เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 18 กรกฎาคม 2025, 05:43:14
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 [16] 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 ... 96 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 417592 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #300 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2013, 22:20:14 »

รถดำนามีให้เลือกหลายรุ่น ราคาไม่แพงหากเทียบรายได้ของชาวญี่ปุ่น


* untitled1.jpg (70.39 KB, 800x525 - ดู 2399 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #301 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2013, 22:25:08 »

รถแทรกเตอร์ครับ ค่อนข้างทันสมัยทีเดียว


* untitled2.jpg (86.84 KB, 800x500 - ดู 2629 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #302 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2013, 22:37:58 »

อย่างรถแทรกเตอร์รุ่นขนาด 34 แรงม้ายอดฮิตในบ้านเราหากในญี่ปุ่นแล้วสามารถนำมาเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงได้หลากหลายเลยทีเดียว


* 1.JPG (93.5 KB, 898x539 - ดู 2273 ครั้ง.)

* 2.JPG (78.19 KB, 736x495 - ดู 2273 ครั้ง.)

* 3.JPG (80.5 KB, 735x492 - ดู 2192 ครั้ง.)

* 5.JPG (84.91 KB, 732x489 - ดู 2336 ครั้ง.)

* 6.JPG (137.49 KB, 732x492 - ดู 2215 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #303 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2013, 11:47:14 »

แวะมาผ่อคับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #304 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2013, 15:19:51 »

ลุงฟาง ทำนาโดยไม่ต้องทำนา

ในอัลบั้ม “หากหัวใจยังรักควาย” ของวงคาราบาว เพลงชุดท้ายในแผ่นที่ 2 มีชื่อว่า “ลุงฟาง”
เพลงนี้เกิดมาจากการเรียบเรียงเรื่องราวของชายชาวญี่ปุ่นที่ชื่อมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ชายผู้ที่กลับคืนสู่วิธีธรรมชาติด้วยการทำนาโดยไม่ต้องทำนา เก็บเวลาไว้คุยกับตะวัน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเพลงนี้ทำให้หลายคนรู้จักมาซาโนบุ ฟูกูโอกะไม่ต่างจากหนังสือ “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว” (ในชื่อภาษาไทย) ที่เขาเขียนแต่ปัจจุบันศาสตร์ที่ว่าด้วยการ “ทำนา โดยไม่ต้องทำนา” นี้ ดูจะกลายเป็นวิถีที่ล้าหลังและโบราณไม่ต่างจากอายุของลุงฟางในวันที่เทคโนโลยียกระดับขีดความสามารถไปข้างหน้าเพื่อสนองต่อความต้องการบริโภคจำนวนมากของคนบางกลุ่ม

มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2454 ในหมู่บ้านเล็กๆ บนเกาะซิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และจบการศึกษาทางจุลชีววิทยาสาขาโรคพืชวิทยา เคยทำงานเป็นนักวิจัยทางการเกษตรของกรมศุลกากรเมืองโยโกฮาม่าในการตรวจสอบพันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่งออก เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี ได้ตัดสินใจลาออกจากงานและกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท เขาใช้เวลากว่า 50 ปี ไปกับการพัฒนาวิธีการทำการเกษตรธรรมชาติ

 ฟูกูโอกะเป็นผู้นำงานจากห้องทดลองออกมาสู่ไร่นา เขาอธิบายว่า ชาวนาเชื่อว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งไถพรวนมาก ดินก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นทำให้อนุภาคของดินแตกกระจายออกจากกันทำให้อนุภาคของดินเหล่านี้เข้าไปอุดอยู่ในช่องว่างในดิน ดินก็จะแข็งขึ้นเกิดชั้นดินดาน ถ้าปล่อยให้วัชพืชทำหน้าที่นี้แทน รากของวัชพืชจะซอนไซลงไปได้ลึกได้ถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและน้ำผ่านเข้าไปในเนื้อดินได้ เมื่อรากเหล่านี้ตายก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้แพร่ขยายจำนวนมากขึ้น ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นและตัวตุ่นก็จะมีตามมา ซึ่งจะช่วยขุดดิน เป็นการช่วยพรวนดินตามธรรมชาติ ดินจะร่วนซุย และสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วย เพียงแต่ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง



หลักปฏิบัติ 4 ข้อ ใจความสำคัญอันว่าด้วย

(1) ไม่ไถพรวนดิน
(2) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือทำปุ๋ยหมัก
(3) ไม่จำกัดวัชพืช ไม่ว่าด้วยการถากถางหรือใช้ยากำจัดวัชพืช
(4) ไม่ใช้สารเคมี ดูจะเป็นสิ่งไม่ทันกาล

เพราะถึงจะมีข้อดี

1.) สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย
2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์
3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น
4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ 5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย)

แต่ก็มีสิ่งที่เป็นจุดอ่อนหรือข้อเสียเช่นกัน
1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ
3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน
4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่
5.) ไม่สามารถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ
ซึ่งข้อเสียที่ว่า ส่งผลบรรษัทให้ข้ามชาติ และในชาติหลายรายผลิตสารเคมี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงต่างๆ ออกมาเพื่อกระตุ้นการเติบโตของพืชผลให้แก่เกษตรกรออกขายสู่ตลอดอย่างทันท่วงที




* fukuokafarm.jpg (97.75 KB, 600x400 - ดู 2246 ครั้ง.)

* large_DSC03929_resize.jpg (78.17 KB, 600x450 - ดู 2296 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« ตอบ #305 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2013, 15:35:07 »


   อัพเดทเรื่อยๆนะครับติดตามอยู่ครับ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #306 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2013, 19:56:16 »

คนไทยก็เป็นนักประดิษฐ์ ดัดแปลงเก่งเหมือนกัน รถทางการเกษตรหลายๆ แบบก็ผลิตในไทยแต่อาศัยเครื่องยนต์ หรือช่วงล่างจากต่างประเทศเท่านั้น อย่างรถไถนา รถตีดิน รถเกี่ยวข้าว เป็นต้น





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 29 มกราคม 2013, 20:00:38 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #307 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2013, 21:39:48 »

ทำนาตามแนวชัยพร

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #308 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2013, 21:43:05 »

การผลิตไตรโคเดอร์มาชนิดสด (การนึ่ง)

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #309 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2013, 21:46:05 »

การผลิตไตรโคเดอร์มาชนิดสด (การหุง)



IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #310 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2013, 22:24:41 »

ซิลิคอน (อังกฤษ: Silicon)

 เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีสัญลักษณ์ Si และเลขอะตอม 14 เป็นธาตุกึ่งโลหะแบบเตตระวาเลนต์ (คือมีวาเลนซ์เป็น 4) ซิลิคอนทำปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุที่คล้ายกันคือคาร์บอน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นอันดับ 2 มีปริมาตร 25.7% โดยน้ำหนัก ปรากฏในดินเหนียว เฟลด์สปาร์ (feldspar) หินแกรนิต ควอตซ์ และทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิคอน ไดออกไซด์ (หรือซิลิกา) และซิลิเกต (สารประกอบที่ประกอบจากซิลิคอน ออกซิเจน และ โลหะ) เราจึงพบซิลิกอนในพืชเกือบทุกชนิด  รวมทั้งในดินเองก็มีซิลิกอน เป็นองค์ประกอบหลัก และนี้คือความสำคัญของซิลิกอนในวัฎจักรของข้าว

การนำซิลิกอนไปใช้ของพืช จะต้องถูกดูดซึมทางรากและใบ โดยซิลิกอนจะละลายอยู่ในน้ำ และถูกดูดซึมไปกับน้ำในระบบการหาอาหารของพืช  แม้ว่าซิลิกอนจะพบมากในดิน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นซิลิกอนในรูปแบบที่ไม่ละลายน้ำ รูปแบของซิลิกอนที่ไม่ละลายน้ำ และพบเห็นกันบ่อยๆ ก็คือ ทราย กระจก แผ่นเซลแสงอาทิตย์ แร่หินบางชนิด การเปลี่ยนซิลิกอนในรูปแบบที่ไม่ละลายน้ำ ให้สามารถละลายน้ำได้  โดยกลไกของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการสลายตัว หรือ การย่อยของจุลินทรีย์จะใช้เวลานานมาก ดังนั้นการปลูกพืชซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ซิลิกอนขาดแคลนได้

ข้าวเป็นพืชที่ต้องการซิลิกอนจำนวนมาก
                ในแกลบมีปริมาณซิลิกอนสะสมอยู่มาก หรืออีกนัยหนึ่งคือ ข้าวเป็นพืชที่ต้องการซิลิกอนปริมาณมาก เพื่อให้เข้าใจถึงเรื่องปริมาณของซิลิกอนในข้าว ถ้าเกษตรกรเคยสังเกต การเผาแกลบจะพบว่ามีขี้เถ้าเหลืออยู่จำนวนมาก เมื่อเทียบกับ เถ้าของการเผาถ่าน หรือกิ่งไม้ เถ้าที่เหลืออยู่นี้แหละคือซิลิกอน
ถ้าผลผลิตต่อไร่ประมาณ 600 กิโลกรัมต่อไร่ จะพบว่าทุกครั้งที่มีการเก็บเกี่ยว ซิลิกอน ถูกขนย้ายออกจากพื้นนา มากกว่า 24 กิโลกรัม/ครั้ง ถ้านับตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก ปริมาณซิลิกอนที่ถูกขนย้ายออกมา จะมีปริมาณมหาศาล   แม้ว่าซิลิกอนจะไม่ใช่ธาตุอาหารหลัก แต่ก็เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในสร้างโครงสร้างและลำเลียงอาหารของพืช การขาดแคลนซิลิกอนจะทำให้ ข้าวอ่อนแอ ง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง และการให้ปริมาณซิลิกอนที่มากพอ จะทำให้ข้าวแข็งแรงขึ้น สอดคล้องกับปริมาณโรคและแมลง ที่มีการระบาดรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน  และการให้ซิลิกอนในปริมาณที่เหมาะสมจะกระตุ้นการสังเคราะห์แสงของข้าว ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น

ประโยชน์ของซิลิกอน
                ได้มีการทำการวิจัยแล้ว จากหลายสถาบัน ว่าซิลิกอน มีประโยชน์ในการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งจะกล่าวโดยกว้างๆ สำหรับพืชทั่วๆไป และจะได้ชี้ให้เห็นคุณประโยชน์เมื่อใช้ในนาข้าวในบทต่อไป

                1.ซิลิกอน ช่วยปลดปล่อย ฟอสฟอรัส ในดินให้พืชสามารถใช้งานได้ ความจริงฟอสฟอรัสในดินมีปริมาณมาก แต่ภาวะดินเปรี้ยว และการใช้สารเคมีเชิงซ้อนปริมาณมาก ทำให้ฟอสฟอรัสในดินส่วนใหญ่ อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  การให้ซิลิกอนกับพืช จึงทำให้ใช้ประโยชน์จากฟอสฟอรัสในดินอย่างคุ้มค่า  ฟอสฟอรัส เป็นธาตุอาหารหลัก เกี่ยวข้องกับระบบรากและยอดอ่อน

                2.ซิลิกอนที่พืชได้รับ จะถูกเปลี่ยนรูปเป็นของแข็งสะสมอยู่ตามผนังเซล ทำให้โครงสร้างต่างๆของพืชแข็งแรง แมลงเจาะน้ำเลี้ยงได้ยากลำบาก โรคต่างๆ โดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายพืชได้ยากขึ้น

                3.โครงสร้างที่แข็งแรง ทำให้ใบตั้งและรับแสงได้ดีขึ้น ใบกว้างขึ้น และแสงผ่านใบได้น้อยลง อัตราการสังเคราะห์แสงของพืชจะเพิ่มขึ้น

