เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 21 กรกฎาคม 2025, 16:50:16
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คุยเรื่องไอที - เทคโนโลยี (ผู้ดูแล: K€nGja1, chiohoh, nuifish, NOtis)
| | |-+  อัปเกรดข่าว3G ข่าวสารInternet/Wifi /โทรคมนาคม ในเมืองไทย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 พิมพ์
ผู้เขียน อัปเกรดข่าว3G ข่าวสารInternet/Wifi /โทรคมนาคม ในเมืองไทย  (อ่าน 16121 ครั้ง)
top3g
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 108


« ตอบ #40 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2011, 23:00:42 »

3 G CAT CDMA
พร้อมให้บริการ 51 จังหวัด  ที่ใช้ระบบการได้มีดั่งนี้  ขอนแก่น อุดรธานี เลย หนองคาย มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยนาท นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ชัยภูมิ อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู เชียงราย แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ อุทัยธานี ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฏร์ธานี สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน พะเยา
สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่    TEL.087-2229922  top3g @hotmail.com (ท๊อป )

http://www.top3g.weloveshopping.com

http://www.catcdma.com/home.htm
IP : บันทึกการเข้า
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #41 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2011, 10:48:44 »

3 G CAT CDMA
พร้อมให้บริการ 51 จังหวัด  ที่ใช้ระบบการได้มีดั่งนี้  ขอนแก่น อุดรธานี เลย หนองคาย มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยนาท นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ชัยภูมิ อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู เชียงราย แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ อุทัยธานี ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฏร์ธานี สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน พะเยา
สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่    TEL.087-2229922  top3g @hotmail.com (ท๊อป )

http://www.top3g.weloveshopping.com

http://www.catcdma.com/home.htm
แง่ว....... มีมาขายของซะงั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 มกราคม 2011, 17:34:25 โดย หนอนน้อย » IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #42 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2011, 13:37:02 »

เปิดแผน"กสท-ทรู"ปั้น3Gพลิกขาดทุนเป็นกำไร



เปิด แผน "กสทฯ-ทรู" จับมือสู้ศึกมือถือ ขยับปลดล็อกสัมปทานหมดอายุ-ผ่าทางตัน 3G ปั้นขุมทรัพย์ใหม่ "วิน-วิน" ทั้งคู่ "ซีอีโอ กสทฯ" เปิดใจเบื้องลึกดีล "ทรู-ฮัทช์" ผุดโมเดลธุรกิจ "ค้าส่ง-ค้าปลีก" ยกสถานะเป็น "เน็ตเวิร์กโพรไวเดอร์" พลิกขาดทุนเป็นกำไรปีละ 2 พันล้านจากลูกค้า 1 ล้านราย ปิดฉากแบรนด์ "ฮัทช์" เม.ย.นี้ ทยอยอัพเกรดโครงข่ายขึ้น HSPA ทั่วประเทศ เปิดทาง "ดีแทค" ลุยเต็มสูบเก็บตังค์ 3G คลื่นเดิม


นาย จิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ความร่วมมือกับกลุ่มทรูในการดำเนินธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ภายหลังจาก กลุ่มทรูเข้าซื้อกิจการของฮัทช์เรียบร้อยแล้วจะทำให้ทั้งคู่อยู่รอด และสร้างการเติบโตต่อไปได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก คือผู้ประกอบการอันดับ 3 และ 4 อยู่ลำบากยากที่จะมีกำไร ดังนั้นหากร่วมมือกันได้จึงเป็นผลดีกับทั้งคู่ กรณี กสทฯที่ผ่านมามีปัญหาจากการมีโครงข่ายแยกกันบริหารระหว่างส่วนกลางภายใต้แบ รนด์ฮัทช์กับส่วนภูมิภาค (แคท ซีดีเอ็มเอ) ทำให้มีผลการดำเนินงานติดลบกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปีมาโดยตลอด แต่เมื่อเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ โดยเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (เน็ตเวิร์กโพรไวเดอร์) และขายส่งบริการ ซึ่งเปลี่ยนเทคโนโลยีจากซีดีเอ็มเอเป็น HSPA Plus เนื่องจากอัพเกรดเป็น LTE หรือ 4G ได้ง่ายด้วยต้นทุนไม่แพงจะทำให้มีกำไรตั้งแต่ปีแรกทันที

"ทุก วันนี้เราทำซีดีเอ็มเอส่วนภูมิภาคติดลบปีละ 2 พันกว่าล้าน เพราะรายจ่ายมากกว่ารายได้ ขณะที่ส่วนกลางที่ฮัทช์ทำเราได้ส่วนแบ่ง 20% ได้ปีละ 7-8 ร้อยล้านเอามารวมกันก็ยังติดลบอยู่ดีพันกว่าล้าน แต่ถ้าเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจให้ทรูเป็นรีเซลเลอร์ ปีแรกกำไรทันที 2 พันล้าน จากฐานลูกค้า 1 ล้านราย ดังนั้นการที่เราซื้อฮัทช์เองไม่ได้ตั้งแต่ปี 2552 ถือเป็นโชคดี ตอนนั้นไม่มี HSPA Plus ซื้อมาก็ยังคงลงทุนซีดีเอ็มเอ ซึ่งก็ต้องเปลี่ยนอีกอยู่ดี"

และคาดว่า กสทฯจะดำเนินการยกเลิกสัญญาทำตลาดของฮัทช์เดิม และเจรจาทำสัญญาใหม่กับกลุ่มทรูได้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน โดยทำสัญญาใหม่ 2 สัญญา คือตัวแทนขายส่งขายปลีกบริการ หรือรีเซลเลอร์ มีอายุ 14 ปี เท่ากับระยะเวลาในใบอนุญาตของ กสทฯ อีกส่วนคือ บริษัทที่ดูแลบริการ เรียกว่า OP CO หรือ Operating Company ซึ่ง กสทฯมีสิทธิ์เข้าไปถือหุ้นได้ 25% ภายใน 2 ปี

โดย กสทฯมีความตั้งใจเข้าไปซื้อหุ้นแน่นอน เพราะต้องการเป็นเจ้าของเน็ตเวิร์ก แต่ไม่ซื้อตั้งแต่แรก เนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจการขออนุมัติลงทุนมีขั้นตอนมากทำให้เสียโอกาสทาง ธุรกิจได้ ดังนั้นเพื่อความรวดเร็วจึงจะทำสัญญาเช่าใช้โครงข่ายจากทรู เพื่อให้บริการไปก่อน แต่สัญญา ดังกล่าวจะไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาสัมปทานเดิมที่ให้สิทธิ์ทรูมูฟให้บริการ ระบบ 2G ซึ่งกำลังจะหมดอายุในอีก 3 ปีข้างหน้า (ปี 2556) แต่ในระหว่างบริการ HSPA และ 2G ของทรูมูฟจะมีการโรมมิ่งเครือข่ายระหว่างกันแน่นอน เพราะคนใช้โทรศัพท์ มือถือส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มที่ใช้บริการ 2G มากกว่า 3G

"สัมปทาน 2G เหลืออีก 3 ปี ถามว่าจะมีการเทิร์นลูกค้าอยู่ตรงนี้หรือไม่ ก็เป็นไปได้ แต่ยังมีเวลาเจรจาเหลืออีก 2 ปี แต่ตรงนี้สำคัญกว่าที่ต้องเริ่ม HSPA โดยบอร์ด กสทฯครั้งที่แล้วอนุมัติรูปแบบธุรกิจใหม่ แบ่งเป็นเน็ตโคกับออฟโค ในการประชุมครั้งหน้า (14 ม.ค.) จะพิจารณาเรื่องรายได้และการคาดการณ์อะไรต่าง ๆ ในเชิงธุรกิจ"

สำ หรับแบรนด์ "ฮัทช์" จะยุติการทำตลาดภายในเดือน เม.ย. และภายใน 3-6 เดือนจะหมดไปจากตลาดเหลือเพียง "แคท ซีดีเอ็มเอ" มีฐานลูกค้ารวมกันประมาณ 1 ล้านราย มีสถานีฐานรวมกัน 3,000 แห่ง แยกเป็นในส่วนกลาง 1,400 แห่ง และในภูมิภาค 1,600 แห่ง

"ความถี่ 850 MHz ที่เรามี 15 MHz ทรูจับมือกับเราทำตรงนี้ ขณะที่ดีแทคก็ทำอีก 10 MHz ของตนเอง เร็ว ๆ นี้ก็น่าจะได้เปิดคอมเมอร์เชียลแล้ว รูปแบบธุรกิจของเรากับทรู เหมือนมีที่ดินสร้างโรงงาน มีใบอนุญาตผลิตสินค้า เหมือนที่เรามีใบอนุญาต และมีความถี่ อุปกรณ์บางอย่างเราก็ซื้อมาติด เช่น เสา และแอนเทนนา สินค้าที่เกิดจากโรงงานนี้เป็นของเรา แล้วเราก็มาขายต่อยี่ปั๊วหรือรีเซลเลอร์ วันดีคืนดีเราอาจขายโปรดักต์ที่ 2 ให้ออฟโค 2 เช่น ไวแมกซ์ เป็นต้น"

นายจิรายุทธกล่าวด้วยว่า ข้อสรุปการแก้ไขสัญญาระหว่าง กสทฯกับดีแทคได้ ข้อสรุปแล้วว่าไม่ได้รับความเสียหายจากการแก้ไขสัญญาดังกล่าว เพราะการลดส่วนแบ่งและขยายอายุสัญญาต่อไปอีก 5 ปีได้ส่วนอื่นเพิ่มเติม เช่น เมื่อก่อนในสัญญาดีแทคจะเขียนว่า กสทฯห้ามทำเองเกิน 5 หมื่นราย ซึ่งนอกจาก กสทฯจะทำซีดีเอ็มเอได้เองแล้ว ในเวลาต่อมายังทำให้เกิดทรูมูฟและดีพีซี ซึ่งสร้างรายได้ให้มหาศาล

"การแก้สัญญาของเราไม่เหมือนกรณี เอไอเอส ที่อยู่ดี ๆ ไปลดเฉย ๆ ต้องมองภาพรวม ของเราทำให้มีเงื่อนไขอื่น ๆ ตามมา ทำให้เกิดดีพีซีและทรูมูฟ จริง ๆ ข้อสรุปคณะกรรมการ ม.22 กรณีดีแทค ไม่เป็นเอกฉันท์ ตัวแทนหน่วยงานรัฐบอกให้ไปต่อรองผลประโยชน์เพิ่มเติม แต่ไม่บอกว่าเท่าไร อย่างไร เราจึงส่งไปว่าข้อสรุปเป็นแบบนี้แต่ไม่เป็นเอกฉันท์ และบอกเหตุผลคนที่เห็นด้วยเพราะอะไร ไม่เห็นด้วยเพราะอะไร"
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #43 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2011, 12:12:21 »

ไอซีที รื้อผังผู้บริหาร เดินหน้าปิดฉากไทยคม


กระทรวงไอซีที ปรับผังโครงสร้างภายในกระทรวง ตั้งเป้าหาข้อสรุปไทยคมโดยเร็ว รับไทยคมเป็นปัญหาสำคัญ ขณะที่ โยกนางทรงพร โกมลสุรเดช นั่ง ผอ.สำนักกิจการอวกาศคนใหม่ แทนนายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ หวังเร่งสรุปผลคณะกรรมการมาตรา 22...

รายงาน ข่าวแจ้งว่า นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ได้หารือร่วมกับนางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงไอซีที เกี่ยวกับแผนการทำงานในปี 2554 ที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในระดับผู้อำนวยการฝ่ายหลายตำแหน่ง ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ให้นางทรงพร โกมลสุรเดช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้ไอซีที ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ แทนนายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ เพื่อให้การสอบตรวจการแก้ไขสัญญาสัมปทานที่บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ที่ได้แก้ไขก่อนหน้านี้ดำเนินการต่ออย่างรวดเร็วขึ้น

ทั้ง นี้ ยังได้เปลี่ยนคณะกรรมการมาตรา 22 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พรบ.ร่วมทุน) ที่รับผิดชอบตรวจสอบสัญญาระหว่างกระทรวงไอซีทีกับไทยคม โดยนายจุติ จะลงนามในหนังสือแต่งตั้งนายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงไอซีที ให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการมาตรา 22  แทนนายสือ ล้ออุทัย อดีตปลัดกระทรวงไอซีทีที่เกษีณอายุราชการไป

ส่วนคณะกรรมการ คนอื่น ได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเบื้องต้นจะมีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ผู้แทนจากไทยคม

แหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีที กล่าวว่า การปรับโครงสร้างราชการระดับสูง และผู้อำนวยการสำนักต่างๆ เป็นไปเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเนื้องานมากขึ้น และเป็นการทำงานแบบบูรณาการ ซึ่งปัญหาก็เป็นอีกประเด็นที่ต้องเร่งแก้ไข นอกจากนี้ ผลสรุปของคณะกรรมการมาตรา 22 ชุดที่แล้วไม่เป็นที่พอใจของนายจุติ เนื่องจากไม่มีการสรุปแนวทางการแก้ไขสัญญาต่อจากนี้ และมูลค่าความเสียหายอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้ง ผลสรุปที่ออกมาก็ไม่ตรงกับทีมกฎหมายที่ไอซีทีตั้งขึ้นมาตรวจสอบคู่ขนานด้วย ดังนั้น แม้จะนำผลสรุปเสนอให้แก่ไอซีทีไปตั้งแต่เดือน ส.ค.2553 ที่ผ่านมาแล้ว นายจุติก็ยังไม่มีการนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่อย่างใด.
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #44 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2011, 12:14:09 »

4 กลุ่มชิงดำประมูล 3G TOT


นายอานนท์ ทับเที่ยง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานโครงข่าย บริษัท ทีโอที ในฐานะประธานคณะกรรรมการประกวดราคาด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออคชัน) โครงการจัดสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กล่าวว่า หลังจากเปิดให้ยื่นซองประกวดราคาโครงการในวันที่ 10 ม.ค.ตั้งแต่เวลา 9.00 - 12.00 น. มี 4 กิจการร่วมค้ายื่นเอกสารเข้าร่วมประมูล
       
       ประกอบด้วย 1.กลุ่มเอยู คอนซอร์เตียม ซึ่งประกอบด้วย บริษัทแอดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี (เอไอที) บริษัทยูเทล และบริษัทอัลคาเทล-ลูเซ่น (ประเทศไทย) ยื่นเวลา 9.30น. 2.เอสแอล คอนซอร์เตียม ประกอบด้วย บริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น บริษัท ล็อกซเล่ย์ บริษัทโนเกีย-ซีเมนส์ และบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ยื่นเวลา 10.03น. 3.กิจการร่วมค้า อีริคสัน ซึ่งมีบริษัทอีริคสัน ประเทศไทย กับบริษัทเอเอส แอสโซซิเอส ยื่นเวลา 10.17น. และ 4.แซดทีอี คอนซอร์เตียม ซึ่งมีบริษัทแซดทีอี กับบริษัทฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น ยื่นเวลา 11.19น.
       
