เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 04:42:34
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 [12] 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 407068 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #220 เมื่อ: วันที่ 18 มกราคม 2013, 22:00:34 »

ชักร่องเสร็จก็ปล่อยน้ำออกนาเพื่อลดระดับน้ำเตรียมหว่านข้าวในวันพรุ่งนี้ครับ บรรยากาศยามเย็นครับ


* IMG_8008_resize.JPG (56.93 KB, 750x563 - ดู 1702 ครั้ง.)

* IMG_8009_resize.JPG (58.52 KB, 750x563 - ดู 1550 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #221 เมื่อ: วันที่ 18 มกราคม 2013, 22:19:06 »

พันธุ์ข้าวทั่วโลกมีเป็นแสนกว่าสายพันธุ์ ในประเทศไทยก็มีทั้งพันธุ์พื้นบ้าน พันธุ์ที่กรมการข้าวปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมา  บางสายพันธุ์ก็ไม่ค่อยคุ้นตาเท่าไหร่อย่างข้าวขึ้นน้ำครับ เช่นข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง (Photosensitive floating rice) ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขัง มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ปลูกโดยการหว่านเมล็ดลักษณะพิเศษของข้าวขึ้นน้ำคือ มีความสามารถในการยืดปล้องให้ยาวออกไปเพื่อหนีน้ำท่วม (Internode Elongation Ability) การแตกแขนงและรากที่ข้อเหนือผิวดิน (Upper Nodal Tillering and Rooting Ability) ความสามารถอยู่รอดในสภาพจมน้ำ (Submergence Tolerance Ability) และการชูรวงให้ตั้งชันเหนือผิวน้ำ (Kneeing Ability) ได้ดีตามการเพิ่มของระดับน้ำในนา เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน

ได้แก่พันธุ์

1  ขาวบ้านนา
2  ตะเภาแก้ว  
3  นางฉลอง  
4  ปิ่นแก้ว
5  พลายงามปราจีนบุรี
6  เล็บมือนาง



* pin%20gaew56%20001.gif (102.97 KB, 400x558 - ดู 1626 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 18 มกราคม 2013, 22:22:53 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
~ lทวดาไร้ปีก ~
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609



« ตอบ #222 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 00:43:07 »

มีประโยชน์มากมายจริงๆครับ ผมก็เพิ่งเริ่มทำนาเป็นครั้งแรกในชีวิต และทำวันหยุด เสาร์ - อาทิตย์ครับ ตอนนี้กำลังอุดรอยรั่วคันนา เพื่อจะเอาน้ำเข้าแล้วไถครับ เหนื่อยแต่สุขใจมากๆ เริ่มช้าแต่ก็จะทำครับ ผมอยากขอคำปรึกษาจากพี่ได้มั้ยครับเรื่องการทำนา PM เบอร์ให้ผมได้มั้ยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
IP : บันทึกการเข้า


Thanks: ฝากรูป [url=http
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #223 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 22:08:33 »

มีประโยชน์มากมายจริงๆครับ ผมก็เพิ่งเริ่มทำนาเป็นครั้งแรกในชีวิต และทำวันหยุด เสาร์ - อาทิตย์ครับ ตอนนี้กำลังอุดรอยรั่วคันนา เพื่อจะเอาน้ำเข้าแล้วไถครับ เหนื่อยแต่สุขใจมากๆ เริ่มช้าแต่ก็จะทำครับ ผมอยากขอคำปรึกษาจากพี่ได้มั้ยครับเรื่องการทำนา PM เบอร์ให้ผมได้มั้ยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

PM ให้แล้วนะครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #224 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 22:10:54 »

วันนี้หว่านข้าวครับ จำนวน 13 ไร่ อีก 9 ไร่ยังไม่ได้ลูบเทือกและชักร่องจะทำต่อวันพรุ่งนี้และหว่านอีกทีวันจันทร์ครับ  ตื่นแต่เช้าเตรียมข้าวพันธุ์ไปหว่านครับ


* IMG_8015_resize.JPG (110.76 KB, 750x563 - ดู 1515 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #225 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 22:21:48 »

ดูรูปอย่าพึ่งงงครับ ข้าวพันธุ์ที่จะนำไปหว่าน จะต้องแช่น้ำและคัดข้าวลีบเศษฟางออกหลังจากแช่ได้ 24 ชั่วโมง ( แช่นานกว่านี้ได้แต่ไม่ควรเกิน 48 ชั่วโมง ) และตักใส่กระสอบจะใช้กระสอบปุ๋ยหรือกระสอบป่านก็ได้ ถ้าใครใช้เครื่องหว่านควรใช้กระสอบปุ๋ยเพราะรากจะไม่ยาวมากจะได้ไม่ติดเครื่องพ่นแต่ถ้าหว่านมืออาจใช้กระสอบป่านได้  หลังจากตักใส่กระสอบแล้วก็นำมาเรียงอาจเป็นพื้นดินหรือพื้นหญ้าก็ได้ครับและใช้พลาสติกคลุมทับด้วยกระสอบหรือผ้าเต็นท์ที่หนาพอสมควรเพื่อรักษาความชื้นภายในจะช่วยให้เมล็กงอกไวขึ้นทิ้งไว้ 48 ชั่วโมง( ในช่วงได้ 24 ชั่วโมงควรพลิกกลับกระสอบครับเพื่อให้รากงอกสม่ำเสมอ )  ก็เป็นอันเสร็จ ชาวนาบางคนนิยมใส่กระสอบและโยนตามคลองน้ำโดยใช้กระสอบปุ๋ยซึ่งน้ำคลองมีตะกอนอาจไปจับกระสอบทำให้เมล็ดได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอและเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อัตรางอกมีน้อย ทางที่ดีควรแช่ในน้ำสะอาดครับ 


* IMG_8016_resize.JPG (86.88 KB, 750x563 - ดู 1448 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #226 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 22:24:33 »

เมล็ดก็จะงอกประมาณนี้ครับ สำหรับการหว่านโดยใช้เครื่องพ่น ไม่ควรให้รากยากเพราะจะติดกันและอาจทำให้รากช้ำด้วยควรเป็นตุ่มตาขึ้นมาซักเล็กเนื่องจากเครื่องพ่นใช้ลมแรงในการเป่าออกเมล็ดจะพุ่งด้วยความเร็วพอสมควรต่างจากหว่านด้วยมือครับ


* IMG_8031_resize.JPG (96.95 KB, 750x563 - ดู 1487 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #227 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 22:26:37 »

การเจริญเติบโตจากเมล็ด เอาเมล็ดมาเรียงให้ดูครับ จะมีรากและลำต้นขึ้น


* IMG_8039_resize.JPG (97.57 KB, 800x600 - ดู 1440 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #228 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 22:30:07 »

ขนพันธุ์ข้าวจากบ้านไปที่นาแต่เช้าครับ 7.00 น. หมอกลงจัดมาก 10 โมงเช้ายังหมอกหนาอยู่เลยครับ วันนี้จ้างเค้าหว่านได้ช่วยหว่านบางแปลงเพราะต้องทำร่องระบายน้ำออกไปด้วย กว่าจะเสร็จ 13 ไร่ก็เกือบบ่ายโมงครับ


* IMG_8028_resize.JPG (103.28 KB, 750x563 - ดู 1506 ครั้ง.)

