เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 18:09:56
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 [30] 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 407116 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #580 เมื่อ: วันที่ 03 มีนาคม 2013, 20:49:05 »

ตัวอย่างนาข้าวที่โดนพายุฤดูร้อนในช่วงที่ข้าวกำลังออกรวงทำให้ข้าวล้มน้ำหนักเมล็ดข้าวไม่เต็มที่ทำให้เมล็ดเบา บางส่วนอาจแช่น้ำเมล็ดเน่า บางส่วนก็ร่วงครับ นี่ขนาดข้าวนาปรังซึ่งมีความสูงไม่มากยังล้มได้เพราะน้ำหนักเมล็ดและเมล็ดข้าวค่อนข้างมาก ซึ่งหากเป็นช่วงนาปีก็มีโอกาสถูกพายุเช่นกัน ซึ่งอย่างข้าว กข.15 มะลิ105 ซึ่งเป็นข้าวไวต่อช่วงแสงจะมีลักษณะต้นที่สูงล้มได้ง่ายกว่าซึ่งเราก็แก้ไขโดยปลูกในช่วงเดือน ก.ค. ไปเก็บเกี่ยวช่วงต้นฤดูหนาว เพื่อให้ต้นข้าวอยู่ในนาไม่นานและไม่ใส่ปุ๋ย N มากจนเกินไป


* 574925d1c.jpg (81.56 KB, 646x468 - ดู 892 ครั้ง.)

* 5749231eb.jpg (72.49 KB, 510x385 - ดู 899 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
~ lทวดาไร้ปีก ~
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609



« ตอบ #581 เมื่อ: วันที่ 03 มีนาคม 2013, 22:43:53 »

พายุแรงจริงๆครับ ที่บ้านผมก็แรงเหมือนกันร้านค้าพังเป็นแถบๆ แต่ขออย่างเดียว ลูกเห็บอย่าตกละกันครับ ในนาถ้าทำกระท่อมเป็นบ้านดินคงจะสวยนะครับพี่
IP : บันทึกการเข้า


Thanks: ฝากรูป [url=http
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #582 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 10:00:34 »

พายุแรงจริงๆครับ ที่บ้านผมก็แรงเหมือนกันร้านค้าพังเป็นแถบๆ แต่ขออย่างเดียว ลูกเห็บอย่าตกละกันครับ ในนาถ้าทำกระท่อมเป็นบ้านดินคงจะสวยนะครับพี่
  บ้านดินเดี๋ยวนี้พัฒนาไปค่อนข้างไกลครับ มีรีสอร์ทหลาย ๆ แห่งที่ทำบ้านดินสวย ๆ น้องแถวบ้านเป็นเจ้าหน้าที่และเป็นคนสอนอบรมการทำบ้านดินโครงการของ ม.เชียงใหม่ ก็เห็นว่าจะกลับมาทำบ้านดินที่แปลงนาให้พ่อแม่ที่ทำนาเชียงรายอยู่ บ้านดินบริเวณใกล้นาคงต้องทำแข็งแรงหน่อยเพื่อให้ทนทานต่อลมพายุและฝน ผมเองยังจะทาสีบ้านกลางนาเป็นสีเดียวกับบ้านดินเลยครับตอนนี้ก็รอให้ทุกอย่างเสร็จก่อน ค่อย ๆ ทำเพราะทำเองครับเลยช้าหน่อยสัปดาห์ไหนว่างก็ค่อยทำ ตอนนี้ว่าจะทำห้องน้ำก็ยังไม่ได้ขุดดินบ่อพักเลยครับ จะจ้างแรงงานถึงเร็วก็จริงแต่ก็อยากลองทำอะไรด้วยตัวเองดีกว่าครับสนุกดี


* 1223028739.jpg (103.01 KB, 673x450 - ดู 934 ครั้ง.)

* 1223028807.jpg (124.11 KB, 673x450 - ดู 1023 ครั้ง.)

* no2.jpg (62.07 KB, 600x224 - ดู 962 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #583 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 10:24:30 »

ช่วงนี้ฝนตกครับ ยังไงก็ระวังโรคข้าวที่เกิดจากเชื้อราด้วยครับ นาปรังข้าวจะหนาแน่นมีโอกาสเกิดโรคได้เหมือนกัน  ซึ่งหลังจากฝนหยุดตกแล้วก็พ่นเชื้อราไตรโครเดอร์มาร์ หรือพวกไครโตรซานก็ได้เพื่อช่วยต้านทานเชื้อราครับ หากต้นข้าวเป็นโรคไปแล้วก็จำเป็นต้องพ่นยาเคมีล่ะครับ

โรคที่พบได้บ่อยได้แก่ โรคไหม้  โรคใบจุดสีน้ำตาล ครับ



* rice_xx2-05_disease002bs.jpg (108.51 KB, 800x600 - ดู 910 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #584 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 11:17:33 »

หลาย ๆ คนพักผ่อนลางานหรือใช้ชีวิตบั้นปลายเพื่ออยากอยู่ใกล้ธรรมชาติ เราชาวนาค่อนข้างโชคดีครับที่ได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติแบบนี้ทุกวัน

ขอบคุณภาพจาก ปายเวียงฟ้ารีสอร์ท


* 1344937544.jpg (77.17 KB, 800x540 - ดู 986 ครั้ง.)

* 1344937702.jpg (83.73 KB, 553x820 - ดู 905 ครั้ง.)

* 1344937732.jpg (78.86 KB, 800x540 - ดู 974 ครั้ง.)

* 1344937782.jpg (74.93 KB, 800x540 - ดู 911 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #585 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 11:34:53 »

บ้านปลายนาหลากหลายรูปแบบครับ ค่าแรงช่างหรือสล่าตอนนี้แพงขึ้น บางทีอาจมากกว่าค่าวัสดุก่อสร้างด้วยซ้ำ สิ่งไหนเราทำเองได้ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ครับ


* 178_200903041629121_.jpg (75.58 KB, 470x302 - ดู 1541 ครั้ง.)

* 11883_4ca871e6790ab_big.jpg (57.55 KB, 640x480 - ดู 977 ครั้ง.)

* 1321961735_892289.jpg (238.22 KB, 611x349 - ดู 981 ครั้ง.)

* DSC_0206.jpg (131.74 KB, 702x522 - ดู 995 ครั้ง.)

* Straw-Eco-Home-1.jpg (82.6 KB, 620x413 - ดู 906 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #586 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 13:07:26 »

อนาคตข้าวไทย..ใต้แสงเทียนสร้างผลิตภัณฑ์สู่ตลาดอินเตอร์



เราคงต้องกล้ายอมรับความจริงแล้วว่า อนาคตของข้าวไทยวันนี้ กำลังเดินเข้ากับดักหุบเหวหายนะ ไม่ต่างจากสหรัฐอเมริกาที่กำลังเผชิญวิกฤตการณ์หน้าผาทางการคลัง (Fiscal cliff)แม้ปัญหาข้าวไทยกับฐานะทางการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯจะแตกต่างกันสิ้นเชิง แต่ตัวการที่ทำให้อนาคตประเทศต้องเสี่ยงตกหน้าผา มาจากเรื่องเดียวกัน ใช้วิธีแก้ปัญหาแบบนักการเมือง...หวังแค่คะแนนนิยมในระยะสั้น ส่วนอนาคตยาวไกลข้างหน้าจะมีปัญหาค่อยมาว่ากัน รายงานพิเศษฉบับเมื่อวาน “ทีมข่าวเกษตร” ได้ชี้ให้เห็นผลจากนโยบายทางการเมือง ไม่เพียงจะทำให้ไทยต้องเสียแชมป์ส่งออก ร่วงไปอยู่อันดับ 3 เท่านั้น ยังทำให้ข้าวหอมมะลิ ที่เคยหอมที่สุด อร่อยนุ่มที่สุดของโลก ต้องหลุดแชมป์ข้าวหอมดีที่สุดในโลกไป 2 ปีซ้อนปี 2554 ถูกข้าวหอมเพิร์ล ปอว์ ซาน ของพม่าแซงหน้าคว้ารางวัลข้าวหอมที่ดีสุดในโลก ปี 2555 ที่เพิ่งผ่านไปหมาดๆ หอมมะลิของไทยถูกข้าวหอมดอกลำดวนของกัมพูชา ตบหน้าคว้ารางวัลไปครองวันนี้เราเผชิญทั้งปัญหาปริมาณข้าวมีมากแต่ขายไม่ออก ถูกประเทศอื่นแย่งตลาด ทั้งปัญหาคุณภาพ ข้าวหอมชั้นดี คุณภาพต่ำลง สู้เพื่อนบ้านไม่ได้ ทั้งที่เขาเพิ่งจะเริ่มปลูกข้าวแข่งกับเราแค่เริ่ม เขาก็ได้ชัยแล้ว...หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่รีบปรับปรุงแก้ไขเสียแต่วันนี้ อนาคตข้าวไทยจะเป็นเช่นไรเพราะอีก 3-4 ปี ประเทศเหล่านี้สามารถผลิตข้าวได้มากเท่าเราอย่างไม่ต้องสงสัย...เพราะเดิมทีเขาก็เคยผลิตข้าวได้มากกว่า โดยเฉพาะพม่า ที่เคยเป็นแชมป์ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 มาก่อนเรา แต่เพราะมีปัญหาสู้รบกันเองในประเทศ เราเลยได้แชมป์แบบไม่ต้องออกแรงมาก