       หลัง จากการยื่นซองประกวดราคาแล้วจะเป็นการตรวจสอบคุณสมบัติและคาดว่าจะจัดประมูล อี-ออคชัน เพื่อหาผู้เสนอราคาต่ำสุดในวันที่ 28 ม.ค.นี้ เพื่อให้ทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้ชนะได้ภายในวันที่ 15-18 ก.พ. 54
       
       ส่วนงบประมาณโครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G TOT ทั่วประเทศ มูลค่า 19,980 ล้านบาท แบ่งเป็น การประมูลโครงข่าย 3G ทั่วประเทศ 17,440 ล้านบาท อีก 2,000 ล้านบาท เป็นการพัฒนาโครงข่ายเดิมของเอซีทีโมบายล์จากระบบ 2G เป็น 3G ที่เหลือ 540 ล้านบาทเป็นงบสำรองโครงการ
       
       ทั้ง นี้ การประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างครั้งนี้ ประกอบด้วย การสร้างระบบโครงข่ายหลัก (Cor Network) 1 ระบบ ระบบสถานีฐาน (UTRAN) 4,772 แห่ง ระบบสื่อสัญญาณ (Transport Network) ระบบบริการจัดการโครงข่าย (OSS) ระบบบริการเสริมพื้นฐาน (VAS) ระบบสนับสนุนการให้บริการ (Business Support System) รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ (Site Preparation) อย่างละ 1 ระบบ และอุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่าย

 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #45 เมื่อ: วันที่ 13 มกราคม 2011, 12:20:55 »

กระทรวงไอซีทีทุ่ม10ล้านแปล′วิกิพีเดีย′เป็นภาษาไทย ดันกสท.-ทีโอทีเดินหน้าบรอดแบนด์แห่งชาติ


"ไอซีที" ดัน "กสทฯ" ทุ่ม 10.7 ล้านบาท แปลวิกิพีเดียเป็นภาษาไทย เดินคู่ขนานนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติลดช่องทางการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต หวังดันหน้าเว็บภาษาไทยขึ้นแท่นเบอร์ 2 ภาษาท้องถิ่นโลกออนไลน์ ชูผลงานพัฒนาไทยสร้างระบบ Statistical Machine Translation ย้ำครั้งแรกในโลกแปลด้วยคอมพิวเตอร์

  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลต้องการลดช่องว่างการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชน จึงประกาศนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ตั้งเป้าการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากรไม่ต่ำ กว่า 80% ในปี 2558 และไม่ต่ำกว่า 95% ในปี 2563 รัฐบาลจึงมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เร่งรัดปฏิบัติตามนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ผ่านการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจใต้สังกัด อาทิ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงราคาประหยัดสำหรับบ้านที่มีสายโทรศัพท์ ค่าบริการ 199 บาท/เดือน, บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายเทคโนโลยีไวแมกซ์ ค่าบริการ 99 บาท/เดือน เป็นต้น
 "การ เข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์จะเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษา สำหรับเด็กและเยาวชน เปิดพรมแดนใหม่ในการเรียนรู้ด้วยตนเองถือเป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาการศึกษา ยุคใหม่ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต"
 ด้านนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวว่า ทีโอทีเริ่มเปิดทดลองบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2 Mbps ราคา 199 บาท/เดือน ในหลายจังหวัด
  ล่าสุดมอบหมายให้ บมจ.กสท โทรคมนาคมสนับสนุนโครงการแปลบทความภาษาอังกฤษบนสารานุกรมออนไลน์ "วิกิพีเดีย" เป็นภาษาไทย ใช้งบประมาณ 10.7 ล้านบาท ใน 1 ปี เพื่อขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งความรู้ของเยาวชน และให้สอดคล้องกับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยที่มีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุก ปี โดยในปี 2553 มี 24 ล้านคน จากปี 2551 มี 10.96 ล้านคน และปี 2552 มี 18.3 ล้านคน
 การสำรวจของบริษัทวิจัยต่างประเทศพบว่าทั่วโลกมีหน้าเว็บไซ ต์กว่า 4 พันล้านหน้า แต่มีหน้าเว็บภาษาไทย 3 ล้านหน้าเท่านั้น กว่า 90% เป็นภาษาอังกฤษ กับการแปลวิกิพีเดียเป็นภาษาไทย กสทฯเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ โดยตั้งเป้าจะเพิ่มบทความในหน้าเว็บภาษาไทยให้เป็น 100 ล้านหน้าใน 18-24 เดือน ที่แปลวิกิพีเดียเพราะมีผู้ใช้งานมาก แม้จะมีภาษาไทยอยู่บ้าง แต่แค่ 63,000 บทความ หรือ 1.8% เท่านั้น 
 ก่อนหน้านั้น กระทรวงไอซีทีในสมัยรัฐมนตรีสิทธิชัย โภไคยอุดม เคยจัดสรรงบประมาณกว่า 500 ล้านบาทเพื่อแปลหนังสือมาแล้ว แต่ไม่ได้มีการสานต่อตนจึงได้เข้ามาดูแลโดยเปลี่ยนให้มาแปลสารานุกรมออนไลน์ แทน เพราะมีผู้ใช้เยอะ และทำได้เร็วกว่าแปลหนังสือเป็นเล่ม เพราะต้องมีกระบวนการในการคัดเลือกหนังสือที่มีความเหมาะสม และติดต่อลิขสิทธิ์ เชื่อว่าจะดันบทความภาษาไทยให้มีมากเป็นอันดับ 2 ของภาษาท้องถิ่นบนโลกออนไลน์ได้รองจากภาษาเยอรมัน
 หลังเปิดตัวโครงการใน วันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมาจะมีการแปลบทความภาษาอังกฤษจากสารานุกรมวิกิพีเดีย 30 ล้านบทความ ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Statistical Machine Translation ซึ่งเป็นผลงานนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และนักภาษาศาสตร์ชาวไทย ถือเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการแปลสารานุกรมวิกิพีเดียจากภาษาอังกฤษทั้งหมด เป็นภาษาอื่นด้วยคอมพิวเตอร์ โดยเนื้อหาทั้งหมดของสารานุกรมออนไลน์จะอยู่บนเว็บไซต์ www.asiaonline.com
 "เชื่อ ว่าโครงการนี้จะได้รับการสนับสนุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากเอกชน หากมีผู้เข้าชมเว็บไซต์มาก โดยไอซีทีจะประเมินผลทุกไตรมาส แม้จะใช้ระบบแปลบทความให้ แต่บนเว็บยังมีฟังก์ชั่นที่เปิดให้ผู้เข้าชมเข้ามาช่วยขัดเกลาภาษาหรือช่วย แปลได้ เว็บมีทุนการศึกษาให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมต่อเนื่องด้วย เชื่อว่าบทความที่แปลจะถูกต้องแม่นยำกว่า 95%"
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #46 เมื่อ: วันที่ 13 มกราคม 2011, 12:22:30 »

ทีโอทีฟุ้งสิ้นปี 54 ลูกค้าบรอดแบนด์เฉียด 1.5 ล้านราย


ทีโอที ยิ้มรับแคมเปญ ทีโอที ไฮสปีด แก็งค์เน็ตซิ่ง ความเร็ว 6 เมกะบิต ราคา 590 บาท/เดือน ตั้งเป้าสิ้นปี 54 ลูกค้าเพิ่มกว่า 3 แสนราย ชูความเร็ว 4-6 เมกกะบิต ยอดใช้มากที่สุด 54.52% หวังเมกะโปรเจกต์ 3จี หนุนรายได้เพิ่ม...

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. นายนพณัฎฐ์ หุตะเจริญ รักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากทีโอทีแคมเปญ ทีโอที ไฮสปีด แก็งค์เน็ตซิ่ง ความเร็ว 6 เมกะบิต ราคา 590 บาทต่อเดือน ระหว่างวันที่ 15 ต.ค.-13 ธ.ค. 2553 ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการในแคมเปญดังกล่าว 420,000 ราย ซึ่งมาจากลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่าที่เพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ต ขณะที่ ปัจจุบันทีโอทีมีลูกค้าบรอดแบรนด์จำนวน 1,117,879 ราย

ขณะที่ ในปี 2553 ทีโอที ทำรายได้จากบริการอินเทอร์เน็ตมูลค่ากว่า 7,348 ล้านบาท หรือคิดเป็น 26.69% ของรายได้รวมของบริษัท โดยความเร็วที่มีจำนวนผู้ใช้บริการมากที่สุด คือ 4-6 เมกกะบิต อยู่ที่ 54.52% ความเร็ว2-3 เมกกะบิตอยู่ที่ 34.23% อย่างไรก็ตาม ในปี 2554 ตั้งเป้าบริการไฮสปีดอินเทอร์เน็ต เพิ่มจำนวนลูกค้าไม่น้อยกว่า 3 แสนราย หรือคิดเป็นยอดรวมทั้งสิ้น 1,417,879 ราย และตั้งเป้ารายได้ไม่น้อยกว่า 8 พันล้านบาท

สำหรับ ทิศทางการทำตลาดอินเทอร์เน็ตปี2554ทีโอทีมีแผนที่จะเน้นการทำบริการหลังการ ขายมากขึ้น โดยจะใช้งบประมาณกว่า 2,100 ล้านบาท ในการทำเกตเวย์ และเพิ่มจำนวนเอดีเอสแอลอีก 6.8 แสนพอร์ต ครอบคลุมการใช้งานทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ของรัฐบาล นอกจากนี้ ยังมีโครงการเอ็นจีเอ็น ที่ทำไปแล้วแสนเลขหมาย และจะเพิ่มอีก 4.7 แสนเลขหมาย แล้วลงไฟเบอร์ ทู เดอะโฮม (FTTH) แทนเทคโนโลยีเอดีเอสแอล เพราะแนวโน้มของตลาดโลก

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Ovum คาดการณ์ว่าในปี 2554 ประเทศไทยจะมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มขึ้น 3.4 ล้านพอร์ต คิดเป็นการเติบโต 18%จากปี 2553 โดยคาดการณ์ว่าการเติบโตจะขยายตัวมากในภูมิภาค และอาจจะเติบโตได้มากกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากการผลักดัน นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ที่ตั้งเป้าหมายโครงการว่าภายในปี 2558 หรือ อีก 5 ปี ข้างหน้า การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะต้องครอบคลุม 80% ของประชากรทั้งประเทศ และในกลุ่มการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งหมดนั้นบริการเอดีเอสแอล ยังคงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคในการเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะ ผู้บริโภคกลุ่มบ้านพักอาศัยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ซึ่งยังเป็นตลาดที่มีความเติบโตอยู่

รักษาการผู้จัดการ ใหญ่ ทีโอที กล่าวต่อว่า ตลอดปี 2553 ที่ผ่านมา ทีโอที มีรายได้จากการดำเนินงานธุรกิจเองจำนวน 2.8-2.9 หมื่นล้านบาท ไม่รวมสัมปทาน โดยยอมรับว่ารายได้ดังกล่าวยังขาดทุนอยู่ที่หลักพันล้านบาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง และสถานการณ์การเมืองไม่สงบ รวมถึงเหตุการณ์อุทกภัย โดยทีโอทีต้องปรับตัวหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้ามาเพิ่ม ขณะเดียวกัน มีความหวังเรื่องการเปิดให้บริการ 3จี ทั่วประเทศว่าจะเป็นรายได้ใหม่ ที่จะมีการเปิดประมูล 28 ม.ค.2554.
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #47 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2011, 20:14:01 »

ดีแทครื้อเน็ตเวิร์ก หวังพลิกโฉมเน็ตบนมือถือ

ดีแทค เตรียมโละเน็ตเวิร์กเก่าทิ้งทั้งหมด พร้อมทุ่มงบทำระบบใหม่ พัฒนาโครงข่ายทั้งเสียงและดาต้า เล็งเจาะตลาดรากหญ้าลดช่องว่างการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต พร้อมก้าวขึ้นแท่นผู้นำ...

วันที่ 13 ม.ค.2554 นายทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า ปี 2553 นับเป็นปีที่ดีที่สุดปีหนึ่งของบริษัทฯ เชื่อว่าแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2554 จะทำให้ประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้น บริษัทฯ จึงเตรียมเปลี่ยนเครือข่ายใหม่เพื่อตอบรับความต้องการในตลาดดาต้าที่เพิ่ม ขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้ใช้ งานโมบายอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 34% หรือเติบโตขึ้นถึง 108% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการ 3 จี บนคลื่นความถี่ 850 MHz ที่จะเริ่มต้นในช่วงกลางปีนี้ อีกด้วย

“โครงการนี้ถือเป็นโปรเจคที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เทเลน อร์กรุ๊ปเคยมีมา การตัดสินใจเปลี่ยนเครือข่ายทั้งหมดทั่วประเทศจะทำให้ดีแทคเป็นผู้นำในการ บริการที่มีคุณภาพ ทั้งยังคุ้มค่าและคล่องตัวในการยกระดับบริการเมื่อถึงยุคปรับเปลี่ยน เทคโนโลยีครั้งต่อไป” นายทอเร่ กล่าว

สำหรับภาพรวมตลาดโทรคมนาคมในปี 2553 อยู่ในระดับที่น่าพอใจและยังเห็นการพัฒนาอย่างต่อ เนื่อง ส่วนในปี 2554 บริษัทฯ จะให้ความสำคัญกับตลาดอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก เชื่อว่าการเปลี่ยนโครงข่ายใหม่ของบริษัทฯ จะช่วยให้มีรายได้และส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ยังส่งผลดีต่อตลาดอีกด้วย

ด้าน นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์ ดีแทค กล่าวว่า ในปีนี้ดีแทคมุ่งเป็นผู้นำตลาดโมบายอินเทอร์เน็ตและกำหนดทิศทางการแข่งขัน ซึ่งเชื่อว่าบริษัทฯ จะได้เปรียบมากขึ้นบนเครือข่ายคุณภาพ ขณะที่ภาพรวมตลาดโมบายอินเทอร์เน็ตก็ยังมีพื้นที่เติบโตอย่างมาก โดยในปี 2553 มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านราย คิดเป็นปริมาณการใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นจาก 1.9 ล้าน GB เป็น 4 ล้าน GB และยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการทำตลาดของสมาร์ทโฟน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และแก็ตเจ็ทต่างๆ (gadget) ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนและกระตุ้นให้ลูกค้าใช้งานดาต้ามากขึ้น อาทิ การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก และการใช้ Cloud Based Computing เพื่อเก็บและแบ่งปันข้อมูล

