลงไม่ถึง 1 ล้านตัน เพราะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในหลายพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลประกาศให้หยุดปลูกโดยเฉพาะในส่วนของผลผลิตข้าวเหนียวลดลงมากกว่าชนิดอื่น เนื่องจากราคาประกันไม่จูงใจ ทำให้ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกเหนียวปรับสูงขึ้นถึงตันละ 13,000 บาทแล้ว แต่ราคาข้าวเปลือกเจ้า ก็ยังทรงตัวปรับสูงขึ้นเล็กน้อย
 
อ้อย ส่วนพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศเริ่มจะส่งสัญญาณผลกระทบจากภาวะภัยแล้งแล้ว ซึ่งหากภายในเดือนพฤษภาคม 2553 ฝนไม่ตก หรือฝนทิ้งช่วง คาดว่า ผลผลิตอ้อยฤดูการผลิต 2553/2554 จะลดลงประมาณ 30% ของปริมาณการผลิตอ้อยในปีฤดูการผลิต 2552/2553 ที่ผลิตได้ 68 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาผลผลิตอ้อยในฤดูการผลิต 2553/2554 ลดลง สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ได้เสนอเรื่องเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ในการปล่อยกู้พัฒนาจัดทำระบบน้ำเข้าสู่ไร่อ้อยทั่วประเทศ โดยเบื้องต้นกำหนดวงเงินไว้ที่ 2,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2% นอกจากนั้นยังขอให้มีการปล่อยกู้ให้เกษตรซื้อรถตัดอ้อยวงเงิน 1,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2% เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตัดอ้อยให้กับชาวไร่
 
กุ้ง ชาวนากุ้งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิความร้อนที่พุ่งสูงขึ้นจากวิกฤตภัยแล้ง ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในบ่อกุ้งเบาบางลง กุ้งเติบโตช้า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งพยายามแก้ไขปัญหา โดยเพิ่มจำนวนปริมาณออกซิเจนในบ่อกุ้งให้มากขึ้น ทำให้มีภาระต้นทุนค่าไฟฟ้ามากกว่าปกติถึง 20% เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถทนแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ก็ทยอยเทขายกุ้งเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้ราคากุ้งแต่ละขนาดปรับตัวลดลงเฉลี่ย 5-10 บาท/ก.ก. หากปีนี้ประเทศไทยเกิดวิกฤตภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง คาดว่า เกษตรกรต้องประสบปัญหาวิกฤตราคากุ้งตกต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ที่มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก จึงได้เรียกร้องผ่านสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งฯ ให้ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์จัดทำโครงการประกันราคากุ้ง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอีกทางหนึ่ง
 
กล้วยไม้ วิกฤตภัยแล้งในปี 2553 ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพื้นที่ปลูกสวนกล้วยไม้ เพราะอุณหภูมิความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีปริมาณกล้วยไม้ลดลงกว่าปกติถึง 20% และพบปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟในสวนกล้วยไม้อย่างรุนแรง ทำให้ชาวสวนกล้วยไม้ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าสารเคมีกำจัดแมลงเป็นจำนวนมาก ขณะที่ตลาดส่งออกอยู่ในภาวะชะงักงัน เพราะสหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าหลัก ได้รับผลกระทบจากภูเขาไฟระเบิดในไอซ์แลนด์ จนต้องปิดสนามบินเป็นการชั่วคราว ส่งผลทำให้ไทยต้องหยุดการส่งออกกล้วยไม้ไปขายสหภาพยุโรป เกิดการสูญเสียโอกาสทางการตลาดไปอย่างน่าเสียดาย แต่ผู้ส่งออกก็พยายามปรับตัวโดยหันไปขยายตลาดส่งออกในตลาดเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่นและจีนแทน แต่ก็ได้ผลตอบแทนน้อยกว่าตลาดสหภาพยุโรป
จะเห็นได้ว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ประเมินปัญหาภัยแล้งในปี 2553 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร (จีดีพี) โดยทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจการเกษตรลดลงประมาณ 0.02% และมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรลดลงประมาณ 198 ล้านบาท ในเบื้องต้นประเมินว่าพื้นที่ทำนาปรังได้รับความเสียหายมากที่สุดประมาณ 11,205 ไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ 70,881,665 บาท ด้านพืชไร่ที่เสียหายมากที่สุดคือ ข้าวโพด 8,736 ไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ 34,098,906 บาท ส่วนพืชสวนที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือมะม่วง 2,605 ไร่ มูลค่าความเสียหาย 27,717,200 บาท ปศุสัตว์ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือกลุ่มโคและกระบือ 3,783 ตัว มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ 65,374,023 บาท

