เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 04 มิถุนายน 2024, 19:20:58
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 [26] 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 ... 96 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 408296 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #500 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 09:46:56 »

ช่วงนี้ห่างหายจากเว็ปไปบ้างครับ มัวแต่ทำจักรยานทัวร์ริ่ง ทำเสร็จก็จะปั่นเที่ยวล่ะครับเพราะสัปดาห์นี้หยุดหลายวัน แต่ก็เข้าเว็ปเกี่ยวกับการทำนาบ้างช่วงนี้ก็ไปดูที่ญี่ปุ่นเป็นหลักเพราะค่อนข้างมีข้อมูลอยู่มาก ทั้งการทำนา ทำเกษตรอินทรีย์ อ่านไม่ออกก็ใช้ Google  แปลให้แหล่ะครับเอาไว้ว่าง ๆ จะนำมาลงให้ครับ


* img_2319.jpg (66.87 KB, 700x525 - ดู 524 ครั้ง.)

* img_3250.jpg (79.62 KB, 700x525 - ดู 534 ครั้ง.)

* p1010476.jpg (43.94 KB, 700x467 - ดู 508 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,575


canon eos


« ตอบ #501 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 10:23:14 »

ที่นาอยู่แถวไหนครับนี่ ชอบครับคันนาไม่กว้างดูแลและใส่ปุ๋ยง่ายดีครับ



 ยิ้มกว้างๆ...นาอยู่อยู่เชียงแสนครับ...แปลงนี้ติดแม่น้ำจันเลย....ผมทำคันนาใหม่ทุกปีเพราะจะทำให้เก็บน้ำไว้ได้นาน...หญ้าไม่ค่อยขึ้น...เพราะน้ำทั่วถึง...
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,575


canon eos


« ตอบ #502 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 10:25:52 »

ที่นาอยู่แถวไหนครับนี่ ชอบครับคันนาไม่กว้างดูแลและใส่ปุ๋ยง่ายดีครับ


ยิ้มกว้างๆ...พ่นปุ๋ย,พ่นยา...ไม่ต้องเดินลุยในแปลงนาครับ...
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #503 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 13:53:37 »

วันนี้สุดสัปดาห์แล้ว ที่ทำงานหยุด ส อ จ  จะได้มีเวลาพักผ่อนและไปนา ผมก็จะไปใส่ปุ๋ยในวันพรุ่งนี้นา 22 ไร่ ใส่อีก 2 กส.  ครับ  วันอาทิตย์และวันจันทร์คงว่างได้ไปปั่นจักรยานเที่ยวละครับคงวันละ 70-80 ก.ม. ครับ   

มาดู วิวสวย ๆ ของนา ต้าหลี่ ลี่เจียง ประเทศจีนครับ


* wb0709_t695.jpg (123.95 KB, 800x534 - ดู 639 ครั้ง.)

* wb0709_t695_r13580.jpg (104.83 KB, 800x534 - ดู 586 ครั้ง.)

* wb0709_t695_r13601.jpg (89.16 KB, 800x534 - ดู 642 ครั้ง.)

* wb0709_t695_r13602.jpg (127.78 KB, 800x534 - ดู 613 ครั้ง.)

* wb0709_t695_r13603.jpg (208.18 KB, 800x534 - ดู 607 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #504 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 14:11:37 »

การศึกษานอกจากค้นคว้าหาข้อมูล การไปอบรมแล้วผมว่าการท่องเที่ยวก็เป็นอย่างหนึ่งที่เราสามารถได้ความรู้ได้ประสบการณ์ครับ  ผมเห็นรูปทุ่งดอกมัสตาร์ดโหล่วผิง ตอนแรกนึกว่าเป็นทุ่งข้าวที่พร้อมเก็บเกี่ยวแต่กลับไม่ใช่ครับ บ้านเราหากพื้นที่ไหนไม่ได้ทำนาปรังก็มักจะมีการปลูกผัก ปลูกข้าวโพด บ้างก็ไม่ได้ทำอะไรเลยครับ แต่ที่นี่ท้องทุ่งนาหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะมีการปลูกดอกมัสตาร์ด จากอุตสาหกรรมทางเกษตรได้กลายมาเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวแห่ไปชมความงามของทุ่งดอกมัสตาร์ดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนมีนาคม อาจพอมีเหลือให้เห็นบ้างในช่วงต้นเมษายน แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่พลังศักยภาพด้านการท่องเที่ยวชี้ให้เห็นว่า อนาคตข้างหน้าอาจเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น  และกลายเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น เพราะภาพความงดงามอันยิ่งใหญ่ของทุ่งดอกไม้ ดอกมัสตาร์ด หรือ ดอกอิ๊วใช่ฮัว นั้นคือดอกน้ำมันที่นำไปสกัดเป็นน้ำมันพืชที่ใช้บริโภคในเมืองโหล่วผิงและเมืองใกล้เคียง ส่วนยอดอ่อนก็นำไปทำอาหารได้ รสชาติก็ใกล้เคียงกับผักกวางตุ้งครับ