“ขณะนี้ เรามีลูกค้าที่เคยใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือเพียง 25% มีลูกค้าอีก 50% ที่ใช้มือถือที่ยังไม่รองรับการใช้งานดังกล่าว ถือเป็นช่องว่างและโอกาสที่เราจะใช้จุดแข็งด้านเน็ตเวิร์กและการตลาดเข้าถึง ลูกค้ากลุ่มดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มรากหญ้าเพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต” นายปกรณ์ กล่าว


ส่วน นายประเทศ ตันกุรานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรม ดีแทค กล่าวว่า การเปลี่ยนเน็ตเวิร์กใหม่จะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมี.ค. ซึ่งมีจุดรับส่งสัญญาณ (Cell Site) ที่ต้องเปลี่ยนทั้งสิ้นกว่า 10,000 แห่ง รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยในอันดับแรกจะทยอยเปลี่ยนในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ของภาคต่างๆ โดยมีเป้าหมายให้สำเร็จ 50% ของจุดรับส่งสัญญาณทั้งหมดภายในปลายปีนี้และเสร็จสมบูรณ์ในปี 2555 เชื่อว่าตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้เป็นต้นไป ลูกค้าที่อยู่ในเขตดังกล่าวจะสามารถโทรและใช้ดาต้าที่มีคุณภาพมากขึ้นและมี เครือข่ายครอบคลุมขึ้น สำหรับลูกค้าที่ใช้งานสมาร์ทโฟนก็จะสามารถใช้งานได้รวดเร็วขึ้นด้วย เนื่องจากเทคโนโลยีที่เลือกใช้เป็นเทคโนโลยีที่รองรับ 3 จี โดยเฉพาะ นอกจากนี้การเปลี่ยนเน็ตเวิร์กของดีแทคยังคำนึงถึงส่วนรวม โดยเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดพื้นที่การใช้อาคารและประหยัดพลังงานได้มากกว่า 50% อีกด้วย

นอกจากนี้ ดีแทคยังเปิดตัวซิมแฮป*** สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 ซิม ได้แก่ 1.BlackBerry SIM ค่าบริการ 77 บาท ให้ลูกค้าที่ใช้แบล็กเบอร์รี่ได้แชท เมสเซนเจอร์ และโซเชียลเน็ตเวิร์กไม่จำกัดนาน 7 วัน โทรเบอร์ดีแทคนาทีละ 29 สตางค์ ระหว่าง 6 โมงเช้า - 6 โมงเย็น 2.iPhone internet SIM สำหรับผู้ใช้ไอโฟนโดยเฉพาะ แถมฟรีแฮป***อินเทอร์เน็ต 100MB (50 MB/เดือน นาน 2 เดือน) พิเศษเติมเงิน 100 บาท ได้วันใช้งาน 30 วัน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต 5 บาท/MB  ค่าโทรนาทีละ 1 บาท ทุกเครือข่าย ตลอด 24 ชม. และ 3.Happy internet SIM สำหรับลูกค้าที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์ เคลื่อนที่ทุกประเภท แถมฟรีแฮป***อินเทอร์เน็ต 600 นาที ระยะใช้งาน 30 วัน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต 0.25 บาท/นาที รับวันเพิ่ม 100 วัน ทุกครั้งที่เติมเงิน ค่าโทรนาทีละ 1 บาททุกเครือข่ายตลอด 24 ชม.

นอก จากนี้ ยังมี Aircard internet SIM สำหรับใช้งานกับแอร์การ์ดโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับการใช้งานร่วมกับโน้ตบุ๊กและเน็ตบุ๊ก โดยจะวางจำหน่ายในเร็วๆ นี้ โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและซื้อซิมดังกล่าวได้ที่ร้านค้าตัวแทนจำ หน่ายซิมของแฮป***และร้านค้าไอทีทั่วประเทศ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.happy.co.th หรือ dtac call center โทร.1678

ทั้งนี้ ดีแทคยังเตรียมเปิดศูนย์เคลม เซ็นเตอร์ เพื่อรับเคลมสินค้าที่มีปัญหา โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ศูนย์ดังกล่าวเริ่มดำเนินการภายในไตรมาสที่ 2 ของ ปีนี้ และจะตั้งอยู่ในพื้นที่กลางใจเมือง
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #48 เมื่อ: วันที่ 16 มกราคม 2011, 11:37:06 »

4กลุ่มแบงก์ชิงเค้กโปรเจ็กต์3จีทีโอที บอร์ดเฟ้น"บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย"สางคดีเอกชน



4 กลุ่มแบงก์ใหญ่ชิงเค้กเงินกู้โปรเจ็กต์ "3G ทีโอที" 2 หมื่นล้าน คาดต้นเดือน ก.พ.ได้ข้อสรุปหลังได้ผู้ชนะประมูล 28 ม.ค. มั่นใจเดินหน้าโครงการได้ตามแผนแม้กระแสข่าวลือเพียบ พร้อมเตรียมจ้างบริษัทกฎหมายเป็นที่ปรึกษาจัดการเรื่องคดีฟ้องร้องกับเอกชน หลังล่าสุดเทเลเมติคส์ฟ้องเพิ่มกรณีระบบบิลลิ่ง

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ขณะนี้มีสถาบันการเงิน 4 กลุ่มได้เสนอเงื่อนไขเงินกู้สำหรับโครงการขยายโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ 3G ทั่วประเทศ มูลค่า 19,980 ล้านบาท โดยหลังจากได้พิจารณาเอกสารข้อเสนอของแต่ละกลุ่มแล้วจะมีการคัดออกเพื่อให้ เหลือผู้ที่เหมาะสม 3 กลุ่ม ก่อนจะนำมาเปรียบเทียบกับข้อเสนอด้านแหล่งเงินทุนของซัพพลายเออร์ (ซัพพลายเออร์เครดิต) จากผู้ชนะการประกวดราคาซึ่งจะมีการจัดประกวดราคาด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (อีออกชั่น) ในวันที่ 28 ม.ค.นี้

"เนื่องจากโครงการนี้มีขนาดใหญ่ ธนาคารจึงได้จับกลุ่มกันเข้ามาร่วมเสนอเงื่อนไขเงินกู้ โดยมี 4 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย กลุ่มที่ 2 คือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารออมสิน กลุ่มที่ 3 คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ และกลุ่มของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เป็นกลุ่มที่ 4 โดยผู้เสนอเงื่อนไขเงินกู้ที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมดเป็นธนาคารในประเทศ"

สำหรับ ผู้มีสิทธิ์จะเข้าเสนอราคา จากที่มีผู้ยื่นซองเอกสารเข้าร่วมประกวดราคาเมื่อ 10 ม.ค. จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ เอยู คอนซอเตียม, เอสแอล คอนเซอเตียม, กิจการร่วมค้า อีริคสัน และแซดทีอี คอนเซอเตียม คาดว่าประมาณวันที่ 18-19 ม.ค. จะสามารถประกาศรายชื่อผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติและมีสิทธิ์เข้าเคาะราคาได้

"4 กิจการร่วมค้าที่ยื่นซองล้วนเป็นกิจการขนาดใหญ่ทั้งสิ้น ถือว่าเป็นข่าวดี และหวังว่าทั้ง 4 รายจะผ่านเกณฑ์เข้าร่วมประมูลได้ทั้งหมด เพื่อให้เกิดการแข่งขัน ขณะนี้ได้เร่งให้ทีมงานตรวจสอบเอกสารที่ทั้ง 4 กลุ่มยื่นมาให้ละเอียดแล้ว และแม้ว่าขณะนี้จะเริ่มมีกระแสข่าวลือ ต่าง ๆ แต่เชื่อว่าจะสามารถเดินหน้าไปได้ตามกำหนดการเดิม ยังไม่มีสัญญาณใด ๆ ที่ส่อแววว่าจะมีการล้มดีลนี้"

สำหรับแผนงานโครงการนี้ ได้กำหนดวันอีออกชั่นไว้ในวันที่ 28 ม.ค. และคาดว่าจะทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้ชนะได้ภายในวันที่ 15-18 ก.พ. ก่อนจะเริ่มทยอยเปิดให้บริการเฟสแรกภายใน 180 วัน หลังจากลงนามในสัญญาจ้าง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ชลบุรี ระยอง สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และหนองคาย ส่วนเฟสที่เหลือ จะเปิดให้บริการครบทั้งหมดภายใน 360 วันหลังลงนาม

นอกจากนี้ในการประชุมบอร์ด ได้มีการรายงานถึงบริษัทกฎหมายที่จะเข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาข้อ พิพาทกับเอกชนของทีโอที ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายรวมหลายพันล้านบาท เพื่อป้องกันความ เสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทีโอทีในอนาคต โดยคาดว่าจะมีการรายงานชื่อบริษัทกฎหมายที่ได้ว่าจ้างในการประชุมบอร์ดครั้ง หน้า (28 ม.ค.)

ส่วนกรณีที่บริษัท เทเลเมติคส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทคู่สัญญาที่ทีโอทีเช่าใช้ระบบ ใบแจ้งหนี้และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องมาตั้งแต่ปี 2547 และได้สิ้นสุดสัญญาเมื่อ 31 ธ.ค. 2552 ได้ยื่นฟ้องบอร์ดทีโอทีเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 10 ม.ค. หลังจากก่อนหน้านี้ได้มีการฟ้องร้องมาแล้ว และเทเลเมติคส์ยังเคยนำทีมตำรวจบุกจับพนักงานของทีโอที โดยกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ระบบบิลลิ่งของบริษัทเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2553

"บอร์ดได้สั่งให้ฝ่ายกฎหมายไปศึกษา และมารายงานเกี่ยวกับกรณีนี้ให้ชัดเจนในสัปดาห์หน้า โดยเฉพาะในประเด็นที่เอกชนฟ้องร้อง แต่ยืนยันว่าไม่กระทบกับการออกบิลใบแจ้งหนี้ของลูกค้าทีโอที แต่อย่างใด ทุกอย่างยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติ และระบบบิลลิ่งใหม่ที่ทีโอที ได้ลงทุนไปจะพร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งลูกค้าบริการเดิมและบริการ 3G ได้ในเดือน มี.ค.นี้" ประธานบอร์ดทีโอทีกล่าว

สำหรับกิจการร่วม ค้า "เอยู คอนซอเตียม" ประกอบด้วย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟรเมชั่น เทคโนโลยี, บมจ.ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี (ยูคอม) บริษัท อัลคาเทล-ลูเซ่น (ประเทศไทย) จำกัด, "เอสแอล คอนเซอเตียม" ประกอบด้วย บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น บมจ.ล็อกซเล่ย์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท โนเกีย-ซีเมนส์ จำกัด, "กิจการร่วมค้า อีริคสัน?"ได้แก่ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย จำกัด และบริษัท เอ เอส แอคโซซีเอท จำกัด ส่วน "แซดทีอี คอนเซอเตียม" ประกอบด้วยบริษัท แซดทีอี จำกัด บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #49 เมื่อ: วันที่ 16 มกราคม 2011, 11:38:37 »

"ดีแทค"ยกเครื่องเครือข่ายทั่วปท.ปักธง"โมบายเน็ต"



"ดี แทค" ประกาศแผนปี"54 ลงทุนยกเครื่องเน็ตเวิร์กใหม่ทั่วประเทศ รองรับการใช้งาน "ดาต้า" พุ่ง พร้อมลงทุนขยายเครือข่าย 3 จีบนคลื่นเดิม ชูธงบุกตลาดโมบาย อินเทอร์เน็ตเต็มสูบ หวังขยายฐานลูกค้าโต 50% เป็น 6 ล้านราย เปิดตัวซิมแฮป***สำหรับใช้งานอินเทอร์เน็ต 4 ซิมรวด

นาย ทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค กล่าวว่า ปีนี้ดีแทคจะผลักดันการใช้โมบายอินเทอร์เน็ต โดยมีแผนลงทุนเปลี่ยนเน็ตเวิร์กใหม่ทั้งหมด (network swap) รวมถึงอุปกรณ์สนับสนุนจำนวนกว่า 10,359 เซลล์ไซต์ทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็น โปรเจ็กต์ใหญ่สุดที่เทเลนอร์และดีแทคได้ลงทุนขยายเครือข่ายเพื่อรองรับการ ใช้งานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเน็ตเวิร์กเดิมไม่สามารถรองรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้จะมีการเพิ่มเซลล์ไซต์อีกหลายร้อยไซต์ เพื่อให้เครือข่ายครอบคลุมมากขึ้น

เนื่องจากดีแทคยังมีอายุสัมปทาน เหลืออีก 8 ปี จึงกล้าที่จะลงทุนใหม่ นอกจากนี้ การทำ network swap ครั้งนี้จะมีผลกับการอัพเกรดเครือข่าย 3 จีบนคลื่น 850 MHz ด้วย เพราะช่วยให้การติดตั้ง 3 จีได้รวดเร็วและง่ายขึ้น ซึ่งการอัพเกรดเครือข่าย 3 จีจะเริ่มขึ้นพร้อม ๆ กับการทำ network swap และจะใช้ซัพพลายเออร์รายเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการคัดเลือกซัพพลายเออร์

นายทอเร่กล่าวว่า การลงทุนเน็ตเวิร์กใหม่นี้ เพื่อให้การให้บริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายระยะยาว เพราะใช้พลังงานลดลง ขณะเดียวกัน ลูกค้าจะได้รับประสบการณ์การใช้เครือข่ายที่ดีขึ้น สามารถใช้งานโทร.และดาต้าที่มีคุณภาพดีขึ้น ความเร็วดีขึ้น และมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นด้วย โดยตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 จะเริ่มทยอยเปลี่ยนเซลล์ไซต์ใน กทม.และปริมณฑลก่อน และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งประเทศภายในปี 2555 ขณะที่การบริหารจัดการยังคงเน้นการลดต้นทุนค่าไฟ ค่าบำรุงรักษา และอื่น ๆ ให้ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

โดยคาดว่าปีนี้ตลาดโมบายอินเทอร์เน็ตจะ เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันตลาดโทรคมนาคม ซึ่งดีแทคจะโฟกัสการทำตลาดโมบายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เพื่อให้ส่วนแบ่งการตลาดและรายได้จากการใช้งานดาต้ามากขึ้น

