เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 01:40:27
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 407058 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #80 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 20:20:51 »

หอยเชอรี่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pomacea canaliculata

หอยเชอรี่ หรือ หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือ หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด (อังกฤษ: Golden Apple Snail, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomacea canaliculata) เป็นหอยน้ำจืดจำพวกหอยฝาเดียว สามารถแบ่งหอยเชอรี่ได้ 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลือง และพวกมีเปลือกสีเขียวเข้มปนดำ และมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน หอยเชอรี่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2 – 3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1 – 2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำ ข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2 – 3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงาม ประมาณ 388 – 3,000 ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายใน 7 – 12 วัน หลังวางไข่

หอยเชอรี่ เดิมเป็นหอยน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยนำเข้ามาครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ในฐานะของหอยที่กำจัดตะไคร่น้ำและเศษอาหารในตู้ปลา ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายราวก่อนปี พ.ศ. 2530 ต่อมาได้มีผู้คิดจะเลี้ยงเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการบริโภค แต่ทว่าไม่ได้รับความนิยมจึงปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ จนกลายเป็นปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในปัจจุบัน

ประโยชน์ของหอยเชอรี่
เนื้อหอยเชอรี่มีโปรตีนสูงถึง 34 - 53 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.66 เปอร์เซ็นต์ ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง หรือทำน้ำปลาจากเนื้อหอยเชอรี่ ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ สุกร เป็นต้น เปลือกก็สามารถปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ ตัวหอยทั้งเปลือกถ้านำไปฝังบริเวณทรงพุ่มไม้ผล เมื่อเน่าเปื่อยก็จะเป็นปุ๋ยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตเร็ว และได้ผลผลิตดีไม่ควรบริโภคเนื้อหอยเชอรี่ในบริเวณที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสีย หรือบริเวณพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

โทษของหอยเชอรี่
หอยเชอรี่กินพืชที่มีลักษณะนุ่มได้เกือบทุกชนิด เช่น สาหร่าย, ผักบุ้ง, ผักกระเฉด, แหน, ต้นกล้าข้าว, ซากพืชน้ำ และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำ โดยเฉพาะต้นข้าวในระยะกล้าและที่ปักดำใหม่ ๆ ไปจนถึงระยะแตกกอ หอยเชอรี่ จะชอบกินต้นข้าวในระยะกล้าที่มีอายุ ประมาณ 10 วัน มากที่สุด โดยเริ่มกัดส่วนโคนต้นที่อยู่ใต้น้ำเหนือจากพื้นดิน 1 – 1.5 นิ้ว จากนั้นกินส่วนใบที่ลอยน้ำจนหมด ใช้เวลากินทั้งต้นทั้งใบ นานประมาณ 1-2 นาที


การป้องกันและการกำจัด โดยวิธีกล   
การจัดเก็บทำลาย เมื่อพบตัวหอยและไข่ ให้เก็บทำลายทันที

    การดักและกั้น ตามทางน้ำผ่าน ให้ใช้สิ่งกีดขวางตาข่าย เฝือก ภาชนะดักปลา ดักจับหอยเชอรี่ลูกหอยที่ฟักใหม่ ๆ สามารถลอยน้ำได้ ควรใช้ตาข่ายถี่ ๆ กั้นขณะสูบน้ำเข้านาข้าว หรือกั้นบริเวณทางน้ำไหล

    การใช้ไม้หลักปักในนาข้าว การล่อให้หอยมาวางไข่ โดยใช้หลักปักในที่ลุ่มหรือทางที่หอยผ่าน เมื่อหอยเข้ามาวางไข่ตามหลักที่ปักไว้ ทำให้ง่ายต่อการเก็บไข่หอยไปทำลาย

    การใช้เหยื่อล่อ พืชทุกชนิด ใช้เป็นเหยือล่อหอยเชอรี่ได้ หอยจะเข้ามากินและหลบซ่อนตัว พืชที่หอยชอบกิน เช่น ใบผัก ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ หรือพืชอื่น ๆ ที่มียางขาวคล้ายน้ำนม

วิธีป้องกันและกำจัดโดยวิธี ชีววิธี
ใช้ศัตรูธรรมชาติช่วยกำจัด เช่นฝูงเป็ดเก็บกินลูกหอยโดยปกติในธรรมชาติมีศัตรูหอยเชอรี่อยู่หลายชนิดที่ควรอนุรักษ์ เช่น นกกระปูด นกปากห่าง และสัตว์ป่าบางชนิดซึ่งสัตว์เหล่านี้นอกจากจะช่วยทำลายหอยเชอรี่แล้วยังทำให้ธรรมชาติสวยงามอีกด้วย


* 11.jpg (99.58 KB, 600x450 - ดู 4791 ครั้ง.)

* untitled.jpg (34.31 KB, 396x300 - ดู 3786 ครั้ง.)

* untitled2.jpg (19.46 KB, 230x304 - ดู 3500 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #81 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 20:27:56 »

เชื้อราบิวเวอร์เรีย

เชื้อราบิวเวอร์เรีย ( Beauveria bassiasna ) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ในอันดับ Homoptera Lepidoptera Coleoptera และ Diptera ซึ่งได้แก่แมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ หนอนผีเสื้อ ด้วง และแมลงวัน หรือยุง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสามารถกำจัดปลวก และมดคันไฟได้ ทำให้มดและปลวกตายยกรังได้
กลไกการเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอร์เรีย คือ เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลง ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม (ความชื้นสัมพัทธ์ 50 % ขึ้นไป) จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3 - 14 วัน เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น แมลงศัตรูพืชเป้าหมายในข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว หนอนห่อใบ ในมะม่วงได้แก่ เพลี้ยจักจั่นที่ทำลายช่อมะม่วง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้มได้แก่ เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง ในพืชผักได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่างๆ ในอ้อยได้แก่ แมลงค่อมทอง เป็นต้น
การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียควบคุมศัตรูพืช
1. เนื่องจากเชื้อค่อนข้างอ่อนแอต่อแสงแดด และอุณหภูมิสูง จึงควรใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในช่วงเวลาเย็นถึงค่ำ
2. ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขายตามท้องตลาด ให้ใช้วิธีและอัตราการใช้ที่ระบุไว้ในฉลาก
3. เชื้อราบิวเวอร์เรียชนิดสด ที่รับจากศูนย์บริหารศัตรูพืช หรือที่เกษตรกรผลิตขยายได้เอง ใช้ในอัตราก้อนเชื้อ 1 กิโลกรัม ( 2 ถุง) ต่อน้ำ 25 – 50 ลิตร โดยนำก้อนเชื้อใส่ลงในตาข่ายเขียว แล้วนำไปยี หรือขยี้ในน้ำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพดลงไปในน้ำ นำเมล็ดข้าวโพดออกทิ้งไป แล้วนำน้ำที่ได้ไปฉีดพ่น
4. ระหว่างที่ฉีด ให้กวนน้ำเป็นระยะ และควรปรับหัวฉีดให้พ่นฝอยละเอียด จะฉีดได้ผลดีและได้พื้นที่เพิ่มขึ้น
5. เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด รวมถึงแมลงศัตรูธรรมชาติบางชนิดด้วย ดังนั้นถ้าหากพบว่ามีศัตรูธรรมชาติอยู่มาก ก็ควรงด หรือชะลอการฉีดออกไป
6. เชื้อราจะเข้าทำลายแมลงได้ในสภาพที่มีความชื้นสูง ดังนั้น การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในช่วงฤดูแล้ง หรืออากาศแห้งแล้ง อาจจำเป็นต้องเพิ่มความชื้นโดยการให้น้ำ หรือพ่นละอองน้ำ ก่อนและหลังการใช้

การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย
เกษตรกรสามรถผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรียใช้ได้เอง โดยขอรับหัวเชื้อจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดสุพรรณบุรี นำมาต่อเชื้อลงในเมล็ดข้าวโพด ซึ่งมีขั้นตอนลัวิธีการดังนี้

1. เตรียมวัสดุเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถเจริญเติบโตได้ดีบนเมล็ดธัญพืชทุกชนิด แต่เมล็ดธัญพืชที่ เหมาะสมที่สุดคือ เมล็ดข้าวโพด เพราะมีขนาดใหญ่ ทำให้มีช่องว่างมาก เมล็ดข้าวโพดที่จะนำมาใช้ต้องไม่เป็นเมล็ดที่คลุกสารเคมี หรือสารกำจัดเชื้อรา การเตรียมเมล็ดข้าวโพดสำหรับเลี้ยงเชื้อราบิวเวอร์เรียทำได้โดย นำเมล็ดข้าวโพดมาล้างให้สะอาด แล้ว
•  ทำให้เมล็ดอุ้มน้ำด้วยการแช่เมล็ดไว้ 1 คืน (หรือใช้วิธีต้มประมาณ 30 นาที)
•  นำมาพึ่งให้หมาดน้ำ (ให้ผิวแห้ง)
•  นำมากรอกใส่ถุง (ถุงเพาะเห็ด : ถุงทนความร้อนชนิดขยายข้าง ขนาด 6 ? 12 นิ้ว) ถุงละประมาณ 4 – 5 ขีด (หรือสูงประมาณ 4 นิ้ว ) สวมปากถุงด้วยคอขวด ลึกประมาณ 3 นิ้ว แล้วพับปากถุงลง อุดด้วยสำลี หรือขี้ฝ้าย แล้วหุ้มปากถุงด้วยกระดาษ รัดด้วยยางวง
2. นึ่งฆ่าเชื้อ
เมื่อเตรียมถุงเมล็ดข้าวโพดเสร็จแล้วให้นำไปนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุง
•  ถ้าใช้หม้อนึ่งความดัน ใช้ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศา เซลเซียส ใช้เวลานึ่ง 30 นาที
•  กรณีใช้หม้อนึ่งลูกทุ่ง (ทำจากถังแกลอน) ใช้เวลานึ่งอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นับ จากน้ำเดือด หลังจากนึ่งเสร็จแล้วนำมาวางทิ้งไว้รอให้เย็น แล้วแกะกระดาษที่หุ้มปากถุงออก
3. การเขี่ยเชื้อ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเขี่ย เชื้อราบิวเวอร์เรีย ประกอยด้วย ตู้เขี่ยเชื้อ ตะเกียง แอลกอฮอล์ (และแอลกอฮอล์ 95 % สำหรับเติมตะเกียง)
เข็มเขี่ยเชื้อ และแอลกอฮอล์ 70 % สำหรับฆ่าเชื้อ
- เตรียมอุปกรณ์ ด้วยการทำความสะอาดตู้ แล้วเช็ดฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 % (นำแอลกอฮอล์ใส่ฟ๊อกกี้ ฉีดภายในตู้ให้ทั่วแล้วเช็ดด้วยสำลี)
- นำอุปกรณ์ใส่เข้าไปในตู้ ได้แก่ ตะเกียงแอลกอฮอล์ แก้วน้ำที่แช่เข็มเขี่ยเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 % หัวเชื้อ โดยเช็ดผิวด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ก่อนนำเข้าตู้
- นำถุงเมล็ดข้าวโพดที่นึ่งแล้วใส่เข้าไปในตู้ ด้านซ้ายมือ แล้วปิดตู้
- เริ่มทำการเขี่ยเชื้อโดยสอดมือเข้าไปภายในตู้ (ก่อนสอดมือเข้าไปต้องเช็ดมือและแขนด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ทุกครั้ง) จุดตะเกียง ใช้มือขวาจับเข็มเขี่ยด้วยสามนิ้ว (โป้ง ชี้ กลาง) นำมาลนไฟที่ปลายให้แดง แล้วลนมาทางด้ามจับ 2 – 3 ครั้ง
a - ใช้มือซ้ายจับขวดหัวเชื้อ แล้วเปิดจุกสำลีโดยใช้นิ้วก้อยของมือขวา ลนไฟที่ปากขวด 2 – 3 ครั้ง
b – สอดเข็มเขี่ยเชื้อเข้าไปตัดวุ้นในขวด ชิ้นละประมาณ ? ตารางเซนติเมตร แล้วจิ้มออกมาจากขวด
c – ลนปากขวดอีก 2 – 3 ครั้งก่อนปิดสำลีเข้าที่เดิม
d – มือซ้ายวางขวดหัวเชื้อแล้วหยิบถุงเมล็ดข้าวโพกมาเปิดจุกสำลีด้วยนิ้วก้อยของมือขวา ลนปากถุงเล็กน้อย แล้วใส่หัวเชื้อที่ติดปลายเข็มเข้าไปในถุง
e – ลนปากถุงเล็กน้อยก่อนปิดปากถุง แล้วเขย่าถุงเบาๆ นำถุงที่ใส่เชื้อแล้วมาวางด้านขวามือ
- ถุงต่อไป ลนเข็มเขี่ย 2 – 3 ครั้ง แล้วทำตามขั้นตอน a – e จนกระทั่งใส่หัวเชื้อหมดทุกถุงในตู้ แล้วนำเข็มแช่ในแก้วแอลกอฮอล์ ดับตะเกียง แล้วนำถุงเมล็ดข้าวโพดที่ใส่หัวเชื้อแล้วออกจากตู้
4. การบ่มเชื้อ
นำถุงเมล็ดข้าวโพดที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางไว้ในสภาพอากาศปกติ อากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างปกติ แต่ไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง เชื้อจะเจริญเติบโตจนเต็มเมล็ดข้าวโพด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ เมื่อเชื้อเดินเต็มแล้วก็นำไปใช้ได้
การเก็บรักษาเมื่อเชื้อเดินเต็มแล้ว ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น จะทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้น




* 12.jpg (307.61 KB, 640x480 - ดู 3954 ครั้ง.)