                4.ซิลิกอน ช่วยดูดซับพิษจากโลหะ เช่นอลูมิเนียม สนิมเหล็ก โซเดียม

                ดังที่ได้ทราบข้างต้นแล้วว่า ซิลิกอนมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะข้าว ในเกษตรกรรมของประเทศที่เจริญแล้ว เช่น ญี่ปุ่น มีการใช้ซิลิกอน เพื่อเพิ่มผลผลิตในนาข้าวกันอย่างกว้างขวาง  แต่ซิลิกอนเหล่านั้น ส่วนใหญ่ได้มาจากส่วนเหลือในอุตสาหกรรม  ซึ่งการควบคุมเรื่องสารตกค้าง หรือสิ่งเจือปนเป็นไปได้ยากลำบาก ซิลิกอนจากพืชจึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า เนื่องจากกลไกการหาอาหารของพืชได้คัดกรองมาระดับหนึ่งแล้ว และซิลิกอนในพืชเป็นรูปแบบ อมาฟัส  แต่ซิลิกอนในสินแร่ส่วนใหญ่เป็น รูปแบบ คริสตัลายน์ ซึ่งพืชไม่สามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้ ซิลิกอนที่ได้จากพืชจึง เข้าถึงพืชระดับเซลได้ทันที และปราศจากสารตกค้าง  ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าแกลบ มีปริมาณซิลิกอนสะสมอยู่มาก จึงเหมาะที่จะนำมาสกัดเป็นสารละลายซิลิกอน การนำแกลบกลับเข้าพื้นที่นา ก็เป็นการเพิ่มสารอาหาร และสารซิลิกอน ที่ดี อย่างหนึ่ง แต่กลไกธรรมชาติ การสลายซิลิกอนให้อยู่ในรูปที่พืชใช้งานได้ ต้องใช้การย่อยสลายของจุลินทรีย์ ซึ่งใช้เวลานานมาก อาจเป็นปี ถ้าสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม

ข้าวเป็นพืชที่ต้องการปริมาณซิลิกอนมาก (มากกว่า 25 กิโลกรัม/ไร่/รอบเพาะปลูก) โดยกลไกของธรรมชาติ ซิลิกอนจะกลับสู่วัฎจักรของข้าวโดยการย่อยสลายของ จุลินทรีย์ ทั้งนี้ต้องมีการนำแกลบกลับเข้าใปยังพื้นนาด้วย

"ถ่านแกลบ" วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ที่วันนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ถ่านแกลบธรรมดาๆ แต่กลายเป็นวัสดุปลูกชั้นเยี่ยม แถมยังช่วยลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.K.Kyuma แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น มาแนะนำและสาธิตกระบวนการผลิต พร้อมทั้งวิธีการใช้ให้กลุ่มเกษตรกรไทยด้วยตัวเอง เป็นวิธีการง่ายๆ ที่ชาวนาและเกษตรกรทุกคนทำได้ ส่วนจะทำอย่างไรจึงจะแปรสภาพแกลบดิบเป็นแกลบเผาที่มีคุณค่าได้นั้นติดตามได้ต่อไป
 
ดินแหล่งกักคาร์บอนชั้นเยี่ยม
        ความ สำคัญของดินที่เป็นแหล่งสะสมคาร์บอน ได้มีผู้คาดคะเนว่าในดินลึก 1 เมตร มีคาร์บอนในรูปของอินทรียวัตถุ ประมาณ 1.5 ล้านล้านตัน ซึ่งเท่ากับ 2 เท่า ของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ หรือ 3 เท่าขององค์ประกอบของพืชและมากกว่าปริมาณที่ละลายในผิวน้ำมหาสมุทร ถ้าคำนวณให้ลึกถึงดินชั้นล่างและรวมถึงสารประกอบคาร์บอเนตจะมีมากกว่า
3 ล้านล้านตัน เนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรทางการเกษตรในศตวรรษที่ 19 ทำให้อินทรียวัตถุในดินชั้นไถพรวนลดลงอย่างรวดเร็วประมาณ 20-40% จากการเพาะปลูก การสูญเสียอินทรียวัตถุในดินช่วงปี 1860-1960  ได้คาดกันว่ามีประมาณ 36,000 ล้านตัน ในรูปคาร์บอน อัตราการสูญเสียคาร์บอนในปัจจุบันประมาณ 800 ล้านตันต่อปี เนื่องจากการพัฒนาการเกษตรในเขตร้อนชื้น

ถ่านแกลบช่วยปรับปรุงดินและเพิ่มคาร์บอนในดิน
        ถ่านแกลบ เป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ราคาถูก น้ำหนักเบา ขนส่งง่าย ไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง เมื่อผสมกับดิน ทำให้ดินเบา
ปรับปรุงสภาพทางกายภาพดิน เช่น การระบายอากาศ การซาบซึมน้ำ การอุ้มน้ำ ทำให้ดินเหนียวเมื่อแห้งไม่แตกระแหง
ลดความเป็นกรดของดิน เพิ่มอุณหภูมิดิน กระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ดิน ไม่มีเชื้อโรค นอกจากนั้น ในการผสมถ่านแกลบลงไปในดิน ท่านยังได้มีบทบาทในการช่วยลดภาวะโลกร้อน เนื่องจากถ่านแกลบเป็นคาร์บอน  มีความทนทานต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์และสูญหายไปจากดินได้ยาก ดังนั้นจึงสะสมอยู่ในดิน เป็นการเพิ่มคาร์บอนให้แก่ดินแทนที่จะเผากลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์สู่ บรรยากาศอันเป็นตัวการหนึ่งของภาวะโลกร้อน
 
- การเตรียมถ่านแกลบ : ใช้ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร เสียบท่อสังกะสี ยาวประมาณ 1.5-2.0 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด
3 นิ้ว ทำเป็นปล่องไฟใกล้ๆ กับส่วนบนของถัง และเจาะรูด้านล่างของถังเพื่อให้อากาศเข้า-ออก ขนาดช่องว่างเท่ากับ 3 นิ้ว เช่นกัน มีข้อต่อสามทางสำหรับเสียบปล่องไฟ เสียบถังน้ำมันและบีบท่อให้เล็กลงข้างล่าง เพื่อให้น้ำส้มควันแกลบไหลลงภาชนะที่แขวนไว้ที่ก้นถังมีแผ่นโลหะที่เป็นรู วางไว้ จุดไฟทางตอนบนของกองแกลบ ปิดถัง อากาศเข้าได้เฉพาะส่วนล่างทางรูด้านล่างของถัง สีของควันไฟจะเปลี่ยนจากเทาขาวเป็นสีฟ้า แสดงว่าการเผาแกลบเป็นถ่านเสร็จแล้ว ปิดรูด้านล่างของถังเพื่อไม่ให้มีการเผาไหม้ต่อไป ทิ้งถังไว้ค้างคืน เพื่อทำให้เย็นก่อนจะนำเอาถ่านแกลบออกมาใช้
 
- สมบัติทางกายภาพ : เมื่อเริ่มต้นด้วยแกลบ 100 ลิตร หรือ 13 กก. ปริมาณจะลดลงเหลือ 70% หรือ 70 ลิตร น้ำหนักจะลดลงเหลือประมาณ 50% หรือประมาณ 7 กก. ความหนาแน่น 0.1 กรัม/ซีซี ซึ่งเบากว่าดิน 10 เท่า โครงสร้างของถ่านแกลบจะมีลักษณะพรุนหรือมีช่องว่าง 80% และอุ้มน้ำได้ 40%
 
- สมบัติทางเคมี : ถ่านแกลบมีแร่ธาตุ 20% เมื่อเผาเป็นถ่านส่วนใหญ่ของสารประกอบอินทรีย์ในแกลบจะเปลี่ยนเป็นคาร์บอน และให้น้ำส้มควันแกลบ (กรดอะเซติก เมทธิลแอลกอฮอล์ อะซิโตน น้ำมันดิน ฯลฯ) ดังนั้นในการเผาแกลบ 100 ลิตร หรือ13 กก. เราจะได้ถ่านแกลบ 7 กก. มีแร่ธาตุ 2.5 กก. และคาร์บอน 4.5 กก. ในบรรดาแร่ธาตุที่ถูกเผานี้มีซิลิก้า 95%ส่วนใหญ่อยู่ใรูปที่ละลายน้ำและเป็นประโยชน์ต่อพืช ดังนั้นถ่านแกลบจึงเป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพที่ให้ซิลิก้าแก่พวกธัญญพืช ต่างๆ โดยเฉพาะข้าวและอ้อย มีโพแทสเซียมและฟอสเฟต 2.25% และ 0.35% ซึ่งละลายน้ำได้ เนื่องจากมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ถ่ายแกลบมีสมบัติเป็นด่าง pH มักสูงกว่า 8
- การผสมถ่านแกลบกับดิน : การที่วัสดุนี้มีรูพรุน น้ำหนักเบา และมีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ ราคาถูก ทำให้ถ่านแกลบเป็นสารปรับปรุงดินที่ดี โดยเฉพาะใช้ผสมกับดินเหนียวเพื่อทำให้ดินเหนียวมีความโปร่งร่วนซุยมากขึ้น ไถพรวนง่าย อัตราส่วนของการผสมควรเป็น 20% โดยปริมาตรเหมาะสมที่สุด

- การใช้ถ่ายแกลบเป็นวัสดุปลูกกล้าพืช สามารถใช้ถ่านแกลบอย่างเดียวได้โดยใช้กับแตงกวา แคนตาลูป แตงโม มะเขือเทศ มะเขือ กะหล่ำปลี ฯลฯ รวมทั้งไม้ดอก และยาสูบ ถ่านแกลบเมื่อนำมาใช้เป็นวัสดุปลูกกล้าพืชมีคุณภาพสม่ำเสมอ อุ้มน้ำได้ดี มีความโปร่ง ไม่มีปัญหาในเรื่องน้ำขังและละลายฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมออกมาให้พืชใช้ ทำให้ได้กล้าพืชที่แข็งแรง มีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก ในกรณีที่ใช้ถ่านแกลบอย่างเดียว อาจต้องล้างน้ำเพื่อให้ความเป็นกรดเป็นด่างลดลง

         ชาวสวนในอินโดนีเซีย นิยมใช้ถ่านแกลบเป็นวัสดุปลูกไม้ประดับกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสมนั่นคือ อุ้มน้ำ ระบายอากาศ น้ำหนักเบา รวมทั้งหาได้ง่าย ขนย้ายได้สะดวก

         ในประเทศญี่ปุ่นได้ มีการใช้ถ่านจากไม้และแกลบในการปรับปรุงดินหรือให้ธาตุอาหารเพื่อการเกษตรมา เป็นเวลาหลายร้อยปี ปัจจุบันควรมีการทบทวนกิจกรรมนี้ในแง่ของสิ่งแวดล้อม การเพิ่มคาร์บอนในดินเป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการลดภาวะโลกร้อน
         การที่ส่งเสริมให้ เกษตรกรเตรียมถ่านแกลบไว้ใช้เอง เนื่องจากแกลบมีปริมาณซิลิก้าสูง การปลูกข้าวได้น้ำหนักเมล็ด 1 ตัน พืชจะดูดไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และซิลิก้า ประมาณ 20, 3.9, 22.7 และ 166 กก. ตามลำดับ ปริมาณของซิลิก้าในแกลบมีถึง 32 กก. ปริมาณโพแทสเซียมส่วนใหญ่อยู่ในฟาง (ตารางที่ 1) ดังนั้นการไถกลบฟางข้าวลงไปในนาแทนการเผาเป็นสิ่งที่เกษตรกรต้องทำในภาวะ ปุ๋ยแพงปัจุจุบัน ซึ่งจะช่วยทำให้ลดการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม  ซิลิกอนเป็นธาตุอาหารที่จำ เป็นสำหรับธัญพืชโดยเฉพาะข้าวและอ้อย ผู้เขียนอยากเห็นเกษตรกรมีโรงสีข้าวชุมชน สีข้าวกินเองและมีแกลบสำหรับทำถ่านใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินใช้ในการปลูกพืช ผัก ไม้ประดับหรือต้นกล้า ในการเตรียมถ่านแกลบไว้ใช้เอง นอกจากได้สารปรับปรุงดินชั้นเยี่ยมแล้ว ยังได้น้ำส้มควันแกลบไว้ใช้ไล่แมลง และช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วย เนื่องจากช่วยเพิ่มคาร์บอนลงไปในดิน
         นอกจากนี้ยังจะทำ ให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกร เป็นการสร้างเครือข่าย เกิดการพึ่งตนเอง อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการทำการเกษตรต่อไป สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลการเผาถ่านแกลบและการทำน้ำส้มควันแกลบ ท่านสามารถติดตามได้ในตอนต่อไป

         ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. K.Kyuma แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต ที่ได้ให้ข้อมูลและทดลองทำต้นแบบการเผาแกลบให้เกษตรกรไทย

 
ศ.ดร.ทัศนีย์  อัตตะนันทน์
ที่ปรึกษาเครือข่ายกองทุนพี่ช่วยน้องและเพื่อน




* cc_01.jpg (67.72 KB, 512x363 - ดู 2176 ครั้ง.)

