เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 12:34:24
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 [10] 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 407081 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #180 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 11:09:10 »

ปัจจุบันข้าวเพื่อสุขภาพค่อนข้างมาแรงครับชาวนาบางคนปลูกไม่พอขายด้วยซ้ำ แต่การทำนาต้องทำแบบเกษตรอินทรีย์ ข้าวที่ผ่านการวิจัยที่มีวินามิน มีประโยชน์ต่อร่างกายแม้ผลผลิตที่ได้จะไม่มากแต่ราคาค่อนข้างแพงกว่าข้าวทั่วไป ไม่ต้องพึ่งโครงการรับจำนำข้าว ใครมีที่นาน้อย ๆ หรือทำข้าวไร่ก็น่าสนใจครับ ผมเอาพันธุ์ข้าวที่น่าสนใจมาฝากครับ นาปีผมก็จะลองหาพันธุ์มาปลูกบางส่วนเหมือนกันครับ  ผมทำนาผลผลิตต่อไร่ขายได้ไร่ละหมื่นกว่าบาท  แต่ชาวนาบางท่านมีรายได้ต่อไร่ 1-2 แสนบาท/ไร่ แถมข้าวไม่พอขายด้วยซ้ำซึ่งก็น่าสนใจทีเดียว

มาดูข้าวราคาแพงกันครับ

ข้าวหอมมะลิเวสสันตะระ
หอมมะลิเวสสันตะระ  เกิดจากการแก้ไขผลผลิตต่ำในที่นาของตนเอง ตุ๊หล่าง – แก่นคำกล้า พิลาน้อย จึงนำข้าวพื้นเมืองพันธุ์พ่อ “เหนียวเล้าแตก” ผสมกับพันธุ์แม่ “หอมมะลิ105” ใช้เวลา 8 ปีเต็ม จนได้ข้าวเจ้าที่หอมกรุ่นใบเตยเหมือนแม่ และผลผลิตสูงเหมือนพ่อ 

จุดเด่น   ลักษณะสีเหลืองนวล   
มีวิตามินบีรวม ช่วยฟื้นฟูแขนขาอ่อนแรง วิตามินบี 1 บี 2 ป้องกันโรคเหน็บชา โรคเส้นประสาทหลงลืม อุดมด้วยธาตุสังกะสี ช่วยพัฒนาระบบสืบพันธุ์, ช่วยสร้าง ตัวอสุจิให้แข็งแรง, มีธาตุทองแดงช่วยสร้างเม็ดสีเมลานิน และธาตุเหล็ก ช่วยพัฒนาสมองในเด็ก

ราคาขายข้าวสาร  1กก = 80 บาท

ข้าวหอมมะลิแดง

หอมมะลิแดง มีลักษณะสีแดงเหมือน “ข้าวมันปู” และ “ข้าวสังข์หยด” แต่เนื่องจากเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองตระกูลเดียวกับหอมมะลิ จึงให้กลิ่นหอมและ นุ่มนวลกว่าข้าวแดงทั่วไป เป็นข้าวที่เหมาะสำหรับการปรุง “ข้าวต้ม” เพราะมียางข้าวทำให้เหนียวข้น และเข้ากันได้ดีกับธัญพืช อาทิ ลูกเดือย ถั่วเขียว ถั่วแดง มัน เผือก ฯลฯ

จุดเด่น  ลักษณะสีแดงเข้มเป็นข้าวที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะดัชนีน้ำตาลในเลือด จะขึ้นช้าและมีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระเหนือกว่าข้าวทุกชนิดที่ทำการวิจัย และยังสูงกว่ามะเขือเทศ, แอปเปิล, ใบโหระพา รวมถึงผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ทุกชนิด

ราคาขายข้าวสาร  1กก = 85 บาท

ข้าวหอมนิล

ข้าวหอมนิล  ข้าวเจ้าสีม่วงเข้มอมดำ มีกลิ่นหอมและรสชาติเฉพาะตัวเมื่อได้ลิ้มลองแล้วต้องติดใจ ซึ่งกลุ่มข้าวคุณธรรมได้ทำการพัฒนาและปรับปรุงขึ้นจาก สายพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีอายุเก็บเกี่ยวที่นานขึ้นถึง 110 -120 วัน ทำให้ได้รสชาติที่เหนียวนุ่มลิ้นมากยิ่งขึ้น และมีสีม่วงเข้มจนเกือบดำสนิท

จุดเด่น   ลักษณะสีม่วงเข้มอมดำมีธาตุเหล็กสูงสุด อุดมด้วยทองแดง ฟอสฟอรัส ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง  อุดมด้วยวิตามินอี บำรุงผิพรรณ เส้นผม เล็บ ชะลอความชรา

ราคาขายข้าวสาร  1กก =120 บาท


* 1.jpg (96.59 KB, 700x446 - ดู 29543 ครั้ง.)

* 60760027.jpg (136.31 KB, 480x621 - ดู 6170 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #181 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 11:13:47 »

ข้าวไรซ์เบอรี่ แก้หนี้ แก้จน

"ชาวนา คือกระดูกสันหลังของชาติ" คำกล่าวที่สะท้อนบทบาทสำคัญของอาชีพชาวนาที่หากขาดไป ไทยอาจถึงขั้นไม่สามารถคงความเป็นชาติอยู่ได้ แต่หากหันมาดูสภาพความเป็นอยู่ของผู้มีบทบาทสำคัญขนาดนี้ ส่วนใหญ่กลับยากจน ติดอยู่ในวงจรหนี้ชนิดแทบหาทางออกไม่เจอ

"การปฏิวัติการปลูกข้าว ให้ชาวนาหลุดจากวัฏจักรความยากจนด้วยการต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น" คือแนวคิดของ ชัชวาล เวียร์รา ชายวัยเกษียณในจังหวัดสิงห์บุรี ชาวนาใจดีที่มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ณ ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวชุมชนบ้านดักคะนน ตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท แหล่งเรียนรู้การทำเกษตรแบบผสมผสาน ที่ได้รับการส่งเสริมจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำให้เกิดการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

ลุงชัชวาล เล่าว่า การปฏิวัติการปลูกข้าวของตน เริ่มต้นเมื่อ 8 ปีก่อน จากชายวัยเกษียณที่ถนัดเรื่องช่างกล เล็งเห็นว่าไม่มีโรงสีแห่งใดขาดทุน จนต้องปิดโรงงาน แต่ชาวนาที่เป็นคนขายข้าวให้โรงสีกลับมีหนี้สิน ที่นาก็ต้องเช่า ข้าวที่ปลูกยังแทบไม่มีเหลือไว้กินเอง

การปฏิวัติของชาวนาท่านนี้ เริ่มที่การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่ผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างข้าวหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากการพัฒนาพันธุ์ข้าวพิเศษ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีเม็ดเรียวยาวสีม่วงเข้ม เมื่อหุงแล้วเม็ดข้าวมันวาว มีกลิ่นหอมมะลิ นุ่มน่ารับประทาน ตลาดต้องการเป็นอย่างมาก

"ปลูกแทบไม่พอขาย ลูกค้าต้องโทร.สั่งจอง หรือไม่ก็มาแย่งกันถึงบ้าน โรงแรมระดับห้าดาวในกรุงเทพฯ ก็เป็นลูกค้าด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ข้าวเปลือกสายพันธุ์ไรซ์เบอรี่สีม่วง 1 ตัน ปกติจะได้ข้าวสาร 600 กิโลกรัม แต่ถ้านำมาบีบอัดจมูกข้าว จะได้รำข้าวเป็นแผ่นบางๆ จำนวน 100 กิโลกรัม ซึ่งเป็นสุดยอดคุณค่าทางอาหาร มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอี สังกะสี โฟเลต และสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์สูงมาก นำมาเป็นอาหารเสริม ชงดื่มพร้อมเครื่องดื่มมื้อเช้า เช่น น้ำเต้าหู้ หรือเครื่องดื่มมอลต์สกัดก็ได้" ลุงชัชวาล กล่าว

ลุงชัชวาล บอกด้วยว่า ไม่เพียงแต่มีคุณค่าทางโภชนาการชั้นยอด ยังสร้างรายได้จากรำข้าวที่บีบอัดนี้สูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท หรือคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 200,000 บาท และในระหว่างการบีบอัด รำข้าว ยังมีน้ำมันรำข้าวไหลออกมาอีกประมาณ 8 ลิตร ซึ่งท้องตลาดซื้อ-ขายกันแคปซูลละ 5 บาท น้ำมันรำข้าว 1 ลิตรบรรจุได้ 1,900 แคปซูล รวมบรรจุได้ 9,500 แคปซูล จำหน่ายได้ 76,000 บาท

นั่นเท่ากับว่า ข้าว 1 ตัน สามารถขายรำข้าวบีบอัด 100 กิโลกรัม ได้ 200,000 บาท และขายน้ำมันรำข้าว 8 ลิตร ได้ 76,000 บาท รวมเป็น 276,000 บาท จากเดิมขายข้าวเปลือกได้ไม่ถึง 20,000 บาทเท่านั้น!

ลุงชัชวาล บอกว่า การลงทุนต้องมีบ้าง เพราะเครื่องจักรที่ใช้บีบอัดจมูกข้าวมูลค่ากว่า 200,000 บาท ต้องมีเป็นส่วนตัวที่บ้าน แต่ก็สามารถคืนทุนได้หลังการจำหน่ายข้าวเพียงแค่ 2 ครั้ง ทุกวันนี้หากลูกค้าคนใดซื้อผลิตภัณฑ์รำข้าว หรือน้ำมันรำข้าว ตนยังแถมข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ปลอดสารพิษไปให้รับประทานที่บ้านด้วย

นี่คือการปฏิวัติการเกษตรจากประสบการณ์ตรงตลอด 8 ปีของลุงชัชวาล ที่พิสูจน์จนเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเป็นชาวนาไทยก็สามารถมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีปราศจาคหนี้สินได้ โดยชาวนาใจดี บอกว่า พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ให้กับผู้ที่มีใจรักจริงในอาชีพกระดูกสันหลังของชาติ และต้องการหลุดจากวงจรเดิมๆ

"ผมยินดีหากใครต้องการเรียนรู้ และมุ่งมั่นในการปลูกข้าวกล้องชนิดนี้ มาอยู่ที่บ้าน มาเรียนรู้ตั้งแต่การเตรียมดินดำนา จนกระทั่งการบีบอัดรำข้าวออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ เพราะผมคิดว่าเราต้องต่อยอดความคิดจากต้นทุนที่มีอยู่ เพิ่มมูลค่าให้มีรายได้มากขึ้น เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น" ลุงชัชวาล กล่าว

หนึ่งในต้นแบบของชาวนาที่ไม่ยอมติดอยู่ในวงจรเดิมๆ แต่กล้าลุกขึ้นมาปฏิวัติการปลูกข้าวแบบใหม่ และพร้อมแล้วที่จะถ่ายทอดต่อยังผู้สนใจ เพื่อนำไปปรับใช้เพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวของตนเอง


* 0202so.jpg (79.39 KB, 225x200 - ดู 4559 ครั้ง.)

* 33_2.jpg (33.87 KB, 356x255 - ดู 6711 ครั้ง.)

* dbuf4.jpg (65.89 KB, 300x200 - ดู 4610 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #182 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 13:33:39 »

ปูนา

ปูนาจัดเป็นสัตว์ศัตรของข้าวประเภทหนึ่ง ปูนาเป็นปูน้ำจืดที่พบมีอยู่ทั่วไปตามทุ่งนาและในที่ลุ่มของประเทศไทย เป็นกลุ่มปูที่มีวิถีชีวิต มีระบบนิเวศน์และถิ่นที่อยู่อาศัย แตกต่างไปจากปูลำห้วย (creek crab) ปูน้ำตก (waterfall crab หรือ stream crab) และปูป่า (land crab) ด้วยเหตุนี้นักอนุกรมวิธานจึงได้แยกปูนาออกจากปู 3 กลุ่มข้างต้น และจัดให้อยู่ในวงค์ Parathelphusidae ในประเทศไทยพบมี 8 ชนิด ในภาคต่าง ๆ ดังนี้ :

1. Somanniathelphusa germaini พบใน 27 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 22 จังหวัด ภาคตะวันตก 2 จังหวัด ภาคตะวันออก1จังหวัด ภาคใต้1 จังหวัดและภาคเหนือ 1 จังหวัด
2. S. bangkokensis พบใน 18 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 8 จังหวัด ภาคตะวันตก 4 จังหวัด ภาคตะวันออก 2 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
3. S. sexpunetata พบใน 19 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
4. S. maehongsonensis เป็นปูชนิดใหม่ ที่พบในแห่งเดียวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
5. S. fangensis เป็นปูชนิดใหม่ที่พบใน จังหวัดลำปางและเชียงใหม่
6. S. denchaii เป็นปูชนิดใหม่ที่พบใน จังหวัดแพร่
7. S. nani เป็นปูชนิดใหม่ล่าสุดที่พบใน จังหวัดน่าน และ
8. S. dugasti (Esanthelphusa dugasti) พบใน ภาคกลาง 10 จังหวัด ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 3 จังหวัด และภาคเหนือ 9 จังหวัด และภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด

การแพร่กระจายของปูแต่ละชนิด
ปูนาบางชนิดเช่น S. dugasti มีอาณาเขตการแพร่กระจายกว้างมากถึง 40 จังหวัด ในภาคกลางมีปูอยู่ถึง 3 ชนิด ในภาคใต้พบมี 2 ชนิด ทางภาคเหนือบางจังหวัดพบมีชนิดเดียว ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการแพร่กระจายของปูแต่ละชนิด เป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีค่าควรแก่การศึกษา เช่นกรณีของปูนา S. denchaii ที่พบในอำเภอเด่นชัยจังหวัดแพร่ และปูนา S. nani ที่พบใน จังหวัดน่าน เป็นต้น จังหวัดทั้งสองอยู่ใกล้กันมาก และพื้นที่ก็เป็นผืนแผ่นดินติดต่อกัน สภาพดินฟ้าอากาศ หรือปริมาณน้ำฝนก็ใกล้เคียงกัน
มรดกดินของชาวอีสาน
ปูนาชนิด S. dugasti (ภาพที่ 1) แม้จะมีขอบเขตการแพร่กระจายคลอบคลุมถึง41 จังหวัดก็ตาม แต่ก็เป็นปูชนิดเดียวเท่านั้นที่พบมีในภาคอีสาน ด้วยเหตุผลอันนี้ปูชนิดนี้ ครั้งหนึ่งเคยใช้ชื่อว่า Esanthelphusa dugasti ซึ่งบ่งบอกถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของปูชนิดชนิดนี้เป็นอย่างดี ปูชนิดนี้ถ้าจะถือว่าเป็นมรดกดินของชนชาวอิสานก็คงไม่ผิด เพราะเป็นทรัพย์ติดแผ่นดินที่คนอีสานมีสิทธิที่จะเก็บเกี่ยวหรือนำมาใช้ ประโยชน์ได้ แต่จะใช้ประโยชน์อย่างไรถึงจะคุ้มค่าและยั่งยืน ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อตัวเองหรือผู้อื่นนั้นขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของแต่ละ ท่าน

