เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 00:10:55
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  Re: รวบรวมกระทู้การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและโครงการพัฒนาเชียงราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 [34] 35 36 37 พิมพ์
ผู้เขียน Re: รวบรวมกระทู้การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและโครงการพัฒนาเชียงราย  (อ่าน 439971 ครั้ง)
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #660 เมื่อ: วันที่ 31 ธันวาคม 2013, 09:25:24 »

ชียงราย - เรือสินค้าจีนกลับสู่น้ำโขง ขนสินค้าจากไทยเข้าจีนตอนใต้คึกคัก แต่เลือกขึ้นฝั่งพม่า นำสินค้าเข้าสิบสองปันนาผ่านชายแดนรุ่ยลี่-มูเซ หนีมาตรการตรวจเข้มของท่าเรือ-กองเรือลาดตระเวนจีน
       
       ช่วงวันหยุดยาวส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2557 นี้ พบว่าการค้าชายแดนด้านท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสนแห่งที่ 2 มีความคึกคักมากเป็นพิเศษ บรรดาเรือสินค้าจีนที่เคยลดจำนวนลงหลังเกิดเหตุการณ์ปล้นเรือจีน 2 ลำ และฆ่าลูกเรือกว่า 13 ศพเมื่อเดือน ต.ค. 2554 กลับมารับขนส่งสินค้ากันอย่างคึกคัก
       
       ผู้ประกอบการค้าชายแดนที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ระบุว่า หลังเหตุการณ์รุนแรงเมื่อปลายปี 2554 ทำให้เรือสินค้าจีนมีปริมาณลดลง และมีเรือสินค้าสัญชาติ สปป.ลาวหันมาให้บริการแทน แต่ก็ให้บริการตามเส้นทางสั้นๆ และมีระวางบรรทุกน้อยกว่า 100 ตัน แต่ช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ 2557 นี้พบว่าเรือสินค้าจีนที่มีระวางบรรทุกตั้งแต่ 159-450 ตัน ต่างมาจอดเรียงรายรอรับสินค้าขาออกที่ท่าเรือ อ.เชียงแสน และมีรายงานว่าสินค้าที่พวกเขานำกลับไปจะไม่เดินทางไปยังเมืองท่ากวนเหล่ยของจีนโดยตรง แต่จะนำขึ้นฝั่งที่ท่าเรือเมืองกวนเหล่ยของพม่าแทนกว่า 80-90% จนทำให้การขนส่งสินค้าที่ท่าเรือกวนเหล่ยซบเซาลงถนัดตา
       
       เนื่องจากท่าเรือสินค้าจีน โดยเฉพาะท่าเรือกวนเหล่ยห่างจาก อ.เชียงแสนไปทางทิศเหนือประมาณ 300 กิโลเมตร และเป็นเมืองท่าหน้าด่านของจีน รวมทั้งการลาดตระเวนที่เข้มงวดของทางการจีน ร่วมกับพม่าและ สปป.ลาว ทำให้เรือบรรทุกสินค้าทั้งสินค้าไทย-สินค้าผ่านแดน ต่างพากันขนสินค้าจากท่าเรือเชียงแสนไปขึ้นฝั่งที่ท่าเรือเมืองสบหรวย ประเทศพม่า ห่างจาก อ.เชียงแสน ประมาณ 200 เมตร เพื่อหันไปใช้เส้นทางทางบกผ่านพม่า ก่อนเข้าสู่มณฑลยูนนาน จีนตอนใต้ แทน
       
       “ผู้ประกอบการไม่อยากเสียเวลานำสินค้าขึ้นที่ท่าเรือกวนเหล่ย เพราะต้องใช้เวลานำขึ้นบกก่อนขนส่งไปยังเมืองเชียงรุ่ง หรือจิ่งหง เขตปกครองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน หรือเมืองต่างๆ อีกร่วม 1 วัน เพราะต้องเสียเวลาในการตรวจสอบสินค้าตามมาตรฐานของด่านจีน แต่การนำสินค้าขึ้นฝั่งเมืองสบหรวยทำได้รวดเร็วและพวกเขาสามารถขนส่งทางบกผ่านเข้าจีนทางชายแดนพม่า-จีน ที่ด่านรุ่ยลี่-มูเซ เพื่อให้สินค้าเข้าสู่ประเทศจีนได้โดยตรงด้วย” ผู้ประกอบการระบุ
       
       รายงานจากด่านศุลกากร อ.เชียงแสนแจ้งว่า ในปี 2555 ที่ผ่านมามีการค้าชายแดนผ่านด่านศุลกากร อ.เชียงแสน เป็นมูลค่ารวมประมาณ 14,000 ล้านบาท ต่อมาปี 2556 ได้เพิ่มเป็น 26,000 บาททีเดียว สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นผัก ผลไม้ กระเทียม โดยในปี 2556 มีมูลค่านำเข้าประมาณ 615 ล้านบาท ส่วนสินค้าส่งออกในปี 2556 มีมูลค่ากว่า 19,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 800 ล้านบาท
       
       โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นประเภทแช่แข็ง ได้แก่ เนื้อไก่ โค กระบือ และอาหารทะเล รถยนต์ ไม้ผ่านแดนที่มาจาก สปป.ลาว ฯลฯ ทั้งนี้ จีนตอนใต้ยังคงมีความต้องการสินค้าประเภทอาหารสูงมาก
       
       รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในช่วงปลายเดือน ธ.ค.นี้ทางการจีนได้มีการจัดหมู่เรือรักษาความปลอดภัยตามลำน้ำโขง ซึ่งประกอบด้วยเรือตำรวจน้ำจีนขนาดใหญ่จำนวน 2 ลำ เรือตำรวจน้ำของพม่า 1 ลำ และเรือลาดตระเวนของ สปป.ลาวจำนวน 1 ลำ ทำการลาดตระเวนในแม่น้ำโขง ตั้งแต่ท่าเรือเมืองกวนเหล่ย-สามเหลี่ยมทองคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ติดกับ อ.เชียงแสน ของไทยเป็นเวลาติดต่อกัน 4 วัน ตามแผนป้องกันและรักษาความปลอดภัยในแม่น้ำโขงด้วย


http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000159735
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #661 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2014, 11:16:43 »

บริษัทเมืองเงินฯเท 1,100 ลบ.พัฒนานิคมเชียงของ รวม 479 ไร่ รองรับธุรกิจด้านโลจิสติกส์, การกระจายสินค้า ทำเลดีเชื่อมโยงได้ทั้ง สปป.ลาวและจีน นักลงทุนทั้งไทย, ญี่ปุ่น, จีน, สิงคโปร์ รุมจีบแล้ว ด้าน กนอ.ระบุให้เวลานิคมใหม่เตรียมเอกสารก่อนลงนาม ด้านนิคมอุตสาหกรรมอีก 7 แห่งที่ตกรอบ ยังสามารถพัฒนาต่อได้ภายใต้สิทธิประโยชน์เดิม

นายไพรัช เล้าประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองเงิน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เตรียมที่จะพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรมเชียงของ บนเนื้อที่ 497 ไร่ ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ใช้เงินลงทุน 1,100 ล้านบาท รูปแบบจะเน้นการลงทุนด้านโลจิสติกส์



เนื่องจากนิคมเชียงของอยู่ใกล้พื้นที่เส้นทางการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว และจีนที่ค่อนข้างสะดวก โดยสามารถใช้ถนนสาย R3A เชื่อมโยงจากประเทศไทยที่อำเภอเชียงของไปยังสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา เข้าสู่บ้านห้วยแก้ว แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว และยังสามารถเชื่อมต่อเส้นทางบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา เพื่อเข้าสู่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ทางจีนตอนใต้ ซึ่งอยู่ห่างสะพานมิตรภาพฯเพียง 10 กิโลเมตร

สำหรับในพื้นที่นิคมเชียงของ ได้ถูกออกแบบและแบ่งพื้นที่ออกไป 1) โลจิสติกส์ปาร์ก โซน 2) อาคารคลังสินค้า 3) ศูนย์กระจายสินค้า 4) โรงงานอุตสาหกรรม และ 5) สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นอกจากนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับพาณิชยกรรม ระบบสาธารณูปโภค ซึ่งขณะนี้มีนักลงทุนทั้งไทย, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และจีน แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่แล้ว

"คอนเซ็ปต์ของนิคมเชียงของยังเน้นเพื่อรองรับการเปิดเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นในปี 58 ที่ตลาดทั้งอาเซียนจะรวมเป็นตลาดเดียวกัน ที่สำคัญจีนได้มองที่จะใช้ไทยเป็นฐานในการกระจายและขนส่งสินค้าอาเซียนทางรถยนต์ด้วย"

นายไพรัชกล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้พื้นที่นิคมเชียงของยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่คาดว่าจะยื่นเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ภายในปีนี้ หลังจากนั้นจะเริ่มการพัฒนาที่ดินและก่อสร้างได้ในช่วงต้นปี 2558 และโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2560 ในส่วนของเงินลงทุนรวม 1,100 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็นเงินลงทุนของบริษัทเมืองเงินฯ ร้อยละ 30 ส่วนอีกร้อยละ70 จะต้องดำเนินการขอกู้จากสถาบันการเงินต่อไป

ทั้งนี้ ในการพัฒนานิคมเชียงของดังกล่าว จะมีพันธมิตรทางธุรกิจที่มาจากวงการอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง กลุ่มธุรกิจด้านโลจิสติกส์ และได้วางแผนที่จะนำเข้ารถบรรทุกหัวลากจากประเทศจีนด้วย

รวมถึงจะมีกลุ่มธุรกิจด้านพลังงานจากสปป.ลาว และกลุ่มธุรกิจด้านการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภคจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาด้วย

ด้านนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ผู้ได้รับอนุมัติให้พัฒนานิคมใหม่นั้นยังอยู่ในขั้นเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะลงนามกับ กนอ.อย่างเป็นทางการเร็ว ๆ นี้ และอยู่ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับการอนุมัตินั้น หากมีความประสงค์จะก่อสร้างและพัฒนานิคมในการสนับสนุนของ กนอ.สามารถทำได้ แต่จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ต่างจาก 6 นิคมอุตสาหกรรมที่ผ่านบอร์ด กนอ. ซึ่งจากการเปิดให้ยื่นตั้งนิคมครั้งนี้ บอร์ดพิจารณาจากหลักเกณฑ์ ด้านเทคนิค การเงิน การตลาด และด้านการส่งเสริมการลงทุน ขณะเดียวกันบอร์ด กนอ.ยังจะเข้าไปช่วยเหลือ สนับสนุน และส่งเสริมการประกอบกิจการนิคมอุตสาหกรรมใหม่เป็นพิเศษ ตามข้อเสนอที่ กนอ.ได้ให้ไว้ด้วย

สำหรับนิคมอุตสาหกรรมใหม่ 6 แห่งที่ได้รับการอนุมัติให้พัฒนาโดยคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บอร์ด กนอ.) ตามที่ได้ประกาศเชิญชวนให้ภาคเอกชนยื่นเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่มีศักยภาพตามยุทธศาสตร์ของประเทศในเชิง Area Base และ Cluster Base


* 13911681291391168153l.jpg (270.36 KB, 640x516 - ดู 1390 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #662 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2014, 11:26:26 »

เชียงราย - นักวิชาการ-ภาคธุรกิจเตือนทุนท้องถิ่นเชียงรายเสี่ยงหลุดขบวนกลายเป็นแค่ “ทางผ่าน” หลังเปิดสะพานข้ามโขง 4-เออีซี สารพัดทุนเทศหาช่องลงทุนยึดหัวหาด ทั้งอุตสาหกรรมยางพารา ขนส่งเนื้อ-ไก่แช่แข็งเข้าจีน
       
       วันนี้ (28 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการสัมมนาเชิงวิชาการด้านการจัดการลอจิสติกส์ และซัปพลายเชน เรื่อง “การเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว กับผลกระทบที่มีต่อไทย โดยเฉพาะ จ.เชียงราย” ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจัดขึ้นนั้น ได้มีการเสวนาเรื่องระเบียบกฎเกณฑ์การขนส่งผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
       