แต่วันนี้ พม่ากำลังจะกลับมาทวงแชมป์ และมีสิทธิจะได้ไม่ยากเพราะสภาพพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีความใหม่บริสุทธิ์ปลอดจากสารเคมีอยู่มาก โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะทำนาที่สำคัญนโยบายหลักของรัฐบาลพม่า ยังมุ่งไปที่การพัฒนาสายพันธุ์ข้าว เพื่อยกระดับทุกอย่าง พร้อมมีการตั้งหน่วยงานรองรับตั้งแต่ส่งเสริมการปลูก ไปจนถึงจำหน่าย...บูรณาการครบวงจรรู้สึกคุ้นกับคำนี้ไหม...และอายเขาบ้างหรือเปล่าในภาวะสถานการณ์ข้าวเป็นเช่นนี้ นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว ยอมรับว่า ประเทศไทยมีปัญหาจริงๆ โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพของข้าวปัญหาส่วนหนึ่งมาจากเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปลูก...ที่ทุกวันนี้ เราไม่รู้ว่ามีการกลายพันธุ์แท้ไปเป็นพันธุ์เทียมมากมายขนาดไหนแล้วปกติแล้วเมล็ดพันธุ์ข้าวจะใช้ปลูกได้แค่ 3 ฤดูเท่านั้น ถ้านำไปใช้ปลูกติดต่อกันมากกว่านั้น ความบริสุทธิ์ของพันธุ์หายไป และจะเกิดการกลายพันธุ์เพี้ยนไปจากเดิมที่ผ่านมาประเทศ ไทยแทบไม่เคยมีโครงการล้างท่อเมล็ดพันธุ์ครั้งใหญ่ทั่วประเทศมาก่อนเลย...ที่เคยมีการทำมาบ้าง เมื่อประมาณปี 2520แต่การเปลี่ยนมาใช้เมล็ดพันธุ์แท้ตอนนั้น ทำได้แค่เพียง 20-30% เท่านั้นเองคิดดูก็แล้วกัน 30 กว่าปีที่ผ่านไป ตกมาถึงวันนี้...พันธุ์ข้าวบริสุทธิ์แท้ๆของไทยเราจะเหลือสักกี่มากน้อย และที่ปลูกกันอยู่ตามท้องนานั้น กลายพันธุ์เพี้ยนไปขนาดไหนแล้วฉะนั้น สิ่งที่จำเป็นสำหรับการรักษาคุณภาพข้าวไทย อธิบดีกรมการข้าว บอกว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์เป็นการล้างท่อครั้งใหญ่ทั่วประเทศสักครั้ง...แต่จะต้องทำแบบเป็นขั้นเป็นตอนนั่นคือ ทำเมล็ดพันธุ์คัด-เมล็ดพันธุ์หลัก-ขยายเมล็ดพันธุ์ขยาย...เพื่อนำไปสู่การผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรซึ่งงานทั้งหมดนี้ราชการทำฝ่ายเดียวคงมีกำลังไม่เพียงพอที่จะผลิตได้หมด เพราะต้องผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายให้ได้ ปีละ 600,000 ตัน ถึงจะเพียงพอจำเป็นต้องพึ่งพาเครือข่ายเกษตรกรชาวนา ศูนย์ข้าวชุมชน สหกรณ์กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงผู้ประกอบการต่างๆ ช่วยกันนำเมล็ดพันธุ์ขยาย ไปปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์จำหน่ายให้กับชาวนาต่อไป แต่นั่นเป็นแผนระยะแรกของการกู้ชื่อเสียงข้าวคุณภาพแท้ๆของไทยให้กลับคืนมา และเพื่อให้ข้าวไทยเป็นที่ 1 ในสายตาชาวโลกไปอีกนาน แผนระยะต่อไป...ต้องเปลี่ยนแผนผลิตพันธุ์ข้าวไทยจะต้องเลือกผลิตแต่เฉพาะข้าวคุณภาพ เพื่อหนีตลาดข้าวราคาถูก ที่หลายประเทศกำลังคิดจะแย่งไปจากเราเราจะไม่ผลิตข้าวเพื่อแค่ให้คนได้กินอิ่มเหมือนเดิมอีกต่อไปแต่เราจะผลิตข้าวที่ดีกว่านั้น...นอกจากได้อิ่มท้องแล้ว ยังได้ยารักษาโรคไปในตัวอีกต่างหากการผลิตข้าวขาว ข้าวพันธุ์ไม่ไวแสง ที่ชาวนาไทยเร่งโหมปลูกกันมากหวังเงินรับจำนำ จะต้องผลิตให้น้อยลง...เพราะขืนทำต่อไป อนาคตมีแต่เจ๊งกับเจ๊ง



เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลหลายประเทศ มีความวิตกกังวลในเรื่องของความมั่น คงทางอาหาร ประเทศที่ผลิตข้าวได้ไม่พอกิน ได้เข็นนโยบายทุกอย่าง ให้คนในประเทศได้มีข้าวกินพอเพียง ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าอีกต่อไปอย่างมาเลเซียได้ประกาศมาแล้วว่า ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า จะไม่นำเข้าข้าว, อินโดนีเซียประกาศให้ทุกวันอังคารเป็นวันลดการกินข้าว 1 มื้อ เพื่อลดการนำเข้า, แม้แต่อิรักก็กำลังเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อให้คนในประเทศได้กินอิ่มโดยไม่ต้องพึ่งพาต่างประเทศนั่นหมายความว่า ในอนาคตข้าวพันธุ์ไม่ไวแสง ข้าวราคาถูกที่ให้คนจนได้กินอิ่มนั้น จะส่งออกได้น้อยลง เพราะประเทศอื่นปลูกได้เองหมดแล้ว...ขืนปล่อยให้ปลูกมากเหมือนเดิมก็ขายไม่ออก ต้องเอาไปเผาทิ้งเหมือนลำไยนั่นแหละข้าวหอมมะลิเช่นกัน ต้องมองข้ามช็อต เพราะขณะนี้หลายประเทศกำลังวิจัยพัฒนาสายพันธุ์ข้าวหอมเพื่อมาแย่งตลาดข้าวหอมมะลิไทย...เวียดนามก็ทำใกล้สำเร็จแล้ว จีนเองก็ทำ สหรัฐฯก็มีแถมวันนี้ พม่า กัมพูชา มีข้าวหอมดีที่สุดในโลก เบียดหอมมะลิไทยไปเรียบร้อยแล้ว...ฉะนั้นเราต้องขยับหนีไปอีกขั้น ก่อนชาติอื่นจะตามทันหนีไปผลิตข้าวเพื่อสุขภาพ ข้าวเพื่อโภชนาการ และผลิตข้าวเพื่อนำไปเป็นเครื่องสำอาง เวชสำอาง...ที่จะช่วยให้ชาวนามีรายได้ที่ดีกว่าในปัจจุบันโดยกรมการข้าว ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), สำนักพัฒนาการวิจัยข้าว (สวก.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำการวิจัยปรับปรุงวิจัยสายพันธุ์ข้าว นอกจากจะเพื่อรองรับปัญหาสภาวะโลกร้อน แก้ปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำแล้ว ยังมุ่งเน้นพัฒนาพันธุ์ข้าวมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นได้ทั้งยาทั้งอาหารไปในตัวเบ็ดเสร็จเช่น...ข้าวสีนิล ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง, ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวสังข์หยด ป้องกันเบาหวาน, ข้าวลืมผัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้นและเพื่อให้ข้าวมีมูลค่าสูงขึ้น ต้องส่งเสริมให้ปลูกเป็นข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษด้วย เพราะจะเป็นสินค้าในตลาดระดับบน ที่ขายได้ราคาสูง...ใช้พื้นที่ปลูกไม่มาก กำไรเท่าตัวเรียกว่า ยุทธศาสตร์ข้าวไทยในอนาคต จะเน้นผลิตแต่สินค้าข้าวคุณภาพ ราคาสูงเป็นหลัก...ส่วนข้าวคุณภาพต่ำ ราคาถูกจะแบ่งตลาดให้ประเทศอื่นๆ แย่งกันเอง



แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อนาคตข้าวไทยที่สวยหรูเหมือนภาพฝันนี้ เป็นเพียงแนวคิดของคนทำงานกับข้าวมาครึ่งชีวิต...ส่วนจะไปกันได้กับแนวคิดของคนอ้างช่วยชาวนา แต่จ้องหาช่องทุจริตในสารพัดโครงการข้าวหรือไม่ นั่นเป็นอีกเรื่อง ก็อนาคตของประเทศไทย วันนี้อยู่ในมือของคนแบบไหน...เห็นๆ กันอยู่.ทีมข่าวเกษตร
ที่มา : ทีมข่าวเกษตร ไทยรัฐออนไลน์
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #587 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 13:29:34 »

ข้าวในมุมมองที่แตกต่าง

พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี)

 “ข้าวคือมิ่งขวัญ คือจิตวิญญาณของคนไทย”



“ไม่ว่าจะเป็น จิตวิญญาณของความเป็นไทย มิติทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศาสนา หรือครอบครัว ทั้งหมดนั้น อยู่ในข้าวทุกเมล็ดที่เรากิน”


      เมื่อกล่าวถึงข้าวไทยกับในหลวงของเรานั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง โดยทรงมีแปลงข้าวทดลองส่วนพระองค์ ที่สวนจิตลดา เพราะข้าวคือสัญลักษณ์ของความเป็นไทย ด้วยเหตุนี้พระมหากษัตริย์จึงต้องคงประเพณีแรกนาขวัญเริ่มฤดูปลูกข้าวจนถึงปัจจุบัน เพื่อส่งสัญญาณดีก่อนเริ่มฤดูปลูกข้าว หรือแม้แต่พระพุทธองค์ ก็ยังกล่าวว่าตัวท่านเป็นตระกูลชาวนา และยังตั้งชื่อปัญจวคีทั้งหลาย ด้วยคำว่า “โอทนะ” ที่แปลว่า “ข้าว”

      ทางภาคเหนือก็ยังมี พิธีสู่ขวัญควายซึ่งได้อุทิศแรงกายให้คนได้มีข้าวกิน ส่วนพระแม่โพสพก็แสดงให้เห็นว่า
คนไทยให้ความสำคัญกับข้าวมาตั้งแต่โบราณ โดยถือเอาข้าวเป็นอาหารที่เทพประทานให้คนไทย ข้าวจึงถือเป็น
มิ่งขวัญของคนไทย คือจิตวิญญาณ มีทั้งมิติทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศาสนา และครอบครัว

      เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว เรายังมีประเพณี “ทานข้าวใหม่” คือการบริจาคข้าวใหม่ที่เพิ่งเก็บเกี่ยวมาจากหมู่บ้าน ถวายเป็นภัตตาหารแด่พระสงฆ์ โดยให้ผู้ที่เคารพได้ทานข้าวใหม่ก่อน เพราะคนไทยถือว่าข้าวคือวิถี ชาวนาคือกระดูกสันหลัง ขาดข้าวเมื่อไร เมืองไทยก็ตาย