ปูนาแหล่งอาหารโปรตีนราคาถูก
ปูนาจัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสัตว์ราคาถูกและหาได้ง่ายในธรรมชาติ เป็นปูที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่ประมงและเกษตรกรรายย่อยในภาคอีสานทุกคนรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะเป็นปูที่มีความสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตของคนเหล่านั้น
แหล่งที่อยู่อาศัย
ปูนาชอบขุดรูอาศัยอยู่ตามทุ่งนา คันนา บริเวณชายคลอง คันคู และคันคลองชลประทานต่าง ๆ โดยมีแหล่งอาหารและน้ำเป็นปัจจัยหลัก ลักษณะและตำแหน่งของรูปูนาจะแตกต่างกันตามสภาพของพื้นที่ ดินฟ้าอากาศและน้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต บริเวณที่มีน้ำปูจะขุดรูในที่ ๆ น้ำท่วมไม่ถึง รูปูจะเอียงเล็กน้อยและไม่ลึกนัก ปากรูจะอยู่เหนือน้ำ หรือต่ำกว่าระดับน้ำเล็กน้อย เพื่อความสะดวกในการเข้าออก รูปูส่วนใหญ่จะเป็นแนวเอียง 30-60 องศากับแนวระดับ รูจะตรง ไม่คดเคี้ยว ในที่ ๆ มีความชื้นสูงหรือบริเวณที่มีระดับน้ำตื้นมากรูปูจะไม่ลึกและมีรูขนาดไปกับ พื้นดินตามทุ่งนาที่มีน้ำเฉอะแฉะ เช่นระยะหลังการเก็บเกี่ยว ปูจะขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นนามีความลึกประมาณ 1 เมตร ในฤดูแล้งช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พื้นนาแห้ง ดินขาดน้ำ ระดับน้ำใต้ดินลึก ปูจะขุดรูทำมุมกับแนวระดับลึกมาก และจะลึกที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมและใช้ดินปิดปากรูเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ภายในรู หรือไม่ก็อพยพจากท้องนาไปยังหนองน้ำใกล้เคียง ในกรณีที่เกิดฝนตก เกิดอุทกภัย น้ำท่วมคันนา ปูจะหลบอาศัยเกาะอยู่ตามกอหญ้าริม ๆ น้ำ โดยใช้ก้ามเกาะต้นหญ้าพยุงตัวลอยอยู่ในน้ำ

การผสมพันธุ์
เมื่อปูเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ขนาดประมาณ 20 มิลลิเมตร อายุ 90 วัน หรือลอกคราบประมาณ 7-9 ครั้ง ปูเพศผู้จะมีก้ามซ้ายซ้ายใหญ่กว่าก้ามขวาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนท้องที่เรียกว่าจับปิ้งจะมีฐานกว้างปลายเรียวแหลมคล้ายตัวที ส่วนเพศเมียก้ามเล็ก ก้ามทั้งสองมีความแตกต่างกันไม่มาก จับปิ้งที่มีลักษณะเล็กเรียวในระยะที่ยังไม่สมบูรณ์เพศ (ที่เรียกว่าปูกะเทย) ก็จะขยายเป็นแผ่นกว้างครึ่งวงกลมเกือบเต็มส่วนท้อง ปลายมน ที่ขอบมีขนละเอียดเพื่อประโยชน์ในการอุ้มไข่ เมื่อเปรียบเทียบขนาด ถ้าอายุเท่ากันปูเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าปูเพศเมียเสมอ

ปูนาจะวางไข่ปีละครั้งในช่วง เดือนกุมพาพันธุ์-กรกฎาคม โดยมีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ ไม่ว่าน้ำนั้นจะมาจากน้ำฝนหรือจากชลประทาน ปูเพศเมียเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูใหม่หรือซ่อมรูเก่าที่มีอยู่ตามคันนาสูง จากระดับน้ำ หรือตามทุ่งวนาที่น้ำไม่ขัง เพื่อเตรียมอุ้มไข่ และจะไม่ลอกคราบจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว

ทำไมปูนาถึงกัดต้นกินข้าว : คำตอบที่ปราชญ์ชาวบ้านกำลังค้นหา
ยังไม่ทราบสามเหตุแน่ชัดว่าทำไมปูนาถึงชอบกัดต้นข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ สร้างรายได้หลักให้แก่เกษตรกรในภาคอีสาน ปูตัวหนึ่งจะกัดกินต้นข้าวกี่ต้นในเวลาหนึ่งยังไม่มีคำตอบ แต่ที่ทราบแน่ชัดก็คือ ปูชอบกัดข้าวกล้าอ่อน ในช่วง 7-10 วันแรกหลังจากปักดำ หลังจากนั้นปูจะกัดต้นข้าวน้อยลง การที่ปูกัดกินต้นข้าวที่ปักดำใหม่ที่มีอายุน้อยและจะกัดกินฉะเพาะส่วนที่ อ่อนและอวบน้ำเท่านั้น โดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนตรงกลางลำต้น สาเหตุที่ปูกัดกินต้นข้าวในช่วงนั้นก็เพราะปูเพิ่งพ้นช่วงการจำศีล ซึ่งกำลังหิวและต้องการอาหาร ในช่วงนั้นในนาไม่มีวัชพืชอื่น นอกจาก ต้นข้าวที่ชาวนาปักดำใหม่ และเป็นพืชชนิดเดียวที่มีอยู่ในผืนนา ขณะที่วัชพืชชนิดอื่น ๆ ยังไม่มีโอกาสเติบโตเจริญงอกงามให้ปูกัดกิน

การทำลายต้นข้าว
ความจริงแล้วปูนาไม่ได้ทำความเสียหายให้แก่ต้นข้าวเป็นไร่ ๆ หรือร้อยไร่อย่างแมลงหรือหนู ในเนื้อที่1 ไร่ ปูนา จะกัดกินต้นข้าวเพียง 1-3 ย่อม คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 2-3 ตารางเมตรเท่านั้น บริเวณที่ปูชอบกัดต้นข้าว คือบริเวณพื้นนาที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีน้ำลึกและขุ่นมากกว่าปกติ อาจเป็นมุมใด มุมหนึ่ง หรือตรงกลางผืนนาก็ได้ที่ปูสามารถใช้พรางตัวหรือหลบซ่อนตัวได้
ลักษณะการกัดกินต้นข้าว
ส่วนมากปูจะกัดต้นข้าวในระดับสูงจากพื้นดินประมาณ 2 ซม. โดยจะใช้ก้ามทำหน้าที่ยึดและโน้มต้นข้าวเข้าปาก และใช้ ขากรรไกร (mandible) กัดต้นข้าว ปูไม่กินต้นข้าวทุกต้นที่ปูกัด ปูขนาดเล็กที่กำลังเจริญเติบโตจะกัดต้นข้าวมากกว่าปูเต็มวัย ปูจะทำลายต้นข้าวได้ตลอดวัน ยกเว้นช่วงเวลาที่แดดร้อนจัด ปูชอบอากาศเย็น โดยเฉพาะตอนหัวค่ำที่ฝนตกพรำ ๆ ส่วนปูเพศไหนกัดทำลายต้นข้าวมากกว่ากันนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็เป็นคำถามที่ปราชญ์ชาวบ้านต้องการคำตอบเหมือนกัน ในบรรดาระบบการทำนาของไทยในปัจจุบัน ปูจะทำความเสียหายให้แก่นาดำมากที่สุด และจะกัดกินต้นข้าวในช่วง 7 วันแรกหลังจากปักดำเท่านั้น เมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้ ลำต้นแข็งแล้วปูนาก็จะหยุดกัดต้นข้าว ในนาหว่านพบว่าปูนาทำลายต้นข้าวน้อยมาก โดยเฉพาะข้าวที่งอกจากตอซังของการปลูกในระบบล้มตอซังจะมีขนาดใหญ่และต้นแข็ง ปูนาไม่ชอบและไม่กัดกินแต่งอย่างไร






* 1ssl13169pz2.jpg (218.04 KB, 640x480 - ดู 5157 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #183 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 14:18:21 »

รายกานนี้ดูเพลิน ๆ  เป็ดไล่ทุ่งกับนาข้าว มีรายได้ 2 ทางทั้งรายได้จากข้าวและก็รายได้จากการขายไข่เป็ดครับ



IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #184 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 14:21:51 »

ข้าวลืมผัว



ข้าวลืมผัว จัดเป็นข้าวไร่ที่ปลูกในเขตพื้นที่สูง มีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี  มีฝนกระจายตัวสม่ำเสมอ  ปัจจุบันมีแหล่งปลูกมากที่ อ.พบพระ จ.ตาก และเริ่มกระจายมาที่อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์

ข้าวลืมผัว มีต้นสูงประมาณ 137 เซนติเมตร จำนวนเมล็ดต่อรวงเฉลี่ย 130 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างอ้วน น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 37.9 กรัม

 สถิติสูงสุดเมื่อปลูกในสภาพไร่และฟ้าอากาศเหมาะสม ได้ 490 กิโลกรัมต่อไร่

 เมื่อนำมาปลูกในพื้นราบ ผลผลิตที่ได้ 200-350 กิโลกรัมต่อไร่ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว  

 ข้าวลืมผัว มีสีเปลือกหุ้มเมล็ดเปลี่ยนไปตามระยะการเจริญเติบโตของเมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีม่วงดำ ที่เรียกว่า ข้าวเหนียวดำ หรือ ข้าวก่ำ

 เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและนุ่มแบบหนุบๆ
 การบริโภคทำได้ทั้งแบบข้าวเหนียวนึ่ง รับประทานกับอาหาร ผสมข้าวต้มทำให้มีสีม่วงอ่อนสวยงาม ทำเป็นขนมแบบข้าวเหนียวเปียก ทำเป็นชาข้าวคั่วแบบเพิร์ล บาร์เลย์ หรือ เครื่องดื่มทั้งแบบมีแอลกอฮอล์หรือปราศจากแอลกอฮอล์ จะมีสีคล้ายทับทิมสวยงาม

 รสชาติที่อร่อยเช่นนี้เอง จนเป็นที่มาของชื่อข้าว นั่นคือ อร่อยจนลืมผัว

คุณค่าทางโภชนาการที่เด่นเป็นพิเศษ เมื่อวิเคราะห์ทันทีหลังเก็บเกี่ยวฤดูนาปี 2552 พบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนติออกซิแดนต์) โดยรวม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในปริมาณสูงถึง 833.77 มิลลิกรัม กรดแอสคอร์บิก ต่อ 100 กรัม


 มีวิตามินอี (อัลฟา-โทโคฟีรอล) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยลดคอเลสเตอรอล ปริมาณ 16.83 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม


 มีแกมมา-โอไรซานอล ที่ช่วยลดคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ตลอดจนการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปริมาณ 508.09 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม


 มีกรดไขมันที่ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันภาวะเสื่อมของสมองและช่วยความจำ ได้แก่ โอเมก้า-3 อยู่ 33.94 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม

 มีโอเมก้า-6 ที่บรรเทาอาการขาดภาวะเอสโตรเจนของวัยทองและช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สูงถึง 1,160.08 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม

 มีโอเมก้า-9 ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดไม่อุดตัน ไม่เป็นโรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน และช่วยลดความอ้วนสูงถึง 1,146.41 มิลลิกรัมต่อ 100 กิโลกรัม

 มีแอนโทไซยายิน 46.56 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม โปรตีน 10.63 เปอร์เซ็นต์ ธาตุเหล็ก 84.18 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนแคลเซียม สังกะสี และแมงกานีส มีในปริมาณ 169.75, 23.60 และ 35.38 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ

 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดย บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาเชียงใหม่, สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี

 ปัจจุบัน มีขายแพร่หลายที่อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ในรูปของข้าวกล้อง ส่วนในกรุงเทพฯ ติดต่อซื้อได้ที่ คุณมัลลิกา  แซ่หลิม  กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน   โทร.025800021 ต่อ  2341  หรือ 081-2973004  ราคาขายปลีก 1 กิโลกรัม 60 บาท   



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 14 มกราคม 2013, 14:29:15 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #185 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 14:47:13 »

รายการบ้านเธอก็บ้านฉัน ตอน ข้าว

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #186 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 14:57:36 »

วีดีโอ อบรมโรงเรียนชาวนาครับมีเป็นตอน ๆ ใครไม่มีโอกาสไปอบรมที่มูลนิธิข้าวขวัญของอาจารย์เดชา ศิริภัทร ก็ดูจากที่นี่ก็พอให้ความรู้ได้ครับ

อบรมโรงเรียนชาวนา รุ่น 33  มูลนิธิข้าวขวัญ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 14 มกราคม 2013, 16:26:21 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #187 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 15:06:54 »

การทำนาแบบโยนกล้า  อ.เชาว์วัช หนูทอง  

ใครติดตามการทำนาแบบโยนกล้าคงรู้จัก อาจารย์คนนี้ดีครับ

IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #188 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 15:25:49 »

แวะมาเก็บความรู้ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
เสือท่าสุด
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 755


« ตอบ #189 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 15:42:14 »


   ผมกำลังติดตามอยู่ครับ  พอดีปีที่ผ่านมา  ทำเป็นปีแรก  ทำแค่ 2 ไร่ครับ

   ปีนี้ จะทำเพิ่มอีก 5 ไร่  รวมเป็น 7 ไร่ครับ  กำลัง พยายามเก็บข้อมูณอยู่ครับ

   กระทู้นี้ มีความรู้มากมายครับ   ขอบคุณครับ
สู้ๆครับ ชาวนา ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

   ขอบคุณครับ  ลองดูก่อนครับ  ถ้าได้ผลดี ปีหน้ามีเพิ่มครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #190 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 16:33:45 »


   ผมกำลังติดตามอยู่ครับ  พอดีปีที่ผ่านมา  ทำเป็นปีแรก  ทำแค่ 2 ไร่ครับ

   ปีนี้ จะทำเพิ่มอีก 5 ไร่  รวมเป็น 7 ไร่ครับ  กำลัง พยายามเก็บข้อมูณอยู่ครับ

   กระทู้นี้ มีความรู้มากมายครับ   ขอบคุณครับ
สู้ๆครับ ชาวนา ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

   ขอบคุณครับ  ลองดูก่อนครับ  ถ้าได้ผลดี ปีหน้ามีเพิ่มครับ

ขอให้ประสบความสำเร็จครับ ถ้ามีอะไรที่ช่วยได้ก็ยินดีครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #191 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 16:57:16 »

