เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 16:16:49
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  +++กระทู้ติดตามรถไฟเชียงราย +++
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 [8] 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 ... 24 พิมพ์
ผู้เขียน +++กระทู้ติดตามรถไฟเชียงราย +++  (อ่าน 162643 ครั้ง)
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #140 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 11:47:58 »

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4264 ประชาชาติธุรกิจ


หวั่นล้มแผน'โลจิสติกส์ภาคเหนือ' หอ10จังหวัดจี้รัฐจัดลำดับความสำคัญไฮสปีดเทรน





หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือหวั่นโครงการรถไฟความเร็วสูงผ่านลาว-หนองคาย ดึงความสำคัญแผนพัฒนาโลจิสติกส์ภาคเหนือ ทั้งที่ดำเนินการไปมากแล้ว เผยรถไฟรางคู่เน้นหนุนการท่องเที่ยว ขณะที่ประเทศเสียเปรียบหนักเรื่องต้นทุนโลจิสติกส์ ด้าน สนข.ออกแบบศูนย์กระจาย สินค้า 2 พันล้าน เตรียมรับสะพานข้าม น้ำโขงแห่งใหม่ พร้อมออกแบบทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย


นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" กรณีรัฐสภาอนุมัติกรอบเจรจาความร่วมมือพัฒนากิจการรถไฟระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า อาจทำให้แผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทยภาคเหนือเชื่อมกับจีนตอนใต้โดยใช้เชียงรายเป็นศูนย์กลางถูกลดความสำคัญลง จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องทบทวนจริงจังว่าจะดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ 2550-2554 ที่ดำเนินการไปมากแล้ว หรือจะหันมาให้ความสำคัญกับโครงการใหม่ที่มีการเมืองผลักดัน

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวประกอบด้วย การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 ก.ม. กรุงเทพฯ-ระยอง 221 ก.ม. กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ 982 ก.ม. กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี เพื่อเชื่อมต่อ กับเส้นทางรถไฟที่จีนและลาวจะร่วมกันก่อสร้างจากชายแดนจีนตอนใต้ ผ่านประเทศลาวมาจดชายแดนไทยที่จังหวัดหนองคาย

นายพัฒนากล่าวอีกว่า โครงการ ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทางดังกล่าวไม่ได้สนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาโลจิสติกส์ เพราะรถไฟความเร็วสูงไม่ได้ออกแบบสำหรับการขนส่งสินค้า แต่เน้นการขนส่งคนเป็นหลัก เน้นสนับสนุนการท่องเที่ยว ส่วนแผนยุทธศาสตร์ โลจิสติกส์ชาติมีเป้าหมายจะลดต้นทุนโลจิสติกส์ของไทย ปัจจุบันจากระดับ 19% หรือกว่า 20% ในบางธุรกิจ เป็นเฉลี่ย 15% หรือพัฒนาไปจนถึงระดับประเทศพัฒนาแล้วที่มีต้นทุนโลจิสติกส์เพียง 9-11%

ทั้งนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ซึ่งดูแลการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคเหนือเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านระบุว่า จะใช้ระบบ Multi Model Logistics คือระบบผสมผสาน โดยมีระบบรางเป็นหลัก (backbone) จากนั้นมีระบบ feeder ทั้งรถและรถไฟภายในประเทศรองรับ รวมทั้งจะมีศูนย์กระจายสินค้าชายแดน ครบวงจรเชิงสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อ.เชียงของ ซึ่งการสำรวจออกแบบใกล้ แล้วเสร็จ

"การที่รัฐสภามีมติให้เจรจาเรื่องรถไฟความเร็วสูงอาจทำให้แผนงานนี้เลื่อน ออกไป เพราะรัฐบาลมีงบฯจำกัด และแผนการพัฒนาเชียงรายให้เป็นศูนย์กลาง โลจิสติกส์ อาจไม่มีความสำคัญเท่ากับแผนการใหม่ที่มีภาคการเมืองหนุนเต็มที่ อยากให้จัดอันดับความสำคัญให้ชัดเจน และทำงานต่อเนื่อง" นายพัฒนากล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์เปลี่ยนถ่าย รูปแบบการขนส่งสินค้าหรือ Border Control Facility ที่ สนข.ออกแบบ ประกอบด้วยศูนย์อำนวยความสะดวกด้านกิจการชายแดนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการ ณ จุดเดียว รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านสถานที่รองรับ รถโดยสาร รถบรรทุก รถไฟ รถทั่วไป ใช้งบฯลงทุนประมาณ 2,301 ล้านบาท แบ่งเป็นระยะที่ 1 จำนวน 1,451 ล้านบาท

ระยะที่ 2 จำนวน 850 ล้านบาท พร้อมกับโครงการสนับสนุนหลายโครงการ เช่น การก่อสร้างทาง 4 ช่องจราจร สายเชียงราย-เชียงของ การก่อสร้างถนนสายแยก บ.กิ่วแก้ว อ.เทิง-อ.จุน การก่อสร้างถนนสาย บ.ดอนมหาวัน อ.เชียงของ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ทางตอนเหนือ เช่น โครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชื่อม อ.เชียงของกับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 2555

โครงการท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสนแห่ง ที่ 2 หมู่บ้านสบกก ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน กรมเจ้าท่าดำเนินการก่อสร้างด้วยวงเงิน 1,546,400,000 บาท กำหนดแล้วเสร็จ วันที่ 28 ธ.ค. 54

ปัจจุบันโครงการนี้มีถนนสนับสนุนที่ก่อสร้างใหม่หลายสาย เช่น ถนน 4 ช่องจราจรสาย อ.แม่สาย-อ.เชียงแสน ระยะทาง 38.46 กิโลเมตร ถนน 4 ช่องจราจรสาย อ.แม่จัน-อ.เชียงแสน ระยะทาง 19.2 กิโลเมตร

ขณะเดียวกัน สนข.เตรียมใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท ทำแผนศึกษาเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย ระยะทาง 346 กิโลเมตรใหม่อีกครั้ง

หน้า 24

http://www.prachachat.net/view_news....day=2010-11-22
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #141 เมื่อ: วันที่ 13 ธันวาคม 2010, 14:44:55 »

รถไฟเชียงราย จะมีไหมน้อ  รอนานแล้ว..
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
hutto
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 243



« ตอบ #142 เมื่อ: วันที่ 13 ธันวาคม 2010, 14:56:47 »

รอด้วยคน ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
Khem
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104



« ตอบ #143 เมื่อ: วันที่ 13 ธันวาคม 2010, 15:10:06 »

หนึ่งในความฝันอันสูงสุดคือ การได้นั่งรถไฟที่สถานีเชียงราย
ฝันมาตั้งแต่อยู่ประถมแล้วนะ  จุมพิต
IP : บันทึกการเข้า
O-L-Y-G-O-N
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 676


นานาจิตตัง


« ตอบ #144 เมื่อ: วันที่ 13 ธันวาคม 2010, 15:41:31 »

อีกหลายปี ดีไม่ดีลูกบวชก่อน (ประเทศชาติ)


* รถไฟ.jpg (16.98 KB, 282x179 - ดู 1380 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

จงเรียนรู้
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #145 เมื่อ: วันที่ 14 ธันวาคม 2010, 12:53:54 »

ลุ้นรถไฟความเร็วสูง4ปีเสร็จ



นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปเจรจาโครงการเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย กับสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่าหลักการที่สำคัญคือต้องเร่งรัดให้เส้นทางรถไฟสายเอเชียเสร็จเร็วขึ้น แทนที่จะสร้างจาก จ.หนองคาย มากรุงเทพฯ ก็สร้างที่ จ.หนองคาย-กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์

ทั้งนี้ เพื่อเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟที่ประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์จะสร้างขึ้น คาดว่าจะเสร็จภายใน 4 ปี หากเริ่มก่อสร้างเดือนธ.ค.54 ซึ่งไทยขอให้จีนยึดข้อตกลงการร่วมทุน เงื่อนไขดอกเบี้ยเงินกู้เช่นเดียวกับลาว โดยจีนขอให้ไทยเร่งทำรายละเอียดโดยเร็ว เพื่อนำรายละเอียดเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐสภา เพื่อลงนามช่วงปลายเดือนมี.ค.-ต้นเดือนเม.ย.54

ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานย่อยดำเนินการความร่วมมือทางรถไฟระหว่างไทย-จีน กล่าวว่า จะยึดตามกรอบข้อตกลงจีนและลาวเป็นหลัก แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่บนเงื่อนไขกฎหมายและระเบียบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คาดว่าในการประชุมวันที่ 15 ธ.ค.นี้ จะหาข้อยุติได้ ก่อนนำเข้าที่ประชุมสภาเดือน ม.ค.54

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ขณะนี้มีความเป็นไปได้ที่โครงการดังกล่าวจะเป็นความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐระหว่างไทยกับจีน เพื่อหลีกเลี่ยงข้อครหาการล็อกสเป๊กให้กับจีน

หน้า 8

IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
corolado4
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,835


บ้านสวน ดอยพระบาท11 (ธารน้ำกรณ์2)


« ตอบ #146 เมื่อ: วันที่ 14 ธันวาคม 2010, 13:58:14 »

"...สนข.ออกแบบ ประกอบด้วยศูนย์อำนวยความสะดวกด้านกิจการชายแดนจากทุกหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการ ณ จุดเดียว รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านสถานที่รองรับ
รถโดยสาร รถบรรทุก รถไฟ รถทั่วไป ใช้งบฯลงทุนประมาณ 2,301 ล้านบาท
แบ่งเป็นระยะที่ 1 จำนวน 1,451 ล้านบาท
ระยะที่ 2 จำนวน 850 ล้านบาท พร้อมกับโครงการสนับสนุนหลายโครงการ เช่น
การก่อสร้างทาง 4 ช่องจราจร สายเชียงราย-เชียงของ
การก่อสร้างถนนสายแยก บ.กิ่วแก้ว อ.เทิง-อ.จุน
การก่อสร้างถนนสาย บ.ดอนมหาวัน อ.เชียงของ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ทางตอนเหนือ
เช่น โครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชื่อม อ.เชียงของกับเมืองห้วยทราย
แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 2555
โครงการท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสนแห่ง ที่ 2 หมู่บ้านสบกก ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน
กรมเจ้าท่าดำเนินการก่อสร้างด้วยวงเงิน 1,546,400,000 บาท
กำหนดแล้วเสร็จ วันที่ 28 ธ.ค. 54
ปัจจุบันโครงการนี้มีถนน สนับสนุนที่ก่อสร้างใหม่หลายสาย เช่น
ถนน 4 ช่องจราจรสาย อ.แม่สาย-อ.เชียงแสน ระยะทาง 38.46 กิโลเมตร
ถนน 4 ช่องจราจรสาย อ.แม่จัน-อ.เชียงแสน ระยะทาง 19.2 กิโลเมตร
ขณะเดียวกัน สนข.เตรียมใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท ทำแผนศึกษาเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย ระยะทาง 346 กิโลเมตรใหม่อีกครั้ง.."
ข้อความข้างบนผมมาสรุปเอาลงแผนที่เชียงรายแบบคร่าวๆครับ
ทำไมไม่ออกแบบให้มันต่อเนื่องกันให้เสร็จในเส้นทางที่มันเชื่อมต่อกันได้ก่อน
เช่น อ้อมเมืองตะวันออก ไปเชียงแสน(ท่าเรือน้ำลึก) ต่อกับ เส้นเชียงแสน-สามเหลี่ยม-แม่สาย
จากอ้อมเมืองตะวันออก ไปเวียงชัย พญาเม็งราย ไปออก ขุนตาล เชื่อมกับเส้นเชียงของ
รอให้ท่าเรือน้ำลึกเสร็จ สะพานเชียงของเสร็จ อย่างน้อย มีรถขนส่ง ขนถ่ายสินค้าวิ่งไปมาก่อน
ส่วนรถไฟ....ทางรถไฟ....ดูบรรทัดสุดท้าย...สองร้อยล้านบาทเพื่อมาทำแผนศึกษา...
ถามว่า..เมื่อศึกษาได้ความว่าอย่างไร..เช่น..เหมาะสมควรให้สร้าง...แต่.....
...........(ความว่างเปล่า)....ไม่มีคำตอบ........ก็มีแต่ข่าว..ข่าว...ประชุม..หารือ...หางบทำ..
.เอาบทความตั้งแต่เริ่มมีแนวคิดสร้างมาเรียบเรียงต่อกันดูซิครับ......
ถ้ามีโอกาสเป็นจริงได้..ก็คงเป็นแบบสุวรรณภูมิ.......มีปัญหาต่อเนื่องไปทุกยุค...
เป็นแค่ความคิดเห็นครับ...
ถ้าเป็นความฝัน...ตื่นเช้าพรุ่งนี้ผมคงได้นั่งรถไฟชมวิวสองข้างทาง จาก ช.ร.ไปเด่นชัย
เพราะวิวสองข้างถนนพหลโยธิน  มันชินตาจนเบื่อไปแล้ว......


* 531214_แผนที่ทางรถไฟ-ช.ร._00.jpg (84.97 KB, 523x366 - ดู 2339 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #147 เมื่อ: วันที่ 27 ธันวาคม 2010, 15:53:49 »

วินัยโชว์ผลงาน3เดือนกรมธนารักษ์

27 ธันวาคม 2553 เวลา 15:23 น.



 วินัย แจงผลงาน 3 เดือนเพียบ เตรียมสั่งธนารักษ์พัฒนาที่ราชพัสดุแนวรถไฟฟ้าความเร็วสูงทำศูนย์กระจายสินค้า - พร้อมเปิดรับทีมบริหารโรงแรมศูนย์ราชการ และเล็งประเมินราคาคอนโด ห้องพักทั่วประเทศกว่า 6,000 แห่ง รองรับการประเมินที่ดินรอบใหม่ในปี 2555 นี้

นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยถึงผลงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาว่า ขณะนี้กรมธนารักษ์ได้สำรวจที่ราชพัสดุทั่วประเทศ เพื่อเตรียมทำโครงการลอจิสติกส์ ศูนย์กระจายสินค้า เพื่อรองรับกับแนวเส้นทางเดินรถไฟฟ้าความเร็วสูง โดยคาดว่าน่าจะดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งขณะนี้เชื่อว่ามีที่ราชพัสดุในหลายจังหวัดที่มีความพร้อมเช่นที่จังหวัดนครสวรรค์ ,พิษณูโลก ,ลำปาง , เชียงใหม่ , เชียงราย และ สุราษธานีเป็นต้น

" เป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐบาลเรื่องการก่อสร้างรถความเร็วสูง ถ้าวิ่งผ่านจังหวัดไหนก็จะไปสร้างศูนย์กระจายสินค้ารองรับไว้ คิดว่าจะดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน เพราะบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์  (ธ.พ.ส.) คงมีงานล้นมือ " นายวินัยกล่าว

นอกจากนี้กรมธนารักษ์ ยังเตรียมเปิดรับสมัครทีมบริหารโรงแรมของศูนย์ราชการแห่งใหม่ในเดือน ม.ค. 2554 นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดให้บริการได้ในเดือน เม.ย. 2554 มีความสูง 10 ชั้น มีห้องพัก 204 ห้อง ห้องประชุม 38 ห้อง สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้สูงสุด 1,000 คน  โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีต้นทุนไม่เกิน 70 % จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าโครงการโรงแรมของศูนย์ราชการจะสามารถรองรับการประชุมของหน่วยงานราชการที่อยู่ภายในศูนย์ราชการกว่า 50 - 60 แห่งได้ และยังสามารถรองรับเรื่องที่พักให้คนที่เดินทางมาประชุมที่อิมแพคเมืองทองธานีได้

นายวินัย กล่าวอีกว่า กรมธนารักษ์ อยู่ระหว่างการเข้าประเมินการก่อสร้าง ห้องพัก อาคารชุด คอนโดมิเนียมทั่วประเทศกว่า 6,000 แห่ง เพื่อรองรับกับการประกาศราคาที่ดินรอบใหม่ในวันที่ 1 ม.ค. 2555 เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวดี มีผลต่อความเจริญเติบโตของระบบขนส่ง และการคมนาคม จึงทำให้มีการก่อสร้างที่พักอาศัย คอนโดฯ เพื่อรองรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง ทั้งในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล

ทั้งนี้จะมีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าประเมินแบบละเอียด เนื่องจากรูปแบบเดิมจะใช้วิธีการประเมินทุกห้องราคาเท่ากันหมด แต่เนื่องจากปัจจุบันรูปแบบการก่อสร้างคอนโดอาจมีบางชั้นที่มีเนื้อที่มากกว่า ทำให้ราคาสูงกว่า ก็จะต้องปรับราคาประเมินเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการเสียค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกับกรมที่ดินให้มากขึ้น