      แต่ทุกวันนี้ ความเคารพที่มีต่อข้าวกลับลดลง เพราะการพึ่งพาเทคโนโลยีในการเก็บเกี่ยว ทำให้มิติระหว่างคนกับข้าวหายไป ช่องว่างที่เกิดขึ้นใหม่กลายเป็นมิติเชิงธุรกิจเสียหมด

      เมื่อสำนึกในความกตัญญูค่อยๆ ลดลงเท่าไร พืชและสัตว์ตามธรรมชาติ เช่น กบ เขียด หนู ที่อาศัยตามท้องไร่ท้องนา ก็ค่อยๆ หายไปเท่านั้น คุณภาพข้าวที่เปลี่ยนไป เกิดจากความไม่ลึกซึ้ง ไม่ใช้แรง ละเลยต่อประเพณีดั้งเดิม ความเคารพต่อข้าวจึงน้อยลง

ทำอย่างไรรักษาขวัญข้าวของไทยให้อยู่ไปตราบนานเท่านาน? นี่คือสิ่งที่ขอให้ลูกหลานเก็บไปคิด


นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา

ประธานกรรมการบริหาร สพภ.
ผู้ริเริ่มจัดทำสารานุกรม “ภูมิปัญญาข้าวไทย”



“ข้าวเป็นจิตวิญญาณของคนไทย เป็นทั้งมรดกทางวัฒนธรรมและทางวิทยาศาสตร์”


       องค์ความรู้ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าเป็นความรู้ที่ได้จากการวิจัยและทดลองในห้อง Lab คือ “วิทยาศาสตร์” กับความรู้ที่ได้จาก คน หรือกลุ่มคนทดลองปฏิบัติ ลองผิดลองถูก เฝ้าสังเกตธรรมชาติ ดูว่า
สิ่งใดสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับกิจกรรมของตนได้ คือ “ภูมิปัญญา” ซึ่งมีที่มาแตกต่างกันแต่สามารถเกื้อกูลกันได้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ มุ่งเน้นการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ การค้า

สำหรับเรื่องข้าวนั้น “ข้าวเป็นจิตวิญญาณของคนไทย” ข้าวเป็นทั้งมรดกทางวัฒนธรรมและทาง
วิทยาศาสตร์ ในด้านวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้าไปมาก มีการผลิตพันธุ์ข้าวใหม่ๆ โดยมีกระบวนการจัดการเรื่องของการผสมพันธุ์ให้เกิดข้าวพันธุ์ใหม่ ในขณะเดียวกันโลกมีการใช้เทคโนโลยีในทาง Genetic หรือการตัดต่อพันธุกรรม (ซึ่งในประเทศไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับ) เพื่อให้ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้มากยิ่งขึ้น ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวมาก็เกิดขึ้นจากต้นกำเนิดคือความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะข้าวแต่ละประเภทที่อยู่ตามสถานที่ต่างๆ มีคุณสมบัติ คุณลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่ของกลิ่น ความอดทนต่อความแล้ง คุณค่าทางโภชนาการ หรือความแตกต่างของสี วิทยาศาสตร์ต้องนำสิ่งต่างๆ ที่ต้องการมาผสมกันเพื่อให้เกิดข้าวพันธุ์ใหม่ขึ้น เช่น นำความแข็งแกร่งของพันธุ์หนึ่งบวกกับกลิ่นหอมของอีกพันธุ์หนึ่ง นำความต้านทานความแล้งของพันธุ์หนึ่งบวกกับความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และบวกกับความไวแสงของอีกพันธุ์หนึ่งให้ได้พันธุ์ข้าวที่ดี ที่สุด




ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร

ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ / ผู้ปฏิบัติงานในโครงการพระราชดำริ
ที่ปรึกษาโครงการจัดทำสารานุกรม “ภูมิปัญญาข้าวไทย”




“เราอยากสอนให้ทุกคนรู้ว่า เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง พระแม่ธรณีรับฝากข้าว 1 เม็ดใน 120 วัน ให้เรากลับคืนมาเป็นหมื่นเม็ด”
      ข้าว คือ อาหารของมนุษย์ที่ต้องแบ่งกันกิน ข้าวไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อเป็นสินค้า เพราะทุกคนต้องกินอาหารทุกวัน และอาหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาอาหารทั้งโลก ก็คือข้าว ถ้าไม่มีข้าวก็ไม่มีขนมปัง และเราคงจะปลูกมันกินอย่างเดียวไม่ได้ ข้าวคือต้นอารยธรรมของมนุษย์ คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้นักล่า นักเก็บของป่า เป็นนักผลิต นักเพาะปลูก
แต่เดิมมนุษย์ก็ไม่ต่างกับสัตว์ เร่ร่อนเพื่อใช้ชีวิตและหาอาหารตามโชคชะตา แต่มนุษย์เริ่มตั้งถิ่นฐานเพราะเราได้รู้จักกับข้าว เรากินข้าว และหาวิธีเพาะปลูกมัน ข้าวเมื่อสมัยก่อนเม็ดโตเต็มรวง เราติดใจในรสชาติจึงปลูกและรอเก็บเกี่ยวข้าวเป็นอาหาร โดยที่ไม่ต้องล่า ไม่ต้องหาเก็บในป่า ทำให้เรียนรู้การสร้างที่อยู่อาศัย สถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือน สร้างวิวัฒนาการต่างๆ มากมาย จนหลุดพ้นจากอารยธรรมต่ำเยี่ยงสัตว์ ที่ไม่ใส่เสื้อผ้า

      แต่วันนี้มนุษย์เอาข้าวไปแปลงเป็นกระดาษ ไปแปลงเป็นค่าอื่น สุดท้ายก็กลับไปเหมือนเดิม ใช้เกมการค้าไปแทนเกมการล่า ใครชนะ ใครได้ข้าวมากที่สุดก็ได้ข้าวไปกิน ซึ่งอาจจะเป็นการเปรียบเทียบที่แรงไป แต่นี่เป็นสัจจะ เป็นความจริง ทำให้มนุษย์คิดถึงตัวเองมากขึ้น แต่ชาวนาคิดถึงคนอื่น คิดว่าจะมีข้าวให้คนกิน มีข้าวให้พระฉันได้หรือไม่ วิธีคิดแบบสัมมาทิฐิเช่นนี้ ทำให้คนสมัยก่อนมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับข้าวมากมาย จนเป็นวัฒนธรรม ประเพณี

      ข้าวเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยเก่งเป็นหนึ่งในโลก ตั้งแต่การหาที่ที่เหมาะแก่การทำนา คัดสรรพันธุ์ที่อร่อย หอม และเป็นประโยชน์ รวมไว้ในข้าวทุกเม็ด

      แต่เราทำลายตัวเอง ยังไม่สายเกินไปที่คนไทย จะลุกขึ้นมาสนใจข้าว ความสามารถของคนไทยในการผลิตข้าวไม่เหลืออะไรเลย เมื่อก่อนเราปลูกข้าวบนที่นาของไทย ใช้คนไทยปลูก พันธุ์ข้าวไทย ใช้ควายไทย คันไถแบบไทย ระหัดวิดน้ำของไทย เคียวไทย นวดข้าวบนลานไทย ใช้เครื่องนวดไทย เก็บในยุ้งฉางไทย เครื่องสีไทย ตำด้วยครกไทย ใส่กระบุง กระด้ง หุงด้วยเตาไทย ถ่านไทย แกลบไทย หม้อไทย ใส่ในจานไทย ตักเข้าปากด้วยช้อนไทย(มือ) แต่เดี๋ยวนี้ข้าวที่เรากินกันแทบไม่ใช่ข้าวไทยแล้ว แต่เป็นข้าวของต่างชาติ ปลูกในที่นาที่แบงก์ยึดไป ใช้คนไทยปลูกหรือเปล่า พันธุ์ข้าวก็เป็นพันธุ์ลูกผสมชาติไหนต่อชาติไหนมั่วไปหมด ไถด้วยควายเหล็กที่กินน้ำมัน ใช้เครื่องจักรสูบน้ำเข้านา เก็บเกี่ยวด้วยรถแทรกเตอร์ นวดก็ใช้เครื่องนวดต่างประเทศ โรงสีของต่างประเทศ หม้อหุงข้าวต่างประเทศ จานช้อนต่างประเทศ ถึงปากเราก็ไม่ใช่ข้าวไทยแล้ว

ถามว่าแล้วเราจะกลับไปทำแบบก่อนได้หรือไม่ คำตอบคือเรากำลังทำอยู่ แต่ก็มีหลายขั้นตอนที่อนุโลมให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทบ้าง อาจจะต้องนวดด้วยเครื่อง สีด้วยเครื่อง แต่ต้องทำให้เป็นของไทยมากที่สุด ให้ความเป็นไทยเพิ่มขึ้นทีละนิดทีละนิด เราอยากสอนให้ทุกคนรู้ว่า เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง
พระแม่ธรณีรับฝากข้าว 1 เม็ดใน 120 วัน ให้เรากลับคืนมาเป็นหมื่นเม็ด แล้วแต่ความขยัน ความรู้ของแต่ละคน ทำมากได้มากเป็นเรื่องปกติ

      ที่ดินที่นาบ้านเราสู้ได้ ความรู้ความชำนาญก็สู้ได้ ถ้าทุกฝ่ายช่วยกันไม่มีใครตามเราทัน เราคงตามเยอรมัน ญี่ปุ่นทำรถยนต์ไม่ได้ แต่เค้าก็ตามเราเรื่องข้าวไม่ได้เหมือนกัน เราไม่กินรถยนต์เราไม่ตาย เราต้องเอาดีทางนี้ที่เราเก่ง

      ต่อไปในอนาคตเราอาจต้องเจอกับภัยพิบัติมากมาย จึงต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายเผชิญกับวิกฤตนั้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เลยเถิดไปแล้ว ภัยธรรมชาติ
โรคระบาดในข้าว แมลงรบกวน หญ้าที่ฆ่าลำบาก ทำให้ข้าวยากหมากแพง จนเกิดความขัดแย้งเป็นสงครามได้ แต่ถ้าคนเปลี่ยนความคิดได้ว่า ข้าวคืออาหารที่แบ่งกันกิน
ผมเชื่อว่ามนุษย์จะมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญและผ่านวิกฤตนั้นไปได้ ผมเชื่ออย่างนั้นและจะทำต่อไป




