เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 19:10:06
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 [14] 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 407119 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #260 เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2013, 21:03:48 »

เย็นวันนี้ไปดูแปลงนา ดูต้นข้าวหลังจากหว่านไปเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา นับวันก็ได้เกือบ 5 วันแล้ว เริ่มมีใบออกมาแล้วครับ ช่วงนี้ข้าวจะโตไวดูภาพย้อนไปจากเมื่อวานสิครับจะเห็นการเปลี่ยนแปลงพอสมควร


* IMG_8106.JPG (79.23 KB, 700x525 - ดู 3349 ครั้ง.)

* IMG_8132.JPG (72.42 KB, 700x525 - ดู 1293 ครั้ง.)

* IMG_8103.JPG (60.33 KB, 700x525 - ดู 1136 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
sabaidree
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 565


« ตอบ #261 เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2013, 21:13:08 »

ติดตามด้วยคนครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #262 เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2013, 22:29:19 »

เข้าทฤษฎีกันบ้างครับ  สำหรับการเพาะเมล็ดข้าวงอกนะครับ ส่วนที่เรียกว่ารากอ่อนจะงอกออกมาก่อนส่วนที่จะเป็นลำต้นประมาณ 1-2 วัน ซึ่งจะมีปลอกหุ้มใบที่อยู่ด้านตรงกันข้ามกับรากหลังจากนั้นใบที่ 1 ,2 ,3  ซึ่งนาหว่านน้ำตมจะนิยมพ่นยาคุมหญ้าเมื่อต้นข้าวมีใบครบ 3 ใบซึ่งมั่นใจว่าข้าวจะโตพอที่จะต้านทานยาคุมหญ้าได้ แต่หากพ่นช้าไปหญ้าบางชนิดก็ไม่ตายเหมือนกัน สำหรับ อ.ชัยพร ชาวนาเงินล้าน จะพ่นยาคุมหญ้าได้เมื่อหว่านข้าวไป 2 วันแต่ต้องพ่นอ่อน ๆ ซึ่งก็เป็นแนวคิดที่ดีครับแต่อาจจะเหนื่อยนิดนึงเพราะดินยังไม่แห้งต่างจากพ่นคุมเมื่อดินแห้งจะเดินง่ายกว่าและเสร็จไวกว่า กลับมาเรื่องเมล็ดข้าว รากที่งอกออกมาก่อนจะแห้งตายภายใน 1 เดือนหลังจากต้นข้าวมีระบบรากฝอยที่สมบูรณ์แล้วรากฝอยจะงอกจากโคนต้นแพร่กระจายในดิน บางส่วนอาจงอกเหนือผิวดินครับ  ถ้าดูตอนเมล็ดข้าวงอกแล้วทำให้นึกถึงโฆษณา ดีน่า กาบาครับ

กาบา GABA (Gamma AminoButeric Acid) กาบา เป็นสารที่มีอยู่ใน คัพภะ ของข้าว คัพภะ ของข้าว คือส่วน ที่รากจะงอกของข้าว โดยคัพภะข้าว ประกอบไปด้วย โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ Dietary Fiber และ Gamma Aminobutgeric cid (GABA) การเพิ่มปริมาณกาบา (GABA) โดยการนำข้าวเปลือกไปทำให้เกิดการงอก แล้วนำไปสีด้วยเครื่องสีข้าวกล้อง จะได้ข้าวกล้องงอก
มีการใช้กรด GABA นี้ ในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท หลายโรค เช่น โรควิตกกังวงนอนไม่หลับ โรคลมชัก และยังมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิตด้วย ลดปริมาณคลอเรส-เตอรอล และระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้ง ความเสี่ยงการเกิดอัลไซเมอร์





* GABA-processing900.gif (40.74 KB, 700x491 - ดู 1062 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 มกราคม 2013, 22:31:37 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #263 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2013, 11:16:29 »

แวะมาอ่านอีกตามเคย ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #264 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2013, 11:22:04 »

มาฟังอาจารย์เดชา และคุณชัยพร สะท้อนวิถีชาวนาไทยครับ








IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #265 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2013, 11:44:35 »

