เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 00:05:50
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  Re: รวบรวมกระทู้การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและโครงการพัฒนาเชียงราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 [24] 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 ... 37 พิมพ์
ผู้เขียน Re: รวบรวมกระทู้การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและโครงการพัฒนาเชียงราย  (อ่าน 440202 ครั้ง)
banta
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 319



« ตอบ #460 เมื่อ: วันที่ 03 พฤษภาคม 2012, 12:27:32 »

http://www.youtube.com/watch?v=YUSffahlIX4&feature=player_embedded

ข่าวขยายถนนเชื่อมR3A เทิง-ดอกคำใต้
IP : บันทึกการเข้า

มาอำเภอขุนตาล เชียงราย มาพักที่ต้นพร้าวรีสอร์ท
ตรงข้าม อบต.ต้า ติดต่อสอบถาม 084-1752845
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #461 เมื่อ: วันที่ 07 พฤษภาคม 2012, 07:55:06 »

กนอ.ปรับบทบาทก้าวสู่'เออีซี'

วันศุกร์ที่ 04 พฤษภาคม 2012

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญและเป็นประตูด่านแรกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ที่นักลงทุนต่างชาติจะเลือกเข้ามาลงทุนในประเทศหรือไม่ ดังนั้น การมุ่งขับเคลื่อนองค์กรให้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เพื่อรองรับกับการลงทุนในมิติใหม่ ภายใต้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงของระบบการค้าโลก จึงถือเป็นภาระหน้าที่ของดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการกนอ.คนใหม่ ที่จะต้องมาสานต่อนโยบายและเตรียมพร้อมในการปรับบทบาทกนอ.ให้ทันกระแสโลก และสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ในปี 2558
++เปิดพื้นที่ชายแดนรับเออีซี
 โดยดร.วีรพงศ์ ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงทิศทางกนอ.ว่าวันนี้กนอ.มีนิคมอยู่ทั่วประเทศ 48 แห่ง เป็นของกนอ.เอง 11 แห่งและเอกชนร่วมดำเนินการ 37 แห่ง มีพื้นที่ขายและให้เช่ารวม 149,619 ไร่ มีพื้นที่พร้อมขายหรือเช่า 82,996 ไร่ ใช้เช่าหรือขายไปแล้ว 67,415 ไร่ มีพื้นที่เหลือขายหรือเช่า 15,517 ไร่ ซึ่ง 7-8 ปี ที่ผ่านมากนอ.ไม่ได้มีการพัฒนาพื้นที่เองขึ้นมาใหม่ แต่จะส่งเสริมให้เอกชนที่มีความคล่องตัวกว่ามาพัฒนาแทน สิ่งที่อยู่ในวิสัยทัศน์ต่อไป กนอ.จะต้องเป็นกลไกของรัฐในการลงทุนสร้านนิคมขึ้นมาตอบสนองนโยบายที่จะมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีขึ้นมาในปี 2558 ซึ่งนอกจากทำเรื่องฐานการผลิตแล้ว กนอ.จะต้องรุกไปสู่ด้านการค้าและบริการได้ หนึ่งในกลุ่มบริการเป้าหมายคือ ด้านการเป็นนิคมบริการด้านโลจิสติกส์ เพื่อตอบสนองการเข้าสู่เออีซี ที่เวลานี้กำหนดไว้ที่เชียงของ จังหวัดเชียงราย และที่พุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งนิคมเชียงของ จะตอบสนองเส้นทางสายอาร์3 เอ ยุทธศาสตร์เหนือใต้ ส่วนเส้นทางการค้าชายแดนบ้านพุน้ำร้อน ตอบสนองยุทธศาสตร์เส้นเศรษฐกิจด้านใต้ ที่วิ่งจากเวียดนามไปจนถึงทวายของพม่า 
 การวางตำแหน่งนิคมบริการจะช่วยเสริมนิคมแม่ ซึ่งเป็นนิคมฐานการผลิตที่อยู่ใน 48 แห่ง ซึ่งนิคมบริการ จะไปเชื่อมโยงนิคมต่างประเทศ เป็นการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลายในอนาคต เมื่อเข้าสู่เออีซีแล้ว ไม่มีกำแพงภาษีมากั้น จะได้เห็นการผลิตต้นน้ำเกิดขึ้นอีกประเทศหนึ่ง และมาต่อยอดกลางน้ำอีกประเทศหนึ่ง และปลายน้ำอีกประเทศหนึ่ง คนที่มีต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่ำที่สุด ก็จะได้เปรียบในการแข่งขันมากที่สุด รัฐบาลจึงมีนโยบายลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศให้ได้ เป็นโจทย์ถึงทำให้มีโลจิสติกส์ปาร์ก มีนิคมขึ้นมาเป็นสถานีกลาง ในการที่จะกองเก็บแปรรูป บรรจุหีบห่อ ขึ้นมาใหม่ เป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ภูมิภาคภายใน 4 ปี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาที่คาดว่าจะใช้พื้นที่แต่ละโครงการประมาณ 500-1,000 ไร่ ใช้เงินลงทุนแห่งละประมาณ 2,000 ล้านบาท  โดยจะเริ่มเข้าพัฒนาพื้นที่ได้ประมาณปีหน้า
++หานิคมใหม่รองรับลงทุน
 ขณะเดียวกัน เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของภาคอุตสาหกรรม เวลานี้นักลงทุนมองไปถึงการเชื่อมโยงกับเออีซี ทำให้กนอ.จำเป็นต้องมองว่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีสะพานเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อเกิดการเคลื่อนย้ายของทุน ไม่มีกำแพงภาษี สิ่งที่จะดึงดูดการเคลื่อนย้ายของทุน ของภาคอุตสาหกรรมได้จะต้องมีพื้นที่รองรับ เพื่อสร้างความได้เปรียบ ซึ่งเวลานี้ได้ของบประมาณจากรัฐบาลเพื่อมาศึกษาพื้นที่ที่เป็นยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนแล้ว ใน 4 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น อุดธานี นครพนม และนครราชสีมา ที่จะเริ่มในปีหน้า ว่าพื้นที่ตรงไหนมีความเหมาะสม และแต่ละพื้นที่จะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทอะไร ซึ่งหากผลการศึกษาแล้วเสร็จ ก็จะเริ่มลงมือในปี 2557 เป็นต้นไป ซึ่งขนาดของแต่ละพื้นที่จะประมาณ 1,000 ไร่ขึ้นไป ซึ่งในส่วนนี้จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1-2 ล้านบาทต่อไร่
 ส่วนการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ กนอ.ก็มีแผนตั้งนิคม ดูแลคลัสเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น คลัสเตอร์ยาง ปาล์ม หรือคลัสเตอร์อาหารทะเล หรือนิคมอาหารฮาลาล ที่ปัตตานี ไม่ได้ทิ้งยังเดินหน้าต่อ เพราะถือเป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคงของประเทศด้วย
++ปิดฉากเซาเทิร์นซีบอร์ด
 ขณะที่การพัฒนาพื้นที่เซาเทิร์นซีบอร์ดนั้น เดิมยุทธศาสตร์ของประเทศ พูดถึงการทำเหล็กต้นน้ำ ทำอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจร เหมือนที่มาบตาพุด วันนี้คงต้อมีการทบทวนการลงทุนอีกครั้ง เพราะได้รับการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่ ทำให้มีปัญหาต่อการดำเนินโครงการควรชะลอไว้ก่อน ขณะเดียวกันมีโครงการพัฒนาพื้นที่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างทวาย เกิดขึ้นแล้ว อาจจะทำให้ประเทศไทยต้องกลับมาปรับบทบาทการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ของประเทศอีกครั้ง เพราะวันนี้อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำถูกกำหนดอยู่ในแผนพัฒนาของทวายด้วย  และบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด(มหาชน) ก็ไปลงทุนซื้อกิจการโรงถลุงเหล็กที่อังกฤษเรียบร้อยแล้ว วันนี้เรื่องปริมาณความต้องการ ของเหล็กต้นน้ำ อาจต้องมาทบทวนกันอีกครั้งว่าเหล็กต้นน้ำจะเกิดขึ้นในไทยหรือไม่ ที่ไหนอย่างไร สถาบันเหล็กกำลังดูเรื่องนี้อยู่ ซึ่งหากจะเกิดในประเทศอาจจะไม่มีพื้นที่รองรับ
++รุกอีโคทาวน์ต่อเนื่อง
 สำหรับการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศหรืออีโคทาวน์นั้น กนอ.มีเป้าชัดเจนภายใน 5 ปีแรก(2553-2557) 15 นิคมทั่วประเทศ จะต้องเข้าสู่การเป็นอีโคทาวน์ มีแผนปฏิบัติการ การดำเนินการตามแผน และใน 5 ปีต่อไป ทุกนิคมทั่วประเทศ จะเข้าสู่ระบบทั้งหมด โดยตั้งแต่ปี 2553 ได้เริ่มดำเนินการมาปีละ 3 นิคม ปี 2554 ดำเนินการ 3 นิคม บวกในพื้นที่มาบตาพุดอีก 5 นิคม ปีนี้ดำเนินการอีก 3 รวมแล้วเป็น 14 นิคม ซึ่งการดำเนินงาน จะทำลักษณะจากโรงงานอุตสาหกรรมออกไปสู่ชุมชน สนับสนุนให้แต่ละโรงงานยกระดับตัวเอง เข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว และมาเชื่อมโยงจัดการกัน เป็นนิคมเชิงนิเวศ มีการใช้วัตถุดิบร่วมกัน ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร การลดการเกิดของเสีย สนับสนุนรีไซเคิล การแชร์พลังงานร่วมกัน มีหลายรูปแบบ
 เสร็จแล้วไปสร้างความสัมพันธ์จากตัวนิคมออกไปสู่ชุมชน อะไรที่นิคมก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ต้องเข้าไปทำ เป็นแผนยกระดับนิคมเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จำแนกออกมา 5 กลุ่ม 22 ข้อ กนอ.ทำมาตั้งแต่ปี 2553 จัดประชุมระดมสมอง จนตกผลึกอะไรคือ 22 ด้านที่ต้องทำ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ซึ่งในปีนี้ได้กำหนด อะไรคือค่าระดับเป้าหมายในการตัดสินว่าผ่านไม่ผ่านการเข้าสู่เป้าหมาย ได้หารือกันและสรุปแนวทางว่า ถ้าพูดถึงโรงแรม ทุกคนจะเข้าใจว่า โรงแรมมี สามดาว สี่ดาว ห้าดาว นิคมก็อาจจะมี ดาว มาใช้กัน มีเกณฑ์ชัดเจนว่า สามดาว สี่ดาว ห้าดาวมีอะไรบ้าง
 ขณะเดียวกันการดำเนินงานมี 22 ด้าน เราไม่ได้บังคับให้ทุกนิคมต้องทำให้ครบ 22 ด้าน เราต้องมาตกลงกันว่าทั้ง 22 ด้าน อะไรคือวิชาเลือกอะไรคือวิชาบังคับ วิชาบังคับทุกคนต้องทำให้ได้ ส่วนวิชาเลือกสามารถเลือกได้กี่วิชา ถึงจะบรรลุ สามดาว สี่ดาว ห้าดาว คือหลักการที่ให้ไปในเดือนกันยายนนี้  จะได้ค่าระดับเป้าหมาย พอได้แล้ว กนอ.จะไปประสานกับบีโอไอ ในการที่จะให้สิทธิประโยชน์สร้างแรงจูงใจ ให้ผู้ประกอบการเข้ามาร่วมโครงการ เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,737   6-9  พฤษภาคม พ.ศ. 2555
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #462 เมื่อ: วันที่ 08 พฤษภาคม 2012, 16:21:41 »

ชาวบ้านเชียงรายฮือต้านนายทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลอีก จี้เปิดผลประชาคม-เชื่อมีพิรุธ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   8 พฤษภาคม 2555

เชียงราย - ชาวบ้านหลายหมู่บ้านในอำเภอแม่จันฮือต้านนายทุนตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลอีก หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม-สุขภาพคนในชุมชน พร้อมจี้อุตสาหกรรมจังหวัดฯ เปิดเอกสารทำประชาคม หลังอ้างกันเฉยประชาคมมีอนุมัติให้สร้างได้ด้วยมติเป็นเอกฉันท์
       
       เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (8 พ.ค.) กลุ่มชาวบ้านจากหมู่บ้านศรียางชุม ม.13 ต.ท่าข้าวเปลือก อ.แม่จัน จ.เชียงราย และหมู่บ้านข้างเคียง รวมประมาณ 100 คน ได้ไปชุมนุมกันที่ศาลากลางจังหวัดฯ เพื่อยื่นหนังสือร้องทุกข์กรณีบริษัทท่าข้าวเปลือก กรีนเพาเวอร์ จำกัด เตรียมจะเข้าไปจัดตั้งเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 ประกอบกิจการผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่หมู่บ้านศรียางชุม พร้อมถือป้ายคัดค้านโครงการและขอให้ทางจังหวัดช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยเหลือ
       
       โดยกลุ่มชาวบ้านระบุว่าไม่ต้องการให้ตั้งโรงงานฯ เพราะเกรงจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชาวบ้าน
       
       ต่อมานายทองชัย ชวลิตพิเชฐ อุตสาหกรรม จ.เชียงราย ได้เข้ารับเรื่องจากชาวบ้าน และแจ้งชาวบ้านว่า กรณีดังกล่าวทางเอกชนได้ยื่นเรื่องขออนุญาตจัดตั้งโรงงานไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมาแล้ว โดยยื่นเรื่องผ่านตั้งแต่ระดับท้องถิ่น อำเภอ จังหวัดไปถึงกระทรวงฯ ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงฯ ก็ยังไม่มีการอนุญาตให้จัดตั้งแต่อย่างใด หรือหากได้รับอนุญาตแล้วก็ยังต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการกิจการพลังงานพิจารณาอีกรอบหนึ่งด้วย ซึ่งทำให้ชาวบ้านเบาใจได้ระดับหนึ่ง
       