       นายเฉลิมพล พงษ์ฉบับนภา พาณิชย์จังหวัดเชียงราย ผู้ร่วมเวทีเสวนา กล่าวว่า หลังสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 เชื่อมไทย-ลาว-จีน ผ่านถนน R3a ใน สปป.ลาว เปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค. 2556 หรือ 11-12-13 ทำให้ช่องทางการค้า การลงทุนชายแดนเชียงรายเปิดกว้างขึ้น มีกลุ่มทุนทั้งจีน เกาหลีใต้ อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย พยายามจะเข้ามาลงทุนมากมาย
       
       ที่ผ่านมามีกลุ่มทุนใช้ช่องทางนี้ในการขนส่งสินค้าระหว่างไทย-จีนมากขึ้น มีการนำเนื้อกระบือแช่แข็งจากอินเดีย หรือไก่แช่แข็งจากต่างประเทศเข้ามาทางท่าเรือแหลมฉบัง ส่งผ่านท่าเรือเชียงแสนเข้าสู่ตลาดจีน เป็นต้น จึงอยากให้ผู้ประกอบการทั้งในท้องถิ่นและระดับชาติร่วมลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่า สปป.ลาว และจีนตอนใต้ให้มากขึ้น
       
       ทั้งนี้ เพราะเมื่อมองจากกลุ่มทุนต่างประเทศ จะพบว่าเขาพยายามจะหาโอกาสเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง เช่น ทุนจีนลงทุนปลูกยางพาราที่ อ.พญาเม็งราย และกำลังขออนุมัติการส่งเสริมการลงทุนตั้งโรงงานแปรรูป รวมทั้งลงทุนด้านยางพารา ปลูกแตงโม ใน สปป.ลาว เพื่อส่งกลับไปยังจีนตอนใต้ ซึ่งตนเกรงว่าหากเราออกตัวช้าไปจะเสียโอกาส
       
       ขณะที่ รศ.ดร.อภิชาต โสภาแดง จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวระหว่างร่วมเวทีเสวนาเรื่องทิศทางการค้าชายแดนกับการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ว่าการค้าชายแดนด้าน จ.เชียงรายมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นทุกด่านเฉลี่ย 13% และถ้ามีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) คาดว่ามูลค่าการค้าจะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 15% ซึ่งดึงดูดให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน
       
       ดังนั้น เชียงรายควรใช้กรณีศึกษาจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีทรัพยากรเลยนอกจากน้ำ สามารถพัฒนาเป็นผู้ผลิตชิปหรือไอซีเพื่อการส่งออกเมื่อ 10-20 ปีก่อน กระทั่งปัจจุบันสิงคโปร์เปลี่ยนเป็นประเทศวิจัยและการพัฒนา โดยมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ออกไปลงทุนขนานใหญ่
       
       รศ.ดร.อภิชาตกล่าวว่า เชียงรายควรจัดให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่เช่นนั้นการขนส่ง และการโดยสารจะผ่าน จ.เชียงรายไปหมด เพราะจากการศึกษาพบว่า เมื่อมีการเปิดคมนาคมไทย-สปป.ลาว-จีนตอนใต้ ผ่านสะพานน้ำโขงอย่างเต็มที่ พื้นที่ซึ่งจะได้ประโยชน์คือ จ.ลำพูน เพราะมีนิคมอุตสาหกรรม รองลงมาคือ เชียงใหม่ จากนั้นก็เป็นท่าเรือแหลมฉบัง และกรุงเทพฯ หากนิ่งอยู่โดยไม่มีกิจกรรม ทุนใหญ่ก็จะเข้ามาล้วงลูก และลงทุนหมดทุกอย่าง จะทำให้เขียงรายเสียโอกาส
       
       ด้านนายเกรียงไกร วีระฤทธิพันธ์ ประธานสภาอุตสหากรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ผู้ประกอบการท้องถิ่นขยายการลงทุนในพื้นที่ยาก เพราะมีปัญหาใหญ่คือ ผังเมืองเชียงรายระบุว่ามีพื้นที่ทางการเกษตรกว้างขวางมาก ถ้าจะลงทุนด้านอุตสาหกรรมเพื่อขอใบ รง.4 ก็จะถูกชี้ให้ไปลงทุนในเขต อ.เทิง เนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ อ.เชียงของ 5,000-6,000 ไร่ ซึ่งการที่จะตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราเพื่อส่งออกไปจีน แทนการส่งน้ำยางไปแปรรูปที่ภาคตะวันออกหรือภาคใต้ แล้วค่อยขนกลับมาส่งออกที่เชียงรายก็ติดปัญหานี้เช่นกัน หากภาครัฐไม่ปรับโครงสร้างการบริหาร และเปิดการค้าเสรีมากขึ้น ทุนท้องถิ่นก็จะยิ่งอ่อนแอลงอีก
       
       ด้าน ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว ที่ อ.เชียงของ ว่า เกี่ยวข้องกับระเบียบระหว่างประเทศมากมาย เช่น กรณีข้อตกลงอาเซียน จีเอ็มเอส องค์การการค้าโลก พบว่ามีข้อตกลงร่วมกันกว่า 25 ข้อ ส่วนข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสินค้า การโดยสาร และได้นำมาปรับเป็นพระราชบัญญัติของไทยได้ 40 ฉบับ และกฎกระทรวงหรือกฎระเบียบต่างๆ 155 ประกาศ
       
       ขณะที่ข้อตกลงระหว่างไทย-สปป.ลาว ก็มีระเบียบที่เป็นปัญหาต่อการค้าสินค้าข้ามแดน เช่น ยางพารา ยางรถยนต์ ใช้ระเบียบสินค้าต่างกัน 56 เรื่อง และมีอยู่ 121 เรื่องที่เป็นปัญหาต่อการค้าสินค้าผ่านแดน เช่น น้ำผลไม้ ผลไม้ ใช้ระเบียบสินค้าต่างกัน
       
       ดร.จักรกฤษณ์กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีระเบียบการขนส่งสินค้า และโดยสารระหว่างประเทศ และใน สปป.ลาวอีกมากมาย เช่น รถยนต์ไทยอยู่ใน สปป.ลาวได้ไม่เกิน 15 วัน ค่าขนส่งสินค้าและรถโดยสารสามารถตั้งราคาค่าขนส่งระหว่างกันได้อย่างเสรีแต่ต้องจดทะเบียนไทย-สปป.ลาวก่อน ศูนย์กระจายสินค้าจะคิดราคาขึ้นลงได้ต้องแจ้งให้รัฐบาลทราบล่วงหน้า 3 เดือน การใช้รถบรรทุกสินค้าในลาวต้องไม่ยาวเกิน 12.2 เมตร พ่วงไม่เกิน 16 เมตร กว้างไม่เกิน 2.50 เมตร เป็นต้น
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000010569
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
club88
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 0


« ตอบ #663 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2014, 21:15:34 »

 ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #664 เมื่อ: วันที่ 03 มีนาคม 2014, 22:52:52 »


นักท่องเที่ยวหายจาก ′เชียงของ′ เพียง หอการค้าเชียงรายเชื่อจะลดลงอีก
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เวลา 20:37:02 น.

เผยนักท่องเที่ยวหายจาก ′เชียงของ′ กว่าค่อน หอการค้าเชียงรายเชื่อยังต่ำลงอีก สภาท่องเที่ยวชี้มีเงื่อนงำ-ย้ายจุดตรวจพลาสปอร์ต เตรียมทำถนนคนเดินริมโขงดึงนักท่องเที่ยวกลับ

นายสงวน ซ้อนกลิ่นสกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่ตกอยู่ในสถานการณ์ซบเซา ภายหลังจากที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 เปิดใช้ว่า สะพานแห่งใหม่มีทั้งด้านดีและด้านลบ โดยภาพรวมข้อดีของการเปิดสะพานมาประมาณ 2 เดือน คือ การขนส่งทางบกเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ทำให้การขนส่งระหว่างประเทศเร็วขึ้น ภาคการขนส่งทางบกสามารถลดต้นทุน ส่วนด้านลบ ก็คือ เมื่อการขนส่งทางบกง่าย เร็ว สะดวกหมายความว่านักท่องเที่ยวที่สามารถเอารถข้ามมาได้ เช่น กลุ่มจีน ก็ใช้รถส่วนตัวเข้ามาเฉลี่ยตอนนี้ประมาณเดือนละ 2,000 คน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลตรุษจีนพบว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวจีนนั้นนำรถมาใช้เองและแวะมาซื้อของร้านเล็กๆ บ้าง แต่ไม่มีการใช้จ่ายในประเทศไทย ทั้งเรื่องที่พัก เรือ ทำให้ภาคท่องเที่ยวกระทบมากที่สุด

"เดิมทีฝรั่ง จีน ญี่ปุ่น หรือไทยที่เป็นพวกแบคแพค จะใช้เวลาในการแวะพักที่เชียงของประมาณวันละ 250 คน ตอนนี้เหลือราว 100 คน โดยกลุ่มแบคแพคจะใช้เวลาเดินเที่ยว แวะพักแล้วใช้บริการรถ เรือในท้องถิ่นไปส่งที่ท่าเรือเก่า ซึ่งตอนนี้ไม่เปิดบริการสำหรับผู้ถือพาสปอร์ต ดังนั้นกลุ่มแบคแพคที่ส่วนมากเป็นชาติตะวันตกก็ลดความสนใจลง กลับไปใช้บริการทางบกแล้วพักที่ลาว เพื่อเดินทางไปต่อยังเมืองใหญ่ ทั้งหลวงพระบาง วังเวียง ขณะเดียวกันก็เริ่มสื่อสารข้อมูลส่วนนี้ไปทั่วโลก ทำให้คนท้องถิ่นกังวลว่า ค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวพึงจ่ายในเชียงของลดลง แต่ยังไม่รุนแรง เมื่อใดที่การค้าย่อยฝั่งท่าเรือเก่าของลาวเริ่มเคลื่อนตามจำนวนนักท่องเที่ยวไปที่สะพานใหม่ ก็อาจจะแย่กว่านี้ " นายสงวนกล่าว

รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวต่อว่า ความจริงแล้วการปิดท่าเรือเก่า โดยไม่ประทับตราหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตและวีซ่า แล้วรับเฉพาะกลุ่มใช้บัตรผ่านแดนชั่วคราวนั้น ไม่มีใครรู้ชัดว่าใครผิด ใครถูก แล้วใครควรรับผิดชอบ ตอนนี้เชียงของอยู่ในขั้นสุญญากาศ เพราะทางสภาหอการค้าฯ เคยคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจด่านตรวจคนเข้าเมือง( ตม.) แล้วทราบว่า เจ้าหน้าที่ฝั่งลาวเลือกจะปิดบริการสำหรับผู้ถือพาสปอร์ตและผู้ถือวีซ่า แล้วย้ายทุกอย่างไปที่ฝั่งสะพานทำให้เรือที่จอดรอรับคนข้ามฝั่งดูเงียบเหงา และผลกระทบอีกด้านคือ คนไทยที่ขับรถฝั่งรับส่งนักท่องเที่ยวในตัวเมืองชั้นใน คือ เมืองเดิมเชียงของก็ใช้วิธีการปรับราคาค่ารถขึ้น เช่นส่งนักท่องเที่ยวรอบละ 80-100บาท ทำให้นักท่องเที่ยวที่มีน้อยอยู่เริ่มรู้สึกว่าของแพงซึ่งเป็นสาเหตุให้คนมาเที่ยวเชียงของเลือกจะข้ามฝั่งลาวทันที ซึ่งเคยคุยกับลาวหลายครั้งแต่เรื่องยังเงียบ แต่อย่างไรก็ตามหากยังเป็นสุญญากาศขนาดนี้ คนเชียงของคงต้องคุยกันเพื่อวางระบบท่องเที่ยวใหม่ หาจุดเด่นของเมืองให้ได้