* wb0112_t1375.jpg (47.97 KB, 800x444 - ดู 602 ครั้ง.)

* wb0112_t1375_r26607.jpg (57.37 KB, 800x444 - ดู 569 ครั้ง.)

* wb0112_t1375_r26609.jpg (90.37 KB, 800x444 - ดู 573 ครั้ง.)

* wb0112_t1375_r26611.jpg (75.29 KB, 800x444 - ดู 596 ครั้ง.)

* wb0112_t1375_r26613.jpg (46.87 KB, 800x444 - ดู 577 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #505 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 20:51:41 »

เอาเรื่องข้าว เรื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ มาพอสมควรครับลองเอาพวกหมวกที่ชาวไร่ชาวนาทั้งไทยและต่างประเทศในสมัยก่อนใช้กันมาบ้างครับ ปัจจุบันอาจมีการใช้ลดน้อยลงไปตามยุคสมัย

เริ่มด้วย

หมวกกุยเล้ย

 "หมวกกุ้ยเล้ย" เป็นชื่อเรียกหมวกของชาวจีน ซึ่งมีชื่อเรียกดั้งเดิมคือหมวกกุยเละ หมวกกุยเล้ย จนปัจจุบันเพียนมาเป็น"หมวกกุ้ยเล้ย"มีลักษณะทรงกลม หัวแหลมเป็นที่นิยมใส่กันแดดเวลาชาวจีนที่อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ ออกทำนา ทำไร่ ทำสวน แสดงออกถึงวัฒนธรรม ประเพณีที่มีการสืบทอดหัตถกรรมกันมายาวนานโดยการนำวัสดุที่มีอยู่ในชุมชนมาสานเป็นหมวกกุ้ยเล้ย คือไม้ไผ่ ใบไผ่กระดาษถุง


* 7-6-2554 17-54-31.jpg (73.73 KB, 512x339 - ดู 560 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #506 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 20:55:26 »

หมวกกุ๊บไต

“กุ๊บไต” เป็นภาษาท้องถิ่นของชาวไทใหญ่เรียกกันทั่วไป หรือเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ หมวกจักรสานซึ่งมีประโยชน์ใช้สอย คือใช้สวมศีรษะเพื่อกันแดดหรือกันฝน และสวมในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการเดินขบวนกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ


* 0img_2633.jpg (243.24 KB, 800x534 - ดู 556 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #507 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 21:11:16 »

หมวก NON LA   หมวกจักรสานนี้ค่อนข้างโด่งดังไปทั่วโลกเป็นเอกลักษณ์ของชาวเวียดนาม


* large_P1150930.jpg (85.5 KB, 640x480 - ดู 550 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #508 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 21:22:12 »

หมวกฟาง (Ueme) หมวกของชาวญี่ปุ่น ที่จริงหมวกฟางของชาวญี่ปุ่นมีหลายแบบเหมือนประเทศไทยที่มีหมวกแต่ละภาคที่ไม่เหมือนกันเช่นเดียวกัน



* otaue_shinji-2.jpg (47.64 KB, 420x236 - ดู 697 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #509 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 21:27:23 »