       แต่นายทองชัยยังแจ้งชาวบ้านอีกว่า เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือกแจ้งว่าในช่วงที่มีการขออนุญาตได้มีการจัดทำประชาคมเพื่อขอความเห็นจากชาวบ้าน ซึ่งผลปรากฏว่าการขอจัดตั้งผ่านการทำประชาคมไปเรียบร้อยแล้ว
       
       นายทองชัยกล่าวว่า เทศบาลฯ แจ้งว่ามีการทำประชาคมที่ ม.3 จำนวน 161 คน และที่ ม.13 จำนวน 128 คน เมื่อวันที่ 24 และ 25 ตุลาคม 54 ตามลำดับ ผลปรากฏว่ามีมติเป็นเอกฉันท์ให้ทำการก่อสร้างได้ แต่เมื่อชาวบ้านได้เข้ามาร้องเรียนดังกล่าวก็จะได้เร่งจัดทำเป็นหนังสือคัดค้านจากชาวบ้านไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมให้ได้พิจารณาต่อไป
       
       อย่างไรก็ตาม ช่วงที่นายทองชัยแจ้งข้อมูลการทำประชาคมต่อชาวบ้าน ได้ทำให้ชาวบ้านแสดงความไม่พอใจออกมาอย่างเห็นได้ชัด โดยส่วนใหญ่ระบุว่าไม่เคยทำประชาคมเห็นชอบให้มีการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลแต่อย่างใด รวมทั้งเรียกร้องว่า นอกจากทางสำนักงานอุตสาหกรรม จ.เชียงราย จะทำตามหนังสือคัดค้านจากชาวบ้านแล้ว ยังอยากดูเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำประชาคมด้วย ทำให้นายทองชัยแจ้งให้ชาวบ้านให้ย้ายไปรอเอกสารที่สำนักงานอุตสาหกรรม จ.เชียงราย โดยก่อนสลายตัวจากศาลากลางฯ เพื่อไปรอรับเอกสารที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฯ บรรดาแกนนำ เช่น นายสุทัศน์ หะวัน นายประพันธ์ กับปะหะ ฯลฯ ได้ยื่นหนังสือคัดค้านต่อนายทองชัยด้วย
       
       รายงานข่าวแจ้งอีกว่า การก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ จ.เชียงราย เป็นปัญหาที่ยืดเยื้อติดต่อกันมานานหลายปี โดยมีเอกชนพยายามเข้าไปจัดตั้งหลายครั้งในพื้นที่ ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย ต.ผางาม อ.เวียงชัย และ ต.ทรายขาว อ.พาน มาแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมีทั้งกลุ่มชาวบ้าน กลุ่มทุน กลุ่มการเมืองท้องถิ่นต่อต้านอย่างหนัก กระทั่งกระแสต่อต้านปะทุขึ้นที่ ต.ท่าข้าวเปลือกอีกครั้ง

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000056632
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #463 เมื่อ: วันที่ 10 พฤษภาคม 2012, 01:22:49 »

ทอท.เดินหน้าหนุนท่าอากาศยานเชียงรายเป็นฮับการบิน รองรับการเปิดเสรีอาเซียนในปี 58 ด้านคค.อนุมัติงบ 20 ล้าน ขยายจุดกลับลำเครื่องบิน ส่วน ผอ.ท่าอากาศยานฯ คาดปี 55 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานฯแตะล้านคน

9 พ.ค. 55 นายยุธนา จิตรอบอารีย์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงราย เปิดเผยถึงความพร้อมของท่าอากาศยานเชียงรายในการรอบ รับการเปิดเสรีอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 ว่า บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.มีแผนและเป้าหมายผลักดันให้ ท่าอากาศยานเชียงรายเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคอาเซียน เพราะเล็งเห็นถึงศักยภาพและควาพร้อม โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นที่ ของสนามบิน ทั้งรันเวย์ที่มีความยาว 3,000 เมตร กว้าง 45 เมตร รองรับการขึ้นลงของเครื่องบิน เช่น โบอิ้ง 747 ยกเว้นเครื่องแอร์บัส 380 ที่ขึ้นลงได้เฉพาะท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมทั้งขนาดพื้นที่ที่กว่า 3,275 ไร่ มากกกว่าท่าอากาศยานเชียงใหม่และภูเก็ตถึง 1 เท่าตัว


ส่วนอาคารผู้โดยสารก็มีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 100,000 ตารางเมตร มี 2 ชั้นแต่ปัจจุบันเปิดใช้เฉพาะพื้นที่ชั้น 1 หากมีจำนวนผู้ โดยสารเพิ่มขึ้นก็สามารถเปิดใช้พื้นที่ชั้น 2 ได้อีก อย่างไรก็ดีการขึ้นลงของเครื่องบินที่ท่าอากาศยานเชียงรายยังติดขัดปัญหาเรื่อง จุดกลับลำเครื่องบินที่ปลายทางรันเวย์ทั้งสองด้าน ขณะนี้แม้มีจุดกลับลำแต่แคบเกินไป ทอท.ได้เสนอของบประมาณไปแล้วคาดว่าจะได้ รับอนุมัติงบในปี 2557 มาดำเนินการขยายจุดกลับลำที่ปลายรันเวย์ทั้งสองด้าน

นายยุทธนา กล่าวว่า ล่าสุดผู้ว่าราชการจ.เชียงรายเห็นว่าหากรองบประมาณมาขยายในปี 2557 -2558 อาจล่าช้าเกินไป จึง ประสานกับ ส.ส.ในพื้นที่เพื่อช่วยผลักดันงบประมาณผ่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และทำเรื่องถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคมที่เดินทางมาปฎิบัติภาระกิจในจ.เชียงราย เพื่อขอให้จัดสรรงบประมาณมาดำเนินการอีกทางหนึ่ง


ทั้งนี้ล่าสุดทราบว่ากระทรวงคมนาคมได้อนุมัติงบประมาณให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 20 ล้าน บาทเพื่อนำมาขยายจุดกลับลำเครื่องบินที่ปลายรันเวย์ด้านทิศเหนือก่อน ขณะนี้ยังไม่ได้รับแจ้งจากกระทรวงคมนาคมมาเป็นทางการ แต่คาดว่าหาก ทอท.ได้รับแจ้งเรื่องงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจะเริ่มดำเนินการได้ภายใน 3 -4 เดือนนับจากนี้อย่างแน่นอน เพราะถือ เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ส่วนการขยายจุดกลับลำเครื่องบินด้านทิศใต้น่าจะดำเนินการได้ในงบประมาณปีถัดไป


สำหรับแผนการปรับปรุงและพัฒนาท่าอากาศยานเชียงรายเพื่อรองรับการเปิดเออีซีในปี 2558 ที่จะดำเนินการในช่วงต่อไป จะก่อสร้างทางเชื่อมเทียบเครื่องบินเพิ่มเติมอีก 1 จุด จากปัจจุบันมี 2 จุด โดยจะเริ่มดำเนินการได้ภายในต้นปีงบประมาณ 2556 ที่จะ เริ่มในเดือน ตุลาคม 2555 นี้ โดยใช้งบประจำปีของ ทอท.ที่อนุมัติมาให้ดำเนินการประมาณ 25 -30 ล้านบาท

"ปัจจุบันมีเครืองบินขึ้นลงที่ท่าอากาศยานเชียงรายวันละ 11 เที่ยวบิน แบ่งเป็นการบินไทย 3 เที่ยว แอร์เอเชีย 3 เที่ยว นกแอร์ 2 เที่ยว โอเรียนท์ไทย 2 เที่ยว และกานต์แอร์ 1 เที่ยว ส่วนเที่ยวบินระหว่างประเทศมีสายการบินไชน่าอีสเทิร์น แอร์ไลน์ บินเส้นทางคุนหมิง -เชียงราย สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันอังคาร พฤหัส และเสาร์ ส่วนจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการเพิ่มขึ้นทุกปีเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีๆละ 10% โดยปีงบประมาณ 2552 มีจำนวน 600,000 คน ปีงบประมาณ 2553 มีจำนวน 700,000 คน และปีงบประมาณ 2554 มีจำนวน 800,000 คน ส่วนปีงบประมาณ 2555 คาดว่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 900,000 - 1,000,000 คน"นายยุทธนากล่าว


นายยุทธนา กล่าวอีกว่า แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเออีซีในอีก 2 ปีข้างหน้าแต่คาดการณ์ว่าจำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,200,000 - 1,300,000 คน แต่หากมีปัจจัยเรื่องการเปิดเออีซีในปี 2558 มาเสริม เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินได้ว่าผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเท่าใด แต่ฝ่ายเทคนิคของ ทอท.มั่นใจว่าท่าอากาศยานเชียงรายจะรองรับได้เพราะศักยภาพของอาคารผู้โดยสารรองรับได้สูงสุดถึง 1,750,000 คน หาก หรือ เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอีก 30 - 40% ก็ยังรองรับได้


http://www.komchadluek.net
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #464 เมื่อ: วันที่ 10 พฤษภาคม 2012, 21:08:59 »

ทุ่ม1หมื่นล้านปรับโครงสร้างอุตฯไทยรับAEC

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

วันที่ 10 พฤษภาคม 2555
อุตสาหกรรมเร่งปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม รับ AEC วงเงิน 10,000 ล้าน พัฒนานวัตกรรมรอบด้านพร้อมขยายกิจการภาคอุตสาหกรรม 10,000 รายใน 5 ปี


ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนที่จะปรับยุทธศาสตร์โครงสร้างอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นไปตามแผนการสร้างอนาคตประเทศของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)และเพื่อการเปิดรับการเข้าสู่ประชาคมาอาเซียน (AEC)ในปี 2558ซึ่งขณะนี้กำลังวางแผนเพื่อร่างโครงการต่างๆซึ่งคาดว่าจะเสนอวงเงินต่อ กยอ.เพื่อดำเนินการ ประมาณ 10,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมมีเป้าหมายหลัก ในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่ออนาคตประเทศ ใน 3 ด้าน คือ 1.ป้องกันอุบัติภัยจากอุตสาหกรรมทุกด้าน เช่น ด้านน้ำ สารเคมี 2.ปรับโครงสร้างด้านนวัตกรรมด้านยานยนต์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับกานเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ 3.การกำหนดพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ในจังหวัดที่มีการค้า ชายแดน เช่น จังหวัดกาญจนบุรี เขตพื้นที่ อ. เชียงของ จ.เชียงราย จ.อุดรธานี  ขอนแก่น นราธิวาส โดยกำหนดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

นอกจากนี้ ม.ร.ว.พงศ์สวัสดิ์ เชื่อว่าการปรับยุทธศาสตร์โครงสร้างอุตสาหกรรมจะสามารถขยายการดำเนินการภาค อุตสาหกรรมได้ 10,000 ราย ภายใน 5 ปี
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
casika456
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #465 เมื่อ: วันที่ 17 พฤษภาคม 2012, 15:05:30 »

น่าสนใจมากครับ
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #466 เมื่อ: วันที่ 18 พฤษภาคม 2012, 22:21:22 »

เจ้าสัว"เจริญ"เล็งเช่าที่ล้านไร่ในลาวปลูกพืช




ธุรกิจกาแฟของกลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ใน สปป.ลาว ไปได้สวย มั่นใจอีก 5 ปีข้างหน้าผลิตกาแฟพันธุ์อราบิก้าได้ถึง 5,000 ตัน/ปี เดินหน้าลุยสำรวจพื้นที่ริมแม่น้ำโขง 1 ล้านไร่ ก่อนเจรจาขอสัมปทานเช่าปลูกอ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา และข้าว วางแผนลงทุนพม่าหลังจากเปิดประเทศ


 
นายโยทัย จาง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เทอราโกร จำกัด ในกลุ่มบริษัทพรรณธิอร เปิดเผยว่า เทอราโกรได้เข้าไปดำเนินธุรกิจปลูกกาแฟสายพันธุ์อราบิก้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยขอสัมปทานเช่าพื้นที่ขนาด 3,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 18,750 ไร่) เริ่มทำการปลูกมาแล้ว 4 ปี ในปี 2555 นี้เป็นปีแรกที่เริ่มเก็บเกี่ยว

ถึงขณะนี้มีผลผลิต 100 ตัน คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะสามารถผลิตได้ 5 พันตัน/ปี สำหรับการขาย ขายตามราคาตลาดโลกคือ 5 เหรียญสหรัฐ/กก. มีตลาดหลักอยู่ที่ญี่ปุ่น ซึ่งนำเข้ากาแฟถึง 4 แสนตัน/ปี และอีกช่องทางหนึ่งคือส่งเข้าโรงแรมของบริษัทในกลุ่ม

ปัจจัยในการเลือกพื้นที่คือเป็นพื้นที่ที่มีภูมิอากาศเหมาะสม อุณหภูมิเฉลี่ย 20-25 องศาเซลเซียส สภาพดินเป็นดินภูเขาไฟ มีปล่องภูเขาไฟอยู่ตรงกลางพื้นที่ กาแฟอราบิก้าเป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ในพื้นที่ ให้ผลผลิตดีเมื่อเทียบกับเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่พัฒนาโดยชาวฝรั่งเศสตั้งแต่ 100 กว่าปีที่แล้ว ชาวบ้านในพื้นที่ปลูกกาแฟเป็น Coffee Zone เทียบเท่าอินโดนีเซีย และแมนดาริน และยังมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประเทศไทยอีกด้วย

ในอนาคตจะมีการขยายธุรกิจในไทยหรือไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายและภาษี เนื่องจากกาแฟจัดเป็นพืชอ่อนไหว และขณะนี้ไทยยังมีกำแพงภาษีอยู่ รวมทั้งเรื่องพื้นที่ใน สปป.ลาว ได้เปรียบประเทศไทย ตรงที่ลาวมีพื้นที่ราบผืนเดียวขนาดใหญ่ ในขณะที่ไทยเป็นพื้นที่ภูเขา อย่างไรก็ตามหากได้รับการส่งเสริมที่ดี บางพื้นที่ในประเทศไทยก็ยังมีศักยภาพในการผลิตกาแฟอีกมาก เช่น จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูง มีสภาพอากาศเหมาะสม และเป็นจังหวัดชายแดนสามารถติดต่อกับต่างประเทศได้ง่าย