ด้าน นส. สาริสา นวลใส กรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเขต จังหวัดเชียงราย (เขตพื้นที่อำเภอเชียงของ) และอดีตประธานชมรมท่องเที่ยวเชียงของ กล่าวว่า ตามกฎหมายระหว่างประเทศการเปลี่ยนแปลงเรื่องสถานที่ตรวจพาสปอร์ตนั้น ต้องแจ้งล่วงหน้า 6 เดือนเพื่อให้นักท่องเที่ยวเตรียมตัวในการเดินทางและให้คนท้องถิ่นปรับตัว แต่กรณีเชียงของไม่มีการแจ้งก่อน โดยตั้งแต่เปิดสะพานมา พบว่าเจ้าหน้าที่ลาวเป็นผู้ประกาศยกเลิกการตรวจพาสปอร์ตในท่าเรือบั๊ก ซึ่งส่วนนี้คนที่รู้เรื่องน่าจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของไทยและฝ่ายงานของกระทรวงต่างประเทศ ขณะที่คนเชียงของยังอยู่ในช่วงปรับตัว แต่สิ่งที่สะเทือนชัดเจนนอกจากคนขับเรือเล็กแล้ว คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวแบบแบกแพ็คที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

"ส่วนมากพวกขาจร ไม่ได้ทำธุรกิจอะไร มักจะมาเชียงของโดยวางแผนล่วงหน้าและบางคนเลือกเดินจากท่ารถในตลาดเชียงของเข้ามายังเมืองเก่า เพื่อหาที่พัก ขณะที่บางคนจ่ายค่าโดยสารประมาณ 30-40 บาท ค้างคืนในเกสต์เฮาส์ราคาที่ตนพอใจ เริ่มต้นราว 250 บาทต่อคืน พอรุ่งเช้าก็เดินเท้าไปที่ท่าเรือเสียค่าเรือข้ามฟากได้แบบประหยัดเงิน ซึ่งในหลักความเป็นจริง หลังเปิดสะพานเขาน่าจะมีตัวเลือกว่าจะข้ามไปลาวฝั่งใด จะไปทางสะพานหรือท่าเรือ แต่ปัจจุบันทำไม่ได้ เพราะการข้ามลาวโดยใช้ขนส่งทางบกที่สะพานใหม่เป็นภาวะจำยอม หากใครถือพาสปอร์ตข้ามแดนแล้วอยากแวะชมเมืองเชียงของเก่าก็ต้องจ่ายเพิ่มกว่าเดิมประมาณ 3 เท่า เช่นจากเดิมจ่าย 40 บาทก็กลายเป็นจ่ายค่ารถไปสะพานราว 120-150 มันไม่คุ้ม ทีนี้นักท่องเที่ยวเมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้ก็เกิดการกระจายข่าวสาร ส่งผลให้นักท่องเที่ยวแบคแพ็คลดลงทุกที" นส.สาริสา กล่าว

นส.สาริสา กล่าวต่อว่า กรณีเชียงของนั้นเห็นผลกระทบตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ฤดูกาลที่มีนักท่องเที่ยวมาก (High Season) ยังพบว่ามีจำนวนน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมากว่า 50 % ร้านค้าที่เปิดบริการกลางคืนก็เงียบเหงา กลุ่มใดที่เช่าพื้นที่ทำธุรกิจก็ต้องขาดทุน ดั้งนั้นช่วงเดือนมีนาคมเป็นต้นไป ซึ่งมีนักท่องเที่ยวน้อย หรือ Low Season แน่นอนว่าสถานการณ์เมืองเชียงของจะเงียบกว่าเดิมแน่ๆ ดังนั้นสิ่งที่คนเชียงของทำได้ คือการเอาตัวรอดจากภาวะสุญญากาศของรัฐบาล ซึ่งไม่รู้ว่ามีเงื่อนงำใดระหว่างลาวกับไทย แต่คนลาวก็มักจะเกรงกลัวอำนาจรัฐและปิดข่าวเงียบ ส่วนคนไทยก็ต้องวางแผนใหม่ซึ่งขณะนี้สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและผู้ประกอบการบางส่วนเริ่มร่วมมือกับเทศบาล เพื่อพัฒนาศักยภาพท่องเที่ยวให้สามารถดึงนักท่องเที่ยวกลับมา หลังจากสะพานใหม่เปิดใช้ โดยอาจจะเปิดถนนคนเดินริมโขง ขึ้นมาเพื่อจูงใจให้คนมาเยี่ยมเมืองเชียงของต่อไป
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #665 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2014, 10:47:24 »

ทช.เร่งสร้างถนนเชื่อมสนามบินเชียงราย ชูฮับภาคเหนือหนุนการค้าชายแดน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   5 มีนาคม 2557 16:50 น.        

   
กรมทางหลวงชนบทเพิ่มศักยภาพระบบลอจิสติกส์เชียงรายรองรับการใช้งานท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงรายและท่าเรือเชียงแสน เผยงานก่อสร้างถนนและทางลอดเชื่อมสนามบินเชียงรายวงเงิน 740 ล้านคืบหน้า 10% แล้วเสร็จปลายปี 58 ช่วยลดแออัดในเขตเมือง
       
       นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทช.ได้เริ่มดำเนินการโครงการก่อสร้างถนนสายเชื่อม จ3-วงแหวนตะวันตก (ตอนที่ 1) หรือถนนเวียงบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย งบประมาณ 733.931 ล้านบาท โดยขณะนี้การก่อสร้างมีความก้าวหน้ากว่า 10% เร็วกว่าแผนที่กำหนด คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2558 โดยเป็นโครงการตามแผนพัฒนาระบบลอจิสติกส์ รองรับการจราจรและการขนส่งที่มุ่งสู่สนามบินนานาชาติแม่ฟ้าหลวง และท่าเรือเชียงแสน และเชื่อมโยงกับแนวถนนวงแหวนด้านทิศตะวันตก ถนนเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันออกเข้าด้วยกันช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรที่หนาแน่นในเขตเมือง เพิ่มศักยภาพจังหวัดเชียงรายให้เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนบนในการเป็นประตูสู่การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน
       
       โดยการก่อสร้างจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ งานก่อสร้างถนนและงานก่อสร้างทางลอด โดยมีจุดเริ่มต้นของถนนโครงการฯ เริ่มจากถนน จ3 หรือถนนเวียงบูรพา บริเวณหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย แนวถนนโครงการฯ ก่อสร้างปรับปรุงขยายถนนเดิมด้านหน้าท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง จากนั้นแนวถนนโครงการฯ เป็นถนนตัดใหม่ ตัดผ่านบ้านป่ากุ๊ก บ้านป่าห้า ไปทางเหนือ สิ้นสุดโครงการฯ บรรจบเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 1209 บริเวณ กม.ที่ 2+833 และงานก่อสร้างทางลอดตามแนวถนนโครงการ ช่วง กม.ที่ 3+052 ถึง กม.ที่ 3+565 บริเวณทางเข้าท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
       
       อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวได้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง และคำนึงถึงความปลอดภัยในการสัญจรของประชาชนเป็นหลัก และขออภัยในความไม่สะดวกขณะก่อสร้าง ผู้ที่สนใจสามารถติดตามความก้าวหน้าได้ที่ www.jor3-westringroad.com และหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการฯ สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-6059-9130
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #666 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2014, 12:12:34 »

สะพานข้ามโขง 4 ทำย่านเศรษฐกิจชายแดนเชียงของเปลี่ยน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   10 มีนาคม 2557 11:24 น.        


เชียงราย - 3 เดือนหลังเปิดใช้สะพานข้ามโขง 4 เชื่อมชายแดนเชียงราย-ถนนอาร์ 3 เอ ทำตัวเมือง “เชียงของ” ย่านเศรษฐกิจเดิมเหงา นักท่องเที่ยวประเทศที่ 3 - ขบวนสินค้าข้ามแดนหันไปด่านใหม่
       
       นายเฉลิมพล พงษ์ฉบับนภา พาณิชย์จังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า หลังเปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 4 ระหว่างต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว มาได้เกือบ 3 เดือน พบว่าระเบียบวิธีข้ามแดนเปลี่ยนไปหลายเรื่อง โดยกรณีการขนส่งสินค้านั้น ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้ เพราะเดิมใช้การขนส่งสินค้าทางแพขนานยนต์ แต่ปัจจุบันใช้การขนส่งทางรถบรรทุกเป็นหลัก
       
       แต่กรณีของการข้ามเข้า-ออกแดนของประชาชนทั้และนักท่องเที่ยว พบว่า ผู้ใช้หนังสือผ่านแดนชั่วคราวหรือบอเดอร์พาส ได้ที่ด่านแห่งเดิมตรงท่าเรือบั๊กในเขตต.เวียง แต่ผู้ที่ใช้หนังสือเดินทางหรือขอเป็นวีซ่า ต้องไปใช้บริการผ่านแดนที่ด่านพรมแดนสะพานข้ามแม่น้ำโขงเท่านั้น
       
       จึงทำให้บรรยากาศการเข้า-ออก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ใช้วีซ่า และนั่งเรือโดยสารข้ามไปมา ต้องหันไปยื่นวีซ่าที่ด่านพรมแดนใหม่แทน ทำให้เมื่อเร็วๆนี้เกิดกระแสจากนักธุรกิจท้องถิ่นที่เรียกร้องให้มีการอนุญาตให้ด่านแห่งเดิมสามารถใช้วีซ่าได้ เพื่อคืนความคึกคักในเขตต.เวียง
       
       ซึ่งตนจะได้นำไปหารือกับภาคเอกชนในพื้นที่ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนต่อไป เพราะเรื่องนี้ถือเป็นระบบย่อยหรือซอฟท์แวร์ หลังจากที่ได้มีการเชื่อมโยงจุดใหญ่ คือ สะพานระหว่างประเทศ จนถึงถนนอาร์สามเอ-จีนตอนใต้แล้ว คงต้องแก้ไขปรับปรุงกันไปเรื่อยๆจนกว่าจะลงตัว
       
       นอกจากนี้จะนำเข้าหารือในการประชุมคณะกรรมการความร่วมมือสำนักงานพาณิชย์ไทย-สปป.ลาว ครั้งที่ 6 วันที่ 25-26 มีนาคมนี้ที่แขวงจำปาศักดิ์ สปป.ลาว
       
       สำหรับกรณีการขนส่งสินค้าผ่านสะพานนั้นกำลังอยู่ระหว่างเก็บข้อมูล เนื่องจากเพิ่งผ่านมาได้เพียง 2-3 เดือน แต่ก็เห็นได้ชัดว่า มูลค่าการค้าและนักท่องเที่ยวมากขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาที่ต้องตามแก้ไขปรับปรุงกันตามที่กล่าวข้างต้นอยู่อีกหลายเรื่อง เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ส่วนตัวที่จะข้ามไปฝั่ง สปป.ลาว มีการคิดค่าธรรมเนียมสูงมาก และขับไปถึงด่านจีน-สปป.ลาว ระหว่างแขวงหลวงน้ำทากับเมืองโมฮาน ก็จะถูกเก็บค่าค้ำประกันคันละประมาณ 250,000 บาท ขณะที่รถจีนที่ขับผ่านสะพานมาไทย กลับมีค่าธรรมเนียมต่ำกว่ามาก เป็นต้น
       
       สำหรับปี 2556 ที่ผ่านมา การค้าชายแดนผ่านด่านศุลกากรเชียงของ จ.เชียงราย มีมูลค่ารวม 14,063.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.64 แยกเป็นการส่งออก 10,877.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.70 นำเข้า 3,186.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.25 และเฉพาะที่มีการขนส่งสินค้าไปกับถนนอาร์สามเอเชื่อมไปจีนตอนใต้พบว่า มีมูลค่ารวมถึง 3,900.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.54 โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าพืชผัก เครื่องจักร รถยนต์ จากประเทศจีน
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #667 เมื่อ: วันที่ 25 มีนาคม 2014, 06:22:19 »

