เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 กรกฎาคม 2025, 13:16:42
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 [25] 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 ... 96 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 417697 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #480 เมื่อ: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2013, 21:52:19 »

ผมไม่รู้ว่าขวดพวกนี้ไว้ทำอะไร แต่เห็นพี่เค้าบอกว่ามักจะเห็นอยู่ตามริมคันนาค่อนข้างเยอะครับ


* 17.jpg (62.22 KB, 770x602 - ดู 571 ครั้ง.)

* 17_1.jpg (66 KB, 770x602 - ดู 571 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #481 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2013, 17:16:11 »

ศึกษาไปเรื่อยๆ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #482 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2013, 20:26:05 »

ไปนาเย็นนี้ครับ ข้าวโตขึ้นเรื่อย ๆ ครับคราวก่อนใส่ปุ๋ยไปแล้วครั้งหนึ่งไร่ละ 4 กก. มีคนบอกว่าผมใส่ปุ๋ยน้อยเกินไปครับ เขาบอกว่าต้องใส่อย่างน้อย  15 กก.ขึ้นไป ถ้าตามกรมการข้าวแนะนำ 20 กก.ต่อไร่ ทำนาครั้งหนึ่งใส่ 2-3 ครั้ง  แต่วิธีของผม ผมว่าประหยัดปุ๋ยได้มากครับ คือเราไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยทีละมาก ๆ อาจทยอยใส่หลาย ๆครั้ง อย่างช่วงก่อนข้าวแตกกอ ก็ใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 4 กก.ก็ได้ เช่นเมื่อข้าวอายุได้ 20 วันใส่ครั้งแรก ได้ 30 วันก็ใส่อีกครั้ง ใส่ปุ๋ยหนักทีเดียว ต้นข้าวจะมีใบเขียวเข้ม ใบโน้มต่ำ เสี่ยงต่อแมลงศัตรูข้าวได้ง่ายกว่ามาก ใบมาก ๆ ก็มีโรคจากเชื้อราตามมา ค่อย ๆ แบ่งใส่แต่พอดีผมว่าคงดีกว่าครับ ใส่ปุ๋ยมาก ๆ ใช่ว่าจะดีเสมอไป


* IMG_0137.JPG (110.79 KB, 700x525 - ดู 645 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #483 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2013, 20:32:03 »

แปลงนาข้าง ๆครับคราวก่อนเคยถ่ายเทียบกันตอนไม่ใส่ปุ๋ยข้าวค่อนข้างเหลือง คราวนี้เจ้าของอัดปุ๋ยซะเยอะเลยครับ ไร่ละประมาณเกือบ 20 กก.  ใบค่อนข้างเขียวเข้มทีเดียว


* IMG_8502.JPG (27.53 KB, 700x525 - ดู 630 ครั้ง.)

* IMG_0144.JPG (52.58 KB, 700x525 - ดู 635 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #484 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2013, 20:37:00 »

มาดูกันครับว่าเขียวแบบธรรมชาติ กับเขียวแบบการใช้ปุ๋ยเคมีจนเกินไปเป็นอย่างไร ด้านซ้ายเป็นใบข้าวจากแปลงนาข้าง ๆ ที่ใช้ปุ๋ยเคมีค่อนข้างมากในคราวเดียว ใบข้างขวาจากแปลงนาของผม ข้าวหว่านวันเดียวกัน พื้นที่ใกล้กันมีเพียงคันนาคั่นเท่ากัน สังเกตุความยาวของใบใกล้เคียงกันครับสีด้านซ้ายจะเข้มกว่าเพราะได้ปุ๋ยเคมีมากกว่า


* IMG_0145.JPG (72.1 KB, 480x640 - ดู 637 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #485 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2013, 20:39:49 »

ลองจับใบมาตั้งดูครับ ใบข้าวด้านซ้ายจะง้มทันทีครับ นั่นแสดงว่าใบข้าวจะอ่อนกว่าอย่างเห็นได้ชัด ถ้าคุณเป็นแมลงคุณจะเลือกใบที่อ่อนหรือใบที่แข็งล่ะครับ ผมว่าหอยเชอรี่น่าจะชอบด้วยเช่นกัน


* IMG_0146.JPG (43.86 KB, 480x640 - ดู 630 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #486 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2013, 20:54:15 »

ลองสะบัดใบข้าวแรง ๆ ดูครับ ใบด้านซ้ายจะหักพับทันทีครับ แสดงว่าปุ๋ยเคมีผลกับข้าวค่อนข้างมากหากใช้ในปริมาณที่เกินพอดี แม้ใบจะสีสวยงามใบยาวและก็ใบอ่อนงอง่าย  ลองไปทดลองกันดูครับว่าจริงไม๊ 



* IMG_0150.JPG (33.23 KB, 700x525 - ดู 630 ครั้ง.)