นายธนู วงษ์เกษม

ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ กรมการข้าว



“สังเกตได้ว่า ปัจจุบันชาวนาจะทำการหว่านข้าว ค่อนข้างแน่นมาก และการหว่านข้าวแน่นมากทำให้เป็นแหล่งสะสมของพวกแมลง”
      วิธีการทำนาของชาวนาในสมัยก่อนส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ นาหว่านข้าวแห้งในทางภาคอีสาน ต่อมาได้มีการพัฒนากระบวนการผลิต จากวิธีการทำนาจากนาหว่านดั้งเดิมมาสู่ “การทำนาหว่านน้ำตม” ทำให้สามารถผลิตข้าวได้ผลผลิตมากขึ้นจากเดิม ประหยัดแรงงาน ประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้ระยะเวลาที่สั้นลง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมค่อนข้างมาก แต่ทั้งนี้ก็มีทั้งผลดีและผลเสีย โดยผลเสียที่ตามมา คือ จะสังเกตได้ว่า ปัจจุบันชาวนาจะทำการหว่านข้าวค่อนข้างแน่นมากเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และการหว่านข้าวแน่นมากนี้เองทำให้เป็นแหล่งสะสมของพวกแมลง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รวมถึงข้าวดีด ข้าวเด้ง ก็มีส่วนมาจากการทำนาหว่านน้ำตม เช่นกัน

      ในเรื่องของพันธุ์ข้าว ในสมัยก่อนยังมีพันธุ์ข้าวไม่หลากหลายนัก กรมการข้าวจึงได้มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ โดยนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของพี่น้องชาวนา จนในปัจจุบันมีการการปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้ดีขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดสูงขึ้นด้วย ชาวนาจึงพยายามที่จะปลูกให้ได้หลายครั้งในแต่ละปี แต่ผลที่ตามมาจากการปลูกหลายครั้ง ก็คือ อายุของข้าวจะสั้นลง เมื่ออายุข้าวสั้นลง คุณภาพของข้าวก็จะลดต่ำลงไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันกรมการข้าว และรัฐบาลไม่ทำการสนับสนุนพันธุ์ข้าวที่มีอายุสั้น โดยจะเห็นได้จากโครงการประกันรายได้ที่ไม่ให้ข้าวอายุสั้นเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้กรมการข้าวจะเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนทั้งทางด้านการปรับปรุงพันธุ์ และกระบวนการผลิตที่ดี เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของชาวนาไทยต่อไป




ดร.สมทรง โชติชื่น

นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ
ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี



“ข้าวพื้นเมืองจะมีคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน เกิดจากการคัดเลือกโดยวิวัฒนาการธรรมชาติ และการคัดเลือกของชาวนาตั้งแต่อดีต เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความนิยมของคนในแต่ละชุมชนท้องถิ่น”
      ข้าวเป็นวิถีชีวิตไทย ข้าวมีความสำคัญไม่เพียงเฉพาะในเรื่องของการเป็นอาหารหรือพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยเท่านั้น แต่ข้าวอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยมานาน ประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ มีข้าวเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพิธีกรรมหรือการสร้างความรู้สึก สร้างความผูกพันในชุมชน มีหนังสือเกี่ยวกับ
“ข้าวกับคนไทย” หรือ “พระมหากษัตริย์กับข้าว” อยู่มากมาย ความสำคัญในเรื่องของศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าในเรื่องของการเป็นอาหาร


เรื่องของพันธุ์ข้าวไทย

      ข้าวในหน้าที่รับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ มีหน้าที่หลักในเรื่องของการอนุรักษ์ การเป็นสถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพันธุ์ข้าวจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย โดยได้รวบรวมข้าวจากทั่วประเทศ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมดที่เป็นเชื้อพันธุกรรมที่ใช้ประโยชน์ได้แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของไทย ซึ่งพันธุ์ข้าวเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อสร้างข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพ และผลผลิตที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

ประเทศไทยอยู่ในเขตศูนย์กลางการแพร่กระจายของพันธุ์ข้าว มีความแตกต่างกันทั้งสภาพภูมิประเทศและ
ภูมิอากาศ มีพื้นที่เหมาะสำหรับปลูกข้าวไร่ ข้าวนาสวน ข้าวน้ำลึก จึงมีความหลากหลายของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองอยู่มาก ข้าวพื้นเมืองจะมีคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน เกิดจากการคัดเลือกโดยวิวัฒนาการธรรมชาติ และการคัดเลือกของชาวนาตั้งแต่อดีต เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่
เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความนิยมของคนในแต่ละชุมชนท้องถิ่น

      ปัจจุบันเริ่มมีผู้ให้ความสนใจเรื่องการบริโภคข้าวมากขึ้น ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากกระแสทางด้านการให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการ ข้าวบางพันธุ์มีวิตามินสูง บางพันธุ์มีธาตุเหล็กและทองแดงสูง บางพันธุ์มีแอนติออกซิแดนท์บางชนิดสูง ซึ่งจะเป็นช่องทางที่จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ หรือสร้างจุดขายของแต่ละพันธุ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดในเชิงเศรษฐกิจการค้าต่อไป
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #588 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 13:45:18 »

นายจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา

นักวิชาการวัฒนธรรม หอไทยนิทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ



“ความสำคัญของข้าวไม่ได้ปรากฏอยู่ในแง่มุมทางด้านประวัติศาสตร์เท่านั้น ยังปรากฏอยู่ในแง่มุมอื่นๆด้วย เช่นทางด้านวรรณกรรม ทำให้เห็นถึงความผูกพันในแง่มุมต่างๆ จึงนับได้ว่า ข้าวเป็นวิถีชีวิตของคนไทย”



      “ข้าวถือว่าเป็นชีวิตของคนไทย” วัฒนธรรมข้าว หรือเรื่องของข้าวในสังคมไทยมีปรากฏให้เห็นมาแต่โบราณกาล ดังที่ปรากฏในหลุมขุดค้นทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ก็จะพบเมล็ดข้าวปะปนอยู่ด้วย เมื่อคนบริโภคข้าว คนก็จะมีความคิดในเรื่องของความเชื่อ ในเรื่องของการนำมาปรับใช้ แปรเปลี่ยนให้ผูกพันกับวิถีชีวิตของตน ดังจะเห็นได้จากการมีประเพณีพิธีกรรมที่มีความเกี่ยวพันกับเรื่องของข้าวหรืออาหารการกิน โดยคนไทยรู้จักการเคารพ นอบน้อม สำนึกบุญคุณ ต่อสิ่งที่มีคุณ วัฒนธรรมเหล่านี้ส่งผลสะท้อนให้เกิดเป็นประเพณีพิธีกรรมของราษฎร ตั้งแต่เริ่มกระบวนการเพาะปลูก จนถึงการเก็บเกี่ยว เช่นการทำขวัญข้าว หรือแม้กระทั่งการจะนำมาบริโภคก็มีการไหว้สำนึกบุญคุณ อีกทั้งยังผูกพันไปถึงการมีพิธีหลวงอีกด้วย

      คนไทยมีพระมหากษัตริย์ คือ พระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งทรงมีการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้น การทำให้ข้าวปลาอาหารเจริญรุ่งเรือง งอกงามแข็งแรง นับเป็นสิ่งที่ราชสำนักให้ความสำคัญมาแต่โบราณ เช่น ในพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีที่แสดงให้เห็นถึงภาพสะท้อนของสังคมในผู้ที่เป็นผู้ปกครอง คือพระมหากษัตริย์เสด็จเป็นประธานในพิธี แต่เดิมจะเห็นว่ามีการลงหว่านข้าว ทำนา จนกระทั่งปัจจุบัน ทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินทรงเกี่ยวข้าวเพื่อความเป็นมงคล การที่พระราชวงศ์ทรงทำพิธีเหล่านี้ เป็นภาพสะท้อนแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันระหว่างข้าวกับวัฒนธรรม

      ความสำคัญของข้าวไม่ได้ปรากฏอยู่ในแง่มุมทางด้านประวัติศาสตร์เท่านั้น ยังปรากฏอยู่ในรูปลักษณ์อื่นๆด้วย เช่น ทางด้านวรรณกรรม เพลงพื้นบ้าน บทกวี เพลงเพื่อชีวิต เป็นต้น ทำให้เห็นถึงความผูกพันในแง่มุมต่างๆ จึงนับได้ว่า “ข้าวเป็นวิถีชีวิตของคนไทย”



วรัตดา ภัทโรดม

ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเอกชน
นักธุรกิจ ผู้ริเริ่มโครงการ “รณรงค์การซื้อที่นากลับคืนให้ชาวนาไทย”



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงให้ความสำคัญกับข้าวและชาวนามาก แต่ดูเหมือนพวกเราจะไม่สนใจ เพราะว่ายังมีข้าวทานทุกวัน เรามองแค่วันนี้ แต่พระองค์ท่านทรงมองไกล กว่าพวกเรามานานมากแล้ว”