* IMG_8017_resize.JPG (80.94 KB, 750x563 - ดู 1445 ครั้ง.)

* IMG_8051_resize.JPG (91.7 KB, 750x563 - ดู 1472 ครั้ง.)

* IMG_8052_resize.JPG (67.82 KB, 750x563 - ดู 1455 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #229 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 22:32:39 »

หว่านข้าวเสร็จก็ร้อนพอดี อากาศวันนี้เป็นใจสบาย ๆครับ


* IMG_8056_resize.JPG (82.05 KB, 750x563 - ดู 1519 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #230 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 22:34:31 »

ชาวนาระแวกใกล้เคียงก็หว่านครับ นี่เป็นหว่านมือครับจะต้องใช้คนเยอะกว่าเพราะการหว่านจะช้ากว่าใช้เครื่องหว่าน


* IMG_8057_resize.JPG (62.42 KB, 750x563 - ดู 1430 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #231 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 22:45:49 »

สำรวจอีกแปลง 9 ไร่ซึ่งจะลูบเทือกและชักร่องในวันพรุ่งนี้เตรียมหว่านในวันจันทร์ ซึ่งได้หว่านกากชาไปแล้วหอยเชอรี่ตายเยอะพอสมควรครับ ผมเคยลองใส่กากชาหลายวิธีเหมือนกัน วิธีที่ผมคิดว่าได้ผลดีและสะดวกไม่เปลืองด้วยคือหว่านกากชาด้วยเครื่องก่อนทำเทือก 1 คืนระดับน้ำไม่ควรมากจนเกินประมาณซัก 5 ซม. น้ำยิ่งมากกากชาอาจเจอจางหรือน้ำน้อยเกินไปก็ไม่ดี เพราะที่สังเกตุหอยมักจะออกหากินช่วงตอนเย็นและกลางคืน เมื่อหอยเปิดฝาเจอพิษจากกากชาก็จะทำให้ตาย ตอนกลางวันแดดร้อนน้ำมีอุณหภูมิสูงหอยมักจะปิดฝาอีกวันก็ทำเทือกช่วยตีน้ำกับกากชาให้เข้ากันกับดินด้วย บางตำราให้หว่านในขณะทำเทือกซึ่งเคยสังเกตุหลายครั้งเมื่อหอยเจออะไรรบกวนหน่อยอย่างน้ำกระเพื่อมหรือเสียงจากรถไถนาหอยจะปิดฝาเพื่อป้องกันตัวเองซึ่งอาจจะทำให้กากชาไม่สามารถทำอะไรหอยได้ครับ


* IMG_8054_resize.JPG (36.78 KB, 750x563 - ดู 1425 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #232 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 23:05:46 »

ตอนเย็นแวะคุยกับพี่ต้นนาโยนครับ นาโยนแถวบ้านผมชาวนาเริ่มใช้วิธีนี้มากขึ้น ช่วยลดสารเคมีจากยาคุมหญ้า  ตัดวงจรข้าววัชพืชเพราะการทำนาโยนจะนำมาโยนได้เมื่อข้าวมีอายุ 20-25 วันซึ่งพอไปโยนข้าววัชพืชอาจเริ่มงอกการเก็บเกี่ยวก็สามารถเก็บเกี่ยวข้าวจากนาโยนได้ก่อนซึ่งข้าววัชพืชยังไม่ทันออกรวง นาปีผมก็ว่าจะทยอยทำนาโยนครับแต่ขอดัดแปลงอุปกรณ์ติดรถไถเตรียมไว้ก่อนครับ

แปลงเพาะกล้านาโยนสวย ๆครับ ติดระบบสปริงเกอร์เพื่อความสะดวกและพี่ต้นแกเพาะแหนแดงสำหรับใส่ในนาข้าวด้วยครับมีการแพร่ขยายได้รวดเร็วมากครับ เมื่อก่อนผมสั่งซื้อจากโคราชนู่นตอนนี้สามารถหาได้ใกล้ๆ บ้าน  พี่เค้าแจกจ่ายกันไปเพาะขยายพันธุ์เองครับ


* IMG_8058_resize.JPG (100.69 KB, 750x563 - ดู 1480 ครั้ง.)

* IMG_8059_resize.JPG (115.21 KB, 750x563 - ดู 1390 ครั้ง.)

* IMG_8061_resize.JPG (127.16 KB, 800x600 - ดู 1418 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #233 เมื่อ: วันที่ 20 มกราคม 2013, 20:45:30 »

การไถกลบตอซัง  เพิ่มอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ให้แก่ดิน

การไถกลบตอซัง

หมายถึง  การไถกลบตอซังข้าวหรือพืชไร่ที่มีอยู่ในไร่นาภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วลงไปในดินระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกขณะที่ดินมีความชื้น  และปล่อยทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายในดินซึ่งจะกลายเป็นแหล่งของอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารพืช  แล้วจึงปลูกพืชหลักตามที่ต้องการ



ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีทางชีวภาพโดยการนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักวัสดุเศษปลา หอยเชอรี่  ผักผลไม้  หรือเศษอาหารบ้านเรือน  โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในการหมักตอซัง  โดยปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีประโยชน์เป็นสารเสริมการเจริญเติบโต ประกอบด้วย  ฮอร์โมนออกซิน  จิบเบอร์ลิน  โซโตไคนิน  และกรดอินทรีย์  รวมถึงวิตามินบีหลายชนิด  ช่วยในการกระตุ้นการเจริญ  และ  เพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ดิน  ทำหน้าที่ย่อยสลายตอซังได้ดีขึ้น  ตอซัง  อ่อนนุ่ม  ย่อยสลายได้ง่าย  และไถกลบสะดวกขึ้น