พร้อมกันนี้กรมธนารักษ์ ยังเดินหน้าเรื่องการนำที่ราชพัสดุตรงแปลงบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือ บบส.เดิม จำนวน 5 ไร่มาก่อสร้างเป็นอาคารสำนักงานให้หน่วยราชการเช่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ( สศค. ), วำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และกรมสรรพากร ได้เช่าทำงานและเพื่อขยายบริการให้ประชาน รวมทั้งจะเปิดพื้นที่ส่วนที่เหลือให้เอกชนเช่าในเชิงพาณิชย์ โดยจะให้ ธ.พ.ส. เป็นผู้บริหาร  รวมถึงการสร้างคอนโดมิเนียมที่บริเวณซอยวัดไผ่ตัน เพื่อเปิดให้ข้าราชการที่มีรายได้น้อยจำนวน 800 -900 รายได้เช่าอาศัยในราคาต่ำ คาดว่าจะเริ่มโครงการได้ในต้นปี 2554 นี้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มีนาคม 2011, 21:52:25 โดย boondham » IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #148 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2011, 07:06:21 »

จีนวาดแผนสร้างทางรถไฟเชื่อมโลก พม่ากลายเป็นศูนย์กลางโยงอินเดีย-อุษาคเนย์
ต่างประเทศ 9 มกราคม 2554 - 00:00

   พม่ากำลังกลายเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ที่เชื่อมโยงจีนกับอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยโครงสร้างทางรถไฟหลายสาย เส้นทางเหล่านี้จะกลายเป็นโครงข่ายการคมนาคมของเอเชียในอนาคตอันไม่ไกลนัก
     ตามรายงานของ Bian McCarton ในเอเชียไทมส์ออนไลน์ จีนมีแผนที่จะสร้างทางรถไฟหลายสายเชื่อมโยงพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงใต้ของจีนไปยังเมืองท่าต่างๆ ในพม่า และต่อไปยังอุษาคเนย์กับเอเชียใต้ โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมโยงเมืองคุนหมิงกับท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งกำลังก่อสร้างที่เมืองจ้าวผิ่ว (Kyaukpyu) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากซิตตเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ ทางฝั่งตะวันตกของพม่า
     คาดว่าเส้นทางรถไฟยูนนาน-พม่าสายนี้จะสร้างเสร็จในปี 2015 และจีนก็กำลังจะสร้างท่าเรือและเขตอุตสาหกรรมที่นั่นด้วย เพื่อเป็นช่องทางส่งออกสินค้าจากเขตตะวันตกเฉียงใต้ของจีนซึ่งไม่มีทางออกทะเล รวมทั้งเป็นจุดขนถ่ายน้ำมันและก๊าซ
     ทางรถไฟอีกสายหนึ่งมีความยาว 1,920 กม. เชื่อมเมืองคุนหมิงกับเมืองท่าย่างกุ้ง ซึ่งจะเป็นการขยายเส้นทางแนวเหนือ-ใต้ซึ่งมีอยู่แล้ว เส้นทางนี้จะเชื่อมไปถึงท่าเรือแห่งใหม่ที่ทวายในภาคใต้ของพม่า แล้วต่อไปก็จะมีเส้นทางเชื่อมระหว่างทวายกับกรุงเทพฯ
     เส้นทางสายที่สามจะตัดผ่านรัฐฉานของพม่า โดยเชื่อมเมืองคุนหมิงกับเชียงราย แล้วเชื่อมจากเชียงรายเข้าสู่โครงข่ายรถไฟในไทย เส้นทางสายนี้และเส้นทางที่กำลังสำรวจในลาว จะเป็นเส้นทางขนส่งทางรถไฟระหว่างจีน กัมพูชา ไทย และสิงคโปร์
     นอกจากนี้ ยังมีการวางแผนจะสร้างอีก 2 เส้นทาง เชื่อมโยงเมืองต้าลี่ในเขตตะวันตกเฉียงใต้ของจีน กับเมืองมิตจีนาและลาโชของพม่า ทั้งสองเมืองของพม่านี้เป็นชุมทางการค้าและต้นทางรถไฟ
     เมื่อสร้างเสร็จ เส้นทางเหล่านี้จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับพม่า และบูรณาการเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้
     เวลานี้จีนได้ดำเนินโครงการต่อขยายเส้นทางรถไฟจากความยาว 78,000 กม.ในปัจจุบันให้เป็น 110,000 กม.ในปี 2012 และเป็น 120,000 กม.ภายในปี 2020 ใช้เงินราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ เวลานี้มีความคืบหน้าไปครึ่งหนึ่งแล้ว เป้าหมายคือทำให้เมืองใหญ่ของจีนทุกแห่งเชื่อมถึงกันหมดด้วยรถไฟความเร็วสูง ซึ่งแล่นได้ 200 กม./ชม.
     พม่าได้กลายเป็นทำเลสำคัญในแผนการของจีนที่จะใช้รถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีนเข้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และยุโรป เส้นทางตามแผนเหล่านี้เป็นสิ่งที่คิดกันมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 แล้ว เรียกว่าทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย หากสร้างสำเร็จก็จะเป็นโครงการสาธารณูปโภคที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์
     เส้นทางจะวางแนวพาดผ่านจุดไหนบ้างนั้นยังไม่ชัดเจน แต่มีทิศทางใหญ่ 3 ด้าน คือ เส้นทางสายเหนือจะผ่านมองโกเลีย คาซัคสถาน รัสเซีย ยูเครน ไปเชื่อมกับโครงข่ายรถไฟของยุโรป
     เส้นทางตอนกลางจะผ่านพม่า บังกลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน ไปยังตุรกี และเส้นทางสายใต้จะเชื่อมโยงพม่ากับสิงคโปร์ โดยผ่านพม่า ลาว เวียดนาม และไทย ตอนนี้จีนมีเส้นทางรถไฟเชื่อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แค่สายเดียวไปยังเวียดนาม
     อุปสรรคใหญ่ข้อหนึ่งของโครงการนี้ คือ จีนยืนกรานจะใช้รางที่มีความกว้างเท่ากับรางของรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีน แต่ระบบรางของพม่าและประเทศอุษาคเนย์อื่นๆ นั้นมีขนาดไม่เท่ากัน จำเป็นต้องเปลี่ยนรางหรือวางรางใหม่ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ ต้นทุนสูง แล้วจะแบ่งกันแบกรับต้นทุนนี้อย่างไร
     จีนเสนอจะออกเงินสร้างทางรถไฟสายใหม่และปรับปรุงรางเดิมให้พม่า โดยแลกกับการได้สัมปทานทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซ และน้ำ
     นอกจากเป็นเส้นทางส่งออกสินค้าจากเขตตะวันตกเฉียงใต้ของจีนแล้ว ทางรถไฟเหล่านี้ยังจะเป็นเส้นทางขนส่งทรัพยากรพลังงานจากตะวันออกกลางและแอฟริกาด้วย ท่าเรือน้ำลึกที่เมืองคอกซ์บาซาร์ในบังกลาเทศและจ้าวผิ่วกับทวายในพม่าจะช่วยย่นระยะทางของการส่งน้ำมันทางทะเลจากตะวันออกกลางและแอฟริกาได้เกือบครึ่ง
     ท่าเรือและทางรถไฟดังกล่าวยังจะช่วยหลีกเลี่ยงเส้นทางขนส่งอันคับคั่งในช่องแคบมะละกาได้ด้วย เวลานี้ราว 80% ของพลังงานนำเข้าของจีนต้องพึ่งพาเส้นทางช่องแคบดังกล่าว และหากสหรัฐเกิดขัดแย้งกับจีน อเมริกาอาจปิดกั้นเส้นทางนี้ก็เป็นได้ ดังนั้น สาธารณูปโภคเหล่านี้จึงมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับจีน
     ที่ผ่านมา จีนกับบังกลาเทศได้หารือกันถึงเรื่องการเชื่อมทางรถไฟระหว่างเมืองคุนหมิงกับท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่คอกซ์บาซาร์โดยผ่านพม่า ยังไม่มีการลงนามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลปักกิ่งกับธากา แต่คาดว่าเส้นทางความยาว 111 กม.นี้จะผ่านภาคตะวันออกของบังกลาเทศไปยังเมืองกันดัมในพม่า โดยอาจเชื่อมกับโครงข่ายรถไฟเดิมของพม่า หรือเชื่อมกับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายใหม่
     รัฐบาลธากามีความสนใจที่จะสร้างเส้นทางรถไฟไปยังชายแดนพม่าเมื่อเดือนกรกฎาคม 2010 ธากาได้ประกาศแผนจะสร้างทางรถไฟไปยังพรมแดนด้านพม่าภายในปี 2014 ด้วยเงินลงทุน 260 ล้านดอลลาร์
     อย่างไรก็ดี ในช่วงสองสามปีมานี้ ความสัมพันธ์ของพม่ากับบังกลาเทศไม่ราบรื่นนักเพราะมีข้อพิพาทเรื่องพรมแเดน เรื่องผู้ลี้ภัยมุสลิมโรฮิงยาจากพม่า เรื่องการลักลอบขนของเถื่อน และเรื่องกรรมสิทธิ์เหนือแหล่งน้ำมันและก๊าซในทะเล
     ทางด้านอินเดียนั้นก็ไม่อยากน้อยหน้าจีนในเรื่องการสนับสนุนเงินทุนสร้างทางรถไฟในพม่า นิวเดลีได้เปิดไฟเขียวให้เอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้ 60 ล้านดอลลาร์แก่พม่าในโครงการสร้างทางรถไฟ การปล่อยเงินกู้ดังกล่าวมีขึ้นในช่วงที่พลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ของพม่าไปเยือนกรุงนิวเดลี และพบหรือกับนายกรัฐมนตรีมันโมฮัน ซิงห์ เมื่อเร็วๆ นี้
     การให้ความช่วยเหลือดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือแม่โขง-คงคา ซึ่งจะเชื่อมทางรถไฟจากนิวเดลีไปยังกรุงฮานอย เมื่อปี 2000 อินเดียได้ลงนามข้อตกลงโครงการนี้กับไทย ลาว พม่า เวียดนาม และกัมพูชา โดยอินเดียได้เปิดวงเงินกู้ 56 ล้านดอลลาร์ให้แก่พม่าเพื่อสร้างทางรถไฟในภาคกลางและภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และอินเดียยังช่วยปรับปรุงเส้นทางรถไฟสายย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ด้วย
     ในการเชื่อมทางรถไฟของอินเดียกับพม่านี้ การรถไฟอินเดียได้ลงมือตระเตรียมที่จะขยายรางรถไฟจากเมืองจิริบัมในรัฐมณีปุระไปยังเมืองโมรีที่ชายแดนพม่า เส้นทางนี้จะเชื่อมต่อไปยังต้นทางรถไฟที่เมืองเซกยีในเขตสะกายของพม่า และต่อไปยังเมืองทามูที่ชายแดนพม่า-อินเดีย
     เส้นทางรถไฟอินเดีย-พม่าจะเป็นประโยชน์แก่การขนส่งสินค้าระหว่างอินเดียกับจีนด้วย มูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งสองได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เวลานี้จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอินเดีย มูลค่าการค้าได้เพิ่มเป็น 60,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว
     แม้จีนกับอินเดียได้แข่งอิทธิพลกันในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะในพม่า เศรษฐกิจของประเทศทั้งสองกำลังพึ่งพากันและกันมากขึ้นเรื่อยๆ แม้อินเดียจะขาดดุลการค้ากับจีนก็ตาม
     การที่พม่ากำลังกลายเป็นศูนย์กลางเส้นทางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคเช่นนี้ จะส่งผลอย่างไรต่อพม่าเอง ต่อความสัมพันธ์ของพม่ากับเพื่อนบ้าน และต่อความเคลื่อนไหวทางยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจ ทั้งจีน อินเดีย สหรัฐ ยุโรป คือโจทย์ใหม่ที่ชวนติดตาม.