* cc_03.jpg (70.21 KB, 400x300 - ดู 2754 ครั้ง.)

* cc_04.jpg (22.27 KB, 323x229 - ดู 2886 ครั้ง.)

* cc_05.jpg (34.69 KB, 507x223 - ดู 2534 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #311 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2013, 22:44:33 »

โดโลไมท์ เป็นสารปรับสภาพดิน และปรับโครงสร้างดิน ลดความเป็นกรด, แก้ดินเปรี้ยว, รักษาอาหารดินเสีย ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้พืชไม่ดูดปุ๋ย ใส่ปุ๋ยไปมากเท่าไหร่ พืชก็ไม่ดูดกิน อันเนื่องมาจากดินเสีย เพราะใช้เคมีกับดินมาเป็นเวลานาน

ส่วนประกอบ
แคลเซียมออกไซต์ 35%
แมกนีเซียมออก ไซต์ 25%
ซิลิกอนไดออกไซต์ 10%

คุณสมบัติ
- แก้ปัญหาการขาดธาตุอาหาร แคลเซียม แมกนีเซียม และซิลิกอน ในดิน
- แก้ปัญหาพืชไม่กินปุ๋ย ใส่ปุ๋ยเท่าไหร่พืชก็ไม่โต ช่วยให้พืชดูดกินปุ๋ยได้ดีขึ้น
- เพิ่มค่าการดูดซับ และความสามารถการแลกเปลี่ยน CEC ของดิน
- เพิ่มการสังเคราะห์แสง การสร้างสารเขียว และการแบ่งเซลล์ของพืช
- เพิ่มความสามารถการทำงานของจุลินทรีย์ ปัองกันโรค และแมลงเข้าทำลาย

ประโยชน์ของแร่โดโลไมท์ต่อการเกษตร
1. ให้ธาตุอาหารหลักแก่พืช เพราะแร่โดโลไมท์ ที่พบนั้นมีส่วนประกอบของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
2. ให้ธาตุอาหารรองแก่พืช นอกจากจะมีธาตุอาหารหลักแล้ว จากการส่งตรวจวิเคราะห์ยังพบธาตุอาหารรอง ได้แก่ ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน รวมทั้งธาตุอาหารเสริมที่จำเป็นแก่พืช อาทิ เหล็ก แมงกานิส ทองแดง และสังกะสีอีกด้วย
3. ปรับปรุงบำรุงดินให้ร่วนซุย เนื่องจากโดโลไมท์เป็นแร่ที่มีลักษณะพรุน ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก   ทำให้จุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ พืชผลก็จะได้คุณภาพที่ดี
4. ปลดปล่อยธาตุอาหารในดิน ดินที่ถูกตรึงธาตุอาหารไว้ เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นเวลานานและทำให้ปุ๋ยเคมีสะสมในดินเป็นจำนวนมาก จะทำให้รากพืชสามารถดูด และนำพาปุ๋ยที่สะสมในดินไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด
5. แก้ปัญหาสภาพดิน สภาพดินเปรี้ยว ดินพรุน ดินดาน ดินเสื่อมโทรม และดินที่ใช้ทำการเกษตรมาเป็นเวลานานๆ สามารถปรับสภาพดินให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการทำการเกษตร ส่งให้ผลผลิตที่ได้รับมีคุณภาพสูงสุด
6. ป้องกันและแก้ปัญหาพืชโตช้า แคระแกร็น ใบเหลือง ใบซีด ใบหงิกงอ ดอกผลร่วง ผลมีขนาดเล็ก รูปทรงผิดส่วน ผลผลิตตกต่ำ ใช้โดโลไมท์ ซึ่งเป็นแร่ธรรมชาติปรับสภาพดิน จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างเห็นผลได้ดี
7. พืชสามารถนำธาตุอาหารต่างๆ รวมถึงอินทรียวัตถุที่มีในโดโลไมท์ไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เพราะมีการย่อยสลายที่สมบูรณ์

การปรับสภาพดินด้วย โดโลไมท์
โดโลไมท์ช่วยในการปลูกพืช ปรับสภาพน้ำ ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ช่วยในการเจริญเติบโตใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง กว่า 50% ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรส่วนประกอบสำคัญ : แคลเซียม ไม่ต่ำกว่า 43 %แมกนีเซียม ไม่ต่ำกว่า 22%นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแร่ธาตุ ซิลิกอน, โซเดียม,โปรแทสเซียม, เหล็ก, แมงกานีส, ทาลิเนียม, ฟอสฟอรัสฯลฯทำมาจากหินฟอสเฟตจากธรรมชาติ ที่มีชื่อทางการว่าโดโลไมท์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทางหน่วยงานในภาครัฐมีการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาใช้ เพราะนอกจากจะเป็นการปรับปรุงบำรุงดินน้ำโดยวิธีธรรมชาติแล้ว ทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายจากเดิมได้มากขึ้น คุณสมบัติในดินช่วยเสริมสร้างส่วนที่เป็นดอก การผสมเกสร และการติดเมล็ด เร่งสร้างความเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของพืช เพิ่มภูมิต้านทาน เสริมต้นพืชให้แข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อม และโรคแมลงต่างๆ- ควบคุมค่า pH  ในการใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต หรือ โดโลไมท์ นั้นให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นกรดเห็นด่างของดินด้วยกล่าวคือ ในสภาพดินที่มีแนวโน้มการเป็นกรดเห็นด่างสูงให้ใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตและ ในสภาพดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างต่ำให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ ในการใช้ปุ๋ยโดโลไมท์นั้นควรให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมี ประมาณ 1 เดือน การปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินโดยทั่วไปสภาพดินมีการเปลี่ยน แปลง เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานหลายปี   เกิดการเปลี่ยน แปลงทางโครงสร้างของดิน เช่นดินจับแข็งกันเป็นก้อนซึ่งเกิดจากการตรึงธาตุอาหารบางชนิดที่จำเป็นต่อ พืชการไถพรวนดินที่ผิดวิธีที่ก่อให้เกิดการชะล้างของผิวดินการปลูกพืชชนิด เดียวกันเป็นเวลาติดต่อกันหลายปีทำให้เนื้อดินเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธี การปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินกระทำได้โดยใส่ปูนขาว ปูนมาร์ลหรือแร่โดโลไมท์ อัตรา200-300 กิโลกรัม / ไร่  หลังจากหว่านหรือใส่ปูนแล้วจะต้องรดน้ำตามด้วยค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ค่าความเป็นกรดด่างของดิน หรือ พีเอช (pH) จะบอกค่าตัวเลขตั้งแต่ 0-14 หากดินมีค่าพีเอชน้อยกว่า7 ดินนั้นจะเป็นดินกรด  ยิ่งน้อยกว่า 7 มากก็จะเป็นกรดมาก ถ้าดินมีพีเอ็ชมากกว่า 7จะเป็นดินด่างแต่ปกติแล้วพีเอชของดินโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 5-8 หากดินมีพีเอชเท่ากับ 7 แสดงว่าเป็นกลางความเป็นกรดเป็นด่างของดินจะเป็นตัวควบคุมการละลายหรือการ ตรึงธาตุอาหารในดินออกมาอยู่ในรูปสารละลายในดินเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ ได้ ช่วงพีเอส 6.2-6.8เป็นช่วงที่ธาตุอาหารทั้งหมดที่จำเป็นแก่พืชจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ มากที่สุด พีเอชสูง กว่า 6.8          อาจทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุ ฟอสฟอรัสและธาตุเสริม เช่น เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn) , สังกะสี (Zn),ทองแดง (Cu) , และโบรอน (Bo) หากพีเอชต่ำกว่า 5.3 อาจทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุแคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม(Mg) , กำมะถัน (S) และโมลิบดินัม (Mo) ได้ หรือพืชจะแสดงอาการเป็นพิษจากแมงกานีส (Mg) , มากเกินไปแต่พืชบางชนิดอาจเจริญได้ดีที่เป็นกรด หรือเป็นด่าง มากกว่านี้ค่าพีเอชสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดพีเอช (pH meter)ปัจจุบันมีเครื่องวัดพีเอช แบบพกพาเกษตรกรสามารถวัดค่าพีเอชได้เองโดยการวัดพีเอชในดินโดยใช้เครื่องวัด พีเอชวัดในน้ำสารละลายดิน สัดส่วนดิน1 ส่วนโดยน้ำหนัก ต่อ น้ำ 1 ส่วน โดยปริมาตร แต่สามารถอนุโลมในการวัดในแปลงอย่างคร่าว ๆโดยใช้สัดส่วนเดียวกับการวัดค่าการนำไฟฟ้า (อีชี หรือ EC) ได้คือ      ดิน 1 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วนโดยปริมาตรและคนให้เข้ากันดี จากนั้นจึงทำการวัดโดยจุ่มเครื่องวัดพีเอช ลงในสารละลายหรือกระดาษสำหรับตรวจวัดพีเอชการแก้ไขความเป็นกรดเป็นด่างของ ดิน สามารถปฎิบัติได้ดังนี้

