เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 07:37:36
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คุยเรื่องไอที - เทคโนโลยี (ผู้ดูแล: K€nGja1, chiohoh, nuifish, NOtis)
| | |-+  อัปเกรดข่าว3G ข่าวสารInternet/Wifi /โทรคมนาคม ในเมืองไทย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 พิมพ์
ผู้เขียน อัปเกรดข่าว3G ข่าวสารInternet/Wifi /โทรคมนาคม ในเมืองไทย  (อ่าน 15549 ครั้ง)
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« เมื่อ: วันที่ 11 ตุลาคม 2010, 22:46:25 »

อัปเกรดข่าว3G ข่าวสารInternet/Wifi /โทรคมนาคม



ข่าวใหม่วันนี้ 24/07/2011




ดีแทคไม่สนอินทร์พรหม เปิด “3G HSPA” สิงหาคมนี้ [หน้า7]
 
 
ดี แทคเดินหน้าเปิดบริการ 3G HSPA ความถี่ 850 MHz
เชิงพาณิชย์กลางเดือนส.ค.นี้ ไม่สนกสทที่บอกให้รอความเห็นอัยการสุงสุด
 ยันกสทช. ออกใบอนุญาตให้บริการ HSPA ภายใต้สัญญาสัมปทานแล้ว
 พร้อมลงทุนเพิ่มปีหน้า 750 ล้านบาทเพื่อให้ได้สถานีฐาน 3G จำนวน 2,000 ไซต์ทั่วประเทศ
ต่อหน้า7


-‘นที’ ปลดล็อกนำเข้าอุปกรณ์ 3G [หน้า7]

-กสท มั่นใจกสทช.ไฟเขียวนำเข้าอุปกรณ์ HSPA [หน้า7]

-ทีโอทียันอีก 3 เดือนได้ใช้ 3G ทั่วประเทศ [หน้า7]

-บอร์ดอนุมัติเซ็นสัญญา 3G TOT [หน้า7]

-อนุญาโตฯชี้ทีโอทีแพ้คดีภาษีสรรพสามิตเอไอเอส [หน้า7]

-สบท.ชู "ทรูมูฟ-ฮัทช์" โทร.ติดยาก [หน้า7]



                         
   





         



ของฝากกับสิ่งดีๆ

10 ข้อแนะนำในการซื้อสินค้าออนไลน์

สวัสดีครับ สมาชิกชาว chiangraifocus ช่วงนี้การซื้อขายและโฆษณาผ่านเว็บไซต์เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายเลยนะครับ เพื่อสร้างความมั่นใจในการซื้อขายสินค้าวันนี้ผมได้ รวบรวมข้อแนะนำ ดีในการซื้อสินค้าออนไลน์มาฝากกันครับ

1. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของประกาศโดยละเอียดโดย ตรวจสอบสถานะความเป็นสมาชิก VIP, Member, Non Member ยิ่งสถานะยิ่งสูง ความน่าเชื่อถือยิ่งมาก

2. ท่านสามารถตรวจสอบประวัติของผู้ขายโดยใช้ ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมลของ ผู้ขาย โดยการเอาไปค้นหาจาก เว็บไซต์ Google.com ได้

3. ตรวจสอบ ชื่อที่อยู่ร้านค้า หรือ หมายเลขทะเบียน พาณิชย์ฯ หากไม่มีหน้าร้าน อาจขอสำเนาบัตรประชาชนของผู้ขาย ตรวจสอบทะเบียนการค้าออนไลน์ที่นี่ http://www.dbd.go.th/edirectory/
  
4. ขอหมายเลขโทรศัพท์บ้านที่ติดต่อได้ เพื่อยืนยันว่ามีสถานที่ติดต่อที่แน่นอน ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์บ้านที่นี่ http://phonebook.tot.co.th/

5. ถ้าเริ่มซื้อขายกันครั้งแรกแนะนำให้ใช้ บริการธนาณัติ ออนไลน์ของไปรษณีย์ไทย ยืนยันตัวตนได้ปลอดภัย รายละเอียดธนาณัติออนไลน์ที่นี่ http://classified.sanook.com/help.php?mod=news&id=227

6. หมั่นตรวจสอบราคาสินค้าว่าที่ ขายนั้นไม่ถูกกว่าท้องตลาด จนเกินไป

7. หากต้องโอนเงินค่าสินค้าก่อน กรุณาตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผู้ขายมีตัวตนและสามารถติดตามตัวได้ ก่อนโอนเงินทุกครั้ง

8. ควรโอนเงินผ่านเคาเตอร์ธนาคาร เพราะจะสามารถติดตามหรืออาญัติเงินได้ โดยการแจ้งไปยังสำนักงานใหญ่ ในกรณีที่ "สงสัยว่ามีการฉ้อโกงเกิดขึ้น" หากใช้บริการโอนเงินผ่านตู้ ATM การติดตามจะเป็นไปได้ยาก

9. หากเป็นไปได้อาจใช้วิธีนัดพบเพื่อส่งมอบสินค้า ควรจะนัดในสถานที่ชุมชน และทดสอบสินค้าให้เรียบร้อยก่อนจ่ายเงิน

10. ใช้วิจารณญาณทุกครั้งก่อนทำการซื้อของผ่านอินเทอร์เนต สังเกตุพฤติกรรมผู้ขาย ผู้ขายที่ดีจะยินดีตอบทุกคำถามและพร้อมที่จะให้ข้อมูลต่างๆกับผู้ซื้อ

เมื่ออ่านจบแล้วพยายามนำไปปฎิบัติจริงนะครับ ท่านจะมีภูมิคุ้มกันพวกมิจฉาชีพขึ้นอีก ไม่มากก็น้อย ทางที่ดีเห็นหน้าเห็นตากันนัดเจอกันได้ลองได้จับยื้นหมูยื้นแมวจะดีที่สุดครับ


 





* globalwarming_1024.jpg (45.67 KB, 1050x95 - ดู 1137 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 24 กรกฎาคม 2011, 20:22:58 โดย หนอนน้อย » IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 17:48:50 »

ชี้คลังเตะถ่วงดีแทคอัปเกรด 3G


ดีแทครอลุ้นบอร์ดกสทอนุมัติให้บริการ 3G บนความถี่เดิม 850 MHz 12 ต.ค.นี้ หากไม่คืบ เดินหน้าเจรจาขอเป็น MVNO 3G TOT คนวงในชี้กก.มาตรา 22 พิจารณาช้าเพราะตัวแทนคลังเตะถ่วงผูกเรื่องแปรสัมปทานให้เสร็จก่อนอนุมัติ อัปเกรด 3G
       
       นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานกลยุทธ์องค์กร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่าหาก ในการประชุมบอร์ด กสทในวันที่ 12 ต.ค.นี้ที่จะมีการพิจารณาให้ดีแทคอัปเกรดความถี่เดิมเพื่อให้บริการ 3G ยังไม่มีความคืบหน้า ก็จะเริ่มเจรจากับบริษัท ทีโอที ในการขอโรมมิ่งคลื่น 1900 MHz หลังจากที่ทีโอทีเป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่เหลือ อยู่ ที่ให้บริการ 3Gได้ ซึ่งหากได้ข้อสรุปจะมีการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อให้บริการในลักษณะการเป็น MVNO 3G TOT เพื่อให้บริการ 3G กับลูกค้าดีแทค
       
       ‘ดีแทคไม่ได้คาดหวังอะไรมากนักกับการอนุญาตให้เราให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA บนความถี่ 850 MHz เพราะเรื่องค้างอยู่ในวาระบอร์ดกสทตั้งแต่ปี 2551 แล้ว ซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกับที่ดีแทคขออนุญาตกทช.อัปเกรดสถานีฐานจาก 2G เป็น 3G จำนวน 1,220 สถานี แต่ติดตั้งจริงได้เพียง 54 สถานีเท่านั้นเพราะบอร์ดกสทไม่ยอมพิจารณาสักที’
       
       แหล่งข่าวจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า อุปสรรค ที่ทำให้การพิจารณาอัปเกรดการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิม 850 MHz ของดีแทคและทรูมูฟยังไม่มีความคืบหน้าเป็นเพราะมีการเปลี่ยนตัวกรรมการในคณะ กรรมการมาตรา 22 ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐพ .ศ.2535 มาแล้วถึง 2-3 ครั้ง ส่งผลให้การพิจารณาไม่ต่อเนื่อง
       
       อย่างไรก็ตามไอซีทีได้รับทราบปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด และได้พยายามทำความเข้าใจกับคณะกรรมการมาตรา 22ให้เร่งดำเนินการเพราะต้องการให้ประเทศไทย มีการให้บริการ 3G ในทางใดทางหนึ่ง โดยที่ผ่านมาผู้บริหารของ กสท ที่ได้เข้าไปร่วมประชุมก็รายงานว่าต้องการให้ไอซีทีประสานงานให้การอนุญาต ให้บริการ HSPA เกิดได้โดยเร็วและไม่ต้องการให้คณะกรรมการมาตรา 22 เข้ามาก้าวก่าย
       
       ด้านแหล่งข่าวจากกสท กล่าวว่า คณะกรรมการมาตรา 22 มีจำนวน 9 คน ประกอบด้วยตัวแทนของกระทรวงการคลัง, กระทรวงไอซีที, ผู้บริหาร กสท ,สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) , สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ ผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด โดยปัจจัยหลักที่ทำให้การพิจารณาอนุญาตให้เปิดบริการล่าช้า เป็นเพราะผู้แทนจากกระทรวงคลัง มีธงไว้ในใจว่า ต้องการให้การดำเนินการแปรสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ (K2) แล้วเสร็จก่อน ถึงจะพิจารณาอัปเกรดคลื่นความถี่เดิม บนใบอนุญาตใหม่
       
       ‘ไม่ ใช่ว่า กสท ไม่อยากให้ดีแทค และทรูมูฟอัปเกรดความถี่เดิม แต่ติดปัญหาผู้แทนจากคลังในคณะกรรมการมาตรา 22 ที่ไม่ยอมฟังเหตุผล ต้องการจะดึงเอาเรื่องแปรสัมปทานมาเกี่ยว และเราก็ได้อธิบายไปแล้วว่า หากเปิดบริการ 3G บนความถี่ 850 MHz ของดีแทคไม่ถือเป็นการผิดสัญญาสัมปทาน เพราะเป็นการดำเนินการงานบนคลื่นความถี่เดิมที่มีอยู่แล้ว อีกทั้งยังจะช่วยให้กสท มีส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานเข้ามาเพิ่มขึ้นด้วย’
       
       อย่างไรก็ตามหากในวันที่ 12 ต.ค. นี้ บอร์ดกสทมีมติพิจารณาให้บริการ HSPAได้นั้น จะมีการเจรจากับดีแทคก่อนเพราะดีแทคมีสิทธิใช้คลื่นความถี่ 850 MHz ตามสัญญาสัมปทานเดิมอยู่แล้ว รอเพียงบอร์ดกสทอนุมัติเพื่อให้ติดตั้งสถานีฐานเพิ่มเติมเท่านั้น ส่วนการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องรอคณะกรรมการมาตรา 22
       
       ส่วนกรณีทรูมูฟนั้นมีความซับซ้อนของประเด็นข้อกฏหมายมากกว่า เพราะตามสัญญาสัมปทานของทรูมูฟ ไม่มีสิทธิใช้ความถี่ย่าน 850 MHz ที่ผ่านมาเป็นเพียงการเซ็นเอ็มโอยูกับกสท เพื่อทดลองการให้บริการเท่านั้น แต่ทรูมูฟก็ตีกินโฆษณาเชิงพาณิชย์ด้วยการพ่วง 3G +WiFi พร้อมทั้งมีการติดตั้งสถานีฐานในพื้นที่ซึ่งยังไม่ได้มีการอนุญาต โดยทรูมูฟต้องรอการพิจารณาจากคณะกรรมการมาตรา 13 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2535 เนื่องจากหากบอร์ดกสทอนุญาตให้ทรูมูฟให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA ความถี่ 850 MHz ก็เหมือนการให้สัมปทานใหม่ ซึ่งกสทไม่สามารถทำได้
       
       ‘ประเด็น ทรูมูฟ ถือว่ามีความอ่อนไหวเรื่องข้อกฏหมายมาก หากบอร์ดกสทอนุญาตให้ทรูมูฟทำได้ ก็ต้องอนุญาตให้ดีพีซีทำได้เหมือนกัน เพราะเหตุผลของบอร์ดกสทชุดก่อนที่ให้ทรูมูฟทดลองบริการ เป็นเหตุผลที่กีดกันบริษัทคู่สัมปทานอย่างดีพีซี เพราะทั้งทรูมูฟและดีพีซี เกิดมาด้วยการเซ็งลี้ความถี่จากดีแทคเหมือนกันทั้งคู่ หากรายหนึ่งทำไม่ได้ อีกรายก็ไม่สมควรทำได้เหมือนกัน’



กสท.เตรียมแผน2 งัดคลื่น850MHZ ที่เหลืออัพเกรดขึ้น3G หากแผนซื้อ"ฮัทช์"ล่ม

"กสท."เตรียมแผน2 งัดคลื่น 850MHZ ที่เหลืออีก 5MHZลงทุนเองอัพเกรดขึ้น3G บนเทคโนโลยีHSPA ถ้าแผนซื้อ"ฮัทช์"ล่ม เผยรัฐมนตรีไอซีทีให้นโยบายราคาเกิน4พันล้านบาทไม่ให้ซื้อ ทั้งบอร์ดฯอนุมัติจ่ายปันผลครึ่งปีแรกเข้าคลัง615 ล้านบาท จากกำไรสุทธิ 4,000 ล้านบาท

นายจิรายุทธ  รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่าที่ประชุมบอร์ดล่าสุด(12 ต.ค.2553) มีมติจ่ายเงินปันผลครึ่งปีให้กระทรวงการคลัง เป็นเงิน 615 ล้านบาท โดยคำนวนจากกำไรสุทธิ 6 เดือน ที่ประมาณ 4,000 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมมี 23,600 ล้านบาท เป็นรายได้จากสัมปทานประมาณ 60%  ส่วนเป้าหมายรายได้รวมถึงสิ้นปีนี้ที่ 50,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 8,000 บาท
  

“ปกติกสท จะปันผล 2 รอบ กลางปีกับปลายปี และมีปันผลพิเศษเพื่อชดเชยภาษีสรรพสามิตอีกไตรมาสละครั้ง  โดยปีที่แล้วจ่ายเงินปันผลทั้งหมด  6,001 ล้านบาท เป็นปันผลปกติ 1,375 ล้านบาท ที่เหลือเป็นปันผลพิเศษ”
  

สำหรับงบการเงิน 8 เดือนของ กสท สิ้นสุด ณ เดือนส.ค. 2553  มีรายได้รวม 31,657 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 4,510 ล้านบาท หากไม่รวมส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทาน รายได้จะเหลือที่ 11,809 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 1,687 ล้านบาท  เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจโทรศัพท์ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีมติเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง ได้แก่ การวางระบบไฟฟ้าที่ตึกบางรัก มูลค่า 100 ล้านบาท เพื่อให้พร้อมรับการขยายตัวของบริการศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์
  

ส่วนการอัพเกรด HSPA เพื่อให้บริการ 3G บนคลื่นเดิม นายจิรายุทธกล่าวว่ามีการแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรา 22 ของพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ชุดใหม่ของบมจ.โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(ดีแทค) แล้ว เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลสัมปทาน โดยนายวิโรจน์  โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของ กสท เป็นประธาน ประชุมไป 1 ครั้ง แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากต้องให้เวลากรรมการชุดใหม่ศึกษาภาพรวมและปัญหาของสัญญาสัมปทาน
  

“ประชุมนัดแรกยังคุยกันเรื่องเก่า เรื่องที่มาที่ไปของสัมปทานและการแก้ไขเพื่อให้เข้าใจภาพรวม HSPA จึงยังไม่ได้พิจารณาก็ต้องเห็นใจคณะกรรมการด้วยที่เป็นชุดใหม่ ส่วนคณะกรรมการมาตรา 13 ของทรูมูฟก็เช่นกันต้องพยายามเร่ง ในปีนี้จะทยอยเปิดทดลองให้ครบตามที่เอกชนร้องขอ โดยดีแทคขอไว้ 1,220  แห่ง ทรูมูฟ 656 แห่ง แต่การเปิดเชิงพาณิชย์อาจต้องเคลียร์ประเด็นทางกม. ถ้าต้องเข้ากระบวนการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ คงใช้เวลานานมาก เราจะเร่งเต็มที่ เพราะเปิดเชิงพาณิชย์ได้ก็มีรายได้ตามสัมปทานเพิ่มขึ้น”
  

  

นอกจากนี้ ในกรณีทรูมูฟต้องเสนอให้บอร์ดพิจารณาอนุมัติอีกครั้ง เพราะก่อนหน้านี้ บอร์ดฯเคยมีมติให้ทรูมูฟยุติการทดลองไปแล้ว แต่กรณีดีแทคสามารถดำเนินการต่อได้ทันที
  

  

นายจิรายุทธยังกล่าวถึงกรณีดีแทคและทรูมูฟมีแนวคิดที่จะไปเจรจาเพื่อเป็นผู้ เช่าใช้โครงข่าย (MVNO) กับทีโอที 3G ว่าคาดว่าทั้งคู่คงให้บริษัทลูกดำเนินการจึงไม่จำเป็นต้องผ่านการอนุมัติจาก กสท  แต่อาจมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าเข้าข่ายการทำธุรกิจแข่งขันกับสัญญา สัมปทานที่ทำไว้กับกสท หรือไม่
  

  

ขณะที่ความคืบหน้าในการเข้าซื้อกิจการของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวเลส มัลติมีเดีย จำกัด ตัวแทนทางการตลาดโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอภายใต้แบรนด์"ฮัทช์" บริษัทได้แจ้งไปแล้วว่านโยบายรัฐมนตรีไอซีทีต้องการให้ซื้อฮัทช์ในราคาไม่ เกิน 4,000 ล้านบาท ถ้าเกินกว่านี้ไม่ซื้อจึงอยู่ระหว่างรอให้ฮัทช์แจ้งผลการตัดสินใจก่อนนำ เรื่องเข้าบอร์ดและเสนอรัฐมนตรีไอซีทีต่อไป
  

  

