เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 05:43:41
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 407072 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #40 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:15:54 »

ชื่อสามัญ: หนอนปลอกข้าว (Rice Caseworm)  
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: หนอนขยอก  
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nymphula depunctalis Guenee  
ชื่อวงศ์: Pyralidae  
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       ตัวเต็มวัยของหนอนปลอกข้าว เป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาวมีแถบสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ 2-3 แถบตามขอบปีกลำตัวค่อนข้างบอบบาง ชอบเล่นไฟตอนกลางคืน เพศเมียวางไข่ตอนกลางคืน โดยวางไข่ติดกันบนผิวใต้ใบข้าว จากนั้นก็จะฟักเป็นตัวหนอนมีสีครีมหัวสีเหลือง แล้วลอกคราบกลายเป็นดักแด้และเป็นผีเสื้อต่อไป  
 
ลักษณะการทำลาย: ตัวอ่อนเริ่มกัดกินผิวใบอ่อนของต้นข้าว จากนั้นก็จะเข้าไปกินส่วนบนของยอดใบ และขอบใบด้านหนึ่งจนขาด ทั้งแกนกลางใบและใบจะห่อเข้าหากันจนเป็นปลอก แล้วตัวหนอนก็จะเข้าไปอาศัยอยู่เพื่อกัดกินเนื้อเยื่อของใบข้าว ใบข้าวที่ถูกกัดกินจะขาดเป็นช่วงๆ สลับกันคล้ายบันได หนอนจะอาศัยปลอกลอยไปตามน้ำแล้วขึ้นไปทำลายต้นใหม่ต่อไป หากมีการระบาดมากจะทำให้ต้นข้าวหยุดการเติบโต แคระแกร็น และแห้งตายเป็นหย่อมๆ พบการระบาดในนาชลประทานและนาน้ำฝน  
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะแตกกอ  
การป้องกัน/กำจัด: ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด สะเดา หรือสาบเสือ
ปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติทำลายและควบคุม เช่น แตนเบียน มวนเพชฌฆาต แมงมุม ด้วงกระดก เป็นต้น
ระบายน้ำออกจากแปลงนาสามารถลดการทำลายและการแพร่ระบาดของหนอนปลอกในนาข้าวได้
 


* 25.jpg (100.57 KB, 800x634 - ดู 2661 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #41 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:19:01 »

ชื่อสามัญ: หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว (Rice Whorl Maggot)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hydrellia spp. 
ชื่อวงศ์: Ephydridae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันชนิดหนึ่งลำตัวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ตัวมีสีเทาอ่อน แมลงตัวเมียจะวางไข่เดี่ยวๆบนผิวใบข้าว ไข่มีลักษณะเรียวยาว สีขาว ตัวหนอนหลังจากฟักใหม่ๆ มีลักษณะใสหรือสีครีมอ่อน เมื่อโตขึ้นมีสีเหลือง ไม่มีขา ตัวเต็มวัยมีความว่องไวในตอนกลางวัน 
 
ลักษณะการทำลาย: ตัวหนอนกัดกินภายในใบข้าวที่ยังอ่อนและใบม้วนอยู่ ใบที่ถูกทำลายเมื่อเจริญต่อมาจะเป็นรอยฉีกขาดคล้ายถูกกัด ขอบใบข้าวที่ถูกทำลายมีสีขาวซีด สภาพที่ถูกทำลายรุนแรง ต้นข้าวจะแคระแกร็น แตกกอน้อย   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะกล้า   
การป้องกัน/กำจัด: ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากโหระพา
ระบายน้ำออกจากแปลงนา ช่วงที่มีการระบาดเพื่อลดปริมาณในการวางไข่
 


* 26.jpg (187.55 KB, 730x276 - ดู 3981 ครั้ง.)

* 27.jpg (162.57 KB, 440x353 - ดู 4504 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #42 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:21:35 »

ชื่อสามัญ: หนอนห่อใบข้าว (Rice Leaffolder)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: หนอนม้วนใบข้าว หนอนกินใบข้าว 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cnaphalocrocis medinalis (Guenee) 
ชื่อวงศ์: Pyralidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีน้ำตาลเหลืองมีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก ตรงกลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง 2-3 แถบ ขณะเกาะใบข้าวปีกจะหุบเห็นรูปสามเหลี่ยม มักเกาะอยู่ในที่ร่มใต้ใบข้าว เพศเมียวางไข่บนใบข้าว ขนานตามแนวเส้นใบและสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ไข่มีสีขาวขุ่นค่อนข้างแบนเป็นกลุ่ม หนอนที่ฟักมีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน เมื่อหนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม จากนั้นก็จะกลายเป็นดักแด้และเป็นผีเสื้อต่อไป 
 
ลักษณะการทำลาย: ผีเสื้อหนอนห่อใบข้าวจะเข้าสู่แปลงนา ตั้งแต่ข้าวยังเล็กและวางไข่ที่ใบอ่อน เมื่อหนอนฟักออกมาจะเข้ากัดกินใบข้าวส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้เห็นเป็นแถบยาวสีขาว บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นทางขาวยาวขนานกับเส้นกลางใบ มีผลให้สังเคราะห์แสงลดลง หนอนจะใช้ใยเหนียวดึงขอบใบข้าวทั้งสองด้านเข้าหากันเพื่อห่อหุ้มตัวไว้ หนอนจะทำลายข้าวในทุกระยะการเจริญเติบโต หากเข้าทำลายในระยะข้าวออกรวงหนอนจะทำลายใบธงซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง พบการระบาดมากในเขตนาชลประทาน   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะแตกกอ, ระยะออกรวง, ระยะข้าวตั้งท้อง   
การป้องกัน/กำจัด: กำจัดพืชอาศัย เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าปล้อง หญ้าไซ หญ้าชันกาด และข้าวป่า
ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากสาบเสือ สะเดา หรือตะไคร้หอม
ปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติทำลายและควบคุม เช่น ด้วงดิน แมงปอ แมงมุมเขี้ยวยาว ด้วงเต่า เป็นต้น
 


* 28.jpg (90.44 KB, 676x700 - ดู 2413 ครั้ง.)