นายโยทัยกล่าวว่า ตลาดกาแฟโลกเติบโตปีละ 3-5% แต่ในอนาคตวัฒนธรรมการดื่มของจีนจะทำให้มีการเติบโตมากขึ้น จากเดิมที่คนจีนดื่มชา ขณะนี้เริ่มมีการดื่มกาแฟมากขึ้น ถ้าคนจีนดื่มกาแฟคนละ 1 แก้ว/วัน จะผลักให้ราคากาแฟและการเติบโตสูงขึ้น นอกจากจีนแล้ว เกาหลีใต้ก็ดื่มกาแฟมากขึ้น จากกระแสของซีรีส์เกาหลีเรื่อง Coffee Prince ทำให้คนเกาหลีรุ่นใหม่มองว่ากาแฟเป็นสินค้าไฮเอนด์

สำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในอีก 3 ปีข้างหน้า มีข้อดีตรงที่คนไทยจะมีโอกาสได้บริโภคกาแฟจากต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งกาแฟของแต่ละพื้นที่จะมีรสชาติแตกต่างกัน

นายโยทัยเปิดเผยอีกว่า นอกจากกาแฟแล้ว กลุ่มบริษัทพรรณธิอรยังเข้าไปลงทุนปลูกพืชชนิดอื่นด้วย ทั้งอ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา รวมทั้งมีการปลูกข้าวเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจาเช่าพื้นที่กับรัฐบาล สปป.ลาว ซึ่งพื้นที่ที่ทำการสำรวจไว้เป็นพื้นที่ริมแม่น้ำโขงประมาณ 1 ล้านไร่ ในจำนวนนี้มีพื้นที่ที่ตกลงกันได้แล้ว ประมาณ 3 หมื่นเฮกตาร์ (ประมาณ 187,500 ไร่) นอกจากใน สปป.ลาวแล้วยังมีการปลูกปาล์ม ตั้งโรงงานแปรรูปปาล์ม และท่าเรือ ในเกาะกง ประเทศกัมพูชาอีกด้วย ส่วนประเทศพม่านั้นอยู่ในระหว่างการวางแผน

สำหรับกลุ่มพรรณธิอร ถือเป็น 1 ใน 5 ธุรกิจหลักเครือทีซีซี ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ด้วยทุนจดทะเบียนถึง 10,000 ล้านบาท ในนามบริษัท พรรณธิอร จำกัด ประเภทกิจการลงทุนและให้กู้ยืมเงิน โดยมีบริษัททีซีซี โฮลดิ้ง ถือหุ้นในบริษัทนี้ 100% โดยนายเจริญได้วางเป้าหมายให้กลุ่มพรรณธิอรเป็น "เรือธง" ในธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตร ต่อยอดพื้นฐานจากการพัฒนาที่ดินของกลุ่มทีซีซีแลนด์ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ภายใต้แนวคิดที่ว่าจากที่ดินที่มีอยู่จำนวนมากของกลุ่ม จะลงทุนในอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าให้กับที่ดินผืนนั้น ๆ ได้อย่างไร

บริษัทพรรณธิอรจึงเกิดขึ้นจากแนวคิดนี้ ปัจจุบันแบ่งสายธุรกิจออกเป็น 4 ธุรกิจย่อย ประกอบไปด้วย 1)ธุรกิจน้ำตาล ในนามบริษัทคริสตอลลา (Cristalla) มีโรงงานน้ำตาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงงานน้ำตาลอุตรดิตถ์ โรงงานน้ำตาลแม่วัง และโรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรี

2)ธุรกิจการเพาะปลูก (Plantation) ในนามบริษัทเทอราโกร 3)ธุรกิจปุ๋ย ในนามบริษัท เทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด มีโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีตรามงกุฎ อยู่ที่ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา และ 4)ธุรกิจอาหาร ในนามบริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน)

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1337312981&grpid=&catid=no&subcatid=0000
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #467 เมื่อ: วันที่ 18 พฤษภาคม 2012, 22:29:39 »

ประชาชนชาว จ.นครราชสีมา สนใจอุดหนุน ลิ้นจี่ ในงาน ช็อป ชิม ชม ลิ้นจี่สดรสอร่อยจากเชียงรายสู่โคราช

ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา สนใจอุดหนุน ลิ้นจี่ ในงาน ช็อป ชิม ชม ลิ้นจี่สดรสอร่อยจากเชียงรายสู่โคราช ระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2555 ณ บริเวณลานสวนเมืองทอง อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
นายเฉลิมศักดิ์ ประสิทธิ์สุวรรณ เกษตรจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่าจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ จังหวัดเชียงรายดำเนินโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาลิ้นจี่ปี 2555 โดยการจัดงานลิ้นจี่สดรสอร่อยจากภาคเหนือปี 2555 ณ บริเวณสวนเมืองทอง ใกล้ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ได้เริ่มจำหน่ายตั้งแต่เวลา 10.00 น. วันนี้ไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคมนี้ โดยจะมีผลผลิตลิ้นจี่คุณภาพดีจากจังหวัดเชียงรายมาจำหน่ายให้กับประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา ในช่วงของการจัดงานไม่น้อยกว่า 50 ตัน ราคาตั้งแต่กิโลกรัมละ20 บาท และยังมีการกระจายผลผลิตลิ้นจี่ไปจำหน่ายในต่างอำเภอทุกอำเภอของจังหวัดนครราชสีมาด้วย
เกษตรจังหวัดนครราชสีมา ยังกล่าวว่า การจัดงานนี้ เนื่องจากสถานการณ์ผลผลิตลิ้นจี่จาก 4 จังหวัดที่เป็นแหล่งผลผลิตที่สำคัญทางภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา และน่าน ผลผลิตปีนี้รวมประมาณ 62,000 ตัน เพิ่มจากปี 2554 ถึง 32,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 93 และผลผลิตจะมากที่สุดช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับผลไม้จากภาคตะวันออกหลายชนิดออกสู่ตลาด อาจส่งผลกระทบทำให้ราคาลิ้นจี่ตกต่ำได้ จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดเชียงรายจึงร่วมกันจัดงานเพื่อบริหารผลผลิตลิ้นจี่ให้สอดคล้องและตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ป้องกันการเกิดปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ในแหล่งที่สำคัญ 4 จังหวัดในงาน นอกจากลิ้นจี่สดรสชาติอร่อย จากเชียงรายแล้ว ยังมีสินค้าผลิตภัณต์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลไม้ประจำท้องถิ่นชนิดอื่นทั้งจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงรายมาจำหน่าย การเจรจาธุรกิจ การจับชิ้นส่วนชิงรางวัลตลอดการจัดงาน ลิ้นจี่สดรสอร่อย จากภาคเหนือปี 2555
ทิวาพร/ข่าว


ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นครราชสีมา(สวท.)   Rewriter : เพ็ญนภา เข็มตรง / สนข.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th


 วันที่ข่าว : 18 พฤษภาคม 2555
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #468 เมื่อ: วันที่ 02 มิถุนายน 2012, 22:56:40 »

ซีพีแลนด์ปักหมุด8โซนอสังหาภูธร ชี้เมืองมหา"ลัยขายดีจัดเต็ม"ขอนแก่น-สารคาม"

updated: 01 มิ.ย. 2555 เวลา 09:55:56 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

นายสุนทร อรุณานนท์ชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจพัฒนาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า แผนธุรกิจปี 2555 จะเป็นอีกปีหนึ่งที่บริษัทมุ่งสู่แผนลงทุนเชิงรุก โดยจะมีการพัฒนาใหม่ 10 โครงการ ครอบคลุมทำเลในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ครบทุกโปรดักต์แนวราบ คอนโดมิเนียม และสำนักงานให้เช่า รวมทั้งแผนเปิดตัวนิคมอุตสาหกรรมที่ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง พื้นที่กว่า 3,300 ไร่ และการเตรียมตัวเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯจะเห็นได้ว่าแผนเปิดตัวนิคมอุตสาหกรรมและเข้าตลาดหุ้น เป็นแผนงานต่อเนื่องที่บริษัท ซี.พี.แลนด์เคยประกาศจะลงทุนก่อนหน้านี้ แต่รอจังหวะเศรษฐกิจเดินไปได้ ระหว่างนี้เป็นการเตรียมความพร้อม เมื่อโอกาสทางธุรกิจมาถึง

ทั้งนี้ ข้อมูล ณ 31 ธ.ค. 2554 ซี.พี.แลนด์มีทรัพย์สินรวม 11,150 ล้านบาท มีหนี้สิน 3,368 ล้านบาท มีส่วนผู้ถือหุ้น 7,782 ล้านบาท มีรายได้ประมาณ 1,500 ล้านบาท กำไรก่อนหักค่าใช้จ่าย หรือกรอสโปรฟิตกว่า 500 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิกว่า 300 ล้านบาท สัดส่วนรายได้มาจากโครงการอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า 75% และโครงการขายขาดอีก 25% ตามแผนสัดส่วนรายได้จะปรับเป็นอย่างละ 50% ภายใน 3 ปีข้างหน้า

ขณะเดียวกัน โครงการนิคมอุตสาหกรรมที่ปลวกแดง จะแบ่งการพัฒนาเป็น 3 เฟส เฟสละ 2 ปี มูลค่าโครงการ 6,500 ล้านบาท ความคืบหน้าอยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ วางแผนให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว หรืออีโคอินดัสเทรียล รองรับอุตสาหกรรมเบาที่ไม่มีมลพิษ คาดว่าขั้นตอนขออีไอเอจะผ่านการพิจารณาอนุมัติภายในสิ้นปีนี้

"แลนด์แบงก์ของซี.พี.แลนด์มีประมาณ 4,000 ไร่ ไม่มีจำนองแม้แต่แปลงเดียว บางแปลงถืออยู่ในมือ 20 ปี ทำให้เมื่อนำมาพัฒนาจะมีศักยภาพในการแข่งขันสูง"

นายสุนทรกล่าวด้วยว่า บริษัทให้ความสนใจกับการพัฒนาคอนโดมิเนียม เพราะมีความต้องการสูงมาก นอกจากแลนด์แบงก์ในมือปีนี้ตั้งงบฯจัดซื้อที่ดินไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ล่าสุดอยู่ระหว่างเจรจา 5 แปลงด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง

ขณะเดียวกัน บริษัทอยู่ระหว่างใช้งบฯลงทุน 300 ล้านบาท ปรับปรุงโรงแรมและศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ หัวมุมสี่แยก อสมท เพื่อรองรับศักยภาพทำเลที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นย่านศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ หรือนิวซีบีดี รองจากย่านสีลม สาทร ตามแผนปรับปรุงตั้งเป้าแล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค.นี้

นายสมเกียรติ เรือนทองดี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนลงทุนที่เป็นไฮไลต์ปีนี้จะเป็นการขับเคลื่อนแนวคิดพัฒนาโครงการในต่างจังหวัด โดยจังหวัดยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทแบ่งเป็น 8 โซนด้วยกัน ประกอบด้วย 1.โซนภาคเหนือตอนบน มี จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง 2.โซนภาคเหนือตอนล่าง มี จ.พิษณุโลก นครสวรรค์

ภาคอีสานมี 4 กลุ่ม คือ 3.โซนภาคอีสาน 1 มี จ.ขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม 4.โซนภาคอีสาน 2 มี จ.นครราชสีมา บุรีรัมย์ 5.โซนภาคอีสาน 3 มี จ.อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ 6.โซนภาคอีสาน 4 มี จ.หนองคาย นครพนม มุกดาหารอีก 2 โซนคือ 7.โซนภาคตะวันออก มี จ.ชลบุรี ระยอง และสุดท้าย 8.โซนภาคใต้ มี จ.นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต

นายสมเกียรติกล่าวถึงรายละเอียดแผนเปิดตัวใหม่ 10 โครงการด้วยว่า บริษัททยอยเปิดตัวดังนี้ 1.คอนโดมิเนียมแบรนด์ "กัลปพฤกษ์" เปิดตัวเฟสแรก 3 อาคาร ทำเลติดถนนมะลิวัลย์ พื้นที่ 3 ไร่ 2.คอนโดฯ "กัลปพฤกษ์ พาร์ค" ทำเลถนนมิตรภาพ บนพื้นที่ 2 ไร่ ทั้ง 2 โครงการนี้มียูนิตรวมกว่า 400 ยูนิต มูลค่าโครงการรวม 650 ล้านบาท

3.สำนักงานให้เช่า "ซี.พี.ทาวเวอร์ ขอนแก่น 2" มูลค่าโครงการประมาณ 200 ล้านบาท 4.คอนโดฯ "กัลปพฤกษ์ มหาสารคาม" ถนนท่าขอนยาง ทำเลใกล้ ม.มหาสารคาม มี 4 อาคาร สูง 8 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 25-30 ตร.ม. เริ่ม 8 แสนบาท มูลค่าโครงการ 370 ล้านบาท เตรียมเปิดตัว 2 มิ.ย.นี้

5.คอนโดฯทำเลพัทยาใต้ ทำเลใกล้ห้างเทสโก้ โลตัส คอนเซ็ปต์มิกซ์ยูส มีทั้งทาวน์เฮาส์และคอนโดฯบนที่ดิน 21-22 ไร่ คอนโดฯมีพื้นที่ใช้สอย 30-35 ตร.ม. ราคาเริ่มต้น 1.2-1.5 ล้านบาท ทาวน์เฮาส์ขนาด 20-24 ตร.ว. ราคาเริ่มต้น 1.5 ล้านบาท เจาะกลุ่มเป้าหมายคนท้องถิ่น

6.โครงการนิคมอุตสาหกรรมที่ปลวกแดง มูลค่า 6,500 ล้านบาท แบ่งพัฒนา 3 เฟส เฟสละ 2 ปี เน้นผู้ประกอบการขนาดกลางและใหญ่ พื้นที่ขายเริ่มต้น 5 ไร่ เฉลี่ยราคาไร่ละ 2.7 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างขออีไอเอ คาดว่าสิ้นปีจะได้ข้อสรุปชัดเจน

