เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 17 เมษายน 2024, 04:02:28
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  Re: รวบรวมกระทู้การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและโครงการพัฒนาเชียงราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 [29] 30 31 32 33 34 35 36 37 พิมพ์
ผู้เขียน Re: รวบรวมกระทู้การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและโครงการพัฒนาเชียงราย  (อ่าน 439904 ครั้ง)
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #560 เมื่อ: วันที่ 26 ธันวาคม 2012, 21:25:28 »

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เชียงราย คาดงินสะพัด 2 พันล้าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   26 ธันวาคม 2555

เชียงราย - ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด คาดเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เมืองพ่อขุน ทำเงินสะพัดไม่น้อยกว่า 2 พันล้านบาท ล่าสุดมีคนเข้าท่องเที่ยวเฉลี่ย 2 แสนคนต่อวันแล้ว พร้อมจับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลดคนดื่มเหล้า-เฝ้าระวังอุบัติเหตุ หวังโกยเงินเข้าทั้งปี 2.5 หมื่นล้าน
       
       วันนี้ (26 ธ.ค.) นายพรหมโชติ ไตรเวช ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า 2555 ต้อนรับปีใหม่ 2556 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจำนวนมาก ล่าสุดมีนักท่องเที่ยวเดินมากกว่า 2 แสนคนต่อวัน เชื่อว่าจะทำให้มีเม็ดเงินสะพัดเฉพสะช่วงหยุดยาวกว่า 2 พันล้านบาทแน่นอน ซึ่งเชียงรายมีโรงแรม รีอสร์ต เกสต์เฮาส์ รองรับนักท่องเที่ยวมากกว่า 18,000 ห้อง
       
       “การท่องเที่ยวส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่จะทำให้สถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าเชียงรายตลอดปี 2555 เป็นไปตามเป้าหมาย 2.5 ล้านคน มีเงินสะพัดตลอดปีตามเป้า 2.5 หมื่นล้าน จากปี 2554 มีนักท่องเที่ยว 2.3 ล้านคน เงินสะพัด 1.9 หมื่นล้านบาทมาแล้ว”
       
       นายพรหมโชติกล่าวว่า เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย การท่องเที่ยวแห่งประเทสไทย (ททท.) พร้อมหลายหน่วยงานได้พยายามจัดกิจกรรมรองรับ เช่น เทศกาลชิมชา ซากุระบาน อาหารชนเผ่า ดอยแม่สลอง ครั้งที่ 7 ที่ ททท.และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง ร่วมกันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2555 ถึงวันที่ 2 มกราคม 2556 ซึ่งจะไม่จำหน่ายสุราบริเวณงานเด็ดขาด เพราะเป็นเทศกาลเกี่ยวกับชาและจิบกาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่นที่ไม่ใช่สุรา เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไปพร้อมกันด้วย
       
       “ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูชี้ฟ้า และผาตั้ง ยังจัดเตรียมห้องน้ำเอาไว้รองรับ พร้อมมีคนดูแลด้วย เพราะที่ผ่านมามีไม่เพียงพอจนสร้างความไม่สะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ขณะเดียวกันได้จัดให้มีไฟส่องสว่างสำหรับจุดกางเต็นท์ด้วย พร้อมกันนี้นักท่องเที่ยวยังจะได้ชื่นชมไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว และปฏิมากรรมดอกไม้ การแสดงดนตรีกลางสวนดอกไม้ ภายในสวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ ถนนธนาลัย อ.เมือง ซึ่งเทศบาลนครเชียงราย จัดขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 รวมทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงราย ยังจัดมหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย 2012 ระหว่างวันที่ 22 ธ.นวาคม 2555 ถึงวันที่ 6 มกราคม 2556 ที่สนไม้งามริมกก เชิงสะพานเฉลิมพระเกียรติ ต.ริมกก อ.เมือง”
       
       ข่าวแจ้งว่า ขณะเดียวกัน สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556 และโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย 100% ที่ลานศาลากลางจังหวัด โดยมีนายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และนายณรงค์ อินโส รักษาการ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด นำประชาชนและเยาวชนเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก
       
       โดยปล่อยแถวจักรยานยนต์ครั้งนี้ เน้นให้เห็นว่าผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎจราจร และสวมหมวกนิรภัยมิดชิด เพื่อหวังลดอุบัติเหตุของจังหวัดให้ได้ 5% หรือหลุดจากการเป็นแชมป์อุบัติเหตุของประเทศในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และสงกรานต์ให้ได้ หลังจากในช่วง 7 วันอันตรายของปี 2555 จ.เชียงราย มีสถิติเกิดอุบัติเหตุสูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศกว่า 115 ครั้ง และมีผู้บาดเจ็บสูงสุด 121 ราย มีผู้เสียชีวิต 11 ราย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์และขับขี่จักรยานยนต์

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000156678
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #561 เมื่อ: วันที่ 31 ธันวาคม 2012, 10:18:10 »

นักท่องเที่ยว ขึ้นเหนือร่วมงาน"มหกรรมไม้ดอกอาเซียน เชียงราย 2012" คึกคัก
วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 11:25:22 น.

   
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการท่องเที่ยวช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่  ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม  ว่า  เป็นไปอย่างคึกคักโดยมีกลุ่มนักท่องเที่ยวและคนทำงานต่างถิ่นหลั่งไหลกันเข้าพื้นที่อย่างไม่ขาดสายเพื่อร่วมเทศกา โดยตามถนนสายพหลโยธินคราคร่ำไปด้วยรถยนต์ เช่นเดียวกับแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งถูกนักท่องเที่ยวเข้าพักทั้งในลักษณะรีสอร์ทและรูปแบบกางเต๊น โดยเฉพาะที่ดอยแม่สลอง ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ซึ่งทาง อบต.แม่สลองได้จัดให้มีเทศกาลชิมชา ชมซากุระบาน อาหารชนเผ่า ดอยแม่สลอง ครั้งที่17ขึ้นโดยมีนักท่องเที่ยวไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยคืนวันที่ 31 ธันวาคม จะมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมเค้าดาวน์ด้วยและเช้าวันที่ 1 มกราคม จะมีการตัดบาตรใบชาเพื่อเป็นสิริมงคลเข้าสู่ปีใหม่ด้วย

 เช่นเดียวกับที่บริเวณสวนไม้งามริมน้ำกก ต.ริมกก อ.เมืองจ.เชียงราย ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานมหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย2012 ของ อบจ.เชียงราย ได้มีนักท่องเที่ยวที่เดินมาจากต่างจังหวัดเดินทางมาเยี่ยมชมจำนวนมาก โดยเฉพาะที่บริเวณสวนดอกไม้ที่มีการนำดอกไท้เมืองหนาวนานาพันธุ์มาจัดแสดง อย่างยิ่งดอกทิวลิปกว่า 2 หมื่นและปฎิมากรรมดอกไม้ที่จัดแสดงโดยนำเอาสัญญาลักษณ์ของประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนมาสร้างจำลองไว้ภานในสวนเพื่อให้ไดชมและถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
 
นางอัจฉริกา มณีสิน ผอ.ททท.สำนักงานเชียงราย กล่าวว่า  ปีนี้การท่องเที่ยวคึกคักกว่าทุกปีมีนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัดและต่างประเทศ อาทิยุโรป อเมริกา หรือโซนเอเชียอย่างญี่ปุ่น และจีนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ห้องพักที่มีอยู่กว่า 16,000ห้องถูกใช้บริการหมด ทำให้ปี2555นี้น่าจะมีนักท่องเที่ยวมายังจ.เชียงรายมากกว่า2 ล้านคน

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356841070


ชียงราย - นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าเชียงรายต่อเนื่อง ล่าสุด ยอดคนขึ้นภูชี้ฟ้าทะลุ 1.2 หมื่นคนต่อวันแล้ว ขณะที่หลายยอดดอย รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อมีผู้คนหนาแน่น เชื่อทะลุ 2 ล้านคน
       
       วันนี้ (30 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.เชียงราย ว่า สภาพการจราจรบนถนนสายต่างๆยังคงคับคั่ง ขณะที่สถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เช่น ที่วัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง ตลาดชายแดนไทย-พม่า อ.แม่สาย ดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง ชายแดนไทย-ลาว อ.เชียงแสน รวมถึงยอดดอยสำคัญ เช่น ภูชี้ฟ้า ผาตั้ง ดอยแม่สลอง ดอยวาวี ก็เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว ทำให้การจราจรหนาแน่นกว่าช่วงปกติ
       
       นายพรหมโชติ ไตรเวช ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ถือว่าจำนวนนักท่องเที่ยวมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยจากการประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตับเต่า อ.เทิง ซึ่งเป็นตั้งของภูชี้ฟ้า มีนักท่องเที่ยววันละกว่า 12,000 คน ซึ่งทาง อบต.ได้อำนวยความสะดวกด้วยการจัดสถานที่จอดรถให้ และจัดรถบริการจากเชิงภูขึ้นไปคนละ 20 บาท เพื่อลดปริมาณรถยนต์ และยังดูแลรถยนต์ที่จอดไว้ด้านล่างให้ด้วย
       
       “ยอดดอยอื่นๆ ก็คึกคัก ซึ่งล่าสุด มีการเปิดงานเทศกาลชิมชา ซากุระบาน อาหารชนเผ่า ดอยแม่สลอง ครั้งที่ 17 ที่โรงเรียนบ้านสันติคีรี ต.แม่สลองนอก ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2555 ถึงวันที่ 2 มกราคม 2556 คาดว่าเมื่อถึงวันเคานต์ดาวน์คืนวันที่ 31 ธันวาคม ยอดนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นอีกแน่นอน”
       
       นายพรหมโชติ กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นวันแรกที่ขยายเวลาเปิดด่านพรมแดนไทย-พม่า สะพานลำน้ำสาย อ.แม่สาย กับ จ.ท่าขี้เหล็ก จากเดิมเวลา 06.30-18.30 น. เป็นเวลา 22.00 น. ส่วนวันที่ 1 มกราคม 2556 จะขยายเป็นเวลา 02.00 น. เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เคานต์ดาวน์กัน จากนั้นตอนเช้าจะร่วมตักบาตรสองแผ่นดิน เพื่อเป็นสิริมงคลร่วมกันในวันปีใหม่ด้วย
       
       นายพรหมโชติ กล่าวว่า ช่วง 10 วันระหว่างเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2554-2555 มีการคำนวณจากปริมาณรถว่ามีผู้คนเดินทางไปสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ กว่า 1.8 ล้านคน แต่ปีนี้คาดว่าจะเกิน 2 ล้านคน โดยพบว่า รถส่วนใหญ่จะผ่าน อ.เมือง ซึ่งมุ่งไปสู่อำเภอชายแดน


http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000158371


แม่สายคึกคักนักท่องเที่ยวแน่นผ่านแดนวันละกว่า 2 หมื่นคน-คาด 4 วันเม็ดเงินสะพัดเพิ่ม 20% จากปกติวันละ 500 ล้านบาท


นายบุญธรรม ทิพย์ประสงค์ รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ฝ่ายกิจกรรมชายแดน เปิดเผยว่า บรรยากาศการท่องเที่ยวบริเวณ อ.แม่สาย จ.เชียงราย คึกคักเป็นอย่างมาก ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางข้ามไปฝั่ง จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า รวมถึงนักท่องเที่ยวตอนเหนือ ของ ประเทศพม่า ทั้งที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก เมืองเชียงตุง รวมถึงเมืองตองกี ก็พบว่าเดินทางข้ามมาท่องเที่ยวที่ อ.แม่ สาย อย่างต่อเนื่องในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่าน เข้า-ออก บริเวณพรมแดนไม่ต่ำกว่าวันละ 2 หมื่นคน และช่วงวันหยุดยาว 3-4 วันนี้ จะมีเม็ดเงินสะพัดเพิ่มขึ้น 20% จากปกติเฉลี่ยรายได้วัน ละ 400-500 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม วันที่ 30 ธันวาคม 2555 - 1 มกราคม 2556 จะมีการจัดงานเคาท์ดาวน์ 3 แผ่นดิน 2013 (Miracle Countdown @ Maesai Chiang Rai) บริเวณด่านพรมแดนไทย-พม่า อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยงานดังกล่าวเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงในภูมิภาค ไทย-พม่า-ลาว

ทั้งยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนสมาชิกอาเซียนอีกด้วย ซึ่งคาดว่าจะทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาที่ อ.แม่สาย เพิ่มมากขึ้นด้วย

http://www.bangkokbiznews
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #562 เมื่อ: วันที่ 03 มกราคม 2013, 18:25:05 »

คนแห่เที่ยวปีใหม่เชียงรายทะลุ 1.2 ล้าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   3 มกราคม 2556

เชียงราย - ปีนี้ท่องเที่ยวเชียงรายบูมสุด ปีใหม่-งานไม้ดอกอาเซียนมีคนเข้าชมแล้วกว่า 1.2 ล้านคน แถม อบจ.ขนทิวลิปเพิ่มอีก 2 หมื่นดอก ดึงคนเที่ยวเพิ่มไปจนถึง 6 มกราคม
       
       วันนี้ (3 ม.ค.) นายพรหมโชติ ไตรเวช ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จากการคำนวณปริมาณนักท่องเที่ยวช่วงเทศกาลที่ผ่านมา พบว่ามีนักท่องเที่ยวเฉลี่ยวันละกว่า 150,000 คน โดยเฉพาะในงานมหกรรมไม้ดอกอาเซียน ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2555 จนถึงขณะนี้มีผู้เข้าชมงานกว่า 1.2 ล้านคน และจะมีผู้เข้าชมต่อเนื่องจนถึงวันสิ้นสุดงาน คือวันที่ 6 มกราคมนี้
       
       “ล่าสุดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ได้จัดหาดอกทิวลิปเข้าไปจัดเพิ่มเติมภายในงานมหกรรมอีกประมาณ 20,000 ดอก เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายภาพอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาสายพันธุ์ไม้ดอกเมืองหนาวขึ้นเองเพราะนักวิชาการของไทยทำได้อยู่แล้ว โดยหลายพื้นที่มีการเพาะพันธุ์ให้เหมาะสมต่อสภาพอากาศของไทย โดยเฉพาะ จ.เชียงรายมีหลายแห่งที่เป็นภูเขาสูง สามารถใช้เพาะพันธุ์ไม้ดอกเหล่านี้ได้ และหากสามารถพัฒนาสายพันธุ์ให้ทนสภาพอากาศที่ร้อนได้บ้างเพื่อรักษาต้นพันธุ์จนถึงฤดูหนาว ก็ไม่จำเป็นต้องหาซื้อจากต่างประเทศอีกต่อไป”

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000000526
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #563 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 17:38:19 »

2556 ปีทองอสังหาภูธร รายใหญ่รุกครองเจ้าตลาด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ


แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัย ปี 2556 จับตาเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐ ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ผนวกกับกระแสการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558

ส่งผลให้มีการตื่นตัวด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการวางรากฐานเศรษฐกิจตามจังหวัดที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และจังหวัดใกล้เคียง ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงเดิมๆ ที่ยังต้องเผชิญคือ แรงงานขาดแคลน



ส่วนมุมมองของผู้คร่ำหวอดในธุรกิจอสังหา ริมทรัพย์เป็นอย่างไร โปรดติดตาม

นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า ในปี 2556 คาดการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย เปิดตัวใหม่จะเห็นความชัดเจนของผู้ประกอบการ รายใหญ่จากกรุงเทพฯ เข้าไปรุกตลาดที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะในหัวเมืองเศรษฐกิจสำคัญที่มีชายแดนติดต่อกับเมืองเวียงจันทน์ และสะหวันเขต ของสปป.ลาว ซึ่งถือเป็นเขตเศรษฐกิจของลาว ที่มีเส้นทางเชื่อมออกสู่เวียดนาม และจีน ทำให้เกิดการค้าชายแดนระหว่าง 3-4 ประเทศ



ทั้งยังพบว่าปัจจุบันมีชาวเวียดนาม และจีน เข้าไปทำธุรกิจในเวียงจันทน์ และมีการเข้ามา จับจ่ายสินค้าในอุดรธานี,หนองคาย,มุกดาหาร รวมถึงอุบลราชธานี ที่ปัจจุบันมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ทั้งเซ็นทรัล บิ๊กซี โลตัส แม็คโคร โฮมโปร โฮมเวิร์ค ส่งผลให้ราคาที่ดินในจังหวัดเหล่านี้ พุ่งสูงขึ้น 100% ดังนั้นผู้นิยมซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรควรหลีกเลี่ยง



นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าในจังหวัดดังกล่าว ยังเป็นเป้าหมายของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในกรุงเทพฯ ขยายลงทุนที่อยู่อาศัย และจากราคาที่ดินที่แพงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องเลี่ยงไปพัฒนาคอนโดมิเนียม

ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่ามีนักลงทุนเวียดนามและจีน เริ่มเข้าไปลงทุนโครงการศูนย์การค้าและที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ ในเมืองเวียงจันทน์ ของลาว อย่างน้อย 3 โครงการ อาทิ โครงการเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์ และกลอรี่ ออฟ ลาว เป็นต้น มูลค่าแต่ละโครงการกว่า 1 พันล้านบาท



ในขณะที่ จ.เชียงราย บริเวณอ.เชียงของ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 เชื่อม อ.เชียงของ จ.เชียงราย ของไทย กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางอาร์ 3 เอ ที่เชื่อมโยงจากไทยผ่านลาวเข้าไปยังจีนตอนใต้ เพื่อใช้ประโยชน์หลักในการเป็นเส้นทางเพื่อการขนส่งสินค้า และอาจผลักดันให้เชียงรายเป็นจังหวัดที่จูงใจให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เข้าไปลงทุนในอนาคต



ทั้งนี้มีความกังวลสำหรับคอนโดมิเนียมที่เปิดตัวใหม่ในหลายปีต่อเนื่องที่ผ่านมาในชลบุรี,ชะอำ จ.เพชรบุรี และหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แนวโน้มการเปิดตัวที่อยู่อาศัยใหม่ ปี 2556 คงใกล้เคียงปี 2555 ที่ 101,000 ยูนิต แต่สัดส่วนการเปิดตัวโครงการบ้านแนวราบ จะกลับมาสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ที่มีเพียง 38,000 ยูนิต หลังรับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมช่วงปลายปี 2554 ทำให้ผู้ประกอบการรุกตลาดคอนโดมิเนียมมากถึง 63,000 ยูนิต



ขณะที่ นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปี 2555 ถือเป็นปีทองของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และคาดว่ายอดขายที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะจบที่ 3 แสนล้านบาท เติบโตจากปี 2554 ซึ่งมียอดขาย 2.59 แสนล้านบาท หรือเติบโต 15-16% หรือประมาณ 105,000 ยูนิต ซึ่งถือว่าทุบสถิติ ยอดขายที่อยู่อาศัยตั้งแต่ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ หรือคอนโดมิเนียม



นอกจากนี้ในปี 2555 ตลาดที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัดเริ่มโดดเด่นที่สุด และเชื่อว่าจะมีการเติบโตได้ถึง 30-40% เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ประกอบการรายใหญ่เข้าไปในตลาดต่างจังหวัดค่อนข้างมาก



ตลอดปีที่แล้วมีการรุกตลาดคอนโดมิเนียมคึกคักในพัทยา ชลบุรี และภูเก็ต ล่าสุดไปถึงหัวเมืองใหญ่ของภาคอีสาน เช่น อุดรธานี ขอนแก่น ซึ่งประเมินว่ามูลค่ายอดขายที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัดจะใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ-ปริมณฑล คือ 3 แสนล้านบาท ทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศเมื่อปี 2555 รวมทั้งสิ้น 6 แสนล้านบาท ซึ่งโตจากปีก่อน 25% ที่สำคัญเป็นตัวเลขการเติบโตที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้รับการสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐบาลเลย ถือเป็นสัญญาณที่ดี ที่เติบโตจากภาคเอกชนโดยแท้จริง



ส่วนแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2556 ตลาดกรุงเทพฯ อาจโตไม่ มากแค่ 5% เนื่องจากฐานค่อนข้างใหญ่ ส่วนต่างจังหวัดยังเป็นตลาดดาวเด่นของผู้ประกอบการ ซึ่งในส่วนของบริษัทกำลังศึกษาตลาดในเชียงใหม่และอีกหลายจังหวัด แต่กำลังซื้อในตลาดต่างหวัดมีจำกัด หมดแล้วหมดเลย



ดังนั้นในอีก 3 ปีข้างหน้า คาดว่าตลาดต่างจังหวัดที่เป็นตลาดหลักๆ แนวโน้มคงคล้ายในกรุงเทพฯ คือส่วนใหญ่จะอยู่ในมือผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่กี่ราย เนื่องจากความสามารถในการแข่งขันมีสูงกว่า และเรื่องแบรนด์ก็แข็งแรงกว่า



ด้าน นายอภิชาติ จูตระกูล ประธานอำนวยการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ปี 2556 การแข่งขันในหัวเมืองสำคัญในต่างจังหวัดจะมีมากขึ้น หลังจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ อยู่ในจุดที่มีเสถียรภาพแล้ว โดยตลาดมีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายลูกค้าอย่างชัดเจน ส่วนในต่างจังหวัดขึ้นอยู่กับว่า ผู้ประกอบการรายใดที่จะได้รับการยอมรับชัดเจน



ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่ายอดขายบริษัทประมาณ 30% หรือ 1.5 หมื่นล้านบาท อยู่ในต่างจังหวัด ส่วนปีนี้คาดว่าสัดส่วนยอดขายในต่างหวัดยังอยู่ในอัตราเดียวกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าหากบริษัทสามารถประสบความสำเร็จด้านยอดขายในแต่ละจังหวัด บริษัทก็จะขยายตลาดต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันบริษัทยังครอบคลุมไปไม่ถึงหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด อาทิ อุดรธานี และเชียงราย



นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ความเสี่ยงของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากนี้ไป อยู่ที่การขาดแคลนแรงงงาน ส่วนความเสี่ยงของตลาดสินเชื่อ คงต้องดูเป็นตลาดๆ ไป ซึ่งในมุมมองของธนาคารคือ 1.ตลาดบ้านแพงและคอนโดมิเนียมราคาสูง เพราะมีผู้ซื้อจำกัด และ 2.บ้านพักตากอากาศ เช่น หัวหิน เขาใหญ่ โดยธนาคารเน้นให้สินเชื่อบ้านหลังแรกในระดับราคาปานกลาง และจะระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ผู้ประกอบการขนาดกลาง ที่ไม่มีความต่อเนื่องในการพัฒนาโครงการ แบรนด์ไม่แข็งแกร่ง



และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผู้บริโภคที่ซื้อคอนโดมิเนียมของผู้ประกอบการรายใหญ่จะเป็น กลุ่มที่มีความตั้งใจซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และแม้ว่า ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ จนถึงขั้นธนาคารยึดหลักประกัน ธนาคารก็ยังขายทอดตลาดได้ในราคาที่ดีกว่าโครงการที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการที่ไม่มีชื่อเสียง

จากความเห็นของผู้ประกอบการ สรุปได้ว่าแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด

หน้า 9

วันที่ 05 มกราคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8073 ข่าวสดรายวัน
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #564 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 17:44:33 »

ค้าชายแดนดาวรุ่งเส้นทางสายใหม่เออีซี


วันพุธที่ 02 มกราคม 2013 เวลา 10:56 น.    กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ    การค้า-ส่งออก    -
กระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ซึ่งจะเริ่มในปี 2558 ทำให้หลายพื้นที่ในหัวเมืองภูมิภาค ที่เล็งเห็นประโยชน์จากการเปิดเออีซี ทั้งจากทำเลที่ตั้งของจังหวัดเอง

หรือจากการเล็งเห็นประโยชน์จากโครงข่ายการคมนาคมเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน ต่างโหมโรงรับการมาถึงของเออีซีกันอย่างคึกคัก  รวมถึงทัพลงทุนจากส่วนกลางที่ต่างเริ่มขยับขยายไปเปิดโครงการลงทุนในต่างจังหวัดกันมากขึ้น ทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ ห้างสรรพสินค้า รวมถึงโลจิสติกส์ ส่งผลให้เศรษฐกิจภูธรคึกคักสุดขีด โดยเฉพาะหัวเมืองชายแดน  ที่ถูกมองว่าเป็นประตูสู่ประเทศเพื่ค้าชายแดนอนาคตใหม่ส่งออกไทยอนบ้าน
+ค้าชายแดนอนาคตใหม่ส่งออกไทย
    การส่งออกของไทยไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญแต่เดิมมา อ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด จากปัญหาเศรษฐกิจเรื้อรังจนฝังในที่ยังแก้ไม่ตก ไม่ว่าจะในสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่น แต่การส่งออกไทยไปยังเพื่อนรอบบ้าน ในรอบ 3 ไตรมาสปี 2555 โชว์ตัวเลขการขยายตัวเป็นบวกอย่างแข็งขันที่ 11 %  จากอัตราการส่งออกเฉลี่ยที่คาดว่าจะขยายตัวทั้งปีเพียง 3%  การค้าชายแดนและค้าผ่านแดนจึงเป็นตัวช่วยพยุงการส่งออกภาพรวมไว้
    ทั้งนี้ ในทิศทางใหญ่การส่งออกไทยก็เบนเข็มจากตลาดหลักเดิม สู่ตลาดใหม่ที่กำลังขยายตัว โดยเวลานี้เราค้าขายกับเพื่อนบ้านในอาเซียนเพิ่มขึ้น โดยส่งออกไปยังสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 21 % ส่งไปจีน 12 % ขณะที่ส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 10 % เท่านั้น และบรรดาตลาดเก่าทั้งสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป ยังต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยในการแก้ปัญหาภายในของตนเอง
    ขณะที่การค้าชายแดนและค้าผ่านแดนของไทยสู่เพื่อนรอบบ้าน คือ เมียนมาร์ สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม หรือกลุ่ม ซีแอลเอ็มวี ที่เรียกว่าอาเซียนใหม่  รวมทั้งมาเลเซีย จีนตอนใต้ และอินเดียในอนาคตนั้น  คือดาวรุ่งใหม่การส่งออก  โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการ คือ กลุ่มอาเซียนใหม่ที่มีไทยเป็นศูนย์กลาง ได้ปลดล็อกปัญหาภายใน และกำลังเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรรวมกันมากกว่า 200 ล้าน
+คน ที่กำลังซื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับจากนี้  
    ประกอบกับมีการลงทุนในเส้นทางคมนาคมขนส่ง ภายใต้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ โยงเป็น "โครงข่ายใยแมงมุมแห่งเอเชียอาคเนย์"  ที่นับวันจะเชื่อมต่อแต่ละประเทศกลุ่มอาเซียนบนภาคพื้นคาบสมุทร และเชื่อมโยงกับสองประเทศยักษ์ใหญ่ของโลก คือ จีน และอินเดีย ให้ผนึกเข้าใกล้กัน  รวมทั้งการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ที่จะเริ่มในปี 2558  จะยิ่งทำให้การค้าการขนส่งระหว่างกันสะดวกยิ่งขึ้น อันอาจนับได้ว่า นี่คือพลังแห่งเส้นทางสายใหม่แห่งยุคเออีซีที่กำลังทวีพลังร้อนแรงขึ้นทุกขณะ
    ประเทศไทยซึ่งมีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางเพื่อนบ้านอาเซียนใหม่ มีโครงข่ายเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด เชื่อมโยงกับทุกทิศทาง มีโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่พร้อม มีบริการระบบการเงินการธนาคารที่เข้มแข็ง  จะเป็นชุมทางการเคลื่อนย้ายผู้คน สินค้า การลงทุน และบริการต่าง ๆ ของชุมชนอาเซียนใหม่ที่คึกคักยิ่ง
    จากศักยภาพดังกล่าว ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 ตั้งเป้าให้การค้าชายแดนไทยขยายตัวเฉลี่ยปีละ 15 % จากระดับ 8 แสนล้านบาท ในปี 2554 เป็น 1.8 แสนล้านบาทในปี 2559 ซึ่งเป้าของทางการดังกล่าวนี้ นิยม   ไวยรัชพานิช รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย   และประธานคณะกรรมการความร่วมมือเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ย้ำในการสัมมนาฐานเศรษฐกิจ เมื่อ 12 ธันวาคม 2555 ว่า การค้าชายแดนไทยสามารถขยายตัวได้มหาศาลอีก 8- 10 เท่าตัว
    โดยเสนอกลยุทธ์ "เปิดประตูทุกด่านอำนวยความสะดวกการค้าทุกช่องทาง ทำให้ตลาดเพื่อนบ้านเป็นเหมือนตลาดภายในของเราเอง"  เมื่อการค้าขายผ่านแดนสะดวก สะพานข้ามน้ำโขงที่เชียงของ จังหวัดเชียงราย กำลังเสร็จ จะเชื่อมเส้นทางอาร์ 3เอ ผ่านสปป.ลาว ต่อไปถึงจีนตอนใต้ มีตลาดขนาด 100  ล้านคน เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Ecomomics Corridor-EWEC ) เชื่อมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกที่ตอนกลางเวียดนาม ตัดผ่านสปป.ลาวตอนใต้ เข้าไทยที่มุกดาหาร ผ่านภาคอีสานเข้าพิษณุโลก ไปออกชายแดนที่แม่สอด จังหวัดตาก เข้าเมียนมาร์ ถึงมหาสมุทรอินเดีย  และต่อเส้นทางภายในขึ้นไปถึงย่างกุ้ง มุ่งไปตะวันตกไปถึงอินเดีย-บังกลาเทศ ที่มีตลาดขนาด 100 ล้านคน การค้าชายแดนและค้าผ่านแดนคืออนาคตส่งออกไทย
+อสังหาฯเคลื่อนพลรุกตลาดภูธร
    ขณะที่ พจณี อรรถโรจน์ภิญโญ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่ (สพท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก็ชี้ว่า นอกจากโอกาสการค้าชายแดนแล้ว เส้นทางโครงข่ายคมนาคมเหล่านี้ จะเหนี่ยวนำเปิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ และการค้าการลงทุนภายในประเทศไทยตลอดแนวโครงข่ายเหล่านี้อีกด้วย หากโครงการทวายและการเปิดเส้นทางเชื่อมทวาย-แหลมฉบัง เกิดขึ้น การค้าการลงทุนจะไหลสู่ภาคตะวันตกมหาศาล ไล่ตั้งแต่นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี  ไปถึงชายแดนไทย-เมียนมาร์ และบางส่วนมองเลยไปถึงการลงทุนในเพื่อนบ้านด้วย  
     แท้ที่จริงแล้ว หน่ออ่อนของการลงทุนใหม่ตามยุทธศาสตร์เกาะติดโครงข่ายเริ่มปรากฏแล้ว  ในเวทีสัมมนา"สแกนธุรกิจอสังหาฯ 56" เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2555 ของฐานเศรษฐกิจ บทสรุปสำคัญของเวทีดังกล่าวคือ พื้นที่ลงทุนใหม่ของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย คือ หัวเมืองเศรษฐกิจใหม่ ที่จะเติบโตจาก 3 ปัจจัยหนุน คือ อยู่บนแนวเส้นทางเชื่อมโยงเพื่อนบ้าน มีกิจกรรมค้าชายแดน และเป็นเมืองที่กำลังซื้อกำลังเร่งตัว ซึ่งยักษ์ธุรกิจอสังหาฯส่วนกลาง กำลังชิงปักธงแผนลงทุนของตัวเองกระจายไปจดขอบแดนไทยไว้รองรับแล้ว
    ด้านบมจ.แสนสิริประสบความสำเร็จจากการรุกขยายการพัฒนาโครงการในตลาดต่างจังหวัดปี 2555 สร้างยอดขายรวม โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัดในปีที่ผ่านมาได้แล้วเกินกว่า 42,000 ล้านบาท  จาก 24 โครงการใน 6 จังหวัดหัวเมืองหลักทั่วประเทศ ทั้งหัวหิน -ภูเก็ต - เขาใหญ่ - เชียงใหม่ - พัทยา และขอนแก่น มูลค่าโครงการรวม 21,312 ล้านบาท  
    บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มีโครงการที่เปิดขายในต่างจังหวัดปี 2555 จำนวน 4 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 4,490 ล้านบาท ด้านบมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท มีแผนจะลงทุนในตลาดต่างจังหวัดเพิ่มอีก 5-10 โครงการ   และจะเปิดตัวคอนโดมิเนียมในตลาดต่างจังหวัดเป็นครั้งแรก โดยขณะนี้มีโครงการในต่างจังหวัดแล้ว 5 โครงการใน 4 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ขอนแก่น และภูเก็ต รวมมูลค่าโครงการ 3,410 ล้านบาท
บมจ.ซี.พี.แลนด์ มีโครงการในต่างจังหวัดแล้ว 6 โครงการ อยู่ในจังหวัดขอนแก่น 3 โครงการ และอีกหนึ่งอาคารสำนักงานให้เช่า  รวมมูลค่าโครงการในจังหวัดขอนแก่น 680 ล้านบาท จังหวัดมหาสารคาม 1 โครงการ มูลค่า 170 ล้านบาท และจังหวัดอุดรธานี 2 โครงการ รวมมูลค่า 800 ล้านบาท
+ห้างดังปักธงรับกำลังซื้อตลาดเออีซี
    เช่นกัน กลุ่มห้างและค้าปลีก ก็เขม้นมองกำลังซื้อใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นนี้ไม่วางตา ยักษ์ค้าปลีกหลายเจ้าลงทุนเปิดห้างดักกำลังซื้อสำคัญ ทั้งจากคนพื้นที่และรวมกำลังซื้อจากกลุ่มที่กำลังมีเม็ดเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นจากเพื่อนบ้าน ที่กำลังจ่อข้ามแดนเข้ามาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นด้วย กลุ่มเซ็นทรัลประกาศตัวอย่างชัดเจนในการลงทุนพัฒนาพื้นที่ค้าปลีกเพื่อรองรับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่จะเข้ามาหลังเปิดเออีซี โดยเบื้องต้นจะเน้นการเข้าไปลงทุนในพื้นที่ริมตะเข็บชายแดน ไม่ว่าจะเป็นอุดรธานี เชียงราย เชียงใหม่ ซึ่งลงทุนพัฒนาและเปิดให้บริการไปแล้ว และล่าสุดเปิดให้บริการที่ลำปาง เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ส่วนในปีหน้าเซ็นทรัลยังมีแผนพัฒนาศูนย์การค้าที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยจะเปิดให้บริการในเดือนเมษายน 2556  หาดใหญ่และเชียงใหม่ในปลายปี 2556 ด้วย
    ส่วนห้างโรบินสัน มีแผนการลงทุนในปี 2556-2557  จะเปิดในต่างจังหวัด 7 แห่ง แบ่งเป็นปี 2556 ที่กาญจนบุรี สกลนคร สุรินทร์ สระบุรี  และปี 2557 ที่ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และร้อยเอ็ด ขณะที่เทสโก้ โลตัส เป็นอีกกลุ่มค้าปลีกที่เร่งขยายสาขาให้ครอบคลุมทุกจังหวัด และทุกอำเภอ ด้วยการส่งร้านรูปแบบต่างๆ ทั้งเทสโก้ โลตัส ไฮเปอร์มาร์เก็ต , เอ็กซ์เพรส , เอ็กซ์ตร้า , ตลาดโลตัส และร้านคุ้มค่า  โดยล่าสุดเทสโก้ โลตัส ได้เปิดให้บริการที่ อ.วารินชำราบ  จ. อุบลราชธานี ในรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต  และตลาดโลตัสอีก 6 แห่งในพัทลุง นครสวรรค์  ฉะเชิงเทรา  ประจวบคีรีขันธ์  และ 2 แห่งในศรีสะเกษ
    ส่วน ในปี 2556 เทสโก้ โลตัส เตรียมใช้เงินลงทุน 7 พันล้านบาทในการขยายสาขาเพิ่มขึ้น โดยจะเน้นหนักที่ตลาดโลตัส และเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นหลัก  
    การค้ากับเพื่อนรอบบ้าน ไม่เพียงเป็นความหวังใหม่ส่งออกไทย แต่ยังมีแรงส่งให้ธุรกิจหลากหลาย ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อม ต้องปรับตัวรับกระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้กันถ้วนหน้า ซึ่งนำมาสู่การพลิกโฉมเศรษฐกิจธุรกิจ ตลอดจนการค้าการลงทุนไทย จากมหานครกรุงเทพ ไปสู่เมืองในสุดขอบชายแดนไทย ในวันที่เรากำลังก้าวสู่การเป็น"พลเมืองอาเซียน"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,806  วันที่   3 - 5  มกราคม พ.ศ. 2556