* 29.jpg (99.02 KB, 700x700 - ดู 2347 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #43 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:23:08 »

ชื่อสามัญ: ด้วงงวงข้าว (Rice Weevil)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: มอดข้าวสาร 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Sitophilus oryzae (Linnaeus) 
ชื่อวงศ์: Curculionidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       ด้วงงวงข้าวตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลดำ ส่วนหัวจะมีลักษณะยื่นออกมาเป็นงวง มีรอยบุ๋มเป็นจุดกลมๆ ที่หัวและที่ปีก หนวดมี 8 ปล้อง ด้านข้างของปีกตอนบนและตอนล่างจะมีจุดสีเหลืองรวมอยู่ 4 จุด โดยเพศเมียจะวางไข่ที่เมล็ดข้าวขณะเริ่มแก่ โดยเจาะเข้าไปวางไข่ภายในเมล็ดข้าว เมล็ดละ 4-6 ฟอง จากนั้นขับเมือกออกมาปิดปากรูไว้ เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนมีสีขาวลำตัวป้อมโค้งเหมือนตัว “c” แล้วอาศัยอยู่ในเมล็ดข้าวจนเติบโตเป็นตัวเต็มวัยจึงเจาะเมล็ดข้าวออกมาทำให้เมล็ดข้าวเป็นรู 
 
ลักษณะการทำลาย: ด้วงงวงข้าวตัวเต็มวัยมักปรากฏอยู่บนหรือภายในเมล็ดข้าว เนื้อเมล็ดจะถูกตัวอ่อนกัดกินอยู่ภายใน จนเป็นตัวเต็มวัยก็จะเจาะเมล็ดข้าวออกมาทำให้เมล็ดข้าวเป็นรู ถ้ามีการทำลายรุนแรงเมล็ดข้าวจะเหลือแต่เปลือกไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ข้าวเปลือก   
การป้องกัน/กำจัด: เก็บรักษาเมล็ดข้าวเปลือกในโรงเก็บหรือภาชนะที่ปิดมิดชิด และทำความสะอาดโรงเก็บก่อนนำเมล็ดข้าวเข้าไปเก็บรักษา
ทำการฉีดพ่นด้วยน้ำสกัดสมุนไพรจาก ดีปลี สารภี เลี่ยน หรือขมิ้นชัน
คลุกเมล็ดข้าวกับผงแห้ง เช่น ขี้เถ้า พริกไทย หรือน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เป็นต้น
ควบคุมอุณหภูมิของโรงเก็บให้มีความร้อนหรือเย็นจัดจะช่วยในการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลงได้
 


* 30.jpg (186.64 KB, 706x315 - ดู 2948 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #44 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:24:21 »

ชื่อสามัญ: ผีเสื้อข้าวเปลือก (Angoumois Grain Moth)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Sitotroga cerealella (Olivier) 
ชื่อวงศ์: Gelechiidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       ผีเสื้อข้าวเปลือก ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อสีน้ำตาลอ่อนที่มีขนาดเล็ก ปีกคู่หลังมีสีเทาตามปีกมีขนยาวเป็นแผง ปลายปีกจะโค้งแหลมยื่นออกไป เพศเมียจะวางไข่สีขาวเป็นฟองเล็กๆ บนเมล็ดข้าว จากนั้นก็จะกลายเป็นตัวหนอน ดักแด้ และเติบโตเป็นตัวเต็มวัย 
 
ลักษณะการทำลาย: ผีเสื้อข้าวเปลือกทำลายข้าว โดยการที่ผีเสื้อตัวเมียวางไข่บนเมล็ดข้าวเปลือกขณะยังอยู่ที่แปลงนาจนเมื่อนำมาเก็บไว้ในยุ้งฉางไข่ก็จะกลายเป็นตัวอ่อนซึ่งจะอาศัยกัดกินภายในเมล็ดข้าวจนเหลือแต่เปลือกเท่านั้น   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ข้าวเปลือก   
การป้องกัน/กำจัด: เก็บรักษาเมล็ดข้าวเปลือกในโรงเก็บหรือภาชนะที่ปิดมิดชิด และทำความสะอาดโรงเก็บก่อนนำเมล็ดข้าวเข้าไปเก็บรักษา
ทำการฉีดพ่นด้วยน้ำสกัดสมุนไพรจากดีปลี
คลุกเมล็ดข้าวกับผงแห้ง เช่น ขี้เถ้า พริกไทย หรือน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เป็นต้น
ควบคุมอุณหภูมิของโรงเก็บให้มีความร้อนหรือเย็นจัดจะช่วยในการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลงได้
 


* 31.jpg (89.52 KB, 365x307 - ดู 2675 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #45 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:25:52 »

ชื่อสามัญ: ผีเสื้อข้าวสาร (Rice Moth)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Corcyra cephalonica (Stainton) 
ชื่อวงศ์: Galleriidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       ผีเสื้อข้าวสาร ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลอ่อนขนาดกลาง ที่หัวมีขนลงมาตามลำตัว ปีกคู่หน้ามีเส้นปีกสีค่อนข้างดำ ปีกหลังมีสีครีม ปีกหน้าจะสั้นกว่าปีกหลัง เวลาเกาะส่วนหัวจะชูขึ้นสูงจากระดับพื้น ปากแหลมยื่นออกมาเห็นได้ชัดและปีกจะหุบขนานกับลำตัว ตัวอ่อนเป็นหนอนสีขาวหรือขาวปนเทา จากนั้นตัวอ่อนก็จะสร้างใยปกคลุมตัวเองไว้แล้วเข้าดักแด้ในปลอกที่สร้างขึ้นภายหลังจนกลายเป็นตัวเต็มวัย 
 
ลักษณะการทำลาย: ข้าวเปลือกจะถูกทำลายด้วยตัวอ่อน หรือหนอนของผีเสื้อด้วยการเข้าไปชักใยที่เมล็ดข้าวสารให้ติดกันเป็นกลุ่มก้อน ตัวอ่อนจะอาศัยอยู่และกัดแทะเมล็ดข้าวสารอยู่ภายในใยนั้น นอกจากนั้นตัวอ่อนยังขับถ่ายของเสียออกเป็นเม็ดเล็กๆ กระจายอยู่เต็มกองข้าวอีกด้วย ส่วนตัวเต็มวัยของผีเสื้อจะไม่ทำลายข้าว แต่จะเกาะเฉยๆ ตามกระสอบหรือยุ้งฉางข้าวเท่านั้น   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ข้าวเปลือก   
การป้องกัน/กำจัด: เก็บรักษาเมล็ดข้าวเปลือกในโรงเก็บหรือภาชนะที่ปิดมิดชิด และทำความสะอาดโรงเก็บก่อนนำเมล็ดข้าวเข้าไปเก็บรักษา
ทำการฉีดพ่นด้วยน้ำสกัดสมุนไพรจากดีปลี พริกขี้หนู หรือหนอนตายหยาก
คลุกเมล็ดข้าวกับผงแห้ง เช่น ขี้เถ้า พริกไทย หรือน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เป็นต้น
ควบคุมอุณหภูมิของโรงเก็บให้มีความร้อนหรือเย็นจัดจะช่วยในการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลงได้
 