* 13.jpg (43.75 KB, 600x568 - ดู 4508 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #82 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 20:38:52 »

เชื้อราไตรโคเดอร์มา
( Trichoderma sp. )


เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
ชื่อไทย : เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichoderma harzianum
วงศ์ : Moniliaceae
อันดับ : Hypocreales
ชื่อสามัญ : Trichoderma harzianum
ความสำคัญ
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า จัดเป็นเชื้อราชั้นสูงที่เจริญได้ดีในดิน เศษซากพืช ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมทั้ง จุลินทรีย์และ วัสดุอินทรีย์ตามธรรมชาติ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืชอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว เป็นเชื้อที่เป็นศัตรูต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด โดยมีกลไกการต่อสู้กับเชื้อราเหตุโรคพืช คือ
1. การแข่งขันกับเชื้อราโรคพืช
2. การเป็นปรสิตต่อเชื้อราโรคพืช
3. การสร้างสารยับยั้งหรือทำลายเชื้อราโรคพืช
4. การชักนำให้พืชมีความต้านทานโรคได้
พืชที่สามารถนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าใช้ควบคุมโรคได้
ไม้ผล ได้แก่ ทุเรียน ส้ม มะนาว ฝรั่ง มะละกอ
พืชผัก ได้แก่ มะเขือ พริก โหระพา กะเพรา หน่อไม้ฝรั่ง คื่นฉ่าย พืชตระกูลกะหล่ำ หอมใหญ่ ผักชีฝรั่ง พืชตระกูลถั่ว พืชตระกูลแตง กระชาย กระเจี๊ยบเขียว ขิง เผือก ฯลฯ
ไม้ดอกไม้ประดับ ได้แก่ ดาวเรือง เยอบีร่า ชบา เบญจมาศ ตระกูลฟิโลเดนดรอน ตระกูลขิง ซ่อนกลิ่น
พืชไร่ ได้แก่ ข้าวบาร์เล่ย์ ทานตะวัน ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ฯลฯ
ข้าว


สาเหตุโรคพืช สำหรับกลไกของเชื้อไตรโคเดอร์มาในการต่อสู้กับเชื้อสาเหตุโรคพืชมีดังนี้
- การแข่งขันกับเชื้อโรคพืช ด้วยเหตุที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญสร้างเส้นใยได้รวดเร็ว สามารถสร้างสปอร์ได้ในปริมาณสูงมาก โดยอาศัยอาหารจากเศษวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ จึงช่วยให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถแข่งขันกับเชื้อโรคพืชหรือจุลินทรีย์ที่อยู่บริเวณเดียวกัน นอกจากนี้เชื้อไตรโคเดอร์มายังรบกวนกิจกรรมต่าง ๆ ของเชื้อโรคทำให้ความรุนแรงลดลง
- การเป็นปรสิตต่อเชื้อโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างเส้นใยพันรัดแล้วแทง ส่วนของเส้นใยเข้าสู่ภายในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้เส้นใยเชื้อโรคพืชตาย และไตรโคเดอร์มายังทำลายโครงสร้างที่เชื้อโรคพืชสร้างขึ้นเพื่อขยายพันธุ์หรืออยู่ข้ามฤดูปลูก
- การสร้างสารยับยั้งหรือทำลายเชื้อโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารปฏิชีวนะ สารพิษและน้ำย่อย(เอ็นไซม์) เพื่อหยุดยั้งหรือทำลายเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้
- การชักนำให้พืชมีความต้านทานโรค เชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันระบบรากพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์แข็งแรง ช่วยให้เมล็ดงอกและเจริญเติบโตได้ดี ชักนำให้พืชผลิตสารประเภทเอนไซม์หรือโปรตีน เช่น เพนทิลไพโรน กรดฮาร์เซียนิค กระตุ้นให้เกิดความต้านทานโรคขึ้นภายในพืช

ประโยชน์ของการใช้ไตรโคเดอร์มา
ควบคุม ทำลายหรือยับยั้งเชื้อราในดินสาเหตุโรคพืชทั้งราชั้นสูงและราชั้นต่ำ เช่น
1. ทำลายเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) สาเหตุโรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า โคนเน่า โรคยอดเน่าในพืชไร่ มะเขือเทศ พืชผักชนิดต่างๆ
2. ทำลายเชื้อราไฟทอฟเทอร่า (Phytopthora spp.) สาเหตุโรคราที่ทำให้ผลร่วง ดอกร่วง
ใน ลำใย ลิ้นจี่ โรคดอกรวงในทุเรียน โรครากเน่า-โคนเน่า ใน พริก ทุเรียน ส้ม มะนาว พริกไท แตงโม แตงกวา แตงร้าน มะเขือเทศและโรคเน่าเข้าไส้ในกล้วย ฯลฯ
3. ทำลายเชื้อราสเคอโรเทียม (Sclerotium spp.) สาเหตุโรค โคนเน่า โรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเหี่ยวในพืชผักชนิดต่าง ๆ มะเขือเทศ พืชไร่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง
4. ทำลายเชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) สาเหตุโรคเน่าคอดิน กล้ายุบ กล้าเน่า ทำให้ทุเรียนเป็นโรคใบติด
5. ทำลายเชื้อราคอลเลทโททริกัม (Colletotrichum spp.) สาเหตุโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง องุ่น ฝรั่ง พุทรา ชมพู่ มะละกอ พริก หอมหัวใหญ่ หอมแบ่ง หอมแดง กระเทียม มันฝรั่ง
6. ทำลายเชื้อราอัลเทอนาเรีย (Alternaria spp.) สาเหตุโรคโรคใบจุดเน่าในพืชตระกูลกระหล่ำ เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว กระหล่ำดอก กระหล่ำปลี บรอคโครี่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง พริก
7. ทำลายเชื้อรา ฟิวชาเรียม (Fusarium spp.) สาเหตุโรคใบไหม้ในไม้ผล พืชไร่ พืชผักชนิดต่างๆ ตลอดจนไม้ดอก ไม้ประดับ

วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
- การใช้หว่าน/โรย/ผสมดิน
อัตรา เชื้อสด:รำละเอียด:ปุ๋ยคอก (1:4:100)
วิธีการ
• เตรียมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่เลี้ยงบนปลายข้าวหรือข้าวฟ่าง 1 กิโลกรัม รำข้าวละเอียด 4 กิโลกรัม และปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 100 กิโลกรัม หรือเตรียมปริมาณมากกว่านี้โดยใช้สัดส่วน 1:4:100 โดยน้ำหนัก
• นำเชื้อไตรโคเดอร์มา คลุกเคล้ากับรำข้าวละเอียดให้เข้ากันอย่างทั่วถึง จากนั้นนำส่วนผสมที่ได้ไปผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ คลุกให้เข้ากันอย่างทั่วถึง อาจพรมน้ำให้พอชื้นเพื่อลดการฟุ้งกระจาย
• ส่วนผสมที่ได้สามารถนำไปใช้หว่านหรือโรยลงบนแปลงปลูกพืช โคนต้นพืช หรือผสมกับดินในหลุมปลูก
การใช้ผสมน้ำฉีดพ่น
อัตรา เชื้อสด 1,000 กรัม/น้ำ 200 ลิตร
วิธีการ
นำเชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่เลี้ยงบนปลายข้าว หรือข้าวฟ่างเติมน้ำ พอท่วมตัวเชื้อแล้วขยำเนื้อข้าวให้แตกออกจนได้น้ำเชื้อสีเขียวเข้ม กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ ล้างกากที่เหลือบนกระชอนด้วยน้ำอีกจำนวนหนึ่ง จนเชื้อหลุดจากเมล็ดข้าวหมด นำน้ำเชื้อ ที่กรองได้มาเติมน้ำให้ครบในอัตราเชื้อสด 1,000 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร เมล็ดข้าวที่อยู่บนกระชอน สามารถใช้คลุกกับรำข้าวหรือปุ๋ยอินทรีย์ แล้วนำไปหว่านลงบนแปลงปลูกหรือโคนต้นพืชได้


- การใช้คลุกเมล็ดพันธุ์
อัตรา เชื้อสด1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กิโลกรัม
วิธีการ
ใส่เชื้อ 1-2 ช้อนแกง ลงในถุงพลาสติกที่จะใช้คลุกเมล็ด เติมน้ำ 10 ซีซี แล้วบีบเชื้อสดให้แตกตัว เทเมล็ด 1 กิโลกรัมลงในถุงเขย่าให้เชื้อสดคลุกเคล้าจนติดผิวเมล็ด นำเมล็ดออกผึ่งลมให้แห้งหรือใช้ปลูกทันที

ข้อแนะนำการใช้เชื้อสดไตรโคเดอร์มาตามกลุ่มพืช (แล้วแต่จุดประสงค์ของการใช้งาน)
- ไม้ผล เช่น ส้ม มะนาว ฝรั่ง มะละกอ ทุเรียน ฯลฯ
อัตราการใช้ *รองก้นหลุมก่อนปลูก 50-100 กรัม/หลุม
*หว่านลงดินใต้ทรงพุ่ม 50-100 กรัม/ตารางเมตร
*ฉีดพ่นต้นและผล 1,000 กรัม/น้ำ 200 ลิตร
*ฉีดพ่นลงดิน 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
- พืชผักต่าง ๆ เช่น มะเขือเทศ พริก โหระพา กระเพรา หน่อไม้ฝรั่ง คื่นฉ่าย ตระกูลกระหล่ำ หอมหัวใหญ่ ผักชีฝรั่ง ตระกูลถั่ว ตระกูลแตง กระชาย กระเจี๊ยบเขียว ขิง เผือก ฯลฯ
อัตราการใช้ *ผสมดินโดยใส่ส่วนผสมของ เชื้อสด : ดินปลูก อัตรา 1:4
*คลุกเมล็ดขานาดเล็กใช้เชื้อสด 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กิโลกรัม
*คลุกเมล็ดขนาดใหญ่ใช้เชื้อสด 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กิโลกรัม
*หว่านในแปลงปลูก 50-100 กรัม/ตารางเมตร
*รองก้นหลุมและใส่โคนต้นเป็นโรค 50-100 กรัม/หลุม
*ฉีดพ่นกะบะเพาะกล้าและแปลงปลูกพืช 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
- ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดาวเรือง มะลิ เยอบีร่า ชบา เบญจมาศ ตระกูลฟิโลเดนรอน ตระกูลขิง ซ่อนกลิ่น กล็อกซีเนีย กล้วยไม้ ฯลฯ
อัตราการใช้ *ผสมดินโดยใส่ส่วนผสมของ เชื้อสด : ดินปลูก อัตรา 1:4 โดยปริมาตร
*หว่านในแปลงเพาะกล้า 50-100 กรัม/ตารางเมตร
*โรยในกระถางถุงเพาะ 10-20 กรัม/กระถาง/ถุง
*รองก้นหลุมก่อนปลูก 50-100 กรัม/หลุม
*ฉีดพ่นในกะบะเพาะ แปลงเพาะกล้า แปลงปลูก 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
*ฉีดพ่นในกระถาง ถุงพะกล้า ก่อนย้ายกล้าปลูก 20-50 ซีซี/กระถาง/ถุง/หลุม
- พืชไร่ เช่น ข้าวบาร์เลย์ ทานตะวัน ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ฯลฯ
อัตราการใช้ *คลุกเมล็ดก่อนปลูก 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กิโลกรัม
*อัตราการฉีดพ่น ลงดิน 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร


ข้อแนะนำและข้อควรระวังในการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา
1. ความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์มา อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 คือเป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งเป็นช่วงความเป็นกรดเป็นด่างที่พืชปลูกส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน
2. ควรรดน้ำให้สภาพดินมีความชุ่มชื้น(อย่าให้แฉะ) ในช่วง 7 วันหลังหว่านเชื้อราเพื่อให้เชื้อเจริญเติบโต
3. ควรใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มา ก่อนหรือหลังการหว่านปุ๋ยเคมี 3-5 วัน
4. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชั้นสูง สารเคมีที่ควบคุมได้เฉพาะราชั้นต่ำ เช่น เมตาแลกซิล, ฟอสอิธิล-อลูมิเนียม (อาลีเอท), กรอฟอสโฟลิค (โฟลีอาร์ฟอส) แมนโคเซบ ฯลฯ ไม่เป็นอันตรายต่อเชื้อไตรโคเดอร์มา แต่สารเคมีกลุ่ม เบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ได้แก่ เบนโนมิล (benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึมและใช้ในการป้องกันและกำจัดเชื้อราชั้นสูงจะมีผลต่อการเจริญของเชื้อไตรโคเดอร์มา แต่หาก มีความจำเป็นที่จะต้องฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มเบนซิมิดาโซลลงในดิน ควรจะทิ้งช่วงประมาณ 1 สัปดาห์เป็นอย่างต่ำ จึงสามารถใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาได้
5. เชื้อสดไตรโคเดอร์มาที่เลี้ยงขยายจนเต็มที่สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 1 เดือน
6. เชื้อสดไตรโคเดอร์มากรองเอาน้ำสปอร์ใส่ขวดไว้นั้นถ้ายังไม่ได้ใช้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นไม่เกิน 7 วัน



* 14.jpg (45.06 KB, 600x450 - ดู 4451 ครั้ง.)

* 16.jpg (56.73 KB, 640x480 - ดู 3926 ครั้ง.)

* 15.jpg (41.98 KB, 550x412 - ดู 3966 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #83 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 21:26:21 »

ประเทศฟิลิปปินส์ประเทศผู้นำในด้านการวิจัยข้าว มีสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI)  ฟิลิปปินส์เคยเป็นประเทศที่นำเข้าข้าวมากที่สุดในโลก โดยในปี 2010 ซื้อข้าวมากถึง 2 ล้านเมตริกตัน แต่ก็มีนโยบายลดการนำเข้าข้าวและกำลังหันกลายเป็นผู้ส่งออกแทน แต่เนื่องเป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ มีประชากรเกือบ 95 ล้านคน ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นประเทศที่ประสพภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ทั้งพายุ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด  ส่งผลกระทบในการปลูกข้าวมาตลอด ซึ่งถ้ามองถึงการทำนาบางพื้นที่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบากลองไปดูที่สุด ๆ อย่างบานัว Banaue ข้าวแบบนาขั้นบันไดเป็นสุดยอดหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวของ ฟิลิปปินส์ เป็นที่ที่เจ๋งที่สุดและมีคนเข้าชมมากที่สุดเป็นแหล่งต้นๆของสถานที่ท่องเที่ยวในไม่มีกี่แห่่งของประเทศของเค้านาบันไดแบบโบราณนี้ที่ตั้งใจทำเพื่อยังชีพแต่ไม่มีพื้นที่ราบเพื่อเพาะปลูก ภายหลัีงต่อมากลับกลายเป็นสร้างทัศนียภาพที่สวยงามแบบนี้ยิ่งใหญ่มากว่า 2000 ปีมาแล้วโดยชาว Ifugao ที่น่าแปลกใจคือเค้าสร้างสลักภูเขาทั้งกี่ลูกต่อกี่ลูกด้วยเพียงเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น เช่นหินและไม้ เราเลยรู้ว่าคนโบราณ 2000ปี  ฉลาดและเก่งในทักษะวิศวกรรมการเกษตรแค่ไหน ทั้งหมดที่เห็นนั่นน่ะคือคนพื้นเมืองของชาวฟิลิปปินส์เองที่สร้างความอลังการขึ้นมาบานัว Banaue ข้าวแบบนาขั้นบันได ถูกประกาศเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก (United Nations ศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมองค์กร) ในปี 1995

Banaue นาข้าวขั้นบันได อยู่สูง 5000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลและครอบคลุม 10,360 ตารางกิโลเมตรของเชิงเขาBanaue นาข้าวขั้นบันไดแบบโบราณโดยอาศัยระบบชลประทานที่ซับซ้อนมากๆที่ทำจากหลอดไม้ไผ่ต่อมาจากป่าฝนและต่อมาเรื่อยๆ จนถึงให้น้ำในนาบนภูเขาได้
นาแบบขั้นบันได  ภาษาอังกฤษเรียกว่า rice terrace   การทำนาแบบขั้นบันไดคือการสกัดไหล่เขาให้เป็นชั้น ๆ ลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันได เพื่อช่วยเพิ่มเนื้อที่ในการเพาะปลูก  เป็นการรักษาหน้าดินไม่ให้ถูกชะล้างไป อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำทั้งในแง่การชลประทานโดยการเก็บกักน้ำฝน และยังช่วยป้องกันน้ำท่วมอีกด้วยชนพื้นเมืองดั้งเดิมค่อย ๆ สกัดภูเขาทั้งลูกเป็นขั้นบันไดด้วยสองมือและเครื่องมือพื้นบ้านที่มี  ชาวฟิลิปปินส์ภูมิใจจนยกให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับแปดของโลก


* 536782-img-1.jpg (381.77 KB, 500x415 - ดู 3726 ครั้ง.)

* 536782-img-3.jpg (90.7 KB, 625x500 - ดู 3918 ครั้ง.)

* 536782-img-8.jpg (223.97 KB, 575x700 - ดู 3636 ครั้ง.)

* 536782-img-11.jpg (75.52 KB, 591x446 - ดู 3702 ครั้ง.)

* 536782-topic-ix-8.jpg (55.25 KB, 480x317 - ดู 3746 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #84 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 22:26:39 »

นาขั้นบันได ที่ลาดชันภูเขาใกล้ ๆ เราก็มีครับอย่างทางจีนตอนใต้ มณฑลยูนนานนี่เองครับ







* 1.jpg (68.06 KB, 548x435 - ดู 3600 ครั้ง.)

* 2.jpg (79 KB, 500x332 - ดู 4062 ครั้ง.)

* 3.jpg (239.75 KB, 800x518 - ดู 3454 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 07 มกราคม 2013, 22:30:32 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #85 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 22:43:39 »

‘เดชา ศิริภัทร’ : กระดูกสันหลังของชาติถูกมอมเมาด้วยปุ๋ยเคมีและประชานิยมเกษตร

‘เกษตรอินทรีย์’ บรรจุในแผนพัฒนาประเทศตั้งแต่ปี 40 ยังไม่ขยับ ไปพบคำตอบจาก ‘เดชา ศิริภัทร’ ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ ครูชาวนาผู้ต่อต้านการมอมเมากระดูกสันหลังชาติจากปุ๋ยเคมี-ประชานิยมจำนำข้าว

เกษตรอินทรีย์กับการ “ปรับสมดุลธรรมชาติ”

“เป้าหมายหลักของเกษตรอินทรีย์ไมใช่แค่การปลูกพืชปลอดสารพิษ คุณภาพดี ขายได้ราคาแพง  อินทรีย์แปลว่ามีชีวิต เกษตรอินทรีย์คือการใช้สิ่งมีชีวิตเป็นตัวตั้ง เช่น ปุ๋ย ก็ต้องปุ๋ยอินทรีย์ ทุกอย่างต้องมาจากธรรมชาติ  เราเคารพธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาติอย่างสอดคล้อง โดยไม่เอาเปรียบ ไม่ทำลาย” ‘เดชา ศิริภัทร’ หรือ ‘อาจารย์เดชา’ ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนชาวนา จ.สุพรรณบุรี เริ่มการสนทนาด้วยการอธิบายว่าหลักสำคัญที่แท้จริงของเกษตรอินทรีย์คืออะไร

อย่างไรก็ดียังมีเกษตรอินทรีย์ที่ ‘เพี้ยน’ จากหลักการ เช่น การใช้สมุนไพรฉีดฆ่าแมลงทุกตัวทั้งแมลงดีและแมลงไม่ดี(ศัตรูพืช) แม้จะเป็นสารธรรมชาติแต่ก็อยู่ร่วมกับธรรมชาติไม่ได้เพราะทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล เช่น ฉีดสมุนไพรบางอย่างอาจไปฆ่าแมงมุมซึ่งเป็นแมลงดีที่ช่วยกินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เกษตรกรอินทรีย์จริงๆจะต้องเป็นเพียงผู้ช่วยหรือนักจัดการระบบธรรมชาติให้สมดุล

“เช่น หอยเชอร์รี่ศัตรูต้นข้าว ชาวนาทั่วไปก็เอายาเคมีไปฆ่ามัน แต่ศึกษาให้ดีจะรู้ว่าหอยพวกนี้มีศัตรูคือเป็ด  แค่เลี้ยงเป็ดมาปล่อยในนาข้าว มันก็จะกินหอยเชอร์รี่โดยที่เราไม่ต้องทำอะไร หรือถ้าจะใช้สมุนไพรกำจัดแมลงก็ต้องใช้ที่เป็นตัวคุมจำนวนไม่ใช่ตัวฆ่า  เช่น ใช้สารสะเดาฉีดไปที่พืชถึงจะโดนแมลงก็ไม่ตายเพราะไม่ใช่สารฆ่าแมลง แต่สะเดาจะถูกดูดซึมไปในต้นพืช เมื่อแมลงศัตรูพืชกินพืชต้นนั้น ก็จะได้รับสารสะเดาที่ทำหน้าที่คล้ายๆกับฮอร์โมนควบคุมการลอกคราบเข้าไป พอมันลอกคราบไม่ได้ มันก็ตายและลดจำนวนลง”

อ.เดชา บอกว่าการฆ่าต้องเป็นการฆ่าเพื่อความสมดุลและการดำรงอยู่ของอีกสิ่งตามธรรมชาติ ไม่ใช่ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดฆ่าหมดทั้งแมลงดีและร้ายอย่างระบบเคมี ซึ่งนอกจากจะทำให้ชาวนาได้รับสารพิษ ผลผลิตไม่ปลอดภัยอันตรายต่อผู้บริโภคแล้ว ยังถือเป็นการแทรกแซงธรรมชาติที่ร้ายแรงด้วย

“พันธุ์ข้าวเคมี” รูปธรรมความไม่จริงใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
การทำเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะการปลูกข้าวจะอาศัยเพียงการไม่ใช่ปุ๋ยเคมีไม่ได้ เนื่องจากพันธุ์ข้าวที่มีอยู่ในท้องตลาดปัจจุบันเป็นพันธุ์ข้าวของรัฐบาลโดยกรมการข้าวและบริษัทเอกชน ซึ่งพัฒนาพันธุ์จากระบบการใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้นพันธุ์ข้าวเช่นนี้จะไม่เข้ากับระบบเกษตรอินทรีย์คือไม่งอกงาม ให้ผลผลิตต่ำและเป็นโรค

