เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 18:14:59
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 [13] 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 407117 ครั้ง)
NANABABY
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 51


« ตอบ #240 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 21:01:54 »

ช่วยดันๆขอบคุณความรู้สำหรับชาวนารุ่นใหม่ครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #241 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 21:37:17 »

น้ำมีความสำคัญมากสำหรับการทำนา ดูระบบชลประทานเพื่อการทำเกษตร จะพบว่าอิสราเอลมีความล้ำหน้าในการจัดการน้ำมาก สำหรับในกลุ่มอาเซียนประเทศเวียดนามมีระบบชลประทานที่ค่อนข้างครอบคลุมพื้นที่ทางการเกษตร แต่ถ้าประเทศในเอเชียชอบประเทศญี่ปุ่นที่มีการบริหารจัดการน้ำในการทำนาค่อนข้างดี

ประเทศญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับคนไทย ลักษณะภูมิอากาศของไทยและญี่ปุ่นมีความแตกต่างกันของญี่ปุ่นมีสี่ฤดู คือ ใบไม้ผลิ (มี.ค. – พ.ค.) ร้อน (มิ.ย. – ส.ค.) ใบไม้ร่วง (ก.ย. – พ.ย.) และหนาว (ธ.ค. – ก.พ.) เพื่อให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับฤดูกาล พันธุ์ข้าวที่ปลูกในประเทศญี่ปุ่นจึงมีความแตกต่างจากพันธุ์ข้าวของไทย ข้าวพันธุ์ญี่ปุ่น  (Oryza sativa var. japonica) มีลักษณะเมล็ดสั้นป้อม เหนียว (แต่ไม่เหนียวเท่ากับข้าวเหนียวของไทย) นุ่ม ใช้ตะเกียบคีบติดกันเป็นก้อน ปั้นเป็นก้อนได้ง่าย ชาวญี่ปุ่นจึงนิยมทำเป็นข้าวปั้น ประเภทต่างๆ

ระบบชลประทานของญี่ปุ่นนับว่ามีการพัฒนาไปไกลมาก มีระบบคลองและรางส่งน้ำไปถึงแปลงนาทุกแปลง ชาวนาเพียงแค่นำไม้มากั้นรางส่งน้ำแล้วเปิดปลายท่อที่ฝังใต้คันนาซึ่งเชื่อมกับรางส่งน้ำ ก็จะได้น้ำเข้านาทันที และอีกด้านหนึ่งของแปลงนาจะเป็นท่อระบายน้ำไปยังรางและคลองรับน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้ว ซึ่งจะแยกออกจากระบบคลองส่งน้ำดี และมีระดับต่ำกว่า
การทำนาในประเทศญี่ปุ่น ระบบคลองและรางส่งน้ำเข้าแปลงนาจะมีระบบระบายน้ำออกจากแปลงนาและคลองรับน้ำที่ผ่านการใช้งานในแปลงนาแล้ว

ข้อสังเกตที่น่าสนใจสองประการเกี่ยวกับการพัฒนาแปลงนาของชาวญี่ปุ่น คือ
1. คันนา ซึ่งสร้างด้วยซีเมนต์ มีข้อดีหลายประการคือ 1) มีขนาดเล็ก  ทำให้ประหยัดเนื้อที่ 2) มีความแข็งแรงทนทาน ป้องกันน้ำรั่วซึมและช่วยในการรักษาระดับน้ำ ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูง
2. ถนนขนาดเล็ก แปลงนาทุกแปลงจะมีถนนเข้าถึงทุกแปลง เป็นถนนบดอัดลูกรัง หรือราดยาง มีข้อดี คือ 1) การขนส่งวัสดุ อุปกรณ์ การผลิต เข้าไปยังแปลงนา และขนส่งผลผลิตออกจากแปลงนา ทำได้สะดวก 2) การเข้าไปดูแล รักษาทำได้ง่าย 3) ทำให้ชาวนามีเส้นทางคมนาคมสะดวก  ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายสูง
ข้อสงสัย คือ ชาวนาเป็นผู้ดำเนินการเองหรือได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
สำหรับบ้านเรา การพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรแบบเดียวกับญี่ปุ่น รัฐบาลน่าจะเป็นผู้ลงทุน


* 1.jpg (62.95 KB, 320x213 - ดู 8232 ครั้ง.)

* 2.jpg (54.42 KB, 320x213 - ดู 2640 ครั้ง.)

* 4.jpg (59.61 KB, 320x213 - ดู 3135 ครั้ง.)

* 5.jpg (48.46 KB, 320x213 - ดู 2063 ครั้ง.)

* 6.jpg (63.14 KB, 320x213 - ดู 1923 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #242 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 22:05:18 »

ช่วยดันๆขอบคุณความรู้สำหรับชาวนารุ่นใหม่ครับ

ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #243 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 22:42:54 »

หลักการผลิตข้าวอินทรีย์

ข้าวอินทรีย์คืออะไร
ข้าวอินทรีย์ (Organic rice) เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture หรือ Organic Farming) ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวในทุกขั้นตอนการผลิตและในระหว่างการเก็บรักษาผลผลิต หากมีความจำเป็น แนะนำให้ใช้วัสดุจากธรรมชาติและสารสกัดจากพืชที่ไม่มีพิษต่อคน หรือไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในผลิตผลในดินและน้ำ ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม ทำให้ได้ผลิตผลข้าวที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากอันตรายของผลตกค้างส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดี

หลักการผลิตข้าวอินทรีย์
   การผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิดเป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว ตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ การผลิตข้าวอินทรีย์นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยจากสารพิษแล้วยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอีกด้วย
   การผลิตข้าวอินทรีย์เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ  ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ในไร่นาหรือจากแหล่งอื่น ควบคุมโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานที่ไม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับที่น่าพอใจ
   เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ มีขั้นตอนการปฏิบัติ  เช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไปจะแตกต่างกัน ตรงที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอนการผลิต จึงมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

1.   การเลือกพื้นที่ปลูก
เลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง และห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตร พื้นที่ที่จะใช้ในการผลิตข้าวโดยปกติมีการตรวจสอบหาสารตกค้างในดินหรือในน้ำ

2.   การเลือกใช้พันธุ์ข้าว
พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูกและให้ผลผลิตได้ดีแม้ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ต้านทานโรค แมลงที่สำคัญ และมีคุณภาพเมล็ดตรงกับความต้องการของผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ การผลิตข้าวอินทรีย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดดีเป็นพิเศษ

3.   การเตรีมเมล็ดพันธุ์ข้าว
เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานผลิตจากแปลงผลิตพันธุ์ข้าวที่ได้รับการดูแลอย่างดี      มีความงอกแรงผ่านการเก็บรักษาโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์  ปราศจากโรคแมลง  และเมล็ดวัชพืช  หากจำเป็นต้องป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์อนุโลมให้นำมาแช่ในสารละลายจุนสี (จุนสี 1 กรัมต่อน้ำ     1 ลิตร) เป็นเวลานาน 20 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำก่อนนำไปปลูก

4.   การเตรียมดิน
วัตถุประสงค์หลักของการเตรียมดิน คือสร้างภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของข้าว ช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิด การเตรียมดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติดินและสภาพแวดล้อมในแปลงนาก่อนปลูกโดยการไถดะ ไถแปร คราด และทำเทือก