* IMG_0149.JPG (28.26 KB, 700x525 - ดู 617 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #487 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2013, 20:56:53 »

ช่วงนี้ยังปล่อยให้แปลงนามีน้ำครับเพื่อคุมวัชพืช ช่วงหลังจากใส่ปุ๋ยช่วงแตกกอถึงจะปล่อยให้ดินแห้งครับ


* IMG_0140.JPG (52.6 KB, 700x525 - ดู 608 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #488 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2013, 21:02:33 »

แปลงนาไหนที่ข้าวไม่ขึ้นหรือเสียหายจากหอยเชอรี่ก็ต้องซ่อมครับ ควรซ่อมข้าวก่อนข้าวแตกกอครับ เพราะมีผลต่อการแตกกอ มีผลวิจัยว่าจะปลูกข้าวหรือการดำ ในระยะวันที่ 9 กับวันที่ 25 ซึ่งมีอายุต่างกันข้าวที่ดำในระยะ 9 วันมีการแตกกอได้มากกว่าข้าวที่ดำอายุ 25 วันครับ แต่หากดำในระยะ 9 วันต้องทำแบบประณีตเพราะลำต้นไม่แข็งแรง หักขาดง่ายบ้านเราจึงนิยมดำเมื่อข้าวค่อนข้างแก่พอสมควรเพื่อให้ทนต่อการดึงและการปักดำและให้รอดพ้นจากหอยเชอรี่ด้วยครับ ขนาดต้นกล้าอายุเดือนกว่าๆ  หอยเชอรี่ยังพยายามกินเลยครับ  นาผมเสียหายจากฝนตกหนักช่วงก่อน 2 วัน 2 คืนไม่ได้ไปนา ข้าวถูกน้ำท่วมและหอยเชอรี่กินครับได้ซ่อมเหมือนกัน


* IMG_0142.JPG (67.06 KB, 700x525 - ดู 619 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #489 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2013, 21:32:01 »

การเพาะกล้าครับน่าจะเป็นวิธีแบบ SRI แต่ผมว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับนาดำบ้านเราน่าจะได้โดยการใช้ใบกล้วยรองพื้นเพื่อให้ต้นกล้าไม่ฝังรากลึกทำให้ยากในการถอนกล้า เคยเห็นชาวนาบางท่านใช้สแลมรองพื้นก็ใช้ได้แต่ใช้ใบต้นกล้วยน่าจะหาได้ง่ายกว่าครับ

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #490 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2013, 22:04:52 »

บางประเทศก็นิยมทำนาหว่านแต่หากทำนาหลายไร่ก็ใช้แรงงานมาก ประเทศที่มีเครื่องมือทันสมัยก็ต้องใช้รถหว่านล่ะครับ

IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« ตอบ #491 เมื่อ: วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2013, 08:30:51 »



    จริงอย่างที่ท่านว่านะครับ  ใส่ปุ๋ยเยอะไปก็ไม่ดี
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #492 เมื่อ: วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2013, 09:25:37 »

บางอย่างที่ชาวนาบางคนไม่รู้ครับ

ลักษณะของข้าวที่สำคัญทางการเกษตร

เป็นลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต และการให้ผลิตผลสูงของต้นข้าว ในท้องที่ที่ปลูก การทนต่อสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงเสมอๆ ตลอดถึงคุณภาพของเมล็ดข้าว ฉะนั้น พันธุ์ข้าวที่ดีจะต้องมีลักษณะเหล่านี้ดี และเป็น ที่ต้องการของชาวนาและตลาด ลักษณะที่สำคัญๆ มี ดังนี้

๑. ระยะพักตัวของเมล็ด (seed dormancy)

เมล็ดที่เก็บเกี่ยวมาจากต้นใหม่ๆ เมื่อเอาไปเพาะ มักจะไม่งอกทันที มันจะต้องใช้เวลาสำหรับพักตัวอยู่ระยะหนึ่ง ประมาณ ๑๕-๓๐ วัน จึงจะมีความงอก ถึง ๘๐ หรือ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาหลังจากเก็บ เกี่ยวที่เมล็ดไม่งอกนี้ เรียกว่า ระยะพักตัวของเมล็ดข้าวพวกอินดิคาแทบทุกพันธุ์ มีระยะพักตัวของเมล็ด แต่ข้าวพวกจาปอนิคานั้น ไม่มีระยะพักตัว ระยะพักตัว มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะเป็นประโยชน์สำหรับชาวนาในเขตร้อน ซึ่งมีฝนตก และมีความชื้นของอากาศสูงในฤดูเก็บเกี่ยว เพราะข้าวที่ไม่มีระยะพักตัวของเมล็ด จะงอกทันที เมื่อได้รับความชื้น หรือเมล็ดเปียกน้ำฝน ส่วนข้าวที่มีระยะพักตัว มันจะไม่งอกในสภาพดังกล่าว ซึ่งชาวนาจะได้รับผลิตผลเต็มที่ตามที่เก็บเกี่ยวได้



ข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องเก็บเมล็ดไว้จนมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาสมบูรณ์จึงนำไปเพาะได้

