เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 14:29:58
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คุยเรื่องไอที - เทคโนโลยี (ผู้ดูแล: K€nGja1, chiohoh, nuifish, NOtis)
| | |-+  อัปเกรดข่าว3G ข่าวสารInternet/Wifi /โทรคมนาคม ในเมืองไทย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 [2] 3 4 5 6 7 พิมพ์
ผู้เขียน อัปเกรดข่าว3G ข่าวสารInternet/Wifi /โทรคมนาคม ในเมืองไทย  (อ่าน 15552 ครั้ง)
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #20 เมื่อ: วันที่ 23 ธันวาคม 2010, 00:30:44 »

"กทช." รับหน้าเสื่อรักษาการ "กสทช." ส่อเค้าปั่นป่วน เหตุอรหันต์ "กทช."



"กทช." รับหน้าเสื่อรักษาการ "กสทช." ส่อเค้าปั่นป่วน เหตุอรหันต์ "กทช." ตีความกฎหมายใหม่ไปคนละทางสองทาง ขณะที่พนักงานเคว้ง หลังองค์กรโดนยุบ ต้องรอปรับโครงสร้างใหม่ ด้านค่ายมือถือกระทุ้งอีกรอบ ถามหาความชัดเจนกรอบเวลา "ไลเซนส์ใหม่-แปรสัมปทาน ฟาก "เอ็มวีเอ็นโอ" มึน

หลัง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา และมีผลบังคับใช้ 20 ธ.ค.เป็นต้นไป ส่งผลให้กรรมการ กทช. พ้นสภาพ และให้ปฏิบัติหน้าที่แทนจนกว่าจะมีคณะกรรมการ กสทช.

โดยพันเอกนที ศุกลรัตน์ กรรมการ กทช. ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช.กล่าวว่า กรอบการปฏิบัติหน้าที่ยังเหมือนเดิม คือไม่สามารถออกใบอนุญาตใหม่ หรือใช้คลื่นความถี่ใหม่ได้ การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตจึงเป็นการต่อใบอนุญาตเดิม หรือให้ใบอนุญาตในกิจการที่เคยออกไปแล้ว

ด้านนายพนา ทองมีอาคม กรรมการ กทช.ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช.กล่าวว่า ระหว่างจัดตั้ง กสทช.ให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ไปก่อน โดยเฉพาะในส่วนโทรคมนาคม แต่วิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 จึงต้องกำกับดูแลผ่านอนุกรรมการเหมือนเดิมไม่สามารถทำได้โดยลำพังแต่น่าจะดีกว่าเดิม เพราะกฎหมายให้อำนาจไว้

ขณะที่โครงสร้างองค์กรเดิมถือว่ายุบไปทันทีที่ พ.ร.บ.ใหม่มีผลบังคับใช้ โดยเจ้าหน้าที่ กทช.ตั้งแต่ระดับรองเลขาธิการ ลงมาถึงระดับปฏิบัติพ้นจากตำแหน่งทั้งหมด แต่ยังมีเงินเดือน และอัตรากำลังอยู่จนกว่าจะมีการปรับโครงสร้างใหม่ รวมถึงการโอนย้ายพนักงานของกองกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ด้วย เพราะกฎหมายให้โอนพนักงานทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่ทั้งหมดมาอยู่กับกสทช. โดยกทช.เป็นผู้จัดโครงสร้างองค์กรใหม่ ชั่วคราวก่อนกสทช.ชุดแรกจะมาจัด โครงสร้างองค์กรถาวรและระหว่างนี้ต้องนำกฎระเบียบและประกาศ กทช.ไปทบทวนเพื่อแก้ไขให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ใหม่ โดยเฉพาะกองทุนบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และเพื่อสังคม (USO) ที่โอนเป็นกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ นอกจากชื่อเปลี่ยน หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินก็เปลี่ยนด้วย

3G เคว้ง-ไลเซนส์ฟีวุ่น

นายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการ กทช.ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช.แสดงความเห็นว่า แม้กทช.จะปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช.ได้ แต่ไม่สามารถประมูลความถี่ใหม่ได้ เพราะยังไม่มีแผนแม่บทจัดการคลื่นความถี่ รวมถึงการใช้คลื่นในกิจการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการใช้ และคืนคลื่น เช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมใบอนุญาต เพราะกฎหมายใหม่ระบุให้เก็บไม่เกิน 2%

ด้านนายพนากล่าวว่า กทช.ต้องทบทวน เพราะปัจจุบันเก็บรวมแล้วอยู่ที่ 2.6% ของรายได้รวมก่อนหักภาษีจึงต้องพิจารณาว่า ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตมีขอบเขตรวมถึง ค่าธรรมเนียมใดบ้าง ซึ่ง กทช.บางท่านมองว่า รวมค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ผู้รับใบอนุญาตต้องจ่าย ซึ่งอาจรวมถึงการทบทวนอัตราที่ต้องจ่ายเข้ากองทุน USO ด้วย

ขณะที่นายสุธรรมมองว่า ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ไม่รวมค่าธรรมเนียมการใช้เลขหมาย กทช.จึงเพียงปรับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีให้เหลือ 2% แต่ยังเก็บค่าธรรมเนียมอื่นได้ตามเดิม เช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเข้ากองทุน USO ที่โอเปอเรเตอร์จ่าย 4% เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของผู้จัดการกองทุนที่จะกำหนดอัตราที่เหมาะสมได้

MVNO ป่วน

นายพนากล่าวว่า มาตรา 46 ของ พ.ร.บ. กสทช.ทำให้มีการเสนอตีความเรื่องการให้บริการเช่าใช้โครงข่าย (MVNO) เพราะระบุว่า ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นเพื่อประกอบกิจการเป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนแก่กันไม่ได้ จะมอบทั้งหมดหรือบางส่วนให้ผู้อื่นมีอำนาจประกอบกิจการแทนไม่ได้จึงอาจกระทบบริการ MVNO ปัจจุบัน

เรื่องนี้ นายสุธรรมเสริมว่า มาตรา 46 ระบุชัดว่าจะให้บริการ MVNO ไม่ได้ แม้แต่คณะกรรมาธิการที่ร่างกฎหมายนี้ยังมองว่าต้องเสนอให้มีการแก้ไข ซึ่ง กทช.ในฐานะ ผู้กำกับดูแลต้องเดินตาม เป็นเรื่องหลักกฎหมายใหม่เดินตามไม่ทันเทคโนโลยี แม้แต่เรื่องการโรมมิ่งเครือข่ายอาจต้องคิดว่า ทำได้หรือไม่ เพราะเป็นการใช้คลื่น ของคนอื่น

แม้ในกฎหมายจะคุ้มครองการทำโรมมิ่งของผู้ได้รับสัมปทานเดิม แต่ปัจจุบันโอเปอเรเตอร์เกือบทั้งหมดทำตามประกาศ กทช.หลายฉบับ อาทิ ประกาศการแข่งขันทางการค้าจึงต้องถือว่ามาตรา 46 เป็นอุปสรรคของการใช้โครงข่ายพื้นฐานร่วมกัน เป็นกฎหมายเพื่อการผูกขาด ไม่ได้ตามเทคโนโลยี

"กทช.จะไม่ออกใบอนุญาต MVNO ใหม่อีกแล้ว คนที่ได้ไปแล้วก็ต้องดูว่า พ.ร.บ.ใหม่คุ้มครองแค่ไหน หากบทเฉพาะกาลครอบคลุมถึงก็ยังดำเนินกิจการไปได้อีก 1 ปี ตามอายุใบอนุญาต แต่เป็นเรื่องที่ต้องมีการตีความทางกฎหมายอีกที ยังมีความไม่แน่นอน" นายสุธรรมย้ำ

เอกชนห่วงความไม่ชัดเจน

นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า มี กสทช.เป็นเรื่องดี ช่วยแก้ปัญหาหลายอย่าง แต่ต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาในขั้นตอนต่าง ๆ เพราะสำคัญกับการลงทุน และตนอยากให้กำหนดว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯใน 3 ปี เพราะทำให้การบริหารงานโปร่งใส ระดมทุนขยายธุรกิจได้ รวมถึงให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของผ่านการถือหุ้น

ด้านนายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานธุรกิจสัมพันธ์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า พ.ร.บ. กสทช.จะทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมก้าวไปอีกระดับ มีการแข่งขันเสรีเป็นธรรมมากขึ้น เพราะสัมปทานมีพื้นฐานเงื่อนไขแตกต่างกัน เมื่อมี กสทช.เท่ากับเซตทุกอย่างเป็นศูนย์เท่ากัน แต่อยากให้มีกรอบเวลาชัดเจนว่า ทั้งการตั้ง กสทช., แผนแม่บทการให้คลื่น ใช้คลื่น

"เอไอเอสเป็นบริษัทมหาชน ความ แน่นอนเป็นสิ่งสำคัญ อายุสัมปทานที่จะหมดจะทำต่ออย่างไร ลูกค้าจะใช้ได้หรือไม่ ทีโอทีหรือกสทฯต้องดูว่าคลื่นจะกลับไปไหน วิธีใช้คลื่นต่อไปต้องประมูลหรืออย่างไร ทุกอย่างต้องชัด หลายประเด็นต้องตีความเพิ่ม เช่น MVNO การทำแผนแม่บท การคืนคลื่น รวมถึงบรอดคาสติ้ง หากทำไม่ได้ใน 3 ปี ทรูมูฟ และดีพีซีจะทำอย่างไร"

นายทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า กสทช.น่าจะทำให้เกิดการจัดสรรคลื่นความถี่อย่างชัดเจน รวมถึงผลักดันให้ธุรกิจเปลี่ยนจากระบบสัมปทาน เป็นใบอนุญาต ความท้าทาย คือ กรณีสัมปทานหมดอายุที่ยังไม่ชัดว่าคลื่นความถี่จะกลับไปที่ใคร และกลับมายังผู้ให้บริการอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้กระทบผู้บริโภคโดยตรง อีกเรื่องที่กังวลคือ กสทช.ยังไม่ได้วางแผนอะไรเลยเกี่ยวกับสื่อโทรทัศน์ ที่ควรไปพร้อมกัน ทั้งโทรทัศน์และโทรคมนาคม เนื่องจากเกื้อหนุนกันได้จึงต้องกำหนดกฎเกณฑ์ รวมถึงวางแผนปฏิบัติการให้ชัด

ขณะที่นายสุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านพาณิชย์ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด กล่าวว่า พ.ร.บ.ใหม่มีความซับซ้อนขึ้น เพราะรวมโทรคมนาคมกับ บรอดคาสติ้งไว้ด้วยกัน สิ่งที่อยากเห็นคือ ความต่อเนื่อง กทช.ออกกฎระเบียบเยอะจะทำอย่างไรให้ความต่อเนื่องยังอยู่ กรณีสัมปทานมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ขณะที่จะมีการเปิดเสรีเศรษฐกิจอาเซียน ภาครัฐต้องเตรียมเอกชนให้พร้อมต่อสู้แข่งขันกับต่างประเทศ

"ปัจจุบันโลก 2 มาตรฐาน คือโลกสัมปทาน และใบอนุญาต มีรายใหม่จะอยู่ในระบบใบอนุญาตจึงต้องชัดเจน เอกชนไทยจะได้แข่งขันกับต่างชาติได้ ปัจจุบัน

ขัดแย้งกันเพราะอยู่ในโลก 2 มาตรฐาน จึงอยากเห็นความชัดเจน ว่าสัมปทานจะเอาอย่างไร แปลงไปทางไหน ควรเป็นวาระ แห่งชาติ กระทรวงการคลังต้องพิจารณา สัมปทานหมดแล้ว ทีโอที กสทฯจะไปทางไหน"

แปลงสัมปทานไม่ง่าย

นายสุธรรมกล่าวว่า การแก้ไขสัมปทาน ทุกคนพูดถึงมาตรา 22 พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ แต่ไม่มีใครพูดถึงการขัดกันของ พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม เชื่อว่ารัฐบาลก็ไม่เคยอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีใกล้เคียงกัน จะตัดสินใจแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามใจชอบไม่ได้ ต้องดูกรอบของกฎหมายใหม่ด้วย

ตัวแทนจากเอไอเอสกล่าวว่า การแก้ไขสัญญาทั้ง 7 ครั้ง แต่ละครั้งมีเหตุผลของตนเอง จะให้มองย้อนกลับไปอาจไม่เข้าใจ คณะกรรมการมาตรา 22 มีหน้าที่ให้ความเห็นระหว่างคู่สัญญาเอไอเอสกับทีโอที การจะแก้ไขหรือยอมรับก็มีกระบวนการ แต่ละฝ่ายต่างมีเหตุผล และการดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายเป็นเรื่องจำเป็น

ด้านดีแทคกล่าวว่า อยากให้มีการยกเลิกสัมปทานที่ไม่เป็นธรรม ทุกคนอยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตเดียวกัน รวมถึงการบังคับใช้ค่าไอซีที่เหมือนกัน ดังนั้นควรยกเลิกสัมปทานเพื่อให้ทุกคนเข้ามาอยู่ในระบบเดียวกัน หากต้องมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เดินต่อได้ก็ควรทำ ส่วนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานควรใช้ร่วมกัน เพราะทุกคนคงไม่สามารถละทิ้งของเดิม หรือสร้างใหม่ได้ทั้งหมด การใช้ร่วมกันทำให้ค่าบริการที่ผู้บริโภคต้องจ่ายไม่แพงเกินไป
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #21 เมื่อ: วันที่ 23 ธันวาคม 2010, 00:31:37 »