5.   วิธีการปลูก
การปลูกข้าวแบบปักดำ จะเหมาะสมที่สุดกับการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะการเตรียมดิน ทำเทือก การรักษาระดับน้ำขังในนาจะช่วยควบคุมวัชพืชได้ และการปลูกกล้าข้าวลงดินจะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำควรมีอายุประมาณ 30 วัน เลือกต้นกล้าที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี  ปราศจากโรคและแมลงทำลาย เนื่องจากในการผลิตข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ทุกชนิด โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี จึงแนะนำให้ใช้ระยะปลูกถี่กว่าระยะปลูกที่แนะนำสำหรับการปลูกข้าวโดยทั่วไปเล็กน้อย คือ ประมาณ 20x20 เซนติเมตร จำนวนต้นกล้า 5 ต้นต่อกอ และใช้ระยะปลูกแคบกว่านี้ หากดินนามีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ในกรณีที่ต้องปลูกล่าหรือปลูกหลังจากช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมของข้าวแต่ละพันธุ์ และมีปัญหา เรื่องการขาดแคลนแรงงาน แนะนำให้เปลี่ยนไปปลูกวิธีอื่นที่เหมาะสม

6.   การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
เนื่องจากการปลูกข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี  ดังนั้นการเลือกพื้นที่ปลูกที่ดินมีความ อุดมสมบูรณ์สูงตามธรรมชาติ จึงเป็นการเริ่มต้นที่ได้เปรียบ เพื่อที่จะรักษาระดับผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์  ที่น่าพอใจ นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องรู้จักการจัดการดินที่ถูกต้อง และพยายามรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวอินทรีย์ให้ได้ผลดีและยั่งยืนมากที่สุดอีกด้วย
        คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน สำหรับการผลิตข้าวอินทรีย์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ การจัดการดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และการใช้วัสดุอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี

6.1   การจัดการดิน
      มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับ  การใช้ปลูกข้าวอินทรีย์ ดังนี้
   ไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุ  และจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์
 ไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์โดยตรงออกจากแปลงนา แต่ควรนำวัสดุ อินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงใส่แปลงนา ให้สม่ำเสมอทีละเล็กละน้อย
   เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินโดยการปลูกพืชโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วในที่ว่างในบริเวณพื้นที่นาตามความเหมาะสม แล้วใช้อินทรียวัตถุที่เกิดขึ้นในระบบไร่นาให้เกิดประโยชน์ ต่อการปลูกข้าว
 ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่าก่อนการปลูกข้าวและหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว แต่ควร ปลูกพืชคลุมดินโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า โสน เป็นต้น
    ป้องกันการสูญเสียหน้าดินเนื่องจากการชะล้าง โดยใช้วัสดุคลุมดิน พืชคลุมดิน และ ควรมีการไถพรวนอย่างถูกวิธี
  ควรวิเคราะห์ดินนาทุกปี แล้วแก้ไขภาวะความเป็นกรดเป็นด่างของดิน  ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว (ประมาณ 5.5-6.5) ถ้าพบว่าดินมีความเป็นกรดสูง แนะนำให้ใช้ปูนมาร์ล ปูนขาว หรือขี้เถ้าไม้ปรับปรุงสภาพดิน

6.2   การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด และพยายามแสวงหาปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติมาใช้อย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติแทบทุกชนิดมีความเข้มข้นของธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ จึงต้องใช้ในปริมาณที่สูงมากและอาจมีไม่พอเพียงสำหรับการปลูกข้าวอินทรีย์ และถ้าหากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต จึงแนะนำให้ใช้หลักการธรรมชาติที่ว่า “สร้างให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ใช้ทีละเล็กทีละน้อยสม่ำเสมอเป็นประจำ”

ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติที่ควรใช้ ได้แก่
           ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยมูลสัตว์ ได้แก่มูลสัตว์ต่างๆ ซึ่งอาจนำมาจากภายนอก หรือจัดการผลิตขึ้นในบริเวณไร่นา นอกจากนี้ท้องนาในชนบทหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วมักจะปล่อยให้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ โดยให้แทะเล็มตอซังและหญ้าต่างๆ มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมาปะปนกับเศษซากพืช ก็จะเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในนาอีกทางหนึ่ง
   ปุ๋ยหมัก ควรจัดทำในพื้นที่นาหรือบริเวณที่อยู่ไม่ห่างจากแปลงนามากนัก เพื่อความสะดวกในการใช้ ควรใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการทำปุ๋ยหมักเพื่อช่วยการย่อยสลายได้เร็วขึ้น และเก็บรักษาให้ถูกต้องเพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร
   ปุ๋ยพืชสด  ควรเลือกชนิดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ควรปลูกก่อนการปักดำข้าว ในระยะเวลาพอสมควร เพื่อให้ต้นปุ๋ยพืชสดมีช่วงการเจริญเติบโตเพียงพอที่จะผลิตมวลพืชสดได้มาก มีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนสูงและไถกลบต้นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกข้าวตามกำหนดเวลา เช่น โสนอัฟริกัน (Sesbania rostrata) ควรปลูกก่อนปักดำข้าวประมาณ 70 วัน โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 7 กิโลกรัมต่อไร่ หากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสช่วยเร่งการเจริญเติบโต แนะนำให้ใช้หินฟอสเฟตบดละเอียด ใส่ตอนเตรียมดินปลูก แล้วไถกลบต้นโสนขณะมีอายุประมาณ 50-55 วันหรือก่อนการปักดำข้าวประมาณ 15 วัน

6.3   การใช้อินทรียวัตถุบางอย่างทดแทนปุ๋ยเคมี
   หากปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินข้างต้นแล้วยังพบว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ไม่เพียงพอหรือขาดธาตุอาหารที่สำคัญบางชนิดไป สามารถนำอินทรียวัตถุจากธรรมชาติต่อไปนี้ ทดแทนปุ๋ยเคมีบางชนิดได้คือ
      แหล่งธาตุไนโตรเจน: เช่น แหนแดง สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว กากเมล็ดสะเดา   เลือดสัตว์แห้ง กระดูกป่น เป็นต้น
      แหล่งธาตุฟอสฟอรัส: เช่น หินฟอสเฟต กระดูกป่น มูลไก่ มูลค้างคาว กากเมล็ดพืช ขี้เถ้าไม้ สาหร่ายทะเล เป็นต้น
      แหล่งธาตุโพแทสเซียม: เช่น ขี้เถ้า และหินปูนบางชนิด
   แหล่งธาตุแคลเซียม: เช่น ปูนขาว โดโลไมท์ เปลือกหอยป่น กระดูกป่น เป็นต้น

7.   ระบบการปลูกพืช
ปลูกข้าวอินทรีย์เพียงปีละครั้ง โดยเลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมกับข้าวแต่ละพันธุ์ และปลูกพืช หมุนเวียนโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วก่อนและหลังการปลูกข้าว อาจปลูกข้าวอินทรีย์ร่วมกับพืชตระกูลถั่ว  ก็ได้ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม

8.   การควบคุมวัชพืช
หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในการควบคุมวัชพืช แนะนำให้ควบคุมวัชพืชโดยวิธีกล เช่น การเตรียมดินที่เหมาะสม วิธีการทำนาที่ลดปัญหาวัชพืช การใช้ระดับน้ำควบคุมวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน การถอนด้วยมือ วิธีเขตกรรมต่างๆ การใช้เครื่องมือ รวมทั้งการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น