รายการ "ฉันจะเป็นชาวนา"

ของ คุณอุ้ม สิริยากร พุกกะเวส  ได้ความรู้ดีทีเดียวครับ



* KWANRUEN947_009.jpg (255 KB, 800x570 - ดู 6571 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #192 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 09:57:24 »

ไคโตซาน คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ไคโตซาน เป็นไบโอโพลิเมอร์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญในรูปของ D – glucosamine พบได้ในธรรมชาติ โดยเป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือ ที่เป็นวัสดุชีวภาพ ( Biometerials ) ย่อยสลายตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ ไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ ( non – phytotoxic ) ต่อพืช นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเพิ่มปริมาณของสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์

ไคโตซาน เป็นสารปรับสภาพดินและน้ำ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มผลผลิตพืชทุกชนิด ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์เลี้ยง และสัตว์ทุกชนิด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ หรือผู้บริโภค ไม่เป็นพิษตกค้าง และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับ นาข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ ฯลฯ และสัตว์ทุกชนิด

ไคโตซานมีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร
1. เป็นสารปรับสภาพดินและน้ำ
2. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์
3. เป็นตัวช่วยให้พืชกินอาหาร กินปุ๋ยได้ดี ช่วยเร่งรากเร่งใบ เร่งลำต้น เร่งดอก เร่งผล ทำให้พืชและสัตว์โตเร็ว และแข็งแรง
4. สร้างความต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดี
5. ใช้เคลือบเมล็ดพันธ์
6. ใช้ในการยืดอายุและรักษาคุณภาพผลผลิต
7. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์
8. ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น มีคุณภาพดี ปลอดสารพิษ

โครงสร้างทางเคมีของสารไคติน คล้ายคลึงกับเซลลูโลส คือเป็นเส้นใยที่ยาว   ไคตินที่เกิดในธรรมชาติมีโครงสร้างของผลึกที่แข็งแรงมีการจัดตัวของรูปแบบของผลึกเป็น 3 ลักษณะได้แก่ แอลฟ่าไคติน, บีต้าไคติน,  และแกมม่าไคติน ไคตินที่เกิดในเปลือกกุ้งและปู ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแอลฟ่าไคติน    ส่วนไคตินที่อยู่ในปลาหมึกพบว่าส่วนใหญ่เป็นบีต้าไคตินในการจัดเรียงตัวของโครงสร้างตามธรรมชาติ   พบว่าแอลฟ่าไคตินมีคุณลักษณะของเสถียรภาพทางเคมีสูงกว่าบีต้าไคติน     ดังนั้นจึงมีโอกาสที่บีต้าไคตินสามารถจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นแอลฟ่าไคตินได้ในสารละลายของกรดแก่ เช่น กรดเกลือ เป็นต้น ส่วนแกมม่าไคตินเป็นโครงสร้างผสมระหว่างแอลฟ่าและบีต้าไคติน
                ไคตินเป็นโพลีเมอร์ที่มีสายยาวมีองค์ประกอบของหน่วยย่อยเป็นอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคสมีชื่อว่า N-acetyl glucosamine ไคตินเป็นสารที่ละลายยากหรือไม่ค่อยละลาย               ส่วนไคโตซานเป็นโพลีเมอร์ของหน่วยย่อยที่ชื่อว่า glucosamine มากกว่า 60% ขึ้นไป  ( นั้นคือมีปริมาณ N- acetylglcosamine นั้นเอง    ในธรรมชาติย่อมมีไคตินและไคโตซาน ประกอบอยู่ในโพลิเมอร์ ที่เป็นสายยาวในสัดส่วนต่างๆกัน ถ้ามีปริมาณของ glucosamine น้อยกว่า 40 % ลงมา พอลิเมอร์นั้นจะละลายได้ในกรดอินทรีย์ต่างๆนั้นหมายถึงมีปริมาณไคโตซานมากกว่า 60 % นั้นเอง  ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทำให้ไคตินเปลี่ยนไปเป็นไคโตซาน คือการลดลงของหมู่อะซีติลหรือเรียกว่า Deacetylation    ขณะที่มีการลดลงของหน่วยย่อย N-acetyl glucosamine ย่อมเป็นการเพิ่มขึ้นของ glucosamine ในปริมาณที่เท่ากัน  ซึ่งคือการเปลี่ยนแปลงไคตินให้เป็นไคโตซานนั่นเอง การจัดระดับของการ Deacetylation มีค่าร้อยละหรือเรียกว่า   Percent Deacetylation ( % DD) กล่าวคือเมื่อในพอลิเมอร์มีค่าเกิน % DD เกินกว่า 60 % ขึ้นไป ของการกระจายไคโตซานในกรดอินทรีย์มากจะเพิ่มขึ้นของหมู่อะมิโนของ glucosamine ทำให้มีความสามารถในการรับโปรตรอน    จากสารละลายได้เพิ่มขึ้นซึ่งช่วยในการละลายดีขึ้น เพราะมีสมบัติของประจุบวกเพิ่มขึ้น ฉะนั้นไคโตซานจึงสามารถละลายได้ดีขึ้นในกรดต่างๆ เช่น กรดน้ำส้ม กรดแลคติก และกรดอินทรีย์อื่นๆ
                ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว ไคโตซานจะไม่ละลายน้ำเช่นเดียวกับเปลือกกุ้ง กระดองปู หรือเปลือกไม้ทั่วไป แต่ไคโตซานจะละลายได้ดีเมื่อใช้กรดอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย             สารละลายของไคโตซานจะมีความข้นเหนียวแต่ใสคล้ายวุ้น หรือพลาสติกใส ยืดหยุ่นได้เล็กน้อยจึงมีคุณสมบัติที่พร้อมจะทำให้เป็นรูปแบบต่างๆได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าต้องการทำเป็นแผ่นหรือเยื่อบางๆเป็นเจล หรือรูปร่างเป็นเม็ด เกล็ด เส้นใย สารเคลือบและคอลลอยด์    เป็นต้น    นอกจากนี้ไคโตซานยังย่อยสลายตามธรรมชาติ จึงไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต   เมื่อกินเข้าไปและไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเติมลงไปในน้ำหรือในดินเพื่อการเกษตร

ใครสนใจลองทำขายก็ได้ครับเห็นเค้าทำขายลิตรละ 2 ร้อยกว่าบาท
การผลิตไคตินจากหอยเชอรี่  http://www.nnr.nstda.or.th/blogs/nnr/wp-content/uploads/2012/07/kaitin-kaitosan-village.pdf 



* 1340946466.jpg (55.35 KB, 600x463 - ดู 4936 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #193 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 10:18:29 »

เชื้อ บีที คืออะไร

“เชื้อบีที” (Bt) คือชื่อสามัญของเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้กำจัดแมลงชนิดหนึ่งซึ่งประกอบ ด้วยสปอร์ที่มีชีวิตและผลึกพิษจากแบคทีเรียในดินมีชื่อว่า Bacillus thuringiensis เชื้อบีที ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ควบคุมตัวอ่อน(หนอน)ของหนอนใยผัก หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนคืบ กะหล่ำ หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะผล มะเขือเทศ        เชื้อบีทีทั้งในรูปแบบที่เป็นของเหลวและ แบบแห้งมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป ภายใต้ชื่อการค้าที่ แตกต่างกัน โดยปรกติแล้วเชื้อบีทีซึ่งมีชื่อบน ฉลากว่า Bacillus thuringiensis aizawai ให้ผลดี ที่สุดในการกำจัดหนอนใยผัก และตัวอ่อนขนาด เล็กของหนอนกะทู้ผัก(Spodoptera litura) สิ่งที่ สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การใช้เชื้อบีทีนั้นจะได้ผลดีที่ สุดกับหนอนที่มีขนาดเล็ก และเชื้อบีทีจะใช้ไม่ได้ ผลดีนักในการควบคุมตัวหนอนที่มีขนาด ใหญ่
เชื้อบีทีเป็นเชื้อทีมีความปลอดภัยสูงและไม่เป็นสาเหตุที่ก่ออันตรายต่อมนุษย์ ปลา สัตว์ป่า หรือแมลงที่มีประโยชน์ ประโยชน์อันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของการใช้เชื้อบีทีก็คือเชื้อนี้จะไม่ทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติซึ่งช่วยในการควบคุมแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ อีกทั้งเชื้อบีทีส่วนใหญ่ยังได้รับการ ยอมรับ ให้ใช้ในการผลิตผักอินทรีย์
       เชื้อบีทีทำงานแตกต่างจากสารเคมีกำจัดแมลงทั่วๆไป คือ หนอนศัตรูพืชจะต้องกินใบพืชที่ถูกพ่นด้วยเชื้อบีทีใน ปริมาณเล็กน้อยก่อนจึงจะตาย ภายหลังจากกินบีทีแมลงจะยังไม่ตายในทันทีแต่จะมีอาการ ป่วยและหยุดกินอาหารแทบในทันทีหลังจากได้รับเชื้อ

ลักษณะการทำลาย

เชื้อบีทีเข้าทำลายแมลงโดยเมื่อหนอนกินสปอร์และผลึกโปรตีนของเชื้อเข้าสู่กระเพาะอาหาร น้ำย่อยใน กระเพาะอาหารของแมลงที่มีความเป็นกรด - ด่าง เหมาะสมกับเชื้อบีที จะย่อยผลึกโปรตีนและ เชื้อบีที จะปล่อยสารพิษออกมาทำลายผนังกระเพาอาหารของหนอนศัตรูพืช บีทีจะผ่านเข้าสู่ช่องว่างลำตัวแมลงซึ่งจะมีกระแสเลือดไหลเวียนอยู่ ไปเจริญและเพิ่มปริมาณในเลือด เซล และเนื้อเยื่อของแมลงแมลงจะเป็นอัมพาตและตายเนื่องจากโลหิตเป็นพิษ แมลงที่ได้รับเชื้อบีทีจะไม่อยากกินอาหาร หรือหยุดกินอาหาร เชื่องช้า ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ลำตัวเป็นสีน้ำตาลดำ อ่อนนุ่ม และมีกลิ่นเหม็นมาก

        ควรตรวจสอบฉลากของผลิตภัณฑ์ว่าบรรจุเชื้อบีทีสายพันธุ์ Bt aizawai หรือ Bt kurstaki หลายๆประเทศในภูมิภาคเขต ร้อน(รวมทั้งประเทศไทย) หนอนใยผักได้มีการพัฒนาความ ต้านทานต่อผลิตภัณฑ์บีทีที่มีBacillus thuringiensis kurstaki เป็นสารออกฤทธิ์หลัก ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลดีควรเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วย Bacillus thuringiensis aizawai

การใช้เชื้อบีที มีทั้งรูปผงแห้งและน้ำเข็มข้น การใช้ตามคำแนะนำ ฉลากข้างขวด
1. ควรผสมสารจับใบทุกครั้งที่พ่น
2. ควรพ่นเชื้อบีทีทุก 3-5 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ในช่วงระบาด 4
3. ควรปรับหัวฉีดให้เกิดละอองน้ำมากที่สุด
4. ควรใช้เชื้อบีทีในขณะหนอนยังเล็ก
ชนิดของหนอนที่เชื้อบีที ควบคุมได้
- พืชผัก หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนผีเสื้อขาว หนอนกินใบ
- พืชไร่ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนบุ้ง หนอนคืบละหุ้ง
- ไม้ผล หนอนประกบใบส้ม หนอนกินใบชมพู่ หนอนร่าน หนอนแก้วส้ม หนอนไหมป่า หนอนแปะใบองุ่น

วิธีการขยายเชื้อบีที เก็บไว้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นำไปใช้ตามคำแนะนำข้างขวด
1. ใช้เชื้อบีที 250 ซี.ซี. + น้ำ 20 ลิตร + นมขนหวาน 1 กระป๋อง คนให้เข้ากันทุกวัน(ปิดฝา 3 วัน)
2. เติมนมข้นหวานอีก 1 กระป๋อง + กากน้ำตาล 1 ลิตร คนให้เข้ากันทุกวัน(ปิดฝา 3 วัน)
3. เติมนมข้นหวานอีก 1 กระป๋อง + กากน้ำตาล 1 ลิตร คนให้เข้ากันทุกวัน(ปิดฝา 3 วัน)
อายุการเก็บรักษาเชื้อบีที
1. ชนิดผงแห้ง จะมีอายุ 5 ปี นับจากวันผลิต
2. ชนิดน้ำเข้มข้น จะมีอายุ 3 ปี นับจากวันผลิต
3. ชนิดน้ำเข้มข้นมาขยายเชื้อ จะมีอายุ 6 เดือน นับจากวันขยายเชื้อ
เทคนิคการใช้เชื้อ บี ที
1. ควรใช้เชื้อ บี ที ในขณะที่หนอนยังตัวเล็ก
2. ควรพ่น บี ที ในตอนเย็นเพื่อเลี่ยงแสงแดด และมีความชื้นสูง
3. ควรผสมสารจับใบทุครั้ง เพื่อช่วยให้ บี ที ติดกับส่วนต่าง ๆ ของพืชได้นานยิ่งขึ้น
4. ควรปรับหัวฉีดให้เกิดละอองน้ำให้มากที่สุด เพื่อพ่นตัวให้มากที่สุด
5. ควรพ่น บี ที ทุก 3-5 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ในช่างที่หนอนเกิดการระบาด
6. ไม่ควรผสมเชื้อ บี ที กับสารป้องกันกำจัดโรคพืช โดยเฉพาะสารที่ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เช่น สารปฏิชีวนะ และคอปเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น และไม่ควรผสมเชื้อ บี ที ในน้ำที่เป็นด่าง

ข้อดีของการใช้เชื้อ บี ที
· เฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย ไม่มีผลกระทบต่อแมลงชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการกำจัด เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน
· ปลอดภัยต่อพืช สัตว์ และมนุษย์ ทั้งผู้บริโภคและผู้ใช้
· ไม่มีฤทธิ์ตกค้าง เมื่อพ่น บี ที แล้วสามารถนำพืชมาบริโภคได้โดยไม่ต้องทิ้งระยะก่อนเก็บเกี่ยว
· มีประสิทธิภาพสูง เมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ
ข้อควรจำ
ไม่ควรใช้เชื้อ บี ที กับแปลงหม่อนสำหรับเลี้ยงไหมและไม่ควรฉีดพ่น บี ที ใกล้กับ แหล่งที่เลี้ยงไหม เพราะ บี ที มีฤทธิ์ทำลายไหมสูง บี ที ช่วยอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ
การผลิตขยายเชื้อ
Bacillus thuringiensis
เกษตรกรสามารถขยายการผลิตเชื้อ Bacillus thuringiensis ได้ด้วยตัวเองโดยอุปกรณ์ที่ใช้
1. ถังพลาสติกมีฝาปิด ขนาดความจุ 40-50 ลิตร
2. เชื้อ Bacillus thuringiensis (สายพันธุ์ aizawai , kurstaki)
3. นมข้นหวาน 4 กระป๋อง
4. กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม
ขั้นตอนการผลิตขยายเชื้อ
แบคทีเรียบาซิลัส ทูริงเยนซิส
1.เติมน้ำสะอาดในถังพลาสติกปริมาตร 40 ลิตร
2. เติมนมข้นหวาน 2 กระป๋อง
3. เติมเชื้อ Bacillus thuringiensis 500 ลิตร
4.คนให้เข้ากัน จากนั้น ให้อากาศด้วยตัวเป่าอากาศตู้ปลา เป็นเวลา 3 วัน (หากไม่มีตัวเป่าอากาศ ให้ใช้ไม้คนเช้า เย็น)
5. เติมนมข้นหวาน 2 กระป๋อง และกากน้ำตาล 2 กิโลกรัม ให้อากาศอีก 3-5 วัน จึงนำไปฉีดพ่นหนอนต่อไป


* bt111.gif (26.78 KB, 369x158 - ดู 4397 ครั้ง.)