การทำปุ๋ยยูเรียน้ำ

การทำปุ๋ยยูเรียน้ำ ได้มาจากมูลนิธิชัยพัฒนา

พืชสีเขียวงาม ได้สารไรโตรเจนมาก มีมากในถั่วเอามาหมัก  ช่วยให้ดินร่วนฟู

ถั่วเหลือง 1 กก  ( ในถั่วมีกรดอะมิโน ซึ่งเป็นโปรตีน )
สัปะรดลูกใหญ่สับ 2 กก  ( สับปะรดมีเอนไซท์ในการย่อยโปรตีนทำให้เกิดกรดอะมิโน )
น้ำซาวข้าว 10 ลิตร  ( มีวิตามินบีช่วยระบบรากของพืช )
จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 กก
กากน้ำตาล 3 ลิตร

หมักทิ้งไว้ 14 วัน

เทียบเท่าซื้อปุ๋ยยูเรียจำนวน 2 กระสอบ

ปุ๋ยยูเรียน้ำ 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 3-7 วัน ได้กับพืชทุกชนิดจะใบเขียว



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 24 มกราคม 2013, 13:30:40 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #266 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2013, 11:55:36 »

การผลิตปุ๋ยยูเรียจากน้ำปัสสาวะ

       การผลิตปุ๋ยยูเรียง่ายๆสามารถผลิตใช้เองได้ภายในครัวเรือน ใช้รดพืชผักสวนครัวก็ได้หรือจะใช้ในสวนผลไม้หรือสวนยางพาราก็ดีวิธีการทำมีดังนี้

ส่วนผสม
    - น้ำปัสสาวะ จำนวน 10 ลิตร
    - กากน้ำตาล จำนวน 2 ลิตร
    - นำมาผสมกันใส่ถังพลาสติก หมัก 10-30 วัน หากสังเกตว่ามีผ้าสีขาวเกิดขึ้น แสดงว่าหมักได้ที่แล้ว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เลย (ประมาณ 10 วัน ก็ใช้ได้)

การนำไปใช้
    - สำหรับพืชผักสวนครัว ใช้ในอัตราส่วน น้ำหมัก 1 ลิตร + น้ำเปล่า 1,000 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน จะช่วยเป็นปุ๋ยและเป็นฮอร์โมนบำรุงให้พืชผักสวนครัว มีความสมบูรณ์แข็งแรง และต้านทานโรคได้ดี
    - สำหรับไม้ผลหรือสวนยางพารา ใช้ในอัตราส่วน น้ำหมัก 1 ลิตร + น้ำเปล่า 500 – 1,000 ลิตร จะช่วยเป็นปุ๋ยและเป็นฮอร์โมนบำรุงให้ต้นไม้มีความอุดมสมบูรณ์และต้านทานโรคได้ดี


ขอบคุณข้อมูลจาก:คุณจำปา สุวไกร สมาชิกกลุ่มคุณธรรมกสิกรรมไร้สารพิษเศรษฐกิจพอเพียง จ.อำนาจเจริญ


 


* 1.jpg (10.54 KB, 199x198 - ดู 1063 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #267 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2013, 12:01:02 »

กับดักหอยเชอรี่

หอยเชอรี่ ศัตรูอันดับหนึ่งของต้นข้าว โดยเฉพาะช่วงเวลาที่กำลังเป็นต้นกล้า หอยเชอรี่จะกัดกินต้นข้าวจนแทบไม่เหลือ เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้สารเคมีในการกำจัดหอยเชอรี่แต่คุณอัมพร ทรัพย์สกุล หรือพี่ตี๋ ผู้สั่งสมประสบการณ์ในการทำนามากว่าสี่สิบปี เลือกที่จะคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ด้วยวิธีง่ายๆแต่ได้ผล และยังเป็นการช่วยโลกลดมลภาวะได้ด้วย คือการนำขวดพลาสติกมาประดิษฐ์เป็นที่ดักหอยเชอรี่ นอกจากจะเจ๋งเพราะนำขยะมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็ยังดักจับหอยเชอรี่ได้อยู่หมัด

