เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 23 พฤษภาคม 2024, 18:11:19
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 [17] 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 407884 ครั้ง)
pradi
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 148


« ตอบ #320 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2013, 22:20:57 »

ลุงฟาง ทำนาโดยไม่ต้องทำนา
หลักปฏิบัติ 4 ข้อ ใจความสำคัญอันว่าด้วย
(1) ไม่ไถพรวนดิน
(2) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือทำปุ๋ยหมัก
(3) ไม่จำกัดวัชพืช ไม่ว่าด้วยการถากถางหรือใช้ยากำจัดวัชพืช
(4) ไม่ใช้สารเคมี ดูจะเป็นสิ่งไม่ทันกาล
เพราะถึงจะมีข้อดี
1.) สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย
2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์
3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น
4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ 5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย)

แต่ก็มีสิ่งที่เป็นจุดอ่อนหรือข้อเสียเช่นกัน
1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ
3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน
4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่
5.) ไม่สามารถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ
ซึ่งข้อเสียที่ว่า ส่งผลบรรษัทให้ข้ามชาติ และในชาติหลายรายผลิตสารเคมี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงต่างๆ ออกมาเพื่อกระตุ้นการเติบโตของพืชผลให้แก่เกษตรกรออกขายสู่ตลอดอย่างทันท่วงที
ที่เคยเห็นสภาพของประเทศญี่ปุ่นมา ก็เหมาะกับการไม่ไถพรวนดินอยู่ (แต่ก็ไม่เห็นทำกัน) เพราะหน้าหนาวต้นไม้ใบหญ้าแทบทุกชนิดใบแห้งร่วงโกร๋นหมดต้นยกเว้น ต้นสน และต้นไม้บางอย่างไม่กี่ชนิด หญ้าส่วนมากแห้งตาย บางชนิดแทบไม่ทันมีเมล็ดแก่ก็ยืนต้นแห้งตาย เพราะทนสภาพอากาศเย็นจัดไม่ได้ แมลง สัตว์ต่างๆฝังตัวอยูในดิน เมื่อหมดหนาวจึงเหมาะจะหว่านเมล็ดพืชได้ทันทีเพราะดินร่วนซุย แต่ปกติเกษตรกรญี่ปุ่นจะเพาะกล้าในเรือนเพาะไว้รอฤดูกาลต่อไปอยู่แล้ว
คิดดูสิต้นไม้ที่มีเหมือนกัน อย่างต้นหม่อนบ้านเราเขียวทั้งปี แต่บ้านเขาแห้งร่วงหล่นเหลือแต่กิ่งในหน้าหนาว หญ้าบ้านเราออกดอกทั้งปีทั้งชาติ แต่หญ้าบ้านเขาออกตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิ ต่อฤดูร้อนจนถึงฤดูใบไม้ร่วง สามฤดูนี้กินเวลาเพียง 6-7เดือน ฤดูหนาวเป็นส่วนใหญ่ ถ้าโชคดีมีดอกมีเมล็ดแก่ก่อนหนาวมา ก็มีลูกหลานไว้แพร่พันธุ์  คิดว่าเมล็ดวัชพืชที่ตกลงสะสมในดินแต่ละปีคงน้อยกว่าบ้านเราเป็นแน่
ถ้าเป็นอย่างนี้ บ้านเรายังไงก็คงต้องใช้ยาฆ่าหญ้าอยู่ดี เลี่ยงไม่ได้ ถ้าจะทำแบบไม่ไถพรวน ดีกับบริษัทขายยาอย่างที่ว่า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 30 มกราคม 2013, 22:34:13 โดย pradi » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #321 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2013, 16:24:27 »

ลุงฟาง ทำนาโดยไม่ต้องทำนา
หลักปฏิบัติ 4 ข้อ ใจความสำคัญอันว่าด้วย
(1) ไม่ไถพรวนดิน
(2) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือทำปุ๋ยหมัก
(3) ไม่จำกัดวัชพืช ไม่ว่าด้วยการถากถางหรือใช้ยากำจัดวัชพืช
(4) ไม่ใช้สารเคมี ดูจะเป็นสิ่งไม่ทันกาล
เพราะถึงจะมีข้อดี
1.) สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย
2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์
3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น
4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ 5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย)

แต่ก็มีสิ่งที่เป็นจุดอ่อนหรือข้อเสียเช่นกัน
1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ
3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน
4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่
5.) ไม่สามารถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ
ซึ่งข้อเสียที่ว่า ส่งผลบรรษัทให้ข้ามชาติ และในชาติหลายรายผลิตสารเคมี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงต่างๆ ออกมาเพื่อกระตุ้นการเติบโตของพืชผลให้แก่เกษตรกรออกขายสู่ตลอดอย่างทันท่วงที
ที่เคยเห็นสภาพของประเทศญี่ปุ่นมา ก็เหมาะกับการไม่ไถพรวนดินอยู่ (แต่ก็ไม่เห็นทำกัน) เพราะหน้าหนาวต้นไม้ใบหญ้าแทบทุกชนิดใบแห้งร่วงโกร๋นหมดต้นยกเว้น ต้นสน และต้นไม้บางอย่างไม่กี่ชนิด หญ้าส่วนมากแห้งตาย บางชนิดแทบไม่ทันมีเมล็ดแก่ก็ยืนต้นแห้งตาย เพราะทนสภาพอากาศเย็นจัดไม่ได้ แมลง สัตว์ต่างๆฝังตัวอยูในดิน เมื่อหมดหนาวจึงเหมาะจะหว่านเมล็ดพืชได้ทันทีเพราะดินร่วนซุย แต่ปกติเกษตรกรญี่ปุ่นจะเพาะกล้าในเรือนเพาะไว้รอฤดูกาลต่อไปอยู่แล้ว
คิดดูสิต้นไม้ที่มีเหมือนกัน อย่างต้นหม่อนบ้านเราเขียวทั้งปี แต่บ้านเขาแห้งร่วงหล่นเหลือแต่กิ่งในหน้าหนาว หญ้าบ้านเราออกดอกทั้งปีทั้งชาติ แต่หญ้าบ้านเขาออกตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิ ต่อฤดูร้อนจนถึงฤดูใบไม้ร่วง สามฤดูนี้กินเวลาเพียง 6-7เดือน ฤดูหนาวเป็นส่วนใหญ่ ถ้าโชคดีมีดอกมีเมล็ดแก่ก่อนหนาวมา ก็มีลูกหลานไว้แพร่พันธุ์  คิดว่าเมล็ดวัชพืชที่ตกลงสะสมในดินแต่ละปีคงน้อยกว่าบ้านเราเป็นแน่
ถ้าเป็นอย่างนี้ บ้านเรายังไงก็คงต้องใช้ยาฆ่าหญ้าอยู่ดี เลี่ยงไม่ได้ ถ้าจะทำแบบไม่ไถพรวน ดีกับบริษัทขายยาอย่างที่ว่า

ใช่แล้วครับ ประเทศในเขตหนาวพืชบางอย่างก็ไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตได้  อย่างข้าว ประเทศจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ก็พยายามส่งเสริมให้ ชาวไทย กัมพูชา ลาว พม่า อินเดีย ปลูกกันเพราะอยู่ในเขตร้อน  จีนยังหาเช่าพื้นที่ทำการเกษตรใน ลาว กัมพูชา สำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะทางเหนือ ภาคกลาง อีสานสามารถปลูกข้าวได้ตลอดทั้งปีในเขตชลประทาน  เกษตรธรรมชาติแม้ไม่ได้เป็นวิธีที่ใหม่  แต่ก็ยังไม่ค่อยมีความนิยม มีข้อจำกัดหลายด้าน หากจะทำแบบพออยู่พอกินก็พอทำได้ แต่หากทำเป็นอาชีพเพื่อขายผลผลิตก็อาจจะยาก เพราะผลผลิตที่ได้อาจไม่มากพอและใช้เวลานาน  อย่าง ดร.แสวงที่ทำนาไม่ไถ ก็ใช้วิธีการตัดหญ้าให้สั้นและปล่อยน้ำเข้าให้ท่วมเพื่อควบคุมวัชพืชแต่ก็ต้องใช้เวลานานกว่าดินจะฟื้นฟูสภาพได้ ข้าวที่ขึ้นก็ขึ้นปะปนไปด้วยวัชพืช  บางท่านที่ทำก็ใช้วิธีหว่านเมล็ดข้าวพร้อมเมล็ดถั่วเขียวเพื่อให้ ต้นถั่วเขียวขึ้นคลุมดินเพื่อช่วยลดวัชพืชที่จะเกิดขึ้น ผมตอนนี้ทำนาหว่านน้ำตมก็ยังต้องไถและใช้ยาคุมหญ้าอยู่ครับ  อย่าง อ.ชัยพร ชาวนาเงินล้านก็ทำนาหว่านน้ำตมเหมือนกันก็ยังต้องใช้ยาคุมหญ้าอยู่ดีครับ   หากจะไม่ใช้ยาคุมหญ้าก็ต้องเปลี่ยนไปทำนาโยน หรือนาดำ ครับ หากมีข้อมูลอะไรมาแบ่งปันกันได้ครับ กระทู้นี้ไม่หวงครับ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกันได้ครับเชิญทุกท่านครับ


* 0.jpg (30.46 KB, 480x360 - ดู 2391 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #322 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2013, 16:44:39 »

เคยเข้าไปดูเว็ปเกี่ยวกับพิธี  Otaue Shinji  ของชาวญี่ปุ่นครับประทับใจในพิธีที่ให้เด็ก  ๆได้มีส่วนร่วมในพิธี เพื่อปลูกฝังและสืบต่อวัฒนธรรม ชุมชนได้มีส่วนร่วม เด็ก ๆ ได้รู้จักการทำนาแบบโบราณแม้จะมีเทคโนโลยีที่ช่วยในการปลูกข้าวแล้ว


พิธีแรกนาขวัญ (Otaue Shinji) เป็นพิธีดำนาที่จัดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น แต่สำหรับที่ Sumiyoshi Taisha นี้เป็นพิธีที่รักษารูปแบบดั้งเดิมจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศ จัดขึ้นเป็นประจำที่ทุ่งนาในบริเวณศาลทุกๆวันที่ 14 เดือนมิถุนายนของทุกปี มีเรื่องเล่ากันว่าสมเด็จพระจักรพรรดินี Shingu Kogo เทพเจ้าประจำศาล Sumiyoshi Taisha ได้บัญชาให้ผู้คนทำนา และก่อนดำนา จะต้องบวงสรวงดวงวิญญาณของเทพยดาที่สิงสถิตย์ในต้นกล้า ด้วยการขับร้องและฟ้อนรำ เพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตงอกงามออกดอกออกผลต่อไปในฤดูใบไม้ร่วง ในวันพิธี หญิงดำนาในชุดกิโมโนะสีขาวคาดแดง สรวมหมวกฟางแบนๆ (Ueme) และเด็กๆในชุดกิโมโนะโบราณ (Chigo) จะมารับพรที่ศาลเอกก่อนที่จะเรียงแถวไปที่ทุ่งนา รับต้นกล้าที่ผ่านการทำพิธีแล้วเพื่อเตรียมนำไปปลูก ก่อนหน้านั้น พระโคจะถูกพามาเพื่อดำนา ในขณะที่บนเวทีและรอบๆทุ่งนา นักฟ้อนก็จะร่ายรำในท่าต่างๆไปพร้อมเพรียงกัน หลังจากนั้น หญิงดำนาก็จะนำต้นกล้าลงไปปลูกในนา บนเวทีจะเปลี่ยนเป็นการร่ายรำของหญิงสาวชุดกิโมโนะ บนหมวกมีดอกไอริสประดับ (Yaotome) และระบำอื่นๆตามลำดับ จนกว่าการดำนาจะเสร็จสิ้น ข้าวที่ได้จากนาที่ดำทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงจะถูกเก็บเกี่ยวไปถวายเทพเจ้าและใช้ในพิธีกรรมต่างๆของศาลตลอดทั้งปี


* 174043569_c62e8691ed_z.jpg (129.37 KB, 640x480 - ดู 1920 ครั้ง.)

* 174043573_7406cf6ee4_z.jpg (203.5 KB, 640x480 - ดู 1965 ครั้ง.)

* 174050929_d4090b3d97_z.jpg (157.39 KB, 640x480 - ดู 1837 ครั้ง.)

* 2117658059_58389df9a2_z.jpg (131.27 KB, 640x427 - ดู 1822 ครั้ง.)

* 2118441446_bf0231184d_z.jpg (132.66 KB, 640x427 - ดู 1796 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #323 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2013, 19:25:15 »

 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ


* 174043571_945b14b0bc_z.jpg (181.74 KB, 640x480 - ดู 1965 ครั้ง.)

* 2117668165_f107039b32_z.jpg (96.01 KB, 640x427 - ดู 1851 ครั้ง.)

* 2117663233_9f490a361e_z.jpg (131.22 KB, 427x640 - ดู 1844 ครั้ง.)

* 2117661257_afce9df53e_z.jpg (132.33 KB, 427x640 - ดู 1801 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #324 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2013, 21:34:58 »

เย็นนี้ไปนาครับไปสำรวจแปลงนาหลังจากที่ฝนตกเต็ม ๆ เกือบ 2 วัน 2 คืน น้ำท่วมแปลงนาข้าวโชคดีที่ข้าวพอเริ่มสูงขึ้นบ้างแล้วเลยไม่จมน้ำทั้งหมด และระบายออกได้ตอนนี้ก็ยังระบายออกเรื่อย ๆ อยู่ เมื่อมีน้ำหอยเชอรี่ก็เริ่มออกอาละวาด ข้าวในนาเสียหายบ้างเป็นหย่อม ๆ โชคดีที่ผมหว่านข้าวเยอะพอสมควรจึงมีพอที่จะเอามาปลูกซ่อมในส่วนที่เสียหาย ที่จริงจะต้องฉีดยาคุมหญ้าเมื่อ 2-3 วันก่อนแต่ฝนตกไม่สามารถทำได้พรุ่งนี้หากระบายน้ำออกได้หมดก็จะจ้างเค้ามาพ่นยาคุมหญ้าครับ  ผมยังโชคดีที่ข้าวไม่เสียหายมากชาวนาระแวกใกล้เคียงพึ่งหว่านไปก็มี บ้างก็น้ำยังท่วมขังอยู่ ยิ่งน้ำท่วมมาก ๆ ยิ่งเสียหายจากหอยเชอรี่มากหากระบายไม่ได้หรือไม่ได้ใส่กากชากำจัดหอย แต่ก็มีชาวนาบางคนยังใช้ยาน้ำต้องห้ามอยู่ บ้างก็ยากำจัดแมลงเพราะมีราคาถูกกว่ากากชาหากใช้ในปริมาณจำนวนไร่เท่ากัน แต่ก็อันตรายกับคนใช้และคนที่ทำนาระแวกใกล้เคียง  ต้นข้าวจะปลอดภัยจากหอยเชอรี่เมื่อข้าวมีอายุมากกว่า 25-30 วันขึ้่นไปเพราะใบและลำต้นจะเริ่มแข็งหอยเชอรี่จะไม่ชอบกินแล้ว

รูปถ่ายเย็นวันนี้ครับ หากใครทำนาอาจพกกล้องถ่ายรูปไว้ก็ดีครับ ไว้บันทึกการเปลี่ยนแปลงในนาข้าว ผมบางทีก็ถ่ายที่นาหล่มไว้ทำนารอบต่อไปจะได้ดันดินมาบริเวณนี้มาก ๆ หน่อยจะได้ไม่หล่มในปีถัดไป  กล้องถ่ายรูปไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงก็ได้ครับ ผมยังใช้กล้องราคาพันกว่าบาทพกง่าย น้ำหนักเบา  บางทีอาจเปื้อนเลอะบ้างเป็นธรรมดาหากกล้องแพง ๆ อาจไม่คุ้มค่าเพราะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ


* IMG_8253.JPG (136.4 KB, 800x600 - ดู 1820 ครั้ง.)

* IMG_8258.JPG (117.04 KB, 800x600 - ดู 3089 ครั้ง.)

* IMG_8263.JPG (110.99 KB, 800x600 - ดู 1774 ครั้ง.)

* IMG_8265.JPG (93.22 KB, 800x600 - ดู 1780 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #325 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2013, 21:43:15 »

นาแปลงข้างเคียงระดับน้ำยังสูงอยู่เลย สำหรับนาแปลงของผมเมื่อดินแห้งจะสังเกตุว่าจะมีหญ้าขึ้นแล้วอย่างหญ้าหนวดปลาดุก  หากไม่พ่นยาคุมหญ้าจะทำให้เกิดวัชพืชขึ้นมากสำหรับการทำนาหว่านน้ำตม


* DSCN1256.JPG (167.78 KB, 800x600 - ดู 1853 ครั้ง.)

* DSCN1260.JPG (180.5 KB, 800x600 - ดู 1962 ครั้ง.)

* DSCN1270.JPG (155.03 KB, 800x600 - ดู 1762 ครั้ง.)