ประโยชน์จากการไถกลบตอซัง
 

1.  ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีความเหมาะสม

ทำให้ดินโปร่ง  ร่วนซุย  ง่ายต่อการเตรียมดิน  การปักดำกล้า  และทำให้ระบบรากพืช  สามารถแพร่กระจายในดินได้มากขึ้น การระบายอากาศของดินเพิ่มมากขึ้น  ทำให้มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อการหายใจของ   ระบบรากพืชในดินเมื่อปลูกพืชอื่นหลังการปลูกข้าว เพิ่มการซึมผ่านของน้ำได้อย่างเหมาะสม  และการอุ้มน้ำของดินให้ดีขึ้น

2.  เป็นแหล่งสะสมธาตุอาหารพืชในดิน

เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินโดยตรง  อาจจะมีปริมาณธาตุอาหารน้อย  แต่จะมีธาตุอาหารครบถ้วนตามที่พืชต้องการทั้งธาตุอาหารหลัก ( ไนโตรเจน ,ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม )  ธาตุอาหารรอง  (แคลเซียม  แมกนีเซียม  และกำมะถัน )  และจุลธาตุ ( เหล็ก ,แมงกานีส ,ทองแดง ,สังกะสี ,โบรอน  , โมลิบดินัม  และคลอรีน) และจะค่อย ๆ ปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว ช่วยดูดซับธาตุอาหารในดินไม่ให้สูญเสียไปจากดินซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ช่วยรักษาความสมดุลการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน  ทำให้  pH  ของดินเป็น  กลางมีความเหมาะสมต่อการเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน ช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน  เนื่องจากธาตุอาหารดังกล่าวนี้จะละลายออกมามากในสภาพดินกรดหรือดินเปรี้ยว  ซึ่งทำให้ธาตุอาหารพืชถูกตรึงไว้ในดิน ช่วยลดความเป็นพิษจากดินเค็ม  โดยตอซังช่วยให้การอุ้มน้ำในดิน  ทำให้ดินมีความชุ่มชื้น  ส่งผลให้เกลือใต้ดินไม่สามารถระเหยขึ้นมาได้

3.  เพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน

อินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์  ดินมีผลทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  นอกจากนี้อินทรีย์วัตถุมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ  ประกอบด้วยโพรงหรือห้องขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก  จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์และสัตว์เล็ก ๆ  ในดินด้วย การเพิ่มปริมาณหรือจำนวนของจุลินทรีย์ดินมีผลช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชบางชนิดในดินลดน้อยลง

วิธีการไถกลบตอซังข้าว
 
1.  พื้นที่เขตชลประทาน  ในเขตพื้นที่ชลประทานซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ต่อเนื่อง  2-3  ครั้งต่อปี หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่ต้องเผาตอซัง  และฟางข้าวให้ปฏิบัติดังนี้

ปุ๋ยอินทรีย์  (เข็มข้น )   จำนวน  5  ลิตร / ไร่
เทปุ๋ยอินทรีย์น้ำไหลไปตามน้ำขณะที่เปิดน้ำเข้านาจนทั่วแปลง  หรือใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสาดให้ทั่วแปลงนาขณะเดียวกันใช้รถตีฟางย่ำฟางให้จมดิน ปล่อยให้ย่อยสลาย  10  วัน
หลังจากหมักฟาง  10  วัน  แล้ว  จึงค่อยทำเทือกเพื่อเตรียมหว่านหรือปักดำข้าวครั้งต่อไป 

2.  พื้นที่เขตเกษตรน้ำฝน    ในกรณีที่เกษตรกรมีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักเพียงอย่างเดียวตลอด    ฤดูเพาะปลูกโดยอาศัยน้ำฝน  หลังจากเก็บเกี่ยวข้าว  ให้ทิ้งฟางข้าวและตอซังไว้ในพื้นที่ของเกษตรกร  เพื่อเป็นการคลุมผิวหน้าดิน  จากนั้นเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน  หรือต้นเดือนพฤษภาคม  ให้ปฏิบัติดังนี้

  ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ  (เข็มข้น )  จำนวน  5  ลิตร / ไร่
  เทปุ๋ยอินทรีย์น้ำตามบริเวณคันนา  หรือสาดให้ทั่วสม่ำเสมอ  แล้วใช้รถย่ำฟางให้จมดิน 
  หลังจากหมักฟาง  10  วัน  แล้ว  จึงค่อยทำเทือกเพื่อเตรียมหว่านหรือปักดำข้าวครั้งต่อไป 







ผลเสียจากการเผาตอซัง

การเผาตอซังข้าวมีผลกระทบอย่างมากต่อการทำลายโครงสร้างของดิน จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซัง  ก่อให้เกิดผลเสียหาย  ต่ทรัพยากรดิน  ดังนี้



1.  ทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป    เนื้อดินจับตัวกันแน่นและแข็งทำให้รากพืชแคระแกร็น  ไม่สมบูรณ์  อ่อนแอ  และความสามารถในการหาอาหารของรากพืชลดลง  รวมถึงมีผลทำให้เชื้อโรคพืชสามารถเข้าทำลายได้ง่าย
2.  สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน  เมื่อมีอินทรียวัตถุในดินถูกเผา จะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูญเสียไปในบรรยากาศ  ส่วนธาตุอาหารจะแปรสภาพให้อยู่ในรูปที่สามารถสูญเสียไปจากดินได้ง่าย
3.  ทำลายจุลินทรีย์ และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน  ทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินลดลง เช่น จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนซึ่งทำหน้าที่  ในการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนจากบรรยากาศให้อยู่ในรูปของสารประกอบไนโตรเจนที่พืชใช้ประโยชน์ได้จุลินทรีย์ที่ละลายสารประกอบฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้  และการย่อยสลายอินทรียสารเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน  นอกจากนั้นตัวอ่อนแมลงศัตรูพืช  เช่น  ตัวห้ำ  ตัวเบียน  ที่อาศัยอยู่ในดินหรือตอซังรวมทั้งจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมโรคพืชถูกทำลายไป 
ซึ่งหากระบบนิเวศน์ของดินไม่สมดุล  จะทำให้การแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้นได้ง่าย
4.  สูญเสียน้ำในดิน  การเผาตอซังพืชทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง  90  องศาเซลเซียส  น้ำในดินจะ ระเหยสู่บรรยากาศอย่างรวดเร็ว  ทำให้ความชื้นของดินลดลงหรือดินแห้งแข็งมากขึ้น
5. ทำให้ฝุ่นละออง  เถ้าเขม่า  และก๊าซหลายชนิด  ที่ก่อให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ  และเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุบนถนนหลวง  เนื่องจากเกิดควันไฟบดบังทัศนวิสัยบริเวณส่วนพื้นที่การคมนาคมอย่างมาก