ระยะพักตัวของเมล็ดข้าว ส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในเมล็ดยังไม่สมบูรณ์ ฉะนั้น เมื่อได้เก็บเกี่ยวมาแล้ว เมล็ดจึงไม่งอกและต้องรอไป จนกว่าเมล็ดนั้น ได้มีการเปลี่ยนทางสรีรวิทยาครบสมบูรณ์เสียก่อน มันจึงจะงอก สำหรับข้าวป่านั้น มีระยะ พักตัวนานกว่าพันธุ์ข้าวที่ชาวนาปลูก บางครั้งเป็น เวลานานประมาณ ๕-๖ เดือน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ระยะพักตัวใน ๓๐ วันแรก เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และหลังจากนั้น เนื่องมาจากเปลือกนอกใหญ่ ที่ห่อหุ้มเมล็ดประสานกันแน่นมาก จนอากาศและน้ำเข้าไปไม่ได้ ฉะนั้น จะต้องแกะเปลือกนอกใหญ่ออกเสียก่อน แล้วจึงเอาเมล็ดไปเพาะในจานแก้ว เพื่อให้งอกตามปกติ ดังนั้น ระยะพักตัวของเมล็ดข้าวอาจเกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุทางสรีรวิทยา และลักษณะทางกายภาพของเมล็ด

๒. ความไวต่อช่วงแสง (sensitivity to photoperiod)

ระยะความยาวของกลางวันมีอิทธิพลต่อการออกดอกของต้นข้าว ดังนั้น พันธุ์ข้าวจึงแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด โดยถือเอาความไวต่อช่วงแสง หรือระยะความยาวของกลางวันเป็นหลัก คือ ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง และข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง

๑) ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง

ข้าวพวกนี้ออกดอก เฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันสั้น ปกติเราถือว่า กลางวันมีความยาว ๑๒ ชั่วโมง และกลางคืน มีความยาว ๑๒ ชั่วโมง ฉะนั้น กลางวันที่มีความยาว น้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมง ก็ถือว่าเป็นวันสั้น และกลางวันที่มีความยาวมากกว่า ๑๒ ชั่วโมง ก็ถือว่าเป็นวันยาว และพบว่า ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงในประเทศไทย มักจะเริ่มสร้างช่อดอก และออกดอก ในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ ๑๑ ชั่วโมง ๔๐ นาที หรือสั้นกว่านี้ ดังนั้น ข้าวที่ออกดอกได้ ในเดือนที่มีความยาวของกลางวัน ๑๑ ชั่วโมง ๔๐-๕๐ นาทีจึงได้ชื่อว่า เป็นข้าวที่มีความไวน้อยต่อช่วงแสง (less sensitive to photoperiod) และพันธุ์ที่ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาว ของกลางวันประมาณ ๑๑ ชั่วโมง ๑๐-๒๐ นาที ก็ได้ชื่อว่า เป็นพันธุ์ที่มีความไวมากต่อช่วงแสง (strongly sensitive to photoperiod) ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ จึงเรียกข้าวว่า พืชวันสั้น (short-day plant) พันธุ์ข้าวในประเทศไทยที่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสง โดยเฉพาะข้าวที่ปลูกเป็นข้าว นาเมือง หรือข้าวขึ้นน้ำ

การปลูกข้าวพวกที่ไวต่อช่วงแสงจะต้องปลูกในฤดูนาปี (โดยอาศัยน้ำฝน บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาน้ำฝน) เพราะในฤดูนาปรัง กลางวันมีความยาวกว่า ๑๒ ชั่วโมง เดือนที่มีกลางวันสั้นที่สุด ได้แก่ เดือนธันวาคม และเดือนที่มีกลางวันยาวที่ได้สุด ได้แก่ เดือน มิถุนายน ความยาวของกลางวันจะเริ่มสั้น จนมากพอที่จะทำให้ข้าวพวกไวต่อช่วงแสงออกดอกได้นั้น คือ วันในเดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม ข้าวที่มีความไวน้อยต่อช่วงแสง จะออกดอกในเดือนกันยายน ตุลาคม ซึ่งเรียกว่า ข้าวเบา ข้าวที่ออกดอก ในเดือนพฤศจิกายน เรียกว่า ข้าวกลาง และข้าวที่ออกดอกในเดือนธันวาคม มกราคม เรียกว่า ข้าวหนัก ด้วยเหตุนี้ ข้าวพวกที่ไวต่อช่วงแสง จะออกดอกในเดือนดังกล่าวนี้เท่านั้น ไม่ว่าจะปลูกในเดือนอะไรก็ตาม มันจึงมีระยะการเจริญเติบโตมากพอสมควร



ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าว


เนื่องจากข้าวพวกไวต่อช่วงแสง จะออกดอกเฉพาะ ในเดือนที่มีความยาวของกลางวันที่ต้องการเท่านั้น ข้าวพวกไวต่อช่วงแสงจึงมีประโยชน์สำหรับชาวนา ในบางท้องที่ เช่นในจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งหมายความว่า บางปีฝนก็มาเร็วและบางปีฝนก็มาล่า แต่การสิ้นสุด ของฤดูฝนนั้น ค่อนข้างแน่นอน ปกติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะหมดฤดูฝนในต้นเดือนพฤศจิกายน เพราะฉะนั้น การปลูกข้าวด้วยพันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสง และเป็นข้าวเบา หรือข้าวกลาง ถึงแม้จะปลูกล่ากว่าปกติ มันก็จะออกดอกให้เก็บเกี่ยวได้ แต่ผลิตผลอาจลดต่ำลงบ้าง นี่คือ ข้อดีของข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสง

๒) ข้าวที่ไม่ไวต่อแสง

การออกดอกของข้าวพวกนี้ ไม่ขึ้นอยู่กับความยาวของกลางวัน เมื่อต้นข้าวได้มีระยะเวลาการเจริญเติบโตครบตามกำหนด ต้นข้าวก็จะออกดอกทันที ไม่ว่าเดือนนั้นจะมีกลางวันสั้นหรือยาว พันธุ์ข้าว กข.๑ เป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อมีอายุเจริญเติบโตนับจากวันตกกล้า ครบ ๙๐-๑๐๐ วัน ต้นข้าวก็จะออกดอก ฉะนั้น พันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง จึงใช้ปลูกได้ผลดี ทั้งในฤดูนาปรังและนาปี อย่างไรก็ตาม พวกไม่ไวต่อช่วงแสงมักจะให้ผลิตผลสูง เมื่อปลูกในฤดูนาปรัง

ปกติระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวทั้งไวและ ไม่ไวต่อช่วงแสง แบ่งออกได้เป็น ๒ ระยะ ดังนี้

(๑) ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น (basic vegetative growth phase) เป็นระยะเวลานับตั้งแต่วันตกกล้า จนถึงวันที่แตกกอ และต้นสูงเต็มที่ ในระยะนี้ ต้นข้าวมีการเจริญเติบโตทางความสูง และแตกเป็นหน่อใหม่จำนวนมาก

(๒) ระยะการสร้างช่อดอก (panicle initiation phase) เป็นระยะเวลาที่ต้นข้าวเริ่มสร้างช่อดอก จนถึงรวงข้าวเริ่มโผล่ออกมาให้เห็น ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๓๐ วัน สำหรับพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง อาจเรียกระยะนี้ว่า ระยะที่มีความไวต่อช่วงแสง (photoperiod sensitive phase) ดังนั้น ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง เมื่อได้ครบระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นแล้ว ต้นข้าวจะไม่สร้างช่อดอก จนกว่าต้นข้าวจะได้รับช่วงแสงที่มันต้องการ ส่วนข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง จะเริ่มสร้างช่อดอกทันที หลังจากที่ต้นข้าวได้ครบระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นแล้ว ดังนั้น การปลูกในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้พันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสงมีเวลามากหรือน้อยเกินไป สำหรับการเจริญเติบโตทางลำต้น โดยเฉพาะการใช้พันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสงปลูกล่ากว่าปกติ จะทำให้ต้นข้าวมีระยะเวลาน้อยไป ทำให้ได้ผลิตผลต่ำ

๓. ความสามารถในการขึ้นน้ำและการทนน้ำลึก (floationg ability and tolerence to deep water)