“อนาคตของCDMA และ HSPA ก่อนไปถึง LTE ที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps มีอายุการใช้งานเหลือเท่ากัน อีก 3–4 ปีข้างหน้าก็ต้องเปลี่ยนเป็น LTE อยู่ดี  ฉะนั้นการลงทุนไม่ว่าเทคโนโลยีใดในช่วงนี้ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ  ถ้าไม่ซื้อฮัทช์คงยากที่จะทำธุรกิจมือถือ อาจต้องเปลี่ยนวิธีการใช้คลื่น ต้องวิเคราะห์ว่าถ้าไม่ซื้อจะนำคลื่นไปใช้ให้บริการ HSPA แทนดีหรือไม่ เพราะCDMA ต้องใช้เครื่องเฉพาะ  ต่างจาก HSPA ที่มีเครื่องในตลาดแล้ว  ต้องให้ได้ข้อสรุปภายในสิ้นเดือนนี้ว่าจะสร้างธุรกิจอย่างไรให้แข็งแรงใน ช่วงที่ยังไม่มีการประมูล 3G”
  

  

นายจิรายุทธกล่าวว่า ทางเลือกของ กสท มี 2 ทางคือ  ซื้อฮัทช์ได้ในราคาที่ทั้ง 2 ฝ่ายพอใจ ซึ่งต้องให้ทางฮัทช์อัพเกรดโครงข่ายเป็น Rev.B  รองรับความเร็ว 9 Mbps ด้วย  ถ้าซื้อไม่ได้ก็ต้องหาทางใช้คลื่นย่าน 850 MHz  จำนวน 5 MHz ที่เหลือ  เพื่อลงทุนเทคโนโลยี HSPA แทน เนื่องจากคลื่นเดิมฮัทช์ยังมีสิทธิใช้คลื่นจนถึงปี 2558
  

  

“หรือไม่ก็จะให้ฮัทช์ขยับคลื่นจากเดิมที่ใช้อยู่ 10 MHz เหลือ 5 MHz  เพราะกสท ไม่มีเหตุผลที่จะลงทุนทำธุรกิจทั้ง 2 ตัวควบคู่กัน  ตอนนี้จึงถึงเวลาที่ต้องเลือกว่าจะทำเทคโนโลยีไหน HSPA หรือ CDMA  ถ้าเลือก HSPA ก็จะยุติการลงทุน CDMA  นำเสาสัญญาณทั้งหมดของ CAT CDMA ไปติดตั้งอุปกรณ์ HSPA  โดยคาดว่าจะต้องลงทุนราว 2 ล้านบาทต่อสถานีฐาน รวมทั้งหมด 1,600 แห่ง คงใช้เงินเท่าๆ กับซื้อฮัทช์  และถ้าจะสร้างโครงข่ายใน 25 จังหวัดภาคกลางก็ต้องไปเช่าสถานีฐานของคนอื่น อาจหาโลเกชั่นยาก ซึ่งก็ต้องใช้เงินอีกก้อน  แต่ถ้าซื้อไม่ได้จริงๆ ก็คงต้องเลือกทางนี้หากต้องการทำธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อไป”
  

  

สำหรับรายได้ที่กสท ได้รับจากฮัทช์ อยู่ที่ราว 800 ล้านบาทต่อปี หรือ 20% จากรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายของฮัทช์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 25 มกราคม 2011, 00:50:36 โดย หนอนน้อย » IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 15 ตุลาคม 2010, 10:13:12 »

คนใช้เน็ตผ่านมือถือโตก้าวกระโดด เปิดศึกชิงลูกค้า'Unlimited'ดันMVNOทีโอทีเดือด 15/10/2010

สมรภูมิ "3G ทีโอที" ระอุ "365 คอมมูนิเคชั่น" ส่งแพ็กเกจใช้ไม่อั้นจ่าย 790 บาทต่อเดือน ออกมาโกยลูกค้าอุตลุด ฟาก "ไอ-โมบาย" โวยกดราคาต่ำกว่าต้นทุนจริงครึ่งต่อครึ่ง-ถูกกว่า unlimited ของ 2G ร้อง "ทีโอที" ตรวจสอบด่วน หวั่นกระทบ MVNO รายอื่น ขณะที่ "ทีโอที" เผยแค่ทดสอบตลาดช่วงสั้น ๆ ถ้าไม่กระทบการใช้งานโดยรวมมีสิทธิ์ต่อโปรโมชั่น


นายสุรินทร์ ฤทธีภมร กรรมการผู้จัดการ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด ผู้เช่าใช้โครงข่าย (MVNO) ของทีโอที 3G เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้เปิดตัวซิมใหม่ "365 Unlimited Data SIM" เพื่อให้ลูกค้าใช้งานดาต้าผ่านโครงข่าย 3G ของทีโอทีได้ไม่จำกัด ระยะเวลา 30 วัน ราคา 790 บาท พร้อมรับสิทธิโทร.ฟรีไปยังทุกเครือข่ายอีก 790 นาที สำหรับลูกค้าที่เปิดใช้งานก่อนวันที่ 31 ต.ค.นี้

ปรากฏว่าได้รับผล ตอบรับดีมาก ดีกว่าตอนเปิดตัวบริการ 3 จีใหม่ ๆ เนื่องจากเป็นแพ็กเกจที่มีราคาถูกกว่า Unlimited ของ MVNO ค่ายอื่นกว่าครึ่ง ทั้งยังใช้โทร.เข้าออกได้ต่างจากเจ้าอื่นเป็นอินเทอร์เน็ตซิม อย่างเดียว แต่มีข้อจำกัดทางเทคนิคหากต้องการใช้แพ็กเกจดังกล่าวต้องซื้อซิมใหม่

"การ กำหนดราคาเราอ้างอิงกับแพ็กเกจของ CAT CDMA ซึ่งให้ความเร็วที่ 3 Mbps คิดราคาที่ 790 บาทต่อเดือนโหลดไม่อั้น จริง ๆ ทุกรายมีต้นทุนซิมเหมือนกัน อยู่ที่ว่าใครจะกล้าเล่น กล้าคิดแพ็กเกจใหม่ ๆ ออกมากระตุ้นตลาด สำหรับเราเองเมื่อระบบพร้อมจึงลองทำดู เพราะตลาดเงียบมานานแล้ว นอกจากไมโครซิมที่ขายดีใกล้เคียงกับซิมปกติแล้ว น่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นตลาดได้อีกทาง เนื่องจากไอแพด, ไอโฟน และแท็บเลตต้องใช้ซิมประเภทไมโคร"

ส่วนข้อกังวลว่าแพ็กเกจดังกล่าว อาจทำให้โครงข่ายล่ม เนื่องจากมีปริมาณการใช้มากเกินไปนั้นไม่คิดว่าจะมีปัญหา เพราะด้วยศักยภาพของโครงข่ายสามารถรองรับการใช้งานได้ถึง 500,000 เลขหมาย แต่ปัจจุบันมีผู้ใช้งานน้อยมาก จึงมั่นใจว่าหากตัวเลขผู้ใช้แพ็กเกจนี้ไม่ได้ขึ้นไปจนถึงขีดความสามารถของ โครงข่ายก็ไม่น่ามีผลกระทบต่อการใช้งาน

ด้านนายทวี อุดมกิจโชติ กรรมการผู้จัดการ บมจ.สามารถ ไอ-โมบาย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กำลังอยู่ระหว่างการขอข้อมูลจาก บมจ.ทีโอทีว่าแพ็กเกจ ลักษณะนี้ออกมาได้อย่างไร เนื่องจากมีราคาต่ำกว่าแพ็กเกจ Unlimited ของบริการ GPRS/EDGE ซึ่งมีความเร็วต่ำกว่า 3จีมากด้วยซ้ำไป และด้วยต้นทุนของ MVNO แล้วไม่สามารถขายได้อย่างแน่นอน เพราะเป็นราคาที่ขาดทุน แม้ลูกค้าอาจใช้ทราฟฟิกไม่เยอะก็ตาม ขณะที่ทางทีโอทีในขณะนี้ยังไม่มีระบบบริหารจัดการทราฟฟิกจึงไม่สามารถกีดกัน ลูกค้าที่โหลดบิตออกจากระบบได้

แพ็กเกจ Unlimited ของ MVNO ทุกเจ้าในขณะนี้กำหนดโดยทีโอที และทำออกมาเพื่อทดลองตลาด จึงมีลักษณะเป็นซิมสำหรับใช้งานชั่วคราวเฉพาะดาต้าที่ราคา 790 บาท มีระยะเวลาใช้งาน 15 วัน และ 1,490 บาทใช้ได้ 30 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วไม่สามารถเติมเงินได้ ซึ่งบริษัทได้นำโปรโมชั่นดังกล่าวมาแถมให้ลูกค้าที่จองซื้อแท็บเลต "i-Note" ใช้งานฟรี 1 เดือน

สำหรับความคืบหน้าของการเจรจาเพื่อเป็น Full MVNO ของบริษัท ขณะนี้กำลังทำแผนธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของ ทีโอที และต้องดูด้วยว่าจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของสำนักงานคณะ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ด้วยหรือไม่ คาดว่าภายในสิ้นเดือน พ.ย.จะมีความชัดเจนมากขึ้น เพราะสัญญาเช่าใช้โครงข่ายกับทีโอทีฉบับใหม่น่าจะเสร็จแล้ว หลังเปิดให้บริการครบ 1 ปี ในวันที่ 3 ธ.ค.ที่จะถึงนี้

"คาดว่าสัญญา MVNO และการเจรจาเป็น Full MVNO น่าจะไม่ช้ากว่าการเจรจาเข้าเป็น MVNO ของเอไอเอส บริษัทจะพยายามให้เร็วที่สุด แต่คงต้องดูรายละเอียดการบริหารงาน MVNO ทุกรายของทีโอทีอีกครั้ง"

ปัจจุบัน มีผู้ใช้บริการซิม 3GX ประมาณ 110,000 ราย กว่า 80% เป็นการใช้งานดาต้า โดยการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 200 บาทสำหรับระบบพรีเพด และ 400 บาทสำหรับระบบโพสต์เพด คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีผู้ใช้ 1.3-1.5 แสนราย จากจำนวนซิม ที่ได้รับจากทีโอที 2 แสนซิม ซึ่งจะได้ตามเป้าเร็วแค่ไหนอยู่ที่หลายปัจจัย ทั้งการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่บริการ การเพิ่มขึ้นของการใช้แท็บเลตและสมาร์ทโฟนที่รองรับการท่องเว็บไซต์ และดาวน์โหลดดาต้าต่าง ๆ

"การทำตลาดปัจจุบันเน้นการทำตลาดในกลุ่ม เฉพาะ โดยส่งทีมขายเข้าไปในพื้นที่สถานศึกษา อาคารสำนักงานที่มีการขยายโครงข่ายไปถึง เรียกว่าติดตั้งเบสปุ๊บก็ส่งทีมขายเข้าไปปั๊บ ทำให้ปัจจุบันไอ-โมบายครองส่วนแบ่งตลาด MVNO 70-80% แข็งแกร่งกว่าผู้ให้บริการ MVNO รายอื่น ด้วยมีกิจกรรมการตลาดต่อเนื่อง มีเครื่องลูกข่ายเป็นของตนเอง จึงจัดแพ็กเกจราคาพิเศษ ได้ ซึ่งในปีหน้าเราก็ยังคงมีเป้าหมายที่จะรักษาส่วนแบ่งตลาดต่อเนื่อง ไม่ว่าจะมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาดหรือไม่ก็ตาม"

แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอทีเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แพ็กเกจ Unlimited Data ของ TOT3G และบรรดา MVNO ทั้ง 5 ราย ถือเป็นการทดสอบระบบและ ทดสอบตลาดชั่วคราว ไม่ได้ผูกมัดว่าทีโอทีจะต่อแพ็กเกจให้หรือไม่ จึงต้องรอดูผล ตอบรับทั้งหมดในภาพรวมก่อน เนื่องจากเป็นแพ็กเกจที่ต้องใช้ทราฟฟิกในระบบสูง ขณะที่โครงข่ายที่มีอยู่ทั้งหมด 547 สถานีฐานมีศักยภาพจำกัด

"หากมี การใช้ทราฟฟิกในลักษณะที่เป็นโหลดบิตหรือใช้ดาต้าในปริมาณมากจนกระทบต่อผู้ ใช้ทั้งระบบก็ต้องมีการพิจารณา เพราะหากเปิดมากเกินไปอาจทำให้ลูกค้าคนอื่นใช้ไม่ได้ กระทบภาพลักษณ์บริการโดยรวมของทีโอที จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมซิมในแพ็กเกจนี้ไม่สามารถเติมเงินได้หลังครบอายุการใช้ งาน"

และในอนาคตจะมีการพิจารณาเพื่อปรับแพ็กเกจให้เหมาะสมกับการใช้ งานของลูกค้า เนื่องจากเท่าที่สำรวจลูกค้า พบว่าลูกค้าทั่วไปใช้ดาต้าสูงสุดไม่เกิน 30 GB ต่อเดือนเท่านั้น จึงได้จำกัดโควตาการใช้งานในแพ็กเกจแบบ Unlimited ไว้เพียง 20,000 ซิม

สำหรับ จำนวนลูกค้าที่ใช้โครงข่าย 3G ของทีโอที ในปัจจุบันมีประมาณ 1.4 แสนราย และมีรายได้ราว 145 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ที่ 200 ล้านบาท เนื่องจากปัญหาด้านความครอบคลุมของโครงข่าย

ด้าน i Kool Real 3G อีก 1 MVNO ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 30,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่เน้นใช้เดต้าเป็นหลัก โดยโปรโมชั่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ i Kool Real 3G 1,000 MB 10 วัน ซึ่งลูกค้าที่ซื้อและเปิดใช้งานภายใน 31 ต.ค.นี้ จะใช้งานได้เพิ่มขึ้นอีก 1 เท่า หรือ 1,000 MB และหากลงทะเบียนผ่าน www.i-Kool.net ได้รับวันเพิ่ม 30 วัน เป็น 40 วัน เป็นต้น

ก่อนหน้า นี้ นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ กลุ่มงานบริการเสริม บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เปิดเผยว่า เครือข่ายของเอไอเอสที่รองรับลูกค้าในปัจจุบันได้กว่า 30 ล้านราย มีฐานลูกค้า 7 ล้านคนใช้งานเดต้าผ่านโทรศัพท์มือถือ, ดองเกิล และอุปกรณ์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมถึง 5 เท่า ในครึ่งปีหลัง บริษัทจึงมีการลงทุนเป็นเงิน 2,400 ล้านบาท อัพเกรดเครือข่าย EDGE รองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้น เรียกว่า EDGE Plus ทำให้ใช้เดต้ากับโทรศัพท์ได้พร้อมกัน ขณะที่ยังเพิ่มความเร็วในการอัพโหลดจาก 116 Kbps เพิ่มเป็น 236 Kbps ดาวน์โหลดเร็วขึ้น 30% หรือสูงสุด 296 Kbps ส่วน เครือข่าย 3G บนคลื่น 900 MHz เดิมและแม้พื้นที่ในการใช้งานจะจำกัดเพียง 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ศรีราชา ชลบุรี และหัวหิน แต่มีการปรับปรุงเครือข่ายให้เร็วขึ้น
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 17 ตุลาคม 2010, 19:54:10 »

รัฐบาลยืนยัน พร้อมเร่งดัน 3G ให้เร็วที่สุด

 
 
"กรณ์" เรียกผู้บริหารมือถือ 3 ค่ายหารือ เสนอ 4 แนวทางให้เดินหน้า 3G ระหว่างที่ยังไม่มีการประมูลใบอนุญาตใหม่ ยืนยันว่ารัฐบาลจะเร่งผลักดันให้เกิดการเดินหน้า 3G โดยเร็วที่สุด ก่อนอื่นต้องรอศาลชี้ขาดถึงอำนาจ กทช. ด้านเอกชนพร้อมเดินตามแนวทางเพื่อให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเดินหน้า
         นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังได้เชิญผู้ประกอบการผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มาหารือร่วมกันเกี่ยวกับการแปรสัญญาสัมปทานร่วมการงานกับรัฐว่า ได้แลกเปลี่ยนมุมมอง แนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพื่อหาวิธีการร่วมกันในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดให้ประชาชนเข้าถึง โดยเร็ว โดยเฉพาะเรื่องการลงทุนระบบ 3G หลังรับฟังข้อเสนอของภาคเอกชน และมีข้อเสนอ 3-4 แนวทางในการที่รัฐบาลจะเร่งดำเนินการเพื่อเอกชนมีทางเลือกการลงทุนในระบบ 3G ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าจะเร่งผลักดันให้เกิดการเดินหน้าโดยเร็วที่สุด
       
       ทั้งนี้ เห็นว่าแนวทางที่น่าจะเกิดขึ้นได้เร็วที่สุด คือประเด็นการแปรสัญญาสัมปทานการให้บริการเดิมเป็นใบอนุญาตน่าจะทำได้เร็ว หากศาลวินิจฉัยอำนาจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กทช.) ชัดเจนแล้ว จะทำให้ไปสู่ทางเลือกอื่นได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการยุติสัญญาสัมปทาน แล้วไปออกเป็นใบอนุญาตแทน รวมทั้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 22 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ซึ่งขณะนี้ใกล้จะเสร็จแล้ว ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ไปศึกษารายละเอียด ก่อนนำเสนอกลับมา เพื่อจะนำเข้าครม.ให้ทันภายในปีนี้
       
       ส่วน การผลักดันกฎหมายใหม่ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการจัดสรรคลื่นความถี่และการประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นั้น เอกชนเห็นแล้วว่ารัฐบาลได้พยายามเร่งรัดอยู่ ล่าสุดรัฐสภาได้ตั้ง กรรมาธิการร่วม เพื่อผลักดันร่างกฎหมายรองรับออกมาให้บังคับใช้และจัดตั้งกรรมการ กสทช.ได้โดยเร็ว เพียงแต่เอกชนต้องการให้ภาครัฐกำหนดกรอบเวลาให้ชัดเจนในการจัดตั้งคณะ กรรมการและการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนแม่บท รวมทั้ง เอกชนยินดีที่จะให้บริการแบบขายส่ง หรือเอ็มวีเอ็นโอ กับ 3G ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งครม.อนุมัติไปแล้ว
       
       นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน กลุ่มทรู กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความมั่นใจกับเอกชนว่าจะเร่งเดินหน้าเพื่อให้เกิดการให้บริการเทคโนโลยี 3G โดยระหว่างที่รอฟังคำตัดสินจากศาลนั้น ระหว่างนี้จะทำ 3-4 แนวทางให้เอกชนมีทางเลือกในการลงทุนคือ การแปรสัญญาสัมปทานเดิม การแก้กฎหมายมาตรการ 22 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเดิมสามารถจะนำเทคโนโลยีใดมาให้บริการประชาชนก็ได้ พร้อมทั้งการเร่งจัดทำกฎหมายใหม่ หรือพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และจัดตั้ง กสทช. เพื่อให้มีคณะกรรมการกสทช.เข้ามาดูแลการดำเนินการประมูลต่อไป และเร่งรัดการให้บริการเอ็มวีเอ็นโอกับ 3G ขอทีโอที
       