http://www.thaipost.net/sunday/090111/32574
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #149 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2011, 09:55:56 »

อัศจรรย์รถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว$7พันล้าน สร้างอุโมงค์ลอดภูเขา 200 กม.4 ปีกำหนดเปิดหวูด

โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 7 มกราคม 2554 17:23 น.





ผู้จัดการ360องศารายสัปดาห์-- ไม่นานหลังจากเทศกาลขึ้นปีใหม่ประเพณี 2554 ผ่านไป วิศวกรจีนกับคนงานจะต้องทำงานหนักแข่งเวลา พวกเขาจะต้องสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในลาวให้ได้ปีละ 100 กิโลเมตรเป็นอย่างน้อย เพื่อให้แล้วเสร็จในอีก 4 ปีข้างหน้า เปิดศักราชใหม่การขนส่ง ทั้งคนและสินค้าในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและระหว่างจีนกับกลุ่มอาเซียนทั้งมวล

การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงจะเริ่มจากชายแดนลาว-จีน ผ่านเขตป่าเขาใน รวมระยะทาง 421 กม. และ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่่ง 2 ใน 3 หรือเกือบ 300 กม.จะเป็นอุโมงค์ที่เจาะผ่านภูเขา กับสะพานข้ามลำน้ำลำธารและหุบเหว ไปยังนครเวียงจันทน์ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย เปิดทางไปสู่มาเลเซียกับสิงคโปร์

เรื่องเหล่านี้้ปรากฏในเอกสารโครงการของนายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรี "ผู้จัดการรัฐบาล" ที่ได้รับความเห็นจากสภาแห่งชาติในวันที่ 23 ธ.ค.2553

ตามเอกสารรายงานของนายสมสะหวาดซึ่งเป็นหัวหน้าคณะชี้นำโครงการ ที่ "ผู้จัดการ360องศารายสัปดาห์" ได้รับ อุโมงค์ที่จะต้องเจาะมีความยาวรวมกันทั้งหมด 190 กม. และต้องสร้างสะพานรถไฟรวมกันอีกราว 90 กม.

การก่อสร้างจะเริ่มในวันที่ 25 เม.ย.2554 กำหนดแล้วเสร็จในปี 2558 เพื่อฉลองครบรอบ 40 ปีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นายสมสะหวาดกล่าว

กระทรวงการรถไฟจีนได้สำรวจโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2552 สองฝ่ายเซ็นสัญญาโครงการในเดือน เม.ย.2553 และในเดือน ส.ค.ก็ได้เซ็นสัญญาก่อสร้างกับกระทรวงการโยธาและขนส่งของลาว

ในเดือน พ.ย.นายสมสะหวาด เดินทางไปปักกิ่งเจรจาในรายละเอียด มีการประกาศแผนการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงสายประวัติศาสตร์นี้ แต่ยังไม่เคยมีการเปิดเผยรายละเอียดต่างๆ จนกระทั่งโครงการได้รับความเห็นชอบจากสภาแห่งชาติ

ฝ่ายจีนถือหุ้นใหญ่ 70% ในโครงการมูลค่า 7,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งที่เป็นเงินสดและอุปกรณ์ ลาวถือ 30% ลงทุนเป็นเงินสดส่วนหนึ่งและวัสดุก่อสร้างอีกส่วนหนึ่ง ลาวยังมีอ๊อพชั่นเพิ่มทุนได้ในอนาคตหากต้องการ

ตามรายงานของนายสมสะหวาด ทางรถไฟจีน-ลาว เป็นส่วนหนึ่งของทางเชื่อมจีนกับอาเซียน เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน จีนเลือกเส้นทางที่ตัดผ่านลาวจากทั้งหมด 3 เส้นทาง เนื่องจากเห็นว่าสั้นที่สุด ที่จะไปยังกรุงเทพฯกับกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์ในอนาคต

ก่อนหน้านี้เมื่อนึกถึงรถไฟหัวกระสุน คนทั่วไปจะนึกถึงแต่การ "ขนคน" โดยไม่ "ขนสินค้า" และ มองว่าไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแล่นผ่านดินแดนที่มีคนอาศัยอยู่เบาบาง

ทางรถไฟจีน-ลาวกำลังจะลบล้างความเชื่อเก่าๆ นายสมสะหวาดกล่าวว่า ขนาดรางกว้าง 1.435 เมตร ออกแบบให้รถไฟความเร็วสูงขบวนโดยสารแล่นได้ด้วยความเร็ว 200 กม./ชม. ขึ้นไป และ 120 กม./ชม. สำหรับขบวนสินค้า

รถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศสายแรกในภูมิภาคเอเชียนี้จะแล่นผ่าน 21 สถานี ในนั้นมี 5 สถานีใหญ่คือ บ่อเต็น เมืองไซ (แขวงอุดมไซ) เมืองหลวงพระบาง วังเวียง (แขวงเวียงจันทน์) และ นครเวียงจันทน์ อีก 16 แห่งเป็นสถานีย่อย

