เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 19:15:39
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  +++กระทู้ติดตามรถไฟเชียงราย +++
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 [16] 17 18 19 20 21 22 23 24 พิมพ์
ผู้เขียน +++กระทู้ติดตามรถไฟเชียงราย +++  (อ่าน 164159 ครั้ง)
ivan2
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 80


« ตอบ #300 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 18:57:45 »

อะ ชาตินี้คงได้นั่งรถไฟ กะเขามั่งหละ รอต่อปาย ลวกเพี่ย
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ;Dรอรถไฟความเร็วสูงไปเลย หัวกระสุนเหมือนญี่ปุ่นไง  เรามีรถไฟสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อม ๆ กับญี่ปุ่นมี แต่ปัจจุบันรถไฟเรากับรถไฟญี่ปุ่น ต่างกันขนาดไหนคงไม่ต้องอธิบายนะครับ  เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า
หงะ ตอนนี้แค่ รถจักรหัวไอน้ำก้อได้ ขอให้มาถึงซะทีเถอะ
ปล.ไม่ได้ประชด แต่รู้สึกอย่างนั้น จริง ๆ
IP : บันทึกการเข้า

อะไรก้อได้
ไม่ต้องมากมาย
แค่พออยู่ได้
ก้อพอ
wiinny
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 376



« ตอบ #301 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 08:53:46 »

ขอม๊อกมาปั๊กหลักเวณคืนก็ดีใจ๋ล่ะคับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
SiLentNight
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 975


ฟ้าสีฟ้า ไม่เคยเปลี่ยน


« ตอบ #302 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 01:59:34 »

ขอม๊อกมาปั๊กหลักเวณคืนก็ดีใจ๋ล่ะคับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

หลักเว้นคืน มาแล้วนิครับ
IP : บันทึกการเข้า

ฟ้าสีฟ้า ไม่เคยเปลี่ยน
pudongsan
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,246



« ตอบ #303 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 04:41:59 »

ติดตามตอนต่อไป ยิ้มกว้างๆ  ตกใจ เจ๋ง
IP : บันทึกการเข้า

นกน้อย ทํารังแต่พอตัว ^__^
ดินสอดำ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 461



« ตอบ #304 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 09:07:26 »

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของถือได้ว่าเป็นการพัฒนาโครงข่ายและระบบการขนส่งทางรถไฟที่ช่วยลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ของ ประเทศไทย ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ช่วยให้ประชาชนสามารถเดินทางด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย อีกทั้งยังสนับสนุนการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศจีน รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่ภาคเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย อันจะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

ดังนั้นการติดตามการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้จึงมีความสำคัญ และเปลี่ยนแปลง นำความเจริญเข้ามาสู่เชียงราย และเพิ่มทางเลือกในการขนส่งเข้าสู่จังหวัด...

เชิญชวนทุกท่านร่วมติดตาม และอาจเป็นหนึ่งโครงการที่จะเปลี่ยนดินแดนแห่งนี้ พื้นที่เปิดด้านการขนส่งทางรถไฟ เชื่อมต่อโยงใยการขนส่งคมนาคมรถไฟ ทั่วประเทศ...

 เว็บทางการ http://denchai-chiangrairailway.com/

//////////////////////////

รถไฟมาเชียงรายทางเลือกของคนเชียงราย

ที่จะได้มีหลายเส้นทางคมนาคม...ชาวเชียงรายคิดอย่างไร

ขออนุญาตแก้กระทู้คำถามเพราะคิดหลายมุม


กระทู้ความคิดเห็น

1.  http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=88736.0

2.  สถานีรถไฟเชียงรายสร้างที่ไหนคะ http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=130365.0









creator

v_kri

และ

http://www.oknation.net/blog/akom/2011/05/12/entry-1

เรื่องรถไฟ ผมติดตามาดูกว่า 30 ปี สมัยคุณทรงธรรม ปัญญาดี อดี.สส.ผู้ล่วงลับได้มีการผลักดันอย่างเต็มที่ แต่รัฐบาลสมัยนั้นได้มีการจัดทำโครงศึกษาเส้นทางและหางบประมาณเพื่อจะสร้างรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย และมีการร่วมผลักดันจากทางจังหวัด สื่อมวลชน สถาบันการศึกษา แต่จนกระทั้งมาถึงปัจจุบันโครงการนี้ยังไม่เกิด

มาเห็นเป็นรูปธรรมก็ี่มีคุณโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม พรรคภูมิใจไทย ได้กรุณาเอาหัวจักรรถไฟมาตั้งไว้เป็นอนุสรณ์และทำเป็นห้องสมุดรถไฟบริเวณหน้าศาลากลางหลังเก่า(ข้างลานพระรูป ร.5)จ.เชียงราย พร้อมกับได้อุมัติวงเงินนับพันล้านบาททำการศึกษาเส้นทาง ผลกระทบต่างๆให้อีกแล้วก็เงียบฉี่ตามเคย

"ตอนนี้ สส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย 7 คน คงจะรับรู้น๊ะช่วยชาวเชียงรายให้ได้รถไฟ  เชื่อว่าคงจะไม่ไปหางบประมาณมาทำการศึกษาโครงการฯอีก แต่ก็ใจชื้นหวังลึกๆที่คุณปู ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายรัฐมนตรี ได้นำเรื่องนี้เข้าประชุม ครม.สัญจร ที่ จ.เชียงใหม่ ปีผ่านมา คาดว่าน่าจะมีการอนุมัติงบประมาณการก่อสร้างรถไฟเด่นชัย-เชียงราย มูลค้ากว่า 4 หมื่นล้านบาท ในเร็วนี้ๆถ้ารัฐบาลอยู่ครบเทอม"
IP : บันทึกการเข้า

best1
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 526


« ตอบ #305 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2013, 11:07:53 »

ขออนุญาติออกความเห็นส่วนตัวนะครับ  1. รถไฟที่จะมาเชียงรายเป็นรถแบบไหน แบบธรรมดา หรือแบบความเร็วสูง ถ้ามาแบบธรรมดาคงจะไม่ไหว(ปัจจุบันไม่นิยม) เอามาขนสินค้าก็สู้ 10ล้อไม่ได้(10ล้ิอสามารถส่งถึงบ้านได้ รถไฟต้องหารถมาถ่ายสินค้าที่สถานีทำให้เปลี้องตันทุน) ฉะนั้นคิดว่าคนเชียงรายคงอยากได้รถไฟแบบความเร็วสูง 2. ถ้าอยากได้ รถไฟความเร็วสูง ทำไมไม่สร้างต่อมาจากเชียงไหม่เลย แทนที่จะรอสร้างมาจากแพร่ เพราะรัฐบาลจะสร้างรถไฟจาก กทม.มาเชียงใหม่อยู่แล้ว จะได้ต่อมาสิ้นสุดที่เชียงราย คนมาเที่ยวเชียงใหม่เสร็จก็สามารถนั่งรถไฟมาเที่ยวเชียงรายต่อ เท่านี้เชียงรายก็จะเจริญน่าดู และ โครงการก็จะได้เร็วขึ้นด้วย
IP : บันทึกการเข้า
Boomz
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 868