ข้าวที่ปลูกในประเทศไทย ชนิดข้าวไร่ และข้าวนาสวน ไม่จำเป็นต้องมีความสามารถในการขึ้นน้ำ หรือการทนน้ำลึก เพราะพื้นที่ปลูกนั้น ไม่มีน้ำลึก แต่พันธุ์ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวนาเมืองนั้น จำเป็นต้องมีความสามารถในการขึ้นน้ำ และต้องทนน้ำลึกด้วย เพราะระดับน้ำในนาเมือง ในระยะต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตทางลำต้น และออกรวง มีความชื้นประมาณ ๘๐-๓๐๐ เซนติเมตร โดยเฉพาะในระหว่างเดือนกันยายน และต้นเดือนธันวาคม ปกติชาวนาที่ปลูกข้าวนาเมือง จะต้องลงมือไถนาเตรียมดิน และหว่านเมล็ดพันธุ์ ในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม เพราะในระยะนี้ ดินแห้งน้ำ ไม่ขังในนา ซึ่งเหมาะสำหรับการเตรียมดิน และหว่านเมล็ดพันธุ์ เมื่อฝนตกลงมา หลังจากที่ได้หว่านเมล็ดแล้ว เมล็ดข้าวที่หว่านลงไป จะงอกเป็นต้นกล้า และเจริญเติบโตในดิน ที่ไม่มีน้ำขังนั้น จนถึงเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม ฉะนั้น ข้าวพวกนี้ จึงมีสภาพคล้ายข้าวไร่ในระยะแรกๆ ต่อมาในเดือนสิงหาคม ฝนจะเริ่มตกหนักขึ้นๆ และระดับน้ำในนา ก็จะสูงขึ้นๆ จนมีความลึกประมาณ ๘๐-๓๐๐ เซนติเมตร ในเดือนกันยายน แล้วระดับน้ำลึกนี้ ก็จะมีอยู่ในนาอย่างนี้ไปจนถึงกลางเดือนธันวาคม หลังจากนั้นระดับน้ำก็จะเริ่มลดลง กระทั่งแห้ง ในเดือนมกราคม ด้วยเหตุนี้ ต้นข้าวจะต้องเจริญเติบโตทางความสูง ในระยะที่ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้มีส่วนของลำต้นและใบจำนวนหนึ่ง อยู่เหนือระดับน้ำ ความสามารถของต้นข้าว ในการเจริญเติบโตให้มีต้นสูง เพื่อหนีระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นนี้ เรียกว่า ความสามารถในการขึ้นน้ำของต้นข้าว เนื่องจาก ต้นข้าวจะต้องอยู่ในน้ำ ที่มีความลึกมากอย่างนี้เป็นเวลา ๒-๓ เดือน ก่อนที่ต้นข้าวจะออกรวง จนแก่เก็บเกี่ยวได้ ในต้นหรือกลางเดือนมกราคม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ระดับน้ำในนา ได้ลดลงเกือบแห้ง ฉะนั้น ความสามารถของต้นข้าว ที่เจริญเติบโตอยู่ในน้ำลึก จนกระทั่งเก็บเกี่ยวนี้ จึงเรียกว่า การทนน้ำลึก ดังนั้น การขึ้นน้ำ และการทนน้ำลึก จึงเป็นลักษณะที่จำเป็นยิ่งของพันธุ์ข้าวนาเมือง หรือข้าวขึ้นน้ำ

๔. คุณภาพของเมล็ด (grain quality)

คุณภาพของเมล็ดแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทด้วยกัน คือ คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ ซึ่งหมายถึง ลักษณะรูปร่าง และขนาดของเมล็ดที่มองเห็นได้
และคุณภาพเมล็ดทางเคมี ซึ่งหมายถึง องค์ประกอบทางเคมีที่รวมกันเป็นเม็ดแป้งของข้าว ที่หุงต้ม เพื่อบริโภค

๑) คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ

เป็นลักษณะที่เกี่ยวกับ ความยาว ความกว้าง และความหนา ของเมล็ดข้าวกล้อง ตลอดจนถึงการมีท้องไข่ของข้าวเจ้า นอกจากนี้คุณภาพในการสีเป็นข้าวสาร ก็ถือว่า เป็นคุณภาพทางกายภาพของเมล็ดด้วย เมล็ดข้าวที่ตลาดต้องการ และถือว่า มีเมล็ดได้มาตรฐานนั้น เมล็ดข้าวกล้องจะต้องมีความยาว ประมาณ ๗ - ๗.๕ มิลลิเมตร ความกว้างและความหนาประมาณ ๒ มิลลิเมตร และมีหน้าตัดของเมล็ดค่อนข้างกลม ถ้าเป็นข้าวเจ้า เมล็ดจะต้องใส ไม่มีท้องไข่ การมีท้องไข่ของเมล็ดข้าวกล้องนั้น ทำให้เมล็ดหักง่าย เมื่อเอาไปสีเป็นข้าวสาร ซึ่งทำให้ได้เมล็ดข้าวสารที่หักมาก ดังนั้น พันธุ์ข้าวที่รัฐบาลไทยส่งเสริมให้ชาวนาปลูก จะต้องมีคุณภาพเมล็ดได้มาตรฐาน ซึ่งเรียกว่า ข้าวพันธุ์ดี

๒) คุณภาพเมล็ดทางเคมี

เป็นลักษณะขององค์ประกอบของแป้งในเมล็ดข้าวกล้อง ข้าวเหนียว และข้าวเจ้า แตกต่างกันในชนิดของแป้งที่รวมกันเป็นเอ็นโดสเปิร์ม เมล็ดข้าวเหนียวประกอบด้วย แป้งชนิดอะมิโลเพกทินเป็นส่วนใหญ่ และมีแป้งอะมิโลสน้อยมาก คือ ประมาณ ๕-๗ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนเมล็ดข้าวเจ้าประกอบด้วย แป้งชนิดอะมิโลส ประมาณ ๑๕-๓๐ เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์ของอะมิโลสในเมล็ดข้าวเจ้าของพวกอินดิคา และจาปอนิคา ก็แตกต่างกันด้วย ข้าวอินดิคามีแป้งอะมิโลสประมาณ ๒๐-๓๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนข้าวพวกจาปอนิคามีเพียง ๑๕-๒๐ เปอร์เซ็นต์ ข้าวไทยที่มีเปอร์เซ็นต์ของแป้งอะมิโลสต่ำ ได้แก่ ข้าวดอกมะลิ ๑๐๕ (๒๒ เปอร์เซ็นต์) ส่วนข้าวไทยที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งอะมิโลสสูง ได้แก่ กข.๑ (๓๐ เปอร์เซ็นต์)