แผนสำรอง 3G TOT แปลง MVNO เป็น Retailer


ทีโอทียัน มาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช.ไม่กระทบผิว 3G TOT หาก MVNO ติดปัญหาข้อกม. พร้อมแปลงร่างเป็น Retailer แทน แถมช่วยประหยัดไม่ต้องเสียเงินสร้างแบรนด์เอง
       
       นายกำธร ไวทยกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัท ทีโอที กล่าวในตอนประกาศขายซองประกวดราคาโครงข่าย 3G ว่า กรณี มาตรา 46 ของพ.ร.บ.กสทช.มีผลบังคับใช้ (มาตรา 46 กำหนดว่าใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมเป็นสิทธิเฉพาะตัว ของผู้ได้รับใบอนุญาต จะโอนแก่กันมิได้ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเองจะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วนหรือ ยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้) ไม่ได้สร้างความกังวลหรือทำให้การขยายโครงข่าย 3G ทั่วประเทศของทีโอทีสะดุดแต่อย่างใด เพราะหากมีปัญหาด้านข้อกม.จนไม่มีทางออกสำหรับ MVNO (Mobile Virtual Network Operator หรือผู้ให้บริการโครงข่ายเสมือนหรือการรับช่วงให้บริการต่อ) ทีโอที 3G ก็สามารถเปลี่ยนรูปแบบบริษัทเอกชนให้กลายเป็น Retailer หรือ คนขายปลีกแทน
       
       "การเป็น Retailer ให้ 3G TOT อาจได้เงื่อนไขดีกว่าการเป็น MVNO ด้วยซ้ำ เพราะไม่ต้องทุ่มเงินไปสร้างแบรนด์ของตัวเอง แต่สามารถใช้แบรนด์ 3G TOT ได้เลย"
       
       นอกจากนี้ทีโอทียังอยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึกษาเพื่อหารูปแบบ MVNO ที่เหมาะสมกับทีโอทีซึ่งคาดว่าผลการศึกษาจะเสร็จในไตรมาสแรกปี 2554 เพราะที่ผ่านมาทีโอทีไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจกับ MVNO แต่ใช้การทำงานแบบเรียนรู้ไปด้วยกันและค่อยๆปรับตัวเข้าหากัน
       
       นายจง ดิลกสมบัติ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สามารถ ไอ-โมบายกล่าวว่าบริษัทเชื่อว่าทีโอทีไม่น่าจะกังวลกับมาตรา 46 เพราะบริษัทที่มาเป็น MVNO ต่างได้รับไลเซ่นส์และมาให้บริการโดยถูกต้องตามกม.ทุกประการ และเมื่อไม่กี่วันมานี้กทช.ยังอนุมัติไลเซ่นส์ MVNO อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งน่าจะทำให้เชื่อได้ว่ากทช.เองก็คิดว่า MVNO ไม่น่าจะขัดกับพ.ร.บ.กสทช.ที่ประกาศใช้
       
       "ยังอาจเร็วไปที่จะพูดเรื่อง Retailer เพราะผมเชื่อว่าเราให้บริการด้วยไลเซ่นส์ที่ถูกต้องตามกม.และทีโอทีก็ไม่น่า จะกังวลแต่อย่างใด คงต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของผู้รู้วิเคราะห์ว่ามีการใช้ความถี่ร่วมหรือโอน ความถี่ให้หรือไม่อย่างไร"
       
       นายทอม เครือโสภณ กรรมการผู้จัดการบริษัท Tune Talk Thailand กล่าวว่าการ เป็น MVNO หรือการเป็น Retailer ไม่ใช่เรื่องสำคัญในการทำธุรกิจ แต่ประเด็นหลักคือทีโอที ต้องมอง MVNO หรือ Retailer เป็นพันธมิตรไม่ใช่เป็นบริษัทสัมปทาน เพราะปัจจุบันทีโอทีมีเงื่อนไข ที่ยากจะทำให้ MVNO ทำธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางเงินค้ำประกัน การขายซิมการ์ด หรือ เรื่องอัตราค่าโรมมิ่งต่างๆ
       
       "อย่าลืมว่าถ้า MVNO รอด ก็หมายถึง TOT 3G รอด วันนี้ Tune Talk Thailand พร้อมจะช่วยขาย TOT 3G เต็มที่ เรามีฐานลูกค้าแอร์เอเชียหลายสิบล้านคน ที่บินเข้าออกประเทศไทย นอกจากนี้เรายังมีพันธมิตรเป็น MVNO รายใหญ่ของทีโอทีอยู่แล้ว"
       
       แหล่งข่าวในทีโอทีกล่าวว่า บอร์ดทีโอทีบางคนเห็นว่าประเด็นมาตรา 46 คงต้องมีการส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตีความเจตนารมย์ของกม.ว่าไม่ต้องการ ให้เกิด MVNO เช่นนั้นหรือไม่ หรือเป็นความต้องการไม่ให้เกิดการเซ็งลี้คลื่นความถี่ ผ่องถ่ายให้เอกชนดำเนินการแทน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น กรณีสัญญาฮัทช์ของบริษัท กสท โทรคมนาคม น่าจะเข้าข่ายมาตรา 46 ที่ชัดเจนกว่า เพราะปัจจุบันกสทให้บริษัท บีเอฟเคที สร้างโครงข่ายซีดีเอ็มเอ ด้วยการใช้ความถี่ย่าน 800 MHz ของกสทเอง ซึ่งเมื่อพ.ร.บ.กสทช.บังคับใช้แล้ว การให้กลุ่มทรูมาซื้อฮัทช์แทนกสท น่าจะทำด้วยความยากลำบากและสุ่มเสี่ยงจะผิดกม.มากขึ้น เพราะสัญญาฮัทช์ดั้งเดิมก็ทำผิดกม.เพราะไม่ผ่านขั้นตอนพ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2535 ตั้งแต่ต้น
       
       สำหรับความคืบหน้าการประมูล โครงข่าย 3G ทั่วประเทศ ขณะนี้มีกลุ่มที่เปิดตัวแล้วคือกลุ่มสามารถ ล็อกซเล่ย์ ที่ใช้อุปกรณ์ของเวนเดอร์ชั้นนำของโลกไม่ว่าจะเป็นโนเกีย ซีเมนส์ อีริคสันและหัวเว่ย กับกลุ่มที่เลือกใช้อุปกรณ์ของ ZTE ซึ่งคาดว่าคนชนะการประมูลครั้งนี้น่าจะเป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นอกเหนือจากนี้น่าจะเป็นแค่คู่เทียบหรือไม้ประดับเท่านั้น
       
       อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ไม่ยากว่าการประมูลครั้งนี้ หากไม่ดำเนินการอย่างโปร่งใส จะเกิดข้อร้องเรียนและอื้อฉาวอย่างมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่การเมืองคงไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ถึงแม้จะมีการตั้งธงมาล่วงหน้าว่าไม่เอากลุ่มสามารถ แต่อย่าประมาทพลังของล็อกซเล่ย์ ในขณะเดียวกันอุปกรณ์ของ TOT 3G ที่ใช้อยู่ ก็เป็นของโนเกีย ซีเมนส์และอีริคสัน หากจะหาเรื่องให้ตกสเปกหรือเงื่อนไขพาณิชย์ อาจยากหน่อยเพราะคงต้องฟ้องร้องกันวุ่นวายไปหมด
       
       "อนาคตของ MVNO ผูกไว้กับประสิทธิภาพของโครงข่าย 3G TOT กลุ่มสามารถเป็น MVNO ที่มีศักยภาพและมีลูกค้ามากที่สุดตอนนี้ ความจริงเป็นเรื่องดีเสียอีก หากได้บริษัทที่เป็น MVNO มาวางโครงข่ายให้ เพราะเท่ากับรับประกันความสำเร็จเบื้องต้นแล้วว่า คงไม่เหลวไหลหรือทิ้งงาน เพราะหากโครงข่ายไม่ดี ตัวเองก็เจ็บเพราะทำตลาดไม่ได้"
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #22 เมื่อ: วันที่ 30 ธันวาคม 2010, 11:46:23 »

บอร์ดทีโอทีส่ง MVNO ตีความม.46 หวั่นซ้ำรอยไทยโมบายล์เจ๊งไม่เป็นท่า


บอร์ดทีโอทีส่งกฤษฎีกาตีความมาตรา 46 ใน 2 ประเด็นหลัก ชี้ผลตีความหากทีโอทีต้องทำตลาดและขายเอง อาจส่งผลกระทบการขยายโครงข่าย 3G ต้องทบทวนใหม่ทั้งหมด หวั่นซ้ำรอยไทยโมบายล์ที่ขายเองเจ๊งเอง เพราะแผนเดิมวางไว้บนพื้นฐานการที่ทีโอทีเป็นเน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์ และมีเซอร์วิส โพรวายเดอร์ หรือ MVNO มาทำตลาด
       
       แหล่งข่าวจากบอร์ดทีโอทีกล่าวว่า ใน การประชุมบอร์ดทีโอทีในวันที่ 24 ธ.ค.นี้ คาดว่าจะมีการหารือถึงประเด็นมาตรา 46 ของพ.ร.บ.กสทช.(ม.46 กำหนดว่าใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมเป็นสิทธิเฉพาะตัว ของผู้ได้รับใบอนุญาต จะโอนแก่กันมิได้ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเองจะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วนหรือ ยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้) เพราะอาจส่งผลกับ MVNO (Mobile Virtual Network Operator หรือผู้ให้บริการโครงข่ายเสมือนหรือการรับช่วงให้บริการต่อ) ของ 3G TOT ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนจะต้องมีการส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตี ความใน 2 ประเด็นหลักคือ 1. รูปแบบ MVNO ในปัจจุบันของทีโอที ขัดต่อมาตรา 46 ของพ.ร.บ.กสทช.หรือไม่ และ 2. หาก MVNO ไม่สามารถดำเนินการได้ ทีโอที สามารถให้บริการในลักษณะ Retailer ในรูปแบบใดได้บ้างถึงจะไม่ขัดกับกม.
       
       "เราต้องมีแผนสำรอง เพราะหาก MVNO ทำไม่ได้ ก็ควรต้องให้บริการแบบ Retailer ได้"
       
       ทั้งนี้ตามแผนขยายโครงข่าย 3G ทั่วประเทศของทีโอที ตั้งอยู่บนรูปแบบธุรกิจที่ทีโอทีวางตำแหน่งตนเองเป็นเน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์ และให้มีเอกชนเป็นเซอร์วิส โพรวายเดอร์ มาช่วยทำการตลาด หรือการเป็น MVNO เท่านั้น เพราะทีโอทีมีประสบการณ์ที่เจ็บปวดจากไทยโมบายล์ ที่ทำเองขายเองแล้วก็เจ๊งเอง
       
       ดังนั้น ในเงื่อนไขสัญญาของผู้ชนะการประกวดราคาขยายโครงข่าย 3G ทั่วประเทศของทีโอที จึงทำในลักษณะลูกโทษ 2 จังหวะ คือ สงวนสิทธิ์ ที่จะไม่เซ็นสัญญา หาก กทช.ไม่อนุญาตให้นำเข้าอุปกรณ์ 3G ซึ่งจังหวะแรกถือว่าผ่านพ้นไปแล้ว เพราะ กทช.อนุมัติให้ทีโอทีนำเข้าอุปกรณ์ 3G ได้ ส่วนจังหวะสองจะกำหนดว่าหากผลการตีความของกฤษฎีกา ไม่ให้ทีโอทีมี MVNO หรือ การขายในรูปแบบอื่นใด นอกจากทีโอทีต้องขายเองทำการตลาดเองก็เป็นอันโมฆะ
       
       "หากทีโอทีต้องขายเองแล้ว เราจะเซ็นสัญญาไปทำไม เพราะบิสซิเนสโมเดล ของการขยายโครงข่าย 3G ทั่วประเทศ ตั้งอยู่บนพื้นฐานต้องทำ MVNO 100% หรือไม่อย่างนั้นทีโอทีก็อาจขายเองนิดหน่อย หากมีการตีความแล้วทีโอทีต้องขายเองทั้งหมด คงต้องกลับมาทบทวนแผนใหม่ทั้งหมด"
       
       สำหรับโครงการ 3G TOT ทั่วประเทศมูลค่า 19,980 ล้านบาท แบ่งเป็นการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างมูลค่า 17,440 ล้านบาท งบสำรองโครงการมูลค่า 540 ล้านบาท และการปรับปรุงโครงข่ายเดิมของเอทีซี โมบายจาก 2G เป็น 3G มูลค่า 2,000 ล้านบาท
       
       ทั้งนี้ การประกวดราคาประกอบด้วย ระบบโครงข่ายหลักจำนวน 1 ระบบ (Core Network) ระบบสถานีฐาน (UTRAN) จำนวน 4,772 แห่ง ระบบสื่อสัญญาณ (Transport Network) ระบบบริการจัดการโครงข่าย (OSS) จำนวน 1 ระบบ ระบบบริการเสริมพื้นฐาน (VAS) จำนวน 1 ระบบ ระบบสนับสนุนการให้บริการ (Business Support System) จำนวน 1 ระบบ รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ (Site Preparation) และอุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่าย โดยสถานที่ติดตั้งเซลไซต์มาจาก 3 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นโครงข่ายเดิมของทีโอทีที่มีอยู่แล้ว 2.เป็นการใช้โครงข่ายร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่น (Co-Network) และ 3.เป็นโครงข่ายที่สร้างใหม่
       
       โดยทีโอทีเปิดขายซองประกวดราคาจนถึงวันที่ 27 ธ.ค.นี้ และให้ยื่นข้อเสนอในวันที่ 10 ม.ค.2554 พร้อมวางเงินค้ำประกันซองหรือแบงการันตี 3% ของโครงการหรือประมาณ 500 กว่าล้านบาท โดยใช้วิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออคชัน) ในวันที่ 28 ม.ค. 54 และคาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญาได้ประมาณวันที่ 15-18 ก.พ. 2554
       