       ทั้งนี้ ยอมรับว่าความไม่ชัดเจนของกฎหมาย ทำให้เอกชนเสียประโยชน์ไปมหาศาล จากการที่ไม่สามารถเปิดประมูล 3G ได้ และผู้ประกอบการมีความยากลำบากอย่างมากในการตอบคำถามกับนักลงทุนและสถาบัน การเงินว่าเมื่อใดจะแล้วเสร็จ และกทช.มีอำนาจในการดำเนินการหรือไม่ อย่างไร
       
       นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า คลังมีความหวังดีที่จะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้สามารรถเดินหน้า ได้ต่อไป ภายหลังจากการประมูลใบอนุญาต (ไลเซนส์) 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ถูกชะลอ ดังนั้น คลังจะได้นัดโอเปอเรเตอร์เข้าหารือ เพื่อหาทางเดินหน้าแผนแปรรูปสัญญาสัมปทานเป็นใบอนุญาต (K2)
       
       “วันนี้คลังมีความหวังดี พยายามหาแนวทางขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยการพยายาผลักดันแผน K2 ต่อ และตอนนี้เอกชนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือทุกอย่าง ที่เป็นการผลักดันให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเดินหน้า ซึ่งแผน K2 ของรัฐบาล ส่วนจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับแนวทางปฏิบัติ”
       
       ทั้งนี้ การเดินนห้าแผน K2 นั้น ขณะนี้คลังได้สอบถามไปยังสำนักงานกฤษฎีกาถึงสิทธิ์ในคลื่นความถี่เดิม ที่ใช้อยู่ในสัญญษสัมทปาน ว่าหากเสร็จสิ้นสัญญาสัมปทานจะตกไปอยู่กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือตกไปอยู่กับ กสทช. ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบกลับจากกฤษฎีกา และถึงแม้ได้คำตอบแล้วก็ต้องดูว่าจะเชื่อกฤษฎีกาได้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาคำตอบจากกฤษีกาสวนทางกลับคำสั่งศาลมาหลายกรณีแล้ว
       
       อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการได้ขอให้คลังช่วยเร่งไปยังศาลให้รีบพิจารณาคดีฟ้องร้องระหว่าง กสท และ กทช. เพราะอุตสาหกรรมจะได้รู้ว่าจะมีทางออกอย่างไรต่อไป ทั้งยังขอให้เร่งผลักดัน กสทช.ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
       
       นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า การเข้าพบรมว.คลังครั้งนี้ทางผู้ประกอบเป็นผู้นัดหมายเอง เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมอยู่ในช่วงหยุดชะงัก เพราะกทช.กลายเป็นหน่วยงาน ไร้อำนาจ โดยรมว.คลังได้เสนอตัวช่วยเร่งแก้ไขปัญหาให้โดยเร็ว โดยจะเร่งรัดวิปรัฐบาลพิจารณา กสทช.ให้เร็วที่สุด แล้วเสร็จจะมีกรอบประมูล 3G ที่ชัดเจนได้ และระหว่างนี้คลังรับปากจะกำชับคณะกรรมการมาตรา 22 ให้เร่งพิจารณาให้ดีแทค สามารถให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA บนความถี่ 850 MHz ให้เร็วที่สุด
       
       “ขณะ นี้ผู้ประกอบการอยู่ในสถานะไร้ที่พึ่งเพราะกทช.ได้หมดอำนาจตามคำสั่งศาล ส่วนกระทรวงไอซีทีก็มุ่งแต่เร่งผลักดันบรอดแบนด์แห่งชาติ โดยไม่สนใจปัญหาในอุตสาหกรรมคลังเลยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพแก้ไขปัญญา”

IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
K€nGja1
ผู้ดูแลบอร์ด
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,557



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 18 ตุลาคม 2010, 11:36:21 »

ขอให้เสร็จ เร็วๆ ทีเถอะ      ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม 
IP : บันทึกการเข้า

รับซ่อม ซื้อขาย คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ อุปกรณ์ IT
IDEAcomputer 082-0186679
 
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 28 ตุลาคม 2010, 15:25:09 »

บลูทูธถอยไป "WiFi Direct"มาแล้ว!! 28/10/2010


โลกต้องบันทึกว่าวันจันทร์ที่ 25 ต.ค. 53 คือวันแรกของการเริ่มต้นให้ใบรับรองมาตรฐานเทคโนโลยี "ไว-ไฟ ไดเรกต์ (WiFi Direct)" แก่ผู้ผลิตอุปกรณ์พกพา เทคโนโลยีไว-ไฟไดเรกต์นี้เองที่หลายคนคาดหวังว่าจะทำให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์ ดิจิตอลระหว่างกันในอนาคตเกิดขึ้นได้ง่ายดายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ฟันธงอีกไม่นาน โลกจะเข้าสู่กาลอวสานของเทคโนโลยีบลูทูธ ซึ่งผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกนิยมใช้ส่งไฟล์ข้อมูลหรือภาพระหว่างกันใน ขณะนี้
      
       ไว-ไฟไดเรกต์เป็นเทคโนโลยีที่กลุ่มพันธมิตรไว-ไฟ (WiFi Alliance) พัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีไว-ไฟดั้งเดิมเพื่อให้อุปกรณ์พกพาสามารถเชื่อมต่อกัน ได้อย่างรวดเร็ว ไร้รอยต่อ และปลอดภัย ทั้งหมดนี้ทำให้ไว-ไฟไดเร็กต์ถูกตั้งชื่อว่าเป็นเพชฌฆาตบลูทูธ เพราะไว-ไฟไดเรกต์สามารถทำงานแทนบลูทูธได้ทุกประการ แถมยังสามารถรองรับแอปพลิเคชันและประสิทธิภาพที่เหนือกว่า
      
       รายงานระบุว่า หลังจากการให้ใบรับรองแก่ผู้ผลิต เชื่อว่าอุปกรณ์ที่มาพร้อมเทคโนโลยีไว-ไฟไดเรกต์จะวางจำหน่ายได้ภายในปลายปี 2010 นี้
      
       แม้ไว-ไฟไดเรกต์จะสร้างบน ไว-ไฟดั้งเดิม แต่ไว-ไฟไดเรกต์กลับต้องการปัจจัยแวดล้อมในการทำงานต่างกัน ประการแรกคือไว-ไฟไดเรกต์ไม่ต้องการเครือข่ายหรือระบบกระจายสัญญาณไว-ไฟ เนื่องจากไว-ไฟไดเร็กต์จะทำให้อุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อกันได้แบบเครื่องต่อ เครื่อง (peer-to-peer) ขณะเดียวกันจะทำให้ขั้นตอนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของคอมพิวเตอร์โน้ต บุ๊กผ่านสมาร์ทโฟน ทำได้ง่ายกว่ากระบวนการเชื่อมต่อปัจจุบันที่เรียกว่า adhoc เนื่องจากไว-ไฟไดเรกต์สามารถค้นหาอุปกรณ์อื่นในบริเวณรอบข้างโดยไม่ต้องเข้า ร่วมเครือข่ายกัน แถมระบบยังสามารถแจ้งได้ว่าเครื่องปลายทางสามารถรับบริการใดได้บ้าง
      
       จุดขายสำคัญของไว-ไฟไดเรกต์คือความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุด 54Mbps ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งไฟล์ภาพความละเอียดสูงไปยังเครื่องพิมพ์ หรือส่งไฟล์วิดีโอแบบ HD จากโทรศัพท์ไปยังเครื่องเพื่อนข้างเคียงได้อย่างลื่นไหล ที่สำคัญ ไว-ไฟไดเรกต์ยังมีรัศมีการทำงานที่ ครอบคลุมกว้างกว่า มีระบบรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส WPA2 (Wi-Fi Protected Access 2) สามารถจับคู่ได้มากกว่าหนึ่งอุปกรณ์ ทำให้ผู้ใช้สามารถจับคู่อุปกรณ์ที่สนับสนุน Wi-Fi Direct กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลายชิ้นพร้อมกัน
      
       ในมุมของผู้บริโภค คาดว่าไว-ไฟไดเรกต์จะถูกใช้ในการแบ่งปันภาพและข้อมูลอื่นๆ ระหว่างเพื่อนและครอบครัว ทั้งข้อมูลขนาดใหญ่ ภาพถ่ายความละเอียดสูง หรือวิดีโอไฮเดฟจากกล้องดิจิตอล อุปกรณ์ด้านความบันเทิง และเครื่องพีซีในบ้าน ภาพจากอุปกรณ์พกพาเหล่านี้จะสามารถส่งไปแสดงยังจอคอมพิวเตอร์หรือทีวีในบ้าน ได้ รวมถึงการแสดงผลระบบสนทนาผ่านวิดีโอ การเล่นวิดีโอเกมส์ และการสนทนาผ่านระบบ IM
      
       การเชื่อมต่อที่สะดวกขึ้นยังทำประโยชน์แก่องค์กรธุรกิจด้วย โดยเฉพาะธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการทำงานนอกสถานที่ ขณะเดียวกันการเข้ารหัส WPA2 ก็ทำให้ผู้ใช้สามารถป้องกันไม่ให้มีการขโมยข้อมูลได้อย่างรัดกุม โดยก่อนหน้านี้ หลายฝ่ายแสดงความกังวลเรื่องความปลอดภัยในไว-ไฟไดเร็กต์ เนื่องจากบลูทูธถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นช่องทางชั้นเยี่ยมให้เหล่านักเจาะ ระบบขโมยข้อมูลส่วนตัว ไว-ไฟไดเรกต์จึงถูกพัฒนาให้ทำงานบนเทคโนโลยี WPA2 และการเข้ารหัสข้อมูล AES ซึ่งจะทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการการเชื่อมต่อและตรวจสอบได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
      
       เบื้องต้น รายงานระบุว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในท้องตลาดปัจจุบันที่รองรับมาตรฐาน WiFi 802.11x จะสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ไว-ไฟไดเรกต์ทั้งสิ้น เท่ากับผู้ที่ซื้อเครื่องพิมพ์มาตรฐานไว-ไฟไดเรกต์ในช่วงปลายปีนี้ จะสามารถเชื่อมต่อกับพีซีเครื่องดังกล่าวได้แบบทันใจ
      
       เหนืออื่นใด กลุ่มพันธมิตรไว-ไฟนั้นมีสมาชิกเป็นบริษัทไอทีรายใหญ่อย่างซิสโก้ และอินเทล การเกิดขึ้นของไว-ไฟไดเรกต์จึงถูกมองว่าจะมีบทบาทกับอุตสาหกรรมไฮเทคทั่วโลก ทำให้มีโอกาสสูงที่บลูทูธ ซึ่งเคยเป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการส่งไฟล์หรือข้อมูลอื่นๆ ระหว่างอุปกรณ์มาตลอด จะถูกลืมเลือนไปโดยมีไว-ไฟไดเรกต์มาแทนที่ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกอุปกรณ์ไฮเทคครั้งใหญ่อีกครั้ง

 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 15 พฤศจิกายน 2010, 14:23:06 »

โชว์ 4G-LTE คั่นเวลารอ 3G กทช.ดึง "อีริคสัน"อวดไฮสปีดเน็ตไร้สาย

ลุ้น กันตัวโก่งกับการเปิดประมูลไลเซนส์ 3G สุดท้ายก็เก้อกันเป็นทิวแถว นอกจากประชาชนคนรอใช้บริการจะต้องร้องเพลงรอต่อไป บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในการบริหารจัดการภารกิจที่เกี่ยวกับการใช้ "คลื่น" พลอยชะงักงันไปด้วย แม้แต่การอนุมัตินำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคม จากเดิมมอบอำนาจให้สำนักงานกทช. ดำเนินการยังต้องดึงกลับมาพิจารณาเอง

ใครจะว่าประชดก็แล้วแต่ ไลเซนส์ไม่มีแต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังเดินหน้าไปไม่หยุด "กทช." จึงร่วมกับสถานทูตสวีเดน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด และไชน่า โมบายล์ นำเทคโนโลยี TD-LTE (Time Division-Long Term Evolution) หรือที่ทั่วโลกรู้จักกันในนามของ 4G มาสาธิตการใช้งานจริงบนย่านความถี่ 2.3 GHz

จุดเด่นของ LTE หรือ 4G คือความสามารถในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงสุด ณ ขณะนี้ได้ถึง 150/50 Mbps (ดาวน์ลิงก์/อัพลิงก์) แต่มีเป้าหมายพัฒนาความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 1 Gbps (ดาวน์ลิงก์) ในปี 2557

บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงผ่าน โครงข่าย 3G ว่าเร็วแล้ว เจอ "4G-LTE" ชิดซ้ายไปเลย (สปีดในการดาวน์โหลดของ 3G ไม่เกิน 40-50 เมกะบิตต่อวินาที)

เสมือนการใช้โครงข่ายใยแก้วแต่ ไร้สายจึงอัพโหลดไฟล์วิดีโอขึ้นอินเทอร์เน็ตจากที่ใดก็ได้ รองรับไฟล์ภาพเคลื่อนไหวความละเอียดสูงได้ ทั้งมีแค่ตัวส่งสัญญาณและตัวรับสัญญาณทำให้การรับส่งข้อมูลตอบสนองกันได้ ทันที เหมาะมากกับแอปพลิเคชั่นแบบอินเตอร์แอ็กทีฟจำพวก "เกมออนไลน์"

ข้อมูล จาก "อีริคสัน" ระบุว่า มาตรฐานเทคโนโลยี LTE สำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์ประกาศใช้เมื่อเดือน ธ.ค. 2552 ในเดือนเดียวกัน "เทเลียโซเนรา" ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในสวีเดน ก็เปิดตัวเครือข่าย LTE ขณะที่ผู้ให้บริการหลายประเทศทั่วโลกมีแผนเปิดตัว อาทิ โดโคโม เวอร์ไรซัน ไวร์เลสและเมโทร พีซีส์

ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย และรัสเซีย ต่างเริ่มหันมาให้ความสนใจเทคโนโลยี TD-LTE อย่างจริงจัง

สำหรับ การสาธิตเทคโนโลยีดังกล่าว ประเทศไทยถือเป็น 1 ใน 4 ประเทศ นอกจากเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ "อีริคสัน" ขนเทคโนโลยี TD-LTE ไปทดสอบความเร็วในการใช้งานจริงขณะเคลื่อนที่

"พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์" คณะกรรมการ กทช. กล่าวว่า จีนและอินเดียสนใจ LTE เพราะมีการวางโครงข่ายไว้น้อย โครงสร้างไร้สายจึงเป็นเหมือนทางออกให้ประเทศมีบรอดแบนด์ใช้ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจีนอยู่ระหว่างการทดสอบบริการ 4G หรือ TD-LTE ในประเทศ ส่วนอินเดียและรัสเซียยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยรัสเซียเพิ่งตัดสินใจเปลี่ยนจากการใช้เครือข่าย WI-MAX หากทั้ง 3 ประเทศร่วมกันใช้ TD-LTE จริงจังจะทำให้มีประชากรโลกกว่า 40% เข้าถึง 4G

"กล้า หาญ รสสุคนธ์" หัวหน้าฝ่ายทดลองเครือข่ายบรอดแบนด์ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปัจจุบัน TD-LTE มีการใช้งานในเชิงพาณิชย์ที่ประเทศสวีเดน ในย่านความถี่ 2.6 Ghz เพื่อให้บริการไฮสปีดบรอดแบนด์ที่ความเร็ว 150 Mbps มีผู้ให้บริการแข่งกัน 4-5 ราย โดยจะใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน "ดองเกิ้ล" เป็นหลัก

ส่วนในเมืองไทยถ้าจะนำมาให้บริการ "พ.อ.ดร.นที" กล่าวว่า มีแถบความถี่ 2 ช่วง คือ 2.3-2.4 GHz และ 2.5-2.6 GHz

"คลื่น ความถี่ช่วงดังกล่าวยังไม่ได้รับความนิยมมากนักในไทย ทำให้ค่าตัว ค่อนข้างถูก และเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในชนบท ในบ้านเราถ้านำแถบความถี่ 2 ช่วงมารวมกันจะมีคลื่นมากถึง 150 เมกะเฮิรตซ์ น่าจะจัดสรรให้โอเปอเรเตอร์ได้ 5 รายเป็นอย่างต่ำ หากจะมีการให้บริการ TD-LTE ในไทย ผู้ที่มีความพร้อมที่สุดน่าจะเป็นทีโอทีและทหาร เพราะมีความถี่ในครอบครองเยอะ" ทีมงานบริษัทอีริคสันกล่าว

ความ สามารถทางเทคนิคที่สูงลิบลิ่วของ TDD-LTE กับการโชว์ตัวเลขการวัดความเร็วการเชื่อมต่อขณะเคลื่อนที่ให้เห็นในรถโมบาย อาจดีกว่าการอ่านข้อมูลในกระดาษมาก แต่ก็พูดได้ไม่ถนัดปากว่าได้สัมผัสศักยภาพของเทคโนโลยี 4G

อย่างไร ก็ตาม 3G อาจไม่ใหม่แล้ว เพราะในแถบนี้มีแค่เรากับพม่าเท่านั้นที่ยังไม่มี (ถ้าไม่นับของทีโอที) แต่กับ 4G-LTE ยังถือว่าใหม่มาก ๆ ถ้าจะกระโดดข้าม 3G ไปยัง 4G เลยล่ะ ?

"การเกิด 4G ในไทยแทน 3G ไปเลยคงเป็นเรื่องลำบาก เนื่องจากเทคโนโลยี 4G ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น อุปกรณ์ต่าง ๆ ยังมีราคาแพงมาก ขณะที่อุปกรณ์ของเทคโนโลยี 3G ค่าตัวลดลงมากแล้วอยู่ในจุดที่ค่อนข้างถูก ดังนั้นประเทศไทยอย่างไรก็ต้องเริ่มด้วย 3G ก่อน อีก 4-5 ปีหลังจากนั้นถึงเปลี่ยนเป็น 4G" พ.อ.ดร.นทีย้ำ

สำหรับ "อีริคสัน" แม้จะนำเทคโนโลยี 4G มาโชว์ แต่เมื่อถามถึง 3G ในขณะนี้ "ยัวอาคิม ดัมการ์ด" ประธานบริหาร บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อีริคสันจะเข้าร่วมประมูลโครงการติดตั้งเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ของทีโอทีด้วยอย่างแน่นอน คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในเดือน ม.ค. 2554 ได้ผู้ชนะในเดือน ก.พ.

