เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 22:43:37
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  +++กระทู้ติดตามรถไฟเชียงราย +++
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 [19] 20 21 22 23 24 พิมพ์
ผู้เขียน +++กระทู้ติดตามรถไฟเชียงราย +++  (อ่าน 162623 ครั้ง)
NORTHSIAM
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,254


« ตอบ #360 เมื่อ: วันที่ 13 มกราคม 2014, 13:12:13 »

ไม่รอชี้ชะตา2ล้านล.ลุยผุดโปรเจ็กต์ คมนาคมตั้งแท่นชงรัฐบาลใหม่ครบ"บก-ราง-น้ำ"



ไม่รอคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ "คมนาคม" โยกโครงการพร้อมประมูลจาก 2 ล้านล้าน ชงรัฐบาลใหม่เดินหน้าต่อ ทั้งถนน 4 เลน บูรณะทางสายหลัก สะพานข้ามทางรถไฟ ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ รถไฟทางคู่ 5 สายทาง รถไฟฟ้า 2 สาย 2 สี "ชมพู-ส้ม" มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ไฮสปีดเทรน 4 สายเฟสแรก



นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้เตรียมความพร้อมที่จะเดินหน้าโครงการก่อสร้างในแผนลงทุนภายใต้กรอบวงเงิน 2 ล้านล้านบาท โดยจะดึงโครงการที่มีความพร้อมเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ เพื่อเปิดประมูลก่อสร้างต่อไป จะไม่รอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (รธน.) ที่กำลังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ... ว่าขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่

"กระทรวงก็เดินหน้าโครงการไปตามปกติ เพราะศาลดูเรื่องข้อกฎหมายเป็นหลัก ไม่ได้หมายความว่าโครงการจะหยุดชะงัก ตอนนี้โครงการจะไปต่อได้หรือไม่อยู่ที่ว่าจะมีรัฐบาลมาอนุมัติโครงการและหาแหล่งเงินมาดำเนินการ แต่ถ้าร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทผ่านการพิจารณาก็นำเงินกู้ส่วนนี้มาดำเนินการต่อได้ ซึ่งประเมินว่าในปีนี้จะใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณ 8 หมื่นล้านบาท"

นายจุฬากล่าวต่อว่า สำหรับโครงการที่พร้อมส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่ไม่ต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) สามารถเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติได้ทันที ใช้ทั้งเงินกู้และงบประมาณปี 2558 อาทิ โครงการถนนของกรมทางหลวง (ทล.) กับกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เช่น ขยายถนน 4 ช่องจราจร บูรณะทาง สะพานข้ามทางรถไฟ เป็นต้น

นอกจากนี้มีโครงการรถไฟทางคู่ 5 สายทางที่รอการอนุมัติอีไอเอ วงเงินลงทุน 118,034 ล้านบาท อาทิ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 24,842 ล้านบาท สายนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน 165 กิโลเมตร 20,038 ล้านบาท ฯลฯ

โครงการรถไฟฟ้า 2 สายทาง มีสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) กับสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) โครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา 196 กิโลเมตร เงินลงทุน 84,600 ล้านบาท เนื่องจากออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนอีก 2 สาย คือ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และสายพัทยา-มาบตาพุด ยังต้องรอออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินก่อน จึงจะดำเนินการขออนุมัติโครงการได้

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง วงเงินลงทุน 783,229 ล้านบาทนั้น นายจุฬากล่าวว่า จะเร่งศึกษาและทำอีไอเอในเฟสแรกให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ ได้แก่ 1.สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา 2.สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา คาดว่าปลายเดือนมกราคมนี้จะยื่นขออีไอเอได้

3.สายกรุงเทพฯ-หัวหิน เนื่องจากปรับตำแหน่งสถานีใหม่จำเป็นต้องรอจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่อีกครั้ง คาดว่าภายในเดือนมีนาคมนี้จะยื่นได้ และ 4.สายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังศึกษารายละเอียดโครงการ

"ไฮสปีดเทรนจะเร่งอีไอเอให้จบปีนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเหมือนกันว่าจะช้าหรือเร็ว ยังตอบไม่ได้เพราะเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ในอนาคตเมื่ออีไอเอผ่านก็เสนอ ครม.อนุมัติโครงการต่อไป คาดว่าโครงการนำร่องทำได้ก่อน คือ สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ในความเห็นของ สนข.น่าจะผลักดันโครงการนี้ต่อไป โดยใช้เงินกู้เหมือนรถไฟฟ้า แต่อยู่ที่นโยบายของรัฐบาลใหม่ด้วย" นายจุฬากล่าว

updated: 13 ม.ค. 2557 เวลา 10:17:44 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
IP : บันทึกการเข้า
noomid
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,374


« ตอบ #361 เมื่อ: วันที่ 13 มกราคม 2014, 15:04:57 »

หมดหวังแล้วละ ต้องทำถนนลูกรังให้เสร็จก่อน ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
jibjibja
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 41


« ตอบ #362 เมื่อ: วันที่ 13 มกราคม 2014, 19:37:32 »

    ถนนลูกรัง ยังไม่หมดครับ  ต้องขออนุญาติ ศาลรัฐธรรมนูญก่อน...สร้างไม่ได้ครับ ... ขำ ขำ ครับ
IP : บันทึกการเข้า
meela
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 530