นอกจากนี้ ภัยแล้งยังส่งผลกระทบการส่งออก โดยไตรมาสแรกโต 24.2 % แต่ไตรมาสที่ 2 ยอดส่งออกตกฮวบ เหลือ 6.3% โดยเฉพาะกุ้งและผลไม้ ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาภัยแล้งและวิกฤตทางการเมืองไทย ด้านสินค้าหลัก อาทิ ข้าว ปริมาณส่งออกหลุดเป้า 11 % โดยปริมาณการส่งออกข้าวในเดือนเมษายนปรับลดลงเหลือเพียง 5.6 แสนตัน จากปกติที่ไทยเคยส่งออกเฉลี่ยเดือนละ 7 แสนตัน ส่วนยอดการส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-23 เมษายน2553 ส่งออกแล้ว 2,545,000 ตัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 1.23% ส่วนแนวโน้มการส่งออกช่วงไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะลดลงเหลือเพียงเดือนละ 6 แสนตัน ทำให้คาดการว่า ในช่วงครึ่งปีแรกจะส่งออกได้เพียง 4 ล้านตันเท่านั้น ขณะที่มันสำปะหลังได้ราคาดี โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553ว่ามีปริมาณ 2.4 ล้านตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 111 % คิดเป็นมูลค่า 20,722 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกมีมากกว่าปริมาณผลผลิตจริง ทำให้ราคามันสำปะหลังในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก สะท้อนมายังราคาหันมันสดในประเทศไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ3 บาท ซึ่งถือว่าสูงเป็นประวัติการ เพราะในอดีตที่ผ่านมาราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 1 บาทเศษเท่านั้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2554 ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังของไทยจะปรับลดลง 50 % จากปี 2553 เหลือประมาณ 1,200,000 ตัน เพราะผลผลิตจะปรับลดลงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศกำลังประสบปัญหาเพลี้ยแป้งระบาดอย่างหนัก ประกอบกับรัฐบาลดำเนินการแก้ไขล่าช้า ยังไม่มีการจัดสรรงบประมาณ นำมาดำเนินการแก้ปัญหา

ด้านกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารแห่งประเทศไทย การส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 2 เติบโตได้น้อยลง เพราะยอดการส่งออกในเดือนเมษายนจะปรับลดลงจากปัญหาการปิดน่านฟ้าของสหภาพยุโรปจากกรณีภูเขาไฟระเบิด และปัญหาการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้กระทรวงพาณิชย์ต้องประกาศเลื่อนการจัดงานแสดงสินค้าอาหารจากเดือนพฤษภาคมเป็นเดือนมิถุนายน ซึ่งการเลื่อนจัดงานครั้งนี้จะทำให้มูลค่าการส่งออกอาหารไทยที่คาดว่าจะสั่งซื้อภายในงานหายไปประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาททันที

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของปริมาณน้ำฝนเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเกิดความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติตามมา อาทิ ภัยแล้ง ไฟป่า น้ำท่วม พายุที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ดังนั้น จึงต้องศึกษาคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน เพื่อเตรียมการปรับตัวและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคกิจกรรม อาทิ ป่าไม้ แหล่งน้ำ การเกษตร ความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่ชายฝั่งทะเล สุขภาพอนามัย อุตสาหกรรม และการตั้งถิ่นฐาน ส่วนการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ควรนำผลกระทบจากภาวะโลกร้อนดังกล่าว มาสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นประโยชน์ โดยการสร้างเป็นพลังงานทางเลือก อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานไฮโดรเจน พลังงานใต้พิภพ พลังงานชีวมวล และพลังงานขยะ เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานจากซากดึกดำบรรพ์(ฟอสซิล)ในรูปแบบต่างๆ ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งพลังงานเหล่านี้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศได้เป็นอย่างดีและยั่งยืน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 27 มกราคม 2013, 22:05:58 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #296 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2013, 22:00:22 »