“การพัฒนาและผสมพันธุ์ข้าวของรัฐและเอกชนเป็นการส่งเสริมการใช้เคมี เพราะเชื่อว่าการจะได้ผลผลิตสูงๆต้องไปแทรกแซงธรรมชาติเพราะเอกชนต้องการกำไร ขณะที่กรมการข้าวก็ไม่อยากให้ชาวบ้านทำพันธุ์เอง เพราะกลัวไม่มีมาตรฐานและจะจัดการลำบาก ความคิดเราไม่เหมือนกัน ฉะนั้นที่ผ่านมาเขาจึงปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้เติบโตได้ดีเฉพาะเมื่อใช้คู่กับยาฆ่าแมลง  เช่น เอาพันธุ์ ก กับ ข ผสมกัน กว่าจะได้ลูกที่ออกมาเป็นพันธุ์แท้ไม่กลายพันธุ์ ต้องปลูกประมาณ 8 ฤดูกาล  ถ้าเขาต้องการให้ได้พันธุ์ข้าวที่เหมาะกับปุ๋ยเคมี เขาก็เอาปุ๋ยเคมีใส่ไปตั้งแต่การปลูกในฤดูแรก ต้นไหนพอใส่ปุ๋ยเคมีแล้วไม่ได้ผลผลิตหรือเป็นโรคก็คัดออก เหลือไว้แต่ต้นที่เข้ากับยาเคมี คือ งอกงาม เมล็ดสวย ก็คัดไว้ปลูกต่อฤดูต่อไป ทำอย่างนี้ไล่ไปจนครบ 8 ฤดู สุดท้ายก็เหลือแต่ต้นที่ชอบปุ๋ยเคมีหมด ได้พันธุ์ที่เสถียร แล้วเอาไปแจกจ่ายให้ชาวนา”

ในทางกลับกันหากต้องการผสมพันธุ์ข้าวให้สอดคล้องกับหลักเกษตรอินทรีย์ ก็ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ต้นข้าวในทุกฤดูกาลการผสมแทน จนสุดท้ายเหลือแต่ต้นที่งอกงามดีกับการใช้สารอินทรีย์เช่นกัน

อ.เดชากล่าวว่า การพัฒนาพันธุ์ข้าวด้วยวิธีเคมีของรัฐและเอกชนดังที่กล่าวมาเป็นอุปสรรคสำคัญขัดขวางแนวทางเกษตรอินทรีย์ซึ่งบรรจุเป็นวาระชาติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวทางเกษตรอินทรีย์ไม่เคยได้รับการส่งเสริมอย่างจริงดังที่ประกาศไว้ เพราะแม้แต่พันธุ์ข้าวที่รัฐผลิตให้ชาวนาใช้ก็ยังเป็นพันธุ์ข้าวเคมี

อย่างไรก็ดีสำหรับเกษตรกรที่อยากปลูกข้าวอินทรีย์แต่ไม่มีพันธุ์และผสมเองไม่ได้ อ.เดชา แนะวิธีง่ายๆโดยการนำพันธุ์ข้าวเคมีมา “ดัดนิสัย” ดังนี้ นำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวกล้องแล้วคัดให้เหลือแต่เมล็ดที่สมบูรณ์ที่สุดไปเพาะเป็นต้นกล้าปลูกไว้สัก 100 ต้น โดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมีแต่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้แทนแล้วเลือกต้นที่ให้ผลผลิตดี ไม่มีโรคไว้ 5 ต้น แล้วเอาข้าวเปลือกที่ได้จาก 5 ต้นนี้ไปสีเป็นข้าวกล้องใหม่ ทำซ้ำกระบวนการเดิมสัก 3 ฤดู ก็จะได้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับการปลูกแบบอินทรีย์ โดยแถมท้ายว่าทางที่ดีชาวนาจะต้องทดลองปลูกในผืนดินของตนเอง เพื่อให้การดัดนิสัยพันธุ์เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่นั้นๆได้จริง

 ‘ชัยพร พรหมพันธุ์’ เกษตรกรดีเด่นสาขาทำนา ปี 2538 ลูกศิษย์มูลนิธิข้าวขวัญ คือ ตัวอย่างชาวนาที่ประสบความสำเร็จจากการทำนาปลอดสารพิษ อ.เดชาเล่าว่า แม้คุณชัยพรไม่ได้ทำนาอินทรีย์เต็มรูปแบบ เพราะยังใช้ยาคุมหญ้าในการทำนาหว่านที่วัชพืชมักจะขึ้นเบียดต้นกล้าจำนวนมาก แต่สารที่ใช้ก็สลายไปใน 7 วันจนไม่เหลือตกค้าง  โดยกระบวนการทำนาที่เหลือก็ยังไม่ใช้สารเคมีตามวิถีเกษตรอินทรีย์

“เดิมคุณชัยพร มีที่นา 25 ไร่ พอหันมาทำนาอินทรีย์ แกซื้อที่ดินเพิ่มได้อีก 90 ไร่ เป็น 115 ไร่  และได้กำไรเกินล้านทุกปี แม้ว่าข้าวจะราคาตกเหลือตันละ 4,000  ก็ยังได้กำไร เพราะต้นทุนต่ำเพียงตันละ 3,000 บาท ไม่ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ยเคมีมาฉีด ผลผลิตที่ได้ยังเท่าหรือมากกว่าการปลูกข้าวเคมี ขณะที่ชาวนารอบๆมีแต่ขายนาไม่ได้ซื้อนา เพราะใช้ปุ๋ย ใช้ยาเคมีมาก ต้นทุนเลยสูงตันละ 6,000 – 7,000 สุขภาพก็ไม่ดี “

อย่างไรก็ดีแม้ชาวนาจะเข้ามาอบรมการทำเกษตรอินทรีย์จากอ.เดชามากมายและ ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จจากคุณชัยพร แต่ประธานมูลนิธิข้าวขวัญกลับบอกว่ากว่า 20 ปีที่ส่งเสริมเรื่องนี้มา แม้แต่ชาวนาข้างบ้านก็ยังไม่ทำ โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า “ทำใจไม่ได้ที่ต้องเลิกใช้ปุ๋ยใช้ยา ให้เปลี่ยนศาสนายังง่ายกว่าเลย”

ประชานิยมรัฐบาลสวนทางวาระชาติเกษตรอินทรีย์ –ส่งเสริมเคมีช่วยเอกชน

อ.เดชา มองว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวนาไม่สามารถหลุดพ้นวังวนการใช้สารเคมีเร่งปลูกข้าว เพราะถูกมอมเมาจากการโฆษณาปุ๋ยที่แพร่หลาย รัฐไม่ห้ามโฆษณาเหมือนประเทศอื่น นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการที่รัฐบาลไม่เก็บภาษีนำเข้าปุ๋ยเคมีตั้งแต่ปี 34  ซึ่งร้อยละ 90 ของปุ๋ยเคมีที่ใช้ในไทยนำเข้าจากต่างประเทศ โดยพบว่าไทยเป็นประเทศที่ใช้ปุ๋ยเคมีมากเป็นอันดับ 5 ในโลก ขณะที่มีพื้นที่ประเทศใหญ่เพียงอันดับที่ 48 ของโลก  โดยคิดเป็นสัดส่วนการใช้ปุ๋ยและยาเคมีมากกว่าประเทศอื่นโดยเฉลี่ยเกือบ 10 เท่า 

“ตั้งแต่ประกาศเป็นวาระชาติมา 15 ปี ก็ยังไม่มีรัฐบาลไหนสนใจขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์จริงจัง  ปี 2547 รัฐบาลทักษิณ เคยระบุว่าจะขับเคลื่อนแนวทางเกษตรอินทรีย์ โดยภายใน 4 ปีจะทำให้มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 2 ล้านไร่ และจะลดการนำเข้าสารเคมีเกษตรให้ได้ร้อยละ 50 แต่ ในปี 2551 พื้นที่เกษตรอินทรีย์กลับมีไม่ถึง 1 แสนไร่ จนถึงป่านนี้ก็ยังไม่ถึง 2 แสนไร่ มิหนำซ้ำการนำเข้าปุ๋ยยังเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนถึง 100 เปอร์เซ็นต์”

ที่ผ่านมาได้มีความพยายามผลักดันให้เก็บภาษีนำเข้าปุ๋ยเคมี นำเงินที่ได้ไปตั้งกองทุนส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้งห้ามโฆษณาขายปุ๋ย ในยุครัฐบาลทักษิณ(ปี 2543) และรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ แต่ก็ไม่ประสบผล แม้จะมีการทำประชาพิจารณ์ผ่านทั้ง 2 ครั้งแล้ว เรื่องดังกล่าวก็ไม่ถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี  เพราะมีการเอื้อประโยชน์ระหว่างบริษัทปุ๋ยและฝ่ายการเมือง

 “ถามว่ารัฐบาลมีมาตรการอะไรในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์  เก็บภาษีปุ๋ยไหม ก็ไม่เก็บ จำกัดปริมาณนำเข้าไหม ก็ไม่จำกัดห้ามโฆษณาไหม ก็ไม่ห้าม มีกองทุนที่จะส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ไหม ก็ไม่มี แล้วจะมาพูดว่าส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร เกษตรกรจึงถูกมอมเมา และจนลงๆ”

โครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาลปัจจุบันที่นอกจากผลประโยชน์จะไม่ตกถึงมือชาวนาส่วนใหญ่ที่ยากจนเพราะไม่มีข้าวเหลือไว้ขายมากเท่าชาวนาที่ร่ำรวยแล้ว ยังทำลายระบบเกษตรอินทรีย์ด้วยการตั้งราคาข้าวหอมมะลิเคมีให้สูงกว่าข้าวอินทรีย์ที่ตันละ 20,000 ขณะที่ข้าวอินทรีย์ขายได้ตันละ 17,000 บาท จึงไม่จูงใจให้ทำนาอินทรีย์เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องลงแรง(ด้วยวิธีปักดำ)มากกว่า

“มีสักคำไหมที่บอกว่าถ้าปลูกข้าวอินทรีย์จะให้ราคาแพงกว่าข้าวเคมี รัฐบาลใช้เงินเป็นแสนล้านแต่ไม่มีสักคำเดียวที่จะพูดถึงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์” ประธานมูลนิธิขวัญข้าวบอกว่านั่นยิ่งทำให้ชาวนาเร่งใช้ปุ๋ยใช้ยาเคมี เป็นเหตุให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นๆ

“สุดท้ายชาวนาต้องไปหวังพึ่งรัฐบาลให้ช่วยรับซื้อราคาแพงๆ  เพราะตัวเองลดต้นทุนปุ๋ยไม่ได้อยู่แล้ว ถ้ารัฐบาลไม่ช่วยก็ต้องขาดทุน แต่ถามว่ารัฐบาลจะกู้เงินเป็นแสนล้านมาช่วยได้กี่ฤดู ยิ่งไปกว่านั้นพอเปิดเสรีอาเซียนข้าวทุกสารทิศจะเข้ามาแบบเสรี รัฐบาลจะรับภาระไหวไหม เรามีอะไรไปแข่งขันกับเขา ข้าวเวียดนามต้นทุนตันละ 4,000 บาท ไทยเรา 7,000 บาท เพราะเขาไม่ได้ใช้ปุ๋ยบ้าเลือดแบบเรา ถ้ารัฐบาลจะส่งเสริมให้แข่งขันได้จริงก็ต้องให้ทำแบบคุณชัยพรนี่ถึงจะสู้เขาได้”

สุดท้ายเมื่อถามถึงสิ่งที่รัฐบาลควรทำ ครูชาวนาตอบว่า “ไม่ต้องทำอะไรเลย ขอแค่อยู่เฉยๆและเลิกมอมเมาชาวนาด้วยปุ๋ยด้วยยาเคมีก็พอ”  เพราะเมื่อเลิกใช้เคมี ต้นทุนจะต่ำ ผลผลิตก็ดี สามารถแข่งขันกับใครที่ไหนก็ได้ในโลก แต่เชื่อว่าไม่ว่ารัฐบาลไหนๆก็ควบคุมการใช้และโฆษณาปุ๋ยเคมีได้ยาก เพราะนอกจากจะได้ประโยชน์จากบริษัทปุ๋ยแล้ว การทำให้ชาวนาพึ่งตนเองและพึ่งธรรมชาติไม่ได้ ประชานิยมมากมายที่คิดออกมาเพื่อสร้างฐานคะแนนนิยมก็จะยิ่งได้ผล

“ถ้าชาวนาทำเกษตรอินทรีย์แล้วรวย ช่วยตัวเองได้ รัฐบาลจะเอาประชานิยมที่ไหนมาล่อใจให้เลือก”

………………

แม้ว่าหนทางส่งเสริมเกษตรอินทรีย์โดยภาครัฐจะไม่เคยสว่างไสวดังที่ประกาศไว้ใหญ่โตในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ ‘เดชา ศิริภัทร’ มองว่าชาวนาสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตตนด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ได้ง่ายๆ แค่เพียงเปลี่ยนความคิดหันมาพึ่งพาตนอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติเพื่อความยั่งยืน .