ที่มา สถานีพัฒนาที่ดินปทุมธานี
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #234 เมื่อ: วันที่ 20 มกราคม 2013, 21:29:27 »

วันนี้ลูบเทือกชักร่องเรียบร้อยแล้วอีก 9 ไร่ ครบ 22 ไร่แล้ว ช่วงเตรียมดินถือว่าเป็นช่วงที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน ทั้งไถดะ ไถแปร ทำเทือก ชักร่อง ตอนนี้ก็เสร็จแล้ว ขั้นตอนอื่นจะใช้เวลาไม่นานเช่น หว่านข้าว ใส่ปุ๋ย ก็ใช้เวลาไม่มากครับสามารถทำให้เสร็จในวันเดียวอย่างใส่ปุ๋ยก็เว้นช่วงค่อนข้างหลายวัน นาปรังมักจะใส่ปุ๋ย 3 ครั้งคือช่วงข้าวอายุได้ประมาณ 20 วัน ครั้งต่อไปก็ช่วงแตกกอ และตั้งท้องครับ ใครขยันก็ใส่หลายครั้งก็ได้แต่ใส่ครั้งละน้อย ๆ ก็ได้ผลดีครับ  หลังจากนี้ไปก็จะมีเวลาว่างเพิ่มขึ้นแล้ว  แต่ก่อนอื่นต้องเช็ครถไถหลังจากใช้งานหนักและซ่อมแซมอุปกณ์ต่อพ่วงและออกแบบใหม่บางส่วนเพื่อให้ทำงานสะดวกขึ้นและดีกว่าเดิมครับ


* DSCN0806_resize.JPG (132.09 KB, 750x563 - ดู 1413 ครั้ง.)

* DSCN0807_resize.JPG (91 KB, 750x563 - ดู 1441 ครั้ง.)

* DSCN0828_resize.JPG (87.68 KB, 750x563 - ดู 1435 ครั้ง.)

* DSCN0836_resize.JPG (61.61 KB, 750x563 - ดู 1440 ครั้ง.)

* DSCN0881_resize.JPG (90.05 KB, 750x563 - ดู 1410 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #235 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 11:24:18 »

รถไถเดินตาม

เครื่องมือเตรียมดินที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน คือรถไถเดินตาม เพราะทำงานได้รวดเร็วและราคาไม่สูงมากนัก ทั้งนี้เพราะสามารถผลิตได้ภายในประเทศ  นอกจากนั้นเครื่องยนต์ต้นกำลังยังสามารถใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์ เช่นนำไปสูบน้ำ ใช้กับเครื่องนวดข้าว เครื่องสีข้าวและใช้กับรถอีแต๋น เป็นต้น จากสถิติการเกษตรแสดงให้เห็นว่าการใช้รถไถเดินตามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การใช้รถไถเดินตามในปี พ.ศ. ๒๕๓๒มีจำนวน ๖๖๐,๖๘๕ คัน เพิ่มเป็น ๙๘๔,๕๓๐ คันในปี พ.ศ. ๒๕๓๕

การพัฒนารถไถเดินตาม
          ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์เทวกุล หัวหน้ากองท่านแรกของกองเกษตรวิศวกรรม ได้ดำเนินการวิจัยหลายโครงการ งานวิจัยที่สำคัญๆ คือ งานวิจัยประดิษฐ์เครื่องมือเตรียมดิน และชลประทาน ซึ่งก็คือ การพัฒนาวิจัยรถแทรกเตอร์หลายแบบ ตั้งแต่แบบมาตรฐาน๔ ล้อ แบบ ๓ ล้อ แบบ ๒ ล้อ ทั้งแบบที่มีที่นั่งขับและแบบไม่มีที่นั่งขับหรือเรียกว่ารถไถเดินตาม
          ผลงานซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางคือการพัฒนาต้นแบบรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก ซึ่งใช้เครื่องยนต์ตั้งแต่ขนาด ๘.๕ แรงม้า ถึง ๒๕แรงม้า ได้เป็นผลสำเร็จ จนมีคำเรียกผลงานนี้เฉพาะว่า "ควายเหล็ก"
          การวิจัยพัฒนารถไถเดินตาม ๒ ล้อ นั้นเริ่มต้นด้วยเครื่องยนต์ดีเซลรอบต่ำขนาด ๖ แรงม้าซึ่งการทดสอบในระยะแรกพบว่า มีจุดอ่อนในเรื่องการทรงตัวและการบังคับควบคุม จึงได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนได้แบบที่สามารถใช้งานได้ดี และโรงงานเอกชนได้พัฒนาจนใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ประเภทของรถไถเดินตาม
การแบ่งรถไถเดินตาม อาจแบ่งลักษณะการใช้งานได้ ๓ แบบ
         ๑. รถไถเดินตามแบบใช้ลาก ไถ และอุปกรณ์อื่นๆ แต่เพียงอย่างเดียว เป็นรถไถที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทย มีทั้งชนิดผลักเลี้ยวและชนิดบีบเลี้ยว
         ๒. รถไถเดินตามแบบติดจอบหมุนอย่างเดียวใช้ในการเตรียมดินสำหรับไร่นาสวนผสม การใช้จอบหมุนจะเป็นการรวมขั้นตอนของการไถดะและไถพรวนไปในตัว เป็นรถไถที่นำเข้าจากต่างประเทศ
         ๓. รถไถเดินตามแบบผสม เป็นรถไถเดินตามที่ใช้ทั้งแบบที่ ๑ และแบบที่ ๒