ส่วนอีก 4 โครงการ จะเป็นแผนลงทุนในภูมิภาค 8 โซนดังกล่าว โดยจะทยอยเปิดตัวภายในปีนี้ อยู่ระหว่างตัดสินใจว่าจะลงทุนจังหวัดไหน อาทิ อุดรธานี มหาสารคาม นครราชสีมา เป็นต้น

"แผนลงทุนในภูมิภาค 8 โซน จะมีจังหวัดที่เราศึกษาพบว่ามีศักยภาพจำนวน 22 จังหวัด เน้นกลุ่มเป้าหมายระดับกลาง-ล่าง อย่างคอนโดฯกัลปพฤกษ์กับมหาสารคาม พบว่ามีผลตอบรับดีมาก ปิดการขายได้อย่างรวดเร็วภายใน 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน กลุ่มลูกค้าจะเป็นนักศึกษา 60% ผู้ปกครอง 20% อีก 20% มาจากกำลังซื้อจังหวัดข้างเคียง"

นายสมเกียรติกล่าวด้วยว่า บริษัทลงทุนในภูมิภาคมานานแล้ว แต่ปีนี้จะเป็นปีแรกที่รุกลงทุนพัฒนาที่ดินในต่างจังหวัด โดยมีมูลค่าโครงการรวมไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท เป้าหมายคือภายในปี 2558 บริษัทจะเปิดตัวโครงการในต่างจังหวัด มีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท
 
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1338519171&grpid=03&catid=07&subcatid=
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #469 เมื่อ: วันที่ 08 มิถุนายน 2012, 21:10:20 »

ไทย-ลาวปิดตรวจชายแดน 55 ชื่นมื่น ยันเดินหน้ายก “ภูดู่-ผาแก้ว” เป็นด่านถาวร


เชียงราย - กรมกิจการชายแดนทหารของไทย กับกรมชายแดนและแผนที่ลาว ร่วมพิธีปิดงานตรวจชายแดน 55 ชื่นมื่น เห็นพร้อมเดินหน้ายกระดับช่องทางภูดู่-ผาแก้วเป็นด่านถาวรเต็มที่ ขณะที่การค้าผ่านน้ำโขงคึกคักต่อเนื่อง
       
       วันนี้ (8 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมโรงแรมอิมพีเรียล โกลเด้น ไทรแองเกิ้ล สามเหลี่ยมทองคำ บ้านสบรวก ม.1 ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พล.ต.สุรชาติ เหลือพร้อม ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการเพื่อความมั่นคง กรมกิจการชายแดนทหาร (ผอ.สพม.ชด.ทหาร) เป็นประธานร่วมในการปิดการตรวจพื้นที่ร่วมตามแนวชายแดนไทย-ลาว ประจำปี 2555 กับ พ.อ.สีพัน พุดทะวง หัวหน้ากรมชายแดนและแผนที่ สปป.ลาว โดยมีคณะกรรมการทั้งสองฝ่ายเข้าร่วม
       
       โดยพิธีดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ฝ่ายไทย-สปป.ลาว ตรวจพื้นที่ชายแดนร่วมกันระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน 55 ที่ผ่านมา ณ ชายแดนด้านจุดผ่อนปรนภูดู่-ผาแก้ว ระหว่าง อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ กับเมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว รวมทั้งด้าน อ.เชียงแสน กับเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว
       
       ทั้งนี้ ก่อนพิธีปิดมีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมในการตรวจพื้นที่ชายแดนดังกล่าว ซึ่งมีเนื้อหาว่า ทั้งสองฝ่ายได้ตรวจพื้นที่จุดผ่อนปรนภูดู่ จ.อุตรดิตถ์ กับบ้านผาแก้ว สปป.ลาว แล้วพบว่ามีความสงบเรียบร้อยดี และได้เห็นพ้องกันที่จะพัฒนาจุดดังกล่าวให้เป็นจุดผ่านแดนถาวร โดยฝ่ายลาวได้เห็นความพร้อมของไทยทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และการบริหารจัดการ และกำลังเตรียมความพร้อมในฝั่งลาวอยู่
       
       ส่วนการตรวจสอบด้าน อ.เชียงแสน กับเมืองต้นผึ้ง ได้ตรวจเยี่ยมเขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองต้นผึ้งตรงกันข้ามสามเหลี่ยมทองคำฝั่งไทย และศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดในแม่น้ำโขง (ศปปข.) ส่วนหน้าที่ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 รวมทั้งกิจการค้าชายแดนในแม่น้ำโขง และเยี่ยมธุรกิจนำเข้า-ส่งออกพืชผลทางการเกษตรไทย-สปป.ลาว ของบริษัทแม่น้ำโขงสามเหลี่ยมทองคำ หวางฉิ่ง จำกัด พบว่าทุกฝ่ายดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติสุข
       
       พล.ต.สุรชาติกล่าวว่า การตรวจพื้นที่ชายแดนร่วมไทย-สปป.ลาว เป็นไปตามข้อตกลงที่จัดทำขึ้นร่วมกันเป็นประจำปีละ 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้น หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำเสนอถึงความจำเป็น ซึ่งผลการตรวจสอบทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์กันดียิ่งขึ้น และปัญหาที่อาจจะมีก็ไม่เกิดขึ้นเพราะได้ทำความเข้าใจรวมทั้งรับทราบถึงสภาพพื้นที่ต่างๆ ร่วมกัน
       
       ด้าน พ.อ.สีพันกล่าวว่า การตรวจชายแดนร่วมกันมีมานานกว่า 10 ปีแล้ว และในปีนี้ก็คาดว่าการยกระดับจุดผ่อนปรนภูดู่ และผาแก้ว คงจะเป็นด่านสากลโดยเร็ว เพราะมีความพร้อมและทางนายกรัฐมนตรีของไทย และ สปป.ลาว ก็เคยไปดูพื้นที่ร่วมกัน รวมทั้งทำข้อตกลงร่วมกันไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมอยู่แล้ว ส่วนฝั่ง สปป.ลาวก็จะได้พัฒนาพื้นที่ต่อไป
       
       สำหรับชายแดนไทยด้านเมืองต้นผึ้ง-เชียงแสน เชื่อว่าหลังมี ศปปข.ของไทยแล้วจะทำให้การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในแม่น้ำโขงดีขึ้น จากที่เคยเกิดเหตุยิงเรือสินค้าจีน 13 ศพเมื่อเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยจะทำให้กองกำลังทุกฝ่ายทั้ง 4 ชาติสามารถประสานงานกันดีขึ้น
       
       รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ปัจจุบันรัฐบาลไทยและ สปป.ลาว มีข้อตกลงจะพัฒนาจุดผ่อนปรนภูดู่-ผาแก้ว ให้เป็นจุดผ่านแดนถาวร โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณหลายร้อยล้านบาท แต่ฝ่ายไทยจะให้การช่วยเหลือรัฐบาล สปป.ลาว แบ่งการช่วยเหลือเป็นเงินกู้และให้เปล่าในอัตรา 20% และ 80% ตามลำดับ ขณะที่ชายแดนด้าน อ.เชียงแสน คณะฯ ได้สำรวจเขตเศรษฐกิจพิเศษฝั่งลาวพบมีความคืบหน้าไปอย่างมาก ส่วนการเดินเรือสินค้าในแม่น้ำโขงก็มีความคึกคักมากขึ้น แม้จะเป็นฤดูแล้งที่แม่น้ำโขงแห้งและเคยเกิดปัญหาเรือสินค้าจีนถูกปล้น แต่ก็มีเรือสินค้าลาวเพิ่มมากขึ้น โดยตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันมีเรือสินค้าลาวแล่นเข้าออกชายแดนไทยไม่ต่ำกว่า 2,000 เที่ยวแล้ว


http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000070419
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #470 เมื่อ: วันที่ 11 มิถุนายน 2012, 19:37:59 »

เจาะยุทธศาสตร์คมนาคมปี 55-59
วันศุกร์ที่ 08 มิถุนายน 2012 เวลา 15:14 น.    กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ    อสังหา REAL ESTATE    - อสังหาฯ-คมนาคม   
User Rating: / 0
แย่ดีที่สุด
การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมโดยเฉพาะการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศถือเป็นอีกหนึ่งผลงานที่จะพิสูจน์ฝีมือการบริหารของรัฐบาลชุดนี้ว่าสามารถทำได้ตามที่วาดฝันไว้หรือไม่ ล่าสุดได้แต่งตั้งปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ หวังผลักดันการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาคให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
+++4 เดือนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
 นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ (ว่าที่)ปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ ให้สัมภาษณ์พิเศษ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าได้รับมอบหมายจากนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งระบบราง ท่าเทียบเรือ มอเตอร์เวย์ ถึงแม้จะมีระยะเวลาการทำหน้าที่อีกเพียง 4 เดือน
       "ต้องเร่งผลักดันโดยยึดถือการปฏิบัติในกรอบแนวคิดตามแผนยุทธศาสตร์ฯของปี 2555-2559 คาดว่าจะสามารถเพิ่มสัดส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางรถไฟจาก 2% เป็น 5 % และทางน้ำเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 19% อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าต่อ GDP ลง 2% โดยมีกรอบแนวคิดครอบคลุมระบบโลจิสติกส์การขนส่งให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศจากการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ที่กำลังจะเริ่มในปี 2558 นี้"
 +++ลุ้นงบ 1.5 แสนล้านลุย 86 โครงการ
 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีโครงการต่างๆรวมทั้งสิ้น 86 โครงการวงเงินงบประมาณปี 2555-2559 จำนวน 152,038 ล้านบาทแบ่งออกเป็น 3 กลยุทธ์หลัก คือ  1. พัฒนาเครือข่ายโลจิส ติกส์ในประเทศให้เชื่อมโยงอย่างบูรณาการทั้งภายในและสู่ต่างประเทศ  2. สนับสนุนการใช้การขนส่งทางรถไฟและทางน้ำเพื่อลดต้นทุนการขนส่งของประเทศ และ 3. พัฒนาการขนส่งด้านทะเลอันดามันเพื่อนำการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ และรองรับการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศจีน-อาเซียน และอาเซียน-อินเดีย
 นอกจากจะให้ความสำคัญตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ 6 คอร์ริดอร์แล้วยังเร่งพัฒนาประตูการค้าชายแดนต่างๆ  คือ  1.ท่าเทียบเรือเชียงแสนแห่งที่ 2  การก่อสร้างถนนจำนวน 9 สายทางวงเงิน 6,831 ล้านบาท ตั้งงบปี 2556 จำนวน 675 ล้านบาท 2.การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชื่อมไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) และจีน 10,080 ล้านบาท การสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ - เชียงราย 1,552 ล้านบาท สร้างถนน 5 สาย 7,583 ล้านบาท การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 งบ 770 ล้านบาท และโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ 173 ล้านบาท ตั้งวงเงินปี 2556 จำนวน 718 ล้านบาท
             3. ด่านหนองคาย จังหวัดหนองคาย เชื่อมต่อสปป.ลาว 15,498 ล้านบาท มีทั้งโครงการปรับปรุงทางรถไฟ 2 สาย 14,802 ล้านบาท การสร้างสถานีขนส่งสินค้า(CY) ที่หนองคาย  696 ล้านบาท ตั้งงบปี 2556 จำนวน 4,575 ล้านบาท 4.ด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เชื่อมต่อกัมพูชา  5,889 ล้านบาทมีทั้งการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร 3,067 ล้านบาท คือสายทล.356(พนมสารคาม-สระแก้ว) และสายทล.317(จันทบุรี-สระแก้ว) และงานปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยช่วงชุมทางคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ-คลองลึก 2,822 ล้านบาท ตั้งงบปี 2556 จำนวน 1,003 ล้านบาท
           5. ด่านแม่สอด จังหวัดตาก เชื่อมต่อกับเมียนมาร์ 315 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 วงเงิน 15 ล้านบาท และการสร้างสถานีขนส่งสินค้าแม่สอด 300 ล้านบาท ตั้งงบปี 2556 จำนวน 40 ล้านบาท และ 6.ด่านสะเดา จังหวัดสงขลา เชื่อมต่อกับมาเลเซีย  25 ล้านบาท สำหรับการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ช่วงหาดใหญ่-ด่านสะเดา โดยเป็นงบประมาณปี 2555
+++รุกทางน้ำ-ทางรางควบคู่กัน
 ทั้งนี้จำแนกเป็นการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในระยะที่ 3 งบ 30,141 ล้านบาท โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟ  3,167 ล้านบาท การก่อสร้างถนน 6 เส้นทางเชื่อมโยงผ่านทางสัตหีบ บ้านบึง พนมสารคาม และชลบุรี  2,322 ล้านบาท โดยส่วนนี้ตั้งวงเงินงบประมาณปี 2556 จำนวน 1,764 ล้านบาท แบ่งเป็นงบการท่าเรือแห่งประเทศไทย 1,266 ล้านบาท และงบประมาณแผ่นดิน 498 ล้านบาท
 ส่วนการขนส่งสินค้าทางลำน้ำที่อยุธยา 379 ล้านบาท ที่อ่างทอง 1,073 ล้านบาท และก่อสร้างเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อการเดินเรือ 2 แห่ง 14,394 ล้านบาท ตั้งวงเงินปี 2556 ไปดำเนินการ 415 ล้านบาท การขนส่งทางชายฝั่งครอบคลุมจังหวัดชุมพร ตรัง ตราด สมุทรสาคร แหลมฉบัง และระนอง 11,006 ล้านบาท มีทั้งการก่อสร้างท่าเรือชายฝั่ง 6,136 ล้านบาท และสร้างท่าเทียบเรือ A 2,030 ล้านบาท การก่อสร้างถนนสนับสนุนท่าเรือชายฝั่งที่ตราดและระนอง 4,870 ล้านบาท ตั้งงบปี 2556 ไปดำเนินการ 2,017  ล้านบาท
 ทางด้านประตูการขนส่งฝั่งทะเลอันดามัน-สะพานเศรษฐกิจ(แลนด์บริดจ์)  28,199 ล้านบาท มีทั้งการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูล 12,558 ล้านบาท การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 วงเงิน 6,164 ล้านบาท การก่อสร้างถนนสายทล.416 (อ.ปะเหลียน-อ.ทุ่งหว้า-อ.ละงู) 2,518 ล้านบาท และการก่อสร้างทางรถไฟสายจะนะ-หาดใหญ่-ปากบารา 26,379 ล้านบาท ตั้งงบประมาณปี 2556 วงเงิน 2,445 ล้านบาท
 สำหรับการพัฒนาการขนส่งทางรถไฟวงเงิน 73,450 ล้านบาท มีทั้งการก่อสร้างทางคู่ 6 โครงการ 71,351 ล้านบาท การก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่เส้นทางมหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม 42,306 ล้านบาท และการสร้างถนนเชื่อมโยงทางรถไฟ 3 สายทาง 2,098 ล้านบาท โดยตั้งงบปี 2556 ไปดำเนินการ 11,704 ล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,747 10-13  มิถุนายน พ.ศ. 2555
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #471 เมื่อ: วันที่ 18 มิถุนายน 2012, 18:18:47 »


วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7872 ข่าวสดรายวัน


เกาะเส้นทางสู่เออีซี บัวแก้ว+อาเซียนสัญจร

สกู๊ปพิเศษ
จันท์เกษม รุณภัย



การให้ความรู้และความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 (เออีซี) เป็นภารกิจสำคัญยิ่งของกระทรวงการต่างประเทศ



นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศจึงต้องเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนเรื่องนี้เป็นพิเศษ



เมื่อวันที่ 6-7 มิ.ย. จึงเดินทางไปยัง อ.เชียงของ จ.เชียงใหม่ ภายใต้ทัวร์ 'บัวแก้วสัญจร' ควบคู่ไปกับ 'อาเซียนสัญจร' ของกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่โรงแรมดุสิต ไอส์แลนด์ รีสอร์ท



คณะบัวแก้วสัญจรเดินทางไปตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของ 'หน่วยจัดทำหนังสือเดิน ทางเคลื่อนที่' ของกรมการกงสุล ณ ที่ว่าการอำเภอเชียงของ ซึ่งเจ้าหน้าที่ต่างง่วนอยู่กับการให้บริการประชาชนผู้ต้องการทำหนังสือเดิน ทาง หรือพาสปอร์ต ที่มานั่งรอต่อคิวกันยาวเหยียดเป็นจำนวนมาก



รมว.ต่างประเทศยังเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเวทีสัมมนาชุมชน 'การเตรียมความพร้อมก่อนการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ' เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน ว่าควรใช้ชีวิตอย่างไรในต่างแดน และขั้นตอนปฏิบัติโดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาในต่างประเทศ เช่น ถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือละเมิดสิทธิโดยนายจ้าง เนื่องจากที่ผ่านมาคนไทยนิยมเดินทางไปทำงานในต่างประเทศมากขึ้นราว 1-2 ล้านคน โดยเฉพาะภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง



ขณะเดียวกันยังลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ซึ่งจะใช้เป็นหนึ่งในเส้นทางสัญจรหลักในประชาคมอาเซียนตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ระหว่างห้วยทรายไปเชียงของ เชื่อมต่อเชียงราย-คุนหมิงของจีน บนเส้นทาง 'อาร์ 3' รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,026 กิโลเมตร



ตัวสะพานกว้าง 14.70 เมตร 2 ช่องจราจร ตั้งแต่ฝั่งราชอาณาจักรไทย ทอดตัวยาวข้ามลำน้ำโขง 630 เมตร จรดผืนแผ่นดินสปป.ลาว ใช้งบประมาณก่อสร้างราว 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1,500 ล้านบาท โดยประเทศไทยและจีนรับภาระค่าใช้จ่ายร่วมกันในอัตราส่วนร้อยละ 50 เริ่มก่อสร้าง 11 มิ.ย.53 และมีกำหนดเสร็จสิ้น 10 ธ.ค.ปีนี้





อย่างไรก็ดี ความคืบหน้าของโครงการนั้นล่าช้ากว่ากำหนด โดยจากเดิมกำหนดไว้ที่ราวร้อยละ 60 แต่ปัจจุบันคืบหน้าร้อยละ 40 ซึ่งปัญหามาจากการจ่ายเงินล่าช้าให้แก่บริษัทรับเหมาก่อสร้างของจีน ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศจะรับหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับทาง การจีนและหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งแก้ไขโดยด่วน เพราะต้องเร่งก่อสร้างให้เสร็จทันกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้กับทางการลาว คือวันที่ 12 ธ.ค.ปีนี้ ตรงกับฤกษ์ 12/12/2012 ต่อเนื่องจากการเปิดสะพานมิตร ภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน เมื่อ 11 พ.ย.2554 (11/11/2011)



นอกจากนี้ คณะบัวแก้วสัญจรเดินทางไปติดตามโครงการยุวทูตความดีและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่โรงเรียนอนุบาลเชียงของ ซึ่งเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงม.3 ภายใต้คำขวัญ 'องค์กรแห่งการเรียนรู้มุ่งสู่มาตรฐานสากล เปี่ยมล้นคุณธรรม ก้าวนำเทคโนโลยี'



ทางโรงเรียนจัดให้มีการแสดงเกี่ยวกับอาเซียน และเด็กนักเรียนขึ้นกล่าวต้อนรับคณะของรมว.ต่างประเทศ 4 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ จีน และลาว ซึ่งนักเรียนแต่ละคนกล่าวได้ฉะฉานชัดเจน สร้างความประทับใจให้กับนายสุรพงษ์และคณะเป็นอย่างมาก



นายอัครเดช ยมภักดี ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวว่า ครูอาจารย์และนักเรียนมีความตื่นตัว เรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นอย่างมาก และจัดสอนภาษาต่างประเทศด้วยเจ้าของภาษา



ด.ญ.อภิญญา ไชยอลังการ หรือน้องแยม นักเรียนชั้นม.2 ผู้กล่าวต้อนรับนายสุรพงษ์เป็นภาษาอังกฤษ เผยถึงเคล็ดลับการเรียนภาษาต่างประเทศว่า ฝึกฝนต่อเนื่อง และนำมาใช้ในชีวิตทุกวัน ประกอบกับการเรียนกับเจ้าของภาษาซึ่งเป็นชาวฟิลิปปินส์ ทำให้ออกเสียงได้อย่างมั่นใจ



'ตอนนี้กำลังหัดภาษาจีนอยู่ หนูคิดว่าสิ่งสำคัญในการปรับตัวเมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนคือ ภาษาต่างประเทศค่ะ' ด.ญ. อภิญญากล่าวทิ้งท้าย



...สอดคล้องกับสิ่งที่หลายคน 'คิด' แต่ที่สำคัญคือต้องลงมือ 'ทำ'

หน้า 7
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #472 เมื่อ: วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 19:17:25 »

เชียงราย - ชำแหละศักยภาพ “ไทย” ใน AEC พบน่าห่วงสุด เทียบเม็ดต่อเม็ดแล้วมีดีแค่ “ความสะดวกในการลงทุน” ที่ล่าสุดเปิดให้ทุน ตปท.ถือหุ้นในกิจการขนส่งได้ถึง 70% หรือเป็นเจ้าของได้แล้ว ส่วนเรื่องภาษา-ทรัพยากรธรรมชาติ-โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ ตกสำรวจหมด แถมนโยบายค่าแรง 300 บาทต่อวันกระหน่ำซ้ำ ทำ SMEs แบกเพิ่ม 2.7 หมื่นล้าน
       
       วันนี้ (19 มิ.ย.) กรมส่งเสริมการส่งออกและศูนย์เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการสัมมนาแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและย่อม หรือ SMEs ภายใต้ชื่อ “เปิดโลกการค้ายุคใหม่สู่ AEC ฉบับ SMEs” ที่ห้องเรือนตุง โรงแรมอิมพิเรียล ริเวอร์เฮ้าส์ อ.เมืองเชียงราย
       
       โดยมีนายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิด และมีวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิร่วมขึ้นเวทีหลายคน ได้แก่ นายกรกฎ ผดุงจิตต์ รองเลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, Mr.Craig Anczelowitz นักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับสากล, ดร.ชลฤทธิ์ เหลืองจินดา ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบมหาวิทยาลัยศิลปากร, ดร.สุเทพ นิ่มสาย ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
       
       นายกรกฎกล่าวว่า ไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) 10 ประเทศในปี 2558 เป็นต้นไป ซึ่งต่อไปการมองภาคเศรษฐกิจต้องมองเป็นองค์รวมไม่ใช่แค่ประเทศที่มีประชากร 64 ล้านคนอีกต่อไป แต่คือกลุ่มประเทศที่มีประชากรรวมกันกว่า 580 ล้านคน
       
       นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมอีก 6 ประเทศ คือ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งจะทำให้มีประชากรรวมกันกว่า 3,300 ล้านคน หรือเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรโลกทีเดียว
       
       กรณีของอีก 6 ประเทศก็สำคัญเช่นกัน เพราะทันทีที่กลุ่ม AEC ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2558 ไทยก็จะลดภาษีกับออสเตรเลียเหลือ 0% ในสินค้าถึง 98% ของสินค้าทั้งหมด และค่อยๆ ทำกับประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย ในปี 2561 เป็นต้น
       
       นายกรกฎกล่าวอีกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วภาคเอกชนต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ขณะที่ภาครัฐจะเป็นฝ่ายสนับสนุน โดยเฉพาะด้านการออกกฎหมายรองรับภายในประเทศและเจรจากับต่างประเทศ เช่น ข้อตกลงอาเซียน-จีน ที่ให้รถบรรทุกเข้าออกผ่าน อ.เชียงของ จ.เชียงราย ไปจีนตอนใต้ ซึ่งมีการค้าขายกันเป็นประจำได้ 500 คัน ซึ่งก็มีเพียงข้อตกลงกัน แต่สิ่งอำนวยความสะดวกและกฎระเบียบอื่นๆ ยังต้องดำเนินการต่อไป ทั้งเรื่องการประกันภัยและอื่นๆ เป็นต้น
       
       รวมทั้งยังต้องดูเรื่องภาษีระหว่างประเทศ เพราะการลดภาษีเป็น 0% หรือ FTA (Free Trade Area) แท้ที่จริงเป็นเสรีหลอกตา เพราะยังมีเงื่อนไขอีกมากก่อนที่จะเอื้อให้สามารถทำการค้าการลงทุนให้สะดวก โดยเฉพาะแต่ละประเทศยังมีสินค้าอ่อนไหวสูง เช่น อินโดนีเซียกำหนดให้ข้าวเป็นสินค้าอ่อนไหวสูง จึงให้ลดภาษีจากเดิม 30% เป็น 20% มาเลเซียลดจาก 40% เป็น 20% ส่วนฟิลิปปินส์ อยู่ระหว่างเจรจากับไทย หลังจากเดิมกำหนดจัดเก็บ 40% และกำหนดโควตานำเข้า 350,000 ตัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มสินค้าอ่อนไหวของแต่ละประเทศอีกเป็นจำนวนมากด้วย
       
       นายกรกฎกล่าวต่อว่า ด้านมาตรฐานสินค้าก็สำคัญ เช่น ปัจจุบันพบว่าผลิตภัณฑ์ตำรับยาพื้นบ้านของอินโดนีเซียจดทะเบียนสินค้ามากกว่าของไทยเสียอีก และถ้าเปิดตลาดกันก็จะมีสินค้าในทะเบียนของอินโดนีเซียอยู่เต็ม จึงจำเป็นที่ภาครัฐของไทยจะต้องเร่งดำเนินการ ไม่เช่นนั้นจะแย่หนัก
       
       ด้านลอจิสติกส์ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมประเทศไทยเปิดให้คนไทยถือหุ้นในธุรกิจลอจิสติกส์ได้ 51% และต่างชาติ 49% แต่ปัจจุบันจะเปลี่ยนให้ต่างชาติถือหุ้นได้กว่า 70% ซึ่งตามหลักก็คือ เป็นเจ้าของธุรกิจที่ทำธุรกรรมต่างๆ ได้นั่นเอง ดังนั้น ลอจิสติกส์จึงเป็นธุรกิจของอาเซียนลำดับแรกๆ ไปแล้ว
       
       “ส่วนอาชีพที่เกรงกันว่าจะเปิดเสรีกันหมดทั้ง AEC นั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะแท้ที่จริงเปิดเสรีแค่ 7 อาชีพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ และนักบัญชี ซึ่งการจะทำงานข้ามประเทศก็ต้องมีการสอบกันด้วย โดยเฉพาะเรื่องภาษา และกรณีของไทยก็อาจจะยากขึ้นมาหน่อยเพราะต้องสอบได้ภาษาไทยด้วย" นายกรกฎ กล่าว
       
       เขายังระบุถึงศักยภาพของแต่ละประเทศใน AEC ว่า ประเทศไทยถือว่าน่าเป็นห่วงและต้องปรับตัวยกใหญ่ เพราะเมื่อเทียบหลายๆ เรื่องถือว่าด้อยกว่าทุกประเทศ เช่น ภาษาที่ใช้สื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ พบว่า สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน มีศักยภาพมากที่สุด, ทรัพยากรพบว่า พม่ามีมากที่สุด, เทคโนโลยี สิงคโปร์มีมากที่สุด โครงสร้างพื้นฐาน สิงคโปร์ มาเลเซีย มีศักยภาพมากที่สุด, อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา มีมากที่สุด, ขนาดตลาดในประเทศ พบว่าฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มีมากที่สุด, ต้นทุนการส่งออก พบว่าสิงคโปร์ และมาเลเซียมีมากที่สุด
       