* 32.jpg (173.69 KB, 523x461 - ดู 2603 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #46 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:27:35 »

ชื่อสามัญ: มอดข้าวเปลือก (Lesser Grain Borrer)    
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: มอดหัวป้อมหรือมอดหัวไม้ขีด 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyzopertha dominica (Fabricius) 
ชื่อวงศ์: Bostrychidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       มอดข้าวเปลือกตัวเต็มวัย มีรูปร่างทรงกระบอกสีน้ำตาลแก่ ส่วนหัวสั้นโดยซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรก มีหลุมอยู่ทั่วๆไปบนปีกคู่หน้าโดยเรียงเป็นแถวอย่างมีระเบียบ เพศเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามรอยแตกหรือรอยกะเทาะของเมล็ดหรือตามเศษผงในกองข้าว ตัวอ่อนเป็นหนอนสีขาว มีลักษณะโค้งตัวอ้วนสั้น เมื่อตัวอ่อนโตเต็มที่จะเข้าดักแด้ภายในเมล็ด แล้วเจาะเมล็ดออกมาเมื่อเป็นตัวเต็มวัย 
 
ลักษณะการทำลาย: มอดข้าวเปลือกสามารถทำลายเมล็ดข้าวได้ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย หากเป็นตัวเต็มวัย จะกัดแทะเมล็ดข้าวให้เป็นรู หรือรอยแล้วก็ขับถ่ายของเสียออกมา เมื่อนำข้าวสารไปทำอาหารจะทำให้มีกลิ่นเหม็น แต่ถ้าเป็นตัวอ่อนจะอาศัยและกัดกินอยู่ภายในเมล็ดข้าวจนเติบโตเป็นตัวเต็มวัยจึงเจาะรูออกมาจากเมล็ด ซึ่งจะทำให้เมล็ดเหลือเฉพาะเปลือกเท่านั้น   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ข้าวเปลือก   
การป้องกัน/กำจัด: เก็บรักษาเมล็ดข้าวเปลือกในโรงเก็บหรือภาชนะที่ปิดมิดชิด และทำความสะอาดโรงเก็บก่อนนำเมล็ดข้าวเข้าไปเก็บรักษา
ทำการฉีดพ่นด้วยน้ำสกัดสมุนไพรจากดีปลี หรือขมิ้นชัน
คลุกเมล็ดข้าวกับผงแห้ง เช่น ขี้เถ้า พริกไทย หรือน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เป็นต้น
ควบคุมอุณหภูมิของโรงเก็บให้มีความร้อนหรือเย็นจัดจะช่วยในการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลงได้
 


* 33.jpg (63.43 KB, 306x234 - ดู 2945 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #47 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:30:45 »

ชื่อสามัญ: มอดแป้ง (Red Flour Beetle)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tribolium castaneum (Herbst) 
ชื่อวงศ์: Tenebrionidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       มอดแป้งตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลแดง หัวมีหนวดค่อนข้างสั้น ด้านบนของหัวมีสันเหนือตาทั้งสองข้าง ส่วนตัวทางด้านหัวกว้างกว่าด้านท้าย รูปร่างเกือบเป็นสี่เหลี่ยมและมีสีเข้มกว่าส่วนปีก เพศเมียวางไข่บนถุงอาหาร ตามร่องพื้น ยุ้งฉางหรือบนข้าวในสภาพที่เหมาะสม ไข่มีขนาดเล็กสีขาว แต่มียางเหนียว ตัวอ่อนเป็นหนอนมีสีขาวปนน้ำตาลมีขนทั่วตัว จากนั้นจะกลายเป็นดักแด้และเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต่อไป 
 
ลักษณะการทำลาย: มอดแป้งสามารถทำลายข้าวได้ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยเข้าไปกัดกินภายในของเมล็ดข้าวที่แตกและกินแป้งที่เกิดจากการทำลายของแมลงชนิดอื่น มอดแป้งไม่สามารถทำลายเมล็ดข้าวเปลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ได้ กรณีที่แป้งถูกทำลายจะเปลี่ยนสีและมีกลิ่นเหม็นสาเหตุมาจากการขับของเสียออกมาของตัวเต็มวัย ถึงแม้ว่าจะนำเอาไปทำอาหารกลิ่นเหม็นก็จะยังคงติดอยู่เช่นเดิม   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ข้าวเปลือก   
การป้องกัน/กำจัด: เก็บรักษาเมล็ดข้าวเปลือกในโรงเก็บหรือภาชนะที่ปิดมิดชิด และทำความสะอาดโรงเก็บก่อนนำเมล็ดข้าวเข้าไปเก็บรักษา
ทำการฉีดพ่นด้วยน้ำสกัดสมุนไพรจากดีปลี หรือขมิ้นชัน
คลุกเมล็ดข้าวกับผงแห้ง เช่น ขี้เถ้า พริกไทย หรือน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เป็นต้น
ควบคุมอุณหภูมิของโรงเก็บให้มีความร้อนหรือเย็นจัดจะช่วยในการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลงได้
 


* 34.jpg (54.62 KB, 263x225 - ดู 2897 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #48 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:31:55 »

ชื่อสามัญ: มอดสยาม (Siamese Grain Beetle)    
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Lophocateres pusillus (Klug) 
ชื่อวงศ์: Trogositidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       มอดสยาม ตัวเต็มวัยเป็นมอดมีสีน้ำตาลแดง ขนาดเล็ก ลำตัวแบนกว้าง หนวดสั้น หนวดจะหดอยู่ในซองหากถูกกระทบกระเทือน ที่อกและที่ปีกมีขอบซึ่งแบนเรียบประกอบด้วยร่องหนวดยาวนูนเรียงอย่างมีระเบียบ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่แบบไข่เดี่ยว หรือวางเป็นกลุ่มในลักษณะเป็นรูปพัด โดยจะวางไข่ตามร่องไม้ พื้นยุ้งหรือบนอาหารที่มันกัดกินอยู่ 
 