1. การแก้ไขดินกรดก่อนปลูกพืช พื้นที่ดินปลูกพืชผักส่วนใหญ่จะเป็นดินกรด ดังนั้นในการปลูกพืชส่วนใหญ่จำเป็นต้องปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้สูงขึ้น ควรใช้หินปูนบด(CaCo3 ) หรือปูนโดโลไมท์ (CaMg (Co3 ) 2 ) ในการปรับค่าพีเอชของดินปริมาณของหินปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินว่าดิน มีบัพเฟอร์มากน้อยแค่ไหนเกษตรกรจึงควรส่งดินเพื่อตรวจสอบพีเอชของดิน และขอคำแนะนำปริมาณหินปูนสำหรับดินชุดที่ส่งไปตรวจนั้นโดยทั่วไปหากผสมหิน ปูน 1.75 กิโลกรัม ในดิน 1 ลูกบาศก์เมตร จะทำให้ค่าพีเอชเพิ่มขึ้นประมาณ 0.3-0.5หน่วยหากไม่สามารถส่งดินเพื่อตรวจสอบได้อาจทดลองผสมหินปูนในอัตราที่ คาดว่าจะใช้จริงกับดินเป็นจำนวนน้อยก่อนโดยทำให้ดินชื้นเหมือนก่อนจะปลูกพืช แล้วใส่ถุงพลาสติกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นจึงควรตรวจสอบพีเอชควรใช้ปูนชนิดละเอียด (100 mesh) เพื่อการทดสอบนี้ เพราะหินปูนหยาบจะใช้เวลานานถึง 6 เดือนจึงจะทำปฎิกิริยาและลดพีเอชได้ในการใส่หินปูนในแปลงจึงสำคัญมากที่จะ ผสมให้เข้ากับดินเพื่อที่จะช่วยให้สลายตัวเร็วขึ้น หินปูน โดโลไมท์นอกจากจะปรับสภาพดินแล้วยังให้ธาตุอาหารรองคือ แคลเซียม ส่วนโดโลไมท์ยังให้แมกนีเซียมอีกด้วยดังนั้นในการปรับสภาพดินกรดโดยทั่วไป จึงแนะนำให้ใช้ปูนโดโลไมท์               
2. การแก้ไขดินกรดหลังปลูกพืชแล้ว การใส่หินปูน หรือปูนโดไลท์จะให้ผลช้าดังนั้นจึงไม่เหมาะสมกับการแก้ไขดินกรดเมื่อปลูกพืช แล้ว ซึ่งอาจปฎิบัติได้ดังนี้2.1 หากดินมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย อาจใช้ปุ๋ยเดี่ยว     เช่น แคลเซียมไนเตรท และโปแตสเซียมไนเตรทโดยอาจใช้เแคลเซียมไนเตรทอัตรา 2.4 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร        และโปรแตสเซียมไนเตรท อัตรา 1.2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรรดทุกสัปดาห์ วิธีนี้จะได้ผลหากเกษตรกรหมั่นตรวจสอบระดับพีเอช 2.2
หากดินมีสภาพเป็นกรดรุนแรง อาจจำเป็นต้องใช้ปูนขาว (แคลเซียมไฮดรอกไซด์ / Ca(OH) 2 )       ปูนขาวอาจทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อพืชได้ และในปริมาณมากจะทำให้รากเสียหาย การใช้ปูนขาวอาจใช้ในอัตรา 75กรัม ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร โรยลงบนดิน และให้น้ำทันทีเพื่อล้างส่วนที่ติดกับพืชออกไปและเพื่อให้ปูนขาว       เริ่มละลาย น้ำลงสู่ดิน หรืออาจให้ในรูปสารละลายราดบนดิน โดยผสมปูนขาว 24 กรัม ต่อน้ำ 1ลิตรและบนดินในอัตรา 10 ลิตร ต่อตารางเมตร ปูนขาวจะละลายน้ำได้ดี แต่จะมีผลในระยะสั้นดังนั้นหากปัญหาดินกรดยังไม่ดีขึ้นอาจให้ปูนขาวซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ปูนขาวอาจทำให้ธาตุไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม เปลี่ยนกลับเป็นก๊าซแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายต่อรากและใบพืชดังนั้นไม่ควร ใช้ปูนขาวเมื่อในแปลงปลูกได้ให้ปุ๋ยสลายตัวช้าที่มีแอมโมเนียมอยู่ก่อนแล้ว เช่น ปุ๋ยออสโมโคต

3. การแก้ปัญหาดินด่าง สามารถกระทำได้โดยเพิ่มสารอินทรีย์ในดินซึ่งเป็นขบวนการที่ค่อนข้างช้า      หรือใช้กำมะถันผง แอมโมเนียมซัลเฟต และเหล็กซัลเฟตในขณะก่อนปลูกพืชหรือหลังปลูก สารทั้ง 3 ชนิดสามารถผสมในดินแห้งได้หรืออาจให้โดยละลายน้ำรดบนดินเมื่อปลูกพืชก็ได้ สารพวกซัลเฟตจะทำปฏิกิริยาได้เร็วมาก ในขณะที่กำมะถันผงจะต้องถูกสลายตัวโดย จุลินทรีย์ก่อนซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ความเค็มของสารละลายในดิน  ในการดูดน้ำของพืชส่วนใหญ่แล้วน้ำจะเคลื่อนที่จากสารละลายดินที่มีความเข้มข้นของเกลือต่ำเข้าสู่รากที่มีสารละลายเกลือความเข้มข้นสูงกว่าหากปริมาณ เกลือในสารละลายดินมีมากเกินไป จะทำให้น้ำไม่เข้าสู่ราก ซึ่งพืชจะชะงักการเจริญเติบโตปลายรากตายโดยเฉพาะบริเวณดินแห้งเพราะเมื่อดินแห้งปริมาณเกลือจะมีความเข้มข้นสูงใบจะแห้งโดยเฉพาะบริเวณขอบใบ และจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารต่าง ๆ  ที่เป็นผลจากการที่รากเสียหายจนไม่สามารถดูดน้ำและแร่ธาตุได้เพียงพอเกลือ ในสารละลายดินมาจากหลายแหล่ง เช่นปุ๋ยที่ใช้กับพืช ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ ,ปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยสลายตัวช้าจะสลายตัวซึ่งให้เกลือที่ละลายน้ำปุ๋ยอินทรีย์ บางชนิดมีธาตุไนโตรเจนสูงก็เป็นแหล่งของเกลือดังนั้นในสารละลายดินจึงควรมี ปริมาณเกลือที่ละลายอยู่บ้างเพื่อแสดงว่าได้ให้ปุ๋ยเพียงพอแต่ประมาณเกลือก็ไม่ควรมากเกินไปจนเกิดผลเสียแก่พืช แต่บางแหล่งอาจไม่ใช่เกลือที่เป็นประโยชน์แก่พืชเช่น เกลือแกงเป็นต้นการแก้ไข หากมีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้ในดินมากเกินไป ก็สามารถแก้ไขได้โดยการชะล้างเกลือออกโดยใช้น้ำเป็นปริมาณมาก เพื่อรักษาโครงสร้างของดินจึงมีคำแนะนำให้ชะล้างเกลือด้วยน้ำ 200 ลิตรต่อตารางเมตร โดยใช้ระบบน้ำเหวี่ยง



* 1.jpg (113.24 KB, 512x384 - ดู 3890 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #312 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2013, 22:52:54 »

สารปรับปรุงดิน

สารปรับปรุงดิน คือ สารใดก็ตามที่ใส่ลงไปในดินแล้ว ทำให้สภาพทางเคมี ทางกายภาพและชีวภาพของดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งอาจมีธาตุอาหารพืชปะปนอยู่ในสารนั้นแต่วัตถุประสงค์ใช้สารปรับปรุงดิน จะไม่เน้นการเพิ่มเติมธาตุอาหารพืช สารปรับปรุงดินสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

สารปรับปรุงสภาพทางเคมีของดิน
สารปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน
สารปรับปรุงดินในการรักษาความชื้น

สารปรับปรุงสภาพทางเคมีของดิน
สภาพทางเคมีของดิน ได้แก่ ความเป็นกรด – เป็นด่างของดิน และความเค็มของดิน ซึ่งถ้าอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสม พืชก็ไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นปกติได้ หรือ เจริญเติบโตไม่ถึงศักยภาพที่ควรจะเป็น สารที่ใช้ปรับปรุงสภาพทางเคมีของดิน ได้แก่
1.ปูน (Lime) เป็นสารประกอบคาร์บอเนตออกไซค์และไฮดรอไซค์ของแคลเซี่ยมและแมกนีเซี่ยมเมื่อใส่ลงในดินก็จะทำปฏิกิริยาสะเทินความเป็นกรดของดินทำให้ระดับความเป็นกรด- เป็นด่างงของดินอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ปัญหาเกี่ยวกับธาตุอาหารพืชต่าง ๆ ที่เป็นพิษหรือขาดแคลนในสภาพที่ดินเป็นกรดก็จะหายไป ปูนเป็นสารประกอบที่มีราคาไม่แพง
- หินปูน (Lime tone) ส่วนประกอบที่สำคัญของปูน คือหินโดโลไมท์หรือแคลเซี่ยมคาร์บอเนต+แมกนีเซี่ยมคาร์บอเนต
- หินโดโลไมท์ ประกอบด้วยแคลเซี่ยมคาร์บอเนต 54% และแมกนีเซี่ยมคาร์บอเนต 46 %
- ปูนมาร์ล (Marl) และดินสอพอง (Marly Limes tone) มีลักษณะและองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันคือเป็นตะกอนของแคลเซี่ยมคาร์บอเนตที่ค่อนข้างจะร่วนยังไม่จับตัวเป็นหินแข็ง เกิดเป็นชั้นอยู่ใต้ดิน โดยปูนมาร์ลจะมีแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบประมาณ 35-65 % ที่เหลือเป็นดินเหนียว ส่วนดินสอพองจะมีแคลเซี่ยมคาร์บอเนตประมาณ 80-97%
- ปูนขาวและเปลือกหอยเผา องค์ประกอบที่สำคัญของปูนขาวและเปลือกหอยคือ แคลเซี่ยม
ไอดรอกไซค์ได้มาจากการเผาหินปูนหรือเปลือกหอยจนสุกแล้วนำมาพรมด้วยน้ำ ปูนเผาจะทำปฏิกิริยากับน้ำได้ปูนขาวจะมีเนื้อยุ่ยเป็นผงแต่ก่อนที่จะนำออกจำหน่ายจะมีการบดและร่อน
2. ยิปซัม (Gypsume) เป็นสารปรับปรุงดินที่แนะนำให้ใช้แก้ปัญหาดินเค็ม โดยเฉพาะดินเค็มโซดิกซึ่งดินเค็มที่มโซเดียมอยู่มากจนเกิดเป็นพิษต่อพืชและดินชนิดนี้จะมีปฏิกิริยาเป็นด่างทำให้พืชอาจขาดธาตุอาหารเสริมบางชนิดได้ ยิปซัมเป็นแร่ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติมีแคลเซี่ยมซัลเฟตเป็นองค์ประกอบหลักไม่ต่ำกว่า 96 % เกิดจากการตกตะกอนของแคลเซี่ยมซัลเฟตซึ่งละลายอยู่ในน้ำทะเลและยังเป็นผลพลอยได้จากโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีฟอสเฟต

สารปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน
สภาพทางกายภาพของดิน ได้แก่ คุณสมบัติทางด้านความโปร่ง ความร่วนซุยหรือความแน่นทึบ
มีผลโดยตรงต่อการถ่ายเทอากาศและการอุ้มน้ำของดิน การปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน มีหลายชนิด เช่น
1.การเกิดแผ่นแข็งบนผิวดิน (Crust)
การเกิดแผ่นแข็ง (crust) บนผิวหน้าดินเป็นปัญหาต่อการปลูกพืชที่พบมากบนพื้นที่แถบแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง มีผลกระทบต่อพืชโดยตรง คือ เป็นอุปสรรคต่อการงอกของเมล็ด และการแทงโผล่ของต้นกล้าออกมาพ้นผิวดิน
วัตถุประสงค์หลักของการใช้สารปรับปรุงดิน เพื่อลดปัญหาการเกิดแผ่นแข็งบนผิวหน้าดิน คือ
1. เพิ่มความเสถียรของก้อนดิน (soil aggregath) ให้มีความคงทนไม่แตกยุ่ยง่ายเมื่อโดนเม็ดฝนหรือน้ำชลประทานที่เหนือดินตกกระแทก
2. ทำให้อนุภาคดินที่แขวนลอยในน้ำเกิดการฟุ้งกระจาย (dispersion) น้อยลงหรืออีกนัยหนึ่ง
ทำให้อนุภาคดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุภาคดินเหนียวเกิดการซับกันเป็นกลุ่มมวลดิน (flocculation) ทำให้เมื่อแห้งลงไม่เกิดการฉาบเคลือบผิวดินเป็นกลุ่มมวลดิน หรืออุดรูอากาศในดินบริเวณผิวดิน