* 802.jpg (89.58 KB, 800x320 - ดู 404 ครั้ง.)

* 904.jpg (62.4 KB, 400x493 - ดู 407 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #565 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 21:28:13 »

จับตา"คมนาคม"แบ่งเค้กก้อนโตโครงสร้างพื้นฐาน1.9ล้านล้าน


7 January 2556 - 00:00

“ขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนโครงการในแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งปี 2556-2563 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท และสิ่งที่กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญมากที่สุดคือการพัฒนาระบบราง ซึ่งได้กำหนดวงเงินลงทุน 1.28 ล้านล้านบาท คิดเป็น 65.05%“
    แผนการใช้งบประมาณอย่างมหาศาล ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้นำเอาแผนการก่อร่างสร้างหนี้วงเงิน 2 ล้านล้านบาทเข้ามาอยู่ในแผนการดำเนินการในครั้งนี้ด้วย  โดยได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังดำเนินการ ร่างกฎหมายในรูปพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ระยะเวลาการกู้ 7 ปี เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ซึ่งมี นายวีรพงษ์ รามางกูร (ดร.โกร่ง) ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธาน ซึ่งแผนดังกล่าวนั้น ครอบคลุมทั้งด้านพลังงาน สื่อสาร สาธารณูปโภคและการคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ
    ทั้งนี้ กรอบวงเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2,274,359.09 ล้านบาท แบ่งเป็น 7 สาขา ได้แก่ 1.ระบบราง 1,201,948.80 ล้านบาท (52.85%) 2.ขนส่งทางบก 222,347.48 ล้านบาท (9.78%) 3.ขนส่งทางน้ำ 128,422.20 ล้านบาท (5.65%) 4.ขนส่งทางอากาศ 69,849.66 ล้านบาท (3.07%) 5.สาธารณูปการ 99,204.69 ล้านบาท (4.36%) 6.พลังงาน 515,689.26 ล้านบาท (22.67%) และ 7.สื่อสาร 36,897 ล้านบาท (1.62%)
    การลงทุนระบบราง เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 845,385.01 ล้านบาท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 333,803.78 ล้านบาท กรมทางหลวง 16,550 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท 6,210.01 ล้านบาท
    ขนส่งทางบก เป็นขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 13,162.20 ล้านบาท กรมทางหลวง 204,498 ล้านบาท กรมการขนส่งทางบก 4,687.28 ล้านบาท "ขนส่งทางน้ำ"  กรมเจ้าท่า 33,075.60 ล้านบาท การท่าเรือแห่งประเทศไทย 93,492.24 ล้านบาท กรมธนารักษ์ 1,854.36 ล้านบาท              การลงทุน ขนส่งทางอากาศ บมจ.ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) 69,849.66 ล้านบาท ระบบสาธารณูปการ มี 2 หน่วยงานคือ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 69,686.89 ล้านบาท และการประปานครหลวง (กปน.) 29,517.80 ล้านบาท
    การลงทุนด้านพลังงาน เป็นของ บมจ.ปตท.  135,655.88 ล้านบาท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 206,431.36 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 108,594 ล้านบาท การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 59,060.35 ล้านบาท และ ด้านสื่อสาร แบ่งเป็น บมจ.กสท โทรคมนาคม 20,761 ล้านบาท และ บมจ.ทีโอที 16,136 ล้านบาท เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าของกระทรวง คมนาคมถือว่าเป็นหน่วยงานที่ได้งบประมาณมากถึง 1.9 ล้านล้านบาท หรือ 80%ของวงเงินทั้งหมด
    ส่วนแหล่งเงินนั้นตามกรอบแล้วจะมาจาก 5 ส่วน คือ เงินงบประมาณ 205,127.77 ล้านบาท เงินรายได้ 184,401.86 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 1,124,834.60 ล้านบาท เงินกู้ต่างประเทศ 449,172.52 ล้านบาท และจากการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนในรูปแบบ PPP 310,822.33 ล้านบาท
    ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาดูแล้ว ร่าง พ.ร.บ.กู้เงินดังกล่าวได้นำจุดดีของการกู้เงินในโครงการไทยเข้มแข็ง รวมถึงกฎหมายกู้เงินอื่นๆ มาดำเนินการ โดยจะมีรายชื่อและรายละเอียดโครงการทั้งหมด แนบไปกับร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ดังกล่าว เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา หากไม่เห็นชอบก็สามารถตัดโครงการหรือเพิ่มโครงการใหม่ได้เหมือนการพิจารณางบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล คาดว่าจะเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ก่อนที่จะเสนอเข้าต่อที่ประชุมรับสภาต่อไป เพื่อให้สภาพิจารณาเห็นชอบเป็นกฎหมายมีผลบังคับใช้ต่อไป คาดว่าจะเห็นเป็นรูปเป็นร่างภายในเดือนมีนาคม 2556
    สำหรับในส่วนของกระทรวงคมนาคม ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเยอะที่สุด ความคืบหน้าของโครงการ คือ ที่ผ่านมาได้จัดสัมมนาโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และร่วมรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2556-2563 ทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งกระทรวงคมนาคมต้องเฟ้นหาโครงการที่ตรงกับวัตถุประสงค์และความเหมาะสมเป็นหลัก โดยจะจัดสรรในส่วนของขนส่งระบบราง 60% ขนส่งระบบถนน 33% ขนส่งทางน้ำ 3% และขนส่งทางอากาศ 1.9% จะเห็นว่างบประมาณถูกจัดสรรไปที่ระบบรางเป็นหลัก เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยทิ้งระบบรางไปนานและจำเป็นจะต้องเชื่อมต่อกับประเทศในอาเซียน และในอนาคตน้ำมันแพงขึ้นคนจะหันมาใช้รถไฟแทน
    นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ได้ระบุว่า  “ขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนโครงการในแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งปี 2556-2563 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท และสิ่งที่กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญมากที่สุดคือการพัฒนาระบบราง ซึ่งได้กำหนดวงเงินลงทุน 1.28 ล้านล้านบาท คิดเป็น 65.05%“
    ทั้งนี้ ในส่วนของระบบรางนั้นได้เสนอไป 33 โครงการ วงเงิน 1.164 ล้านล้านบาท เบื้องต้นกระทรวงการคลังส่งสัญญาณว่า ในส่วนของระบบรางที่ได้เสนอโครงการไปนั้นโครงการมีความชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง, รถไฟทางคู่, ปรับปรุงทางรถไฟ ล้วนแล้วแต่เป็นโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญ เช่น ระบบรถไฟทางคู่ 6 สาย 131,252 ล้านบาท มีฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 11,348 ล้านบาท ลพบุรี-ปากน้ำโพ 19,408 ล้านบาท มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 28,087 ล้านบาท ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 28,410 ล้านบาท นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน 27,332 ล้านบาท และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 16,665 ล้านบาท
    ยังมีโครงการสร้างรถไฟสายใหม่ 140,019 ล้านบาท 4 สาย อาทิ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 47,929 ล้านบาท ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-มุกดาหาร 42,305 ล้านบาท ช่วงอรัญประเทศ-ปอยเปต 2,822 ล้านบาท และสายเชื่อมท่าเรือฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน ระยะที่ 1 วงเงิน 46,961 ล้านบาท
    รถไฟความเร็วสูง 481,066 ล้านบาท 4 สาย วงเงิน 4.8 แสนล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย 475,498 ล้านบาท
    รองลงมาคือการขนส่งทางบก หรือถนน 4.7 แสนล้านบาท สัดส่วน 24.2% เช่น การก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 5 สาย วงเงิน 2 แสนล้านบาท เช่น ทางหลวงเชื่อมระหว่างประเทศ 6,434 ล้านบาท วงแหวนรอบที่ 3 วงเงิน 157,700 ล้านบาท ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (N1, N2 และ N3) 85,069 ล้านบาท, ขนส่งทางน้ำ 1.2 แสนล้านบาท สัดส่วน 6.51% เช่น เขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา 1.4 หมื่นล้านบาท ทางอากาศ และขนส่งทางอากาศ 8.3 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 4.24% เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 วงเงิน 6.2 หมื่นล้านบาท
    อย่างไรก็ตาม แม้ว่านโยบายของรัฐบาล ภายใต้การนำของนายกฯ หญิงคนแรก นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเน้นการบริหารงานแบบ ”ประชานิยม” 1 ปีกับ 5 เดือน กลับต้องปรับคณะรัฐมนตรีถึง 3 ครั้ง และทุกครั้งที่ปรับคณะรัฐมนตรีก็มักจะมีนโยบายต่างๆ ออกมา โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน ก่อนที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์มานั่งบริหารประเทศเป็นมาอย่างไรทุกอย่างก็ยังอยู่เช่นนั้น
    แม้ว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ยังออกมาระบุเองว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดให้เดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า เพราะเห็นว่าที่ผ่านมาถือว่าโครงการรถไฟฟ้าตามนโยบายของรัฐบาลทั้ง 10 สายทางนั้นมีความล่าช้ามาก ทั้งในส่วนของที่รับผิดชอบโดยการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งจะต้องเร่งให้มีการดำเนินการให้ได้ภายในปี 2556
    ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. วงเงิน 38,730 ล้าน รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 20 กม. วงเงิน 73,070 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 10,150 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท มักกะสัน/บางซื่อ-หัวลำโพง รวมวงเงิน 36,960 ล้านบาท รถไฟฟ้าสีแดงอ่อน ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน ระยะทาง 6 กม. วงเงิน 4,281 ล้านบาท รถไฟฟ้าสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10 วงเงิน 5,252 ล้านบาท รถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ ระยะทาง 13.9 กม. วงเงิน 19,400 ล้านบาท
    และยังมีอีก 4 โครงการแม้ว่าจะได้เริ่มกระบวนการไปแล้วบางส่วน แต่ก็มีความล่าช้าอย่างมาก เพราะตามแผนแล้วจะต้องมีการดำเนินการประกวดราคาในปี 2555 แต่จนแล้วจนรอดยังไม่เกิดขึ้นสักที จนนายกรัฐมนตรีต้องสั่งการให้เร่งรัดดำเนินการประกวดราคาในปี 2556 ประกอบด้วย  รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กม. วงเงิน 36,405 ล้านบาท และช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 23,507 ล้านบาท รถไฟฟ้าสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14 กม. วงเงิน 9,950 ล้านบาท และรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงบางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 7.9 กม. วงเงิน 13,590 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มประกวดราคาได้ประมาณต้นปี 2556
    "ที่ผ่านมาถือว่าโครงการรถไฟฟ้ายังดำเนินการล่าช้าอยู่ ซึ่งภายในปี 2556 นี้ จะต้องมีการเร่งรัดการประกวดราคาให้เรียบร้อย" นายชัชชาติกล่าว
    ส่วนความคืบหน้าสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรีนั้น ที่ก่อนหน้านี้ ส.ส.ในพื้นที่ต้องการให้สถานีปลายทางสิ้นสุดที่สุวินทวงศ์นั้น แต่สุดท้ายได้ข้อสรุปที่จะสิ้นสุดที่มีนบุรี อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวได้สั่งการให้ รฟม.ไปศึกษาเรื่องการให้บริการประชาชนด้วยว่าจะเป็นอย่างไร
    อย่างไรก็ตาม หลังจากปีเก่าผ่านไป ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ ก็หวังว่าประชาชนจะได้รับสิ่งดีๆ จากรัฐบาลกันบ้าง โดยเฉพาะโครงการที่เป็นโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรจะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมขนส่ง ทางบก ราง น้ำ และอากาศ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง และหากรัฐบาล ”ปู 3” เห็นความสำคัญก็ควรจะเร่งผลักดันและมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหากับความทุกข์ยากของประชาชน ก็ขอฝากความหวังว่ารัฐบาลจะหันมามองไม่ใช่เอาแต่ดูแลพวกพ้องน้องพี่ตัวเองเท่านั้น.
+++++++++++++++++++


http://www.thaipost.net/news/070113/67647
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #566 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 18:17:53 »