9.   การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช
หลักการสำคัญของการป้องกันกำจัดโรคแมลง และสัตว์ศัตรูข้าวในการผลิตข้าวอินทรีย์ มีดังนี้
   ไม่ใช้สารสังเคราะห์ในการป้องกันกำจัดโรคแมลง และสัตว์ศัตรูข้าวทุกชนิด
  ใช้ข้าวพันธุ์ต้านทาน
       การปฏิบัติด้านเขตกรรม เช่น การเตรียมแปลง  กำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดและระยะปลูกที่เหมาะสม การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการระบาด ของโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสมดุลของธาตุอาหารพืช การจัดการน้ำ เพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโตดี สมบูรณ์และแข็งแรง สามารถลดการทำลายของโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวได้ส่วนหนึ่ง
    การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบายของโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว เช่น การจำจัดวัชพืช การกำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรคโดยใช้ปูนขาว หรือกำมะถันผงที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี และควรปรับสภาพดินไม่ให้เหมาะสมกับการระบาดของโรค
      การรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ โดยส่งเสริมการเผยแพร่ขยายปริมาณของแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน และศัตรูธรรมชาติ เพื่อช่วยควบคุมแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว
     การปลูกพืชขับไล่แมลงบนคันนา เช่น ตะไคร้หอม
     หากมีความจำเป็นอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ใบแคฝรั่ง เป็นต้น
     ใช้วิธีกล เช่น ใช้แสงไฟล่อ ใช้กับดัก ใช้กาวเหนียว
    ในกรณีที่ใช้สารเคมีกำจัดควรกระทำโดยทางอ้อม เช่นนำไปผสมกับเหยื่อล่อในกับดักแมลงหรือใช้สารพิษกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว ซึ่งจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง และต้องกำจัดสารเคมีที่เหลือรวมทั้งศัตรูข้าวที่ถูกทำลายโดยเหยื่อพิษอย่างถูกวิธี หลังจากปฏิบัติเสร็จแล้ว

10.   การจัดการน้ำ
ระดับน้ำมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตทางลำต้น และการให้ผลผลิตของข้าวโดยตรง ในระยะปักดำจนถึงแตกกอ ถ้าระดับน้ำสูงมากจะทำให้ต้นข้าวสูงเพื่อหนีน้ำทำให้ต้นอ่อนแอและล้มง่าย ในระยะนี้ควรรักษาระดับน้ำให้อยู่ที่ประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ถ้าต้นขาดน้ำจะทำให้วัชพืชเติบโตแข่งกับต้นข้าวได้ ดังนั้นระดับน้ำที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวอินทรีย์ ตลอดฤดูปลูกควรเก็บรักษาไว้ที่ประมาณ 5-15 เซนติเมตร จนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 7-10 วัน จึงระบายน้ำออกเพื่อให้ข้าวสุกแก่พร้อมกัน และพื้นนาแห้งพอเหมาะต่อการเก็บเกี่ยว

11.   การจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวหลังข้าวออกดอก  ประมาณ 30 วัน สังเกตจากเมล็ดในรวงข้าวส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นสีฟาง เรียกว่าระยะข้าวพลับพลึง
การตาก      ขณะเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวมีความชื้นประมาณ 18-24 เปอร์เซ็นต์  จำเป็นต้องลดความชื้นลงให้เหลือ 14 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่า เพื่อให้เหมาะสมต่อการนำไปแปรสภาพ หรือเก็บรักษา และมีคุณภาพการสีดี การตากข้าวแบ่งออกเป็น 2 วิธี
               ตากเมล็ดข้าวเปลือกที่นวดจากเครื่องเกี่ยวนวด โดยเกลี่ยให้มีความหนา  ประมาณ 5 เซนติเมตร ในสภาพที่แดดจัดเป็นเวลา 1-2 วัน หมั่นพลิกกลับเมล็ดข้าวประมาณวันละ 3-4 ครั้ง นอกจากการตากเมล็ดบนลานแล้วสามารถตากเมล็ดข้าวเปลือกโดยการบรรจุกระสอบขนาดบรรจุ 40 - 60 กิโลกรัม ตากแดดเป็นเวลา 5-9 วัน และพลิกกระสอบวันละ 2 ครั้ง จะช่วยลดความชื้นในเมล็ดได้เหลือประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์
                 การตากฟ่อนข้าวแบบสุ่มซังในนา หรือแขวนประมาณ 2-3 แดด อย่าให้ เมล็ดข้าวเปียกน้ำ หรือเปื้อนโคลน

12.   การเก็บรักษาผลผลิต
ก่อนนำเมล็ดข้าวไปเก็บรักษา ควรลดความชื้นให้ต่ำกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ และเก็บรักษาด้วยวิธีจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เป็นต้นว่า เก็บในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ การใช้ภาชนะเก็บที่มิดชิดหรืออาจใช้เทคนิคการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการเก็บรักษา การเก็บในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำจะป้องกันการเจริญเติบโตของโรคและแมลงได้
      

13.   การบรรจุหีบห่อ
ควรบรรจุในถุงขนาดเล็กตั้งแต่ 1 กิโลกรัมถึง 5 กิโลกรัม โดยใช้วิธีอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเฉื่อย หรือเก็บในสภาพสุญญากาศ

ระบบการตรวจสอบข้าวอินทรีย์
   เพื่อให้ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ ถูกต้องตามหลักการเกษตรอินทรีย์ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ดีปลอดภัยจากสารพิษ จำเป็นต้องมีระบบการตรวจสอบที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับหลักการของการเกษตรอินทรีย์
   
   ระบบการตรวจสอบข้าวอินทรีย์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอนสำคัญ คือ
1.   การตรวจสอบขั้นตอนการผลิตในไร่นา
มีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลให้วิธีการผลิตข้าวอินทรีย์เป็นไปอย่างถูกต้อง ตามหลักการเกษตรอินทรีย์ คือ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดแต่สามารถใช้สารจากธรรมชาติแทนได้ เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน

2.   การตรวจสอบรับรองคุณภาพผลผลิตในห้องปฏิบัติการ
เพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากสารพิษ สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดโดย  FAO /WHO
   ในระบบสากลนั้นผลิตผลเกษตรอินทรีย์จะต้องผ่านการตรวจสอบทั้งขั้นตอนการผลิตและรับรองคุณภาพผลผลิตจากหน่วยงานตรวจสอบมาตรฐานของประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกสหพันธ์เคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM)
   ปัจจุบันข้าวอินทรีย์ที่ผลิตโดยบริษัทในเครือสยามไชยวิวัฒน์ และบริษัทในเครือนครหลวงค้าข้าว จำกัด โดยความร่วมมือของกรมวิชาการเกษตร จะมีการตรวจสอบระบบการผลิตในไร่นา โดยนักวิชาการ และตรวจสอบรับรองคุณภาพผลผลิตในห้องปฏิบัติการโดยกรมวิชาการเกษตร แล้วส่งผลผลิตไปยังประเทศอิตาลี เพื่อจำหน่ายโดยมีองค์กร Riseria Monferrato s.r.I. Vercelli ประเทศอิตาลี เป็นผู้ประสานงานกับ IFOAM ในการรับรองคุณภาพมาตรฐานของการผลิต
   เพื่อให้ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักเกษตรอินทรีย์ คุณภาพดีได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ จำเป็นต้องมีระบบการตรวจสอบ ควบคุม กำกับ และรับรองคุณภาพของผลผลิต ที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งกรมวิชาการเกษตรและหน่วยงาน     ที่เกี่ยวข้องจะได้สนับสนุนให้มีหน่วยงาน / องค์กรประชาชน ที่ทำงานเป็นอิสระแต่สามารถตรวจสอบ    ซึ่งกันและกัน ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐาน (Standard setting) ตรวจสอบ (Inspection) และออกใบรับรอง (Certification) ผลผลิตข้าวอินทรีย์โดยรัฐเป็นผู้รับรอง (Accreditation) หน่วยงาน/องค์กรประชาชน      ดังกล่าว และประสานงานกับหน่วยงานในต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น IFOAM และ EEC เป็นต้น

งานวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์
1.   พันธุ์ข้าว
พันธุ์ข้าวที่ปลูกโดยทั่วไปเป็นพันธุ์ข้าวที่ผ่านการคัดเลือกตามระบบเกษตรเคมี ยังไม่มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวสำหรับปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะ ข้าวที่นิยมใช้ผลิตข้าวอินทรีย์ในปัจจุบันมีเพียง 2 พันธุ์  คือ ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 ซึ่งสามารถปลูกได้ดีเฉพาะพื้นที่ และอาจก่อให้เกิดการระบาดของโรค แมลงศัตรูข้าวได้ง่าย หากมีการขยายพื้นที่ปลูก จึงควรมีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับการผลิตแบบอินทรีย์ เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวอินทรีย์
ลักษณะบางประการของข้าวที่ควรคำนึงในการพัฒนาพันธุ์ข้าวอินทรีย์ ได้แก่ คุณภาพเมล็ดตรงตามความต้องการของผู้บริโภค อายุการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาลปลูก ให้ผลผลิตดีในสภาพที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง- ต่ำ ต้านทานโรคแมลงศัตรูที่สำคัญบางชนิดในธรรมชาติ แข่งขันกับวัชพืชได้ดี ระบบรากแข็งแรงมีประสิทธิภาพ

2.   ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
   การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินมีบทบาทสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับผลผลิตข้าวอินทรีย์ จึงควรมีการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างมีประสิทธิภาพ  การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดการดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์  และการใช้
วัสดุธรรมชาติบางชนิดทดแทนปุ๋ยเคมี ทั้งในเรื่องของชนิดวัสดุ แหล่งผลิต ปริมาณ วิธีการใช้ และผลกระทบต่อผลผลิตข้าวและสภาพแวดล้อมรวมทั้งการปรับใช้ให้ได้ผลดีและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ จะช่วยให้การผลิต ข้าวอินทรีย์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.   การเขตกรรม
นอกจากการจัดการด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว การวิจัยและพัฒนาด้านเขตกรรม เช่น การเตรียมดิน ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม วิธีการปลูก อัตราเมล็ดพันธุ์ ระยะปลูก การจัดการน้ำ การควบคุม-

วัชพืช และการจัดการโดยทั่วไป เพื่อให้ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว  ทำให้ต้นข้าวที่ปลูกเจริญเติบโตดี สมบูรณ์และแข็งแรง ก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์   การใช้เครื่องมือ/เครื่องจักรกลในบางกิจกรรมในการผลิตเพื่อทดแทนแรงงาน ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี จึงควรมีการวิจัยและพัฒนาทางด้านนี้เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ที่เหมาะสม

4.   ด้านระบบการปลูกพืช
ควรมีระบบวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมกับการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยเน้นระบบ การผลิตที่เกื้อกูลการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน รักษาความสมดุลทางธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์มีประสิทธิภาพ เป็นแนวทางการผลิตทางการเกษตรแบบยั่งยืนได้

5.   การป้องกันกำจัดโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว
   เนื่องจากระบบการผลิตข้าวอินทรีย์หลีกเลี่ยงการใช้สารป้องกันกำจัดโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว ประกอบกับพันธุ์ข้าวคุณภาพดีที่นิยมปลูกในปัจจุบันไม่ต้านทานโรคแมลงที่สำคัญ นอกจากนี้เทคโนโลยี การใช้สารอินทรีย์จากธรรมชาติในการป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร  จึงควรศึกษาวิจัยในด้านนี้ เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคแมลง และสัตว์ศัตรูข้าวที่เหมาะสมกับการผลิตข้าวอินทรีย์

6.การเก็บรักษาผลผลิต
การเก็บรักษาผลผลิตข้าวที่ไม่ถูกวิธีก่อให้เกิดการเสื่อมคุณภาพของข้าวที่เก็บรักษา  การสูญเสียผลผลิตข้าวเนื่องจากการทำลายของแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บมีประมาณ ร้อยละ 4  - 5 โดยน้ำหนัก  จึงมีการใช้สารเคมีป้องกันการทำลายของแมลงในการเก็บรักษาผลผลิตข้าวเพื่อการค้า  แต่การเก็บรักษาผลผลิตข้าวอินทรีย์จะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในโรงเก็บ  ดังนั้นจึงต้องมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว  และการจัดการในโรงเก็บเพื่อลดความสูญเสียและรักษาคุณภาพผลผลิต  การเก็บในห้องเย็นที่มีอุณหภูมิ ประมาณ
18 องศาเซลเซียส  และการบรรจุหีบห่อโดยใช้ถุงสุญญากาศหรือถุงบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเฉื่อยเป็นวิธีการที่ผู้ประกอบการใช้อยู่ในปัจจุบัน


ที่มา   :   หลักการผลิตข้าวอินทรีย์
   สถาบันวิจัยข้าวอินทรีย์
กรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จัดพิมพ์เผยแพร่โดย
   กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์
   ส่วนส่งเสริมและบริการพัฒนาคุณภาพสินค้า
   สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร
   กรมส่งเสริมการเกษตร
   เขตจตุจักร  กทม.  10900
   โทร. 0-2955-1515
   โทรสาร 0-2940-6170
   E-mail : agriqua41@doae.go.th


* rice.gif (129.8 KB, 407x693 - ดู 2432 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721



« ตอบ #244 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 09:57:30 »


    ติดตามผลงานเรื่อยๆครับท่าน
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #245 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 11:38:48 »

ในการใช้ปุ๋ยคอกในนาข้าว  ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์แต่ละชนิดจะได้ปริมาณธาตุอาหารแตกต่างกันไป  เดี๋ยวนี้ก็มีหลายบริษัทที่นำมูลสัตว์มาปั้นเม็ดขายเพื่อความสะดวกในการใช้งานแต่ก็ค่อนข้างมีราคาและการปั้นเม็ดอาจมีส่วนผสมของดินเพื่อให้สามารถปั้นเป็นเม็ดได้ปริมาณของปุ๋ยคอกก็ลดลงไป หากใครจะทำนาแบบลดต้นทุนก็อาจติดต่อจากผู้เลี้ยงโดยตรงจะช่วยประหยัดเงินได้มาก



* 2.PNG (32.94 KB, 499x416 - ดู 2470 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #246 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 12:48:39 »

วันนี้ตอนเช้าไปดูดอกดาวเรืองที่เพาะเอาไว้โดยการเก็บดอกแก่ที่เหี่ยวมาขยี้ลงดินที่เตรียมไว้เพาะ ตอนนี้งอกขึ้นมา 30 กว่าต้นแล้วถ้าโตก็จะนำไปปลูกริมคันนา เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ในนาข้าว ดอกดาวเรือง ภาคเหนือเรียกว่า คำปู้จู้ โดยที่คำแปลว่า ทอง ส่วน ปู้จู้แปลว่า กระจุกแน่น  ที่จริงการสร้างระบบนิเวศน์ในแปลงนาสามารถนำดอกอื่นมาปลูกได้แต่คิดว่าดอกนี้ไม่ค่อยมีค่าใช้จ่ายอะไร หาได้ง่าย ปลูกง่าย สามารถนำไปเพาะต่อได้เรื่อย ๆ ครับ