* DSCN1273.JPG (205.04 KB, 800x600 - ดู 2080 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #326 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2013, 22:36:39 »

เอ็นโดซัลแฟน 35% มหันตภัยร้ายของสัตว์น้ำตัวล่าสุด

ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา หอยเชอรี่ถือเป็นศัตรูพืชที่ระบาดเป็นอย่างมากในนาข้าว หอยเชอรี่จะกัดกินและทำลายต้นข้าวในระยะแตกกอในช่วงเวลากลางคืน ทำความเสียหายให้กับเกษตรกรทุกพื้นที่  ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องใช้ยากำจัดสัตว์ ศัตรูพืชที่ว่านี้ ให้หมดไปจากนาข้าว สารที่ว่านี้มีชื่อสามัญว่า “เอ็นโดซัลแฟน 35%” เป็นสารเคมีในกลุ่ม อร์อแกโนคลอรีนสารเคมี สำหรับฉีดพ่นกำจัดแมลงจำพวก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย แมลงหวี่ขาว แต่ในนาข้าว สารตัวนี้เป็นที่นิยมที่จะนำมากำจัดหอยเชอรี่ กันอย่างแพร่หลาย ด้วยความเป็นพิษที่ สามารถไปยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดแดง ในสัตว์ที่มีเลือดเป็นสีแดงทุกชนิดเมื่อสารนี้เจือปนไปในแหล่งน้ำ ทั้งหอย ปลา ปู ปลาไหล กบ เขียด หรือแม้กระทั่งงู ที่เลื้อยลงไปในแหล่งน้ำที่มีสารตัวนี้อยู่ ก็ตายไม่เหลือตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมากรมวิชาการเกษตรตรวจพบการปนเปิ้อนของสารเอ็นโอซัลแฟนในปริมาณที่สูงมาก จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า แม่น้ำเจ้าพระยา เส้นเลือดใหญ่ของประเทศไทย มีสารเจ้าตัวที่ว่านี้ปนเปิ้อนไปทั่วสารพิษตกค้างของสารเอ็นโดซัลแฟนนั้น ยังสามารถถ่ายทอดจาก แม่ สู่ ลูกได้โดยผ่านทางน้ำนมได้อีกทาง ดังนั้น ในเดือนตุลาคมปี 2546 กรมวิชาการเกษตรจึงประกาศห้ามนำเข้า และผลิต สารเอ็นโดซัลแฟนอีกต่อไป เพราะเหตุที่มันก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อแหล่งน้ำ และมีพิษตกค้างสูงมาก  สารเอ็นโดซัลแฟน จึงกลายเป็นสารต้องห้ามสำหรับประเทศไทยเป็นรายล่าสุดในอันดับที่ 96

ศึกษารายละเอียดสารต้องห้ามได้ที่ http://www.alro.go.th/alro/files/sor_lor_mor/document/10-Publications/96%20-%2010.pdf
 





* 1163583177.jpg (67.49 KB, 700x467 - ดู 1827 ครั้ง.)

* 1163583293.jpg (66.04 KB, 700x250 - ดู 1733 ครั้ง.)

* 1163583413.jpg (68.04 KB, 700x467 - ดู 1859 ครั้ง.)

* 1163583610.jpg (66.68 KB, 700x277 - ดู 1706 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #327 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2013, 22:55:21 »

ยิ่งทำนา ยิ่งศึกษา ยิ่งทำให้รู้ถึงผลร้ายของการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า จนการทำนาครั้งต่อไปผมจะเริ่มทำนาปลอดสารพิษ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นการทำนาโยน หรือไม่ก็นาดำ แทนนาหว่านน้ำตมซึ่งหลีกเลี่ยงพวกยาคุมวัชพืชได้ยากเพราะต้นข้าวขึ้นพร้อมหรือพอ ๆ กับวัชพืชทำให้โตทันกันต่างจากการทำนาวิธีอื่น นาข้าง ๆ ผมยังใช้สารเคมีอันตรายอยู่เลยยากำจัดหอยใช้ยาอีโต้ ซึ่งห้ามขายแล้ว บางทียาก็ไหลตามรูรั่วของคันนาเข้ามาแปลงนาผมซึ่งผมก็ต้องระวังพอสมควรอีกหน่อยอาจมีการทำคันนาคอนกรีตหรือไม่ก็ล้อมรั้วก็ได้ครับ ถึงใช้งบประมาณมากแต่ก็คุ้มกว่าการเสียค่ารักษาพยาบาลตัวเองและคนในครอบครัวครับ เมื่อกี้ได้เอายาฆ่าแมลงมาให้ศึกษาแล้ว  มาดูยากำจัดวัชพืชแต่ละชนิดกันครับว่ามีอะไรบ้างและมีโทษอย่างไรต่อร่างกาย

ทู โฟ - ดี
(2,4-D)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช phenoxy ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์กำจัดวัชพืชใบกว้างภายหลังงอกทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (oral LD 50) 375 มก./กก. ทางผิวหนังมากกว่า 1,600 มก./กก.
วัชพืช ที่กำจัดได้ ผักปอด ผักตบชวา ตาลปัตรยายชี พังพวย ผักบุ้ง ผักโขม โทงเทง ผักเบี้ยหมู ผักเบี้ยหิน หญ้ายาง ต้นไม้กวาด กก กกขนาก แห้วหมู เทียนนา โสน สะอึก และวัชพืชใบกว้างอื่น ๆ
พืช ที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว ไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย หน่อไม้ฝรั่ง สตรอเบอร์รี่ สนามหญ้าและบริเวณที่ไม่ได้ทำการเกษตร
สูตรผสม 2,4-ดี มีสูตรผสมหลายอย่าง คือ
- ชนิด sodium และ ammonium salts ปกติจะอยู่ในรูปผงละลายน้ำ (WP) มีความเข้มข้น 80-95%
- ชนิด amine salts มีความเข้มข้น 72% อีซี
- ชนิด highly volatile esters (Methyl , Ethyl , Butyl , Isopropyl) มีความเข้มข้น 72% อีซี
- ชนิด Low volatile esters (Butoxy ethanol , propylene glycol , Butoxy propyl)
อัตราใช้และวิธีใช้ 2,4-ดี Na Salt ใช้อัตรา 30-40 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ชนิด amine salt และ high volatile esters ใช้ อัตรา 30-60 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบวัชพืชให้ทั่วบริเวณที่ต้องการกำจัดวัชพืช ควรศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้
อาการเกิดพิษ ผู้ ได้รับพิษจะมีอาการ ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร ตาพร่า พูดไม่ชัด น้ำลายออกมาก กล้ามเนื้อกระตุก ปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งกระตุ้นต่ำ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กล้ามเนื้อเปลี้ย ต่อมาอาจชัก หมดสติและตายเนื่องจากหัวใจและระบบเลือดล้มเหลว
การ แก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าปากหรือมีอาการเกิดพิษรุนแรงให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ รักษาตามอาการ ให้คนไข้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล แล้วล้างท้องด้วย ไอโซโทนิค ซาลีน หรือ โซเดียม ไบคาร์โบเนท 5% ควบคุมการเต้นของหัวใจ
ข้อควรรู้ - ห้ามใช้กับฝ้าย มะเขือเทศ องุ่น ไม้ผลและไม้ประดับ
- อย่าฉีดพ่นใกล้ต้นพืชที่ปลูก
- ในดินที่มี 2,4-ดี มากเกินไป จะทำให้เมล็ดหยุดงอกและหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว
- ก่อนที่จะใช้เครื่องมือฉีดพ่น 2,4-ดี ไปใช้ฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่น ควรล้างทำความสะอาดอย่างละเอียดก่อนนำไปใช้
- ใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับปุ๋ยได้

อะเซ็ทโตคลอร์
(acetochlor)
การออกฤทธิ์ เป็นสาร acetoalinide ที่ใช้กำจัดวัชพืชก่อนงอก (pre emergence) และเจาะจงพืช (selective)
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 2,953 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าและวัชพืชใบแคบเกือบทุกชนิด
พืชที่ใช้ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และข้าวฟ่าง
สูตรผสม 50% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ตามคำแนะนำบนฉลาก สามารถใช้กำจัดวัชพืชก่อนงอก คลุกดินก่อนปลูกหรือกำจัดวัชพืชเริ่มงอกก็ได้
ข้อควรรู้ - ส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมเข้าทางหน่อที่เริ่มงอก
- ออกฤทธิ์ได้ดีกับดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง
- ประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชอยู่ได้นาน 8-12 สัปดาห์
- ผสมใช้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอื่น ๆ หรือปุ๋ยน้ำได้

อะซิฟลูออร์เฟน – โซเดียม
(acifluorfen – sodium)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช diphenyl ether ประเภทเจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอก และภายหลังงอก
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,370 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก. ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าบางชนิด
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ฝ้าย มะเขือเทศ ในนาข้าวและข้าวสาลี
สูตรผสม 21.4% เอสแอล
อัตราใช้และวิธีใช้ ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - แสงแดดจัดจะช่วยให้สารเคมีนี้มีฤทธิ์เพิ่มขึ้น
- ห้ามผสมกับน้ำมัน surfactant ปุ๋ยน้ำและสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น
- ประสิทธิภาพจะลดลง ถ้าฝนตกภายหลังจากใช้ 6 ชั่วโมง
- ใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอกจะให้ผลดีมากกว่า
- กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าหญ้าหรือวัชพืชใบแคบ
- ใช้กับพืชที่แนะนำได้ทุกระยะการเจริญเติบโต
- วัชพืชจะตายภายใน 3-5 วันภายหลังจากใช้

อะลาคลอร์(alachlor)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช anilide ที่ใช้ทางดินและเป็น protein synthesis inhibitor ซึ่งให้ผลในทางควบคุมเมล็ดพืชมิให้งอก (pre emergence)
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,800 มก./กก. ทางผิวหนัง 13,300 มก./กก. ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืช ที่กำจัดได้ ใช้ควบคุมมิให้เมล็ดพืชงอก เช่น หญ้าขน หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าปล้อง หญ้าข้าวนก หญ้าตีนไก่ หญ้ากุศลา หญ้าหางหมา ผักโขม ผักโขมหวาน หญ้าชันอากาศ วัชพืชใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ
พืช ที่ใช้ ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง หอม กระเทียม ผักตระกูลกะหล่ำ มะเขือเทศ และพริก
สูตรผสม 45.1% และ 48% อีซี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราแตกต่างกันออกไปตามชนิดของดินทั่ว ๆ ไปใช้อัตราระหว่าง 500-1,000 ซีซี ผสมกับน้ำ 60-80 ลิตร ฉีดพ่นคลุมดิน
อาการ เกิดพิษ หากถูกบริเวณผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการแพ้และระคายเคือง ถ้าเข้าตาทำให้ดวงตาระคายเคือง ถ้ากินเข้าไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และท้องเสีย
การ แก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานประมาณ 15 นาที ถ้ากินเข้าไป อย่าทำให้อาเจียน ให้คนไข้รับประทานยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล 2-4 ช้อนโต๊ะ ละลายกับน้ำ 1 แก้ว แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ให้ใช้ก่อนวัชพืชงอกหรือก่อนพืชที่ปลูกงอก
- ภายหลังการฉีดพ่น ถ้ามีฝนตกลงมาภายใน 10 วัน จะให้ผลดีมาก
- ใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอื่น ๆ ได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งปุ๋ย
- คงตัวอยู่ในดินได้นาน 6-10 สัปดาห์
- อย่าใช้กับดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงกว่า 10%

อะมีทรีน
(ametryn)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทเจาะจง กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอก และภายหลังจากงอกแล้ว
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 1,110 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 8,160 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าตีนนก หญ้าขน หญ้าตีนกา หญ้ากุศลา หญ้าชันอากาศ หญ้าหางหมา ผักโขม ผักโขมหวาน
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่อ้อย ส้ม สัปปะรด กล้วย ชา กาแฟ มันฝรั่ง
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราแตกต่างกันออกไปตามชนิดพืช อยู่ในช่วงระหว่าง 320-640 กรัม/ไร่ ผสมกับน้ำ กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นคลุมหน้าดินให้ทั่วพื้นที่เพาะปลูก ศึกษารายละเอียดวิธีการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก
อาการ เกิดพิษ อาจทำให้ผิวหนัง ดวงตาและเยื่อบุต่าง ๆ เกิดอาการระคายเคือง หากกินเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เคลื่อนไหวไม่เป็นปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน หายใจขัดและอาจชักได้
การ แก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยสบู่กับน้ำ ถ้าเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ เป็นเวลา 10 นาที ถ้ากลืนกินเข้าไป รีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการใช้นิ้วล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นหรือให้ ยา syrup of IPECAC ถ้า ยังไม่อาเจียนให้ล้างท้องคนไข้แล้วให้ทานถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล ภายหลัง 4 ชั่วโมง ถ้ายังไม่หายให้คนไข้ถ่ายด้วยยาประเภทเกลือ ห้ามให้ยาถ่ายที่เป็นน้ำมัน แล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - สำหรับอ้อยและสัปปะรด ไม่ควรใช้เกินขนาดที่แนะนำ
- ห้ามใช้ฉีดพ่นยอดข้าวโพด
- ดูดซึมเข้าไปในต้นวัชพืชได้โดยผ่านทางราก ดังนั้น วัชพืชจึงงอกออกมาก่อนแล้วจึงตายในภายหลัง
- เข้ากันได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ และปุ๋ย

อะมีโทร(amitrol)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazole ประเภทไม่เจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืช ภายหลังงอก โดยออกฤทธิ์ผ่านทางใบและราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 10,000 มก./กก.(หนู)
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบ เช่น หญ้าต่าง ๆ และวัชพืชใบกว้าง ทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในสวนผลไม้ ตามคลองชลประทานและไหล่ถนน
สูตรผสม 80% เอสพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นที่ใบพืชให้ทั่วทั้งต้นพืช
การแก้พิษ ยังไม่ทราบยาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ให้ผลในการกำจัดเต็มที่ภายใน 2-3 สัปดาห์
- เป็นสารขัดขวางการสร้าง chlorophyll จึงทำให้ใบพืชเป็นสีขาวแดง และน้ำตาล
- วัชพืชที่มีอายุมากหรือต้นแก่กว่า จะดูดซึมสารนี้ได้ช้ากว่าพืชที่มีอายุอ่อนกว่า
- คงตัวอยู่ในดินได้นาน 2-4 สัปดาห์

อะนิโลฟอส(anilofos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organic phosphate ประเภทเจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 1,000 มก./กก. (หนูตัวผู้) สำหรับหนูตัวเมีย 400 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าและวัชพืชใบแคบอื่น ๆ
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าว
สูตรผสม 30% อีซี , 1.5% และ % จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยใช้ในระยะที่วัชพืชมีใบอ่อน 2-5 ใบ หรือภายหลังจากปักดำแล้ว 4-12 วัน
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- ห้ามใช้กับเมล็ดข้าวโดยตรง
- ดูดซึมเข้าไปในต้นวัชพืชได้โดยผ่านทางรากและใบ
- ภายหลังจากใช้แล้ว วัชพืชจะหยุดเจริญเติบโต เปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ และตายในที่สุด
- เข้ากับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นที่กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ ยกเว้นสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

อะซูแลม(asulam)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช carbamate ประเภทเจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืช ภายหลังงอก โดยการดูดซึมผ่านทางใบและรากไปยังส่วนต่าง ๆ ของวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 4,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 1,200 มก./กก. (หนู)
วัชพืชที่กำจัดได้ใช้กำจัดวัชพืชพวกหญ้าและวัชพืชใบกว้างทั้งชนิดล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในไร่อ้อย กล้วย ยางพาราและพื้นที่ ๆ ไม่มีการเพาะปลูก
สูตรผสม 40% แอลซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยฉีดพ่นภายหลังวัชพืชงอกแล้ว ถ้ากำจัดวัชพืชในไร่อ้อย ควรใช้ในระยะที่อ้อยมีความสูงอย่างน้อย 12-36 นิ้ว
การแก้พิษ ยังไม่ทราบยาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วเมื่อมีอุณหภูมิสูง
- มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกและปลาต่ำ
- อาจใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดวัชพืชพวก phenoxy ได้

อะทราซีน
(atrazine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทดูดซึมและกำจัดแบบเจาะจงวัชพืช ใช้ควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชและกำจัดในระยะเริ่มงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,869 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 7,500 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคืองเล็กน้อย
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าขจรจบ หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนกา หญ้าหางหมา ผักเบี้ยใหญ่ น้ำนมราชสีห์ หญ้ายาง หญ้าอื่น ๆ และวัชพืชใบกว้างล้มลุกบางชนิด
พืชที่ใช้ ข้าวโพด อ้อย สัปปะรด ข้าวฟ่าง หน่อไม้ฝรั่ง ต้นฝรั่ง มะคาเดเมีย
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ อัตราใช้แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช โดยทั่วไปใช้อัตราระหว่าง 240-460 กรัม/ไร่ ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นทับหน้าดินที่ปลูกพืช อย่างไรก็ดี ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนังอาจจะมีอาการระคายเคือง เช่นเดียวกับที่ดวงตาและเยื่อบุ หากกลืนกินเข้าไป อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หายใจขัด กล้ามเนื้อกระตุกและอาจเกิดอาการชักได้
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำมาก ๆ ถ้าเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ 10 นาที ถ้ากินเข้าไป ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น หรือ syrup of IPECAC ถ้าคนไข้ไม่อาเจียน ให้ล้างท้องคนไข้ทันทีแล้วให้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล ภายหลัง 4 ชั่วโมง ถ้าคนไข้ยังไม่ถ่าย ให้ถ่านยาถ่ายประเภทเกลือ ห้ามใช้ยาถ่ายประเภทน้ำมัน ในช่วงนี้อย่าให้คนไข้ดื่มนม ครีมและอาหารที่มีไขมัน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เมื่อใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชแบบไม่เจาะจงพืช ให้ใช้เมื่อวัชพืชงอกแล้วและยาวไม่เกิน 1 นิ้วครึ่ง
- เมื่อใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชแบบเจาะจงพืช ให้ใช้ก่อนเพาะปลูกหรือระหว่างปลูก
- พืชที่อ่อนแอต่ออะทราซีน ได้แก่ พืชผักทั้งหมด เมล็ดธัญพืช แอสพารากัส ถั่วเหลือง ถั่วลิสงและมันฝรั่ง
- ฤทธิ์ตกค้างอยู่ในดินได้นานมากกว่า 1 ปี
- ความชื้นจะช่วยให้อะทราซีนออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น