ลักษณะเมล็ดข้าวชนิดต่างๆ  

เปอร์เซ็นต์แป้งอะมิโลสในเมล็ดของข้าว มีความสัมพันธ์กับคุณภาพในการหุงต้ม และการบริโภค ข้าวเหนียวมีแป้งอะมิโลสน้อยกว่าข้าวเจ้า ข้าวเหนียวจึงหุงสุกเร็วกว่าข้าวเจ้า และข้าวเหนียวที่หุงสุกแล้ว จะเหนียวกว่าข้าวเจ้าด้วย ในจำพวกข้าวเจ้าด้วยกัน เมล็ดของพันธุ์ที่มีปริมาณแป้งอะมิโลสสูง เมื่อหุงสุกแล้ว เมล็ดข้าวสุกจะแข็งกว่าข้าวที่มีปริมาณแป้งอะมิโลสต่ำ ดังนั้น ผู้บริโภคที่ชอบรับประทานข้าวที่อ่อนนิ่ม จะต้องเลือกพันธุ์ที่มีปริมาณแป้งอะมิโลส ประมาณ ๒๐-๒๕ เปอร์เซ็นต์



ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า

นอกจากชนิดของแป้งอะมิโลสเพกทิน และแป้งอะมิโลส ที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีของแป้งเอ็นโดสเปิร์มแล้ว ปริมาณโปรตีนในเมล็ดข้าวสาร ก็มีความสำคัญด้วย เพราะโปรตีนเป็นชนิดของอาหารที่ร่างกายต้องการมาก สำหรับการเจริญเติบโตปกติ เมล็ดข้าวจะมีปริมาณโปรตีนประมาณ ๗-๑๐ เปอร์เซ็นต์ และปริมาณของโปรตีนนี้ จะผันแปรไปตามสภาพแวดล้อมที่ปลูกข้าว เช่น การใส่ปุ๋ย ทำให้มีปริมาณโปรตีนในเมล็ดเพิ่มขึ้น และรวงข้าวที่มีจำนวนเมล็ดต่อรวงน้อย เมล็ดก็มักจะมีปริมาณโปรตีนสูง



ลักษณะต้นข้าวพันธุ์ดี มีความสูงประมาณ ๑๑๐ เซนติเมตรใบสีเขียวตั้งตรง ไม่โค้งงอ

๕. ลักษณะรูปต้น (plant type)

รูปต้นของข้าวมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการให้ผลิตผล และการให้ผลิตผลของข้าว ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ อย่าง คือ จำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดดีต่อรวง และน้ำหนักข้าวเปลือก ๑๐๐ เมล็ด การที่จะได้องค์ประกอบที่ดีทั้งสามอย่างนี้ อยู่ในต้นเดียวกันนั้น เป็นการยากมาก เพราะองค์ประกอบเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับสรีรวิทยาภายในต้นข้าว และสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น การเปลี่ยนแร่ธาตุอาหารให้เป็นแป้ง แล้วส่งไปสร้างส่วนต่างๆ ของต้นข้าว ที่กำลังเจริญเติบโต อาหารจำนวนหนึ่งจะต้องเปลี่ยนเป็นจำนวนรวง จำนวนเมล็ด และน้ำหนักของเมล็ด ถ้าอาหารส่งไปเลี้ยง และสร้างจำนวนรวงเป็นส่วนใหญ่ อาหารก็เหลือน้อยสำหรับสร้างจำนวนเมล็ด และน้ำหนักเมล็ด ฉะนั้น ต้นข้าวต้นนี้ จึงมีจำนวนรวงมาก จำนวนเมล็ดต่อรวงน้อย และน้ำหนักข้าวเปลือกของเมล็ดเบา จึงเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ ที่จะให้มีต้นข้าวที่มีเมล็ดในรวงมาก และเมล็ดข้าวเปลือกมีน้ำหนักมาก ทำได้เพียงให้ได้องค์ประกอบทั้งสามอย่าง ในจำนวนที่พอดีๆ เท่านั้น

ต่อมานักวิชาการเรื่องข้าวได้ศึกษาพบว่า ต้นข้าวจะให้ผลิตผลสูงหรือต่ำนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะรูปต้นของข้าว เพราะรูปต้นของข้าว มีความสัมพันธ์กับการใช้ปุ๋ย หรือที่เรียกว่า การตอบสนองต่อปุ๋ย และการเปลี่ยนแร่ธาตุอาหารจากปุ๋ยให้เป็นแป้ง ซึ่งใช้ในการสร้างส่วนต่างๆ ของต้นและเมล็ดข้าว พันธุ์ข้าวที่ให้ผลิตผลสูง จะต้องมีลักษณะรูปต้นที่สำคัญๆ ดังนี้