* 6.jpg (89.48 KB, 440x280 - ดู 3417 ครั้ง.)

* 7.jpg (150.44 KB, 440x280 - ดู 3326 ครั้ง.)

* 8.jpg (111.71 KB, 440x280 - ดู 3326 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #86 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 14:00:48 »

จุดเปลี่ยน! ชาวนาเวียดนามเลิกใช้ยาฆ่าแมลง หันไปใช้แตนเบียน...ดีอย่างไร ?

ต้นข้าวในนาที่แห้งตายเป็นหย่อมๆ สีน้ำตาลเป็นสัญญาณว่านาข้าวกำลังเจอการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ศัตรูข้าวที่ชาวนาทั่วทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หวั่นกลัว ปีหนึ่ง ๆ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายนาข้าวจำนวนมหาศาลทั่วทั้งทวีป แมลงดูดกินน้ำเลี้ยงต้นข้าวจนต้นข้้าวเหี่ยวเฉาและแห้งตายในที่สุด นอกจากนี้แมลงนี้ยังเป็นพาหะแพร่เชื้อไวรัสสู่ต้นข้าวอีกด้วยทำให้ผลผลิตข้าวลดลง
 
ในแต่ละปีนาข้าวในเวียดนามหลายพันไร่เสียหายจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ชาวนาเวียดนามทางใต้ของประเทศเลือกใช้วิธีกำจัดเพลี้ยโดยไม่ใช้สารเคมีอันตราย นี่คือ จุดเปลี่ยนที่สำคัญ 

ปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลรุนแรงในเวียดนาม ประเทศผู้ส่งออกข้าวใหญ่อันดับสองของโลกรองจากประเทศไทย

เคเอล ฮอง นักนิเวศวิทยา กล่าวว่าจริงๆแล้วการใช้ยาฆ่าแมลงผิดหลักการเป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของเพลี้ยศัตรูข้าว

ฮองกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าชาวนาเวียดนามฉีดยาฆ่าแมลงผิดช่วงเวลาและใช้สารเคมีไม่ถูกชนิด ทำให้ไปฆ่าแมลงชนิดอื่นๆที่เป็นตัวช่วยทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อาทิ แมงมุม ทำให้จำนวนของเพลี้ยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ดี ชาวนาในจังหวัดอานเจียงทางใต้ของเวียดนามได้เลิกใช้ยาฆ่าแมลง แล้วหันไปใช้วิธีธรรมชาติในการป้องกันแมลงในนาข้าว

เกือบ 10 เดือนที่แล้ว เจ้าหน้าที่ราชการในท้องถิ่นเริ่มส่งเสริมให้ชาวนาปลูกดอกไม้พันธุ์ท้องถิ่นบนคันนา ดอกไม้ต้องมีดอกสีเหลืองหรือไม่ก็สีขาวและมีเกสรมากเพื่อล่อแตนเบียน เป็นแมลงสายพันธุ์ใกล้เคียงกับผึ้ง สามารถเป็นตัวควบคุมจำนวนประชากรของแมลงชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะแมลงที่เป็นศัตรูพืชและแมลงที่เป็นพาหะนำโรค

แตนเบียนที่โตเต็มวัยจะดูดน้ำหวานจากเกสรดอกไม้แล้ววางไข่บนไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำให้ไข่เพลี้ยตายในที่สุด โครงการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคใต้ของเวียดนามเพิ่งเริ่มต้น   แต่ได้รับการตอบรับจากชาวนาท้องถิ่นเป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าทางการแจกดอกไม้ให้ชาวนานำไปปลูกตามคันนาฟรี

ฮอง กล่าวว่า ชาวนาเวียดนามชอบโครงการนี้มากเพราะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพ่นยาฆ่าแมลงประมาณ 30-50 ดอลล่าร์สหรัฐหรือ 900-1,500 บาทต่อพื้นที่หกไร่สองงาน

โรเบิร์ต เซเกล่อร์ ผู้อำนวยการองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ เอฟเอโอประจำกรุงเทพเรียกร้องในงานประชุมที่กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้ให้ทางการเวียดนามควบคุมการขายยาฆ่าแมลงให้เข้มงวดขึ้น

โรเบิร์ต เซเกล่อร์ ผู้อำนวยการเอฟเอโอประจำที่กรุงเทพกล่าวว่า ในเวียดนาม ยาฆ่าแมลงวางขายกันเกลื่อนปะปนกับสินค้าอุปโภคเหมือนกับขายแชมพูสระผมทั้งๆที่เป็นสารเคมีอันตรายที่ต้องควบคุมมาตราการทางการตลาด ผู้ผลิตและผู้ขายใช้ผลประโยชน์มากมายล่อให้ชาวนาซื้อยาฆ่าแมลง มาตราการทางการตลาดแบบนี้ ซึ่งเรื่องนี้ เซเกล่อร์ บอกว่า ผิดต่อกฏเกณฑ์การปฏิบัติทั่วไปของเอฟเอโอ

รัฐบาลหลายชาติในลุ่มน้ำโขงได้ออกมาตราการควบคุมยาฆ่าแมลง ทางการไทยประกาศห้ามใช้ยาฆ่าแมลงสองชนิดคือ abamectin กับ cypermethrin เมื่อกลางปี 2554  2554 และทางการเวียดนามสั่งเลิกใช้ยาฆ่าแมลงสามชนิดเมื่อเร็วๆนี้

ทางการเวียดนามวางแผนสำรวจความสำเร็จของโครงการกำจัดเพลี้ยนาข้าวในที่จังหวัดอานเจียงในภาคใต้ภายในอีกสามเดือนข้างหน้า แม้จะยังไม่รู้ผลแน่ชัดแต่ทางการพบว่าตั้งแต่เริ่มโครงการนี้มาหลายเดือน ยังไม่มีเกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลขึ้นในพื้นที่

จัน คีเตลล่า แห่งเอฟเอโอที่กรุงเทพ กล่าวว่า โครงการกำจัดแมลงทางเลือกในเวียดนามนี้ยังมีขนาดเล็กอยู่ ทางการเวียดนามจะต้องพยายามขยายโครงการออกไปในระดับชาติและจะเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นเพื่อให้ทำงานนี้อย่างจริงจัง

นักวิจัยผู้ศึกษาพฤติกรรมของแตนเบียน กล่าวว่า แตนเบียนจัดเป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับผึ้ง ต่อ แตน ด้วยลักษณะการดำรงชีวิตของแตนเบียนชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายต่อคน แต่กลับเป็นเพชฌฆาตที่ร้ายกาจ ของแมลงศัตรูพืช ด้วยพฤติกรรมการวางไข่ไว้ในแมลงศัตรูพืช และใช้น้ำเลี้ยงภายในตัวแมลงเป็นอาหารสำหรับการเจริญเติบโต และทำให้แมลง ศัตรูพืชตายในที่สุด ทั้งนี้แตนเบียนในประเทศไทยมีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรูต่างชนิดกัน
 
“แตนเบียนที่ทำหน้าที่กำจัดแมลงศัตรูพืช คือ แตนเบียนเพศเมีย โดยอาวุธที่ร้ายกาจ คืออวัยวะวางไข่เรียวยาว ปลายแหลม คล้ายฉมวกขนาดจิ๋ว สำหรับแทงและวางไข่ในตัวหนอนแมลงวันผลไม้ ทั้งนี้แตนเบียนเพศเมียสามารถค้นหาเป้าหมายในการวางไข่ได้จากการรับกลิ่นสารเคมีที่ผลิตจากปฏิกิริยาการสุกเน่าของผลไม้ และเสียงสั่นจากการเคลื่อนไหวของแมลงศัตรูพืช โดยแตนเบียนแต่ละตัวสามารถวางไข่ได้ตลอดชีวิตประมาณ 100 ฟอง จึงสามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้เป็นจำนวนมาก และเนื่องจากแตนเบียนเป็นแมลงที่มีความพิเศษคือมีไข่ที่สามารถฟักเป็นตัวอ่อนได้โดยไม่ต้องรับการผสมจากตัวผู้ ซึ่งไข่ที่ไม่ได้รับการผสมนี้จะให้ตัวอ่อนแตนเบียนเพศผู้ ในขณะที่ไข่ที่ได้รับการผสมจะได้ตัวอ่อนแตนเบียนเพศเมีย ดังนั้นปัญหาที่พบคือ จำนวนตัวอ่อนที่เกิดขึ้นเป็นเพศผู้เสียส่วนใหญ่ เนื่องจากแตนเบียนเพศเมียจะมุ่งเน้นการวางไข่มากกว่าการผสมพันธุ์กับเพศผู้”




* pic-1-flower-along-irrigati.gif (142.97 KB, 600x338 - ดู 3297 ครั้ง.)

* 1.jpg (29.97 KB, 448x358 - ดู 4218 ครั้ง.)

* supoj.jpg (28.23 KB, 450x617 - ดู 3621 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #87 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 15:04:03 »

การขาดไนโตรเจน (Nitrogen deficiency)

        ในพืชทั่วไป ไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโน (Amino acids) กรดนิวคลีอิก (Nucleic acids) นิวคลีโอไทล์ (Nucleotile) และคลอโรฟิลล์ ไนโตรเจนช่วยในการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มขนาดใบ เพิ่มจำนวนเมล็ดต่อรวง เพิ่มจำนวนเมล็ดดีต่อรวง และเพิ่มปริมาณโปรตีนในเมล็ด

ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่พบว่าขาดในนาข้าวทั่วไป โดยเฉพาะในนาดินทรายที่มีระดับอินทรียวัตถุต่ำเช่นที่พบทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยข้าวที่ขาดไนโตรเจนจะมีใบแก่หรือบางครั้งใบทั้งหมดเป็นสีเขียวอ่อน ปลายใบเหลือง ถ้าขาดรุนแรงใบแก่จะตายเหลือเพียงใบอ่อน ใบแคบ สั้นและตั้งตรง มีสีเขียวปนเหลือง การขาดไนโตรเจนมักเกิดในระยะข้าวแตกกอและระยะกำเนิดช่อดอก ซึ่งเป็นระยะที่ข้าวมีความต้องการไนโตรเจนสูง การขาดไนโตรเจนส่งผลให้การแตกกอลดลง ต้นข้าวแคระแกรน แตกกอน้อย มีเมล็ดดีต่อรวงลดลงทำให้ผลผลิตข้าวลดลง อาการขาดไนโตรเจนจะคล้ายกับอาการขาดกำมะถัน แต่การขาดกำมะถันจะไม่พบบ่อยนักและมักแสดงอาการที่ใบอ่อนก่อนจะลามไปทั้งต้น การขาดไนโตรเจนเล็กน้อยยังคล้ายกับการขาดธาตุเหล็ก ต่างกันที่การขาดธาตุเหล็กจะเกิดกับใบอ่อนที่กำลังจะพ้นกาบใบออกมา

        สาเหตุของการขาดไนโตรเจนในข้าวเกิดจากดินนามีระดับไนโตรเจนต่ำ การใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ดินขาดน้ำ การใส่ปุ๋ยด้วยวิธีการและเวลาที่ไม่เหมาะสม การสูญเสียไนโตรเจนไปกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยว รวมทั้งการที่ดินมีการสูญเสียไนโตรเจนจากขบวนการต่างๆ (Volatilization, Denitrification, การถูกชะล้างสู่ดินชั้นล่าง) สูง

        การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดไนโตรเจนในข้าวสามารถทำได้โดย

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่ข้าว เป็นวิธีการที่รวดเร็วที่สุด โดยข้าวจะตอบสนองต่อปุ๋ยที่ใส่โดยมีใบเขียวขึ้น มีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นหลังจากใส่ปุ๋ย 2–3 วัน อย่างไรก็ตามการตอบสนองนี้จะขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว ชนิดดิน สภาพภูมิอากาศ ชนิดปุ๋ยและปริมาณที่ใช้ รวมทั้งเวลาและวิธีการที่ใส่

การใช้วัสดุอินทรีย์ เช่นปุ๋ยพืชสด มูลสัตว์ ฟางข้าว เป็นต้น ในการเพิ่มระดับอินทรียวัตถุและความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในดินในระยะยาว

ปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนโดยใส่วัสดุที่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation Exchange Capapcity - CEC) สูง เช่น Zeolite (CEC 200-300 cmol/ดิน 1 กก.), Vermiculite (CEC 100-200 cmol/ดิน 1 กก.)