« ตอบ #363 เมื่อ: วันที่ 13 มกราคม 2014, 20:10:17 »

รถไฟบ่ว่าแบบไหนคงมาบ่ถึงเจียงฮายบ้านเฮาดอกเน้อ มันไปถึงแค่เจียงใหม่ คงฝากความหวังไว้กับจีนแหละครับว่าเขาจะยอมลงทุนสร้างต่อจากจีนตอนใต้ผ่านเจียงฮายบ่ แค่นั้นเชื่อสิ
IP : บันทึกการเข้า
aod in love
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 22


« ตอบ #364 เมื่อ: วันที่ 13 มกราคม 2014, 21:01:58 »

บอกให้ทำถนนลูกรังหมดก่อนดีมั๊ย  ผมก็ว่าดียุ แต่ลูกหลานรุ่นหลังเค๊าถามมาเราจะเอาศรีษะไปใว้ใหน อายจัง
IP : บันทึกการเข้า
pom_9963
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,742


โปรแกรมสำเร็จรูปให้เช่า Line >> itsmypoodle


« ตอบ #365 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2014, 14:01:28 »

ผมชอบดูคลิปรถไฟของญี่ปุ่น นอกจากสภาพเส้นทางแล้วคุณลองสังเกตรอบๆทางรถไฟ บ้านเมืองเขาเป็นเมืองใหญ่เจริญกว่าเรามาก เป็นยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมยานยนต์แต่ทำไมบนถนนหรือแม้แต่จุดตัดทางรถไฟ คุณจะเห็นรถยนต์บนรถถนนน้อยมากๆ นับคันได้เลย ผิดกับบ้านเรา

IP : บันทึกการเข้า
tiger-red
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,007



« ตอบ #366 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2014, 21:16:16 »

จริงๆแล้วถ้านักการเมืองบ้านเราเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เดียวนี้บ้านเราก็มีรถไฟรางคู่ หรือไม่ก็รถไฟความเร็วสูงทุกภาคแล้ว แต่ที่ไม่มีเพราะนักการเมืองบ้านเราคิดว่าถ้าความเจริญมาถึง ประชาชนจะมีความคิดทันเขาดังนั้นเขาเลยไม่ค่อยอยากให้ความเจริญเข้ามามาก
เพียงแต่วาดวิมานให้เราฝันไปเลยๆ รุ่นแล้วรุ่นเหล่า
แต่ถามท่านสมาชิกหน่อยถ้ารถไฟความเร็วสูงมีราคาค่าโดยสารเท่ากับเหรอต่ำกว่านิดหน่อยเมื่อเทียบกับราคาโดยสารทางเครื่องบินท่านจะเลือกใช้บริการทางไหน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 15 มกราคม 2014, 21:19:24 โดย tiger-red » IP : บันทึกการเข้า
KitchanonSK
♥→GIS 11
สมาชิกลงทะเบียน
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 177


☺ สันติภาพ


« ตอบ #367 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2014, 21:35:46 »

รอต่อไปหลายชั่วอายุคน ฮ่าๆๆ
IP : บันทึกการเข้า

065-0549854 @ BanDu
FB: https://www.facebook.com/KitchanonSK
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #368 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2014, 12:50:09 »

ลุ้นคสช.ลากรถไฟเข้าเชียงของ/นครพนม

วันพุธที่ 11 มิถุนายน 2014 เวลา 11:57 น.

คมนาคม/ร.ฟ.ท.ชงคสช.เดินหน้า 2 โครงการแสนล้าน รถไฟทางคู่เหนือ-อีสานเชื่อมเออีซี เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และบ้านไผ่-นครพนม หลังพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านล่ม เผยเบื้องต้นคสช.ไฟเขียวแล้ว ลุ้นช่วงสุญญากาศ ใช้อำนาจยกเว้นทำอีไอเอ แย้มต้องเวนคืนกว่า 2 หมื่นแปลง ด้านเอกชนเชียงราย-นครพนมเชียร์สุดตัวชี้เป็นผลดีต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ให้เร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 2 สายทางเชื่อมประเทศเพื่อนบ้านหรือรถไฟทางคู่เชื่อมอาเซียน(ดูแผนที่ประกอบ) ซึ่งในเบื้องต้นทางคสช. เห็นด้วยกับ 2 โครงการดังกล่าว เนื่องจากมีประโยชน์ต่อการค้าชายแดนและอยู่ในช่วงใกล้เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีปลายปี 2558

ต่อเรื่องนี้แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) กล่าวให้รายละเอียดถึงโครงการรถไฟทางคู่เชื่อมอาเซียนจำนวน 2 โครงการเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศคู่ค้าอย่างจีน รถไฟทางคู่ดังกล่าวประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 324 กิโลเมตร จำนวน18 สถานี มูลค่า 7.7 หมื่นล้านบาท ออกแบบแล้วเสร็จอยู่ระหว่างพิจารณาอีไอเอ จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และ2.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สาย บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด -มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร มูลค่า 4.2 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างออกแบบคาดว่าแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2557 อย่างไรก็ดีหากผ่านขั้นตอนอีไอเอ ก็สามารถตั้งงบประมาณหรือกู้เงินเพื่อก่อสร้างได้ทันที โดยใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี โดยทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าวนี้อยู่ในแผนพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทที่ล่มไป