เบ็นซัลฟูรอน เม็ทธิล
(bensulfuron methyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช urea , sulphonyl urea : pyrimidine ประเภท เจาะจงวัชพืช ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม และเข้าไปยับยั้งการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโตของวัชพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอกและในระยะเริ่มงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 10,985 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกในนาข้าวได้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งหญ้าทรงกระเทียมด้วย
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว
สูตรผสม 10% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
อาการเกิดพิษ ทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
การ แก้พิษ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาทันทีด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ นานอย่างน้อย 15 นาที แล้วไปหาแพทย์ ถ้ากินเข้าไป ต้องทำให้คนไข้อาเจียนทันทีด้วยการให้คนไข้ดื่มน้ำ 2 แก้วแล้วล้วงคอด้วยนิ้ว ถ้าคนไข้หมดสติ อย่าให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่คนไข้ แล้วไปหาแพทย์ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ห้ามใช้ผสมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่น

เบ็นซูไลด์(bensulide)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organophosphorous ประเภทเจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืชก่อนงอก หรือคุมวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 770 มก./กก. (หนู) ทางผิวหนัง 3,950 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชพวกหญ้าล้มลุกต่าง ๆ และวัชพืชใบกว้าง
พืช ที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ฝ้าย ในสวนผัก เช่น กะหล่ำปลี แครอท กะหล่ำดอก หอม ผักกาดหอม แตงกวา พริกไทย มะเขือเทศและข้าว
สูตรผสม 50% อีซี และ 48% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราและวิธีตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ใช้ยาอะโทรปิน โดยอาจใช้ร่วมกับ PAM และ Toxogonin
ข้อควรรู้ - เป็นซูไลด์ มีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน อาจเป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูกตามหลังพืชเดิมได้
- ห้ามใช้กับพืชที่ไม่ได้แนะนำบนฉลาก อย่างน้อยเป็นเวลา 18 เดือนภายหลังใช้
- ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้ประมาณ 6-8 เดือน

เบ็นตาโซน
(bentazone)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช benzothiadiazole ประเภทเจาะจงวัชพืช ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส และแทรกซึมเข้าไปในต้นพืชได้โดยผ่านส่วนที่มีสีเขียว ใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอก
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,100 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,500 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุก
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วลันเตา และมันฝรั่ง
สูตรผสม 48% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำฉีดพ่นที่วัชพืชภายหลังงอกแล้ว ในช่วงระยะที่มีใบ 2-10 ใบ
การแก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่รู้ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ประสิทธิภาพจะลดลงถ้ามีฝนตกภายหลังฉีดพ่นแล้ว 8 ชั่วโมง
- เมื่อใช้กับข้าว ให้ใช้เมื่อวัชพืชงอกโผล่พ้นระดับน้ำแล้วเท่านั้น
- ห้ามใช้กับถั่วเหลืองที่กำลังเจริญเติบโตในสภาพที่มีน้ำท่วมขัง ทั้งนี้ อาจทำให้ถั่วเหลืองเป็นอันตรายได้
- อากาศยิ่งร้อนมากขึ้นเท่าใด ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชนี้ก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น
- ผลในการกำจัดวัชพืชจะปรากฏให้เห็นภายหลังจากใช้แล้ว 2-7 วัน

โปรมาซิล(bromacil)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช uracil ประเภท เจาะจงในการกำจัดวัชพืชพวกหญ้าล้มลุกและวัชพืชยืนต้นอื่น ๆ ทั้งก่อนงอกและภายหลังงอก สามารถดูดซึมเข้าทางรากพืชได้อย่างรวดเร็ว ผ่านทางใบได้เล็กน้อยและเป็น Photosynthesis inhibitor
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 5,200 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก. อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง
วัชพืช ที่กำจัดได้ หญ้าแพรก หญ้าข้าวนก กก หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้ารังนก หญ้าหางหมา หญ้าพง หญ้าชันอากาศ หญ้าขน สาบเสือ ผักโขม ผักเบี้ยใหญ่ แห้วหมู รวมทั้งวัชพืชใบแคบอื่น ๆ และวัชพืชใบกว้างทั้งชนิดล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ส้มเขียวหวาน มะนาว ไร่สัปปะรดและพื้นที่ไม่ได้ทำการเกษตร
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 360-720 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ต้นและใบวัชพืชที่กำลังอยู่ในระยะเจริญเติบโต หรือที่พื้นดินทันทีที่ปลูกสัปปะรดเสร็จและก่อนที่จะแตกยอด
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ห้ามปลูกพืชอื่นบนพื้นที่ที่เคยใช้โปรมาซิลมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี
- น้ำฝนจะช่วยให้รากวัชพืชดูดโปรมาซิลเข้าไปในลำต้นได้เร็วขึ้น
- ในระหว่างฉีดพ่น ควรเขย่าถังฉีดพ่นอย่างสม่ำเสมอ
- ให้ใช้กับส้มที่มีอายุอย่างน้อย 4 ปี ขึ้นไป





IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #328 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2013, 23:01:59 »

บิวตาคลอร์
(butachlor)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช acetamide ประเภท เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอกโดยการคุมวัชพืชและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ด้วยการเข้าไปยับยั้งขบวนการสังเคราะห์โปรตีน ภายในต้นพืช
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 3,300 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 13,000 มก./กก. ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคือง
วัชพืช ที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชได้ทั้งใบแคบและใบกว้าง รวมทั้งกกต่าง ๆ เช่น หญ้านกสีชมพู แห้วทรงกระเทียม ขาเขียด ผักปอดนา ผักแว่น พังพวย หญ้าหนวดปลาดุก กกทราย และกกขนาก
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว
สูตรผสม 60% อีซี และ 5% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ขนาด 60% อีซี ใช้อัตรา 250 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่ ชนิด 5% จี ใช้อัตรา 3.2 กก. หว่านให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่ ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง
อาการเกิดพิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังจะมีอาการระคายเคือง เช่นเดียวกับที่ดวงตาและที่จมูก
การ แก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ต้องทำให้คนไข้อาเจียนแล้วกินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล พร้อมนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- อย่าใช้ในสภาพอากาศที่คิดว่าจะมีฝนตก ภายใน 6 ชั่วโมง
- คงตัวอยู่ในดินได้นานประมาณ 10 สัปดาห์
- ผสมกับโปรพานิลได้เมื่อใช้ฉีดพ่นทันทีและกำจัดแบบภายหลังงอก

บูตราลิน
(butralin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช dinitroanilide ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชทั้งก่อนงอกและหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 12,600 มก./กก. ทางผิวหนัง 10,200 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ ใช้ควบคุมและกำจัดวัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุก และวัชพืชใบแคบพวกหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในไร่ถั่วเหลืองและไร่ฝ้าย
สูตรผสม 24% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ

บูทิลเลท(butylate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช thiocarbamate ประเภทเจาะจงพืช โดยใช้กำจัดวัชพืชก่อนปลูก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 4,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบแคบพวกหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ข้าวโพด
สูตรผสม 7% อีซี , 5% และ 10% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ - เป็นสารที่มีความใกล้เคียงกับสารกำจัดวัชพืช อีพีทีซี
- ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้นานประมาณ 6 สัปดาห์ และไม่มีผลกระทบต่อพืชที่จะปลูกต่อจากข้าวโพด
- เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น อาจใช้ร่วมกับอะทราซีนได้

คลอริมูรอน เอ็ทธิล
(chlorimuron ethyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช sulfonylurea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 4,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและกกบางชนิด
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ถั่วเหลือง
สูตรผสม 25% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ - หลีกเลี่ยงอย่าให้ถูกกับผิวหนัง ดวงตาและเสื้อผ้า
- ถ้าเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ และถ้าเกิดอาการระคายเคืองให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ

คลอร์ซัลฟูรอน
(chlorsulfuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก โดยการเข้าไปยับยั้งการขยายหรือแตกตัวของเซลล์ที่รากและหน่อ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 5,545 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 3,400 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้างได้เป็นส่วนมาก และหญ้าล้มลุกได้เป็นบางชนิด
พืชที่ใช้ ข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์
สูตรผสม 75% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก โดยใช้ในระยะที่วัชพืชเริ่มงอก ถ้าใช้ในระยะที่วัชพืชมีใบมากกว่า 2-3 ใบแล้ว จะต้องใช้อัตราเพิ่มขึ้น
ข้อควรรู้ - ห้ามใช้กับพืชที่มิได้แนะนำ
- เป็นสารทำให้วัชพืชหยุดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
- ผสมได้กับสารกำจัดวัชพืชและสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ และปุ๋ยน้ำ
- ใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอกได้ดีกว่าแบบก่อนงอก

ซินเม็ทธิลลิน
(cinmethylin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,600 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชตระกูลหญ้าล้มลุกและวัชพืชใบกว้างบางชนิด
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว ในไร่ฝ้าย ถั่วเหลืองและถั่วลิสง
สูตรผสม 10% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

ชิโนซัลฟูรอน
(cinosulfuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช sulfonyl urea ประเภทเจาะจงพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบและใบกว้างในนาข้าว
พืชที่ใช้ ข้าว
สูตรผสม 20% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก

คลีโธดิม(clethodim)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทหญ้าและวัชพืชใบแคบทั่วไป ชนิดดูดซึมและกำจัดวัชพืช ภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนูตัวผู้) 3,610 มก./กก. (หนูตัวเมีย) 2,920 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 5,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้านกสีชมพู หญ้าข้าวนก หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้าหางจิ้งจอก หญ้าปากควาย หญ้าขจรจบ หญ้าแพรก หญ้าชันอากาศ
พืชที่ใช้ ฝ้าย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง สัปปะรด พืชตระกูลถั่วอื่น ๆ และพืชใบกว้างทั้งใบ
สูตรผสม 24% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 50-60 ลบ.ซม. ผสมกับน้ำ 20 ลิตร หรือ 100-200 ลบ.ซม. ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่นหลังการเพาะปลูกพืช 15-25 วัน หรือเมื่อวัชพืชมีใบ 3-6 ใบ
การแก้พิษ หากเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ให้ดื่มน้ำหรือนม ห้ามทำให้อาเจียน แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์
ข้อควรรู้ - ห้ามใช้ในบริเวณที่มีการเพาะปลูก ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เดือย และสนามหญ้า
- อย่าใช้ก่อนจะมีฝนตก 1 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง

คอปเปอร์ เอ็ทธิลลีนไดอะมีน(copper ethylenediamine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชในน้ำ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1 มิลลิลิตร/กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 8 มิลลิลิตร/กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ สำหรับเส้นด้าย สำหรับข้าวเหนียว สำหรับหางกะรอก และวัชพืชน้ำอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ส้มเขียวหวาน ส้มโอ และพืชตระกูลส้มทั่วไป
สูตรผสม 15.2% เอเอส

คอปเปอร์ ไตรเอ็ทธาโนลามีน
(copper triethanolamine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชในน้ำ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 470 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 8 กรัม/กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว และวัชพืชน้ำอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ตามร่องน้ำในสวนผลไม้
สูตรผสม 37.5% เอเอส

ไซอานาซีน(cyanazine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชก่อนงอกหรือในระยะเริ่มงอก ดูดซึมเข้าไปในลำต้นได้โดยผ่านทางราก เป็นตัวขัดขวางขบวนการสังเคราะห์แสง (photosynthesis inhibitor)
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 288 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบตระกูลหญ้าและวัชพืชใบกว้างที่มีอายุสั้นหรือประเภทล้มลุก
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฝ้าย สัปปะรด ข้าวสาลี มันฝรั่ง อ้อย ถั่วลันเตา แอสพารากัส และเมล็ดธัญพืช
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ เพื่อคุมวัชพืช ใช้อัตรา 1.5 กก. ผสมกับน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นคลุกพื้นที่ 1 ไร่ ถ้าใช้ปราบวัชพืชในระยะเริ่มงอกให้ใช้อัตรา 650-800 กรัม ผสมกับน้ำ 100 ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่
อาการเกิดพิษ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง ท้องเสีย เกิดอาการระคายเคืองตามทางเดินอาหารและเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ดวงตา บางรายอาจมีอาการเซื่องซึม หายใจแรง-เร็ว เส้นเลือดขยายตัวทำให้ความดันโลหิตต่ำ
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป รีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น สำหรับแพทย์ ให้คนไข้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล ขนาด 30-60 กรัม ผสมกับน้ำ 5-10 ออนซ์ และกินซ้ำทุก 4 ชม. ถ้าท้องไม่เสีย ให้คนไข้ถ่ายท้องด้วยยาโซเดียมซัลเฟท ตามขนาดการใช้ แล้วรักษาตามอาการต่อไป
ข้อควรรู้ - ในขณะใช้ควรเขย่าถังพ่นอยู่เสมอ
- อย่าใช้กับดินทรายหรือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1%
- เมื่อผสมกับปุ๋ย ห้ามใช้ฉีดพ่นภายหลังงอก
- ออกฤทธิ์โดยผ่านทางรากเป็นส่วนใหญ่
- อาจใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นผสมได้ เพื่อเพิ่มฤทธิ์ในการกำจัดวัชพืช
- อาจใช้สารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นผสมได้ เพื่อเพิ่มฤทธิ์ในการกำจัดให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
- ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้นาน 10-12 สัปดาห์

ไซโคลเอท
(cycloate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช thiocarbamate ประเภทเจาะจงพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 3,160 มก./กก. (ชนิด 6 อี) 4,640 มก./กก. (ชนิด 10 จี) และ 2,000-4,100 มก./กก. (ชนิด )
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชตระกูลหญ้าประเภทล้มลุก หญ้ายืนต้นบางชนิด และวัชพืชใบกว้างหลายอย่าง
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ sugar beets , table beets , spinach
สูตรผสม 6% อีซี , 10% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยวิธีคลุกดินให้ลึก 2-3 นิ้ว ก่อนปลูกพืช
ข้อควรรู้ - ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น
- เป็นพิษต่อปลา
- ปลูกพืชทันทีที่คลุกดินเรียบร้อยแล้ว
- เพื่อให้ผสมกับดินได้อย่างทั่วถึง จึงควรคลุกในขณะที่ดินแห้ง
- ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้ 6-12 อาทิตย์

ไซโคลซีดิม
(cycloxydim)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเจาะจง สำหรับพืชใบกว้างและกำจัดแบบ ภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนังมากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชตระกูลหญ้าทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ฝ้าย หอม มันฝรั่ง ถั่วเหลือง ทานตะวันและผักต่าง ๆ
สูตรผสม 20% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ตามคำแนะนำบนฉลาก

ดาลาพอน(dalapon)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organochlorine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชก่อนปลูกและหลังปลูก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 9,330 มก./กก. (sodium salt) ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก. ทำให้ผิวหนังและดวงตาของผู้แพ้เกิดอาการระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าคา หญ้าพง หญ้าขน หญ้าล้มลุกและหญ้ายืนต้นอื่น ๆ
พืชที่ใช้ กาแฟ ฝ้าย ส้ม อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มะพร้าว กล้วย แอสพารากัส องุ่นและสวนป่า
สูตรผสม 85% เอสพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ กำจัดวัชพืชในสวนยางพารา ใช้อัตรา 1.8 กก.ผสมกับน้ำ 80-100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่ สำหรับพืชอื่น ๆ ใช้อัตรา 125-360 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเป็นจุด ๆ หรือทั่วแปลง แล้วแต่ความเหมาะสม
การ แก้พิษ ถ้ามีอาการระคายเคืองที่ผิวหนังและดวงตาให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้าคนไข้กลืนกินเข้าไป ต้องทำให้คนไข้อาเจียนและหลีกเลี่ยงการดื่มหรือกินอาหารที่มีไขมัน หรือแอลกอฮอล์ผสมอยู่ สำหรับแพทย์ รักษาตามอาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ - กัดกร่อน โลหะ ไม่ระเหยและไม่ติดไฟ
- ดูดซึมผ่านได้ทั้งทางใบและราก เคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืชได้อย่างรวดเร็ว
- คงตัวอยู่ในดินและยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชได้นาน 60 วัน หรือมากกว่า โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่แห้งและเย็น
- อาจใช้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่น เช่น อะทราซีน ได้

ไดแคมบา(dicamba)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช benzoic ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,900 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืช ที่ใช้ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ต หญ้าต่าง ๆ อ้อย และกำจัดวัชพืชในพื้นที่ ๆ ไม่ได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม 40.6% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ ถ้ากลืนกินเข้าไป ให้คนไข้ดื่มน้ำมาก ๆ แล้วทำให้อาเจียน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ดูดซึมเข้าลำต้นได้โดยผ่านทางใบ
- ถั่วเหลืองและถั่วลันเตาอ่อนแอต่อสารชนิดนี้มาก
- ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้เป็นส่วนมาก
- ฤทธิ์สารกำจัดวัชพืชจะอยู่ในดินได้หลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
- ฆ่าวัชพืชเมื่องอกออกมาแล้ว