ลักษณะการทำลาย: มอดสยามเป็นแมลงที่ไม่สามารถกัดกินเมล็ดที่สมบูรณ์ได้ แต่จะกินเมล็ดข้าวเปลือกที่เหลือจากการทำลายของแมลงชนิดอื่นหรือข้าวเปลือกเมล็ดที่แตก แมลงชนิดนี้ชอบทำลายส่วนที่เป็นแป้งและส่วนที่เป็นจุดงอกของเมล็ดมากกว่าส่วนอื่น ลักษณะของเมล็ดที่ถูกทำลายมีลักษณะถูกกินไปเป็นแถบๆ   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ข้าวเปลือก   
การป้องกัน/กำจัด: เก็บรักษาเมล็ดข้าวเปลือกในโรงเก็บหรือภาชนะที่ปิดมิดชิด และทำความสะอาดโรงเก็บก่อนนำเมล็ดข้าวเข้าไปเก็บรักษา
ทำการฉีดพ่นด้วยน้ำสกัดสมุนไพรจากดีปลี หรือขมิ้นชัน
คลุกเมล็ดข้าวกับผงแห้ง เช่น ขี้เถ้า พริกไทย หรือน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เป็นต้น
ควบคุมอุณหภูมิของโรงเก็บให้มีความร้อนหรือเย็นจัดจะช่วยในการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลงได้


* 35.jpg (62.85 KB, 316x256 - ดู 2553 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #49 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:42:00 »

ดิน

ดิน..เกิดขึ้นมาได้อย่างไร  
 
โลกของเรามีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี..
นับจากที่โลกเริ่มก่อตัวขึ้นและเย็นตัวลง มีพื้นผิวภายนอกเป็นหินแข็งแต่ภายในเป็นของเหลวร้อนจัด มีบรรยากาศซึ่งประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบอย่างเบาบาง ต่อมาจึงมีวิวัฒนาการมากขึ้น จนเกิดมีน้ำและสิ่งมีชิวิตขึ้นบนโลก
 
    
  พืชบกรุ่นแรกสุดเกิดขึ้นมาบนโลก เมื่อประมาณ 590 ล้านปีมาแล้ว..
พืชบกรุ่นแรกนี้มีแต่ลำต้น ไม่มีใบ ไม่มีราก อาศัยเกิดและเกาะติดอยู่บนสาหร่ายทะเลที่ถูกคลื่นซัดขึ้นมาค้างอยู่บนหินและเติบโตอยู่บนนั้น
    
  เชื่อกันว่าวิวัฒนาการของพืชบกรุ่นแรกนี้เองที่เป็นสาเหตุทำให้ก้อนหินเกิดการผุพัง แตกแยกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และเกิดพัฒนาการต่อจนกลายเป็นดินในที่สุด
ทั้งนี้เพราะการที่พืชมีวิวัฒนาการมากขึ้นจนมีส่วนประกอบของราก ลำต้น ใบ กิจกรรมของรากของพืชที่ชอนไชไปตามร่องรอยแตกของหินและชั้นของหินผุเพื่อหาุอาหารไปเลี้ยงลำต้นและใบ รวมทั้งเกาะยึดกับสิ่งต่างๆ เพื่อค้ำจุนลำต้นนั้น ก็จะช่วยเร่งให้หิน แร่ เกิดการสลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการผุกร่อนตามธรรมชาติ ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน น้ำค้าง หรือหิมะ ในช่วงเวลาต่างๆ

ในขณะเดียวกับที่พืชเจริญเติบโตขึ้นก็ย่อมมีส่วนของ ราก ลำต้น ใบ ที่หลุดร่วงตายลงและทับถมกันอยู่ทั้งบนดินและใต้ดิน นอกจากนี้ยังมีมูลสัตว์และเศษซากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อวัสดุเหล่านี้เกิดการเน่าเปื่อยโดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดิน จนกลายเป็นสารสีดำที่มีเนื้อละเอียดนุ่ม เรียกว่า ฮิวมัส และต่อมาเมื่อฮิวมัสได้ผสมคลุกเคล้าเข้ากับชิ้นส่วนของหิน แร่ ที่ผุพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จึงกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ดิน” สืบมาจนทุกวันนี้

กว่าที่จะเกิดเป็นดินขึ้นมาได้นั้น.. ต้องใช้ระยะเวลานานมาก          

ประมาณกันว่า ต้องใช้เวลาถึง 500 ปี ในการที่หินจะผุพังย่อยสลาย เกิดการทับถมของซากพืชและสัตว์ และ้เกิดกระบวนการต่างๆ ในดิน จนเกิดเป็นดินที่มีความหนาเพียง 1 นิ้วและอาจต้องใช้เวลานาน 3,000 ถึง 12,000 ปี ที่ดินจะมีความลึกพอสำหรับเกษตรกรรม

 


* p_10new.gif (58.05 KB, 468x416 - ดู 3621 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #50 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:46:29 »

ดิน..คืออะไร 

“ดิน” คือ วัตถุตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากผลของการผุพังสลายตัวของหินและแร่ ต่างๆ ผสมคลุกเคล้ารวมกับอินทรียวัตถุหรืออินทรียสารที่ได้มาจากการสลายตัวของเศษซากพืชและสัตว์จนเป็นเนื้อเดียวกัน มีลักษณะร่วนไม่เกาะกันแข็งเป็นหิน เกิดขึ้นปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวในการเจริญเติบโตของพืช 
 
   
    คนทั่วไปมักมองดินแตกต่างกันไปตามการใช้ประโยชน์ที่ตนเองเกี่ยวข้อง ถ้าเป็นเกษตรกรจะมองดินในรูปของความอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกพืชได้ดี ส่วนวิศวกรจะมองในรูปของวัสดุที่ใช้ในการสร้างถนนหนทาง เป็นต้น 
 
    มนุษย์เริ่มสนใจและศึกษาดินโดยคิดว่า ดินเป็นแหล่งของธาตุอาหารซึ่งเกี่ยวข้องกับเจริญเติบโตของพืชกันมาเป็นเวลานานแล้ว เริ่มจากในทวีปยุโรป ตั้งแต่สมัยอริสโตเติล เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาภายหลังจึงเกิดแนวความคิดในการมองดินเป็นวัสดุตามธรรมชาติที่แตกต่างไปจากวัสดุชนิดอื่นๆ และได้มีการศึกษาดินกันอย่างจริงจังในเชิงวิทยาศาสตร์
เราเรียกผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับดินว่า   "นักวิทยาศาสตร์ทางดิน" (soil scientist) หรือ "นักปฐพีวิทยา" 
 
   การศึกษาเกี่ยวกับดิน โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร มีการแบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลัก คือ
 
 
 1. ปฐพีวิทยาธรรมชาติ (pedology) 
   