โอ่ปรับโฉมรถไฟ เพิ่มคุณภาพบริการ


อีโคโฟกัส 14 January 2556 - 00:00

นายประภัสร์ จงสงวน
 หลังจากที่ได้มีการเปิดสรรหาผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท.มาระยะหนึ่ง ปรากฏว่าผู้ที่ได้ผ่านการสรรหา คือ นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหา และผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการ  ร.ฟ.ท. และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังจากได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ประกาศทันทีว่า
    "ผมมีเวลาทำงาน 2 ปีครึ่ง อยากให้พนักงานร่วมกันทำงานเพื่อเปลี่ยนการรถไฟฯ ไปในทางที่ดีขึ้น ให้การรถไฟฯ กลับมาเป็นความภูมิใจของคนไทย ของพนักงาน และให้พูดถึงการรถไฟฯ ด้วยความภาคภูมิใจ ยืนยันว่าจะไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก หรือมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งสำคัญอะไร เพื่อให้การทำงานเป็นปึกแผ่น ยึดผลการทำงานเป็นหลัก หากมีปัญหาอะไรให้พนักงานพูดความจริงเพราะทุกอย่างแก้ไขได้"
0 เป้าหมายที่เข้ามาทำงานในการรถไฟต้องการดำเนินการอย่างไรบ้าง
    โดยส่วนตัวพร้อมที่จะเข้ามาทำงาน โดยเฉพาะหากมีโอกาสเข้าไปบริหาร ร.ฟ.ท. ตั้งเป้าในช่วง 4 ปีข้างหน้าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ ร.ฟ.ท.พลิกโฉมใหม่ เพราะจะมีผู้บริหารเป็นต้นแบบที่ดี ซึ่งพร้อมจะทุ่มเททำงานเพื่อ ร.ฟ.ท.อย่างเต็มที่ ไม่ทำงานวนไปวนมาหรือล่าช้าอย่างที่เป็นมาแน่นอน รวมทั้งจะสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานรถไฟทุกคนสามารถยืดอกได้อย่างเต็มที่ว่าองค์กร ร.ฟ.ท.เป็นองค์กรที่เป็นหน้าตาของประเทศ คนทำงานมีศักดิ์ศรี และช่วยให้ประเทศมีความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน
0 สิ่งเร่งด่วนที่จะต้องทำขณะนี้คือ
    เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องทำร่วมกับผู้บริหารและพนักงานการรถไฟฯ 4 เรื่อง คือ เร่งพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่ถูกละเลยมานาน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชน และเรียกขวัญกำลังใจพนักงาน โดยจะเข้าไปพัฒนาที่อยู่อาศัย ทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด การหารายได้เพิ่ม โดยเฉพาะการเก็บค่าเช่าที่ของหน่วยงานภาคเอกชนและราชการที่ใช้ที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งจะเริ่มเก็บค่าเช่าที่กับ บมจ.ปตท.ก่อน แต่อาจจะใช้วิธีการหักหนี้ค่าน้ำมันที่การรถไฟฯ ยังค้างอยู่ ขณะเดียวกัน  การเร่งขยายเส้นทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์มายังท่าอากาศยานดอนเมือง และการต่อแอร์พอร์ตลิงค์จากสุวรรณภูมิ ไปยัง จ.ระยองด้วย รวมทั้งเร่งเดินหน้ารถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงที่อยู่ในความรับผิดชอบ
    “สิ่งที่รถไฟแทบไม่ได้ทำเลยในช่วงที่ผ่านมา คือการซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ ทำให้ระบบรางมีปัญหาหรือหัวรถจักรแทบจะไม่ได้ซื้อใหม่ ที่ใช้งานอยู่ก็มีอายุเยอะ บางหัว 30 ปี บางหัว 50 ปี และใช้งานหนักมากทำให้ต้องวิ่งไปซ่อมไปและเสียบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อการให้บริการที่ต้องล่าช้าเป็นประจำ และสิ่งที่ต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง คือ การให้บริการที่มีประสิทธิภาพ” 
    นอกจากนี้ ยังต้องเร่งปรับปรุงการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว ทั้งการจัดหาหัวรถจักร ขบวนรถ แคร่บรรทุกสินค้าเพิ่ม รวมถึงการปรับการเดินรถให้เป็นระบบรางคู่เพื่อสะดวกในการสวนกัน เนื่องจากที่ผ่านมาต้องเสียเวลารอสับหลีกรางรถไฟ เรื่องความปลอดภัยเองก็สำคัญที่สุด หากรางไม่ดีก็ต้องใช้ความเร็วต่ำ ทำให้ปัจจุบันรถไฟใช้ความเร็วอยู่ที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในอนาคตก็อาจเห็นวิ่งได้ในความเร็ว 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็จะทำให้รถไฟวิ่งได้ตรงเวลา
0 ความคืบหน้าโครงสร้างพื้นฐาน 1.7 แสนล้านบาทเป็นอย่างไร     
    ส่วนความคืบหน้าโครงสร้างพื้นฐานในกรอบวงเงิน 1.7 แสนล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีความคืบหน้าในการเดินหน้าโครงการมากนัก แต่ปัจจุบันรัฐบาลได้มอบหมายให้รถไฟเร่งเดินหน้าโครงการลงทุนดังกล่าว หากเป็นไปได้ก็จะดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 ปี เพราะรออีก 7 ปีคงไม่ทันการณ์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในปี 2558 ที่จะมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) หากไทยยังไม่เร่งพัฒนาระบบขนส่งทางรางอาจจะเสียโอกาสและเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้านได้ หลังจากนี้จึงจะเร่งเปิดให้มีการประมูลและเซ็นสัญญาได้ภายในสิ้นเดือนธันวาคมนี้เพื่อลงมือก่อสร้างรางคู่ให้เร็วที่สุด ส่วนเรื่องเงินคงไม่มีปัญหา กระทรวงการคลังและรัฐบาลพร้อมจัดหามาให้อยู่แล้ว
    “แต่ละโครงการจะใช้เวลาในการดำเนินการนาน เช่น การจัดซื้อหัวรถจักร โบกี้และแคร่รถสินค้า การปรับปรุงรางและระบบต่างๆ จึงกลายเป็นข้อเสียเปรียบของ ร.ฟ.ท. ซึ่งเห็นว่าหากไม่ได้เริ่มต้นก็จะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงแน่นอน สิ่งที่ต้องทำคู่ขนานไปกับการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่นการปรับปรุงบ้านพักพนักงานตามสถานีต่างๆ รวมถึงสถานีรถไฟทั่วประเทศมีสภาพทรุดโทรม ต้องปรับปรุงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตพนักงานให้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้พนักงานมีขัวญกำลังใจในการทำงานมากขึ้น” นายประภัสร์กล่าว       
0 ในส่วนของงบลงทุนขณะนี้มีได้รับหรือยัง
    “เราดูในส่วนของงบประมาณจะไปดูว่าอยู่ตรงไหน เงินทำไมไม่ออก ทั้งที่รัฐบาลอนุมัติแผนลงทุนกว่า 1.76 แสนล้านบาท แต่ละโครงการอยู่ในสถานะอะไร สัญญาก่อสร้างต่างๆ  ถึงไหนแล้ว รวมถึงรถไฟทางคู่คืบหน้ามากน้อยยังไง สิ่งเหล่านี้จะต้องเข้าไปเร่งและสะสางแต่ที่ชัดๆ ที่จะทำคือ การให้บริการให้ตรงเวลา ไม่ตกราง ลดอุบัติเหตุ ถ้าทำตรงนี้ได้ทุกอย่างจะตามมาเอง ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้น เช่น ปรับปรุงรางรถไฟให้แข็งแรง มีหัวรถจักรและแคร่เพียงพอต่อการบริการ จะมีธุรกิจมาเป็นลูกค้าใช้บริการขนส่งทางรถไฟอีกมาก ปัจจุบันมีน้อยเพราะรางมีปัญหาตกรางบ่อย หัวรถจักรก็มีน้อย
    ส่วนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตาม พ.ร.บ.เงินกู้ เพื่อการวางแผนอนาคตของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ระยะ 7 ปีด้วย โดยในแผนงานดังกล่าวจะมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับขนส่งระบบรางประมาณ 65% โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง จากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 3-4 แสนล้านบาท เส้นกรุงเทพฯ-หนองคาย ใช้เงินลงทุนประมาณ 2 แสนล้านบาท ยังมีเส้นกรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหินอีก รวม 4 เส้นทางน่าจะใช้เงินเกินครึ่ง หรือ 1 ล้านล้านบาทแล้ว ยังไม่รวมเส้นทางรถไฟรางคู่จากชุมพรไปถึงปาดังเบซาร์ของมาเลเซีย และจากเชียงใหม่ไปเชียงราย หรือเส้นทางอื่นๆ  เพื่อขยายการให้บริการให้ครอบคลุมทุกจังหวัด
0 ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของการรถไฟมีอะไรบ้าง
    การทำงานของรถไฟฯ มีปัญหาและอุปสรรคในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณพร้อม แต่งานไม่เดิน ก็ไม่อยากให้โทษที่คนหรือพนักงานของรถไฟ  เพราะการทำงานขึ้นอยู่กับหลายส่วน โดยเฉพาะนโยบาย หากไม่มีความชัดเจนก็ทำให้งานไม่เดิน ก่อนหน้านี้ผมเองก็ไม่แน่ใจนโยบาย แต่มาตอนนี้มั่นใจว่ารัฐบาลผลักดันการพัฒนาและลงทุนระบบขนส่งทางราง 100% หลังจากนี้จึงน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของรถไฟและพลิกโฉมไปในทางที่ดีขึ้นเทียบกับก่อนหน้านี้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ  ไม่เคยพูดถึงการพัฒนาระบบขนส่งทางราง แต่เน้นการลงทุนสร้างถนนรองรับการลงทุนผลิตรถยนต์จากบริษัทญี่ปุ่นที่แห่เข้ามาลงทุนในไทยจำนวนมากแทน"
0 ในส่วนการก่อสร้างรถไฟฟ้ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง    สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ ร.ฟ.ท.ปรับกรอบวงเงินลงทุนด้านงานโยธาของโครงการฯ ของสัญญาที่ 2 เพิ่มเติมจากจำนวน 19,314 ล้านบาท เป็น 21,235.44 ล้านบาท หรือคิดเป็น 9% เนื่องจากวงเงินเดิมคำนวณราคาวัสดุตั้งแต่ปี 2552 นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้ ร.ฟ.ท.เร่งดำเนินการโครงการดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การก่อสร้างงานโยธาในสัญญาที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ส่วนการจัดหาวงเงินก่อสร้างนั้น ให้ ร.ฟ.ท.กู้เงินภายในประเทศ คาดว่าจะมีการเซ็นสัญญาในเร็วๆ นี้
0 ด้านที่ดินของรถไฟจะมีการดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะการหารายในเชิงพาณิชย์
    ส่วนการพัฒนาพื้นที่เพื่อหารายได้เชิงพาณิชย์ของ ร.ฟ.ท. ขณะนี้มีพื้นที่บริเวณมักกะสันกว่า 400 ไร่ โดยคาดว่าจะเปิดบริษัทเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูลโครงการในรูปแบบของการนำเสนอแนวคิดว่าจะพัฒนาโครงการในรูปแบบไหน อย่างไร ซึ่งคล้ายกับที่สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ดำเนินการกับโครงการที่ดินบริเวณตลาดสามย่าน โดยจะเลือกบริษัทที่นำเสนอแนวคิดหรือรูปแบบที่ดีที่สุด คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ภายใน 1-2 เดือนนับจากนี้ ทั้งนี้การดำเนินการนั้นคาดว่าจะมีการพัฒนาพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของระบบต่างๆ รวมทั้งพื้นที่สีเขียว แต่ในขณะเดียวกันก็จะเร่งดูในส่วนของพื้นที่อื่นๆ ที่เป็นของ ร.ฟ.ท.ด้วยเช่นกัน
    “ก่อนหน้านี้ได้มีการศึกษาว่าจะพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ มูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท แบ่งพื้นที่การพัฒนาออกเป็น 4 โซน คือ 1.โครงการพื้นที่เชิงพาณิชย์ 2.โครงการศูนย์จัดแสดงสินค้า 3.โครงการเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ และ 4.โครงการอาคารสำนักงานให้เช่า โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์  ส่วนรูปแบบการลงทุนในโครงการจะมีอยู่ 3 แนวทาง คือ 1.การเปิดพื้นที่ให้เอกชนรับสัมปทานเช่าเป็นระยะเวลา 34 ปี ซึ่งแนวทางนี้ อดีตผู้บริหาร ร.ฟ.ท.เห็นว่ามีข้อดี คือ ร.ฟ.ท.จะมีรายได้จากโครงการแน่นอน 2.เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โดย ร.ฟ.ท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งแนวทางนี้แม้จะให้ผลตอบแทนมากกว่าแนวทางแรก แต่ ร.ฟ.ท.ต้องมีความเสี่ยงร่วมกับผู้ลงทุน และแนวทางสุดท้าย คือ 3.การจัดตั้งบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.ขึ้นมาดำเนินการ”
    ถือได้ว่าการเข้ามาบริหารองค์กรของการรถไฟฯ ที่ขณะนี้ต้องแบกรับภาระหนี้สินกว่า 7 หมื่นล้าน และยังมีโครงการที่ต้องเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เดินหน้าได้เร็วขึ้น ก็ดูเหมือนว่า “ประภัสร์” ดูจะมุ่งมั่น จะเห็นได้เริ่มตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งก็เดินสายตรวจความพร้อมของการให้บริการตามภูมิภาคต่างๆ ล่าสุด นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ดูเหมือนจะไว้วางใจให้ทำงานอย่างเต็มที่ พร้อมกับพูดว่า “ผมไว้ใจพี่” แค่นี้ก็พอจะรู้แล้วว่าท่านผู้ว่าฯ เข้าตากรรมการแค่ไหน....
++++++++++++++++++
 
http://www.thaipost.net/news/140113/68017
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #567 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 20:39:15 »

เริ่มแล้วถนน 4 เลน เชียงราย-สะพานข้ามโขง 4 งบ 2 พันล้านรับอนาคต 2 ทศวรรษ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   15 มกราคม 2556 13:43 น.   


เชียงราย - กรมทางหลวงปฐมนิเทศแผนสร้างถนน 4 เลนเชื่อมเชียงราย-สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เล็งเทงบ 2 พันกว่าล้านรองรับการจราจรเชื่อมเพื่อนบ้านอีก 20 ปีข้างหน้า
       
       วันนี้ (15 ม.ค.) กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ได้จัดการประชุมปฐมนิเทศโครงการ(สัมมนาครั้งที่ 1) โครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร เชื่อมเชียงราย-สะพานข้ามแม่น้ำโขง 4 ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ช่วง อ.เมือง ถึง อ.ขุนตาล โดยมีนายเอกวิชญ์ วีรพันธ์ ผู้จัดการโครงการ รายงานรายละเอียดให้ตัวแทนภาครัฐ เอกชน และประชาชนรับฟัง ณ ห้องประชุมสำนักงานแขวงการทางจังหวัดเชียงราย
       
       นายเอกวิชญ์กล่าวว่า จากการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้างถนนจาก อ.เมืองไปยังสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ ซึ่งแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2553 ระยะทาง 62.426 กิโลเมตร จะเป็นถนน 4 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 1-2.50 เมตร ใช้งบประมาณ 2,197.22 ล้านบาท ค่าเวนคืน 179.17 ล้านบาท การก่อสร้างจะเริ่มตั้งแต่ถนนหมายเลข 1020 บ้านหัวดอย ต.ท่าสาย อ.เมือง สิ้นสุดที่ถนนหมายเลข 1020 บ้านใหม่พัฒนา ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล ร่นระยะทางให้เหลือเพียง 48.314 กิโลเมตร หรือลดระยะทางได้กว่า 12 กิโลเมตร
       
       “ถนนสายนี้จะใช้แนวเส้นทางเดิมที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก ดังนั้นจึงสร้างทับซ้อนกับทางหลวงทั้ง 2 หมายเลขดังกล่าว แต่มีบางช่วงที่ตัดออกจากถนนเดิม ข้ามพื้นที่หนองหลวง อ.เวียงชัย ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ก่อนจะกลับมาทับซ้อนกันและแยกเป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ที่ อ.พญาเม็งราย จนสิ้นสุดโครงการที่ทางหลวงหมายเลข 1020 บ้านใหม่พัฒนา อ.ขุนตาล”
       
       นายเอกวิชญ์กล่าวว่า เมื่อถนนสายนี้แล้วเสร็จจะทำให้การคมนาคมและการขนส่งจาก อ.เมืองสามารถไปยังสะพานข้ามแม่น้ำโขงได้โดยตรง ทั้งนี้มีการประเมินว่าหากก่อสร้างได้ตามกำหนดอีก 2 ปีข้างหน้า หรือปี 2558 จะมีการคมนาคมบนถนนสายนี้ด้วยรถยนต์ 6,110 คันต่อวัน และปี 2567 หรืออีก 10 ปีถัดไปจะมีมากถึง 9,018 คันต่อวัน และปี 2577 หรืออีก 20 ปีข้างหน้าจะมีมากถึง 13,162 คันต่อวัน ทั้งนี้จะระดมความเห็นจากการนำเสนอข้อมูล และนำเข้าไปสู่การจัดการประชุมครั้งต่อไปเพื่อให้คณะกรรมการได้พิจารณา เมื่อได้ข้อสรุปจะนำเสนอรัฐบาลต่อไป

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000005562
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #568 เมื่อ: วันที่ 15 มกราคม 2013, 20:50:50 »

ครม.มีมติห็นชอบคมนาคมเซ็น MOU ความตกลงขนส่งสินค้าผ่านไทย-ลาว-จีน
updated: 15 ม.ค. 2556 เวลา 15:10:01 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมไทย ลาว และจีน กรณีการอนุญาตให้มีการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างกันในเส้นทางไทย ลาว และจีน ซึ่งถือเป็นการเชื่อมโยงเส้นทางโลจิสติกส์จากไทยไปจีน และจีนมาไทยได้สะดวกยิ่งขึ้น และจะช่วยสามารถขยายปริมาณการค้าชายแดนให้เพิ่มมากขึ้น
 
โดยเส้นทางดังกล่าวนี้จะเชื่อมระหว่างกรุงเทพ-เชียงราย-เชียงของ-ห้วยทราย-บ่อเป็น-เชียงรุ้ง-คุนหมิง รวมระยะทาง 1,800 กม. ซึ่งในปีแรกจะมีการยกเว้นภาษีให้รถที่เข้า-ออก โดยให้โควต้าประเทศละ 100 คันในการขนส่งสินค้าระหว่างกันตามชายแดน ซึ่งจะทำให้รถบรรทุกจากจีนวิ่งมากถึง กทม. และ กทม.ไปถึงจีนได้ โดยเส้นทางนี้ เราจะมีการแลกเปลี่ยนโควตารถกันในปีแรก 100 คัน เชื่อว่าจะช่วยขยายมูลค่าการค้าชายแดนให้มีความคึกคักมากขึ้น" รมว.คมนาคมกล่าว
 

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1358237409&grpid=03&catid=00&subcatid=0000
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #569 เมื่อ: วันที่ 16 มกราคม 2013, 23:29:29 »

LHลุยเปิดใหม่24โครงการ4.3หมื่นล.