ไดคลอร์พรอพ - พี
(dichlorprop - P)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีความใกล้เคียงกับ 2,4-ดี
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 825 มก./กก. แต่น้อยกว่า 1,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 4,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้าง ไม้พุ่มและวัชพืชน้ำ
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ธัญพืช ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และตามไหล่ทาง-ถนน
สูตรผสม 60% เอเอส
การ แก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานมาก ๆ แล้วไปพบแพทย์ ถ้ากลืนกินเข้าไป ทำให้คนไข้อาเจียนแล้วรักษาตามอาการ

ไดมีฟูรอน(dimefuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช oxadiazole ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งในแบบก่อนงอก และภายหลังงอกดูดซึมเข้าลำต้นได้โดยทางราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 1,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้าง
พืชที่ใช้ พืชตระกูลกะหล่ำ ถั่วและสัปปะรด
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
การแก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ นิยมใช้ผสมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นเพื่อให้สามารถกำจัดวัชพืชได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ไดเม็ทธามีทริน
(dimethametryn)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอกและภายหลังงอก ดูดซึมได้ทางรากและใบ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 3,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,150 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าวและไร่อ้อย

ไดไนตรามีน(dinitramine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเจาะจงพืชและกำจัดแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 3,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 6,800 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าประเภทล้มลุก
พืชที่ใช้ ฝ้าย ถั่วลิสง ถั่วเหลืองและทานตะวัน
สูตรผสม 25% อีซี

ไดยูรอน(diuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช urea กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 3,400 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืช ที่กำจัดได้ หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้าตีนติด หญ้าไม้กวาด หญ้ารังนก หญ้านกสีชมพู ผักเบี้ยใหญ่ ผักโขม หญ้าอื่น ๆ และวัชพืชใบกว้างอีกเป็นจำนวนมาก
พืช ที่ใช้ สัปปะรด อ้อย ชา กาแฟ มะละกอ ส้ม กล้วย มันสำปะหลัง ปาล์ม ยางพารา ฝ้าย องุ่น แอสพารากัส และพืชที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ โดยทั่วไปใช้อัตรา 365-725 กรัม/ไร่ ผสมกับน้ำ ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ทันที ภายหลังจากปลูกพืชเสร็จและก่อนที่วัชพืชจะงอก
การ แก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนทันทีแล้วให้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล แล้วนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - อย่าใช้ในขณะที่มีแสงแดดจัดหรือกับดินปนทราย
- อย่าปลูกพืชที่อ่อนแอต่อไดยูรอน ภายใน 12 เดือนหลังจากใช้
- เป็นสารไม่กัดกร่อนและไม่ระเหย

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #329 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2013, 23:08:18 »

ดีพีเอกซ์ – แอล - 5300
(DPX – L - 5300)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช sulfon , urea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์
สูตรผสม 75% เอสซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การ แก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ และถ้ามีอาการระคายเคืองให้ปรึกษาแพทย์

ดีเอสเอ็มเอ
(DSMA)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organoarsenic ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอกโดยทางสัมผัส
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 1,800 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าชนิดต่าง ๆ โดยกำจัดแบบภายหลังงอก
พืชที่ใช้ ฝ้าย ส้ม และกำจัดวัชพืชในพื้นที่มิได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม 80% เอสพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ต้นวัชพืชโดยตรง กำจัดวัชพืชในไร่ฝ้าย ควรให้ฝ้ายมีความสูงประมาณ 3-4 นิ้ว จนถึงระยะออกดอก และไม่ควรใช้เกิน 2 ครั้ง ต่อหนึ่งฤดูปลูก
ยาแก้พิษ ยาบีเอแอล (BAL)
ข้อควรรู้ - ไม่กัดกร่อนโลหะ
- ใช้ผสมกับ 2,4-ดี ได้
- ให้ผลดีที่สุดในการกำจัดวัชพืชที่อยู่ในระยะที่เป็นต้นอ่อนและกำลังเจริญเติบโต

อีพีทีซี(EPTC)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช thiocarbamate ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,630 มก./กก. (Technical grade)
วัชพืช ที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบประเภทล้มลุกและยืนต้น เช่น หญ้านกสีชมพู กกขนาก ขาเขียด และวัชพืชใบกว้างบางชนิด เช่น ผักปอดนา เป็นต้น
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าว สวนส้ม ข้าวโพด ฝ้าย องุ่น ถั่ว มันฝรั่ง ทานตะวันและมะเขือเทศ
สูตรผสม 72% อีซี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 200-400 ซีซี ผสมน้ำ 40-60 ลิตร ฉีดพ่นให้คลุมพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนปลูกพืช 2-4 วัน หรือภายหลังปลูก 6-8 วัน
อาการ เกิดพิษ ถ้าเข้าตาจะทำให้น้ำตาไหล มองแสงสว่างไม่ได้ แสบตา ตาแดง และแก้วตาอักเสบ ถ้าถูกผวิหนังอาจทำให้อักเสบ เจ็บร้อน คัน พิษจากการสูดดมจะมีอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูก จาม ไอ น้ำมูกไหล มีเสมหะ เจ็บคอ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป จะมีอาการแสบตามทางเดินอาหาร ปวดท้อง อาเจียน เวียนศีรษะ ชักและหมดสติ
การ แก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้ากลืนกินเข้าไป ห้ามทำให้คนไข้อาเจียน นำผู้ป่วยส่งแพทย์ เพื่อล้างท้องด้วยสารละลาย โซเดียม ไบคาร์โบเนท แล้วให้คนไข้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล หรือแม็กนีเซียม ซัลเฟท แล้วรักษาตามอาการ ห้ามคนไข้ดื่มนมและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่
ข้อควรรู้ - ขณะใช้ถ้าหน้าดินเปียกชื้น ตัวอีพีทีซีจะสูญหายไปด้วยการระเหย
- ห้ามใช้กับพืชอื่นที่ไม่ได้แนะนำ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วตาดำ ลิมาบีน และถั่วฝักอื่น
- มีประสิทธิภาพในการกำจัดหญ้าได้มากกว่าวัชพืชใบกว้าง
- สลายตัวหมดภายใน 4-6 สัปดาห์ ในสภาพที่ดินร้อนชื้น
- ไม่กัดกร่อนโลหะและยาง

ฟีโนซาพรอพ - เอ็ทธิล
(fenoxaprop - ethyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 3,310 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก. ทำให้ผิวหนังระคายเคืองเล็กน้อย และดวงตาระคายเคืองปานกลาง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชตระกูลหญ้าทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา มันฝรั่ง ยาสูบและพืชใบกว้างอีกหลายชนิด
สูตรผสม อยู่ในรูปผสมน้ำมัน (อีซี)
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก โดยใช้ฉีดพ่นเมื่อหญ้างอกแล้วเป็นส่วนมาก
การ แก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะไม่มี ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ทันที เป็นเวลานาน 1 นาที ถ้ากินเข้าไป อย่าทำให้คนไข้อาเจียน นำคนไข้ส่งแพทย์ทันที

ฟีนูรอน(fenuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 6,400 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ ไม้ยืนต้นและต้นไม้ที่มีรากหยั่งลึก

ฟลูอะซีฟอพ-บูทิล
(fluazifop-butyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช phenoxy , trifluoromethyl , pyridine ประเภทเจาะจงพืชและดูดซึมกำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 3,328 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 2,420 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชตระกูลหญ้าล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ฝ้าย มันฝรั่ง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ส้ม องุ่น กาแฟ หอม กล้วย ผักต่าง ๆ และพืชใบกว้างทั่วไป
สูตรผสม 35% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำและฉีดพ่นที่วัชพืชโดยตรง จะให้ผลดีในระยะที่วัชพืชมีใบ 2-4 ใบ
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- ออกฤทธิ์ช้า เคลื่อนย้ายในลำต้นจากใบไปสู่ราก

ฟลูโอมีทูรอน
(fluometuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช trifluoromethyl;urea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มี พิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 8,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 10,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาระคายเคืองปานกลาง แต่ผิวหนังจะไม่ระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ฝ้ายและอ้อย
สูตรผสม 50% และ 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นควบคุมการงอกและกำจัดวัชพืชในระยะเริ่มงอก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - กำจัดวัชพืชยืนต้นไม่ได้
- เมื่อใช้กำจัดวัชพืชในไร่ฝ้าย ห้ามปลูกพืชอย่างอื่นภายหลังปลูกฝ้ายในปีเดียวกัน
- พืชที่อ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืชนี้ ได้แก่ ถั่วเหลือง มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่วและแตง
- อย่าใช้เกินกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี บนพื้นที่เดียวกัน
- เมื่อใช้กับฝ้าย อย่าใช้ร่วมกับสารกำจัดแมลงประเภทดูดซึม
- ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้ประมาณ 6-8 สัปดาห์

ฟลูโรซี่เพอร์(fluroxypyr)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช pyridine
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและวัชพืชยืนต้นที่มีรากหยั่งลึก
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว ในสวนผลไม้ องุ่นและทุ่งหญ้าและเลี้ยงสัตว์
สูตรผสม 20% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ

ฟอร์มีซาเฟน(formesafen)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช nitro compound : bridged diphenyl , trifluoromethyl กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,250 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 1,000 มก./กก.
วัชพืช ที่กำจัดได้ หญ้าตีนตุ๊กแก หญ้าลิ้นงู กกทราย ปอป่าน สาบแร้งสาบกา กะเม็ง บัวบก หญ้าขาวนก หญ้านกสีชมพู ผักโขมหนาม ผักโขมทราย ผักโขมหินและผักโขมอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง กระเทียม
สูตรผสม 25% เอสซี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ โดยทั่วไปใช้อัตรา 240 ซีซี ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่ หรือจะใช้อัตรา 60 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นก็ได้ ควรใช้ในระยะที่วัชพืชมีความสูง 1-3 นิ้ว
การ แก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปาก ห้ามทำให้คนไข้อาเจียน ให้รีบนำส่งแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - กำจัดวัชพืชพวกหญ้าไม่ได้

โฟซามีน-แอมโมเนียม
(fosamine-ammonium)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช carbamate กำจัด วัชพืชแบบภายหลังงอกและควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช โดยซึมผ่านทางใบไปสู่ลำต้น ไม่เคลื่อนย้ายและออกฤทธิ์เฉพาะจุดที่ถูกฉีดพ่น
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 24,200 มก./กก. (41.5%) ทางผิวหนัง มากกว่า 1,683 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชที่เป็นต้นไม้ทรงพุ่ม เช่น ไมยราบยักษ์
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในพื้นที่ที่ไม่มีการเพาะปลูก ตามทุ่งเลี้ยงสัตว์ ตามไหล่ถนน ทางรถไฟ ริมคลองชลประทาน
สูตรผสม 48% เอสแอล
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นวัชพืช พืชจะหยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ห้ามใช้กับพืชที่เป็นอาหาร
- ถ้ามีฝนตกภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากใช้ ประสิทธิภาพจะลดลง
- ปลอดภัยต่อปลาและสัตว์ป่า
- ไม่ได้ผลเมื่อใช้ฉีดพ่นที่ดิน

กลูโฟซิเนท - แอมโมเนียม
(glufosinate - ammonium)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organophosphorous ประเภทไม่เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอกโดยทางสัมผัสและมีฤทธิ์ในทางดูดซึม
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,625 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชล้มลุกและยืนต้นทั่วไป รวมทั้งวัชพืชตระกูลหญ้า
พืชที่ใช้ สวนผลไม้ สวนองุ่น สวนผัก สวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน
สูตรผสม 18% และ 20% เอสแอล
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยฉีดพ่นที่ใบและส่วนที่กำลังเจริญเติบโตโดยตรง
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - อย่าใช้ ถ้าคาดว่าจะมีฝนตกภายใน 6 ชั่วโมง
- ในสภาพที่มีอากาศร้อน กลูโฟซิเนทจะออกฤทธิ์ได้มากกว่า
- ในการกำจัดวัชพืชใบกว้าง ควรใช้ในระยะเริ่มเจริญเติบโต สำหรับหญ้า ควรใช้กำจัดในระยะเริ่มแตกหน่อ
- ไม่มีพิษต่อปลา
- วัชพืชจะแสดงอาการตายภายใน 2-5 วัน
- กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าใบแคบ
- ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วกว่า ไกลโฟเสท แต่ช้ากว่า พาราคว๊อท

ไกลโฟเสท(glyphosate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organophosphorous ประเภทไม่เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก ออกฤทธิ์โดยทางดูดซึมและเคลื่อนย้ายในต้นพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 4,320 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืช ที่กำจัดได้ หญ้าคา หญ้าแห้วหมู หญ้าขน หญ้าชันอากาศ หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าปล้อง หญ้าใบไผ่ หญ้าลูกเห็บ สาปแร้งสาปกา ผักตบชวา ไมยราบยักษ์ วัชพืชใบกว้างอื่น ๆ และใบแคบทั่วไปทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และพื้นที่ไม่ได้ทำการเกษตรทั่วไป
สูตรผสม 10% , 15% , 16% , 41% และ 48% เอสแอล
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำสะอาดฉีดพ่นที่ใบพืชและต้นพืชโดยตรง ศึกษารายละเอียดการใช้เพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการ เกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนังและดวงตา อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง ถ้ากินเข้าไปจำนวนมาก ๆ จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
การ แก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังหรือดวงตา ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ถ้ากินเข้าไปควรล้างท้องคนไข้ตามวิธีทางการแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ภายหลังจากใช้ 6 ชม. ถ้ามีฝนตกลงมา จะทำให้ประสิทธิภาพลดลง
- อย่าใช้น้ำสกปรกผสมฉีดพ่น เพราะจะทำให้ไม่มีประสิทธิภาพ
- ผลการกำจัดวัชพืชจะน้อยลง ถ้าใบพืชที่ฉีดพ่นนั้นปกคลุมด้วยฝุ่นละออง
- การเริ่มต้นออกฤทธิ์จะเป็นไปอย่างช้า ๆ ภายหลังจากใช้ จะสังเกตเห็นได้หลังจากหลายวันผ่านไปแล้ว

ฮาโลซี่ฟอพ - เอ็ทธอกซี่เอ็ทธิล
(haloxyfop - ethoxyethyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช pyridine : phenoxy : trifluoromethyl ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ดูดซึมผ่านทางใบและรากเข้าสู่ลำต้น
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 518-531 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชตระกูลหญ้าทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ปลูกพืชทั่วไป
สูตรผสม 12.5% อีซี
การแก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน รักษาตามอาการ

ฮาโลซี่ฟอพ - เม็ทธิล(haloxyfop - methyl)
การ ออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก ออกฤทธิ์ดูดซึมและเคลื่อนย้ายไปทั่วทุกส่วนของวัชพืช
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนูตัวผู้) 2,398 มก./กก. (หนูตัวเมีย) 2,179 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 3,536 มก./กก.
วัชพืช ที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบพวกหญ้าต่าง ๆ ทั้งชนิดล้มลุกและยืนต้น เช่น หญ้าแพรก หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนติด หญ้าตีนกา หญ้าไข่แมงดา หญ้าปากควาย หญ้าตีนนก หญ้าขจรจบและหญ้าดอกขาว
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในแปลงปลูกพืชใบกว้างทั่วไป
สูตรผสม 25.5% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 20 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่วัชพืชโดยตรง ให้ทั่วพื้นที่ปลูก
อาการเกิดพิษ อาจทำให้ผิวหนังและดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
การ แก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังหรือดวงตา ให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปควรทำให้คนไข้อาเจียนทันที รักษาตามอาการ

เฮ็กซาซิโนน(hexazinone)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทไม่เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ซึมผ่านเข้าลำต้นได้ทั้งทางใบและราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,690 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,278 มก./กก. ทำให้ดวงตาระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าตีนนก หญ้าหางหมา หญ้าตีนติด หญ้าพง หญ้าชันอากาศ หญ้าดอกขาว หญ้าแพรก หญ้าโขย่ง วัชพืชใบกว้าง เช่น ผักโขม ผักเบี้ยและวัชพืชอื่น ๆ ทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่อ้อย และสัปปะรด
สูตรผสม 90% เอสพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 135-180 กรัมผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบและต้นวัชพืชโดยตรงให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่
การ แก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วรักษาตามอาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ - ควรใช้ในขณะที่วัชพืชกำลังเจริญเติบโตหรือสูงอย่างน้อย 2 นิ้ว
- อย่าให้รากของพืชที่ปลูกถูกกับสารกำจัดวัชพืชชนิดนี้
- อย่าให้ละอองปลิวไปถูกกับพืชที่ปลูก
- ให้ผลดีในการกำจัดวัชพืชประเภทไม้พุ่มและไม้ยืนต้น
- ประสิทธิภาพในการกำจัดจะมากขึ้นตามสภาพอุณหภูมิที่สูงขึ้น

อิมาซาเพอร์
(imazapyr)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช imidazolinone ประเภท ไม่เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม โดยผ่านทางใบและราก สามารถเคลื่อนย้ายในต้นวัชพืชได้
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบพวกหญ้าและวัชพืชใบกว้างทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น รวมทั้งไม้พุ่ม และไม้ผลัดใบทุกชนิด
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในพื้นที่ไม่มีการเพาะปลูก
สูตรผสม 10% เอสแอล
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ

อิมาเซ็ทธาเพอร์(imazethapyr)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช imidazolinone กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู)มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ ทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง
สูตรผสม 50% อีซี , 5.3% เอเอส

ไออ๊อกซีนิล(ioxynil)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช nitrile ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและดูดซึมได้ทางใบ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 110 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุก โดยกำจัดในระยะเริ่มงอก
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าว ในไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่างและธัญพืชอื่น ๆ
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ

ไอโซโปรทูรอน(isoproturon)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช urea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์โดยการดูดซึมผ่านทางใบและราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,800 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบพวกหญ้าล้มลุกและวัชพืชใบกว้างล้มลุกบางชนิด
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในไร่ปลูกธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ข้าวไรย์ รวมทั้งอ้อยและถั่วลิสง
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ

แล็คโตเฟน
(lactofen)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช diphenyl ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชใบกว้างแบบภายหลังงอกและก่อนงอกได้เล็กน้อย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,533 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ ผักเสี้ยนผี ผักเบี้ยหิน โทงเทง กะเมง ปอวัชพืช ฝักยาว และวัชพืชใบกว้างทั่วไป
พืชที่ใช้ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าว ข้าวโพด ฝ้าย มันฝรั่ง
สูตรผสม 24% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 60-80 ลบ.ซม.ต่อไร่ หรือ 15-20 ลบ.ซม.ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ต้นวัชพืช
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำนาน 15 นาที หากกลืนกินเข้าไปและยังมีสติอยู่ ให้ผู้ป่วยดื่มนมหรือไข่ขาวหรือน้ำจำนวนมาก ๆ ห้ามทำให้อาเจียน และห้ามให้อาหารหรือเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ผสม นำผู้ป่วยส่งแพทย์ต่อไป

ลีนาซิล
(lenacil)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช uracil ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนปลูกหรือก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 11,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้าง
พืชที่ใช้ ธัญพืช สตรอเบอร์รี่และไม้ประดับ
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ถ้าต้องการกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกหรือคุมวัชพืช ให้ฉีดพ่นหน้าดินทันทีภายหลังจากปลูกเสร็จ ถ้าใช้แบบก่อนปลูกให้ใช้คลุกกับดินลึกจากหน้าดิน 2 นิ้ว

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #330 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2013, 23:14:59 »

ลินูรอน(linuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช urea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 4,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตา จมูก คอและผิวหนัง เกิดอาการระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ ที่เป็นประเภทล้มลุก และกล้าของวัชพืชยืนต้นบางชนิด
พืชที่ใช้ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าวฟ่าง แอสพารากัส ฝ้าย มันฝรั่งและองุ่น
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ห้ามปลูกพืชอื่นภายใน 4 เดือน หลังจากใช้
- ห้ามฉีดพ่นบนยอดข้าวโพดโดยตรง

เอ็มซีพีเอ(MCPA)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดพืช phenoxy ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางดูดซึมและเคลื่อนย้ายในต้นพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 700 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 1,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้างทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น รวมทั้งวัชพืชใบกว้างที่เจริญเติบโตได้ในน้ำ
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ในไร่ถั่วเขียวและทุ่งหญ้า เลี้ยงสัตว์
สูตรผสม 40% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

มีโคพรอพ-พี(mecoprop-P)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช phenoxy ประเภทเจาะจงพืช ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 930 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 900 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้าง
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในสนามหญ้าและในไร่ปลูกธัญพืช
สูตรผสม 50% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ในระยะที่วัชพืชกำลังเจริญเติบโต
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - อย่าใช้ในสภาพอากาศที่มีความร้อนหรือเปียกชื้นสูง
- อาจใช้ผสมกับ 2-4-ดี เพื่อเพิ่มขอบเขตการกำจัดวัชพืชให้มากยิ่งขึ้น
- ออกฤทธิ์ช้า อาจใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ จึงจะเห็นผล
- มีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชใบกว้างเท่านั้น

เมตาซาคลอร์
(metazachlor)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช acetanilide กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 2,150 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและวัชพืชใบแคบล้มลุก
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง ยาสูบ ถั่วลิสง มันฝรั่ง
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก โดยใช้คุมวัชพืชก่อนงอก ฝนและความชื้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดให้สูงขึ้น
ข้อควรรู้ - สารกำจัดวัชพืชนี้กำลังอยู่ในระหว่างการทดลอง
- ไม่กำจัดวัชพืชใบแคบประเภทยืนต้น

เมธาเบ็นซ์ไธอายูรอน(methabenzthiauron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช urea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 2,500 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 500 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ และวัชพืชพวกหญ้า
พืชที่ใช้ ถั่ว กระเทียม มันฝรั่งและหอม
สูตรผสม อยู่ในรูปผงผสมน้ำ (ดับบลิวพี)
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ - ไม่เป็นพิษต่อผึ้งและปลา
- อย่าใช้ผสมกับยูเรียและปุ๋ยน้ำอย่างอื่น
- ขณะที่ใช้ดินควรมีความชื้น
- ภายหลังจากใช้ 14-20 วัน วัชพืชจึงจะตาย
- ไม่กำจัดวัชพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยราก

เมโตลาคลอร์(metolachlor)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช acetanilide ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,780 มก./กก. ทางผิวหนัง 3,100 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบหรือหญ้าล้มลุกและวัชพืชใบกว้างบางชนิด
พืชที่ใช้ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฝ้าย กะหล่ำปลี หอม กระเทียม ข้าวฟ่าง ทานตะวัน มะเขือเทศ ปอ มันฝรั่งและพืชที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม 40% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ได้ทั้งก่อนปลูกและก่อนงอก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เป็นพิษกับปลา

เมทริบูซิน(metribuzin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก และภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,200 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 20,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กกต่าง ๆ หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู หญ้าปากควาย หญ้ารังนก ผักปราบ ผักเบี้ยหิน ผักโขมหนาม โคกกระสุน หญ้าและวัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง มะเขือเทศ อ้อย กาแฟ ชา ข้าวโพด แอสพารากัส ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ มันฝรั่ง และสัปปะรด
สูตรผสม 70% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 80-120 กรัม ผสมกับน้ำ 40-60 ลิตร/ไร่ ฉีดพ่นหน้าดินทันทีที่ปลูกพืชเสร็จ ในขณะฉีดพ่นดินควรมีความชื้นและวัชพืชยังไม่ทันงอก ก่อนใช้ควรศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติม
อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษจะมีอาการหายใจขัด เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเกร็งในช่องท้อง
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้ากินเข้าไป ให้ล้างท้องคนไข้ แล้วรักษาตามอาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ - อย่าใช้กับดินทรายหรือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 2%
- พืชที่อ่อนแอต่อสารนี้ คือ พืชตระกูลกะหล่ำปลี แตงกวา สตรอเบอร์รี่ ทานตะวันและยาสูบ
- อย่าปลูกพืชอื่นนอกจากพืชแนะนำในพื้นที่ ๆ ฉีดพ่นสารนี้แล้วอย่างน้อยเป็นเวลา 4 เดือน
- ดินที่มีอินทรียวัตถุสูง ให้ใช้อัตราเพิ่มขึ้น
- ควบคุมวัชพืชได้นาน 3-4 เดือน
- อาจใช้ผสมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นได้

เม็ทซัลฟูรอน - เม็ทธิล
(metsulfuron-methyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช urea , triazine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ด้วยการเข้าไปยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ และการเจริญเติบโตของวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู)มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ สาบเสือ มังเคร่ ผกากรอง ไม้พุ่มและวัชพืชใบกว้างยืนต้นอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ตและกำจัดวัชพืชตามบริเวณพื้นที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก ริมทางรถไฟ ถนนหลวง ริมคลองชลประทาน สนามบิน ในป่าและพื้นที่อุตสาหกรรม
สูตรผสม 20% ดีเอฟ และ 60% ดีเอฟ
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
อาการเกิดพิษ อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองเมื่อเข้าตา จมูก คอหรือเมื่อถูกผิวหนัง
การแก้พิษ ถ้าเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ หลายครั้ง ถ้ากินเข้าไปให้คนไข้ดื่มน้ำแล้วทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ แล้วนำส่งแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ

โมลิเนท
(molinate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช thiocarbamate : azipine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางดูดซึมโดยผ่านทางรากได้อย่างรวดเร็ว
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 720 มก./กก. (หนู) ทางผิวหนัง (กระต่าย) 3,536 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ข้าว
สูตรผสม 10% จี


เอ็มเอสเอ็มเอ
(MSMA)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organoarsenic ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและดูดซึมเข้าไปในต้นพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 700 มก./กก. ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคืองเล็กน้อย
วัชพืช ที่กำจัดได้ หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าขน หญ้ามาเลย์เซีย หญ้าปล้อง หญ้าตีนติด หญ้ารังนก หญ้าดอกขาว หญ้าใบใหญ่ สาบเสือ สาบแร้งสาบกา หญ้ายาง ไมยราบ สะอึก วัชพืชใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ยางพารา ปาล์ม สวนผลไม้ยืนต้น
สูตรผสม 66% แอล
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 600-800 ซีซี ผสมกับน้ำ ฉีดพ่นให้ได้พื้นที่ 1 ไร่
อาการเกิดพิษ ถ้ากลืนกินเข้าไปจะแสบร้อนลำคอ ลมหายใจจะมีกลิ่นคล้ายกระเทียม ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสียและมึนงง
การ แก้พิษ ถ้ากลืนกินเข้าไป ให้รีบล้างท้องด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ แล้วให้กินถ่านยาพวกซาลีนคาธาลิค เช่น โซเดียม ซัลเฟท ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ


นาโปรพาไมด์
(napropamide)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช anilide ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม ยับยั้งการงอกของราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. (10% จี)
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและวัชพืชใบแคบพวกกก
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในสวนองุ่น แปลงกล้ายาสูบ พริกไทย มะเขือเทศ มะเขือ แอสพารากัสและส้ม
สูตรผสม 10% จี และ 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา


แนพทาแลม
(naptalam)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช phthalic-acid ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก โดยยับยั้งการงอกของเมล็ดวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,770 มก./กก. ทำให้ดวงตาระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง องุ่น แคนตาลูป แตงกวาและแตงโม
สูตรผสม 23% อีซี , 50% ดับบลิวพี และ 10% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามอัตราและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ - ไม่กำจัดวัชพืชที่งอกแล้ว
- มะเขือเทศและผักกาดหอม อ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืชนี้มาก
- ห้ามใช้กับถั่วเหลืองที่งอกแล้ว
- มีประสิทธิภาพอยู่ได้นาน 3-8 สัปดาห์ และจะสลายตัวหมดภายใน 6-8 สัปดาห์
- อาจผสมใช้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นได้


ไนตราลิน
(nitralin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช nitro compound ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู)มากกว่า 2,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบพวกหญ้าล้มลุกและวัชพืชใบกว้าง
พืชที่ใช้ ฝ้าย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแขก ถั่วลิสง และยาสูบ
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ ปัจจุบัน ไม่มีจำหน่ายในประเทศ


ไนโตรเฟน(nitrofen)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช diphenyl ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอกในธัญพืช
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) ประมาณ 3,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก. อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ธัญพืช ข้าว ผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ
สูตรผสม 8% จี และ 25% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - พืชที่อ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืชนี้ คือ ผักกาดหอม มะเขือเทศ ผักโขม มะเขือ และพริกไทย
- เป็นพิษต่อปลา

อ๊อกซาไดอะโซน
(oxadiazon)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช oxadiazon ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ดูดซึมเข้าไปในลำต้นได้โดยส่วนต่าง ๆ ของพืชที่อยู่เหนือพื้นดิน ออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อมีแสงแดด
ความ เป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 8,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 8,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
วัชพืช ที่กำจัดได้ ผักแว่น ผักปอดนา แพงพวยน้ำ ขาเขียด หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนติด หญ้าตีนกา หญ้าโขย่ง กกขนาก กกทราย วัชพืชใบแคบและวัชพืชใบกว้างล้มลุกอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ฝ้าย ข้าว ถั่วเหลือง กะหล่ำปลี กระเทียม หอมและมะเขือเทศ
สูตรผสม 25% อีซี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ สำหรับกำจัดวัชพืชในนาข้าว ใช้อัตรา 320-640 ซีซี ผสมกับน้ำ 20-60 ลิตร/ไร่ ฉีดพ่นลงในนาข้าวให้ทั่วแปลง สำหรับพืชอื่น ๆ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
อาการเกิดพิษ ถ้าเข้าตา จมูกหรือผิวหนัง จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ถ้าเข้าปากอาจจะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
การแก้พิษ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ 1% ถ้า เกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปและผู้ป่วยมีสติดีอยู่ ห้ามทำให้อาเจียน ใช้น้ำล้างปากมาก ๆ แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์ เพื่อทำการล้างท้อง แล้วรักษาตามอาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ - กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าใบแคบ
- มีความคงตัวในดินปานกลาง จึงสามารถควบคุมวัชพืชได้ตลอดฤดูปลูก
- ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส เมื่อใช้กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก

อ๊อกซี่ฟลูออร์เฟน
(oxyfluorfen)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช diphenyl ether : trifluoromethyl ประเภท เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อถูกแสงแดด ดูดซึมผ่านทางใบหรือทางหน่อได้มากกว่าทางราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 10,000 มก./กก.
วัชพืช ที่กำจัดได้ หญ้าตีนติด หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้าปากควาย หญ้าไม้กวาด หญ้าเขมร ไมยราบ วัชพืชใบแคบและใบกว้างล้มลุกอื่น ๆ
พืช ที่ใช้ หอม หอมใหญ่ กระเทียม พืชตระกูลถั่ว ข้าวไร่ พืชตระกูลกะหล่ำ พริก ยาสูบ มะเขือเทศ ขิง มันสำปะหลังและอ้อย
สูตรผสม 23.5% อีซี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ โดยทั่วไปใช้อัตรา 40-80 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นคลุมดินที่เตรียมไว้เพื่อปลูก ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษจะมีอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง ตา ทางเดินหายใจ คลื่นไส้ วิงเวียน และอาเจียน
การ แก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปากห้ามทำให้คนไข้อาเจียน ควรนำคนไข้ส่งแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าใบแคบ
- เมื่อวัชพืชสัมผัสถูกกับสารกำจัดวัชพืชนี้ในระหว่างการงอกจะถูกฆ่าตาย

โอรีซาลิน
(oryzalin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช dinitroanilide ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 10,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบและใบกว้างประเภทล้มลุก
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ฝ้าย มันฝรั่งและพื้นที่ ๆ ไม่ได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม 70% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- อย่าใช้กับดินที่มีอินทรียวัตถุสูงกว่า 5%
- ให้ใช้เพียงหนึ่งครั้งต่อหนึ่งฤดูปลูก
- อย่าปลูกพืชหัวในพื้นที่ที่ใช้สารนี้ภายในระยะเวลา 12 เดือน หลังจากใช้

พาราคว๊อท
(paraquat)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช bipyridium ประเภทไม่เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส มีคุณสมบัติเป็นตัวดูดน้ำและหมดฤทธิ์อย่างรวดเร็วเมื่อถูกกับดิน
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 150 มก./กก. ทางผิวหนัง 236 มก./กก. จะตายเมื่อกลืนกินเข้าไป
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชทุกชนิด โดยเฉพาะจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดส่วนที่มีสีเขียวของพืช
พืช ที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชตามไร่มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด สวนผลไม้ กล้วย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ตามคันนา บริเวณโรงงาน ริมทางรถไฟและคันคูคลอง
สูตรผสม 27.6% แอล
อัตรา ใช้และวิธีใช้ โดยทั่วไปใช้อัตรา 60-80 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบและต้นวัชพืชโดยตรงควรใช้ในขณะที่มีแสงแดดซึ่งจะช่วยให้ได้ผลดี ยิ่งขึ้น
อาการ เกิดพิษ พิษจากการสูดดมจะมีอาการแน่นหน้าอกและในช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย วิงเวียน หายใจขัด ปอดบวมและอาจตายเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว ถ้าเข้าตาหรือถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอักเสบ ถ้าวัตถุมีพิษเข้มข้นมาก ๆ อาจทำให้เล็บหลุด ถ้าเข้าตา แก้วตาจะหลุดออกมาทำให้เกิดอาการรุนแรงตามมา ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป ภายในปากจะระคายเคืองตลอดถึงลำคอ ทางเดินอาหารอักเสบและแสบร้อนคลื่นไส้ อาเจียน ท้องปั่นป่วน ไม่สบายและท้องเสีย เหงื่อออกมาก ประสาทส่วนกลางได้รับผลกระทบกระเทือน มีอาการกระสับกระส่าย ระบบหายใจล้มเหลว เซลตับและไตถูกทำลายและตายในที่สุด
การ แก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป ควรรีบทำให้อาเจียนทันทีด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วนำส่งแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - จะหมดฤทธิ์ทันทีเมื่อถูกกับดิน ไม่มีฤทธิ์ตกค้าง
- มีพิษต่อปลาน้อย

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #331 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 11:24:44 »

ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติ ชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการนำเอาเศษซากพืช เช่น ฟางข้า ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่าง ๆ หญ้าแห้ง ผักตบชวา ของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมาหมักร่วมกับมูลสัตว์ ปุ๋ยเคมีหรือสารเร่งจุลินทรีย์เมื่อหมักโดยใช้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว เศษพืชจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลปนดำนำไปใส่ในไร่นาหรือพืชสวน เช่น ไม้ผล พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ประดับได้

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์

2. ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินทรายให้เป็นดินร่วนทำให้สะดวกในการไถพรวน

3. ช่วยสงวนรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีขึ้น

4. ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี

5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้

6. ช่วยกระตุ้นให้ธาตุอาหารพืชบางอย่างในดินที่ละลายน้ำยากให้ละลายน้ำง่ายเป็นอาหารแก่พืชได้ดีขึ้น