ทุนจีนทุ่มสุดตัว วางศิลาฤกษ์สนามบินสามเหลี่ยมทองคำแล้ว


เชียงราย - กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่จีน เจ้าของสัมปทานพัฒนาพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำฝั่ง สปป.ลาวทุ่มสุดตัวเดินหน้าสร้างสนามบินนานาชาติ ล่าสุดเริ่มวางศิลาฤกษ์แล้ว วางเป้าดึงนักท่องเที่ยวเข้า “Kings Romans of Laos”
       
       รายงานข่าวจาก จ.เชียงรายแจ้งว่า หลังกลุ่มบริษัท ดอกงิ้วคำ จำกัด ในเครือจินหมู่เหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการ Kings Romans of Laos Asian & amp ; Tourism Development Zone เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป.) ติดกับสามเหลี่ยมทองคำ ตรงข้าม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เสนอโครงการก่อสร้างสนามบินขนาดใหญ่ เพื่อทำให้เขตเศรษฐกิจสมบูรณ์ยิ่งขึ้นนั้น
       
       ล่าสุดโครงการก่อสร้างสนามบินได้เริ่มเดินหน้าแล้ว โดยนายจอมสี รัตนะปัน เจ้าเมืองต้นผึ้ง ร่วมกับนายจ้าว เหว่ย ประธานกลุ่มดอกงิ้วคำ ทำพิธีวางศิลาฤกษ์เพื่อก่อสร้างสนามบินนานาชาติ ภายในพื้นที่โครงการอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
       
       โครงการ Kings Romans of Laos Asian & amp ; Tourism Development Zone มีพื้นที่ดำเนินการประมาณ 7,500 ไร่ ด้วยสัญญาเช่ากับรัฐบาล สปป.ลาวนาน 99 ปี มีโครงการที่จะสร้างสนามบินรองรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนรวมทั้งจากทั่วโลกมานาน
       
       แต่กว่าจะสามารถวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่นี้ได้มีการเจรจากับชาวบ้านกว้านและบ้านสีบุญเรือง ซึ่งอยู่ในพื้นที่เป้าหมายก่อสร้างสนามบิน กระทั่งนายอำพอน จนทะสมบูน รองเจ้าแขวงบ่อแก้ว ด้านเศรษฐกิจ ได้เข้าหารือกับชาวบ้านและโครงการ จนได้ข้อสรุปว่าจะจ่ายเงินให้กับชาวบ้าน 46 ครอบครัว ไร่ละประมาณ 116,400 บาท จากนั้นให้ย้ายบ้านเรือนไปอาศัยและทำกินอยู่ ณ สถานที่แห่งใหม่แทน
       
       อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่เปิดเผยว่าสนามบินแห่งนี้จะมีขนาดใหญ่เพียงใด และสามารถเปิดดำเนินการได้เมื่อไหร่ แต่ก่อนหน้านี้ได้วางแผนที่จะก่อสร้างสนามบินขนาดใหญ่ รันเวย์ยาว 3 กิโลเมตรเพื่อรองรับเครื่องบินโบอิ้ง 737 แอร์บัส A 320 เพื่อดึงนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศบินตรงเข้าภายในโครงการ
       
       ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการ Kings Romans มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้าไปใช้บริการอย่างต่อเนื่อง มีทั้งการเดินทางด้วยรถจากถนนอาร์สามเอไทย-สปป.ลาว-มณฑลยูนนาน จีนตอนใต้ และทางเครื่องบินเช่าเหมาลำจากเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน มายังท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ก่อนเดินทางต่อไปยังจุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ บ้านสบรวก หมู่ 1 ต.เวียง อ.เชียงแสน ซึ่งเปิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 06.00-20.00 น.
       
       สำหรับกลุ่มดอกงิ้วคำจากจีนที่เข้ามาดำเนินโครงการ Kings Romans of Laos Asian & amp ; Tourism Development Zone มีแผนพัฒนาพื้นที่ซึ่งได้รับสัมปทานจาก ส.ป.ป.ลาวให้เป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ ประกอบด้วย สิ่งปลูกสร้างเพื่อการพักผ่อนหลากหลาย เช่น โรงแรมขนาด 700 ห้อง กาสิโน เป็นต้น
       
       ปัจจุบันมีการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคภายใน เช่น ถนน ไฟฟ้า เกือบเสร็จหมดแล้ว รวมทั้งมีเขื่อนคอนกรีตริมแม่น้ำโขงเพื่อกันตลิ่งพังตลอดแนวกว่า 1 กิโลเมตร ท่าเรือในแม่น้ำโขง โรงแรมขนาด 700 ห้อง กาสิโน คาดว่ายังจะมีอีกหลายโครงการที่ยังไม่เริ่มดำเนินการเพราะเฟสแรกใช้เวลาประมาณ 10 ปี เช่น ก่อสร้างโรงแรมขนาด 1,200 ห้อง 5-6 แห่ง สนามกอล์ฟ 18 หลุม สนาม 2 แห่ง อาคารพาณิชย์สำหรับเช่าขายสินค้า ตลาดการค้าเสรีปลอดภาษี เป็นต้น
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000032974
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #668 เมื่อ: วันที่ 11 เมษายน 2014, 20:24:45 »

"ททท." ส่งแผนฟื้นมู้ดเที่ยวตลาดยักษ์ "จีน-ญี่ปุ่น" ช่วงโกลเด้นวีคเดือนพฤษภาคมนี้ สายการบินแห่เปิดเส้นทางขนจีนเที่ยวไทยไปแหล่งท่องเที่ยวเมืองรองมากขึ้น แนะผู้ประกอบการทัวร์จีนเร่งปรับตัวรับตลาดเอฟไอทีเฟื่อง หลังเทรนด์การเติบโตเบียดสัดส่วนตลาดทัวร์เพิ่มขึ้นทุกปี

นางศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า หลังจากรักษาการรัฐบาลประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปเมื่อปลายมีนาคมที่ผ่านมา สัญญาณตลาดนักท่องเที่ยวจีนเริ่มเป็นบวกมากขึ้น ผู้ประกอบการทัวร์เริ่มกลับมาคึกคักอีกรอบ โดยปีนี้นักท่องเที่ยวจีนมีแนวโน้มเดินทางต่างประเทศเพิ่มขึ้น 18% จากปีที่แล้ว หรือมีจำนวนเพิ่มเป็น 98.2 ล้านคน

โดยขณะนี้ตลาดจีนมีปัจจัยบวกหนุนหลายอย่าง อาทิ สามารถยื่นขอวีซ่าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของไทย (Visa on Arrival) ได้ตั้งแต่ 18 มกราคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มเดินทางอิสระ (เอฟไอที) ขยายตัวดีอย่างมาก เนื่องจากนักท่องเที่ยวสามารถช่วยอำนวยความสะดวกแก่คนจีนที่อยู่ในเมืองรองและเมืองเล็ก ไม่ต้องเดินทางเป็นเวลานาน

เพื่อขอวีซ่าที่สถานทูตและสถานกงสุลไทยที่เมืองหลักของจีน ประกอบกับมีเที่ยวบินจากจีนมาไทยเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงไฮซีซั่นมีจำนวนที่นั่งมาไทยมากถึง 5.5 ล้านที่นั่ง และในช่วงโลว์ซีซั่นมี 3 ล้านที่นั่ง ซึ่งแนวโน้มไม่ได้บินมาแค่กรุงเทพฯ และภูเก็ตเท่านั้น แต่ได้เพิ่มเที่ยวบินเข้าเชียงใหม่มากขึ้นด้วย อาทิ สปริงแอร์ ที่เพิ่งเปิดให้บริการเส้นทางบินใหม่ เซี่ยงไฮ้-เชียงใหม่ ความถี่ 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ 320 เมื่อ 30 มีนาคมที่ผ่านมา และพบว่ายอดจองในช่วงเมษายนถึงมิถุนายนดีมากถึงขั้นเต็มแล้ว นอกจากนี้ยังมีสายการบินจุนเหยา เส้นทางเซี่ยงไฮ้-กระบี่ เริ่มบินพฤษภาคมนี้ ความถี่ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และมีแผนเปิดเส้นทางเซี่ยงไฮ้-เชียงรายด้วย หลังก่อนหน้านี้ได้บินเข้าเชียงใหม่แล้ว

"ตลาดจีนตอนนี้เริ่มไปเที่ยวเมืองรองในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเดินทางซ้ำ ซึ่งเคยมาเที่ยวกรุงเทพฯ ภูเก็ต และเชียงใหม่แล้ว เป็นไปตามกลยุทธ์การกระจายนักท่องเที่ยว และหาตลาดทดแทนของ ททท.ที่พยายามโปรโมตชาวจีนให้ไปเมืองอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพฯ อย่างตอนนี้ที่เกาะสมุย เชียงราย และกระบี่ ยอดจองซัพพลายห้องพักเต็มแล้ว เชียงรายก็ถือเป็นสถานที่ที่น่าสนใจ เราได้โปรโมตนักท่องเที่ยวจีนที่นิยมเดินทางขับรถมาเที่ยวมากขึ้น ซึ่งปีนี้คาดโตมากกว่า 20%"

ทั้งนี้ เป้าหมายของ ททท.ในการฟื้นตลาดนักท่องเที่ยวจีนคือในช่วงหยุดยาววันแรงงาน 9 วัน ในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งเชื่อว่าจะมีชาวจีนมาเที่ยวไทยมาก ทำให้ไทยมีโอกาสได้ตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนกลับมาบ้าง โดยเมื่อพฤษภาคมปีที่แล้ว ไทยถือเป็นจุดหมายที่บูมอย่างมาก จากกระแสภาพยนตร์จีนชื่อดัง ลอสต์ อิน ไทยแลนด์ ทำให้ยอดชาวจีนเที่ยวไทยในเดือนนั้นสูงถึง 3.73 แสนคน เพิ่มขึ้น 93% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน

สำหรับช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ แม้จะไม่ใช่ช่วงที่ชาวจีนมาเที่ยวมาก เพราะต้องเก็บค่าใช้จ่ายไว้เที่ยวช่วงหยุดยาววันแรงงาน แต่ไทยก็ได้นักท่องเที่ยวจีนจากทางตอนใต้มาเที่ยวจำนวนมาก อย่างการบินไทยเองก็มียอดจองในช่วงนี้ 80% แล้ว เพราะชาวจีนตอนใต้ติดใจเทศกาลสงกรานต์ในเชียงใหม่ ส่วนแอร์เอเชียและไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์สก็มียอดจองตั๋วบินดีกว่า 70% แล้วเช่นกัน

"ตอนนี้กระแสนักท่องเที่ยวจีนตลาดเอฟไอทีดีมาก ทำให้ยอดนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางกับบริษัททัวร์ลดลงไป ซึ่งสัดส่วนปัจจุบันมีกลุ่มเดินทางกับทัวร์อยู่ที่ 54% และเป็นเอฟไอที 46% จากกระแสนักท่องเที่ยวจีนนิยมเปลี่ยนเที่ยวบินที่ฮ่องกงหรือมาเก๊าเพื่อจ่ายราคาตั๋วบินถูกลง นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวจีนส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น ทำให้ทิศทางการทำตลาด ททท.จึงหันไปจับช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยได้ร่วมกับเว็บไซต์ Baidu รวมถึง Weibo และ Youku" นางศรีสุดากล่าว   

จากรายงานการสำรวจของการท่องเที่ยว

ประเทศจีนระบุว่า ไทยได้รับความนิยมเป็นอันดับ 4 รองจากฮ่องกง มาเก๊า และเกาหลี และเมื่อดูความนิยมแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเมืองแล้ว อันดับ 1 ยังเป็นฮ่องกง ตามด้วยภูเก็ต เชียงใหม่ กรุงเทพฯ บาหลี ซาบา และพัทยา ส่วนความนิยมแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเกาะ อันดับ 1 ในใจชาวจีนคือภูเก็ต ตามด้วยบาหลี ซาบา โบราเคย์ เจจู มัลดีฟส์ พีพี และสมุย