        กว่าจะได้มาซึ่งนวัตกรรมชิ้นนี้ พี่ตี๋ต้องสังเกตและเรียนรู้วงจรชีวิตของหอยเชอรี่จนรู้ว่า หอยเชอรี่จะชอบขึ้นมาวางไข่บนไม้เหนือน้ำประมาณ 1 ฟุต  การสังเกตก่อเกิดเป็นนวัตกรรมแบบภูมิปัญญาชาวบ้านชิ้นนี้ขึ้นมา ลักษณะการทำงานของที่ดักหอยเชอรี่ ละม้ายคล้ายคลึงกับที่ดักจับสัตว์ทั่วๆไป คือเมื่อหอยเชอรี่ไต่ขึ้นมาวางไข่ในขวดแล้ว จะไม่สามารถไต่กลับลงไปในน้ำได้ ทั้งไข่หอยและตัวหอย จะถูกขังเอาไว้ในขวดนี้นั่นเอง

        พี่ตี๋นำหอยเชอรี่ที่ได้มาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ ผสมน้ำรดต้นข้าวในนาแทนการใช้ปุ๋ย ทำให้ประหยัดต้นทุนในการทำนาลงไปได้มากกว่าครึ่ง พี่ตี๋บอกว่าจากเดิมที่เคยใช้ปุ๋ยไร่ละ 50 กิโลกรัม ปัจจุบันเมื่อใช้น้ำหมักชีวภาพควบคู่ไปด้วย การใช้ปุ๋ยลดลงเหลือเพียง 10 กิโลกรัมเท่านั้น มันช่างน่าทึ่งเสียจริงๆ

        นอกจากจะเป็นนวัตกรรมที่ลดขยะให้โลกแล้ว ยังทำให้เกษตรกรไม่ต้องใช้สารเคมีในการปราบศัตรูพืช แถมหอยที่ได้ยังนำมาแปรรูปเพื่อไปเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย ประโยชน์หลายต่อแบบนี้ ดีทั้งต่อเกษตรกร และสร้างความมั่นใจว่าเราจะได้กินข้าวที่สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงปรารถนา สุดยอดจริงๆ

นวัตกรรมที่ดักหอยเชอรี่
โดย...อัมพร ทรัพย์สกุล
อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา


ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม 2555
เวลา 21.25-21.30 น. ทาง สทท.11


IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #268 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2013, 21:08:55 »

การใช้สารกำจัดวัชพืช  

        สารกำจัดวัชพืชเป็นสารเคมีที่พัฒนาเพื่อใช้ควบคุมวัชพืช ซึ่งย่อมเป็นอันตราย ดังนั้น การใช้จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารเคมี วิธีการใช้ ตลอดจนข้อควรระมัดระวัง จึงจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ประเภทสารกำจัดวัชพืช สารกำจัดวัชพืชสามารถจำแนกได้หลายแบบเพื่อสะดวกในการใช้ ส่วนใหญ่นิยมจำแนกตามช่วงเวลาการใช้ ดังนี้

        1. สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนปลูก เป็นสารเคมีที่ใช้พ่นก่อนการเตรียมดินเพื่อฆ่าวัชพืชที่ขึ้นอยู่ก่อนแล้ว จึงไถเตรียมดินหรือใช้พ่นฆ่าวัชพืชแทนการเตรียมดินแล้วปลูกพืชเลย สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ พาราควอท ไกลโฟเสต กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม

        2. สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ส่วนใหญ่เกษตรกรเรียกว่า ยาคุมหญ้า เป็นสารเคมีที่พ่นหลังปลูกพืช แต่ก่อนวัชพืชงอกในช่วงเวลาประมาณไม่เกิน 10 วัน เป็นการพ่นลงไปในผิวดินโดยตรง สารเคมีพวกนี้จะเข้าไปทำลายวัชพืชทางส่วนของเมล็ด ราก และยอดอ่อนใต้ดิน โดยต้องพ่นในสภาพที่ดินมีความชื้นเหมาะสม และมีการเตรียมดินที่สม่ำเสมอ สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ บิวทาคลอร์ เพรททิลาคลอร์ อ๊อกซาไดอะซอน