     มุ่งเน้นการศึกษาดินในสภาพที่เป็นวัตถุที่มีอยู่ตามสภาพธรรมชาติ เพื่อเรียนรู้สมบัติต่างๆ ของดินทั้งสมบัติภายนอกและภายใน โดยการศึกษาจะเน้นหนักไปทางด้านการเกิดดิน ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดการสร้างตัวของดิน และการแจกแจงชนิดของดิน เพื่อนำมาจัดหมวดหมู่ในระดับต่างๆ ตามระบบการจำแนกดินที่ใช้ รวมถึงการจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตดินของดินชนิดต่างๆ ในทางภูมิศาสตร์ด้วย
    ผู้ที่ทำการศึกษาดินในลักษณะนี้เราเรียกว่า “นักสำรวจดิน” (soil surveyor)ู่
 
2. ปฐพีสัมพันธ์ (edaphology)
   
       เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างดินกับสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะพืช เน้นหนักในด้านสมบัติต่างๆ ของดินที่มีผลต่อการให้ผลผลิตของพืช ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและความสามารถของดินที่จะให้ธาตุอาหารแก่พืช รวมถึงเคมีฟิสิกส์ แร่วิทยา และกิจกรรมของจุลินทรีย์ต่างๆ ในดินที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพืชอีกด้วย

     หลักทั่วไปในการคึกษาด้านนี้คือ การหาวิธีเพิ่มผลผลิตพืชจากดินและที่ดิน ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย และการตอบสนองต่อธาตุอาหารในดิน และการตอบสนองต่อปุ๋ยที่ใส่ลงในดิน เพื่อให้ดินสามารถเพิ่มผลผลิตของพืชได้มากขึ้น
 
ความสำคัญของ..ดิน  
 
สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องอาศัยดินในการยังชีพและเจริญเติบโต สำหรับมนุษย์แล้วดินเป็นแหล่งที่มาของปัจจัยสี่เพื่อการดำรงชีพ เพราะเราได้อาศัยดินสำหรับปลูกพืชที่เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
 
 หน้าที่และความสำคัญของดินที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชและการเกษตรกรรม สรุปได้ดังนี้

ดินทำหน้าที่เป็นที่ให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยวเพื่อให้ลำต้นของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคง แข็งแรง ขณะที่พืชเจริญเติบโต
รากของพืชจะเติบโตชอนไชหยั่งลึกแพร่กระจายลงไปในดินอย่างกว้างขวางทั้งแนวลึกและแนวราบ ดินที่ร่วนซุยและมีชั้นดินลึก รากพืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง สามารถเกาะยึดดิน ต้านทานต่อลมพายุไม่ทำให้ต้นพืชล้มหรือถอนโคนได้ 
   
 ดินเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช 
ทั้งนี้เนื่องจากธาตุอาหารพืชจะถูกปลดปล่อยออกจากอินทรียวัตถุ และแร่ต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของดิน ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย 
   
 ดินเป็นแหล่งที่เก็บกักน้ำหรือความชื้นในดิน
ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดได้ง่าย เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงลำต้นและสร้างการเจริญเติบโต น้ำในดินจะต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสมเท่านั้น ที่รากพืชสามารถดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ การรดน้ำพืชจนขังแฉะรากพืชไม่สามารถดึงดูดน้ำขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้ จะทำให้พืชเหี่ยวเฉาและตายในที่สุด 
   
 ดินเป็นแหล่งที่ให้อากาศในดิน ที่รากพืชใช้เพื่อการหายใจ 
รากพืชประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต ต้องการออกซิเจนสำหรับการหายใจทำให้เกิดพลังงานเพื่อการดึงดูดน้ำ ธาตุอาหารและการเจริญเติบโต ดินที่มีการถ่ายเทอากาศดี รากพืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง ดูดน้ำและ ธาตุอาหารได้มาก ทำให้ต้นพืชเจริญเติบโตแข็งแรงและให้ผลิตผลสูง



* s_com1-2.gif (52.6 KB, 454x339 - ดู 2530 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #51 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:51:36 »

องค์ประกอบของดิน

ดิน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ

1. อนินทรียวัตถุ 
   
     อนินทรียวัตถุ หรือ แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบที่มีปริมาณมากที่สุดในดินทั่วไป ได้มาจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ 
   
     อนินทรียวัตถุ อยู่ในดินในลักษณะของชิ้นส่วนที่เรียกว่า อนุภาคดิน ซึ่งมีหลายรูปทรงและมีขนาดแตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    1. กลุ่มอนุภาคขนาดทราย (เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00-0.05 ม.ม.)
    2. กลุ่มอนุภาคขนาดทรายแป้ง (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-0.002 ม.ม.)
    3.กลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียว (เส้นผ่าศูนย์กลาง < 0.002 ม.ม)
   
      อนินทรียวัตถุ หรือ แร่ธาตุในดินนี้ เป็นส่วนที่สำคัญในการควบคุมลักษณะของเนื้อดิน เป็นแหล่งกำเนิดของธาตุอาหารพืช และเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน นอกจากนี้อนุภาคที่อยู่ในกลุ่มขนาดดินเหนียวยังเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการเกิดกระบวนการทางเคมีต่างๆ ในดินด้วย

 
2. อินทรียวัตถุ 
   
     อินทรียวัตถุในดิน ในที่นี้มีความหมายครอบคลุมตั้งแต่ส่วนของซากพืชซากสัตว์ที่กำลังสลายตัว เซลล์จุลินทรีย์ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และในส่วนที่ตายแล้ว ตลอดจนสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลาย หรือส่วนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่รวมถึงรากพืช หรือเซษซากพืช หรือสัตว์ที่ยังไม่มีการย่อยสลาย
   
      อินทรียวัตถุในดินนี้ เป็นแหล่งสำคัญของธาตุอาหารพืช และป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์ดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน อีกทั้งยังเป็นส่วนที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสมบัติต่างๆ ของดินทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น โครงสร้างดิน ความร่วนซุย การระบายน้ำ การถ่ายเทอากาศ การดูดซับน้ำและธาตุอาหารของดิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความสามารถในการให้ผลผลิตของดินอีกด้วย

 
3. น้ำในดิน
 
   น้ำในดิน หมายถึง ส่วนของน้ำที่พบอยู่ในช่องว่างระหว่างอนุภาคดินหรือเม็ดดิน มีความสำคัญมากต่อการปลูก และการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากเป็นตัวช่วยในการละลายธาตุอาหารต่างๆ ในดิน และเป็นส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายอาหารพืชจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของพืช
 