สำหรับตลาดญี่ปุ่นช่วงโกลเด้นวีกปลายพฤษภาคมของทุกปี ก็เป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวมีแผนเดินทางท่องเที่ยวอย่างมาก โดยได้มีบริษัทนำเที่ยวญี่ปุ่นรายใหญ่ ๆ อย่าง เอช.ไอ.เอส.ทัวร์ ก็มีแผนฟื้นฟูตลาดญี่ปุ่น ภายใต้แคมเปญ "เอนี่เวย์ ไอ เลิฟ แบงค็อก"

ทั้งนี้ การประกาศขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 5% เป็น 8% ในญี่ปุ่น ประเมินว่าในช่วง 3 เดือนแรก คนญี่ปุ่นอาจจะยังตื่นอยู่ แต่พฤติกรรมคนญี่ปุ่นยังชอบเที่ยว จึงมองว่าตลาดคนญี่ปุ่นเที่ยวต่างประเทศจะยังดีอยู่ แต่อาจโดนกระแสการท่องเที่ยวในประเทศแย่งส่วนแบ่งตลาดไปบ้าง เนื่องจากสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) ในญี่ปุ่นเติบโตดีมาก ราคาตั๋วบินโลว์คอสต์ถูกกว่ารถไฟ ต่างจากแต่ก่อนที่ค่าใช้จ่ายเที่ยวในญี่ปุ่นนั้นแพงกว่ามาเที่ยวไทยเสียอีก

cr.ประชาชาติ
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #669 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2014, 12:43:31 »

ผู้บริหารท่าขี้เหล็กข้ามฝั่งร่วมเปิด “แมคโครแม่สาย” วันแรกคนพม่าซื้อของตรึม
       
       วันนี้ (21 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทสยามแมคโคร จำกัด (มหาชน) นำคณะผู้บริหาร ทำพิธีเปิดห้างสรรพสินค้าแมคโคร สาขาแม่สาย เลขที่ 67 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวานนี้(20 มิ.ย.)
       
       ทั้งนี้ ในการเปิดแมคโคร สาขาแม่สายครั้งนี้ นอกจากจะมีนายชาติชาย สงวนพงษ์ ปลัด จ.เชียงราย และผู้บริหารจาก จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา เช่น U Tin Win ผู้ว่าการ จ.ท่าขี้เหล็ก , Zaw Naing Oo ผู้บังคับการยุทธศาสตร์ จ.ท่าขี้เหล็ก และเจ้าหน้าที่ระดับสูงในเมียนมาอีกหลายคน ฯลฯ เดินทางมาร่วมพิธีด้วย
       
       นางสุชาดา เปิดเผยว่า แมคโคร เห็นถึงศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของ อ.แม่สาย ซึ่งตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ชายแดนติดกับประเทศเมียนมา อีกทั้งยังเป็นประตู และช่องทางสำคัญอย่างยิ่งในการระบายสินค้าสู่เมียนมาด้วยมูลค่าการค้าชายแดนนับหมื่นล้านบาทต่อปี รวมทั้งมีสะพานเชื่อมกันถึง 2 แห่ง ทำให้ผู้คนสามารถเดินทางทำการค้าขายได้อย่างเสรี ส่งผลธุรกิจ - การท่องเที่ยวขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
       
       ดังนั้น เพื่อรองรับการเติบโตโดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทางแมคโคร จึงได้เปิดสาขาแม่สายขึ้น จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคครบวงจร ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูปและสินค้าอื่นๆ ประมาณ 13,000 รายการ บนพื้นที่ประมาณ 8,000 ตารางเมตร
       
       สำหรับห้างสรรพสินค้าแมคโครสาขาแม่สาย ตั้งอยู่ตรงกันข้ามฝั่งถนนพหลโยธินกับห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส สาขาแม่สาย พอดี ห่างจากเทศบาล ต.แม่สาย ประมาณ 5 กิโลเมตร แต่ก็ถือว่าไม่ห่างจากพรมแดนไทย-เมียนมา มากนัก ดังนั้นที่ผ่านมาห้างสรรพสินค้าเหล่านี้จึงเป็นแหล่งที่ผู้บริโภคชาวเมียนมา ให้ความนิยมเข้ามาจับจ่ายซื้อสินค้า
       
       โดpจะเห็นได้ว่า วันแรกในการเปิดให้บริการของแมคโคร สาขาแม่สาย มีลูกค้าจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้านพากันเข้าหาซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ขนกันไปเป็นคันรถเลยทีเดียว โดยสินค้าที่นิยมเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000069871
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #670 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2014, 12:46:50 »

ชียงราย - กลุ่มทุนจีนเริ่มเดินหน้าสร้างสนามบินนานาชาติสามเหลี่ยมทองคำ ล่าสุดจ่ายเงินค่าที่ให้ชาวลาวแล้ว 200 ไร่ หวังใช้ดึงคนเข้าใช้บริการเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์-กาสิโนใหญ่
       
       วันนี้ (16 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังกลุ่มบริษัทดอกงิ้วคำ จำกัด ผู้ดำเนินโครงการคิงส์โรมันส์และเขตพัฒนาการท่องเที่ยว สปป.ลาว สามเหลี่ยมทองคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ตรงกันข้าม ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ได้วางศิลาฤกษ์เพื่อก่อสร้างสนามบินนานาชาติภายในพื้นที่โครงการไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้นั้น ล่าสุดทางโครงการได้เริ่มจ่ายเงินค่าที่ดินให้ชาวบ้านในจุดที่จะก่อสร้างแล้ว
       
       โดยท่านบุญมี สุวันนะรังสี หัวหน้าเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมคำ บ้านต้นผึ้ง ร่วมกับนายจ้าว เหว่ย ประธานกรรมการบริษัทดอกงิ้วคำ จ่ายเงินให้ชาวลาวบ้านกว๊าน เมืองต้นผึ้ง จุดที่จะใช้สร้างสนามบินบนเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ ในราคาไร่ละ 116,400 บาท มีชาวบ้านที่ต้องย้ายออก 24 ราย ซึ่งการดำเนินการเสร็จสิ้นด้วยดี คาดว่าจะมีการก่อสร้างในเร็วๆ นี้
       
       ซึ่งสนามบินแห่งนี้หากแล้วเสร็จจะเป็นสนามบินแห่งที่ 2 ของแขวงบ่อแก้ว ที่มีสนามบินเมืองห้วยทรายอยู่แล้ว มีการทำการบินกับนครเวียงจันทน์ เมืองหลวงของ สปป.ลาว เป็นประจำ แต่ที่สามเหลี่ยมทองคำแห่งนี้มีการระบุชัดเจนว่า เป็นสนามบินนานาชาติ ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าจะมีการบินเชื่อมไปถึงจีนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาใช้บริการในโครงการ หลังจากก่อนหน้านี้คนจีนจำนวนมากได้เดินทางด้วยเครื่องบินเช่าเหมาลำผ่านท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เป็นหลัก
       
       สำหรับโครงการคิงส์โรงมันส์ฯ เช่าพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำจากรัฐบาล สปป.ลาว เนื้อที่ประมาณ 7,500 ไร่ นาน 99 ปี ภายในออกแบบให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายและครบวงจร ทั้งสถานที่พักผ่อน เดินป่า สถานที่ทางธรรมชาติ การพาณิชย์ ร้านอาหาร การค้าขาย การเดินเรือท่องเที่ยวแม่น้ำโขง ท่าเรือ การเกษตร สถานเอนเตอร์เทนเมนต์ หรือกาสิโน รีสอร์ต โรงแรม แหล่งพักผ่อน รวมทั้งมีแผนจะสร้างโรงพยาบาล ฯลฯ ด้วย

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000067321
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #671 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2014, 12:49:58 »

ลุ้นคสช.ลากรถไฟเข้าเชียงของ/นครพนม

วันพุธที่ 11 มิถุนายน 2014 เวลา 11:57 น.

คมนาคม/ร.ฟ.ท.ชงคสช.เดินหน้า 2 โครงการแสนล้าน รถไฟทางคู่เหนือ-อีสานเชื่อมเออีซี เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และบ้านไผ่-นครพนม หลังพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านล่ม เผยเบื้องต้นคสช.ไฟเขียวแล้ว ลุ้นช่วงสุญญากาศ ใช้อำนาจยกเว้นทำอีไอเอ แย้มต้องเวนคืนกว่า 2 หมื่นแปลง ด้านเอกชนเชียงราย-นครพนมเชียร์สุดตัวชี้เป็นผลดีต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ให้เร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 2 สายทางเชื่อมประเทศเพื่อนบ้านหรือรถไฟทางคู่เชื่อมอาเซียน(ดูแผนที่ประกอบ) ซึ่งในเบื้องต้นทางคสช. เห็นด้วยกับ 2 โครงการดังกล่าว เนื่องจากมีประโยชน์ต่อการค้าชายแดนและอยู่ในช่วงใกล้เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีปลายปี 2558

ต่อเรื่องนี้แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) กล่าวให้รายละเอียดถึงโครงการรถไฟทางคู่เชื่อมอาเซียนจำนวน 2 โครงการเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศคู่ค้าอย่างจีน รถไฟทางคู่ดังกล่าวประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 324 กิโลเมตร จำนวน18 สถานี มูลค่า 7.7 หมื่นล้านบาท ออกแบบแล้วเสร็จอยู่ระหว่างพิจารณาอีไอเอ จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และ2.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สาย บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด -มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร มูลค่า 4.2 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างออกแบบคาดว่าแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2557 อย่างไรก็ดีหากผ่านขั้นตอนอีไอเอ ก็สามารถตั้งงบประมาณหรือกู้เงินเพื่อก่อสร้างได้ทันที โดยใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี โดยทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าวนี้อยู่ในแผนพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทที่ล่มไป

++สบช่องขอคสช.เว้นอีไอเอ

อย่างไรก็ดีอุปสรรคสำคัญของการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานรัฐ คือ จะต้องผ่านอีไอเอ ถึงจะก่อสร้างได้ ซึ่งที่ผ่านมาต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปีในขั้นตอนนี้ ขณะที่โครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ในสมัยรัฐบาลชุดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ติดปัญหาในเรื่องแนวสายทางผ่านพื้นที่อุทยานลุ่มน้ำชั้น1 เอ รอยต่อจังหวัดพะเยากับเชียงราย แต่ร.ฟ.ท.ชี้แจงว่า ไม่ได้ตัดผ่านพื้นที่โดยตรง แต่เป็นการปรับรูปแบบให้เป็นอุโมงค์มุดใต้พื้นที่อุทยาน

ขณะเดียวกันอุทยานก็มีปัญหาประชาชนบุกรุกแผ่วถางป่า ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหา ที่ผ่านมาได้นำกลับไปแก้ไขใหม่ อาจจะปรับแนวและทำอุโมงค์หลอดแก้วที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเข้าอีไอเออีกครั้ง คาดหมายว่าน่าจะผ่านแต่ปรากฏว่า เกิดยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียก่อน ดังนั้นจึงต้องเริ่มกระบวนการใหม่ แต่ในทางกลับกันในยุคที่ คสช. สามารถใช้อำนาจยกเว้นขั้นตอนพิจารณาอีไอเอได้ หรือขอให้คสช.อนุมัติคำสั่ง ให้สผ.จัดทำแพ็กเกจให้ร.ฟ.ท. ทำกำแพงกันเสียง ระบบระบายน้ำ เป็นต้น เพื่อลดผลกระทบประชาชนและสิ่งแวดล้อม

"ที่ผ่านมาทั้ง2โครงการเคยเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนแล้วและคนในพื้นที่ส่วนใหญ่เข้าใจ โดยภาพรวมการเวนคืนที่ดินทั้ง 2โครงการรวมกว่า 20,000 แปลง เนื่องจากแต่ละโครงการมีสายทางที่ยาวกว่า 300 กิโลเมตร ทั้งนี้จากการลงสำรวจพื้นที่และการประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืนก่อนหน้านี้เฉลี่ยโครงการละกว่า 10,000 แปลง ส่วนใหญ่จะเน้นผ่านพื้นที่ว่างที่เป็นเรือกสวนไร่นา โดยค่าเวนคืนที่ดินจะคำนวณจากราคาประเมินสถาบันการเงินและหน่วยงานราชการ ซึ่งถือว่าราคาไม่แพงมาก เช่น ที่ตำบลเวียงเชียงรุ้ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ราคาที่ดินอยู่ที่ไร่ละ 10,000 บาทเท่านั้นในปัจจุบัน"