วิธีการป้องกันหรือลดปัญหาการเกิดแผ่นแข็งบนผิวหน้าดินทำได้หลายวิธี เช่น การพรวนดิน
การใช้วัสดุคลุมดินและการใช้สารปรับปรุงดินไม่ว่าจะเป็นอินทรียวัตถุ สามารถแก้ไขปัญหาการเกิดแผ่นแข็งบนผิวดินได้ผลดี ถ้าใช้ในปริมาณที่มากพอ แต่ข้อจำกัดก็คือปัญหาการจัดหาเพื่อให้ได้มาและค่าใช้จ่ายในการใส่ เนื่องจากการขนส่งและปริมาณการใช้ต้องใช้ปริมาณมาก ๆ สำหรับสารปรับปรุงดินอินทรียวัตถุที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1. สาร PAM มีชื่อการค้าว่า “syaram” เป็นสารประกอบอินทรีย์โพลิเมอร์ที่มีโมเลกุลของโมโนเมอร์(monomer) ต่อกันเป็นเส้นขาว คุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีและมีความสามารถในการเชื่อมอนุภาคแร่ดินเหนียวเข้าด้วยกัน หรือทำให้อนุภาคแร่ดินเหนียวในเม็ดดินจับกันด้วยแางที่มีความเสถียรสูงสุดยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้เม็ดดิน (aggregates) มีความต้านทานต่อการกระแทกของฝนหรือน้ำชลประทานที่ตกลงมากระทบมากยิ่งขึ้น จาการศึกษาของ Shainburg และคณะ (1990) ในการแก้ปัญหาการเกิดแผ่นแข็งบนผิวดิน โดยการฉีดสารละลาย PAM ลงบนผิวดินที่จับกันเป็นแผ่นแข็งในอัตรา 3.2 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลดีมากขึ้นในการเพิ่มการแทรกซึมน้ำในดิน
2. ยิปซั่ม (Gysum) หรือฟอสโฟยิมซั่ม (Phosshopypsum) การใช้ยิมซั่มหรือฟอสโฟยิมซั่มช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพบางประการของดินให้ดีขึ้น เช่น ทำให้ดินมีปัยหาจับกันเป็นแผ่นแข็งที่ผิวดินน้อยลง ดินมีการแทรกซึมน้ำดีขึ้น มีการไหลบ่าของน้ำน้อยลง และเกิดการสูญเสียน้อยลง จากการทดลองของ Gennett และคณะ (1964) โดยใส่ยิปซัมอัตรา 250 ปอนด์ต่อเอเคอร์ โดยโรคเป็นแถบกว้าง ๆ เหนือกลางเมล็ดที่ปลูกฝ้าย พบว่าเมล็ดฝ้ายสามารถงอกแทงโผล่ผิวดิน คิดเป็นร้อยละ 48.1 และไม่ใส่ยิปซัมเมล็ดฝ้ายสามารถงอกและแทงโผล่ผิวดินคิดเป็นร้อยละ 10.8 ส่วนดัชนีความแข็งของครัสท์ (ปอนด์) พบว่า ไม่ใส่ยิปซัมมีความแข็ง 3.72 ปอนด์ และเมื่อใส่ยิปซัมดัชนีมีความแข็งมีค่าเท่ากับ 1.70 ปอนด์
3. ไลม์-ซัลเฟอร์ (Lim-sulfer) หรือสารประกอบแคลเซียมไพลีซัลไฟด์ (CaS5) เมื่อใส่ลงไปในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งดินโซดิก (sodic soils) ที่มีปูนแคลเซียมคาร์บอเนต จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในดินจนในที่สุดจะได้สารเคมีเหมือนกับการเปลี่ยนแปลงยิปซัมเมื่อใส่ลงไปในดิน กล่าวคือ ไลม-ซัลเฟอร์ มีบทบาททำให้ดินเกิดการจับกันเป็นแผ่นแข็งบนผิวดินน้อยลง เช่นเดียวกับยิปซัม อย่างไรก็ตามการใช้สารประกอบแคลเซียมไพลีซัลไฟด์อาจต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนรูปทางเคมีของตัวสารบ้างในระยะแรก ซึ่งก็ขึ้นกับสภาพแวดล้อมในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบายอากาศในดิน ฯลฯ ประสิทธิภาพในเชิงพาณิชย์ของสารชนิดนี้เมื่อเปรียบเทียบกับยิปซัมจะแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
1. ราคาของสาร
2. ปริมาณการใช้ที่ก่อให้เกิดผล
3. ประสิทธิภาพของสาร

2. ความแน่นทึบหรือการอัดตัวของดิน (Soil Compaction)
ความแน่นทึบหรือความอัดตัวของดิน เป็นสมบัติทางกายภาพของดินที่มีปัญหาต่อการผลิตพืช
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินอัดตัวกัน เชื่อมกัน และทำให้มีสภาพแน่นทึบเองตามธรรมชาติ เกิดจากปัจจัยดินต่าง ๆ เช่น ชนิดเนื้อดิน โครงสร้างของดิน องค์ประกอบทางเคมีของดิน ปฏิกริยาของดิน และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ฝน อุณหภูมิ ฯลฯ รวมทั้งการกระทำของมนุษย์ เช่น การเขตกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลในการเตรียมดินอย่างไม่ถูกต้องเกินความพอดีความแน่นทึบ หรือการอัดตัวของดินมีผลกระทบต่อการผลิตพืชหลายประการ เช่นการเจริญเติบโตและกิจกรรมของระบบราก การใช้ประโยชน์จากน้ำ อากาศและธาตุอาหารพืชในดิน ปัญหาการเกิดโรคโคนเน่าในพืชบางชนิด เนื่องจากดินมีสภาพการระบายอากาศและน้ำไม่ดีพอ
การแก้ไขปัญหาความแน่นทึบของดินอาจปฏิบัติได้ในหลาย ๆ แนวทาง เช่น
1. การใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรบางชนิด เช่น ไถดินดาน (subsoiler)ไถเจาะทำลายชั้นดินที่อัดแน่น(Compacted layer) คือชั้นดินดาน (hardpan)
2. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือสารอินทรีย์เพื่อปรับสภาพดินและส่งเสริมกิจกรรมของ
จุลินทรีย์ดินและสัตว์ในดิน เช่น ไส้เดือน ฯลฯ
3. การใช้สารปรับปรุงดินชนิดต่าง ๆ เช่น
1 ยิปซัม (gypsum) : การใช้ยิปซัมเป็นครั้งคราวหรืออย่างต่อเนื่องพบว่าช่วย
แก้ปัญหาการอัดแน่นหรือความแน่นทึบของชั้นดินใต้ผิวดินบนได้ไม่มากก็น้อย เพราะว่าการเคลื่อนที่ของยิปซัมที่ละลายในน้ำที่ซาบซึมลงไปในดินล่าง (Percolated water) จะซาบซึมลงได้ลึกกว่าดินที่ไม่ได้ใส่ยิปซัม เนื่องจากดินที่ใส่ยิปซัมมีปัญหาการเกิดครัสท์ที่ผิวดินน้อยกว่า มีผลทำให้รูดิน (Soil pore) ที่เกิดโดยบทบาทของรากพืชและจุลินทรีย์ดินมีความเสถียรภาพมากขึ้น
2. ไล-ซัลเฟอร์ (lims-sulfer) หรือสารประกอบแคลเซียมโพลีซัลไฟด์ บทบาทการแก้ปัญหา
การอัดตัว หรือความแน่นทึบของดินใต้ผิวดินเชื่อว่ามีกลไกเหมือนกับการใส่ยิปซัมลงไปในดิน ซึ่งผลการปรับปรุงดินในลักษณะดังกล่าวจะหด้ผลมากน้อยเพียงใดยังมิอาจยืนยัน เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลผลการวิจัยมากเพียงพอที่จะสรุปให้เห็นเป็นรูปธรรมได้
3. สารประกอบทางเคมีในรูปแอมโมเนียมลอเร็ชซัลเฟต (Ammonium laurethsulfate
(ALS): เป็นสารจับผิวฤทธิ์อ่อนที่มีประจุลบ (slightly susfactant)สารชนิดนี้มีการผลิตออกมาใช้เป็นสารปรับปรุงดิน เพื่อแก้ปัญหาการอัดแน่นของดินและการเคลื่อนที่แทรกซึม (infiltratim) และซาบซึมลง (percolatim) ของน้ำในดินเป็นสำคัญมีชื่อการค้าว่า “เอกริ-เอสซี”
เอกริ-เอสซี ที่มีสารออกฤทธิ์ประกอบด้วยแอมโมเนียม ลอเร็ธซัลเฟต (ALS)เป็นสารปรับปรุงดินในรูปเกลืออินทรีย์ (organic salt) ที่มีโมเลกุลใหญ่และมีสมบัติเป็นสารไม่มีขั้ว (non-polar) ที่ไม่ละลายน้ำ ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติเป็นสารจับผิวอ่อนๆ ที่ไปช่วยลดแรงดึงผิวของน้ำเยื่อ (hygroscopic water) ที่ถูกดูดยึดไว้ที่เม็ดดินด้วยแรงสูงมากเมื่อใส่สารเอกริ-เอสซี ลงไปในดินประจุลบทางด้านที่มีขั้วลบ (ionic polar) ของอนุมูลซัลเฟตจะดึงโมเลกุลของน้ำที่ดูดอยู่ที่ผิวดินโดยการก่อปฏิกิริยาสัมพันธ์ (interaction) ทางเคมีกับไฮโดรเจนอะตอมน้ำโดยไฮโดรเจนบอนด์(hydrogen bond) ทำให้โมเลกุลของน้ำเยื่อบางส่วนโดยเริ่มจากชั้นนอกสุดถูกดึงออกไปจากผิวดิน แล้วไหลผ่านช่องว่างพร้อมๆกับ ALS ที่มีโมเลกุลใหญ่กว่าน้ำจึงไหลเบียดแทรกตัวลงระหว่างเม็ดดินแล้วค่อยๆดันเม็ดดินยึดติดกันแน่นให้ห่างออกทีละน้อย จนในที่สุดทำให้ดินที่เคยแน่นมีความแน่นน้อยลง
3. ความจุในการอุ้มน้ำของดิน (water lolding capacity of soil): ความจุในการอุ้มน้ำ
ของดินตามธรรมชาติขึ้นกับปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน ประเภทเนื้อดินและสมบัติการเคลื่อนที่ของน้ำในดินแต่ละชนิด สำหรับดินส่วนใหญ่ที่มีปริมาณอินทรีย์วัตถุสูงกว่าและมีเนื้อละเอียดกว่าจะอุ้มน้ำได้ดีกว่าดินที่มีปริมาณอินทรีย์วัตถุต่ำกว่าและมีเนื้อหยาบกว่า ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินเป็นปัญหาที่พบทั่วไปในดินเนื้อหยาบ เช่นดินทรายนอกเหนือจากการใช้สารอินทรีย์ธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ปรับปรุงคุณสมบัติการอุ้มน้ำของดินแล้วสารปรับปรุงบำรุงดินที่มีสมบัติช่วยเพิ่มความจุในการอุ้มน้ำของดินที่สำคัญบางชนิดได้แก่
1. สารโพลีเมอร์ (superabsorbent polymer): สารดูดน้ำชนิดนี้มีการผลิตออกมาใช้กัน
ในทางการค้าและเรียกชื่อแตกต่างกันไปมากกว่า 300 ชนิดทั่วโลก สารที่จัดได้ว่ามีสมบัติดูดน้ำได้สูง หรือที่จัดได้ว่าเป็นสาร”super-absorbent” ในทางปฏิบัติต้องเป็นสารของแข็งที่แห้ง และมีความสามารถดูดน้ำได้เองตามธรรมชาติประมาณ 20 เท่าของน้ำหนักสารเป็นอย่างน้อยเมื่อใส่สารดูดน้ำโพลีเมอร์ในรูปของแข็งที่แห้งลงในน้ำที่มีปริมาณมากเกินพอ สารดูดน้ำประเภทนี้จะไม่ละลายในน้ำ แต่จะดูดน้ำและพองตัวเต็มที่จนถึงจุดสมดุลที่จะให้ปริมาตรสูงสุด
สารโพลีเมอร์ ที่มีความสามารถในการดูดน้ำได้สูง คือดูดได้ระหว่าง 50-400 เท่าตัว
โดยน้ำหนัก โดยทั่วไปนิยมผลิตออกมาใช้ในทางการเกษตรในรูปครอสสิงค์โพลีเมอร์ครีลามีดส์(CPAM) ที่มีคุณสมบัติดูดน้ำเต็มที่ได้เร็วปานกลาง(ประมาณ 5-30 นาที) แต่น้ำที่ดูดไว้ส่วนใหญ่เป็นประโยชน์ต่อพืช การใช้สารโพลีเมอร์ดูดน้ำคลุกเคล้ากับดินที่มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำจะช่วยเพิ่มความจุในการอุ้มน้ำของดินได้ในปริมาณมาก ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำของพืชที่ปลูก โดยช่วยลดการสูญเสียของน้ำที่ซึมซับลง(percolation) และน้ำซับ (capillary water)ที่ซาบซีมน้ำ (capillary rise) มิให้เกิดการสูญเสียออกไปจากดิน
จากการทดรองของสุนทรี(2532) ได้ใช้สารอุ้มน้ำขนิดหนึ่ง คือ Potassium
Properoate Properamide Copolymers ผสมกับดินเหนียวปนทรายชุดกำแพงแสนและดินชุดกำแพงแสนที่ผสมขี้เป็ด ทราย และ แกลบ ในอัตรา 0,1,3 และ5 กรัมต่อปริมาตรดิน 1 ลิตร เมื่อใช้ในการเพาะกล้าผัก พบว่า เมื่อใช้อัตรา 5 กรัม ต่อดิน 1 ลิตร จะทำให้ดินสามารถดูดซับน้ำได้เพิ่มขึ้น 27 และ 38 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักสำหรับดินชุดกำแพงแสนและดินผสมชุดกำแพงแสน ตามลำดับ
2. แอนไอโอนิคโพลีอครีลามีดส์(PAM),ยิปซั่ม และไลม์-ซัลเฟอร์:มีผลต่อการลดปัญหา
การเกิดแผ่นแข็งบนผิวดิน (crust) ในทางอ้อมมีส่วนช่วยทำให้น้ำแทรกซึมลงดินได้มากขึ้นแทนที่จะสูญเสียไปโดยการไหล่บ่า ทำให้ดินมีดอกาสดูดน้ำไว้ได้มากขึ้น
3. แคลไซด์เคลย์ (calcined clay): เป็นผลิตภัณฑ์จากแร่ดินเหนียว (clay minerals)
ที่เตรียมไว้โดยการนำแร่ดินเหนียวเผาที่อุณหภูมิสูง (ประมาณ1,500-1,800๐ F ) แล้วทำให้แห้งซึ่งในการเผาด้วยความร้อนสูงในระดับนี้ น้ำในดินไม่ว่าจะเป็นน้ำที่ถูกดูดซับ (absorbed water) หรือน้ำที่อยู่ภายในระหว่างชั้นหน่วยผลึก (interlayer water) รวมทั้งน้ำที่เป็นโครงสร้างของหน่วยผลึก (structural oH water) จะสูญเสียไปทำให้เกิดการเปลี่ยนดครงสร้างของตัวแร่ให้อยู่ในรูปใหม่ซึ่งจะทำให้แร่ดินเหนียวที่นำมาเผาสูญเสียสมบัติการยืดหยุ่น (การพองตัว-หดตัว) สามารถนำมาใช้เป็นสารปรับปรุงดินได้เนื่องจากเม็ดสารมีความแข็งแกร่ง เสถียร มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกและมีความพรุนสูงทำให้เป็นประโยชน์ต่อการเก็บกักน้ำและอากาศ
สารแคลไซด์เคลย์ สามารถดูดน้ำได้เต็มที่จำนวนหนึ่ง น้ำที่ดูดไว้ได้เต็มที่จำนวนหนึ่ง
น้ำที่ดูดไว้ได้ทั้งหมดนี้ สามารถเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ประมาณร้อยละ 20 การใช้สารแคลไซด์เคลย์เพื่อเพิ่มความจุในการดูดน้ำของดินควรใช้ดินทรายที่ไม่อุ้มน้ำ หรือดินที่มีปริมาณแร่ดินเหนียวต่ำแต่ไม่ควรใช้หรือใช้ให้น้อยลงกับดินที่มีปริมาณแร่ดินเหนียวสูงอยู่แล้ว สารแคลไซด์เคลย์ที่จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวควรมีความละเอียดในระดับที่ร้อยละ 75 ของสารมีขนาดเม็ดระหว่าง 30-40 เม็ช (mesh) สำหรับการใช้สารชนิดนี้พบว่าการใช้ผสมกับดินในปริมาณร้อยละ 10-20 โดยปริมาตรของดินให้ผลดีต่อการแตกรากของพืช เช่น หญ้าสนามหญ้า
4. ไอโซไลท์ (Isolite) เป็นสารเซรามิคที่เตรียมได้จากการเผาดินเขา เพื่อผลิตภัณฑ์เซรามิค
สารชนิดนี้เป็นสารที่มีลักษณะพรุนเนื่องจากตัวสารประกอบไปด้วยรูเล็ก ๆ มากมายที่สามารถะเก็บกักน้ำได้ โครงสร้างโดยทั่ว ๆ ไปมีลักษณะคล้ายรวงผึ้งที่มีการกระจัดกระจายมากมายในหลาย ๆ ทิศทางและอย่างต่อเนื่อง สมบัติที่สามารถใช้ปรับปรุงดินได้ก็คือช่วยเพิ่มความจุในการอุ้มน้ำของดินให้สูงขึ้น การใช้กับหญ้าสนามหญ้าโดยการผสมกับดินปลูกในอัตรา 1.5 หรือ 3.0 ปอนด์ต่อตารางฟุต พบว่าได้ผลดี
5. ซีโอไลท์ (Zeolite) : เป็นสารในรูปแร่อลูมิโนซิลิเกต (aluninosilicates)
ชนิดหนึ่งที่มีสมบัติดูดน้ำได้ดี ดังนั้นเมื่อนำไปใช้โดยใส่ลงไปในดนจึงช่วยทำให้ดินมีความสามารถอุ้มน้ำได้สูงขึ้น และทำให้พืชที่ปลูกสามารถใช้น้ำในดินได้ขึ้น นอกจากนั้นซีไอโลท์ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่มีคุณค่าอีกหลายประการ เช่น มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูงมากรวมทั้งความสามารถในการดูดซับโมเลกุลสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสารที่ไม่มีพิษภัยหรือสารพิษต่างๆที่อาจก่อให้เกิดภาวะปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม
6. เทอราคอตเต็ม (Terracottem): เป็นสารปรับปรุงดินที่มีลักษณะพิเศษ
แตกต่างไปจากสารปรับปรุงดินชนิดอื่นๆ คือองค์ประกอบของสารชนิดนี้ประกอบไปด้วยส่วนผสมแห้งแบบคลุกเคล้า (bulk blending) ของสารต่างๆ รวม 20 ชนิดที่ได้จากกลุ่มของสารประเภทต่างๆ รวม 6 ประเภท กลุ่มสารทั้ง 6 ประเภทที่เป็นองค์ประกอบของเทอราคอตเต็ม ประกอบด้วยสารโพลีเมอร์ดูดน้ำประมาณร้อยละ 40 ปุ๋ยเคมีที่ละลายน้ำง่ายและปุ๋ยประเภทปลดปล่อยช้าประมาณร้อยละ 10 สารตัวเร่งการเจริญเติบโตของพืช (growth stimulators) ชนิดต่างๆร้อยละ 0.25 และสารนำพาหรือสารตัวเติม (filler) ประมาณร้อยละ 50 วัตถุประสงค์หลักของการผลิตสารประเภทนี้ออกมาก็เพื่อใช้เป็นสารปรับปรุงดินทั้งในด้านกายภาพโดยการเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดินด้วยสารโพลีเมอร์ดูดน้ำ และในขณะเดียวกันก็ช่วยบำรุงดินและเร่งการเจริญเติบโตของพืชไปพร้อมๆกันโดยการใส่สารชนิดนี้เพียงครั้งเดียวก็จะได้ทั้งสารดูดน้ำ ปุ๋ยเคมีทั้งชนิดละลายเร็วและช้าและสารตัวเร่งการเจริญเติบโตของพืช
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #313 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2013, 11:05:49 »