       ทั้งนี้ นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีที ต้องการให้เปิดบริการเฟสแรกภายในเดือนเม.ย.2554 และเฟสที่ 2 จะต้องเปิดให้บริการภายใน 180 วันหรือราวเดือนส.ค.2554 ในกรุงเทพฯ ทุกพื้นที่ ปริมณฑล 4 จังหวัด และ 13 จังหวัดเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และหนองคาย ส่วนเฟสสุดท้ายจะขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ อีก 59 จังหวัด ภายใน 360 วัน โดยทีโอทีจะพิจารณาจากพื้นที่ที่มีความต้องการสูงและมีศักภาพในการสร้างราย ได้
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 30 ธันวาคม 2010, 11:54:31 โดย หนอนน้อย » IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #23 เมื่อ: วันที่ 30 ธันวาคม 2010, 11:47:16 »

บอร์ด กสท ปล่อยดีแทค-ทรูมูฟ ทดสอบ "HSPA" แบบไม่เก็บเงิน


บอร์ด กสทมีมติเห็นชอบให้ดีแทค ทรูมูฟ ทดสอบเทคโนโลยี HSPA ที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ตามที่ขอมา ส่วนการให้บริการเชิงพาณิชย์ต้องประชุมร่วมกับคณะกรรมการมาตรา 22 ขณะเดียวกันมีแผนจะปรับเปลี่ยนสัญญาการตลาดใหม่ พลิกบทบาทไปเป็นเน็ตเวิร์ก โอเปอเรเตอร์ หากทรูมูฟบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการซื้อขายกิจการฮัทช์
       
       นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า วานนี้ (23 ธ.ค.) ที่ ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทมีเห็นชอบให้บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ให้บริการ HSPA หรือ 3G ที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ตามจำนวนที่ขอมา โดยทางดีแทคขอทดสอบจำนวน 1,400 ไซต์ ทรูมูฟจำนวน 1,220 ไซต์ ขั้นตอนต่อไปส่งเรื่องขออนุญาตจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อนำเข้าอุปกรณ์สำหรับการทดสอบบริการดังกล่าว ส่วนการดำเนินงานจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับเอกชน แต่ถ้าต้องการทดลองให้บริการเพิ่มต้องขอใหม่ว่าต้องการจะทำมากน้อยขนาดไหน
       
       สำหรับการให้บริการ HSPA ในเชิงพาณิชย์ในกรณีของดีแทคนั้นจะต้องมีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการ มาตรา 22 ก่อน ซึ่งคาดว่าจะเป็นเดือนม.ค. 54 ส่วนกรณีของทรูมูฟต้องนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะเงื่อนไขไม่ระบุในสัญญาเกี่ยวกับการอัปเกรดเทคโนโลยีบนโครงข่ายเดิม เหมือนดีแทค ส่วนเรื่องเกี่ยวกับมาตรา 13 คณะกรรมการกำลังสรุปก่อนส่งให้นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) พิจารณา
       
       "เรื่องการอนุมัติที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์เป็นอำนาจของบอร์ด กสทอยู่แล้ว ส่วนที่เป็นเชิงพาณิชย์ต้องแจ้งคณะกรรมการ มาตรา 22 ให้ทราบ แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาเพราะไม่ใช่ความถี่ใหม่"
       
       พร้อมกันนี้ บอร์ด กสท ยังมีการพิจารณากรณีที่ไม่สามารถบรรลุตกลงเกี่ยวกับการซื้อกิจการฮัทช์ได้ และได้รับข้อเสนอจากทรูมูฟเพื่อปรับเปลี่ยนการให้บริการโทรศัพท์มือถือ หากทรูมูฟเจรจาซื้อกิจฮัทช์สำเร็จ ทั้งนี้ การที่ทรูมูฟเจรจาซื้อฮัทช์เพราะเชื่อว่า มีโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากฮัทช์มีฐานลูกค้าอยู่ประมาณ 7-8 แสนราย เป็นการใช้บริการแบบรายเดือน (โพสต์เพด) ถึง 40% ซึ่งถือว่าสูงสุดในอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือของไทยที่แต่ละรายมีสัดส่วนตรง นี้ประมาณ 10% หรือต่ำกว่า เพราะหากมองจากสัดส่วน 40% จากฐานลูกค้า 7 แสนราย และเมื่อรวมกับลูกค้าของ กสท อีก 3 แสนราย ถือว่าสูง และผู้ใช้กลุ่มนี้มีการใช้งานเกี่ยวกับข้อมูลมากไม่ใช่ลูกค้าโลว์คอส
       
       "ทรูเขามองว่าลูกค้ากลุ่มนี้มีค่าทางธุรกิจจึงมีการเจรจากับฮัทช์ หากดีลประสบความสำเร็จแล้วเขาก็อยากจะมาปรับปรุงการทำธุรกิจมือถือกับ กสท"
       
       ทั้งนี้ หากทุกอย่างประสบความสำเร็จสัญญาก็ต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบไป ซึ่งแนวทางที่ กสทมองไว้คือต้องการเป็นเน็ตเวิร์ก โอเปอเรเตอร์ แล้วขายส่งบริการในแบบโฮลเซลเลอร์ รีเซลเลอร์ โดยให้เอกชนเป็นผู้ให้บริการในลักษณะเซอร์วิส โพรวายเดอร์โดยเพราะตลาดมีการแข่งขันกันสูง เช่น ต่างจังหวัด เนื่องจาก กสทเป็นรัฐวิสาหกิจทำให้ขาดความคล่องตัวในการทำตลาดเพราะติดขัดเรื่องระบบ เรียบในการออกแพกเกจแต่ละครั้ง
       
       ตามแผนดังกล่าวทรูต้องซื้อกิจการฮัทช์ได้ก่อนการดำเนินงานจึงจะเดิน หน้าได้ เพราะไม่เช่นนั้นฮัทช์คงไม่ยอม แต่การซื้อขายกิจการขึ้นอยู่กับการเจรจาของผู้ที่จะซื้อกับผู้ที่จะขาย ส่วนการลงทุนอยู่ที่การเจรจาว่าแต่ละฝ่ายมีแผนจะลงทุนตรงไหน อย่างไร เป็นต้น เพราะความถี่เป็นของ กสทและโครงข่ายบางส่วนเป็นของ กสท
       
       "สัญญาเก่าที่ทำกับฮัทช์ต้องยกเลิก แล้วทำสัญญาการตลาดใหม่กับเอกชนที่ต้องการขายส่งบริการแบบโฮลเซลเลอร์ หรือรีเซลเลอร์ โดยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ และเปิดโอกาสให้ทุกรายแต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน แต่สัญญาไม่ใช่ลักษณะสัญญาร่วมการงานหรือเข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมการงาน"
       
       การทำสัญญาใหม่ที่ไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมการงาน เช่น การเช่าเสาของเอกชน กสท ก็ต้องจ่ายค่าเช่า หรือซื้อเสาของเอกชนมาเป็นของ กสทเพื่อเป็นเน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์เต็มตัว ขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าเป็นหลัก
       
       ทั้งนี้ การทำตลาดแบบโฮลเซลเลอร์ รีเซลเลอร์ ทาง กสทเคยหารือกับกฤษฎีกาแล้วเมื่อปี 51 ว่าไม่เข้าขายพ.ร.บ.ร่วมการงาน และสัญญาที่ กสท.ได้สิทธิในการให้บริการ CAT CDMA เป็นระยะเวลา 20 ปี และขณะนี้เหลืออายุสัญญาอยู่ 14 ปี หากทรูมูฟบรรลุข้อตกลงกับฮัทช์แล้วมาปรับแผนธุรกิจร่วมกับกสท. ทั้งทรูมูฟและเอกชนที่ต้องการเข้ามาขายส่งบริการก็จะได้สิทธิในการทำตลาดตาม สัญญาที่เหลือ
       
       นอกจากนี้ กสทยังต้องการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี เพราะเห็นว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยีไม่ใช่แค่ 3G แต่ กสทมองไปถึงการให้บริการ 4G หรือ LTE แต่การทำ 4G ขณะนี้ยังคงไม่เหมาะกับสถานการณ์เพราะยังมีไม่กี่ประเทศที่ให้บริการ เทคโนโลยีนี้ อาจจะเป็นการอัปเกรตเทคโนโลยีเป็น HSPA+ เพราะใช้เงินลงทุนน้อย แค่อัปเกรดการ์ดกับซอฟต์แวร์ นอกจากนี้ การย้ายระบบจาก CDMA ไป HSPA ยังทำให้ลูกค้าสะดวกกับการใช้เครื่องลูกข่ายประเภทสมาร์ทโฟน หรือการเปลี่ยนซิมก็สามารถทำได้ง่าย แต่การหยุดให้บริการ CDMA ต้องใช้เวลาประมาณปีครึ่งถึง 2 ปี
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 30 ธันวาคม 2010, 11:56:02 โดย หนอนน้อย » IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #24 เมื่อ: วันที่ 30 ธันวาคม 2010, 11:49:15 »

ทีโอที เดินหน้ารุกตลาด ‘เน็ตความเร็วสูง’ 


ทีโอที วางกลยุทธ์สู่ผู้นำตลาด ‘เน็ตความเร็วสูง’ ล่าสุดคนแห่ร่วมแคมเปญ ล้นหลาม เหตุสุดคุ้ม  ด้วยโปรโมชั่น ‘แก๊งเน็ตซิ่ง  ความเร็ว 6 Mbps ราคา 590 บาท/เดือน’ คาดปิดฉากปี 53 สามารถเพิ่มบริการได้กว่า 100,000 พอร์ต พร้อมเดินหน้าพัฒนาความเร็วอย่างต่อเนื่อง

นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลอดปีที่ผ่านมา ทีโอที ได้สร้างสรรค์แผนกลยุทธ์สื่อสารการตลาดแบบ 360 องศา ในส่วนธุรกิจอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อมอบบริการที่เหนือกว่าในราคาสุดคุ้ม ด้วยการจับมือพาร์ทเนอร์แบรนด์ชั้นแนวหน้าของเมืองไทย เพื่อที่จะขยับจำนวนลูกค้าใหม่ให้ได้ 100,000 พอร์ต ภายใน 2 เดือนหลังจัดแคมเปญ ซึ่งได้เริ่มแล้วตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา พร้อมประกาศอัดฉีดฐานลูกค้าเก่าด้วยการเพิ่มสปีดความเร็วให้แก่ลูกค้าเดิม ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขจะได้รับการอัพสปีดฟรีและอัตโนมัติ และที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขก็สามารถแจ้งความประสงค์ปรับเปลี่ยนแพคเกจหรือโปรโม ชั่นได้ที่   TOT Call Center โทร 1100  หรือทางออนไลน์ที่  www.TOThispeed.com พร้อมรับสิทธิ์ทดลองใช้บริการ ทีโอที wifi 40 ชั่วโมง นาน 4 เดือน ฟรี  แถมได้ส่วนลด 600 บาทในการโทรสั่ง เดอะ พิซซ่า คอมปานี และสำหรับลูกค้าใหม่ที่ติดตั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงกับทีโอที หรือ สมัครทีโอทีไฮสปีดอินเตอร์เน็ต  แรงคุ้มโดนใจ 6 MB 590 บาท มีสิทธิ์ลุ้นรับซัมซุงเน็ตบุ๊ค NB 30   60 วัน 60 เครื่อง รวมมูลค่า 660,000 บาท ซึ่งหลังจากการเปิดตัวแคมเปญ ‘แก๊งเน็ตซิ่ง’ ได้ไม่นาน ก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มลูกค้า

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นเดือน พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทีโอที ได้ระดมโปรโมทแคมเปญ ‘แก๊งค์เน็ตซิ่ง’ อย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อต่างๆ รวมถึงการทำกิจกรรมการตลาดทั้งในรูปแบบของการจัดอีเว้นท์ รวมทั้งออกบูธตามสถานที่ต่างๆ เพื่อแนะนำและเชิญชวนติดตั้งบริการ อินเตอร์เน็ต ความเร็วสูงของ ทีโอที “นอกจากการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่แล้ว เรายังต้องการรักษาฐานลูกค้ากลุ่มเดิมไว้ด้วย โดยตั้งเป้าลดอัตราการยกเลิกบริการให้ลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของอัตรายกเลิกบริการเฉลี่ย 3 เดือน ในช่วงระยะเวลาการเผยแพร่แคมเปญ   โดยเน้นไปที่กลุ่มเยาวชนนักศึกษา กลุ่มข้าราชการและผู้บริหารระดับกลาง รวมถึงกลุ่มร้านค้าอินเตอร์เน็ต คาเฟ่ ที่ใส่ใจเรื่องความคุ้มค่าคุ้มราคาด้วย”  นายวรุธ สุวกร กล่าว

ด้าน แผนการพัฒนาศักยภาพบริการสู่ความเป็นหนึ่งนั้น นายวรุธ สุวกร กล่าวเสริมในประเด็นดังกล่าวว่า “จากผลสำรวจความเร็วสูงสุดที่ลูกค้าได้รับ พบว่า 75% สามารถรับบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 6MB ที่ ทีโอที กำลังระดมทำตลาดอยู่ในช่วง 3 เดือนนับจากนี้ได้ ซึ่งคงต้องเดินหน้าผลักดันแคมเปญ Jet Pack Gen II ให้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มคนไทยให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ ทีโอที ยังได้ดำเนินโครงการ 577,000  พอร์ต โดยมีขอบข่ายในการ ขยายและพัฒนาคุณภาพบริการ อาทิ ติดตั้ง MSAN ทั่วประเทศ  ทำให้ข่ายสายสั้นลงเหลือโดยเฉลี่ย 1 กม.  เพื่อสามารถให้บริการความเร็วสูงสุดถึง 20 Mb เมื่อเสร็จสิ้นโครงการจะสามารถให้บริการที่ความเร็ว 6 MB ขึ้นไปได้ถึง 90 % ซึ่งโครงการดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 54”
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 30 ธันวาคม 2010, 11:57:55 โดย หนอนน้อย » IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #25 เมื่อ: วันที่ 30 ธันวาคม 2010, 11:58:39 »

ดีแทคเดินหน้าเปิดทดลองบริการ 3G ครบ 1,220 สถานี หลังได้ไฟเขียว จาก บอร์ด กสท. 


บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับการอนุมัติจากบอร์ดของบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้ปรับปรุงโครงข่ายเดิมโดยใช้เทคโนโลยี High Speed Data Packet Access (HSPA) เพื่อทดลองให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิร์ตซ แบบไม่เชิงพาณิชย์ จำนวน 1,220 สถานีฐาน จากปัจจุบันที่ทดลองให้บริการเพียง 36 สถานีฐาน

นายทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ดีแทคยินดีที่ได้รับการอนุมัติจาก กสท. โทรคมนาคม หลังจากที่รอมาเป็นเวลานาน และการอนุมัติครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ดีแทคได้ให้บริการ 3G แก่ผู้ใช้บริการได้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

ดีแทคเชื่อมั่นว่าการอนุมัติดังกล่าวเป็นเครื่องตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะทำให้บริการ 3G เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยในทันทีโดยใช้คลื่นความถี่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะที่กำลังรอการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz ต่อไป เป้าหมายหลักของดีแทคคือการให้บริการ 3G แบบเชิงพาณิชย์ และบริษัทฯ มั่นใจว่ารัฐบาลจะดำเนินการให้การให้บริการเชิงพาณิชย์เป็นจริงได้ในไม่ช้านี้ รวมทั้งเชื่อมั่นว่า กสทช. จะได้กำหนดระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการให้บริการดังกล่าวต่อไป.
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #26 เมื่อ: วันที่ 30 ธันวาคม 2010, 11:59:23 »

10 บริษัทซื้อซองประกวดราคา 3G TOT


วันสุดท้ายของการขายซองประกวดราคา 3G TOT มี 10 บริษัททั้งไทยและเทศให้ความสนใจ
       
       นายกำธร ไวทยกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานโทรศัพท์คลื่อนที่ บริษัท ทีโอที กล่าวถึงจำนวนผู้สนใจซื้อซองประกวดราคาโครงการจัดสร้างโครข่ายโทรัพท์ เคลื่อนที่ 3G ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ว่า ทีโอที ได้ประกาศขายซองตั้งแต่วันที่ 14-27 ธันวาคม 2553 มี 10 บริษัทสนใจซื้อซองประกวดราคา
       
       ทั้ง 10 ราย ประกอบด้วย บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น ,บริษัท แซดทีอี (ประเทศไทย) , บริษัท ล็อกซเล่ย์ ,บริษัท อิริคสัน ประเทศไทย , บริษัท แอดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี หรือ เอไอที, บริษัท อัลคาเทล- ลูเซ่น (ประเทศไทย), บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) , บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น , บริษัท ยูเทล และ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เน็ต
       
       ทั้งนี้ ทีโอทีกำหนดให้ยื่นข้อเสนอในวันที่ 10 ม.ค.54 ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น.และจะใช้วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชั่น) ในวันที่ 28 ม.ค.54 และคาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ในระหว่างวันที่ 15-18 ก.พ.54
       
       โครงการขยายโครงข่าย 3G TOT คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติวงเงิน 19,980 ล้านบาท แบ่งเป็นการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง 17,440 ล้านบาท อัปเกรดโครงข่ายเดิมของบริษัท เอซีที โมบาย จากระบบ 2G เป็น 3G จำนวน2,000 ล้านบาท และงบสำรอง 540 ล้านบาท
       
       การประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างในครั้งนี้ ประกอบด้วย ระบบโครงข่ายหลัก (Core Network ) จำนวน 1 ระบบสถานีฐาน (UTRAN) จำนวน 4,772 แห่ง ระบบสื่อสัญญาณ (Transport Network ) ระบบบริการจัดการโครงข่าย (OSS) จำนวน 1 ระบบ ระบบบริการเสริมพื้นฐาน ระบบสนับสนุนการให้บริการ รวมทั้ง การติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ และอุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่าย
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #27 เมื่อ: วันที่ 30 ธันวาคม 2010, 12:00:23 »

"ทรูมูฟ-ดีแทค"ปักหลัก3จีคลื่นเดิม กสท.เปิดทางลุยขยายบริการสร้างแตกต่างหนีAIS



"กสทฯ" อ้าแขนรอทรูมูฟซื้อฮัทช์เล็งปรับสัญญาใหม่ให้ "ทรูมูฟ" รับหน้าที่ทำตลาด 3จี บนคลื่น 850 MHz เลี่ยงมาตรา 46 กสทช.ห้ามขายต่อบริการ เดินหน้าชง ครม.ขอยกเลิกบริการ CDMA เป็น HSPA Plus ขยับบทบาท "เน็ตเวิร์กโพรไวเดอร์" ไฟเขียว "ดีแทค-ทรูมูฟ" ขยายพื้นที่ทดสอบ 3จี อีก 1,000 กว่าแห่ง แต่ยังไม่ให้เก็บตังค์รอเข้าคณะกรรมการ มาตรา 22 เดือนหน้า "วงใน" เชื่อ 2 คู่แข่งปักหลักลุยเต็มสูบอัพเกรดคลื่นเดิม ชู 3G สร้างแต้มต่อนำหน้าเจ้าตลาด "เอไอเอส"


นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ดเมื่อ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีมติให้แจ้งคณะรัฐมนตรีถึงการยกเลิกการเข้าซื้อกิจการบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ตัวแทนทางการตลาดบริการซีดีเอ็มเอ ภายใต้แบรนด์ฮัทช์ รวมถึงเสนอแผนการปรับเปลี่ยนแนวทางทำธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ กสทฯให้เป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (เน็ตเวิร์กโพรไวเดอร์) โดยจะยกเลิกการให้บริการเทคโนโลยี CDMA และเปลี่ยนมาเป็น HSPA Plus ที่มีความเร็วเทียบเท่า 3G หรือเหนือกว่า เนื่องจากสามารถอัพเกรดเป็น LTE หรือ 4G ได้ง่ายในต้นทุนถูกกว่า

พร้อมกันนี้ตนยังแจ้งให้บอร์ดทราบ ถึงข้อเสนอของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด กรณีกำลังเจรจาซื้อกิจการฮัทช์ โดยทรูมูฟเสนอให้ กสทฯยกเลิกสัญญาที่ให้ฮัทช์ทำการตลาดบริการ CDMA บนคลื่น 850 MHz ก่อนเจรจาทำสัญญาใหม่กับ กสทฯ เนื่องจากสัญญาเก่ามีความซับซ้อน การยกเลิกทำใหม่จึงง่ายกว่า

สำหรับสัญญาใหม่ในเบื้องต้นจะเป็นการ เช่าใช้สถานีฐานซึ่งกันและกัน และให้ทรูมูฟได้รับสิทธิการทำตลาดในรูปแบบขายส่ง-ขายปลีก ภายใต้แบรนด์ กสทฯ โดย กสทฯเป็นเจ้าของสิทธิในคลื่น 850 MHz ทั้งหมด 15 MB รวมแบนด์วิดท์ของฮัทช์ แคทซีดีเอ็มเอ และทรูมูฟในส่วนทดลองบริการ HSPA ในปัจจุบันแล้ว

โดยขั้นตอนจากนี้คือรอให้ทรูมูฟเจรจาซื้อกิจการ ฮัทช์สำเร็จก่อนจึงจะเริ่มเจรจากับ กสทฯในรายละเอียดการทำสัญญาต่าง ๆ ที่จะไม่ใช่ลักษณะร่วมการเข้ากระบวนการของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งสัญญาใหม่ที่จะทำขึ้นนี้คาดว่าจะมีอายุราว 14 ปีตามระยะเวลาที่ กสทฯมีสิทธิใช้คลื่น 850 MHz

"1-2 ปีแรก กสทฯจะเช่าใช้โครงข่าย 25 จังหวัดภาคกลางที่เป็นกรรมสิทธิ์ของฮัทช์เพื่อให้บริการ CDMA แก่ลูกค้าในช่วงระหว่างเปลี่ยนเทคโนโลยีโครงข่ายทั่วประเทศเป็น HSPA Plus และเจรจากับ ทรูมูฟว่าใครจะเป็นผู้ลงทุนในโครงข่ายแต่ ละพื้นที่ รวมถึงการพิจารณาเข้าซื้อ โครงข่ายของทรูมูฟเพื่อก้าวสู่การเป็น เน็ตเวิร์กโพรไวเดอร์เต็มรูปแบบด้วย แต่ต้องประเมินความคุ้มค่าระหว่างการเช่ากับการซื้อโครงข่าย ขณะนี้ยังเร็วเกินไปกว่าที่จะบอกได้ว่าโครงการนี้ต้องใช้งบประมาณเท่าไร ยังต้องศึกษาและวิเคราะห์โครงการทั้งหมดอีกครั้ง รวมถึงให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาแนวทางการเจรจายกเลิกและทำสัญญาการตลาดใหม่ แล้ว" นายจิรายุทธกล่าว และว่า

กรณีมาตรา 46 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ระบุว่า ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนแก่กันมิได้ แต่ตนมั่นใจว่ารูปแบบธุรกิจของ กสทฯแนวทางนี้ไม่เข้า ข่ายมาตราดังกล่าว เพราะเป็นการขายส่งขายปลีกบริการ ซึ่งมีประกาศของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้สิทธิไว้

และ การเข้าซื้อกิจการฮัทช์ของทรูมูฟเป็นเพราะเห็นโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากฮัทช์มีลูกค้าราว 700,000 ราย เมื่อรวมกับลูกค้าแคทซีดีเอ็มแล้วจะมีกว่า 1 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าโพสต์เพดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายสูงกว่าตลาด แต่การเจรจาเข้าซื้อกิจการเป็นเรื่องของเอกชน ซึ่ง กสทฯไม่มีสิทธิเข้าไปห้ามไม่ให้มีการเจรจา หากโอเปอเรเตอร์รายอื่นสนใจก็สามารถเจรจาซื้อได้เช่นกัน ขณะเดียวกันหาก กสทฯได้สิทธิในโครงข่ายฮัทช์ และรวมโครงข่ายเป็น HSPA Plus แล้วก็พร้อมให้ ผู้สนใจทุกรายเข้ามาเป็นผู้ขายส่งขายปลีกบริการได้เช่นกัน ไม่ได้จำกัดให้ทรูมูฟเพียงรายเดียว

"ราคาที่ทรูมูฟจะซื้อฮัทช์ได้ เชื่อว่าไม่ต่ำไปกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่ง กสทฯเคยเจรจาต่อรองไว้แต่ฮัทช์ปฏิเสธ หากทรูมูฟซื้อฮัทช์ไม่ได้ กสทฯก็ต้องหาแนวทางอื่นในการทำธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่เชื่อว่าแนวทางการเป็นเน็ตเวิร์กโพรไวเดอร์เป็นทางเลือกที่เหมาะสม

แหล่ง ข่าวจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ทรูมูฟน่าจะเข้าซื้อหุ้นในบริษัทฮัทชิสัน เทเลคอมมูนิเคชั่น ไทยแลนด์ ซึ่งถือ 65% ในบริษัทฮัทชิสัน ซีเอที ไวเลส มัลติมีเดีย (อีก 35% เป็นของ กสทฯ) ซึ่งเป็นคู่สัญญาที่ได้สิทธิทำการตลาด "ฮัทช์" และถือหุ้น 100% ในบริษัทบีเอฟเคที เจ้าของโครงข่าย CDMA ใน 25 จังหวัด

นอกจากนี้ บอร์ด กสทฯยังอนุมัติ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และบริษัททรูมูฟ เพิ่มจำนวนสถานีฐานเพื่อทดลองให้บริการ HSPA บนคลื่น 850 MHZ เพื่อให้บริการเทียบเท่า 3G ตามที่ดีแทคขอเพิ่มเป็น 1,220 แห่ง จากเดิมเปิดไปแล้ว 36 สถานีฐาน ส่วนทรูมูฟได้เพิ่มอีก 1,400 สถานีฐาน จากปัจจุบันเปิดทดสอบ 600 แห่ง คาดว่าไม่เกินไตรมาสแรกปีหน้าส่วนขยายเพิ่มจะเปิดให้บริการได้ เช่นเดียวกับสถานีฐานที่ กสทฯปรับเปลี่ยนจาก CDMA เป็น HSPA Plus

ส่วน การเปิดให้บริการ HSPA ในเชิงพาณิชย์ของดีแทค หลังฝ่ายกฎหมายของบอร์ดได้พิจารณาแล้วไม่น่ามีปัญหาเรื่อง ข้อกฎหมาย โดย กสทฯจะเสนอเรื่องนี้ให้ ที่ประชุมคณะกรรมการ มาตรา 22 พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ที่กำกับดูแลสัมปทานของดีแทคในเดือน ม.ค. 2554 หากที่ประชุมอนุมัติดีแทคก็เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ทันที

สำ หรับทรูมูฟเนื่องจากสัญญาสัมปทานหลัก คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความออกมาแล้วว่า เป็นสัญญาที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ฉะนั้นต้องรอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบสัญญาหลักของทรูมูฟก่อนดำเนินการอื่น ๆ