4. อากาศในดิน
 
   หมายถึง ส่วนของก๊าซต่างๆ ที่แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินในส่วนที่ไม่มีน้ำอยู่ ก๊าซที่พบโดยทั่วไปในดิน คือ ก๊าซไนโตรเจน (N2) ออกซิเจน (O2) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งรากพืชและจุลินทรีย์ดินใช้ในการหายใจ และสร้างพลังงานในการดำรงชีวิต
   
ดิน..ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก

 พืชส่วนใหญ่มักจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความร่วนซุย มีปริมาณน้ำ อากาศ และธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างเพียงพอ

       ดังนั้นดินที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชโดยทั่วไปจึงควรมีสัดส่วนขององค์ประกอบที่เป็นของแข็ง หรืออนินทรีย์วัตถุซึ่งได้มาจากการสลายตัวของหินและแร่ อันเป็นแหล่งที่มาของธาตุอาหารพืช และอินทรียวัตถุที่ได้มาจากการสลายตัวของเศษซากสิ่งมีชีวิต อยู่รวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาตรทั้งหมด

      สำหรับส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งนั้นควรจะเป็นที่อยู่ของน้ำและอากาศ ซึ่งจะแทรกอยู่ตามช่องว่างเล็กๆ ในดิน โดยช่องว่างเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการเรียงตัวเกาะยึดกันของอนุภาคขนาดต่างๆ ในดิน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำและอากาศในดินจะมีอยู่ได้มากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของช่องว่างที่มีอยู่ในดินนั้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตามในสภาพของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชนั้น จำเป็นต้องมีน้ำและอากาศในดินในปริมาณที่สมดุลกัน เพราะถ้าช่องว่างในดินมีอากาศอยู่มากก็จะมีที่ให้น้ำเข้ามาแทรกอยู่ได้น้อย พืชที่ปลูกก็จะเหี่ยวเฉาเพราะขาดน้ำ แต่ถ้าในช่องว่างมีน้ำมากเกินไป รากพืชก็จะขาดอากาศหายใจ ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักได้

กล่าวโดยสรุปได้ว่า ...ดินที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกนั้น
ในดินทั้งหมด 100 ส่วน ควรจะมีส่วนที่เป็นของแข็ง 50 ส่วน แบ่งเป็น อนินทรียวัตถุประมาณ 45 ส่วน อินทรียวัตถุ 5 ส่วน และส่วนของช่องว่าง 50 ส่วน ซึ่งประกอบด้วยน้ำ 25 ส่วน และอากาศอีก 25 ส่วน หรือ มีสัดส่วนของ อนินทรียวัตถุ : อินทรียวัตถุ : น้ำ : อากาศ เท่ากับ 45 : 5 : 25 : 25




* s_com3.gif (13.29 KB, 406x287 - ดู 2228 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #52 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:55:17 »

สมบัติของดิน

ถ้าลองสังเกตดูให้ดี...
ในเวลาที่เราได้ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา น้ำตก ชายทะเล ท้องนา ท้องไร่ สวนผลไม้ ฯลฯ จะพบว่า ดินที่เราเหยียบย่ำอยู่ในแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกันออกไป สิ่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีของดิน ซึ่งมีทั้ง สีดำ สีน้ำตาล สีแดง หรือสีเหลือง เป็นต้น หรือลักษณะของเนื้อดินที่มีความหยาบ-ละเอียด แข็ง-นุ่ม แตกต่างกัน ซึ่งความต่างเหล่านี้เป็นผลมาจากปัจจัยและกระบวนการเกิดดินที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อลักษณะหน้าตาของดิน ชนิดของพืชพรรณธรรมชาติที่ขึ้นปกคลุม และความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันไปอีกด้วย
 
  สมบัติที่สำคัญของดินแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1) สมบัติทางกายภาพ 2) สมบัติทางเคมี 3) สมบัติทางชีวภาพ และ 4) สมบัติด้านธาตุอาหารพืช 


สมบัติทางกายภาพ

เป็นลักษณะภายนอกของดินที่สามารถมองเห็นและจับต้องหรือสัมผัสได้ เช่น
ิื หน้าตัดดินและชั้นดิน
 สีดิน
 เนื้อดิน
 โครงสร้างของดิน

สมบัติทางเคมี
 เป็นลักษณะภายในของดินที่เราไม่สามารถจะมองเห็นหรือสัมผัสได้โดยตรง ได้แก่
 ความเป็นกรดเป็นด่าง 
 ความสามารถในการการดูดซับและแลกเปลี่ยนประจุบวก

สมบัติทางชีวภาพ
  พืช
 สัตว์
 จุลินทรีย์ดิน
 
สมบัติด้านธาตุอาหารพืช
 ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
 ธาตุอาหารหลัก
 ธาตุอาหารรอง
 ธาตุอาหารเสริม 
 
   
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #53 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 11:00:18 »

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช

ในจำนวนธาตุอาหารที่พืชจำเป็นต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตออกดอก ออกผล ซึ่งมีอยู่ 16 ธาตุนั้น มี 3 ธาตุ ที่พืชได้มาจากอากาศและน้ำ คือ คาร์บอน ( C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ส่วนอีก 13 ธาตุนั้น พืชต้องดูดดึงขึ้นมาจากดิน ซึ่งธาตุเหล่านี้ได้มาจากการผุพงสลายตัวของส่วนที่เป็นอนินทรียวัตถุและอินทรียวัตถุหรือฮิวมัสในดิน สามารถแบ่งตามปริมาณที่พืชต้องการใช้ได้ เป็น 2 กลุ่มคือ มหธาตุ และจุลธาตุ 
   
1. มหธาตุ (macronutrients)    
    มหธาตุหรือธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก ที่ได้มาจากดินมีอยู่ 6 ธาตุ ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม 
   
 ธาตุอาหารหลัก หรือ ธาตุปุ๋ย ได้แ่ก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) เนื่องจากสามธาตุนี้พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก แต่มักจะได้รับจากดินไม่ค่อยเพียงพอกับความต้องการ ต้องช่วยเหลือโดยใส่ปุ๋ยอยู่เสมอ
   
 ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) เป็นกลุ่มที่พืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า และไม่ค่อยมีปัญหาขาดแคลนในดินทั่วๆ ไปเหมือนสามธาตุแรก 
   
 
2. จุลธาตุ หรือ ธาตุอาหารเสริม (micronutrients)    
     จุลธาตุหรือธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อย มีอยู่ 7 ธาตุ ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โบรอน (B) โมลิบดินัม (Mo) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) และคลอรีน (Cl)
 
     อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารในกลุ่มมหธาตุหรือจุลธาตุ ต่างก็มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะความจริงแล้วธาตุทุกธาตุมีความสำคัญต่อการดำรงชีพของพืชเท่าๆ กัน จะต่างกันแต่เพียงปริมาณที่พืชต้องการเท่านั้น ดังนั้นพืชจึงขาดธาตุใดธาตุหนึ่งไม่ได้ หากพืชขาดธาตุอาหารแม้แต่เพียงธาตุเดียวพืชจะหยุดการเจริญเติบโต แคระแกร็น ไม่ให้ผลผลิตและตายในที่สุด
 
 
   
หน้าที่ของธาตุอาหารพืช    
       ธาตุอาหารพืชแต่ละชนิดมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างกันไป และถ้าพืชได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็จะแสดงอาการที่แตกต่างกันตามแต่ชนิดของธาตุอาหารที่ขาดแคลนนั้น
 
   
 ไนโตรเจน มีหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน ช่วยให้พืชมีสีเขียว เร่งการเจริญเติบโตทางใบ หากพืชขาดธาตุนี้จะแสดงอาการใบเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ลำต้นแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ
   
 ฟอสฟอรัส มีหน้าที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของราก ควบคุมการออกดอก ออกผล และการสร้างเมล็ด ถ้าพืชขาดธาตุนี้ระบบรากจะไม่เจริญเติบโต ใบแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีม่วงแล้วกลายเป็นสีน้ำตาลและหลุดร่วง ลำต้นแกร็นไม่ผลิดอกออกผล
   
 โพแทสเซียม เป็นธาตุที่ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล ช่วยให้ผลเติบโตเร็วและมีคุณภาพดี ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอ ผลผลิตไม่เติบโต มีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาติไม่ดี
   
 แคลเซียม เป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด พืชขาดธาตุนี้ใบที่เจริญใหม่จะหงิกงอ ตายอดไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ผลแตก และมีคุณภาพไม่ดี
   
 แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ทำให้สภาพกรดด่างในเซลล์พอเหมาะและช่วยในการงอกของเมล็ด ถ้าขาดธาตุนี้ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบ และใบจะร่วงหล่นเร็ว
   
  กำมะถัน เป็นองค์ประกอบสำคัญของกรดอะมิโน โปรตีน และวิตามิน ถ้าขาดธาตุนี้ทั้งใบบนและใบล่างจะมีสีเหลืองซีด และต้นอ่อนแอ
   
 โบรอน ช่วยในการออกดอกและการผสมเกสร มีบทบาทสำคัญในการติดผลและการเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล การเคลื่อนย้ายของฮอร์โมน การใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนและการแบ่งเซลล์ ถ้าพืชขาดธาตุนี้ ตายอดจะตายแล้วเริ่มมีตาข้าง แต่ตาข้างก็จะตายอีก ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งและใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา โค้งและเปราะ
 
   
 ทองแดง ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ การหายใจ การใช้โปรตีนและแป้ง กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด ถ้าพืชขาดธาตุนี้ ตายอดจะชะงักการเจริญเติบโตและกลายเป็นสีดำ ใบอ่อนเหลือง และพืชทั้งต้นจะชะงักการเจริญเติบโต
   
  คลอรีน มีบทบาทบางประการเกี่ยวกับฮอร์โมนในพืช ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะเหี่ยวง่าย ใบสีซีด และบางส่วนแห้งตาย
   
  เหล็ก ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสงและหายใจ ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีขาวซีดในขณะที่ใบแก่ยังเขียวสด
   
 แมงกานีส ช่วยในการสังเคราะห์แสงและการทำงานของเอนไซม์บางชนิด ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองในขณะที่เส้นใบยังเขียว ต่อมาใบที่มีอาการดังกล่าวจะเหี่ยวแล้วร่วงหล่น
   
  โมลิบดินัม ช่วยให้พืชใช้ไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะมีอาการคล้ายขาดไนโตรเจน ใบมีลักษณะโค้งคล้ายถ้วย ปรากฏจุดเหลืองๆ ตามแผ่นใบ
   
 สังกะสี ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์ และแป้ง ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวๆ ประปรายตามแผ่นใบ โดยเส้นใบยังเขียว รากสั้นไม่เจริญตามปกติ
 
   
       เมื่อมีการปลูกพืชลงบนดิน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของธาตุอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน เนื่องจากในขณะที่พืชมีการเจริญเติบโต พืชจะดูดดึงธาตุอาหารในดินไปใช้และเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆ ได้แก่ ใบ ลำต้น ดอก ผล จนถึงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำออกไปจากพื้นที่ ธาตุอาหารที่สะสมอยู่เหล่านั้นย่อมถูกนำออกไปจากพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ธาตุอาหารบางส่วนยังเกิดการสูญหายไปในรูปก๊าซ ถูกดินหรือสารประกอบในดินจับยึดไว้ บางส่วนถูกชะล้างออกไปจากบริเวณรากพืช หรือสูญเสียไปกับการชะล้างพังทลายของดิน

       ดังนั้นการเพาะปลูกพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน โดยไม่มีการเติมธาตุอาหารลงไปในดิน ย่อมทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง และในที่สุดดินจะกลายเป็นดินเลวปลูกพืชไม่เจริญเติบโตอีกต่อไป ในการปลูกพืชจึงต้องมีการใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงดิน ช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชและคงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้อยู่เสมอ
 
 
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #54 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 11:08:19 »

ปุ๋ย

ปุ๋ย คือ วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ หรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดธาตุอาหารพืช เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะปลดปล่อย หรือสังเคราะห์ธาตุอาหารที่จำเป็นให้แก่พืช โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

 ปุ๋ยเคมี
 ปุ๋ยอินทรีย์ 
 ปุ๋ยชีวภาพ
 ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #55 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 11:11:55 »

1. ปุ๋ยเคมี      

 ปุ๋ยเคมี คือสารประกอบอนินทรีย์ที่ให้ธาตุอาหารพืช เป็นสารประกอบที่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมี เมื่อใส่ลงไปในดินที่มีความชื้นที่เหมาะสม ปุ๋ยเคมีจะละลายให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว มีอยู่ 2 ประเภท คือ   
   
   ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย 
   
  ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหาร ปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุแล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้น ๆ มีปริมาณของธาตุอาหาร ปุ๋ยที่คงที่ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต มีไนโตรเจน 20% N ส่วนโปรแทสเซียมไนเทรต มีไนโตรเจน 13% N และโพแทสเซียม 46% K(,2)O อยู่ร่วมกันสองธาตุ 
   