        3. สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก ส่วนใหญ่เกษตรกรเรียกว่า ยาฆ่าหญ้า เป็นสารเคมีที่ใช้พ่นหลังจากวัชพืชงอกขึ้นมาแล้วในช่วงเวลาเกินกว่า 10 วันขึ้นไป โดยพยายามพ่นให้สัมผัสส่วนของวัชพืชให้มากที่สุด สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ โปรปานิล ฟิโนซาพรอบ-พี-เอทิล 2,4-ดี

การใช้สารกำจัดวัชพืชให้มีประสิทธิภาพ ต้องปฏิบัติดังนี้

                - เตรียมดินให้ดี และปรับระดับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ มีผลกับการให้น้ำซึ่งหลังจากพ่นสารกำจัดวัชพืชแล้วถ้าเอาน้ำเข้าได้ทั่วถึง สารกำจัดวัชพืชจะมีประสิทธิภาพได้เต็มที่

        - การใช้สารกำจัดวัชพืชให้ถูกต้อง ถือหลัก 4 ประการ ดังนี้

ใช้ให้ถูกชนิด กับพืชปลูกและชนิดวัชพืชที่สามารถควบคุมได้
ใช้ให้ถูกเวลา กับอายุพืชปลูก อายุของวัชพืชและสภาพแวดล้อม
ใช้ให้ถูกอัตรา ตามที่กำหนดในฉลากสารกำจัดวัชพืช
ใช้ให้ถูกวิธี กับสารกำจัดวัชพืชแต่ละประเภทและสภาพแวดล้อม
         - ก่อนใช้สารกำจัดวัชพืชทุกครั้งต้องอ่านฉลากให้เข้าใจและปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง

         - ควรสวมเสื้อผ้ามิดชิดและมีหน้ากากปิดจมูกป้องกันละอองสารเคมีในขณะพ่น หลังพ่นแล้วควรล้างทำความสะอาดร่างกายให้ดี

          - จัดการน้ำอย่างเหมาะสม โดยหลังพ่นสารกำจัดวัชพืชแล้ว 3 วัน ควรเอาน้ำเข้านา ถ้านานเกินไปจนดินแห้ง จะทำให้ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชลดลง
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #269 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2013, 21:36:22 »

ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวมีดังนี้

ความสูงของพื้นที่ ข้าวขึ้นได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงที่สูง 2,500 เมตร สามารถเจริญเติบโตทั้งในที่ดอน (ข้าวไร่) และที่ลุ่มมีระดับน้ำตั้งแต่ 5 เซนติเมตร (ข้าวนาสวน) จนถึงหลายเมตร (ข้าวฟางลอย) 


              ดิน ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดยกเว้นดินทราย ส่วนใหญ่ชอบขึ้นในดินเหนียว และเหนียวปนร่วน มีความเป็นกรดและด่าง (pH) ตั้งแต่ 3-10 ขึ้นได้แม้กระทั่งในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ   


              ปริมาณน้ำ มีความต้องการน้ำตั้งแต่ 875 มิลลิเมตร (ข้าวไร่) จนถึง 2,000 มิลลิเมตร (ข้าวนาสวน) ต่อปี แต่ควรมีการกระจายฝนที่ดี ในพื้นที่ที่ไม่ได้รับน้ำชลประทานหรือที่เรียกว่านาน้ำฝน ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกข้าวได้ในนาปีเท่านั้น และการตอบสนองต่อความต้องการน้ำยังขึ้นอยู่กับพันธุ์และช่วงของการเจริญเติบโต ในช่วงการเตรียมดินนั้นควรมีน้ำประมาณ 150-200 มิลลิเมตร ช่วงที่เป็นต้นกล้าต้องการประมาณ 250-400 มิลลิเมตร จนถึงต้นกล้าอายุ 30-40 วัน ส่วนในช่วงปักดำจนกระทั่งเก็บเกี่ยวนั้นควรมีน้ำอยู่ในระหว่าง 800-1,200 มิลลิเมตร     