"อีริคสันเน้นจุดเด่นเรื่องคุณภาพของอุปกรณ์ แต่ใช้พลังงานน้อยกว่า รองรับการอัพเกรดเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ ซึ่งถ้าทีโอทีดูงบประมาณการลงทุนที่เกิดจากการใช้งานในระยะยาวจะประหยัดได้ มากกว่า ตอนนี้สิ่งที่เราทำได้คือเตรียมทีมศึกษาข้อมูลลูกค้าไปก่อน เมื่อทีโอทีออกทีโออาร์ ซึ่งเปรียบได้กับพิมพ์เขียวของสิ่งที่เขาต้องการ เราจึงจะนำความต้องการดังกล่าวมาวิเคราะห์เป็นผลิตภัณฑ์ไปเสนอให้เขาพิจารณา เราเป็นพาร์ตเนอร์กับทีโอทีมานาน มีข้อดีคือต่างรู้จักระบบงานของอีกฝ่าย แต่สิ่งที่ได้เปรียบคู่แข่งน่าจะเป็นเรื่องที่เคยเข้าประมูลโครงการระดับ ประเทศมาแล้วหลายแห่ง มีประสบการณ์มากกว่า"
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 18 พฤศจิกายน 2010, 13:59:40 »

คนไทยยุคใหม่ติดหนึบมือถือ โอกาสทอง "MVNO-โมบายแบงกิ้ง"
 
ใน วงเสวนา "วิกฤต 3G จุดเปลี่ยนธุรกิจไทย" ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา ใช่ว่าจะมีแต่ฝันสลายราคาแพงกรณีการประมูลใบอนุญาต 3G โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โดนเบรกชั่วคราวอย่างไม่มีกำหนดนั้น ทำให้ "3G ทีโอที" มีอนาคตสดใสขึ้นทันตา แม้ขณะนี้เครือข่ายการให้บริการยังจำกัดเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล

บนเวทีเดียวกัน มีผู้ประกอบการในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับบริการโทรศัพท์มือถือ 2 ราย สะท้อนมุมมองธุรกิจของตนเองไว้อย่างน่าสนใจ

รายแรกเป็น MVNO ของทีโอที"365 คอมมูนิเคชั่น" ถัดมาเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการการเงิน "ธนาคารกสิกรไทย"

"สุรินทร์ ฤทธีภมร" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน MVNO บริการ 3G ของทีโอที กล่าวว่า 3G ของทีโอทีทำให้มีธุรกิจใหม่เกิดขึ้นในประเทศไทย นั่นคือการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตน เอง แต่ไปเช่าใช้โครงข่ายของทีโอที เรียกว่า MVNO (mobile virtual network operator) ซึ่งแพร่หลายเป็นอย่างยิ่งใน ต่างประเทศ โดยเคยมีการสำรวจแล้วว่าบางประเทศมีประชากรเพียง 10 ล้านคน แต่มี MVNO มากถึง 36 ราย และทั้งหมดสามารถอยู่รอดได้

"จากประสบการณ์ของตนเอง ที่ได้ลงมือทำ พบว่าตลาดมือถือในไทยเหมาะสมกับการทำ MVNO มาก เพราะผู้บริโภคไทยพร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ แต่ด้วยความที่เป็นของใหม่ในเวลาเดียวกันจึงกลายเป็นอุปสรรคบ้าง เพราะต้องการการเรียนรู้ทั้งฝั่งของเจ้าของโครงข่ายและผู้บริโภค แต่ต่อไปคงเข้าที่เข้าทางขึ้น เช่น ในเวลาบริษัทต้องเจอกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ทำให้ต้องเปลี่ยนแผนธุรกิจเกือบทุกวัน"

"สุรินทร์" เล่าต่อว่า ในเดือน พ.ย.นี้ สัญญา MVNO กับทีโอทีจะหมดลงจึงต้องมีการเซ็นสัญญาใหม่ ซึ่งจะมีรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ตั้งแต่เดือน ม.ค. ปีหน้า ลูกค้าอาจไม่ได้ใช้บริการราคาเดิมได้อีก แต่ตนยังยืนยันว่าธุรกิจ MVNO ในไทยสามารถอยู่รอดได้ แม้เป็นบริษัทขนาดเล็ก หากสามารถเจาะตลาดได้ถูกจุด คิดค้น และพัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งานโดนใจลูกค้าได้ ดังนั้นหากใครจะเข้ามาในตลาดนี้จำเป็นต้องมองให้ขาดว่าอะไรบ้างที่ลูกค้าทุก วันนี้ยังใช้งานไม่สะดวก อะไรทำให้ชีวิตง่ายขึ้น

"ทุกวันนี้ลูกค้า ทำอะไรเสียตังค์หมด ไม่มีทางเลือก ถ้าหาทางตอบโจทย์ได้ก็ประสบความสำเร็จได้ ไม่ใช่คิดง่าย ๆ ว่ามีคอนเทนต์ในมือเยอะ แล้วจะมาเป็น MVNO เพื่อเป็นท่อขายคอนเทนต์อย่างเดียว เพราะรายได้ต่อเลขหมายต่อเดือนของ 3G ไม่มากเหมือน 2G จึงต้องหาฟังก์ชั่นการใช้งานที่ทำอย่างไรจะให้มีคนใช้บ่อยที่สุด เหมือนกับที่ทำให้คนเลิกใช้โทรศัพท์บ้านมาใช้มือถือทั้ง ๆ ที่อยู่ในบ้าน"

สำหรับ กลวิธีทางการตลาดของ "365" ใช้การเจาะไปยังกลุ่มเป้าหมาย ผ่าน "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" ซึ่งเป็นผู้ใช้งานโดยตรง ลูกค้าส่วนใหญ่คือกลุ่มเริ่มต้นทำงาน (First Jober) และผู้บริหารระดับต้น

"บริการ ของเราโดนใจลูกค้ากลุ่มนี้ เพราะ First Jober ยังไม่มีความภักดีต่อแบรนด์ใดเป็นพิเศษ พร้อมเปลี่ยนเบอร์ไปได้เรื่อย ๆ ชีวิตกำลังสนุกสนานมีความสุขกับเทคโนโลยี ขณะที่กลุ่มผู้บริหารใช้ 3G ตอบโจทย์การทำงาน เกือบทั้งหมดเป็น iPad user"

อย่างไรก็ตามหลัง ครม.อนุมัติแผนลงทุนโครงข่าย 3G ทั่วประเทศของ"ทีโอที" เรียบร้อยแล้ว ทำให้พื้นที่การให้บริการที่จำกัดจำเขี่ยมีโอกาสขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็วใน อนาคตอันใกล้นี้ แต่ "สุรินทร์" ยังมองว่ายังไม่มีอะไรแน่นอน ด้วยว่างานประมูลโครงการมูลค่าไม่น้อยนี้อาจมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องเกิด ขึ้นได้ทุกเมื่อ จึงเชื่อว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าอาจยัง ไม่ได้ข้อยุติเรื่องการติดตั้งโครงข่ายใหม่

ฟากแบงก์กสิกรฯกระโดด เข้าสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือ ผ่านบริการที่เรียกว่า "Mobile Banking" โดย "สีหนาท ล่ำซำ" ผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เท้าความว่า กสิกรฯเริ่มพัฒนาบริการเมื่อ 4 ปีที่แล้ว จาก SMS Banking ก่อนก้าวสู่การให้บริการธนาคารบนซิมมือถือที่เรียกว่า "ATM Sim" เมื่อปี 2551 และพัฒนาเป็นแอปพลิเคชั่น Mobile Banking ใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือทุกรุ่นในปีที่ผ่านมา ปัจจุบันครองส่วนแบ่งตลาด Mobile Banking ที่ 75% มีลูกค้าใช้บริการ 2.25 ล้านราย แซงหน้า Internet Banking ที่มีราว 900,000 รายไปแล้วเรียบร้อย

"ตั้งแต่เริ่มเปิดตัว ATM Sim ลูกค้ากลุ่มนี้มีการทำธุรกรรมต่อเดือนราว 4 ล้านครั้ง มูลค่าประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท แรกเริ่มที่เปิดตัวบริการ เราหวังลดต้นทุนการให้บริการผ่านเคาน์เตอร์ที่ต้องลงทุน 5-10 ล้านบาทต่อสาขา แต่เมื่อพัฒนาให้ลูกค้าใช้งานได้ด้วยตนเอง จะลดต้นทุนได้ 50-60% ปัจจุบันเราพบว่าถ้าลูกค้าลองใช้บริการครั้งแรกจะใช้บ่อยขึ้นเพราะสะดวกสบาย และจะเลือกใช้บัญชีนี้เป็นบัญชีหลักในการทำธุรกรรมในชีวิต ซึ่งเดิมเราก็ไม่คิดว่าไลฟ์สไตล์ของคนไทยจะผูกพันกับโทรศัพท์มือถือมากแบบ นี้"

เป้าหมายต่อไปของ "แบงก์กสิกรฯ" คือการพัฒนาให้ Mobile Banking กลายเป็นที่ปรึกษาการเงินส่วนตัวของลูกค้า เพราะนอกจากจะเพิ่มรายได้ให้ธนาคารแล้วยังช่วยสร้างแบรนด์ไปด้วย พร้อมกับทำให้ธนาคารเป็นแบรนด์ในใจของลูกค้า

"สีหนาท" กล่าวต่อว่า ทีมงานของธนาคารได้เตรียมพร้อมรับบริการ 3G ที่จะมาในเร็ววันนี้ เพื่อหาช่องทางในการนำ 3G เข้ามาสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้อย่างไรบ้าง โดยมองไปถึง "Bank 2.0" หรือการสร้างดิจิทัลแบงก์ หรือธนาคารในโลกเสมือน เพื่อให้ลูกค้าได้บริการตนเองมากขึ้น รวมถึงการสร้างแอปพลิเคชั่นบน บริการ 3G ด้วย

"เราร่วมกับสามารถ ไอ-โมบาย ทดลองให้บริการคอลเซ็นเตอร์ผ่าน VDO Call แต่พบว่ามีปัญหาความครอบคลุมของโครงข่ายจึงระงับไป ทั้งในทีมยังเคยมีการถกเถียงกันถึงเรื่องการเข้าสู่ธุรกิจ MVNO ด้วย เพราะธนาคารในต่างประเทศหลายแห่งก็ทำ เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า ถือเป็น CRM รูปแบบหนึ่ง แต่ยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ เพราะต้องพิจารณาหลายปัจจัยประกอบ อาทิ กฎระเบียบแบงก์ชาติ"

ที่เป็น ไปได้มากที่สุด หากมีบริการ 3G คือการนำมาทดแทนวงจรเช่าอินเทอร์เน็ต หรือ ADSL เพื่อเชื่อมต่อระบบเครื่องรูดบัตรเครดิต เพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายของ ธนาคารได้ จากเดิมจ่ายเป็นรายเดือนก็สามารถจ่ายตามการใช้งานจริง และยังขยายพื้นที่ให้บริการได้ง่ายกว่าด้วย

นอกจากนี้ยังจะขยายสู่ ธุรกิจ shopping online สร้างห้างสรรพสินค้าเสมือนจริง เพื่อกระตุ้นยอดการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยห้างสรรพสินค้าเสมือนนี้ช่วยสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่าย ขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งอาจร่วมมือกับผู้ให้บริการตลาดกลาง ออนไลน์ รวมถึงต่อยอดเป็นฟรีแอปพลิเคชั่น บนบริการโทรศัพท์มือถือ
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 04 ธันวาคม 2010, 00:51:52 »

ดีแทคร้องนายกฯ ประจานกสท 2 มาตรฐาน


ดีแทคยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกับนายกรัฐมนตรี กรณี กสท เตะถ่วงไม่ยอมให้ทดลองให้บริการ HSPA แบบไม่เชิงพาณิชย์ อีก 1,220 สถานีฐาน ในวันที่ 22 พ.ย.นี้ ทั้งที่ยื่นผลประโยชน์ให้เพียบ ขณะที่ทรูมูฟทำมา 2 ปีไม่มีอะไรเสนอให้ หลังผู้บริหารสูงสุดเทเลนอร์เข้าพบนายกฯ หารือปัญหาไปเมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 19 พ.ย. ในขณะที่ นายกฯ ได้แค่พูดว่า “เสียใจ” ดีแทคย้ำหากกระบวนการทุกอย่างไม่เป็นผล ต้องล้มกระดาน HSPA ด้วยการขอคลื่น 850 MHz ที่ให้ กสท คืน ก่อนส่งให้ กทช.บริหารจัดการต่อไป
       
       นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มกลยุทธ์และกิจการองค์กร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่าในวันที่ 22 พ.ย.ที่จะถึงนี้ดีแทคจะยื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถึงกรณีที่บริษัท กสท โทรคมนาคม ไม่ยอมให้ทดลองให้บริการ HSPA แบบไม่เชิงพาณิชย์โดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานา และดึงเวลามากว่า 2 ปี ทั้งที่ยื่นข้อเสนอที่ กสท ได้ประโยชน์มากมาย
       
       'เขาอ้างโน่นอ้างนี้ถ่วงเวลามาเรื่อย ซึ่งมองแล้วเหมือนเราโดนหลอก'
       
       สำหรับสาระสำคัญของหนังสือที่ดีแทคยื่นครั้งนี้ เป็นเรื่องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการขอติดตั้งสถานีฐานเพื่อทดลองให้บริการ HSPA แบบไม่เชิงพาณิชย์เพิ่มเติมอีกไม่เกิน 1,220 สถานีฐานแต่บอร์ดกสท โทรคมนาคม ไม่พิจารณาและมีการทำให้เรื่องดังกล่าวล่าช้ามาตลอด ในขณะที่ทรูมูฟทดลองให้บริการแล้ว 2 ปี เกือบ 1 พันสถานีฐาน ส่วนดีแทคได้แค่ 36 สถานีฐานทั้งที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) อนุมัติให้ทำได้ 1,220 สถานีฐานรวมถึงเงื่อนไขที่ดีแทคเสนอให้กับ กสท มากมาย รวมถึงการไม่ฟ้องเรื่องค่าเชื่อมโครงข่าย (ไอซี) มูลค่า 2 พันล้านบาทด้วย ขณะที่ทรูมูฟไม่ได้ยื่นเงื่อนไขอะไร ซึ่งการยื่นหนังสือดังกล่าวเพื่อให้นายกฯพิจารณาว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ทำไมต้องเป็น 2 มาตรฐาน
       
       *** ข้อเสนอดีแทคที่กสทได้ประโยชน์เพียบ
       
       ทั้งนี้เสนอที่เป็นประโยชน์กับกสทดังกล่าวประกอบด้วย 1.ดีแทคตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องและอุปกรณ์ที่นำมาทดลองให้บริการ HSPA ให้กับกสททันทีตามสัญญาสัมปทาน ภาย หลังจากที่ดีแทคได้รับอนุมัติให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 839-849 MHz คู่กับ 884-894 MHz ในการให้บริการ HSPA เชิงพาณิชย์ภายใต้สัญญาสัมปทาน 2.ดีแทคสละสิทธิ์ที่จะไม่เรียกร้องค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (IC) จำนวนกว่า 2 พันล้านบาทจากกสท
       
       3.หากผลการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานตามมาตรา 22 มีมติไม่เห็นชอบการให้บริการ HSPA เชิงพาณิชย์ ดีแทคจะสละสิทธิ์การเรียกร้องค่าเสียหายใดๆทั้งสิ้นจากกสท 4.ดีแทคตกลงส่งรายงานคุณภาพการให้บริการทั้งด้านบริการข้อมูล (Data) และบริการเสียง (Voice) ให้กสทเป็นประจำทุกเดือน 5.ดีแทคตกลงจัดส่งข้อมูลรายละเอียดทางเทคนิคให้กสทพิจารณาตรวจสอบก่อนดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ตั้งสถานีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมจากกทช. และ 6.ดีแทคจะประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการทราบว่ากสท มีส่วนร่วมในการทดลองให้บริการ HSPA ในลักษณะ co-branding
       
       ***ผู้บริหารสูงสุดเทเลนอร์พบนายกฯ
       
       ทั้งนี้เมื่อเช้าวันที่ 19 พ.ย.ที่ผ่านมา ในวาระครบรอบ 10 ปีของกลุ่มเทเลนอร์ที่มาลงทุนในดีแทค นายจอน เฟรดริค บัคซอส ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของดีแทค พร้อมด้วยนายซิคเว่ เบรกเก้ รองประธานบริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์ เอเชีย ได้เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือใน 2 เรื่องหลักคือ 1.กรณีที่ไทยไม่เปิดประมูลไลเซนส์ 3G และ2.การแปรสัญญาสัมปทาน
       
       จากการหารือดังกล่าวนายกฯ สัญญาว่าจะมีจุดโฟกัสในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อย่างการนำความถี่ย่าน 850 MHz ไปพัฒนาให้เป็น HSPA ก็เข้าใจดี และแสดงความเสียใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ ขณะเดียวกันนายกฯยังได้อธิบายถึงความซับซ้อนของผู้ได้ประโยชน์ ผู้เสียประโยชน์ต่างๆ ซึ่งมีมาหลายปีแล้ว ซึ่งต่างจากประเทศอื่นๆ
       
       บัคซอสกล่าวว่า กลุ่มเทเลนอร์เข้าใจถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แต่ก็เป็นไปได้ที่จะก้าวไปข้างหน้า ซึ่งเทเลนอร์และดีแทคพร้อมที่จะลงทุนและนำเทคโนโลยีการเชื่อมโยง (คอนเนกทิวิตี้) ใหม่ๆ เข้าให้บริการในไทย ซึ่งคณะทำงานต้องเร่งให้ 3G เข้าสู่กระบวนการเปิดประมูลใบอนุญาต (ไลเซนส์) โดยเร็ว ซึ่งบริษัทมีศักยภาพที่สามารถให้บริการใหม่ๆ กับผู้บริโภค ขณะที่ลูกค้าก็พร้อมที่จะใช้อยู่แล้ว ซึ่งจะเห็นได้จากสังคมออนไลน์ที่ขยายวงกว้างขึ้น และมีการเข้าถึงโดยผ่านโทรศัพท์มือถือมากขึ้น
       
       'HSPA ไม่เกิดเราก็ไม่ค่อยพอใจ เพราะเราพร้อมที่จะดำเนินการ เนื่องจากตลาดมีอยู่แล้ว'
       
       ด้านซิคเว่กล่าวว่า หลายครั้งมีปัญหาเรื่องของ HSPA กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ก็บอกว่าจะมีการนำเข้าที่ประชุมบอร์ดกสท และก่อนที่จะประชุมกับนายกฯก็ได้มีการหารือนอกรอบกันซึ่งนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ก็อยู่ด้วย
       