เศรษฐกิจ 16 January 2556

 แลนด์แอนด์เฮ้าส์ กางแผนปีมะเส็ง 56 เปิดใหม่ 24 โครงการ มูลค่ากว่า 4.3 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้ายอดขาย 30,000 ล้านบาท
    นายอดิศร ธนนันท์นราพูล กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2556 แนวโน้มเติบโต 10-15% ตามผลิตภัณฑ์รวมภายในประเทศ (GDP) และจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาลง ธนาคารพาณิชย์น่าจะเร่งปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น แต่อาจได้รับผลกระทบจากนโยบายรถคันแรกจากปีก่อนบ้างเล็กน้อยในบางเซ็กเมนต์ ส่วนราคาขายขยับขึ้นไม่เกิน 10% จากการปรับขึ้นของต้นทุนก่อสร้างประมาณ 5-7%
    โดยในปี 2555 บริษัทมียอดขายประมาณ 25,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.8% จากปี 2554 จากการเปิดตัวทั้งสิ้น 15 โครงการ มูลค่ารวม 25,680 ล้านบาท ใช้งบลงทุน 5,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ซื้อที่ดิน 3,600 ล้านบาท ลงทุนในอสังหาฯ สำหรับเช่า 1,400 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีแบ็กล็อกมากกว่า 19,000 ล้านบาท ส่วนการรับรู้รายได้จากคอนโดมิเนียมที่เปิดการขายเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา จะรับรู้ในปีนี้ประมาณ 3,000 ล้านบาท ในปี 2557 ประมาณ 5,000 ล้านบาท และปี 2558 ประมาณ 6,000-9,000 ล้านบาท

    สำหรับแผนดำเนินงานปี 2556 เตรียมเปิดใหม่ 24 โครงการ มูลค่ารวม 43,295 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 15 โครงการ ต่างจังหวัด 9 โครงการ (เชียงใหม่, เชียงราย, อุดรธานี, นครราชสีมา, ขอนแก่น, หัวหิน, ภูเก็ต) แยกเป็นบ้านเดี่ยว 10 โครงการ ทาวน์เฮาส์ 4 โครงการ คอนโดมิเนียม 10 โครงการ ตั้งเป้ายอดขายทั้งปี 30,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.5% จากปีก่อน

    นอกจากนี้เตรียมงบลงทุนไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท สำหรับซื้อที่ดินสำหรับพัฒนาโครงการใหม่ประมาณ 7,000 ล้านบาท ลงทุนในอสังหาฯ สำหรับปล่อยเช่า 3,000 ล้านบาท โดยจะเน้นโครงการมิกซ์ยูสในกรุงเทพฯ ราว 2,000 ล้านบาท และลงทุนซื้ออสังหาฯ ในสหรัฐ สำหรับปล่อยเช่าเพิ่มอีก 1,000 ล้านบาท.

http://www.thaipost.net/news/160113/68138
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #570 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 19:44:55 »

กรมทางหลวงรับฟังความคิดเห็นประชาชนที่จังหวัดเชียงราย



    วันที่ข่าว : 19 มกราคม 2556
กรมทางหลวง รับฟังความเห็นประชาชน โครงการก่อสร้างทางเชียงราย - อ.ขุนตาล รองรับสะพานข้ามน้ำโขงที่เชียงของ เตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ปฐมนิเทศโครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจรทางหลวงเชื่อมโยงเชียงราย สะพานข้ามน้ำโขงที่เชียงของ ตอน เชียงราย-อ.ขุนตาล ที่ผ่านมาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งยังไม่มีความสมบูรณ์ และขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาดการวางแผนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะทางหลวงเชื่อมโยงเชียงราย-สะพานข้ามน้ำโขงที่เชียงของ ช่วงเชียงราย - อ.ขุนตาล ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
กรมทางหลวงได้ทำการศึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจรขึ้น เพื่อพัฒนาโครงข่ายทางหลวงให้สามารถรองรับการจราจรในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศที่คาดว่าจะมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมศักยภาพการกระจายความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน

http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=TNSOC5601190010037
ผู้สื่อข่าว : รุจิภรณ์ เตจ๊ะ
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #571 เมื่อ: วันที่ 20 มกราคม 2013, 09:33:02 »

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8088 ข่าวสดรายวัน


เปิดลายแทงงบลงทุน2ล้านล. มอเตอร์เวย์-ไฮสปีดเทรนพรึ่บ!

คอลัมน์ รายงานพิเศษ



หากไม่มีอะไร ผิดพลาดในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่จ.อุตรดิตถ์ ในวันจันทร์ที่ 21 ม.ค.นี้ รัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ส่วนรายละเอียดโครงการจะนำ เสนอครม.อีกครั้งในเดือนก.พ.

ยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะไปเชื่อมโยงกับร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พ.ศ. ... วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ที่จะเสนอครม.ในวันที่ 5 ก.พ.2556 ซึ่งการกู้เงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะทำให้เศรษฐกิจขยายเพิ่มขึ้นปีละ 1% โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะจะยังอยู่ไม่เกิน 50% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) จากปัจจุบันอยู่ที่ 43% ของจีดีพี

การเสนอร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะมีการกำหนดบัญชีโครงการที่จะลงทุนไว้ชัดเจน 2 บัญชี ในบัญชีแรกเป็นโครงการที่มีความพร้อมลงทุน แต่หากมีปัญหาไม่สามารถดำเนินการได้ สามารถนำโครงการจากบัญชี 2 มาลงทุนได้ ซึ่งทั้ง 2 บัญชี เป็นโครงการขนส่งระบบราง ทางน้ำ และถนน รวมถึงการสร้างด่านศุลกากรเชื่อมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558

ส่วนรายละเอียดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ หรือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว 7 ปี (ปี 2556-2563) กระทรวงคมนาคม ได้กำหนดภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย 3 ด้านสำคัญ คือ

ด้านที่ 1.การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบกเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศและเพื่อนบ้าน แบ่งออกเป็น 3 โครงข่าย คือ

- โครงข่ายถนน เร่งพัฒนาระบบขนส่งทางถนน อาทิ เร่งสร้างโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) อีก 5 สายทาง คือ บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา, บางปะอิน-นครสวรรค์, บางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี, นครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ และ ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด และการก่อสร้างทางหลวงสายหลักเชื่อมโยงเมืองหลักในภูมิภาค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางและขนส่งสินค้า

- โครงข่ายรถไฟ เร่งเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรางตามแผนการลงทุนในระยะเร่งด่วน พ.ศ.2553-2558 จะใช้เม็ดเงินลงทุน 176,808 ล้านบาท พัฒนาให้ระบบรถไฟเป็นระบบหลักในการขนส่งสินค้า ระหว่างพื้นที่ผลิตหลักภายในประเทศกับท่าเรือแหลมฉบัง และพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่าย รูปแบบการขนส่ง เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน

รวมทั้งยังมีโครงการเร่งจัดทำระบบรถไฟรางคู่และรถไฟสายใหม่ เช่น ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-มุกดาหาร, ช่วงอรัญประเทศ-ปอยเปต และเชื่อมท่าเรือฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน ระยะที่ 1 นอกจากนี้ ยังเตรียมการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาค

- โครงข่ายขนส่งมวลชน จะเน้นเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะเร่งปรับปรุงให้ครอบคลุมพื้นที่บริการเพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับการขยายตัวของเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ด้านที่ 2.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางอากาศ เร่งขยายขีดความสามารถและคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้ ทันสมัย สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจากปีละ 45 ล้านคนเป็น 60 ล้านคน ตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2

ด้านที่ 3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำภายในประเทศและเป็นประตูการขนส่งของอนุภูมิภาค โดยเร่งพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นประตูการขนส่งสู่ท่าเรือหลักต่างๆ ของโลกและเป็นส่วนหนึ่งของท่าเรือหลักในภูมิภาคอาเซียน โดยเร่งรัดการจัดสร้างระยะที่ 3 รวมถึงพัฒนาระบบขนส่งชายฝั่งเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบัง และการสร้างท่าเรือใหม่ในฝั่งอันดามัน เพื่อรองรับการค้ากับอินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป เช่น ท่าเทียบเรือชายฝั่ง ท่าเรือชุมพร ท่าเรือน้ำลึกสงขลา และการศึกษาก่อสร้างท่าเรือปากบารา

ส่วนการพัฒนาเชื่อมต่อโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งของไทยกับเพื่อนบ้าน หรือเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 นั้น กระทรวงคมนาคมเตรียมพัฒนาโครงข่ายคมนาคมไว้ 4 แนวทาง คือ

1.เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่ง ณ ประตูการค้า เช่น เร่งพัฒนาประสิทธิภาพประตูการค้าหลักด้วยการเร่งก่อสร้างสุวรรณภูมิระยะที่ 2 เร่งท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และสถานีบรรจุ และแยกสินค้ากลาง (ไอซีดี) แห่งที่ 2 การพัฒนาประตูการค้าชายแดน และพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบขนส่ง

2.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงการขนส่ง เช่น การขยายทางหลวงสายหลักบนโครงข่ายถนนอาเซียนช่วงที่เป็นคอขวดให้เป็น 4 ช่องจราจร เช่น เส้นทางเชียงของ-เชียงราย, หาดใหญ่-สุไหงโก-ลก, นครพนม-อุดรธานี, มุกดาหาร-ยโสธร-บุรีรัมย์-สระแก้ว เป็นต้น

การสร้างทางเชื่อมโยงเพื่อบ้านแบบทวิภาคี โดยมีโครงการสร้างทางร่วมกับลาว 11 โครงการ เช่น ถนนสาย 13 เหนือสังคโลกในหลวงพระบาง, พม่า 8 โครงการ เช่น ถนนสายบ่อน้ำพุร้อน-ชายแดนไทย-พม่า, กัมพูชา 3 โครงการ เช่น ถนนสาย 67 ช่องสะงำ-เสียมราฐ และมาเลเซีย 5 โครงการ เช่น โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่ 2 การพัฒนาระบบขนส่งผู้โดยสารสาธารณะเชื่อมโยงโครงข่ายเมืองหลักในส่วนภูมิภาคของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

3.พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ เช่น พัฒนาจุดรวบรวมและกระจายสินค้าบนแนวเส้นทางหลวงอาเซียนในประเทศไทย และการพัฒนาจุดพักรถ และ 4.การพัฒนาด้านกฎหมาย ข้อตกลงด้านการขนส่งระหว่างประเทศ

ล่าสุดกระทรวงคมนาคมกำหนดกรอบแผนการลงทุนเบื้องต้น แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย

1.ทางราง มีสัดส่วนงบประมาณ 78% ราว 1.6 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่ยังยืนยันโครงการเดิมที่ได้ประกาศไว้กับรัฐสภา 4 เส้นทาง คือ ไฮสปีดเทรน รวมทั้งรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ส่วนรถไฟรางคู่ ได้เพิ่มเส้นทางใหม่ เช่น เส้นทาง เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ, บ้านภาชี-นครหลวง, บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม

2.ทางถนน สัดส่วนงบประมาณ 15% ราว 3.2 แสนล้านบาท จะปรับยุทธศาสตร์ให้เน้นขยายถนน 4 ช่องทางในสายทางหลัก ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดและภูมิภาคต่างๆ ไม่เน้นทางย่อย

3.ทางน้ำ สัดส่วนงบประมาณ 2% ราว 3 หมื่นล้านบาท และสร้างท่าเรือเพิ่ม 3 แห่ง คือ ท่าเรือสงขลา ท่าเรือชุมพร และท่าเรือปากบารา

4.ส่วนอื่นๆ เช่น สร้างศูนย์กระจายสินค้าเพิ่ม 15 แห่งทั่วประเทศ, ด่านศุลกากร และการตั้งงบเผื่อเหลือเผื่อขาดของโครงการ 5%

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า เบื้องต้นโครงการที่จะดำเนินการแน่นอนและลงตัวแล้ว ประกอบด้วย โครงการด้านระบบราง ทั้งระบบไฮสปีดเทรน ทั้ง 4 สาย และโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 10 สาย

สำหรับไฮสปีดเทรน 4 สาย ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ-ระยอง กรุงเทพฯ-หัวหิน ความเร็วของรถเบื้องต้นกำหนดไว้ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามมาตรฐานของไฮสปีดเทรน แต่เส้นทางใกล้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วมากนัก

โดยจะประกวดราคาพร้อมกันหมด ใช้งบประมาณดำเนินโครงการรวม 6 แสนล้านบาท จากเดิมกำหนดใช้งบประมาณก่อสร้างระยะแรก 4 แสนล้านบาท จากที่ตั้งงบก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั้งหมด 9 แสนล้านบาท

และเพื่อให้การดำเนินโครงการมีต้นทุนถูกลงจะจัดซื้อขบวนรถก่อนใน 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-โคราช และกรุงเทพฯ-หัวหิน ส่วนกรุงเทพฯ-พัทยา จะจัดซื้อพร้อมการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ที่จะดำเนินการในปีนี้เช่นกัน งบประมาณในการจัดซื้อตัวรถจะอยู่ที่ 20% ของงบดำเนินโครงการทั้งหมด หรือประมาณ 1.8 แสนล้านบาท

คาดว่าในเดือนมี.ค.นี้จะเห็นภาพรวมการประกวดราคาและระบบทั้งหมด และประมาณไตรมาส 2 ปีนี้ น่าจะรู้ว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมประกวดราคาจัดหาขบวนรถไฮสปีดเทรนกี่ราย

แต่ที่ยังเป็นปัญหาคือเรื่องระบบถนน ที่ต้องศึกษาให้ชัดเจนว่าควรจะดำเนินการในเส้นทางใดบ้าง และในแต่ละเส้นทางควรลงทุนแบบใด เช่น กรณีของเส้นทางมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี ควรจะลงทุนในรูปแบบของการร่วมทุนกับภาคเอกชน (พีพีพี) จะเหมาะสมหรือไม่

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ล่าสุด นายกฯ เร่งให้เปิดประมูลรถไฟฟ้า 7 โครงการ ให้ได้ภายในปี 2556 คือ 1.สายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ช่วงเดือนมี.ค.2556 2.สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี ช่วงปลายปี 2556 3.สายสีเขียวอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู

4.สายสีแดง ส่วนต่อขยาย บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง 5.สายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 6.สายสีแดง ส่วนต่อขยายช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และ 7.แอร์พอร์ตลิงก์ ส่วนต่อขยายดอนเมือง-บางซื่อ ระยะทางรวม 118.4 ก.ม. รวมงบประมาณการก่อสร้าง 187,843 ล้านบาท

ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง เร่งหารือในรายละเอียดให้ตกผลึก ก่อนนำเสนอครม.อีกครั้งในเดือนก.พ.นี้

แน่นอนว่าอภิมหาโปรเจ็กต์ที่ใช้เงินทุนมหาศาลนี้ ต้องถูกจับตาว่าจะโปร่งใส และคุ้มค่ากับคนในชาติแค่ไหน

หน้า 8
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #572 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 07:49:32 »

คาดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว #4 สร้างเสร็จ-เปิดใช้กลางปีนี้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   20 มกราคม 2556 13:00 น.   