7. ไม่เป็นอันตรายต่อดินแม้จะใช้ในปริมาณมาก ๆ ติดต่อกันนาน ๆ

8. ช่วยปรับสภาพแวดล้อม เช่น กำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชน้ำทั้งหลายให้หมดไป

วิธีการทำปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมักโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ปุ๋ยหมักในไร่นา ปุ๋ยหมักเทศบาลและปุ๋ยหมักอุตสาหกรรม ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะปุ๋ยหมักในไร่นา

สำหรับปุ๋ยหมักในไร่นานี้มีแบบวิธีการทำ 5 แบบ ซึ่งสามารถเลือกทำแบบใดแบบหนึ่งก็ได้ หรืออาจจะทำหลาย ๆ แบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ทำ

 แบบที่ 1 ปุ๋ยหมักค้างปี ใช้เศษพืชเพียงอย่างเดียวนำมาหมักทิ้งไว้ค้างปีก็สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักได้ แบบนี้ไม่ต้องดูแลรักษา จึงต้องใช้ระยะเวลาในการหมักนาน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลา
 
 แบบที่ 2 ปุ๋ยหมักธรรมดาใช้มูลสัตว์ แบบนี้ใช้เศษพืชและมูลสัตว์ในอัตรา 100:10 ถ้าเป็นเศษพืช ชิ้นส่วนเล็กนำมาคลุกผสมได้เลย แต่ถ้าเป็นเศษพืชชิ้นส่วนใหญ่นำมากองเป็นชั้น ๆ (แต่ละกองจะทำประมาณ 3 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่ย่ำและรดน้ำ สูงประมาณ 30-40 ซม. แล้วโรยทับด้วยมูลสัตว์) แบบนี้จะใช้ระยะเวลาหมักน้อยกว่าแบบที่ 1 เช่น ถ้าใช้ฟางข้าวจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 เดือน ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา

 แบบที่ 3 ปุ๋ยหมักธรรมดาใช้ปุ๋ยเคมี แบบนี้ใช้เศษพืช มูลสัตว์ และปุ๋ยเคมีในอัตรา 100:10:1
ถ้าเป็นชิ้นส่วนเล็กนำมาคลุกผสมได้เลย ถ้าเป็นชิ้นส่วนใหญ่นำมากองเป็นชั้นเหมือนแบบที่ 2 เพียงแต่ในแต่ละชั้นจะเพิ่มปุ๋ยเคมีขึ้นมา โดยโรยทับมูลสัตว์ แบบนี้ใช้ระยะเวลาในการหมักเร็วกว่าแบบที่ 2 กล่าวคือถ้าเป็นฟางข้าวจะใช้เวลาประมาณ4-6 เดือน

 แบบที่ 4 ปุ๋ยหมักแผนใหม่ การทำปุ๋ยหมักแบบที่ 1-3 นั้นใช้เวลาค่อนข้างมากต่อมากรมพัฒนาที่ดิน ได้ศึกษาค้นคว้าพบว่าการทำปุ๋ยหมักโดยใช้เวลาสั้นทำได้โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายของเศษพืช ทำให้ได้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้น นำไปใช้ได้ทันฤดูกาลสามารถใช้ระยะเวลาหมักเพียง 30-60 วัน ใช้สูตรดังนี้
เศษพืช           1,000       กก.
มูลสัตว์           100-200    กก.
ปุ๋ยเคมี                  1-2    กก.
เชื้อจุลินทรีย์ตัวเร่ง       1   ชุด
 
(เชื้อจุลินทรีย์ตัวเร่งในปี 2526-2527 ใช้เชื้อ บี 2 ชุดหนึ่ง ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์บี 2 จำนวน 2300 กรัม และอาหารเสริม 1 กก.) ถ้าเป็นเศษพืชชิ้นส่วนเล็กก็นำเศษพืช มูลสัตว์ และปุ๋ยเคมีมาคลุกผสมเข้ากัน แล้วเจาะหลุมหยอดเชื้อจุลินทรีย์ตัวเร่งซึ่งเตรียมไว้ก่อนโดยนำมาผสมน้ำ ใช้น้ำประมาณ 40 ลิตร กวนให้เข้ากันอย่างดี แต่ถ้าเป็นเศษพืชชิ้นส่วนใหญ่ก็นำมากองเป็นชั้นเหมือนแบบที่ 3 แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่ย่ำและรดน้ำ สูง30-40 ซม.มูลสัตว์โรยทับเศษพืช ปุ๋ยเคมีโรยทับมูลสัตว์ แล้วราดเชื้อจุลินทรีย์ตัวเร่ง

 แบบที่ 5 ปุ๋ยหมักต่อเชื้อ ในการทำปุ๋ยหมักแบบที่ 4 นั้น จำเป็นต้องซื้อสารตัวเร่งเชื้อจุลินทรีย์ 1 ชุด ทุกครั้งที่ทำปุ๋ยหมัก 1 ตัน ทำให้มีแนวความคิดว่าหากสามารถนำ มาต่อเชื้อได้ก็จะเป็นการประหยัดและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้ทำปุ๋ยหมักทั่วไป กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ทำการทดลองและพบว่า สามารถต่อเชื้อได้ โดยใช้ปุ๋ยหมักที่ทำในแบบที่ 4 กล่าวคือ หลังจากได้ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วในแบบที่ 4 ให้เก็บไว้ 50-100 กก. การเก็บต้องเก็บไว้ในโรงเรือนที่ไม่ถูกแดดและฝน ปุ๋ยหมักที่เก็บไว้ 50-100 กก. สามารถนำไปต่อเชื้อทำปุ๋ยหมักได้อีก 1 ตัน การต่อเชื้อนี้สามารถทำการต่อได้เพียง 3 ครั้ง

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก

หลังจากกองปุ๋ยหมักเสร็จแล้วจะต้องหมั่นตรวจดูแลกองปุ๋ยหมักอยู่เสมอโดยปฏิบัติดังนี้

 1. จะต้องป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปทำลาย หรือคุ้ยเขี่ยกองปุ๋ยหมัก ถ้ากองแบบในคอกก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ากองบนพื้นดินหรือในหลุมควรหาทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้วางทับกองปุ๋ยหมักไว้กันสัตว์คุ้ยเขี่ย

 2. ทำการให้น้ำกองปุ๋ยหมักให้มีความชื้นพอเหมาะอยู่เสมอ คือ ไม่ให้แห้งหรือแฉะเกินไป
มีวิธีการตรวจอย่างง่ายๆ คือ เอามือสอดเข้าไปในกองปุ๋ยหมักให้ลึกๆ แล้วหยิบเอาชิ้นส่วนภายในกองปุ๋ยหมักมาบีบดู ถ้าปรากฏว่ามีน้ำติดฝ่ามือแสดงว่าความชื้นพอเหมาะไม่ต้องให้น้ำ ถ้าไม่มีน้ำติดฝ่ามือแสดงว่ากองปุ๋ยหมักแห้งเกินไปต้องให้น้ำในระยะนี้ ถ้าบีบดูมีน้ำทะลักออกมาตามง่ามนิ้วมือ แสดงว่าแฉะเกินไปไม่ต้องให้น้ำ

 3. การกลับกองปุ๋ย นับเป็นหัวใจสำคัญในการทำปุ๋ยหมักจะละเลยมิได้ เพราะเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ก็ย่อมต้องการอากาศหายใจเหมือนมนุษย์ ดังนั้นการกลับกองปุ๋ยหมักนอกจากจะช่วยให้ออกซิเจนแก่จุลินทรีย์แล้ว ยังเป็นการระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ยอีกด้วย ยิ่งขยันกลับกองปุ๋ยหมักมากเท่าไรก็จะทำให้ได้ปุ๋ยหมักใช้เร็วมากขึ้นเท่านั้น เพราะทำให้เศษพืชย่อยสลายทั่วทั้งกอง และได้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดีอีกด้วย ตามปกติควรกลับกองปุ๋ยหมักอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

หลักในการพิจารณาว่ากองปุ๋ยหมักนั้นใช้ได้หรือยัง

เมื่อกองปุ๋ยหมักเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีทั้งที่มองเห็นได้และที่มองเห็นไม่ได้ ที่มองเห็นได้ก็คือ ชิ้นส่วนของพืชจะมีขนาดเล็กลงและยุบตัวลงกว่าเมื่อเริ่มกอง สีของเศษพืชก็จะเปลี่ยนไป ส่วนที่มองเห็นไม่ได้ก็คือปริมาณของจุลินทรีย์ ทีนี้จะสังเกตว่าปุ๋ยหมักสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่มีข้อสังเกตง่ายๆ ดังนี้

 1. สีของกองปุ๋ยหมักจะเข้มขึ้นกว่าเมื่อเริ่มกอง อาจมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ
 2. อุณหภูมิภายในของปุ๋ยหมักและอุณหภูมิภายนอกใกล้เคียงกันหรือแตกต่างกันน้อยมาก
 3. ใช้นิ้วมือบี้ตัวอย่างปุ๋ยหมักดูเศษพืชจะยุ่ยและขาดออกจากกันได้ง่าย ไม่แข็งกระด้าง
 4. พบต้นพืชที่มีระบบรากลึกขึ้นบนกองปุ๋ยหมัก แสดงว่าปุ๋ยหมักสลายตัวดีแล้ว
 5. สังเกตกลิ่นของปุ๋ยหมัก ถ้าเป็นปุ๋ยหมักที่ใช้ได้ ปุ๋ยหมักจะมีกลิ่นคล้ายกลิ่นธรรมชาติ
ถ้ามีกลิ่นฉุนหรือมีกลิ่นฟางแสดงว่าปุ๋ยหมักยังใช้ไม่ได้ เนื่องจากขบวนการย่อยสลายยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ
 6. วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการดูธาตุคาร์บอน และไนโตรเจน ถ้ามีอัตราส่วนเท่ากันหรือต่ำกว่า 20 : 1 ก็พิจารณาเป็นปุ๋ยหมักได้แล้ว

ข้อควรคำนึงในการกองปุ๋ยหมัก

 1. อย่ากองปุ๋ยหมักให้มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้เกิดความร้อนระอุเกิน 70 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นผลทำให้เชื้อจุลินทรีย์ตายได้ ขนาดกองปุ๋ยหมักที่เหมาะสมคือ ความกว้างไม่ควรเกิน 2-3 เมตร ความยาวไม่จำกัด สูงประมาณ 1-1.50 เมตร
 2. ถ้ากองปุ๋ยหมักมีขนาดเล็กเกินไป จะทำให้เก็บรักษาความร้อนและความชื้นไว้ได้น้อย
ทำให้เศษพืชสลายตัวเป็นปุ๋ยหมักได้ช้า
 3. อย่ารดน้ำโชกจนเกินไป จะทำให้การระบายอากาศในกองปุ๋ยไม่ดีอาจทำให้เกิดกรดอินทรีย์บางอย่าง เป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็นอับได้ง่าย
 4. ถ้าเกิดความร้อนในกองปุ๋ยหมักมาก ต้องเพิ่มน้ำให้กองปุ๋ย มิฉะนั้นจุลินทรีย์ที่ย่อยซากพืชจะตายได้
 5. ถ้าจะมีการใช้ปูนขาว อย่าใช้ปุ๋ยเคมีพร้อมกับการใส่ปูนขาวเพราะจะทำให้ธาตุไนโตรเจนสลายตัวไป กรณีใช้ฟางข้าวในการกองปุ๋ยหมักไม่จำเป็นต้องใช้ปูนขาว
 6. เศษวัสดุที่ใช้ในการกองปุ๋ยหมักมีทั้งประเภทที่สลายตัวเร็ว เช่น ฟางข้าว ผักตบชวา เปลือกถั่ว และต้นถั่วเศษวัชพืชต่าง ๆ และประเภทที่สลายตัวยาก เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ขี้ลีบข้าว กากอ้อย ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด ดังนั้นในการกองปุ๋ยหมักไม่ควรเอาเศษวัสดุที่สลายตัวเร็วและสลายตัวยากกองปนกัน เพราะจะทำให้ได้ปุ๋ยหมักที่ไม่สม่ำเสมอกันเนื่องจากเศษพืชบางส่วนยังสลายตัวไม่หมด

คุณค่าทางอาหารพืชของปุ๋ยหมัก

แสดงคุณค่าทางอาหารพืชที่ได้จากปุ๋ยหมักบางชนิด

ชนิดของปุ๋ยหมัก                                 % ธาตุอาหารของพืช
 
                                               N             P2O5              K2O
ปุ๋ยหมักจากขยะเทศบาล               1.52          0.22                 0.18
ปุ๋ยหมักจากหญ้าแห้ง                   1.23          1.26                 0.76
หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลกระบือ     0.82         1.43                 0.59
หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลโค          2.33         1.78                 0.46
หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลแพะ        1.11         4.04                 0.48
หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลม้า          0.82         2.83                 0.33
ปุ๋ยหมักจากใบจามจุรี                    1.45         0.19                 0.49
ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว                      0.85         0.11                 0.76
ปุ๋ยหมักฟางข้าว+มูลไก่                 1.07         0.46                  0.94
ปุ๋ยหมักฟางข้าว+มูลโค                 1.51         0.26                  0.98
ปุ๋ยหมักฟางข้าว+มูลเป็ด               0.91          1.30                  0.79
ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา                   1.43         0.48                  0.47
ปุ๋ยหมักผักตบชวา+มูลสุกร             1.85         4.81                  0.79
ปุ๋ยอินทรีย์(เทศบาล)ชนิดอ่อน         0.95         3.19                  0.91
ปุ๋ยอินทรีย์(เทศบาล)ชนิดปานกลาง  1.34         2.44                  1.12
ปุ๋ยอินทรีย์(เทศบาล)ชนิดแรง          1.48         2.96                  1.15

การใช้ประโยชน์กับพืชต่าง ๆ


วิธีการใช้ปุ๋ยหมักมีวิธีการดังนี้ (พิทยากร และคณะ, 2531: 8-11) ได้รายงานว่า สำหรับวิธีการใส่ปุ๋ยหมักสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วิธี ตามชนิดของพืชที่ปลูกโดยมีจุดประสงค์เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ และเพื่อให้ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักเป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุดและเกิดการสูญเสียน้อย เนื่องจากปุ๋ยหมักที่ใช้มีปริมาณมากยากต่อการขนส่งและเคลื่อนย้าย วิธีการใส่ปุ๋ยหมักมีดังนี้คือ

 1. ใส่แบบหว่านทั่วแปลง การใส่ปุ๋ยหมักแบบนี้เป็นวิธีการที่ดีต่อการปรับปรุงบำรุงดินเนื่องจากปุ๋ยหมัก จะกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงปลูกพืชที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ส่วนมากจะใช้กับการปลูกข้าวหรือพืชไร่ หรือพืชผัก แต่อาจมีปัญหาในด้านจะต้องใช้แรงงานในการใส่ปุ๋ยหมัก อัตราของปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ต่อปี โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำอาจจะใช้สูตร16-16-8 ในอัตรา 15-30 กก. ต่อไร่
 2. ใส่แบบเป็นแถว การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวตามแนวปลูกพืชมักใช้กับการ ปลูกพืชไร่
วิธีการใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวนี้เหมาะสมที่จะใช้ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีแบบโรยเป็นแถวสำหรับการปลูกพืชไร่ทั่วไป เนื่องจากปุ๋ยหมักจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีที่ใส่ให้เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช อัตราปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 3 ตัน ต่อไร่ต่อปี โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0, 18-22-0 ในอัตรา 25-50 กก. ต่อไร่ สำหรับในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ สูตรปุ๋ยอาจต้องใส่โพแทสเซียมเพิ่มขึ้นด้วย
 3.ใส่แบบเป็นหลุม การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นหลุมมักจะใช้กับการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น โดยสามารถ ใส่ปุ๋ยหมักได้สองระยะคือ ในช่วงแรกของการเตรียมหลุมเพื่อปลูกพืช นำดินด้านบนของหลุมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักแล้วใส่รองก้นหลุม หรืออาจจะใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย อีกระยะหนึ่งอาจจะใส่ปุ๋ยหมักในช่วงที่พืชเจริญแล้ว โดยการขุดเป็นร่องรอบ ๆ ต้นตามแนวทรงพุ่มของต้นพืช แล้วใส่ปุ๋ยหมักลงในร่องแล้วกลบด้วยดิน หรืออาจจะใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยหมักในช่วงนี้ได้เช่นกัน อัตราการใช้ปุ๋ยหมักประมาณ 20-50 กก. ต่อหลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15, 14-14-14, 12-12-7 ในอัตรา 100-200 กรัม ต่อหลุมในกรณีที่ใส่ปุ๋ยหมักกับไม้ผลที่เจริญแล้ว อัตราการใช้อาจจะเพิ่มขึ้นตามส่วน และมักจะใส่ปุ๋ยหมักปีเว้นปี

มาตรฐานของปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดี ได้มาตรฐานให้พิจารณาดังนี้

 1. มีเกรดปุ๋ยไม่ต่ำกว่า 1:1:0.5 (ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม)
 2. มีความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ไม่มากกว่าร้อยละ 35 - 40 โดยน้ำหนัก
 3. ความชื้นเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0 - 7.5
 4. ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วจะต้องไม่มีความร้อนหลงเหลืออยู่
 5. ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วไม่ควรมีวัสดุเจือปนอื่น ๆ
 6. จะต้องมีปริมาณอินทรีย์วัตถุอยู่ระหว่าง 25 - 50 %
 7. จะต้องมีอัตราส่วนระหว่างธาตุคาร์บอนต่อไนโตรเจนไม่มากกว่า 20 ต่อ 1
 