++สบช่องขอคสช.เว้นอีไอเอ

อย่างไรก็ดีอุปสรรคสำคัญของการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานรัฐ คือ จะต้องผ่านอีไอเอ ถึงจะก่อสร้างได้ ซึ่งที่ผ่านมาต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปีในขั้นตอนนี้ ขณะที่โครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ในสมัยรัฐบาลชุดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ติดปัญหาในเรื่องแนวสายทางผ่านพื้นที่อุทยานลุ่มน้ำชั้น1 เอ รอยต่อจังหวัดพะเยากับเชียงราย แต่ร.ฟ.ท.ชี้แจงว่า ไม่ได้ตัดผ่านพื้นที่โดยตรง แต่เป็นการปรับรูปแบบให้เป็นอุโมงค์มุดใต้พื้นที่อุทยาน

ขณะเดียวกันอุทยานก็มีปัญหาประชาชนบุกรุกแผ่วถางป่า ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหา ที่ผ่านมาได้นำกลับไปแก้ไขใหม่ อาจจะปรับแนวและทำอุโมงค์หลอดแก้วที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเข้าอีไอเออีกครั้ง คาดหมายว่าน่าจะผ่านแต่ปรากฏว่า เกิดยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียก่อน ดังนั้นจึงต้องเริ่มกระบวนการใหม่ แต่ในทางกลับกันในยุคที่ คสช. สามารถใช้อำนาจยกเว้นขั้นตอนพิจารณาอีไอเอได้ หรือขอให้คสช.อนุมัติคำสั่ง ให้สผ.จัดทำแพ็กเกจให้ร.ฟ.ท. ทำกำแพงกันเสียง ระบบระบายน้ำ เป็นต้น เพื่อลดผลกระทบประชาชนและสิ่งแวดล้อม

"ที่ผ่านมาทั้ง2โครงการเคยเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนแล้วและคนในพื้นที่ส่วนใหญ่เข้าใจ โดยภาพรวมการเวนคืนที่ดินทั้ง 2โครงการรวมกว่า 20,000 แปลง เนื่องจากแต่ละโครงการมีสายทางที่ยาวกว่า 300 กิโลเมตร ทั้งนี้จากการลงสำรวจพื้นที่และการประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืนก่อนหน้านี้เฉลี่ยโครงการละกว่า 10,000 แปลง ส่วนใหญ่จะเน้นผ่านพื้นที่ว่างที่เป็นเรือกสวนไร่นา โดยค่าเวนคืนที่ดินจะคำนวณจากราคาประเมินสถาบันการเงินและหน่วยงานราชการ ซึ่งถือว่าราคาไม่แพงมาก เช่น ที่ตำบลเวียงเชียงรุ้ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ราคาที่ดินอยู่ที่ไร่ละ 10,000 บาทเท่านั้นในปัจจุบัน"

++เอกชนยกมือเชียร์สุดตัว

ต่อเรื่องนี้นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ เปิดเผยว่า จังหวัดกลุ่มล้านนาตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายและพะเยา มีข้อด้อยอย่างหนึ่ง ก็คือ ไม่มีเส้นทางรถไฟในพื้นที่ โครงการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย จึงเป็นโครงการที่ทุกจังหวัดในล้านนาตะวันออก เรียกร้องผลักดันกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่าโครงการนี้จะเกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจในดินแดนล้านนาตะวันออกเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของการขนส่งคนและสินค้า ซึ่งหากดูในแง่ของการขนส่งคนที่เป็นการขนส่งมวลชน รถไฟจะเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งของประชาชน ที่สามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยและเสียค่าใช้จ่ายไม่สูง ในแง่ของการขนส่งสินค้านั้น การขนส่งสินค้าระบบรางได้มีการคำนวณกันแล้วว่ามีต้นทุนที่ต่ำและเหมาะสมกับสินค้าเกษตร

"เชียงรายที่เป็นจังหวัดปลายทางของเส้นทางนี้ การเกิดขึ้นของรถไฟเด่นชัย-เชียงราย จะทำให้ความเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเชียงราย มีความสมบูรณ์ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ คือ การขนส่งยางพาราจากพื้นที่จังหวัดทางภาคใต้ ด้วยรถไฟขึ้นมาที่เชียงราย แล้วลงเรือต่อไปที่เมืองจีน การขนส่งยางพาราแผ่นจากภาคใต้มายังจังหวัดเชียงรายในขณะนี้ ยังต้องใช้การขนส่งทางบกด้วยรถยนต์เป็นหลัก ระบบรางจะทำให้ต้นทุนค่าขนส่งต่ำลง ยางพาราของไทยจะมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น" นายพัฒนา กล่าว