นาย ปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของดีแทค กล่าวว่า ปีนี้ดีแทคตั้งเป้าจะผลักดันให้โมบายอินเทอร์เน็ตมีการใช้งานแพร่หลายมาก ขึ้น โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตผ่าน มือถือ รวมถึงการเปิดตัวโครงการแนะนำสินค้าต่าง ๆ โดยปัจจุบัน ดีแทคครองส่วนแบ่งการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ 35% และพบว่าปัจจุบัน มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนบนเครือข่ายของดีแทคทั้งหมด 11 ล้านเครื่อง จากต้นปี 2553 มีการใช้งาน 8.9 ล้านเครื่อง และมีการใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ 65 นาทีต่อวัน ขณะที่การใช้งานโทรศัพท์คุยกันเฉลี่ยอยู่ที่ 10 นาทีเท่านั้น การใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้น ทำให้ เครือข่ายเก่าไม่สามารถรองรับปริมาณการใช้งานได้ทันจึงนำไปสู่การเปลี่ยน เครือข่ายใหม่ทั้งหมด เพื่อรองรับการเติบโต

"ยังมีลูกค้ากว่า 75% จากทั้งหมด 20-21 ล้านรายที่ยังไม่ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ ถือเป็นโอกาสใหญ่มากของดีแทค ประกอบกับปีนี้มือถือทัชสกรีน สมาร์ทโฟนมีราคาถูกลง ใช้ง่ายขึ้น คาดว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญให้คนใช้โมบายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น และด้วยเครือข่ายที่มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึง ecosystem ที่เกิดขึ้นและเป็นปีแรกที่รู้สึกว่าเราสามารถเหนือคู่แข่งได้ โดยตั้งเป้าปีนี้จะมีลูกค้าดีแทคใช้โมบายอินเทอร์เน็ต เพิ่มเป็น 6 ล้านราย จากที่มีอยู่ 4 ล้านราย"

พร้อมกันนี้ดีแทคเปิดตัวซิมแฮป***(แบบ เติมเงิน) สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือ 4 ซิม ประกอบด้วย "BlackBerry SIM" ให้ลูกค้าที่ใช้งานสมาร์ทโฟนแบล็คเบอร์รี่ ค่าบริการ 77 บาท ใช้งานแชต เมสเซนเจอร์ โซเชียลเน็ตเวิร์กได้ไม่จำกัด เป็นเวลา 7 วัน โทร.ในเครือข่ายเดียวกัน นาทีละ 29 ส.ต. ระหว่าง 6 โมงเช้า-6โมงเย็น, "iPhone internet SIM" แถมฟรีอินเทอร์เน็ต 100 MB พิเศษเติมเงิน 100 บาท ได้วันใช้งาน 30 วัน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต 5 บาท/MB ค่าโทร.นาทีละ 1 บาท ทุกเครือข่าย ตลอด 24 ช.ม.

"Happy internet SIM" สำหรับลูกค้า ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือทุกประเภท แถมฟรีแฮป***อินเทอร์เน็ต 600 นาที ระยะเวลาใช้งาน 30 วัน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต 0.25 บาท/นาที รับวันเพิ่ม 100 วัน ทุกครั้งที่เติมเงิน ค่าโทร.นาทีละ 1 บาท ทุกครือข่าย ตลอด 24 ช.ม. และ "Aircard internet SIM" สำหรับใช้งานกับแอร์การ์ดโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับการใช้งานร่วมกับ โน้ตบุ๊กและเน็ตบุ๊ก
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #50 เมื่อ: วันที่ 18 มกราคม 2011, 10:18:53 »

บอร์ด กสท ไม่สนเสียงวิจารณ์ไฟเขียวผนึกแผนธุรกิจมือถือกับทรู


บอร์ดกสทไฟเขียว ผนึกแผนธุรกิจมือถือกับทรู เปลี่ยนซีดีเอ็มเอสสู่ 3 จี เอชเอสพีเอ พร้อมลงนามเซ็นสัญญาอายุ 14 ปีภายในเดือนม.ค.

บอร์ดกสทไฟเขียว ผนึกแผนธุรกิจมือถือกับทรู เปลี่ยนซีดีเอ็มเอสสู่ 3 จี เอชเอสพีเอเต็มสูบคาดสิ้นปีนี้อัพเกรดโครงข่ายทั้ง 3,000 สถานีฐานเสร็จ พร้อมลงนามเซ็นสัญญาอายุ 14 ปีภายในเดือนม.ค. บนเงื่อนไขสลับการเข้าไปเช่าใช้โครงข่าย ยืนยันไม่ใช่การลงทุนร่วม ไม่ต้องผ่านพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ อ้างส่งเอกสารให้อัยการสูงสุดตรวจสอบความเรียบร้อยแล้ว ส่วนแผนการตลาดรออนุมัติจากสคช.ก่อน ส่วนการ แก้ไขสัญญาสัปมทานตามมาตรา 13 และ 22 ของทรูมูฟ ดีพีซี และดีแทค ถึงมือ”จุติ”แล้ว

นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มีนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบแผนดำเนินธุรกิจโทรศัพท์มือถือของกสท โดยแผนการทำธุรกิจมือถือของกสท ด้วยการพัฒนาโครงข่ายซีดีเอ็มเอ ให้เป็นโครงข่ายสำหรับเปิดบริการ 3จีบนคลื่นความเดิม 850 เมกะเฮิรตซ์เดิม (เอชเอสพีเอ) ร่วมกันกับบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อให้บริการ 3 จี โดยเร็วที่สุด โดยจะต้องปรับเปลี่ยนโครงข่ายซีดีเอ็มเอทั้งหมด 3,000 สถานีทั่วประเทศ ให้เป็นโครงข่ายเอชเอสพีเอภายในปี 2554

ทั้งนี้ ความร่วมมือกันดังกล่าว จะเป็นในลักษณะที่ทรู จะเป็นผู้ติดตั้งอุปกรณ์เอสเอชพีเอในส่วนกลาง 25 จังหวัด ตามสถานีฐานเดิมของซีดีเอ็มเอ 1,400 แห่ง หลังจากที่ทรูเข้าซื้อกิจการของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย หรือ ฮัทช์ ได้สำเร็จ จากนั้นทรูจะเปิดให้ กสทเช่าใช้โครงข่ายหรือขายส่งให้กสท ขณะที่กสทจะเช่าอุปกรณ์เอสเอชพีเอจากกลุ่มทรู เพื่อนำมาติดตั้งตามสถานีฐานซีดีเอ็มเอของกสทในส่วนภูมิภาค 51 จังหวัด จำนวน 1,600 แห่ง และเปิดให้ทรูเช่าใช้โครงข่ายและขายส่งให้กลุ่มทรู และรายย่อยอื่นๆ ที่ต้องการทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือในลักษณะเอ็มวีเอ็นโอ

ขณะเดียวกัน กสทกับทรูจะต้องตกลงทำสัญญาระหว่างกัน เป็นลักษณะสัญญาเช่าอุปกรณ์ รวมถึงสัญญาการขายส่ง ซึ่งสัญญาจะมีอายุตามใบอนุญาต(ไลเซ่น) ประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือ ประเภทที่ 3 ที่ กสทได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เป็นระยะเวลา 14 ปี ซึ่งกสท กำลังเจรจาเรื่องค่าเช่าอุปกรณ์ ค่าเช่าโครงข่ายระหว่างกัน

ขณะเดียวกัน ฝ่ายบริหารกสทได้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบแล้วเพื่อความ รอบคอบ คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์นี้หรือภายในเดือนม.ค.นี้จะสามารถลงนามในสัญญากับทรูได้อย่างเป็นทาง การ ส่วนการขยายการลงทุนการติดตั้งสถานีฐานเพื่อให้บริการ 3 จี ด้วยเทคโนโลยีเอชเอพีเอของกสทนั้น คงต้องดำเนินการเสนอแผนลงทุนต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) ก่อน

“การทำสัญญาเช่าอุปกรณ์ กสท ทำตามระเบียบพัสดุสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเช่า เหมือนกับกสทไปเช่าวงจรต่างประเทศเพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศ ซึ่งให้บริการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ หรือให้บริการทั้งขายปลีกและขายส่ง ดังนั้นการทำสัญญากับกลุ่มทรู จึงไม่ต้องผ่านขั้นตอนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนิน การในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) เพราะเป็นการทำสัญญาเช่า ไม่ได้ร่วมลงทุนแต่อย่างใด"

นายจิรายุทธ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้อนุมัติการยกเลิกสัญญากับกลุ่มบริษัท ฮัทชิสัน อ่องกง คือ บริษัท บีเอฟเคที จำกัด ผู้ลงทุนและบำรุงรักษาโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระบบซีดีเอ็มเอในส่วนกลาง 25 จังหวัด และสัญญาจ้างการทำตลาดโทรศัพท์มือถือแบรนด์ "ฮัทช์” โดย กสท จะยกเลิกสัญญาได้ก็ต่อเมื่อได้ทำสัญญาฉบับใหม่กับกลุ่มทรู ในส่วนสัญญาจ้างดูแลลูกค้า 700,000 เลขหมายที่ได้จากการเข้าซื้อกิจการฮัทช์ และสัญญาเช่าอุปกรณ์เอสเอชพีเอ ซึ่งหมายความว่าการซื้อขายกิจการระหว่างกลุ่มฮัทชิสัน กับกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว

ส่วนความคืบหน้าเรื่องการพิจารณาแนวทางการแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่างกสทกับ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) นั้น คณะกรรมการมาตรา 22 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุน ได้ส่งแนวทางการดำเนินการให้กับรมว.เทคโนโลยีสารสนสนเทศและการสื่อสาร(ไอซี ที) แล้ว รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาระหว่างกสทกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด(ดีพีซี) ที่ต้องดำเนินการตามมาตรา 13 และมาตรา 22 ของพ.ร.บ.ร่วมทุน

ทั้งนี้ ความเห็นของคณะกรรมการเสียงข้างมาก ซึ่งเป็นฝ่ายราชการนั้น ให้กสทไปเจรจากับดีแทคและทรูมูฟ เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์เพิ่มเติม จากการปรับลดส่วนแบ่งรายได้และการขยายอายุสัญญาสัมปทานออกไปอีก 5 ปี ขณะที่กสทและดีแทค ซึ่งเป็นกรรมการเสียงข้างน้อย ได้แสดงความเห็นว่า การปรับลดส่วนแบ่งรายได้และการยืดอายุสัญญาสัมปทานนั้น ดำเนินการภายใต้เงื่อนไข ให้กสทสามารถขยายฐานลูกค้าโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอจากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 40,000 เลขหมาย และเปิดให้มีผู้ให้บริการรายใหม่คือทรูมูฟ และดีพีซี ซึ่ง กสท ได้รับผลประโยชน์มากขึ้น

นอกจากจะสามารถขยายฐานลูกค้าโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอจาก 40,000 เลขหมาย เป็น 1.1 ล้านเลขหมายในปัจจุบัน และได้รับส่วนแบ่งรายได้จากทรูมูฟและดีพีซีเพิ่มมากข้นด้วย ดังนั้นเมื่อนำรายได้จากการปรับลดส่วนแบ่งมาเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่กสท ได้รับ ถือว่ากสทได้มากกว่าเสียประโยชน์
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #51 เมื่อ: วันที่ 18 มกราคม 2011, 10:20:59 »

รายได้บรอดแบนด์ทีโอทีทะลุเป้า

โอที” ฟุ้งรายได้บรอดแบนด์ทะลุเป้า เดินหน้าปั้นลูกค้าบรอดแบนด์ ปี’54 เพิ่มอีก 3 แสนราย

นายนพณัฎฐ์ หุตะเจริญ รักษา การผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าหลังจากทีโอที ทำแคมเปญ ทีโอที ไฮสปีด “แก๊งเน็ตซิ่ง” ความเร็ว 6 เมกะบิตราคา 590 บาทต่อเดือน เมื่อปลายปีที่ผ่านมา มีผู้ใช้ บริการ 420,000 ราย มาจากลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่าที่เพิ่มความเร็วอินเทอร์ เน็ต ทำให้ทีโอทีมีลูกค้าบรอดแบรนด์ 1,117,879 พอร์ต สร้างรายได้จากบริการอินเทอร์เน็ตกว่า 7,348 ล้านบาทใน ปี 2553 มากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ว่าจะ ทำรายได้ได้ 7,200 ล้านบาท โดยความ เร็วที่มีจำนวนผู้ใช้บริการมากที่สุดคือ 4-6 เมกะบิต ส่วนในปี 2554 ทีโอที ตั้งเป้าลูกค้าใช้บริการไฮสปีด อินเทอร์ เน็ต กว่า 300,000 ราย สร้างรายได้ไม่น้อย กว่า 8,000 ล้านบาท

สำหรับทิศทางการทำตลาดอิน เทอร์เน็ตปี 2554 ทีโอทีมีแผนที่จะ เน้นการทำบริการหลังการขายมากขึ้น โดยจะใช้งบประมาณราว 2,100 ล้าน บาท ในการทำเกตเวย์ และเพิ่มจำนวน เอดีเอสแอลอีก 6.8 แสนพอร์ตครอบ คลุมการใช้งานทั่วประเทศเพื่อสนับสนุนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีโครงการเอ็นจีเอ็น ที่ทำไปแล้วหนึ่งแสนเลขหมาย และจะเพิ่มอีก 4.7 แสนเลขหมาย แล้วลงไฟเบอร์ ทู เดอะโฮม แทนเทคโนโลยีเอดีเอสแอลเพราะแนวโน้มของตลาดโลก.
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #52 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2011, 12:17:03 »

กสทฯฉลุยทรูยกเครื่องCDMA ซุ่มทำสัญญาแลกเปลี่ยน14ปี



"บอร์ด กสทฯ" เห็นชอบแผนพัฒนา 3G หลังทรูซื้อฮัทช์เล็งทำสัญญาเช่า 14 ปี เปลี่ยนโครงข่าย 25 จังหวัดจาก CDMA เป็น HSPA มั่นใจตกลงค่าเช่าโครงข่ายจบก่อนสิ้นเดือน ม.ค. พร้อมเปิดกว้างขายส่งแอร์ไทม์ไม่ผูกขาดทรู


รอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสข่าว สะพัดว่าจะมีการกดดันให้ซีอีโอ บมจ. กสท โทรคมนาคมลาออก ด้วยเหตุว่าทำงานไม่เข้าตารัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที รวมถึงบอร์ด กสทฯ จะลาออกยกชุดในการประชุมวันที่ 14 ม.ค. 2554