        รถไถเดินตามที่ใช้กันแพร่หลายนั้นผลิตโดยคนไทย รวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้งและชิ้นส่วนต่างๆด้วย แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทดังนี้
         ๑. ประเภทผลักเลี้ยว แบบประเภทผลักเลี้ยวผลิตในประเทศทั้งหมด รถประเภทนี้ไม่มีระบบเลี้ยว ถ้าจะเลี้ยวไปทิศทางใดก็จะใช้แรงผลักไปทิศทางนั้นประเภทนี้เหมาะสำหรับการไถนาแปลงใหญ่เพราะไม่ต้องเลี้ยวบ่อยๆ การใช้งานจะต้องออกแรงมากกว่าประเภทบีบเลี้ยว รถไถเดินตามประเภทนี้แบ่งออกเป็นแบบ ๓ เพลา และแบบ๔ เพลา เพลานี้จะอยู่ในห้องเฟือง โดยเหตุที่ขนาดของห้องเฟืองมีขนาดใกล้เคียงกัน รถไถแบบ๔ เพลา จึงมีระยะกระชาก ทำให้โซ่ขาดบ่อย มีส่วนดีก็คืออัตราการทดรอบระหว่างแต่ละคู่ต่ำกว่าแบบ ๓ เพลา ทำให้ประสิทธิภาพการส่งถ่าย กำลังดีกว่า
         ๒. ประเภทบีบเลี้ยว รถไถประเภทนี้ถ้าต้องการเลี้ยวข้างไหนก็บีบที่ก้านมือจับด้านนั้น ระบบนี้จึงมีความคล่องตัวสูง เบาแรง และปัจจุบันเป็นที่นิยมของเกษตรกร
         ๓. ประเภทบีบเลี้ยว มีเกียร์ รถไถประเภทนี้ได้พัฒนาจากรถไถประเภทที่สอง โดยเพิ่มเกียร์เดินหน้าและถอยหลัง ทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน เกษตรกรนิยมใช้กันมาก  เพราะนอกจากใช้อุปกรณ์สำหรับไถนาแล้วยังนำไปลากรถพ่วงหรือรถสาลี่ เพื่อบรรทุกผลิตผลการเกษตร รถประเภทนี้นอกจากผลิตภายในประเทศแล้ว ยังมีการนำเข้าจากต่างประเทศ แบบที่ผลิตจากต่างประเทศส่วนมากจะมีแกนเพลาส่งถ่ายกำลังมาทางด้านหลัง เพื่อขับจอบหมุนหรืออุปกรณ์ทางการเกษตรอื่นๆ  ทำให้สามารถใช้งานกว้างขวางมากขึ้น เช่น ใช้ในไร่นาสวนผสม แต่มีราคาสูงกว่าประเภทบีบเลี้ยว ๓-๔ เท่า
        ส่วนประกอบอื่นของรถไถเดินตามทั้ง ๓แบบ คือ โครงยึดเครื่องยนต์ โครงแขนบังคับการขับเคลื่อน และล้อขับเคลื่อน โครงยึดเครื่องยนต์เป็นส่วนที่จะวางตำแหน่งเครื่องยนต์ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลและช่วยในการทรงตัวของรถ โครงยึดเครื่องยนต์นี้จะมีความยาวอยู่ระหว่าง ๗๐-๑๐๐ ซม. เครื่องยนต์ต้นกำลังนี้จะใส่เครื่องยนต์เบนซินขนาด ๕-๘ แรงม้า แต่ส่วนใหญ่เกษตรกรจะนิยมใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาด๘-๑๐ แรงม้า ถึงแม้เครื่องยนต์เบนซินจะมีราคาต่ำเมื่อเปรียบกับแรงม้าเท่าๆ กัน เนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลมีความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งานหนักค่าน้ำมันเชื้อเพลิงถูกกว่า นอกจากนั้นยังให้กำลังม้าสูงที่รอบต่ำ ทำให้อัตราทดของเกียร์และขนาดของห้องเกียร์ลดลง  เครื่องยนต์นี้จะวางอยู่บนโครงแขนยึดเครื่อง และสามารถเลื่อนได้เพื่อความสะดวกในการปรับความตึงของสายพานที่ส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังห้องเฟือง  โครงแขนบังคับเลี้ยว จะอยู่ติดกับห้องเกียร์ แขนบังคับจะมีความยาวประมาณ ๑๓๐-๒๐๐ ซม. ส่วนรถใช้บีบเลี้ยวความยาวของแขนจะสั้นกว่า เพราะไม่ต้องใช้ความยาวของแขนเหนี่ยวโหนขณะเลี้ยวส่วนปลายแขนจะมีก้านบีบเลี้ยวอยู่ที่มือจับ  หากเป็นรถมีเกียร์จะมีเกียร์ขึ้นมา ปัจจุบันมีเกียร์เดินหน้าถึง ๒ เกียร์ และมีเกียร์ถอยหลัง ๑ เกียร์นอกจากนั้นจะมีลูกเตะสายพาน และคันเร่งน้ำมัน
เป็นต้น ล้อขับเคลื่อน ล้อของรถไถเดินตามเป็นล้อทำด้วยเหล็กมีแผ่นครีบติดอยู่ใต้ล้อมีชื่อว่าตีนเป็ด แผ่นครีบนี้ทำหน้าที่กุยดินไม่ให้ลื่นขณะทำงาน  นอกจากนั้นยังช่วยพยุงไม่ให้รถจมในขณะที่ใช้งานในดินเหลว ล้อเหล็กนี้เหมาะสำหรับทำนาทำสวน เวลาเคลื่อนย้ายในการวิ่งบนถนนนั้น ควรใช้ล้อยางหรือใช้เหล็กวงกลมรัดแผ่นครีบของวงล้อ

อุปกรณ์และเครื่องมือที่สามารถใช้ร่วมกับรถไถเดินตาม    
     อุปกรณ์และเครื่องมือที่สามารถใช้ร่วมกับรถไถเดินตาม ส่วนใหญ่จะมี
           ๑. ไถหัวหมูผาลเดียว ใช้สำหรับไถนา
           ๒. ไถจานแบบ ๒ ผาล ใช้สำหรับไถไร่และไถนา
           ๓. คราด
           ๔. ขลุกหรือลูกทุบตีเทือก
           ๕. รถพ่วงหรือสาลี่บรรทุก
         นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์อื่นๆ อีกที่สามารถใช้ร่วมกับรถไถเดินตามได้ เช่น เครื่องปรับระดับดินท่อพญานาคหรือระหัดเทพฤทธิ์ เครื่องหยอดเมล็ดพืช เป็นต้น

อ่านความรู้เกี่ยวกับรถไถเดินตามเพิ่มเติม http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/other/other33.pdf


* IMG_7865_resize.JPG (165.9 KB, 750x563 - ดู 1470 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #236 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 12:11:56 »

ตามมาเก็บความรู้เหมือนเดิม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #237 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 14:11:16 »