กุบ

กุบ หมายถึง หมวกมีปีกทำจากไม้ไผ่สานประกบกัน ๒ ชิ้นกรุด้วยวัสดุจำพวกใบไม้ ที่สวมสานด้วยไม้ไผ่ การทำกุบเริ่มจากการขึ้นโครง โดยใช้ไม้จริงถากเป็นโครงไว้ภายใน ภายนอกใช้ตอกเส้นเล็ก ๆ วางเรียงขัดตามพิมพ์ของกุบ เมื่อได้โครงแล้ว นำออกจากพิมพ์ก่อนที่จะใช้กระดาษสาหรือผ้าพลาสติกทาบไว้บนโครงที่สำเร็จ จากนั้น ยึดริมด้วยไม้ไผ่เหลา โดยทำให้โค้งกลมตามรูปของกุบ และตกแต่งโดยตัดโครงไม้ที่ยื่นออกมาจากกุบ เพื่อความสวยงาม

ในอดีตกุบเป็นเครื่องใช้ชนิดหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวบ้านทว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้ความสำคัญของกุบลดน้อยลง หากไม่นับชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ยังใช้กุบในชีวิตประจำวัน ผู้ที่ใช้กุบในปัจจุบัน ยังคงมีแต่ชาวไร่ชาวสวน


* 1174_1.jpg (50.54 KB, 640x480 - ดู 574 ครั้ง.)

* koob_02.jpg (9.17 KB, 251x393 - ดู 552 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #510 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 21:30:50 »

งอบใบลาน
ลักษณะการใช้ประโยชน์ งอบหรือหมวกปีกกว้างทำมาจากใบลาน คล้ายๆใบตาล ก่อนทำต้องนำตอกไม้ไผ่มาสานเป็นโครงร่างก่อนแล้วจึงนำในลานมาเย็บติดกับโครงไม้ไผ่นั้นจนเต็มจะได้งอบสำหรับใส่ทำงานกลางแดด ป้องกันแดดร้อนได้ดีมาก งอบนั้นส่วนใหญ่จะใส่เฉพาะผู้หญิงจะใส่สำหรับเวลาดำนา หรือเกี่ยวข้าว เพราะทำงานในท้องนาไม่มีกิ่งไม้มาคอยเกี่ยวให้งอบร่วง เพราะในนาต้นข้าวจะอยู่ต่ำกว่าเอวลงไป


* R10.jpg (178.98 KB, 838x625 - ดู 541 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #511 เมื่อ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013, 21:36:26 »

งอบแบบอื่น ๆ ครับ ชาวนาไทยนิยมใช้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย


* l13-56b.jpg (28.46 KB, 289x230 - ดู 543 ครั้ง.)

* c6835100394a78ee3a25a34d7c34897e.jpg (37.86 KB, 320x240 - ดู 599 ครั้ง.)

* 2012_11_20_163918_je9o3uc5.jpg (28.72 KB, 400x266 - ดู 554 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #512 เมื่อ: วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2013, 21:28:53 »

วันนี้มีงานหลาย ๆ อย่างครับ ตอนแรกคิดว่าจะไปใส่ปุ๋ยแต่มีงานช่วงเช้าและแวะไปดูรถดำนามาครับ แบบเดินตาม 6 แถวราคา 200,000 บาท ถ้าแบบเดินตาม 4 แถวราคา 135,000 บาท ลังเลอยู่เหมือนกันเพราะต้องการรถที่สามารถขึ้นรถกระบะตอนเดียวได้ แบบ 4 แถวได้แน่นอนแต่ 6 แถวไม่แน่ใจเหมือนกันแต่เซลล์ยืนยันว่าได้ ตอนนี้ก็ยังไม่มีสินค้าให้เห็นด้วยต้องรอเค้าจัดงานเดือน เมษายนค่อยมาอีกทีเพราะจะมีโปรโมชั่นพิเศษ เราก็ยังไม่ได้ใช้ค่อยตัดสินใจอีกทีครับ พรุ่งนี้ก็ไปนาไปซ่อมกล้าอีกนิดหน่อยและใส่ปุ๋ยครับข้าวจะเริ่มแตกกอแล้วช่วงนี้ข้าวไม่ควรขาดธาตุไนโตรเจนครับ


* p_293737.jpg (96.55 KB, 570x403 - ดู 564 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,575


canon eos


« ตอบ #513 เมื่อ: วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2013, 21:58:17 »