ซีโอไลท์ หรือ ชื่อในทางภาษาวิชาการเรียกกันว่า แร่ภูเขาไฟ หรือ ซีโอไลท์ คือกลุ่มของหินเดือด, หินที่ผ่านความร้อนเป็นล้าน ๆ องศา หิน ที่ผ่านความร้อนจนสุกและพองขยายตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่หินที่ระเบิดออกมาจากภูเขาแล้วนำมาบดขายกัน ซึ่งหินดังกล่าวนี้จะไม่ค่อยได้คุณภาพ แต่ก็มักจะกล่าวอ้างกันว่า เช่น ซีโอไลท์ เนื้อเบา (Diatomite) บ้าง ซีโอไลท์ เนื้อหนัก (Kaolinite) บ้าง หินดิบเหล่านี้ไม่มีความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุบวกได้ เพราะไม่มีความโปร่งพรุน ทำให้ไม่สามารถที่จะจับตรึงปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกให้เป็นปุ๋ยละลายช้า ได้ (Slow release Fertilizer) และยังมี ซิลิก้า, ซิลิคอน, หรือ ซิลิสิค แอซิด ที่ละลายน้ำได้ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ จึงไม่เพียงพอที่จะนำไปเป็นประโยชน์ต่อพืช

แร่ภูเขาไฟ หินลาวา ซีโอไลท์ หรือ หินเดือด มีแร่ธาตุที่ละลายน้ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซิลิก้าที่มีโครงสร้างเคมีอยู่ในรูปของ H4sio4 จึงเป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างยิ่งกับพืช

ประโยชน์
1.ใช้ฉีดพ่นเพื่อทำให้พืชแข็งแรง ซีโอไลท์ ผง ประมาณ 200-300 กรัมละลายในน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้หนึ่งคืนแล้วกรองแยกตะกอนไปใส่ต้นไม้ เอาแต่น้ำมาฉีดพ่นพืชให้เปียกทั่วถึงทุกส่วน
2.ใช้หว่านลงดินก่อนปลูก ให้พืชที่จะปลูกบนดินได้รับ ซิลิก้า ตั้งแต่เริ่มดูดน้ำหรือเริ่มการเจริญ หรือเริ่มงอก ใช้ หว่านลงผิวดินแล้วพรวนกลบ หรือจะหว่านลงในแปลงนาทำการลูบหรือคราดให้จมแล้วจึงหว่านเมล็ด หรือใส่รองก้นหลุม เคล้ากับดิน แล้วจึง ปลูกพืช หรือ หยอดเมล็ด
3.ใช้ ใส่หลังปลูก ใช้วิธีโรยเป็นแถวข้าง ๆ ต้น เช่นข้าวโพด หรือหว่านบริเวณใต้ทรงพุ่มต้นของพืช พืชผักต้นเล็กปลูกติดกันแน่นให้หว่านด้วยชนิดเม็ด
4.ใช้คลุกผสมใส่ลงไปพร้อมกับ ปุ๋ย โดยใช้ปุ๋ยเคมี 5 ส่วนพรมน้ำพอชื้น แล้วเอา แร่ภูเขาไฟ หรือ ซีโอไลท์ คลุกผสมให้ผงติดเม็ดปุ๋ยทุกเม็ด จะช่วยทำให้ปุ๋ยกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า
5. ลดการสูญเสียปุ๋ย ปรกติปุ๋ยเคมีที่ขายในไทยถูกกำหนดให้ละลายทันทีทั้ง 100 % ดังนั้นถ้าฝนตกมาก รดน้ำมาก ปุ๋ยละลายออกมา สารจะมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก จะจับปุ๋ยไว้ทั้งแอมโมเนียม และโปแตสเซียมให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า
6. ทำลายสารพิษในดินและในน้ำ สารพิษตกค้างที่มีผลในการลดการเจริญของพืชมักเป็นสารกำจัดวัชพืช
7. เพิ่มคุณภาพผลผลิต จาการมีซิลิก้าที่ ผิวพืชมากขึ้นทำให้พืชผัก แข็ง กรอบ อร่อยขึ้น เก็บรอการขายได้นานขึ้น ช้ำน้อย คุณภาพสูงขึ้นแทบทุกด้าน ยกเกรดของสินค้าให้สูงขึ้น ราคาก็ดีขึ้นด้วย.แม้ผลไม้ก็มีคุณภาพดีขึ้นเช่นกัน