แหล่งข่าวในธุรกิจ โทรศัพท์มือถือ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ความร่วมมือระหว่าง กสทฯและทรูมูฟทำให้ธุรกิจ ของทรูมูฟมีความชัดเจนขึ้น เพราะอายุ สัมปทานของทรูมูฟเหลืออีกเพียง 3 ปี แม้ว่าจะยังมีอีกหลายขั้นตอนกว่าทั้งคู่จะดำเนินการทำสัญญาใหม่เสร็จ และในระหว่างทางอาจเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์การดำเนินการของ กสทฯว่าทั้งต่อกรณีการเข้าซื้อกิจการของทรูมูฟ การยกเลิกเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอที่ลงทุนไปแล้วหลักหมื่นล้านบาท ไม่รวมการซื้อกิจการฮัทช์ของ ทรูมูฟ หากซื้อได้ถูกกว่า 7 พันล้านบาท ซึ่ง กสทฯตกลงกับฮัทช์ไว้ก่อนหน้านี้

"นอกจากกรณีทรูมูฟกับฮัทช์แล้ว การอนุมัติให้ทรูมูฟและดีแทคติดตั้ง HSPA เพิ่มเติมอีกเจ้าละ 1,000 กว่าแห่ง ทำให้ทั้งคู่มีพื้นที่บริการ 3G มากกว่าผู้นำตลาดเอไอเอส แม้จะยังเก็บเงินไม่ได้ก็ถือเป็นจุดขายที่ลูกค้าให้ความสนใจ จากกระแสการใช้สมาร์ทโฟนที่ได้รับความนิยมมาก คาดว่าในปีหน้าดีแทคจะเร่งมือขยายพื้นที่บริการเต็มที่ โดยก่อนหน้านี้ได้บรรลุข้อตกลงในสัญญาอัพเกรดโครงข่ายเดิมทั้งหมดของบริษัท เพื่อเตรียมเข้าสู่ 3G กับอีริคสันแล้ว"

แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า เอไอเอสเสียเปรียบทรูมูฟและดีแทคกรณี 3G เพราะมีข้อจำกัดเรื่องความถี่ เว้นแต่จะมีการปรับแผนการลงทุนใหม่ นำคลื่น 900 MHz มาอัพเกรด 3G ใช้ 1800 MHz ทำ 2G ซึ่งทางเทคนิคทำได้แต่ระยะสัญญาสัมปทานอาจไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยเอไอเอสพยายามหาทางออกโดยการเจรจาโรมมิ่งดาต้ากับ 3G ของทีโอที รวมถึงการเสนอตัวเป็น MVNO แต่ทั้ง 2 ทางยังไม่มีความชัดเจนว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #28 เมื่อ: วันที่ 30 ธันวาคม 2010, 12:01:14 »

เผย "เอ็มวีเอ็นโอ"ติด พรบ กสทช รอแก้กม ก่อนลุย


ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการ กสทช. เปิดกฎหมาย พ.ร.บ. กสทช. ชี้ชัด กรณี "เอ็มวีเอ็นโอ" ปัจจุบันผิดดกฎหมาย แนะควรแก้กฎหมายก่อนเดินหน้าต่อ...

เมื่อ วันที่ 28 ธ.ค. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช. กล่าวว่า การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี ระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับบริษัทเอกชนที่ให้บริการในลักษณะผู้เช่าใช้โครงข่ายเพื่อทำตลาดขายต่อ บริการเสมือน หรือ เอ็มวีเอ็นโอ ประกอบด้วย บริษัท สามารถไอ-ไอโมบาย จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด และ บริษัท ไออีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ็ม คอนซัลท์ เอเชีย จำกัด นั้น ตามกฎหมายพ.ร.บ.กสทช.นั้นไม่สามารถทำได้

ทั้ง นี้ ตามประกาศกฎหมายของกทช.ที่ผ่านมานั้น ไม่มีใบอนุญาตให้ทำเอ็วีเอ็นโอโดยตรง แต่จะเป็นใบอนุญาตในลักษณะขายส่ง-ขายปลีก โดยผู้ให้บริการปัจจุบันนำไปประกอบธุรกิจในลักษณะเอ็มวีเอ็นโอ ดังนั้น พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ไม่อนุญาตให้ทำเอ็มวีเอ็นโอ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการเอ็มวีเอ็นโอรายเก่าทั้ง 5 รายสามารถดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะหมดอายุสัญญาที่ทำไว้กับทีโอที

ผู้ ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช.กล่าวต่อว่า การให้บริการในรูปแบบของการเชื่อมต่อเครือข่าย หรือ โรมมิ่งนั้น ก็ไม่สามารถดำเนินการได้เช่นกัน เนื่องจาก ผิดกฎหมายพ.ร.บ.กสทช.ด้วย ทั้งนี้ หากจะตีความข้อกฎหมายกันจริงๆ แล้ว ก็ไม่สามารถทำได้ทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม หากจะให้การดำเนินกิจการบนโครงข่าย 3 จี ของทีโอทีได้นั้น จะต้องแก้กฎหมาย โดยผู้ที่ยื่นสัญญาเป็นผู้ยื่นแก้สัญญา

“ส่วนตัวคิด ว่าอะไรก็ตามที่ทำก่อนหน้านี้ก็สามารถทำก่อนได้ แต่การพิจารณาก็ต้องรอดู ซึ่งวันนี้หลายฝ่ายบอกว่ามันขัดกฎหมาย และมีอีกบางฝ่ายบอกว่าสามารถทำได้ ซึ่งหากจะให้ทำได้โดยไม่มีข้อท้วงติงจะต้องมากการแก้กฎหมาย” พ.อ.นที กล่าว.

 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
web9ball
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #29 เมื่อ: วันที่ 30 ธันวาคม 2010, 20:54:45 »

อีกนานครับกว่าประเทศไทยจะได้ใช้ 3G ถ้าคนไทยนิสัยแบบนี้
IP : บันทึกการเข้า
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #30 เมื่อ: วันที่ 01 มกราคม 2011, 04:33:28 »

อีกนานครับกว่าประเทศไทยจะได้ใช้ 3G ถ้าคนไทยนิสัยแบบนี้
ก็อย่างกะว่าแระครับ เบื่อกับประเทศไทยตามคนอืนไม่ทันก็เพราะแบบนี้แระ
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #31 เมื่อ: วันที่ 01 มกราคม 2011, 04:36:19 »

ถอดรหัสดีล 3 เส้า "ทรู-ฮัทช์-กสทฯ" ลดคู่แข่งซื้ออนาคต 14 ปีบน 3G


บิ๊ก บอสกลุ่มทรู "ศุภชัย เจียรวนนท์" พูดซ้ำหลายครั้งหลายหนว่ากลุ่มทรูเดินทุกทางที่คิดว่าจะทำให้ธุรกิจเดินหน้า ต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาซื้อกิจการฮัทช์การขยายพื้นที่ทดลองบริการ HSPA บนคลื่นเดิม และการโดดเข้าร่วมวงประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ทั้งหลายทั้งมวลมุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาบริการ "3G"

การเข้าสู่ระบบใบ อนุญาตโดยการประมูลคลื่นน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แม้ต้นทุนอาจแพงเพราะเอาแพ้เอาชนะกันที่ "เงิน" แต่ในเมื่อการประมูลไลเซนส์ใหม่โดย "กสทช." ใหม่ หรือ "กทช." รักษาการ (หรือจะเรียกว่าปฏิบัติหน้าที่แทนในฐานะ กสทช.) ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นเมื่อไร

การเจรจาซื้อกิจการ "ฮัทช์" จึงดูดีมีอนาคตขึ้นมาในบันดล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ "บอร์ด กสทฯ" ไฟเขียวให้มีการยกเลิกสัญญาเดิม และทำสัญญาใหม่ แม้ต้องแลกมาด้วยความไม่แน่นอน อีกหลายเรื่องในฐานะ reseller หรือผู้ขายต่อบริการ ยังไม่รวม "ราคา" ที่ต้องจ่าย และความรับผิดชอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หนี้สิน, พนักงาน 1,000 กว่าคน และอื่น ๆ แลกกับสิทธิทำธุรกิจนาน 14 ปี ตามอายุ ไลเซนส์ที่เหลืออยู่ของ กสทฯ ต้องถือว่า "คุ้มค่า" อย่างน้อยก็สำหรับผู้ถือหุ้น,เจ้าหนี้ หรือแม้แต่พนักงานเอง

ก็อย่างที่รู้กันว่าสัญญาสัมปทาน "ทรูมูฟ" มีอายุเหลืออยู่อีกเพียง 3 ปีเท่านั้น อะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้น แม้ขนาดฐานลูกค้ากว่า 16 ล้านรายที่มีในมืออาจพอเป็น หลักประกันได้ว่า แม้สัญญาหมดอายุแล้ว ก็คงมีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อไม่ให้เดือดร้อนกับประชาชนผู้ใช้บริการก็ตาม

สำหรับการอัพเกรด คลื่นเดิม 850 MHz เป็น 3G บนเทคโนโลยี HSPA ที่ทำอยู่แล้ว 600 กว่าสถานีฐาน ล่าสุดเพิ่งได้รับอนุมัติขยายเพิ่มเติมอีก 1,400 สถานี แม้ยังไม่ได้ไฟเขียวให้เก็บตังค์ได้ แต่ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาการนำหน้าลงทุนอัพเกรดคลื่นเดิมขึ้น 3G ไปก่อนคนอื่น กลายเป็นแต้มต่อที่ "ทรูมูฟ" มีเหนือคู่แข่งทุกราย ในขณะนี้

"ศุภชัย" อธิบายว่า ทรูมูฟและ

กสทฯ จะโรมมิ่งเครือข่ายระหว่างกัน เพื่อให้ทั้งลูกค้าของทั้งคู่ไม่ว่าจะเป็นซีดีเอ็มเอ, HSPA หรือ 2G คลื่น 1800 MHz ใช้ โครงข่ายร่วมกันได้

"เรื่องซื้ออุปกรณ์หรือซื้อ ทรัพย์สินในฝั่งของฮัทช์เดิม กสทฯมีออปชั่นที่จะซื้อได้ แต่จะซื้อหรือเปล่าขึ้นอยู่ กสทฯซึ่งต้องมีการ ตีราคา แต่โดยรวมทั้งหมดต้องเชื่อมโยงกันได้ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า CDMA, HSPA ก็เชื่อมกับ 2G ทรูมูฟได้ ในแง่การลงทุนต้องแจกแจงอีกที เราลงไม่ได้อยู่แล้วคงต้องทำเป็นว่าทรัพย์สินบางอย่างจะมีการเช่า โดยหลักแล้ว กสทฯเป็นคนบริหารทั้งหมดในฐานะโอเปอเรเตอร์ ซึ่งเขาจะอัพเกรดเป็น HSPA Plus ใน 2 ปี จะลงทุนทั้งหมดหรือใช้ทรัพย์สินของเราบางส่วน หรือเช่าเราต้องตกลงอีก"

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ดีลซื้อกิจการ "ฮัทช์" ของทรูมูฟเพื่อร่วมโครงข่ายกับ กสทฯเป็นทางออกที่ลงตัวของทั้งคู่

นอก จากนี้ ฐานลูกค้าเดิมของ "ฮัทช์" อีก 9 แสนราย กับรายได้ปีละ 4,000 ล้านบาท "ศุภชัย" บอกว่าจะทำให้รายได้ของ ทรูมูฟเติบโตเพิ่มขึ้นเกือบ 20% จากที่เติบโตโดยเฉลี่ย 1-2% เท่านั้น

"สมมติว่าตอนนี้เรามีรายได้ อยู่ 2.4 หมื่นล้าน ถ้าซื้อฮัทช์มารายได้เราเพิ่มเกือบ 20% การรวมกิจการจะมีต้นทุนหลายอย่าง ไม่ว่าจะการตลาด โอเปอเรชั่นต่าง ๆ จะ ลดลงไปทำให้กำไรดีขึ้น รายได้เพิ่มเกือบ 20% ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ยังไงก็คุ้ม อย่างปีนี้รายได้ทรูมูฟโต 1-2% แต่ถ้าซื้อฮัทช์เข้ามาโตทันที 17% ลูกค้าฮัทช์ส่วนใหญ่เป็นโพสต์เพด ซึ่งใน 16 ล้านของทรูมูฟเป็นโพสต์เพด 1.2 ล้าน รวมกับฮัทช์เป็น 2.1 ล้านราย"

อย่างไรก็ตาม "ศุภชัย" เองจะยอมรับว่าการผนึกเป็นพันธมิตรกับ กสทฯราวกับ "แฝดสยาม" ในครั้งนี้ไม่ใช่ว่าไม่เสี่ยง

"อาจ เสี่ยงกว่าสัมปทานด้วยซ้ำไป เพราะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันกับพาร์ตเนอร์และกับผู้ที่มีใบอนุญาต ไม่ได้ดำเนินการเองได้เสร็จสรรพเหมือนสัมปทาน อย่างเรื่องคุณภาพเน็ตเวิร์กก็เป็นส่วนโอเปอเรชั่นที่ต้องมีการตกลงกัน"

ใน มุมของ "กสทฯ" นอกจากแก้ปัญหาในอดีตเรื่องการมีโครงข่ายแยกระหว่างแคทซีดีเอ็มเอกับฮัท ช์ได้แล้ว การยกเลิกสัญญาเดิมเปลี่ยนใหม่เป็นรูปแบบของการให้สิทธิในรูปแบบที่เรียกว่า "ขายส่ง-ขายปลีก" เท่ากับเป็นการขยับสถานะของตนเองขึ้นเป็น "เน็ตเวิร์กโอเปอเรเตอร์" อีกด้วย จะติดอยู่บ้างตรง "กสทฯ" ที่จะทำอย่างไรให้การดำเนินการดังกล่าวไม่ดูเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับ เอกชนรายหนึ่งรายใดเป็นพิเศษ