              แสงอาทิตย์ ปริมาณแสงมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตโดยที่พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง และช่วงเวลาสั้นยาวของกลางวันกลางคืนยังมีผลต่อการเจริญทางการสืบพันธุ์ของข้าวไวแสง ความเข้มของแสงในฤดูฝนซึ่งมีเมฆหมอกมากนั้นจะน้อยกว่าความเข้มแสงในฤดูร้อน ผลผลิตข้าวส่วนใหญ่จึงน้อยกว่าเมื่อปลูกในฤดูฝน แสงแดดมีความจำเป็นมากในช่วงเริ่มสร้างดอกจนกระทั่ง 10 วันก่อนเมล็ดแก่       


              อุณหภูมิ ได้มีการศึกษาพบว่าอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของข้าวและการให้ผลผลิต พบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมจะอยู่ในระหว่าง 25-33 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไป (ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส) จะมีผลต่อการงอกของเมล็ด การยืดของใบ การแตกกอ การสร้างดอกอ่อน การผสมเกสร เป็นต้น เช่น พบว่าอุณหภูมิที่สูงเกินไปและต่ำเกินไปช่วงที่มีการออกดอกจะทำให้ดอกข้าวเป็นหมัน ซึ่งจะส่งผลทำให้ได้ผลผลิตต่ำกว่าปกติ เป็นต้น     


              ความชื้นสัมพัทธ์ อิทธิพลของความชื้นสัมพัทธ์ของบรรยากาศต่อการเจริญเติบโตของข้าวนั้นมักจะไม่ชัดเจน เพราะจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มแสงและอุณหภูมิในเชิงที่กลับกันคือ เมื่อความเข้มของแสงมากและอุณหภูมิสูงมักทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ อุณหภูมิเย็นในเวลากลางคืนทำให้เกิดน้ำค้างสูง จะมีผลต่อการพัฒนาของเชื้อโรคของข้าวบางชนิด เช่น โรคใบไหม้ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น เป็นต้น


              ลม ลมอ่อนที่พัดถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา (ความเร็วประมาณ 0.75-2.25 เซนติเมตร/วินาที) จะช่วยให้มีการถ่ายเทก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงได้ดี ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์แสงได้มากยิ่งขึ้น แต่ถ้าลมแรงจะมีผลโดยตรงทำให้ต้นข้าวหักล้ม เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตได้     


              ฤดูปลูก  ปลูกได้ตลอดปี แต่ควรหลีกเลี่ยงช่วงการปลูกที่ต้นข้าวจะออกดอกในช่วงอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 33 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการปลูกที่ต้องเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฝนชุก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องวางแผนการปลูกที่เหมาะสม   
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #270 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2013, 22:29:03 »

ถ้าเราจะลงรายละเอียดเกี่ยวกับข้าวนั้น สามารถศึกษาได้จากหนังสือที่เกี่ยวกับข้าว ซึ่งค่อนข้างมีมากแต่มักไม่ค่อยมีขายทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนในระดับมหาลัย หนังสือจะมี ทั้งเรื่องข้าว เรื่องดิน เรื่องปุ๋ย ศัตรูพืช วัชพืช โรคข้าว หนังสือบางเล่มหนา 3ร้อยกว่าหน้า หากเราเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ทำไปด้วยและได้ความรู้ ทฤษฎีที่ถูกต้องไปด้วยก็จะช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น  ผมก็มีอยู่หลายเล่มครับ ซื้อเป็นเล่มมา บางทีก็ดาวน์โหลดจากเน็ตแล้วไปปรินท์ บางทีก็เก็บเป็นไฟล์ PDF อยู่ในเครื่อง มีเวลาก็อ่านจำได้บ้างไม่ได้บ้าง บางทีก็พยายามตั้งคำถามกับตัวเองบ่อย ๆ และกลับไปค้นหาคำตอบครับ หรือว่าอ่านบ่อย ๆ ก็ช่วยให้จำได้และเข้าใจได้บ้าง   หนังสือเกี่ยวกับข้าวถ้าเราสนใจแต่หาซื้อไม่ได้ ตอนนี้ก็มีหลายเว็ปที่สามารถอ่านได้เป็น E-Book  ก็มีครับ


* 6260784_1263301405.jpg (71.08 KB, 450x600 - ดู 1044 ครั้ง.)