การใช้ประโยชน์
         ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากชนิดหนึ่ง นอกจากจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย การนำดาวเรืองไปใช้ประโยชน์สรุปได้ดังนี้
          1.ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม
ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงาม กลีบดอกสีเหลืองเรียงอัดกันแน่น และมีอายุการใช้งานนาน ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับปลูกเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินตา สบายใจ
          2.ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง
เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็น (ฉุน)แมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้
          3.ปลูกเพื่อจำหน่าย
             3.1 ใช้ทำพวงมาลัย ปัจจุบันนิยมนำดอกดาวเรืองมาร้อยพวงมาลัยกันมาก ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยไหว้พระ หรือพวงมาลัยสำหรับคล้องคอในงานพิธีต่าง ๆ การตัดดอกดาวเรืองสำหรับใช้ประโยชน์ในด้านนี้จะต้องให้มีก้านดอกสั้น ๆ หรือให้เหลือเฉพาะดอก
             3.2 ใช้ปักแจกัน เนื่องจากดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่ลักษณะกลมเรียงตัวกันแน่นเป็นระเบียบ และมีสีสันสวยงาม จึงมีคนนิยมนำมาปักแจกันมาก ไม่ว่าจะเป็นแจกันตั้งตามโต๊ะรับแขกตามหิ้งพระ หรือแจกันประกอบโต๊ะหมู่บูชา การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมาปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอกยาวประมาณ 18-20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำ ๆ แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอกดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นาน ๆ
             3.3 การปลูกลงกระถางหรือถุงเพื่อประดับอาคารสถานที่ ปัจจุบันมีการนำกระถางหรือถุงดาวเรืองมาประดับอาคารสถานที่กันมากขึ้น เพาะสามารถใช้ประดับไว้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการ งานพระราชทานปริญญาบัตร หรือแม้แต่งานพิธีตามอาคารบ้านเรือน การปลูกดาวเรืองเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านนี้ ก็เหมือนกับการปลูกดาวเรืองโดยทั่วไป เพียงแต่เป็นการปลูกลงในกระถางหรือถุง แทนที่จะปลูกลงในแปลง พอดอกดาวเรืองเริ่มบาน ก็นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้
             3.4 จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล (Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอากหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น



* IMG_8068.JPG (92.7 KB, 525x700 - ดู 2019 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #247 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 12:57:57 »

ดอกไม้ริมคันควรเลือกใช้ต้นที่ไม่สูงมากเพราะจะไปบังแสงอาทิตย์กับต้นข้าวและไม่ควรปลูกเป็นพุ่มใหญ่หรือติดกันจนเกินไปอาจเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรูพืชได้  นอกจากสร้างระบบนิเวศน์ในนาข้าว ดอกไม้บางชนิดยังมีประโยชน์อย่างอื่นด้วยครับเช่น ในญี่ปุ่นจะปลูกดอก"ฮิกัมบะนะ" หรือ "มันจุชะเกะ" หรือ Spider Lily ในภาษาอังกฤษ ออกดอกปีละครั้ง ชาวนาจะนิยมปลูกไว้รอบคันนาเพื่อป้องกันตัวตุ่นมาขุดกินข้าวที่กำลังออกรวงแก่เต็มที่ เนื่องจากต้นไม้นี่จะมีรากที่เป็นหัวและมีพิษ


* p1040787resize.jpg (93.42 KB, 461x345 - ดู 2006 ครั้ง.)

* p1040789resize.jpg (99.02 KB, 461x345 - ดู 2135 ครั้ง.)

* p1040790resize.jpg (107.07 KB, 461x345 - ดู 1883 ครั้ง.)

* p10407711resize.jpg (94.41 KB, 461x345 - ดู 3925 ครั้ง.)

* p1040788resize.jpg (75.36 KB, 461x345 - ดู 1869 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มกราคม 2013, 13:01:33 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #248 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 13:59:22 »

ผมเคยคุยกับเจ้าของร้านขายปุ๋ยขายยาเคมีแถวบ้าน  บอกว่าจะเลิกทำนาหว่านแล้ว ดูเค้าทำหน้าไม่ค่อยสู้ดีเท่าไหร่ ส่วนหนึ่งเพราะคงขายสินค้าได้น้อยลง พวกยาคุมหญ้า ซึ่งแต่ละปีต้องซื้อ2-3 พันบาท ปุ๋ยเคมีก็ขายได้น้อยลงตามไปด้วย มาดูบทความของคุณ สุภชัย ปิติวุฒิ  ผมก็ว่าให้แนวคิดที่ดีครับ


วงเวียนชีวิต เศรษฐกิจริมคันนา "ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา"
โดย นาย สุภชัย ปิติวุฒิ

วันนี้
ตึกโรงพยาบาลสูงขึ้นเตียงคนไข้เพิ่มขึ้น หมอเพิ่มขึ้น คลินิกใกล้บ้านมากขึ้น จากคลินิกประจำอำเภอ ->มาประจำตำบล -> ประจำหมู่บ้าน 

ยารักษาโรคเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นช้ากว่า โรคที่เพิ่มขึ้น
อาหารเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น ทั้งขายตรง แอบขาย หลอกขาย
............แต่
             
 "อายุเกษตรกรสั้นลง"

"ในน้ำมี-ยา" ในนามี-สารพิษ"
ช่วยกันเอาคุณภาพชีวิตที่ดีกลับคืนสู่ท้องนาให้
"ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"


* large_pop15.jpg (53.9 KB, 640x480 - ดู 2141 ครั้ง.)

* large_Slide61.jpg (38.79 KB, 640x480 - ดู 1852 ครั้ง.)

* large_pop2.jpg (51.33 KB, 640x480 - ดู 1876 ครั้ง.)

* 1.PNG (31.02 KB, 809x357 - ดู 1895 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #249 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 14:45:30 »


    ติดตามผลงานเรื่อยๆครับท่าน
+1 คับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #250 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 15:39:59 »

รายการนี้ก็มีประโยชน์ครับ



ความจริงเรื่องข้าวไทยที่คนไทยต้องรู้ หากไทยไม่เปลี่ยนวิธีการผลิตข้าว ต้นทุนที่สูงแต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ดร.การดี เลียวไพโรจน์ดินทางไปพม่า ลิ้มรสความอร่อยของข้าวที่อร่อยที่สุดในโลก ฟารีดา โยธาสมุทร อยู่ที่กรุงเทพเพื่อพิสูจน์ว่าข้าวหอมมะลิของไทย อร่อยติดใจชาวต่างชาติ มากกว่าข้าวหอมของ พม่า และเวียดนามอยู่หรือไม่ และทรงกลด บางยี่ขัน เดินทางไปภาคใต้ของเวียดนามแหล่งปลูกข้าวที่อุดมสมบรูณที่สุดในอาเซียน ชาวนาเวียดนาม  แม้แต่พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิสำคัญและอุดมสมบูรณ์ที่สุดของไทย ชาวนาไทยลงทุนกับปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงเกือบครึ่งหนึ่งของต้นทุน เทียบกับชาวนาเวียดนามที่จังหวัดเกิ่นเทอ ค่าใช้จ่ายแตกต่างกันเพียงไร่ละพันกว่าบาท แต่เมื่อเทียบผลกำไรต่อไร่แล้ว ชาวนาเวียดนามมีกำไรมากกว่าชาวนาไทยเกือบ 4 เท่าตัว ติดตามชม asean beyond 2015