"ศุภชัย" ยังยืนยันว่า กสทฯไฟเขียว ทรูมูฟซื้อฮัทช์ได้ก็เพราะทั้งคู่ได้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่เพราะเป็นยุคของทรูหรือเส้นใหญ่กว่าใคร

"ถ้าจะเทียบทั้งหมด อุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีความเหลื่อมล้ำกันเยอะอยู่แล้ว ถ้าจะบอกว่าเวลานี้เป็นทีของทรูหรือเป็นยุคของทรู ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงส่วนแบ่งรายได้ต้องน้อยกว่านี้ อายุสัญญาก็ต้อง ยาวกว่าอีก (หัวเราะ)"

บิ๊กกลุ่มทรูยังย้ำด้วยว่า ถ้าปิดดีลฮัทช์สำเร็จก็ยังจะเข้าประมูลใบอนุญาตใหม่ 2.1 GHz ด้วยเช่นกัน โดยต้องการผลักดันให้ "กทช." ปัจจุบัน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน "กสทช." ดำเนินการเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จีโดยเร็ว

"กทช.มีอำนาจแทน กสทช.อยู่แล้ว มีอำนาจอย่างเต็มภาคภูมิ กระบวนการที่ค้างอยู่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ กทช. ซึ่ง กทช. ชุดก่อนหมดสภาพไปแล้ว กทช. 7 คนปัจจุบันคือผู้รักษาการ กสทช.ถ้าจะทำก็ทำได้ แม้จะได้ทำ 14 ปีแล้วเป็นรีเซลเลอร์ กสทฯก็ยังอยากได้ไลเซนส์ของตนเอง เพราะไม่มีทางออกจึงต้องเอาไว้ก่อน มีโอเปอเรเตอร์รายไหนที่ลงทุนมากมายขนาดเรา ทำงานหนักขนาดเราแล้วไม่อยากได้ไลเซนส์"

สำหรับคนอื่นการเดินหลายทางอาจเป็นภาระ แต่สำหรับ "ทรู" เป็นการสร้างทางเลือก ยิ่งมีทางเลือกมากยิ่งมี "โอกาส" มาก
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #32 เมื่อ: วันที่ 01 มกราคม 2011, 04:37:16 »

กสทยันลูกค้าฮัทช์ไม่กระทบ หลังครม.อนุมัติเลิกซื้อกิจการ

กสท ยันลูกค้าฮัทช์กว่า 8 แสนรายยังใช้บริการได้ตามปกติ เพียงแต่ในอนาคตจะมีการเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก CDMA เป็น HSPA พร้อมทั้งปรับโครงสร้างธุรกิจบริการโทรศัพท์มือถือกสทในรูปแบบใหม่
       
       นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.ที่ผ่านมา กสท ได้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาใน 3 เรื่องคือ 1. อนุมัติให้ยกเลิกโครงการเข้าซื้อกิจการ CDMA ในส่วนกลาง 25 จังหวัด โดยการเข้าซื้อทรัพย์สิน รวมทั้งอนุมัติให้ กสทยกเลิกมติครม.เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2553
       
       2. อนุมัติให้ดำเนินการยกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ CDMA ในส่วนกลางประกอบด้วย 1. สัญญาทำการตลาดวิทยุคมนาคมระบบเซลลูลาร์ ดิจิตอล แอมป์ 800 แบนด์ เอ กับบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย และ 2. สัญญาเช่าและว่าจ้างให้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ซ่อมแซม บำรุงรักษา และดูแลจัดการเครื่อง และอุปกรณ์วิทยุคมนาคมระบบเซลลูลาร์ ดิจิตอล แอมป์ 800 แบนด์ เอส่วนอีกเรื่องคือ ให้ ครม.รับทราบแนวทางการดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ กสท ในอนาคต
       
       ทั้งนี้ มติการยกเลิกสัญญา กับฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดียซึ่งเป็นผู้รับสิทธิ์ในการทำตลาดภายใต้ชื่อ “ฮัทช์” ในส่วนกลางจำนวน 25 จังหวัด หลัง กสท ไม่สามารถบรรลุขอตกลงในการซื้อกิจการได้ แต่ลูกค้าฮัทช์ที่มีอยู่ประมาณ 7-8 แสนรายยังสามารถใช้บริการต่อไปได้ตามปกติ แม้ ครม.จะอนุมัติให้ยกเลิกสัญญา แต่ในขณะนี้ยังไม่ได้มีการยกเลิกแต่อย่างใดเพราะการยกเลิกสัญญาเป็นการเจรจา ระหว่างคู่สัญญาหรือระหว่าง กสทกับฮัทช์ว่าจะยกเลิกเมื่อไหร่
       
       "แม้ครม.จะอนุมัติให้ยกเลิกสัญญา แต่เรากับฮัทช์ยังไม่ได้ยกเลิก เพราะถ้ายกเลิกใครจะดูแลลูกค้า แต่ถ้าพันธมิตรเราสามารถบรรลุข้อตกลงในการเข้าซื้อกิจการฮัทช์สำเร็จเราถึง จะยกเลิก ซึ่งขณะนี้ทราบอยู่ระหว่างการเจรจาในขั้นตอนสุดท้าย"
       
       สำหรับดีลการซื้อกิจการ ฮัทช์ขณะนี้เป็นกลุ่มทรู หลังฮัทช์ไม่รับราคาที่ กสท เสนอซื้อ 4 พันล้านบาท ขณะที่ฮัทช์ยังยืนยันราคาอยู่ที่ 7.5 พันล้าน
       
       นอกจากนี้ กสท ยังมีแผนที่จะพลิกบทบาทมาเป็นผู้ให้บริการเครือข่าย หรือเน็ตเวิร์ก โอเปอเรเตอร์เต็มตัว หลังพันธมิตรหรือกลุ่มทรูเจรจาซื้อฮัทช์สำเร็จ แล้วมีการทำสัญญาฉบับใหม่ในรูปแบบขายส่งบริการ และจะเลิกให้บริการระบบ CDMA ภายใต้ชื่อ CAT CMDA ทั้งที่เป็นแบรนด์ของ CAT ซึ่งมีลูกค้าขณะนี้ประมาณ 3.5 แสนราย และแบรนด์ของฮัทช์ที่ขณะนี้มีลูกค้าประมาณ 7-8 แสนราย หันไปทำระบบ HSPA ซึ่งเป็นการอัปเกรดเทคโนโลยีจากโครงข่ายเดิมบนความถี่ 850MHz ให้เป็นระบบ 3G หลังจากปลายปี 2552 ที่มีฐานลูกค้าลดลงจาก 1.2 ล้านราย รวมถึงรายได้ต่อเลขหมายต่อเดือนลดลงอย่างต่อเนื่อง จนธุรกิจขาดทุนต่อเนื่องปีละ 2 พันล้านบาทนับตั้งแต่ปี 2549
       
       แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าวว่า หาก มีการย้ายข้างสลับขั้วอำนาจที่ดูแลกระทรวงไอซีทีใหม่ มีความเป็นไปได้สูงที่การเลิกเทคโนโลยี CDMA เปลี่ยนเป็น HSPA การเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นจากฮัทชิสันเป็นกลุ่มทรู การยกเลิกสัญญาฮัทช์ อาจถูกกระบวนการตามล้างตามเช็ด เหมือนสิ่งที่กระทรวงไอซีทีกำลังทำกับการแก้ไขสัญญาเอไอเอส ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ บอร์ดกสท และผู้บริหารที่เกี่ยวข้องรอการเช็กบิลย้อนหลังได้
       
       ประการแรก คือความเสียหายที่เกิดกับ กสทในการเลิก CDMA เพราะ กสทลงทุนกับ CDMA ใน 51 จังหวัดภูมิภาคเป็นเงินกว่า 7.2 พันล้านบาท เพิ่งจะเปิดให้บริการได้ไม่เท่าไหร่ ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน จู่ๆก็มายกเลิก ก็น่าจะประเมินมูลค่าความเสียหายของกสทได้ ประการที่สอง บริษัท บีเอฟเคที เป็นบริษัทเอกชนที่ไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของโครงข่าย และไม่มีสิทธิบริหารจัดการความถี่ได้ รวมทั้งไม่เคยผ่านขั้นตอนพรบ.ร่วมทุนปี 2535 สุ่มเสี่ยงที่จะผิดกม.มาก การที่กสทบอกจะให้กลุ่มทรูภายหลังจากซื้อฮัทช์แล้วอัปเกรดเปลี่ยน CDMA ให้เป็น HSPA จะทำได้โดยไม่ผิดกม.หรือไม่
       
       ประการที่สาม กลุ่มทรูหลังจากซื้อกิจการฮัทช์ จะได้ความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งถือเป็นความถี่ 3G หากทำด้วยขั้นตอนกระบวนการโปร่งใส รัฐจะได้เงินนับหมื่นล้านบาท และประการที่สี่ กสทต้องลงทุนอัปเกรด CDMA 51 จังหวัดภูมิภาคให้เป็น HSPA ถามว่าต้องใช้เงินลงทุนอีกเท่าไหร่ ในขณะที่ของเก่าลงทุน CDMA ไปยังไม่ได้ทุนคืนก็จะเลิกให้บริการ
       
       "ไม่อยากบอกว่าเป็นกระบวนการเอื้อประโยชน์เอกชนบางบริษัท เท่านั้น หากคิดว่าไม่ผิดกม.หรือไม่กลัวถูกตามเช็กบิลตอนหลัง ติดคุกตอนแก่ ก็รีบๆทำเลย"
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #33 เมื่อ: วันที่ 01 มกราคม 2011, 04:38:10 »

ทรูลุย 3 จี ทุ่ม 6.3 พันล้านฮุบฮัทช์เบ็ดเสร็จ ผงาดสู้ดีแทค-เอไอเอส


ทรูทุ่ม 6.3 พันล้านฮุบฮัทช์เบ็ดเสร็จ เดินหน้าลุย 3จี ไทยพาณิชย์หนุนเงินกู้ ผงาดสู้ดีแทค-เอไอเอส เผยผนึกกำลังทำฐานลูกค้าขยับขึ้นเป็น 17 ล้านราย ...

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า เมื่อเช้าวันที่ 30 ธ.ค.ที่ผ่านมา บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ ว่า ได้ให้ บริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด เข้าซื้อหุ้นบริษัทฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ จำกัด (HWMH), หุ้นของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด (BFKT), หุ้นของ Rosy Legend Limited (RL) และหุ้นของ Prospect GainLimited (PG)

โดยบริษัท เรียล มูฟ จำกัด จะเข้าซื้อหุ้นใน HWMH 924,998 หุ้น (คิด เป็น 92.5% ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของ HWMH) ในราคาซื้อขายทั้งสิ้นเป็นเงิน 4,350,001 บาท และจะเข้าซื้อหุ้น RL 1 หุ้น (คิดเป็น 100% ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของ RL) ในราคารวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 1 บาท และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด จะเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดในบริษัท BFKT 50,000 หุ้น และหุ้นเพิ่มทุนที่จะออกจำหน่ายก่อนวันซื้อขายหุ้นอีก 79 ล้านหุ้น (คิดเป็น 100% ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของ BFKT) ในราคารวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 1 บาท และจะเข้าซื้อหุ้นใน PG 1 หุ้น (คิดเป็น 100% ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของ PG) ในราคาซื้อขายทั้งสิ้น 1 บาท โดยหลังการเข้าซื้อหุ้นแล้ว เรียล ฟิวเจอร์ จะให้เงินกู้ยืมแก่ BFKT ไม่เกิน 6,300 ล้านบาท เพื่อให้ BFKT นำไปชำระ คืนหนี้สิน นอกจากนี้จะไม่เป็นผู้ค้ำประกัน หรือต้องรับผิดชอบในหนี้ใดๆ ที่บริษัททั้ง 4 มีต่อเจ้าหนี้ของบริษัท

สำหรับการเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้จะทำให้ บริษัท ฮัทชิสัน มัลติมีเดีย เซอร์วิส (ประเทศไทย) และบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) รวมทั้งบริษัทย่อยของ HWMH ได้แก่ บริษัทฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด (HCWML) กลายเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ทั้งนี้ หลังการเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดแล้ว BFKT จะยังคงเป็นผู้ให้เช่าเครื่องและอุปกรณ์ โครงข่ายโทรคมนาคมแก่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) รวมทั้งให้บริการดูแลบำรุงรักษาเครื่อง และอุปกรณ์โครงข่ายแก่ กสท ต่อไป และเรียล มูฟ จะเป็นผู้ให้บริการขายต่อบริการและความจุโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เรี ยล มูฟ จะซื้อมาจาก กสท เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยที่ HCWML จะยังคงทำการตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ CDMA แก่ลูกค้าของ กสท ต่อไป โดยมีเป้าหมายย้ายลูกค้าในระบบ CDMA เข้ามาเป็นลูกค้าในระบบ HSPA ให้หมดภายใน 2 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทรูได้ซื้อหุ้นฮัทช์วงเงิน 6,300 ล้านบาท โดยธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้สนับสนุนเงินกู้ทั้งจำนวน โดยการเซ็นสัญญาครั้งนี้มีเงื่อนไข ที่ กสท ต้องนำเรื่องเข้า ครม. เพื่ออนุมัติระยะเวลา สัมปทาน 14.5 ปี ให้กับทรู เพื่อให้เป็นไปตามอายุใบอนุญาตที่เหลือของ กสท ที่ได้รับจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โดยหาก ครม.ไม่ อนุมัติ ทรูก็ไม่ชำระค่าหุ้นซื้อฮัทช์ ทั้งนี้ การซื้อหุ้นฮัทช์ของทรูจะเป็นการผนึกกำลังระหว่างผู้ให้บริการเบอร์ 3 อย่างทรู และเบอร์ 4 อย่างฮัทช์ ซึ่งจะทำให้ ฐานลูกค้าของทรูขยับขึ้นสู่ 17 ล้านรายทันที จากเดิมมีฐานลูกค้า 16 ล้านราย รวมทั้งยังทำให้การขยายบริการ 3 จี ของทรูมูฟมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากเครือข่ายและคลื่นความถี่ที่ฮัทช์จะให้ทรูเช่าใช้บริการ การซื้อฮัทช์ได้สำเร็จ จึงถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้ทรูขยับขึ้นมาได้เปรียบคู่แข่งอย่างเอไอเอส และดีแทค อย่างชัดเจน.
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #34 เมื่อ: วันที่ 01 มกราคม 2011, 04:42:36 »

ข่าวสารInternet Wifi 3G มีUpมาเรื่อยๆครับ สวัสดีปีใหม่ปี๒๕๕๔ Happy New Year 2011
ขอให้มีความสุข มีเงินใช้ สุขภาพแข็งแรง ตลอดปีกระต่ายทอง นะครับบบบบ
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
i3black99
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 177



« ตอบ #35 เมื่อ: วันที่ 04 มกราคม 2011, 10:42:10 »

เมื่อไหร่ เชียงราย จะได้ใช้ 3G
IP : บันทึกการเข้า
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #36 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2011, 14:08:03 »

เมื่อไหร่ เชียงราย จะได้ใช้ 3G
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #37 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2011, 14:09:10 »

ทรูกดปุ่มลงทุนเต็มสูบ"บรอดแบนด์-มือถือ"1.5หมื่นล.