« ตอบ #306 เมื่อ: วันที่ 12 มกราคม 2013, 17:29:42 »

ขออนุญาติออกความเห็นส่วนตัวนะครับ  1. รถไฟที่จะมาเชียงรายเป็นรถแบบไหน แบบธรรมดา หรือแบบความเร็วสูง ถ้ามาแบบธรรมดาคงจะไม่ไหว(ปัจจุบันไม่นิยม) เอามาขนสินค้าก็สู้ 10ล้อไม่ได้(10ล้ิอสามารถส่งถึงบ้านได้ รถไฟต้องหารถมาถ่ายสินค้าที่สถานีทำให้เปลี้องตันทุน) ฉะนั้นคิดว่าคนเชียงรายคงอยากได้รถไฟแบบความเร็วสูง 2. ถ้าอยากได้ รถไฟความเร็วสูง ทำไมไม่สร้างต่อมาจากเชียงไหม่เลย แทนที่จะรอสร้างมาจากแพร่ เพราะรัฐบาลจะสร้างรถไฟจาก กทม.มาเชียงใหม่อยู่แล้ว จะได้ต่อมาสิ้นสุดที่เชียงราย คนมาเที่ยวเชียงใหม่เสร็จก็สามารถนั่งรถไฟมาเที่ยวเชียงรายต่อ เท่านี้เชียงรายก็จะเจริญน่าดู และ โครงการก็จะได้เร็วขึ้นด้วย


เห็นด้วยอย่างมากครับ
IP : บันทึกการเข้า

Page FB: S.K. แมนชั่น Chiang Rai
Tel. 0886916934
Line: tonsck
chamrus
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 556


« ตอบ #307 เมื่อ: วันที่ 12 มกราคม 2013, 19:28:18 »

เอกสารประชุมการมีส่วนร่วมเวทีที่ 1

http://denchai-chiangrairailway.com/PDF/paper_M1.pdf
      ไม่ใช่ปลายทางเชียงรายครับ ถึงเชียงของด้วยครับ
        สพานมิตรภาพแห่งที่ 4ไทย-ลาว-จีน
       ก็จะเรียบร้อยในปี 2556
    รถไฟก็จะมาอีก เชียงราย คงคึกคักน่าดูครับ
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #308 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 18:18:25 »