8. ลด แมลงและไส้เดือนฝอยในดิน หว่านบาง ๆ ลงบนดินบริเวณที่มีมด ปลวก เสี้ยนดิน ตัวอ่อนของด้วง หมัดกระโดด ไส้เดือน ไส้เดือนฝอย หอยบก ก็จะลดน้อยลง
9.ใช้ทำลายสารพิษตกค้างในอาหารสัตว์ ผสมให้สัตว์กินตามปรกติ อัตราการตายของ หมู เป็ด ไก่ ลดลง มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
10.ใช้ เพิ่มผลผลิตเห็ด ใช้ ผสมในขี้เลื่อยหรือวัสดุดิบเพาะ ไม่ต้องใช้จิบซั่มและปูนขาว นำไปเพาะเห็ดตามปรกติ รดบนกองและดินรอบกองจนเปียกชุ่ม จะลดไรเห็ดลง มด ปลวก ไส้เดือนฝอย และกลิ่นลงได้ ผลผลิตเห็ดเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ


* 114984.jpg (58.26 KB, 600x450 - ดู 3370 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #314 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2013, 11:12:42 »

ฮิวมัส (humus)

คือ อินทรียวัตถุที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนโดยสลายตัวปะปนอยู่ในดินทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เกิดจากการย่อยสลายของซากพืช ซากสัตว์ โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ซึ่งสังเคราะห์ได้สารประกอบอินทรีย์จำพวก กรดอะมิโน โปรตีน และอโรมาติก และจะเกิดการรวมตัวของสารประกอบอินทรีย์หลังจากที่จุลินทรีย์ตายลงและทับถมกันเป็นเวลานานกลายเป็นฮิวมัสในดิน

ส่วนประกอบของฮิวมัสประกอบด้วยสารผลิตภัณฑ์ (Products) หลายประเภทโดยขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรียวัตถุต้นกำเนิดตามธรรมชาติ เกิดจากการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิตในดิน รวมทั้งการแปรสภาพของสารผลิตภัณฑ์และการสังเคราะห์สารขึ้นมาใหม่ ซึ่งสามารถแบ่งสารอินทรีย์ต่างๆออกเป็นสองส่วน คือ

ส่วนที่ไม่เป็นสารฮิวมิก (Nonhumic Substances) ประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไป เช่น สารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน ลิพิด ลิกนิน แทนนิน และกรดอินทรีย์ต่างๆ เป็นต้น ลักษณะที่สำคัญของสารอินทรีย์เหล่านี้ คือ

มีมวลโมเลกุลค่อนข้างต่ำ
มีโครงสร้างโมเลกุลไม่สลับซับซ้อน
ง่ายต่อการย่อยสลาย
เป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในดิน
ส่วนที่เป็นสารฮิวมิก (Humic Substrances) เกิดจากการแปรสภาพของสารอินทรีย์และสังเคราะห์รวมตัวขึ้นมาใหม่ของสารที่ไม่ใช่ฮิวมิก ประกอบด้วยกลุ่มของสารอินทรีย์ประเภทที่มีลักษณะดังนี้

มีมวลโมเลกุลค่อนข้างสูง
โครงสร้างโมเลกุลมีรูปร่างทีไม่แน่นอน
แสดงสมบัติเป็นสารคอลลอยด์
คงทนต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ดิน
สารฮิวมิกละลายน้ำได้น้อยมาก แต่สามารถละลายได้ในสารละลายที่เป็นกรดและด่างในบางส่วนของสารฮิวมิก สารฮิวมิกสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนใหญ่ๆ คือ

กรดฮิวมิก (humic acid): ส่วนที่ละลายได้ในด่าง แล้วตกตะกอนเป็นกรดฮิวมิกเมื่อปรับสารละลายให้เป็นกรด
กรดฟุลวิก (fulvic acid): ส่วนที่ละลายได้ในด่าง แต่ไม่ตกตะกอนเมื่อปรับสารละลายให้เป็นกรด
ฮิวมิน (humin): ส่วนที่ไม่ละลายในด่าง



ฮิวมัส (สมบัติทางกายภาพ)
ฮิวมัส จะช่วยทำให้ดินให้อุ้มนํ้าและระบายอากาศได้ดี ช่วยทำให้ดินที่มีแรงยึดเหนี่ยวสูงทำให้ระบบรากของพืชที่จะดูดซึมแร่ธาตุอาหารได้ยาก ฮิวมัส จำไปทำ ลายแรงยึดเหนี่ยว ซึ่งก็จะทำ ให้ชั้นดินมีความโปร่งขึ้น ส่งผลให้นํ้าและอากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้ดีขึ้นนอกจากนั้น ฮิวมัส สามารถ ป้องกันไม่ให้นํ้าระเหยไปจากดิน ซึ่งเป็นผลดีสำหรับดินที่มีความเป็นดินเหนียวตํ่า ดินทราย และดินในพื้นที่แห้งแล้ง ที่ไม่สามารถจะดูดซับนํ้าไว้ได้เมื่อดินที่มีลักษณะดังกล่าวมีนํ้าผ่านเข้า มา นํ้าก็จะระเหยออกจากดินน้อยลงหรือสามารถอุ้มนํ้าได้มากขึ้น

ฮิวมัส (สมบัติทางเคมี)
ฮิวมัส มี ประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุอาหารและปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นให้แก่พืช อย่างช้าๆเพื่อให้พืชได้นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโต การออกดอกออกผล และ ฮิวมัส ยังสามารถดูดประจุบวกของธาตุอาหารเสริมและจะปลดปล่อยธาตุอาหารเมื่อ ฮิวมัส อยู่ใกล้บริเวณรากของพืช ธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นก็จะถูกปล่อยออกมาจาก ฮิวมัส เข้าไปสู่ระบบรากเพื่อที่จะได้ลำเลียงไปยังส่วนต่างๆของพืชต่อไป

ประโยชน์ ฮิวมัส
-      มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุสูง ช่วยให้พืชดูดซึมธาตุอาหารต่างๆได้ดี

-      ช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช อาหารรองค่อนข้างครบถ้วน

-      ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์กับพืชให้มากขึ้น

-      ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช

-      ช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดิน ทำให้ดินร่วนซุย ไม่อัดตัวแน่นเกินไป


* 149992.jpg (69.84 KB, 600x450 - ดู 3532 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #315 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2013, 15:05:06 »

ข้าว เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย


* B1.jpg (359.44 KB, 670x1575 - ดู 2244 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 30 มกราคม 2013, 15:16:20 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #316 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2013, 15:12:55 »

ข้าวกล้องงอก   

           ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice หรือ “GABA-rice”)   ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice) เป็นการนำข้าวกล้องมาผ่านกระบวนการงอก    ซึ่งโดยปกติแล้ว ในตัวข้าวกล้องเองประกอบด้วยสารอาหารจำนวนมาก เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก (Phytic acid) วิตามินซี วิตามินอี และ GABA (gamma aminobutyric acid) ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน

           เมื่อนำข้าวกล้องมาแช่น้ำเพื่อทำให้งอก จะทำให้ข้าวกล้องมีสารอาหาร โดยเฉพาะ GABA  เพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์จากการที่มีปริมาณสารอาหารที่สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ข้าวกล้องงอกที่หุงสุกมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รับประทานได้ง่ายกว่าข้าวกล้องธรรมดาอีกด้วย จึงง่ายแก่การหุงรับประทานได้โดยไม่ต้องผสมกับข้าวขาวตามความนิยมของผู้บริโภค

           จากการศึกษาทางกายภาพและทางชีวเคมีพบว่า "เมล็ดข้าว" ประกอบด้วย เปลือกหุ้มเมล็ด หรือแกลบ (Hull หรือ Husk) ซึ่งจะหุ้มข้าวกล้อง ในเมล็ดข้าวกล้องประกอบด้วย จมูกข้าวหรือคัพภะ (Germ หรือ Embryo) รำข้าว (เยื่อหุ้มเมล็ด) และเมล็ดข้าวขาวหรือเมล็ดข้าวสาร (Endosperm)     สารอาหารในเมล็ดข้าวประกอบด้วย  คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก โดยมีโปรตีน วิตามินบี วิตามินอี และแร่ธาตุที่แยกไปอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของเมล็ดข้าว นอกจากนี้ ยังพบสารอาหารประเภท ไขมันซึ่งพบได้ในรำข้าวเป็นส่วนใหญ่

          ข้าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตจะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี  การเปลี่ยนแปลง   จะเริ่มขึ้น เมื่อน้ำได้แทรกเข้าไปในเมล็ดข้าว  โดยจะกระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเมล็ดข้าวเกิดการทำงาน   เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มงอก (malting) สารอาหารที่ถูกเก็บไว้ในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยสลายไปตามกระบวนการทางชีวเคมีจนเกิดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กลง (oligosaccharide)  และน้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) นอกจากนี้ โปรตีนภายในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยให้เกิดเป็นกรด   อะมิโนและเปปไทด์  รวมทั้งยังพบการการสะสมสารเคมีสำคัญต่าง ๆ เช่น แกมมาออริซานอล (gamma-orazynol)  โทโคฟีรอล (tocopherol)  โทโค ไตรอีนอล (tocotrienol)  และโดยเฉพาะ สารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด (gamma-aminobutyric acid) หรือที่รู้จักกันว่า "สารกาบา"(GABA) 

GABA เป็นกรดอะมิโนที่ผลิตจากกระบวนการ decarboxylation ของกรดกลูตามิก (glutamic acid) กรดนี้จะมีบทบาทสําคัญในการทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท(neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง     นอกจากนี้ GABA ยังถือเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง (inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งช่วยทำให้สมองเกิดการผ่อนคลายและนอนหลับสบาย  อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ (anterior pituitary) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้ กล้ามเนื้อเกิดความกระชับ และเกิดสาร lipotropic ซึ่งเป็นสารป้องกันการสะสมไขมัน

           จากการศึกษาในหนู พบว่า การบริโภคข้าวกล้องงอกที่มีสาร GABA มากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมอง  เนื่องจาก สารเบต้าอไมลอยด์เปปไทด์ (Beta-amyloid peptide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสูญเสียความทรงจำ (อัลไซด์เมอร์)   ดังนั้น จึงได้มีการนำสาร GABA มาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น    นอกจากนี้ ยังมีผลการวิจัยด้านสุขภาพกล่าวว่า  ข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วย GABA   มีผลช่วยลดความดันโลหิต  ลด LDL (Low densitylipoprotein)  ลดอาการอัลไซเมอร์  ลดน้ำหนัก ทำให้ผิวพรรณดี ตลอดจนใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางได้


ข้าวกล้องงอกในตลาดญี่ปุ่น

ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice) ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าในตลาดญี่ปุ่น

          บริษัท FANCL เป็นบริษัทผู้ผลิตข้าวกล้องงอกและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น โดยก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542   ปัจจุบันมีโรงงานผลิตข้าวกล้องงอก 2 แห่ง คือ ที่จังหวัดนากาโน (Nagano)  และจังหวัดนาวากานา (Nawagana)   บริษัทนี้มีขั้นตอนการผลิตข้าวกล้องงอกที่ควบคุมคุณภาพเป็นอย่างดี  โดยหลังจากรับข้าวกล้องเข้าสู่โรงงานแล้วจะทำการตรวจสอบคุณภาพขั้นต้นด้วยตาเปล่าก่อนแล้วพักไว้ 2 วัน เพื่อให้เมล็ดข้าวมีความคงตัว   จึงเข้าสู่กระบวนการทำให้งอก เริ่มจากคัดแยกวัตถุดิบเอาสิ่งปลอมปนจำพวกกรวด หิน ดิน ทราย และเมล็ดแตกหักออกด้วยเครื่อง CCD sensor ซึ่งเป็นกล้องที่ใช้ตรวจจับความผิดปกติของเมล็ดข้าวที่มีลักษณะพิการไม่สมประกอบ   