วันนี้มีงานหลาย ๆ อย่างครับ ตอนแรกคิดว่าจะไปใส่ปุ๋ยแต่มีงานช่วงเช้าและแวะไปดูรถดำนามาครับ แบบเดินตาม 6 แถวราคา 200,000 บาท ถ้าแบบเดินตาม 4 แถวราคา 135,000 บาท ลังเลอยู่เหมือนกันเพราะต้องการรถที่สามารถขึ้นรถกระบะตอนเดียวได้ แบบ 4 แถวได้แน่นอนแต่ 6 แถวไม่แน่ใจเหมือนกันแต่เซลล์ยืนยันว่าได้ ตอนนี้ก็ยังไม่มีสินค้าให้เห็นด้วยต้องรอเค้าจัดงานเดือน เมษายนค่อยมาอีกทีเพราะจะมีโปรโมชั่นพิเศษ เราก็ยังไม่ได้ใช้ค่อยตัดสินใจอีกทีครับ พรุ่งนี้ก็ไปนาไปซ่อมกล้าอีกนิดหน่อยและใส่ปุ๋ยครับข้าวจะเริ่มแตกกอแล้วช่วงนี้ข้าวไม่ควรขาดธาตุไนโตรเจนครับ

 ยิ้มกว้างๆ...เพื่อนผมเอาออกมาละครับ...4แถว...เดี๋ยวต้นเดือนหน้าจะไปช่วยทดลองขับรถดำนาซะหน่อย
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #514 เมื่อ: วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2013, 21:01:32 »

วันนี้มีงานหลาย ๆ อย่างครับ ตอนแรกคิดว่าจะไปใส่ปุ๋ยแต่มีงานช่วงเช้าและแวะไปดูรถดำนามาครับ แบบเดินตาม 6 แถวราคา 200,000 บาท ถ้าแบบเดินตาม 4 แถวราคา 135,000 บาท ลังเลอยู่เหมือนกันเพราะต้องการรถที่สามารถขึ้นรถกระบะตอนเดียวได้ แบบ 4 แถวได้แน่นอนแต่ 6 แถวไม่แน่ใจเหมือนกันแต่เซลล์ยืนยันว่าได้ ตอนนี้ก็ยังไม่มีสินค้าให้เห็นด้วยต้องรอเค้าจัดงานเดือน เมษายนค่อยมาอีกทีเพราะจะมีโปรโมชั่นพิเศษ เราก็ยังไม่ได้ใช้ค่อยตัดสินใจอีกทีครับ พรุ่งนี้ก็ไปนาไปซ่อมกล้าอีกนิดหน่อยและใส่ปุ๋ยครับข้าวจะเริ่มแตกกอแล้วช่วงนี้ข้าวไม่ควรขาดธาตุไนโตรเจนครับ

 ยิ้มกว้างๆ...เพื่อนผมเอาออกมาละครับ...4แถว...เดี๋ยวต้นเดือนหน้าจะไปช่วยทดลองขับรถดำนาซะหน่อย

ได้ผลยังไงบอกด้วยนะครับ พี่แถวบ้านแกไปขับรถเกี่ยวข้าวที่กำแพงเพชร พิษณุโลก แกบอกว่าที่นั่นใช้กันเยอะมีลงแขกดำนารถดำนาด้วย ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแถวภาคเหนือตอนล่างครับ


* large_DSC01123.jpg (70.41 KB, 640x480 - ดู 537 ครั้ง.)

* large_DSC01124.jpg (76.36 KB, 640x480 - ดู 542 ครั้ง.)

* large_DSC01127.jpg (53.12 KB, 640x480 - ดู 519 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #515 เมื่อ: วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2013, 17:04:47 »

รถปลูกข้าวเดินตามเข้าท่าแฮ่ะ บ่าต้องไปง้อคนปลูกบ่าต้องได้เจ็บเอว ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
purino
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 216


กุ๊กไก่..092-6426428


« ตอบ #516 เมื่อ: วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2013, 20:21:13 »

จุลินทรีย์หน่อกล้วย ทำยังไงหรอคับ พอดีอยากทำ ปุ๋ยน้ำ ขอวิธีทำ จุลินทรีย์ ด้วยนะคับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #517 เมื่อ: วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2013, 22:50:23 »