วิวัฒนาการของเครื่องดำนา

ประเทศญี่ปุ่นมีการเพาะปลูกข้าวมายาวนานกว่า 2,000 ปี ปัจจุบันการดำนาของชาวนาญี่ปุ่นใช้เครื่องดำนาประมาณร้อยละ 96 ปักดำด้วยแรงงานคน ประมาณร้อยละ 3 ซึ่งเป็นการปักดำเพื่อการอนุรักษ์ไว้ในแหล่งท่องเที่ยว ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 0.5 ทำนาหว่าน ซึ่งตรงข้ามกับเมืองไทยที่นาหว่านเพิ่มขึ้น นาดำกลับลดลงเรื่อยๆ ดังนั้น การเพาะปลูกข้าวเกือบทั้งหมดจึงใช้เครื่องดำนา ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นคิดประดิษฐ์และพัฒนาเครื่องดำนามากว่า 100 ปี และได้มีการจดสิทธิบัตรเครื่องดำนาเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2441 แต่เครื่องดำนาในขณะนั้นไม่ได้รับความนิยมจากชาวนา จนกระทั่ง พ.ศ. 2503 เครื่องดำนาได้รับการปรับแต่งแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ และผลิตออกสู่ตลาด ต่อมา ปี พ.ศ. 2508 เครื่องดำนาใช้กับกล้าล้างราก ยี่ห้อชิบูร่า-อาร์พี 2 (Sibura-RP 2) โดยมีหลักการทำงานเลียนแบบการปักดำของคน แต่การปักดำไม่ค่อยแน่นอนเท่าไร ปีถัดมา พ.ศ. 2509 เครื่องดำนาใช้กับกล้าแผ่นหรือกล้าดิน ยี่ห้อ Kanriu -1 ใช้คนลากปักดำได้แถวเดียว เครื่องดำนาแบบนั่งขับหรือรถดำนาผลิตออกสู่ตลาดในปี พ.ศ. 2520 จากนั้นได้มีการผลิตเครื่องดำนาออกมาหลายรุ่น ประเทศเกาหลีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ผลิตเครื่องดำนาออกมาจำหน่าย

ประเภทของเครื่องดำนา
การแบ่งประเภทของเครื่องดำนามีการแบ่งออกได้หลายประเภทหลายวิธีการ แต่โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. เครื่องดำนาใช้แรงคน (Manual rice transplanter) เครื่องดำนาใช้แรงคน อาศัยแรงงานจากคนโดยตรง ทำให้กลไกเกิดการปักดำด้วยการเข็นเดินหน้าและเดินถอยหลัง เครื่องดำนาประเภทนี้แยกออกตามชนิดของต้นกล้าที่ใช้กับเครื่องได้ดังนี้

1.1 เครื่องดำนาใช้แรงคนชนิดใช้กับต้นกล้าล้างราก ต้นกล้าที่จะใช้กับเครื่องชนิดนี้จะถูกถอนออกจากแปลงเพาะกล้า เมื่ออายุได้ 20-25 วัน แล้วนำมาล้างรากเอาดินที่ติดอยู่กับรากออกให้หมด ก่อนนำไปจัดวางในถาดกล้าอย่างเป็นระเบียบ ปักดำได้ครั้งละ 4-6 แถว การสูญเสียต้นกล้าระหว่างการปักดำเกิดขึ้นประมาณ ร้อยละ 11-34 ผู้ใช้ต้องเดินถอยหลังเพื่อลากตัวเครื่องไปและทำการปัก ความสามารถในการทำงานของเครื่องได้ประมาณวันละ 3 ไร่ (8 ชั่วโมง 2 คน ผลัดกัน) มีใช้ในประเทศไทยระยะหนึ่ง

1.2 เครื่องดำนาใช้แรงคนชนิดใช้กับต้นกล้าเป็นแผ่น ลักษณะของเครื่องคล้ายกับชนิดแรก แตกต่างกันที่ต้นกล้าที่นำมาใช้กับเครื่อง การเพาะกล้ามีขั้นตอนการเพาะที่พิถีพิถันมากกว่า โดยจะต้องเพาะกล้าให้เป็นแผ่นพอดีกับช่องถาดใส่ต้นกล้าของเครื่อง ปักดำได้ครั้งละ 4-8 แถว ผู้ใช้ต้องเดินถอยหลังเช่นเดียวกัน ความสามารถในการทำงานได้วันละ 2.5-3 ไร่ เป็นเครื่องที่ได้รับการพัฒนาจากสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) และได้มีการปรับปรุงแก้ไขในประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน ได้มีการนำมาใช้กันตามศูนย์วิจัยข้าวต่างๆ ในประเทศไทยหลายปีมาแล้ว แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้ในที่สุด

2. เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์แบบเดินตาม (Walking type rice transplanter)
 ได้แก่

2.1 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์ชนิดใช้กับต้นกล้าเป็นแถบยาว เครื่องดำนาชนิดนี้ต้นกล้าจะถูกเพาะในกระบะที่แบ่งเป็นช่องๆ เพื่อให้ต้นกล้าที่ออกมาเป็นแถวเล็กๆ แล้วนำออกจากกระบะมาใส่ในถาด แล้วถูกอุปกรณ์ป้อนต้นกล้าพาเข้าไปยังอุปกรณ์ปักดำ แถวต้นกล้าจะถูกเฉือนเป็นท่อนก่อนการปักดำ ขนาดของท่อนกล้า 10-15 มิลลิเมตร ปักดำได้ครั้งละ 2 แถว เครื่องดำนาชนิดนี้ช่วยลดการสูญเสียของต้นกล้าระหว่างการปักดำได้มาก ประมาณร้อยละ 1.1-1.5 และมีราคาถูก ถึงแม้จะมีข้อดีที่มีการสูญเสียต้นกล้าในการปักดำน้อยและมีราคาถูก แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมใช้กัน เนื่องจากมีขั้นตอนและใช้แรงงานในการเพาะกล้ายุ่งยาก

2.2 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์ชนิดใช้กับกล้าล้างราก เครื่องดำนาชนิดนี้เป็นเครื่องดำนาเริ่มแรกที่มีการประดิษฐ์ขึ้น เพื่อจะมาทำหน้าที่ปักดำแทนคน โดยติดตั้งอุปกรณ์ปักดำประกอบเข้ากับรถไถเดินตามหรือเครื่องพรวนดินแบบเดินตาม ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นต้นกำลัง ทำให้เครื่องมีน้ำหนักมาก การถอยหลังเป็นไปด้วยความล่าช้า การเลี้ยวกลับหัวงานลำบาก เพราะใช้วงเลี้ยวกว้าง แต่มีข้อได้เปรียบที่ขั้นตอนในการเตรียมกล้าไม่ยุ่งยาก เนื่องจากใช้กล้าชนิดเดียวกันกับที่เพาะไว้สำหรับการทำนาดำทั่วไป