++เอกชนยกมือเชียร์สุดตัว

ต่อเรื่องนี้นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ เปิดเผยว่า จังหวัดกลุ่มล้านนาตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายและพะเยา มีข้อด้อยอย่างหนึ่ง ก็คือ ไม่มีเส้นทางรถไฟในพื้นที่ โครงการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย จึงเป็นโครงการที่ทุกจังหวัดในล้านนาตะวันออก เรียกร้องผลักดันกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่าโครงการนี้จะเกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจในดินแดนล้านนาตะวันออกเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของการขนส่งคนและสินค้า ซึ่งหากดูในแง่ของการขนส่งคนที่เป็นการขนส่งมวลชน รถไฟจะเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งของประชาชน ที่สามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยและเสียค่าใช้จ่ายไม่สูง ในแง่ของการขนส่งสินค้านั้น การขนส่งสินค้าระบบรางได้มีการคำนวณกันแล้วว่ามีต้นทุนที่ต่ำและเหมาะสมกับสินค้าเกษตร

"เชียงรายที่เป็นจังหวัดปลายทางของเส้นทางนี้ การเกิดขึ้นของรถไฟเด่นชัย-เชียงราย จะทำให้ความเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเชียงราย มีความสมบูรณ์ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ คือ การขนส่งยางพาราจากพื้นที่จังหวัดทางภาคใต้ ด้วยรถไฟขึ้นมาที่เชียงราย แล้วลงเรือต่อไปที่เมืองจีน การขนส่งยางพาราแผ่นจากภาคใต้มายังจังหวัดเชียงรายในขณะนี้ ยังต้องใช้การขนส่งทางบกด้วยรถยนต์เป็นหลัก ระบบรางจะทำให้ต้นทุนค่าขนส่งต่ำลง ยางพาราของไทยจะมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น" นายพัฒนา กล่าว

เช่นเดียวกับนายชาญยุทธ อุปพงษ์ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า หอการค้าจังหวัดนครพนมและผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมได้เสนอต่อคสช.ให้ผลักดันโครงการดังกล่าวไปแล้วเช่นกัน เพราะที่ผ่านมา มีเป้าหมายว่า จะเปิดใช้เส้นทางในปี 2562 แต่ยุบสภาเสียก่อน อย่างไรก็ดีถือว่าจะมีผลดีมาก ต่อการค้าชายแดน เพราะสปป.ลาวก็มีแผนลงทุนรถไฟทางคู่มาจ่อที่สะหวันนะเขตเช่นกัน

"ทุกวันนี้นครพนมถือเป็นเกตเวย์ค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสปป.ลาว เวียดนาม จีน ที่ส่งออกสินค้าทางรถไฟเสริมกับสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 ได้ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าส่งออก5หมื่นล้านบาท และปี 2557 คาดว่าจะทะลุแสนล้านบาท และยิ่งมีรถไฟทางคู่มาถึงก็ยิ่งเพิ่มมูลค่าได้สูงมากขึ้นเท่าตัวโดยเฉพาะช่วงเปิดเออีซี"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,956 วันที่ 12 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

http://www.thanonline.com/index.php?...7#.U5venPmSzDs
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #672 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2014, 12:52:45 »

   
เชียงราย - เวที “Eastern Lanna Economic Forum 2014-มหกรรมการค้าลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 3” เริ่มแล้ว กูรูแนะผู้ประกอบการ-หน่วยงานรัฐเร่งพัฒนาคุณภาพ-ลดต้นทุน-ปรับสายพันธุ์การผลิต และกระบวนการแทรกแซงราคา ย้ำอนาคตไทยผลิตอะไรได้ อีก 9 ประเทศก็ผลิตได้
       
       วันนี้ (4 มิ.ย.) นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาทางธุรกิจ "Eastern Lanna Economic Forum 2014" ส่วนหนึ่งของมหกรรมการค้าลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 3 ที่ห้องประชุมดอยตุง โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์รีสอร์ท เชียงราย
       
       โดยมีนายเฉลิมพล พงษ์ฉบับนภา พาณิชย์ จ.เชียงราย ในฐานะตัวแทนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน นำพาณิชย์จังหวัดจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ ตัวแทนนักธุรกิจในภาคเหนือ พม่า สปป.ลาว และจีนตอนใต้ เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
       
       นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า เชียงรายเป็นเมืองเกษตรกรรม รายได้ของประชาชนส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร แต่ก็มีภาคการค้าชายแดน การท่องเที่ยว ที่มีศักยภาพสูง จึงต้องมีการพัฒนา เพื่อขยายประโยชน์ไปสู่ภาคประชาชนให้มากขึ้น โดยยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ความเป็นล้านนาเอาไว้
       
       ขณะเดียวกันทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็มีแนวคิดจะสร้างรถไฟรางคู่มาถึงเชียงรายอยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าการเมืองจะเปลี่ยนแปลง และรัฐบาลใดจะเข้ามาบริหารประเทศ ก็ให้ความสำคัญต่อการเป็นเมืองยุทธศาสตร์ของเชียงราย
       
       ดังนั้น 17 จังหวัดภาคเหนือสามารถจับคู่ทางธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน และใช้ประโยชน์จากช่องทางดังกล่าวได้ ในส่วนของจังหวัดฯ เองก็จะพยายามส่งเสริมระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อรองรับ
       
       นายเฉลิมพลกล่าวว่า ในอดีตเชียงรายเป็นจังหวัดห่างไกล และมีนัยว่าสินค้าอุปโภคบริโภคแพงเพราะต้นทุนค่าขนส่งสูง ส่วนผลผลิตทางการเกษตร ก็ไม่มีโรงงานแปรรูปรองรับ เพราะโรงงาน ตลาด ส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคกลาง การส่งออกก็ห่างไกลท่าเรือเดินทะเล ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้ต่ำ
       
       แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นจังหวัดที่มีด่านการค้าชายแดนมากที่สุดถึง 5 ด่านถาวร และ 10 จุดผ่อนปรน เชื่อมโยงกับพม่า สปป.ลาว และจีนตอนใต้ เป็นแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ของภูมิภาค และอยู่ในกรอบความร่วมมือหลากหลาย เช่น เออีซี จีเอ็มเอส บิมสเทค ฯลฯ
       
       “ศักยภาพที่ว่านี้เริ่มบ่งชี้แล้ว เช่น เนื้อกระบือจากจีน ไก่แช่แข็งจากไต้หวัน ฯลฯ ถูกส่งเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ผ่านทางท่าเรือแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงแสน ต่อไปยังตลาดจีนตอนใต้ บอกถึงความสำคัญของระเบียงเศรษฐกิจที่มีผลต่อการส่งออกของไทย ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการที่จะใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์หรือไม่ ซึ่งกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 จึงได้จัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อสนับสนุน”
       
       ด้านนายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า เรื่องที่ตนอยากอธิบายคือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ซึ่งพูดกันมากมายจนเป็นกระแสไปทั่ว
       
       ตนอยากจะบอกว่า แท้ที่จริงมีการทยอยลดภาษีกับกลุ่มอาเซียนมาได้กว่า 14 ปีแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงสินค้าเกษตร 5 ชนิด ที่ลดเหลือเพียง 5% ที่เหลืออัตราภาษีเป็น 0% หมด จึงมีข้อถามว่าจะเอาเรื่องอะไรไปเข้าเออีซี
       
       ดังนั้น เรื่องเออีซีจึงไม่ใช่เรื่องการพูดถึงอัตราภาษี แต่คือการศึกษาเงื่อนไขอื่นในอีก 9 ประเทศที่ไม่ใช่เรื่องอัตราภาษี เช่น กรณีเราผลิตลำไย หรือสับปะรดกระป๋อง ที่ผ่านการตรวจจากองค์การอาหารและยา (อย.) ของประเทศไทย แต่อาจจะไม่ผ่านของอีก 9 ประเทศก็ได้ เป็นต้น
       
       “สิ่งเหล่านี้จะต้องศึกษาทั้ง 9 ประเทศเขาให้รอบคอบ”
       
       นายพรศิลป์กล่าวอีกว่า มาตรฐานการค้าของผู้ประกอบการในอนาคตไม่ใช่เรื่องต้นทุนอีกต่อไป เพราะมาตรฐานประเทศหนึ่งอาจมีปัญหาในอีกประเทศหนึ่ง ตนจึงแนะนำให้ดูหลายเรื่อง ซึ่งค่อนข้างซับซ้อน เช่น คุณภาพ ลดต้นทุน ปรับสายพันธุ์ แทรกแซงราคา ฯลฯ
       
       นายพรศิลป์ย้ำว่า หน่วยงานในประเทศไทยจะต้องร่วมกันทุกหน่วยไม่ใช่หน่วยงานพาณิชย์แห่งเดียว เพราะการรวมตลาดในเออีซีไม่ใช่การพาณิชย์เพียงอย่างเดียว เนื่องจากเมื่อผู้ประกอบการไทยผลิตสินค้าใดได้ด้วยต้นทุนใด ในอีก 9 ประเทศก็สามารถผลิต และนำเข้ามาได้เช่นกัน การบริโภคก็มีเหมือนกันด้วย
       
       ทั้งนี้ “มหกรรมการค้าลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 3” นอกจากจะมีเวทีสัมมนาดังกล่าวนี้ ตลอดการจัดการตั้งแต่ 3-8 มิ.ย. ยังมีการเปิดคลินิกให้คำปรึกษาด้านธุรกิจการค้า การเสวนา การสัมมนา และการจับคู่ทางธุรกิจ รวมทั้งมีมหกรรมสินค้า ณ สนามบินทหารอากาศ ฝูงบิน 416 (สนามบินเก่า) อ.เมือง ภายในอาคารชั่วคราวหรือพาวิเลียน ติดเครื่องปรับอากาศด้วย
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
metro761
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,810


« ตอบ #673 เมื่อ: วันที่ 01 กรกฎาคม 2014, 11:38:20 »

ดีครับ รับทราบ ถั่วต้มคับ
IP : บันทึกการเข้า

สนใจติดต่อได้ตลอดเวลา
 
   โทร  083-573-5592 dtac
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #674 เมื่อ: วันที่ 16 กรกฎาคม 2014, 16:02:45 »

คสช.สั่งปรับความเร็วรางคู่เท่าไฮสปีดเทรน ฟื้นโมเดลปชป.ผุดรถไฟ1.435ม.เชื่อมจีนผ่านเชียงของ-หนองคาย


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

"บิ๊กจิน" รื้อระบบราง สั่งคมนาคมศึกษาสร้างรถไฟทางคู่ 2 ระบบ ใช้ราง 1 เมตรกับ 1.435 เมตร เส้นทางยุทธศาสตร์ 2 สายจากภาชีไป "เชียงของ-หนองคาย" รับรถไฟจีนที่รอเชื่อมฝั่งลาว ดันไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียน การรถไฟฯถือโอกาสชงรื้อรางสายหลัก 2,516 กม. วงเงิน 1.1 ล้านล้านบาท จับตา คสช.ฟื้นโมเดลเก่าประชาธิปัตย์ สานต่อรถไฟไทย-จีน



แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางอาจมีการปรับเล็กน้อย หลังพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ด้านเศรษฐกิจ มอบนโยบายใหม่ให้กระทรวงคมนาคมศึกษาความเป็นไปได้การก่อสร้างรถไฟทางคู่โดยใช้รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกจ จากปัจจุบันประเทศไทยจะเป็นรางขนาด 1 เมตรหรือมิเตอร์เกจเป็นหลัก เหมือนกับประเทศในอาเซียน เช่น มาเลเซีย กัมพูชา