๑) ใบมีสีเขียวแก่ ตรง ไม่โค้งงอ แผ่นใบไม่กว้าง และไม่ยาวจนเกินไป ลักษณะใบอย่างนี้ ทำให้ทุกใบในต้นข้าวได้รับแสงแดดตลอดเวลา และเป็นปริมาณเท่าๆ กัน นอกจากนี้ ใบสีเขียวแก่ก็จะมีจำนวนคลอโรฟีลล์ (chlorophyll) ในใบมากกว่าใบสีเขียวอ่อนด้วย จึงทำให้มีการสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยนแร่ธาตุเป็นแป้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าใบที่โค้งงอ ดังนั้น ต้นข้าวที่มีลักษณะใบดังกล่าว จึงมีปริมาณอาหารไปสร้างส่วนต่างๆ ของต้น และเมล็ดมาก จนทำให้ได้ผลิตผลสูง

๒) ความสูงของต้นประมาณ ๑๐๐-๑๓๐ เซนติเมตร ความสูงของต้นเป็นระยะตั้งแต่พื้นดินถึงปลายของรวงที่สูงที่สุด ต้นข้าวที่มีความสูงขนาดนี้ จะไม่ล้มง่าย และมีขนาดของใบพอเหมาะกับการสังเคราะห์แสง

๓) ลำต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย เมื่อใส่ปุ๋ยลงในนามากขึ้น ต้นข้าวที่ไม่ล้ม จะมีการสร้างอาหารและเมล็ดได้ตามปกติ จึงทำให้มีผลิตผลสูง

๔) แตกกอมากและให้รวงมาก ต้นข้าวที่แตกกอมาก และตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย จะมีจำนวนรวงต่อกอมาก จึงทำให้มีจำนวนรวงต่อเนื้อที่ปลูกมาก ซึ่งเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่ง ของการให้ผลิตผลสูง

๖. ความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว (resistance to diseases and insects)

พันธุ์ข้าวที่มีลักษณะรูปต้นดี ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยสูง ก็ไม่สามารถที่จะให้ผลิตผลสูงได้ ถ้าพันธุ์นั้นไม่มีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรู ที่ระบาดในขณะนั้น ด้วยเหตุนี้ ลักษณะต้านทานต่อโรคและแมลง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง ความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูของต้นข้าวนั้น เป็นผลที่เกิดจากปฏิกิริยาทางพันธุศาสตร์ ระหว่างพันธุกรรมของต้นข้าว และเชื้อโรคหรือแมลง ซึ่งเป็นวิชาการอีกแขนงหนึ่ง ที่แตกต่างไปจากเรื่องอื่น



* image015.jpg (461.42 KB, 678x824 - ดู 611 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2013, 09:44:29 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #493 เมื่อ: วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2013, 11:13:49 »

ช่วงนี้ข้าวเริ่มโตขึ้นมาก ทำให้เหนื่อยน้อยลงมีเวลามากขึ้น ผมก็มอง ๆ หาที่ท่องเที่ยวดูงานบ้างล่ะครับในเชียงรายก็มีหลายที่ ต่าง อำเภอ ต่างจังหวัดก็มี ผมอยากไปดูสวนเกษตรด้วยเพราะจะได้มีงานเสริมนอกจากการทำนา เวลาเราไปดูนาซึ่งตอนนี้ก็ไม่ค่อยมีอะไรให้ทำแล้ว เราก็จะได้ทำอย่างอื่นด้วยพวกปลูกพืชผักอื่น ๆ  ใครมีที่แนะนำก็ช่วยบอกด้วยนะครับ

ตัวอย่างที่เห็นในเว็ป
สวนเกษตรบ้านจอมคีรี ตำบลแม่นะ อ.เชียงดาว    http://www.gotoknow.org/posts/505534



* large_IMG_0059.jpg (48.59 KB, 640x480 - ดู 576 ครั้ง.)

* large_IMG_0111.jpg (44.25 KB, 640x480 - ดู 585 ครั้ง.)

* large_IMG_0141.jpg (47.8 KB, 480x640 - ดู 590 ครั้ง.)

* large_IMG_0020.jpg (91.84 KB, 640x480 - ดู 584 ครั้ง.)

* large_S1037976.jpg (92.17 KB, 640x480 - ดู 585 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #494 เมื่อ: วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2013, 11:19:58 »

ที่ไร่เชิญตะวันคราวก่อนผมก็ได้ไปครับ ปั่นจักรยานไป


* IMG_5363_resize.JPG (238.42 KB, 650x488 - ดู 598 ครั้ง.)

* IMG_5372_resize.JPG (184.42 KB, 650x488 - ดู 607 ครั้ง.)

* IMG_5374_resize.JPG (163.53 KB, 650x488 - ดู 599 ครั้ง.)

* IMG_5391_resize.JPG (105.67 KB, 650x488 - ดู 582 ครั้ง.)