จากนครเวียงจันทน์ทางรถไฟความเร็วสูงจะผ่านไปยังท่านาแล้ง เพื่อเชื่อมต่อกับช่วงที่อยู่ในดินแดนไทยจาก จ.หนองคาย โดยจะมีการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงอีกแห่งหนึ่ง

ยังไม่มีการกล่าวถึงว่า จะทำอย่างไรต่อไปกับทางรถไฟสายแรกในลาว ระยะทางเพียง 3.5 กม. และ ด้วยรางกว้างเพียง 1 เมตร ซึ่งรถหัวกระสุนไม่สามารถใช้การได้

ก่อนหน้านี้ไม่นานรัฐบาลลาวได้แจ้งขอยกเลิกความร่วมมือช่วยเหลือจากไทย เพื่อก่อสร้างทางรถไฟต่อจากสถานีท่านาแล้ง ไปยังเวียงจันทน์ระยะทาง 9 กม.เศษ โดยจะรวมเข้าในระบบรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว

ตามรายงานของนายสมสะหวาด รถไฟหัวกระสุนจีน-ลาวอีกเฟสหนึ่ง จะสร้างจากนครเวียงจันทน์ต่อไปยังเมืองท่าแขก แขวงคำม่วนในภาคกลาง เพื่อต่อเชื่อมไปยังเวียดนามในอนาคต

ทางรถไฟช่วงที่แล่นผ่านลาวเป็นเพียงช่วงกลางเท่านั้น จีนกำลังจะสร้างอีกช่วงหนึ่งจากด่านชายแดนที่บ่หาน ผ่านเขตปกครองตนเอง 12 ปันนา กับเมืองจิ่งหง (เชียงรุ้ง) ไปยังนครคุนหมิง ในมณฑลหยุนหนันที่มีประชากรรวมกันกว่า 300 ล้านคน

ตามรายงานของสำนักข่าวทางการจีน ในเดือน พ.ย.2553 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีของไทยได้เดินทางไปเจรจากับฝ่ายจีนเกี่ยวกับโครงการร่วมทุนที่ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมด และกระทรวง การคลังอยู่ระหว่างขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี

ยังไม่มีการพูดถึงทางรถไฟความเร็วสูงช่วงยาวพอๆ กันจากกรุงเทพฯ ไปยังสถานีปาดังเบซาร์ เพื่อเชื่อมต่อกับมาเลเซีย ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมด ทางรถไฟคุนหมิง-สิงคโปร์จะมีระยะทางรวมกัน 3,640 กม.

http://www.manager.co.th/mgrWeekly/V...=9540000001947
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #150 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2011, 10:58:30 »

โครงข่ายทางรถไฟ‘จีน’ออกสู่โลกภายนอกโดยผ่าน‘พม่า’ (ตอนแรก)

โดย ไบรอัน แมคคาร์แทน 20 มกราคม 2554 21:39 น.


(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)

China outward bound through Myanmar
By Brian McCartan
07/01/2011

ประเทศพม่าอยู่ในฐานะที่ทรงความสำคัญเป็นอย่างมาก ในแผนการอันใหญ่โตมโหฬารของปักกิ่งที่จะสร้างโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อระหว่างจีนกับบรรดาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และดินแดนที่อยู่ถัดออกไปอีก ถ้าหากแผนการนี้เสร็จสมบูรณ์ได้ตามที่วาดวางเอาไว้ มันก็จะเป็นโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่โตที่สุดในประวัติศาสตร์ทีเดียว อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของโครงการนี้ ก็คือการที่ระบบรางรถไฟของพม่าและประเทศอื่นๆ ใช้ช่วงกว้างระหว่างรางที่แตกต่างกันอยู่

*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *

เชียงใหม่ - พม่ากำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมด้วยระบบรางรถไฟแห่งสำคัญแห่งหนึ่งในระดับภูมิภาค โดยจะเป็นจุดเชื่อมต่อจีนและอินเดียเข้ากับตลาดต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดินแดนที่อยู่ถัดออกไปอีก ทั้งนี้ถ้าหากแผนการลงทุนต่างๆ ที่กำลังเสนอกันอยู่ในเวลานี้จักบังเกิดผลขึ้นมาได้จริง และก็เฉกเช่นเดียวกับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ จำนวนมากมายในภูมิภาคแถบนี้ ผู้ที่เป็นพลังขับดันอยู่เบื้องหลังการออกแบบอันใหญ่โตมโหฬารในเรื่องนี้ก็คือปักกิ่งเจ้าเก่า

จีนกำลังวางแผนการที่จะก่อสร้างเส้นทางรถไฟจำนวนมาก ซึ่งจะเชื่อมต่อภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้อันห่างไกลของตน เข้ากับเมืองท่าต่างๆ ในพม่า แล้วต่อไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการวางแผนกำหนดให้มีเส้นทางรถไฟสายสำคัญสายหนึ่งโยงต่อเมืองคุนหมิง (เมืองหลวงของมณฑลหยุนหนัน ที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแดนมังกร) เข้ากับท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่รวมทั้งพื้นที่เขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพิเศษ ซึ่งกำลังก่อสร้างกันอยู่ที่เมืองจ๊อกเปียว (Kyaukpyu) บนชายฝั่งด้านตะวันตกของพม่า

แผนการสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้ได้รับการกระจายข่าวเป็นครั้งแรกในนิตยสารรายสัปดาห์ “วีกลี อีเลฟเวน นิวส์” (Weekly Eleven News) ของพม่าเมื่อวันที่ 16 ตุลาคมปีที่แล้ว โดยเป็นที่คาดหมายกันว่าจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2015 นอกจากนั้นจีนยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตอุตสาหกรรมที่จ๊อกเปียวด้วย ทั้งเส้นทางรถไฟ, ท่าเรือน้ำลึก, และเขตอุตสาหกรรมดังที่กล่าวมา ถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของแดนมังกรที่จะพัฒนาช่องทางทางการค้าให้แก่ภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่ไร้ทางออกทางทะเลของตน รวมทั้งยังจะใช้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าน้ำมันและก๊าซ โดยจะมีการเชื่อมต่อไปยังสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

นอกจากทางรถไฟคุนหมิง-จ๊อกเปียว ยังมีการวางแผนสร้างเส้นทางรางรถไฟอีกเส้นหนึ่งเชื่อมต่อเมืองคุนหมิงเข้ากับเมืองย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงเก่าและเมืองท่าใหญ่ของพม่า คิดเป็นระยะทาง 1,920 กิโลเมตร การก่อสร้างน่าที่จะอาศัยเส้นทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ที่มีอยู่แล้วของพม่า แทนที่จะต้องวางรางวางเส้นทางกันใหม่หมด

ทางรถไฟเส้นนี้ยังจะต่อเข้ากับเส้นทางรถไฟสายซึ่งเชื่อมโยงไปสู่โครงการท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่เมืองทวาย (Dawei) บนชายฝั่งด้านใต้ของพม่า ทั้งนี้ส่วนประกอบสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของโครงการท่าเรือแห่งนี้ตามที่ได้มีการแถลงกันไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ก็คือจะมีการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ระหว่างทวายกับกรุงเทพฯ

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีการวางแผนการสร้างทางรถไฟติดต่อระหว่างภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแดนมังกรกับดินแดนพม่าเส้นที่สาม โดยรางรถไฟของสายนี้จะทอดผ่านรัฐฉาน (Shan State) ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของพม่า ทั้งนี้จากจุดเริ่มต้นที่เมืองคุนหมิง ทางรถไฟสายนี้เมื่อผ่านรัฐฉานแล้วก็จะมาจนถึงจังหวัดเชียงรายทางภาคเหนือของประเทศไทย และจากเชียงรายก็จะโยงเข้าสู่โครงข่ายรางรถไฟของไทยได้ เส้นทางคุนหมิง-เชียงรายสายนี้เมื่อบวกเข้ากับอีกเส้นหนึ่งที่ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการสำรวจวางแนวทางในประเทศลาว ก็จะทำให้สามารถขนส่งสินค้าด้วยรางรถไฟระหว่างจีน, กัมพูชา, พม่า, ไทย, ลาว, มาเลเซีย, และสิงคโปร์