สั่งศึกษารางคู่ 1.435 เมตร

"รอง คสช.อยากให้การรถไฟฯคิดดู ถ้าสร้างรถไฟทางคู่เป็นราง 1.435 เมตรจะใช้เงินเท่าไหร่ เน้นการรองรับกับเส้นทางที่จะเชื่อมจีนที่จะสร้างรถไฟรางสแตนดาร์ดเกจมาจ่อที่ด่านชายแดนประเทศลาว"

เนื่องจากมีนักวิชาการนักธุรกิจ หอการค้า และสภาอุตสาหกรรมฯ นำเสนอแนวคิดให้พิจารณาความเป็นไปได้เนื่องจากหากใช้ราง1.435 เมตร จะทำให้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงขึ้นมากกว่ารถไฟที่สร้างด้วยราง 1 เมตร จะรองรับได้ทั้งสินค้าและผู้โดยสารมากขึ้น เพราะกำลังจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 ที่เปิดเสรีการค้าและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจีนที่มีประชากร 1,000 ล้านคน บวกกับประเทศอาเซียนที่มีประชากรรวมกันประมาณ 600 ล้านคน

"มีคำแนะนำจากนักธุรกิจว่าตลาดประเทศจีนใหญ่มาก ดังนั้น ไทยซึ่งได้เปรียบที่ตั้งเป็นจุดศูนย์กลางน่าจะนำตรงนี้มาต่อยอดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการค้า ปัจจุบันจีนมีแผนพัฒนารถไฟมายังประเทศลาว ไทยก็น่าจะมีโครงการต่อเชื่อมด้วยเพื่อเปิดตลาดให้กว้างมากขึ้น"

เชื่อมจีนที่เชียงของ-หนองคาย

ทั้งนี้เมื่อดูแนวที่จะเป็นเส้นยุทธศาสตร์เชื่อมต่อกับรถไฟจีนมี 2 เส้นทาง คือ สายอีสานจากภาชี-หนองคาย ไปเชื่อมที่นครเวียงจันทน์ และสายเหนือจากภาชีไปตามเส้นทางสายเหนือถึงเด่นชัย เชื่อมกับรถไฟสายใหม่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ บริเวณด่านเชียงของ โดยทางประเทศจีนจะสร้างรถไฟมาถึงชายแดนลาวที่ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว โดยใช้รางขนาด 1.435 เมตร ถ้าหากประเทศไทยสร้างรางขนาดเดียวกันไปเชื่อมกับประเทศจีน จะทำให้รถไฟวิ่งทะลุจากจีนมายังกรุงเทพฯได้

"รูปแบบการก่อสร้างยังไม่รู้จะเป็นแบบไหน สร้างราง 1.435 เมตรแยกต่างหาก วิ่งคู่ขนานไปกับแนวรถไฟเดิม หรือใช้ทางร่วมกัน แต่รองหัวหน้า คสช.ให้โจทย์ไปดูว่าถ้าสร้างรถไฟทางคู่ 2 สายนี้โดยใช้รางมาตรฐานจะใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ขอให้สรุปรายละเอียดโดยเร็วก่อนจะนำเสนอให้หัวหน้า คสช.พิจารณาต่อไป"

ที่ปรึกษาชี้ต้นทุนไม่ต่างกันมาก

แหล่งข่าวจากวงการบริษัทที่ปรึกษากล่าวเพิ่มเติมว่าค่าก่อสร้างรถไฟใช้ราง 1 เมตร และ 1.435 เมตรไม่ต่างกันมากขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ โดยราง 1 เมตร เฉลี่ย 300 ล้านบาท/กม. ส่วนราง 1.435 เมตร ราคาเฉลี่ย 400-500 ล้านบาท/กม.

"การก่อสร้างราง 1.435 เมตรจะใช้รถทั้งดีเซลและรถไฟฟ้ามาวิ่งร่วมกันได้ และหาซื้อง่ายเพราะทั่วโลกใช้ราง 1.435 เมตรกว่า 60% ขนได้ทั้งสินค้าและคน"

โดยรถไฟขนส่งสินค้าจะเป็นแบบวิ่งทางไกลไม่หยุดพัก มีความเร็ว 120-160 กม./ชม. และรถไฟโดยสารวิ่งความเร็ว 200-250 กม./ชม. ใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วสูงที่ทำความเร็วสูงสุด 300-350 กม./ชม. แต่การลงทุนทางคู่จะถูกกว่าเพราะไม่ต้องใช้รถไฟหัวจรวด ส่วนราง 1 เมตร ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. เพราะต้องใช้เส้นทางร่วมกับรถขนส่งสินค้าที่วิ่งด้วยความเร็ว 80-120 กม./ชม.

งบฯอู้ฟู้ 1 ล้านล.รื้อราง 1 เมตร

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่าได้ประเมินค่าก่อสร้างรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร ในสายหลักระยะทาง 2,516 กม. จากหนองคาย-ปาดังเบซาร์ และเชียงของ-ท่าเรือแหลมฉบัง ใช้เงินลงทุน1,156,519 ล้านบาท เช่น สายแหลมฉบัง-เชียงของอยุ่ที่ 490,000 ล้านบาท

"ยังไม่รู้ว่านโยบายจะยกเลิกรถไฟทางคู่เดิมที่ใช้ราง 1 เมตรเลยหรือไม่ ถ้าแบบนั้นเท่ากับต้องนับหนึ่งใหม่ เพราะทางคู่เฟสแรก 5 สายอยู่ในขั้นการพิจารณาอีไอเอแล้ว จะก่อสร้างได้ก่อน คือ สายจิระ-ขอนแก่น กับสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ถ้าหากเลือกวิธีการสร้างทางคู่ 2 ระบบโดยมีทั้งราง 1.435 เมตรวิ่งคู่กับราง 1 เมตร จะทำให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้ ขึ้นอยู่กับนโยบาย คสช."

ฟื้นโมเดลประชาธิปัตย์

"จริง ๆ แล้วแนวคิดรื้อราง 1 เมตรเป็นราง 1.435 เมตรมีหลายรัฐบาลที่คิดจะทำ แต่ทำไม่ได้ ต้องรื้อรางรถไฟเดิมทั้งประเทศและเสียเงินลงทุนมาก ต้องเปลี่ยนทั้งรางและขบวนรถไฟ โดยไม่ได้รางรถไฟเพิ่ม เพราะยังคงเป็นทางเดี่ยวอยู่ แค่ทำความเร็วเพิ่มขึ้นเท่านั้น ที่สำคัญประเทศไทยจะต้องมีระบบรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านที่ใช้ราง 1 เมตรเช่น มาเลเซีย"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ยุครัฐบาลประชาธิปัตย์เมื่อปี 2553 เคยผลักดันเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะเชื่อมต่อกับรถไฟของจีนที่สร้างมารอที่ชายแดน สปป.ลาว ที่นครเวียงจันทน์และห้วยทราย มีความคืบหน้าถึงขั้นตอนจะลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับรัฐบาลจีนเพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนรูปแบบรัฐวิสาหกิจ สัดส่วน 51 : 49 มีทุนจดทะเบียน 1 แสนล้านบาท โดยบริษัทนี้จะขอสัมปทานเช่าใช้เส้นทางจากการรถไฟฯเป็นเวลา 50 ปี แต่มีการยุบรัฐบาลไปก่อน ทำให้โครงการสะดุดลง

"ไม่รู้ว่าแนวคิดของรองหัวหน้า คสช.นี้ จะเป็นโมเดลเดียวกับที่รัฐบาลประชาธิปัตย์เคยคิดไว้หรือไม่ ตอนนั้นจีนสนใจสายกรุงเทพฯ-หนองคายที่เชื่อมจากคุนหมิงผ่านเวียงจันทน์มากรุงเทพฯ ทะลุไปมาเลเซียและสิงคโปร์ ระยะแรกเริ่มสร้างจากหนองคายมากรุงเทพฯก่อน ค่าก่อสร้าง 180,000 ล้านบาท จากนั้นจึงต่อขยายไปถึงภาคใต้เชื่อมกับมาเลเซีย" แหล่งข่าวกล่าว



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1405343358


* 14053433581405343438l.jpg (86.88 KB, 237x480 - ดู 2023 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #675 เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2014, 22:41:18 »

การเติบโตของพื้นที่ชายแดนเชียงของบนเส้นทางเศรษฐกิจคู่ขนาน

ที่มา
http://obels-mfu.com/content/การเติบโตของพื้นที่ชายแดนเชียงของบนเส้นทางเศรษฐกิจคู่ขนาน


* 001.jpg (178.71 KB, 691x971 - ดู 631 ครั้ง.)

* 002.jpg (234.26 KB, 687x969 - ดู 570 ครั้ง.)

* 003.jpg (86.75 KB, 689x971 - ดู 566 ครั้ง.)

* 004.jpg (167.47 KB, 969x686 - ดู 751 ครั้ง.)

* 005.jpg (157.44 KB, 709x913 - ดู 1098 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #676 เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2014, 22:42:15 »

การเติบโตของพื้นที่ชายแดนเชียงของบนเส้นทางเศรษฐกิจคู่ขนาน

ที่มา
http://obels-mfu.com/content/การเติบโตของพื้นที่ชายแดนเชียงของบนเส้นทางเศรษฐกิจคู่ขนาน


* 006.jpg (249.68 KB, 709x915 - ดู 661 ครั้ง.)

* 007.jpg (241.13 KB, 705x913 - ดู 571 ครั้ง.)

* 008.jpg (216.95 KB, 705x917 - ดู 560 ครั้ง.)

* 009.jpg (52.57 KB, 708x257 - ดู 539 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #677 เมื่อ: วันที่ 22 กรกฎาคม 2014, 16:27:01 »