* IMG_5429_resize.JPG (153.43 KB, 650x488 - ดู 589 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
~Oo เบียร์ _ ซ่าส์ oO~
ผลิตและจัดจำหน่ายถ่านอัดแท่งและน้ำส้มควันไม้ 0846103310
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 688



« ตอบ #495 เมื่อ: วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2013, 22:10:30 »

ลักษณะและส่วนประกอบของต้นข้าว

ลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว ได้แก่ ราก ลำต้น และใบ


1. ราก เป็นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ใช้ยึดลำต้นกับดินเพื่อไม่ให้ต้นล้ม แต่บางครั้งก็มีรากพิเศษเกิดขึ้นที่ข้อซึ่งอยู่เหนือพื้นดินด้วย ต้นข้าวไม่มีรากแก้ว แต่มีรากฝอยแตกแขนงกระจายแตกแขนงอยู่ใต้ผิวดิน

2. ลำต้น  มีลักษณะเป็นโพรงตรงกลางและแบ่งออกเป็นปล้องๆ โดยมีข้อกั้นระหว่างปล้อง ความยาวของปล้องนั้นแตกต่างกัน 

3. ใบ   ต้นข้าวมีใบไว้สำหรับสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยนแร่ธาตุ อาหาร น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแป้ง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและ สร้างเมล็ดของต้นข้าว ใบประกอบด้วย กาบใบและแผ่นใบ


 ลักษณะที่เกี่ยวกับการขยายพันธุ์


ต้นข้าวขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ลักษณะที่สำคัญเกี่ยวกับการ ขยายพันธุ์ ได้แก่ รวง ดอกข้าวและเมล็ดข้าว

1. รวงข้าว (panicle) หมายถึง ช่อดอกของข้าว (inflorescence) ซึ่งเกิดขึ้นที่ข้อของปล้องอันสุดท้ายของต้นข้าว ระยะระหว่างข้ออันบนของปล้องอันสุดท้ายกับข้อต่อของใบธง เรียกว่า คอรวง
 
2. ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่นประสานกัน เพื่อห่อ หุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกใหญ่แผ่นนอก เรียกว่า เลมมา (lemma) ส่วนเปลือกนอกใหญ่แผ่นใน เรียกว่า พาเลีย (palea) ทั้งสองเปลือกนี้ ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้

 3. เมล็ดข้าว หมายถึง ส่วนที่เป็นแป้งที่เรียกว่า เอ็นโดสเปิร์ม (endosperm) และส่วนที่เป็นคัพภะ ซึ่งห่อหุ้มไว้โดยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่น เอ็นโดสเปิร์มเป็นแป้งที่เราบริโภค คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิตและงอกออกมาเป็นต้นข้าวเมื่อเอาไปเพาะ


IP : บันทึกการเข้า

ขายถ่านไม้ ถ่านอัดแท่ง น้ำส้มควันไม้  โทร 0846103310(เบียร์)
Line ID :  patama.khanthaya
Fb: น้ำส้มควันไม้แม่ลาวถ่านอัด

บัญชีออมทรัพย์เลขที่1542009436 ธ.กสิกรไทย ชื่อบัญชี น.ส.ปัทมา ขันธยา
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,576


canon eos


« ตอบ #496 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 08:48:52 »

 ยิ้มกว้างๆ...ภาพเหล็กถอนกล้าที่ทำไว้ครับ...เพิ่งได้เอาไฟล์จากกล้องมาเซฟไว้ที่คอมฯ


* bm6594.jpg (173.68 KB, 800x600 - ดู 571 ครั้ง.)

* bm6597.jpg (128.94 KB, 800x600 - ดู 574 ครั้ง.)

* bm6599.jpg (149.83 KB, 800x600 - ดู 574 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,576


canon eos


« ตอบ #497 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 09:08:53 »

 ยิ้มกว้างๆ...ช่วงหน้าก่อนนี้ต้องดำกล้าซ่อมข้าวบางส่วนที่หว่านไม่งอกหรือหอยกัดกิน..


* bm6449.jpg (232.91 KB, 800x600 - ดู 568 ครั้ง.)

* bm6452.jpg (240.39 KB, 800x600 - ดู 571 ครั้ง.)

* bm6469.jpg (325.86 KB, 800x600 - ดู 574 ครั้ง.)

* bm6477.jpg (227.94 KB, 800x600 - ดู 577 ครั้ง.)

* bm6516.jpg (311.51 KB, 800x600 - ดู 570 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,576


canon eos


« ตอบ #498 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 09:11:16 »

 ยิ้มกว้างๆ...บางส่วนที่แตกกอ...ผมถ่ายภาพเก็บไว้ตั้งแต่8กุมภาพันธ์นะครับ..


* bm6455.jpg (416.19 KB, 800x600 - ดู 567 ครั้ง.)

* bm6458.jpg (326.98 KB, 800x600 - ดู 569 ครั้ง.)

* bm6483.jpg (259.79 KB, 800x600 - ดู 559 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #499 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 09:33:25 »

ที่นาอยู่แถวไหนครับนี่ ชอบครับคันนาไม่กว้างดูแลและใส่ปุ๋ยง่ายดีครับ

IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 [25] 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 ... 96 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!