* bt1.jpg (33.38 KB, 356x250 - ดู 4848 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #194 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 10:26:21 »

เชื้อบีเอส (บาซิลัส ซับทีลิส)

เชื้อบีเอส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับพืชโดยไม่ทำความเสียหายให้กับพืช มีความสามารถในการแย่งธาตุอาหารได้ดีกว่าเชื้อจุลินทรีย์อื่น และสร้างสารปฏิชีวนะได้หลายชนิด ทำให้เชื้อโรคพืชลดการทำลายพืช และทำลายเชื้อโรคพืชทำให้ลดปริมาณเชื้อโรคพืชเชื้อบีเอสสามารถควบคุมโรคพืชได้หลายชิดทั้งเชื้อรา เช่น โรคเหี่ยว โรครากเน่าโคนเน่า โรคแอนแทรกโนส และเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าแลโรคแดงเกอร์ การใช้เชื้อบีเอสให้ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลากข้างภาชนะ และฉีดพ่นในตอนเย็น การเลือกซื้อต้องดูวันเดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุ เป็นเชื้อที่เก็บในที่แห้งไม่ถูกแสงแดด

การผลิตการขยายเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัสซับทีลิส (บีเอส)
เกษตรกรสามารถขยายการผลิตเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส (บีเอส) ได้ด้วยตนเองโดย
อุปกรณ์ที่ใช้
1. ถังพลาสติกมีฝาปิด ขนาดความจุ 40-50 ลิตร
2. เชื้อบีเอส
3. นมข้นหวาน 4 กระป่อง
4. กากน้ำตาล 2 กก.
ขั้นตอนการผลิตการขาย
1. เติมน้ำสะอาดในถังพลาสติก 40 ลิตร
2. เติมนมข้นหวาน 2 กระป๋อง
3. เติมเชื้อบีเอส 500 มิลลิลิตร
4. คนให้เข้ากัน จากนั้นให้อากาศด้วยตัวเป่าอากาศตู้ปลา เป็นเวลา 3 วัน (หากไม่มีตัวเป่าอากาศให้ใช้ไม้คนเช้า เย็น)
5. เติมนมข้นหวานอีก 2 กระป๋อง และกากน้ำตาล 2 กก. ให้อากาศอีก 2-3 วัน จึงนำไปฉีดพ่น
ต่อไป




* bEeui3.jpg (185.71 KB, 640x426 - ดู 5043 ครั้ง.)

* 2.jpg (44.04 KB, 227x404 - ดู 4626 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #195 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 11:18:37 »

หลักการใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี
 โดย นายสรสิทธิ์ วัชโรทยาน

          ปุ๋ยเคมีเมื่อใส่ลงไปในดินจะมีโอกาสสูญเสียไปมากกว่าครึ่งหนึ่งสำหรับธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสนั้น พืชดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้เพียงไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของปริมาณที่ใส่ลงไปในดิน ฟอสฟอรัสที่เหลือทั้งหมดจะทำปฏิกิริยากับดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากพืชดึงดูดไปใช้ไม่ได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยลงไปในดินเพื่อให้พืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้มากที่สุดและสูญเสียน้อยที่สุด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปุ๋ยชนิดเดียวกัน สูตรเดียวกันใส่ลงไปในดินโดยวิธีแตกต่างกัน พืชจะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ไม่เท่ากันอาทิ ปุ๋ยที่ใส่แบบหว่านจะให้ผลแตกต่างจากปุ๋ยที่ใส่โรยแบบเป็นแถวหรือเป็นจุดใกล้ต้นพืช ฉะนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพจึงควรมีหลักเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ
          (๑) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง
          (๒) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
          (๓) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ
          (๔) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึง ดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด

ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง
          การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้นหมายถึง สูตร เรโชและรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง
         สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า "เกรดปุ๋ย" หมายถึง  ตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมีโดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2 O5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K2O) สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ยเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น 20-10-5 ตัวเลขแรกจะบอกปริมาณไนโตรเจนว่ามีอยู่หนัก ๒๐ กิโลกรัม เลขที่สองบอกปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีอยู่ ๑๐ กิโลกรัมเลขตัวที่สามบอกปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้มีอยู่ ๕ กิโลกรัม รวมเป็นธาตุอาหารทั้งหมด ๓๕ กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม และเป็นที่ทราบกันเป็นสากลว่าเลขตัวแรก คือ ไนโตรเจนตัวกลาง คือ ฟอสฟอรัส ตัวสุดท้าย คือ โพแทสเซียม จะไม่มีการสลับที่กัน จึงไม่จำเป็นต้องเขียนตัวหนังสือกำกับไว้
          เมื่อดินขาดธาตุอาหาร N P และ K ชนิดของธาตุอาหารในปุ๋ยที่ใส่ก็จะต้องมีธาตุ N P และ K แต่ถ้าดินขาดธาตุอาหาร N และ P ส่วน K ในดินตามธรรมชาติมีเพียงพออยู่แล้ว ธาตุอาหารในปุ๋ยก็ควรจะมีแต่ N และ P เท่านั้น อาทิ ดินนาในภาคกลางซึ่งขาดแต่ N และ P เป็นส่วนใหญ่ปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าวจึงมีแต่ N และ P เท่านั้น เช่น  ปุ๋ยสูตร 18-46-0, 28-28-0, 20-20-0 และ 16-20-0 เป็นต้น
          สำหรับ "เรโช" ของปุ๋ยนั้น เป็นสัดส่วนเปรียบเทียบกันระหว่างธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในสูตรปุ๋ยเรโชปุ๋ยจะบอกเป็นตัวเลขลงตัวน้อยๆ ระหว่างไนโตรเจน ฟอสฟอรัส (P2 O5 ) และโพแทสเซียม (K2 O) ของสูตรปุ๋ยนั้นๆ เช่น6-16-8 เท่ากับเรโช 2:2:1 ได้จากการหารตลอดด้วย 8 20-10-5 เท่ากับเรโช 4:2:1 ได้จากการหารตลอดด้วย 5
          ปุ๋ยเรโชเดียวกันสามารถมีได้หลายสูตร เช่น ปุ๋ยเรโช 1:1:1 จะมีสูตร เช่น

          สูตร                        เรโช                  ธาตุอาหารรวม กก./ปุ๋ย 100 กก.
          10-10-10               1:1:1                            30
          15-15-15               1:1:1                            45
          20-20-20               1:1:1                            60

          นั่นคือ ปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่มีเรโชเดียวกัน จะแตกต่างกันที่ปริมาณธาตุอาหารรวม ที่มีอยู่ในปุ๋ย เช่น สูตร 10-10-10 มีธาตุอาหารรวม N P K หนัก ๓๐ กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม ส่วนปุ๋ย 20-20-20 มีธาตุอาหารรวมหนัก ๖๐ กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าปุ๋ยสูตรแรกเท่าตัว ปุ๋ยที่มีเรโชเดียวกัน จะบอกให้ทราบว่าเป็นปุ๋ยชนิดเดียวกัน สามารถใช้แทนกันได้ ดังนั้นถ้าใช้ปุ๋ย 10-10-10 อยู่โดยใช้อัตรา ๕๐ กก./ ไร่ สามารถเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ย 20-20-20 แทนได้แต่เนื่องจากปุ๋ยนี้มีธาตุอาหารรวมมากกว่า ก็จะต้องลดอัตราที่ใช้ให้น้อยลง คือใช้เพียง ๒๕ กก./ ไร่ เท่านั้น ก็จะได้ธาตุอาหารที่เท่ากัน
          ปุ๋ยเคมีจะมีสัดส่วนระหว่าง N:P:K แตกต่างกันแล้วแต่จะนำไปใช้กับชนิดของพืช และกับที่ดินที่มีระดับธาตุอาหาร N P และ K แตกต่างกันอย่างไร กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ก่อนใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องก็จะต้องรู้จักดินและรู้จักพืชที่ปลูกเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากดินแต่ละแห่งและแต่ละชนิดจะมีระดับธาตุอาหารปุ๋ยในดินแตกต่างกันส่วนพืชที่ปลูกต่างชนิดกันหรือแม้แต่อายุพืชแตกต่างกันก็มีความต้องการธาตุอาหาร N P K ในปริมาณและสัดส่วนเพื่อการเจริญเติบโตและสร้างผลิตผลแตกต่างกันเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน
          ระดับธาตุอาหารพืชในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมีอยู่มากน้อยเท่าใดนั้นสามารถตรวจสอบได้ด้วยการส่งตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของไร่นานั้นๆ มาทำการวิเคราะห์ทางเคมีจะใช้เป็นปุ๋ยเร่งต้นเร่งใบ เหมาะสำหรับพืชผักกินใบหรือเร่งการเจริญเติบโตทางด้านต้น และเร่งให้พืชโตเร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ในกรณีที่ดินขาด N อย่างรุนแรงส่วน P และ K มีอยู่ในดินระดับปานกลาง หรือค่อนข้างสูง การใช้ปุ๋ยเคมีที่เรโชของ N สูงๆ ก็จะเป็นการช่วยปรับระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร N P K ในดินให้เหมาะสมแก่พืชที่ปลูกได้ดีขึ้น หรือในกรณีของดินนาทางภาคอีสานและภาคใต้ของประเทศไทย ระดับ ความเป็นประโยชน์ของ K ในดินค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับดินนาทางภาคกลาง ดังนั้น ปุ๋ยนาที่แนะนำให้ใช้ในทางภาคอีสานและภาคใต้จึงควรมี K รวมอยู่ด้วย แต่เป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่า N และ P เช่น เรโช 2:2:1 เช่นสูตร 16-16- 8 หรือ 2:2:1 เช่นสูตร 18-12-6 แทนที่จะเป็น 16- 20-0 หรือ 20-20-0 เช่น ปุ๋ยนาในภาคกลาง ดังนี้เป็นต้น

ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พอเหมาะ
          ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวนหรืออัตราปุ๋ยที่ใช้ต่อไร่หรือต่อต้นที่พืชจะได้รับความพอเหมาะนี้มีอยู่ ๒ ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับเพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้นก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโตและให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด
          การพิจารณาความพอเหมาะพอดีของจำนวนปุ๋ยหรืออัตราปุ๋ยที่จะใช้ จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ หลายประการมาประกอบ การพิจารณา อาทิ ชนิดของพืช ระดับความชื้นและความอุดมสมบูรณ์เดิมของดิน วิธีการปลูก การดูแลและการบำรุงรักษาของกสิกร ตลอดจนราคาของปุ๋ยและของพืชที่ปลูกประกอบด้วย

ใส่ปุ๋ยให้พืชในขณะที่พืชต้องการ
          พืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารมักจะแคระแกร็น และให้ผลิตผลต่ำ การใส่ปุ๋ยจะช่วยยกระดับธาตุอาหารที่ขาดแคลนให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินเดียวกันกับพืชชนิดเดียวกัน อาจจะให้ผลแตกต่างกันได้เป็นอย่างมากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา (timing) ของการให้ปุ๋ยแก่พืชนั้น ตรงกับระยะเวลาที่พืชมีความต้องการธาตุอาหารนั้นๆ มากที่สุดหรือไม่ ช่วงจังหวะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป พืชที่มีอายุสั้น เช่น  พืชไร่และข้าว จะมีจังหวะการดึงดูดธาตุอาหารที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดอย่างน้อย ๓ ช่วงด้วยกันคือ (๑) ช่วงแรกที่พืชเริ่มงอกและการเติบโตในระยะ  ๓๐-๔๕ วันแรก พืชมักจะต้องการธาตุอาหารน้อยและช้า เพราะระยะนี้ระบบรากยังน้อย และต้นยังเล็กอยู่ (๒) ช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารเป็นจำนวนมาก สำหรับข้าวจะเป็นระยะที่กำลังแตกกอและระยะที่กำลังสร้างตาดอก ถ้าเป็นข้าวโพดจะเป็นระยะที่มีอายุ ๔๕ - ๖๐ วัน ถ้าเป็นข้าวก็ระยะประมาณ ๓๐ วัน ก่อนออกดอก และ (๓) ช่วงที่มีการเติบโตเต็มที่แล้วและเป็นระยะสร้างเมล็ดหรือสร้างผล ความต้องการธาตุอาหารในระยะนี้จะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฝักหรือเมล็ดแก่
          ระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารจากดินมากที่สุดและดึงดูดธาตุอาหารจากดินในอัตราที่รวดเร็วมากที่สุดก็คือ ช่วงที่สอง เพราะเป็นระยะที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและต้องการสะสมธาตุอาหารไว้ในต้นและใบ ให้เพียงพอสำหรับการสร้างเมล็ดและผลที่จะมีขึ้นในช่วงที่สาม ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชระยะที่สำคัญก็คือ ระยะที่สองนี้ ซึ่งพืชควรจะได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ให้เพียงพอที่สุด
          ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชจึงต้องแบ่งใส่จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการจะยังผลให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูงความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืชได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ยเพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ
         ๑. การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมากๆ
         ๒. การใส่ครั้งแรกคือใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสนั้นจะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้
         ๓. การใส่ครั้งที่สองควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมากๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ  ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็วและตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่

ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด
         นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที
         ธาตุไนโตรเจนในปุ๋ยจะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วมากเพราะละลายน้ำได้ง่าย ไนโตรเจนในรูปไนเทรตจะถูกน้ำพัดพาออกไปจากชั้นของดินได้อย่างรวดเร็ว ถ้ารากพืชดึงดูดเอาไว้ไม่ทันก็จะสูญเสียไปหมดและไม่เกิดประโยชน์ต่อพืชแต่อย่างใด ปกติแล้วปุ๋ยไนโตรเจนในดินจะสูญเสียไปโดยการชะล้างประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ใส่ลงไป ไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม ถึงแม้จะดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ และถูกชะล้างได้ยากก็จริง เมื่อดินมีการถ่ายเทอากาศดีจะถูกแปรรูปโดยจุลินทรีย์ในดินจะทำปฏิกิริยาเพิ่มออกซิเจน (oxidized) ให้กลายเป็นไนเทรต (NO3- N) ได้ง่ายและเร็วมาก
          ฟอสฟอรัสในปุ๋ยถึงแม้จะละลายน้ำได้ง่ายแต่เมื่ออยู่ในดินจะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับแร่ธาตุต่างๆ ในดิน กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ความเป็นประโยชน์ต่อพืชลดลง และไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนั้นเมื่อใส่ปุ๋ยฟอสเฟตตรงจุดไหน ฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ง่ายก็มักจะอยู่ตรงจุดนั้น ถ้าจะเคลื่อนย้ายจากจุดเดิมก็เป็นระยะใกล้ๆ ในรัศมี ๑-๕ ซม. เท่านั้น ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตให้กับพืชจึงต้องให้อยู่ใกล้กับรากมากที่สุดเพื่อที่รากจะไม่เป็นอันตรายจากปุ๋ยนั้น การใส่บนผิวดินจะเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยกว่าใส่ใต้ผิวดินในบริเวณที่รากจะแพร่กระจายไปได้ถึงซึ่งผิดกับปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่บนผิวดินก็สามารถซึมลงมายังบริเวณรากที่อยู่ใต้ผิวดินได้ง่าย ดังนั้นการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนใต้ผิวดินจึงไม่มีข้อดีไปกว่าใส่บนผิวดิน
           ปุ๋ยโพแทสเซียมจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่าฟอสเฟตแต่จะช้ากว่าไนโตรเจน โพแทสเซียมในปุ๋ยละลายน้ำได้ง่ายพอๆ กับไนโตรเจนก็จริงแต่เนื่องจากมีประจุบวกซึ่งดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ จึงถูกชะล้างได้ยาก แต่ก็ยังเป็นประโยชน์ได้ง่ายแก่พืชอยู่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมจึงสามารถใส่บนผิวดินหรือใต้ผิวดินก็ได้ แต่การเคลื่อนย้ายจะช้ากว่าไนโตรเจนและในเวลาเดียวกันการสูญเสียโดยการชะล้างก็จะน้อยกว่าด้วย





* 111.jpg (98.92 KB, 1000x669 - ดู 4359 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #196 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 12:41:21 »

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวในประเทศไทย ชาวนาผู้ปลูกข้าวได้ดำเนินการคัดเลือกหาพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ปลูก และรสชาติตามที่ตนต้องการมาเป็นเวลานานแล้ว แต่การปรับปรุงพันธุ์ตามหลักวิชาการาของทางราชการ ได้เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2450 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการประกวยพันธุ์ข้าวขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่เมืองธัญญบุรี (ปัจจุบันเขียนเป็นธัญบุรี) และพันธุ์ข้าวจากเมืองธัญญบุรี และในปี พ.ศ. 2453 ได้จัดงานการแสดงกสิกรรมและพาณิชยการครั้งที่ 1 รวมทั้งการประกวดพันธุ์ข้าวทั่วราชอาณาจักรขึ้นที่สระปทุมวัน (บริเวณวังสระปทุมในปัจจุบัน) และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2454 (รัชกาลที่ 6) ข้าวจากเมืองธัญญบุรีก็ยังเป็นพันธุ์ข้าวที่ชนะเลิศอีก พันธุ์ข้าวที่ชนะการประกวดครั้งหลัง ๆ มีคุณภาพดีกว่าครั้งแรก ๆ แสดงว่าชาวนาได้หันมาปลูกข้าวพันธุ์ดีกันมากขึ้น (ภักดี,2539)

ในปี พ.ศ. 2459 ทางราชการได้จัดตั้งสถานีทดลองข้าวรังสิตหรือนาทดลองคลองรังสิตขึ้น นับเป็นสถานีทดลองข้าวแห่งแรกของประเทศไทย การจัดตั้งนาทดลองคลองรังสิต (ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีในปัจจุบัน)นั้น ทรงเป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาช้านานแล้ว แต่มีหลายสาเหตุทำให้จัดตั้งไม่ได้ และได้จัดตั้งสำเร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว งานด้านการปรับปรุงพันธุ์ในระยะแรกมีแต่การคัดพันธุ์โดยปลูกคัดเลือกแบบรวง แต่แถว (Head to Row Selection) จากผลการดำเนินงานของพระยาโภชากร (ตริ มิลินสทสูต) ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ปรากฏว่าในปี พ.ศ. 2476 ข้าวไทยชนะเลิศในการประกวดพันธุ์ข้าวทั่วโลก (World’s Grain Exhibition Conference) ที่เมืองเรจินา (Regina) ประเทศแคนาดา พันธุ์ข้าวไทยที่ชนะเลิศเป็นที่หนึ่งของโลกก็คือ พันธุ์ปิ่นแก้ว ซึ่งเป็นข้าวเจ้านาสวนเมล็ดยาว เนื้อแข็งมันเลื่อม ไม่เป็นท้องไข่ เปลือกและปลอกบาง เมล็ดไม่บิดโค้ง ไม่มีเมล็ดแดงปนและน้ำหนักเมล็ดดี (ภักดี,2539) และได้รางวัลอื่น ๆ อีกรวม 11 รางวัล ทำให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาสวน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2454-2465 ด้วยการรวบรวมข้าวพันธุ์ดีจากทั่วประเทศจำนวน 4764 ตัวอย่าง ทำการคัดเลือกเอาเฉพาะตัวอย่างที่มีลักษณะดีไว้เพียง 482 ตัวอย่าง สำหรับปลูกศึกษาคัดเลือกพันธุ์ หลังจากปลูกทดสอบอยู่ 3 ปี จึงได้พันธุ์ข้าวดีเยี่ยมเพียง 8 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์พวงเงินทองระย้า ดำ ขาวทดลอง จำปาซ้อน ปิ่นแก้ว บางพระ น้ำดอกไม้ และนางตานี (ภักดี,2539)สำหรับการขยายพันธุ์ให้เกษตรกรปลูก พันธุ์ข้าวทั้ง 8 พันธุ์นี้จึงเป็นพันธุ์ข้าวชุดแรกที่ขยายพันธุ์และแนะนำให้เกษตรกรปลูกอย่าง เป็นทางการในปี พ.ศ. 2478 (สุวิตร,2525) ด้วยวิธีการประเมินผลผลิตของสายพันธุ์ดีเด่นจากการคัดเลือก โดยคัดเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีคุณภาพของเมล็ดเป็นที่ยอมรับ วิธีการคัดเลือกเป็นวิธีการที่ใช้ในการบำรุงพันธุ์ข้าวในยุคต้น ๆ การคัดเลือกพันธุ์ข้าวโดยการพัฒนาพันธุ์ข้าวท้องถิ่นซึ่งมีทั้งข้าวนาสวนและ ข้าวชื้นน้ำ ยังคงดำเนินการต่อมาและมีการรับรองและแนะนำพันธุ์ข้าวมาเรื่อย ๆ เช่น พันธุ์ข้าวนาสวนที่รู้จักกันดี ได้แก่ พันธุ์นางมาล เอส -4 ขาวตาแห้ง 17 หรือพันธุ์ที่มีคุณภาพเป็นที่นิยมอย่างสูง เช่น ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ขาวเหนียวสันป่าตองเป็นต้นส่วนพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ เช่น มะลิทอง มะลิอ่อง จำปา (จีน) และ (เจ๊ก) กอกพ้อม

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว ก่อนที่จะมีการผสมพันธุ์ข้าวในไทย มีการส่งพันธุ์ข้าวไปผสมพันธุ์ที่เมือง Cuttack ประเทศอินเดีย สำหรับในประเทศไทย การผสมพันธุ์เริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2497 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และปี พ.ศ. 2498 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้น โดยใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของไทย แต่ก็ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2509 ได้นำข้าวรูปแบบต้นเตี้ยจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI,International Rice Research Institute) เช่น ข้าว IR8 ซึ่งให้ผลผลิตสูง มาเป็นพันธุ์พ่อในการผสมพันธุ์ ทำให้ได้พันธุ์ผสม (เดิมเรียกข้าวลูกผสม แต่เมื่อมีการค้นพบข้าวลูกผสม คือ Hybrid Rice จึงเรียกข้าวลูกผสมเฉพาะข้าวชั่วที่ 1 หรือ F1 Hybrid Rice เท่านั้น) ที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ และมีความสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วย ถึงแม้คุณภาพเมล็ดและคุณภาพในการหุงต้ม ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ แต่ก็ได้พันธุ์ข้าวในรูปแบบใหม่ และใช้แก้ปัญหาการระบาดของโรคใบสีส้ม ปี พ.ศ. 2518 กข 7 แก้ปัญหาโรคขอบใบแห้ง กข 23 แก้ปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และยังมีพันธุ์ผสมอีกมากมาย รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงมีลักษณะความต้านทานโรคและแมลงหลากหลายชนิดมี ลักษณะเป็นข้าวหอม มีคุณภาพดีพิเศษ ตามลักษณะของข้าวไทย และอายุเหมาะสำหรับการปลูกในเขตนาชลประทาน

นอกจากนี้ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวยังได้ใช้วิธีการชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กรรมพันธุ์ โดยใช้กัมมันตภาพรังสี โดยเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2498 ปรากฏว่าในปี พ.ศ. 2520 มีการรับรองพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน 2 พันธุ์ คือ กข 6 และ กข 15 และในปี 2524 คือ กข 10 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวสำหรับนาชลประทานและยังมีงานวิจัยข้าวลูกผสม (Hybrid Rice) ได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2522 รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2525 ได้เริ่มงานนี้โดยเฉพาะด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้มีการพัฒนามาตามลำดับโดยส่วนใหญ่จะมี วัตถุประสงค์ดังนี้
1.มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูง เช่น รวงต่อกอมาก รวงใหญ่ ระแง้ถี่ เมล็ดต่อรวงมาก และเมล็ดมีน้ำหนักดี
2. รักษาลักษณะคุณภาพเมล็ดให้มีคุณภาพดี ตรงกับความต้องการของตลาด เช่น เมล็ดเรียวยาว คุณภาพการสีดี คุณภาพหุงต้มเป็นที่ต้องการของตลาด มีท้องไข่น้อย
3. ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ เช่น โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว เป็นต้น
4. ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีปัญหา เช่น ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยวและดินเค็ม ทนน้ำท่วมฉับพลับเป็นต้น
5.มีลักษณะรูปแบบต้นที่ดี ที่เหมาะสมกับการปลูกในนิเวศน์ต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวนาชลประทานข้าวนาน้ำฝน ข้าวไร่ ข้าวขึ้นน้ำและข้าวน้ำลึก

. วิธีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว
ข้าวเป็นพืชที่มีการผสมตัวเอง การปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่หรือพันธุ์ที่ดีกว่าเดิมนั้น มีวิธีการดังนี้
2.1.1 การรวบรวมพันธุ์และการนำพันธุ์ข้าวมาจากที่อื่น (Collection and Introduction)
2.1.2 การคัดเลือกพันธุ์ (Selection)
2.1.3 การผสมพันธุ์ (Hybridization) และการคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมที่กระจายตัว
2.1.4 การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ (Induced Mutation)
2.1.5 การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม (Biotechnology and Genetic Engineering)
2.1.6 การสร้างพันธุ์ข้าวลูกผสม (Hybrid Rice)



1.1 การรวบรวมพันธุ์และการนำพันธุ์ข้าวมาจากที่อื่น (Collection and Introduction)
เป็นการนำพันธุ์ข้าวจากแหล่งหนึ่งไปปลูกยังอีกแหล่งหนึ่ง โดยพันธุ์ที่นำมานี้อาจนำมาจากในประเทศหรือจากต่างประเทศ นำมาปลูกทดลองคัดเลือก ถ้าพันธุ์ใดให้ผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดดี และปรับตัวได้ดี ก็จะได้รับการนำไปเพราะปลูกและขยายเมล็ดพันธุ์เผยแพร่ให้เกษตรกรปลูกต่อไป ส่วนพันธุ์ที่ไม่เหมาะสมแต่มีลักษณะดีเด่นบางอย่างหรือเฉพาะอย่าง ก็จะนำไปใช้ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยวิธีการอื่น ๆ ต่อไป แหล่งเชื้อพันธุ์ข้าวจากต่างประเทศ ที่ได้นำเข้ามาปรับปรุงพันธุ์ ส่วนใหญ่จะนำมาจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI., International Rice Research Institute) พันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ที่จะได้จาก Collection และ Introduction เพื่อการเพาะปลูกอย่างกว้างขวาง อาจได้จากวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้คือ
1) โดยการนำพันธุ์ข้าวที่นำเข้ามาแล้วปรับตัวได้ดี มาปลูกทำพันธุ์ต่อโดยตรง
2) โดยการคัดเลือกหาสายพันธุ์ที่ต้องการจากพันธุ์ข้าวต่าง ๆที่นำเข้ามาจำนวนมาก
3) โดยการใช้สายพันธุ์ที่นำเข้ามาเป็นพ่อแม่ในการผสมพันธุ์

1.2 การคัดเลือกพันธุ์ (Selection)
พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกอยู่นั้นอาจมีความแปรปรวนทางพันธุกรรม (Genetic Variability ) ของลักษณะต่าง ๆ ปรากฏอยู่ซึ่งความแปรปรวนนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุคือ
- การประปนของ Genotypes ต่าง ๆ (Mechanical Mixture)
- การผสมข้ามกับพันธุ์อื่น ๆ ในสภาพธรรมชาติ (Natural Out- crossing) ซึ่งมีผลทำให้เกิด Genetic Recombination ขึ้นได้
- การผ่าเหล่า (Mutation) ซึ่งทำให้เกิด Genotype ใหม่ ๆ

จากการที่พันธุ์ข้าวมีลักษณะทางพันธุ์ กรรมแปรปรวนนี้ จึงต้องพึ่งพาความสามารถในการคัดเลือกหรือการแยกเอาพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะเด่นออกมาจากพืชจำนวนมากด้วยกัน ก็ต้องอาศัยวิธีการคัดเลือกซึ่งมีอยู่ 2 วิธี
1) การคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection)
2) การคัดพันธุ์หมู่ (Mass Selection)


1) การคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection)
เป็นการคัดเลือกหาพันธุ์ใหม่จากพืชพันธุ์ที่มีอยู่เดิม โดยคัดเลือกมาจากต้นข้าวเพียงต้นเดียว ซึ่งวิธีการนี้ไม่ได้ก่อให้เกิด Genotype ใหม่ ๆ เพียงแต่เป็นการคัดเลือกหา Genotype ที่ดีที่สุดที่ปรากฏอยู่แล้ว Mixed Population โดยวิธีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน (รูปที่ 1)