* 3.jpg (47.89 KB, 304x200 - ดู 3259 ครั้ง.)

* 4.jpg (28.98 KB, 130x200 - ดู 3250 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #88 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 15:06:12 »

การขาดฟอสฟอรัส (Phosphorus deficiency)

        ฟอสฟอรัส (P) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ Adenosine triphosphate (ATP) นิวคลีโอไทล์ (Nucleotile) กรดนิวคลีอิก (Nucleic acids) และฟอสโฟไลปิด (Phospholipid) ฟอสฟอรัสจะช่วยในการแตกกอ การพัฒนาของราก การออกดอกและการสุกแก่ของข้าว ปุ๋ยฟอสเฟตจะจำเป็นมากสำหรับข้าวที่ระบบรากยังไม่พัฒนาเต็มที่ เช่นหลังการปักดำใหม่ๆ ดังนั้นจึงควรใส่ปุ๋ยฟอสเฟตเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนการปักดำหรือในวันปักดำ

        ข้าวที่ขาดฟอสฟอรัสจะแคระแกรน การแตกกอน้อย ใบแคบ สั้น ตั้งตรงและมีสีเขียวเข้ม ลำต้นผอมเรียว ข้าวจะชะงักการเจริญเติบโต จำนวนใบ จำนวนรวงและจำนวนเมล็ดต่อรวงลดลง ใบอ่อนสมบูรณ์ดีแต่ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและตายในที่สุด ถ้าพันธุ์ข้าวที่ปลูกสามารถผลิต Anthocyanin ได้ใบอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วง ในดินที่เป็นกรดการขาดฟอสฟอรัสมักจะเกิดร่วมกับเหล็กเป็นพิษ

สาเหตุของการขาดฟอสฟอรัสเกิดจากการมีระดับฟอสฟอรัสในดินนาต่ำหรือถูกตรึงโดยดินจนพืชนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ (จะเกิดในดินที่เป็นกรดจัด) การใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช วิธีการปลูกแบบนาหว่านมีโอกาสทำให้ข้าวขาดฟอสฟอรัสมากกว่าปลูกแบบปักดำ เพราะต้นข้าวจะหนาแน่นกว่าและมีรากตื้นกว่าข้าวที่ปลูกแบบปักดำ

การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดฟอสฟอรัสสามารถทำได้โดย

ควรไถกลบฟางข้าวลงในแปลง เพราะถึงแม้ว่าปริมาณฟอสฟอรัสในฟางข้าวจะมีน้อย แต่จะช่วยรักษาระดับฟอสฟอรัสในดินในระยะยาว

ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต


* Rice22.png (48.72 KB, 302x200 - ดู 3551 ครั้ง.)

* Rice24.png (20.56 KB, 131x200 - ดู 3216 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #89 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 15:08:44 »

การขาดโพแทสเซียม (Potassium deficiency)     

โพแทสเซียม (K) มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายสารอาหารหรือผลผลิตจากการสังเคราะห์แสง ในพืช โพแทสเซียมจะช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง เพิ่มพื้นที่ใบและปริมาณคลอโรฟิลล์ ชะลอการร่วงของใบ ช่วยเพิ่มจำนวนเมล็ดและจำนวนเมล็ดดีต่อรวง เพิ่มน้ำหนักเมล็ด แต่ไม่ช่วยในการแตกกอ

        ข้าวที่ขาดโพแทสเซียมต้นจะแคระแกรน การแตกกอลดลง ใบสั้น เหี่ยวแห้ง ใบโน้มลง (Droopy) และมีสีเขียวเข้ม ใบล่างจะมีปลายใบสีน้ำตาลเหลือง มีสีเหลืองระหว่างเส้นใบโดยเริ่มจากปลายใบและขอบใบแล้วค่อยๆ ลุกลามสู่โคนใบในที่สุด ต่อมาใบจะแห้งและกลายเป็นสีน้ำตาล ถ้าการขาดรุนแรงมากขึ้นบางครั้งจะมีจุดประสีน้ำตาลบนใบที่เป็นสีเขียวเข้มโดยเริ่มที่ปลายใบก่อนจะขยายสู่ส่วนอื่นๆ ของใบ รวงข้าวจะผอมยาว อาจมีจุดด่าง ขนาดและน้ำหนักของเมล็ดลดลง การหักล้มสูง มักจะเกิดในระยะหลังของการเจริญเติบโต อาการขาดโพแทสเซียมนี้อาจสังเกตเห็นได้ยากในข้าวทั่วไป

        สาเหตุของการขาดโพแทสเซียมเกิดจากการปลูกข้าวในดินทรายหรือดินที่มีปริมาณดินเหนียวต่ำ มีธาตุโพแทสเซียมในดินต่ำหรือไม่อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ หรือดินที่มีการชะล้างสูง นอกจากนี้อาจพบอาการขาดโพแทสเซียมในดินอินทรีย์ เช่นดินพีท (Peat) ดินมัก (Muck)

การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดโพแทสเซียมสามารถทำได้โดย

ควรไถกลบฟางข้าวลงในแปลง เพราะถึงแม้ว่าปริมาณโพแทสเซียมในฟางข้าวจะมีน้อย แต่จะช่วยรักษาระดับโพแทสเซียมในดินในระยะยาว

ใส่ปุ๋ยโพแทซ ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต



* Rice32.png (47.58 KB, 303x200 - ดู 3305 ครั้ง.)

* Rice36.png (50.63 KB, 309x200 - ดู 3436 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #90 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 15:13:37 »

การขาดแมกนีเซียม (Magnesium deficiency)

        แมกนีเซียม (Mg) ช่วยในการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด เป็นองค์ประกอบหนึ่งของคลอโรฟิลล์จึงมีส่วนในการสังเคราะห์แสง และการสังเคราะห์โปรตีนด้วย แมกนีเซียมเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย อาการขาดจึงมักเกิดกับใบแก่ก่อน ต้นข้าวที่ขาดแมกนีเซียมจะมีอาการคล้ายการขาดโพแทสเซียม คือจะมีสีซีด พื้นที่ระหว่างเส้นใบจะเป็นสีเขียวซีด โดยจะเกิดกับใบแก่ก่อนและเมื่อขาดมากขึ้นจะลามมาถึงใบอ่อน ในกรณีที่ขาดรุนแรงใบแก่ของข้าวจะกลายเป็นสีเหลือง ข้าวมีการแตกกอ จำนวนใบและขนาดใบปกติ แต่ใบจะบิดไปมาและโน้มลง (Droopy) ข้าวจะมีจำนวนและน้ำหนักเมล็ดลดลง คุณภาพเมล็ดไม่ดี การขาดแมกนีเซียมมักพบในดินที่เป็นกรดและมี CEC ต่ำ และดินทรายที่มีอัตราการซึมน้ำและการชะล้างสูง

สาเหตุของการขาดแมกนีเซียมเกิดจากดินมีปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ไม่เพียงพอต่อการเจริญ
เติบโตของข้าว การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดแมกนีเซียมสามารถทำได้โดยใส่ปุ๋ยแมกนีเซียม ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต



* Rice42.png (29.15 KB, 195x300 - ดู 4595 ครั้ง.)

* Rice43.png (22.37 KB, 140x300 - ดู 3209 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #91 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 15:59:48 »

หอยเชอรี่ศัตรูร้ายสำหรับนาข้าวโดยเฉพาะในระยะกล้า  ในการกำจัดหอยเชอรี่ในบ้านเรา ชาวนานิยมใช้กากชาหว่านเพื่อกำจัดหอยเชอรี่เพราะปลอดภัยกับผู้ใช้ แต่ชาวนาบางคนอาจใช้พวกสารเคมีพวกยาฆ่าแมลงแทนซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผู้ใช้ด้วย ลองมาดูกันว่ากากชาคืออะไร

ซาโปนิน (กากชา) สารกำจัดหอยเชอรี่ ชื่อสามัญของสารออกฤทธิ์ คือ ซาโปนิน ออกฤทธิ์ฆ่าหอยได้รวดเร็วภายใน 2-3ชม. สามารถใช้กำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าว ทั้งประเภท นาดำ นาหว่าน หรือใช้เพื่อกำจัดหอยชนิดอื่นๆ เช่นหอยทาก หอยหมายเลข หนึ่งที่เข้าทำลายกัดกินต้นข้าวและ พืชของเกษตรกรในโรงเรือนกล้วยไม้ โรงเรือนเพาะกล้า หรือ ในแปลงปลูกพืชผัก

     ซาโปนิน (กากชา) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการกำจัดหอยเชอรี่ มีการนำเข้ากากชาจากประเทศจีน เพื่อใช้ กำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าว เป็นเวลานานกว่า 20 ปีแล้ว  ในเมล็ดชานี้มีสารซาโปนิน อยู่ประมาณ 10-13% ซึ่งมีความเป็นพิษ รุนแรงเฉพาะสัตว์เลือดเย็นหรือสัตว์ชั้นต่ำเช่น หอยเชอรี่ หอยชนิดต่างๆและ ปลา เท่านั้น  ซาโปนินจะมีผลต่อศูนย์ประสาทที่  ควบคุมการหายใจของสัตว์ชั้นต่ำ ทำให้ขาดออกซิเจนและทำให้เกิดการสลายตัวของเม็ดเลือด พิษของกากชายังสลายตัวได้ ง่ายความเป็นพิษ ไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

       ในการกำจัดหอยเชอรี่ แนะนำให้ใช้ซาโปนิน อัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านลงในนาข้าวที่มีน้ำสูง 5 ซม. หลังสูบน้ำเข้า  นาครั้งแรก เพราะเป็นช่วงที่เกือบจะไม่มีสัตว์น้ำในนา ซาโปนินมีความเป็นพิษสูงต่อหอยเชอรี่ แต่สลายตัวได้เร็วจึงไม่มีพิษ ตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำอื่นๆ ในลำคลองหรือแม่น้ำภายหลังระบายน้ำออกจากนา

       ระยะเวลาการออกฤทธิ์ หอยจะเริ่มหยุดการเคลื่อนไหว และตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง แล้วแต่ความเข้มข้นของ  สารซาโปนิน ที่ได้รับและสารจะเริ่มมีการสลายตัวได้ ในเวลา 12 ชั่วโมง และดำเนินไปอย่างช้าๆ

     ประสิทธิภาพในการกำจัดหอยเชอรี่ หอยเจดีย์ หอยทาก หอยคัน ปู ปลิง และกำจัดปลาที่ไม่ต้องการในบ่อ เพื่อเตรียมบ่อ สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

            ลักษณะของหอยเชอรี่ จะเหมือนกับหอยโขง แต่ตัวโต กว่า และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วลูกหอยอายุเพียง 2-3 เดือนจะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลาหลังผสมพันธุ์ได้ 1-2 วัน ตัวเมียจะวางไข่เวลากลางคืน โดยวางไข่ตามกิ่งไม้ ต้นหญ้า  ริมน้ำ ต้นข้าว ไข่สีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2-3 นิ้ว มีจำนวนประมาณ 388-3,000 ฟองไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภาย   ในเวลา 7-12 วันหลังวางไข่ เกษตรกรจะสังเกตการเข้าทำลายต้นข้าวในระยะกล้าและที่ปักดำใหม่ๆ ไปจนถึงระยะแตกกอ หอยเชอรี่จะชอบกินต้นข้าวในระยะกล้าที่มีอายุประมาณ 10 วันมากที่สุด โดยเริ่มจากส่วนโคนต้นข้าวที่อยู่ใต้น้ำจากพื้นดิน  ประมาณ 1-1.5 นิ้ว จากนั้นกินส่วนใบที่ลอยน้ำจนหมดทั้งต้นทั้งใบใช้เวลาเพียง 1-2 นาที