   


       คนงานเร่งก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ซึ่งข้ามแม่น้ำโขงด้าน อ.เชียงของ จ.เชียงราย กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จประมาณกลางปีนี้
          สะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 4 ใช้งบประมาณก่อสร้างกว่า 1,800 ล้านบาท หากเปิดใช้งานจะเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางถนนที่เชื่อมระหว่างไทย-จีน ใกล้ที่สุด โดยมีระยะทางจากมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ทางใต้ของจีน ถึงกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตร และจะทำให้การค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทย-จีนเพิ่มขึ้นอีกมาก
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #573 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2013, 07:48:31 »

ธุรกิจการบินเฟื่องรับเออีซี แม่ฟ้าหลวงเปิดสอนเพิ่มปีนี้อีก 400 คน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   24 มกราคม 2556

เชียงราย - มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เดินหน้าเปิดหลักสูตรการบินเพิ่มอีก3 สาขา รับนักศึกษาอีก 400 คนในปีนี้รองรับไทยเข้าสู่เออีซี
       
       วันนี้ (24 ม.ค.) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้จัดงาน “5 ปี มฟล. (AVIATION)” ที่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย เพื่อประชาสัมพันธ์โปรแกรมการเรียนการสอนสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินที่เปิดมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 และล่าสุดมหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงหลักสูตรเพิ่มขึ้นอีก 3 สาขา คือ สาขาวิชางานบริการทางการบิน สาขาวิชาธุรกิจโลจิสติกส์ทางการบิน และสาขาวิชาการปฏิบัติการทางการบิน
       
       รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า การขยายตัวของการศึกษาด้านการบินเป็นคำตอบได้ดีว่าธุรกิจด้านนี้มีอนาคตที่ดี และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดูได้จากตัวเลขของภาคการท่องเที่ยวและการขนส่งผ่านสายการบินต่างๆ การเปิดสายการบินใหม่ รวมทั้งการสั่งซื้อเครื่องบินโดยสารของแต่ละสายการบินเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ซึ่งจะมีการเชื่อมต่อเส้นทางเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน ยิ่งทำให้อุตสาหกรรมการบินทวีความสำคัญมากขึ้น
       
       “เราเล็งเห็นถึงความต้องการกำลังคนด้านนี้ จึงได้เปิดสอนครั้งแรกตั้งแต่ปี 2551 มีนักศึกษารุ่นแรกประมาณ 100 คน จากนั้นก็รับเพิ่มคราวละ 150-200 คน และปีนี้มีการเปิดสาขาเพิ่มเติม จึงได้เปิดรับ 400 คน”
       
       รศ.ดร.วันชัยกล่าวอีกว่า การเรียนการสอนตามหลักสูตรครอบคลุมทุกบริการที่เกี่ยวข้องกับกิจการการบิน ซึ่งถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เช่น บริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน บริการภาคพื้นในท่าอากาศยาน อาหาร เครื่องดื่ม ขนส่งสินค้า ความปลอดภัย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสายการบินต่างๆ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการส่งบุคลากรที่มีประสบการณ์มาให้ความรู้นักศึกษา ทำให้นักศึกษามีจุดแข็งทั้งหลักสูตร การถ่ายทอดจากประสบการณ์จริง และภาษาอังกฤษ
       
       “ทางมหาวิทยาลัยยังเดินหน้าพัฒนาหลักสูตรธุรกิจการบินให้เข้มข้นมากขึ้น ทั้งส่วนวิชาชีพและทักษะด้านภาษา ที่มีการสอนภาษาที่ 3 เป็นภาษาจีน ทั้งจีนขั้นพื้นฐาน และจีนสำหรับธุรกิจการบิน เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่เออีซีต่อไป”
       
       ทั้งนี้ ภายในงานได้สาธิตการใช้เครื่องฝึกบินจำลอง และปฏิบัติการบินจริงโดยเครื่องบินขนาด 4 ที่นั่งรวมคนขับ “บลูไดมอนด์ 42” จำนวน 2 ลำ จัดเสวนาเรื่องอนาคตและโอกาสของธุรกิจการบิน โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด บริษัท บางกอก เอวิเอชั่น เซนเตอร์ จำกัด เป็นต้น สำหรับค่าธรรมเนียมการศึกษาด้านการบิน ประกอบด้วย วิชาเอกการบริการทางการบิน ภาคการศึกษาละ 36,000 บาท วิชาเอกธุรกิจโลจิสติกส์ทางการบิน ภาคการศึกษาละ 36,000 บาท และวิชาเอกการปฏิบัติการทางการบิน ภาคการศึกษาละ 36,000 บาท ขณะที่รายวิชาการปฏิบัติการทางการบิน ชั่วโมงละ 16,000 บาท
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #574 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2013, 08:16:14 »

ชัชชาติจี้กรมการบิน แก้พ.ร.บเดินอากาศ หวังเอาใจต่างชาติ


เศรษฐกิจ 26 January 2556 - 00:00

  “ชัชชาติ'' จี้กรมการบินพลเรือน ปรับแก้ พ.ร.บ.เดินอากาศ พ.ศ.2497 ทั้งฉบับ ให้สอดรับกับสถานการณ์การบิน อ้างต่างชาติร้องขอให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน 51% จากเดิมกำหนด 49% ด้านกรมการบินเตรียมทุ่ม 3 พันล้านสร้างและพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาค 6 แห่ง
    นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมการบินพลเรือน เร่งปรับแก้ พ.ร.บ.เดินอากาศ พ.ศ.2497 ให้ทันสมัยสอดรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเสรีการบินอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจาก พ.ร.บ.การเดินอากาศของไทยในปัจจุบันล้าหลังอยู่มาก ประกอบกับที่ผ่านมานั้นการแก้กฎหมายที่ผ่านมาเป็นลักษณะการแก้ไขเป็นรายข้อ ดังนั้นเห็นว่าควรการแก้กฎหมายทั้งฉบับ เพื่อให้กฎระเบียบต่างๆ สอดคล้องและทันตามสถานการณ์ โดยเฉพาะกฎระเบียบเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการบินของไทย ที่ปัจจุบันยังสามารถถือได้ในสัดส่วน 49:51% แต่นักลงทุนเรียกร้องขอให้พิจารณาปรับเป็นให้ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้มากกว่า 51%
 
    “เรื่องดังกล่าวคงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และคำนึงถึงการลงทุนเพราะอุตสาหกรรมการบินจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แต่ไทยยังไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง จำเป็นต้องดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุน โดยเฉพาะการตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบิน ที่ จ.นครราชสีมา ที่จะมีทั้งศูนย์ซ่อมอากาศยาน การเปิดศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านอากาศยาน ขณะที่มาตรการส่งเสริมการลงทุนได้ประสานกับบีโอไอในระดับหนึ่งแล้ว" นายชัชชาติกล่าว
    นายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน  กล่าวว่า กรมเตรียมทุ่มงบประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท ในการสร้างและพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาค 6 แห่ง เพื่อรับการเชื่อมต่อการเดินทางกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน ประกอบด้วย การก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง 1,000 ล้านบาทแล้วเสร็จภายในปี 2558, ขยายรันเวย์และสร้างอาคารหลังใหม่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 1,000 ล้านบาท, ขยายรันเวย์ท่าอากาศยานนครราชสีมา 400 ล้านบาท, ปรับปรุงลานจอดท่าอากาศยานอุบลราชธานี 300 ล้านบาท, ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานอุดรธานี 270 ล้านบาท
    “ปีนี้มีผู้ขอเพิ่มเที่ยวบินระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น 12% ต่อเดือน ซึ่งล่าสุดมียื่นขอจดทะเบียนเพิ่มกว่า 10 ราย ซึ่งอนุมัติไปแล้ว 5 ราย คาดว่าในอนาคตจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมได้ประกาศใช้มาตรการคุ้มครองผู้โดยสาร แล้ว โดยการเช่าเที่ยวบินเหมาลำจะต้องมีเงินประกันเท่ากับมูลค่าที่ให้บริการ และต้องการเช่าเที่ยวบินแบบไป-กลับเท่านั้น  นอกจากนี้ ต้องมีพันธมิตรทางการบิน ซึ่งหากเกิดปัญหาสามารถหาเที่ยวบินไปรับแทนได้ ซึ่งจะเริ่มใช้มาตรการดังกล่าวในเดือน ก.พ.นี้“ นายวรเดชกล่าว.
+++++++++++++++++

http://www.thaipost.net/news/260113/68617
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #575 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2013, 08:20:05 »

เร่งผุดรถไฟฟ้า7สายหวังขยับจีดีพีโตอีก1%

23 มกราคม 2556 เวลา 10:37 น.


รัฐบาลหวังโครงการ 2 ล้านล้าน ดันจีดีพีโตเพิ่มปีละ 1% คมนาคมเร่งประมูลรถไฟฟ้า-รถไฟ รวม 7 สายปีนี้

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ประเมินว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่งภายใน 7 ปีครึ่ง ภายใต้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้มากกว่ากรณีไม่มีการลงทุนปีละ 1% โดยจะขยายตัว 5-6% ขณะที่หากไม่มีการลงทุนจะขยายตัว 4-5%

นอกจากนี้ จะส่งผลให้มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดปีละ 0.5% ของจีดีพี เพราะการลงทุนจะทำให้มีการนำเข้าเครื่องจักรและวัสดุจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้เงินบาทไม่แข็งค่า ส่งผลดีต่อผู้ส่งออกและทำให้เงินเฟ้อเล็กน้อย 0.16% ต่อปี จากปัจจุบันอยู่ที่ 3%

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ปี 2556 กระทรวงคมนาคมจะเร่งเปิดประมูลรถไฟฟ้า 5 สาย วงเงินรวม 2.79 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้า แครายปากเกร็ด-มีนบุรี ตลิ่งชัน-มีนบุรี หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ 2 เส้นทาง คือ พญาไท-บางซื่อ และบางซื่อ-ดอนเมือง นอกจากนี้จะเร่งก่อสร้างรถไฟทางคู่เชื่อมโครงข่ายระหว่างประเทศอีก 2 เส้นทาง คือ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 7.7 หมื่นล้านบาท และ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม วงเงินประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมมีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะดำเนินการแล้ว แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะต้องช่วยพิจารณา กรอบให้รอบคอบมากยิ่งขึ้น ส่วนสาเหตุที่ยังไม่ได้นำร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 ม.ค. เนื่องจากนายกรัฐมนตรีต้องการให้เห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานระดับท้องถิ่นก่อน

ทั้งนี้ แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ. 2556-2563 มีเป้าหมายลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพี เหลือ 2% จากปัจจุบัน 15.2% ลดความสูญเสียจากน้ำมันปีละไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท ลดผู้เดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถยนต์ส่วนตัวจาก 59% เหลือ 40%

http://www.posttoday.com


* 366140472FFC4149AD45231ECCFC0912.jpg (125.44 KB, 620x413 - ดู 596 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #576 เมื่อ: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2013, 08:01:09 »

แกะพิมพ์เขียว "งบฯ 2 ล้านล้าน" "เพื่อไทย" ปูพรมโครงสร้างพื้นฐาน
updated: 31 ม.ค. 2556 เวลา 13:52:12 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เป็นที่จับตามองอย่างใกล้ชิดสำหรับบัญชีโครงการภายใต้เงินลงทุน 2 ล้านล้านบาทของ "กระทรวงคมนาคม" ที่ยังจัดสรรไม่ลงตัว ต้องเลื่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)

นัดที่ผ่านมา และยังไม่รู้ว่า การประชุม ครม.วันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้จะมาตามนัดตามที่ "รัฐบาลเพื่อไทย" วาดแผนไว้หรือไม่

ทางเจ้ากระทรวง "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ยังไม่กล้าฟันธงและไม่อยากจะพูดถึง เพราะยิ่งพูดก็เหมือนยิ่งมัดตัวเอง

"ผมไม่อยากจะพูดแล้วจะเข้า ครม.เมื่อไร กระทรวงกำลังทำรายละเอียดโครงการอยู่ ยังไม่นิ่ง เป็นงานถนนต้องดูให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของประเทศ" บิ๊กหูกวางพยายามชี้แจง

เบื้องหลังงบฯ 2 ล้านล้านไม่ลงตัว

แหล่งข่าววงในของกระทรวงคมนาคม ระบุว่า สาเหตุที่ยังไม่ลงตัวสำหรับ "เค้ก 2 ล้านล้านบาท" ของกระทรวง เบื้องหลังการถ่ายทำน่าจะมาจากมีบิ๊กเพื่อไทยที่เป็นคนใน "ครอบครัว

ชินวัตร" กำลังแย่งปาดหน้าเค้กกันเองโดยมีคนของตัวเองช่วยสแกนบัญชีโครงการ ทั้งเบอร์หนึ่ง "รมว.ชัชชาติ" นักการเมืองสายตรงจาก "นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และอีก 2 รมช. ทั้ง "ประเสริฐ จันทรรวงทอง" และ "พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต" ซึ่งว่ากันว่านายใหญ่ดูไบส่งมาดูแลงาน

เท่านั้นยังไม่พอ ดูเหมือนยังมีมือที่ 3 จากคนในครอบครัวชินวัตร พยายามเข้ามาล้วงลูกจัดสรรงบประมาณถนนของกรมทางหลวง (ทล.) ที่มี "พล.อ.พฤณท์" กำกับดูแล และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ซึ่งรัฐมนตรีจากที่ราบสูง "ประเสริฐ" นั่งคุมอยู่ทำให้จนถึงวินาทีนี้ยังเกลี่ย "วงเงินและพื้นที่" ไม่ลงตัว โดยเฉพาะโครงการบูรณะถนนที่แพ็กพ่วงเข้ามา

ขณะที่ "รมว.ชัชชาติ" เองก็มุ่งมั่นจะดึงเงินมาลง "ระบบราง" ที่นั่งกุมบังเหียนอยู่ให้มากที่สุด ทั้ง "รถไฟฟ้า-ไฮสปีดเทรน-ทางคู่-รถไฟสายใหม่" เบ็ดเสร็จกวาดเม็ดเงินลงทุนกว่า 78% หรือประมาณ 1.56 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ เพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกันกับที่ "นายกฯยิ่งลักษณ์" และรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ซึ่งพยายามออกมาระบุว่า "ระบบราง" น่าจะเกิดประโยชน์และพลิกโฉมประเทศไทยได้

ทุ่มระบบรางกว่า 1.56 ล้านล้าน

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้งบฯลงทุน 2 ล้านล้านบาทเริ่มนิ่งแล้ว เพียงแต่รอจัดสรรงบฯในส่วนของบูรณะและเพิ่มประสิทธิภาพถนนที่ยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะเป็นพื้นที่ไหน และดูว่าโครงการไหนที่จะตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและประเทศได้อย่างแท้จริง

"เบื้องต้นมี 2 แนวทาง คือ ทุ่ม 2 ล้านล้านบาทนี้ให้ระบบรางทั้งหมดเลย หรือจะลงทุนระบบราง 70-80% ที่เหลือกระจายให้งานถนนและทางน้ำ กระทรวงยังไม่สรุป"

สำหรับโครงการที่จัดอยู่ในบัญชี 1 คืองานที่พร้อมจะลงทุนทันที มุ่งเป้าไปที่ "สาขาการขนส่งทางราง" เป็นโครงการของ 2 หน่วยงานหลักอย่าง "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย และ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย"

ร.ฟ.ท.อู้ฟู่ทะลุ 1.1 ล้านล้าน

โดย "ร.ฟ.ท." ได้รับจัดสรรเงินลงทุนมากสุด 58.74% หรือประมาณ 1,174,718 ล้านบาท ประกอบด้วย "แผนงานระยะเร่งด่วน" วงเงินรวม 138,253 ล้านบาท อาทิ โครงการอาณัติสัญญาณไฟสี 11,358 ล้านบาท ทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ 16,215 ล้านบาท ฯลฯ

"แผนลงทุนทางสายใหม่" มี 3 สาย วงเงินรวม 23,927 ล้านบาท มีสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 77,275 ล้านบาท สายบ้านไผ่-นครพนม 42,106 ล้านบาท และสายบ้านภาชี-อ.นครหลวง 4,546 ล้านบาท

นอกจากนี้ มี "ทางคู่ระยะที่ 2" อีก 3 สาย วงเงินรวม 62,895 ล้านบาท มีสายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 9,555 ล้านบาท สายชุมพร-สุราษฎร์ธานี 17,640 ล้านบาท และสายสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ 35,700 ล้านบาท

ขณะที่โครงการฮอตในปีนี้ "รถไฟความเร็วสูง" เฟสแรก 4 สาย อัพเดตล่าสุดวงเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 753,105 ล้านบาท ต้นทางออกจากรุงเทพฯมุ่งหน้าเชียงใหม่ นครราชสีมา หัวหิน พัทยา-ระยอง

สำหรับ "โครงการต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง" มี 6 สายทาง มีวงเงินรวม 95,538 ล้านบาท อาทิ สายสีแดงเข้ม (รังสิต-ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต) 5,412 ล้านบาท ต่อสายแอร์พอร์ตลิงก์ (ดอนเมือง-พญาไท) 28,574 ล้านบาท สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศิริราช) 9,312 ล้านบาท ฯลฯ

รฟม.ได้ 3.8 แสนล้านสานต่อรถไฟฟ้าเก่า-ใหม่

ด้าน "รฟม." มีโครงการสานต่อรถไฟฟ้าสายเก่าให้จบโครงการ และเริ่มต้นเปิดประมูลสายใหม่ 8 สายทางด้วยกัน วงเงินรวม 386,222 ล้านบาท อาทิ สายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) 58,590 ล้านบาท สายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี) 115,054 ล้านบาท ฯลฯ และเพิ่มสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) เข้ามาในบัญชีเพื่อเร่งสร้างให้เร็วขึ้น 57,306 ล้านบาท

