เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 21 กรกฎาคม 2025, 16:51:39
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คุยเรื่องไอที - เทคโนโลยี (ผู้ดูแล: K€nGja1, chiohoh, nuifish, NOtis)
| | |-+  อัปเกรดข่าว3G ข่าวสารInternet/Wifi /โทรคมนาคม ในเมืองไทย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 พิมพ์
ผู้เขียน อัปเกรดข่าว3G ข่าวสารInternet/Wifi /โทรคมนาคม ในเมืองไทย  (อ่าน 16122 ครั้ง)
giroo
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #60 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2011, 17:26:32 »

ตาลายคร้าบ พี่น้อง
IP : บันทึกการเข้า
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #61 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2011, 15:56:52 »

ตาลายคร้าบ พี่น้อง
ซื้อคอมเขาแถมคีย์บอด ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 04 กุมภาพันธ์ 2011, 00:44:34 โดย หนอนน้อย » IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #62 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2011, 16:00:42 »

"AIS "ทุ่มหมื่นล้าน ขยายเน็ตเวิร์กสู้ศึก


เอไอเอสตอกย้ำกลยุทธ์ Quality DNAs เข้มข้นทุกรูปแบบ ประกาศทุ่ม 1 หมื่นล้านบาท ลงทุนขยายเครือข่าย 3G HSPA ในกทม. และหัวเมืองใหญ่ 1,884 สถานีฐาน พร้อมติดตั้งไวร์เลสบรอดแบนด์ และไว-ไฟปูพรมบริการด้านสื่อสารข้อมูลไตรมาส 2 ปีนี้
       
       นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า กลยุทธ์ การรุกตลาดโทรคมนาคมของเอไอเอสปีนี้จะให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพเป็นพิเศษ หมายถึงคุณภาพในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่คุณภาพเครือข่ายไปจนถึงคุณภาพการให้บริการ สืบเนื่องจาก พฤติกรรมการใช้งานผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือได้เปลี่ยนไปจะเห็นได้จากการ เติบโตการใช้งานโมบายดาต้าของเอไอเอสในปีที่ผ่านมาเติบโตกว่า 100%
       
       "จริงๆ แล้ว เอไอเอสได้เน้นเรื่องคุณภาพมาหลายปีแล้ว แต่ในปีนี้จะหมายถึงความเข้มข้นของคุณภาพในทุกมิติ ทั้ง นี้เป็นผลพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคในเครือข่ายมีการใช้งานอินเทอร์เน็ต มากขึ้น โดยเฉพาะการเติบโตของโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเฟซบุ๊กในเมืองไทยในปีที่แล้ว เติบโตเป็นอันดับสองของโลก"
       
       แนวโน้มดังกล่าวดูได้จากการเติบโตในส่วนของเอไอเอส ช่วง 3 ไตรมาส (ปี2553) ยังเป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่งตลาด 53.4% ด้วยการเติบโตในภาพรวมถึง 7.5% โดยมีลูกค้าและการใช้งานทางด้านวอยซ์เพิ่มขึ้น 9-10% และ SMS ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งาน โมบายล์ ดาต้าเติบโตกว่า 100% โดยที่มีผู้ใช้มากกว่า 7.5 ล้านราย เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปี 2552
       
       สำหรับปี 2554 คาดว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมน่าจะเติบโตอีกประมาณ 3-5% ซึ่งเชื่อว่าการใช้งานโทรศัพท์มือถือจะยังคงเพิ่มอย่างต่อเนื่อง แม้แต่การใช้งานพื้นฐานด้านเสียง และจะมีความต้องการเพิ่มเติมขึ้นเป็นอย่างมากสำหรับการใช้งานโมบายล์ อินเทอร์เน็ต โซเชียลเน็ตเวิร์ก สมาร์ทดีไวซ์ รวมถึงแอปพลิเคชันในทุกๆ ระบบปฏิบัติการ โดยคาดว่าการแข่งขันของโอเปอเรเตอร์จะเป็นไปอย่างรุนแรงในแกนของโทเทิล โซลูชัน ซึ่งถือว่าจะเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ลูกค้าได้เพิ่มเติมขึ้นจากที่ผ่านมา
       
       "เราได้ดำเนินการเพื่อตอบรับเทรนด์การแข่งขันดังกล่าวโดยตลอด จึงทำให้ปี 2554 เรามีความพร้อมในการให้บริการด้วยรูปแบบของโทเทิลโซลูชันอย่างเต็มที่ ภายใต้แนวทางการทำงาน Quality DNAs ซึ่งจะทำให้เอไอเอสยังคงความเป็นผู้นำ"
       
       นายมาร์ค ชอง ชิน ก๊อก หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหารด้านปฏิบัติการ เอไอเอส กล่าวว่า คุณภาพซึ่งถ่ายทอดมาจากองค์ประกอบรากฐานของความเป็นเอไอเอส นับเป็นหัวใจหลักในการส่งมอบบริการจากทุกมิติ ผ่านดีไวซ์ เน็ตเวิร์ก แอปพลิเคชัน รวมถึงคัสตอมเมอร์ เซอร์วิสสู่ผู้ใช้บริการ
       
       โดยเฉพาะในส่วนของเน็ต เวิร์ก ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กระแสการใช้งานโมบายล์ อินเทอร์เน็ตเริ่มได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างนั้นจึงทำการปรับเปลี่ยนเครือข่ายบนเทคโนโลยี 2G ให้พร้อมรับการใช้งานโมบายล์อินเทอร์เน็ตที่กำลังเติบโตรวมทั้งนำเทคโนโลยี EDGE Plus เข้ามาพัฒนาเพิ่มเติม
       