เช่นเดียวกับนายชาญยุทธ อุปพงษ์ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า หอการค้าจังหวัดนครพนมและผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมได้เสนอต่อคสช.ให้ผลักดันโครงการดังกล่าวไปแล้วเช่นกัน เพราะที่ผ่านมา มีเป้าหมายว่า จะเปิดใช้เส้นทางในปี 2562 แต่ยุบสภาเสียก่อน อย่างไรก็ดีถือว่าจะมีผลดีมาก ต่อการค้าชายแดน เพราะสปป.ลาวก็มีแผนลงทุนรถไฟทางคู่มาจ่อที่สะหวันนะเขตเช่นกัน

"ทุกวันนี้นครพนมถือเป็นเกตเวย์ค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสปป.ลาว เวียดนาม จีน ที่ส่งออกสินค้าทางรถไฟเสริมกับสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 ได้ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าส่งออก5หมื่นล้านบาท และปี 2557 คาดว่าจะทะลุแสนล้านบาท และยิ่งมีรถไฟทางคู่มาถึงก็ยิ่งเพิ่มมูลค่าได้สูงมากขึ้นเท่าตัวโดยเฉพาะช่วงเปิดเออีซี"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,956 วันที่ 12 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

http://www.thanonline.com/index.php?...7#.U5venPmSzDs
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #369 เมื่อ: วันที่ 16 กรกฎาคม 2014, 16:03:20 »

คสช.สั่งปรับความเร็วรางคู่เท่าไฮสปีดเทรน ฟื้นโมเดลปชป.ผุดรถไฟ1.435ม.เชื่อมจีนผ่านเชียงของ-หนองคาย


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

"บิ๊กจิน" รื้อระบบราง สั่งคมนาคมศึกษาสร้างรถไฟทางคู่ 2 ระบบ ใช้ราง 1 เมตรกับ 1.435 เมตร เส้นทางยุทธศาสตร์ 2 สายจากภาชีไป "เชียงของ-หนองคาย" รับรถไฟจีนที่รอเชื่อมฝั่งลาว ดันไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียน การรถไฟฯถือโอกาสชงรื้อรางสายหลัก 2,516 กม. วงเงิน 1.1 ล้านล้านบาท จับตา คสช.ฟื้นโมเดลเก่าประชาธิปัตย์ สานต่อรถไฟไทย-จีน



แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางอาจมีการปรับเล็กน้อย หลังพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ด้านเศรษฐกิจ มอบนโยบายใหม่ให้กระทรวงคมนาคมศึกษาความเป็นไปได้การก่อสร้างรถไฟทางคู่โดยใช้รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกจ จากปัจจุบันประเทศไทยจะเป็นรางขนาด 1 เมตรหรือมิเตอร์เกจเป็นหลัก เหมือนกับประเทศในอาเซียน เช่น มาเลเซีย กัมพูชา

สั่งศึกษารางคู่ 1.435 เมตร

"รอง คสช.อยากให้การรถไฟฯคิดดู ถ้าสร้างรถไฟทางคู่เป็นราง 1.435 เมตรจะใช้เงินเท่าไหร่ เน้นการรองรับกับเส้นทางที่จะเชื่อมจีนที่จะสร้างรถไฟรางสแตนดาร์ดเกจมาจ่อที่ด่านชายแดนประเทศลาว"

เนื่องจากมีนักวิชาการนักธุรกิจ หอการค้า และสภาอุตสาหกรรมฯ นำเสนอแนวคิดให้พิจารณาความเป็นไปได้เนื่องจากหากใช้ราง1.435 เมตร จะทำให้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงขึ้นมากกว่ารถไฟที่สร้างด้วยราง 1 เมตร จะรองรับได้ทั้งสินค้าและผู้โดยสารมากขึ้น เพราะกำลังจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 ที่เปิดเสรีการค้าและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจีนที่มีประชากร 1,000 ล้านคน บวกกับประเทศอาเซียนที่มีประชากรรวมกันประมาณ 600 ล้านคน

"มีคำแนะนำจากนักธุรกิจว่าตลาดประเทศจีนใหญ่มาก ดังนั้น ไทยซึ่งได้เปรียบที่ตั้งเป็นจุดศูนย์กลางน่าจะนำตรงนี้มาต่อยอดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการค้า ปัจจุบันจีนมีแผนพัฒนารถไฟมายังประเทศลาว ไทยก็น่าจะมีโครงการต่อเชื่อมด้วยเพื่อเปิดตลาดให้กว้างมากขึ้น"

เชื่อมจีนที่เชียงของ-หนองคาย

ทั้งนี้เมื่อดูแนวที่จะเป็นเส้นยุทธศาสตร์เชื่อมต่อกับรถไฟจีนมี 2 เส้นทาง คือ สายอีสานจากภาชี-หนองคาย ไปเชื่อมที่นครเวียงจันทน์ และสายเหนือจากภาชีไปตามเส้นทางสายเหนือถึงเด่นชัย เชื่อมกับรถไฟสายใหม่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ บริเวณด่านเชียงของ โดยทางประเทศจีนจะสร้างรถไฟมาถึงชายแดนลาวที่ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว โดยใช้รางขนาด 1.435 เมตร ถ้าหากประเทศไทยสร้างรางขนาดเดียวกันไปเชื่อมกับประเทศจีน จะทำให้รถไฟวิ่งทะลุจากจีนมายังกรุงเทพฯได้