       ขณะที่ไทย มีเพียงความสะดวกในการตั้งธุรกิจเท่านั้นที่มีมาก แต่ก็อยู่ในระดับเดียวกับสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนความสะดวกในสินเชื่อและ SMEs ก็ยังสู้ประเทศอื่นๆ ไม่ได้เช่นกัน
       รองเลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวด้วยว่า ยังมีอีกหลายเรื่องที่จะต้องศึกษาใน AEC ซึ่งที่ผ่านมาหลายฝ่ายอาจจะยังไม่รู้ เช่น ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดในอาเซียนคือภาษาบาซา โดยใช้มากที่สุดในอินโดนีเซียที่มีประชากร 280 ล้านคน มาเลเซีย 40 ล้านคน และยังใช้ในสิงคโปร์ บรูไน และภาคใต้ของไทย ปัจจุบันประเทศเวียดนามเริ่มให้เรียนภาษานี้กันแล้ว
       
       ส่วนการค้าการลงทุนก็พบว่าเริ่มเห็นผลบ้างแล้ว โดยพบว่ากลุ่มทุนของมาเลเซียเข้าไปลงทุนผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอในประเทศกัมพูชา โดยนำเข้าวัตถุดิบจากไทย หรือจีน และนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออก เพราะที่กัมพูชามีต้นทุนค่าแรงต่ำแค่วันละ 2 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 80 บาท ส่วนไทยกลับเพิ่มค่าแรงเป็นวันละ 300 บาทเสียอีก ซึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากนโยบายนี้คือกลุ่ม SMEs เพราะค่าแรงที่เพิ่มขึ้น 36,000 ล้านบาท กลุ่ม SMEs ต้องจ่ายถึง 27,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นของกลุ่มทุนใหญ่

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000075001
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #473 เมื่อ: วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 20:02:01 »

จีนตั้งกงสุลย่อยในเชียงราย



นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า ภายในปีนี้กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ พร้อมจะเข้ามาตั้งสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงราย ภายในศาลากลางจังหวัดเชียงราย โดยจะให้บริการหนังสือเดินทาง, การรับรองสัญชาติ และการแปลเอกสาร ถือว่าเป็นการดำเนินการแบบครงวงจรแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นสัญญานในการยกระดับหัวเมืองชายแดน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เนื่องจากจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการเชื่อมโยงกับพม่า, สปป.ลาว และเชื่อมต่อไปยังสาธารรัฐประชาชนจีน อีกทั้งมีความพร้อมจะยกระดับเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในปี 2558

นอกจากนั้น ทางสถานกงสุลใหญ่เชียงใหม่ จะมาตั้งสาขาที่จังหวัดเชียงรายภายในปีนี้เช่นกัน โดยจะมาทำการออกวีซ่าเข้าสาธารณรัฐประชาชนจีน และเข้ามาดูแลประชาชนจีนที่เข้ามาปักหลักทำธุรกิจในชายแดนของจังหวัดเชียงรายมากขึ้น อีกทั้งภายในเดือนมิถุนายน 2556 สะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) จะก่อสร้างเสร็จพร้อมใช้งานเชื่อมโยงระบบคมนาคมทางบกได้ ซึ่งปัจจุบันจังหวัดเชียงรายทำการค้ากับจีนผ่านทางสปป.ลาว และพม่าอยู่แล้ว อีกทั้งขณะนี้ทางรัฐบาลพม่าได้อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่เมืองลาได้ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2555 ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองต้าล่อ เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ก็จะทำให้การเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าได้รับความสะดวกมากขึ้น

สำหรับความพร้อมของท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายนั้น สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้ เช่น โบอิ้ง 747 และโบอิ้ง 777 โดยขณะนี้ได้รับงบประมาณอีก 40 ล้านบาท มาดำเนินการเพิ่มพื้นที่สำหรับการกลับลำตัวเครื่องบินตรงปลายทางรันเวย์ทั้งสองด้าน จากเดิมจะมีเพียงด้านเดียวเท่านั้น และล่าลุด ได้ทำการออกแบบเสร็จแล้วคาดว่าจะมีการก่อสร้างเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2555 โดยปัจจุบันมีเที่ยวบินภายในประเทศให้บริการประมาณ 2-3 สายการบิน และมีชาเตอร์ไฟลท์จากคุณหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งปริมาณผู้โดยสารยังมีค่อนข้างน้อย แต่เชื่อว่าหลังจากนี้ไปจากปัจจัยหลายๆ ด้านจะกระตุ้นให้มีการขึ้นลงของอากาศยานในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงปริมาณผู้โดยสารมากขึ้น

นายชวลิต สุธรรมวงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายมีประตูหน้าด่านเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน 3 จุดด้วยคือ คือ อำเภอเชียงของ, อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย ปัจจุบันสามารถเดินทางผ่านทางน้ำโขง และรถยนต์ไปยังประเทศพม่า, สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อย่างสะดวก อีกทั้งเมื่อมีการอำนวยความสะดวกในการทำพาสปอร์ต และการออกวีซ่าไปสาธารณรัฐประชาชนจีนในจังหวัดเชียงราย โดยไม่ต้องเดินทางไปยื่นเอกสารที่จังหวัดเชียงใหม่ จะทำให้การเดินทางเชื่อมโยงระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านในกรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ที่สำคัญ จะเป็นการรองรับการหลั่งไหลของชาวจีนเดินทางมายังจังหวัดเชียงราย ก่อนเข้าสู่จังหวัดชั้นในของประเทศไทย และการเพิ่มสัดส่วนของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ต้องการไปเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านจังหวัดเชียงราย โดยขณะนี้จะเห็นได้ว่ามีกลุ่มทุนจีนได้เข้ามาปักหลักทำการค้าตามแนวชายแดนของจังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มค้าพืชผักผลไม้ และกลุ่มโลจิสติกส์ หรือแม้แต่การเข้าไปลงทุนตามแนวตะเข็บชายแดนของสปป.ลาวก็มีบรรยากาศที่คึกคัก และทางสปป.ลาวกำลังสร้างสนามบินที่เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว รวมถึงกลุ่มทุนจีนได้สร้างถนนเลียบน้ำโขงไปยังเมืองสิงห์ เพื่อเชื่อมต่อไปยังเขตปกครองสิบสองปันนา ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งต่อไปเชื่อว่ามูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีนที่จังหวัดเชียงรายจะมีการขยายตัวสูงขึ้น

http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=637860
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #474 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2012, 19:09:55 »

พะเยา - การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเวทีสรุปผลศึกษาโครงการรถไฟ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” มูลค่า 6 หมื่นล้าน ฟุ้งทำทางคู่ราง 1 เมตร เชื่อมโครงข่ายเชื่อมเพื่อนบ้านได้หมด รวมถึงรถไฟจีน คนเมืองกว๊านฯ กระทุ้งรัฐ อย่าให้ฝันค้าง หลังเริ่มคิดกันตั้งแต่ปี 2503 แต่จนถึงวันนี้ยังแจ้งเกิดไม่ได้
       
       รายงานข่าวจากจังหวัดพะเยาแจ้งว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กระทรวงคมนาคม ได้จัดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) โครงการเพื่อศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมฯ ของโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ณ ห้องพุดตาน โรงแรมเกทเวย์ อ.เมืองพะเยา โดยมีนายกาจพล เอิบสุขสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธาน และประชาชน ราชการที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน
       
       นายกาจพลกล่าวว่า เส้นทางรถไฟสายนี้หากสามารถเกิดขึ้นได้จริง ผลประโยชน์จะเกิดแก่ชาวพะเยาโดยตรง เพราะมีเส้นทางการขนส่งสินค้าและขนส่งผู้โดยสารได้สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดพะเยาเป็นพื้นที่การเกษตร สินค้าเกษตรจะถูกลำเลียงขนส่งด้วยต้นทุนขนส่งที่ถูกลงอย่างมาก นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสของชาวพะเยา ที่รัฐบาลได้อนุมัติยกฐานะบ้านฮวก อ.ภูซาง จ.พะเยา จากจุดผ่อนปรนเป็นด่านถาวร ในอนาคตจะพัฒนาเป็นด่านสากล
       
       ดังนั้น เมื่อมีเส้นทางรถไฟผ่านจะทำให้เชื่อมเป็นโครงข่ายของเส้นทางคมนาคมสะดวกมากขึ้น จะเดินทางไปทางใดก็รวดเร็ว
       
       “หากรัฐบาลเห็นด้วยและสนับสนุนงบประมาณคิดว่าจะเกิดการดำเนินการขึ้นจริง และเป็นประโยชน์แก่ชาวพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงแน่นอน”
       
       ด้านนายนันทชัย หวังเลี้ยงกลาง หัวหน้างานโครงการและแผนงาน ตัวแทน ร.ฟ.ท. กล่าวว่า โครงการนี้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2503 มีการสำรวจเบื้องต้น ศึกษาความเหมาะสมเรื่อยมา และในปี 2546 ได้มีการศึกษาทบทวนความเหมาะสมของโครงการจนได้ข้อสรุป คือ การเชื่อมต่อกับรถไฟจีนที่ลงมาทางมณฑลหยุนหนัน ที่เชียงของ โดยมีระยะทางประมาณ 325 กิโลเมตร เป็นระบบรางคู่ รางแบบเมเตอร์เกจด์ กว้าง 1 เมตร แนวเขตทางกว้าง 50-60 เมตร มีสถานีใหญ่ 3 แห่ง คือ แพร่ พะเยา และเชียงราย สถานีเล็ก 9 แห่ง จุดตัดทางรถไฟกับถนนทางบกที่มีความอ่อนไหว มีการออกแบบเป็นสะพานรถไฟยกข้ามถนน หรือสะพานรถยนต์ยกข้ามทางรถไฟ คาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 60,000 ล้านบาท ระยะเวลาในการก่อสร้าง 4 ปี
       
       “ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะเริ่มสร้างปี 2556 จนสามารถเปิดใช้ได้ในปี 2560”
       
       นายนัทชัยบอกว่า เส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีการวางระบบรางคู่ขนาดรางเป็นขนาดเดียวกับในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา ฯลฯ ในภูมิภาคที่อยู่ใกล้ชิดกัน เพื่อเชื่อมเป็นโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศ และแน่นอนอนาคตจะรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างดี
       
       ด้านนายหัสนัย แก้วกุล ประธานหอการค้าจังหวัดพะเยา กล่าวว่า รถไฟมีข้อดีร้อยละ 95 แต่ข้อเสียร้อยละ 5 คืออาจจะมีเสียงดังรบกวนประชาชนในชุมชนต่างๆ ที่มีเส้นทางรถไฟผ่าน แต่ในทางที่เป็นประโยชน์ถึงร้อยละ 95 นั้น ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการคมนาคมขนส่ง ลอจิสติกส์ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเป็นอย่างมาก ขอให้รัฐบาลได้ตระหนักความสำคัญและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้มีการก่อสร้างทางรถไฟดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ในจังหวัดภาคเหนือตอนบนที่จะมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
       
       “ที่สำคัญผมมองว่ารถไฟทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าลดลงถึงกว่าร้อยละ 50 เพราะมีมาตรฐานค่าขนส่ง ความรวดเร็วของระบบขนส่งที่ชัดเจน” นายหัสนัยกล่าว

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000076275
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #475 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2012, 19:15:04 »

ชียงราย - พาณิชย์โหมเปิดเวทีปลุกคนไทยเตรียมพร้อมรับ AEC และ FTA เผยวันนี้ยังมีเพียงทุนใหญ่ได้ประโยชน์ ขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อยยังไม่สนใจเท่าที่ควร รับคนไทยน่าห่วงเรื่องภาษามากที่สุด
       
       วันนี้ (21 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมโรงแรมโพธิ์วดล รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.เชียงราย นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ ผอ.สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “ส่งออกสดใสภายใต้ FTA : อาเซียน จีน และเปรู” และมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมการค้าต่างประเทศร่วมให้ข้อมูล โดยมีภาคธุรกิจ นักศึกษา และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก
       
       นายพิทักษ์ระบุว่า ปัจจุบันไทยยังมีการส่งออกสินค้าปีละกว่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 60-70% ของรายได้ประชาชาติ ตลาดใหญ่ที่สุดคือ กลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งมีประชากรกว่า 580 ล้านคน ขณะที่กลุ่มอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC (ASEAN Economic Community) ตั้งแต่ปี 2558 หรืออีกเพียง 3 ปีนับจากนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก รวมทั้งอาเซียนยังจัดทำเขตการค้ากับกลุ่มประเทศอื่นๆ 6 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ด้วย
       
       โดยเฉพาะกับจีนมีข้อตกลงที่มีผลไปแล้วตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลทำให้มีการลดภาษีเป็น 0% มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 55 ที่ผ่านมาสินค้าที่ส่งออกจากประเทศสมาชิกอาเซียนกว่า 200 รายการ เช่น ยานยนต์และอุปกรณ์ เครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ฯลฯ มีการยกเว้นภาษีเป็น 0% แล้ว
       
       นอกจากอาเซียนบวก 6 ดังกล่าวแล้ว อาเซียนยังทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศเปรูในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2554 ทำให้สินค้าไทยได้ลดภาษีเป็น 0% ทันที 3,400 รายการ ซึ่งสามารถใช้เปรูเป็นประตูสู่กลุ่มประเทศอื่นๆ ในทวีปดังกล่าวอีกด้วย
       
       อย่างไรก็ตาม ประโยชน์จากข้อตกลงต่างๆ จะได้รับมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจ และขั้นตอนการใช้สิทธิทางการค้า ดังนั้น กรมการค้าต่างประเทศจึงเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสัมมนาในครั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลแก่ภาคเอกชนและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยจะทำหน้าที่เป็นโค้ชหรือผู้ให้การช่วยเหลือภาคเอกชนที่จะส่งออกสินค้า เพราะเมื่อเอกชนผลิตสินค้าออกมาแล้วก็อาจจะมองไม่ออกว่าสินค้าใดเหมาะสมกับประเทศในกลุ่มข้อตกลง และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไรภายใต้ 3 หน่วยงานที่ทำงานร่วมกันของกระทรวงพาณิชย์ คือ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก และกรมการค้าต่างประเทศดังกล่าว
       