โอ่ปรับโฉมรถไฟ เพิ่มคุณภาพบริการ


14 January 2556

นายประภัสร์ จงสงวน
 หลังจากที่ได้มีการเปิดสรรหาผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท.มาระยะหนึ่ง ปรากฏว่าผู้ที่ได้ผ่านการสรรหา คือ นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหา และผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการ  ร.ฟ.ท. และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังจากได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ประกาศทันทีว่า
    "ผมมีเวลาทำงาน 2 ปีครึ่ง อยากให้พนักงานร่วมกันทำงานเพื่อเปลี่ยนการรถไฟฯ ไปในทางที่ดีขึ้น ให้การรถไฟฯ กลับมาเป็นความภูมิใจของคนไทย ของพนักงาน และให้พูดถึงการรถไฟฯ ด้วยความภาคภูมิใจ ยืนยันว่าจะไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก หรือมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งสำคัญอะไร เพื่อให้การทำงานเป็นปึกแผ่น ยึดผลการทำงานเป็นหลัก หากมีปัญหาอะไรให้พนักงานพูดความจริงเพราะทุกอย่างแก้ไขได้"
0 เป้าหมายที่เข้ามาทำงานในการรถไฟต้องการดำเนินการอย่างไรบ้าง
    โดยส่วนตัวพร้อมที่จะเข้ามาทำงาน โดยเฉพาะหากมีโอกาสเข้าไปบริหาร ร.ฟ.ท. ตั้งเป้าในช่วง 4 ปีข้างหน้าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ ร.ฟ.ท.พลิกโฉมใหม่ เพราะจะมีผู้บริหารเป็นต้นแบบที่ดี ซึ่งพร้อมจะทุ่มเททำงานเพื่อ ร.ฟ.ท.อย่างเต็มที่ ไม่ทำงานวนไปวนมาหรือล่าช้าอย่างที่เป็นมาแน่นอน รวมทั้งจะสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานรถไฟทุกคนสามารถยืดอกได้อย่างเต็มที่ว่าองค์กร ร.ฟ.ท.เป็นองค์กรที่เป็นหน้าตาของประเทศ คนทำงานมีศักดิ์ศรี และช่วยให้ประเทศมีความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน
0 สิ่งเร่งด่วนที่จะต้องทำขณะนี้คือ
    เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องทำร่วมกับผู้บริหารและพนักงานการรถไฟฯ 4 เรื่อง คือ เร่งพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่ถูกละเลยมานาน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชน และเรียกขวัญกำลังใจพนักงาน โดยจะเข้าไปพัฒนาที่อยู่อาศัย ทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด การหารายได้เพิ่ม โดยเฉพาะการเก็บค่าเช่าที่ของหน่วยงานภาคเอกชนและราชการที่ใช้ที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งจะเริ่มเก็บค่าเช่าที่กับ บมจ.ปตท.ก่อน แต่อาจจะใช้วิธีการหักหนี้ค่าน้ำมันที่การรถไฟฯ ยังค้างอยู่ ขณะเดียวกัน  การเร่งขยายเส้นทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์มายังท่าอากาศยานดอนเมือง และการต่อแอร์พอร์ตลิงค์จากสุวรรณภูมิ ไปยัง จ.ระยองด้วย รวมทั้งเร่งเดินหน้ารถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงที่อยู่ในความรับผิดชอบ
    “สิ่งที่รถไฟแทบไม่ได้ทำเลยในช่วงที่ผ่านมา คือการซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ ทำให้ระบบรางมีปัญหาหรือหัวรถจักรแทบจะไม่ได้ซื้อใหม่ ที่ใช้งานอยู่ก็มีอายุเยอะ บางหัว 30 ปี บางหัว 50 ปี และใช้งานหนักมากทำให้ต้องวิ่งไปซ่อมไปและเสียบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อการให้บริการที่ต้องล่าช้าเป็นประจำ และสิ่งที่ต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง คือ การให้บริการที่มีประสิทธิภาพ” 
    นอกจากนี้ ยังต้องเร่งปรับปรุงการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว ทั้งการจัดหาหัวรถจักร ขบวนรถ แคร่บรรทุกสินค้าเพิ่ม รวมถึงการปรับการเดินรถให้เป็นระบบรางคู่เพื่อสะดวกในการสวนกัน เนื่องจากที่ผ่านมาต้องเสียเวลารอสับหลีกรางรถไฟ เรื่องความปลอดภัยเองก็สำคัญที่สุด หากรางไม่ดีก็ต้องใช้ความเร็วต่ำ ทำให้ปัจจุบันรถไฟใช้ความเร็วอยู่ที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในอนาคตก็อาจเห็นวิ่งได้ในความเร็ว 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็จะทำให้รถไฟวิ่งได้ตรงเวลา
0 ความคืบหน้าโครงสร้างพื้นฐาน 1.7 แสนล้านบาทเป็นอย่างไร     
    ส่วนความคืบหน้าโครงสร้างพื้นฐานในกรอบวงเงิน 1.7 แสนล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีความคืบหน้าในการเดินหน้าโครงการมากนัก แต่ปัจจุบันรัฐบาลได้มอบหมายให้รถไฟเร่งเดินหน้าโครงการลงทุนดังกล่าว หากเป็นไปได้ก็จะดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 ปี เพราะรออีก 7 ปีคงไม่ทันการณ์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในปี 2558 ที่จะมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) หากไทยยังไม่เร่งพัฒนาระบบขนส่งทางรางอาจจะเสียโอกาสและเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้านได้ หลังจากนี้จึงจะเร่งเปิดให้มีการประมูลและเซ็นสัญญาได้ภายในสิ้นเดือนธันวาคมนี้เพื่อลงมือก่อสร้างรางคู่ให้เร็วที่สุด ส่วนเรื่องเงินคงไม่มีปัญหา กระทรวงการคลังและรัฐบาลพร้อมจัดหามาให้อยู่แล้ว
    “แต่ละโครงการจะใช้เวลาในการดำเนินการนาน เช่น การจัดซื้อหัวรถจักร โบกี้และแคร่รถสินค้า การปรับปรุงรางและระบบต่างๆ จึงกลายเป็นข้อเสียเปรียบของ ร.ฟ.ท. ซึ่งเห็นว่าหากไม่ได้เริ่มต้นก็จะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงแน่นอน สิ่งที่ต้องทำคู่ขนานไปกับการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่นการปรับปรุงบ้านพักพนักงานตามสถานีต่างๆ รวมถึงสถานีรถไฟทั่วประเทศมีสภาพทรุดโทรม ต้องปรับปรุงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตพนักงานให้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้พนักงานมีขัวญกำลังใจในการทำงานมากขึ้น” นายประภัสร์กล่าว       
0 ในส่วนของงบลงทุนขณะนี้มีได้รับหรือยัง
    “เราดูในส่วนของงบประมาณจะไปดูว่าอยู่ตรงไหน เงินทำไมไม่ออก ทั้งที่รัฐบาลอนุมัติแผนลงทุนกว่า 1.76 แสนล้านบาท แต่ละโครงการอยู่ในสถานะอะไร สัญญาก่อสร้างต่างๆ  ถึงไหนแล้ว รวมถึงรถไฟทางคู่คืบหน้ามากน้อยยังไง สิ่งเหล่านี้จะต้องเข้าไปเร่งและสะสางแต่ที่ชัดๆ ที่จะทำคือ การให้บริการให้ตรงเวลา ไม่ตกราง ลดอุบัติเหตุ ถ้าทำตรงนี้ได้ทุกอย่างจะตามมาเอง ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้น เช่น ปรับปรุงรางรถไฟให้แข็งแรง มีหัวรถจักรและแคร่เพียงพอต่อการบริการ จะมีธุรกิจมาเป็นลูกค้าใช้บริการขนส่งทางรถไฟอีกมาก ปัจจุบันมีน้อยเพราะรางมีปัญหาตกรางบ่อย หัวรถจักรก็มีน้อย
    ส่วนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตาม พ.ร.บ.เงินกู้ เพื่อการวางแผนอนาคตของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ระยะ 7 ปีด้วย โดยในแผนงานดังกล่าวจะมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับขนส่งระบบรางประมาณ 65% โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง จากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 3-4 แสนล้านบาท เส้นกรุงเทพฯ-หนองคาย ใช้เงินลงทุนประมาณ 2 แสนล้านบาท ยังมีเส้นกรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหินอีก รวม 4 เส้นทางน่าจะใช้เงินเกินครึ่ง หรือ 1 ล้านล้านบาทแล้ว ยังไม่รวมเส้นทางรถไฟรางคู่จากชุมพรไปถึงปาดังเบซาร์ของมาเลเซีย และจากเชียงใหม่ไปเชียงราย หรือเส้นทางอื่นๆ  เพื่อขยายการให้บริการให้ครอบคลุมทุกจังหวัด
0 ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของการรถไฟมีอะไรบ้าง
    การทำงานของรถไฟฯ มีปัญหาและอุปสรรคในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณพร้อม แต่งานไม่เดิน ก็ไม่อยากให้โทษที่คนหรือพนักงานของรถไฟ  เพราะการทำงานขึ้นอยู่กับหลายส่วน โดยเฉพาะนโยบาย หากไม่มีความชัดเจนก็ทำให้งานไม่เดิน ก่อนหน้านี้ผมเองก็ไม่แน่ใจนโยบาย แต่มาตอนนี้มั่นใจว่ารัฐบาลผลักดันการพัฒนาและลงทุนระบบขนส่งทางราง 100% หลังจากนี้จึงน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของรถไฟและพลิกโฉมไปในทางที่ดีขึ้นเทียบกับก่อนหน้านี้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ  ไม่เคยพูดถึงการพัฒนาระบบขนส่งทางราง แต่เน้นการลงทุนสร้างถนนรองรับการลงทุนผลิตรถยนต์จากบริษัทญี่ปุ่นที่แห่เข้ามาลงทุนในไทยจำนวนมากแทน"
0 ในส่วนการก่อสร้างรถไฟฟ้ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง    สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ ร.ฟ.ท.ปรับกรอบวงเงินลงทุนด้านงานโยธาของโครงการฯ ของสัญญาที่ 2 เพิ่มเติมจากจำนวน 19,314 ล้านบาท เป็น 21,235.44 ล้านบาท หรือคิดเป็น 9% เนื่องจากวงเงินเดิมคำนวณราคาวัสดุตั้งแต่ปี 2552 นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้ ร.ฟ.ท.เร่งดำเนินการโครงการดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การก่อสร้างงานโยธาในสัญญาที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ส่วนการจัดหาวงเงินก่อสร้างนั้น ให้ ร.ฟ.ท.กู้เงินภายในประเทศ คาดว่าจะมีการเซ็นสัญญาในเร็วๆ นี้
0 ด้านที่ดินของรถไฟจะมีการดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะการหารายในเชิงพาณิชย์
    ส่วนการพัฒนาพื้นที่เพื่อหารายได้เชิงพาณิชย์ของ ร.ฟ.ท. ขณะนี้มีพื้นที่บริเวณมักกะสันกว่า 400 ไร่ โดยคาดว่าจะเปิดบริษัทเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูลโครงการในรูปแบบของการนำเสนอแนวคิดว่าจะพัฒนาโครงการในรูปแบบไหน อย่างไร ซึ่งคล้ายกับที่สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ดำเนินการกับโครงการที่ดินบริเวณตลาดสามย่าน โดยจะเลือกบริษัทที่นำเสนอแนวคิดหรือรูปแบบที่ดีที่สุด คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ภายใน 1-2 เดือนนับจากนี้ ทั้งนี้การดำเนินการนั้นคาดว่าจะมีการพัฒนาพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของระบบต่างๆ รวมทั้งพื้นที่สีเขียว แต่ในขณะเดียวกันก็จะเร่งดูในส่วนของพื้นที่อื่นๆ ที่เป็นของ ร.ฟ.ท.ด้วยเช่นกัน
    “ก่อนหน้านี้ได้มีการศึกษาว่าจะพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ มูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท แบ่งพื้นที่การพัฒนาออกเป็น 4 โซน คือ 1.โครงการพื้นที่เชิงพาณิชย์ 2.โครงการศูนย์จัดแสดงสินค้า 3.โครงการเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ และ 4.โครงการอาคารสำนักงานให้เช่า โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์  ส่วนรูปแบบการลงทุนในโครงการจะมีอยู่ 3 แนวทาง คือ 1.การเปิดพื้นที่ให้เอกชนรับสัมปทานเช่าเป็นระยะเวลา 34 ปี ซึ่งแนวทางนี้ อดีตผู้บริหาร ร.ฟ.ท.เห็นว่ามีข้อดี คือ ร.ฟ.ท.จะมีรายได้จากโครงการแน่นอน 2.เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โดย ร.ฟ.ท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งแนวทางนี้แม้จะให้ผลตอบแทนมากกว่าแนวทางแรก แต่ ร.ฟ.ท.ต้องมีความเสี่ยงร่วมกับผู้ลงทุน และแนวทางสุดท้าย คือ 3.การจัดตั้งบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.ขึ้นมาดำเนินการ”
    ถือได้ว่าการเข้ามาบริหารองค์กรของการรถไฟฯ ที่ขณะนี้ต้องแบกรับภาระหนี้สินกว่า 7 หมื่นล้าน และยังมีโครงการที่ต้องเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เดินหน้าได้เร็วขึ้น ก็ดูเหมือนว่า “ประภัสร์” ดูจะมุ่งมั่น จะเห็นได้เริ่มตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งก็เดินสายตรวจความพร้อมของการให้บริการตามภูมิภาคต่างๆ ล่าสุด นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ดูเหมือนจะไว้วางใจให้ทำงานอย่างเต็มที่ พร้อมกับพูดว่า “ผมไว้ใจพี่” แค่นี้ก็พอจะรู้แล้วว่าท่านผู้ว่าฯ เข้าตากรรมการแค่ไหน....
++++++++++++++++++
 