* 061552-0453-41.jpg (52.27 KB, 715x405 - ดู 2073 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #332 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 11:38:19 »

ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ปุ๋ยหมักชีวภาพ  คือ  ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่ง  ที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดิน สามารถผลิตได้ง่ายใช้เวลาน้อย  โดยการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ผสมคลุกเคล้าหมักรวมกับมูลสัตว์ แกลบดำ      รำละเอียดคลุมด้วยกระสอบป่าน ใช้เวลาประมาณ 3 วัน สามารถนำไปใช้ได้
วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
1.   มูลสัตว์แห้งละเอียด       1 ส่วน
2.   แกลบดำ          1 ส่วน
3.   รำละเอียด          1 ส่วน
4.   น้ำสกัดชีวภาพ
5.   กากน้ำตาล
6.   วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น แกลบ กากอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง ถั่วเขียว ขุยมะพร้าว ฯลฯ     อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ส่วน
วิธีทำ
1.   ผสมวัสดุเข้าด้วยกัน
2.   รดน้ำผสมน้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาล (ใช้น้ำตาลทรายแดงแทนได้)
   อัตราส่วน น้ำ    10    ลิตร
   น้ำสกัดชีวภาพ    2    ช้อนแกง
   กากน้ำตาล    2    ช้อนแกง
3.   เคล้าจนปุ๋ยขึ้นปั้นเป็นก้อนได้เมื่อแบมือ
4.   กองปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์มีความหนาประมาณ 1 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 3 วัน และควรกลับ
5.   กองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อนทิ้งไว้อีก  2 – 4 วัน จึงนำไปใช้ได้ (ลักษณะปุ๋ยที่ดีจะมีราขาว และมี
6.    กลิ่นของราหรือเห็ด ไม่ร้อน มีน้ำหนักเบา)
วิธีใช้
1.  ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพผสมดินแปลงปลูกผักทุกชนิด อัตราปุ๋ย 1 กก. ต่อ พื้นที่ 1 ตร.ม. ถ้าพืชผักอายุเกิน  2 เดือน ใช้ปุ๋ยรองก้นหลุม ประมาณ  1 กำมือ (ไม้กระถางใส่ 1 กำมือทุก 7 วัน
2.   ไม้ผล รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักชีวภาพผสมเศษหญ้าหรือใบไม้ 1 – 2 บุ้งกี๋
ประโยชน์
1.   เพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน รักษาความชุ่มชื้นและช่วยถ่ายเทอากาศได้ดี
2.    เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้กับดิน และไม่เป็นอันตรายต่อดินในการใช้ไปนานๆ
3.   ปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ผลิตง่าย ลงทุนต่ำ ใช้เวลาน้อย
การเก็บรักษา
ใส่กระสอบเก็บในที่ร่มและแห้ง ได้นาน 1 ปี

การผลิตน้ำสกัดชีวภาพสมุนไพรไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา
สูตรที่ 1 การทำสารสกัดไล่แมลง และป้องกันเชื้อรา
ส่วนผสม
1.   ใบสะเดาแก่หรือเมล็ดสะเดาบด
2.     ใบน้อยหน่า
3.     ใบฝรั่ง
4.    ใบกระเพรา
5.     หัวข่าแก่
6.     หัวตะไคร้หอม
7.     เปลือกต้นแค
8.     เปลือกลูกมังคุด
9.     กากน้ำตาล
วิธีทำ
   นำส่วนผสมที่ 1 – 8 จำนวนพอสมควรเท่าๆ กัน สับหรือหั่นรวมกันในอัตรา 3 ส่วน (3 กิโลกรัม) ผสมคลุกเคล้ากับกากน้ำตาล 1 ส่วน (1 กิโลกรัม) ใส่ถังพลาสติกหมักไว้ 7 – 10 วัน กรองเอาน้ำหมักไปใช้ในอัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นต้นพืชในช่วงเย็นหรือเช้าที่ยังไม่มีแสงแดด ทุก 7 – 10 วัน / ครั้ง เพื่อไล่แมลงและป้องกันกำจัดเชื้อรา
สูตรที่ 2 น้ำหมักสมุนไพรกำจัดแมลง
ส่วนผสม
1.   ใบสะเดาแก่หรือเมล็ด 2 กิโลกรัม
2.      หัวข่าแก่ 2 กิโลกรัม
3.   ตะไคร้หอมทั้งต้น 2 กิโลกรัม
4.      หางไหลหรือต้นบอระเพ็ด 2 กิโลกรัม
5.   น้ำสะอาด 1 ปี๊บ (20 ลิตร)


วิธีทำ
   หั่นสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด เป็นชิ้นเล็กๆ รวมกันตำหรือบดให้ละเอียดแช่น้ำ 1 ปี๊บ กรองเอาน้ำยาเข้มข้นสูง 1 ลิตร ผสมน้ำ 1 – 2 ปิ๊บ นำไปฉีดต้นไม้   ป้องกันกำจัดเพลี้ย หนอน แมลงต่างๆ ควรฉีดห่างกัน 3 – 5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป

น้ำสกัดชีวภาพ หรือ บี.อี. (BIOEXTRACT : B.E.)
    บี.อี. คือ ของเหลวสีน้ำตาลไหม้ที่ได้จากการนำส่วนต่างๆ ของพืชและสัตว์มาหมักกับกากน้ำตาล (MOLASSES) ประมาณ 7 วัน จะได้ของเหลวที่มีทั้งจุลินทรีย์และสารอินทรีย์หลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการเกษตร คือ
1.   จุลินทรีย์ทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นปุ๋ย
2.   ส่วนสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในของเหลวจะเป็นปุ๋ยโดยตรง
3.   ขบวนการผลิตจะได้สารฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช
สูตรการทำน้ำสกัดชีวภาพ (บี.อี)
สูตร 1 ทำจากผัก และ / หรือ ผลไม้
ส่วนผสม
1.   ผัก และ / หรือ ผลไม้ 3 ส่วน
2.   กากน้ำตาล 1 ส่วน
3.   เปลือกสับปะรด
4.   น้ำมะพร้าว
สูตร 2 ทำจากเศษปลา และ / หรือ หอยเชอรี่
ส่วนผสม
1.   เศษปลา และ / หรือ หอยเชอรี่ 1 ส่วน
2.   กากน้ำตาล 1 ส่วน
3.   เปลือกสับปะรด
4.   น้ำมะพร้าว   
วิธีทำ
นำส่วนผสมมาคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำไปบรรจุในถังหมัก   ปิดฝาทิ้งไว้และคนให้เข้ากัน     ถ้ามีการแบ่งชั้น  ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้เติมกากน้ำตาลลงไป คนให้เข้ากัน จนหายกลิ่นเหม็น แล้วหมักต่อไปจนกว่าจะไม่เกิดก๊าซให้เห็นบนผิวหน้าของปุ๋ยหมัก   แต่จะเห็นความระยิบระยับอยู่ที่ผิวหน้าน้ำหมักดังกล่าว   บางครั้งอาจจะพบว่ามีตัวหนอนลอยผิวหน้าหรือบริเวณข้างถัง  ควรรอให้ตัวหนอนใหญ่เต็มที่และตายไป  ถือว่าหมักสิ้นขบวนการการกลายเป็นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สามารถนำไปใช้ได้หรือนำไปพัฒนาผสมกับปุ๋ยน้ำอื่นๆ ใช้ประโยชน์ต่อไป
อัตราการใช้น้ำสกัดชีวภาพ
1.  พืชมีอายุน้อยหรือระยะการเจริญเติบโตแรกๆ ใช้ 10 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร   ฉีดพ่น   สามารถใช้ได้ 7 –  10  วัน / ครั้ง
             2. พืชที่มีอายุมาก ใช้ 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
การใช้สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช
1.   สะเดา หนอนกระทู้ผัก , หนอนใยผัก และหนอนอื่นๆ
2.      ขมิ้นชัน หนอนกระทู้ผัก , หนอนใยผัก และหนอนอื่นๆ
3.   หนอนตายหยาก หนอนหลอดหอม , และหนอนอื่นๆ
4.   โล่ติ๊น ตั๊กแตนปาทังกา และแมลงกินใบ
5.   สาบเสือ หนอนกระทู้ผัก , เพลี้ยอ่อน
6.   ตะไคร้หอม มีฤทธิ์ในการไล่แมลง
7.   ข่าเหลือง มีฤทธิ์ในการไล่แมลง
8.   ยาสูบ เป็นสารฆ่าแมลง ขับไล่แมลงและฆ่าไร
9.   ดอกดาวเรือง  หนอนใยผัก  ไส้เดือนฝอย  เพลี้ยต่างๆ  แมลงหวี่ขาว  ดวงปีกแข็ง  ตั๊กแตน   
   แมลงวันผลไม้
10. กระเทียม ด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อน ไส้เดือนฝอย แมลงหวี่ขาว
11.   ไพล ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา สาเหตุโรคข้าวบาร์เลย์
12.   มะรุม ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
13.   ละหุ่ง แมงกะชอน หนู ปลวก ไส้เดือนฝอย
14.   มะเขือเทศ ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก ไส้เดือนฝอย
15.   มะม่วงหิมพานต์ เปลือก เมล็ด ยุง ด้วงงวงข้าว มอดเจาะไม้
16.   หญ้าแห้วหมู หัว ไล่แมลง
17.   สบู่ดำ ผล แมลงวัน
วัสดุอุปกรณ์
   1. เนื้อหอยเชอรี่ หรือหอยเชอรี่พร้อมเปลือก
   2.ไข่หอยเชอรี่
 3.พืชสดอ่อน / แก่
4. น้ำตาลโมลาส (กากน้ำตาล)
5. ถังหมักที่มีฝาปิด
6. หัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ
7. แกลลอน/ถังบรรจุผลิตผลปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่
8. กรวยกรองปุ๋ยน้ำหมัก

วิธีการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ
1. เก็บหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติจากเปลือกสับปะรด จากแปลงปลูกสับปะรดในระยะการเจริญเติบโตที่พร้อมจะเก็บบริโภค  ซึ่งแปลงปลูกสับปะรดไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคพืชมาก่อนไม่น้อยกว่า 3 เดือน ซึ่งจะมีเชื้อจุลินทรีย์อยู่ตามธรรมชาติ
2. เฉือนหรือปลอกเปลือกสับปะรดให้ติดตาจากผลสับปะรดสุกจำนวน 3 ส่วน สับหรือบดให้ละเอียดแล้วนำมาผสมกับน้ำตาลโมลาส (กากน้ำตาล) 1 ส่วน  แล้วนำทั้ง 2 ส่วนมาผสมกัน คลุกเคล้าให้เข้ากัน พร้อมทั้งใส่น้ำมะพร้าวผสมด้วย  จำนวน 1 ส่วน  เมื่อผสมกันแล้วใส่ถังปิดฝาด้วยผ้าขาวบาง  ทิ้งไว้ 7 – 10 วัน   ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้เติมน้ำตาลโมลาส (กากน้ำตาล) ลงไปคนให้เข้ากันจนกลิ่นหายไป
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่หมักได้ที่ สามารถเก็บในภาชนะที่ปิดฝาสนิท ในสภาพอุณหภูมิห้องได้นานเป็นปี

วิธีการทำปุ๋ยน้ำจากหอยเชอรี่
วิธีที่ 1 หมักหอยเชอรี่ทั้งตัว
1.   หอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียดพร้อมเปลือก 3 ส่วน
2.   น้ำตาลโมลาส (กากน้ำตาล) 3 ส่วน
3.   น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ 1 ส่วน
    นำทั้ง 3 อย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน   แล้วนำไปบรรจุในถังหมักปิดฝาทิ้งไว้และคนให้เข้ากัน   ถ้ามีการแบ่งชั้น ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้เติมกากน้ำตาลลงไปคนให้เข้ากัน  จนหายกลิ่นเหม็น แล้วหมักต่อไปจนกว่าจะไม่เกิดก๊าซให้เป็นบนผิวหน้าของปุ๋ยน้ำหมักหอยเชอรี่  แต่จะเห็นความระยิบระยับอยู่ที่ผิวหน้าน้ำหมักดังกล่าว บางครั้งอาจจะพบว่ามีตัวหนอนลอยผิวหน้าหรือบริเวณข้างถัง   ควรรอให้ตัวหนอนใหญ่เต็มที่และตายไป     ก็ถือว่าการหมักหอยเชอรี่สิ้นขบวนการ  กลายเป็นปุ๋ยน้ำหมักหอยเชอรี่  สามารถนำไปใช้ได้หรือนำไปพัฒนาผสมกับปุ๋ยน้ำอื่นๆ ใช้ประโยชน์ต่อไป

วิธีที่ 2 หมักไข่หอยเชอรี่
1.   นำกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด 3 ส่วน
2.   น้ำตาลโมลาส (กากน้ำตาล) 3 ส่วน
3.   หัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ 1 ส่วน
4.   คลุกเคล้าให้เข้ากันและนำไปหมักตามวิธีที่ 1

วิธีที่ 3 หมักไข่หอยเชอรี่และพืช
1.   นำกลุ่มไข่หอยเชอรี่บดให้ละเอียดผสมกับพืชอ่อนๆ หั่น 3 ส่วน
2.   น้ำตาลโมลาส (กากน้ำตาล) 3 ส่วน
3.   หัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ 1 ส่วน
4.   แล้วนำไปหมักตามขบวนการที่ 1

วิธีที่ 4 หมักเนื้อหอยเชอรี่ต้มสุก
1.   นำเนื้อหอยเชอรี่ที่ต้มสุกใส่เกลือแกงพอเหมาะบดให้ละเอียด 3 ส่วน
2.   น้ำตาลโมลาส (กากน้ำตาล) 3 ส่วน
3.   หัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ 1 ส่วน
4.   หมักตามขบวนการที่ 1

วิธีที่ 5 หมักเนื้อหอยเชอรี่และพืชสด
1.   นำเนื้อหอยเชอรี่ต้มสุกบดให้ละเอียด + พืชสดสับ 3 ส่วน
2.   น้ำตาลโมลาส (กากน้ำตาล) 3 ส่วน
3.   หัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ 1 ส่วน
4.   หมักเช่นเดียวกับวิธีการที่ 1

วิธีที่ 6 หมักเนื้อหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ และพืชสด
1.   ตัวหอยเชอรี่หรือเปลือก ไข่ และพืชสด 3 หรือ 6 ส่วน
2.   น้ำตาลโมลาส (กากน้ำตาล) 3 หรือ 6 ส่วน
3.   หัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ 5 หรือ 3 ส่วน
4.   หมักเช่นเดียวกับวิธีการที่ 1

อัตราการใช้ปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่ / ไข่ / พืช
พืชที่มีอายุน้อย หรือระยะการเจริญเติบโตแรกๆ ใช้ 20 ซ๊ซี / น้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ 7 – 10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิด อายุ ช่วงการเจริญเติบโตของแต่ละพืช
หมายเหตุ   ถ้าต้องการน้ำมากให้ใส่น้ำมะพร้าวอ่อนหรือแก่ให้มากหรือท่วม
ปุ๋ยน้ำอินทรีย์ (ปุ๋ยปลาหมัก)
ส่วนผสม
1.   ปลาสด (โครงไก่บด) 60 กก.
2.   กากน้ำตาล 40 กก.
3.    เชื้อปุ๋ยหมัก 1 ซอง
4.   น้ำสะอาด (น้ำอุ่น) 10 ลิตร
วิธีทำ
1.   นำเชื้อปุ๋ยหมักผสมกับน้ำอุ่น คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ประมาณ ½ - 1 ชั่วโมง ให้เชื้อตื่นตัว
2.   นำกากน้ำตาล 40 กก. ผสมกับน้ำประมาณ 100 ลิตร กวนให้เข้ากัน
3.   นำปลาสด หรือโครงไก่บด ผสมในน้ำที่เตรียมไว้ (โครงไก่หรือปลาสดต้องไม่เน่าหรือปลาทะเล ควรล้างให้หายความเค็มก่อน)
4.   เติมน้ำผสมเชื้อปุ๋ยหมักลงในถังที่ผสมแล้วและเติมน้ำสะอาดให้อยู่ประมาณ 2/3 ของถัง (170 ลิตร)
5.   หมั่นคนทุกวันเมื่อเข้าสวน ประมาณ 1 เดือน เริ่มใช้ได้ และถ้าหมักนานยิ่งขึ้น คุณภาพยิ่งดีขึ้น (มีการย่อยสลายของแคลเซี่ยม)
อัตราการใช้
รากโคน (ไม้ผล) อัตรา 1 – 2 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร
ฉีดพ่น (ไม้ผล) อัตรา ½ ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร
กรณีพืชผักไม้ดอกไม้ประดับลดลงตามความเหมาะสม

ปุ๋ยหมักชีวภาพ s             
ส่วนผสม
   กากมันสำปะหลัง กากอ้อย แกลบเผา ปุ๋ยคอก ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ และสารปรับสภาพดิน และธาตุอาหารพืช หัวเชื้อปุ๋ยหมัก
วิธีทำ
1.   นำเชื้อปุ๋ยหมักผสมในน้ำอุ่น 10 ลิตร คนและทิ้งไว้ประมาณ ½ - 1 ชั่วโมง
2.   นำส่วนผสมต่างๆ (ยกเว้นปุ๋ยน้ำชีวภาพและสารปรับดินและธาตุอาหาร) ราดน้ำให้มีความชื้น ผสมให้เข้ากัน ราดน้ำผสมเชื้อปุ๋ยหมัก หรือกองใหญ่ให้เจาะเป็นรูและเทน้ำผสมเชื้อลงในรูปุ๋ยหมัก
3.   หมั่นกลับกองปุ๋ย 10 วัน/ครั้ง ประมาณ 2 เดือน (เอามือแหย่ในกองดู ไม่มีความร้อน) ก็นำไปใช้ได้อัตราการใช้ไม้ผล (ที่ให้ผลแล้ว) อัตรา 30 – 50 กก./ต้น/ปี (ยังไม่ให้ผล) อัตรา 20 – 30 กก./ต้น/ปี