ความสำคัญของไนโตรเจนต่อสิ่งแวดล้อม

รวบรวมและเรียบเรียงโดย นางอัจจิมา  คล้ายหงษ์
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ

ไนโตรเจนมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต เนื่องจากเป็นองค์ประกอบของโปรตีนและกรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นส่วนประกอบของร่างกายพืชและสัตว์ ไนโตรเจนเป็นธาตุที่มีมากที่สุดในบรรยากาศ ถึงร้อยละ 78 ของมวลบรรยากาศของโลก ก๊าซไนโตรเจนไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส มีจุดเดือดต่ำ คือที่ 25 องศาเซลเซียส มักใช้ในงานการผลิตน้ำมัน หรือใช้ในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเหล็กและสารเคมี และใช้งานในรูปของของเหลวในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ไมสามารถนำก๊าซไนโตรเจนมาใช้ในกระบวนการเจริญเติบโตไดโดยตรง ต่อเมื่อเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของแอมโมเนีย (NH3) หรือไนเตรท (NO3) สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้
แบคทีเรียไรโซเบียม (Rhizobium) ซึ่งอยู่ที่ปมรากของพืชตระกูลถั่วตรึงก๊าซไนโตรเจนจากบรรยากาศของโลกไปเก็บไว้ที่ปมราก และแบคทีเรียบางชนิดที่อยู่ในดินก็สามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนจากบรรยากาศของโลกไปเป็นไนเตรทในดิน ซึ่งไนเตรทนี้เป็นอนินทรีย์สารสามารถละลายน้ำได้ พืชจึงนำไปสังเคราะห์เป็นอินทรีย์ไนโตรเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบของร่างกายของพืชและสัตว์ ได้แก่ โปรตีน เปปไทด์ และกรดนิวคลีอิค เก็บไว้ที่พืช เมื่อสัตว์ไปกินพืชก็ได้รับสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการเจริญเติบโตต่อไป เมื่ออินทรีย์ไนโตรเจนต่างๆ จากน้ำโสโครกหรือน้ำเสียต่างๆ ที่มาจากพืชและสัตว์รวมถึงซากพืชซากสัตว์ลงสู่ดิน แบคทีเรียบางชนิดในดินจะย่อยสลายอินทรีย์ไนโตรเจนเหล่านี้ไปเป็นแอมโมเนีย ไนไตรท์ (NO2) และ ไนเตรท (NO3) ตามลำดับ จากนั้นพืชใช้ไนเตรทไปในการเจริญเติบโต และไนเตรทบางส่วนถูกแบคทีเรียในดินย่อยสลายไปเป็นไนไตรท์ และกลายไปเป็นก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ขึ้นสู่บรรยากาศของโลกต่อไป การเปลี่ยนแปลงรูปของไนโตรเจน ตั้งแต่ ก๊าซไนโตรเจนจากบรรยากาศสู่ดิน พืช สัตว์ ตามลำดับ และจากพืช สัตว์สู่ดิน และขึ้นสู่บรรยากาศ วนเวียนเป็นวงจรไปอย่างนี้ไม่สิ้นสุด เราเรียกว่า “วัฏจักรไนโตรเจน”