       'ทำไมเราไม่ได้รับการปฏิบัติเหมือนทรูมูฟ ทั้งที่ HSPA เป็นแค่การดำเนินการในระยะสั้น เพราะระยะยาวคือ การมีไลเซนส์ 3G'
       
       *** กสทยังยื้อล้มกระดาน 850 MHz
       
       จากแนวทางที่ดีแทคและเทเลนอร์เดินหน้าเพื่อขอทดลองให้บริการ HSPA แบบไม่เชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง หากไม่มีอะไรเป็นผลทางเลือกสุดท้ายคือล้มกระดานโดยการขอคืนความถี่ 850 MHz ที่ให้ กสท ไปแล้วและกสท นำไปให้ทรูมูฟทดสอบบริการคืนกลับมา และส่งคืนคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อบริหารจัดการต่อไป เพราะการแบ่งความถี่ 850 Mhz ไปให้ทรูมูฟ เป็นเพราะดีแทคต้องการให้บริการ HSPA ในเชิงพาณิชย์
       
       'ทาง เลือกสุดท้ายหากทุกอย่างไม่เป็นผลก็คือเอาคลื่นคืนไปให้หมด ก็เท่ากับเป็นการฆ่าแบบตายหมู่ ไม่ต้องมีใครทำเพราะต้องคืนคลื่นให้ กทช.ไป แต่ที่เราให้คลื่นกสทไปเพราะดีแทคอยากให้บริการ 850 MHz เชิงพาณิชย์' นายธนากล่าว
       
       ขณะที่กลุ่มเทเลนอร์และดีแทคเดินแผนขอทดลอง HSPA ก็มีการปรับตัวและทำงานแบบคู่ขนาน โดยการพัฒนาศักยภาพจากแพลตฟอร์ม 2G ให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการดีขึ้น ซึ่งผู้ให้บริการทุกรายก็ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน เช่น การพัฒนาเทคโนโลยี EDGE แต่ความเร็วก็ยังถือว่าช้า เพราะลูกค้าต้องการความเร็วแบบบรอดแบนด์ โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาทำธุรกิจในไทย หรือนักท่องเที่ยวต่างก็ต้องการเชื่อมต่อการสื่อสารข้อมูลกลับประเทศได้
       
       ด้านบัคซอส กล่าวถึงการลงทุนของดีแทคในไทยว่า การลงทุนเรื่องของโครงข่ายมีแน่ ส่วนการตอบสนองตลาดจะมีโมเมนตัมใหม่ๆ แต่เม็ดเงินการลงทุนคงต่ำกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีไลเซนส์ 3G แต่ผู้บริหารของกลุ่มเทเลนอร์ยังเชื่อว่าในปี 2554 การประมูล 3G น่าจะเกิดขึ้น
       
       บัค ซอสมองว่า การมี 3G จะทำให้ยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโตขึ้นอีก 10% เพิ่มGDPได้อีก 1% และถ้าไม่มีบริการดังกล่าวประเทศอื่นจะก้าวหน้าไปมากกว่าไทย
       
       'เราเป็นผู้เล่นระยะยาวที่จะก้าวไปข้างหน้า ผู้บริโภคก็จะได้รับเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงเครื่องลูกข่ายใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นไอโฟน แบล็กเบอร์รี หรือบีบี'
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 04 ธันวาคม 2010, 00:52:54 »

ไอซีที คาดดันบรอดแบนด์ราคาถูกสุดให้คนไทยใช้รับปีเถาะ


ไอซีที จับมือ 6 เอกชน ดันบรอดแบนด์ถูกสุดให้ประชาชนในงาน เป็นของขวัญรับปีใหม่ ปัดกำหนดราคาขั้นต่ำ ชี้การแข่งขันเสรี ดั๊มพ์ราคาอัตโนมัติ โวปี 54 ได้เวลาปลดล็อกอุตสาหกรรมโทรคมนาคม...
วันที่ 22 พ.ย. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า หลังไอซีทีลงนามในบันทึกวามเข้าใจร่วมกับ 6 เอกชน ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประกอบด้วย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)หรือ ดีแทค บริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด ในการสนับสนุนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ขั้นตอนจากนี้แต่ละบริษัทจะส่งผู้แทนเข้าร่วมปฏิบัติงานในคณะทำงานร่วม สนับสนุนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ที่มีผู้แทนของไอซีทีเป็นประธานรมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า การลงนามในครั้งนี้จะสร้างความมั่นใจว่า ไอซีทีจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง ที่จะทำให้เกิดการแข่งขันเสรีในตลาดโทรคมนาคม รวมทั้งทำให้ 6 บริษัท ไม่ต้องลงทุนสร้างโครงข่ายเพื่อให้บริการซ้ำซ้อน ส่งผลให้สามารถคิดอัตราค่าบริการในราคาที่ถูกได้ พร้อมทั้งสร้างการเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์ ให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ประชาชนมีการเข้าถึงบรอดแบนด์เพียง 3.5% เท่านั้น ส่วนปี 2554 หรือปีหน้า จะทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเปิดเสรีนั้น เพราะส่วนตัวให้นโยบายกับทีโอทีในการเปิดให้ทุกบริษัทที่สนใจสามารถเช่าใช้ โครงข่าย 3จี ทีโอที เพื่อให้บริการ 3จีได้อย่างเท่าเทียม รวมทั้งทำเรื่องการแปลงสัญญาสัมปทาน 2จี เป็นใบอนุญาต 2จี ด้วยทั้งนี้ ยังไม่สามารถระบุกรอบระยะเวลาในการเริ่มดำเนินการได้ เนื่องจากต้องให้แต่ละหน่วยงานศึกษา และพิจารณาแผนงานกันก่อน รวมถึงไม่สามารถกำหนดกรอบเวลาเริ่มใช้งานได้ แต่เบื้องต้นคาดการณ์ว่าประชาชนน่าจะได้ใช้งานในช่วงปี 2554 หรือปีหน้า อีกทั้ง ตั้งเป้าว่าจะช่วยปลดล็อกให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้ เนื่องจากเป็นนโยบายที่ก่อให้เกิดการแข่งขันเสรี และเป็นธรรมกับทุกบริษัท
สำหรับความคืบหน้าของโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ ขณะนี้แผนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)เรียบร้อยแล้ว และกำลังเร่งเดินหน้าโครงการ โดยเบื้องต้นคาดการณ์ว่า ทีโอที และ กสท จะเป็นบริษัท นำร่องการใช้งาน โดยทีโอทีจะเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตราคาถูกได้ก่อนระยะแรก ประมาณปลายปีนี้ ในเขตพื้นที่ภาคใต้ จ.ตรัง ภาคเหนือ และภาคตะวันออก ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็ว 2 เมกะบิต ราคา 199 บาท ส่วน กสท เปิดให้บริการแล้วในบางพื้นที่ด้วยความเร็ว 2 เมกะบิต ราคา 99 บาท นายรอม หิรัญพฤกษ์ ที่ปรึกษารมว.ไอซีที กล่าวว่า การใช้โครงข่ายร่วมกันทำให้การเดินหน้าเรื่องนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติเดินไป ได้ และผู้ให้บริการโครงข่ายก็ไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อน และโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ก็ใช้งานร่วมกับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิร์ตซ และ 900 เมกะเฮิร์ตซได้ อย่างไรก็ตาม การร่วมมือครั้งนี้จะเกิดประโยชน์ตกอยู่กับทุกฝ่าย คือ ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันมีบางพื้นที่เป็นจุดบอดสัญญาณ การใช้โครงข่ายร่วมทำให้แก้ปัญหาดังกล่าวได้ ขณะที่ประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตแบบไร้สายได้ทุกที่ ส่วนการลงนามครั้งนี้จะเข้าข่ายพ.ร.บ.การเข้าร่วมการงานของภาครัฐ และเอกชน พ.ศ.2535 ระหว่าง ทีโอที กับเอไอเอส และ กสท กับดีแทค และทรูมูฟ หรือไม่ ต้องดูว่ามีรายได้เกิน 1,000 ล้านบาทหรือไม่.

 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 04 ธันวาคม 2010, 00:53:46 »

10 ปี "เทเลนอร์" ในไทย (ดีแทค) 3G ไลเซนส์โอกาสที่หล่นหาย


แปลก แต่จริงในห้วงยามหลังการสะดุดหยุดลงของการประมูล ไลเซนส์ 3G โดย กทช. แม้ พ.ร.บ. กสทช.จะผ่าน 2 สภาอย่างรวบรัดฉับไว โดยมีผู้นำรัฐบาลออกโรง แข็งขันว่าจะผลักดันให้มีการประกาศใช้โดยเร็วที่สุด แต่ดูเหมือนว่าไม่ได้ทำให้บรรดาผู้ประกอบการในธุรกิจสื่อสารคลายความกังวลใจ ต่อการชะงักงันของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ดีแทค" ในหลายเวที ผู้บริหารจากค่ายมือถือ มือวางอันดับ 2 ของประเทศไทยเชื่อว่าถ้าต้องรอ กสทช.การประมูลไลเซนส์ 3G คงลากยาวไปหลายปี ขณะที่สภาวการณ์ในธุรกิจจะเดินเข้าสู่โหมด "สุญญากาศ" กับกรณีนี้ ล่าสุด "ดีแทค" ยังแสดงความอึดอัดคับข้องใจจากกรณียื่นขอเพิ่มสถานีฐานจาก ไม่เกิน 100 แห่ง เป็น 1,220 แห่ง เพื่อทดลองบริการ HSPA

บนคลื่นความถี่ 850 MHz มาร่วมปีแต่ไม่ คืบหน้า ต่างจากค่ายคู่แข่งในสังกัดเดียวกัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ส่งหนังสือร้องเรียนไปยังประธานบอร์ด บมจ.กสท โทรคมนาคม และนายกรัฐมนตรีด้วย

ช่างเป็นบรรยากาศที่ไม่สอดคล้องกับ การฉลองครบรอบทศวรรษของการลงทุนในไทย (ดีแทค) ของ "เทเลนอร์" ที่เวียนมาบรรจบพอดีในปีนี้ ปัจจุบันเทเลนอร์ ดำเนินธุรกิจอยู่ 11 ประเทศทั่วโลก มีฐานลูกค้ามากกว่า 195 ล้านเลขหมายทั่วโลก

และการลง ทุนในไทยเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี 2543 ใน บมจ.ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี (ยูคอม) ผู้ถือหุ้นดีแทค ปี 2549 เทเลนอร์ กรุ๊ปย้ายสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียมาที่ กทม. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนและกำหนดนโยบายการลงทุนในเอเชีย

"จอน เฟรดริค บัคซอส" ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป เดินทางมาประเทศไทยเพื่อฉลองการทำธุรกิจครบ 10 ปี และได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีของไทยเพื่อผลักดันการใช้ 3G และแสดงจุดยืนของดีแทคในธุรกิจสื่อสารไทย โดยระบุว่า "10 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงมาก ได้เชื่อมโยงคนทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกันกว่า 5 พันล้านคน มีสัดส่วนการใช้งานเครือข่ายไร้สายมากกว่าถึง 5 เท่า แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของการใช้งานเครือข่ายไร้สายอย่างมาก"

ใน แง่การใช้งานจากเสียงมายัง SMS และขยับขยายเข้าสู่แอปพลิเคชั่น โดยภาพของอุตสาหกรรมต่อจากนี้คือ จะมีคน 5 พันล้านคนเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ แม้ปัจจุบันจะมีสัดส่วน 15-20% แต่มีการเติบโตทุกวัน โดยแนวโน้มการเติบโตจากนี้ไปจะเป็นการขับเคลื่อนจากตลาดเอเชียเป็นหลัก รวมถึงประเทศไทย

"เทเลนอร์ได้ร่วมมือพัฒนาตลาดไทยมากว่า 10 ปี และจะสนับสนุนดีแทคต่อไป แม้ 2-3 ปีที่ผ่านมาทั่วโลกเจอกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและวิกฤตการเงิน แต่ดีแทคยังสร้างการเติบโตที่ 10% ซึ่ง 3G เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการเติบโต น่าเสียดายในไทยล่าช้า"

ซีอีโอ เทเลนอร์ กรุ๊ปย้ำว่า 3G มีความสำคัญกับโอเปอเรเตอร์ทุกราย เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดบริการใหม่เข้าถึงชนบท และช่วยการเติบโตของเศรษฐกิจ และจีดีพีในภาพรวมของทุกประเทศ หากไม่ได้รับการตอบสนอง ประเทศอื่นก็จะมีความก้าวหน้าเร็วกว่าไทย

สำหรับ การลงทุนของเทเลนอร์ในไทยในปีหน้า "ซีอีโอเทเลนอร์" คาดว่าจะต่ำกว่าที่ควรเป็น เว้นแต่จะมีการประมูล 3G ซึ่งอยู่ระหว่างรอให้คณะกรรมการ "กสทช." เข้ามาดำเนินการ และในระหว่างนี้ดีแทคจะโฟกัสไปยังเครือข่ายเอดจ์ และบริการจัดการเครือข่ายที่มีอยู่เพื่อตอบสนองตลาดและฐานลูกค้า 22-23 ล้านคนในปัจจุบัน

"3 จีเป็นโมเมนตัมสำคัญ มีประโยชน์แก่ผู้บริโภคและโอเปอเรเตอร์ ช่วยสร้างให้เกิดการแข่งขันรูปแบบใหม่ ไม่มี 3 จีภาพรวมตลาดปีหน้าจะเหมือนปีนี้ คือไม่มีอะไรใหม่มาก ในแง่ภาพรวมการลงทุนในอินเดียยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเทเลนอร์ ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 30 ล้านคน หรือ 35-40% ของผู้ใช้มือถือจึงยังมีโอกาสอีกมาก เป็นประเทศที่เหมาะแก่การลงทุนระยะยาว"
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 04 ธันวาคม 2010, 00:54:41 »

หาทางรอดติดสปริงบอร์ดธุรกิจ เมื่อสัมปทาน (ทรูมูฟ) ใกล้รูดม่าน


ด้วย ระยะเวลาสัมปทานที่เหลืออยู่อีกไม่เต็ม 3 ปี (สิ้นสุดในปี 2556) ของ "ทรูมูฟ" เทียบกับคู่แข่ง รายอื่นนับได้ว่าสั้นที่สุด เพราะเอไอเอสเหลืออีก 5 ปี ขณะที่ดีแทคมีเวลาถึง 8 ปี เวลาที่นับถอยหลังลงเรื่อย ๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะมีแนวทางใดหรือจากใคร (รัฐบาล-กระทรวงไอซีที หรือต้นสังกัดสัมปทาน บมจ.กสท โทรคมนาคม)

เมื่อ การประมูลไลเซนส์ 3G โดย กทช. ซึ่งค่ายมือถือทุกรายมองว่าเป็นทั้งโอกาสและความหวังกับอนาคตธุรกิจหลัง สัมปทานต้องสะดุดหยุดลงด้วยแล้ว

ไม่น่าแปลกใจแต่ประการใดที่กลุ่มทรู จะออกมายอมรับว่ากำลังใช้ความพยายามทุกรูปแบบเพื่อให้ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่ออนาคตธุรกิจของกลุ่มทรู

ในห้วงเวลาที่ สัมปทานเหลือน้อยลงทุกที ทุกแนวทางที่ว่ารวมถึงการเจรจาเพื่อซื้อธุรกิจ "ฮัทช์" ชนิดที่เรียกว่ารับไม้ต่อจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้อย่างพอเหมาะพอเจาะ

ว่ากันว่าเกมนี้ทรูมูฟคงจ่ายไม่เยอะเพราะมี คดีความฟ้องร้องที่คากันอยู่ไว้ต่อรองราคา แต่ถึงจะไม่มีค่ายนี้เขาเก่งเรื่องซื้อของถูก แต่คงไม่ถึงกับซื้อได้บาทเดียวเหมือนหุ้นออเร้นจ์ครั้งกระโน้นเป็นแน่

อนาคต ธุรกิจกลุ่มทรู การรุกคืบเข้าซื้อกิจการ "ฮัทช์" การลงทุนใหม่ ๆ และมุมมองต่ออนาคตอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะเป็นเช่นไร และมีที่มาที่ไปอย่างไร คงไม่มีใครตอบคำถามทั้งหมดได้ดีเท่ากับ ซีอีโอกลุ่มทรู "ศุภชัย เจียรวนนท์" ดังต่อไปนี้

- เจรจาซื้อฮัทช์อยู่ในขั้นไหน

กำลังศึกษา ต้องรอดูว่าทำได้ไหมจะต้องศึกษาให้ชัดเจนภายในปีนี้ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ แต่ก็ยังไม่แน่นอนอาจข้ามไปปีหน้าก็ได้ กรณีฮัทช์เรามองฐานลูกค้า การรวมกันทำให้สเกลธุรกิจของเราใหญ่ขึ้น แต่ต้องบอกว่ามีเงื่อนไขหลายอย่างที่ต้องดู ถ้าศึกษาแล้วความเสี่ยงไม่สูงเกิน ความคุ้มค่าไปได้ เรื่องเงินไม่ใช่ปัญหา

- ได้คลื่นนำไปอัพเกรด HSPA เพิ่มด้วย

ไม่ครับ คลื่นความถี่ของฮัทช์เป็นสิทธิของ กสท. เรามองฐานลูกค้า ฮัทช์มีลูกค้าอยู่แล้ว 1.2-1.3 ล้านราย ปีที่แล้วมีรายได้ 4.5 พันล้านบาท เท่ากับได้ลูกค้าบวก รายได้ ไม่ใช่แค่การซื้อเสาหรือเน็ตเวิร์ก แต่เป็น customer acquisition เรื่องหลักเลยคือฐานลูกค้า ถ้าได้นะครับ

- ถ้าได้เปิด HSPA เชิงพาณิชย์กับเช่า เน็ตเวิร์กต่อจะยังซื้อฮัทช์ไหม

ก็ ยังต้องดู ตรงอัพเกรดคลื่นเดิมเราขอเปิดเชิงพาณิชย์ และเช่าโครงข่ายต่ออีก 5 ปี ส่วนฮัทช์เรามองมูลค่าของฐานลูกค้า ในกรณีฮัทช์คลื่นอยู่กับ กสทฯ แต่ตรง รีเซลเลอร์และการบริหารจัดการฐานลูกค้า และรายได้อยู่กับฮัทช์ เราจะทำในรูปแบบคล้าย MVNO ซึ่งรูปแบบธุรกิจ MVNO เราไม่ได้มองแค่ฮัทช์ แต่รวมถึงกับ 3G ทีโอทีด้วย รูปแบบนี้เราจะเป็นดิสทริบิวเตอร์ เป็นคนให้บริการ เหมือนการไปซื้อ capacity มาและขายต่อ ต่อไปก็เพิ่มมูลค่าด้วยคอนเทนต์และแอปพลิเคชั่น ต่าง ๆ ได้