http://www.thaipost.net/news/140113/68017
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #309 เมื่อ: วันที่ 20 มกราคม 2013, 09:33:26 »

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8088 ข่าวสดรายวัน


เปิดลายแทงงบลงทุน2ล้านล. มอเตอร์เวย์-ไฮสปีดเทรนพรึ่บ!

คอลัมน์ รายงานพิเศษ



หากไม่มีอะไร ผิดพลาดในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่จ.อุตรดิตถ์ ในวันจันทร์ที่ 21 ม.ค.นี้ รัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ส่วนรายละเอียดโครงการจะนำ เสนอครม.อีกครั้งในเดือนก.พ.

ยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะไปเชื่อมโยงกับร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พ.ศ. ... วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ที่จะเสนอครม.ในวันที่ 5 ก.พ.2556 ซึ่งการกู้เงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะทำให้เศรษฐกิจขยายเพิ่มขึ้นปีละ 1% โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะจะยังอยู่ไม่เกิน 50% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) จากปัจจุบันอยู่ที่ 43% ของจีดีพี

การเสนอร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะมีการกำหนดบัญชีโครงการที่จะลงทุนไว้ชัดเจน 2 บัญชี ในบัญชีแรกเป็นโครงการที่มีความพร้อมลงทุน แต่หากมีปัญหาไม่สามารถดำเนินการได้ สามารถนำโครงการจากบัญชี 2 มาลงทุนได้ ซึ่งทั้ง 2 บัญชี เป็นโครงการขนส่งระบบราง ทางน้ำ และถนน รวมถึงการสร้างด่านศุลกากรเชื่อมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558

ส่วนรายละเอียดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ หรือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว 7 ปี (ปี 2556-2563) กระทรวงคมนาคม ได้กำหนดภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย 3 ด้านสำคัญ คือ

ด้านที่ 1.การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบกเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศและเพื่อนบ้าน แบ่งออกเป็น 3 โครงข่าย คือ

- โครงข่ายถนน เร่งพัฒนาระบบขนส่งทางถนน อาทิ เร่งสร้างโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) อีก 5 สายทาง คือ บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา, บางปะอิน-นครสวรรค์, บางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี, นครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ และ ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด และการก่อสร้างทางหลวงสายหลักเชื่อมโยงเมืองหลักในภูมิภาค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางและขนส่งสินค้า