1. คัดเลือกต้นข้าวที่มีลักษณะดีที่ต้องการจากประชากรที่มีความแปรปรวนในลักษณะ ต่าง ๆ อยู่แล้ว (Variable Population) โดยวิธีคัดเลือกต้นข้าวเป็นต้น ๆ ไป (Single-plant Selection) แล้วเลือกต้นข้าวที่ต้องการไว้จำนวนมากที่สุด และเก็บเกี่ยวเมล็ดแยกกันต่างหาก

2. นำเมล็ดที่ได้จากแต่ละต้นมาปลูกเป็นแถว ๆ เลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะต่าง ๆ ตามต้องการไปปลูกต่อหลาย ๆ ชั่ว สายพันธุ์ใดที่ไม่ดีก็คัดทิ้งไป และอาจมีการทดสอบความต้านทานต่อโรคบางอย่างด้วย เพื่อจะช่วยคัดทิ้งสายพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคออกไป จะได้ลดจำนวนสายพันธุ์ให้น้อยลงในการทดสอบขั้นต่อไป ในแต่ละชั่วก็ยังคงคัดเลือกต้นข้าวเป็นต้น ๆ จนกระทั่งได้สายพันธุ์ที่บริสุทธิ์

3.นำสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ไปปลูกเปรียบเทียบความสามารถใน การให้ผลผลิตและลักษณะอื่น ๆร่วมกับพันธุ์เดิมและพันธุ์มาตรฐาน สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและลักษณะดีก็จะนำไปขยายพันธุ์และพิจารณาเป็น พันธุ์ใหม่ต่อไป

2) การคัดพันธุ์หมู่ (Mass Selection)
วิธีนี้จะคัดเลือกข้าวที่มีลักษณะที่ปรากฏออกมาในข้าวแต่ละ ต้นที่เหมือนกันนำเมล็ดที่เก็บเกี่ยวจากต้นที่คัดเลือกไว้มารวมกันเพื่อไว้ ปลูกต่อไป (รูปที่ 2) โดยไม่มีการทดสอบในชั่วลูก (Progeny Test) วิธีนี้ข้าวแต่ละต้นจะมีลักษณะต่าง ๆ ที่มองเห็นเหมือน ๆ กัน แต่ลักษณะทางพันธุกรรมอาจแตกต่างกัน พันธุ์ที่ได้จะมี Genetic Diversity ค่อนข้างสูง จุดประสงค์สำคัญของการคัดพันธุ์หมู่ก็เพื่อที่จะปรับปรุงลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ของกลุ่มของพืชให้ดีขึ้นกว่าเดิม ประโยชน์ที่สำคัญของวิธีนี้คือ

-ใช้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองได้ผลรวดเร็วดี โดยนำมากำจัดข้าวบางส่วนของพันธุ์เดิมที่มีลักษณะเลว ๆ ออกไป เช่น กำจัดลักษณะข้าวเจ้าออกไปจากพันธุ์ข้าวเหนียว เป็นต้น

-ใช้ในการทำพันธุ์ให้บริสุทธิ์ (Purification) ในข้าวบางพันธุ์ที่ใช้ปลูกอยู่ นาน ๆ ไปอาจมีเปอร์เซ็นต์ความบริสุทธิ์ลดลง เนื่องจากการปะปนของพันธุ์อื่นหรือการผสมข้ามกับพันธุ์อื่นหรือมีการผ่า เหล่าเกิดขึ้น เราอาจนำวิธีนี้มาใช้ โดยการคัดพันธุ์ที่ไม่ต้องการทิ้งไปแล้วเก็บเกี่ยวเฉพาะพวกที่ต้องการไว้นำ เมล็ดมารวมกัน อาจทำไปหลาย ๆ ชั่ว จนกว่าจะได้ผลเป็นที่พอใจ

1.3 การผสมพันธุ์ (Hybridization) และการคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสม
เป็นวิธีการที่นำพันธุ์ต่าง ๆ มาผสมกัน (Artificial Hybridization) เพื่อจะให้ลักษณะดี ๆ ที่ปรากฏอยู่ในพันธุ์ข้าวหรือพืชต่าง ๆ Species มีโอกาสมาอยู่รวมกันในพันธุ์เดียวกัน หรือสายพันธุ์เดียวกันซึ่งมีผลจาการจัดชุดใหม่ของยีน (Gene Recombination) โดยมีความหวังว่าจะมีลักษณะดี ๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยในพ่อแม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลจาก Transgressive Segregation หรือ Gene Interaction ต้นข้าวในชั่วที่ 1 (F1 Generation) ในแต่ละคู่ผสมจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน การกระจายตัวทางพันธุกรรม (Genetic Segregation) ในประชากรจะเริ่มปรากฏตั้งแต่ชั่วที่ 2 (F2 Generation) เป็นต้นไป
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #197 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 12:42:54 »

เมื่อเลือกพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่ที่จะนำมาผสมพันธุ์แล้ว ก็พิจารณาเลือกแบบของการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้องการ ซึ่งมีหลายแบบ คือ

- การผสมเดียว (Single Cross) เป็นการผสมระหว่างข้าว 2 พันธุ์ เช่น ผสมพันธุ์ระหว่างเหลือทองกับ IR8

- การผสมสามทาง (Three-way Cross or Top Cross) เป็นการผสมข้าวพันธุ์ที่ 3 เพื่อเพิ่มบางลักษณะลงในข้าวพันธุ์ผสมเดี่ยว ชั่วที่ 1 (F1) ของคู่ผสม เพื่อรวมลักษณะต่าง ๆ หลายอย่างไว้ด้วยกัน

- การผสมกลับ (Back Cross Method) การปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับนี้ จะทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะต่าง ๆ ดีอยู่แล้ว แต่ยังขาดบางลักษณะหรือยีนส์บางอย่างอยู่ เช่น ความต้านทานต่อโรคหรือแมลง จึงนำเอาพันธุ์ดีดังกล่าวมาใช้เป็น Recurrent Parent นำไปผสมกับพันธุ์หรือสายพันธุ์อื่นที่มีลักษณะที่ต้องการอยู่เป็น Donor Parent เมื่อได้ F1 แล้วจึงผสมกลับไปหา Recurrent Parent ทำการคัดเลือกหาต้นที่มีลักษณะที่ต้องการ แล้วผสมกลับไปหา Recurrent Parent อีก ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ 5-6 ครั้ง หรือมากกว่า จนได้ลักษณะส่วนใหญ่ของ Recurrent Parent กลับคืนมา เมื่อสิ้นสุดการผสมกลับครั้งสุดท้ายแล้วยีนส์ที่ต้องการถ่ายทอดจะยังคงอยู่ ในสภาพ Heterozygous ต้องปล่อยให้มีการผสมตัวเองต่ออีกหนึ่งชั่วจึงจะมี Homozygous Genotype สำหรับยีนส์ที่ต้องการเกิดขึ้น เมื่อทำการคัดเลือกต่อก็จะได้ข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะต่าง ๆ ของ Recurrent Parent อยู่ พร้อมทั้งลักษณะใหม่จาก Donor Parent ด้วย

หลังจากผสมพันธุ์แล้วก็จะปล่อยให้ข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 ผสมตัวเองและคัดเลือกต้นที่ลักษณะตามต้องการซึ่งจะมีการกระจายตัวในลักษณะ ต่าง ๆ ตั้งแต่ชั่วที่ 2เป็นต้นไป การคัดเลือกพันธุ์ผสมอาจทำได้ 4 วิธี คือ


1) การคัดพันธุ์ข้าวแบบสืบตระกูล (Pedigree Method)
เป็นการคัดเลือกหาต้นที่มีลักษณะดีในทุก ๆ ชั่วโดยเริ่มจาก F2 โดยทำการคัดเลือกข้าวเป็นต้นและนำไปปลูกต้นต่อแถวต่อไป (รูปที่ 3) ตามขั้นตอนดังนี้
- คัดเลือกพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะดีตามต้องการมาผสมพันธุ์กัน
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 แบบ Hybrid Check Plot คือปลูกพันธุ์แม่และพันธุ์พ่อขนาบต้นลูกผสมชั่วที่ 1 เกี่ยวต้นที่เหมือนต้นแม่ทิ้ง เก็บเมล็ดทั้งหมด ปลูกฤดูกาลต่อไป
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 2 เลือกเก็บเกี่ยวรวงข้าวจากต้นข้าวแต่ละต้นที่มีลักษณะดีที่ต้องการแยกกันไว้
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 3 โดยนำเมล็ดจากแต่ละต้นในชั่วที่ 2 มาปลูกเป็นแถว คัดเลือกต้นข้าวที่มีลักษณะดีเก็บเมล็ดแต่ละต้นแยกกันไว้
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 4-5 และคัดเลือกเช่นเดียวกับชั่วที่ 3
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 6 คัดเลือกแถวที่มีลักษณะดีที่ต้องการ เก็บเกี่ยวเมล็ดทั้งแถวในแปลงที่มีความสม่ำเสมอดี แล้วนำไปปลูกศึกษาพันธุ์
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 7 แบบศึกษาพันธุ์ คัดเลือกสายพันธุ์ดี ที่มีความสม่ำเสมอไปปลูกเปรียบเทียบผลผลิตต่อไป
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 8-12 ที่มีความสม่ำเสมอแบบทดสอบผลผลิตร่วมกับสายพันธุ์อื่น ๆและพันธุ์มาตรฐาน ทั้งในสถานีทดลอง ระหว่างสถานี และในนาเกษตรกร นำสายพันธุ์ ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง และมีลักษณะดีตามต้องการไปพิจารณาแนะนำให้เกษตรกรปลูกต่อไป

2) การคัดพันธุ์แบบรวม (Bulk Method)
ปลูกข้าวพันธุ์ผสมในชั่วที่ 2-4 แบบรวมกันและเก็บเมล็ดมารวมกัน โดยไม่มีการคัดเลือกในแต่ละชั่วอายุ (รูปที่ 4 ) จนกระทั้งชั่วที่ 4 หรือ 5 ต้นข้าวที่ปลูกก็จะมีการคัดเลือกตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เพราะต้นข้าวที่ได้จะมีลักษณะเป็น homozygous แล้ว จึงนำไปปลูกต้นต่อแถวในชั่วที่ 5 หรือ 6 และศึกษาพันธุ์ในชั่วที่ 6 หรือ 7 และเปรียบเทียบผลผลิตในชั่วที่ 7 หรือ 8-12 เช่นเดียวกับการคัดพันธุ์แบบสืบตระกูล

การคัดพันธุ์แบบรวมนี้เป็นวิธีการที่สะดวกในการดำเนินการ ในระยะชั่วแรก ๆ ในกรณีที่นักปรับปรุงพันธุ์มีจำนวนคู่ผสมที่จะต้องคัดเลือกเป็นจำนวนมาก แต่จะต้องปลูกประชาการในแต่ละชั่วอายุให้มากเพราะไม่มีการคัดเลือกในชั่วแรก ๆ ซึ่งอาจทำให้สูญเสีย Genotype ที่ดี ๆ ไป และการคัดเลือกแบบนี้จะเป็นการให้ธรรมชาติช่วยคัดเลือกให้แต่เพียงอย่าง เดียว นักปรับปรุงพันธุ์จึงอาจช่วยคัดเลือกไปด้วย โดยคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดีที่ต้องการ และเก็บเมล็ดจากต้นเหล่านั้นรวมกัน แล้วนำไปปลูกต่อไป ซึ่งอาจจะแยกเป็นพวก ๆ เช่น พวกอายุเบา อายุกลาง หรืออายุหนักได้อีกด้วย วิธีการนี้อาจเรียกว่า Modified Bulk Method นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงวิธีการคัดพันธุ์แบบรวมไปใช้ในอีกรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า Bulk Population โดยจะใช้ในกรณีที่มีพันธุ์ที่ต้องการใช้ในการผสมพันธุ์เป็นจำนวนมาก และการเลือกคู่ผสมเฉพาะบางคู่อาจไม่ได้ลักษณะที่ต้องการ การคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมทุก ๆคู่ เป็นการเสียเวลาและแรงงาน ก็แก้ไขโดยการผสมพันธุ์เหล่านั้นทั้งหมดในทุก ๆ Combination เช่น ถ้ามีอยู่ 5 พันธุ์จะได้คู่ผสมทั้งหมด 10 คู่ผสมก็นำเมล็ดชั่วที่ 2 จากแต่ละคู่ผสมจำนวนเท่ากันมารวมกัน เรียกคู่ผสมลักษณะแบบนี้ว่า Composite Cross นำเมล็ดพันธุ์ไปปลูก ซึ่งควรปลูก 10,000 ต้นขึ้นไป เพราะมีความแปรปรวนทางพันธุกรรมกว้าง แล้วเก็บเกี่ยวเมล็ดรวมกัน เมื่อปลูกคัดเลือกได้ 8-10 ชั่วอายุ ก็สามารถนำไปทดสอบผลผลิตได้


3) การปลูกและคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมแบบเร่งชั่วอายุ (Rapid Generation Advance หรือ RGA)
ข้าวพันธุ์ผสมที่มีพ่อหรือแม่เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง หรือทั้งพ่อ-แม่เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ซึ่งปกติมักจะทำการผสมพันธุ์ขาวในฤดูนาปี เมื่อนำเมล็ดที่ผสมไปปลูกเป็นชั่วที่ 1 ในฤดูการปลุกต่อไป คือ ฤดูนาปรัง ข้าวพันธุ์ผสมจะไม่ออกดอก จำเป็นต้องปลูกแต่ละชั่วอายุในฤดูนาปีเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่ผสมที่มีพ่อ-แม่ เป็นข้าวไวต่อช่วงแสงทำให้ต้องใช้เวลาหลายปีในการปลูกและคัดเลือกให้ได้สายพันธุ์ที่อยู่ตัว

การปลูกแบบเร่งชั่วอายุสามารถย่นระยะเวลาในการปลูกและคัดเลือกให้ได้สาย พันธุ์ที่อยู่ตัวเร็วขึ้นเพราะในเวลา 1 ปี สามารถปลูกได้ 3-4 ชั่วอายุ การปลูกและคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมแบบเร่งชั่วอายุเป็นการปลูกและคัดเลือกแบบ รวมหมู่ร่วมกับแบบสืบตระกูล ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้