สุดท้ายก็เป็นการคัดแยกสีด้วยเครื่อง Color Sorter เพื่อแยกเอาเมล็ดที่มีสีผิดปกติออก ข้าวจะถูกทำให้งอกโดยเพาะในแท็งก์ทรงกระบอกความสูงประมาณ 15 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เมตร จำนวน 6 แท็งก์ ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณน้ำให้เหมาะสมต่อการงอกอยู่ตลอดเวลา  หลังจากทิ้งให้งอกประมาณหนึ่งคืน ข้าวงอกที่ได้จะถูกทำให้แห้ง   ขั้นตอนนี้มีการตรวจเช็คการงอกของข้าวโดยการวัดกิจกรรมของเอนไซม์ในเมล็ดข้าว รวมทั้งตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดข้าวงอกเพื่อคัดเมล็ดที่แตกหักเสียหายด้วยตะแกรงร่อน คัดแยกเมล็ดที่งอกไม่สมบูรณ์และเมล็ดที่มีสีผิดปกติออกจากนั้นจึงเข้าสู่การบรรจุลงถุงพลาสติกปิดผนึกด้วยเครื่องจักร ในห้องปลอดเชื้อ (Clean room)

บทสรุป

          จากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในด้านการผลิตข้าวมาอย่างยาวนาน เมื่อข้าวสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากข้าวกล้องธรรมดามาเป็นข้าวกล้องสดและข้าวกล้องงอก ทำให้เก็บรักษาข้าวกล้องไว้ได้นาน นอกจากนี้ยังได้สารอาหารที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นและจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น นับว่าเป็นนวัตกรรมการผลิตที่ต้องหันมามองและให้ความสนใจกันเพิ่มขึ้นอย่างเร่งด่วน เป็นการปรับตัวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับข้าวและใช้ประโยชน์จากข้าวอย่างคุ้มค่า  ซึ่งจะเป็นการช่วยพยุงราคาข้าวไม่ให้ตกต่ำ  ชาวนาไทยก็จะได้มีโอกาสลืมตาอ้าปากกว้าง ๆ กันบ้าง

ที่มา กฤษณา  สุดทะสาร
http://ubn.ricethailand.go.th/document/kitsana/brown/brown.htm



 
 
 


* 229491__06012009013402.jpg (14.31 KB, 280x210 - ดู 2091 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #317 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2013, 15:22:43 »

การใช้ประโยชน์จากฟางข้าว

- ใช้เป็นวัสดุการเกษตร เช่น ปุ๋ย ใช้ปรับปรุงดิน
- ใช้ทำกระดาษ
- ใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน
- ใช้ผลิตสารให้ความหวาน ไซลิทอล (Xylitol)
- ใช้ผลิตแอลกอฮอล์เพื่อเป็นพลังงานทดแทน


* 754_1.jpg (69.34 KB, 500x375 - ดู 2782 ครั้ง.)

* 4495_1.jpg (110.61 KB, 559x419 - ดู 2404 ครั้ง.)

* IMG_6201.jpg (84.32 KB, 600x399 - ดู 3204 ครั้ง.)

* 20110802143452IMG_0009.jpg (142.58 KB, 500x375 - ดู 5991 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #318 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2013, 15:36:11 »

รำข้าว  
 รำข้าว คือ ส่วนที่ได้จากการขัดข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร ซึ่งประกอบด้วยชั้นเยื่อหุ้มเมล็ด และคัพภะ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้จากกระบวนการสีข้าว โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รำหยาบ (bran) ซึ่งได้จากการขัดผิวเมล็ดข้าวกล้อง และรำละเอียด (polish) ได้จากการขัดขาวและขัดมัน นอกจากนี้รำข้าวยังมีคุณค่าทางอาหารสูง ได้แก่ โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร เถ้า วิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ ดังนั้นจึงมีการนำรำข้าวมาใช้ประโยชน์ ได้แก่


1. เป็นอาหาร รำข้าวทั้งชนิดรำหยาบและรำละเอียดสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลากหลายชนิด เช่น
   - น้ำมันรำข้าว เป็นน้ำมันสำหรับบริโภคที่มีคุณภาพดี เนื่องจากมี Cholesterol ต่ำ
     จัดเป็นน้ำมันบริโภคที่มีคุณภาพดี เนื่องจากมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวจำนวนมากถึง 77% โดยในจำนวนนี้เป็นกรดไขมันที่จำเป็น 31.7% เป็นแหล่งที่ดีของวิตามินอี และยังมีสาร oryzanol มีสมบัติเป็นสารกันหืน และมีประโยชน์ในการช่วยเร่งการเจริญเติบโตรวมทั้งช่วยให้ระบบการหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น น้ำมันรำข้าว เมื่อนำมาปรับปรุงคุณสมบัติด้วยกระบวนการเคมีฟิสิกส์ สามารถผลิตเป็นกะทิแปลงไขมัน ผลิตสบู่และเนยขาวเอนกประสงค์
    - ไขข้าว สามารถใช้เป็นสารเคลือบในอาหาร เช่น เคลือบช็อกโกแลตและผลไม้
      มีการตรวจพบไข (wax) ในน้ำมันรำข้าวที่ยังไม่กำจัดไข 3.5% ใช้ไขพืชเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารขัดเงา เครื่องสำอาง และสารเคลือบผักผลไม้
   - อาหารเสริม Gamma-oryzanol, Lecithin วิตามิน E ใช้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
   - เป็นส่วนผสมในอาหารเด็กอ่อนโดยใช้รำละเอียดมาผสมในอาหารเด็กอ่อนเพื่อช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ
   - เลชิทิน สารเหนียว(gum) หรือเลชิทินดิบ (crude lecitin) ที่แยกจากน้ำมันรำข้าวดิบมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นฟอสโฟลิพิด มีศักยภาพที่จะนำไปผลิต เป็นอีมัลซิไฟล์เออร์ ในอุตสาหกรรมอาหารและยังใช้เป็น หรืือสารเสริมสุขภาพได้ เลชิทินในน้ำมันรำข้าวมีประมาณ 0.512% และมีคุณสมบัติเทียบได้กับเลชิทินจากถั่วเหลือง ทั้งนี้ปริมาณเลชิทินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกระบวนการสกัดและพันธุ์ข้าวด้วย


2. เป็นอาหารสัตว์ รำข้าวทั้งชนิดรำหยาบและรำละเอียดสามารถนำมาผสมในอาหารสัตว์ได้
 

3. ใช้ในเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว โดยนำน้ำมันรำข้าวมาเป็นส่วนผสม ในการผลิตเครื่องสำอาง และครีมบำรุงผิว หรือโลชั่นต่างๆ เนื่องจากในน้ำมันรำข้าวมีสารแกมม่าออริซานอล และวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยบำรุงผิวพรรณ ให้ความชุ่มชื้น และ ชะลอความเหี่ยวย่น



 


* 59949_0.jpg (61.13 KB, 417x309 - ดู 2557 ครั้ง.)

* 21.jpg (44.38 KB, 400x300 - ดู 2425 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #319 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2013, 15:44:38 »

แกลบ  

 แกลบ (Rice hull) เป็นผลพลอยได้จากการสีข้าว เป็นส่วนผสมของเปลือกเมล็ด กลีบเลี้ยง ฟาง และขั้วเมล็ด ประมาณ 20-24% ของข้าวเปลือก องค์ประกอบส่วนใหญ่ของแกลบได้แก่ เซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส ประมาณ 68% ลิกนิน 19.2-24.5% เถ้า 13.2-29.0% (ประกอบด้วยซิลิก้า 86.9-97.3%) โดยโรงสีสามารถนำแกลบมาใช้ประโยชน์ได้หลายลักษณะ เช่น
         นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรงหรือแปรรูปเป็นพลังงานที่มีมูลค่าเพิ่มได้  เช่น  การอัดให้เป็นแท่งเชื้อเพลิงแข็งเพื่อใช้แทนฟืนหรือถ่าน  การแปรรูปโดยกรรมวิธีที่เรียกว่าการกลั่นสลาย (pyrolysis) เพื่อให้ได้ก๊าซและน้ำมัน การแปรรูปเป็นก๊าซเชื้อเพลิง (gasifieation)แกลบเป็นสารอินทรีย์อย่างหนึ่งที่ไม่เน่าสลาย  และมีค่าความร้อนสูงพอที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดี  ในการใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงมีข้อเสียเพียงเล็กน้อย  เช่น  เมื่อทำการเผาไหม้แล้วแกลบจะให้ปริมาณ ใช้สกัดสารซิลิก้าเถ้าสูงถึงร้อยละ 16-20 แต่เถ้าจากแกลบสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  เช่น  ผลิตวัสดุก่อสร้างหรือผงอัด การแปรรูปแกลบให้เป็นเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าเพิ่มมีดังนี้
         1) อัดป็นแท่งเชื้อเพลิงแข็ง  ซึ่งสามารถใช้แทนฟืนได้  ทนทานกว่าไม้ฟืนทั่วไปประมาณ 1 เท่าและให้ความร้อนสูงสุดที่ใกล้เคียงกัน คือ  900°ซ  ทั้งนี้เพราะฟืนแกลบมีความหนาแน่นสูงกว่าฟืนไม้
         2) การกลั่นสลายแกลบ (Pyrolysis) คือการให้ความร้อนแก่สารอินทรีย์ที่ปราศจากออกซิเจนหรือที่มีอากาศจำกัด ทำให้สารอินทรีย์แตกตัวออกเป็นสารประกอบอื่นๆ หรือเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้งานได้  สารประกอบที่สำคัญที่ได้จากการกลั่นสลาย  ได้แก่  ก๊าซ  น้ำมัน  ถ่านสุก (char)  สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดี
         3) การผลิตก๊าชเชื้อเพลิง (Gasification) มีปฏิกิริยาใกล้เคียงกับการกลั่นสลายแต่เกิดที่อุณหภูมิสูงกว่า ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในสภาพก๊าชไฮโดรเจนและคาร์บอนมอนอกไซด์์เป็นส่วนใหญ่ ปฏิกิริยาของการผลิตก๊าชเชื้อเพลิงเกิดได้ทั้งในบรรยากาศของออกซิเจน และคาร์บอนมอนอกได์์เป็นส่วนใหญ่ ปฏิกิริยาของการผลิตเชื้อเพลิงเกิดได้ทั้งในบรรยากาศของออกซิเจนบริสุทธิ์ หรืออากาศธรรมดา ซึ่งในบรรยากาศของออกซิเจนจะให้ผลิตภัณฑ์ก๊าชที่มีค่าความร้อนสูงกว่าในบรรยากาศของอากาศธรรมดา และกระบวนการผลิตก๊าชเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในกิจการต่างๆ เช่น ผลิตไอน้ำ เดินเครื่องยนต์ หรือผลิตไฟฟ้า เป็นต้น


-ใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงาน ปัจจุบันนี้มีโรงสีข้าวในประเทศไทยหลายแห่งที่ติดตั้งเครื่องผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากแกลบ เพื่อใช้ผลิตไอน้ำ และผลิตไฟฟ้า
- ใช้เป็นวัสดุการเกษตร
- ใช้สกัดสารซิลิก้า (Silica)
- ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น Concrete block
- ใช้เป็นสารสำหรับใช้ในการกรอง (Activated carbon)
 


* url.jpg (67.83 KB, 450x338 - ดู 2469 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 [16] 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 ... 96 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!