MVNO เป็นรูปแบบธุรกิจที่เราต้อง ไปอยู่แล้ว ด้วย อายุสัมปทานที่เหลือ ไลเซนส์ 3G ก็ยังไม่เกิด

ก็ต้องไปตรงนั้น ที่พูดกว่า กม. กสทช. บล็อกไม่ให้ทำ MVNO โดยส่วนตัวผมไม่คิดว่า กม.ใหม่จะบล็อก

- ฐานลูกค้าฮัทช์เหลือไม่ถึงล้าน

คงต้องทำดิวดิลิเจนต์ก่อนถึงจะบอกได้อีกทีว่าเป็นยังไง

- ดีแทคร้องว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจะขอคลื่นที่แบ่งให้ทรูมูฟคืน

เรื่อง คลื่นเป็นเรื่องของภาครัฐ เรื่องของ กทช. เราเองก็ได้ทดลองไปแล้ว เรื่องเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เราก็อยากเห็น ที่บอกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมคงไม่ใช่ เพราะเงื่อนไขสัมปทานเขาดีกว่าเราตั้งเยอะ ที่บอกว่าขอทดลองบริการเพิ่มแต่โดนฟรีซ เราก็โดนเหมือนกัน แต่เข้าใจว่าตอนเริ่มต้นเมื่อได้รับอนุญาตให้ทดลองบริการได้ เราลุยเต็มที่ขอติดตั้งไป 1,200 สถานีฐาน แต่ทำได้ 600 กว่าก็โดนฟรีซ เส้นที่ถูกขีด ให้หยุดของเรากับดีแทคน่าจะพร้อมกัน การที่คุณช้าคุณช้าเองหรือเปล่า

- การลงทุนในปีหน้า

กลุ่ม ทรูลงทุนปีละ 7-8 พันล้านบาทปีหน้าก็คงใกล้เคียงนี้ ถ้าไม่มีไลเซนส์ใหม่ ไม่มีการอัพเกรดคลื่นเดิม เป็นการลงทุนในทรูมูฟ และบรอดแบนดอย่างละครึ่ง แต่ถ้ามีการอัพเกรด HSPA เพื่อให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ ก็จะเพิ่มการลงทุนเป็น 1-1.2 หมื่นล้านบาท และถ้ามีการประมูลไลเซนส์ 3G เคยวางไว้ว่าจะลงทุนไม่น้อยกว่า 3 หมื่นล้าน ใน 3 ปี หรือมากกว่า

- การเติบโตของธุรกิจในกลุ่มทรู

ปี นี้คงเติบโตน้อย 1-2% เพราะมีผลกระทบจากรายได้ของฟิกซ์ไลน์ที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ทรูมูฟก็โตน้อยลง เพราะตลาดอิ่มตัวและสงครามราคาในเครือข่าย แต่คาดว่าปีหน้าจะดีขึ้น

ภาพรวมของรายได้ของกลุ่มทรูในปีหน้าน่าจะ โต 5-6% แต่ฟิกซ์ไลน์เป็นเทรนด์ ทั่วโลกอยู่แล้วฟื้นยาก ต้องอุดหนุนโดยบรอดแบนด์ เพียงแต่บรอดแบนด์มีค่าใช้จ่ายตามมาจากการลงทุน

- ภาพรวมของอุตสาหกรรม

บรอดแบนด์ มีสายจะโตต่อเนื่อง ในแง่ครัวเรือนจะเพิ่มจาก 2.2 ล้าน เป็น 3.2 ล้าน ขยับจาก 12.7% เป็น 16.6% ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปจะเข้าสู่ช่วงเติบโตเร็ว หรือ hyper growth

ส่วนตลาดมือถือค่อนข้างอิ่มตัว ที่ยังโตได้คือน็อนวอยซ์ ในแง่มูลค่าน่าจะโต 6-8%

ตลาด เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมปัจจุบันขนาดตลาดอยู่ที่ 6 ล้านครัวเรือน หรือมีจำนวน 30% ของครัวเรือนในประเทศปีหน้าจะโต 20% เป็น 35% และการเติบโตของจานดาวเทียมจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยจะมาแทนเสาก้างปลา ทำให้ตลาดโฆษณามีโอกาสโตได้มาก

สำหรับเปย์ทีวีจะได้อานิสงส์จากคน ที่มีความสามารถในการจ่ายเข้ามาใช้ มากขึ้น แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการพัฒนาคอนเทนต์ใหม่ ๆ เป็น interactive และ HD TV

ในแง่ภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอีกเรื่องที่อยากฝากไว้ คือ ผมอยากเห็นความต่อเนื่องในการทำงานระหว่าง กทช. กับ กสทช. ที่จะตั้งขึ้นมาใหม่ จะให้ดี กทช. เดิมน่าจะสมัคร กสทช.ด้วย
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 04 ธันวาคม 2010, 00:55:40 »

ทีโอทีอัดโปร6เมก590บามรุกไฮสปีดเน็ตโกยพอร์ตนับแสน


ทีโอที รุกตลาดเน็ตความเร็วสูง ส่งแคมเปญ แก็งเน็ตซิ่ง 6Mb 590 บาท เตรียมแผนพัฒนาคุณภาพรับความเร็วสูง 20 MB หวังพอร์ตเพิ่มร่วมแสนปิดฉากปี 53 พร้อมลุยเอ็มแซนต่อคาดแล้วเสร็จปี 54...

นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอดปีที่ผ่านมา ทีโอที ได้สร้างสรรค์แผนกลยุทธ์สื่อสารการตลาดแบบ 360 องศา ในส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อมอบบริการที่เหนือกว่าในราคาสุดคุ้ม ด้วยการจับมือพาร์ทเนอร์แบรนด์ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย เพื่อจะขยับจำนวนลูกค้าใหม่ให้ได้ 100,000 พอร์ต ภายใน 2 เดือน หลังจัดแคมเปญ ซึ่งได้เริ่มแล้วตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา พร้อมประกาศอัดฉีดฐานลูกค้าเก่าด้วยการเพิ่มสปีดความเร็วให้แก่ลูกค้าเดิมที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขจะได้รับการอัพสปีดฟรีและอัตโนมัติ และที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขก็สามารถแจ้งความประสงค์ปรับเปลี่ยนแพคเกจหรือโปรโมชั่นได้ที่  ทีโอที คอลเซ็นเตอร์ โทร 1100  หรือทางออนไลน์ที่ www.TOThispeed.com พร้อมรับสิทธิ์ทดลองใช้บริการ ทีโอที ไวไฟ 40 ชั่วโมง นาน 4 เดือน ฟรี แถมได้ส่วนลด 600 บาทในการโทรสั่ง เดอะ พิซซ่า คอมปานี ซึ่งหลังจากที่เปิดตัวแคมเปญ แก๊งเน็ตซิ่ง ได้ไม่นานก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มลูกค้า

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ทีโอที ได้ระดมโปรโมทแคมเปญดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง นอกจากการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่แล้ว ยังต้องการรักษาฐานลูกค้ากลุ่มเดิมไว้ด้วย โดยตั้งเป้าลดอัตราการยกเลิกบริการให้ลดลงไม่ต่ำกว่า 10% ของอัตรายกเลิกบริการเฉลี่ย 3 เดือน ในช่วงระยะเวลาการเผยแพร่แคมเปญ โดยเน้นไปที่กลุ่มเยาวชนนักศึกษา กลุ่มข้าราชการและผู้บริหารระดับกลาง รวมถึงกลุ่มร้านค้าอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ ที่ใส่ใจเรื่องความคุ้มค่าคุ้มราคาด้วย

กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวต่อว่า แผนการพัฒนาศักยภาพบริการสู่ความเป็นหนึ่งนั้น จากผลสำรวจความเร็วสูงสุดที่ลูกค้าได้รับ พบว่า 75% สามารถรับบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 6 MB ที่ทีโอที กำลังระดมทำตลาดอยู่ในช่วง 3 เดือนนับจากนี้ได้ ซึ่งคงต้องเดินหน้าผลักดันแคมเปญ Jet Pack Gen II ให้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มคนไทยให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ ทีโอที ยังได้ดำเนินโครงการ 577,000 พอร์ต โดยมีขอบข่ายในการ ขยายและพัฒนาคุณภาพบริการ อาทิ ติดตั้ง โครงการขยายโครงข่ายเพื่อรองรับการใช้งานมัลติมีเดีย หรือ เอ็มแซน (Multimedia Service Access Nodes: MSAN) ทั่วประเทศ  ทำให้ข่ายสายสั้นลงเหลือโดยเฉลี่ย 1 กม.เพื่อสามารถให้บริการความเร็วสูงสุดถึง 20 Mb เมื่อเสร็จสิ้นโครงการจะสามารถให้บริการที่ความเร็ว 6 MB ขึ้นไปได้ถึง 90% ซึ่งโครงการดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2554
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 04 ธันวาคม 2010, 00:56:50 »

ขาใหญ่แบ่งเค้กไม่ลงตัวยื้อ3Gทีโอที

"3G ทีโอที" สุดอลหม่าน ลุ้นเปิดประมูลวางโครงข่าย 1.9 หมื่นล้าน มีสิทธิ์ไม่ทันเส้นตายสิ้นเดือน พ.ย.นี้ "วงใน" เผยขาใหญ่แบ่งเค้กไม่ลงตัว ยื้อ "ทีโออาร์" จบไม่ลง จับตายักษ์ผู้ผลิตอุปกรณ์ "หัวเว่ย- โนเกีย-อีริคสัน-อัลคาเทล-แซดทีอี" จับขั้วแบ่งข้างลงสนามชิงดำเจรจา "โรมมิ่ง-MVNO" กับ "เอไอเอส" ยังไม่ได้ข้อยุติ แต่ทีโอทีเปิดทาง "ทรูมูฟ" ร่วมด้วย


แม้ว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะอนุมัติโครงการลงทุนขยายเครือข่ายการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ทั่วประเทศ มูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท ของ บมจ.ทีโอทีมาแล้วเรียบร้อย และก่อนหน้านี้นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะระบุชัดเจนว่า ทีโอทีจะเปิดขายซองประมูลภายในวันที่ 28 พ.ย.นี้ แต่ในขณะนี้มีความเป็นไปได้มากว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ตามกำหนด

โดย นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตนมั่นใจร่างทีโออาร์โครงการ 3G จะไม่มีปัญหา แม้ขณะนี้ (25 พ.ย. 2553) สำนักงานอัยการสูงสุดจะยังไม่ให้ คำตอบใด ๆ เกี่ยวกับร่างทีโออาร์ดังกล่าว เพราะก่อนหน้านี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากอัยการมาแล้ว และโดยปกติอัยการสูงสุดต้องดูร่างสัญญาที่รัฐวิสาหกิจลงนามร่วมกับเอกชน ไม่ต้องดูทีโออาร์ก็ได้เพียงแต่ต้องให้คำตอบมาว่าจะดูให้หรือไม่

"เรา ต้องรอคำตอบของอัยการสูงสุดว่าจะดูให้หรือไม่ ถ้ายังไม่แจ้งมาก็ต้องรอไปก่อน หากตอบมาว่า ไม่ดูร่างนี้ให้ หรือพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม บริษัทจะประกาศร่างทีโออาร์แก่สาธารณะได้ทันที หรือถ้ามีการแก้ไขสาระก็ต้องเสนอให้บอร์ดพิจารณาในวันที่ 30 พ.ย. พร้อมกับพิจารณาแหล่งเงินกู้ ดังนั้น ณ เวลานี้ตนจึงยังเชื่อมั่นว่าวันเวลาประกาศทีโออาร์หรือจัดประมูลยังอยู่ใน กรอบเดิมที่รัฐบาลกำชับไว้ คือได้ผู้ชนะไม่เกินกลางเดือน ม.ค.ปีหน้า" นายวรุธกล่าว

ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ. ทีโอทีกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การที่สำนักงานอัยการสูงสุดยังไม่ส่งทีโออาร์กลับมายังทีโอทีมีความเป็นไป ได้สูงมากว่า จะไม่สามารถประกาศร่าง ทีโออาร์แก่สาธารณะได้ในวันที่ 29 พ.ย. 2553 จะส่งผลให้การเปิดประมูลหาผู้ชนะเพื่อติดตั้งโครงข่ายทั่วประเทศต้องเลื่อน ออกไปจากกำหนดเดิม

"ขณะนี้มีการพูดกันมากในวงการโทรคมนาคมว่า มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประมูลบางรายพยายามกดดันให้มีการแก้ไขร่างทีโออาร์ อีกฟากการเมืองต้องการให้ปรับลดวงเงินลงมาอีก เพราะมองว่าโครงการนี้ใช้เงินมากเกินไป ทีโอทีเองก็กำลังลุ้นให้ทุกอย่างจบเร็วที่สุดเพื่อไม่ให้กระทบการเปิดประมูล โครงการนี้ เนื่องจากรัฐบาลกำชับมาว่า ต้องเปิดบริการให้เร็วที่สุด"

แหล่ง ข่าวคนเดิมระบุว่า การจับกลุ่มแบ่งข้างกันในกลุ่มของผู้สนใจเข้าประมูลโครงการเป็นอีกปัจจัยที่ ทำให้เกิดความล่าช้า เพราะแต่ละกลุ่มยังไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะร่วมมือกับใครในการเข้าประมูล โครงการนี้ ระหว่างกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ ได้แก่ โนเกีย-ซีเมนส์, อีริคสัน, หัวเว่ย, แซดทีอี และอัลคาเทลกับกลุ่มสามารถ, ล็อกซเล่ย์และไออีซี เป็นต้น

สำหรับ โครงการขยายโครงข่าย 3G ทั่วประเทศเดิมกำหนดวันประกาศหลักเกณฑ์เงื่อนไขการประมูลและทีโออาร์ใน วันที่ 29 พ.ย. และจะเริ่มเปิดขายแบบการประมูลภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ธ.ค.หลังลงนามในสัญญาไม่เกิน 180 วัน หรือไตรมาส 2 ปีหน้าจะทยอยเปิดให้บริการในเฟส 1 และเฟส 2 คือ กรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 13 จังหวัดเศรษฐกิจ ได้แก่ ชลบุรี ระยอง สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และหนองคาย เฟสที่เหลือกระจายในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศต้องติดตั้งให้เสร็จภายใน 365 วัน หลังเซ็นสัญญาจ้าง และแผนขยายให้ครอบคลุม 80% ของประชากรภายใน 4 ปี

การ ประกวดราคาใช้วิธีการอิเล็ก ทรอนิกส์ (อีออกชั่น) เลือกผู้ชนะประมูลเพียงรายเดียวติดตั้งโครงข่ายทั่วประเทศ ไม่แบ่งโซนพื้นที่เพื่อป้องกันปัญหาการเชื่อมต่อโครงข่าย

ด้านการลง ทุนโครงข่ายในโครงการนี้จะมีสถานีฐานทั้งหมด 5,320 สถานี ซึ่งจะใช้โครงข่ายร่วมกันเพื่อให้ขยายโครงข่ายได้เร็วขึ้น โดยจะเช่าจากสถานีฐานของ ผู้ประกอบการรายอื่นประมาณ 3,040 แห่ง (57%) ใช้สถานีฐานเดิมที่ทีโอทีมีอยู่ใน โครงข่ายพื้นฐานอื่น 1,562 แห่ง (29%) และติดตั้งใหม่ 718 แห่ง (14%)

ขณะที่งบประมาณโครงการทั้งหมด ใช้วงเงิน 19,980 ล้านบาท ซึ่งจะใช้เงินลงทุนของบริษัทเอง 4,000 กว่าล้านบาท อีก 15,000 ล้านบาท มาจากแหล่งเงินกู้ โดยการใช้งบฯจะแบ่งเป็นการประกวดราคา จัดซื้อจัดจ้างติดตั้งโครงข่าย 17,440 ล้านบาท ลงทุนอุปกรณ์ขยายขีดความสามารถโครงข่าย 540 ล้านบาท ปรับปรุงโครงข่ายเดิมของกิจการร่วมค้าเอซีทีโมบาย (ไทยโมบายเดิม) ให้เป็นระบบ 3G 2,000 ล้านบาท

สำหรับความคืบหน้าของแหล่งเงินกู้ ขณะนี้มีธนาคารในประเทศ 4 แห่งให้ความสนใจ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ไทยพาณิชย์ กรุงไทย และซิตี้แบงก์ ซึ่งคาดว่าภายใน ธ.ค.นี้จะได้ตัวแทนหลักในการปล่อยกู้ และจะลงนามในสัญญาเงินกู้ได้ในเดือน ก.พ. 2554

แผนการตลาดในอนาคตจะต่อสัญญากับผู้เช่าใช้โครงข่าย (เอ็มวีเอ็นโอ) รายเก่าทั้ง 5 ราย ได้แก่ บมจ.สามารถ-ไอโมบาย บมจ.ล็อกซเล่ย์ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น บริษัทเอ็มคอนซัลท์ เอเชีย และบริษัทไออีซี เทคโนโลยี และกำลังเจรจากับผู้สนใจ รายอื่น อาทิ บริษัท สวัสดีช็อป จำกัด บริษัทลูกของเอไอเอส และทรูมูฟ ซึ่งคาดว่าจะเจรจาให้เสร็จภายในเดือนนี้

ส่วนฐานลูกค้าบริการทีโอที 3G ปัจจุบันมีราว 140,000 ราย และตั้งเป้าจะให้เพิ่มเป็น 7.4 ล้านเลขหมาย ในปี 2558 เพื่อให้มีอัตราผลตอบแทนโครงการ (ไออาร์อาร์) อยู่ที่ 11.41% และมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 7 ปี

นอกจากการเดินหน้าเปิดประมูลโครงการ 3G แล้ว ทีโอทีต้องเร่งหาข้อยุติเรื่องการทำตลาดของบรรดาผู้เช่าใช้โครงข่าย (MVNO) ทั้งรายเก่าและรายใหม่ให้ได้เร็วที่สุดก่อน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) จะมีผลบังคับใช้ เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนว่าบทบัญญัติในมาตรา 46 ระบุว่า ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้ รับใบอนุญาต จะโอนแก่กันมิได้นั้นจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการแบบเอ็มวีเอ็นโอด้วยหรือ ไม่

โดยนายวรุธเปิดเผยว่า วันที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมาได้มีการเจรจากับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ที่เสนอตัวขอร่วมเป็นพันธมิตรทั้งในรูปแบบ MVNO และขอโรมมิ่งโครงข่าย 3G ซึ่งในการหารือกันครั้งนี้ได้กำหนดให้คณะทำงานของทั้ง 2 ฝ่ายสรุปตัวเลขที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมานำเสนอเพื่อพิจารณาร่วมกันในสัปดาห์ ถัดไป

"ทีโอทีเจรจากับเอไอเอสใน 3 ประเด็น คือ การขอใช้สถานีฐานร่วม, การโรมมิ่งเครือข่าย และ MVNO เรามองว่าค่าโรมมิ่งที่เอไอเอสต้องจ่ายให้ควรสูงกว่าการเข้ามาเป็น MVNO และต้องมีการสำรวจกันจริง ๆ ว่าจำนวนสถานีฐานของเอไอเอสที่ทีโอทีนำมาใช้เป็นโครงข่ายร่วมของ 3G มีที่ใช้ได้จริงกี่จุดกันแน่ เราไม่ต้องการตัวเลขทางทฤษฎี เพราะตามแผนต้องมีการใช้งานร่วมกันกว่า 2,000 สถานีฐาน เรายังนัดเจรจากับทรูมูฟในเรื่องเดียวกันเร็ว ๆ นี้ด้วย
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 04 ธันวาคม 2010, 00:57:41 »

TOTก้นร้อนไอซีทีบี้สรุปแก้สัญญาAIS

"ที โอที" ก้นร้อน "วงใน" เผยนายกฯส่งหนังสือถามถึงความคืบหน้าขยายเครือข่าย 3G ทั่วประเทศ ขณะที่เจ้ากระทรวงไอซีทีเร่งรัดผลสอบคดีแก้สัมปทาน "เอไอเอส" หลังไม่พอใจบทสรุปคณะกรรมการ ม.22 แค่ให้กลับไปใช้สัญญาเดิมยังไม่พอ ขีดเส้นตาย 15 ธ.ค. ฟาก "กสทฯ" เตรียมชงบอร์ดอนุมัติ "ดีแทค-ทรูมูฟ" อัพเกรดคลื่นเดิม เพิ่มเป็น 1,200 สถานี ก่อนคริสต์มาส


แหล่ง ข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอทีเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ฝ่ายบริหารภายในทีโอทีกำลังกดดันอย่างมาก หลังจากส่งร่างข้อกำหนดด้านเทคนิค (ทีโออาร์) ของโครงการขยายโครงข่ายทั่วประเทศบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี ไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อตรวจพิจารณาเป็นครั้งสุดท้าย ตั้งแต่ 19 พ.ย. ที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีการตอบกลับ ตามกำหนดเดิมเปิดประกาศทีโออาร์ในวันที่ 29 พ.ย. เพื่อเปิดขายแบบการประมูลในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ธ.ค.