      คนไทยเราทานข้าวทุกวัน ทานกันทุกคน แต่ทำไมอาชีพชาวนาถึงไม่ได้รับการยกย่อง และให้ความสำคัญ เหมือนอาชีพหมอ หรือ วิศวกร ทำไมชาวนามีแต่จนลง จนลง ทั้งๆที่เป็นผู้ผลิตสิ่งที่คนไทย ๖๐ ล้านคนต้องบริโภคทุกวัน แปลกนะคะ ในประเทศอื่นๆ อย่างเช่น นิวซีแลนด์ ชาวไร่ชาวสวนชาวนาของเขารวยค่ะ คนทั้งประเทศของเขาให้ความสำคัญกับอาชีพนี้อย่างมาก เมื่อไหร่นะ คนไทย รัฐบาลไทย จะเห็นความสำคัญและให้เกียรติกับอาชีพนี้จากใจจริง จะต้องรอวันที่เราต้องซื้อข้าวจากประเทศอย่างเวียดนามทานในราคาแพงหรือคะ
ที่คนไทยจะเริ่มเปลี่ยนแปลงมุมมองและจัดการกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ที่นาของเราน้อยลงทุกวัน ทุกวัน จำนวนชาวนาของเราน้อยลงทุกวัน ทุกวัน ข้าวหอมมะลิ ถูกเปลี่ยนพันธุ์ ไม่หอมแล้ว ข้าวหอมมะลิที่หอมและไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมีหายไปไหนนะคะ วัว ควาย หมดอาชีพ ควายเหล็กทิ้งแต่รอยน้ำมันบนผืนดินที่นา ทำให้สัตว์ต่างๆอยู่ไม่ได้แล้ว เดี๋ยวนี้ต้องมีโรงเรียนควาย สอนควายและสอนคนให้เริ่มไถนาเป็นอีกครั้ง ข้าวเปลือกกิโลละ ๖ บาท เหมียวซื้อข้าวทานจากซุปเปอร์มาร์เก็ต ราคา ๓๕ ถึง ๓๘ บาท ต่อกิโล ... เงิน ๓๐ บาท อยู่ที่ใครกัน???
      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงให้ความสำคัญกับข้าวและชาวนามาก แต่ดูเหมือนพวกเราจะไม่สนใจ เพราะว่ายังมีข้าวทานทุกวัน เรามองแค่วันนี้ แต่พระองค์ท่านทรงมองไกล กว่าพวกเรามานานมากแล้วนะคะ เพราะว่าพระองค์ท่านทรงงานอยู่ในพื้นที่ ส่วนเรานั่งอยู่บ้านหรืออยู่ที่ทำงาน ไม่เคยไปเห็นไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศของเราเลย ดูเหมือนพวกเราจะสบายกันมากเกินไปนะคะ

      ถึงเวลาแล้วนะคะ ที่พวกเราคนไทย จะต้องหันมาช่วยคนที่ปลูกข้าวให้เราทานมานานหลายสิบ หลายร้อยปี ไม่มีใครปลูกข้าว เรามาปลูกข้าวกันก็ดีนะคะ ที่นาหายไปกลายเป็นที่โรงงาน เราซื้อที่นาให้เป็นที่นาก็น่าจะเป็นการลงทุนที่ดีนะคะ เหมียวว่าเราอยู่เฉยๆไม่ได้อีกต่อไปค่ะ

      มีคนหลายคนที่ทุ่มเทช่วยข้าว ช่วยชาวนาตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นะคะ เรามาร่วมช่วยข้าว ช่วยชาวนากันเถอะค่ะ




นายจักรกฤต บรรเจิดกิจ

ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ จังหวัดพิจิตร
ชาวนา ผู้มีหัวใจอนุรักษ์วัฒนธรรมข้าว



“วิทยาศาสตร์ กับภูมิปัญญาแบบชาวบ้าน ไปด้วยกันได้อยู่แล้ว ขอเพียงเราอยู่อย่างพอเพียง ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ ที่ให้เรามีชีวิตอยู่ได้ จนถึงทุกวันนี้ก็พอ”
      คนในสมัยก่อน เชื่อถือเรื่องฤกษ์ยาม เชื่อในวัฒนธรรม เริ่มทำนาเวลาใด ก็มีฤกษ์ยาม มีการ มีการทำพิธีกรรมบูชา เช่นการบายศรี จึงอยู่กันมาได้โดยไม่มีหนี้สิน มีเหลือกิน เหลือเก็บ คนที่นี่ปลูกข้าวนาปีกันแบบดั้งเดิม ผสมกับการนำความรู้ใหม่ๆ มาประยุกต์เพิ่มเติม มีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ทำเองจากพวกไข่ รกสัตว์ หอย ปลา กุ้ง
ทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งธรรมชาติ เป็นการบำรุงแบบธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี ช่วยลดต้นทุน และยังไม่เป็นอันตรายจากสารเคมีตกค้างในระยะยาวอีกด้วย

      แม้จะมีการนำเอาความรู้ใหม่ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้อย่างไร เราก็ยังมีความเชื่อที่สืบต่อกันมา ในเรื่องการเคารพ
แม่โพสพ เทพเจ้าที่ดูแลข้าว เราจะระลึกบุญคุณของท่าน ที่ให้ข้าวเรากิน ด้วยการทำขวัญแม่โพสพในที่นาของตนเอง โดยในการทำพิธีจะเริ่มด้วยการจัดเตรียมเครื่องเซ่น คือ พลู กล้วยสุก มะพร้าวอ่อน ธูป น้ำ 1 แก้ว น้ำตาลทราย และจะทำพิธีก่อนการลงมือปลูกข้าวนาปี ทุกปี เพื่อขอให้ผลผลิตข้าวออกมาดี ไม่มีศัตรูข้าว แมลง วัชพืชมารบกวน

      ถึงเทคโนโลยีจะทันสมัยแค่ไหน แต่เราก็ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ไม่ใช่รับเอามาทุกอย่าง จนไม่เหลือสิ่งที่ตกทอดต่อๆ กันมา วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาแบบชาวบ้านไปด้วยกันได้อยู่แล้ว ขอเพียงเราอยู่อย่างพอเพียง
ไม่เบียดเบียนธรรมชาติที่ให้เรามีชีวิตอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ก็พอ



นายวิชิตพล ไล่สัตรูไกล

ผู้บริโภคข้าว / ดารา นักแสดง



“เราขายข้าวได้เกวียนละหมื่นบาท เพื่อจะแลกกับของอำนวยความสะดวกหลายอย่างจากต่างประเทศ บางอย่างก็เป็นของฟุ่มเฟือยราคาแพง เราจึงต้องผลิตข้าวให้มากขึ้นอีก จะได้ไม่ให้เสียดุลการค้า”
      คนไทยทุกคนกินข้าวเป็นอาหารหลัก ตั้งแต่จำความได้ เราเกิดมาพร้อมข้าวตั้งแต่ในมื้อแรกๆ ของชีวิตด้วยซ้ำ เหมือนกับชาวต่างชาติที่กินขนมปัง หรือแป้งเป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเราจะเปลี่ยนไปกินอะไรสักกี่วัน กี่มื้อ แต่ไม่นานเราก็ต้องกลับมากินข้าวสวยอุ่นๆ กับกับข้าวทุกครั้งไป ในสมัยก่อน เรากินข้าวทุกมื้อด้วยซ้ำ ทุกบ้านต้องหุงข้าวทั้งมื้อเช้า มื้อเที่ยง มื้อเย็น กินกับน้ำพริก ผัก ปลา ที่หาได้จากไร่สวน เพราะเราคือประเทศการเกษตร

      ข้าวให้แรงขับเคลื่อนกับคนไทยมาโดยตลอด ทั้งในเป็นอาหารหลัก หรือจะทำการค้า บ้านเมืองเราปลูกข้าวที่ไหนก็ขึ้น ได้ผลผลิตมากมาย จนข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ และติดอันดับโลก ข้าวพันธุ์ไทยเป็นข้าวที่ไม่เหมือนชาติใดในโลก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่มีกลิ่นหอม เม็ดสวย จนต่างชาติพยายามจะจดลิขสิทธิ์เป็นเจ้าของพันธุ์ข้าวไทย เป็นคดีความกันใหญ่โต

      แต่เดี๋ยวนี้ มีชาวนาไทย ที่ปลูกข้าวกัน กระดูกสันหลังของชาติที่ปลูกข้าวเองด้วยมือ ใช้วิธีการแบบธรรมชาติตั้งแต่ต้นจนเก็บเกี่ยวก็ไม่ค่อยพบเจอเท่าไรในสมัยนี้ เทคโนโลยีและวัฒนธรรมต่างชาติก็เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตการเกษตรของเรา ด้วยแนวคิดแบบวัตถุนิยมมากขึ้น เราขายข้าวได้เกวียนละหมื่นบาท เพื่อจะแลกกับของอำนวยความสะดวกหลายอย่างจากต่างประเทศ บางอย่างก็เป็นของฟุ่มเฟือยราคาแพง เราจึงต้องผลิตข้าวให้มากขึ้นอีก จะได้ไม่ให้เสียดุลการค้า เป็นเช่นนี้เพิ่มขึ้นๆทุกปี ความผูกพันระหว่างข้าวกับคนไทย จึงห่างกันไปทุกที เราไม่ได้เคารพข้าวก่อนกิน เรากินข้าวไม่หมดจาน เหมือนที่คนสมัยก่อนทำ และไม่ได้ให้ความสำคัญกับข้าวทุกเม็ด ในยุคที่การเกษตรต้องต่อสู้กับเทคโนโลยีที่หมุนเร็วอย่างทุกวันนี้ ช่องว่างระหว่างธรรมชาติกับคนเรากลับก็ห่างกันออกไปทุกที เราจะปรับเปลี่ยนความคิดของตัวเองได้ดีแค่ไหน ถึงเวลาหรือยัง?




Dr. Gavin Kenny

Climate Change and Sustainable Agriculture Specialist



“ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นครัวของโลก ควรตั้งเป้าหมายในการพัฒนาประเทศให้เป็นผู้ผลิตข้าว ผลิตอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลก มากกว่าที่จะพยายามผลักดันประเทศไปสู่โลกอุตสาหกรรมที่มีคู่แข่งมากมายที่แข็งแรงอยู่แล้ว”
      ประเทศไทยเป็นประเทศที่โชคดีมาก เนื่องจากมีภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ มีลุ่มน้ำมากมาย มีลักษณะที่เหมาะสมกับการทำกสิกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกข้าว น่าเสียดายที่คนไทยกลับไม่ยินดีในสิ่งที่ตนเองมี แต่กลับเดินหน้าพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งไม่ใช่จุดแข็งของประเทศ ไม่ใช่ทิศทางที่เหมาะสมกับทรัพยากรธรรมชาติที่ประเทศไทยมี เป็นการไปลอกเลียนแบบทิศทางการพัฒนาประเทศของประเทศอื่นที่เขามีข้อจำกัดด้านการทำกสิกรรม ผมคิดว่ารูปแบบการพัฒนาประเทศของแต่ละประเทศควรจะมีความแตกต่างกัน มีความเป็นเอกลักษณ์ เนื่องที่จากแต่ละประเทศมีสภาพภูมิประเทศ สภาพอากาศ รวมถึงประเพณีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การใช้รูปแบบการพัฒนาประเทศที่ลอกเลียนแบบกันนั้นไม่น่าจะส่งผลดีในระยะยาว (Unsustainable Model) ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นครัวของโลก ควรจะตั้งเป้าหมายในการพัฒนาประเทศให้เป็นผู้ผลิตข้าว ผลิตอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลก มากกว่าที่จะพยายามผลักดันประเทศไปสู่โลกอุตสาหกรรมที่มีคู่แข่งที่แข็งแรงอยู่มากมายอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการที่จะรักษาไว้ซึ่งความได้เปรียบในทางกสิกรรมนั้น คนไทยทุกคนต้องตระหนักในความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ ควรมีการดูแลรักษาดิน ลุ่มน้ำ ป่าไม้ ต้นไม้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สภาวการณ์ Global Warming และ Climate Change ในปัจจุบัน รวมถึงควรเลิกใช้สารเคมีที่ส่งผลเสียในระยะยาว
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #589 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 14:16:03 »