นำเมล็ดที่ผสมได้ทั้งหมดไปปลูกเป็นชั่วที่ 1 ในกระถางเล็ก จำนวน 1 ต้น / กระถาง เมื่อต้นข้าวอายุประมาณ 15 วัน นำไปเข้าห้องมืดเพื่อชักนำให้เกิดรวง โดยนำเข้าห้องมืดตอน 17.00 น. แล้วนำออกจากห้องมืดเวลา 07.00 น. ทุกวันเป็นเวลา 21 วัน แล้วนำไปไว้ในกรงกันนกจนข้าวออกรวง ซึ่งจะใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 75-80 วัน เมื่อข้าวมีอายุพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว เก็บ 1 เมล็ดในแต่ละกอนำมารวมกันเพื่อนำไปปลูกในชั่วที่ 2 ต่อไป ทำเช่นเดียวกันนี้ ในทุกชั่วอายุจนถึงชั่วที่ 5 หรือ 6 จึงเก็บเกี่ยวทั้งกอ นำไปปลูกกอต่อแถว แบบสืบตระกูลตามปกติ เลือกกอที่มีลักษณะต่าง ๆ ดี นำไปศึกษาพันธุ์ต่อไป


การปลูกแบบเร่งชั่วอายุ อาจนำไปเข้าและออกจากห้องมืดตั้งแต่ชั่วที่ 1 ไปจนถึงชั่วที่ 6 ดังที่ได้กล่าวแล้ว หรือนำไปปลูกเร่งชั่วอายุในชั่วที่ ถึงชั่วที่ 5 หรือ 6 โดยในชั่วที่ 1 และ 2 ปลูกแบบปกติ คือ ชั่วที่ 1 ปลูกแบบ Hybrid Check plot เก็บเกี่ยวนำไปปลูกชั่วที่ 2 แบบรวมหมู่ประยุกต์ จำนวน 5,000 ต้น/คู่ผสม นำเมล็ดจากกอที่ได้เลือกไว้ว่ามีลักษณะต่าง ๆ ดี มารวมกัน นำไปปลูกแบบร่างชั่วอายุ จนถึงชั่วที่ 5 หรือ 6 จึงนำไปปลูกแบบสืบตระกูล เลือกกอที่มีลักษณะต่าง ๆ ดีนำไปศึกษาพันธุ์ต่อไป

4) การคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านชีวโมเลกุล ช่วยให้นักวิจัยสามารถตรวจสอบพันธุกรรมของลักษณะที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น โมเลกุลเครื่องหมายได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างแผนที่โครโมโซมและกำหนดตำแหน่ง ของยีนที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของพืชที่มีความสำคัญหลายชนิด เช่น ข้าว มะเขือเทศ พริก ข้าวโพด ฯลฯ และจากการศึกษาความสัมพันธ์ (Linkage) ระหว่างดีเอ็นเอเครื่องหมายและลักษณะที่สนใจก็จะสามารถนำดีเอ็นเอเครื่อง หมายมาใช้ในการคัดเลือกลักษณะนั้น ๆ ได้

1.4 การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ (Induce Mutation)
เป็นวิธีการที่ทำให้ข้าวมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ กรรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจมีผลทำให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง สูญหาย หรือการเพิ่มจำนวนของยีนบนโครโมโซม Gene Mutation อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงจากยีนเด่นเป็นยีนด้อย หรือยีนด้วยเป็นยีนเด่น แต่ลักษณะของยีนเด่นเป็นยีนด้วยค่อนข้างจะมีโอกาสพบได้มากกว่า การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์อาจทำได้โดย
- ใช้กัมมันตภาพรังสี เช่น X-rays, Neutrons และ Gamma Rays
- ใช้สารเคมี เช่น Ethyl Methane Sulfonate (EMS), Methyl Methane Sulfonate (MMS)

ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายโดยวิธีนี้ได้แก่ การเป็นข้าวเหนียวและข้าวเจ้า อายุเบา และอายุหนักต้นสูงและต้นเตี้ย และยังมีการใช้รังสีแกรมม่า ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ต้านทานโรคไหม้ด้วย (Wong and Xian.,1986)
การคัดเลือกก็จะปลูกคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่ได้เหมือน กับการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ได้จากการผสมพันธุ์

1.5 การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม (Biotechnology and Genetic Engineering)
เป็นวิธีการสมัยใหม่วิธีหนึ่งในการปรับปรุงพันธุ์ โดยการสร้างพันธุกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น โดยอาศัยเทคนิคการเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) การเชื่อมโปรโตพลาสต์เข้าด้วยกัน (Protoplast Fusion) และการใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรมอาจจะช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาพันธุ์ ข้าวพันธุ์ใหม่แต่ละพันธุ์ให้สั้นลงได้ โดยได้ลักษณะพันธุ์ข้าวตามต้องการได้ง่ายขึ้น แต่ปัจจุบันยังดำเนินการเป็นผลสำเร็จไปได้ไม่มากนัก ยังมีความจำเป็นต้องศึกษาและวิจัยต่อไป

1.6 การสร้างพันธุ์ข้าวลูกผสม (Hybrid Rice)
ข้าวลูกผสม หรือ Hybrid Rice หมายถึง ข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) ที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อแม่ที่มีพื้นฐานทางพันธุกรรม (Genetic Background) ต่างกัน ซึ่งในทางทฤษฎีเมื่อนำพ่อแม่ที่มีความแตกต่างกันมาผสมพันธุ์กัน ลูกผสมชั่วที่ 1 จะมีความแข็งแรงหรือมีความดีเด่นในลักษณะบางอย่าง เช่น ผลผลิตเหนือกว่าพ่อแม่ (Hybrid Vigor หรือ Heterosis) ซึ่งอาจเป็นความดีเด่นเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อแม่ หรืออาจเหนือกว่าพ่อหรือแม่ที่ดีกว่า การผลิตข้าวลูกผสมจะต้องประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ
1) การสร้างสายพันธุ์เรณู เป็นหมัน โดยปกติสายพันธุ์เหล่านั้นจะเป็น Cytoplasmic Genetic Male Sterile Line หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า CMS Line หรือ Line

2) การสร้างสายพันธุ์รักษาสายพันธุ์เรณูเป็นหมัน (Maintainer Line) หรือเรียกกันว่า B Line ซึ่ง B Line นี้จะมีลักษณะทุกอย่างเหมือนกับ A Line ยกเว้นแต่จะมี Cytoplasm ปกติ

3) การสร้างสายพันธุ์แก้ความเป็นหมัน (Fertility Restoring Line) หรือเรียกกันว่า R Line สายพันธุ์ข้าวนี้จะมียีนซึ่งเรียกว่า Restorer Gene ซึ่งเมื่อนำมาผสมพันธุ์กับ A Line แล้วจะให้ลูกผสม F1 ซึ่งไม่เป็นหมัน

4) การนำสายพันธุ์ข้าวทั้ง A B และ R Lines มาใช้ในการผลิตข้าวลูกผสม จะต้องมีการศึกษาถึง Combining Ability ของสายพันธุ์ข้าวที่ใช้ เพื่อให้ได้ลูกผสมที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงโดยปกติข้าวลูกผสมควรให้ผล ผลิตสูงกว่าพันธุ์แท้ที่ให้ผลผลิตสูงไม่น้อยกว่า 15-20 % นอกจากนี้วิธีการผลิต เช่น อัตราส่วนของพันธุ์ A และ R อายุวันออกดอกเป็นสิ่งละเอียดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับการให้ผลผลิตสูงของข้าว ลูกผสมทั้งสิ้น


2. ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์
2.1 การคัดเลือกพันธุ์
สายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการต่าง ๆ และได้ทำการคัดเลือกตามวิธีการต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว จนได้สายพันธุ์ที่คงตัวแล้ว จะนำไปทำการศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตต่อไป

2.2 การศึกษาพันธุ์ (observation)
การศึกษาพันธุ์เป็นการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ที่สำคัญ และคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะต่าง ๆ ที่ดีนำไปเปรียบเทียบผลผลผลิตภายในสถานีหรือระหว่างสถานีต่อไป การศึกษาพันธุ์ มี 2 ขั้นตอน คือ
1) การศึกษาพันธุ์ขั้นต้น (Single Row หรือ 2- Row Observation) การศึกษาพันธุ์ขั้นต้นจะปลูกข้าวสายพันธุ์ละ 1 หรือ 2 แถว โดยมีพันธุ์มาตรฐานเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ เพื่อศึกษาลักษณะต่าง ๆของสายพันธุ์ข้าว จะใช้ในข้าวพันธุ์ผสมที่ยังมีการกระจายตัวเล็กน้อย และจำนวนสายพันธุ์ที่อยู่ระหว่าง การคัดเลือกมีเป็นจำนวนมาก และมีความดีในลักษณะรูปแบบต้น และรูปร่างของเมล็ดใกล้เคียงกัน นำเมล็ดข้าวพันธุ์ผสมที่คัดเลือกจากชั่วที่ 4 หรือ 5 หรือ 6 สายพันธุ์ละ 1 กอ มาปลูกศึกษาพันธุ์แบบ 2 แถว จำนวน 1 หรือ 2 ซ้ำ โดยมีพันธุ์มาตรฐานเปรียบเทียบทุก 10 หรือ 20 สายพันธุ์ เช่นเดียวกับการปลูกข้าวพันธุ์ผสมแบบสืบตระกูล เพื่อศึกษาลักษณะต่าง ๆ ของพันธุ์ข้าว คือ ลักษณะรูปแบบทรงต้น วันออกดอก 50 % อายุที่เก็บเกี่ยวจริง ลักษณะเมล็ด การมีท้องไข่ และความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญและคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะต่าง ๆ ดี โดยเก็บเกี่ยวสายพันธุ์ละ 1-4 กอ เพื่อนำไปศึกษาพันธุ์ 4 แถวต่อไป

2) การศึกษาพันธุ์ 4 แถว ( 4 –Row Observation) หรือการศึกษาพันธุ์ขั้นสูงเป็นการประเมินผลผลิตขั้นต้น หรือศึกษาลักษณะต่าง ๆ ของสายพันธุ์ข้าว ซึ่งผ่านการทดสอบจากการศึกษาพันธุ์แบบ 2 แถว หรือจากข้าวพันธุ์ผสมที่มีลักษณะคงตัวทางพันธุกรรมแล้ว โดยนำมาปลูกสายพันธุ์ละ 4 แถว จำนวน 1 ถึง 2 ซ้ำ มีพันธุ์มาตรฐานเปรียบเทียบทุกสายพันธุ์ที่ 10 หรือ 20 เลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะต่าง ๆ ตรงตามวัตถุประสงค์ และที่มีความสม่ำเสมอโดยเก็บเกี่ยว 2 แถวกลาง เว้นกอหัวท้าย เพื่อชั่งน้ำหนัก พร้อมทั้งเลือกเก็บเกี่ยวรวงจากแถวข้าง 2 แถว ประมาณ 100 รวง เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ส่วนนี้ไปเปรียบเทียบผลผลติสำหรับบางสายพันธุ์ที่ยังมี การกระจายตัวอยู่บ้าง ทำการเก็บเกี่ยว 1 กอ เพื่อนำไปปลูกศึกษาซ้ำ หลังจากกะเทาะดูท้องไข่แล้วพิจารณาข้อมูลทั้งผลผลิต การมีท้องไข่ และความต้านทานต่อโรคและแมลง เลือกสายพันธุ์ที่มีความดีเด่นกว่าพันธุ์ที่ส่งเสริมอย่างน้อยในลักษณะที่ สำคัญ 1 หรือ 2 ลักษณะ และมีลักษณะอื่น ๆ ใกล้เคียงกัน เพื่อนำไปประเมินต่อในชั้นเปรียบเทียบผลผลิต

2.3 การเปรียบเทียบผลผลิต มี 3 ขั้นตอน คือ
1) การเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี (Intra-station Yield Trials)
2) การเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี (Inter-station Yield Trals)
3) การทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร (Former Yield Trials or On-Farm Trials)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #198 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 12:44:28 »

การผสมพันธุ์ข้าว

จะว่าไปแล้ว เกษตรกรรู้จักวิธีการคัดเลือกพันธุ์และเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองเป็นเวลาช้านาน โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพันธุ์หลายปัจจัยซึ่งได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก การคัดเลือกตามความต้องการบริโภค รวมทั้งการคัดเลือกตามความต้องการนำไปใช้ประโยชน์ จากหลักเกณฑ์เงื่อนไขดังกล่าวจึงทำให้ชาวนามีการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไว้หลากหลายพันธุ์และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นมาหลายชั่วอายุคน


แต่สถานการณ์การผลิตในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิม มีการจัดการแหล่งน้ำระบบชลประทานที่ดี ปัจจัยการผลิตเครื่องมือที่ทันสมัยและมีรูปแบบการผลิตที่เน้นเชิงพาณิชย์มากขึ้น แต่ข้าวพันธุ์พื้นเมืองมีข้อจำกัดในการปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี และข้อจำกัดในการให้ผลผลิตที่ต่ำไม่เหมาะสมกับระบบการผลิตในเขตชลประทาน สถานการณ์ในปัจจุบันจึงมีความจำเป็นในการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้มีความเหมาะสมกับระบบการผลิตแบบใหม่โดยยังคงข้อดีของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไว้เช่น ให้มีคุณภาพเมล็ดดี คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม และมีความสามารถในการปรับตัวในพื้นที่ได้ดี เป็นต้น

การผสมพันธุ์ข้าวเป็นวิธีการสร้างข้าวพันธุ์ใหม่ที่รวมลักษณะเด่นต่าง ๆ ไว้ในพันธุ์เดียวกัน หลักสำคัญของการผสมพันธุ์คือ การสร้างความผันแปรที่เกิดจากการจับคู่ใหม่ของยีน ซึ่งจะทำให้เกิดลักษณะแตกต่างกันจำนวนมากมายในรุ่นลูกรุ่นหลาน ลักษณะความแตกต่างดังกล่าวจะมีทั้งลักษณะดีกว่าหรือด้อยกว่าพ่อแม่ ซึ่งสามารถคัดเลือกแยกออกจากกันได้โดยการนำข้าวลูกผสมที่ได้ มาปลูกคัดเลือกหาพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่ต้องการปลูกคัดเลือกประมาณ 6-8 รุ่น ทั้งนี้เพื่อความนิ่งทางสายพันธุ์ ขณะเดียวกันจำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพเมล็ด คุณภาพการหุงต้มไปพร้อมกัน หลังจากผ่านขั้นตอนการตรวจสอบ รับรองพันธุ์แล้วจึงจะได้ข้าวพันธุ์ใหม่ตามที่ต้องการ


ขั้นตอนการปฏิบัติการผสมพันธุ์ข้าว
1. การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ข้าว
ขั้นตอนการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ข้าวประกอบด้วยขั้นตอนตั้งแต่ การรวบรวมพันธุ์ การกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการผสมพันธุ์ การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ และการปลูกพ่อแม่พันธุ์ ในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้