คสช.ลุย 5 เขตเศรษฐกิจพิเศษ "เอกชน-ท้องถิ่น" หนุนขับเคลื่อนเต็มสูบ
P21 ก.ค. 2557 เวลา 16:07:51 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
การจัดตั้ง "เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ" เป็นหนึ่งในนโยบายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หยิบยกขึ้นมาสานต่อมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) หัวหน้า คสช.เป็นประธาน เห็นชอบพื้นที่จัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะแรก จำนวน 5 พื้นที่จากจำนวน 12 พื้นที่ ได้แก่ 1.ด่านศุลกากรแม่สอด จังหวัดตาก ติดประเทศเมียนมาร์ 2.ด่านศุลกากรอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ติดประเทศกัมพูชา 3.ด่านศุลกากรบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดประเทศกัมพูชา
4.ด่านศุลกากรมุกดาหาร ติด สปป.ลาว และ 5.ด่านศุลกากรสะเดา และด่านปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา ติดประเทศมาเลเซีย
ทั้ง 5 จุดนี้ถือเป็นประตูการค้าหลักที่มีมูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนสูงสุดของไทย และเป็นเมืองหน้าด่านรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และยังเป็นพื้นที่การพัฒนาสำคัญในแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) เชื่อมโยงเวียดนาม-ลาว-ไทย-พม่า
ส่วนพื้นที่อีก 7 แห่ง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 3 แห่ง คือ อำเภอแม่สาย เชียงแสนและเชียงของ พื้นที่ชายแดนอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม พื้นที่ชายแดนอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พื้นที่ชายแดนบ้านพุน้ำร้อน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และพื้นที่ชายแดนจังหวัดนราธิวาส
สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้คือ การจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน 4 เรื่อง คือ 1.สิทธิประโยชน์การลงทุนตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ 2.เขตปลอดภาษีของกรมศุลกากร การให้บริการจุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ 3.การสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าว และ 4.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรในพื้นที่ เพื่อรองรับกิจกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาคเอกชน-ท้องถิ่นหนุนเต็มสูบ
"ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจความพร้อมและอุปสรรคของการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว พบว่าภาครัฐ-เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ต่างให้การสนับสนุนเต็มที่ หลังจากได้พยายามผลักดันมานานกว่าสิบปีแล้ว
"สมพร สิริโปราณานนท์" ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ขณะนี้ด่านสะเดาอยู่ระหว่างลงทุนขยายพื้นที่ด่านเก่าเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20 ไร่ เพื่อลดปัญหาการจราจรแออัด ใช้งบประมาณ 71 ล้านบาท โดยจะสร้างบริเวณด่านขาออกก่อน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 ปี และสาเหตุที่ไม่สามารถสร้างพร้อมกันได้ทั้งขาเข้าและขาออกเพราะการจราจรจะติดขัดอย่างหนัก โดยเฉพาะช่วงเวลาขนส่งสินค้าต้องรอคิวนานถึง 4 ชั่วโมง
หากสร้างเสร็จจะช่วยอำนวยความสะดวก และทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทย-มาเลเซีย บริเวณด่านสะเดา ขยายตัวเติบโตขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 30% โดยเฉพาะการขนส่งและการท่องเที่ยว ปัจจุบันมูลค่าการค้าผ่านด่านสะเดาปีละ 4 แสนล้านบาท และมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้า-ออกประมาณ 2 ล้านคน
สำหรับปัญหาอื่น ๆ ที่ฝ่ายความมั่นคงต้องเร่งแก้ไขคือ ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
สระแก้ว/ตราด ฮับสู่กัมพูชา-เวียดนาม
สำหรับจังหวัดสระแก้วได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 โดยการกำหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจไว้หลายพื้นที่ เช่น ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ และบ้านหนองใหญ่ ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร และจุดขนส่งสินค้าที่บ้านหนองเอี่ยน ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ เพื่อลดการแออัดที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก
"สุมิตร เขียวขจี" ประธานหอการค้าจังหวัดตราด กล่าวว่า แม้ว่าตราดจะเป็นจังหวัดเล็ก แต่เหมาะที่จะเป็นฮับหรือประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะด่านบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีศักยภาพมากในการเชื่อมโยงระหว่างไทย-กัมพูชา-เวียดนาม และจีน
ฉะนั้นภาครัฐต้องวางแผนและลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อม เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การขยายถนน 4 เลนไปสู่จุดชายแดน การสร้างท่าเทียบเรือ การบริหารจัดการท่าเทียบเรือในรูปแบบของการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์
แม่สอดตื่นตัวเร่งคลอดแผนแม่บท
ขณะที่ฝั่งแม่สอด ถือเป็นพื้นที่แรกที่มีความพยายามแจ้งเกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษมาก่อนพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งในระดับท้องถิ่นมีการศึกษาเรื่องนี้ไว้แล้ว แต่รัฐบาลหลายยุคก็ไม่อาจขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นได้
"ประเสริฐ จึงกิจรุ่งโรจน์" เลขาธิการหอการค้าจังหวัดตาก เปิดเผยว่า หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดตากต้องเร่งสรุปพื้นที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เบื้องต้นคาดว่าจะเลือกพื้นที่ 3 อำเภอชายแดน ได้แก่ แม่สอด แม่ระมาด พบพระ ประมาณ 5,600 ไร่ เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีในปี 2547
"เร็ว ๆ นี้จะเร่งเขียนแผนแม่บทให้มีความชัดเจนมากขึ้น เช่น การวางผังโรงงานอุตสาหกรรม โซนคลังสินค้า, ผังเมือง รวมทั้งเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับ และแนวทางการจัดเก็บภาษีเข้าท้องถิ่น เช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม เป็นต้น"
อย่างไรก็ตาม สิ่งแรกที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในเร็ว ๆ นี้ คือ ศูนย์วันสต็อปเซอร์วิส และการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมยไปฝั่งเมียนมาร์แห่งที่ 2 ในตำบลท่าสายลวด วงเงินก่อสร้าง 1,000 ล้านบาท หากตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสำเร็จ มูลค่าการค้าชายแดนด่านแม่สอดจะเพิ่มสูงถึง 1-2 แสนล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท
คลังเคาะเรื่องสิทธิประโยชน์ ส.ค.นี้
"รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์" ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิประโยชน์ ขอบเขตพื้นที่และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุนของ กนพ. กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังไปพิจารณารายละเอียดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่ง คสช.ต้องการให้ได้ข้อสรุปเรื่องสิทธิประโยชน์ภายในเดือนสิงหาคมนี้
แนวทางการให้สิทธิประโยชน์นั้น เบื้องต้นคงเป็นเรื่องการนำเข้าวัตถุดิบต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีมาตรการทางภาษี เช่น การยกเว้นอากรขาเข้า การจัดให้มีเขตปลอดอากร การให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โซน 3 ที่จะได้รับการลดภาษีนิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี และขยายได้อีก 5 ปี นอกจากนี้ยังมีการยกเว้นภาษีของกรมสรรพากรด้วย อาทิ การลดภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์จากอัตรา 3% เหลือ 0.1% ทั้งนี้ต้องดูหลายมาตรการมาผสมกันแล้วออกเป็นกฎหมาย ซึ่งในแต่ละพื้นที่อาจจะต้องมีกฎหมายเฉพาะของตัวเอง
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนำร่องทั้ง 5 แห่งนี้จะเป็นโมเดลให้กับพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #678 เมื่อ: วันที่ 22 กรกฎาคม 2014, 17:46:56 »

ชียงราย – ตัวแทนภาครัฐ-เอกชน ทั้งไทย และพม่า ล่องเรือดูการก่อสร้างสะพานข้ามโขงเชื่อมพม่า-ลาวแห่งแรก พบคืบหน้าไม่หยุด เชื่อเสร็จตามกำหนดปลายปี 58 แน่
       
       วันนี้(22 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของ จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า และตัวแทนภาครัฐ-เอกชนในเชียงราย ได้เดินทางด้วยเรือกาสะลองคำ 1 ของบริษัท แม่โขง เดลต้า ทราเวล เอเจนซี่ จำกัด จากสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน ไปตามแม่น้ำโขงชายแดนไทยพม่า-สปป.ลาว
       
       ทั้งนี้ เพื่อสำรวจเส้นทางไปจนถึงจุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมพม่า-สปป.ลาว ตรงเมืองเชียงลาบกับแขวงหลวงน้ำทา ห่างจาก อ.เชียงแสน ไปทางทิศเหนือประมาณ 82 กิโลเมตร
       
       การล่องเรือในแม่น้ำโขง เป็นไปด้วยความสะดวก และพบเรือลาดตระเวนของทางการพม่า ที่จัดตั้งขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์ปล้น-ฆ่าลุกเรือจีน 2 ลำเมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา จอดอยู่ในจุดสำคัญ ป้องกันเหตุร้ายด้วย
       
       เมื่อคณะฯไปถึงจุดก่อสร้างสะพานเชื่อมพม่า-สปป.ลาว พบว่า การก่อสร้างคืบหน้าอย่างรวดเร็ว มีการตั้งเสาตอม่อผ่านกลางแม่น้ำโขงแล้ว แต่กระแสน้ำในฤดูนี้เชี่ยวกราด ทำให้งานบางส่วนต้องหยุดชั่วคราว มีการงานก่อสร้างบนบกหรือส่วนที่อยู่เหนือน้ำเท่านั้น ที่ยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง
       
       ด้าน น.ส.ผกามาศ เวียร์ร่า ประธานหอการค้า อ.แม่สาย -ผู้บริหารบริษัทแม่โขงเดลต้าฯ กล่าวว่า จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าการก่อสร้างสะพานคืบหน้ามาก มีการวางเสาตอม่อจนเกือบสุดแล้ว
       
       ปัจจุบันจึงเป็นงานเกี่ยวกับการเชื่อมและวางตัวสะพาน ซึ่งแม้ว่าช่วงน้ำหลากงานบางส่วนต้องชะลอไปก่อนก็ตาม แต่เชื่อว่าสะพานแห่งนี้จะแล้วเสร็จในปลายปี 58 แน่นอน เพราะทางเจ้าหน้าที่ได้มีการควบคุมดูแลโครงการก่อสร้างอย่างเข้มงวด
       
       สำหรับสะพานแม่น้ำโขงเชื่อมพม่า-สปป.ลาว แห่งแรกนี้ ก่อสร้างระหว่างเมืองเชียงลาบ หรือเวียงแคว้นสา ในฝั่งประเทศพม่า ซึ่งเป็นที่อยู่เก่าแก่ของชาวไทลื้อ บางครั้งก็เรียกกันว่า เมืองโขงหรือโขงโค้ง ส่วนฝั่ง สปป.ลาว คือบ้านเชียงกก เมืองลอง แขวงหลวงน้ำทา ตั้งอยู่ห่างจาก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ไปทางทิศเหนือประมาณ 82 กิโลเมตร ในอดีตเป็นเมืองท่าเพื่อการพักค้างแรมของเรือในแม่น้ำโขง
       
       โดยทางพม่า และ สปป.ลาว ได้ลงนามก่อสร้างในปี 2554 ด้วยงบประมาณ 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รูปแบบสะพานเป็นแบบเหล็กโครงถัก หรือยึด (Steel Truss) ยาว 691.6 เมตร กว้าง 10.9 เมตร ประกอบด้วยผิวจราจรจำนวน 2 ช่องทางจราจร รวมทั้งมีทางเดินเท้าทั้ง 2 ข้าง กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.2558
       
       สะพานแห่งนี้นอกจากจะเชื่อม 2 ประเทศ ยังเชื่อมโยงเส้นทางสายอาร์สามบี (อ.แม่สาย จ.เชียงราย-พม่า-จีนตอนใต้) กับถนนอาร์สามเอ (อ.เชียงของ-สปป.ลาว-จีนตอนใต้)เข้าด้วยกันอีกด้วย


http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000082791
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #679 เมื่อ: วันที่ 28 กรกฎาคม 2014, 12:18:10 »


เชียงราย - สถิติการค้าผ่านด่านเชียงของ หลังเปิดใช้สะพานไทย-ลาว แห่งที่ 4 พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุด ยอดเฉียดหมื่นล้าน คาดครบ 4 ไตรมาสทะลุ 1.5 หมื่นล้านแน่
       
       วันนี้ (27 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นับตั้งแต่มีการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 4 เชื่อมระหว่าง อ.เชียงของ จ.เชียงราย กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ทำให้มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรเชียงของ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
       
       โดยสุติล่าสุดจนถึงเดือนมิถุนายน พบว่า มีมูลค่าการค้า 9,800 ล้านบาท แยกเป็นการนำเข้า 1,800 ล้านบาท ส่งออก 8,000 ล้าบาท สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นประเภทผัก ดอกไม้ ผลไม้ ส่วนสินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ผลไม้ตามฤดูกาล วัสดุก่อสร้าง สินค้าอุปโภคบริโภค
       
       นายศรชัย สร้อยหงษ์พราย นายด่านศุลกากรเชียงของ จ.เชียงราย กล่าวว่า สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เคยให้ทางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ทำการวิจัยการค้าชายแดน หลังมีการเปิดใช้สะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ซึ่งผลการศึกษาระบุว่า มูลค่าการค้าหลังการเปิดสะพานจะเพิ่มไม่ต่ำกว่า 10% และเมื่อถึงปี 2560 มูลค่าการค้ารวมจะสูงถึงประมาณ 17,000 ล้านบาท ซึ่งก็สอดคล้องตามนั้น
       
       เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบการค้าชายแดนช่วงเข้าไตรมาสที่ 3 หลังมีการเปิดสะพานแล้ว พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นราว 10.6% และเชื่อว่าเมื่อครบ 4 ไตรมาส ตัวเลขการค้ารวมจะสูงถึงประมาณ 15,000 ล้านบาท
       
       “ขณะนี้กำลังก่อสร้างด่านใหม่ จะเสร็จปลายปีนี้ จากนั้นจะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาติดตั้งเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการแบบวันสต็อปเซอร์วิส ระหว่างไทย และสปป.ลาว ซึ่งถือเป็นความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียนตามข้อตกลงร่วมด้วย”
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
หน้า: 1 ... 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 [34] 35 36 37 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!