- โครงข่ายรถไฟ เร่งเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรางตามแผนการลงทุนในระยะเร่งด่วน พ.ศ.2553-2558 จะใช้เม็ดเงินลงทุน 176,808 ล้านบาท พัฒนาให้ระบบรถไฟเป็นระบบหลักในการขนส่งสินค้า ระหว่างพื้นที่ผลิตหลักภายในประเทศกับท่าเรือแหลมฉบัง และพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่าย รูปแบบการขนส่ง เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน

รวมทั้งยังมีโครงการเร่งจัดทำระบบรถไฟรางคู่และรถไฟสายใหม่ เช่น ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-มุกดาหาร, ช่วงอรัญประเทศ-ปอยเปต และเชื่อมท่าเรือฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน ระยะที่ 1 นอกจากนี้ ยังเตรียมการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาค

- โครงข่ายขนส่งมวลชน จะเน้นเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะเร่งปรับปรุงให้ครอบคลุมพื้นที่บริการเพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับการขยายตัวของเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ด้านที่ 2.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางอากาศ เร่งขยายขีดความสามารถและคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้ ทันสมัย สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจากปีละ 45 ล้านคนเป็น 60 ล้านคน ตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2

ด้านที่ 3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำภายในประเทศและเป็นประตูการขนส่งของอนุภูมิภาค โดยเร่งพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นประตูการขนส่งสู่ท่าเรือหลักต่างๆ ของโลกและเป็นส่วนหนึ่งของท่าเรือหลักในภูมิภาคอาเซียน โดยเร่งรัดการจัดสร้างระยะที่ 3 รวมถึงพัฒนาระบบขนส่งชายฝั่งเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบัง และการสร้างท่าเรือใหม่ในฝั่งอันดามัน เพื่อรองรับการค้ากับอินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป เช่น ท่าเทียบเรือชายฝั่ง ท่าเรือชุมพร ท่าเรือน้ำลึกสงขลา และการศึกษาก่อสร้างท่าเรือปากบารา

ส่วนการพัฒนาเชื่อมต่อโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งของไทยกับเพื่อนบ้าน หรือเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 นั้น กระทรวงคมนาคมเตรียมพัฒนาโครงข่ายคมนาคมไว้ 4 แนวทาง คือ

1.เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่ง ณ ประตูการค้า เช่น เร่งพัฒนาประสิทธิภาพประตูการค้าหลักด้วยการเร่งก่อสร้างสุวรรณภูมิระยะที่ 2 เร่งท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และสถานีบรรจุ และแยกสินค้ากลาง (ไอซีดี) แห่งที่ 2 การพัฒนาประตูการค้าชายแดน และพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบขนส่ง

2.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงการขนส่ง เช่น การขยายทางหลวงสายหลักบนโครงข่ายถนนอาเซียนช่วงที่เป็นคอขวดให้เป็น 4 ช่องจราจร เช่น เส้นทางเชียงของ-เชียงราย, หาดใหญ่-สุไหงโก-ลก, นครพนม-อุดรธานี, มุกดาหาร-ยโสธร-บุรีรัมย์-สระแก้ว เป็นต้น

การสร้างทางเชื่อมโยงเพื่อบ้านแบบทวิภาคี โดยมีโครงการสร้างทางร่วมกับลาว 11 โครงการ เช่น ถนนสาย 13 เหนือสังคโลกในหลวงพระบาง, พม่า 8 โครงการ เช่น ถนนสายบ่อน้ำพุร้อน-ชายแดนไทย-พม่า, กัมพูชา 3 โครงการ เช่น ถนนสาย 67 ช่องสะงำ-เสียมราฐ และมาเลเซีย 5 โครงการ เช่น โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่ 2 การพัฒนาระบบขนส่งผู้โดยสารสาธารณะเชื่อมโยงโครงข่ายเมืองหลักในส่วนภูมิภาคของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

3.พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ เช่น พัฒนาจุดรวบรวมและกระจายสินค้าบนแนวเส้นทางหลวงอาเซียนในประเทศไทย และการพัฒนาจุดพักรถ และ 4.การพัฒนาด้านกฎหมาย ข้อตกลงด้านการขนส่งระหว่างประเทศ

ล่าสุดกระทรวงคมนาคมกำหนดกรอบแผนการลงทุนเบื้องต้น แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย

1.ทางราง มีสัดส่วนงบประมาณ 78% ราว 1.6 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่ยังยืนยันโครงการเดิมที่ได้ประกาศไว้กับรัฐสภา 4 เส้นทาง คือ ไฮสปีดเทรน รวมทั้งรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ส่วนรถไฟรางคู่ ได้เพิ่มเส้นทางใหม่ เช่น เส้นทาง เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ, บ้านภาชี-นครหลวง, บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม

2.ทางถนน สัดส่วนงบประมาณ 15% ราว 3.2 แสนล้านบาท จะปรับยุทธศาสตร์ให้เน้นขยายถนน 4 ช่องทางในสายทางหลัก ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดและภูมิภาคต่างๆ ไม่เน้นทางย่อย

3.ทางน้ำ สัดส่วนงบประมาณ 2% ราว 3 หมื่นล้านบาท และสร้างท่าเรือเพิ่ม 3 แห่ง คือ ท่าเรือสงขลา ท่าเรือชุมพร และท่าเรือปากบารา

4.ส่วนอื่นๆ เช่น สร้างศูนย์กระจายสินค้าเพิ่ม 15 แห่งทั่วประเทศ, ด่านศุลกากร และการตั้งงบเผื่อเหลือเผื่อขาดของโครงการ 5%

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า เบื้องต้นโครงการที่จะดำเนินการแน่นอนและลงตัวแล้ว ประกอบด้วย โครงการด้านระบบราง ทั้งระบบไฮสปีดเทรน ทั้ง 4 สาย และโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 10 สาย

สำหรับไฮสปีดเทรน 4 สาย ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ-ระยอง กรุงเทพฯ-หัวหิน ความเร็วของรถเบื้องต้นกำหนดไว้ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามมาตรฐานของไฮสปีดเทรน แต่เส้นทางใกล้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วมากนัก

โดยจะประกวดราคาพร้อมกันหมด ใช้งบประมาณดำเนินโครงการรวม 6 แสนล้านบาท จากเดิมกำหนดใช้งบประมาณก่อสร้างระยะแรก 4 แสนล้านบาท จากที่ตั้งงบก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั้งหมด 9 แสนล้านบาท