2.3 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์ชนิดใช้กับกล้าแท่งหรือกล้าหลุม เครื่องดำนาชนิดนี้ยังคงมีการใช้กันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น แต่ก็มีอยู่เป็นจำนวนน้อย กล้าแท่งหรือกล้าหลุมที่จะใช้ต้องเป็นกล้าแก่ (Mature seedling) กล้าที่มีอายุมากรากจะขดกันเป็นก้อนรูปแท่งสี่เหลี่ยมตามรูปทรงของหลุมในกระบะเพาะ ทำให้ส่วนของรากมีน้ำหนักมาก จึงเหมาะกับพื้นที่นาที่เป็นดินทราย ที่กล้าทั่วไปหรือกล้าแผ่นไม่สามารถตั้งต้นให้ตรงได้ กล้ามักจะเอนหรือล้มนอนราบ แต่กล้าแท่งจะทรงตัวให้ตั้งตรงได้ดีในดินทรายหรือดินเป็นเลนอ่อนมาก เนื่องจากแท่งดินกับกระจุกรากจะเป็นฐานยึดติดให้อย่างดี แต่กล้าแท่งก็มีขั้นตอนในการเพาะกล้าที่ยุ่งยากกว่าและมีปัญหาในการจัดซื้อหากระบะเพาะ ซึ่งไม่ค่อยมีจำหน่ายทั่วไป

2.4 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์ชนิดใช้กับกล้าแผ่น เครื่องดำนาประเภทนี้มีขนาดค่อนข้างเล็ก ใช้เครื่องยนต์ก๊าซโซลีน 4 จังหวะ 1-2.5 แรงม้า เป็นต้นกำลัง ประกอบด้วยล้อเหล็กหุ้มยาง 2 ล้อ ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อน ให้ความสะดวกคล่องตัวในการทำงาน ผู้ใช้จะเดินตามเครื่อง การควบคุมการเลี้ยวบังคับด้วยการบีบคลัตช์ข้างที่ต้องการเลี้ยวที่มือจับ ปักดำได้ครั้งละ 2-6 แถว สามารถปรับระยะห่างระหว่างต้นได้แน่นอน มีระบบไฮดรอลิกเข้ามาช่วยในการยกตัวเครื่องให้สูงขึ้นขณะเลี้ยวกลับหัวงานและระหว่างการเดินทาง เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์แบบเดินตามแบ่งออกได้ตามชนิดของต้นกล้าที่ใช้ดังนี้ เครื่องดำนาที่ใช้กับต้นกล้าล้างราก เครื่องดำนาที่ใช้กับต้นกล้าเป็นแผ่น เครื่องดำนาที่ใช้กับต้นกล้าเป็นแถวยาว และเครื่องดำนาที่ใช้กับต้นกล้าเป็นหลุม แต่เครื่องดำนาที่ใช้กับต้นกล้าเป็นแผ่นได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง และได้มีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพทำงานสูงขึ้นหลายๆ ด้าน ส่วนเครื่องดำนาอีก 3 ชนิด ดังกล่าว ไม่ได้รับความนิยม และบางชนิดได้เลิกการผลิตไปแล้ว นอกจากนี้ สถาบันการใช้เครื่องจักรกลเกษตร (Agricultural Mechanization Institute : AMI) ประเทศเกาหลีใต้ได้ดัดแปลงเอารถไถเดินตามใช้เครื่องยนต์ดีเซลประกอบเข้ากับเครื่องดำนาใช้กับต้นกล้าเป็นแผ่น ปักดำได้ครั้งละ 4 แถว แต่ได้รับความนิยม เพราะมีน้ำหนักมาก การถอยหลังล้าช้า การเลี้ยวกลับหัวงานใช้วงเลี้ยวกว้าง ทำงานได้ 6-8 ไร่ ต่อวัน

3. รถดำนา หรือเครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์แบบนั่งขับ (Riding type rice transplanter) เครื่องดำนาประเภทนี้มีขนาดใหญ่ก็จริง แต่มีความคล่องตัวในการทำงานที่ดี มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง สามารถปักดำได้ครั้งละ 4-8 แถว ปักดำได้ตั้งแต่ 8 ไร่ ต่อวัน มีทั้งแบบ 3 ล้อ และ 4 ล้อ เครื่องดำนาประเภทนี้ที่ใช้กันอยู่มี 2 ชนิด คือ

3.1 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์แบบนั่งขับชนิดใช้กับต้นกล้าล้างราก เป็นเครื่องจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มี 3 ล้อ โดยมีล้อหน้าเป็นล้อขับเคลื่อน ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 3 แรงม้า และเครื่องยนต์ก๊าซโซลีน 3-5 แรงม้า เป็นต้นกำลัง ปักดำได้ครั้งละ 8 แถว แต่มีข้อจำกัดของระยะปักดำต้นกล้าที่สามารถปรับการปักดำได้เพียง 2 ระยะ ความสามารถในการทำงาน ประมาณ 10 ไร่ ต่อวัน มีการสูญเสียของต้นกล้าระหว่างการปักดำประมาณ ร้อยละ 3 โดยใช้คนในการทำงานกับเครื่องนี้ 2-3 คน คนแรกนั่งขับด้านหน้า ทำหน้าที่เป็นผู้ขับควบคุมเครื่อง ส่วนอีกคนหรือ 2 คน นั่งหันหลังอยู่ข้างซ้ายและข้างขวาของคนขับ ทำหน้าที่คอยใส่ต้นกล้าในถาดใส่ต้นกล้าของเครื่อง จัดเป็นเครื่องที่มีน้ำหนักมาก ทำให้การเลี้ยวกลับหัวงานและการเดินทางไม่ค่อยคล่องตัว ในการเดินทางจะต้องเปลี่ยนเป็นล้อยาง ทำให้เสียเวลาในการถอดประกอบล้อ ทำงานได้ 15-20 ไร่ ต่อวัน

3.2 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์แบบนั่งขับชนิดใช้กับต้นกล้าเป็นแผ่น จัดได้ว่าเป็นเครื่องดำนาที่ได้รับความนิยมใช้กันทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเครื่องจากประเทศญี่ปุ่น และมีส่วนน้อยที่เป็นของประเทศเกาหลีใต้ ได้มีการนำเอาระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ในการควบคุมการทำงานหลายด้าน บางรุ่นติดตั้งอุปกรณ์ใส่ปุ๋ยทำงานร่วมด้วยระหว่างการปักดำ ปักดำได้ครั้งละ 4-5 แถว การสตาร์ตติดเครื่องยนต์ด้วยระบบไฟฟ้า การบังคับเลี้ยวใช้ระบบไฮดรอลิกเข้ามาช่วย ทำให้การเลี้ยวเร็วขึ้น ได้วงเลี้ยวที่แคบและเบาแรงแก่ผู้ใช้