จุลินทรีย์หน่อกล้วย ทำยังไงหรอคับ พอดีอยากทำ ปุ๋ยน้ำ ขอวิธีทำ จุลินทรีย์ ด้วยนะคับ

วัตถุดิบ
          1. หน่อกล้วยความยาวไม่เกิน 1 เมตร      น้ำหนัก   3   กิโลกรัม
          2.กากน้ำตาล        1   กก
วิธีการทำ
          1. สับหน่อกล้วยให้ละเอียด
          2. ผสมกากน้ำตาลกับหน่อกล้วยที่สับละเอียดแล้ว คลุกเคล้าให้เข้ากัน บรรจุลงถังที่ฝาแคบปิดให้สนิท
          3. ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จะได้จุลินทรีย์หน่อกล้วย มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้ม

ข้อบ่งใช้และการเก็บรักษา   
1. เมื่อนำจุลินทรีย์มาผสมน้ำแล้วต้องรีบใช้ให้หมด  เพราะจุลินทรีย์จะตาย ถ้ายังไม่ผสมน้ำ สามารถเก็บได้ประมาณ 3 เดือน หลังจาก 3 เดือน   ให้เติมกากน้ำตาล  เพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์   โดยมีอัตราส่วน  จุลินทรีย์ 5 ลิตร  ต่อกากน้ำตาล  1 ลิตร  จะช่วยทำให้จุลินทรีย์อยู่ได้อีกประมาณ 3 เดือน
2. การเก็บจุลินทรีย์ใส่ในภาชนะมีฝาปิด  อย่าใส่ให้เต็ม เผื่อที่ว่างให้อากาศสำหรับจุลินทรีย์ด้วย  และวางในที่อุณหภูมิปกติและแสงแดดส่องไม่ถึง
3. วิธีตรวจสอบว่าจุลินทรีย์ตายหรือไม่   โดยการนำจุลินทรีย์ใส่ขวดมาเขย่า  แล้วสังเกตขณะเปิดฝาขวด จะมีเสียงอากาศดัง  แสดงว่าจุลินทรีย์ยังไม่ตาย สามารถนำไปใช้ได้อีก

การที่น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากหน่อกล้วย สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชนั้น เนื่องมาจากส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
          1. กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ แบคทีเรีย  เชื้อรา และยีสต์
         2.สารอาหารที่สกัดมาจากเซลล์พืช ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน  โปรตีน ฮอร์โมน วิตามินและเอนไซม์ต่าง ๆ
      จุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการหมัก  ได้แก่  แบคทีเรีย  เชื้อรา ที่ช่วยในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์(หน่อกล้วย)และเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่าง ๆ ในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ 
      จุลินทรีย์ที่พบในกระบวนการหมัก คือ
1.แบคทีเรีย
             1.1         แบคทีเรียในสกุลบาซิลัส (Bacillus sp.)
             1.2         กลุ่มแบคทีเรียผลิตกรดแลคติก (Lactic Acid Bacteria)
             1.3         กลุ่มแบคทีเรียผลิตกรดอะซิติก (Acetic Acid Bacteria)
2.เชื้อรา
                       -  ยีสต์
                       -  ราเส้นใย


IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #518 เมื่อ: วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2013, 21:31:48 »

เย็นนี้ไปสำรวจแปลงนาครับ ข้าวนาปรังส่วนใหญ่จะมีอายุ 110-120 วันแล้วแต่พันธุ์ข้าว ตอนนี้ข้าวมีอายุ 37 วันแล้วซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวโตพอจะเริ่มแตกกอแล้วครับ อีก 2 วันผมจะเริ่มลดระดับน้ำบ้างแล้ว แต่ยังคงต้องใส่ปุ๋ย N  เพิ่มเพื่อช่วยในการแตกกอ และ P บ้างในการเสริมสร้างราก ตอนนี้ผมใส่ปุ๋ยไปแล้ว 2 ครั้งคือหนึ่งครั้งของชาวนาทั่วไปแต่ผมแบ่งใส่ 2 ครั้งครับ