* about_soil_fertilizer_cover.jpg (59.61 KB, 377x512 - ดู 1092 ครั้ง.)

* image2668.jpg (147.87 KB, 640x480 - ดู 1197 ครั้ง.)

* nature_soil_fertilizer_cover.jpg (85.81 KB, 376x512 - ดู 1051 ครั้ง.)

* rice_cover.jpg (67.77 KB, 292x410 - ดู 1069 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #271 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2013, 22:45:17 »

วันนี้เอาข้อมูลการทำเตาเผาถ่านจากถังสองร้อยลิตรไว้ในกระทู้สิ่งประดิษฐ์ที่ปักหมุดไว้ ในตอนที่ 3 ของวิดีโอ จะเป็นขั้นตอนการใช้ และการเก็บน้ำส้มควันไม้อย่างถูกวิธีซึ่งค่อนข้างน่าสนใจทีเดียวเลยเอาตอนที่ 3 มาให้ดูในกระทู้นี้  เพราะบางคนยังคงเข้าใจผิด ๆ อยู่บางแห่งเก็บน้ำมันดินมา อย่าง เทศบาล อบต บางแห่งก็จัดซื้อมาแจกโดยไม่รู้ว่าน้ำส้มควันไม้เป็นยังไง การเก็บไม่ถูกต้อง พอชาวบ้านนำไปใช้ไม่เห็นผล บางทีก่อให้เกิดโรคอีก จนเลิกใช้ไปเลยก็มี



IP : บันทึกการเข้า
Khunplong
สมาชิกลงทะเบียน
มัธยม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 836



« ตอบ #272 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 09:08:10 »

 LIKE! แวะมากดไล้ค์ให้กระทู้ความรู้ดีๆแบบนี้ครับ ขอให้มีแรงพลังที่จะรวบรวมความรู้เกี่ยวกับข้าวและการทำนาและความรู้ที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกรชาวเชียงรายและผู้สนใจและมีใจรักการเกษตรทุกท่าน ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า

ไร่จันทร์กะสิน By Khunplong (ขุนปล้อง)
08-9432-5413(DTAC)09-3130-9451(AIS) @140 ม.10 ต.ปล้อง อ.เทิง จ.เชียงราย 57230 https://www.facebook.com/jatupong.tapiang
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #273 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 11:13:37 »

ปักหมุดเลยคับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #274 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 11:30:43 »

ขอบคุณท่าน Khunplong และ ท่าน chate ครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #275 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 11:44:03 »

วันนี้ไปดูต้นดอกดาวเรืองที่เพาะไว้หลังบ้าน ต้นดาวเรืองทยอยขึ้นเรื่อย ๆ นับได้ตอนนี้ได้ 50 กว่าต้น ดูแล้วน่าจะขึ้นอีกเยอะอยู่เพราะสังเกตเห็นมีต้นใหม่เพิ่มขึ้นทุกวัน หากไปซื้อที่เขาเพาะไว้ขายเป็นถุงก็คงหมดหลายบาทอยู่  ตอนนี้ก็เตรียมทำน้ำหมักจุลินทรีย์ และน้ำหมักยาขับไล่แมลงไปด้วยวันหยุดเสาร์อาทิตย์นี้คงทำเสร็จครับ


* IMG_8155.JPG (114.67 KB, 700x525 - ดู 1040 ครั้ง.)

* IMG_8157.JPG (114.91 KB, 700x525 - ดู 1035 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 25 มกราคม 2013, 11:46:24 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #276 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 12:02:17 »

สมุนไพรขับไล่แมลง

โดยธรรมชาติที่พืชบางชนิดซึ่งมีฤทธิ์ในการทำลายหรือแมลง กลัวไม่เข้าใกล้ หรือกลิ่นของพืชบางชนิด ที่แมลง และเชื้อโรค ไม่ชอบ ต้องศึกษาว่าสมุนไพรหรือพืชชนิดนั้น ๆ มีผลต่อโรคแมลงชนิดใด นำมาใช้หมักกับจุลินทรีย์ แล้วนำไปฉีดพ่นขับไล่แมลงได้