       นายพิทักษ์กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีการส่งเสริมกลุ่มประชาชนไปแล้วหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มสับปะรดนางแล ซึ่งสามารถส่งเสริมสินค้าที่ได้คุณภาพและส่งออกไปถึงประเทศญี่ปุ่น กลุ่มลิ้นจี่ จ.พะเยา เป็นต้น
       
       ด้านนางสุภาวดี ไชยานุกุลกิตติ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญพิเศษ สำนักงานสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ข้อตกลงที่ใกล้ตัวคนไทยมากที่สุดในปัจจุบันคือ AEC เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านของไทย แต่จากข้อมูลจากหลายฝ่ายรวมทั้งสื่อมวลชนทำให้ทราบว่าผู้ที่มีความเข้าใจยังคงเป็นบรรษัทข้ามชาติรายใหญ่ๆ แต่ประชาชนหรือผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไปยังต้องปรับตัวยกใหญ่ จึงไม่น่าแปลกใจที่ในช่วงนี้จะมีหน่วยงานองค์กรต่างๆ จัดการประชุมสัมมนาเรื่อง AEC กันอย่างต่อเนื่อง
       
       “ที่สำคัญข้อมูลจากหลายฝ่ายที่พบและน่าเป็นห่วงยังคงเป็นเรื่องภาษา”
       
       นางสุภาวดีบอกอีกว่า หลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีการลงนามข้อตกลงกันไปแล้วว่าให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ปรากฏว่าคนไทยมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นอันดับท้ายๆ ของอาเซียน น้อยกว่าสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และ สปป.ลาว ผลการศึกษายังพบว่า นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านเมื่อเรียนจบแล้วอยากจะเข้ามาทำงานในประเทศไทยด้วย ทำให้มีการเรียนภาษาไทยกันยกใหญ่ รวมทั้งได้ติดตามสื่อโทรทัศน์ของไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนกลุ่มนี้ได้ 3 ภาษา คือ ภาษาถิ่นของตัวเอง ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ดังนั้นประเทศไทยเราจึงต้องปรับตัวให้มากขึ้น
       
       นางสุภาวดีกล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องการค้าการลงทุนแล้วหน่วยงานต่างๆ ถือว่ามีความพร้อมในการให้บริการภาคธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องความรู้และข้อมูลต่างๆ เช่น กรณีภาษี 0% ใน AEC ยังยกเว้นสินค้าอ่อนไหวมาก เช่น ข้าว น้ำตาล ฯลฯ แต่จะใช้การเจรจาระหว่างสองประเทศที่เป็นคู่ค้ากัน โดยไทยจะเสียเปรียบมากที่สุดเพราะเคยส่งออกสินค้าหลายอย่างไปประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะน้ำตาลไปอินโดนีเซีย แต่อินโดนีเซียกำหนดเป็นสินค้าอ่อนไหวมาก จึงตกลงให้นำเข้าได้ปีละ 5.5 แสนตัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสินค้าอ่อนไหวแต่ก็ถือว่าลดภาษีลงมากจนไม่เกิน 5% แล้ว
       
       รายงานข่าวแจ้งอีกว่า การสัมมนายังจัดให้มีการให้ความรู้เรื่อง FTA อาเซียน-จีน : โอกาสการค้าในตลาดจีน, เพิ่มโอกาสของสินค้าไทยในตลาดเปรูด้วยสิทธิ FTA, อภิปรายสารพันปัญหาที่พบบ่อย และกองทุน FTA ก่อนจะมีการจัดคลินิกไขข้อข้องใจการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #476 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2012, 19:33:36 »

เมกะโปรอืด (เจ็กต์) บุญช่วย ค้ายาดี


กระจกไร้เงา 21 June 2555 - 00:00

    กระทรวงคมนาคมถือว่าเป็นกระทรวงขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจ็กต์) และมีงบประมาณการลงทุนมูลค่าแต่ละโครงการค่อนข้างสูง สำหรับในปี 2555 นี้  กระทรวงคมนาคมมีโครงการที่จะต้องเดินหน้าเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ด้านการขนส่งทางบก จะดำเนินโครงการจัดซื้อรถโดยสาร NGV จำนวน  3,183 คัน ใช้ ด้านการขนส่งทางน้ำ โดยกรมเจ้าท่ามีโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล ระยะที่ 1 ลงทุน 12,434 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน่าน 2 แห่ง ที่อำเภอพยุหคี
รี  จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี วงเงิน 14,442 ล้านบาท
     ด้านการขนส่งทางอากาศ เช่น การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจาก 45 ล้านคน/ปี  เป็น 60 ล้านคน/ปี ใช้งบลงทุน 62,503 ล้านบาท, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารเป็น 12.5 ล้านคน/ปี ใช้งบ 5,791 ล้านบาท

    ด้าน การขนส่งทางราง โดยเฉพาะการพัฒนารถไฟฟ้า 10 สายทาง ซึ่งรัฐบาลประกาศว่า ภายในปี 2557 จะต้องมีการประกวดราคาแล้วเสร็จทุกโครงการ ไม่ว่าจะเป็น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่)  สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สายสีแดง (บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน/บางซื่อ-หัวลำโพง), (รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต) สายสีม่วง (บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ) สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี)

    นอกจากนี้ยังมีระบบรางอื่นๆ อีก เช่น โครงการระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการของบประมาณเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบ 4 เส้นทาง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2560 ประกอบด้วย  สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา, สายกรุงเทพฯ-ระยอง, สายกรุงเทพฯ-หัวหิน, โครงการรถไฟฟ้าสายใหม่เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2 โครงการ ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2556 คือ โครงการการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย และโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบัวใหญ่-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม
    รวมถึงยังมีแผนการก่อสร้างรถไฟทางคู่อีก 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 873  กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1  โครงการ คือ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และอีก 2 โครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบ ระยะทาง 352 กิโลเมตร คือ ช่วงชุมทางจิระ-ขอนแก่น และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ในปี 2555 ส่วนที่เหลืออีก 3  โครงการ ระยะทาง 415 กิโลเมตรนั้น ประกอบด้วย เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ, มาบกะเบา-ชุมทางจิระและนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน อยู่ระหว่างของบเพื่อศึกษารายละเอียด
    ทั้งนี้ โครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหนึ่งในโครงการของรัฐบาล โดยเฉพาะรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ได้ประกาศเป็นนโยบายเดินหน้าเต็มที่ นับตั้งแต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2554  เป็นต้นมา จนถึงวันนี้ 21 มิถุนายน 2555 ก็กว่า 10 เดือนเข้าไปแล้ว ยังไม่เห็นโครงการไหนจะเดินหน้าคืบเลยสักนิดเดียว ไม่รู้ว่าเวลาที่มีกว่า 10  เดือนนั้น บรรดาท่าน ส.ส.ผู้ทรงเกียรติและท่านรัฐมนตรีทั้งหลายเอาเวลาไปทำอะไรหมด ขนาดเปลี่ยนคนบริหารกระทรวงคมนาคมคนใหม่จากเดิมที่เป็น พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต นั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มาเป็น นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ แทน โครงการต่างๆ  ก็ยังเหมือนเดิม อยู่นิ่ง โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่  แม้กระทั่งรถไฟความเร็วสูง ที่รัฐบาลประกาศว่าภายในปี 2555 ได้เห็นการลงนามแน่ แต่ก็ยังเงียบ

ดูง่ายๆ แค่โครงการรถไฟฟ้าต่างๆ เช่น สายสีม่วง หลังน้ำลดโครงการยิ่งล่าช้าไปอีก เพราะติดปัญหาขาดแคลนแรงงาน, สายสีแดง ทั้ง 2 ส่วน ส่วนแรกบางซื่อ-ตลิ่งชัน งานโยธาเสร็จเรียบร้อย แต่ยังวิ่งไม่ได้ต้องใช้รถไฟธรรมดาวิ่งให้บริการก่อน เนื่องจากระบบอาณัติสัญญาณสำหรับรถไฟฟ้าจะติดตั้งและเปิดให้บริการเดินรถพร้อมกับส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-รังสิต คาดว่าจะใช้เวลาอีก 4 ปี จึงจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการระบบรถไฟฟ้าได้สมบูรณ์ ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กม. ล่าช้ามากว่า 1 ปีแล้ว เพราะติดขัดปัญหาการเปิดซองราคาสัญญาที่ 1 หรืองานก่อสร้างงานโยธา สถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง พบว่ากลุ่มกิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้เสนอราคาต่ำสุดเสนอราคาที่ต่อรองแล้วเหลือ 31,170 ล้านบาท ขณะที่กรอบวงเงินของ  ร.ฟ.ท.อยู่ที่ 27,344 ล้านบาท ซึ่งตามระเบียบการประกวดราคาของไทยไม่สามารถดำเนินการได้
ยังมีสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพ-ท่าพระ-บางแค สีเขียว 2 สาย ทั้งหมอชิต-สะพานใหม่-และแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่กำลังก่อสร้างโครงการอยู่ แต่ก็อืดเป็นเรือเกลือ และยังมีอีกสารพัดสีที่รัฐบาลคุยนักคุยหนาว่าจะเดินหน้าก่อสร้างได้ในปี 2555 นี้แน่ ก็ยังไม่คืบ ส่วนโครงการอื่นไม่ต้องพูดถึง อยู่อย่างไรก็อย่างนั้น 
ยังไม่รวมถึงบรรดาราคาของกินของใช้ที่ปรับตัวพุ่งกระฉูด แต่รัฐบาลก็ยังไม่สน ที่เห็นว่าสนใจและเร่งผลักดันแบบดันทุรังให้เดินหน้าไปโดยไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม หลับหูหลับตาผลักดันให้เดินหน้าเร็วยิ่งกว่ารถไฟชินคันเซ็น ก็น่าจะเป็นการเร่งแก้กฎหมายนั้นกฎหมายนี้ ทั้งนิรโทษกรรม พ.ร.บ.ปรองดอง เท่านั้น.

http://www.thaipost.net/news/210612/58497
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #477 เมื่อ: วันที่ 23 มิถุนายน 2012, 18:10:36 »

นายณรงค์ คองประเสริฐ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่กล่าวว่า ตลาดพม่ากำลังเป็นที่สนใจและจับตามองของประเทศต่าง ๆ ในการเตรียมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ขณะที่พม่ามีชายแดนติดกับเชียงใหม่ 227 กิโลเมตร และพม่านั้นมีความนิยมสินค้าไทย ทั้งสินค้าอุปโภค บริโภค เกษตรแปรรูป อย่างไรก็ตาม SMEs ของไทยและภาคเหนือมีจุดอ่อนคือ ภาษาในการสื่อสาร และขาดความรู้เรื่องการตลาด ซึ่งจะต้องพัฒนาให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้
 
 
ด้วยจังหวะและโอกาสดังกล่าวทำให้ขณะนี้ภาคธุรกิจในเชียงใหม่กำลังเร่งผลักดันให้มีการเปิดจุดผ่อนปรนชายแดนกิ่วผาวอก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นแหล่งค้าชายแดนเช่นเดียวกับแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยคาดการณ์จุดผ่อนปรนชายแดนกิ่วผาวอกน่าจะมีมูลค่าการค้าหมื่นถึง 5 หมื่นล้านบาท เพราะระบบโลจิสติกส์ของเชียงใหม่ที่วางไว้รองรับมีความได้เปรียบกว่าพื้นที่อื่น

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1340437669&grpid=03&catid=00&subcatid=0000
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #478 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2012, 19:14:22 »

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ตั้งเป้านักท่องเที่ยวเดินทางเข้าเชียงราย 4 ล้านคน ก่อนเปิดเออีซี ปี 2558

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ระบุ ตั้งเป้าผลักดันนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าเชียงราย 4 ล้านคน ก่อนเปิดเออีซีปี 2558
นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จุดแข็งของจังหวัดเชียงรายในการเปิด เออีซี ปี 58 ที่มีความแตงต่างจากจังหวัดอื่นคือ การเป็นประตูเชื่อมต่อของ 3 ประเทศ คือ พม่า ลาวและจีนตอนใต้(ยูนาน) ซึ่งถือเป็นยุทธ์ศาสตร์สำคัญที่จะเชื่อมต่อเดินทางไปยังประเทศต่างๆในอาเซียน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเขมรตอนใต้ (ญวน) ซึ่งนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางต้องผ่านเชียงราย โดยใช้ถนน R3A และ R3B ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการดึงคนและสินค้าบริการเข้าประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าเชียงรายเฉลี่ยปีละ 2 ล้านคน สร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่ปีละ 50,000 ล้านบาท ส่วนรายได้รองมาจากการเกษตร และการค้าชายแดน อย่างไรก็ตาม จะกระตุ้นนักท่องท่องเที่ยวให้เกิดการเดินทางเพิ่มเป็น 4 ล้านคน ช่วงก่อนเปิด เออีซี ซึ่งจะทำให้เพิ่มเม็ดเงินทางการท่องเที่ยวเป็น 2 เท่า ขณะที่สัดส่วนนักท่องเที่ยวคนไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางมาเชียงรายแบ่งเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 นายธานินทร์ กล่าวอีกว่า การเปิด AEC ปี 2558 หากมีการเชื่อมต่อเส้นทางกับตอนใต้ของมณฑลจีนยูนาน ซึ่งมีประชากรกว่า 200 ล้านคน จะสามารถผลักดันให้เกิดการเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวจีน เตรียมประสานงานกงศุลใหญ่ของจีนเข้ามาเปิดสำนักงานทำวีซ่าที่จังหวัดเชียงรายด้วย
    
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : สุภาภรณ์ สุขันทอง / สวท.   Rewriter : คณิต จินดาวรรณ / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th


 วันที่ข่าว : 25 มิถุนายน 2555
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #479 เมื่อ: วันที่ 29 มิถุนายน 2012, 22:29:35 »