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 มกราคม 2013, 22:41:33 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #251 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 15:58:11 »


    ติดตามผลงานเรื่อยๆครับท่าน
+1 คับ

ขอบคุณทั้งสองท่านครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #252 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 16:17:20 »

ผลกระทบของยากำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพ

            สารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชถูกออกแบบมาให้ใช้กำจัดพืชหรือสัตว์หรือแมลงที่เป็นภัยต่อพืชที่เราต้องการ  สารเคมีเหล่านี้ถูกนำมาใช้  เพื่อกำจัดแมลงกำจัดวัชพืชหรือกำจัดเชื้อรา  ซึ่งอยากจะขอเรียกกลุ่มสารเคมีนี้โดยรวมตามที่เราเข้าใจง่าย ๆ ว่ายาฆ่าแมลง  ยาฆ่าแมลงจะถูกดูดซึมโดยทางผิวหนัง  การกิน และการหายใจ  ยาฆ่าแมลงสามารถแพร่ไปตามที่ต่าง ๆ  ในบริเวณใกล้เคียงไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า  พื้นดินหรือบ่อน้ำ  เด็ก ๆ ในบ้านอาจจะถูกยาฆ่าแมลงที่ตกค้างอยู่โดยไม่รู้ตัว  มีการศึกษาพบว่ามีเพียง 5%  ของยาฆ่าแมลงที่ได้ออกฤทธิ์ตรงกลุ่มเป้าหมาย  แต่ส่วนใหญ่ที่เหลือจะแพร่กระจายไปในบริเวณต่าง ๆ และแหล่งน้ำที่ใกล้เคียง  การแพร่กระจายของยาฆ่าแมลงนี้สามารถกระจายจากจุดที่ใช้ได้ตั้งแต่ 3 เมตรถึง 20 กิโลเมตร  ดังนั้น เราพอจะเห็นภาพคร่าว ๆ คือ   อันตรายจากการตกค้างของยาฆ่าแมลงต่อสิ่งแวดล้อมนี้มากมายคณานับ

            ผลกระทบจากการสูดดมยาฆ่าแมลงมีมากกว่าการดูดซึมทางผิวหนังหรือการทานเข้าไป  การศึกษาในรัฐวิสคอนซิน  สหรัฐอเมริกา  พบว่ายาฆ่าแมลงสามารถหลุดลอดเข้าไปในแหล่งน้ำใต้ดินซึ่งอยู่ลึกลงไปได้  ทำให้การใช้น้ำบาดาลในปัจจุบัน ไม่มีความปลอดภัยเสียแล้ว ยาฆ่าแมลงกลุ่มหลัก ๆ ที่ใช้ในการเกษตรได้แก่ 

1.       กลุ่มออร์กาโนฟอสเซส ยาฆ่าแมลงในกลุ่มนี้สามารถทำลายระบบประสาทโดยการรบกวนการทำงานของเอนไซม์ อเซติลคอรีน  ซึ่งเป็นสารส่งกระแสประสาท 

                ยาฆ่าแมลงกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้สำหรับแมลง ยาฆ่าแมลงกลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่สมัยปีค.ศ.1932บางตัวมีฤทธิ์รุนแรงมากและนำมาใช้ทำสารพิษในสงครามโลกครั้งที่2 โดยทำเป็นสารเพื่อทำลายประสาท

2.       กลุ่มคาร์บาเมท  ยาฆ่าแมลงกลุ่มนี้จะทำลายประสาท และรบกวนเอนไซม์ซึ่งควบคุมอเซติลคอรีน ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการส่งกระแสประสาท

3.       กลุ่มออร์การ์โนคลอรีน  กลุ่มนี้ใช้กันมากในอดีต  ตัวอย่างเช่น  ดีดีที ปัจจุบันเนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย  จึงได้มีการเลิกใช้

4.       กลุ่มไพรีทอยด์  กลุ่มนี้เกิดจากการพัฒนาและสังเคราะห์สารซึ่งออกฤทธิ์ใกล้เคียงกับไพรีทรินธรรมชาติ  ถึงอย่างไรก็ตามพบว่ากลุ่มไพรีทอยด์นี้มีฤทธิ์ต่อประสาทเช่นกัน                       

                ผลกระทบต่อสุขภาพจากยาฆ่าแมลง  ประเมินว่าคนอเมริกัน 1 ใน 20 คน  แพ้ยาฆ่าแมลงเพราะว่าเคยได้รับยาฆ่าแมลงมาก่อน  ยาฆ่าแมลงนี้ได้ส่งผลกระทบต่าง ๆ ในมุมกว้างและบางทีทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต

                ผลจากการได้รับยาฆ่าแมลง ได้แก่ โรคมะเร็ง  โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว  พันธุกรรมบกพร่อง เป็นหมัน  ตับถูกทำลาย โรคผิดปกติของต่อมไทรอยด์  โรคเบาหวาน โรคไต 

                ระบบประสาทถูกทำลาย  ลดจำนวนสะเปิร์มในเพศชาย  โรคภูมิแพ้ และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เด็ก ๆมักจะได้รับผลกระทบจากโรคเหล่านี้อย่างมาก รวมถึงการเกิดความพิการเกิดความผิดปกติในการเรียนรู้และความผิดปกติในเรื่องพฤติกรรม เด็กที่อยู่ในบ้านที่ใช้ยาฆ่าแมลงเป็นประจำพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าเด็กปกติ 6.5 เท่า ผลกระทบนี้ยังพบว่าสัตว์เลี้ยงในบริเวณบ้านที่ใช้ยาฆ่าแมลงก็ได้รับความเสี่ยงนี้เช่นกัน 

        จากการศึกษาพบว่านกซึ่งอพยพเข้ามาตามฤดู มีอัตราการตายเพิ่มขึ้นในบริเวณที่มียาฆ่าแมลงตกค้างและบางบริเวณที่มียาฆ่าแมลงเล็กน้อยนกป่าเหล่านี้มีอาการเจ็บป่วยเหมือนที่พบในมนุษย์ 

                การสะสมของยาฆ่าแมลงในร่างกายของเรา ยาฆ่าแมลงจะถูกสะสมไว้ในเซลล์ไขมัน  เนื่องจากโมเลกุลของยาฆ่าแมลงนี้เป็นสารพิษ  ร่างกายจะนำไขมันไปล้อมสารพิษไว้  และเก็บไว้ในเซลล์ไขมัน  เพื่อไม่ให้ออกมาทำอันตรายต่อร่างกาย  ระบบร่างกายที่ได้รับผลกระทบจากยาฆ่าแมลง เหล่านี้โดยตรงได้แก่  ตับ ไต และระบบประสาท

เรียบเรียงโดย  บริษัท  กู๊ดเฮลท์ ( ประเทศไทย)  จำกัด


* dsc3991.jpg (115.84 KB, 700x469 - ดู 1982 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #253 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 19:59:43 »

หลังจากหว่านข้าวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา นับวันได้เกือบ 4 วันดูข้าวที่หว่านไปตอนนี้มีการเจริญเติบโตมาบ้างแล้วครับ


* IMG_8070.JPG (54.21 KB, 700x525 - ดู 1911 ครั้ง.)