บิ๊ก กลุ่มทรูเดินหน้าเต็มตัวประกาศปี"54 มุ่งพัฒนาคุณภาพบริการ พร้อมกดปุ่มลงทุนเต็มสูบควักกระเป๋ากว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ขยายเครือข่ายไฮสปีดบรอดแบนด์บุกหัวเมืองต่างจังหวัด และเติมพื้นที่ให้บริการมือถือทั้ง 2G-3G HSPA พร้อมสานต่อภารกิจผนวก "ฮัทช์-CAT CDMA" ปั๊มรายได้โต 17% เพิ่มมาร์เก็ตแชร์ตลาดมือถือแบบรายเดือนรดต้นคอ 2 ค่ายยักษ์


นาย ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงภาพรวมในธุรกิจโทรคมนาคมปี 2554 ว่า เชื่อว่าตลาดยังคงมีการเติบโตแต่ขึ้นอยู่กับการลงทุนขยายโครงข่าย ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ หรือโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ ในกรณีโทรศัพท์มือถือจุดเปลี่ยนสำคัญคือบริการ 3G ถ้าเกิดได้จริง ตลาดจะขยายตัวก้าวกระโดด และวิธีที่ดีสุด คือการผลักดันให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. ดำเนินการประมูลใบอนุญาตบริการ โทรศัพท์มือถือ 2.1 MHz โดยเร็วเพราะมีอำนาจตามกฎหมาย หากรอคณะกรรมการ กสทช.ชุดใหม่อาจเสียเวลาอีกเป็นปี ดังนั้นทางลัดที่สุดคือให้ กทช.ทำต่อไปเลย

"เราก็กำลังศึกษาอยู่ว่าจะทำอย่างไร ให้ กทช.เดินหน้าทำต่อ เขาทำได้ไม่มีกฎหมายบอกว่าทำไม่ได้ ผมไม่คิดว่าจะมีโอเปอเรเตอร์รายไหนไม่อยากให้ไลเซนส์ 3G เกิด แต่อาจมีที่คิดว่ามีก็เอา ไม่มีก็ไม่เดือดร้อน เราเองอยากให้มีโดยเร็ว ช่วงที่มีกระบวนการทางศาลยังถึงกับส่งทีมงานไปเวิร์กกับ กทช. ลองไปเช็กข้อมูลได้ว่า เราอยากให้เกิดจริง ๆ ถ้าทุกคนปักใจเชื่อว่าต้องรออีก 2-3 ปีกว่าจะมี ไลเซนส์ใหม่ ปีนี้คงลุยกันหนัก คนอื่นไม่ลุยเราลุยแน่"

ทั้งนี้กลุ่มทรูจะเดิน หน้าลงทุนขยาย โครงข่ายบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และโทรศัพท์มือถือ เป็นเงินรวมแล้วไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนโครงข่ายบรอดแบนด์ 9,000 ล้านบาท (กรุงเทพฯและต่างจังหวัด) ส่วนบริการโทรศัพท์มือถือจะลงทุนเพิ่มขึ้นเท่าตัวเทียบกับปี 2553 เป็นเงินไม่น้อยกว่า 6,000-7,000 ล้านบาท ทั้งเครือข่าย 2G และอัพเกรด 3G บนคลื่น 850 MHz ด้วยเทคโนโลยี HSPA โดยในไตรมาส 1 จะมีสถานีฐานทั้งสิ้น 8,500 แห่ง เพิ่มขึ้น 1,500 แห่ง

"ทันทีที่ขยายเครือข่ายเพิ่ม มาร์เก็ตแชร์จะมากขึ้น รายได้จะเพิ่มขึ้นตามมา กรณีซื้อฮัทช์และความร่วมมือกับ กสทฯ เราก็มองถึงฐานลูกค้าที่ฮัทช์ และ กสทฯ มีรวมกันประมาณ 9 แสนราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายเดือน รวมที่ทรูมูฟมี 1.2 ล้านราย เป็น 2.1 ล้านรายทันที ในแง่รายได้ของทรูมูฟก็จะเติบโตขึ้นทันที 17% จากปัจจุบันโตเพียง 1-2% เท่านั้น ที่ผ่านมาเราลงทุนค่อยเป็นค่อยไปปีละ 2-3 พันล้าน แต่ปีนี้เพิ่มขึ้นมาก เฉพาะมือถือเพิ่มเท่าตัว (ไม่รวมดีลฮัทช์) ต้องมี 6-7 พันล้านบาท เพื่อเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ มีไลเซนส์ 3G ด้วยจะลงทุนเพิ่มเป็นหมื่นล้าน ถ้า 3G เทกออฟได้ ไม่ว่าเราจะลงทุนหรือ กสทฯ ก็เท่ากับมีการขยายโครงข่าย เราก็จะเติบโตได้"

สำหรับการลงทุน ขยายพื้นที่บริการ 3G บนคลื่น 850 MHz เทคโนโลยี HSPA ซึ่งบอร์ด กสทฯอนุมัติให้ทรูมูฟขยายพื้นที่ทดลองบริการเพิ่มได้อีก 1,200 สถานีฐาน จากที่มีอยู่เดิม 600 กว่าแห่ง ก็จะเดินหน้าต่อไป เนื่องจากทำให้ลูกค้าระดับบน โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้สมาร์ทโฟนเข้ามาใช้บริการทรูมูฟเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แม้ยังไม่สามารถเก็บค่าบริการได้ แต่คงต้องจำกัดปริมาณการใช้งาน เพื่อไม่ให้กระทบคุณภาพเครือข่ายโดยรวม เนื่องจากการเปิดให้ทดลองใช้บริการฟรีโดยไม่จำกัดกระตุ้นให้มีการใช้เกิน ความจำเป็น

ซีอีโอกลุ่มทรูเชื่อว่าในปีนี้ยังคิดว่าจะเป็นปีที่ ประเทศไทยต้องขยับเขยื้อนเรื่อง 3G ในทางใดทางหนึ่ง และน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพราะ 3G เรียกได้ว่าเป็นโซลูชั่นให้กับประเทศไทยในการกระโดดเข้าสู่เรื่องของไฮสปี ดอินเทอร์เน็ตในฝั่งของบริการโทรศัพท์มือถือ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับฟิกซ์ไลน์เมื่อ 5 ปีที่แล้ว

"5 ปีก่อนไฮสปีดอินเทอร์เน็ตกับ 3G เกิดไล่ ๆ กัน แต่ฝั่งมือถือประโยชน์ที่รัฐวิสาหกิจได้รับเยอะมาก การขยับเรื่องนี้จึงเป็นไปอย่างช้า ๆ ต้องดึงให้รัฐวิสาหกิจทำก่อน ฟิกซ์ไลน์จึงขยับไปบรอดแบนด์ก่อน 3G คือบรอดแบนด์ของไร้สาย ถ้าเกิดขึ้นจะพลิกโฉมอุตสาหกรรมมหาศาล ทั้งใน แง่การพัฒนาคอนเทนต์ แอปพลิเคชั่น ซอฟต์แวร์ และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทย ขณะที่ราคาเครื่องลดลงเรื่อย ๆ มีสมาร์ทโฟนราคา 4-5 พันบาท"

ปัจจุบัน ครัวเรือนในไทยมีประมาณ 20 ล้านครัวเรือน แต่เข้าถึงไฮสปีดอินเทอร์เน็ตได้เพียง 2.4 ล้านครัวเรือน แม้จะเพิ่มพื้นที่บริการอีกเท่าตัวก็เป็น 5 ล้านครัวเรือนยังไปไม่ถึงอีก 15 ล้านครัวเรือน ถ้าลงทุนลากสายไปในแง่การลงทุนไม่คุ้ม เพราะบ้านเริ่มกระจายตัวไกลขึ้น จึงต้องนำเทคโนโลยีไร้สายเช่น 3G เข้ามา ไม่ว่าจะเชื่อมต่อผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยแอร์การ์ด, ดองเกิล หรือโทรศัพท์มือถือ

นอกจากขยายการลงทุนโครงข่ายทั้ง บรอดแบนด์ และมือถือเพิ่มเติมแล้ว ในปีนี้ยังจะหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพโดยรวม โดยนำ TQA : Total Quality Assurance มาใช้ถือเป็นปีแห่งการมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพเป็นพิเศษ

"คอน เวอร์เจนซ์และการมุ่งนำเสนอ อินโนเวชั่นใหม่ ๆ คือวิสัยทัศน์ธุรกิจที่มุ่งตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภครุ่นใหม่ อย่างทรู คอฟฟี่เป้าหมาย คือไอซีที คอมมิวนิตี้เซ็นเตอร์ ต้องเพิ่มเรื่องของ แก็ดเจตต่าง ๆ มีบริการโฟโต้พรินติ้ง เป็นต้น ตอนนี้ยังเป็นแค่เน็ตคาเฟ่"
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #38 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2011, 14:10:02 »

'ไอซีที' ปลุกเสือกระดาษทีโอที เลิกนอนกิน-เอาตัวให้รอด


รมว.ไอซีที เล็งเรียกคณะกรรมการ ทีโอที –กสท คิดหาทางเสริมแกร่งองค์กรบริการ และผลิตภัณฑ์ใหม่  หวังมอบหมายงานแข่งขันกับเอกชนเลี้ยงตัวเองได้ในอนาคต...

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า ภายในเดือนม.ค.2554 จะนำผลสรุปคณะกรรมการมาตรา 22 ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา โดยขณะนี้กระทรวงไอซีทีได้ให้คณะกรรมการคู่ขนานตรวจสอบอยู่ และมีข้อทักท้วงหลายข้อที่ต้องสรุปผลอย่างรอบคอบ

ทั้งนี้ กสท ยังไม่ส่งผลสรุปมายังกระทรวงไอซีทีแต่อย่างใด โดยกระทรวงไอซีทีได้เร่งให้ กสท ส่งผลสรุปมาให้โดยเร็วเพื่อที่จะนำเข้าครม.พร้อมกับของ ทีโอที อย่างไรก็ตาม หาก กสท ไม่รีบส่งผลสรุปมาโดยเร็ว ส่วนตัวก็จะส่งผลสรุปของ ทีโอที เข้าครม.เพื่อให้พิจารณาก่อน แต่ในบางประเด็นของ กสท อาจจะต้องส่งก่อน อาทิ การโอนย้ายทรัพย์สินของ กสท หลังหมดสัญญาสัมปทาน

สำหรับ กรณีที่คณะกรรมการมาตรา 22 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ที่ตรวจสออบสัญญาระหว่าง กสท และ บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค มีความเห็นบางรายว่า ดีแทค ไม่ผิดพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ในการแก้สัญญาของดีแทค โดยต่ออายุสัมปทานจากเดิมที่จะหมดปี 2556 ออกไปอีก 5 ปีเป็นจะหมดอายุปี 2561 นั้น ไม่ใช่เรื่องที่สร้างความเสียหายให้กับ กสท แตกต่างจากกรณีของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้อย่างชัดเจนจึงสร้างความเสียหายมากกว่า นั้น นายจุติ กล่าวว่า ขณะนี้ ยังไม่ได้อ่านรายละเอียดใดๆ ขอฟังข้อมูลจากนักกฏหมายของกระทรวงไอซีทีก่อน

“เราไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามเร่ง กสท เช่นกัน ซึ่งหาก กสท ส่งมาไม่ทันภายในสัปดาห์หน้าก็จะไม่รอ แต่เราก็ได้เร่ง กสท โดยตลอด เพราะหากนิ่งนอนใจ และไม่ทำอะไรเลย ก็จะผิดมาตรา 157 ด้วย แต่ใจจริงก็อยากส่งผลสรุปเข้า ครม.โดยเร็ว แต่หากส่งสัปดาห์แรกของปีใหม่เดี๋ยวเอไอเอส จะหาว่าเราตั้งหน้าตั้งตาเล่นงานเขา เพราะแค่นี้ เขาก็หาว่าตั้งหน้าตั้งตาเล่นงานเขาอยู่แล้ว” รมว.ไอซีที กล่าว