อย่างไรก็ตามนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ประชุมไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องดังกล่าว เพียงแต่รับทราบและอนุมัติการลาออกของนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เพราะติดภารกิจอื่น นอกจากนี้ยังเห็นชอบแผนพัฒนาโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ CDMA เป็น HSPA โดยร่วมกับกลุ่มทรูเพื่อเปิดให้บริการเทคโนโลยี 3 จี เร็วที่สุด ซึ่งต้องปรับเปลี่ยน โครงข่าย CDMA ทั้ง 3,000 แห่งทั่วประเทศ เป็น HSPA ในปี 2554 โดยทรูเป็นผู้ติดตั้งอุปกรณ์ HSPA ในโครงข่ายที่ซื้อ จากบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย (25 จังหวัดภาคกลาง) ก่อนให้ กสทฯเช่าใช้ หรือขายส่งแอร์ไทม์ให้ อีกทั้ง กสทฯจะเช่าอุปกรณ์ HSPA จากกลุ่มทรู เพื่อนำมาติดตั้งในโครงข่าย CDMA ในความดูแลของ กสทฯทั้ง 1,600 แห่ง พร้อมเปิดให้ทรูเช่าใช้โครงข่าย หรือขายส่งแอร์ไทม์ให้ทรูและผู้ให้บริการรายอื่น

"กสทฯกับทรูต้องทำสัญญาเช่าอุปกรณ์ระหว่างกันเป็นเวลา 14 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาค่าเช่าอุปกรณ์ ค่าเช่าโครงข่าย รวมถึงเงื่อนไขสัญญาต่าง ๆ คาดว่าจะได้ข้อยุติใน 2 สัปดาห์ ส่วนร่างข้อตกลงรวมถึงสัญญาเช่าอยู่ระหว่างรอสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา ซึ่งเป็นสัญญาเช่าใช้ไม่เข้าข่ายต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน"

นอกจากนี้ ยังอนุมัติการยกเลิกสัญญากับกลุ่มบริษัท ฮัทชิสัน ฮ่องกง คือ บริษัท บีเอฟเคที จำกัด กับบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด แต่จะมีผลเมื่อ กสทฯได้ทำสัญญาจ้างให้กลุ่มทรูเข้ามาดูแลลูกค้าเดิมของ "ฮัทช์" ทั้ง 7 แสนรายก่อน

ส่วนกรณีการแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่าง กสทฯกับดีแทค และทรูมูฟนั้น คณะกรรมการตามมาตรา 13 และ 22 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ได้ส่งผลสรุปให้กระทรวง ไอซีทีเพื่อเสนอเข้า ครม.แล้ว โดยมติเสียงข้างมากให้ไปเจรจากับดีแทคและ ทรูมูฟเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์เพิ่ม แต่เสียงข้างน้อยเห็นว่าการแก้ไขสัญญาทำให้ กสทฯขยายฐานลูกค้า CDMA ได้มากขึ้นจากไม่เกิน 40,000 เลขหมาย ทำให้เกิดผู้ให้บริการรายใหม่คือทรูมูฟและดีพีซีจึงได้มากกว่าเสีย
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #53 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2011, 12:18:21 »

ทีโอทีรุกต่อยอดธุรกิจเกมออนไลน์ เล็งเปิดตลาดเกมบนมือถือรับแผนลงทุน3จีทั่วปท.



"ทีโอที" ได้ใจธุรกิจเกมออนไลน์รุ่ง โตก้าวกระโดด 3 ปีต่อเนื่องกวาดรายได้ 290 ล้านบาท ด้วยยอดสมาชิก 4.5 ล้านคน เผยคว้าสิทธิ์ "คลาวด์ไนน์" เกมใหม่จากเกาหลีเมษาฯนี้ พร้อมเล็งเปิดตลาดเกมบนสมาร์ทโฟนรับกระแส 3G


น.ส.ศรีวรรณ สวัสดิ์อำไพรักษ์ ผู้จัดการส่วนพัฒนาบริการมัลติมีเดีย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทีโอทีได้ลิขสิทธิ์เกมออนไลน์ "คลาวด์ไนน์" (Cloud Nine) จากบริษัท MGame Corporation ประเทศเกาหลีใต้ เพื่อนำมาให้บริการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเกมออนไลน์เกมที่ 4 ของบริษัท หลังจากประสบความสำเร็จจากการเปิดตัวเกมเทลรันเนอร์ วีดูแดนซิ่ง และแฮฟ (H.A.V.E.) โดยเกมคลาวด์ไนน์จะเป็นเกมแนว MMORPG หรือเกมวางแผนตัวแรกของทีโอที

"คลาวด์ไนน์เป็นเกมที่สามารถ จับกลุ่มเล่นกันได้ มีเป้าหมายตั้งแต่ผู้เล่นเกมระดับมัธยมถึงมหาวิทยาลัย ถือเป็น การลองจับตลาดกลุ่มที่โตขึ้น ซึ่งจะไม่ทับซ้อนกับตลาดของ 3 เกมที่ได้เปิดตัวไปแล้ว โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้ในเดือน เม.ย.นี้"

เนื่องจากเป็นเกมแนว MMORPG ตัวแรกของบริษัท จึงพิถีพิถันในการเลือกเกมอยู่นานก่อนตัดสินใจ หลังจากได้ทดสอบมาระยะหนึ่ง เนื่องจากธุรกิจเกมเป็นเรื่องใหม่ของทีโอที จึงต้องก้าวย่างอย่างระมัดระวัง

สำหรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจเกมของทีโอที คือ การทำมาร์เก็ตติ้งอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตัวเกมที่นำเข้ามานั้นจะต้องพอดีกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความเร็ว ของอินเทอร์เน็ต และสเป็กของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกอย่างต้องซัพพอร์ตกันให้พอดี เพราะจุดสำคัญของเกมคือต้องเล่นสนุก เล่นออนไลน์ได้ลื่นไหลไม่สะดุดให้เสียอารมณ์

น.ส.ศรีวรรณกล่าวว่า รายได้กลุ่มธุรกิจเกมของทีโอทีถือว่ายังน้อยเมื่อเทียบกับรายได้ของบริษัท แต่มียอดการเติบโตแบบดับเบิล 3 ปีต่อเนื่อง โดยในปี 2552 มีรายได้กว่า 150 ล้านบาท และ เพิ่มเป็น 290 ล้านบาทในปีที่แล้ว ซึ่งคาดว่าปีนี้จะเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งปีนี้ทีโอทีมีแผนเปิดตัวเกมใหม่อีก 3 เกม รวมถึงเริ่มมองหาเกมบนสมาร์ทโฟนเข้ามา ทำตลาด เพื่อรองรับการเปิดบริการ 3G ของทีโอทีอย่างเต็มรูปแบบและทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ทีโอทียังเริ่มใช้ฐานลูกค้าเกมออนไลน์ที่มีกว่า 4.5 ล้านราย เพื่อต่อยอดด้วยการหารายได้จากโฆษณา ด้วยการทำแคมเปญตลาดร่วมกับสินค้าอื่น ๆ อาทิ โครงการกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยลูกค้าเกม ออนไลน์จะได้รับไอเท็มหรือคะแนนในเกมเพิ่มฟรีหากเปิดบัญชีกับธนาคาร รวมถึงการขายแบนเนอร์โฆษณาในเกม
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #54 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2011, 12:19:47 »

'สามารถ'รุกหนัก3จีหวังลูกค้า5แสนรายปี54


“ไอ-โมบาย 3จีเอ็กซ์” ยันเดินหน้า 3จี ปั้นลูกค้า 5 แสนรายในสิ้นปี 54 พร้อมเปิดมือถือแอนดรอยด์-บีบี กระตุ้น ผู้ใช้
   
นายทวี อุดมกิจโชติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงานเอ็มวีเอ็นโอ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบัน ไอ-โมบาย 3จีเอ็กซ์ (i-Mobile 3GX) ซึ่งให้บริการเอ็มวีเอ็นโอ ภายใต้โครงข่าย 3จี ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีลูกค้าประมาณ 1.5 แสนราย เป็นลูกค้าที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องประมาณ 3-4 หมื่นราย และมีค่าบริการใช้งานเฉลี่ยต่อเลขหมายเดือนละ 200 บาท ซึ่ง 70% เป็นการใช้งานรับ-ส่งข้อมูล โดยปีนี้ตั้งเป้าที่จะขยายจำนวนผู้ใช้บริการเป็น 5 แสนเลขหมาย จากปัจจัยการเปิดให้ใช้โครงข่ายร่วม การขายโทรศัพท์มือถือแบล็กเบอร์รี่ (บีบี) ที่ทำงานบน 3จี และการเปิดตัวโทรศัพท์มือถือไอ-โมบายระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ รองรับการใช้งานทั้งเครือข่ายระบบ 2จี และ 3จี  พร้อมดูทีวีได้ รวมทั้งซิม 3จีใหม่ ที่จะวางจำหน่ายรองรับการใช้งานทั้งบริการด้านเสียงและการรับส่งข้อมูล
   
“ปีนี้ตั้งงบประมาณทำตลาดไอ-โมบาย 3จีเอ็กซ์ไว้ที่ 30-50 ล้านบาท เน้นทำตลาดในครึ่งปีหลัง ซึ่งตามแผนของทีโอที หลังประมูลจัดจ้างติดตั้งโครงข่าย 3จี ทั่วประเทศแล้ว กลางปีจะมีโครงข่าย 3จีทีโอทีเพิ่มขึ้นจากเดิม 548 สถานีฐาน เป็น 3,000 สถานีฐาน รองรับผู้ใช้งานจาก 5 แสนเลขหมาย เพิ่มเป็น 4 ล้านเลขหมาย”
   
นายทวี กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีความต้องการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จีแล้ว เพราะอุปกรณ์ที่มีอยู่ในตลาด พร้อมรองรับการใช้งาน ส่วนผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นก็มีการศึกษาแอพพลิเคชั่นสำหรับ 3จีบ้างแล้ว เพียงแต่รอโครงข่าย 3จีให้ครอบคลุมทั่วประเทศ สำหรับธุรกิจโมบายล์ มัลติมีเดีย ซึ่งรวมไอ-โมบาย และบริการเอ็มวีเอ็นโอ 3จี คาดว่าปี 2554 จะมีรายได้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เติบโต 20% ส่วนยอดขายโทรศัพท์มือถือไอ-โมบายน่าจะอยู่ที่ 3.5 ล้านเครื่อง โดยจะพัฒนาแอพ พลิเคชั่นใหม่ ๆ และสร้างมูลค่าให้กับตัวเครื่อง เช่น บริการแชต ผ่านแอพพลิเคชั่นไอเอ็มเอ็ม (IMM) ของไอ-โมบาย เป็นต้น.

 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #55 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2011, 00:41:41 »

นายกฯ เผย บรอดแบนด์แห่งชาติช่วยลดช่องว่างดิจิตอล 


นายกฯ เผย บรอดแบนด์แห่งชาติช่วยลดช่องว่างดิจิตอล คาด 2 ปีหน้า เด็กไทยมีคลังอาหารสมองเพิ่มมากขึ้น


หลังจากเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2553 คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบแผนการจัดตั้งบรอดแบนด์แห่งชาติตามที่กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ยื่นเสนอ เพื่อใช้เป็นเป้าหมายพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากร ไม่ต่ำกว่า 80% ปี 2558 และไม่ต่ำกว่า 95% ปี 2563 รวมทั้ง มีบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงแก่เมืองที่เป็นศูนย์ กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค ที่มีความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 MB ต่อวินาที ปี 2563 โดยวันที่ 25-26 ธ.ค. 53 จึงได้มีโครงการ“ถนนไร้สาย” Wi-Fi ขึ้นมาเป็นโครงการแรกเพื่อสานต่อนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

ต่อมาต้นปี 2554 รัฐบาลโดยการนำของกระทรวงไอซีที และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จึงได้สนับสนุนพร้อมสานต่อนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติต่อจากโครงการโครงการ“ถนน ไร้สาย” Wi-Fi อีกครั้ง โดยได้ร่วมกันจัดทำห้องสมุดสำหรับเด็กไทยฉบับออนไลน์ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของสารานุกรมออนไลน์ภาษาไทย โดยมีการแปลบทความภาษาอังกฤษจากสารานุกรมวิกิพีเดียเป็นภาษาไทยด้วยระบบ คอมพิวเตอร์ และนับว่าเป็นครั้งแรกของโลก โดยถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญที่จะสามารถช่วยลดช่องว่าง สร้างโอกาสของการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ พร้อมเปิดพรมแดนความรู้ให้กับเด็กไทยทั่วประเทศ


เปิดพรมแดนความรู้ ลดช่องว่าง สร้างโอกาสทางดิจิตอล
เมื่อวันที่ 8 ม.ค ที่ผ่านมา นับว่าเป็นความโชคดีของเด็กไทย เพราะ นอกจากจะเป็นวันเด็กแห่งชาติแล้ว วันนี้ยังเป็นวันที่เด็กไทยทุกคนมีสารานุกรมภาษาไทยใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งสารานุกรมฉบับนี้ถือได้ว่าเป็นของขวัญวันเด็กที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศมอบให้เด็กไทยทั่วประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการเปิดพรมแดนความรู้ ลดช่องว่าง สร้างโอกาสทางดิจิตอลให้เกิดขึ้นกับเด็กไทย

นากยกรัฐมนตี เปิดเผยว่า แม้ปัจจุบันคนส่วนหนึ่งของสังคมไทยจะมีความพร้อม สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ และใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการเรียนรู้ การสื่อสารเชิงพาณิชย์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าขณะเดียวกันสมาชิกของสังคมส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีโอกาสได้ใช้ เทคโนโลยีเหล่านี้ ซึ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการเรียนรู้เกิดขึ้น รวมถึงการพัฒนาด้านต่างๆ จากการสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบมา มีเพียง 9.5 ครัวเรือนจาก 100 ครัวเรือนของประเทศเท่านั้นที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เนื่องจาก อัตราค่าบริการสูง เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ครอบครัวของแต่ละครัวเรือน และรวมไปถึงการให้บริการด้านสัญญาณยังไม่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่
“รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะลดช่องว่างทางดิจิตอลในสังคม เพราะ การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ จะเป็นประโยชน์สูงสุดด้านการศึกษาสำหรับเด็ก อีกทั้งเป็นการเปิดพรมแดนใหม่ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งว่าเป็นปรัญาการศึกษายุคใหม่ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีผู้ เรียนเป็นศูนย์กลางตลอดจนการเรียนรู้ตลอดชีวิต”