 ปุ๋ยผสม
   
  ปุ๋ยผสม ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีสูตรหรือเกรดปุ๋ยเหมาะที่จะใช้กับพืชและดินที่แตกต่างกัน ปุ๋ยผสมนี้จะมีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปเพราะนิยมใช้กันมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยผสมได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถผลิตปุ๋ยผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ มีการปั้นเป็นเม็ดขนาดสม่ำเสมอสะดวกในการใส่ลงไปในไร่นา ปุ๋ยพวกนี้เก็บไว้นานๆ จะไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง สะดวกแก่การใช้เป็นอย่างยิ่ง 
 


* untitled.jpg (40.21 KB, 640x335 - ดู 2187 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #56 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 11:18:12 »

2. ปุ๋ยอินทรีย์      
 
 ปุ๋ยอินทรีย์ คือสารประกอบที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ผ่านกระบวนการผลิตทางธรรมชาติ ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชจึงชอนไชไปหาธาตุอาหารได้ง่ายขึ้น

ปุ๋ยอินทรีย์ มีปริมาณธาตุอาหารอยู่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี และธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไนโตรเจนอยู่ในสารประกอบจำพวกโปรตีน เมื่อใส่ลงไปในดินพืชจะไม่สามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน แล้วปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นออกมาในรูปสารประกอบอินทรีย์ เช่นเดียวกันกับปุ๋ยเคมี จากนั้นพืชจึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้

ปุ๋ยอินทรีย์มี 3 ประเภทคือ 1) ปุ๋ยหมัก 2) ปุ๋ยคอก และ 3) ปุ๋ยพืชสด
 
    
   ปุ๋ยคอก  
    
  ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มาจากสิ่งขับถ่ายของสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ และห่าน ฯลฯ โดยอาจจะใช้ในรูปปุ๋ยคอกแบบสด แบบแห้ง หรือ นำไปหมักให้เกิดการย่อยสลายก่อนแล้วค่อยนำไปใช้ก็ได้ ซึ่งต้องคำนึงถึงชนิดของดินและพืชที่ปลูกด้วย โดยเฉพาะการใช้แบบสดอาจทำให้เกิดความร้อน และมีการดึงธาตุอาหารบางตัวไปใช้ในการย่อยสลายมูลสัตว์ ซึ่งอาจจะทำให้พืชเหี่ยวตายได้

การใช้ปุ๋ยคอกนั้น นอกจากจะมีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชในดินแล้ว ยังช่วยทำให้ดินโปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มากด้วย
 
    
 ปุ๋ยหมัก
    
  ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากการนำชิ้นส่วนของพืช วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ซังข้าวโพด กากอ้อยจากโรงงานน้ำตาล และแกลบจากโรงสีข้าว ขี้เลื่อยจากโรงงานแปรรูปไม้ เป็นต้น มาหมักในรูปของการกองซ้อนกันบนพื้นดิน หรืออยู่ในหลุม เพื่อให้ผ่านกระบวนการย่อยสลายให้เน่าเปื่อยเสียก่อน โดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์จนกระทั่งได้สารอินทรียวัตถุที่มีความคงทน ไม่มีกลิ่น มีสีน้ำตาลปนดำ  
  

  เราสามารถทำปุ๋ยหมักเองได้ โดยนำวัสดุต่างๆ มากองสุมให้สูงขึ้นจากพื้นดิน 30-40 ซม. แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อเศษพืชหนัก 1,000 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็กองเศษพืชซ้อนทับลงไปอีกแล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมี ทำเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้นๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตรควรมีการรดน้ำแต่ละชั้นเพื่อให้มีความชุ่มชื้น และเป็นการทำให้มีการเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้น กองปุ๋ยหมักนี้ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งหนึ่ง
 
    
 ปุ๋ยพืชสด  
    
  ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดินซึ่งได้แก่พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วทำการไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ก็ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น
ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยพวกนี้เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิต หรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด  
 


* 2-36.jpg (73.12 KB, 504x306 - ดู 2569 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #57 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 11:23:59 »

3. ปุ๋ยชีวภาพ    
 
  ปุ๋ยชีวภาพ คือปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง หรือสามารถเปลี่ยนธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ กรมวิชาการเกษตรนับเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ได้ศึกษาวิจัยปุ๋ยชีวภาพมามากกว่า 30 ปี และผลิตปุ๋ยชีวภาพจำหน่ายให้แก่เกษตรกรด้วย
ปุ๋ยชีวภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
   
   กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์สารประกอบอาหารพืชไนโตรเจนได้เอง 
   
  ได้แก่ ไรโซเบียมที่อยู่ในปมรากพืชตระกูลถั่ว แฟรงเคียที่อยู่ในปมของรากสนทะเล สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อยู่ในโพรงใบของแหนแดง และยังมีจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินอย่างอิสระอีกมากที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้แก่พืชได้เช่นกัน
   
 กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยทำให้ธาตุอาหารพืชในดินละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น
   
  เช่น ไมคอร์ไรซาที่ช่วยให้ฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดินละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้
 


* 36.jpg (29.54 KB, 500x437 - ดู 2668 ครั้ง.)

* 37.jpg (51.68 KB, 400x300 - ดู 2720 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #58 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 11:28:40 »

4. ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ     
 
  ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิสูงถึงระดับที่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งที่เป็นโรคพืช โรคสัตว์ และโรคมนุษย์ รวมทั้งจุลินทรีย์ทั่วๆ ไปด้วย จากนั้นนำจุลินทรีย์ที่มีสมบัติเป็นปุ๋ยชีวภาพที่เลี้ยงไว้ในสภาพปลดปล่อยเชื้อมาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าว และทำการหมักต่อไปจนกระทั่งจุลินทรีย์ที่ใส่ลงไปในปุ๋ยหมักมีปริมาณคงที่ จุลินทรีย์เหล่านี้นอกจากจะช่วยตรึงไนโตรเจนให้แก่พืชแล้ว ยังช่วยผลิตสารฮอร์โมนพืชเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากพืช และจุลินทรีย์บางชนิดยังสามารถควบคุมโรคพืชในดินและกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย


* 38.jpg (51.26 KB, 400x300 - ดู 2217 ครั้ง.)

* 39.jpg (65.13 KB, 343x458 - ดู 2683 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #59 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 11:34:46 »

เยอะมากสงสัยต้องอ่านวันล่ะกระทู้

ตามมาอ่านค้าบ ม่ะเคยทำนา แต่อยากทำ ยิ้มกว้างๆ

ขอบคุณท่านที่ให้ความสนใจ.. จะพยายามน้ำข้อมูลดี ๆ มาลงให้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!