"รูปแบบการก่อสร้างยังไม่รู้จะเป็นแบบไหน สร้างราง 1.435 เมตรแยกต่างหาก วิ่งคู่ขนานไปกับแนวรถไฟเดิม หรือใช้ทางร่วมกัน แต่รองหัวหน้า คสช.ให้โจทย์ไปดูว่าถ้าสร้างรถไฟทางคู่ 2 สายนี้โดยใช้รางมาตรฐานจะใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ขอให้สรุปรายละเอียดโดยเร็วก่อนจะนำเสนอให้หัวหน้า คสช.พิจารณาต่อไป"

ที่ปรึกษาชี้ต้นทุนไม่ต่างกันมาก

แหล่งข่าวจากวงการบริษัทที่ปรึกษากล่าวเพิ่มเติมว่าค่าก่อสร้างรถไฟใช้ราง 1 เมตร และ 1.435 เมตรไม่ต่างกันมากขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ โดยราง 1 เมตร เฉลี่ย 300 ล้านบาท/กม. ส่วนราง 1.435 เมตร ราคาเฉลี่ย 400-500 ล้านบาท/กม.

"การก่อสร้างราง 1.435 เมตรจะใช้รถทั้งดีเซลและรถไฟฟ้ามาวิ่งร่วมกันได้ และหาซื้อง่ายเพราะทั่วโลกใช้ราง 1.435 เมตรกว่า 60% ขนได้ทั้งสินค้าและคน"

โดยรถไฟขนส่งสินค้าจะเป็นแบบวิ่งทางไกลไม่หยุดพัก มีความเร็ว 120-160 กม./ชม. และรถไฟโดยสารวิ่งความเร็ว 200-250 กม./ชม. ใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วสูงที่ทำความเร็วสูงสุด 300-350 กม./ชม. แต่การลงทุนทางคู่จะถูกกว่าเพราะไม่ต้องใช้รถไฟหัวจรวด ส่วนราง 1 เมตร ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. เพราะต้องใช้เส้นทางร่วมกับรถขนส่งสินค้าที่วิ่งด้วยความเร็ว 80-120 กม./ชม.

งบฯอู้ฟู้ 1 ล้านล.รื้อราง 1 เมตร

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่าได้ประเมินค่าก่อสร้างรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร ในสายหลักระยะทาง 2,516 กม. จากหนองคาย-ปาดังเบซาร์ และเชียงของ-ท่าเรือแหลมฉบัง ใช้เงินลงทุน1,156,519 ล้านบาท เช่น สายแหลมฉบัง-เชียงของอยุ่ที่ 490,000 ล้านบาท

"ยังไม่รู้ว่านโยบายจะยกเลิกรถไฟทางคู่เดิมที่ใช้ราง 1 เมตรเลยหรือไม่ ถ้าแบบนั้นเท่ากับต้องนับหนึ่งใหม่ เพราะทางคู่เฟสแรก 5 สายอยู่ในขั้นการพิจารณาอีไอเอแล้ว จะก่อสร้างได้ก่อน คือ สายจิระ-ขอนแก่น กับสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ถ้าหากเลือกวิธีการสร้างทางคู่ 2 ระบบโดยมีทั้งราง 1.435 เมตรวิ่งคู่กับราง 1 เมตร จะทำให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้ ขึ้นอยู่กับนโยบาย คสช."

ฟื้นโมเดลประชาธิปัตย์

"จริง ๆ แล้วแนวคิดรื้อราง 1 เมตรเป็นราง 1.435 เมตรมีหลายรัฐบาลที่คิดจะทำ แต่ทำไม่ได้ ต้องรื้อรางรถไฟเดิมทั้งประเทศและเสียเงินลงทุนมาก ต้องเปลี่ยนทั้งรางและขบวนรถไฟ โดยไม่ได้รางรถไฟเพิ่ม เพราะยังคงเป็นทางเดี่ยวอยู่ แค่ทำความเร็วเพิ่มขึ้นเท่านั้น ที่สำคัญประเทศไทยจะต้องมีระบบรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านที่ใช้ราง 1 เมตรเช่น มาเลเซีย"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ยุครัฐบาลประชาธิปัตย์เมื่อปี 2553 เคยผลักดันเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะเชื่อมต่อกับรถไฟของจีนที่สร้างมารอที่ชายแดน สปป.ลาว ที่นครเวียงจันทน์และห้วยทราย มีความคืบหน้าถึงขั้นตอนจะลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับรัฐบาลจีนเพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนรูปแบบรัฐวิสาหกิจ สัดส่วน 51 : 49 มีทุนจดทะเบียน 1 แสนล้านบาท โดยบริษัทนี้จะขอสัมปทานเช่าใช้เส้นทางจากการรถไฟฯเป็นเวลา 50 ปี แต่มีการยุบรัฐบาลไปก่อน ทำให้โครงการสะดุดลง

"ไม่รู้ว่าแนวคิดของรองหัวหน้า คสช.นี้ จะเป็นโมเดลเดียวกับที่รัฐบาลประชาธิปัตย์เคยคิดไว้หรือไม่ ตอนนั้นจีนสนใจสายกรุงเทพฯ-หนองคายที่เชื่อมจากคุนหมิงผ่านเวียงจันทน์มากรุงเทพฯ ทะลุไปมาเลเซียและสิงคโปร์ ระยะแรกเริ่มสร้างจากหนองคายมากรุงเทพฯก่อน ค่าก่อสร้าง 180,000 ล้านบาท จากนั้นจึงต่อขยายไปถึงภาคใต้เชื่อมกับมาเลเซีย" แหล่งข่าวกล่าว