และเพื่อให้การดำเนินโครงการมีต้นทุนถูกลงจะจัดซื้อขบวนรถก่อนใน 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-โคราช และกรุงเทพฯ-หัวหิน ส่วนกรุงเทพฯ-พัทยา จะจัดซื้อพร้อมการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ที่จะดำเนินการในปีนี้เช่นกัน งบประมาณในการจัดซื้อตัวรถจะอยู่ที่ 20% ของงบดำเนินโครงการทั้งหมด หรือประมาณ 1.8 แสนล้านบาท

คาดว่าในเดือนมี.ค.นี้จะเห็นภาพรวมการประกวดราคาและระบบทั้งหมด และประมาณไตรมาส 2 ปีนี้ น่าจะรู้ว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมประกวดราคาจัดหาขบวนรถไฮสปีดเทรนกี่ราย

แต่ที่ยังเป็นปัญหาคือเรื่องระบบถนน ที่ต้องศึกษาให้ชัดเจนว่าควรจะดำเนินการในเส้นทางใดบ้าง และในแต่ละเส้นทางควรลงทุนแบบใด เช่น กรณีของเส้นทางมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี ควรจะลงทุนในรูปแบบของการร่วมทุนกับภาคเอกชน (พีพีพี) จะเหมาะสมหรือไม่

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ล่าสุด นายกฯ เร่งให้เปิดประมูลรถไฟฟ้า 7 โครงการ ให้ได้ภายในปี 2556 คือ 1.สายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ช่วงเดือนมี.ค.2556 2.สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี ช่วงปลายปี 2556 3.สายสีเขียวอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู

4.สายสีแดง ส่วนต่อขยาย บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง 5.สายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 6.สายสีแดง ส่วนต่อขยายช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และ 7.แอร์พอร์ตลิงก์ ส่วนต่อขยายดอนเมือง-บางซื่อ ระยะทางรวม 118.4 ก.ม. รวมงบประมาณการก่อสร้าง 187,843 ล้านบาท

ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง เร่งหารือในรายละเอียดให้ตกผลึก ก่อนนำเสนอครม.อีกครั้งในเดือนก.พ.นี้

แน่นอนว่าอภิมหาโปรเจ็กต์ที่ใช้เงินทุนมหาศาลนี้ ต้องถูกจับตาว่าจะโปร่งใส และคุ้มค่ากับคนในชาติแค่ไหน

หน้า 8
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #310 เมื่อ: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2013, 08:02:21 »

แกะพิมพ์เขียว "งบฯ 2 ล้านล้าน" "เพื่อไทย" ปูพรมโครงสร้างพื้นฐาน
updated: 31 ม.ค. 2556 เวลา 13:52:12 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เป็นที่จับตามองอย่างใกล้ชิดสำหรับบัญชีโครงการภายใต้เงินลงทุน 2 ล้านล้านบาทของ "กระทรวงคมนาคม" ที่ยังจัดสรรไม่ลงตัว ต้องเลื่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)

นัดที่ผ่านมา และยังไม่รู้ว่า การประชุม ครม.วันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้จะมาตามนัดตามที่ "รัฐบาลเพื่อไทย" วาดแผนไว้หรือไม่

ทางเจ้ากระทรวง "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ยังไม่กล้าฟันธงและไม่อยากจะพูดถึง เพราะยิ่งพูดก็เหมือนยิ่งมัดตัวเอง

"ผมไม่อยากจะพูดแล้วจะเข้า ครม.เมื่อไร กระทรวงกำลังทำรายละเอียดโครงการอยู่ ยังไม่นิ่ง เป็นงานถนนต้องดูให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของประเทศ" บิ๊กหูกวางพยายามชี้แจง

เบื้องหลังงบฯ 2 ล้านล้านไม่ลงตัว

แหล่งข่าววงในของกระทรวงคมนาคม ระบุว่า สาเหตุที่ยังไม่ลงตัวสำหรับ "เค้ก 2 ล้านล้านบาท" ของกระทรวง เบื้องหลังการถ่ายทำน่าจะมาจากมีบิ๊กเพื่อไทยที่เป็นคนใน "ครอบครัว

ชินวัตร" กำลังแย่งปาดหน้าเค้กกันเองโดยมีคนของตัวเองช่วยสแกนบัญชีโครงการ ทั้งเบอร์หนึ่ง "รมว.ชัชชาติ" นักการเมืองสายตรงจาก "นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และอีก 2 รมช. ทั้ง "ประเสริฐ จันทรรวงทอง" และ "พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต" ซึ่งว่ากันว่านายใหญ่ดูไบส่งมาดูแลงาน

เท่านั้นยังไม่พอ ดูเหมือนยังมีมือที่ 3 จากคนในครอบครัวชินวัตร พยายามเข้ามาล้วงลูกจัดสรรงบประมาณถนนของกรมทางหลวง (ทล.) ที่มี "พล.อ.พฤณท์" กำกับดูแล และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ซึ่งรัฐมนตรีจากที่ราบสูง "ประเสริฐ" นั่งคุมอยู่ทำให้จนถึงวินาทีนี้ยังเกลี่ย "วงเงินและพื้นที่" ไม่ลงตัว โดยเฉพาะโครงการบูรณะถนนที่แพ็กพ่วงเข้ามา

ขณะที่ "รมว.ชัชชาติ" เองก็มุ่งมั่นจะดึงเงินมาลง "ระบบราง" ที่นั่งกุมบังเหียนอยู่ให้มากที่สุด ทั้ง "รถไฟฟ้า-ไฮสปีดเทรน-ทางคู่-รถไฟสายใหม่" เบ็ดเสร็จกวาดเม็ดเงินลงทุนกว่า 78% หรือประมาณ 1.56 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ เพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกันกับที่ "นายกฯยิ่งลักษณ์" และรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ซึ่งพยายามออกมาระบุว่า "ระบบราง" น่าจะเกิดประโยชน์และพลิกโฉมประเทศไทยได้

ทุ่มระบบรางกว่า 1.56 ล้านล้าน

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้งบฯลงทุน 2 ล้านล้านบาทเริ่มนิ่งแล้ว เพียงแต่รอจัดสรรงบฯในส่วนของบูรณะและเพิ่มประสิทธิภาพถนนที่ยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะเป็นพื้นที่ไหน และดูว่าโครงการไหนที่จะตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและประเทศได้อย่างแท้จริง

"เบื้องต้นมี 2 แนวทาง คือ ทุ่ม 2 ล้านล้านบาทนี้ให้ระบบรางทั้งหมดเลย หรือจะลงทุนระบบราง 70-80% ที่เหลือกระจายให้งานถนนและทางน้ำ กระทรวงยังไม่สรุป"