ชอบคับ....บ้านดิน ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #590 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 14:46:34 »

ที่นาผมจะอยู่ติดกับเหมืองน้ำ ชาวบ้านก็มักจะมาตกปลากันปลาที่ได้จะเป็นปลาหมอ หรือบ้านเราเรียกว่าปลาเสด็จครับ เหยื่อที่ใช้ก็จะเป็นมันปู และ กุ้งฝอยครับ เมื่อวานก็มียายคนนึงมาตกปลาแกบอกว่าบางวันตกได้ประมาณ  2-3 ก.ก.  ราคาขายขีดละ 15 บาท ก็เป็นผลพลอยได้อย่างหนึ่งสำหรับเป็นชาวนาหากมีเวลาว่างก็ตกปลาได้  เสียดายที่ปัจจุบันปลาลดลงน้อยกว่าแต่ก่อนมากเพราะพิษจากสารเคมีทางการเกษตรต่าง ๆ  หากพื้นที่ไหนทำเกษตรอินทรีย์ปลาที่ได้จากธรรมชาติก็จะปลอดภัยมากขึ้นเพราะไม่มีพิษจากสารพิษตกค้าง


* DSCF1016.jpg (67.37 KB, 655x491 - ดู 1026 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 15:04:11 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #591 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 15:03:08 »

ผลพลอยได้ของชาวนาอีกอย่างหนึ่งคือการจับเขียดครับเพื่อนำมาทำเขียดย่าง แถวนาผมมีเยอะตามถนนคลองชลประทาน หากขี่มอเตอร์ไซด์มาตอนค่ำ ๆ หลังฝนหยุดตกจะเห็นเป็นจำนวนมาก ตอนนี้ถ้าเราไปซื้อเขียดย่างก็ไม้ละ 20 บาท แต่การจับจะเป็นตามช่วงฤดูส่วนใหญ่จะเป็นช่วงที่มีฝนตกช่วงนั้นคนจับเขียดก็จะมีรายได้วันละหลายร้อยบาททีเดียว


* utdit2-705-1-3.jpg (96.79 KB, 550x373 - ดู 1084 ครั้ง.)

* lumpa2-705-1-2.jpg (86.41 KB, 550x392 - ดู 949 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #592 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 20:50:17 »

ชอบโฆษณานี้ครับ




โฆษณาความหมายดีๆ จาก Red Bull Spirit โดยกระทิงแดง
เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสม­ดุลของธรรมชาติ และความหลากหลายของทางชีวภาพ โดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึง­กับธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ที่อาจเกิดมลพิษใน สภาพแวดล้อม เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุด­มสมบูรณ์เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามาร­ถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโย­ชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #593 เมื่อ: วันที่ 05 มีนาคม 2013, 10:17:51 »

ช่วงนี้ฝนตกครับ สังเกตุต้นข้าวเมื่อได้รับฝนใบข้าวจะเริ่มเขียวกว่าปกติ สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากน้ำฝนมีไนโตรเจนบางส่วนแต่ก็ไม่มากซึ่งอาจประกอบด้วยปฏิกริยาเคมีกับก๊าซต่าง ๆ  ฝนแต่ละที่ก็ใช่ว่าจะให้ปริมาณธาตุเท่ากัน บางแห่งเป็นฝนกรดซึ่งมีผลต่อการเกษตรเช่นกัน มาดูปุ๋ยดูเรื่องปุ๋ยไนโตรเจนกันครับ

ปุ๋ยไนโตรเจน

ปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้อาจจัดเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์ และปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จาสิ่งที่มีชีวิต เกิดการเน่าเปื่อยผุพังไป เช่น ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยเทศบาล เป็นต้น ปุ๋ยประเภทนี้จะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนต่ำ ฉะนั้นในการใช้แต่ละครั้งต้องใช้ในปริมาณมาก  แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพราะให้ประโยชน์ในการปรับปรุงดินให้โปร่ง ร่วนซุย ซึ่งเป็นสมบัติทางกายภาพที่สำคัญของดินที่พืชต้องการ

ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่

1.ปุ๋ยแอมโมเนีย (NH3) หรือ anhydrous ammonia หรือ  liquid ammonia(แอมโมเนียมเหลว) มีไนโตรเจนทั้งหมด 82% เป็นปุ๋ยที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงที่สุด

2.ปุ๋ยยูเรีย (CO(NH2)2) เป็นเม็ดกลมสีขาว มีไนโตรเจนสูงรองจากปุ๋ยแอมโมเนีย คือ มีไนโตรเจนทั้งหมด 46% มีสมบัติดูดความชื้นได้ง่าย

3.ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3) มีไนโตรเจนทั้งหมด   35%

4.ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4 มีไนโตรเจนทั้งหมด   21%

5.ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) มีไนโตรเจนทั้งหมด   24-26%

6.ปุ๋ยโซเดียมไนเตรต (NaNO3) มีไนโตรเจนทั้งหมด  16%

7.ปุ๋ยแคลเซียมไซยาไนด์ (CaCN2) มีไนโตรเจนทั้งหมด  21-22 % เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์  เวลาใช้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง อาจใช้เป็นยาฆ่าหญ้า และฉีดพ่นให้ใบฝ้ายร่วงก่อนการเก็บเกี่ยวได้ด้วย

8.ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรต (Ca(NO3)2)มีไนโตรเจนทั้งหมด  15.5%

9.ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตซัลเฟต (NH4 NO3 .(NH4)2SO4) มีไนโตรเจนทั้งหมด  30%

10.ปุ๋ยไนโตรเจนอื่นๆ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต-ซัลเฟต ปุ๋ยยูเรีย-ซัลเฟอร์  ปุ๋ยยูเรีย-ฟอสเฟต เป็นต้น

ปกติธาตุไนโตรเจนในดินมีอยู่น้อยมาก  ส่วนใหญ่เป็นส่วนผสมอยู่ในอากาศ ซึ่งมีธาตุนี้อยู่ถึง 78% ของปริมาณอากาศทั้งหมดที่ห่อหุ้มโลก  โดยอยู่ในรูปของโมเลกุลไนโตรเจน (N2) ซึ่งพืชส่วนใหญ่ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง นอกจากพืชตระกูลถั่วเท่านั้น ดังนั้นไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปสารประกอบ

อนินทรีย์เสียก่อน เช่น ในรูปของไนเตรต (NO3-) หรือแอมโมเนีย (NH4+) จึงจะนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้

กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน  โรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยสามารถใช้ไนโตรเจนจากอากาศมาผลิตเป็นปุ๋ยไนโตรเจน  ในที่นี้จะเน้นการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4)2SO4) และปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2)

ปุ๋ย (NH4)2SO4 หรือปุ๋ยขาว เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส NH3 และสารละลายH2SO4

2NH3 (g) + H2SO4 (aq) → (NH4)2SO4 (s)


การผลิตปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2)

เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส NH3 กับแก๊สCO2 โดยใช้อุณหภูมิประมาณ  180-210 องศาเซลเซียส และความดัน 140-250 บรรยากาศ จะได้แอมโมเนียมคาร์บาเมต (NH2CONH4) กับน้ำ ดังสมการ

2NH3 (g) + CO2 (g) → NH2CONH4 (aq)

NH2CONH4 (aq)  → NH2CONH2 (aq) + H2O (l)

NH3 กับCO2 เตรียมได้จากก๊าซธรรมชาติ

NH3 เตรียมจาก N2 และ H2 ในอากาศ โดยนำอากาศมากลั่นลำดับส่วน  คือ ลดอุณหภูมิลงมากๆ พร้อมกับเพิ่มความดันจนอากาศกลายเป็นของเหลว

เริ่มต้นเตรียม N2 จากอากาศโดยกระบวนการ liquefaction คือ ทำให้อากาศกลายเป็ฯของเหลวทั้งหมดก่อนโดยการลดอุณหภูมิลงมากๆ และเพิ่มความดันสูงๆ จากนั้นนำอากาศเหลวซึ่งมี N2 และ O2 เป็นส่วนใหญ่มากลั่นลำดับส่วนแยกออกจากกัน N2 ซึ่งมีจุดเดือดต่ำกว่า O2 จะแยกออกมาก่อนแล้ว O2 จึงกลั่นออกมา ภายหลัง

การเตรียม H2 ในกรณีที่มีก๊าซปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติ โดยนำ O2 ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนอากาศมาทำปฏิกิริยาดังสมการ  โดยใช้ภาวะที่เหมาะสมและใช้ Niเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ H2 และCO2 ซึ่งเรียกรวมกันว่า water gas

2CH4 (g) + O2 (g) →        2CO (g) + 4H2 (g)


หรืออาจใช้ไอน้ำทำปฏิกิริยากับก๊าซ CH4 โดยตรง จะได้ก๊าซ CO และH2 เช่นเดียวกัน


CH4 (g) + H2O (g) →      CO (g) + 3H2 (g)


เมื่อแยกก๊าซ H2 ออกจากก๊าซผสมแล้ว จึงนำก๊าซ COที่เหลือไปทำปฏิกิริยากับก๊าซ CH4 อีกภายใต้อุณหภูมิสูง และมีตัวเร่งปฏิกิริยาเหมาะสม จะได้ก๊าซ CO2 และH2



ก๊าซผสมทั้งหมด (CO+H2) สามารถแยกออกจากกันได้โดยผ่านเข้าไปในหอคอยที่มีน้ำพ่นลงมา ก๊าซ CO2 ละลายน้ำได้ เกิดเป็นกรด H2CO3 ไหลออกทางส่วนล่างของหอคอยพร้อมกับน้ำ