จุดกำเนิดการปลูกชาเริ่มจากประเทศจีน ประเทศจีน เป็นแหล่งผลิตกากชาที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีพื้นเพาะปลูกหลายล้านไร่  เป็นดินแดนเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งบนพื้นโลกที่ค้นพบ โดยแหล่งปลูกชาส่วนใหญ่อยู่ที่มณฑล เสฉวน ถึง มณฑล ยูนนาน

                   การใช้กากชาในการกำจัดหอยเชอรี่ เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบันเขตพื้นที่เพาะปลูกนาข้าวทั้งในประเทศไทยเองและอีกหลายๆประเทศที่มีการเพาะปลูกข้าวอย่างเช่น เวียดนาม อินเดีย ลาว กัมพูชา เป็นต้น เนื่องจากเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารเคมี สารพิษตกค้างในการเพาะปลูก ปลอดภัยต่อคนใช้ และปลอดภัยต่อร้านค้าที่นำไปจำหน่ายต่อ

ชาที่ปลูกอยู่บนโลกนี้แบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ 2 ประเภทดังนี้คือ ชาที่สำหรับใช้ชงดื่ม และชาสำหรับทำน้ำมันชา ชาที่สำหรับไว้ดื่มชงนั้นเราไม่สามารถนำมาใช้เป็นกากชาสำหรับกำจัดหอยเชอรี่ได้ บางคนอาจเข้าใจผิดว่ากากชามาจากใบชาที่ผ่านชงเรียบร้อยแล้ว แล้วนำใบส่วนที่เหลือทิ้งนั้นมากำจัดหอยเชอรี่ เป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ กากชาที่ได้เรานำมาจากต้นชาที่นำไปผลิตเป็นน้ำมันชานะครับ

กากชา สำหรับกำจัดหอยเชอรี่นั้นได้มาจากต้นชาที่ผลิตน้ำมันชาเท่านั้น กรรมวิธีกว่าจะได้กากชามานั้นก็ไม่ง่ายกันเลย เริ่มจากการเริ่มเพาะกล้าต้นชา พอต้นชาเริ่มโตแข็งแรงสามารถทนต่อแดดจัดๆ ได้แล้วก็นำไปปลูกลงแปลงที่เตรียมไว้โดยปลูกเป็นแถวๆมีระยะห่างเท่าๆกัน หลังจากนั้นก็หมั่นใส่ปุ๋ย พรวนดิน ดูและรักษา ต้นชาจนกระทั่งออกดอกจนกลายเป็นเมล็ดชา เราก็จะเก็บเมล็ดชาที่เฉพาะแก่ได้ที่เหมาะแก่การนำไปบีบน้ำมัน การบีบน้ำมันนั้นต้องนำเข้าโรงงานสำหรับบีบน้ำมันโดยเฉพาะ หลังจากการผลิตแล้วเราก็จะได้น้ำมันชา และกากชาออกมา น้ำมันชาสามารถนำไปเป็นน้ำมันเพื่อสุขภาพใช้รับประทาน ใช้สำหรับเป็นน้ำมันทอดอาหาร หรือทำเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพเช่น ครีมบำรุงผิว น้ำมันบำรุงผมเป็นต้น ส่วนที่เหลือจากการผลิตน้ำมันชา ก็คือ กากชา ก่อนเราจะนำกากชาไปใช้ได้ก็ต้องนำไปตากให้แห้ง กากชาที่ได้จะเป็นแผ่นๆแข็งๆ เราก็ต้องนำไปบดเพื่อให้ได้กากชาที่เป็นลักษณะเกล็ด

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกากชากก็มีหลายอย่างด้วยกัน

                               1. กากชาชนิดน้ำ

                               2. กากชาชนิดแผ่น

                               3. กากชาชนิดเกล็ด แบบไม่มีฟางข้าวผสม

                               4. กากชาชนิดเกล็ด  แบบมีฟางข้าวผสม

                               5. กากชาชนิดละเอียด

                               6. กากชาชนิดผง

                               7. กากชาชนิดอัดแท่ง

แต่ที่นิยมนำมากำจัดหอยเชอรี่ส่วนใหญ่จะใช้ กากชาชนิดเกล็ดเนื่องจากสะดวกต่อการใช้งาน ราคาไม่แพงและได้ผลดี

วิธีการใช้และอัตราการใช้

        วิธีที่ 1
 นำกากชา จำนวน 1 ถุง (10 กิโลกรัม) คลุกกับเมล็ดข้าวปลูก 120 กิโลกรัม แล้วนำไปหว่านได้ประมาณ 3-4 ไร่
 
        วิธีที่ 2
 นำ กากชา จำนวน 1 ถุง (10 กิโลกรัม) หมักน้ำ 4-5 ปีบ คนให้ทั่ว ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำกากและน้ำไปเทสาดให้ทั่วแปลง หรือกรองกากออกแล้วใช้เครื่องพ่น ฉีดให้ทั่วแปลง สารออกฤทธิ์ภายใน 1-2 ชั่วโมง
 
        วิธีที่ 3
 นำ กากชา จำนวน 1 ถุง (10 กิโลกรัม) เคล้ากับน้ำพอชื้นหายเป็นฝุ่น ใช้หว่านทั่วแปลงหรือเฉพาะที่มีหอยเชอรี่ แล้วกักน้ำไว้ประมาณ 3 วัน ที่น้ำสูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร จะใช้ได้ประมาณ 3-4 ไร่ และควรเพิ่มปริมาณ ซาโปนิน ถ้าน้ำมากขึ้นตามอัตราส่วน
 
         วิธีที่ 4
 ใช้ถุง กากชา จำนวน 1 ถุง (10 กิโลกรัม) เจาะก้นถุงให้เป็นรูขนาดพอเหมาะ ผูกติดรถในตอนทำเทือก ย่ำให้ทั่วแปลง จะเป็นวิธีกำจัดหอยเชอรี่ได้ดีที่สุด
 


* 6.jpg (75.01 KB, 640x480 - ดู 3677 ครั้ง.)

* untitled.jpg (66.75 KB, 600x548 - ดู 3220 ครั้ง.)

* untitled2.jpg (34.2 KB, 600x306 - ดู 3301 ครั้ง.)

* 7.jpg (48.3 KB, 600x300 - ดู 3234 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 08 มกราคม 2013, 16:01:53 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #92 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 22:11:56 »

เอาบทความมาลงพอสมควรแล้วครับคราวนี้มาฟังผมเล่าประสบการณ์ทำนาผมบ้าง  ยิ้มกว้างๆ  ยิ้มกว้างๆ

จุดเริ่มการเป็นชาวนา

ผมเริ่มทำนาเมื่อปี 2553 จำนวน 22 ไร่ ตอนนั้นอายุ 30 ปี ทำนามาได้ 5 ครั้ง นาปี 3 นาปรัง 2 ครั้ง ผมเองไม่ได้จบทางด้านเกษตร  จบ ป.ตรี ด้านโทรคมนาคมทำงานบริษัทตั้งแต่อายุ 23 ปี ปัจจุบันเป็น วิศวกร บมจ. แห่งหนึ่งและเป็นชาวนาในวันหยุด จุดเปลี่ยนที่ต้องมาทำนาเพราะต้องช่วยทางบ้านทำนาเนื่องจากพ่อผมเปลี่ยนอาชีพจากค้าข้าวหันมาทำนาแทนโดยแบ่งรายได้และทุนของพ่อ 9 ไร่ ผม 13 ไร่ซึ่งพ่อของผมก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องการทำนาเลยการลงทุนค่าเครื่องมือจะเป็นของผมเกือบทั้งหมด

เริ่มเป็นชาวนาแบบงู ๆ ปลา ๆ

แทบทุกคนคงคิดแบบผมว่าหากเราจะเริ่มเป็นชาวนา จะทำนาก็ต้องไปศึกษากับชาวนาสิครับ..  ผมก็ทำเช่นนั้น  ผมไปถามเพื่อน  ชาวนาระแวกใกล้ ๆ บ้านทุกคนต่างช่วยเสนอแนะวิธีการทำนาให้ครับแต่ละคนมีวิธีปฎิบัติที่ไม่เหมือนกัน ความคิดก็ไม่เหมือนกัน เอาละสิครับ....จะทำไงดี ??
ตอนนี้ความรู้ได้แบบงู ๆ ปลา ๆ จับจุดไม่ได้แต่พอทราบวิธีทำบ้างแล้ว  หลังจากนั้นคิดว่า ชาวนาต้องมีเครื่องมือครับ ไปซื้อเครื่องมือที่ร้านก่อนเลย

เครื่องมือที่ชาวนาปัจจุบันจำเป็นหรือควรจะมีครับ

1.  จอบ  (  ราคาปัจจุบัน  2 ร้อยกว่าบาท )
2.  เครื่องพ่นยาแบบติดเครื่องยนต์หรือแบบคันโยก ปัจจุบันมีแบบใช้ไฟฟ้าครับเอาไว้พ่นฮอโมนหรือยาต่าง ๆ ทั้งยาคลุมหญ้า ยากำจัดโรคและแมลง ( มีตั้งแต่ราคาหลักร้อยจนถึงหลายๆ พัน )
3.  เครื่องพ่นปุ๋ยและพันธุ์ข้าวแทนการหว่านด้วยมือ  ( ราคาตั้งแต่ พันกว่าบาทจนถึงหลายๆ พัน )
4.  ท่อสูบน้ำ ( ราคาสามพันกว่าบาทขึ้นไป ) แต่การทำนา 3 ครั้งหลังนี้ผมไม่ได้ใช้เลยเพราะมีการจัดการระบบน้ำในนาดีขึ้น ท่อสูบน้ำไว้สำหรับสูบน้ำเข้านาและสูบน้ำออกในกรณีน้ำท่วมหรือน้ำขังเป็นแอ่งต้องการระบายออก
5. เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายข้อแข็ง ถ้าแรงเลือกแบบ 2 จังหวะอยากประหยัดน้ำมันต้อง 4 จังหวะราคามีตั้งแต่พันกว่าบาทจนถึงหลักหมื่นแล้วแต่ยี่ห้อและเกรด

แค่  5 อย่างนี้ทำนาครั้งแรกลงทุนไปหมื่นกว่าบาทแล้วครับ


* p1250241.jpg (116.12 KB, 600x429 - ดู 4261 ครั้ง.)

* spd_20120915235016_b.jpg (94.44 KB, 600x600 - ดู 5315 ครั้ง.)

* spd_20060804160331_b.jpg (35.21 KB, 500x704 - ดู 4908 ครั้ง.)

* l_131864877146.jpg (54.86 KB, 343x640 - ดู 5726 ครั้ง.)

* CG-415.jpg (9.61 KB, 500x212 - ดู 4298 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #93 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 22:33:39 »

เป็นชาวนาต้องมีพันธุ์ข้าวแต่ก่อนจะไปหาพันธุ์ข้าวต้องตัดสินใจให้ได้ก่อนว่าเราจะเลือกทำพันธุ์แบบไหน
จะเลือกทำนาแบบไหนดี ?