ขณะเดียวกัน ในวันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ส่งหนังสือแจ้งให้ทีโอทีรายงานความคืบหน้าโครงการนี้ให้ทราบ โดยด่วน เนื่องจากเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาก จึงเท่ากับว่าขณะนี้ทีโอทีได้รับแรงกดดันอย่างหนัก

"เราต้องรอให้ อัยการสูงสุดตอบกลับมาว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย หรือบอกว่าจะดูให้ หรือไม่ดูก็ได้ ขอให้ตอบกลับมาสักอย่าง จะได้เดินหน้าขั้นต่อไปได้ ถ้าไม่ตอบ ก็ต้องรอไปเรื่อย ๆ ที่มีการพูดกันมากว่าทุกอย่างโดนดึงเพราะกลุ่มทุนและนักการเมืองยังเคลียร์ กันไม่ลงตัว ท่าทางจะยืดเยื้อ ทำให้ทีโอทีเปิดประมูลไม่ได้ เสียโอกาสธุรกิจไม่พอ ยังโดนแรงกดดันจากรัฐบาลด้วย"

นอกจากนี้ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ส่งหนังสือเร่งรัดให้ ทีโอที และคณะกรรมการตามมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ที่กำกับดูแลสัญญาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) รีบทำข้อสรุปผลการพิจารณาผลการแก้ไขสัมปทานที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความไว้ ว่าไม่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ. รวมถึงมีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง วินิจฉัยไว้ในบางประเด็นแล้ว โดยกระทรวงไอซีทีกำหนดให้ทีโอทีต้องเสนอรายงานให้ทราบภายในวันที่ 15 ธ.ค.นี้

แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัญหาสำคัญของกรณีดังกล่าว คือคณะกรรมการตามมาตรา 22 มองว่า ได้สรุปรายงานทุกอย่างครบถ้วนเสนอให้รัฐมนตรีไอซีทีหมดแล้ว แต่ทางกระทรวงไอซีทีมองว่า รายงานดังกล่าวไม่มีข้อสรุปครบถ้วน และต้องการให้ทำเพิ่ม โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับวิธีดำเนินการขั้นต่อไป การประเมินมูลค่าต่อประโยชน์สาธารณะของแต่ละแนวทาง ซึ่งคณะกรรมการมาตรา 22 มองว่า กฤษฎีการะบุให้หน้าที่ดังกล่าวเป็นการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีที่จะชี้ขาด ไม่ใช่หน้าที่ของกรรมการตามมาตรา 22 แต่อย่างใด

"กฤษฎีการะบุชัดเจน ว่า สัญญาสัมปทานไม่ได้ปฏิบัติตามกระบวนการของ พ.ร.บ.ร่วมทุน ซึ่ง ครม.จะบอกล้างสัญญา หรือให้สัตยาบันรับรองการแก้ไขก็ได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ และความต่อเนื่องในการให้บริการแก่ผู้บริโภค สำหรับข้อสรุปของคณะกรรมการตาม ม.22 ให้ความเห็นว่า ควรกลับไปใช้ส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการพรีเพดตามสัญญาหลักที่ทำขึ้นไว้ เดิม คือเพิ่มขึ้นไปตามปี 25-30% ไม่ใช่ 20% จนสิ้นสุดสัญญา โดย ครม.เป็นผู้ต้องตัดสินใจ ซึ่งตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะมีข้อสรุปได้หรือไม่ เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมองไม่ตรงกัน"

ด้านความคืบหน้าการให้ทดลองให้บริการ 3จี ด้วยเทคโนโลยีเอชเอสพีเอ โดยการอัพเกรดคลื่นความถี่เดิม ทั้งของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด นายจิรายุทธรุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 ธ.ค.จะนำเรื่องดังกล่าวเสนอที่ประชุมบอร์ดให้พิจารณากรณีที่ทั้งคู่ขอขยาย พื้นที่ทดลองให้บริการเป็น 1,200 สถานีฐาน ระหว่างรอกระบวนการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ หลังจากเคยอนุมัติให้ทั้ง 2 บริษัทเปิดทดลองบริการไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยอนุมัติให้ทรูมูฟทดลองทั้งหมด 600 สถานี ส่วนดีแทคขอทดลองเพียง 36 สถานี

สำหรับการขอเปิดให้บริการ ในเชิงพาณิชย์ ยังติดปัญหาเรื่องข้อกฎหมายหลายประการ โดย กสทฯกำลังหารือข้อกฎหมายทั้งหมดกับนายชัยเกษม นิติสิริ ที่ปรึกษาประธานบอร์ด กสทฯ และนายวีระชัย คล้ายทอง กรรมการบริษัท เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีหรือไม่ และต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง จึงยังไม่สามารถระบุได้ว่า ทั้งคู่จะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้เมื่อใด
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 13 ธันวาคม 2010, 00:32:01 »

ทีโอที วางกลยุทธ์สู่ผู้นำตลาด ‘เน็ตความเร็วสูง’ ล่าสุดคนแห่ร่วมแคมเปญ ล้นหลาม เหตุสุดคุ้ม ด้วยโปรโม

ทีโอที วางกลยุทธ์สู่ผู้นำตลาด ‘เน็ตความเร็วสูง’ ล่าสุดคนแห่ร่วมแคมเปญ ล้นหลาม เหตุสุดคุ้ม  ด้วยโปรโมชั่น ‘แก๊งเน็ตซิ่ง  ความเร็ว 6 Mbps ราคา 590 บาท/เดือน’ คาดปิดฉากปี 53 สามารถเพิ่มบริการได้กว่า 100,000 พอร์ต พร้อมเดินหน้าพัฒนาความเร็วอย่างต่อเนื่อง

นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลอดปีที่ผ่านมา ทีโอที ได้สร้างสรรค์แผนกลยุทธ์สื่อสารการตลาดแบบ 360 องศา ในส่วนธุรกิจอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อมอบบริการที่เหนือกว่าในราคาสุดคุ้ม ด้วยการจับมือพาร์ทเนอร์แบรนด์ชั้นแนวหน้าของเมืองไทย เพื่อที่จะขยับจำนวนลูกค้าใหม่ให้ได้ 100,000 พอร์ต ภายใน 2 เดือนหลังจัดแคมเปญ ซึ่งได้เริ่มแล้วตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา พร้อมประกาศอัดฉีดฐานลูกค้าเก่าด้วยการเพิ่มสปีดความเร็วให้แก่ลูกค้าเดิม ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขจะได้รับการอัพสปีดฟรีและอัตโนมัติ และที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขก็สามารถแจ้งความประสงค์ปรับเปลี่ยนแพคเกจหรือโปรโม ชั่นได้ที่   TOT Call Center โทร 1100  หรือทางออนไลน์ที่  www.TOThispeed.com พร้อมรับสิทธิ์ทดลองใช้บริการ ทีโอที wifi 40 ชั่วโมง นาน 4 เดือน ฟรี  แถมได้ส่วนลด 600 บาทในการโทรสั่ง เดอะ พิซซ่า คอมปานี และสำหรับลูกค้าใหม่ที่ติดตั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงกับทีโอที หรือ สมัครทีโอทีไฮสปีดอินเตอร์เน็ต  แรงคุ้มโดนใจ 6 MB 590 บาท มีสิทธิ์ลุ้นรับซัมซุงเน็ตบุ๊ค NB 30   60 วัน 60 เครื่อง รวมมูลค่า 660,000 บาท ซึ่งหลังจากการเปิดตัวแคมเปญ ‘แก๊งเน็ตซิ่ง’ ได้ไม่นาน ก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มลูกค้า

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นเดือน พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทีโอที ได้ระดมโปรโมทแคมเปญ ‘แก๊งค์เน็ตซิ่ง’ อย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อต่างๆ รวมถึงการทำกิจกรรมการตลาดทั้งในรูปแบบของการจัดอีเว้นท์ รวมทั้งออกบูธตามสถานที่ต่างๆ เพื่อแนะนำและเชิญชวนติดตั้งบริการ อินเตอร์เน็ต ความเร็วสูงของ ทีโอที “นอกจากการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่แล้ว เรายังต้องการรักษาฐานลูกค้ากลุ่มเดิมไว้ด้วย โดยตั้งเป้าลดอัตราการยกเลิกบริการให้ลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของอัตรายกเลิกบริการเฉลี่ย 3 เดือน ในช่วงระยะเวลาการเผยแพร่แคมเปญ   โดยเน้นไปที่กลุ่มเยาวชนนักศึกษา กลุ่มข้าราชการและผู้บริหารระดับกลาง รวมถึงกลุ่มร้านค้าอินเตอร์เน็ต คาเฟ่ ที่ใส่ใจเรื่องความคุ้มค่าคุ้มราคาด้วย”  นายวรุธ สุวกร กล่าว

ด้าน แผนการพัฒนาศักยภาพบริการสู่ความเป็นหนึ่งนั้น นายวรุธ สุวกร กล่าวเสริมในประเด็นดังกล่าวว่า “จากผลสำรวจความเร็วสูงสุดที่ลูกค้าได้รับ พบว่า 75% สามารถรับบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 6MB ที่ ทีโอที กำลังระดมทำตลาดอยู่ในช่วง 3 เดือนนับจากนี้ได้ ซึ่งคงต้องเดินหน้าผลักดันแคมเปญ Jet Pack Gen II ให้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มคนไทยให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ ทีโอที ยังได้ดำเนินโครงการ 577,000  พอร์ต โดยมีขอบข่ายในการ ขยายและพัฒนาคุณภาพบริการ อาทิ ติดตั้ง MSAN ทั่วประเทศ  ทำให้ข่ายสายสั้นลงเหลือโดยเฉลี่ย 1 กม.  เพื่อสามารถให้บริการความเร็วสูงสุดถึง 20 Mb เมื่อเสร็จสิ้นโครงการจะสามารถให้บริการที่ความเร็ว 6 MB ขึ้นไปได้ถึง 90 % ซึ่งโครงการดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 54”
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 17 ธันวาคม 2010, 17:14:35 »

แจ้งเกิด "Tune Talk Thailand" โฉมใหม่ MVNO 3G TOT


โทนี่ เฟอร์นันเดส จับมือ ทอม เครือโสภณ ตั้งบริษัท Tune Talk Thailand เป็น MVNO ให้บริการ 3G TOT พร้อมเปิดบริการ 13 ม.ค.2554 อาศัยจุดแข็งลูกค้าแอร์เอเชีย 33 ล้านคนปีนี้และกว่า 51 ล้านคนปีหน้า โดยกว่า 12 ล้านคนเดินทางผ่านประเทศไทย เป็นฐานการตลาดชั้นเยี่ยม หวังสร้าง Seamless Roaming ซิมการ์ดเดียว โรมมิ่งอัตราเดียว ด้วยการตลาดแบบ Regional Marketing
       
       เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายโทนี่ เฟอร์นันเดส (Tony Fernandes) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มสาย การบินแอร์เอเชีย ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับนายทอม เครือโสภณ ในสัดส่วน 49/51 เพื่อจัดตั้งบริษัท Tune Talk Thailand ในประเทศไทยเพื่อเป็น MVNO (Mobile Virtual Network Operator) บริการ 3G ของบริษัท ทีโอที โดยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 100 ล้านบาท
       
       โทนี่ เฟอร์นันเดส กล่าวว่าสาเหตุที่มาลงทุน MVNO ในประเทศไทยเป็นเพราะรู้จักประเทศไทยดี และสามารถใช้ประโยชน์จากฐานลูกค้าของแอร์เอเชียในการทำธุรกิจ โดยในปีนี้มีคนบินแอร์เอเชียประมาณ 33 ล้านคน ซึ่งมากกว่า 12 ล้านคนต้องแตะประเทศไทย ส่วนปีหน้าคาดว่าจะมีคนใช้บริการแอร์เอเชียกว่า 51 ล้านคน
       
       "ผมมั่นใจพาร์ตเนอร์อย่างทอม เพราะพูดภาษาเดียวกัน และเป็นพาร์ตเนอร์ที่มีความเข้มแข็งด้านการตลาด นอกจากนี้วิชันของทีโอทียังชัดเจนว่าจะต้องให้บริการผ่าน MVNO ซึ่งน่าจะเป็นโอเปอเรเตอร์รายแรกที่ไม่ทำธุรกิจเพื่อมาแข่งกับ MVNO ของตนเอง"
       
       ในมุมมองของโทนี่ เห็นว่าบริการ โทรศัพท์มือถือต้องเป็นลักษณะให้บริการเชื่อมโยงคนในภูมิภาคในลักษณะ Regional Marketing ไม่ใช่เป็นแค่บริการเฉพาะในแต่ละประเทศ โทนี่ต้องการให้ลูกค้าใช้ซิมการ์ดเดียว อัตราโรมมิ่งเดียวทั่วภูมิภาค (Seamless Roaming) นอกจากนี้ยังต้องการโปรโมตบริการ DATA ที่เป็นจุดแข็งของ 3G ในแบบโลว์ คอส แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องโลว์ไพร์ซ หรือ โลว์ควอลิตี้โดยมองว่าในเรื่อง DATA แล้วอุปกรณ์ประเภทแท็บเล็ตจะเติบโตอย่างมาก
       
       ทอม เครือโสภณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Tune Talk Thailand กล่าวว่าจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 13 ม.ค.2554 โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3 กลุ่มคือ 1.ลูกค้าที่ใช้บริการแอร์เอเชีย รวมทั้งคนที่เดินทางข้ามชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย 2.กลุ่มคนที่ใช้ DATA ซึ่งไม่ใช่ใช้ผ่านสมาร์ทโฟนอย่างเดียว แต่รวมถึงแท็บเล็ตด้วย และ 3.กลุ่มคนที่ตลาดมองข้าม (Overlook Market) เช่นกลุ่มผู้ใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน
       
       "เป้าหมายเราชัดเจนต้องการลูกค้า Active 5 แสนคนภายใน 18 เดือนและ 1 ล้านคนภายใน 24 เดือน โดยเราเตรียมเงินลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาทภายในเวลา 3 ปี"
       
       การกลับเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคมอีกครั้งของทอม เกิดจากการชักชวนของนายวิเชียร นาคสีนวล อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที และเป็นประธานกรรมการบริหารใน Tune Talk Thailand ที่มองเห็นโอกาสเติบโตของ MVNO และความเชื่อว่าหาก MVNO รอด ก็หมายถึงทีโอทีรอด ซึ่งแนวทางของทอมคือต้องหาพาร์ตเนอร์ ซึ่งข้อสรุปลงตัวที่โทนี่ เฟอร์นันเดส
       
       ทอมคุยกับโทนี่ที่ประเทศมาเลเซีย อาศัยคนเชื่อมชั้นดีอย่างทัศพล แบเลเว็ลด์ เพื่อพรีเซ็นต์โครงการ MVNO ช่วง 6-8 สัปดาห์ที่แล้ว โดยหลังจากเดินเข้าออกห้องประชุมระหว่างที่ทอมพรีเซ็นต์โครงการ โทนี่พูดย้ำแต่ "Let Do It" ซึ่งภายหลังโทนี่ให้เหตุผลว่าที่เลือกทอมเพราะคลิกกันและพูดภาษาเดียวกัน โดยที่โทนี่ไม่หวั่นไหวกับประเด็นข้อกม.ต่างๆเกี่ยวกับธุรกิจโทรคมนาคมของ ไทย เพราะเชื่อว่าธุรกิจสายการบินของแอร์เอเชีย เจอมรสุมด้านกม.และความซับซ้อนที่มากกว่าแต่ในเมื่อผ่านมาได้ ก็ไม่จำเป็นต้องวิตกกับเรื่องใดๆอีก
       
       ส่วนมุมมองธุรกิจด้าน MVNO ของทอมนั้น เขาย้ำว่า MVNO ไม่ใช่ศัตรูหรือคู่แข่งของโอเปอเรเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเอไอเอส ดีแทค หรือทรูมูฟ โดยเฉพาะเอไอเอสนั้นยังต้องอาศัยการโรมมิ่งวอยซ์ซึ่งถือว่าเป็นพันธมิตรที่ ดีของ 3G TOT และ MVNO ทุกราย ซึ่งความสำเร็จของ MVNO คือต้องมีฐานลูกค้าชัดเจน ซึ่งสำหรับ Tune Talk Thailand ก็คือกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นไปตามคอนเซ็ปต์ง่ายๆ คือในเมื่อใครๆ ก็บินได้แล้ว หากต้องการชำระค่าสินค้าและบริการก็ต้องมีบัตรเครดิต ผ่านบริการของ Tune Money และเมื่อเดินทางไปไหนก็ต้อง มีรร.ที่พักอย่าง Tune Hotel รวมทั้งต้องสามารถใช้บริการโทรศัพท์มือถือโรมมิ่งในอัตราเดียวกันผ่านบริการ Tune Talk พูดง่ายๆ คือให้บริการทุกอย่างเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวของแอร์เอเชีย
       
       "ความสำเร็จของบริการ 3G TOT ขึ้นอยู่กับทีโอทีแล้วว่าจะมีโครงข่ายให้ใช้หรือไม่ เพราะตอนนี้มีพาร์ตเนอร์ที่พร้อมทำการตลาดและมีฐานลูกค้าพร้อมอย่าง Tune Talk Thailand แล้ว"
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 17 ธันวาคม 2010, 17:15:36 »

TOTลุ้นตัวโก่งขายซองประมูล3G จับตาขาใหญ่ร่วมวงชิงดำ28ม.ค.