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1405343358
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
pom_9963
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,742


โปรแกรมสำเร็จรูปให้เช่า Line >> itsmypoodle


« ตอบ #370 เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2014, 08:48:20 »

สมัยรถไฟไทยแรกๆรางก็เป็นมาตรฐาน 1.4 เหมือนยุโรปนะครับ ที่เปลี่ยนเป็น 1 แล้วใช้มาจนปัจจุบันมาเปลี่ยนเอาทีหลัง ถ้ารื้อกันจริงๆอะไรที่ไม่เข้ากับระบบรางใหม่ ก็เอาไปโยนทะเลทำปะการังเทียม เหมือนรถถังจากจีน หรือจะเอาไปขายถูกๆให้ประเทศที่ยังใช้ราง 1 เมตรอยู่  มูลค่าโครงการนี้น่าจะพอกับโครงการประชานิยมที่แต่ละรัฐบาลออกมาปล่อยให้เป็นควันหายไป
IP : บันทึกการเข้า
zombie01
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,519


ความสุขเกิดขึ้นได้ เพียงแต่รู้จักใช้ชีวิต


« ตอบ #371 เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2014, 09:49:25 »

ล่าสุดดูเหมือนจะเป็นข่าวดีนะครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

best1
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 526


« ตอบ #372 เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2014, 10:11:17 »

น่าจะเอาราง1เมตรไปชั่งกิโลขาย แล้วเริ่มระบบใหม่จะดีกว่าครับ ระบบ1เมตรทำให้รถไฟตกรางมาเยอะแล้ว วิ่งเร็วก็ไม่ได้ต้องวิ่งแบบถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง
IP : บันทึกการเข้า
mana.
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 357


« ตอบ #373 เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2014, 10:43:12 »

ยังพอมีความหวังแบบลมๆ แล้ง ๆ หายใจฝืด ๆ คงไม่เดสสะมอเร่ไปก่อน  ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้
IP : บันทึกการเข้า
flukrbl
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 815


ค่าของคน อยู่ที่ผลของ งาน'


« ตอบ #374 เมื่อ: วันที่ 21 กรกฎาคม 2014, 14:19:21 »

นั่งรถไฟ คนเดียวกลัวโดนข่มขืน ร้องไห้

IP : บันทึกการเข้า

(ค ว า ม จ น ห รื  อ จ ะ สู้ ม า น ะ  ต น)

ถูกใส่ร้ายป้ายสี ให้ทำดี2 เท่า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #375 เมื่อ: วันที่ 22 กรกฎาคม 2014, 16:27:21 »

ขออภัย ลงข้อมูลผิด
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
miyoko
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,252



« ตอบ #376 เมื่อ: วันที่ 23 กรกฎาคม 2014, 14:26:55 »

รอไปก่อน
IP : บันทึกการเข้า

boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #377 เมื่อ: วันที่ 29 กรกฎาคม 2014, 16:13:07 »

ชงโครงสร้างพื้นฐาน2.4ล้านล้าน

สนข.เตรียมชง “ประยุทธ์”เคาะยุทธศาสตร์คมนาคม 8 ปี วงเงินกว่า 2.4 ล้านล้านบาท ชงรัฐบาลใหม่เดินหน้าได้ทันที หวังฟื้นเชื่อมั่นระยะยาว แต่ยังไม่รวมรถไฟความเร็วสูง ขณะสศช.เสนอโครงการระบบราง ยันสร้างทางคู่ขนาดราง 1 เมตรเพียงพอรองรับการขนส่งในประเทศ ส่วนรางมาตรฐาน 1.4.35 เมตรสำหรับรถไฟความเร็วสูง

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่าสนข.ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของไทยระยะเวลา 8 ปีช่วงปี 2558-2565 กระทรวงคมนาคมได้เตรียมที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อบริหารราชการแผ่นดินพิจารณาแล้ว โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ต้องการให้ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ก่อนที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลเนื่องจากต้องการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการเรื่องนี้ได้ทันทีที่เข้ารับตำแหน่งบริหารประเทศในช่วงปลายเดือน ส.ค.นี้

นอกจากนี้การที่มีความชัดเจนเรื่องแผนการลงทุนด้านคมนาคมขนส่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว

สำหรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทยที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้ คสช.พิจารณา ประกอบด้วย 5 แผนงาน ซึ่งยังไม่รวมโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ คสช.ให้มีการศึกษาเพิ่มเติม วงเงินรวมประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท

แผนงานแรก การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง วงเงินประมาณ 6.7 แสนล้านบาท โดยโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการในการดำเนินการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เช่น โครงการรถไฟทางคู่ 17 เส้นทางวงเงินรวมกว่า 4.7 แสนล้านบาท โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณทั่วประเทศ โครงการซ่อมบำรุงรถจักร และรถจักรดีเซลไฟฟ้า โครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกสินค้า และโครงการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่ เป็นต้น