สำหรับโครงการที่จัดอยู่ในบัญชี 1 คืองานที่พร้อมจะลงทุนทันที มุ่งเป้าไปที่ "สาขาการขนส่งทางราง" เป็นโครงการของ 2 หน่วยงานหลักอย่าง "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย และ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย"

ร.ฟ.ท.อู้ฟู่ทะลุ 1.1 ล้านล้าน

โดย "ร.ฟ.ท." ได้รับจัดสรรเงินลงทุนมากสุด 58.74% หรือประมาณ 1,174,718 ล้านบาท ประกอบด้วย "แผนงานระยะเร่งด่วน" วงเงินรวม 138,253 ล้านบาท อาทิ โครงการอาณัติสัญญาณไฟสี 11,358 ล้านบาท ทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ 16,215 ล้านบาท ฯลฯ

"แผนลงทุนทางสายใหม่" มี 3 สาย วงเงินรวม 23,927 ล้านบาท มีสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 77,275 ล้านบาท สายบ้านไผ่-นครพนม 42,106 ล้านบาท และสายบ้านภาชี-อ.นครหลวง 4,546 ล้านบาท

นอกจากนี้ มี "ทางคู่ระยะที่ 2" อีก 3 สาย วงเงินรวม 62,895 ล้านบาท มีสายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 9,555 ล้านบาท สายชุมพร-สุราษฎร์ธานี 17,640 ล้านบาท และสายสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ 35,700 ล้านบาท

ขณะที่โครงการฮอตในปีนี้ "รถไฟความเร็วสูง" เฟสแรก 4 สาย อัพเดตล่าสุดวงเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 753,105 ล้านบาท ต้นทางออกจากรุงเทพฯมุ่งหน้าเชียงใหม่ นครราชสีมา หัวหิน พัทยา-ระยอง

สำหรับ "โครงการต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง" มี 6 สายทาง มีวงเงินรวม 95,538 ล้านบาท อาทิ สายสีแดงเข้ม (รังสิต-ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต) 5,412 ล้านบาท ต่อสายแอร์พอร์ตลิงก์ (ดอนเมือง-พญาไท) 28,574 ล้านบาท สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศิริราช) 9,312 ล้านบาท ฯลฯ

รฟม.ได้ 3.8 แสนล้านสานต่อรถไฟฟ้าเก่า-ใหม่

ด้าน "รฟม." มีโครงการสานต่อรถไฟฟ้าสายเก่าให้จบโครงการ และเริ่มต้นเปิดประมูลสายใหม่ 8 สายทางด้วยกัน วงเงินรวม 386,222 ล้านบาท อาทิ สายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) 58,590 ล้านบาท สายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี) 115,054 ล้านบาท ฯลฯ และเพิ่มสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) เข้ามาในบัญชีเพื่อเร่งสร้างให้เร็วขึ้น 57,306 ล้านบาท

ท"งหลวงผุดโครงข่ายเชื่อมเออ"ซ"กว่า 200 โครงการ

กลับมาดู "สาขาขนส่งทางถนน" ได้รับจัดสรรวงเงินรวม 270,653 ล้านบาท แยกเป็น "กรมทางหลวง" 195,030 ล้านบาท อาทิ งานสะพานข้ามทางรถไฟ 83 แห่ง และงานรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง 23,280 ล้านบาท ค่าเวนคืนมอเตอร์เวย์ 3 สาย มีสายบางปะอิน-นครราชสีมา บางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี และสายพัทยา-มาบตาพุด

โครงการทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ เพิ่มจาก 10 โครงการเป็น 13 โครงการ วงเงิน 14,920 ล้านบาท เร่งรัดขยายถนน 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) และเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง 66 โครงการ 91,580 ล้านบาท ก่อสร้างบูรณะทางหลวงสายหลักรองรับเออีซี 166 โครงการ 36,600 ล้านบาท และต่อขยายทางคู่ขนานบรมราชชนนี (พุทธมณฑลสาย 2-เพชรเกษม) 14,800 ล้านบาท โดยตัดงบฯขยายโทลล์เวย์ (ช่วงรังสิต-บางปะอิน) วงเงิน 23,000 ล้านบาทออกไป

ทช.ขอ 5 หมื่นล้านเสริมโครงข่ายการค้า-ท่องเที่ยว

"ทช.-กรมทางหลวงชนบท" ตัดเหลือ 2 รายการ วงเงินรวม 56,831 ล้านบาท ในจำนวนนี้กว่า 52,639 ล้านบาทเป็นงบฯพัฒนาโครงข่ายถนนเชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุน และการขนส่ง เช่น สร้างถนนคู่ขนานบางนา-ตราดจากกิ่งแก้ว-วัดศรีวารีน้อย ฯลฯ ส่วนโครงข่ายเชื่อมต่อด้านการท่องเที่ยวจากเดิมกว่า 1 หมื่นล้านบาท เหลือ 4,192 ล้านบาท เป็นการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยด้านตะวันตก (รอยัลโคสต์)

เจียด 1.4 หมื่นล้านผุดศูนย์ถ่ายสินค้า 15 จังหวัด

โครงการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดเออีซียังได้จัดสรร 14,093 ล้านบาท ให้กับ "ขบ.-กรมการขนส่งทางบก" เพื่อก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบสินค้าที่เชียงของ 1,490 ล้านบาท สถานีขนส่งสินค้า 15 แห่งที่เมืองชายแดน 7 แห่ง คือ เชียงราย ตาก หนองคาย มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา นราธิวาส

และตามหัวมืองหลัก 8 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี วงเงินรวม 11,586 ล้านบาท รวมถึงโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงรายอีก 745 ล้านบาท

เร่งเวนคืนตัดด่วนใหม่ 3 สาย

ขณะที่โครงข่ายทางด่วนของ "กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย" ได้งบฯวงเงิน 3,735 ล้านบาท สำหรับเวนคืนทางด่วนสายใหม่ 3 สาย เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ประกอบด้วย สายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก สายศรีรัช-ดาวคะนอง และสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต

ด้าน "ขสมก.-องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ" จากเดิมจดเงินเพื่อซื้อรถเมล์ NGV ใหม่กว่า 10,000 ล้านบาท แต่สุดท้ายได้แค่ 963 ล้านบาท สำหรับสร้างอู่จอดรถโดยสารเท่านั้น