สมุนไพรที่ขับไล่แมลงมีหลายอย่างเช่น
1. หนอนตายยาก - มีฤทธิ์ในการฆ่าหนอนหลายชนิด ,ฆ่าไส้เดือนฝอย
2. เมล็ดสะเดา - มีสารอะซาดีน แร๊กติน มีฤทธิ์ทำให้แมลง ด้วงหมัดผัก เบื่ออาหาร ผีเสื้อ ฆ่าเพลี้ย , ไร
3. ตะไคร้หอม - มีกลิ่นในการขับไล่แมลงทุกชนิด
4. ใบยาสูบ - มีสารที่กำจัดพวกทาก หรือเพลี้ยบางชนิด ,หนอนชอนใบ
5. ขมิ้นชัน - มีฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อรา
6. ไพล (ปูเลย) - มีฤทธิ์ในการทำลายแบคทีเรีย ,ไวรัส บางชนิด
7. ข่าแก่ - มีสารออกฤทธิ์ใน ด้วง ,เชื้อรา ,แมลงจั๊กจั่น บางชนิด
8. ใบและดอกดาวเรือง - แมลงหวีขาว ,ไส้เดือนฝอย ,ด้วงปีกแข็ง , เพลี้ยกระโดด
9. บอระเพ็ด - ทำลายเพลี้ยกระโดดมีน้ำตาล ,หนอนกอข้าว
10. ฟ้าทะลายโจร - มีรสขม กำจัดเชื้อแบคทีเรีย ,ไวรัส
11. สาบเสือ - เพลี้ยจั๊กจั่น ,เพลี้ยหอย, เพลี้ยอ่อน ,หนอนใยผัก
12. สาระแหน่ - มีน้ำมันในใบขับไล่แมลง
13. กระเพราดำ - กำจัดเชื้อราบางชนิด
14. หางไหล (โล่ติ๊น) - มีสารโรติโนน ทำให้แมลงหายใจลำบาก
15. ผกากรอง - มีสารแลนดาดีน มีผลต่อระบบประสาทของแมลง
16. ว่านน้ำ - ป้องกันและกำจัดแมลงผีเสื้อในข้าว
17. ดีปลี - กำจัดแมลงศัตรูข้าว .เพลี้ยบางชนิด
18. มะเขือเทศ - ใช้ใบกำจัดด้วงหมัดผัก , ด้วงหน่อไม้ฝรั่ง , ไรแดง , หนอนใยผัก
19. ใบน้อยหน่า - กำจัดเพลี้ยอ่อน ,หนอนใยผัก
20. กอมขม - กำจัดแมลงวันหัวเขียว , แมลงวันทอง
ฯลฯ

สูตรการทำสมุนไพรขับไล่แมลง
ส่วนผสม
- สมุนไพร (หลายชนิด) 50 กก. เลือกที่พอหาได้ง่ายในท้องถิ่น
- กากน้ำตาล 2 ลิตร
- EM - T 2 ลิตร
- น้ำสะอาด 50 ลิตร

วิธีทำ
1. นำสมุนไพร (หลายชนิด) นำมาสับหรือบดให้ละเอียด
2. ผสมกากน้ำตาล กับสมุนไพร EM - T ใส่ในกระสอบ มัดปากถุงให้แน่น
3. นำถุงมาใส่ในถังหมัก (ประมาณ 100 ลิตร) ใส่น้ำแช่จนเกือบเต็มถัง
4. ปิดฝาทิ้งไว้ 7-15 วัน นำไปใช้ได้

ประโยชน์และวิธีใช้
นำน้ำที่ได้ ผสมน้ำใช้อัตราส่วน 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน จะทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรคและขับไล่แมลงแต่กรณีที่เป็นหนอน หรือ เพลี้ยจั๊กจั่น หรือแมลงชนิดที่มีตัวใหญ่ ๆ ให้ผสมน้ำสมุนไพร 1 ส่วน : เหล้าขาว 1 ส่วน : น้ำสมสายชู 5 % 1 ส่วน หมักทิ้งไว้ 1 คืน (น้ำสมุนไพร 1 ลิตร : เหล้าขาว 1 ลิตร : น้ำสมสายชู 5 % 1 ลิตร) นำน้ำที่หมักได้ ผสมน้ำอัตราส่วน 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็น ใช้ติดต่อกัน 3 วันแรก จะทำให้หนอน แมลง ค่อย ๆ ตายไปลดจำนวนแมลง