ส่วนรถไฟความเร็วสูงตามแผนงานที่เสนอให้พิจารณา คสช.อาจจะทางอาจจะไม่รวมโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงไว้ในแผนยุทธศาสตร์เลย หรืออาจเลือกเอาบางโครงการที่มีศักยภาพและมีความจำเป็นในอนาคต ที่ สนข. ได้เสนอไปก่อนหน้านี้ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ 3.8 แสนล้านบาท คสช.อาจพิจารณาดำเนินการในระยะที่ 1 กรุงเทพ - พิษณุโลก วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท

ส่วนเส้นทางกรุงเทพ - หนองคาย วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท อาจมีการปรับแผนในการผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางท่าเรือแหลมฉบัง-หนองคาย ซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมกับ รถไฟความเร็วสูงในประเทศลาวและจีน ซึ่งจะเป็นโครงการที่มีศักยภาพในอนาคตหลังจากที่รถไฟความเร็วสูงในลาวจะสร้างเสร็จ โดยจะต้องมีการศึกษาวงเงินสำหรับโครงการดังกล่าวอีกครั้ง

พัฒนาขนส่งสาธารณะ-ถนนกทม.1.2 ล้านล้าน

แผนงานที่สอง การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ใน กทม.และปริมณฑล วงเงินรวมประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท โดยโครงการสำคัญในแผนงานนี้คือโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง โดยโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑล หรือโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย โดยจะมีการประกวดราคาเพิ่มเติมอีก 112 กิโลเมตร หรืออีก 5 โครงการในระหว่างปี 2557 - 2558

นอกจากนี้ มีโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,416 ล้านบาท ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์สั่งให้มีการดำเนินการให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2558

นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างถนนและสะพานใน กทม.และปริมณฑลเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่ขยายตัว ได้แก่ โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อถนนราชพฤกษ์ - ถนนกาญจนาภิเษก แนวเหนือ-ใต้ และโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

สร้างทางหลวงเชื่อมฐานผลิต

สำหรับแผนงานที่ 3 เป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศสู่ประชาคมอาเซียน วงเงินประมาณ 6.4 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการโครงการสร้างโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนการเกษตรและการท่องเที่ยว การสร้างโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลักและระหว่างฐานการผลิตหลักของประเทศ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง

นอกจากนี้ แผนงานที่ 4 พัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำเพื่อเพิ่มการขนส่งทางน้ำเพิ่มขึ้น 20% วงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือปากบารา โครงการพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าในแม่น้ำป่าสัก โดยการก่อสร้างระบบป้องกันตลิ่งเพื่อพัฒนาร่องน้ำทางเดินเรือ เป็นต้น

พัฒนาสุวรรณภูมิเฟส2รวม8.9หมื่นล้าน

สำหรับการพัฒนาท่าอากาศยาน เป็นแผนงานสุดท้าย วงเงินรวมประมาณ 8.9 หมื่นล้านบาท เช่น แผนการเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานในประเทศ เช่น แผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 วงเงิน 6.2 หมื่นล้านบาท การพัฒนาท่าอากาศดอนเมืองระยะที่ 2 - 3 (2561 - 2565) รวมทั้งแผนพัฒนาท่าอากาศยานท่าอากาศยานภูเก็ต

"แผนงานที่ 5 นี้จะมีการหารือถึงความเหมาะสมในการลงทุน โดยโครงการลงทุนในการพัฒนาแผนงานนี้แนวทางการลงทุนอาจให้รัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัทการท่าอากาศยาน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ลงทุนเองเนื่องจากมีศักยภาพเพียงพอ หรืออาจให้เป็นการลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (พีพีพี) รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโดยใช้กลไกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เป็นทางเลือกในการลงทุนเช่นเดียวกับโครงการอื่นๆ ที่มีขนาดการลงทุนเกินกว่า 1 แสนล้านบาทในแผนงานอื่นๆ ก็ให้มีการศึกษาทางเลือกของการลงทุนในรูปแบบต่างๆ"

เผยภาคเอกชนต้องการรางคู่ก่อน

ด้านแหล่งข่าวจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยด้วยว่าในการประชุม ร่วมกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าคสช. ฝ่ายเศรษฐกิจ เมื่อเร็วๆนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการคมนาคมขนส่งของประเทศ ได้แก่ กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ สนข.ได้ให้ข้อมูลกับ พล.อ.อ.ประจิน เกี่ยวกับการลงทุนในระบบรางของประเทศไทย ภายหลังได้มีข้อเสนอว่าในการลงทุนรถไฟทางคู่ที่ คสช.กำลังผลักดัน ควรจะมีการสร้างโดยใช้รางขนาด 1.435 เมตร เพื่อให้รองรับระบบรางในอนาคต

"ส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชนที่ต้องการให้การลงทุนรถไฟทางคู่สามารถรองรับการขนส่ง ทั้งคนและสินค้าได้ในเวลาอันรวดเร็วขึ้น"