"ที โอที" ลุ้นจนวินาทีสุดท้าย "ทีโออาร์" ประมูลโครงการ 3G ขีดเส้นเปิดขายซองถึง 27 ธ.ค. ยื่นซอง 10 ม.ค. และเดินหน้าเปิดประมูลแบบอีออกชั่น "28 ม.ค. 2554" ทั้งเตรียมเซ็นเอ็มโอยูกับ MVNO 5 รายเดิม ก่อนสิ้นปีนี้ พร้อมเร่งปิดดีลเจรจาโรมมิ่งเครือข่าย "เอไอเอส"


นายกำธร ไวทยกุล รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่สายงานธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ร่างหลักเกณฑ์เงื่อนไขการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง หรือทีโออาร์ โครงการติดตั้งโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ทั่วประเทศ มูลค่า 17,440 ล้านบาท จากมูลค่าทั้งหมด 19,980 ล้านบาท ผ่านการพิจารณาจากอัยการสูงสุดและบอร์ดเรียบร้อย แต่เนื่องจากระเบียบบริษัทมีหลายขั้นตอน ทำให้การประกาศร่างแก่สาธารณะต้องเลื่อนออกไป จากเดิมกำหนดไว้ในช่วงเช้าวันที่ 13 ธ.ค. แต่มั่นใจว่าไม่เกินวันที่ 14 ธ.ค. พร้อมเปิดขายซองประกวดราคาได้ทันที

"ตั้งใจว่าจะนำทีโออาร์ขึ้น เว็บตั้งแต่เช้าวันนี้ (13 ธ.ค.) แต่ติดขัดขั้นตอนอนุมัติบางอย่าง จึงประกาศไม่ได้ หากขึ้นเว็บเมื่อใด ก็พร้อมเปิดขายซองให้ผู้ที่สนใจได้ทันที และจะเปิดขายไปจนถึง 27 ธ.ค.นี้ ตามระเบียบต้องมีเวลาขายซองไม่น้อยกว่า 10 วัน โดยจะเปิดให้ยื่นซองเสนอราคาวันที่ 10 ม.ค. จัดอีออกชั่นวันที่ 28 ม.ค.เป็นไปตามกำหนดเดิม"

และคาดว่าจะลงนามกับผู้ชนะประกวดการราคา ระหว่างวันที่ 15-18 ก.พ. 2554 เพื่อเปิดให้บริการเฟสแรกและเฟส 2 ได้แก่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 13 จังหวัดเศรษฐกิจ ได้แก่ ชลบุรี, ระยอง, สงขลา, สุราษฎร์ธานี, ภูเก็ต, เชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง, พิษณุโลก, อุดรธานี, นครราชสีมา, ขอนแก่น และหนองคาย ได้ภายใน 180 วัน นับจาก ลงนามในสัญญา ก่อนขยายไปยังจังหวัดอื่น ภายใน 360 วัน

สาระสำคัญใน ทีโออาร์ได้ระบุคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูลไว้ดังนี้ คือต้องเป็นบริษัทที่เคยทำโครงการด้านโทรคมนาคมมูลค่า 500 ล้านบาทขึ้นไป ถ้าเป็นบริษัทไทยต้องมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาทขึ้นไป หากเป็นต่างประเทศจะต้องหาพันธมิตรเป็นบริษัทไทยที่มีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อเข้าร่วมประมูลในรูปแบบกิจการร่วมค้า "มูลค่า 500 ล้านบาท สำหรับวงการโทรคมนาคม อาจดูเป็นโครงการขนาดเล็กมาก แต่เพื่อเป็นการเปิดกว้าง ให้มีการแข่งขัน จึงกำหนดมูลค่าโครงการไว้แค่นี้"

โครงข่ายประกอบด้วยระบบโครงข่าย หลัก (คอร์เน็ตเวิร์ก) 1 ระบบ สถานีฐาน 4,772 แห่ง ระบบสื่อสัญญาณ ระบบบริการจัดการโครงข่าย 1 ระบบ ระบบบริการเสริมพื้นฐาน ระบบสนันสนุน การ ให้บริการ 1 ระบบ รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ สนับสนุนการบำรุงรักษาโครงข่าย โดย ทีโอทีเป็นผู้กำหนดพื้นที่ติดตั้งสถานีฐานใหม่ และพื้นที่ที่บริษัทจะเช่าใช้โครงข่ายร่วมกับโอเปอเรเตอร์รายอื่น ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับแต่ละบริษัท โดยเป็นการขอเช่าใช้เป็นจุด ๆ ตามแต่บริษัทใดจะเสนอราคาที่เหมาะสม ไม่ผูกขาดว่าจะเช่าใช้สถานีฐานร่วมกับรายใดรายหนึ่งเท่านั้น

ทั้ง โครงการมี 5,320 สถานีฐาน แบ่งเป็นเช่าใช้สถานีฐานร่วมกับผู้ประกอบการรายอื่น 3,040 แห่ง หรือ 57% เป็นการ อัพเกรดสถานีฐานเดิมของทีโอทีอีก 1,562 แห่ง หรือ 29% และติดตั้งใหม่ 718 แห่ง หรือ 14% มีงบประมาณทั้งหมด 19,980 ล้านบาท แบ่งเป็นการเงินลงทุนของทีโอทีราว 3,000 ล้านบาท เพื่ออัพเกรดโครงข่ายเดิมของเอซีทีโมบาย ประมาณ 2,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นงบฯสำรองโครงการอีก 17,440 ล้านบาท เป็นเงินกู้เพื่อติดตั้ง โครงข่ายใหม่

นอกจากนี้ ในทีโออาร์ยังกำหนดอัตราค่าปรับกรณีติดตั้งล่าช้าไว้ 0.1% ของมูลค่าโครงการทั้งหมด โดยคิดเป็นรายวัน มีอัตราค่าปรับรายวันสำหรับการติดตั้งสถานีฐานล่าช้าอีก 0.5% ของมูลค่าสถานีฐานในจุดที่ติดตั้งล่าช้าด้วย โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลต้องซื้อซองประกวดราคา 5 แสนบาท วางเงินค้ำประกัน 3% ของมูลค่าโครงการ หรือประมาณ 572 ล้านบาท ในวันยื่นซองประกวดราคา ในวันที่ 10 ม.ค. 2554 ตั้งแต่ 09.00-12.00 น. ก่อนจัดประมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (อีออกชั่น) วันที่ 28 ม.ค. 2554

นาย กำธรกล่าวถึงความคืบหน้าการเจรจากับผู้ให้บริการเช่าใช้โครงข่ายเพื่อ ทำตลาด (เอ็มวีเอ็นโอ) เพิ่มเติม ล่าสุด เจรจากับบริษัท สวัสดี ช็อป ผู้จำหน่ายบัตรคอลลิ่งการ์ดทั่วประเทศ แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ ขณะที่จะเริ่มลงนามในบันทึกความตกลงร่วมกัน (เอ็มโอยู) ฉบับใหม่กับผู้ทำตลาดแบบเอ็มวีเอ็นโอเดิม ได้แก่สามารถ ไอ- โมบาย, ล็อกซเล่ย์, ไออีซี, บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น และเอ็ม คอนซัลท์ ได้ภาย ในปลายเดือนนี้ โดยตั้งแต่เปิดบริการ 3 จี ตั้งแต่ 3 ธ.ค. 2552 ทีโอทีมีรายได้ราว 200 ล้านบาท มีลูกค้าใช้งานต่อเนื่อง ประมาณ 240,000 ราย

"ด้วย ปัญหาข้อกฎหมาย บริษัทจึงใช้การทำเอ็มโอยูระยะสั้น 6 เดือน แทนการเซ็นสัญญากับเอ็มวีเอ็นโอทั้ง 5 ราย คาดว่าหลังลงนามในสัญญาจ้างติดตั้งโครงข่ายได้แล้ว กลางปีหน้าจะมีการทำสัญญาระยะยาวได้ โดยคาดว่าจะเป็นสัญญาที่มีอายุ 3 ปี กรณีไทยแอร์เอเชียที่เป็นข่าวยังไม่ได้มีการเจรจา เพื่อขอเป็นเอ็มวีเอ็นโออีกรายของทีโอทีแต่อย่างใด"

สำหรับการเจรจา ขอใช้โครงข่ายร่วม (โรมมิ่ง) ระหว่างทีโอทีกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ยังไม่ได้ข้อยุติ แต่ลูกค้าทีโอทีโรมมิ่งวอยซ์กับโครงข่ายของเอไอเอสได้ในบางจุด แม้สัญญาจะสิ้นสุดไปแล้ว ขณะที่ลูกค้าเอไอเอสยังโรมมิ่งดาต้ากับบริการ 3 จีของทีโอทีไม่ได้ แต่จะพยายามเจรจาให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว รวมถึงบริษัทอื่น ๆ ที่เสนอเงื่อนไขขอโรมมิ่ง
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 21 ธันวาคม 2010, 17:37:13 »

ทีโอที-กทช.ลุยบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน


ทีโอที-กทช. เดินหน้าบริการโทรคมนาคมพื้นฐานฯ ระยะสอง ที่ จ.เชียงใหม่ ให้เน็ตเร็ว 4 เมกะบิต หวังให้นักเรียน-ประชาชนได้ประโยชน์ กทช.เผยมีงบดำเนินการ 2,000 ล้านบาท

ศ.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ ประ ธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ง   ชาติ (กทช.) เปิดเผยว่า กทช.ได้อนุมัติแผนงานโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการ เพื่อสังคม ระยะที่ 2 หรือ ยูนิเวอร์แซล เซอร์วิส ออบลิเกชั่น (ยูโซ) ให้แก่ บริษัท ทีโอทีจำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นรายแรกตามพระราช บัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งมีหน้าที่ต้องให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม 

“ปัจจุบัน กทช.มีงบประมาณสำหรับดำเนินการโครงการยูโซประมาณ 2,000 ล้านบาท แต่หาก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.... (พ.ร.บ.กสทช.) มีผลบังคับใช้  ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ งบประมาณดังกล่าวจะต้องนำไปรวมอยู่ในโครงการวิจัยและพัฒนาของ    กสทช. อย่างไรก็ตามแม้ ก.ม.ใหม่ต้องบังคับ  ใช้แต่โครงการยูโซก็ควรเดินหน้าต่อเพื่อการพัฒนาประเทศ” ศ.ประสิทธิ์ กล่าว

นายวิบูลทัต สุทันธนกิติ์ กรรมการ บริหารทีโอที กล่าวว่า สำหรับโครงการยูโซ ในระยะที่สอง ทีโอทีต้องดำเนินการให้บริการบำรุงรักษาโทรศัพท์ที่ให้บริการตามโครงการ  ยูโซระยะที่หนึ่ง จำนวน 21,605 เลขหมาย การติดตั้งให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ 1 เลขหมายต่อหนึ่งหมู่บ้าน จำนวน 324 หมู่บ้าน  การติดตั้งให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและโทรศัพท์ประจำที่-โทรศัพท์ สาธารณะอย่างละ 1 เลขหมาย จำนวน 129 โรงเรียน และการติดศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน

ล่าสุดทีโอทีเปิดตัวโครงการยูโซระยะที่สอง ที่โรงเรียนทรายทองราษฎร์อุทิศ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ โดยติดตั้งบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 4 เมกะบิต พร้อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จำนวน 12 เครื่อง รวมทั้งบริการโทรศัพท์พื้นฐานและบริการโทรศัพท์สาธารณะอย่างละ 1 เลขหมาย ซึ่ง 3 ปีแรกจะใช้งบจากกองทุนยูโซในการดำเนินงาน หลังจากนั้นจะใช้งบที่จัดสรรจากกระทรวงศึกษาธิการ.
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 23 ธันวาคม 2010, 00:29:46 »

"เนคเทค"เผยผลสำรวจ คนไทยใช้เน็ตทะลุ 22 ล้านคน ชอปผ่านออนไลน์เพิ่ม ฟันธง"ไอโฟน4"

"เนคเทค"เผยผลสำรวจประชากรเน็ตของไทยปี"53 ทะลุ 22 ล้านคนผู้บริโภคเลือกใช้ไฮสปีดเน็ตเพิ่มขึ้นครองแชร์ 52.1% พฤติกรรมเปลี่ยนซื้อสินค้าและบริการออนไลน์มากขึ้น ชี้ไอโฟน4จุดพลุ"โมบายล์แอพพลิเคชั่น" คาดปีหน้ามาแรงตามการเติบโตของสมาร์ทโฟน

ดร. ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการ  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)  เปิดเผยว่า จากที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้สำรวจผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ประจำปี 2553  จากผู้ตอบแบบสอบถาม 14,067 คน  พบว่า  รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในปีนี้เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความ เร็วสูง(บรอดแบนด์)แบบ ADSL มากที่สุด เป็นสัดส่วนประมาณ 52.1%  จากปีที่ผ่านมามีสัดส่วน 40.3%   ซึ่งเป็นผลจากที่ผู้ให้บริการมีการแข่งขันราคากันอย่างต่อเนื่อง  ขณะที่การเชื่อมต่อผ่านเน็ทเวิร์ค  LAN จากสถานที่ทำงานและสถานศึกษามีสัดส่วนลดลงเหลือ 19.5%และการเชื่อมต่อผ่านโมเด็มโทรศัพท์มีผู้ใช้บริการลดลงเหลือเพียง 6.1 % จากปีที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการ 10.7%


 

โดยข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าปีนี้มีประชาชนที่เข้าถึงอินเทอร์ เน็ตทั้งสิ้น 22.3 ล้านคน  เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่18-19ล้านคน  ซึ่งก็เป็นการเติบโตจากการขยายตัวของการให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์
 

ขณะที่พฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า การซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 57.2%  จาก 47.8% ในปีที่แล้ว  โดยสาเหตุที่กลุ่มสำรวจยังไม่ใช้บริการอีคอมเมิร์ซมาจากประเด็นที่ไม่สามารถ เห็นและจับต้องสินค้าได้เป็นอันดับแรก  รองลงมาเป็นการไม่ไว้ใจผู้ขาย ขณะที่ปัญหาที่ไม่ต้องการให้หมายเลขบัตร เครดิตทางอินเทอร์เน็ตก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญ


สินค้าที่สั่งซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากที่สุดอันดับหนึ่งยังคงเป็นของ หนังสือ  รองลงมาเป็นการสั่งจองบริการผ่านออนไลน์  และอันดับสามเป็นสินค้าประภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย


ดร.ชฎามาศ กล่าวว่า ปัญหาที่กลุ่มสำรวจต้องการให้ภาครัฐของไทยเข้ามาดูแลมากที่สุด คือปัญหาเรื่องการกระจายความทั่วถึงของบริการอินเทอร์เน็ต และการลดค่าบริการบรอดแบนด์เพื่อให้ผู้บริดภคสามารถเข้าถึงได้  ซึ่งกรณีที่กระทรวงไอซีทีมีโครงการจัดทำแพคเกจบรอดแบนด์ราคา 199 บาท ก็น่าจะช่วยให้คนไทยใช้บรอดแบนด์เพิ่มขึ้นได้     และปัยหาอันดับต่อมาคือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว   และอันดับสามการป้องกันหลอกลวงและอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต


สำหรับปัญหาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยประสบมากที่สุดในปี2553 ยังคงเป็นเรื่องไวรัส  อันดับสองเป็นเรื่องความล่าช้าของการสื่อสาร  และปัญหาที่ได้รับความสำคัญเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วคือเรื่องอีเมล์ขยะ


 

ทั้งนี้ การสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยประจำปี 2553  ทางเนคเทคยังได้เพิ่มประเด็นสำรวจเรื่องโมบายล์แอพพลิเคชั่น   เนื่องจากเป็นเทรนด์ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญตามการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟน   โดยพบว่าแอพพลิเคชั่นที่นิยมใช้กันมากจะเป็นด้านการสื่อสารและมัลติมีเดีย เป็นหลัก 


แอพพลิเคชั่นด้านการสื่อสารที่นิยมมากที่สุด คือการรับส่งอีเมล์  รองลงมาเป็นการใช้งานด้านเครือข่ายสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์คที่มีความต้องการ เพิ่มขึ้นมาก   และอันดับสามคือการใช้งานโมบายล์เว็บบราวเซอร์   ส่วนแอพพลิเคชั่นด้านมัลติมีเดียที่ได้รับความนิยมใช้งานมากมีอยู่สองอย่าง คือออดิโอเพลเยอร์และโมบายล์เกม   อย่างไรก็ตามแนวโน้มในอนาคตคาดว่า การใช้งานแอพพลิเคชั่นเพื่อความบันเทิงจะลดน้อยลง และแอพพลิเคชั่นการใช้งานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น


ดร พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทคกล่าวถึงแนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตในปี 2554ว่าความนิยมและความแพร่หลายของการใช้แอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่จะ เพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากกระแสของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์แท็บเล็ตที่กำลังได้รับความ สนใจจากผู้บริโภคทั้งในไทยและต่างประเทศ  อาจส่งผลต่อเนื่องทำให้ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงไป  โดยอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น


นายวิรุฬห์ วิเชียรวัฒนชัย  ประธานบริษัท Thai-G จำกัดผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนกล่าวว่าการเข้ามาของไอโฟน4 ในช่วงที่ผ่านมา คือปัจจัยสำคัญในการจุดกระแสการตื่นตัวของโมบายแอพพลิเคชั่น และแนวโน้มในปีหน้าก็จะเห็นภาพตรงนี้มากขึ้น 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!