สารานุกรมออนไลน์ แหล่งคลังสมองของเด็กไทย

ในงาน"เปิดพรมแดนความรู้ ลดช่องว่าง สร้างโอกาสทางดิจิตอล"ของขวัญวันเด็ก 2554 เพื่อเด็กไทยทั่วประเทศ ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อวันที่ 7 ม.ค. ที่ผ่านมา กระทรวงไอซีที และกสท.ผู้ให้การสนับสนุนโครงการ “สารานุกรมออนไลน์ภาษาไทย” ในการแปลบทความจากวิกิพีเดีย คลังความรู้ออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจำนวน 3.5ล้านบทความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแปลภาษาที่เรียกว่า Statistical Machine Translation ซึ่งเป็นผลงานของนักพัฒนาซอฟแวร์และนักภาษาศาสตร์ชาวไทย และเป็นการช่วยขยายการเข้าถึงเนื้อหาสารานุกรมวิกิพีเดียในภาษาไทย จากเดิมที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทยอยู่บ้างเพียง 63,000 บทความหรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของบทความภาษาอังกฤษเท่านั้น

จุติ ไกรกฤษ์ รัฐมนตรีว่ากรากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ระบุว่า โครงการสารานุกรมออนไลน์ภาษาไทยเป็นโครงการต่อยอดจากโครงการถนนไร้สาย Wi-Fi ซึ่งตนหวังว่าโครงนี้จะเป็นคลังอาหารสมองสำหรับเด็กและเยาวชนไทยทุกคน

“สารานุกรมไทยจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากที่เคยมี 10% เพียง 3 ล้าน ซึ่งนอกนั้นกว่า 90% เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ต่อไปนี้ภาษาไทยจะมีเพิ่มขึ้นหลังจากที่เปิดตัวไปแล้วจะมีหน้าเพิ่มขึ้น 3-5 ล้านหน้า และจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากที่เยอรมันเป็นอันดับ 2 ของภาษาที่มีมากที่สุดในสารานุกรมวิกิพีเดีย ต่อไปจะเป็นประเทศไทยแล้วที่กำลังขึ้นมาเป็นอันดับ 2 แทน และเราก็จะมีการเพิ่มจำนวนหน้าที่แปลเป็นภาษาไทย 30-50 ล้านหน้าเรื่อยๆ” รมต. จุติ กล่าวด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น และสีหน้าที่ยิ้มแย้มบ่งบอกถึงความภูมใจที่โครงการนี้ได้สำเร็จออกมาเป็น รูปธรรมตามที่วางแผนไว้ตั้งแต่ช่วงปี 2553
ทั้งนี้ รมว. ไอซีที ยังกล่าวต่ออีกว่าการดำเนินงานโครงการสารานุกรมออนไลน์นั้น ใช้งบประมาณการลงทุนจำนวน 10 ล้าน 7 แสนบาท ซึ่งเป็นงบด้านการตลาดของกสท เพื่อใช้ในการสนับสนุนโครงการ นอกจากนี้ ตนเองยังได้คาดการณ์ไว้ว่าภายในระยะเวลา 2 ปี สารานุกรมภาษาไทยจะต้องมีจำนวนหน้าที่เพิ่มมากขึ้นถึง 100-200 ล้านหน้า เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารสมองเพิ่มความรู้ให้กับเด็กๆทุกคน

ภายในวันงานเปิดตัวสารานุกรมออนไลน์ภาษาไทย ผู้สื่อข่าว เทเลคอม เจอร์นัล มีโอกาสสัมภาษณ์ ตัวแทนเด็ก จาก 1 ใน 100 คน ที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ วนิดา เนืองจำนงค์ หรือน้องคิว (นามสมมติ) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงรียนอนุบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี กล่าวว่า
“ดีใจมากที่ได้มาเป็นตัวแทนเด็กครั้งนี้ ตอนนี้มีสารานุกรมออนไลน์ใช้แล้วรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากๆ เพราะจะได้นำมาใช้สืบค้นข้อมูลไว้ทำรายงาน”

อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์แหล่งข่าวที่เป็นเด็กและเยาวชนครั้งนี้ คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตนั้นแท้ที่จริงแล้วมีความยากง่ายในการเข้าถึงที่ แตกต่างกัน ปัจจัยที่สำคัญยิ่งของการสานต่อโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติครั้งนี้ น่าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าการเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ที่ไร้พรมแดนให้กับ เด็กทั่วประเทศให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการ เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด.

.. หวังว่าท่านผู้ใหญ่ใจดีแห่งวงการโทรคมนาคมทุกท่านคงจะหาข้อสรุปของการยืนซอง ประมูลสัมปทานระบบ 3G ได้ในเร็ววัน เพื่อที่จะได้ช่วยกันพัฒนาความทันสมัยของระบบอินเทอร์เน็ตให้สามารถครอบคลุม ทั่วทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง ทั่วไทย ได้โดยเร็วที่สุด
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #56 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2011, 00:43:10 »

อภิสิทธิ์ จี้ไอซีทีแก้สัญญามือถือ


นายกฯ หวั่นถูกครหาเลือกปฏิบัติ แก้ปัญหาสัมปทานโทรคมนาคม สั่ง”จุติ” พิจารณาให้รอบคอบ เป็นธรรม

นายกฯ หวั่นถูกครหาเลือกปฏิบัติ แก้ปัญหาสัมปทานโทรคมนาคม สั่ง”จุติ” พิจารณาให้รอบคอบ เกิดความเป็นธรรม สรุปผลการแก้สัญญา"เอไอเอส-ดีเทค-ทรูมูฟ" ให้ ครม.พิจารณาพร้อมกัน ยอมรับเทมาเส็กส่ง "สิงเทล" เข้าพบ แต่ยังไม่สรุปว่าจะให้พบหรือไม่ ด้านบอร์ดทีโอทีเร่งสะสางคดีคู่สัญญา หลังจากพบข้อพิพาทค่าเอซีหมดอายุความเดือนก.พ. นี้ ยอดรวม กสท ดีแทค ทรูมูฟ ดีพีซีหยุดจ่ายค่าเชื่อมต่อเลขหมายร่วม 5 หมื่นล้านบาท ทำ ทีโอที สูญรายได้ปีละ 1.5 หมื่นล้านบาท พร้อมตั้งอนุญาโตตุลาการไกล่เกลี่ย

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่บริษัท สิงเทล สเตรททิจิก อินเวสท์เม้นท์ ซึ่งถือหุ้น 19% ในบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เวอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส และเป็นเครือข่ายเดียวกับเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ถือหุ้นใหญ่เอไอเอส จะขอเข้าพบในสัปดาห์หน้า โดยยอมรับว่ามีคนแจ้งให้ทราบว่าสิงเทลจะขอเข้าพบ แต่ยังไม่มีรายละเอียด และยังไม่ทราบว่าจะเข้าพบเพื่อหารือในประเด็นใด

ทั้งนี้ บริษัท สิงเทล ขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี ในช่วงเวลาเดียวกับที่คณะกรรมการมาตรา 22 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) มีมติเสียงส่วนใหญ่เสนอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กลับไปจัดเก็บส่วนแบ่งรายได้สัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเอไอเอส ในอัตรา 30-35% ตามสัญญาสัมปทานเดิม พร้อมกับให้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอไอเอส ประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาท

สั่ง'จุติ'เสนอทุกกรณีเข้าครม.พร้อมกัน
นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมาได้สั่งการให้นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที รวบรวมผลการพิจารณาของคณะกรรมการตามมาตรา 13 และ มาตรา 22 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาสัมปทานที่ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอน ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาพร้อมกันในคราวเดียว เพื่อจะได้เห็นความชัดเจนของตัวระบบ และความชัดเจนว่าจะเป็นธรรม เพื่อให้ไม่มีข้อครหาว่าปฏิบัติไม่เหมือนกันในแต่ละกรณี จะได้ไม่มีข้อครหาว่ากรณีหนึ่งปฏิบัติแบบหนึ่งหรือไม่

“การดำเนินการตามมาตรา 13 และ มาตรา 22 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ในทุกกรณี ไอซีทีกำลังรวบรวมและต้องเสนอคณะรัฐมนตรี ผมก็บอกว่าถ้าสามารถทำได้พร้อมกันทุกกรณีได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพื่อจะได้เห็นความชัดเจนของตัวระบบและความชัดเจนว่าจะเป็นธรรม เพื่อให้ไม่มีข้อครหาว่าปฏิบัติไม่เหมือนกันในแต่ละกรณี และขอให้ดูอย่างระมัดระวังว่าไม่มีกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติไม่เหมือนกัน ในแต่ละกรณี” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงกรณีที่นายจอร์จ เยียว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์เดินทางเข้าพบเมื่อวานนี้ (20 ม.ค.) นั้น ไม่มีการพูดถึงเรื่องของสิงเทลแต่อย่างใด และเชื่อว่าการดำเนินการของรัฐบาลเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาสัมปทานที่ไม่ถูก ต้อง จะไม่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะการดำเนินการทั้งหมดเป็นเรื่องข้อกฎหมายของไทย ซึ่งคนที่มาลงทุนทำธุรกิจต้องเคารพกฎหมายของไทย

ส่วนกรณีที่ผลการพิจารณาของคณะกรรมการตามมาตรา 22 กรณีบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และ บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีความแตกต่างจากข้อเสนอของเอไอเอส เพราะคณะกรรมการตามมาตรา 22 ไม่ได้เสนอให้มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับดีแทคและทรูมูฟ แต่กลับเสนอให้มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับเอไอเอส นายกฯ ระบุว่า ตนถึงบอกว่าทุกกรณีควรจะต้องมาพร้อมกัน เนื่องจากคู่สัญญาเป็นคนคู่สัญญา จึงมักจะเกิดปัญหา เพราะฉะนั้นจึงได้บอกนายจุติ ไปว่าในเรื่องที่จะมีการเสนอ ครม.ขอให้มาพร้อมกันทั้งระบบ

สั่งให้ระวังประเด็นเลือกปฏิบัติ
เมื่อถามถึงจุดยืนของรัฐบาลในการแก้ปัญหาการแก้ไขสัมปทานโทรคมนาคม ที่ไม่ถูกต้องจะยึดตามข้อเสนอของคณะกรรมการตามมาตรา 22 หรือไม่ นายกฯ ระบุว่า นายจุติ ยืนยันมาว่าเร่งดำเนินการเต็มที่

ทั้งนี้ หลักของรัฐบาลคือต้องเป็นไปตามกลไกที่มีอยู่ตามกฎหมายว่าเขาเสนอมาอย่างไร และได้ย้ำว่าขอให้ดูอย่างระมัดระวังว่าไม่มีกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติไม่ เหมือนกันในแต่ละกรณี

นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตัวแทนบริษัทสิงเทล ขอเข้าพบจริง แต่กรอบการนัดหมายยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากเป็นวาระงานใหม่ ประกอบกับนายกฯมีกำหนดการต้องเดินทางเข้าร่วมประชุมเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ที่เมือง ดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ จึงต้องดูกำหนดการที่ชัดเจนอีกครั้งว่านายกฯ จะมีเวลาว่างให้สิงเทลเข้าพบหรือไม่

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า บริษัทสิงเทลมาพบจริง ซึ่งก็ได้ให้ไปหารือในประเด็นข้อกฎหมายกับไอซีที อย่างไรก็ตามได้ยืนยันไปว่า การแก้สัญญาของสัมปทานโทรศัพท์มือจะยึดผลประโยชน์ของประเทศ และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

"จุติ" ยันสิงเทลพบแค่สวัสดีปีใหม่
นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ยอมรับว่า ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท สิงเทล เข้าพบตนจริง ช่วงก่อนปีใหม่ที่ผ่านมา ทั้งนี้โดยเป็นการเข้ามาสวัสดีปีใหม่เท่านั้น ไม่ได้มีการพูดคุยถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่อย่างใด

"เขามาพบเพื่อสวัสดีปีใหม่ และมอบของขวัญให้ผมเท่านั้น และการพบกันก็เกิดขึ้นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับสัมปทานเลย ผมเองก็ไม่ได้เปิดโอกาสให้เขาพูดด้วย ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเวลาผ่านมาตั้ง 3 อาทิตย์แล้ว ทำไมถึงได้มีกระแสข่าวนี้ออกมา"

กสท-ทีโอทีส่งแนวแก้สัมปทานแล้ว
นายจุติ กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการผลสรุปแนวทางการแก้ไขสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งคู่สัญญากับบมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม คณะกรรมการมาตรา 22 ว่า พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ได้นำส่งให้ตนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะที่อยู่ระหว่างรอผลสรุปของคณะทำงานคู่ขนานของกระทรวงไอซีที ที่ได้มอบหมายให้กลับไปทบทวนรายงานใหม่

อย่างไรก็ตาม การจะนำเสนอต่อ ครม.เพื่อพิจารณาต่อไปนั้น ตนยังไม่สามารถกำหนดวันที่จะนำเสนอได้ชัดเจน โดยหากนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ส่งผลสรุปพร้อมกันทั้งหมด ก็ยินดีปฏิบัติตาม

ชี้ กสท โยนหินถามทางประเด็นทรู ฮัทช์
แหล่งข่าวโทรคมนาคมไทย กล่าวถึงประเด็นที่นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ออกมาบอกว่าบอร์ด กสท ได้มีการอนุมัติเรื่องแผนธุรกิจมือถือ 3จี ร่วมกับทรู บนคลื่นความเดิม 850 เมกะเฮิรตซ์เดิม (เอชเอสพีเอ) โดยเป็นลักษณะแลกกันเข้าไปเช่าอุปกรณ์ระหว่างกัน อายุสัญญา 14 ปี ว่า เป็นเรื่องของการโยนหินถามทางมากกว่า เพราะประเด็นนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ เพราะยังมีปัญหาในข้อกฎหมายที่ยังไม่ชัดเจน

"ท้ายที่สุด ดีลนี้ยังไงก็เกิด แต่เพราะกฎหมายยังไม่เป็นที่เปิดเผยชัดเจน ก็เลยต้องมีการโยนหินถามทาง แม้กระทั่งบอร์ด กสท เอง ก็ทำเช่นนี้ เพราะดีลนี้มีแรงเสียดทานเยอะ ที่สำคัญทรูเองสามารถคุมรัฐบาลนี้ได้ จะพลิกให้ดีลสีเทา เป็นขาวก็อาจไม่ยาก ขณะที่สัญญาที่ กสท จะเขียนขึ้นมาให้ทรู 14 ปี ยังไงก็ต้องผ่านความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี หรือกระทรวงไอซีทีอยู่แล้ว แต่เขาก็พยายามที่จะเลี่ยง"

อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวก่อนหน้านี้ว่า ผลในที่ประชุมบอร์ด กสท ล่าสุดที่ผ่านมา บอร์ดอนุมัติในกรอบการทำงานเบื้องต้นระหว่าง กสท กับ ทรู เท่านั้น โดยรายละเอียดทั้งในเรื่องของสัญญา 14 ปี และการเช่าใช้โครงข่ายร่วมกันนั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ภาพรวมของอุตฯ โทรคมไทย ขณะนี้เหมือนเป็นการพายเรืออยู่ในอ่าง ยกตัวอย่างกรณีสิงเทล หรือ เทมาเส็ก ที่จะเข้าพบผู้บริหารในประเด็นเรื่องการแก้สัญญาสัมปทาน ก็เป็นเรื่องที่ถูกดึงขึ้นมาอีกรอบหนึ่ง และจากนี้ก็คงจะมีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นอีก อยู่ที่ภาครัฐจะเข้ามาดูแล หรือกำกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้มีความชัดเจนมากแค่ไหน

ทีโอทีตั้งอนุญาโตฯเคลียร์หนี้เอซี
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อวานนี้ มีการหารือเกี่ยวกับคดีฟ้องร้องระหว่างทีโอทีกับผู้ประกอบการเอกชนกว่า 10 คดี โดยประเด็นอยู่ที่คดีที่ผู้ประกอบการเอกชนภายใต้สัญญาสัมปทานของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ประกอบด้วยดีแทค ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หยุดจ่ายค่าเชื่อมต่อเลขหมาย (แอ็คเซ็สชาร์จ หรือ เอซี) จำนวน 200 บาทต่อเลขหมาย ตั้งแต่เดือน 18 พ.ย. 2549 เป็นเหตุให้ทีโอทีสูญเสียรายได้ปีละ 1.5 หมื่นล้านบาท รวมจนถึงขณะนี้เป็นมูลค่า 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งคดีดังกล่าวจะหมดอายุความในเดือนก.พ. นี้แล้ว

ทั้งนี้สาเหตุที่ผู้ประกอบการไม่จ่ายค่าเอซีให้แก่ทีโอที เนื่องจากจะขอจ่ายเป็นค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (อินเตอร์คอนเน็คชั่น ชาร์จ หรือ ไอซี) แทน ตามประกาศของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ตามประกาศใช้ค่าไอซีในอัตรา 1.07 บาทต่อเลขหมาย

นอกจากนี้ยังให้เหตุผลว่า การจ่ายทั้งค่าเอซีและค่าไอซีทำให้บริษัทมีรายจ่ายเพิ่มเป็นสองเท่า ซึ่งถือว่าไม่ยุติธรรมเพราะผู้ประกอบการบางรายที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานของ ทีโอทีไม่ต้องจ่ายค่าเอซี

"มีการหารือเรื่องคดีที่ค้างอยู่กว่า 10 คดีว่าเราจะเดินหน้าต่อไปซึ่งประเด็นค่าเอซีทีโอทีได้ตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ มาดำเนินการแล้ว โดยขั้นตอนเบื้องต้นก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามระบบ แต่ในความเห็นของบอร์ดทีโอทีลงมติว่า ทีโอที กับ กสท ควรเคลียร์ปัญหากันภายในก่อนไม่ควรมีคดีฟ้องร้องต่อกัน เพราะก็ถือเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน" นายอารีพงศ์ กล่าว

ยอดจากดีแทค 9.4 พันล้าน
รายงานแจ้งว่า การหยุดจ่ายค่าเอซีถือว่าส่งผลต่อผลประกอบการของทีโอทีในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา โดยทำให้ทีโอทีสูญเสียรายได้ปีละ 1.5 หมื่นล้านบาทดังกล่าว แบ่งเป็นจากดีแทคมูลค่า 9.4 พันล้านบาท ทรู 3.8 พันล้านบาท กสท 900 ล้านบาท และ ดีพีซี 400 ล้านบาท

ส่วนกรณีที่ เอไอเอส มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานแนบท้ายครั้งที่ 6 และ 7 ประเด็นเกี่ยวกับการลดส่วนแบ่งรายได้ระบบเติมเงิน (พรีเพด) การจ่ายโรมมิ่งนั้น มีการเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาโดยตรง ทีโอทีจึงให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการมาตรา 22 กับ ไอซีที ซึ่งจะมีการนำผลสรุปมูลค่าความเสียหายเข้าเสนอต่อที่ประชุม ครม. ก็แล้วแต่ดุลยพินิจของนายจุติ

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่มีความเสียหายและส่งผลต่อทีโอทีโดยตรงคือ การแปลงรายได้จากค่าสัมปทานกิจการโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิต มูลค่าน่าจะอยู่ที่ 3.1 หมื่นล้านบาท โดยยึดหลักตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งทีโอทีกำลังอยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารต่างเพื่อส่งให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้พิจารณาก่อนที่จะเสนอเข้าครม.ว่าจะมีกรอบการดำเนินการอย่างไรให้แก่ ทีโอทีต่อไป

เปิดอีริคสันอุทธรณ์ภายใน3วัน
นายนพณัฏฐ์ หุตะเจริญ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า ในส่วนของการประมูลจัดสร้างเครือข่าย 3จีนั้น ขณะนี้ทีโอทียังไม่สรุปผลผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติทางการตลาด และเทคนิค อย่างเป็นทางการ เพียงแต่มีการรายงานผลภายในของคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง และส่งหนังสือชี้แจงไปยังผู้ประกอบการบางราย ที่ขาดเอกสารสำคัญเท่านั้น โดยขณะนี้ ยังถือได้ว่า กระบวนการคัดเลือกผู้ผ่านคุณสมบัติยังไม่เป็นที่สิ้นสุด เอกชนทุกรายยังมีสิทธิ์อุทธรณ์เพื่อยื่นเอกสารให้ครบถ้วนภายใน 3 วันตามที่กำหนด

ทั้งนี้ทีโอทีจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคัดเลือก และผู้ไม่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกภายในสัปดาห์หน้าอย่างเป็นทางการ โดยขั้นตอนทุกอย่างจะแล้วเสร็จก่อนวันเปิดประมูลอีออคชั่น ในวันที่ 28 ม.ค. นี้ อย่างไรก็ตาม การประกาศผู้ผ่านคัดเลือกยอมรับว่า เลื่อนจากกำหนดเดิมในวันที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมา

รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้ประกอบการที่เข้ายื่นซองประมูล 3จีของทีโอที มูลค่า 17,440 ล้านบาท มี 4 ราย ได้แก่ เอยู คอนซอร์เตียม เอสแอล คอนซอร์เตียม กิจการร่วมค้าอีริคสัน และ กิจการร่วมค้าแซดทีอี โดยมีเพียง 2 รายแรกที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือก ส่วนกิจการร่วมค้า 2 รายที่เหลือไม่ผ่านเกณฑ์ โดยกิจการร่วมค้าอีริคสันได้รับหนังสือทีโอที ว่า ไม่ผ่านคุณสมบัติจากการที่บริษัทไม่มีแค็ตตาล็อกอุปกรณ์เกี่ยวกับสายอากาศ (แอนเทนน่า)
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #57 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2011, 00:44:20 »

กรุ่นไอศึก 3G


นาทีนี้เรียกว่ายอมกันไม่ได้สำหรับค่ายมือถือ หลังแนวโน้มการประมูลไลเซ่นส์ 3G ความถี่มาตรฐาน 2.1 GHz ถูกแช่แข็งอีกเป็นปีกว่าจะเห็นเป็นรูปเป็นร่างตามกระบวนการสรรหากสทช.ชุด ใหม่
       
       ทางออกของ 3 ค่ายมือถือ หนีไม่พ้นการอัปเกรดโครงข่ายเดิม ความถี่เดิมให้กลายเป็น 3G แก้ขัดเฉพาะหน้าไปก่อน เพื่อหลุดบ่วงสัญญาสัมปทานที่นับวันจะเหลืออายุน้อยลงทุกที อย่างทรูมูฟก็เดินทางลัดด้วยการซื้อฮัทช์เพื่อให้ได้ความถี่ 850 MHz ต่อยอดพัฒนาเปลี่ยนเทคโนโลยีจากซีดีเอ็มเอเป็น 3G HSPA พร้อมขยายอายุสัญญาออกไปอีก 14 ปี ซึ่งรายละเอียดยังคุยกันไม่จบ
       
       ส่วนที่จบแล้วและกำลังเริ่มต้นคือดีแทค ที่ออกตัวแรงตั้งแต่ต้นปี เมื่อประกาศขอขึ้นเป็นผู้นำในตลาด "ดาต้าหรือการสื่อสารข้อมูล" บนมือถือให้ได้ภายใน 2 ปี
       
       "ปีนี้ ตลาดโมบายอินเทอร์เน็ตจะเป็นปัจจัยสำคัญในตลาดโทรคมนาคมไทย ซึ่งดีแทคจะโฟกัสการทำตลาดโมบายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เพื่อให้ส่วนแบ่งการตลาดและรายได้จากการใช้งานดาต้ามากขึ้น ทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค ประกาศแนวรบใหม่ที่มั่นอกมั่นใจว่าจะไม่เป็นรองใครอีกต่อไป ในงานเปิดตัวซิมการ์ดดาต้ารุ่นใหม่ที่เขาใหญ่
       
       เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ สิ่งแรกที่ "ดีแทค" ลงมือทำก็คือ การเปลี่ยนเน็ตเวิร์กเก่าที่มีอยู่ปัจจุบัน 10,359 สถานีฐานทั่วประเทศ เป็นเน็ตเวิร์กใหม่ทั้งหมด ถึงแม้จะยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลขของการลงทุนในการเปลี่ยนเน็ตเวิร์กใหม่ ครั้งนี้ แต่เชื่อว่า จะต้องใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 4,000-5,000 ล้านบาท ถึงแม้ดีแทคจะบอกว่า เป็นโครงการที่ราคาไม่แพงก็ตาม
       
       "โปรเจ็กต์นี้ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าของดีแทค การเปลี่ยนเน็ตเวิร์กของดีแทคทั้งหมดทั่วประเทศในครั้งนี้จะทำให้ดีแทคเป็น ผู้นำด้านคุณภาพการให้บริการและความคุ้มค่าและเกิดความคล่องตัวในการยกระดับ การให้บริการเมื่อถึงยุคที่เทคโนโลยีปรับเปลี่ยนอีกครั้งในอนาคต เชื่อว่า โครงการนี้นับเป็นโปรเจ็กต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเท่าที่เทเลนอร์ กรุ๊ปเคยมีมา"
       
       ซีอีโอของดีแทคให้เหตุผลของการลงทุนครั้งนี้ว่า หนึ่ง ต้องการให้บริการโมบายอินเทอร์เน็ตมีประสิทธิภาพมากขึ้น สอง ต้องการให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การใช้เน็ตเวิร์กที่ดีขึ้น สามารถใช้งานโทร.และดาต้าที่มีคุณภาพดีขึ้น ความเร็วดีขึ้น และมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นด้วย สาม ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ เช่น ช่วยลดพื้นที่การใช้อาคารและประหยัดพลังงานได้มากกว่า 50% จากของเดิมที่เคยใช้ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นกรีน เทคโนโลยีนั่นเอง และสี่ เป็นเน็ตเวิร์กที่พร้อมอัปเกรดเป็น 3G
       
       ดูเหมือนเป็นความบังเอิญที่ทำ ให้โปรเจ็กต์สมบูรณ์แบบขึ้น เมื่อดีแทคได้รับอนุมัติจากบอร์ด บริษัท กสท โทรคมนาคม ให้ปรับปรุงโครงข่ายเดิมโดยใช้เทคโนโลยี High Speed Data Packet Access (HSPA) เพื่อทดลองให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHzแบบไม่เชิงพาณิชย์ จำนวน 1,220 สถานีฐาน จากเดิมที่มีการทดลองให้บริการอยู่แล้ว 36 สถานีฐาน
       
       "การที่ดีแทคมี 3G ทำให้ดีแทคมีอาวุธสำคัญที่จะสู้กับคู่แข่งในตลาดได้ดีขึ้น รวมไปถึงคุณภาพการให้บริการโดยเฉพาะในตัวเมืองใหญ่อย่างในกรุงเทพฯ จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด"
       
       ประเทศ ตันกุรานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิศวกรรม ดีแทค กล่าวว่า การเปลี่ยนเน็ตเวิร์กใหม่ของดีแทคจะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป ในอันดับแรกจะทยอยเปลี่ยนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงหัวเมืองใหญ่ของภาคต่างๆ ก่อน โดยมีเป้าหมายให้สำเร็จ 50% ของเซลไซต์ทั้งหมดภายในปลายปี 2554 และเสร็จสมบูรณ์ในปี 2555 ซึ่งตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไปลูกค้าที่อยู่ในเขตดังกล่าวจะสามารถใช้งาน โทร. และดาต้าที่มีคุณภาพมากขึ้น มีเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วถึงมากขึ้น
       
       สำหรับลูกค้าที่ใช้งานสมาร์ทโฟนต่าง ๆ ก็จะใช้งานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วย นอกจากนี้ทรานสปอร์ตเทคโนโลยีที่เลือกยังเป็นเทคโนโลยีที่รองรับ 3G โดยเฉพาะด้วย
       
       "ดีแทคมีการคุยกับอิริคสันเรื่องการเปลี่ยนเน็ตเวิร์กตั้งแต่กลางปี ที่แล้ว ซึ่งข้อเสนอที่ดีแทคได้รับถือว่า คุ้มค่ามากสำหรับอายุสัมปทานที่เหลือ 8 ปี"
       
       ปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์ ดีแทค กล่าวถึงกลยุทธ์สำคัญ หลังจากดีแทคมีเน็ตเวิร์กใหม่ว่า ปี นี้ดีแทคตั้งเป้าจะผลักดันให้โมบายอินเทอร์เน็ตมีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้น โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ รวมถึงการเปิดตัวโครงการแนะนำสินค้าต่างๆ ปัจจุบัน ดีแทคครองส่วนแบ่งการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ 35% มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนบนเครือข่ายของดีแทคทั้งหมด 11 ล้านเครื่อง จากต้นปี 2553 มีการใช้งาน 8.9 ล้านเครื่อง และมีการใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ 65 นาทีต่อวัน ขณะที่การใช้งานโทรศัพท์คุยกันเฉลี่ยอยู่ที่ 10 นาทีเท่านั้น
       
       รวมทั้งยังมีลูกค้ากว่า 75% จากทั้งหมด 20-21 ล้านรายที่ยังไม่ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ ถือเป็นโอกาสใหญ่มากของดีแทค ประกอบกับปีนี้มือถือทัชสกรีน สมาร์ทโฟนมีราคาถูกลง ใช้ง่ายขึ้น คาดว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญให้คนใช้โมบายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
       