ปุ๋ยดินหมักชีวภาพสำหรับเพาะต้นกล้า
วัสดุที่ใช้
1.   ดินแห้งทุบให้ละเอียด ใช้ดินได้ทุกชนิด       5        ส่วน
2.   ปุ๋ยคอกแห้งทุบละเอียด             2    ส่วน
3.   แกลบดำ               2    ส่วน
4.   รำละเอียด                2    ส่วน
5.   ขุยมะพร้าวหรือขี้เค้กอ้อย           2    ส่วน
6.   น้ำเอนไซม์                  1 + น้ำตาล 1 + น้ำ 100 คนให้เข้ากัน
วิธีทำ
1.   ผสมวัสดุทั้งหมด คลุกเคล้าจนเข้ากันดี
2.     รดด้วยน้ำเอนไซม์ที่ผสมแล้ว บนกองวัสดุให้ความชื้นพอประมาณ กำแล้วใช้นิ้วดีดแตก ไม่ให้แฉะเกินไป
3.    เกลี่ยบนพื้นซีเมนต์ให้กองหนาประมาณ 1 ศอก คลุมด้วยพลาสติก หรือกระสอบป่าน หมักไว้ 5 วัน   จึงนำไปใช้ได้

ปุ๋ยดินหมักชีวภาพที่ดีจะมีราสีขาวเกิดขึ้น มีกลิ่นหอม สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานๆ
วิธีใช้
1.  ผสมปุ๋ยดินหมักชีวภาพกับดินแห้งทุบละเอียดและแกลบดำอย่างละเท่าๆ กัน คลุกจนเข้ากันดี  เพื่อนำไปกรอกถุง หรือถาดเพาะกล้า  หรือนำไปใส่ในแปลงสำหรับเพาะกล้า    จะช่วยให้ได้ต้นกล้าที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง
2.   นำไปเติมในกระถางต้นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี กระถางละ 2 กำมือ

ที่มา : กองเกษตรสารนิเทศ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
http://www.moac.go.th/people/html/msg_type1_1169.htm


* Compost-07.jpg (161.49 KB, 604x465 - ดู 1817 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #333 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 12:11:56 »

วันก่อนได้ดูรายการกบนอกกะลาย้อนหลัง เกี่ยวกับดอกดาวเรือง เห็นเค้าเพาะในถาดหลุม ก็เลยเปลี่ยนบ้าง ย้ายดอกดาวเรืองมาลงถาดหลุมบ้าง สังเกตุว่าต้นมีการเจริญเติบโตเร็วขึ้นคงเพราะมีพื้นที่มากขึ้น คงอีกประมาณครึ่งเดือนถึงจะย้ายไปปลูกริมคันนาครับ


* IMG_8276.JPG (114.34 KB, 800x600 - ดู 1705 ครั้ง.)

* IMG_8278.JPG (113.1 KB, 800x600 - ดู 1662 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #334 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 13:43:58 »

“ข้าวนาปู” ข้าวออร์แกนิกส์ที่บูมที่สุดในหนิงเซี่ย

ยุคนี้กระแสการบริโภคอาหารชีวภาพกำลังมาแรงทั้งในตลาดตะวันตก ยุโรปและอเมริกา ไม่เว้นแม้แต่จีน เนื่องจากจีนมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีเศรษฐีใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมากทุกปี ผู้บริโภคจีนหันมานิยมสินค้าเพื่อสุขภาพมากขึ้น นอกจากจะได้สินค้าที่ดีต่อตนเองแล้วยังรักษาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกร

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าข้าวออร์แกนิกส์หรือข้าวอินทรีย์กันมาบ้าง ข้าวออร์แกนิกส์หรือข้าวอินทรีย์ก็คือ การปลูกข้าวที่ปลอดจากสารเคมีทุกขั้นตอน ไม่ใส่ปุ๋ยเคมียกเว้นปุ๋ยชีวภาพ จนถึงการควบคุมโรคแมลงด้วยวิธีพิเศษ แล้วคุณเคยได้ยินคำว่า “ข้าวนาปู” หรือไม่ ?? ข้าวนาปูมีชื่อภาษาจีนว่า ข้าวเซี่ยเถียน (蟹田米) ก็คือการปลูกข้าวควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการเลี้ยงปูน้ำจืดนั่นเอง แต่หลายคนคงงง เพราะส่วนใหญ่เราเคยได้ยินแต่การกำจัดปูในนาข้าว เนื่องจากทำความเสียหายให้กับต้นข้าว บ้างก็เอามาทำปูนาดองไว้ใส่ส้มตำรสแซ่บหรือทำน้ำปูก็อร่อยดี (น้ำปูหรือทางภาคเหนือเรียกว่าน้ำปู๋ ทำจากปูนาที่นำมาตำและกรองเอาแต่น้ำ เคี้ยวจนเหนียวเป็นสีดำ ใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด เป็นสิ่งจำเป็นในครัวพอ ๆ กับปลาร้าในไหของภาคอีสาน) ข้าวนาปูคืออะไรและเป็นอย่างไร เราตามไปดูชาวหนิงเซี่ยเขาปลูกข้าวกันดีกว่า

หนิงเซี่ยได้นำเทคนิคการปลูกข้าวควบคู่กับการเลี้ยงปูน้ำจืด หรือที่เรียกว่า ระบบ symbiosis (ซิมไบโอซิส คือ การอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิตสองชนิดที่เอี้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน) เข้ามาใช้ในแปลงนาข้าวตั้งแต่ปี 2552 นับเป็นการผสมผสานการเพาะปลูกควบคู่กับการเพาะเลี้ยงได้อย่างลงตัว เริ่มต้นได้มีการทดลองเพาะปลูกข้าวในนาปูจำนวน 1,000 หมู่ (ประมาณ 2.4 หมู่ เท่ากับ 1 ไร่) ใช้พันธุ์ข้าว Jing27 (หรือเรียกว่า Ji-T39 ,宁粳 27 号) และพันธุ์ 843 โดยแปลงนา 1 หมู่สามารถเพาะปลูกข้าวได้ 550 กิโลกรัม และเพาะเลี้ยงปูได้ 25 กิโลกรัม ทำรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้นประมาณหมู่ละ 1,500 – 1,800 หยวน อีกทั้งได้ข้าวที่ปลอดสารเคมี แถมยังเป็นการเพาะปลูกเชิงนิเวศวิทยาที่รักษาสิ่งแวดล้อมและไม่ทำร้ายสังคมอีกด้วย สำหรับปี 2553 ได้มีการขยายผลปลูกในแปลงนาข้าวจำนวน 50,000 หมู่ ในอำเภอเห้อหลาน (นครอิ๋นชวน) เมืองชิงถงเสียและเมืองจงเว่ย นอกจากนี้ ยังคาดการณ์กันว่าจะขยายผลการปลูกข้าวนาปูถึง 500,000 หมู่ภายในปี 2555 และเพาะเลี้ยงปูน้ำจืดได้อีก 4,000 ตัน

จากผลการทดลองการปลูกข้าวควบคู่กับการเลี้ยงปูนั้นพบว่า ปูเจริญเติบโตได้ดี ปูช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ทำให้ดินร่วนซุย มูลของปูยังเป็นปุ๋ยแก่ต้นข้าว ตลอดการปลูกข้าวจึงไม่จำเป็นต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน สารเคมีและเทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรมใด ๆ เป็นการเพาะปลูกเชิงนิเวศวิทยาที่ส่งผลให้ต้นข้าวมีแร่ธาตุและสารอาหารสมบูรณ์

หลังข้าวนาปูออกสู่ตลาดก็ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคที่รักสุขภาพเป็นอย่างดี แถมข้าวก็มีรสชาติอร่อย หอมและเหนียวนุ่ม โดยเฉพาะเืมื่อช่วงเทศกาลตรุษจีนเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ข้าวนาปูถูกเลือกให้เป็นของขวัญที่มีค่าสำหรับผู้ซื้อและผู้รับ ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ข้าวนาปูของหนิงเซี่ยได้จำหน่ายไปยังต่างมณฑลและต่างประเทศ อาทิเ่ช่น เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว เซินเจิ้น ปักกิ่ง ส่านซี กานซู ชิงไห่ ประเทศมองโกเลียและกลุ่มประเทศอาหรับ โดยข้าวนาปูได้ถูกส่งออกจำหน่ายไปพร้อมกับข้าวออร์แกนิกส์ชนิดต่าง ๆ ของหนิงเซี่ยในปัจจุบัน เช่น ข้าวกล้องและข้าว Selenium-rich rice (ข้าวที่มีสารซีลีเนียมมากกว่าข้าวสารทั่วไป) ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้า High-end เป็นอย่างมาก ราคาโดยเฉลี่ยของข้าวออร์กานิกส์ทั่วไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 35 – 40 หยวน สำหรับข้าวนาปูราคาขายปลีกอยู่ที่กิโลกรัมละ 25 หยวน นับว่าแพงกว่าข้าวสารโดยทั่วไป 4 - 5 เท่า แถมแพงกว่าข้าวหอมมะลิของไทยเสียอีก


วิธีการปลูกข้าวนาปู

เทคนิคสำคัญของการปลูกข้าวนาปูคือ การเตรียมแปลงนาข้าวและการปลูกข้าวก่อนฤดูหรือเร็วกว่าปกติ โดยราวกลางเดือนเม.ย. เมื่อเกษตรกรถอนหญ้าในนาปูหรือบ่อปูเรียบร้อยแล้ว จะเริ่มนำต้นกล้าข้าวลงปลูกในนาปู หลังจากรอระยะเวลาให้ข้าวตั้งตัว ประมาณกลางเดือนพ.ค.ให้นำลูกปูปล่อยในแปลงนาข้าว ลูกปูและต้นข้าวจะเติบโตไปพร้อม ๆ กัน (เทคนิคสำคัญคือ ต้นข้าวจะต้องสูงกว่า 10 ซม.ขึ้นไปจึงจะปล่อยลูกปูเข้าแปลงนาได้ นอกจากนี้ ก่อนปล่อยลูกปูลงนาอุณหภูมิของน้ำในบ่อเลี้ยงปูกับแปลงนาไม่ควรต่างกันเกินกว่า 3 องศาเซลเซียส) เมื่อนาข้าวถูกแมลงรุกราน ปูจะไต่ไปตามต้นข้าวและกัดกินแมลง ดังนั้นข้าวจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งยาฆ่าแมลงเลย ประมาณเดือนก.ค.ให้ใช้แรงงานคนถอนต้นหญ้า จากนั้นราวเดือนต.ค.จึงทำการเก็บเกี่ยวข้าว


เคล็ดลับของการทำข้าวนาปู


เคล็ดลับสำคัญของการทำข้าวนาปูอยู่ที่การเตรียมแปลงนา วิธีการคือ ต้องปรับบ่อเลี้ยงปูซึ่งมีความลึกให้ตื้นขึ้นและเรียบ ปรับคันนา 4 ทิศทางให้สูงขึ้นและล้อมด้วยพลาสติก ใช้ไม้ขนาดความสูง 60 – 65 ซม.ปักรอบคันนาและให้มีระยะห่างกันประมาณ 1 เมตร โดยไม้จะต้องห่อหุ้มด้วยพลาสติกเช่นกัน การปักไม้ตามคันนาตัวไม้โผล่พ้นจากพื้นดิน 50 ซม. และปักลงไปในดินราว 10 – 15 ซม. จากนั้นนำดินมาอุดรอบไม้ให้แน่น เพื่อไม่ให้น้ำเข้าไปในไม้ ต่อมาให้ทำการขุดร่องน้ำรอบคันนาภายในแปลงข้าวขนาดความกว้าง 2 – 2.5 เมตร ความลึก 0.8 เมตร และความลาดเอียง 1 : 3 โดยร่องน้ำมีระยะห่างจากคันนาราว 1 เมตร ดังนั้นจึงสามารถปลูกข้าวได้ทั้งบริเวณภายในและภายนอกร่องน้ำ ระบบน้ำเข้า-ออกใช้ปั๊มสูบน้ำ และการสูบน้ำเข้าและออกให้อยู่ทิศตรงข้ามกัน ท่อสูบน้ำเข้าให้ใช้ตาข่ายไนลอนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (รูตาข่าย) 0.33 มม. ปิดท่อไว้เวลาสูบน้ำเข้า เพื่อป้องกันสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น ลูกปลาและไข่ปลา เข้าไปทำร้ายลูกปูหรือแย่งออกซิเจนและอาหารของลูกปู ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกปูได้

ไทยเราเองก็มีการพัฒนาข้าวเพื่อสุขภาพหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นข้าวกล้องงอก ข้าวฮาง (ข้าวหอมมะลินึ่ง) และข้าวเคลือบสมุนไพร เพื่อยกระดับข้าวธรรมดา ๆ ของชาวนาให้มี “คุณค่า” และ “มูลค่า” มากยิ่งขึ้น หากจะว่าไปแล้ว “ข้าวนาปู” ก็มีแนวความคิดที่คล้ายคลึงกับ “การเลี้ยงกุ้งก้ามร่วมกับการปลูกข้าว” ของโครงการหลวงในไทย ที่หยิบยกเอาเอกลักษณ์ ภูมิปัญญา และข้อดีที่มีอยู่แล้วมาปรับประยุกต์ให้เป็น “จุดเด่น” ที่ไม่เหมือนใคร ทั้งนี้ “ข้าวนาปู” ไม่เพียงแต่เป็นเทคโนโลยีผลิตข้าวออแกนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยวิธีเรียบง่าย หากแต่ยังเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างมั่นคง ยั่งยืน และคง Concept “รักษ์โลก” ไว้ได้อย่างสมบูรณ์


* xiatianmi2.jpg (106.39 KB, 575x389 - ดู 1873 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #335 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 14:03:58 »

ภาพการเลี้ยงกุ้งในนาข้าว ภาคเหนือเคยมีการทดลองเลี้ยงบนดอยอินทนนท์ในแปลงนาของชาวเขา ภาคอื่นก็พอมีการเลี้ยงอยู่บ้างครับ


* DSC_4860.jpg (136.26 KB, 810x542 - ดู 1896 ครั้ง.)

* DSC_4843.jpg (151.47 KB, 542x810 - ดู 4742 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #336 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 14:55:49 »

ติดตามทุกวัน ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #337 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 21:13:05 »

มาดูเรื่องของจอบกันบ้างครับบางประเภทอาจไม่คุ้นหน้าตากันก็มีครับ





* p1220204.jpg (117.25 KB, 600x391 - ดู 1867 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #338 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 21:15:39 »

จอบเพื่อการถาก   ถ้าจะใช้ถากหญ้า กึ่งขุดดินบ้างแต่ไม่ลึกมากนัก หรือเป็นดินที่ไม่แข็งมาก ก็ใช้จอบแบบนี้  ลักษณะเด่นคือ น้ำหนักตัวจอบพอประมาณ 2ปอนด์ คมหน้าจอบเรียบตรง มีแกนกลางใกล้ช่องใส่ด้ามนูนหนาขึ้นมาเล็กน้อย  ใช้สับพรวนดินอกร่องแปลงปลูกผักก็ได้  ใช้คุ้ยผสมปูนหินทรายก็ดี (เสร็จงานต้องล้าง/ลับคมกันใหม่) 
ข้อควรระวัง ถ้าใช้ขุดดินแข็ง หรือรากไม้ใหญ่ แล้วงัดแรงๆอาจทำให้ตัวจอบแอ่นเสียรูป


* p1220205o.jpg (115.02 KB, 600x450 - ดู 3112 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #339 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2013, 21:17:24 »

จอบเพื่อการขุด เน้นงานขุดดินโดยเฉพาะ  ดินแข็งก็ไม่เกี่ยง ขุดหลุม ขุดเอาตอไม้ออก สับรากไม่ให้ขาดก็ไหว คนรุ่นก่อนๆก่นสร้างที่ดินที่จับจองด้วยจอบแบบนี้  เนินดินจอมปลวกถูกขุด(แล้วหาบดินนั้นด้วยบุ้งกี๋ ไปถมที่ลุ่ม)หมดราบไปหลายแล้วเล่า พร้อมๆกับจอบที่สึกสั้นไปๆ(จนใช้งานขุดอีกไม่ได้)ไปเป็นเล่มๆ
  ลักษณะเด่นคือ น้ำหนักตัวจอบมีประมาณ 3 ปอนด์ครึ่งขึ้นไป (คนแข็งแรงมากใช้ 5 ปอนด์...ปัจจุบันคงหาซื้อยาก) คมหน้าจอบเว้าโค้งเข้า เผยมุมแหลมคม ตอกย้ำชัดถนัดขุด  มีแกนกลางใกล้ช่องใส่ด้ามนูนหนาขึ้นมามาก  เพื่อการใช้งัดไม่แอ่น/หักได้ง่าย  ระวังอย่าเอาไปใช้ถากหญ้า...หนักเกินไป...เหนื่อยไม่คุ้ม


* p1220206.jpg (113.75 KB, 600x450 - ดู 2030 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 [17] 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!