นา  22 ไร่
ครั้งแรกหลังคุมหญ้า   ปุ๋ยเคมี  16-20-0  และ 46-0-0  อย่างละ  1 กส.  เป็นเงิน  1590  บาท
ครั้งที่สอง ปุ๋ยเคมี  30-0-0 และ ปุ๋ยอินทรีย์ผสม อย่างละ  2 กส.  เป็นเงิน  2160  บาท
ครั้งที่สามแตกกอ ปุ๋ยเคมี  46-0-0  2 กส. และ 16-20-0 1 กส.   เป็นเงิน  2370  บาท
ครั้งสุดตั้งท้อง ปุ๋ยเคมี  16-20-0 และ  15-15-15  อย่างละ  2 กส.  เป็นเงิน  3280 บาท

รวมเป็นเงินค่าปุ๋ย  9400 บาท  โดยใช้ปุ๋ยเคมี 11 กส. อินทรีย์ 2 กส และมีค่าปุ๋ยขี้หมูบางส่วนอีกประมาณ ร้อยกว่าบาท กส.ละ 6 บาทไปตักเองก่อนหน้านี้เคยใส่ช่วงไถตากไปแล้วบางส่วน นาปรังปีที่แล้วผมใส่ปุ๋ยน้อยกว่านี้ครับได้ไร่ละตันกว่าเหมือนกัน นาปรังปีนี้ลองเพิ่มปุ๋ยไปอีกหน่อยครับจะลองดูว่าจะได้ผลผลิตมากขึ้นหรือไม่

ใครดูผมใส่ปุ๋ยแล้วคงว่าใส่ตลกดีครับ บ้าไปแล้วแน่ๆ  ตอนแรกผมคิดว่าจะซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมครับแต่แถวบ้านหาซื้อไม่ได้ต้องเข้าในเมือง ผมก็ไม่ได้เอารถกระบะเข้าเมืองก็เลยหาซื้อแถวบ้านครับ ปุุ๋ยเคมีเวลาใส่จะเห็นผลเร็วนั่นแสดงว่าข้าวสามารถนำไปใช้ได้เร็วการสลายตัวก็เร็วด้วยเช่นกันผมเลยใส่ตามช่วงที่ข้าวต้องการแม้ข้าวเองจะสามารถสะสมธาตุอาหารได้เองแต่ก็ต้องใช้ในการสังเคราะห์แสงซึ่งก็มีวันหมดก็เลยต้องเติมธาตุเป็นช่วง ๆ ไม่ให้ขาดเพื่อให้การสังเคราะห์แสงมีประสิทธิภาพ การสะสมแป้งก็จะมีมากตามส่งผลต่อผลผลิตที่ได้

มาดูนาครับพึ่งใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาอีก 2-3 วันต้นข้าวคงเริ่มเขียวขึ้น


* IMG_0228.JPG (68.15 KB, 700x525 - ดู 506 ครั้ง.)

* IMG_0229.JPG (93.82 KB, 700x525 - ดู 488 ครั้ง.)

* IMG_0231.JPG (28.08 KB, 700x525 - ดู 492 ครั้ง.)

* IMG_0235.JPG (83.53 KB, 700x525 - ดู 489 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #519 เมื่อ: วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2013, 21:36:22 »

ข้าวเริ่มแตกกอแล้ว ควรลดระดับน้ำลงเพื่อให้รากเดินไกลและต้นข้าวแตกหน่อมากขึ้นครับ ต้นข้าวควรปลูกห่างจากคันนา เพราะคันนาเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ทั้งราและแบคทีเรีย การปลูกให้ห่างคันนาจึงช่วยป้องกันโรคได้และควรตัดหญ้าคันนาให้สั้นเสมอครับเพื่อให้โดนแดดเผาฆ่าเชื้อตามคันนาด้วยครับ  ดูต้นข้าวผมเริ่มแตกกอให้เห็นบ้างแล้ว


* IMG_0236.JPG (51.92 KB, 480x640 - ดู 480 ครั้ง.)

* IMG_0240.JPG (43.92 KB, 700x525 - ดู 480 ครั้ง.)

* IMG_0244.JPG (56.14 KB, 700x525 - ดู 494 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 [26] 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 ... 96 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!