* IMG_8074.JPG (52.1 KB, 700x525 - ดู 1873 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #254 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 20:03:29 »

บริเวณร่องน้ำที่มีน้ำขังหรือชื้นอยู่ถ้าเป็นไปได้ควรหยอดอาหารหอยด้วยครับเพื่อกำจัดดีกว่ามากินต้นข้าวครับ ช่วงนี้หอยจะมีไม่มากเพราะพื้นนาส่วนใหญ่จะแห้งหอยเชอรี่จะไม่ชอบ แต่อาจมีหอยเชอรี่ที่มาจากแปลงนาข้างเคียงมาบ้างครับ


* IMG_8073.jpg (73.15 KB, 700x525 - ดู 2030 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #255 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 20:32:23 »

สำหรับนาหว่านนอกจากมีปัญหาเรื่องจะต้องระบายน้ำออกให้หมดไม่ให้มีน้ำขังแล้ว ช่วงหว่านข้าวใหม่ ๆ ก็ยังมีสัตว์ศัตรูข้าว ได้แก่นก และ หนูครับ   สำหรับนกที่มากินข้าวแล้วส่วนใหญ่จะเป็นนกที่หากินในช่วงกลางวันเราสามารถไล่ได้โดยวิธีต่าง ๆ แต่สำหรับหนูซึ่งออกหากินในช่วงกลางคืน กำจัดได้ยากอาจจะต้องทำกำดักจับ หรือต้องใช้สารหนูครับ เดี๋ยวนี้มีแบบเป็นซองสำเร็จพร้อมใช้ หรือเป็นเม็ดก็มี   เมื่อก่อนอาจจะมีงูที่คอยควบคุมประชากรหนู แต่เดี๋ยวนี้ชาวนาต้องใช้ยาฆ่าหอยเชอรี่ งูก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน ชาวนาบางคนใช้ยาฆ่าแมลงกำจัดหอยเพราะง่าย แถมบางยี่ห้อเป็นยี่ห้อที่ห้ามขายแล้วผิดกฎหมายเพราะมีพิษรุนแรงและยังตกค้างในนาแต่ร้านค้าก็ยังแอบยังมาขายโดยแกะฉลากออก ชาวนาแถวบ้านก็แอบไปซื้อมาใช้กันห้ามก็ลำบากครับ  ยาพวกนี้โดนมือจะมีอาการแพ้ บางคนแพ้มากจนมือเท้าเปื่อยก็มีครับ ใครที่รับจ้างดำนาก็ต้องระวังครับบางทีเจ้าของนาอาจไม่บอกล่วงหน้าเพราะกลัวไม่มีคนดำนาแต่ก็อยากประหยัดเงิน

ดูรอยเท้าหนูในนาครับ


* IMG_8075.jpg (64.28 KB, 700x525 - ดู 1863 ครั้ง.)

* IMG_8076.jpg (66.58 KB, 700x525 - ดู 1885 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #256 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 22:21:21 »

"นายแดง  หาทวี"  เป็นครอบครัวชาวนาแห่งบ้านบุ่งมะแลง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ซี่งนายแดงทดลองการทำนาโดยวิถีชีวภาพขึ้นในผืนนาของตนเอง โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมสายพันธุ์ข้าวพื้นบ้านในพื้นที่ คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี ทดลองผสมพันธุ์ข้าวด้วยตนเองระหว่างข้าวเหนียวที่ให้ผลผลิตสูงกับข้าวเหนียวรสชาติดี ทดลองปลูกข้าวแบบต้นเดียวในระยะที่แน่นอน ทำน้ำหมักชีวภาพจากจุลินทรีย์ที่ได้จากท้องถิ่น  และฉีดยาป้องกันแมลงที่ทำจากน้ำหมักสมุนไพรที่ทำขึ้นเอง ส่วนศัตรูพืชเช่นหอยเชอรี่นั้นใช้วิธีเดินเก็บเพื่อนำมาทำน้ำหมักชีวภาพ  อีกทั้งยังได้ร่วมกับเพื่อนบ้านรักษาระบบนิเวศบุ่งทามให้อุดมสมบูรณ์ไปพร้อมๆกันด้วย ซึ่งผลผลิตข้าวแบบชีวภาพโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตรของพ่อแดงนั้นได้ผลผลิตสูงถึง 1,500 – 2,000 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยข้าวของประเทศประมาณ 4 เท่าตัว ในขณะที่มีต้นทุนการผลิตไม่รวมค่าแรงน้อยมาก ประมาณ 300-600 บาท/ไร่เท่านั้น ในขณะที่ตัวเลขต้นทุนการทำนาของชาวนาไทยไม่รวมค่าแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ  4,500 บาท/ไร่/ไร่ สูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยของพื้นที่นาข้างเคียงซึ่งอยู่ในระบบนิเวศเดียวกันประมาณ 3 เท่าตัว




* DSCN2766.jpg (123.92 KB, 600x450 - ดู 1881 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #257 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 22:34:19 »

 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

IP : บันทึกการเข้า
pradi
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 148


« ตอบ #258 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 22:50:02 »

กระทู้น่าสนใจมาก เป็นชาวนามือใหม่ครับ สมัครสมาชิกไว้นานแล้ว ผมอยู่แม่จันแต่ไม่ค่อยได้เข้าดูเวบของเชียงราย  คุณubuntuthaith ใช้ลินุกซ์อุบุนตุด้วยใช่ไหมครับ อยากมีชมรมผู้ใช้ลินุกซ์ และการแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ 
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #259 เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2013, 13:10:03 »

เทคนิคการประหยัดเงินค่าปุ๋ยเคมีโดยการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง

ผมทำนามา 3 ปี  ปีละ 2 ครั้ง นาปรัง นาปี  การทำนา 3 ครั้งหลังนี้มักจะมีชาวนาแถวบ้านชอบว่าผมใส่ปุ๋ยเคมีในนาน้อย บ้างก็ว่าใส่ไม่เป็นจะได้ข้าวเหรอในนาข้าวต้องใส่ปุ๋ยเคมีเยอะ ๆ แต่ที่ผ่านมาผลผลิตที่ได้ก็ขายได้ไร่ละหมื่นกว่าบาทอยู่ดี (เฉลี่ยแล้วราว ๆ 1.2-1.3หมื่น/ไร่) ผมทำนาครั้งแรกผมใส่ปุ๋ยตามชาวนาแถวบ้าน รู้สึกว่าต้องลงทุนกับค่าปุ๋ยมาก คิดเป็น 25-30% ของค่าใช้จ่ายในการทำนา และเหนื่อยสำหรับการใส่ปุ๋ยจำนวนมากเหล่านี้หากไปดูในเว็ปกรมการข้าวการแนะนำให้ใส่ปุ๋ยสูตรจะพบว่าการทำนาครั้งหนึ่งชาวนาจะต้องใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมากนาปรังประมาณเฉลี่ย 50 กก/ไร่  นาปีเฉลี่ย 40 กก/ไร่