ท"งหลวงผุดโครงข่ายเชื่อมเออ"ซ"กว่า 200 โครงการ

กลับมาดู "สาขาขนส่งทางถนน" ได้รับจัดสรรวงเงินรวม 270,653 ล้านบาท แยกเป็น "กรมทางหลวง" 195,030 ล้านบาท อาทิ งานสะพานข้ามทางรถไฟ 83 แห่ง และงานรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง 23,280 ล้านบาท ค่าเวนคืนมอเตอร์เวย์ 3 สาย มีสายบางปะอิน-นครราชสีมา บางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี และสายพัทยา-มาบตาพุด

โครงการทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ เพิ่มจาก 10 โครงการเป็น 13 โครงการ วงเงิน 14,920 ล้านบาท เร่งรัดขยายถนน 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) และเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง 66 โครงการ 91,580 ล้านบาท ก่อสร้างบูรณะทางหลวงสายหลักรองรับเออีซี 166 โครงการ 36,600 ล้านบาท และต่อขยายทางคู่ขนานบรมราชชนนี (พุทธมณฑลสาย 2-เพชรเกษม) 14,800 ล้านบาท โดยตัดงบฯขยายโทลล์เวย์ (ช่วงรังสิต-บางปะอิน) วงเงิน 23,000 ล้านบาทออกไป

ทช.ขอ 5 หมื่นล้านเสริมโครงข่ายการค้า-ท่องเที่ยว

"ทช.-กรมทางหลวงชนบท" ตัดเหลือ 2 รายการ วงเงินรวม 56,831 ล้านบาท ในจำนวนนี้กว่า 52,639 ล้านบาทเป็นงบฯพัฒนาโครงข่ายถนนเชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุน และการขนส่ง เช่น สร้างถนนคู่ขนานบางนา-ตราดจากกิ่งแก้ว-วัดศรีวารีน้อย ฯลฯ ส่วนโครงข่ายเชื่อมต่อด้านการท่องเที่ยวจากเดิมกว่า 1 หมื่นล้านบาท เหลือ 4,192 ล้านบาท เป็นการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยด้านตะวันตก (รอยัลโคสต์)

เจียด 1.4 หมื่นล้านผุดศูนย์ถ่ายสินค้า 15 จังหวัด

โครงการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดเออีซียังได้จัดสรร 14,093 ล้านบาท ให้กับ "ขบ.-กรมการขนส่งทางบก" เพื่อก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบสินค้าที่เชียงของ 1,490 ล้านบาท สถานีขนส่งสินค้า 15 แห่งที่เมืองชายแดน 7 แห่ง คือ เชียงราย ตาก หนองคาย มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา นราธิวาส

และตามหัวมืองหลัก 8 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี วงเงินรวม 11,586 ล้านบาท รวมถึงโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงรายอีก 745 ล้านบาท

เร่งเวนคืนตัดด่วนใหม่ 3 สาย

ขณะที่โครงข่ายทางด่วนของ "กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย" ได้งบฯวงเงิน 3,735 ล้านบาท สำหรับเวนคืนทางด่วนสายใหม่ 3 สาย เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ประกอบด้วย สายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก สายศรีรัช-ดาวคะนอง และสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต

ด้าน "ขสมก.-องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ" จากเดิมจดเงินเพื่อซื้อรถเมล์ NGV ใหม่กว่า 10,000 ล้านบาท แต่สุดท้ายได้แค่ 963 ล้านบาท สำหรับสร้างอู่จอดรถโดยสารเท่านั้น

เจ้าท่าไม่น้อยหน้ากว่า 3 หมื่นล้าน

ส่วน "จท.-กรมเจ้าท่า" หน่วยงานอยู่ในความดูแลสังกัดของ "รมต.ประเสริฐ" นอนนิ่งในบัญชี "สาขาขนส่งทางน้ำ" มาตั้งแต่เริ่มแรก ได้รับจัดสรรรวม 30,277 ล้านบาท มี 5 โครงการ อาทิ เขื่อนป้องกันตลิ่งพังและขุดลอกร่องน้ำในแม่น้ำป่าสัก 11,837 ล้านบาท ท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล วงเงิน 11,786 ล้านบาท ฯลฯ

ปิดท้ายที่ "สาขาขนส่งทางอากาศ" ส่วนใหญ่หน่วยงานมีรายได้และเงินลงทุนของตัวเอง ทำให้บัญชีนี้มีแค่ 1 โครงการเป็นของ "บพ.-กรมการบินพลเรือน" ก่อสร้างสนามบินที่ อ.แม่สอด 862 ล้านบาท

ส่วน "สุวรรณภูมิ เฟส 2" วงเงินกว่า 6 หมื่นล้านบาท ตัดทิ้งจากบัญชี และให้ "ทอท.-บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)" หาเงินมาลงทุนเอง

ทั้งหมดเป็นรายการเบื้องต้นที่ "คมนาคม" พยายามจัดสรรให้ลงตัว และคาดว่าจะไม่มีการปรับเปลี่ยนอีกแล้ว แต่สุดท้ายจะเปลี่ยนแปลงไปจากนี้อีกมากน้อยแค่ไหนคงต้องดูกันต่อไป

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1359615004&grpid=no&catid=07&subcatid=07


* edi01310156p1.jpg (189.41 KB, 800x886 - ดู 535 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #577 เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 17:05:34 »

เผือกร้อนบิ๊กการทางฯ "อัยยณัฐ ถินอภัย" แก้รถติด-เร่งเวนคืนที่ดิน-เจรจาขึ้นค่าทางด่วน
Prev1 of 1Next
updated: 08 ก.พ. 2556 เวลา 12:34:19 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



ขึ้นปีที่ 2 ของ "อัยยณัฐ ถินอภัย" กับตำแหน่งผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) หลังนั่งเก้าอี้ในฐานะเบอร์หนึ่งมาได้ 1 ปี 2 เดือน

ดูเหมือนตลอดเวลาช่วงปีเศษ ภารกิจส่วนใหญ่ของ "อัยยณัฐ" จะติดพันไปกับนโยบายเฉพาะกิจและเฉพาะหน้า ไม่ว่าการแก้ปัญหาของระบบ Easy Pass ที่ยังไม่สมบูรณ์ 100% เหมือนต้นแบบที่

ต่างประเทศ

แต่ที่ปิดดีลจบไปได้ด้วยดี การเซ็นสัญญาก่อสร้างทางด่วนใหม่กว่า 3 หมื่นล้านบาท สาย "ศรีรัช-วงแหวนตะวันตก" ระยะทาง 17 ก.ม. ที่มี "บีอีซีแอล-บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ" เป็นผู้รับสัมปทานลงทุน 30 ปี

"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ "อัยยณัฐ" ถึงปฏิทินงานที่รออยู่นับจากนี้ตลอดทั้งปี 2556

- งานเร่งด่วนขณะนี้

ต้องเร่งทำเลยแก้รถติดบนทางด่วน เพราะกำลังเป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลมีนโยบายให้เร่งแก้ไข ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ กทพ.จะร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดเวิร์กช็อปหาทางแก้ปัญหาตรงทางลงทางด่วนจุดหลัก ๆ เช่น บริเวณสุขุมวิท พระรามที่ 4 (1 และ 2) สีลม พระราม 9 ประชาชื่น ประชานุกูล จะต่อสายแลนเชื่อมกล้องซีซีทีวีบนทางด่วนกับถนนข้างล่างของตำรวจจราจรเพื่อส่งสัญญาณไปยังศูนย์กลางการจราจรที่ บก.02

จะทำให้ตำรวจได้เห็นภาพรวมทั้งหมด และแจ้งให้ตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ถนนด้านล่างช่วยระบายรถให้คล่องตัว ก็ทำให้จราจรบนทางด่วนคล่องตัวได้ หากข้างล่างติดรถที่อยู่ข้างบนก็ลงไม่ได้ จะเริ่มได้กลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ และประเมินผลใน 1 เดือน จากนั้นจะขยายไปยังจุดอื่น ๆ เพราะเดือนเมษายนนี้บนทางด่วนจะมีรถมากถึง 2 ล้านคัน/วัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.7-1.8 ล้านคัน/วัน

- มีวิธีอื่นที่จะมาช่วยแก้รถติด

กำลังขยายช่อง Easy Pass เพิ่มอีก 50% ในทุกด่านทุกระบบทางด่วน ลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท ตอนนี้มีบางด่านที่เสร็จและเปิดใช้แล้ว จะเสร็จทั้งหมดในเดือนเมษายนนี้ เร็วขึ้นจากเดิม 1-2 เดือน

- แผนแก้ปัญหาระยะยาว

สร้างทางด่วนใหม่อีกหลายสายพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ที่กำลังศึกษามีทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (N1, N2 และ N3) ลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท เชื่อมการเดินทางกรุงเทพฯตะวันตกและตะวันออก จะสร้างช่วง N2 จากแยกเกษตร-นวมินทร์ ประมาณ 9 ก.ม.ก่อน ช่วยแก้จราจรย่านถนนเกษตรตัดใหม่ได้มาก สายอื่น ๆ มี สายศรีรัช-ดาวคะนอง 6 ก.ม. ลงทุนกว่า 1.35 หมื่นล้านบาท และสายดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก อีก 8.8 ก.ม. เงินลงทุนกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท สร้างบนเกาะกลางถนนพระรามที่ 2 ช่วยจราจรไปภาคใต้

- โครงการแก้จราจรหัวเมืองใหญ่

กำลังศึกษาและทบทวนสร้างทางด่วนลักษณะอุโมงค์ทางลอดที่กะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต กว่า 6,000 ล้านบาท จะสรุปในปีนี้ เริ่มสร้างในปี 2557 ใช้เวลา 4 ปี โครงการนี้ถูกบรรจุในแผนลงทุน 2 ล้านล้านบาทและเรายังได้รับนโยบายจากกระทรวง เร่งศึกษาสร้างทางด่วนที่เชียงราย เชียงใหม่ และทางด่วนเชื่อมประตูการค้าด่านชายแดนรองรับเออีซี

- ความคืบหน้าศรีรัช-วงแหวนตะวันตก

ได้แจ้งให้บีอีซีแอลเข้าพื้นที่ก่อสร้างแล้วเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2555 ก็มีความคืบหน้าไปด้วยดี น่าจะเสร็จตามแผนใน 4 ปี พร้อมเปิดใช้ประมาณปี 2559

- ปัญหาการเวนคืนที่ดิน

ยังไม่มีปัญหา ยังเป็นไปตามแผน เวนคืนที่ดินเอกชนได้ 80% เหลือขอใช้ที่ดินของร.ฟ.ท.กำลังหารือเรื่องแบบก่อสร้างช่วงหมอชิตใหม่ที่อยู่ในพื้นที่ก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อของรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) และ กม.11 ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะพัฒนาคอมเพล็กซ์ จะเร่งให้จบเร็ว ๆ นี้ ต้องส่งมอบพื้นที่ให้บีอีซีแอลใน 6 เดือน ตอนนี้ผ่านมา 1 เดือนแล้ว

- การพัฒนาที่ดินใต้เขตทางด่วน

มีเหลือไม่กี่แปลงที่พัฒนาเชิงพาณิชย์หารายได้ มีที่ด่านจตุโชติบนเส้นทางด่วนรามอินทรา-วงแหวนตะวันออก ทางบริษัทบางจากขอเช่า 5 ปี พัฒนาเป็นสถานีบริการน้ำมัน ร้านค้าและมินิมาร์ต และมีที่สะพานแขวนติดแม่น้ำเจ้าพระยา จะเปิดประมูลเร็ว ๆ นี้

ล่าสุดได้จัดระเบียบรถตู้บริเวณใต้ทางด่วนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้ยุติสัญญาเช่าเดิมเพื่อประมูลหาผู้เช่าใหม่มาปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่และพัฒนาให้เป็นสถานีบริการรถตู้เหมือนสถานี บขส. ภายในจะแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน เช่น ที่นั่งรอ ร้านขายของ อีก 3 เดือนจะสรุปและเปิดประมูลได้ จะให้ 5 ปี คาดว่าใช้เวลาดำเนินการ 12 เดือน

- แนวโน้มการปรับค่าทางด่วน

ยังตอบไม่ได้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้บอร์ดจะตั้งคณะอนุกรรมการมาเจรจาปรับค่าผ่านทางกับบีอีซีแอล ตามสัญญาให้ปรับได้ทุก ๆ 5 ปี ตามค่าดัชนีผู้บริโภค คณะอนุกรรมการฯมีเวลา 6 เดือนในการเจรจาตั้งแต่มีนาคมถึงสิงหาคมนี้ ต้องสรุปก่อนที่จะออกประกาศอัตราใหม่วันที่ 1 กันยายนนี้

- มีโอกาสจะปรับขึ้นมากน้อยแค่ไหน

ไม่น่าจะแตกต่างจากทุกครั้งที่กลายเป็นข้อพิพาทกันมาตลอด เพราะมีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องการปัดเศษทางบีอีซีแอลมองว่าไม่ถึง 5 บาทก็ปัดขึ้นเป็น 5 บาทได้ แต่เรามองว่าต้องปัดลง ซึ่งอัยการสูงสุดเคยตีความไว้ให้เราใช้เป็นแนวทางการเจรจาว่า ต้อง 5 บาทถึงจะปรับขึ้นได้ เราต้องยืนข้างอัยการไม่งั้นไม่มีหลักยึด ตอนนี้ยังพยากรณ์ไม่ได้ รอดูค่าซีพีไอและผลเจรจา ดูแล้วน่าจะขึ้นบ้าง แต่ไม่น่าจะเกิน 5 บาท ตอนนี้อะไรก็แพง ซีพีไออาจจะสูงก็ได้เมื่อถึงเวลานั้น แต่รอฟังนโยบายจากฝ่ายการเมืองด้วย
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #578 เมื่อ: วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2013, 18:16:54 »

'เออีซี'ตีฟองที่ดิน-อสังหาฯภูธรบูมเว่อร์


วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 10:50 น.    กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ    ข่าวหน้า1    -
ราคาที่ดินหัวเมืองเศรษฐกิจทั่วประเทศ"ตีฟอง" ขานรับเออีซีและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม "สัมมา"ชี้ภาคอีสานร้อนแรงสุด มุกดาหารปีเดียวขยับไร่ละ 10-12 ล้านบาท  ขณะที่ขอนแก่นปั่นแพงเว่อร์60-80 ล้านบาทต่อไร่