3.3 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์ชนิดใช้กับต้นกล้าเป็นแผ่นแบบอัตโนมัติ เป็นแบบนั่งขับแต่คนไม่ได้ขับ โดยได้นำเอาเทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก GPS และระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมในการทำงาน เครื่องจึงสามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องมีคนขับ คนมีหน้าที่คอยใส่แผ่นกล้าเท่านั้น

การทำนาด้วยเครื่องดำนา
การทำนาด้วยเครื่องดำนาต้องพิถีพิถันกว่าการดำนาตามปกติ เริ่มจากการไถเตรียมดินให้ละเอียดไม่มีเศษหญ้าเศษวัชพืชหลงเหลือ ปรับทำเทือกให้เรียบสม่ำเสมอกันทั่วพื้นที่ ไม่มีแอ่งมีหลุม หลังจากใส่ใจกับการเตรียมดินแล้ว ยังต้องใส่ใจกับการเพาะกล้า เริ่มจากการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ เปอร์เซ็นต์การงอกสูง ไม่มีเมล็ดลีบ ด้วยการแช่ในน้ำเกลือเข็มข้น สังเกตเมื่อใส่ลงไปไข่จะลอยปริ่มน้ำ หรือใช้เกลือ 1.4 กิโลกรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร ก็จะได้เมล็ดที่สมบูรณ์ นำเมล็ดใส่ถุงแช่น้ำทิ้งไว้ 2-3 คืน (ชาวนาไทยแช่เพียง 1 คืน) จากนั้นเอาเมล็ดขึ้นมาโรยลงในกระบะเพาะ ขนาดของกระบะกว้าง 28 เซนติเมตร ยาว 58 เซนติเมตร และสูง 3 เซนติเมตร เป็นขนาดมาตรฐาน จุดินได้ 4.3 ลิตร เป็นกระบะเพาะกล้าโดยเฉพาะ ร่อนดินผ่านตะแกรงละเอียด ขนาด 4-5 ช่อง ต่อตารางมิลลิเมตร ใส่กระบะให้สูง ประมาณ 2.5 เซนติเมตร ปาดให้เรียบเสมอกันก่อนโรยเมล็ด และโรยขี้เถ้าแกลบกลบหน้า นำกระบะเก็บไว้ที่ร่ม 2 คืน เมล็ดจะงอกออกมาประมาณ 1 เซนติเมตร จึงเอาออกไปไว้ในแปลงนาที่เตรียมไว้ รดน้ำให้โชกคลุมด้วยซาแรนทิ้งไว้ 2 วัน ค่อยเปิดเอาซาแรนออก ปล่อยน้ำเข้าให้ท่วมกระบะ ปล่อยไว้ 10 วัน จึงปล่อยน้ำเข้าสูงได้ แต่ในญี่ปุ่นประสบปัญหาในการเพาะกล้า เนื่องจากเป็นเมืองหนาวจึงต้องเอากระบะเพาะเข้าตู้อบก่อนจะนำออกแดด รอจนต้นกล้าอายุได้ 20-30 วัน จึงนำไปปักดำ นาที่จะปักดำต้องขังน้ำทิ้งไว้ในแปลงจนน้ำในแปลงตกตะกอนใสเสียก่อน จึงใช้เครื่องดำนาได้ ความลึกของน้ำในแปลงปักดำไม่ควรเกิน 5 เซนติเมตร ทั้งนี้เพื่อจะได้มองเห็นแนวจากเครื่องกาแถว ทำให้เครื่องแล่นได้เป็นแนวตรงมีระยะห่างระหว่างแถวที่เท่ากันตลอด ใส่แผ่นกล้าในถาดป้อนแผ่นกล้า ความยุ่งยากน่าเบื่อหน่ายจึงอยู่ที่การเพาะกล้า ที่ชาวนาไม่ค่อยชอบและไม่มีเวลาให้ แต่ก็ได้หาทางแก้จะมีการตั้งโรงงานผลิตกล้าขึ้นมาโดยเฉพาะเหมือนกับประเทศญี่ปุ่น ชาวนาไม่ต้องผลิตกล้าเอง ไปซื้อกล้าได้จากโรงงานผลิตกล้าหรือที่สหกรณ์ ถ้าเป็นรถดำนาในการปฏิบัติชาวนาไทยจะประจำอยู่ที่รถ 3 คน คนแรกเป็นคนขับ อีก 2 คน อยู่ทางซ้ายทางขวาทำหน้าที่ใส่แผ่นกล้าที่ม้วนเก็บไว้บนรถลงในถาดลำเลียงแผ่นกล้า รถดำนา 1 คัน เท่ากับคน 70-80 คน

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #238 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 14:24:41 »

มาดูภาพการปลูกข้าวด้วยรถดำนากัน


* id_41115.jpg (170.77 KB, 800x533 - ดู 1392 ครั้ง.)

* id_41115_1.jpg (182.98 KB, 800x533 - ดู 1416 ครั้ง.)

* id_41115_2.jpg (191.48 KB, 800x533 - ดู 1380 ครั้ง.)

* id_41115_3.jpg (178.1 KB, 800x533 - ดู 1372 ครั้ง.)

* id_41115_4.jpg (195.89 KB, 800x533 - ดู 1417 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #239 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 14:35:43 »

เมื่อ 3 ปีก่อนก็ไปนั่งดูเค้าดำนาโดยใช้รถกัน ต้นข้าวขึ้นเป็นระเบียบสวยงามดี ตอนนี้ชาวนาแถวบ้านก็มีทั้งนาหว่าน นาดำ นาโยน  กันแต่ % การทำนาหว่านเริ่มลดลงมากแล้วอีกหน่อยแถวบ้านน่าจะทำนาโยน กับนาดำกันเยอะ ลดการใช้สารเคมีพวกยาคุมหญ้าได้ นาปีผมก็คงจะเลิกทำนาหว่านแล้วเหมือนกัน เพื่อความปลอดภัยกับตัวเองและคนอื่น ๆครับ

มาดูภาพนาดำโดยใช้รถต่อ


* id_41115_5.jpg (196.78 KB, 800x533 - ดู 1475 ครั้ง.)

* id_41115_6.jpg (184.46 KB, 800x533 - ดู 1448 ครั้ง.)

* id_41115_7.jpg (166.02 KB, 800x533 - ดู 1361 ครั้ง.)

* id_41115_8.jpg (194 KB, 800x533 - ดู 3029 ครั้ง.)

* id_41115_10.jpg (194.83 KB, 800x533 - ดู 4070 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 [12] 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!