หวัง เมิ่งซู (Wang Mengshu) นักวิชาการของบัณฑิตยสถานทางวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Engineering) ได้กล่าวกับสื่อมวลชนจีนในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า “คณะผู้แทนที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงการรถไฟ (Ministry of Railroads) ได้ไปเยือน (พม่า) และลาวในกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อดำเนินการสำรวจ และทันทีที่มีการกำหนดแนวเส้นทางรถไฟระหว่างจีน-พม่าแล้ว การก่อสร้างก็สามารถเริ่มต้นได้อย่างเร็วที่สุดคือภายในเวลา 2 เดือน โดยที่เส้นทางสายนี้น่าที่จะกลายเป็นเส้นทางขนส่งสายหลักที่ทำให้จีนเชื่อมต่อด้วยทางรถไฟกับประเทศทั้งหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

นอกเหนือจากพวกเส้นทางรถไฟซึ่งออกมาจากเมืองคุนมิงดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีแผนการทำทางรถไฟเพิ่มเติมอีก 2 เส้นที่จะโยงภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเข้ากับโครงข่ายรางรถไฟของพม่า โดยเป็นเส้นทางจากเมืองตาหลี่ ของจีน ไปยังเมืองมีตจีนา (Myitkyina) และเมืองลาเฉียว (Lashio) ของพม่า เมืองทั้ง 2 แห่งนี้ของพม่าต่างก็เป็นศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่และเป็นปลายทางของทางรถไฟ

ไม่เฉพาะแต่เรื่องเส้นทางรางรถไฟผ่านพม่า แดนมังกรยังกำลังให้ความช่วยเหลือเพื่อยกระดับอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือเกี่ยวกับรถไฟของแดนหม่องให้ทันสมัยยิ่งขึ้นด้วย เป็นต้นว่า ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ปักกิ่งได้บริจาคหัวรถจักร 30 หัวจากกรมการขนส่งทางรถไฟของจีน เพื่อเป็น “ของขวัญแห่งมิตรภาพ” ให้แก่พม่า ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวซินหวาของทางการจีน

เมื่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ เส้นทางรถไฟใหม่ๆ เหล่านี้ก็จะยิ่งกระชับสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่จีนมีอยู่กับพม่าให้แข็งแกร่งขึ้นอีกมาก อีกทั้งยังจะร่วมส่วนในการบูรณาการเศรษฐกิจของภูมิภาคแถบนี้ด้วย ประเทศจีนเองก็กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการที่ประมาณการกันว่ามีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อขยายระบบทางรถไฟภายในประเทศ จากที่มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 78,000 กิโลเมตรในปัจจุบัน ให้เป็น 110,000 กิโลเมตรภายในปี 2012 และเป็น 120,000 กิโลเมตรภายในปี 2020 โครงการอันมหึมานี้ยังตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ว่า จะต้องทำให้เมืองใหญ่เมืองสำคัญทั้งหมดในแดนมังกรสามารถติดต่อเชื่อมโยงกันด้วยทางรถไฟความเร็วสูง (high-speed line) ซึ่งสามารถรองรับขบวนรถไฟที่แล่นด้วยความเร็วเกินกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมก็จะเห็นได้ว่า พม่าอยู่ในฐานะที่ทรงความสำคัญเป็นพิเศษในแผนการอันใหญ่โตมโหฬารของปักกิ่งที่จะก่อสร้างโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงซึ่งเชื่อมโยงจีนเข้ากับบรรดาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, ตะวันออกกลาง, และยุโรป อันที่จริงหลายๆ ส่วนของโครงข่ายนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ผ่านประเทศพม่านั้น สอดคล้องต้องกันกับแผนการริเริ่มจัดทำเส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย (Trans-Asian Railway initiative) รวมระยะทางทั้งสิ้นราว 14,000 กิโลเมตร ซึ่งสำนักงานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ สำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific ใช้อักษรย่อว่า UNESCAP หรือย่อกันยิ่งกว่านั้นว่า ESCAP) ได้เสนอกันขึ้นมาเป็นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 ถ้าหากเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามแผนการได้เมื่อใด มันก็จะกลายเป็นโครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ทีเดียว

เส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย จะมีแนวเส้นทางอย่างไรแน่ๆ เวลานี้ยังคงไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ย่อมหนีไม่พ้นว่าโครงข่ายนี้จะต้องไปตามทิศทางใหญ่ๆ รวม 3 ทิศทาง กล่าวคือ แนวเส้นทางสายเหนือจะแผ่ขยายผ่านมองโกเลีย, คาซัคสถาน, รัสเซีย, ยูเครน และต่อออกไปเชื่อมโยงกับโครงข่ายทางรถไฟของยุโรป สำหรับแนวเส้นทางสายกลางจะผ่านพม่า, บังกลาเทศ, อินเดีย, ปากีสถาน, อิหร่าน, ไปจนถึงตุรกี ส่วนแนวเส้นทางสายใต้จะออกจากจีนไปจนถึงสิงคโปร์ โดยผ่านพม่า, ลาว, เวียดนาม, และไทย ในปัจจุบันจีนมีเส้นทางรถไฟที่สามารถเชื่อมต่อกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็คือผ่านไปทางเวียดนามเท่านั้น

ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถติดต่อเขาได้ทางอีเมล์ที่ brianpm@comcast.net
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)

http://www.manager.co.th/Around/View...=9540000008512

///////////////

ขอเมืองเชียงราย เราเป็นปลายทาง เพราะไม่ค่อยคาดหวังกับรัฐบาลไทย ในความจริงจังเรื่องนี้
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #151 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2011, 12:03:13 »

จีนแผ่นดินใหญ่เคลื่อนลงใต้ด้วยทางรถไฟ: โครงการขยายเส้นทางรถไฟ จะเชื่อมโยงอาเซียนเข้าด้วยกันกับจีนแผ่นดินใหญ่ด้วย
หน้าเอเชีย วารสารอิโคโนมิสต์
20 มกราคม 2011

การขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีนแผ่นดินใหญ่ ได้ทำให้โลกตื่นตะลึงมาแล้ว แต่ การขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีนแผ่นดินใหญ่ ไม่ได้จำกัดแต่ ในเขตแดนของจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น แต่จะวางรางต่อไปยัง เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย - หลังจากที่ผู้นำใน ย่าน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ฝันจะมีทางรถไฟสายสิงคโปร์ - คุนหมิง มาแต่ ทศวรรษที่ 1990 (2534-2543) แม้ว่าทางรถไฟที่มีอยู่แล้วจะมีสภาพที่ เสื่อมโทรม ไม่เชื่อมโยงถึงกัน หรือแม้แต่มีงบซ่อมบำรุงให้มันดีโดยตลอด

นอกจากนี้บรรดาสินค้า ในย่าน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มักขนกันทางเรือหรือไม่ก็ทางรถบรรทุก ทำให้มีรถติดที่ด่านชายแดนกันเป็นประจำ จนทำให้ต้องเสียค่าน้ำมันกันโดยใช่เหตุ ถ้าเดินรถสินค้าและ รถโดยสาร ข้ามแดนก็ แค่ จ่ายเฉพาะค่าตั๋วก็พอแล้ว

ส่วนในเมืองจีนก็เริ่มดำเนินงานการทูตด้วยเงินตรา (Chequebook Diplomacy) โดยลงนามในสัญญา สร้างทางรถไฟผ่านลาวและไทย โดยเริ่มขยายทางจากคุนหมิงลงใต้ ไปด่านบ่อหาน ก่อนจะข้ามแดนไปเมืองลาว โดยหมายใจว่าจะไปถึงนครหลวงเวียงจันท์ ก่อนสิ้นปี 2015 (วันชาติลาว 2 ธันวาคม 2015 ถ้าจะระบุให้ชัดๆ)

เส้นทางรถไฟดังกล่าว มีประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ทำให้การขนสินค้าไปขายเมืองจีน ทำได้สะดวกกว่าเดิมเป็นอันมาก และ เป็นตัวส่งเสริมการค้าเสรีจีน - อาเซียนซึ่งมีผลบังคับใช้แต่ปี 2553 ทำให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยลดภาษีศุลกากรลงไปจากเดิมเป็นอันมาก นอกจากนี้ อาเซียนยังมีทรัพยากร และ ตลาด เพื่อป้อนอุตสาหกรรมจีนแผ่นดินใหญ่ อีกด้วย