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ผลสรุปของคณะกรรมการมาตาม 22 กรณีการแก้ไขในสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือของ ทีโอที กับ เอไอเอส โดยคณะกรรมการมาตรา 22 มีมติ 5 ประเด็นสำคัญคือ 1.กำหนดให้เอไอเอสกลับไปจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในระบบพรีเพด (เติมเงิน) 30% และจะต้องจ่ายในอัตราก้าวหน้าสิ้นสุดที่ 35% 2.ให้เอไอเอส นำรายได้ที่ได้จากการใช้โครงข่ายร่วม (โรมมิ่ง) นำส่งเข้าเป็นรายได้ให้ทีโอทีทันที จากเดิมที่มีการแก้ไขสัญญา แล้วนำรายได้จากโรมมิ่งไปรวมเป็นในผลประกอบการจากนั้น จึงค่อยนำส่งทีโอทีภายหลัง 3.ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้ตัดสินใจ จะอนุญาตให้เอไอเอสอยู่ในระบบสัมปทานเดิม ที่มีการแก้ไขขยายอายุสัมปทานหรือไม่ เนื่องจาก การแก้ไขสัมปทานทำให้เอไอเอสมีอายุ 25 ปี จากเดิมที่มีอายุ 20 ปีและเอไอเอส ต้องหมดอายุสัญญาสัมปทานตั้งแต่เดือนก.ย.ที่ผ่านมาแล้ว 4.มูลค่าความเสียหายอยู่ที่ 7.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นความเสียหายจากการแก้ไขสัญญาระบบพรีเพด 5.5 หมื่นล้านบาท การไม่นำส่งรายได้จากบริการโรมมิ่งทันที 2 หมื่นล้านบาท และความเสียจากเก็บภาษีสรรพสามิตอีก 3.5 หมื่นล้านบาท รวมมูลค่า 1.1 แสนล้านบาท

และ 5.คณะกรรมการได้เสนอแนวทางเรียกร้องความเสียหาย ซึ่งจะเสนอให้มีการฟ้องร้องเอไอเอส เรียกค่าเสียหายจาก 2 ส่วนข้างต้น คือ พรีเพดและโรมมิ่งเพราะเกิดจากการแก้ไขสัญญารวมเป็นเงินมูลค่า 7.5หมื่นล้านบาท ซึ่งหากครม.เห็นชอบตามแนวทางดังกล่าว ก็จะต้องสั่งมายังทีโอทีเพื่อยื่นฟ้องต่อเอไอเอสต่อไป

นายจุติ กล่าวต่อว่า เร็วๆ นี้จะเชิญประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอที-กสท เข้าพบเพื่อศึกษาแผนการดำเนินธุรกิจขององค์กรค์เพื่อจะได้แข็งขันกับธุรกิจ โทรคมนาคมที่มีการแข่งขันในปัจจุบัน เนื่องจาก ไม่สามารถสู้กับเอไอเอส ดีแทค และ บริษัท ทรูมูฟ บริษัท ในเครือของ บริษัท ทรูคอเปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรูได้ โดยต้อง การให้ ทีโอที-กสท หาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆเข้ามาเพิ่ม เพื่อให้องค์กรสามารถเดินหน้าและแข่งขันกับเอกชนได้ ขณะเดียวกันเพื่อความอยู่รอดจึงจำเป็นที่ทั้ง 2 องค์กรต้องหาผู้ที่จะมาดูแลสายงานผลิตภัณฑ์และการตลาด (ซีเอ็มโอ) ซึ่งต้องเป็นบุคคลจากภายนอก เพราะน่าจะมีความเชี่ยวชาญกว่าคนภายในองค์กร โดยจะมีการนัดบอร์ด จากทั้ง 2 บริษัท มาหารือถึงแนวทางดังกล่าว

“อยาก ให้ทั้งสององค์กรเอาตัวให้รอดเพราะปัจจุบันประสบภาวะขาดทุน การบริหารงานต้องปรับปรุงให้มีความกระฉับกระเฉง อยากให้หาโปรดักส์และบริการเพิ่มและให้หาซีเอ็มโอเพราะคนในยังไม่เก่งและสู้ กับเอกชน ไม่ได้ ” รมว.ไอซีที กล่าว

สำหรับ การแต่งตั้งรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที นั้น นายจุติ กล่าวว่า การประชุมบอร์ดทีโอทีวันที่ 5 มกราคม 54 นี้ ทีโอที จะมีการแต่งตั้งนายนพณัฎฐ์ หุตะเจริญ เป็นรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยสิ่งที่ต้องการให้ดำเนินการคือ การโอนทรัพย์สินตามสัญญาสร้าง โอน บริการ เช่น เสา อุปกรณ์ คืนกลับยังทีโอที.
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,400


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #39 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2011, 14:11:07 »

'บรอดแบนด์แห่งชาติ 54'ดันคนไทยใกล้เน็ตมากขึ้น


อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์ เป็นเรื่องใกล้ตัวของคนเมืองหลวง แต่เป็นเรื่องไกลตัวของคนต่างจังหวัด เพราะแม้แต่การได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วระดับกิโลบิตต่อวินาทียังเป็น เรื่องยาก
   
จากการสำรวจจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ปี 2553 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามทั้งหมด 14,067 คน จากการสำรวจผ่านอินเทอร์เน็ต ระหว่างเดือน ส.ค.-ต.ค. 2553 ระบุ ผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเอดีเอสแอล (ADSL) คิดเป็น 52.1% ซึ่งแสดงถึงความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้น ส่วนพฤติกรรมการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างจากปีก่อน คือ เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตในช่วงเวลา 20.01-24.00 น. มากที่สุดคิดเป็น 37.3% โดยส่วนใหญ่ยังใช้งานอินเทอร์เน็ตจากที่บ้านและที่ทำงาน ขณะที่กิจกรรมที่ทำบนอินเทอร์เน็ตมากที่สุดยังเป็นรับ-ส่งอีเมล คิดเป็น 27.2% ค้นหาข้อมูล 26.1% ติดตามข่าว 14.1% และอี-เลิร์นนิ่ง 8.2%
   
ขณะที่หลายสำนักซึ่งจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีการคาด การณ์ว่า ปี 2553 จะมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 24 ล้านคน ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.733 พันล้านคน หรือ 25.6% ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล เดือนกันยายน 2552)
   
ด้านบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ เคยให้ความเห็นไว้ว่า “บรอดแบนด์” ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่สำคัญของประเทศที่ต้องการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาให้ได้อย่างรวดเร็ว กระทั่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่า การขยายตัวของบรอดแบนด์ มีผลต่อการเพิ่มหรือลดลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือจีดีพี ในประเทศนั้น ๆ
   
ผลการศึกษาของซิสโก้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ระบุว่า ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีจำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์เพิ่มขึ้น 10% จะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นประมาณ 0.8-0.9% และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (จีดีพีต่อชั่วโมงทำงาน) ประมาณ 0.7-0.8%
   
ส่วนการวิเคราะห์ประเทศไทย พบว่า ถ้ามีผู้ใช้บรอดแบนด์เพิ่มขึ้นจำนวน 116,092 คน จะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้น 1% หรือประมาณ 2.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้งานบรอดแบนด์เป็น 348,275 คนจะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้น 3% หรือประมาณ 7.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
   
ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงตั้งเป้าในแผนแม่บทไอซีที ฉบับที่ 2 (ปี พ.ศ. 2552-2556) ไว้อย่างน้อยที่สุด 50% ของประชากรทั้งประเทศต้องเข้าถึงไอทีได้อย่างเข้าใจเพื่อก่อเกิดประโยชน์ต่อ การเรียนรู้ การทำงาน และชีวิตประจำวัน
   
และการจะไปถึงจุดนั้นได้จึงต้องเดินหน้าโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ!! รวมทั้งนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ!!

ครม.เห็นชอบ “บรอดแบนด์แห่งชาติ”
   
เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2553 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบและเห็นชอบแผนบรอดแบนด์แห่งชาติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (ไอซีที) เสนอ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นเครื่องมือในการนำนโยบายดังกล่าวไปสู่ การปฏิบัติต่อไป และเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (กทสช.) บูรณาการคณะทำงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีหน้าที่จัดทำกรอบแผนการดำเนินการ กำหนดตัวชี้วัดและวิธีประเมินผลที่จำเป็นสำหรับการติดตามความสำเร็จของ นโยบาย เสนอองค์กรที่รับผิดชอบดำเนินการตามแผนปฏิบัติการข้างต้น และจัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการเพื่อให้กทสช. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและสาธารณะเป็นระยะ และได้ให้กระทรวงไอซีทีประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน รวมทั้งองค์กรกำกับดูแลเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว
   
โดยรัฐบาลมีเป้าหมายพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากร ไม่ต่ำกว่า 80% ในปี 2558 และไม่ต่ำกว่า 95% ในปี 2563 รวมทั้งให้มีบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงในเมืองที่ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที ในปี 2563
 
“ถนนไร้สาย” ไว-ไฟ 2 เมกะบิต 199 บาทต่อด.
   
วันที่ 25-26 ธ.ค. 53 โครงการถนนไร้สาย หรืออินเทอร์เน็ตไร้สาย (ไทยเน็ต) ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันครอบคลุมการใช้งาน 6 จังหวัด
   
นายมรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้โครงการถนนไร้สาย ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านไว-ไฟ ด้วยความเร็ว 2 เมกะบิตต่อวินาที ราคา 199 บาทต่อเดือน ครอบคลุม 6 จังหวัดแล้ว  ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช จ.ตรัง จ.เพชรบูรณ์ จ.เชียงใหม่ จ.เชียง ราย และ จ.พิษณุโลก โดยตั้งเป้าสิ้นปี 2554 จะเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตในโครงการถนนไร้สายได้ครอบคลุม 10 จังหวัด โดยติดตั้งจุดให้บริการไว-ไฟจังหวัดละ 80-90 จุด ใช้เงินลงทุนในการติดตั้งจุดไว-ไฟ จุดละ 4 หมื่นบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำซีเอสอาร์ของทีโอที และอยู่ในนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ
   
สำหรับพื้นที่ที่จะทำโครงการถนนไร้สายจะต้องเป็นพื้นที่ในชุมชนห่างไกล มีโรงเรียนและไฟฟ้าเข้าถึง เนื่องจากโครงการดังกล่าวทำขึ้นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอินเทอร์ เน็ตของคนในสังคม คาดจะมีการซื้อบัตรอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย โครงการถนนไร้สายประมาณ 1 พันใบต่อเดือน
   
ทั้งนี้ การใช้บริการบัตรอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย โครงการถนนไร้สาย จะเข้าใช้งานได้ในเฉพาะพื้นที่ที่มีสัญลักษณ์โครงการถนนไร้สายเท่านั้น โดยโครงการนี้ไม่ทำในพื้นที่กรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในระดับ 3-4 เมกะบิตต่อวินาทีได้ง่าย และประชาชนมีความสามารถในการใช้จ่ายสูง

เปิดตัวห้องสมุดโลกฉบับไทยวันเด็ก 54
   
นอกจากการนำอินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกหมู่บ้านแล้ว การเตรียมเนื้อหาเพื่อรองรับการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตถือเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน
   
นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า นอกจากทีโอทีที่เดินหน้านำอินเทอร์เน็ตเข้าถึงหมู่บ้านแล้ว บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้สนับสนุนงบประมาณ 10 ล้านบาท เพื่อแปลสารานุกรมโลกที่รวบรวมอยู่ในเว็บไซต์วิกิพีเดีย ให้เป็นภาษาไทยทั้งหมด ซึ่งในเว็บไซต์ดังกล่าวมีบทความกว่า 3.5 ล้านบทความ โดยจะเปิดตัวให้กับเด็กไทยเข้าใช้งานอย่างเป็นทางการในวันเด็กแห่งชาติที่จะ ถึง

บรอดแบนด์แห่งชาติ เดินพร้อม “ไอพีวี6”
   
IPv4 หรือ Internet Protocol Version 4 เป็นไอพีแอดเดรส เวอร์ชั่น 4 ที่ใช้ระบุตัวอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมานานถึง 29 ปีแล้ว มีจำนวนเลขหมายไอพีแอดเดรสประมาณ 4 พันล้านเลขหมาย และคาดการณ์กันว่า เลขหมาย   ไอพีแอดเดรส เวอร์ชั่น 4 จะหมดลงในปี ค.ศ. 2011 หรือปี พ.ศ.  2554 
   
ระยะเวลาการหมดของไอพีแอดเดรส เวอร์ชั่น 4 จะเริ่มตั้งแต่ มี.ค. 2554 ในแถบประเทศอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ จะทยอยหมดอีก 10-12 เดือน หรือหมดปลายปี ค.ศ. 2011 หรือ ต้นปี ค.ศ. 2012
   
ซึ่งประเทศไทยก็ได้เวลาเปลี่ยนผ่านการใช้งาน IPv4 สู่ IPv6 (Internet Protocol Version 6) ซึ่งเป็นไอพีแอดเดรส เวอร์ชั่น 6 ที่พัฒนาให้มีจำนวนเลขหมายมากถึงระดับล้านล้านล้านเลขหมาย หรือ 2 ยกกำลัง 128 เพียงพอที่จะให้ประชาคมโลกใช้งานไอพีแอดเดรสได้ถึง 50 ปี หลังจากนั้นคงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เวอร์ชั่นใหม่ต่อไป
   
ดังนั้น อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการขยายบริการบรอดแบนด์ตามนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติจึงต้องรองรับการใช้งานไอพีวี 6.
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หน้า: 1 [2] 3 4 5 6 7 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!