ใช้ราง1.435เมตรทั่วประเทศใช้ทุนสูง

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงให้ พล.อ.ประจิน ทราบว่าปัจจุบันเส้นทางรถไฟของประเทศไทยมีประมาณ 4,000 กิโลเมตร หากจะมีการเปลี่ยนแปลงรางเป็นขนาด 1.435 เมตร ทั้งหมด รวมทั้งสร้างรถไฟทางคู่ขึ้นมาใหม่ในขนาดรางเดียวกันจะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล เนื่องจากจะต้องมีการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่ด้วย โดยเพื่อให้ใช้วิ่งในรางใหม่ที่จะมีการสร้าง

ปัจจุบัน ค่าก่อสร้างรางรถไฟในแต่ละก.ม.ต้องใช้งบประมาณมากกว่าการก่อสร้างทางถนนประมาณ 10 เท่า

เล็งใช้รถไฟความเร็วสูงราง1.435เมตร

แหล่งข่าวกล่าวว่าข้อเสนอที่ต้องการให้ไทยสร้างราง ขนาด 1.435 เมตร เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับทางรถไฟของประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต แหล่งข่าวกล่าวว่าปัจจุบันขนาดรางรถไฟในประเทศเพื่อนบ้านมีขนาดเท่ากับรางรถไฟของไทยคือขนาด 1 เมตร ซึ่งเมื่อมีการปรับปรุงให้มีสภาพดีขึ้นก็จะสามารถทำความเร็วได้ถึง 90 - 100 ก.ม./ช.ม. และเมื่อมีทางคู่อีกเส้นหนึ่งที่ขนานกันก็จะทำให้การขนส่งโดยระบบรางมีความคล่องตัวขึ้นโดยไม่ต้องเปลี่ยนรางใหม่ทั้งระบบ

ส่วนในอนาคตจะมีรางรถไฟที่ประเทศจีนลงทุนให้ สปป.ลาวขนาดราง 1.435 เมตรนั้นในอนาคตเมื่อไทยศึกษาเส้นทางสำหรับรถไฟความเร็วสูงก็จะมีการลงทุนโดยใช้ขนาดราง 1.435 เมตร ซึ่งก็จะเชื่อมต่อเส้นทางไปยังประเทศจีนได้โดยเบื้องต้นได้ศึกษาการเชื่อมต่อในเส้นทาง กรุงเทพ - หนองคาย

“ตอนที่มีการวางแผนที่จะมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง เราได้วางแผนว่าจะสร้างรางขนาด 1.435 เมตรเอาไว้ เนื่องจากเป็นรางที่จะสามารถทำความเร็วได้ในระดับมากกว่า 150 ก.ม./ช.ม.ขึ้นไป ซึ่งตามแผนรถไฟความเร็วสูงจะใช้สำหรับการขนส่งคนหรือสินค้าที่มีมูลค่าสูง ขณะที่รถไฟขนาดรางปกติจะใช้สำหรับขนส่งสินค้าประเภทฮาร์ดแวร์ หรือผู้โดยสารที่ไม่ต้องการความเร่งรีบในการเดินทางมากนัก” แหล่งข่าวกล่าว

เครดิตในภาพ


* news_img_595718_1.jpg (107.18 KB, 500x663 - ดู 1050 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #378 เมื่อ: วันที่ 29 กรกฎาคม 2014, 17:40:44 »

คสช.อนุมัติแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 8 ปี เดินหน้ารถไฟรางคู่ Tue, 29/07/2014 - 17:24Printer-friendly version Views: 10คสช.อนุมัติแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 8 ปี เดินหน้ารถไฟรางคู่
คสช.ได้อนุมัติกรอบหลักการโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง ที่จะดำเนินการในระยะ 8 ปี

คสช.อนุมัติกรอบหลักการยุทธศาสตร์คมนาคมขนส่งของไทยระยะเวลา 2558-2565 รวมทั้งกรอบหลักการของแผนงานระยะเร่งด่วน ซึ่งใช้งบประมาณปี 2557-2558 พร้อมสั่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนและจัดหาแหล่งเงินทุน ที่มี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธาน โดยให้จัดทำรายละเอียดโครงการ และแหล่งเงินทุน เพื่อเสนอคสช.ภายใน 30 วัน

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า แผนลงทุนระยะเร่งด่วนที่ผ่านการอนุมัติจาก คสช.เช่น รถไฟรางคู่ 5 เส้นทาง ระยะทาง 887 กิโลเมตร วงเงิน กว่า 127,000 ล้านบาท รวมทั้งอนุมัติกรอบดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งใช้รางคู่ขนาด 1.435 เมตร ความเร็ว 160 กิโลเมตร 2 เส้นทาง ได้แก่ หนองคาย - มาบตาพุด และ เชียงของ - บ้านภาชี วงเงินรวมกว่า 740,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า เปิดประมูลได้ในปี 2559

#ThaiPBS
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
tiger-red
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,007



« ตอบ #379 เมื่อ: วันที่ 29 กรกฎาคม 2014, 18:01:52 »

รถไฟความเร็วสูงอนุมัติหลักการสองเส้นทางงั้นปี 65 เชียงรายก็ได้นั่งรถไฟความเร็วสูงแล้วน๊ะสิ ดีใจไว้ก่อนได้มั้ยเนี่ยกลัวเก้อ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 [19] 20 21 22 23 24 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!