สารประกอบไนโตรเจนเป็นกลุ่มสารอาหารอนินทรีย์และการเปลี่ยนรูปของไนโตรเจนในสิ่งแวดล้อมตามวัฏจักรไนโตรเจนมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการมีสารประกอบไนโตรเจนที่มากเกินไปที่ผิวหน้าดินของพื้นที่การเกษตร การระบายน้ำทิ้งจากแหล่งอาศัยในเมือง น้ำโสโครก และน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม อาจทำให้เกิดเป็นแหล่งมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้
ปริมาณความเข้มข้นของอินทรีย์ไนโตรเจน (เช่น โปรตีนและเปปไทด์ กรดนิวคลีอิคและยูเรี) ที่พบในแหล่งน้ำ มีความแปรผันอยู่ระหว่าง 100 ppb ในบึงหรือทะเลสาบ และถึงมากกว่า 200 ppm ในน้ำเสีย
ไนเตรทในแหล่งน้ำมักเกิดจากการเน่าเปื่อยของ ซากพืชซากสัตว์ อุจจาระ น้ำเน่า ปุ๋ย และน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและสารเคมีจากเกษตรกรรม เมื่อแบคทีเรียย่อยสลายอินทรีย์ไนโตรเจน จากน้ำเสีย อุจจาระ และสารประกอบโปรตีน เปลี่ยนไปเป็นแอมโมเนีย (NH3) จากนั้นเป็นไนไตรท์ (NO2) และสุดท้ายไปเป็นไนเตรท (NO3) ซึ่งสามารถละลายได้ดีในน้ำ จึงไหลซึมผ่านการกรองของชั้นดินลงสู่ใต้ดินและสู่แหล่งน้ำบาดาล แต่บางส่วนพืชใช้เป็นอาหาร เนื่องจากไนเตรทเป็นสารอาหารของพืชผัก และจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต ดังนั้นการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ และปุ๋ย เป็นสาเหตุหลักของการปนเปื้อนไนเตรทในแหล่งน้ำ ซึ่งอาจเพิ่มความเข้มข้นของไนเตรทในน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินมากขึ้นจนถึงปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้
แหล่งน้ำตื้นใต้ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ่อน้ำตื้น อาจมีภาวะมลพิษจากไนเตรทเนื่องจากมีไนเตรทมากกว่าปกติ กล่าวคือ หากมีการขุด เจาะ บ่อน้ำในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ในที่อาจมีน้ำผิวดินไหลลงไปได้ หรืออยู่ใกล้บ่อน้ำที่มีเชื้อโรค ส้วมซึม หรือบ่อน้ำเสีย เนื่องจากของเสียอาจมีเชื้อโรคและอินทรีย์สารที่ไม่พึงปรารถนา ความเข้มข้นของไนเตรทในน้ำใต้ดิน มีความแปรผันสูงมากจากฤดูกาลหนึ่งสู่ฤดูกาลต่อไป เช่นในฤดูฝน น้ำฝนจะไหลซึมผ่านการกรองจากชั้นดิน ทำให้ปริมาณไนเตรทส่วนหนึ่งซึมสู่แหล่งน้ำบาดาล แต่ไนเตรทส่วนใหญ่ที่อยู่ในดินก็เป็นสารอาหารสำหรับพืชในการสังเคราะห์แสงเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต แต่เมื่อหลังฤดูเก็บเกี่ยว พื้นดินมีความแห้งแล้ง ไนเตรทอาจจะลงสู่บึงหรือแอ่งน้ำต่างๆ  ดังนั้นการพิจารณาใช้น้ำ ควรเก็บตัวอย่างส่งตรวจในช่วงเวลาที่เหมาะสม
การมีปริมาณไนเตรทในน้ำดื่มสูงเป็นสาเหตุให้เด็กทารกป่วยเกี่ยวกับเมธฮีโมโกลบินในเลือดได้ คือทำให้ทารกมีอาการตัวเขียว เนื่องจากไนเตรทไปทำให้ฮีโมโกลบินเป็นเมธฮีโมโกลบิน ซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ โดยเฉพาะในทารกแรกเกิด ถึง 3 เดือน เนื่องจากในเม็ดเลือดแดงยังไม่มีสารที่สามารถเปลี่ยนเมธฮีโมโกลบินให้กลับไปเป็นฮีโมโกลบินอย่างเดิมได้  ส่วนในเม็ดเลือดแดงของผู้ใหญ่มีสารที่สามารถเปลี่ยนเมธฮีโมโกลบินให้กลับไปเป็นฮีโมโกลบินอย่างเดิม ดังนั้น เมธฮีโมโกลบินจะเกิดขึ้นมากในเด็ก และมีความเป็นพิษรุนแรงกว่าในผู้ใหญ่ที่ได้รับไนเตรทในอัตราส่วนต่อน้ำหนักร่างกายที่เท่ากัน มีการรายงานครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาถึงพิษเฉียบพลันของไนเตรทในน้ำดื่มต่อฝูงวัวเลี้ยง ต่อมามีรายงานจากหลายประเทศถึงพิษเฉียบพลันที่รุนแรงถึงกับทำให้เด็กทารกที่กินนมชงด้วยน้ำจากแหล่งธรรมชาติซึ่งมีปริมาณไนเตรทสูงเสียชีวิตได้  Robertson และ Riddell ได้รายงานถึงความเจ็บป่วยในทารกที่อาศัยอยู่ในชนบทของสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วย 10 ราย ได้รับนมชงโดยใช้น้ำที่มีไนเตรทสูงมากกว่า 75 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ผู้ป่วยมีเลือดที่มีเมธฮีโมโกลบินเพิ่มจาก 5 เป็น 50 % ของฮีโมโกลบินทั้งหมด ในจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้ มีเด็ก 2 คน