 http://www.brrd.in.th/rkb/management/index.php-file=content.php&id=14.htm#1

ตามความคิดของผมการใส่ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้องจะต้องใส่ในปริมาณที่พอเหมาะรวมถึงจะต้องคิดหาวิธีลดค่าใช้จ่ายด้วย การใส่ปุ๋ยเคมีในนาข้าวควรจะต้องมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงโครงสร้างของดินร่วมด้วยแต่ไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อมาอะไรมาก ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดปัจจุบันมีราคา 250-300 บาทคือการนำมูลสัตว์มาผสมวัตถุตัวเติมเพื่อปั้นเม็ดได้มาบรรจุเป็นแพ็กเก็ตสวย ๆ น่าใช้ เหมือนน้ำที่ดูแล้วไม่มีราคาแต่มาบรรจุขวดก็ราคาเพิ่มขึ้น  ผมใช้ปุ๋ยขี้หมูที่ไปซื้อมากระสอบละ 6-7 บาทเอง ( กสละ 10-15 ก.ก.)บางทีไปเอาขี้หมูได้น้อยเจ้าของคอกหมูก็ไม่เอาเงินอีก ขี้หมูที่ไปเอาต้องไปตักเองและก็ไม่ได้ใส่บ่อยให้เมื่อยด้วย อาจใส่เฉพาะในช่วงเตรียมดินเพราะปุ๋ยพวกนี้ย่อยสลายเป็นธาตุอาหารได้ช้า ต้องมีจุลินทรีย์ช่วยด้วย ไม่เหมือนกับปุ๋ยเคมีที่ข้าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมก็ช่วยให้การใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่ลดลงได้ด้วยเพราะอย่างน้อยข้าวในนาข้าวยังได้รับธาตุอาหารอื่น ๆ จากดินและจากปุ๋ยคอกที่เราใส่ลงไปด้วย  ชาวนาบางคนชอบแข่งกันว่าใครขายข้าวได้เยอะกว่ากันแต่ไม่ค่อยได้ดูเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่าย และค่าแรงงานของตัวเองเท่าไหร่  ยิ่งปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย ชาวนาก็แห่ซื้อตาม ๆ กัน ใกล้ ๆบ้านผม เค้าซื้อจุลินทรีย์หมักฟางที่เค้ามาขาย ซองละ 150 บาทจะต้องใช้ไร่ละซองละลายน้ำฉีดพ่นบางคนทำนา 35 ไร่ซื้อ 35 ซองก็หลายพันบาท  โดยไม่รู้ว่าเราก็สามารถทำได้จาก หน่อกล้วยที่หาได้ง่ายแถวบ้าน  หากเราจะไปบอกเค้าก็ยากครับ เราทำนาหลังเค้า เค้าทำนามาก่อนและไม่ได้จบด้านเกษตรมาด้วยอีกต่างหาก  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  
มาดูเรื่องปุ๋ยเคมีกันต่อครับ

ปุ๋ยเคมีจะบรรจุกระสอบละ 50 ก.ก. แต่อัตราส่วนของสูตรปุ๋ยจะคิดที่ 100 ก.ก.
การเรียงสูตรปุ๋ยก็คือ   N - P - K  เช่นปุ๋ย  16-20-0  ก็จะมี ไนโตรเจน 16กก ฟอสฟอรัส 20 กก  โพรแทสเซียม 0 กก ที่น้ำหนักปุ๋ย 100 กก

ผมเอาราคาอ้างอิงปุ๋ยเคมีของวันนี้มาครับ  เลือกสูตรที่พบเห็นกันบ่อย ๆ คือ

ปุ๋ยสูตรที่ชาวนานิยมใช้กัน
16-20-0     ราคา 790 บาท/กส
46-0-0       ราคา 825  บาท/กส
15-15-15    ราคา 850 บาท/กส

แม่ปุ๋ย
18-46-0   ราคา  1200 บาท/กส
0-0-60     ราคา  1040 บาท/กส
46-0-0       ราคา 825  บาท/กส

ถ้าคิดตามแบบกรมการข้าว สมมุติว่าทำนา   10  ไร่ จะต้องใส่ปุ๋ยประมาณนี้

ยกตัวอย่างการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ตามแบบกรมการข้าวจะต้องใส่ปุ๋ย 16-20-0 อย่างน้อย 25 กก/ไร่

แบบแรก
ชาวนาทำนา 10 ไร่ จะต้องใส่ปุ๋ย 16-20-0 จำนวนไร่ละ 25 กกทำนา 10 ไร่ใช้ปุ๋ย  5 กส
เป็นเงิน 790x5=3950 บาท

ถ้าคิดต่อไร่ ธาตุอาหารที่ข้าวได้รับคือ  
ปุ๋ย 16-20-0 ( ที่นำหนัก 100 กก )    ปุ๋ยน้ำหนัก 50 กก ก็เท่ากับ  8-10-0  ใช้จำนวน 5 กส.
เงินที่จ่ายไป 3950  บาทจะได้ปุ๋ย  N  40 กก,  P 50 กก , K 0 กก

แต่ถ้าคิดกลับกันสมมุติว่าผมใช้แม่ปุ๋ยร่วมด้วยคือ
แบบที่ 2
ปุ๋ย  46-0-0 จำนวน   1 กส ราคา  825 บาท
แม่ปุ๋ย 18-46-0 จำนวน  2 กส ราคา กส ละ 1200 บาทเป็นเงิน 2400 บาท
ผมก็จะได้ปุ๋ย   N  41 กก  ,P 46 กก, K 0 กก   แต่ผมจ่ายเงิน 3225 บาท

จำนวนธาตุปุ๋ยที่ได้ไม่ต่างกันมาก ส่วนต่างเงินคือ 3950-3225 = 725  บาท/10 ไร่  ในการใส่ปุ๋ยครั้งแรก     แบบแรกผมต้องแบกปุ๋ยไปนา 5 กส แบบที่ 2 ผมแบกปุ๋ยไปนา 3 กส ทำให้เหนื่อยน้อยลง ถ้าใช้เครื่องพ่นปุ๋ยก็ช่วยประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น แต่อาจเสียเวลาผสมปุ๋ยนิดหน่อย  สำหรับการใส่ปุ๋ยครั้ง 2 - 3 ก็ลองไปคิดคำนวณกันเองครับว่าจะใส่ปุ๋ยแบบไหนถึงจะคุมและช่วยลดค่าใช้จ่ายครับ

การลดค่าใช้จ่ายสามารถทำได้หลาย ๆ อย่าง ผมก็ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีครั้งแรกถึง 25 กก/ไร่หรอกครับ  ผมใส่ปุ๋ยเคมีเพียง 10 กก/ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งครับครั้งละ 5กก เพราะปุ๋ยเคมีแม้ข้าวสามารถดึงไปใช้ประโยชน์ได้เลย  แต่ก็ว่าจะดึงไปใช้จนหมด เหมือนคนที่ตักข้าวมากินเยอะ ตักมามาก ๆ ก็กินไม่หมด   ก็เหลืออีกใช่ไหมครับ คนกินข้าวมาก ๆ ก็อ้วน ป่วยง่าย   ไม่ได้กินข้าวก็ป่วยไม่แข็งแรง ข้าวก็เช่นกัน ใส่ปุ๋ยมากเหลือก็ทิ้ง ระเหยเจอจางไปกับอากาศ หรือน้ำไป  ใช้ปุ๋ยมาก ลำต้นอวบแมลงชอบ ใบยาวคลุมกันมากก็เป็นเชื้อรา แมลงศัตรูข้าวก็ชอบ  แม้แต่ระดับน้ำ การใส่น้ำในนาแม้จะช่วยตรึงปุ๋ย N  แต่ใส่มาก ๆ ก็เจือจางปุ๋ยตัวอื่นด้วย   ถ้าจะพูดเรื่องเทคนิคการใส่ปุ๋ยในนาข้าววันนี้ก็คุยไม่หมด ทั้งนาปรัง นาปีก็ไม่เหมือนกัน   นาแต่ละคน ดินก็ไม่เหมือนกันอีกครับ  นี่ยังไม่ได้พูดถึง วิตามิน และ ธาตุบางตัวที่สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อลดการปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวได้เพื่อลดต้นทุนด้วยครับ  เอาไว้จะนำมาเสนอต่อไปครับ


* new1_004.jpg (178.97 KB, 667x183 - ดู 1838 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 มกราคม 2013, 13:18:04 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 [13] 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!