* herb.jpg (351.53 KB, 486x3354 - ดู 1043 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #277 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 13:53:29 »

อ่านแล้วก็เพลินดีครับหนังสือเล่มนี้ เป็นการ์ตูนอ่านง่าย เข้าใจง่ายครับ

http://www.youblisher.com/p/378263-/


* about_soil_fertilizer_cover.jpg (59.61 KB, 377x512 - ดู 1034 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #278 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 16:14:43 »

ถังพ่นยามือโยก

เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลังชนิดสูบโยก เป็นเครื่องพ่นยาขนาดเล็กที่นิยมใช้กันแพร่หลายแบบหนึ่ง เครื่องพ่นยาแบบนี้ประกอบด้วยถังน้ำยา ซึ่งวางตั้งบนพื้นได้ ทำให้การเทน้ำยาเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชลงไปในถังได้สะดวก อีกทั้งยังมีรูปร่างที่เหมาะสมสำหรับใช้สะพายหลังผู้ทีพ่นยา นอกจากนั้นยังประกอบด้วย ปั้ม ห้องเก็บความดัน ก้านฉีดพร้อมมือบีบพ่นน้ำยา และหัวฉีดถังน้ำยาอาจจะทำมาจากสะเตนเลส ทองเหลือหรือเหล็กเคลือบสังกะสี แต่ในปัจจุบันถังที่ทำจากโลหะเหล่านี้มีราคาสูงขึ้น ความนิยมใช้จึงลดลงและเปลี่ยนไปใช้ถังที่ทำจากพลาสติกแทน ทั้งนี้เพราะเมื่อสะพายหลังแล้วรู้สึกสบายและเบากว่าถังที่ทำจากโลหะ ถังน้ำยาส่วนใหญ่มีความจุประมาณ 15 ลิตร และที่ด้านข้างถังจะมีขีดบอกระดับน้ำยาเป็นเครื่องหมายไว้ด้วย เมื่อบรรจุน้ำยาแล้วน้ำหนักรวมทั้งหมดไม่ควรเกิน 20 กิโลกรัม ไม่เช่นนั้นแล้วผู้ใช้จะแยกน้ำหนักมากเกินไป การพ่นฮอร์โมนธรรมชาติเราก็ใช้เครื่องแบบนี้ได้




* ns-16.jpg (53.74 KB, 635x949 - ดู 1375 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #279 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 16:21:28 »

ถังพ่นยาไฟฟ้า
เครื่องฉีดพ่นยาเป็นเครื่องมือทางการเกษตรที่จำเป็นเกษตรกรต้องมี ไว้ใช้เกือบทุกครัวเรือน ถ้าเกษตรกรมีเครื่องฉีดยาชนิดไฟฟ้าจะทำให้เกษตรกรทุ่นแรงประหยัดเวลาได้อย่างมาก

คุณสมบัติและลักษณะเด่น

คุณสมบัติ ใช้ฉีด พ่นยาฆ่าหญ้า ยาคุมหญ้า ให้ฮอร์โมน ฯลฯ

ลักษณะเด่น

เครื่องฉีดพ่นยาชนิดไฟฟ้าจะใช้งานได้ง่ายกว่าคือ แค่กดสวิตช์ เปิด-ปิด เครื่องก็จะทำงานฉีดพ่นยาได้

ฉีดพ่นยาได้อย่างสม่ำเสมอ

ประหยัดเวลาใน การทำงาน
ขั้นตอน การใช้งาน

เมื่อนำน้ำยาใส่ลงไปในถัง เปิดสวิตช์ ปั้มก็จะทำงานฉีดพ่นน้ำยาออกมาและเมื่อเสร็จการใช้งานก็กดสวิตท์ปิดปั้มก็จะหยุด เมื่อแบตเตอรี่หมดก็จะนำมาชาร์ตใหม่ได้อีก


* Sprayer%20KF-16C-12%20copy.jpg (14.68 KB, 326x600 - ดู 1010 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 [14] 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!