1.1 การรวบรวมพันธุ์
ต้องมีการรวบรวมพันธุ์และนำมาปลูกทดสอบเพื่อศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์ การให้ผลผลิต ความสามารถในการต้านทานโรคแมลงซึ่งสามารถนำข้อมูลประกอบในการคัดเลือกเพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป

1.2 การกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการผสมพันธุ์
คือการกำหนดความต้องการพันธุ์ข้าวในอุดมคติ หรือพันธุ์ข้าวในฝันนั่นเอง หลักเกณฑ์ทั่วไปในการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้ตอบสนองต่อระบบการผลิต เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูก การให้ผลผลิตดี คุณภาพเมล็ด คุณภาพการหุงต้มรสชาติดี สามารถต้านทานโรค และแมลง สามารถปลูกได้ไม่จำกัดฤดูกาล เป็นต้น

1.3 การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
หัวใจสำคัญของการผสมพันธุ์ข้าวคือ จะต้องทราบข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ ข้อดี ข้อด้อย ของข้าวแต่ละพันธุ์ เพื่อใช้ในการคัดเลือกเป็นพ่อแม่พันธุ์ และการกำหนดคู่ผสมให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวชนิดข้าวเจ้า ปลูกได้ปีละครั้ง คุณภาพเมล็ดดี การหุงต้มมีกลิ่นหอมรสชาติดี ต้นสูง ล้มง่าย ผลผลิตต่ำ ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี การคัดเลือกพันธุ์ที่จะใช้เป็นคู่ผสมจะต้องเพิ่มเติมข้อด้อยของพันธุ์ดังกล่าว เช่น ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่าย ผลผลิตดี สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เป็นต้น

1.4 การปลูก พ่อแม่พันธุ์
หลังผ่านการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์แล้ว นำเมล็ดที่ได้มาปลูกในแปลงนาหรือในกระถาง การปลูกแต่ละพันธุ์ควรปลูกหลายรุ่น แต่ละรุ่นทิ้งช่วงห่างประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงในคู่ผสมที่ออกรวงไม่พร้อมกัน และให้สามารถผสมซ้ำในกรณีผสมไม่ติด กรณีที่ปลูกในแปลงนาควรย้ายปลูกลงกระถางก่อนข้าวออกรวงเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน

การผสมพันธุ์ข้าว
ขั้นตอนการผสมพันธุ์ข้าวต้องมีการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับการผสมพันธุ์ข้าว หลังจากนั้นจึงจะทำการตอนกำจัดเกสรตัวผู้ การผสมพันธุ์หรือการถ่ายละอองเกสร และการเก็บเกี่ยว มีรายละเอียดดังนี้
2.1 การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ ประกอบด้วย
1. กรรไกร .......... 4. คลิปหนีบกระดาษ
2. ปากคีบ .......... 5. แผ่นป้ายพลาสติก
3. กระดาษแก้ว ..... 6. ดินสอดำ ....... 7.แว่นขยาย

2.2 การตอนกำจัดเกสรตัวผู้
เนื่องจากข้าวเป็นพืชผสมตัวเอง การที่จะผสมกับข้าวพันธุ์อื่นจำเป็นจะต้องกำจัดเกสรตัวผู้ออกก่อน เสร็จแล้วจึงนำเกสรตัวผู้จากพันธุ์อื่นมาผสม ต้นหรือรวงที่ถูกกำจัดเกสรตัวผู้ออกไปแล้ว เรียกว่าต้นแม่พันธุ์

วิธีการตอนกำจัดเกสรตัวผู้ เลือกรวงที่โผล่พ้นกาบใบธงประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ เลือกตัดดอกข้าวที่คาดว่าจะบานในวันรุ่งขึ้น โดยใช้กรรไกรตัดดอกประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของเมล็ด จากนั้นใช้ปากคีบ เขี่ยเกสรตัวผู้ทั้ง 6 อันออกให้หมด ในหนึ่งรวงเลือกตอนประมาณ 20-30 ดอก หลังตอนเสร็จใช้ถุงกระดาษแก้วคลุมรวงไว้ใช้คลิปหนีบถุงอีกครั้ง อาจใช้ไม้ไผ่ทำหลักประคองเพื่อป้องกันไม่ให้รวงหัก

2.3 การผสมพันธุ์หรือ การถ่ายละอองเกสร
ปกติดอกข้าวจะบานและมีการถ่ายละอองเกสรช่วงเวลาประมาณ 8.00-12.00 น. ซึ่งจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ อุณหภูมิแสงแดด ดอกข้าวจะไม่บานในวันที่อากาศหนาวเย็นหรือวันที่มีฟ้ามืดครึ้ม

วิธีการผสม
นำกระถางข้าวพ่อพันธุ์ที่ดอกกำลังบานหรือตัดช่อดอกพ่อพันธุ์ใส่ขวดแช่น้ำเตรียมรอไว้ เมื่อดอกข้าวเริ่มบานเกสรตัวผู้ทั้ง 6 อันจะเริ่มโผล่ชูอับละอองเกสรที่อยู่ส่วนบนก้านเกสรตัวผู้พร้อมที่จะแตก ซึ่งจะสังเกตลักษณะเป็นผงฝุ่นละอองสีเหลือง จากนั้นเปิดถุงคลุมรวงต้นแม่พันธุ์ออก แล้วนำช่อดอกตัวผู้ที่กำลังบานมาเคาะให้ฝุ่นละอองสีเหลืองตกใส่ดอกแม่พันธุ์ หรืออาจใช้ปากคีบ คีบดอกข้าวพ่อพันธุ์ที่กำลังบานนำมาเคาะใส่ในดอกต้นแม่พันธุ์ที่กำลังบาน

การตรวจสอบหากสังเกตเห็นฝุ่นละอองสีเหลืองเกาะบนยอดเกสรตัวเมียของต้นแม่พันธุ์แสดงว่าการถ่ายละอองในครั้งนั้นเสร็จแล้ว

หลังจากนั้นใช้ถุงกระดาษครอบรวงไว้เหมือนเดิม ผูกป้ายชื่อ พ่อแม่พันธุ์คู่ผสม วัน เดือน ปี ที่ทำการผสม หากเกสรตัวผู้ไม่เพียงพออาจผสมซ้ำอีก 1-2 วัน หลังการผสมแล้ว 1 สัปดาห์ สามารถตรวจสอบความสำเร็จได้ หากผสมติดรังไข่จะพัฒนาเป็นเมล็ดข้าว หลังจากนั้น 25-30 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ตามปกติ

2.4 การเก็บเกี่ยว
1. ก่อนเก็บเกี่ยวควรตรวจสอบ ป้ายชื่อ พันธุ์ว่าอยู่ครบหรือไม่
2. เก็บเกี่ยวใส่ถุงกระดาษ นำไปผึ่งแดดให้แห้งประมาณ 1-2 แดด
3. แช่ตู้เย็นไว้ประมาณ 2 สัปดาห์เพื่อทำลายการพักตัวของเมล็ดข้าว
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #199 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 12:48:26 »

ผสมพันธุ์ข้าว ตอนที่ 2

นักเรียนชาวนาขอให้เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆให้ครบให้พร้อม แต่ละอย่างก็สามารถหาได้โดยทั่วไป มีอะไรบ้างเอ่ย... มีกรรไกร ปากคีบ กระดาษแก้ว คลิปหนีบกระดาษ แผ่นป้ายพลาสติก และดินสอดำ รวม ๖ อย่าง เตรียมกระดาษแก้ว คลิปหนีบกระดาษ และแผ่นป้ายพลาสติกไว้มากจำนวนหน่อย



เครื่องมือสำหรับการผสมพันธุ์ข้าว


นักเรียนชาวนาบอกกันว่า เตรียมมามากเข้าไว้ก่อน เผื่อเหลือเผื่อขาด เห็นหลายคนซื้อกรรไกรใหม่มาเลยทีเดียว จะเอาไปตัดอะไรบ้างก็ไม่รู้ซินะ กรรไกรใหม่ๆ ท่าทางจะคมไม่เบา

พอเตรียมเครื่องไม้เครื่องมืออะไรต่างๆพร้อมและครบถ้วนดีแล้ว ขั้นตอนสำคัญเป็นเรื่องการตอนกำจัดเกสรตัวผู้ ก่อนขึ้นใคร่ขอทำความเข้าใจกันสักเล็กน้อย เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในเรื่องข้าวกันก่อน

ข้าวเป็นพืชผสมตัวเอง การที่จะผสมกับข้าวพันธุ์อื่นจำเป็นต้องกำจัดเกสรตัวผู้ออกก่อน แล้วจึงจะสามารถนำเอาเกสรตัวผู้จากพันธุ์อื่นมาผสมได้ ต้นหรือรวงที่ถูกกำจัดเกสรตัวผู้ออกไปแล้ว เรียกว่า “ต้นแม่พันธุ์”

พอเป็นที่เข้าใจกันแล้ว ก็จะเข้าสู่วิธีการตอนกำจัดเกสรตัวผู้ ให้เลือกรวงที่โผล่พ้นกาบใบธง ประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ เลือกตัดดอกข้าวที่คาดว่าจะบานในวันรุ่งขึ้น โดยใช้กรรไกรตัดดอก ประมาณ ๑ ใน ๓ ส่วนของเมล็ด

เมื่อตัดแล้ว ใช้ปากคีบ เขี่ยเกสรตัวผู้ทั้ง ๖ ตัว ออกให้หมด

ในรวงหนึ่งๆให้เลือกตอนประมาณ ๒๐ – ๓๐ ดอก


การตัดดอกข้าว (ด้วยกรรไกร)


การเขี่ยเกสรตัวผู้ออก (ด้วยปากคีม)

หลังจากที่ได้ตอนเกสรตัวผู้ออกหมดแล้ว นำเอาถุงกระดาษแก้วคลุมรวงไว้ ใช้คลิปหนีบถุงด้วย เพื่อป้องกันลมพัดถุงหลุดร่วง รวงข้าวมีน้ำหนักพอสมควร นักเรียนชาวนาอาจจะใช้ไม้ไผ่ทำหลักประคองรวง เพื่อป้องกันไม่ให้รวงหัก

และต่อไปนี้ถึงขั้นตอนของการผสมพันธุ์หรือการถ่ายละอองเกสรแล้ว จึงใคร่ขอทำความเข้าใจในเรื่องดอกข้าวกันเล็กๆน้อยๆ

โดยปกติ ดอกข้าวจะบานและถ่ายละอองเกสรในช่วงเวลาประมาณ ๐๘.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. แต่ทั้งนี้ ข้าวแต่ละพันธุ์จะมีความแตกต่างกันไป ประกอบกับเรื่องอุณหภูมิ แสงแดด ดอกข้าวจะไม่บานในวันที่อากาศหนาวเย็น วันที่ฟ้ามืดครึ้ม

พอทราบหรือพอเห็นภาพแล้วว่าดอกข้าวจะบานเช่นไร คราวนี้มาเรียนรู้วิธีการผสมพันธุ์ เริ่มแรกนักเรียนชาวนาควรจะนำกระถางข้าวพ่อพันธุ์ที่ดอกกำลังบานหรือตัดช่องดอกพ่อพันธุ์ใส่ขวดแช่น้ำเตรียมรอเอาไว้เลย

เมื่อดอกข้าวเริ่มบาน เกสรตัวผู้ทั้ง ๖ ตัว จะเริ่มโผล่ชูอับละอองเกสร ซึ่งอยู่ส่วนบนก้านเกสรตัวผู้ พร้อมที่จะแตก ทั้งนี้สามารถสังเกตเห็นลักษณะจะเป็นผงละอองสีเหลือง

ให้เปิดถุงที่คลุมรวงต้นแม่พันธุ์ออก แล้วนำช่อดอกตัวผู้ที่กำลังบานมาเคาะให้ละอองสีเหลืองตกใส่ดอกแม่พันธุ์ หรือจะใช้ปากคีบ คีบดอกข้าวพ่อพันธุ์ที่กำลังบาน...นำมาเคาะใส่ในดอกต้นแม่พันธุ์ที่กำลังบาน

ในขั้นตอนนี้นักเรียนชาวนาสามารถตรวจสอบได้โดยสังเกตดูละอองสีเหลืองเกาะบนยอดเกสรตัวเมียของต้นแม่พันธุ์ ก็แสดงว่าการถ่ายละอองในครั้งนี้เสร็จแล้ว


การคลุมช่อดอกแม่พันธุ์

หลังการผสมแล้ว แล้วใช้คลิปหนีบถุง จากนั้นจึงนำถุงกระดาษแก้วครอบรวงไว้ พร้อมใช้คลิปหนีบไว้ดังเดิม แล้วผูกป้ายชื่อ โดยเขียนชื่อพ่อแม่พันธุ์คู่ผสม วันเดือนปีที่ทำการผสม


ผูกป้ายชื่อ แสดงพ่อแม่พันธุ์คู่ผสมวันเดือนปีที่ทำการผสม

ในกรณีที่เกสรตัวผู้ไม่เพียงพออาจผสมซ้ำอีก ๑ – ๒ วัน หลังจากการผสมผ่านไปแล้ว ๑ สัปดาห์

นักเรียนชาวนาสามารถตรวจสอบความสำเร็จของการผสมพันธุ์ได้ หากผสมติด รังไข่จะพัฒนาเป็นเมล็ดข้าว หลังจากนั้น ๒๕ – ๓๐ วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ตามปกติ

เมื่อมาถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของช่วงที่ ๒ นี้ ซึ่งนักเรียนชาวนาจะเกี่ยวข้าวไปตามปกติ เพียงแต่เพิ่มการสังเกต เพิ่มความระมัดระวังอีกนิดหน่อย อย่างไรล่ะจึงถือได้ว่าเป็นการเพิ่มการสังเกตและความระมัดระวัง... ก่อนเกี่ยวข้าว ควรตรวจสอบป้ายชื่อพันธุ์ว่าอยู่ครบหรือไม่

เกี่ยวข้าวแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งประมาณ ๑ – ๒ แดด แล้วเก็บใส่ไว้ในถุงกระดาษ

แล้วนำไปแช่ไว้ในตู้เย็นสักประมาณ ๒ สัปดาห์ หลายคนสงสัยอีกว่า ในเมื่อได้นำไปผึ่งแดดแล้ว เหตุใดจึงต้องนำไปแช่ตู้เย็นอีก ข้อสงสัยในประเด็นนี้ สามารถตอบให้ได้ว่า การนำข้าวไปแช่ตู้เย็น เพื่อจะทำลายการพักตัวของเมล็ดข้าว คำตอบนี้จึงช่วยคลายความสงสัยให้กับนักเรียนชาวนาได้

และแล้วก็มาถึงเรื่องราวสุดท้ายของกระบวนการทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องราวของการปลูกทดสอบคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสม ขั้นตอนนี้มีสำคัญเป็นอย่างมาก สำคัญอย่างไรนั้นโปรดคิดพิจารณากันต่อไป
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 [10] 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!