เจ้าอาณานิคมอังกฤษและฝรั่งเศส ได้วางรางรถไฟในอาเซียน มาแต่สมัยอาณานิคม แม้แต่เมืองสยามก็เอากับเขาด้วย โดยกู้เงินปอนด์ และนำเข้าอุปกรณ์รถไฟจากทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส (ภายหลังได้นำเข้าอุปกรณ์รถไฟจากที่อื่นมาด้วย) มาสร้างทางรถไฟ เพื่อ รักษาเอกราชให้มั่นยืน แม้ปัจจุบันอาเซียน (ยกเว้นประเทศคอมมิวนิสต์ + สังคมนิยม) จะเอนเอียงเข้าหา มหาอำนาจอเมริกัน แต่จีนก็จะหาทาง ผูกมัดเพื่อนบ้านให้อยู่ในวงแห่งอำนาจทางเศรษฐกิจของจีน โดย

1. วางรางไปพม่า ที่มีเครือข่ายใหญ่โตแต่ ค่อนข้างเสื่อมโทรม ก็เพื่อหาทางออกทางทะเลอั้นดามันให้ภาคตะวันตกเฉียงใต้ (เสฉวนและยูนนาน)

2. วางรางส่วน Missing Links เชื่อมทางรถไฟที่มีอยู่แต่เดิมในเวียตนาม - กัมพูชาและไทย เพื่อ เดินรถไฟ เป็นวง รอบพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion) ทีธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียประมาณการว่า

2.1 จะต้องกู้เงิน 1100 ล้านดอลลาร์เพื่อสร้างส่วน Missing Links ให้ออกมาเป็นทางรถไฟวงแหวน ผ่าน เวียตนาม - กัมพูชาและไทย

2.2 จะต้องกู้เงิน อีก 7000 ล้านดอลลาร์เพื่อบูรณะเส้นทางที่มีอยู่ และ ซิ้อรถจักรรถพ่วงมาใหม่ แทนของเดิมที่ต้องรุปลดระวาง

2.3 เมื่อเปิดการเดินรถ ในสิ้นปี 2014 จะขนสินค้าทางรถไฟในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion) เกือบ 7 ล้านตัน ซึ่งจะเพิ่มเป็น 26 ล้านตัน ในปี 2025

3. แต่กระนั้น จีนก็ยังรู้สึกว่าโครงการพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion)ของ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ดำริไว้ ยังชักช้า ไม่ทันต่อความต้องการอันไร้ขีดจำกัดของจีนแดง ดังนั้น

3.1 จีนได้ลงนามกับรัฐบาลลาวสร้างทางรถไฟความเร็วสูงจากชายแดนจีน (บ่อหาน) ไปนครหลวงเวียงจันท์ ความยาว 421 กิโลเมตร มูลค่า 7000 ล้านดอลลาร์ โดยจะเริ่มการก่อสร้าง 25 เมษายน 2011 ให้เสร็จทันเปิดใช้งาน ในวันชาติลาว 2 ธันวาคม 2015

3.2 รัฐบาลไทยขอกู้เงินจีนแผ่นดินใหญ่ ผ่านบริษัทร่วมทุนสัมปทานไทย-จีน เพื่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงผ่านเมืองไทยไปเชื่อมกับทางรถไฟความเร็วสูงผั่งลาว

การเคลื่อนไหวของจีนแผ่นดินใหญ่เช่นนี้ ทำให้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ต้องงงงัน ว่า จีนจะทำอย่างไรกับทางรถไฟเชื่อมกรุงพนมเปญและนครไซ่ง่อน จะปล่อยทิ้งให้ค้างเติ่งหลัวจากที่จีนได้ลงทุนเป็นผู้ออกแบบเส้นทางให้ กัมพุชาและเวียตนาม หรือ ? จะสร้างจริงๆ เพระ โครงการนี้ดูท่าจะต้องรอให้จีนแดงสร้างทางรถไฟความเร็วสูง เสียก่อนกระมังกว่าจะ เริ่มสร้างทางรถไฟ สาย กรุงพนมเปญ - นครไซ่ง่อน ที่เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสฝันว่าจะสร้างแต่ก็ไม่ได้สร้าง แม้แต่สีหนุก็หันไปสร้างทางรถไฟไปท่าเรือกำปงโสมเพื่อ จะได้ไม่ต้องพึ่งพาท่าเรือไซ่ง่อน

จะว่าไปแล้วเส้นทางจาก จีนผ่านลาวไปเมืองไทย จะเป็นเส้นตรงกว่าแต่ก็ต้องผ่านภูเขา ซึ่งต้องสร้างอุโมงค์ 69 แห่ง ความยาวรวม 186.9 กม. และ สะพาน 165 แห่ง ความยาวรวม 92.6 กม. และเขตกันดารในเมืองลาวก็เต็มไปด้วยดงลูกระเบิดที่สหรัฐได้ทิ้งลงมามแต่สมัยสงครามเวียตนาม แต่กระนั้น ก็คงไม่สามรถหยุดยั่งจีนแผ่นดินใหญ่ที่สามารถวางรางขึ้นที่ราบสูงทิเบตไปนครลาซาได้สำเร็จมาแล้ว

แต่กรณีเมืองไทย นั้นอันตรายมักมาจาก การเมือง ที่น่ากลัวเสียยิ่งกว่าอันตรายจากดงลูกระเบิด เพราะ ต้องสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเทคโนโลยีจีนแผ่นดินใหญ่ ขนานไปกับทางรถไฟที่มีอยู่แต่เดิม โดย บริษัทร่วมทุนสัมปทานไทย-จีน จะขอเช่าที่การรถไฟ และ สร้างสถานีพร้อมเส้นทางและติดตั้งสัญญาณออกมาต่างหากจาก สถานีรถไฟ ของ รฟท. โดยเส้นทางดังกล่าวจะผ่านภาคอีสานที่ เป็นฐานกำลังของคนเสื้อแดงที่จ้องจะล้มรัฐบาล และ ตอนนี้ใกล้จะมีการเลือกตั้งทำให้ เกิดความไม่แน่นอนทางการเมืองเอาง่ายๆ เหมือนกัน

ทางรถไฟที่จะผ่านเมืองไทยนั้นกะจะทำให้เร็ว ถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่เร็วกว่ารถด่วนที่มีเดินอยู่ ซึ่งไทยเองก็อยากได้รถไฟด่วนเช่นนั้น เพื่อเดินรถด่วน รถนำเที่ยวอันหรูหรา มานานแล้ว แต่ จุดประสงค์จริงๆ ของทางรถไฟสายนี้ก็คือการขนสินค้าไปขายเมืองจีน หรือแม้แต่ในย่านอาเซียนด้วยกันเพราะ โดยข้อเท็จจริงแล้ว ปริมาณการค้าของไทยนั้น 25% อยู่ในย่านอาเซียน และ 11% อยู่ที่เมืองจีนและ ลูกค้าทั้ง 2 รายกำลังขยายการค้ากันมากขึ้น และ ทางรถไฟ

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียได้ประมาณการว่า การเปลี่ยนการขนส่งจากเรือ และ รถบรรทุก ในเส้นทาง กรุงเทพ - พนมเปญ ก็จะลดค่าใช้จ่ายในการขนสินค้า ลงไปได้ ถึง 2 ใน 3 แม้ตอนนี้จะยังไมทำทางรถไฟเชื่อมกัน แต่ การ บูรณะทางหลวง และการลดขั้นตอนการศุลกากรผ่านแดนก็ช่วยเพิ่มปริมาณการค้าได้ส่วนหนึ่ง โดย นาย หวัง เอ้อ เชิน (Wang Er-Chern) ประธานสมาคมการค้าไทย - ยุนนาน เล่าว่า การขนผลหมากรากไม้จากเมืองจีน (มณฑลยุนนาน) ผ่านเมืองลาวไป ขายเมืองไทย ใช้เวลา 2 สัปดาห์ ในต้นทศวรรษ 1990 แต่ตอนนี้ ขนได้เร็วกว่าเดิม 2 วัน ถ้ามีรรถไฟความเร็วสูง จาก คุนหมิง ไป กรุงเทพ ก็คง ขยายการค้าได้อีกมากเพราะ ใช้เวลาไม่เกิน 3 - 4 วันก็ขนสินค้าจาก คุนหมิง มาถึงกรุงเทพแล้ว
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
ปวดตับ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,556


ถ่ายรูปคือความสุข ..