นาหว่าน  -  ทำง่าย ประหยัดแรงงาน ใช้สารเคมีมาก  เปลืองปุ๋ย  ใช้เมล็ดพันธุ์มาก  นาปี 14-
                 16 กก/ไร่   นาปรัง  20-30 กก/ไร่
นาดำคน -  หลายขึ้นตอน ใช้แรงงานมาก  ปลอดภัยจากสารเคมี ประหยัดปุ๋ย  ใช้เมล็ดพันธุ์
                 น้อย 8-12 กก/ไร่
นาดำรถ -   ง่ายหากจ้าง ต้นทุนสูง ประหยัดปุ๋ย ใช้เมล็ดพันธุ์น้อย  8-10 กก/ไร่

นาโยน -    มีขึ้นตอนในการทำอยู่บ้าง มีต้นทุนสูงในการทำครั้งแรก  ประหยัดปุ๋ย ใช้เมล็ดพันธุ์
               น้อยกว่าทำนาแบบอื่น   3-10 กก/ไร่ แล้วแต่ความต้องการความหนาแน่นของข้าว


ผมสอบถามชาวนาระแวกใกล้เคียงอยู่นานตอนนั้นมีให้เลือกแค่สองอย่างคือ นาหว่านและนาดำโดยแรงงานคนสุดท้ายเลยต้องเลือกนาหว่านครับเพราะแรงงานคนมาทำนาดำไม่มีเลย ได้วิธีการทำนาแล้วต่อไปต้องหาข้าวพันธุ์


ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว
ผมทำนาครั้งแรกซื้อข้าวพันธุ์จากกรมการข้าว  ทำนาครั้งแรกเป็นนาที่ชาวนาจะพอทราบดีว่าปลูกข้าวนาปียากกว่านาปรังเพราะหากทำนาหว่านแล้วฝนมีส่วนสำคัญมาก  ซื้อข้าวกรมข้าวคุณภาพดีแต่ราคาสูง ราคาเฉลี่ยตอนนั้น กก ละ  25 บาท ผมทำนาปีตอนนั้นใช้ข้าวพันธุ์ 15 กก./ไร่  ลงทุนข้าวพันธุ์ไปแปดพันกว่าบาท ปัจจุบันเลือกใช้ข้าวพันธุ์เก็บเกี่ยวจากนาปลูกแทนเพราะราคาถูกไปกว่าครึ่งช่วยลดต้นทุนได้ครับแต่ต้องมั่นใจว่าข้าวพันธุ์มีคุณภาพและไม่เป็นโรคมาก่อนครับ


* 77838.jpg (29.86 KB, 390x480 - ดู 3473 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #94 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 22:48:43 »

ไถนา......

การทำนาครั้งแรกผมไม่เข้าใจว่าจะต้องไถยังไง... จนไปสอบถามชาวนาดู พอจะรู้ว่า นาปีจะต้องมีการไถ ปัจจุบัน เรียกว่าการปั่นนา โดยใช้รถแทรกเตอร์ที่มีจอบหมุนหรือโรตารี่ แถวบ้านไม่นิยมใช้รถไถเดินตามไถแล้ว ถามว่าเพราะอะไรได้คำตอบว่าเพราะไถไม่เข้า ดินมันแข็ง ถามต่อว่าเพราะอะไรก็ได้คำตอบเพราะใช้ปุ๋ยเคมี สมัยก่อนดินไถง่ายมาก ถามต่อว่าทำไมไม่เลิกใช้  ก็ได้คำตอบมาว่าถ้าไม่ใส่ปุ๋ยเคมีก็ได้ผลผลิตน้อยก็กว่าเดิมก็เลยต้องใช้เรื่อยมา

- ไถปั่น หมักดินไว้อย่างน้อย 4-5 วัน 
-  ทำเทือก และชักร่องหากเป็นนาหว่าน

ผมจ้างรถแทรกเตอร์มาปั่นนา  และตอนนั้นเลือกซื้อรถไถนั่งขับมาใช้งานสำหรับทำเทือกเพราะตอนนั้นหาคนมาทำเทือกยากมากต้องรอคิวนาน   ซื้อรถไถราคาเกือบสองแสนบาททั้งที่ไม่เคยขับมาก่อนมาลองขับดู  ปีแรก  ๆ มีปัญหามากเพราะไถไม่ค่อยเป็น ปรับที่นาไม่เรียบ บางจุดก็ดอนบางจุดก็ลุ่มครับ




* 0244.jpg (129.7 KB, 640x480 - ดู 3161 ครั้ง.)

* 0266.jpg (132.7 KB, 640x480 - ดู 3236 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #95 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 22:58:48 »

ประสบการณ์การหว่านข้าวได้ 1 วันน้ำท่วมนา

ทำนาปี ในปีที่ 1 และ 2  ถูกน้ำท่วมทั้ง 2 ครั้งมาปีที่ 3 ที่ไม่ท่วมครับเพราะมีการป้องกันเสริมคันนาและชาวบ้านช่วยกันขุดลอกคลองระบายน้ำ  ข้าวหลังจากหว่านเมล็ดไปแล้วหากถูกน้ำท่วมหลาย ๆ วันอาจทำให้เมล็ดเน่าเสียหายได้ ของผมน้ำท่วม 2 วันเสียหายไป 30% ของพื้นที่  ชาวนาบางท่านถึงกับต้องปั่นนาใหม่อีกครั้งและหว่านเมล็ดไปอีกรอบ ซึ่งผมก็ถือว่าโชคดีกว่าคนอื่น  สาเหตุที่น้ำท่วมเพราะฝนตกทั้งคืน ชาวนาส่วนใหญ่ก็พึ่งหว่านพันธุ์ข้าวไปต่างคนต่างระบายจากที่นาตัวเอง นาใครอยู่ที่สูงกว่าก็สบาย นาข้างล่างก็ต้องรับน้ำเต็ม ๆ การทำนาปีจะหว่านข้าววันไหนต้องดูฟ้าฝนด้วยครับ


* 0656 (15).jpg (130.73 KB, 640x480 - ดู 3159 ครั้ง.)

* 0656 (23).jpg (130.99 KB, 640x480 - ดู 3186 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #96 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 23:15:07 »

ซื้อปุ๋ยอย่างไรดี

ทำนาครั้งไม่รู้เลยว่าต้องใส่ปุ๋ยอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ ไปซื้อที่ร้านบอกเพียงว่าทำนา 22 ไร่ช่วยจัดปุ๋ยให้ที ที่ร้านจัดมาให้ก็มี 

ยูเรีย 46-0-0  จำนวน  5 กส.
ปุ๋ยสูตร    16-20-0  จำนวน  10 กส.
ปุ๋ยสูตร    15-15-15  นำนวน  7 กส.

ตกไร่ละ 1 กส. พอดี นี่ต้นทุนค่าปุ๋ยต่อไร่ตกที่ 700 กว่าบาทเลยเหรอ...ถามเจ้าของร้านเค้าก็บอกชาวนาแถวนี้ก็ใส่กันแบบนี้แหล่ะ  แถมไม่พอเราจะต้องซื้อยาฆ่าหอยเชอรี่ด้วย ไร่ละ กส  ตอนนั้น กส.ละ 100 บาทเอง ตอนนี้เพิ่มไปเป็นกส.ละเกือบ 2 ร้อยบาทแล้วราคาขึ้นไวมาก ๆ ปัจจุบันผมลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้มากใช้เพียง 1 ส่วน 3 จากการทำนาครั้งแรก มีแต่คนบอกว่าใส่ปุ๋ยน้อย บ้างก็ว่าใส่ปุ๋ยไม่เป็นแม้แต่พ่อผมเองก็ว่า แต่พอผลผลิตออกมากลับได้มากกว่าคนที่ใส่ปุ๋ยเคมีมาก ๆ อีก นาปรังตันกว่าไม่ใช่เรื่องยาก นาปีได้เงินหมื่นกว่าต่อไร่ก็ทำได้ไม่ยากเช่นกัน เอาไว้จะมาบอกเทคนิคอีกทีครับ 

ข้อควรระวังปัจจุบันมีการปลอมปุ๋ยกันมากต้องซื้อจากร้านที่น่าเชื่อถือ และต้องดูเรื่องสภาพและปีที่ผลิตด้วย บางแห่งนำปุ๋ยเสื่อมคุณภาพมาจำหน่ายในราคาต่ำกว่าร้านทั่วไป ซึ่งน้ำหนักอาจหายหรือมีการปลอมปนด้วยครับ



* tccc_1.jpg (237.86 KB, 419x591 - ดู 7444 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #97 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 23:25:53 »

นาหว่านเสียหายต้องมีการปลูกซ่อม

นาปีเป็นข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงส่วนใหญ่อายุเก็บเกี่ยวจะประมาณ 160 วัน จะออกรวงในช่วงเข้าฤดูหนาวแต่ กข.6 และ มะลิ 105 จะเก็บเกี่ยวช้ากว่า กข 15  การทำนาครั้งแรก หว่านวันแรกอีกวันน้ำท่วม พื้นนาบางจุดเมล็ดพันธุ์เน่าเสียหายจะต้องมีการนำข้าวมาปลูกซ่อมครับระยะที่จะซ่อมที่เหมาะสมคือช่วงประมาณ 1 เดือนก่อนที่ข้าวจะเริ่มแตกกอครับ แต่บางจุดก็อาจได้ซ่อมอีกเหมือนกันเพราะอาจถูกหอยเชอรี่กินครับซึ่งจะต้องมีการกำจัดที่ถูกวิธีครับ




* 1183.jpg (136.42 KB, 640x480 - ดู 3154 ครั้ง.)

* 0546.jpg (49.92 KB, 700x525 - ดู 3130 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #98 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 23:34:28 »

ทำนาหว่านต้องกำจัดหญ้า

หลังจากที่เราหว่านเมล็ดในนาแล้วหลังจากข้าวเริ่มเป็นลำต้นได้ประมาณ 7-12 วันชาวนาจะพ่นยาคุมหญ้าเพื่อกำจัดหญ้าที่งอกมาพร้อมกับต้นข้าวเพื่อเป็นการกำจัดวัชพืช  ซึ่งการพ่นก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน อย่าง อ.ชัยพร พ่นแบบบาง ๆ ในช่วงหว่านข้าวได้เพียง 2 วัน  ผมก็ไม่เคยพ่นยาคุมหญ้าครับจ้างมาตลอด  การพ่นควรสวมชุดป้องกันทั้งร่างกายหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีแต่ก็มักเห็นชาวนาทั่วไปพ่นโดยการขาดการป้องกันที่ถูกวิธีอยู่



* 102_2906.jpg (103.51 KB, 700x467 - ดู 3313 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #99 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 00:02:55 »

ทำนาครั้งแรกเกี่ยวข้าวเสร็จแทบเลิกทำนา

ไม่แปลกใจเลยว่าถึงได้ยินชาวนาเป็นหนี้เป็นสินกันมาก ผมทำนาแบบชาวนาทั่วไปในครั้งแรกหากไม่นับต้นทุนในการซื้อเครื่องมือต่าง ๆ จะลงทุนต่อไร่ เกือบไร่ละ 4 พันกว่าบาท ขายข้าวได้ผลผลิตไร่ละ 7 พันกว่าบาทหักแล้วเหลือไร่ละ 2-3 พันบาท ทำ 22 ไร่  หักแล้วเหลือกำไรเพียง  6 หมื่นกว่าบาท ใช้เวลาทำนาเกือบ 6 เดือนยังไม่นับค่าแรงค่าตัวเองที่เราลงแรงในการทำอีก การทำนาโดยไม่รู้ต้นทุน ไม่รู้ว่าควรทำอะไรจึงจะดี หรือไม่รู้วิธีที่ถูกต้องเป็นปัญหาอย่างมากทำนาครั้งแรกลงทุนสูง ทำนา 3 ครั้งหลังมาต้นทุนลดลงไปมาก ผลผลิตต่อไร่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มาดูทำนาครั้งแรกว่าลงทุนค่าไรไปบ้าง

1.  ค่าจ้างไถนา ( ปั่นนา ) ,ค่าน้ำมันรถในการทำเทือก
2.  เมล็ดพันธุ์กรมการข้าว ค่าแรงในการหว่าน
3.  ค่าปุ๋ยเคมี
4.  ค่ายาคุมหญ้า+ค่าแรงในการพ่น
5.  ค่าแรงในการปลูกซ่อมข้าว
6.  ค่าฮอโมนพ่นบำรุงข้าว ซื้อมาขวดละ 1900  จำนวน 2 ขวด
7.  ค่าไคโตรซาน
8.  ค่ายากำจัดโรคเชื้อรา+ ค่าแรง
9.  ค่าเกี่ยวข้าว

ปัจจุบันลดต้นทุนไปได้มากเพราะ...
1.  ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ราคาถูก
2.  ลดการใช้ปุ๋ยเคมี หันมาใช้ร่วมกับปุ๋ยคอกกับจุลินทรีย์
3.  ไม่ซื้อฮอโมนที่ขาย หันมาผลิตเองต้นทุนไม่ถึง 2 ร้อยบาทจากที่เคยเสียเงินไปเกือบ 4 พันบาท
4.  ปรับระบบน้ำในนาใหม่ป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำได้เร็วขึ้น
5.  ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาควบคุมเชื้อราในนาข้าว 


* 0656 (2).jpg (23.76 KB, 240x320 - ดู 3070 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!