ที่มีอาการป่วยรุนแรงมาก เนื่องจากใช้น้ำจากบ่อที่มีไนเตรทสูงถึง 1,200-1,300 มิลลิกรัมต่อลิตร เลือดของเขามีปริมาณเมธฮีโมโกลบินสูง 25 และ 44 % ตามลำดับ เด็กทั้งสองมีอาการตัวเขียวอย่างรวดเร็วและเสียชีวิตก่อนที่แพทย์จะช่วยเหลือได้ทัน นอกจากนี้ยังมีการรายงานถึงระบาดวิทยาของพิษไนเตรทในเด็กมีอาการเจ็บป่วยคล้ายคลึงกันหลายแห่ง เช่นที่ รัฐมินนิโซต้า แคนซัส สหรัฐอเมริกา เชกโกสโลวาเกีย อิสราเอล เยอรมัน รัสเซีย ทุกรายงานล้วนแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการเพิ่มขึ้นของปริมาณไนเตรทในน้ำดื่มกับเปอร์เซ็นต์ของเมธฮีโมโกลบินในผู้ป่วยเด็กอย่างชัดเจน ต่อมามีผู้ศึกษาความเป็นพิษของไนเตรทในสัตว์ทดลองชนิดต่างๆ อีกหลายชนิด สรุปได้ว่า ไนเตรทเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพิษในคนและสัตว์ได้
ส่วนไนไตรท์เป็นสารที่เกิดขึ้นชั่วคราวในระหว่างการเปลี่ยนรูปของไนโตรเจน จากแอมโมเนียไปเป็นไนเตรท และ ในกระบวนการทางเคมีของระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบการจ่ายน้ำ และแหล่งน้ำธรรมชาติ ความเป็นพิษของไนไตรท์มีขึ้นได้จากการใช้โซเดียมไนไตรท์ (NaNO2) เป็นสารกันบูดในอาหาร เมื่อไนไตรท์ไอออนไปถึงกระเพาะอาหาร ความเข้มข้นสูงของกรดโฮโดรคลอริก (HCl) จะเปลี่ยนไนไตรท์ไปเป็นกรดไนตรัส (HNO2) ซึ่งสามารถเกิดปฏิกิริยากับ secondary amines ที่มีอยู่ในระบบย่อยอาหาร ไปเป็น N-nitrosamines ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogens) ได้ ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงการถนอมอาหารโดยการใช้สารเคมีดังกล่าว
แอมโมเนียนั้น โดยทั่วไปมีปริมาณน้อยในน้ำใต้ดิน เนื่องจากดินจะดูดซับไว้ และซึมผ่านชั้นดินได้ยาก แอมโมเนียส่วนใหญ่เกิดจากการย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจนและจากการ hydrolysis ของยูเรีย ระหว่างการเกิด chlorination แอมโมเนียรวมตัวกับคลอรีน ไปเป็น คลอรามีน เกิดเป็นคลอรีนตกค้าง โดยปกติพบแอมโมเนียในน้ำผิวดินและใต้ดิน
ดังนั้นเพื่อการเฝ้าระวังคุณภาพของสิ่งแวดล้อม (คุณภาพน้ำ) และเพื่อปลอดภัยในการบริโภคน้ำดื่ม จึงมีการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการหาปริมาณอินทรีย์ไนโตรเจน ในรูปต่างๆ ดังนี้ ที เค เอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen, TKN), แอมโมเนียไนโตรเจน (NH3-N), ไนเตรท (NO3) หรือ ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3-N), ไนไตรท์ (NO2) หรือไนไตรท์-ไนโตรเจน (NO2-N) โดยมาตรฐานคุณภาพน้ำของบ้านเรากำหนดให้น้ำบริโภคมีปริมาณไนเตรท (NO3) ไม่เกิน 45 มิลลิกรัม/ลิตร น้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท มีไนเตรท ในรูปของ ไนเตรท ไนโตรเจน (NO3-N) ไม่เกิน 4.0 มิลลิกรัม/ลิตร และน้ำบาดาลที่ใช้บริโภคมีไนเตรท (NO3) ไม่เกิน 45 มิลลิกรัม/ลิตร  นอกจากนี้มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน กำหนดให้มีไนเตรท ในรูปของ ไนเตรท ไนโตรเจน (NO3-N) ไม่เกิน 5.0 มิลลิกรัม/ลิตร และแอมโมเนีย ในรูปของแอมโมเนีย ไนโตรเจน (NH3-N) ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร และมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง กำหนดให้ น้ำทิ้งจากโรงงานอุสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม มีไนโตรเจนในรูปของ TKN ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/ลิตร หรือแล้วแต่ประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง แต่ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/ลิตร ส่วนมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาดให้มีไนโตรเจนในรูป TKN ไม่เกิน 35 และ 40 มิลลิกรัม/ลิตร ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร มีไนโตรเจนในรูป TKN ไม่เกิน 35 มิลลิกรัม/ลิตร และมาตรฐานเพื่อควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร มีไนโตรเจนในรูป TKN ไม่เกิน 120 มิลลิกรัม/ลิตร หรือ 200 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดมาตรฐาน


* nitrogen.gif (84.6 KB, 640x490 - ดู 2326 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #297 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2013, 12:13:10 »

จอบเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับชาวนาไม่ว่ายุคสมัยไหน ถ้าเราไปซื้อจอบมักจะได้เป็นหัวจอบและด้ามจอบทางร้านจะไม่เข้าหัวให้ครับเราต้องมาเข้าหัวเองมาดูวิธีเข้าหัวจอบครับ

เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเข้าด้ามจอบถ้าจะให้ดีต้องมียางในรถมอเตอร์ไซด์ด้วยด้วย

-เริ่มด้วยการวัดขนาดความหนาของตัวจอบ แล้วทำการเลื่อยทำแนวแล้วถากให้ได้ขนาดเพื่อสอดเข้าตัวจอบ
-เสร็จแล้วก็ใส่ดูครับ ถากให้เล็กกว่ารูจอบเล็กน้อย เผื่อเนื้อที่ในการเสียบลิ่มและรองยางในรถจักรยานยนต์ด้วย
เสร็จแล้วก็ทำลิ่มเพื่อเสียบเข้าไปให้ด้ามจอบแน่น ก่อนใส่ลิ่มก็รองด้ามจอบด้วยยางในรถก่อน
ลิ่มจะต้องยาวหน่อยครับหากสั้นเกินไปจะทำให้หัวจอบหลุดบ่อย


* 1.jpg (261.43 KB, 533x800 - ดู 2019 ครั้ง.)

* 2.jpg (249.51 KB, 533x800 - ดู 1328 ครั้ง.)

* 3.jpg (253.28 KB, 533x800 - ดู 1252 ครั้ง.)

* 4.jpg (180.9 KB, 533x800 - ดู 1254 ครั้ง.)

* 5.jpg (176.77 KB, 533x800 - ดู 2229 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #298 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2013, 22:03:00 »

สำหรับข้อดีของนาโยนคือข้าวไม่ช้ำเหมือนนาดำที่มีการถอนกล้าจากแปลงทำให้ข้าวมีโอกาสช้ำและฟื้นตัวช้ากว่า ซึ่งอย่างประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นจะมีรถดำนาซึ่งใช้วิธีการเพาะกล้าในถาดการใช้รถดำนาข้าวก็มีโอกาสช้ำเช่นกัน แต่ก็มีการคิดค้นรถดำนาอีกแบบที่เรียกว่ารถดำนาจากถาดหลุมซึ่งมีข้อดีคือข้าวช้ำน้อยกว่า หากนาโยนในไทยข้าวขึ้นไม่เป็นระเบียบการใช้รถดำนาแบบนี้ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ


* dsc00554v.jpg (202.63 KB, 640x426 - ดู 1159 ครั้ง.)

* dsc00557sm.jpg (56.96 KB, 640x426 - ดู 1161 ครั้ง.)

* dsc00558w.jpg (186.92 KB, 640x426 - ดู 1188 ครั้ง.)

* dsc00561di.jpg (180.28 KB, 640x426 - ดู 1209 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #299 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2013, 22:12:24 »

อย่างสินค้าของ Kubota ที่เราไม่คุ้นหน้าตาในไทยก็มีเยอะ



* untitled.jpg (104.76 KB, 860x608 - ดู 1174 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 [15] 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 ... 96 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!