CO2 (g) + H2O (l) → H2CO3 (aq)

สำหรับก๊าซ H2 ซึ่งไม่ละลายน้ำจะผ่านขึ้นไปออกทางส่วนบนของหอคอย เก็บไว้ทำปฏิกิริยากับ N2 เพื่อเตรียมก๊าซ NH3 ต่อไป

สำหรับกรด H2CO3 นำไปแยกสลายให้กลับมาเป็นก๊าซ CO2ได้ โดยนำ H2CO3 ไปลดความดันและเพิ่มอุณหภูมิ

ก๊าซ N2 ที่เตรียมจากอากาศ และ H2 ที่ได้จากก๊าซธรรมชาตินำมาทำปฏิกิริยากันจะได้ NH3 เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีภาวะสมดุลจึงต้องเลือกภาวะที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ก๊าซ มากที่สุด โดยทั่วๆไปใช้อุณหภูมิประมาณ 300 องศาเซลเซียส 350 บรรยากาศ และใช้ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

เมื่อนำก๊าซ NH3ไปทำปฏิกิริยากับก๊าซ CO2 จะได้ปุ๋ยยูเรีย

CH3 (g) + CO2 (g)  → NH2CONH2 (s) + H2O (l)


นอกจากนี้ ถ้าใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นวัตถุดิบแทนก๊าซธรรมชาติ จะเตรียม CO2 และ H2 ได้โดยการเผารวมกับ O2 จะได้ CO2 9.4%,CO 59.9%, H2 28.6% และก๊าซอื่นๆ 2.1%

เมื่อแยกก๊าซอื่นๆที่ไม่ต้องการ เช่น H2S และNO ออกไปแล้วจึงทำให้ CO กลายเป็นCO2 โดยนำก๊าซผสมไปทำปฏิกิริยากับไอน้ำที่ความดันสูงๆ และมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม CO จะรวมตัวกับ H2O ได้เป็น

CO2 และ H2

หลังจากได้ก๊าซผสม CO2 และ H2 แล้ว กระบวนการต่อๆไป สำหรับเตรียมปุ๋ยยูเรีย จะเหมือนกับกรณีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ


การผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4

เตรียมก๊าซ NH3 และกรด H2SO4 ก่อนแล้วจึงนำมาทำปฏิกิริยากันเป็นปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต

ก๊าซ NH3 เตรียมได้โดยวิธีการเดียวกับการผลิตปุ๋ยยูเรีย

กรด H2SO4 เตรียมได้โดยใช้ S เป็นสารตั้งต้นซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากถ่านลิกไนต์ โดยนำ S มาหลอมเหลวแล้วเผารวมกับก๊าซ O2 จะได้ก๊าซ SO2

S (l) + O2 (g)  → SO2 (g)

เมื่อนำก๊าซ SO2ทำปฏิกิริยาต่อกับ O2 จะได้ก๊าซ SO3แต่เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีสมดุลจึงต้องเลือกภาวะของอุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม คือ 330 องศาเซลเซียส  และใช้ V2O5 หรือ Pt เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะเหมาะสมได้ก๊าซ มากที่สุด


เมื่อผ่านก๊าซ SO3 ลงในสารละลายกรด H2SO4 เข้มข้น(เกือบบริสุทธิ์) จะเกิดปฏิกิริยาได้เป็น H2S2O7 หรือ H2SO4 . SO3 เรียกว่า โอเลียม(oleum) หรือ fuming sulfuric acid

H2SO4 (aq) + SO3 (g)  → H2S2O7 (aq)


เมื่อต้องการกรด H2SO4 กลับคืน ให้นำ H2S2O7 ไปทำปฏิกิริยากับน้ำ

เมื่อนำก๊าซ NH3 และกรด H2SO4 มาทำปฏิกิริยากันจะได้ปุ๋ย (NH4)2SO4 ตามต้องการ


2NH3 (g) + H2SO4 (aq)  → (NH4)2SO4(s)


หมายเหตุ

การเตรียมกรด H2SO4 จะไม่เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่าง SO3 (g) กับ H2O (l) โดยตรง  ตามสมการ

H2O (l) + SO3 (g)  → H2SO4(aq)


เนื่องจาก เกิดปฏิกิริยายาก และมีการคายความร้อนสูงมาก รวมทั้งยังมีก๊าซบางอย่างระเหยออกมาตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #594 เมื่อ: วันที่ 05 มีนาคม 2013, 22:14:07 »

ทางเลือกใหม่สำหรับชาวนาหากพันธุ์ข้าวที่ปลูกทั่วไปเน้นการส่งออกในปัจจุบัน อาจมีราคาตกต่ำในอนาคตเนื่องจากภาวะการเปิด  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community)  ช่วงนี้ผมศึกษาพันธุ์ข้าวค่อนข้างหลากหลายสายพันธุ์เพื่อเลือกที่เหมาะสมสำหรับการนำมาปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนอย่างบ้านเรา โดยคิดว่าจะนำมาทดลองปลูกที่แปลงนาจำนวนหนึ่งประมาณ 30% ของแปลงนาที่มีคือประมาณ 7 ไร่ อีก 70% ยังปลูกข้าวตามตลาดต้องการต่อไปหากได้ผลดีก็คงขยายมากขึ้นข้าวประเภทที่สนใจ 2 กลุ่มคือ

1. ข้าวเพื่อสุขภาพ ตอนนี้เลือกสายพันธุ์ได้จำนวนหนึ่งแล้ว กำลังจะสั่งซื้อพันธุ์ข้าว
2. ข้าวพันธุ์พื้นบ้านหรือข้าวที่ปรับปรุงแล้วที่ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีแต่อาศัยเทคนิคการปรับปรุงดินแทน อยู่ในช่วงศึกษาพันธุ์ที่เหมาะสมอยู่

เห็นได้ว่าปัจจุบัน ข้าวขาว และข้าวหอมที่มีในระบบบัญชีรายชื่อโครงการรับจำนำเมื่อสีแล้วราคาขายทั่วไปมีค่อนข้างล้นตลาดราคาก็ประมาณ 30 กว่าบาทหากมีการผสมก็ถูกกว่านี้ซึ่งเหมาะสำหรับชาวบ้านทั่วไป แต่มีคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งค่อนข้างมีฐานะ รักสุขภาพ และกลุ่มผู้ป่วยได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดอุตตัน โลหิตจาง มะเร็ง โรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตันในสมองและโรคอัมพาต ที่น่าหันมาบริโภคข้าวเพื่อสุขภาพ  หากมีการส่งเสริม อย่างโรคเบาหวานปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคนี้ 1.5 ล้านรายมีประมาณการในอีก 8 ปีเพิ่มเป็น 5 ล้านราย และโรคต่าง ๆอีกหลายล้านรายโดยเฉพาะความดันโลหิตสูงอีก สาเหตุบางส่วนก็เนื่องจากอาหารซึ่งข้าวก็เป็นอาหารหลักที่เรากินแทบทุกมื้อจึงมีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดโรค   ข้าวแต่ละสายพันธุ์มีคุณลักษณะแตกต่างกันไป ข้าวที่ช่วยเป็นยามีหลายสายพันธุ์ แต่ก็ยังหาทานยาก ไม่เหมือนข้าว กข.ที่ใช้ปลูกเพื่อเป็นสินค้าส่งออก ตอนนี้ผมก็เก็บเงินซื้อรถดำนาอยู่ครับ เพื่อสามารถให้ผลผลิตที่ได้ทำข้าวพันธุ์ต่อและผลผลิตที่ได้มีการปลอมปนของข้าวอื่น ๆ น้อยที่สุด และคงไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอีกมากในการบริหารจัดการในแปลงนา การคัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวต่อไป


* 26_20121220123615_.jpg (7.2 KB, 388x263 - ดู 829 ครั้ง.)

* Image.jpg (107.92 KB, 400x278 - ดู 851 ครั้ง.)

* 1.jpg (64.35 KB, 620x334 - ดู 894 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #595 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2013, 10:02:57 »

มีหลายแห่งที่ทำกันแล้วครับ   อย่างสวนป่านาสิงหราชซึ่งมีพื้นที่ปลูกข้าว 400 กว่าไร่ มีการปลูกข้าวอินทรีย์และมีพันธุ์ข้าว จำหน่ายด้วยครับ อยู่ จ. พิจิตรนี่เอง http://www.suansing.com/

ไปดูเค้าทำนากัน

สวนป่านาสิงหราช

ปลูกข้าวอินทรีย์ รักษ์ดิน ประหยัดต้นทุนทำนา
เป้าหมายของท้องทุ่ง : ปลูกให้ได้เมล็ดข้าวพันธุ์ดี ผลผลิตต่อไร่สูง และที่สำคัญ เป็นนาอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี

หัวใจของการทำนาอินทรีย์
ขั้นแรก รักษ์ดิน : เพื่อเมล็ดที่สมบูรณ์ น้ำหนักดี

ขั้นที่สอง เลือกพันธุ์ข้าวที่ดี : เพื่อผลผลิตสูง ปริมาณเมล็ดที่ได้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่เลือก

ขั้นที่สาม ขยัน : เพื่อให้ได้นาอินทรีย์แบบประหยัดต้นทุนอย่างยั่งยืน
 
กว่าจะได้เมล็ดข้าวล้านล้าน..ล้าน เมล็ด
เตรียมดินกันก่อน



การเตรียมดินหลังจากเก็บเกี่ยวของสวนป่านา สูบน้ำเข้าโดยไม่ต้องไถ ตีนา ใส่น้ำหมักเพื่อย่อยสลายฟาง ทิ้งไว้พอฟางยุ่ยดี ปล่อยน้ำลูบเทือก รอปักดำ