       "ปีที่แล้ว การใช้งานดาต้าบนเน็ตเวิร์กของดีแทคเพิ่มขึ้นมาก ทำให้เครือข่ายเก่าไม่สามารถรองรับปริมาณการใช้งานได้ทันจึงนำไปสู่การ เปลี่ยนเครือข่ายใหม่ทั้งหมด เพื่อรองรับการเติบโต ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่รู้สึกว่าเราสามารถเหนือคู่แข่งได้ โดยตั้งเป้าปีนี้จะมีลูกค้าดีแทคใช้โมบายอินเทอร์เน็ต เพิ่มเป็น 6 ล้านราย จากที่มีอยู่ 4 ล้านราย"
       
       ปกรณ์ กล่าวอีกว่า ดีแทคจะทำ โมบายอินเตอร์เน็ตให้เป็นแมส โดยจะเห็นแพกเกจด้านดาต้าทอยอยออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีวิธีคิดค่าบริการที่เป็นเมกะไบต์ และคิดเป็นนาที จะเห็นแพกเกจที่เป็นการเจาะกลุ่มผู้ใช้ในแต่ละเซกเมนต์มากขึ้น ทำให้ง่ายทั้งลูกค้าและร้านค้าที่ขายซิมของดีแทคด้วย
       
       การปรับกลยุทธ์ในครั้งนี้ของดีแทค มองได้ว่า เป็นการช่วงชิงความได้เปรียบทางด้านเทคโนโลยีครั้งสำคัญ เป็นการอุดจุดอ่อนทางด้านเน็ตเวิร์กที่เคยถูกนำมาใช้เป็นจุดขายของคู่แข่ง อย่างเอไอเอส และทรูมูฟมาโดยตลอด
       
       เน็ตเวิร์กใหม่นี้นอกจากจะสามารถอัปเกรดเป็น 3G ได้ทันทีแล้ว ยังสามารถให้บริการเอดจ์ พลัส เหมือนกับที่เอไอเอสกำลังดำเนินการปรับเน็ตเวิร์กอยู่ในขณะนี้ด้วย
       
       นับจากนี้ต่อไป แนวรบของค่ายมือถือ คงหนีไม่พ้นการทุ่มสรรพกำลังเพื่ออัปเกรดโครงข่ายให้มีความสามารถในการสื่อ สารข้อมูลความเร็วสูงหรือมุ่งไปที่ 3G HSPA ซึ่งดูเหมือนโอกาสกำลังเข้าทางทรูมูฟและดีแทค ในขณะที่พี่เบิ้มในวงการอย่างเอไอเอส ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากกว่าเพื่อน เพราะถูกปมแก้สัญญารัดคออยู่ในขณะนี้

 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #58 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2011, 00:45:24 »

ไอซีทีลุยบรอดแบนด์ ลงทุนโครงข่ายร่วม ช่วยคนไทยเข้าถึง



ไอซีที ถกนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ อิงแผนแคนาดาไม่หวั่นปัญหาสัมปทาน ตั้งเป้าปี 56 เข้าถึงทุกอำเภอก่อนเจาะทุกตำบลในปี 58 เผยหากไทยใช้บรอดแบนด์มากกว่า 1 แสนคน จีดีพีเพิ่มขึ้น 1%คิดเป็นมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท โอดไทยเข้าถึงบรอดแบนด์ไม่ถึง 5%...

เมื่อวันที่ 21 ม.ค. นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ  ว่า การสัมมนาครั้งนี้ เป็นการประชุมหารือ เพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นรูปธรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม และผลักดันแผนยุทธศาสตร์บรอดแบนด์แห่งชาติให้เกิดขึ้น หลังจากนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2553 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการริเริ่มจากกระทรวงไอซีที และมีอีก 4 กระทรวง นำร่อง ได้แก่ กระทรวงการคลังกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตร และสหกรณ์  โดยมีกรณีศึกษาเรื่อง อี-เอดดูเคชั่น–เฮลล์-กัฟเวิลเมนท์ โดยนายแอนดรู ทอมป์สัน อดีตรัฐมนตรีประเทศแคนนาดา มาให้ความรู้เรื่องดังกล่าวด้วย

ปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวต่อว่า หากเปรียบเทียบกับประเทศแคนาดาแล้ว ประเทศไทยน่าจะดำเนินการบรอดแบนด์ได้เร็วกว่า เนื่องจากประชากรแคนาดามีจำนวนน้อยกว่า และการลงทุนสูงกว่าประเทศไทย อีกทั้ง ระบบการปกครองที่ต้องอาศัยงบประมาณจากภาครัฐด้วย นอกจากนี้ ยังมองว่า ปัญหาสัมปทานในประเทศไทย ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และต้องให้ส่วนที่รับผิดชอบการแก้สัมปทานดำเนินการต่อไป พร้อมกับส่วนที่ดำเนินการบรอดแบนด์ เพราะถ้าแก้ไขเสร็จก็จะมาต่อยอดกับโครงการบรอดแบนด์ได้   


นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม


ขณะเดียวกัน ก็เป็นการบูรณาการให้ใช้งานโครงข่ายร่วมกัน จากเดิมที่ทั้งภาครัฐ และบริษัทเอกชนเคยแยกกันดำเนินการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และลดการลงทุนซ้ำซ้อน โดยแผนยุทธศาสตร์ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จมี 3 ประเด็น คือ 1.ข้อตกลงสำหรับแผนโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน ฐานรากของบรอดแบนด์ซึ่งแต่ละกระทรวงสามารถนำไปใช้เพื่อให้บรรลุนโยบาย 2.โครงการประเภท ควิกวิน (quick-win) ของแต่ละกระทรวง รวมถึงงบประมาณ และเวลาที่ชัดเจน โดยโครงการเหล่านี้จะช่วยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมของบรอดแบนด์ แห่งชาติ และ3.การจัดตั้งทีมงานระหว่างกระทรวงเพื่อศึกษาวิธีการที่จะใช้บรอดแบนด์ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของบรัฐบาลในการให้บริการ และติดต่อกับประชาชน เพื่อความสงบสุขและความเจริญของประเทศในอนาคต

ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 (ปี 2552-2556) กระทรวงได้เร่งดำเนินการให้เข้าถึงแหล่งชุมชนในต่างจังหวัด โดยเฉพาะสถานศึกษา สถานีอนามัย และภาคการเกษตร โดยตั้งเป้าว่า ปี 2556 หรือ อีก 2 ข้างหน้า จะเข้าถึงระดับอำเภอ และปี 2558 หรือ อีก 4 ปี ข้างหน้า จะเข้าถึงระดับตำบล ทั้งด้านการศึกษาและสาธารณสุข นอกจากนี้ ยังวางแผนกระจายลงสู่สถานีอนามัย จำนวน 1.5 หมื่นแห่ง ใช้งบประมาณ 8 พันล้านบาท โดย คาดการณ์ว่า ราคาไม่น่าจะสูงหรือต่ำกว่า โครงการถนนไร้สาย ของกระทรวงไอซีที ที่ความเร็ว 2 เมกะบิต/วินาที ราคา 199 บาท

นางจี ราวรรณ กล่าวอีกว่า เมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ ได้ศึกษางานวิจัย ในประเทศกำลังพัฒนา พบว่า หากบรอดแบนด์เพิ่มขึ้น 10% จะมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี ของกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นเกือบ 1% และผลผลิตเพิ่มขึ้น 0.8% หมายความว่า หากมีจำนวนสมาชิกบรอดแบนด์รายใหม่เกิดขึ้นในประเทศไทยมากกว่า 1 แสนคน จะทำให้ จีดีพี ของประเทศเพิ่มขึ้น 1%หรือคิดเป็นมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ ปัจจุบันประเทศไทยเข้าถึงบรอดแบนด์ยังไม่ถึง 5% ของประชากรทั้งประเทศ


นายแอนดรู ทอมป์สัน


ด้าน นายแอนดรู ทอมป์สัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกระทรวงเทคโนโลยี รัฐซัสแอคตเอชวัน ประเทศแคนาดา กล่าวว่า การขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์ ในรัฐซัสแอคตเอชวัน ตั้งแต่ ปี 2541 – 2547 สามารถทำได้ครอบคลุม 90% จากจำนวนประชากรในพื้นที่ โดยที่ผ่านมา มีการลงทุนค่อนข้างสูงสำหรับการขยายบริการดังกล่าว ใช้งบประมาณ 217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากรัฐซัสแอคตเอชวันมีปัญหาพื้นที่ใหญ่ ประประชากรกระจายนอกเมืองถึง 60% มีอัตราความหนาแน่เพียง 1.6 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยล่าสุดเมื่อปีที่ผ่านมารัฐบาลและเอกชนในรัฐนี้ได้ประกาศลงทุนเพิ่มอีก 126 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ทั้งนี้ มองว่าการขยายบรอดแบนด์นั้น เอกชนมีส่วนสำคัญในการเข้ามาช่วยลงทุนโครงข่าย ซึ่งจะทำให้ภาครัฐใช้งบประมาณลงทุนเรื่องดังกล่าวน้อยลง โดยภาครัฐต้องกระตุ้นให้ประชากรเกิดการใช้งานให้มากขึ้น เพื่อทำให้เอกชน เห็นช่องทางในการเข้ามาทำตลาด และเกิดการลงทุนของภาคเอกชนต่อไป 

“รัฐ ซัสแอคตเอชวันถ้าเมืองใดมีประชากรมมากกว่า 800 คน เอกชนจะเข้าไปช่วยลงทุน โดยการลงทุนในช่วง 7 ปี ของรัฐในระยะแรกใช้งบลงทุนสร้างสถานีฐานสำหรับบรอดแบนด์ที่ใช้สาย 71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ครอบคลุม 75% ของจำนวนประชากร ต่อมาลงทุนไวร์เลส หรือ อินเทอร์เน็ตไร้สาย 55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เข้าถึงชุมชนได้ 86% จากจำนวนประชากร และได้ลงทุน 91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปิดให้บริการไวไฟ หรือ อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ครอบคลุม 90% จำนวนประชากร” อดีต รมว.กระทรวงการคลัง และกระทรวงเทคโนโลยี รัฐซัสแอคตเอชวัน ประเทศแคนาดา กล่าว
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #59 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2011, 00:46:29 »

ซิสโก้ย้ำไทยรั้งท้ายเอเชีย เข้ายุคดิจิทัล บรอดแคสติ้ง


"ซิสโก้" ชี้ผลกระทบดีเลย์ 3จี ส่งผลไทยรั้งท้ายเอเชียสู่ยุค "ดิจิทัล บรอดแคสติ้ง" คาดกระทบการเติบโตเศรษฐกิจ-แผนลงทุนบริษัทต่างชาติ

นายอนุพนธ์ เตจ๊ะวันโน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวโน้มการเปลี่ยนผ่านการเผยแพร่สัญญาณโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกเข้าสู่ดิจิ ทัลของไทยขณะนี้ถือว่าอยู่ลำดับสุดท้ายของเอเชีย เนื่องจากทุกประเทศเริ่มตื่นตัว และทดลองออกอากาศระบบดิจิทัลแล้ว ไม่เว้นแม้แต่ประเทศใกล้เคียง เช่น กัมพูชา, มาเลเซีย, ลาว และพม่า
 
ทั้ง นี้ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากการที่ประเทศไม่มีเทคโนโลยี 3จี ทำให้การใช้สื่อใหม่ (นิว มีเดีย) โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงยังต้องพึ่งพาสายโทรศัพท์พื้นฐาน
 
เขา ระบุว่า การเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกเป็นดิจิทัลจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานในแง่ของแพ ลตฟอร์มการรับสื่อ ซึ่งปัจจุบันมี 4 กลุ่มหลักคือ ดูผ่านดาวเทียม, เสาอากาศ, เคเบิล ทีวี และนิว มีเดีย เช่น อินเทอร์เน็ต ซึ่งส่วนใหญ่ 80-90% คนไทยยังใช้เสาอากาศเป็นหลัก
 
"ทางเลือกของเราตอนนี้มีแค่เอ ดีเอสแอล แต่ถ้ามี 3จีเข้ามาก็จะเป็นอีกออพชั่นที่ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงบรอดแบนด์ ซึ่งตอนนี้อัตราการใช้งานบรอดแบนด์ในไทยเฉลี่ยแล้วยังต่ำมาก หรือต่ำกว่า 3% ของจำนวนประชากรเท่านั้น" นายอนุพนธ์กล่าว
 
พร้อมเผยว่า อุปสรรคสำคัญขณะนี้คือ ขาดความชัดเจนในการผลักดันดิจิทัล ทีวีของภาครัฐในไทย โดยเฉพาะนโยบายของ กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี
 
นอก จากนี้จะทำให้ไทยกลายเป็นประเทศล้าหลังแล้ว การไม่มีระบบการออกอากาศแบบดิจิทัลยังสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ และแผนการลงทุนของบริษัทต่างชาติ เช่นกลุ่มผู้ผลิตทีวี เซ็ตที่อาจจะตัดสินใจใช้ประเทศอื่นๆ เป็นฐานผลิตแทน รวมทั้งยังส่งผลต่อธุรกิจผู้พัฒนาคอนเทนท์ และโฆษณา
 
ข้อมูล จากบริษัทสำรวจตลาดนีลสันพบว่า อัตราการเติบโตของธุรกิจนิว มีเดียในไทยเฉลี่ยราว 16% ต่อปี ขณะที่แนวโน้มการเติบโตของกลุ่มธุรกิจดาวเทียม และเคเบิล ทีวี ในเชิงจำนวนผู้ใช้งานมีสูงถึง 140%
 
ขณะเดียวกัน ความไม่ชัดเจนของนโยบายภาครัฐ ยังอาจกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีให้ยิ่งช้ามากขึ้นไปอีก เนื่องจากโดยเฉลี่ยในประเทศต่างๆ จะใช้เวลาเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกสู่ดิจิทัลราว 5-15 ปี แต่พันธสัญญาของกลุ่มเอเชีย ดิจิทัล บรอดแคสต์ กรุ๊ป ทำข้อตกลงร่วมกันว่าประเทศเอเชียจะต้องออกออกอากาศระบบดิจิทัลภายในปี 2558
 
อย่างไรก็ตามเขาระบุว่า ซิสโก้ได้ วางแผนพัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นแพลตฟอร์ม และรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารให้สามารถเผยแพร่ได้ในทุกอุปกรณ์ รวมทั้งการเข้าไปให้คำแนะนำกับภาครัฐ และประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในประเทศต่างๆ และเข้าไปช่วยเป็นที่ปรึกษาให้อุตสาหกรรมต่างๆ ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!