« ตอบ #152 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2011, 12:08:18 »

ทางรถไฟ ที่ถมดินเมื่อ 6-7ปีที่แล้ว เดี๋ยวนี้ชาวบ้านปอปลูกสาระแหน่แทนล่ะ เขาบอกขี้คร้านรอ เสียดายที่ เลยหาอะไรมาปลูก 55
IP : บันทึกการเข้า

อนิจจาผู้ไม่เคยมีความฝัน ... ไม่มีวันได้เจอสุข
rakyha2011
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 102



« ตอบ #153 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2011, 23:01:53 »

แม้วช่วยได้ แต๊ ๆ นา
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #154 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2011, 13:43:47 »

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

รถไฟบ้านเราเงียบๆ ขนาด คนเชียงรายเป็นที่ปรึกษา รมต. กระทรวง คมนาคม
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
VIP>>//<<
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 913


ตั้งใจ มุ่งมั่น ความฝันย่อมสำเร็จ


« ตอบ #155 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2011, 22:33:19 »

นึกถึงคำพูดเพื่อนคนหนึง เทอพูดว่า"ทำไมรถไฟเมืองไทยเก่าจังเป็นไม้ เทอน่าจะหมายถึงเบาะที่นั่ง) แต่ก้ยังดีที่มีรถไฟให้เราใช้กันเนาะ*_* แต่เพื่อนเราพูดเหมือนได้เห็นของเก่าอันล้ำค่าเรย*_* ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
PPlay
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 65


« ตอบ #156 เมื่อ: วันที่ 22 มีนาคม 2011, 17:25:01 »

ถ้ามีรถไฟถึงเชียงรายเมื่อไหร่ เชียงใหม่ก็จะเป็นแค่ทางผ่าน
IP : บันทึกการเข้า
พะเยา!!!Caraudio-club
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,836


โซน พะเยา


« ตอบ #157 เมื่อ: วันที่ 11 เมษายน 2011, 19:50:02 »

ใครพอจะรู้บ้างว่า   บริเวณที่จะเวณคืนที่ดินแถวพะเยาที่จะทำรางรถไฟอยู่แถวไหน  มีแผนที่บอกด้วยจะดีมากเลยคะ  เพราะตอนนี้จะลงทุนทำอะรัยก็ไม่มั่นใจว่าที่ตนเองจะถูกเวณคืนหรือปล่าว   ขอบคุณล่วงหน้านะคะ
IP : บันทึกการเข้า

โอนเงินที่บัญชี ภานุพงษ์ พรมเสน ธนาคารกรุงไทย สาขาเชียงคำ 5340335313 โทร081-2350758 ครับ
เฟสบุ๊ค
Panupong Promsen Caraudio-phayao
เพจ. ขายปลีก-ส่งเครื่องเสียงติดรถยนต์ NY. พะเยา
พะเยา!!!Caraudio-club
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,836


โซน พะเยา


« ตอบ #158 เมื่อ: วันที่ 11 เมษายน 2011, 19:55:55 »

ใครพอจะรู้เส้นทางที่จะสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงรายบ้างคะ  ขอบริเวณที่จะเวณคืนของจังหวัดพะเยานะคะ  อยากได้แผนที่ดูว่าจะตรงกับที่ตนเองหรือปล่าว   เพราะตอนนี้จะลงทุนทำอะไรก็ไม่กล้า  เพราะไม่รู้ว่าโดนเวณคืนหรือปล่าว  ใครรู้ช่วยบอกแผนที่ด้วยนะคะ อย่างละเอียดได้ยิ่งดี  ขอบคุณมากคะ
IP : บันทึกการเข้า

โอนเงินที่บัญชี ภานุพงษ์ พรมเสน ธนาคารกรุงไทย สาขาเชียงคำ 5340335313 โทร081-2350758 ครับ
เฟสบุ๊ค
Panupong Promsen Caraudio-phayao
เพจ. ขายปลีก-ส่งเครื่องเสียงติดรถยนต์ NY. พะเยา
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #159 เมื่อ: วันที่ 11 เมษายน 2011, 21:12:43 »

ก.ก.โลจิสติกส์จี้เพิ่มคุณภาพโชเฟอร์สิบล้อ

วันจันทร์ ที่ 11 เมษายน 2554 เวลา 19:00 น 
เนื้อหาข่าว

กรรมการโลจิสติกส์ จี้เพิ่มคุณภาพคนขับสิบล้อ เล็งเพิ่มรายได้-ออกใบขับขี่พิเศษ ตั้งเป้าหมายพัฒนาให้ได้ 8 หมื่นคนในปี 58

วันนี้ (11 เม.ย.) นายธราดล เปี่ยมพงศ์สานต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (โลจิสติกส์) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการขนส่งสินค้าทางถนนของไทย หลังจากพบว่าปริมาณขนส่งทางถนนของไทยมีมากถึง 84% ของปริมาณการขนส่งทั้งหมด และเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 2 แสนล้านบาท

ขณะที่ผลการศึกษาของบริษัทในเครือ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย บริษัทตรีเพชรอีซูซุ และเจโทรของญี่ปุ่น พบว่าหากคนขับรถบรรทุกได้รับการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งและประหยัดพลังงานได้ 15-20%  ซึ่งที่ประชุมเห็นควรให้เร่งดำเนินการใน 4 เรื่อง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศที่มีมูลค่ามากถึง 1.5 ล้านล้านบาท ได้

ทั้งนี้ภาครัฐต้องเร่งผลิตกำลังคนด้านการขนส่งสินค้าทางถนนของไทย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนจำนวนพนักงานขับรถ พร้อมยกระดับมาตรฐานอาชีพของพนักงานขับรถบรรทุกให้มีฝีมือที่ดี มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการเป็นพนักงานขับรถ โดยมีเป้าหมายพัฒนาพนักงานขับรถบรรทุกให้ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 15,000 คนหรือให้ได้ 80,000 คน ในปี 58 รวมทั้งต้องสร้างความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานขับรถในอนาคต

อย่างไรก็ตามในที่ประชุมได้หารือกันว่า อาจให้พนักงานขับรถบรรทุกต้องมีใบขับขี่พิเศษสำหรับรถบรรทุกเป็นการเฉพาะ จากปัจจุบันที่มีเพียงใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สาธารณะก็สามารถขับขี่ได้ตั้งแต่รถแท็กซี่ยันรถบรรทุก รวมทั้งต้องปรับเพิ่มค่าตอบแทนให้กับพนักงานขับรถบรรทุกให้มากขึ้นเพื่อเป็นแรงจูงใจและให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการขนส่งต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมพนักงานขับขี่และการบำรุงรักษารถตามกำหนดระยะเวลา และต้องเคร่งครัดเรื่องน้ำหนักบรรทุกรถตามกฎหมาย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดต้นทุนการขนส่งในภาพรวม

นอกจากนี้เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนแนวทางการกำหนดมาตรฐานและคุณภาพของยานพาหนะ ควบคู่ไปกับการกำหนดน้ำหนักบรรทุกของรถตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งเห็นชอบให้ดำเนินการตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอทั้งการให้กระทรวงคมนาคมเร่งพัฒนาจุดพักรถบรรทุกให้ครอบคลุมเส้นทางสายหลักของประเทศ ให้กระทรวงแรงงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เร่งยกระดับทักษะฝีมือพนักงานขับรถบรรทุกให้ได้มาตรฐาน ให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เร่งผลักดันให้เกิดการใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ด้วย

นายธราดล กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบให้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนจากทุกประเทศเข้ามาประกวดราคาในการร่วมดำเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงในรูปแบบร่วมลงทุน (พีพีพี) ในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่,กรุงเทพฯ-ระยองและกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี โดยอาจพิจารณาขยายไปถึงจังหวัดตราด ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง และขยายไปถึงเชียงราย ในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รวมทั้งพิจารณาให้สามารถใช้กับการขนส่งสินค้าด้วยนอกเหนือจากขนคนแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุน

รวมทั้งการพิจารณาหน่วยงานเฉพาะขึ้นมารับผิดชอบโครงการด้วย ซึ่งอาจจัดตั้งเป็นหน่วยงานใหม่โดยตรง เพราะปัจจุบันภาระนห้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นั้นมีภาระมากอยู่แล้ว ขณะที่บริษัทการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เหมาะสมกับการบริหารดูแลรถไฟฟ้าใต้ดินอยู่แล้ว โดยให้กระทรวงคมนาคมรับไปศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการให้ชัดเจนครอบคลุมครบทุกด้านเพื่อเสนอให้ ครม.เห็นชอบต่อไป.

http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=8&contentID=132301
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 [8] 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 ... 24 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!