กำจัดหอยเชอร์รี่ในนา


ระหว่างรอฟางโดนจุลินทรีย์ย่อยสลาย ก็ต้องพึ่งเจ้าพนักงานจับหอยเชอร์รี่ที่แสนขยัน ชอนไชไม่มีหยุด กินสารพัด ทั้งหอย ทั้งข้าวเปลือกที่หลงเหลือในนาหลังการเกี่ยว ตัดทั้งปัญหาหอยเชอร์รี่ และปัญหาข้าวเรื้อไปพร้อมๆ กัน แถมปล่อยปุ๋ยขั้นต้นไว้ในท้องนาอีกต่างหาก ตกเย็นก็จะชักแถวกลับเข้าเล้า พร้อมไข่ไว้ให้เก็บขายเป็นไข่เป็ดอินทรีย์ในตอนเช้า เพราะเป็นเป็ดที่เลี้ยงด้วยอาหารจากธรรมชาติล้วนๆ ไม่มีอาหารสำเร็จรูปเจือปน

หมูไม่หลุม โรงงานผลิตปุ๋ยเดินได้
 


เครื่องผลิตปุ๋ยเพื่อไปหล่อเลี้ยงดินในท้องทุ่งที่สำคัญของสวนป่านาสิงหราช เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ที่ได้มาจาก ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากโครงการตามพระราชดำริ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
ต้องขอบคุณคุณหมอชัยยะที่แสนใจดี คัดพันธุ์ผสมจากแม่หมูแลนด์เลซ พ่อหมูปากช่อง3 และปากช่อง5 ที่ทำให้เราได้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ แข็งแรง โตเร็ว และที่สำคัญ เป็นโรงงานผลิตปุ๋ยเดินได้ที่น่ารักที่สุดในสวน

ใต้คอกที่หมูอยู่เป็นบ่อหมักชีวภาพขนาด 64 ลูกบาศก์เมตร ที่หมักปุ๋ยน้ำชีวภาพไว้ใช้ในสวนป่านาทั้งหมด ต้องขอบคุณจุลินทรีย์ตัวน้อยๆ สารพัด พด. จากกรมพัฒนาที่ดิน พร้อมอีกสารพัดสูตรจากทุกแหล่งวิชาการ


เพาะกล้าด้วยแกลบดำ



เตรียมถาดเพาะกล้าสำหรับรองรับพันธุ์ข้าวดีๆ เพื่อผลผลิตในอนาคต


ถังพด.ที่รอคิวไปหมักใหม่



ถาดเพาะกล้ากับถังพด.ที่รอคิวหมัก


เมล็ดพันธุ์ดี คือหัวใจของผลผลิตที่จะได้



การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่จะปลูก มีผลอย่างยิ่งต่อผลผลิตที่จะได้ ที่สวนเราพิถีพิถันเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว ทั้งเรื่องการเสาะหาพันธุ์ดีๆ มาปลูก เช่น

พันธุ์ปิ่นเกษตร ผลงานการวิจัยของอ.ดร.อภิชาติ ม.เกษตร ที่ได้รับรางวัลอันดับ3 ของงานประกวดข้าวโลก เป็นข้าวพันธุ์ดี ผลผลิตสูง ดูแลง่าย คุณภาพเมล็ดข้าวสารจะเป็นข้าวนุ่ม เป็นที่ต้องการของกลุ่มพ่อค้าโรงสี

พันธุ์หอมชลสิทธิ์ อีีกผลงานของอ.ดร.อภิชาติ ที่เป็นข้าวหอม ให้ผลผลิตสูง แม่เป็นข้าวหอมมะลิ105 จุดเด่นเป็นข้าวทนน้ำท่วมได้นานถึง 2 สัปดาห์ ดูแลง่าย ให้เมล็ดข้าวที่มีคุณภาพการสีดี

พันธุ์ข้าว กข33 (หอมอุบล80) ผลงานวิจัยระหว่างสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) กับ ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว เป็นข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดคล้ายข้าวหอมมะลิ105 ทั้งรูปร่างเมล็ดและกลิ่น แต่ไม่ไวแสง ปลูกได้ทั้งปี ต้านทานโรคไหม้ ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า ข้าวหอมมะลิ105

พันธุ์ข้าว หอมนิล พันธุ์ข้าวที่มีโภชนาการสูง เมล็ดสีม่วงดำ หอมนุ่ม ผลผลิตต่อไร่ อยู่ในระดับกลางค่อนข้างสูง ดูแลง่าย นิยมสีเป็นข้าวกล้อง ราคาขายจะสูงกว่าราคาข้าวขาวทั่วไป

หลังจากคัดพันธุ์ดีมาปลูกแล้ว ต่อไปก็เป็นขั้นตอนดูแลเพื่อให้ได้เมล็ดที่สมบูรณ์

กล้าแข็งแรง พร้อมลงสู่ท้องทุ่ง



เราเพาะกล้าโดยไม่ต้องใส่สารกันเชื้อราแบบเคมี เราเฝ้าระวังเรื่องน้ำ สภาวะแวดล้อม ให้ไม่เกิดความพอเหมาะสำหรับราที่จะเกิดได้

 
 
ดำนาน้อยต้นที่สุด เพื่อผลผลิตที่เยอะที่สุด



ที่นี่เราดำนาด้วยรถดำนา เพื่อคัดพันธุ์ข้าวปลูกโดยเฉพาะ ใช้หลักการปลูกข้าวแบบ SRI มาผสมผสาน แต่เราใช้รถดำนาจับกล้าให้น้อยที่สุดที่รถจะจับติด และใช้กล้าที่อายุวันน้อยที่สุดที่จะติดได้

 
 
ถอนข้าวปนในนา

 

เราเริ่มถอนข้าวปนในนาได้ตั้งแต่ยังเล็ก เริ่มถอนตั้งแต่ข้าวแตกแถว นาที่ทำเมล็ดพันธุ์ข้าว ควรเป็นนาดำ เพราะเราสามารถคัดพันธุ์ปนออกง่าย และคัดได้หลายระยะของอายุข้าว

 
 
จากข้าวที่แทบจะมองไม่เห็นตอนดำ มาเป็นกอใหญ่ๆ อย่างนี้



กอข้าวปิ่นเกษตร จากการดำด้วยจำนวนต้นน้อยที่สุด

 
 
ข้าวปิ่นเกษตรเริ่มออกรวง



ข้าวปิ่นเกษตรที่เราเห็นตั้งแต่ตอนดำนาต้นเล็กๆ แตกกอใหญ่ เริ่มออกรวงเต็มท้องทุ่ง

 
ข้าวหอมชลสิทธิ์ออกรวง

 

ข้าวหอมชลสิทธิ์ รวงยาว น้ำหนักดี

 
 รถเกี่ยว
 


ที่นี่เรามีข้าวให้เกี่ยวเกือบทุกสัปดาห์ เพราะระบบปฎิทินข้าวที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง ในแปลงที่เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์จะถูกดูแลอย่างดี จนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว จะมีการเกี่ยวต่อเนื่องในพันธุ์เดียวกัน และล้างระบบทุกครั้งก่อนที่จะเกี่ยวพันธุ์อื่น เพื่อป้องกันการปนในขั้นสุดท้าย ส่วนที่เหลือจากการทำเมล็ดพันธุ์ จะนำไปสีเป็นข้าวสารอินทรีย์สำหรับจำหน่ายให้ผู้สนใจสั่งซื้อต่อไป

สวนป่านาสิงหราช
บ้านยางสามต้น ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร
โทร. 08-1495-9713 08-1407-7605
Email : i@suansing.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 มีนาคม 2013, 10:12:43 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #596 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2013, 10:32:56 »

สวนบัวชมพู 

บ้านจอมคีรี ต.แม่นะ  อ.เชียงดาว  จ.เชียงใหม่

มีที่พักท่องเที่ยว เชิงเกษตรกับกิจกรรมภายในสวน ปลูกข้าวไรท์เบอรี่ ข้าวเหนียวลืมผัวและแปรรูปผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังมีการปลูกพืชผักสวนครัวต่าง ๆ



* large_SAM_2906.jpg (105.86 KB, 640x480 - ดู 815 ครั้ง.)

* large_SAM_2905.jpg (142.05 KB, 640x480 - ดู 841 ครั้ง.)

* large_SAM_2857.jpg (96.54 KB, 640x480 - ดู 878 ครั้ง.)

* large_SAM_2858.jpg (80.88 KB, 640x480 - ดู 850 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #597 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2013, 11:07:13 »

ชาวนาเงินล้านก็ยังมีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเองเหมือนกัน แม้จะมีรายได้รอบหนึ่งเป็นล้านแต่หากราคาข้าวกำหนดไม่ได้ในอนาคตซึ่งอาจมีราคาลดลงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ก็เป็นทางออกหนึ่งเหมือนกัน


* 12.jpg (35.32 KB, 406x406 - ดู 905 ครั้ง.)

* 2.jpg (26.81 KB, 409x409 - ดู 829 ครั้ง.)

* 1.jpg (32.52 KB, 400x244 - ดู 787 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #598 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2013, 11:46:59 »

เมื่อวานไปรับลูกเป็ดไข่มาเลี้ยงครับ จำนวน 9 ตัว ตัวเมียเกือบหมด เจ้าของฟาร์มเป็นศิษย์เทคนิคเชียงรายเหมือนกันเป็นรุ่นน้องผม 3 ปีตอนนี้ก็สอนที่เทคนิคเชียงรายและเพาะไก่และเป็ดขายด้วยเป็นรายได้เสริมครับ สัปดาห์นี้ต้องรีบทำเล้าให้เสร็จครับ โดนพิษพายุฤดูร้อนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเลยไม่ได้ทำต่อ ส่วนไก่ไข่ก็ต้องรออีก 1 เดือนกว่าจะฟักออกเป็นตัว คิดว่าหากขยายพันธุ์เป็ดได้ก็จะขยายเผื่ออนาคตจะไปสร้างเล้าเป็ดที่นาด้วย เพื่อทำนาอินทรีย์ให้ได้ในอนาคตครับ


ภาพการเลี้ยงเป็ดในแปลงนาข้าว


* NUM_0105.jpg (42.05 KB, 700x468 - ดู 910 ครั้ง.)

* NUM_0334.jpg (74.83 KB, 700x467 - ดู 850 ครั้ง.)

* NUM_0094-pix.jpg (77.42 KB, 700x468 - ดู 852 ครั้ง.)

* NUM_0092.jpg (35.24 KB, 700x467 - ดู 813 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 มีนาคม 2013, 14:49:12 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #599 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2013, 14:30:16 »

ดูกันเพลิน ๆครับ

IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 [30] 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!