ตลาด CLMV : โอกาสส่งออกไทยใน AEC … คาดปี 2555 เติบโตโดดเด่นถึง 20%


วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2012 เวลา 16:18 น.    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย    ข่าวรายวัน    - ข่าวใน
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "ตลาด CLMV : โอกาสส่งออกไทยใน AEC … คาดปี 2555 เติบโตโดดเด่นถึง 20%"ระบุว่า  ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโรโซน ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรปแล้วนั้น ภูมิภาคอาเซียนจึงเป็นความหวังสำคัญของธุรกิจไทยในการขยายฐานตลาดสินค้า ซึ่งไม่เพียงแต่เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในระยะสั้นจากการพึ่งพาตลาดหลักเดิมอย่างกลุ่มประเทศ G-3 อันประกอบไปด้วย สหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่นเท่านั้น แต่การวางแผนการตลาดสำหรับภูมิภาคอาเซียนยังนับเป็นกลยุทธ์สำคัญที่หลายธุรกิจกำลังเตรียมการเพื่อรองรับโอกาสจากการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจ (Business Landscape) ของไทย ที่จะสลายเส้นแบ่งพรมแดนการตลาดในขอบเขตของประเทศ มาเป็นการมองตลาดในระดับภูมิภาคอาเซียนในฐานะตลาดร่วมตลาดเดียว (Single Market)
 
จุดสนใจของธุรกิจไทย ณ เวลานี้กำลังพุ่งเป้าหมายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ ที่มีผืนแผ่นดินเชื่อมต่อกับไทย หรือที่เรียกกันว่ากลุ่ม CLMV ได้แก่ กัมพูชา (Cambodia)
สปป.ลาว (Laos) พม่า (Myanmar) และเวียดนาม (Vietnam) ซึ่งจากข้อมูลตามฐานศุลกากรในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 นี้ การส่งออกของไทยไป CLMV มีการเติบโตโดดเด่นถึงร้อยละ 16.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การส่งออกโดยรวมหดตัวร้อยละ 1.5 และการส่งออกไปยังยูโรโซนหดตัวถึงร้อยละ 11.8 นอกจากนี้ การเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องของตลาด CLMV ยังหนุนให้สัดส่วนตลาด CLMV ขึ้นแซงยูโรโซนมาอยู่ที่ร้อยละ 7.8 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 (จากร้อยละ 6.8 ในปี 2554) ในขณะที่สัดส่วนของตลาดยูโรโซนลดต่ำลงมาเป็นร้อยละ 6.8 (จากร้อยละ 7.3 ในปี 2554) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าช่วยชดเชยผลกระทบจากความอ่อนแอลงของตลาดยูโรโซนไว้ได้ระดับหนึ่ง
 
ตลาดประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มนี้มีความน่าสนใจเนื่องจากผู้บริโภคมีความนิยมต่อสินค้าไทย โดยมองว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และผู้บริโภคมีการรับรู้ต่อตราสินค้าของไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะใน 3 ประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับไทยโดยตรง หรือ CLM คือ กัมพูชา สปป.ลาว และพม่า 
ความต้องการสินค้าไทยมีหลากหลาย ตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ รวมไปจนถึงสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกลการเกษตรและเครื่องจักรอุตสาหกรรม
 
ถ้าพิจารณาเป็นรายประเทศ ตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555) คือเวียดนาม ตามมาด้วยกัมพูชา สปป.ลาว และพม่า แต่หากมองถึงอัตราการขยายตัว ตลาดที่เติบโตสูงที่สุดในปีนี้ได้แก่
• กัมพูชา ขยายตัวร้อยละ 51.8 แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปและทองคำ (ที่ยังไม่ขึ้นรูป) ออกไปเป็นมูลค่าสูงมาก อย่างไรก็ดี การส่งออกไปยังกัมพูชาที่ไม่รวมน้ำมันสำเร็จรูปและทองคำก็ยังขยายตัวสูงร้อยละ 44.8
• สปป.ลาว ขยายตัวร้อยละ 45.0 แม้ สปป.ลาว มีประชากรน้อยที่สุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน หรือเพียงประมาณ 6.4 ล้านคน แต่ สปป.ลาว มีความต้องการสินค้าจากไทยสูงเนื่องจากสินค้าหลายชนิดไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศ
• พม่า ขยายตัวร้อยละ 15.6 แม้ปัจจุบันยังมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่น แต่การเปิดประเทศของพม่าเป็นก้าวย่างที่น่าจะก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับธุรกิจไทยที่สนใจขยายตลาดไปยังพม่า ซึ่งมีประชากรกว่า 60 ล้านคน ที่จะมีกำลังซื้อสูงขึ้น และมีแนวโน้มที่เห็นการลงทุนจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้าไปยังพม่าอีกจำนวนมาก
• สำหรับการส่งออกไปยังเวียดนามหดตัวลงร้อยละ 8.4 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากอุทกภัยในไทย ซึ่งอุตสาหกรรมในเวียดนามส่วนหนึ่งพึ่งพาวัตถุดิบและชิ้นส่วนจากไทย อีกทั้งมีผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจเวียดนามเอง จากทั้งปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ และผลกระทบจากเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเวียดนามเป็นประเทศที่พึ่งพาตลาดส่งออกในยูโรโซนสูงประมาณร้อยละ 13 ของการส่งออกรวม
 ทั้งนี้ หากไม่นับรวมเวียดนาม ซึ่งการส่งออกหดตัวในช่วง 5 เดือนแรกนั้น การส่งออกไปยังเพื่อนบ้าน 3 ประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย หรือ CLM ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 37.2
 

การส่งออกของไทยไปยัง CLMV รายประเทศ


การส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน CLMV ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกทางชายแดนเป็นหลัก ยกเว้นเวียดนามที่ไม่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ช่องทางการส่งออกหลักจึงเป็นการส่งออกทางทะเล สำหรับการส่งออกไปยังแต่ละประเทศ CLMV มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

พม่า

การส่งออกของไทยไปยังพม่าส่วนใหญ่เป็นการส่งออกผ่านชายแดนเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 75 ของการส่งออกรวมจากไทยไปพม่า โดยช่องทางการส่งออกที่สำคัญคือ การส่งออกทางชายแดนจังหวัดตาก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 50 ของการส่งออกชายแดนไทย-พม่า  ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของไทยไปพม่าที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค รวมถึงสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ  ก็มีการขยายตัวโดดเด่น (ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 การส่งออกเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของไทยไปพม่ามีอัตราขยายตัวถึงกว่า 3 เท่าตัวจากช่วงเดียวกันในปีก่อน)  ทั้งนี้เป็นอานิสงส์จากการเร่งพัฒนาโครงสร้างและสาธารณูปโภคพื้นฐานในประเทศพม่า โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ที่พม่าจะเป็นเจ้าภาพในปี 2556 ณ นครเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า ผนวกกับการเปิดประเทศและพัฒนาการทางการเมืองของพม่าที่มีทิศทางดีขึ้นเป็นลำดับ ยังเป็นแม่เหล็กดึงดูดความสนใจเข้ามาลงทุนและเดินทางมาท่องเที่ยวในพม่ามากขึ้น ซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนให้กิจกรรมเศรษฐกิจในพม่าคึกคัก และเป็นโอกาสขยายการส่งออกสินค้าไทยรองรับความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
 

สปป.ลาว
 การส่งออกสินค้าของไทยไป สปป.ลาว เป็นการส่งออกผ่านชายแดนเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 98 ของการส่งออกไป สปป.ลาว โดยรวม  นับเป็นสัดส่วนสูงสุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านของไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะด่านชายแดนระหว่างไทยกับ สปป.ลาว มีความเชื่อมโยงและเข้าถึงพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของ สปป.ลาว โดยตรง ทำให้สินค้าไทยค่อนข้างเข้าถึงตลาดผู้บริโภคใน สปป.ลาว ได้ง่าย  สำหรับช่องทางการส่งออกสำคัญคือ จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นช่องทางส่งออกสำคัญราวร้อยละ 57 ของการส่งออกทางชายแดนไทย-สปป.ลาว รองลงมาคือ มุกดาหาร อุบลราชธานี และเชียงราย โดยสินค้าสำคัญที่ไทยส่งไป สปป.ลาว ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่อง และสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้างที่เติบโตรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน สปป.ลาว  ทั้งนี้ แม้ประชากร สปป.ลาว ส่วนใหญ่ยังมีกำลังซื้อไม่สูงนัก แต่มีพฤติกรรมการบริโภคที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับคนไทยทำให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักคุ้นเคยและได้รับการยอมรับในตลาด สปป.ลาว เป็นอย่างดี  ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รับการถ่ายทอดพฤติกรรมการบริโภคของไทยผ่านสื่อโทรทัศน์ด้วยและการเดินทางผ่านชายแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว เป็นไปโดยสะดวกและคล่องตัว


กัมพูชา
 การส่งออกของไทยไปกัมพูชามีสัดส่วนการส่งออกผ่านชายแดนราวร้อยละ 57 ของการส่งออกไปกัมพูชาโดยรวม อย่างไรก็ดี แนวโน้มการส่งออกของไทยโดยรวมของไปกัมพูชามีทิศทางเติบโตดี โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 การส่งออกโดยรวมของไทยไปกัมพูชาขยายตัวถึงร้อยละ 51.8 (YoY) ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวสูงสุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน CLMV ทั้งนี้ การเชื่อมโยงช่องทางการส่งออกทางชายแดนที่สำคัญของไทยไปกัมพูชา คือ จังหวัดสระแก้ว ราวร้อยละ 60 ของการส่งออกทางชายแดนไทยไปกัมพูชา เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีชายแดนเป็นแนวยาวถึง 165 กิโลเมตร ช่วยให้สินค้าไทยมีโอกาสเข้าถึงตลาดกัมพูชาผ่านจังหวัดบันเตียเมียนเจย ซึ่งเป็นจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญแห่งหนึ่งของกัมพูชา รองลงมาคือจังหวัดตราดและจันทบุรีที่มีพรมแดนติดกับจังหวัดพระตะบองและจังหวัดเกาะกงซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการขยายตัวของกัมพูชาเช่นกัน


เวียดนาม
 การส่งออกของไทยไปเวียดนามค่อนข้างต่างจากการส่งออกไปประเทศ  CLM  ทั้งในแง่ช่องทางการส่งออกที่เป็นการส่งออกทางทะเลเป็นหลัก มีการส่งออกผ่านแดนค่อนข้างน้อย  รวมทั้งความแตกต่างในแง่กลุ่มสินค้าซึ่งสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ค่อนข้างกระจุกตัวในกลุ่มสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลางเพื่อใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรม  ส่วนหนึ่งเนื่องจากเวียดนามค่อนข้างมีการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและรองรับความต้องการในประเทศที่เข้มข้นกว่าประเทศ CLM  ทั้งนี้ ตลาดเวียดนามนับเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการขยายการส่งออกสินค้าไทย  เนื่องจากชาวเวียดนามเริ่มมีกำลังซื้อสูงขึ้น  มีความเป็นเมืองที่กระจายตัวมากขึ้น  จึงนับเป็นโอกาสสำหรับสินค้าไทยซึ่งค่อนข้างเป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพและตราสินค้า อย่างไรก็ดี พฤติกรรมผู้บริโภคชาวเวียดนามค่อนข้างหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละโซนพื้นที่ ผู้ส่งออกไทยจึงควรศึกษาและวางกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาดอย่างเหมาะสม


โดยสรุป ตลาด CLMV เป็นตลาดที่มีอนาคตค่อนข้างสดใสสำหรับธุรกิจไทยในการรุกเปิดตลาดและขยายช่องทางกระจายสินค้าให้กว้างขวางขึ้น โดยอาศัยปัจจัยสนับสนุนหลานด้าน อาทิ
 ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่มีพรมแดนเชื่อมต่อกันทางบก ผ่านเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจภูมิภาค (Economic Corridors) ที่ปัจจุบันมีความสะดวกยิ่งขึ้น และน่าจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเปิดประตูการค้าชายแดนเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต 
 การเปิดเสรีมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดย CLMV มีกำหนดที่จะลดภาษีศุลกากรลงเป็น 0% ในปี 2558 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเริ่มต้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยนอกจากการเปิดตลาดเสรีในด้านสินค้าแล้ว อาเซียน 10 ประเทศมีเป้าหมายที่จะลดมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีลง (Non-Tariff Barriers) รวมทั้งเปิดเสรีมากขึ้นในสาขาการบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะ และการเคลื่อนย้ายเงินทุน
 รายได้ประชากรในประเทศเพื่อนบ้านขยายตัวสูง ขณะที่การเติบโตของธุรกิจบริการในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การท่องเที่ยว จะทำให้ความต้องการสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น
 จากโอกาสทางการตลาดดังกล่าว ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกไปยัง CLMV อาจขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 20 ในปี 2555 มีมูลค่าประมาณ 18,700 ล้านดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 570,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ช่วยให้การส่งออกของไทยโดยรวมในปีนี้อาจขยายตัวในระดับประมาณร้อยละ 10 (กรอบคาดการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 7-15) ท่ามกลางความยืดเยื้อของวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน
 

ทั้งนี้ ภายใต้กรอบประมาณการปัจจุบัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนน่าจะประสบภาวะถดถอย (โดยอัตราการขยายตัวอยู่ในช่วงหดตัวร้อยละ 0.8 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.2) อย่างไรก็ดี หากปัญหาในยูโรโซนลุกลามถึงขั้นนำไปสู่วิกฤตการณ์เศรษฐกิจและการเงินอย่างรุนแรง จนฉุดให้ภาพรวมการส่งออกของไทยอาจถลำลงสู่แดนติดลบได้นั้น (ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดขึ้น) สำหรับตลาดส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน พม่า สปป.ลาว และกัมพูชา (CLM) คาดว่าจะยังสามารถรักษาการขยายตัวเป็นบวกได้ แม้จะเป็นอัตราที่ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระบุไว้ข้างต้น เนื่องจากความต้องการสินค้าจากไทยของประเทศกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่นำไปใช้เพื่อการบริโภคในประเทศ และตอบสนองโครงการลงทุนระยะยาว
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
หน้า: 1 ... 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 [24] 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 ... 37 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!