ผลจากโมเดิร์นเทรดย่างกลุ่มเซ็นทรัล แตกตัวสู่ภูมิภาค แต่ราคาแพงสุดกลับเป็นพัทยาไร่ละ 120 ล้านบาท คนพื้นที่เผยที่ดินแปลงงามตกถึงท้องนักลงทุนจมูกไวเกลี้ยงแล้ว
    จากปัจจัยนโยบายขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี  ส่งผลให้ยักษ์ค้าปลีกกางปีกปักหมุดในหัวเมืองเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องสนับสนุนสนับสนุนการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในภูมิภาคด้วย "ฐานเศรษฐกิจ"ได้สำรวจการตื่นตัวราคาที่ดินที่รับทัพธุรกิจจากส่วนกลางที่เคลื่อนออกสู่ภูมิภาค
++เออีซีปั่นที่ดินอีสานพุ่งเท่าตัว
    นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้ราคาซื้อขายที่ดินในย่านเศรษฐกิจแทบทุกภูมิภาคปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครริมถนนใหญ่ย่านสุขุมวิทตอนต้นทั้งหมด ที่มีการปรับราคาขายสูงถึงหลักล้านบาทต่อตรว.ไม่ต่างจากที่ดินย่านปริมณฑลตามแนวรถไฟฟ้าที่มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ
    เช่นเดียวกับทำเลในส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ราคาซื้อขายปรับขึ้นเป็นเท่าตัว เช่น อุดรธานี อุบลราชธานี มุกดาหาร อย่างมุกดาหารจากเดิมซื้อขายกันไร่ละ 5-9 ล้านบาท ผ่านไป 1 ปี ราคาขยับขึ้นมาอยู่ที่ถึงไร่ละ10-12 ล้านบาท     
    ทั้งนี้การที่ราคาที่ดินแถบอีสานปรับตัวสูงขึ้นเป็นผลจากการเข้าไปลงทุนของโมเดิร์นเทรดขนาดใหญ่อย่าง กลุ่มเซ็นทรัล  ที่ประกาศแผนขยายธุรกิจสู่ภูมิภาค ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีเงินสดอยู่ในมือกว้านซื้อตาม หวังขยับราคาขายต่อให้สูงขึ้น และเมื่อโมเดิร์นเทรดเริ่มมีการก่อสร้าง อีกทั้งกลุ่มอสังหาฯส่วนกลางเริ่มเข้าไปปักหลักมากขึ้น เพื่อรองรับการเปิดเออีซี  ซึ่งการที่ราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัด เป็นสัญญาณที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง ในช่วงระยะแรกนี้อาจไม่อันตรายนัก แต่หากราคายังขึ้นอย่างไม่หยุดในอัตราเร่งแบบเดิมก็ควรต้องหาทางเบรกกันบ้าง
++ขอนแก่นเว่อร์ไร่ละ80ล้าน
    นายวิโรจน์ สฤษฎีชัยกุล รองกรรมการ บริษัท ซีนิท แอสเซท จำกัด ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เก่าแก่ในจ.ขอนแก่น กล่าวว่า วันนี้ราคาที่ดินในตัวเมืองขอนแก่นโดยเฉพาะแนวถนนศรีจันทร์และย่านซีบีดีของจังหวัดไล่ตั้งแต่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่นถึงถนนหน้าเมือง ราคาประเมินที่ดินในบริเวณดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 2 แสนบาทต่อตร.ว. แต่ราคาซื้อขายจริงประมาณ 60-80 ล้านบาทต่อไร่ หรือ 6 -8 แสนบาทต่อตร.ว. และเป็นราคาที่เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในระยะเวลา 2 ปี
    อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินในลักษณะนี้ หลายคนมองว่าอาจจะเกิดฟองสบู่ได้ แต่สำหรับคนในพื้นที่แล้ว มองว่าความต้องการในพื้นที่ยังมีอีกเป็นจำนวนมาก จึงไม่น่าจะเกิดฟองสบู่ได้"
++อุดร-บึงกาฬที่พุ่งไร่ละ20ล้าน
                 ด้านนายสวาท ธีระรัตนนุกูชัย  ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานีเปิดเผยขณะนี้เศรษฐกิจของจังหวัดอุดรธานีกำลังบูมเนื่องจากเป็นศูนย์กลางอาเซียนลุ่มน้ำโขงที่จะเปิดเออีซี  นอกจากนี้มีนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศเข้าไปลงทุนในนครเวียงจันทน์ประเทศลาวกันมากขึ้น ที่สำคัญความเคลื่อนไหว ทัพนักลงทุนจากกรุงเทพมหานคร เข้ามาลงทุนใน ธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะห้างเซ็นทรัล  คอมมิวนิตีมอลล์  ศูนย์วัสดุก่อสร้างขนาด 120ไร่ โฮมฮับ  ดูโฮม  ไทวัสดุ  โกลบัลเฮาส์  โฮมโปร อินเด็กซ์  ซึ่งเกิดขึ้นรองรับการเติบโต
    เช่นเดียวกับนักลงทุนอสังหาฯ  ซึ่งขณะนี้เดินทางเข้ามาพัฒนาที่ดินกันมาก โดยเฉพาะในเขตเทศบาลและ รอบวงแหวน ประกอบด้วย แสนสิริ ศุภาลัย แอล.พี.เอ็น.  ซีพีแลนด์  เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมมีจำนวนมากถึงกว่า 2 หมื่นหน่วย ที่มองว่าจะรองรับลูกค้าต่างชาติที่เข้ามาลงทุนช่วงเออีซี และคนกรุงเทพฯที่เข้ามาซื้อเก็งกำไร โดยราคา อยู่ที่ 1ล้านต้นๆ
    ขณะที่ราคาที่ดินในเขตเทศบาลปัจจุบัน ราคา 10-20 ล้านบาทต่อไร่ จากเดิมราคาเพียงไร่ละ1-2ล้านบาทเท่านั้น ที่สำคัญการปั่นราคาจนสูงลิ่ว เกิดจากนักลงทุนกรุงเทพฯและต่างชาติเข้ามากว้านซื้อในราคาถูกจากนั้นก็โก่งราคาขายเรื่อยมา เป็นต้น
           "ราคาติดลมบนไปแล้วและขณะนี้ราคาที่ดินในเขตเทศบาลเริ่มแพงมากขึ้น ดังนั้นจึงขยับออกไปยังนอกเมืองที่ราคาถูกกว่าซึ่งเป็นทุ่งนา จากราคาไร่ละ 5-6 หมื่นบาท เป็นไร่ละ 2-3 แสนบาท และอนาคตจะเป็นล้านบาทต่อไร่ เช่นเดียวกับที่ดินในจ.บึงกาฬ เขตเทศบาลราคา 10-20 ล้านบาทต่อไร่จากเดิมแทบจะไม่มีค่าอะไร"
++พัทยาไร่ละ120ล้าน 
    นายสุนทร  ธัญญวัฒนกุล ประธานหอการค้าจังหวัดชลบุรี  กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของการซื้อ-ขายที่ดินว่า ล่าสุดมีการซื้อขายที่ดิน 3ไร่ ราคา สูงถึง 285 ล้านบาท  ซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในซอยลึกไม่ติดถนนสายหลัก ที่อำเภอศรีราชาที่ดินติดโรงงานอัมตะราคา ไร่ละ 10ล้านบาท จากที่ผ่านมาไร่ละ 5-6 ล้านบาท  พนัสนิคมราคา 4-5 ล้านบาทจากเดิม ไร่ละ1-2ล้านบาท ขณะที่ บางแสนติดถนนสายหลัก ราคาซื้อขายสูงสุด ไร่ละ 30 ล้านบาท พัทยา ติดชายหาด ราคาซื้อขายสูงสุด กว่า  3แสนบาทต่อตารางวา และมีแนวโน้มสูงกว่านี้ หรือไร่ละ กว่า 120 ล้านบาท  ขณะที่คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรรโรงแรมเกิดขึ้นมากอาทิ แอล.พี.เอ็น. แสนสิริ  บริษัทพัฒนาที่ดินท้องถิ่น  ซึ่งราคาอาคารพาณิชย์มีการปรับตัวสูง มากดูได้จากหน้ามหาวิทยาลัยบูรพาราคาหน่วยละ10-11ล้านบาท
    อย่างไรก็ดีแนวโน้มราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นเกิดจาก การพัฒนาจากส่วนกลางเข้ามา  นอกจากนี้มีใกล้เปิดเออีซี รัฐบาลมีโครงสร้างพื้นฐานมาลง เช่นรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ รถไฟรางคู่ ยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นเชิงพาณิชย์ ท่าเรือแหลมฉบัง ที่สำคัญที่ผ่านมาน้ำไม่ท่วมส่งผลให้ราคาที่ดินในปี  2556 ขยับสูงขึ้น อย่างรวดเร็วเฉลี่ยราคาขยับขึ้น50-100 % หลังจากน้ำท่วม
++แม่สอด-หาดใหญ่ไร่ละ 80ล้าน
     แหล่งข่าวจากสำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลาสาขาหาดใหญ่กล่าวว่าการซื้อขายที่ดินที่หาดใหญ่ ราคาสูงสุด อยู่ที่ตลอดกิมหยง สาย1,2 ,3 ราคาตารางวาละ กว่า 2 แสนบาท หรือกว่า 80 ล้านบาท ต่อไร่ อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่จะไม่ ยอมขายที่ดินเพราะส่วนใหญ่เป็นคนรวย  ซึ่งแตกต่างจากการซื้อขายที่ดินบริเวณด่านชายแดน อำเภอแม่สอด โดยแหล่งข่าวจากสำนักงานที่ดินจังหวัดตาก สาขาแม่สอด ระบุว่าปัจจุบันมีความคึกคักเป็นพิเศษ  โดยเฉพาะบริเวณถนนสายเอเชีย-เมียวดี  ซึ่งเป็นถนนเชื่อมประตูการค้าชายแดนไทย-พม่า บริเวณทางเข้ารีสอร์ตแม่สอดฮิลล์ ราคาสูงสุดตารางวาละ 1.5 แสนบาท และแนวโน้ม จะขยับเป็น2แสนบาทต่อตารางวา
++เชียงใหม่ขายกันไร่ละ60-80ล้าน
     ขณะที่ นายณรงค์ คองประเสริฐ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า อสังหาริมทรัพย์ในจ.เชียงใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว และยังมีดีมานด์ในพื้นที่อยู่เหลืออีกเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาที่ดินขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในถนนสายเศรษฐกิจอย่าง ถนนสายห้วยแก้วและถนนสายถนนนิมมานเหมินทร์มีการปรับขึ้นของราคาที่ดินประมาณ 10-15% ราคาขายต่อตร.ว.ประมาณ 1.5 แสนบาท หากคิดเป็นราคาขายต่อไร่อยู่ที่ประมาณ 60-80 ล้านบาท  ทั้งนี้ เป็นผลมาจากนโยบายโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของภาครัฐ (รถไฟความเร็วสูง) และการเปิดศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา รวมถึงการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินและสายการบินพาณิชย์ที่บินตรงมายังจ.เชียงใหม่เพิ่มมากขึ้น
++เชียงราย-เชียงของ บูม   
           นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ และที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวเช่นกันว่าถ้าวัดระดับความคึกคักแล้วตอนนี้ ชายแดนทางด้านอำเภอแม่สายถือว่าที่ดินบูมมากที่สุด เพราะเป็นเมืองเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวชายแดนหลักของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก รองลงไปเป็นชายแดนทางด้านอำเภอเชียงของ ซึ่งเป็นผลจากการเชื่อมเส้นทางคมนาคมทางบกสาย R3a ด้วยสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4  ส่วนที่อำเภอเชียงแสน แม้ว่าจะเป็นเมืองท่าการค้า แต่ว่ายังไม่บูมเทียบได้กับสองเมืองที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็มีการผุดโครงการใหญ่ๆ อยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน
    นายสงวน ซ้อนกลิ่นสกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย นักธุรกิจในพื้นที่อำเภอเชียงของ เปิดเผยว่า นโยบายว่าจะสร้างเมืองใหม่ขึ้นในโซนริมถนนเชียงของ-เทิง ซึ่งเป็นถนนสายหลักโดยย่านที่ใกล้กับทางเข้าสะพานข้ามแม่น้ำโขงเป็นไฮไลต์รวมทั้งการก่อสร้างโมเดิร์นเทรดขนาดใหญ่ ส่งผลราคาที่ดินปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ 3-10 ล้านบาทแล้วแต่ทำเล
++ที่ดินตกในมือนายทุนเกลี้ยง
    นายวชิระ รัศมีจันทร์ กรรมการผู้จัด บริษัท เค.ที.พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้บริหารโครงการโขงวิวพลาซ่า ที่ดินแปลงใหญ่ติดแม่น้ำโขง ริมถนนเชียงแสน-สามเหลี่ยมทองคำ เปิดเผยว่า เนื่องจากที่ดินที่เชียงแสนบูมมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดูเหมือนว่าอาจจะไม่หวือหวา แต่ก็มีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันตลอดเวลา โดยในปัจจุบัน ราคาซื้อขายกันไร่ละ 3-5 ล้านบาท อย่างไรก็ดีที่ดินส่วนใหญ่เวลานี้อยู่ในมือของนักพัฒนาอสังหาฯรวมทั้งนักลงทุนที่จะมาลงทุนทำโรงแรมหรือว่ารีสอร์ตแทบทั้งหมดแล้ว

 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,817 วันที่   10 - 13  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #579 เมื่อ: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2013, 00:15:42 »



ตม.บี้เถ้าแก่โรงแรมเหนือแจ้งชื่อคนพัก หลังพบสถิติห่วยสุด

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   16 กุมภาพันธ์ 2556 19:07 น.   

   



คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น





   
เชียงราย - ตรวจคนเข้าเมืองตามบี้ผู้ประกอบการโรงแรม-ห้องพักภาคเหนือ แจ้งชื่อลูกค้าต่างชาติป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ หลังพบสถิติห่วยสุดในประเทศ
       
       วันนี้ (16 ก.พ.) พ.ต.อ.สงบ สันอุดร รอง ผบก.ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เป็นประธานเปิดโครงการแจ้งที่พักอาศัยทางอินเทอร์เน็ต ป้องกันภัยอาชญากรรมข้ามชาติ ที่หอประชุมอินทนิล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีผู้ประกอบการห้องพัก โรงแรม และอื่นๆ กว่า 250 คนเข้ารับฟังสถานการณ์การเข้าพักอาศัยของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงภัยของการไม่แจ้งรายชื่อผู้เข้าพักชาวต่างชาติ ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง 2522 มาตรา 38 ที่ระบุให้ผู้ประกอบการต้องแจ้งให้ ตม.ทราบ โดยปัจจุบันมีระบบอินเตอร์เน็ตให้แจ้งได้แล้ว
       
       นายพรหมโชติ ไตรเวช ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า เชียงรายมีโรงแรมและห้องพัก 241 แห่ง มีห้องพักรวม 18,000 ห้อง ปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 450,000 คน และในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เพราะคนพม่าอาจได้รับอนุญาตให้เดินทางผ่านชายแดนเข้ามาลึกกว่าตัวเมืองเชียงราย อีกทั้งไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี เงื่อนไขจะผ่อนปรนลงเรื่อยๆ ขณะที่คนจีนจากยูนนานก็มีโครงการออกหนังสือเดินทางระหว่างประเทศให้คนจีนกว่า 100,000 ฉบับ ทำให้คนกลุ่มนี้จะทะลักเข้ามาอีกมาก เช่นเดียวกับกลุ่มกาหลี อินเดีย ขณะที่ธุรกิจห้องพักในเชียงราย ก็ขยายตัวไปสู่การเป็นโฮมสเตย์มากขึ้น โดยขยายจากชนบทเป็นโฮมสเตย์ในตัวเมืองแล้ว
       
       นายอภิชา ตระสินธ์ นายกสมาคมท่องเที่ยวเชียงราย กล่าวว่า ปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวเข้าเชียงรายประมาณ 2.4 ล้านคน เงินสะพัดประมาณ 14,000 ล้านบาท ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนตอนใต้ ก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เพราะคนจีนที่ยูนานกว่า 1 ล้านคนจากประมาณ 48 ล้านคน มีหนังสือเดินทางแล้ว ทำให้ทะลักข้ามมา อ.เชียงของ ปีละกว่า 10,000 คน
       
       ด้าน พ.ต.อ.สงบกล่าวว่า ปัจจุบันตม.5 ทำหน้าที่บแจ้งชื่อและรายละเอียด หรือ ทร.14 ของผู้เข้าพักชาวต่างชาติจากผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามการประชุมที่ จ.หนองคาย เมื่อเร็วๆนี้มีการแจ้งสถิติการแจ้งจากผู้ประกอบการทั่วประเทศว่ามี 500,000-600,000 ราย ปรากฏว่าพื้นที่ซึ่งแจ้งเจ้าหน้าที่น้อยที่สุด คือ ภาคเหนือ จังหวัดที่มีการแจ้งน้อยที่สุด คือ จ.เชียงราย รองลงมาคือจ.เชียงใหม่
       
       “เราจะเป็นเออีซี จะมีถนนอาร์สามเอ แต่กลับมีการแจ้งการเข้าพักของชาวต่างชาติน้อยที่สุด ดังนั้นจากนี้ไปขอให้ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือ เพราะเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับภาษี แต่จะใช้เพื่องานด้านความมั่นคงเท่านั้น และที่สำคัญยังมีส่วนสำคัญในการช่วยป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ หรือเมื่อเกิดคดีก็สามารถคลี่คลายคดีได้มาก”
       
       พ.ต.อ.สงบกล่าวว่า มีโรงแรมแห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่ ไม่แจ้งชื่อผู้เข้าพัก เมื่อมีการฆาตรกรรมเกิดขึ้นทำให้ที่ตำรวจติดตามตัวคนร้ายได้ยากมาก แต่เมื่อคนร้ายหลบหนีไปพักที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และทางโรงแรมแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ ทำให้ติดตามจับกุมคนร้ายได้ทัน ก่อนที่จะบหนีออกไปทางสนามบินสุวรรณภูมิ ส่วนผู้ประกอบการที่ จ.เชียงใหม่ ก็มีความผิดที่ไม่แจ้ง เสียค่าปรับครั้งละ 1,600 บาท และเมื่อดูสถิติย้อนหลัง ปรากฏว่าไม่แจ้งมาเป็นเวลานานแล้วด้วย
       
       “การแจ้งผู้เข้าพักให้ ตม.ทราบมีผลดี คือ ช่วยให้ความมั่นใจกับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกรณีผู้เข้าพักสร้างปัญหา เช่น ไม่จ่ายเงินแล้วหนีออกจากโรงแรม ป้องกันปัญหาอาชญากรรม และอาชญากรรมข้าม ดังนั้น ตม.จะมีการมาตรการที่เข้มข้นมากขึ้น คือ ตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้ จะตระเวนไปพบปะผู้ประกอบการทุกแห่ง เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ และจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากฝ่าฝืนก็จะเปรียบเทียบปรับ เพราะเรื่องนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก”
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
หน้า: 1 ... 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 [29] 30 31 32 33 34 35 36 37 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!