เจ้าท่าไม่น้อยหน้ากว่า 3 หมื่นล้าน

ส่วน "จท.-กรมเจ้าท่า" หน่วยงานอยู่ในความดูแลสังกัดของ "รมต.ประเสริฐ" นอนนิ่งในบัญชี "สาขาขนส่งทางน้ำ" มาตั้งแต่เริ่มแรก ได้รับจัดสรรรวม 30,277 ล้านบาท มี 5 โครงการ อาทิ เขื่อนป้องกันตลิ่งพังและขุดลอกร่องน้ำในแม่น้ำป่าสัก 11,837 ล้านบาท ท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล วงเงิน 11,786 ล้านบาท ฯลฯ

ปิดท้ายที่ "สาขาขนส่งทางอากาศ" ส่วนใหญ่หน่วยงานมีรายได้และเงินลงทุนของตัวเอง ทำให้บัญชีนี้มีแค่ 1 โครงการเป็นของ "บพ.-กรมการบินพลเรือน" ก่อสร้างสนามบินที่ อ.แม่สอด 862 ล้านบาท

ส่วน "สุวรรณภูมิ เฟส 2" วงเงินกว่า 6 หมื่นล้านบาท ตัดทิ้งจากบัญชี และให้ "ทอท.-บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)" หาเงินมาลงทุนเอง

ทั้งหมดเป็นรายการเบื้องต้นที่ "คมนาคม" พยายามจัดสรรให้ลงตัว และคาดว่าจะไม่มีการปรับเปลี่ยนอีกแล้ว แต่สุดท้ายจะเปลี่ยนแปลงไปจากนี้อีกมากน้อยแค่ไหนคงต้องดูกันต่อไป

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1359615004&grpid=no&catid=07&subcatid=07
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
SiLentNight
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 975


ฟ้าสีฟ้า ไม่เคยเปลี่ยน


« ตอบ #311 เมื่อ: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2013, 14:26:17 »

"แผนลงทุนทางสายใหม่" มี 3 สาย วงเงินรวม 23,927 ล้านบาท มีสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 77,275 ล้านบาท สายบ้านไผ่-นครพนม 42,106 ล้านบาท และสายบ้านภาชี-อ.นครหลวง 4,546 ล้านบาท

มาสักที
IP : บันทึกการเข้า

ฟ้าสีฟ้า ไม่เคยเปลี่ยน
atzcret
โทรสั่งได้ทันที
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 261


08.2759.6554 / 08.6355.9519


« ตอบ #312 เมื่อ: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2013, 11:32:13 »

รอรถไฟความเร็วสูงงงงง ^^
IP : บันทึกการเข้า

เพิ่มความสูง สูงขึ้นจริง100% สินค้านำเข้าจากเกาหลี
เสื้อกล้ามทอม คุณภาพดีอันดับ 1
Aikaew
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 294


« ตอบ #313 เมื่อ: วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2013, 13:33:06 »

อยากหื้อผู้ว่าฯกลุ่มจังหวัดเหนือบน สส รัฐบาลในพื้นที่ จ้วยกั๋นกึ๊ดแหมน่อยว่าถ้าเฮาจะทำบรรษัทมหาชน มีคนในจังหวัดร่วมลงทุนส่วนหนึ่ง อปท จังหวัด อีกคนละส่วน ขอสัมปทานจากรัฐมาทำร่วมกับเอกชนทั่วโลก น่าจะทำได้ไวขึ้นมั้ย
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #314 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 18:54:45 »

ถาม รมต. คุณชัชชาติ มาครับไปงานมา
รถไฟเชียงราย ที่เป็นรางคู่ น่าจะสร้างได้ปลายปีครับ
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
mana.
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 357


« ตอบ #315 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 11:13:56 »

ถาม รมต. คุณชัชชาติ มาครับไปงานมา
รถไฟเชียงราย ที่เป็นรางคู่ น่าจะสร้างได้ปลายปีครับ
  น่าจะสร้างปลายปี  ขอหื้อแน่เต๊อะท่าน รมต. บ่าใจ่หยัง...กลั๋วเดทสะมอเร่ก่อนอี้หวะ...
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #316 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2013, 22:29:38 »



















IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
kookkue
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 79


« ตอบ #317 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 16:41:43 »

ขออนุญาติออกความเห็นส่วนตัวนะครับ  1. รถไฟที่จะมาเชียงรายเป็นรถแบบไหน แบบธรรมดา หรือแบบความเร็วสูง ถ้ามาแบบธรรมดาคงจะไม่ไหว(ปัจจุบันไม่นิยม) เอามาขนสินค้าก็สู้ 10ล้อไม่ได้(10ล้ิอสามารถส่งถึงบ้านได้ รถไฟต้องหารถมาถ่ายสินค้าที่สถานีทำให้เปลี้องตันทุน) ฉะนั้นคิดว่าคนเชียงรายคงอยากได้รถไฟแบบความเร็วสูง 2. ถ้าอยากได้ รถไฟความเร็วสูง ทำไมไม่สร้างต่อมาจากเชียงไหม่เลย แทนที่จะรอสร้างมาจากแพร่ เพราะรัฐบาลจะสร้างรถไฟจาก กทม.มาเชียงใหม่อยู่แล้ว จะได้ต่อมาสิ้นสุดที่เชียงราย คนมาเที่ยวเชียงใหม่เสร็จก็สามารถนั่งรถไฟมาเที่ยวเชียงรายต่อ เท่านี้เชียงรายก็จะเจริญน่าดู และ โครงการก็จะได้เร็วขึ้นด้วย
คงเป็นแบบความเร็วไม่สูงนะคะ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ความเร็วสูงจะมาถึงเชียงใหม่ ค่ะ แต่ค่าโดยสารความเร็วสูง ตกอยู่ 1000 กว่าบาทนะคะ ส่วนตัวคิดว่าอุ่นใจกว่านั่งเครื่องค่า  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
kookkue
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 79


« ตอบ #318 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 16:43:22 »

เอกสารประชุมการมีส่วนร่วมเวทีที่ 1

http://denchai-chiangrairailway.com/PDF/paper_M1.pdf
จะอ้อมไปหยังเจียงฮายปุ้นแหมหน้อ.. วกเข้าเชียงของเลยก่า
IP : บันทึกการเข้า
kookkue
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 79


« ตอบ #319 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 16:45:51 »

จะอ้อมไปหยังเจียงฮายแหมน้อ วกเข้าเจียงของไปเลยก่า
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 [16] 17 18 19 20 21 22 23 24 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!