       ในปีนี้ เอไอเอสจะใช้งบลงทุนด้านเครือข่าย 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะมีทั้งการขยายพื้นที่การให้บริการ, เพิ่มความสามารถในการรองรับการใช้งานของเครือข่าย 2G เดิมที่ยังมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และขยายพื้นที่ให้บริการของ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA บนคลื่นความถี่ 900 MHz ที่ให้บริการตั้งแต่ปี 2551จำนวน 133 สถานีฐานให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
       
       "คาดว่าจะใช้งบลงทุนขยาย เครือข่าย 3G HSPA สำหรับจำนวนสถานีฐาน 1,884 แห่ง ประมาณ 2,500 ล้านบาท โดยจะเริ่มทยอยเปิดให้บริการเพิ่มเติมภายในไตรมาสที่สอง บริเวณกรุงเทพฯ ชั้นใน และจังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี นครราชสีมา หัวหิน ภูเก็ต หาดใหญ่ และเชียงราย หลังจากนั้นในไตรมาสที่ 3 ก็จะทยอยขยายพื้นที่ให้บริการในกรุงเทพฯ ชั้นนอก นครปฐม และขอนแก่น"
       
       นอกจากนี้ เอไอเอสจะเพิ่มเติมเทคโนโลยีเครือข่ายเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบไลฟ์สไตล์ การใช้งานในลักษณะของ Fix Wireless เพิ่มเติม ด้วยเทคโนโลยีไวร์เลส บรอดแบนด์ถึงบ้าน ที่จะมีให้ความเร็วสูงสุดถึง 8 เมกะไบต์ต่อวินาที โดยจะพร้อมให้บริการภายในไตรมาส 1 ภายใต้คอนเซ็ปต์ 1 ซิม ทุกเครือข่าย
       
       นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานการตลาด เอไอเอสกล่าวว่าเทคโนโลยีไวร์เลส บรอดแบนด์ จะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเสริมความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้มากนัก ซึ่งจะเริ่มทดลองให้บริการในบางพื้นที่ก่อน หลังจากนั้นถึงจะเปิดให้บริการในเชิงแมส ซึ่งจะเห็นกิจกรรมการตลาดอย่างจริงจังภายในไตรมาส 2 ของปีนี้
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #63 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2011, 16:01:56 »

กสท.-ทรู เซ็นสัญญาลับแลกใช้โครงข่ายเดินเครื่อง3จีคลื่นเดิม


กสท.-ทรู มุบมิบเซ็นสัญญาลับแลกใช้โครงข่ายเดินเครื่อง 3 จีคลื่นเดิม พร้อมทำสัญญาจ้าทรูดูแลผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 7 แสนเลขหมาย ในช่วงเวลา 2 ปี

เมื่อ เวลา 07.45 น. เมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน คลองสาน นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และนายดนันท์ สุภัทรพันธุ์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารไร้สาย กสท. ได้ร่วมลงนามยกเลิกสัญญาการทำตลาดโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอในส่วนกลาง 25 จังหวัด ยี่ห้อ”ฮัทช์” และสัญญาจ้างสร้างโครงข่ายและบำรุงรักษาโครงข่ายกับบริษัท บีเอฟเคที จำกัด (มหาชน) กับนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ถือหุ้นฮัทชิสัน หลังจากได้เข้าซื้อกิจการฮัทช์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2553

หลังจากนั้นได้ลงนามในสัญญาฉบับใหม่ กับกลุ่มบริษัททรู โดยกสท. จ้างทรู ดูแลลูกค้าผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 700,000 เลขหมาย เป็นระยะเวลา 2 ปี และสัญญาเช่าใช้อุปกรณ์เHSPA รวมถึงการเช่าโครงข่ายระหว่างกัน เพื่อเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3 จี เป็นเวลา 14.5 ปี โดยนายจิรายุทธ และนายศุภชัย จะแถลงข่าวรายละเอียดของการทำสัญญาร่วมกันในเวลา 15.00 น. ที่โรงแรมบันยันทรี สาธร.
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #64 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2011, 16:02:51 »

ทรูปิดดีลซิวฮัทช์เท 6พันล้านลุยเปิดบริการ 3จี


"ศุภชัย" ระบุ ทรูเข้าซื้อหุ้นฮัทช์เรียบร้อย พร้อมลุยเดินหน้า3จีทั้งบน CDMA และ HSPA ลูกค้าเก่ายังใช้งานได้ต่อเนื่อง ประกาศเทงบ 6พันล้านบาท ขยายรวมทั้งอัพเกรดเครือข่ายเพื่อให้บริการร่วมกับ กสท ได้ทันที...

เมื่อ วันที่ 27 ม.ค.2554 นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัททรู คอปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความสำเร็จจากการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน จะทำให้ทรูสามารถเดินหน้าให้บริการ 3 จี ทั้งในระบบซีดีเอ็มเอ และระบบ HSPA: High Speed Packet Access ร่วมกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ  CAT ที่จะเริ่มให้บริการได้ทันที โดยลูกค้าในระบบซีดีเอ็มเอ CDMA: Code Division Multiple Access ยังสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถอัพเกรดใช้ระบบ HSPA ได้เมื่อมีการวางโครงข่ายเรียบร้อยแล้ว โดยในเบื้องต้นบริษัทฯ จะลงทุน 5-6 พันล้านบาท เพื่อขยายสถานีฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศประมาณ 3,000 สถานีฐาน

"เชื่อ ว่าการร่วมมือครั้งนี้จะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ดี โดยทั้ง 2 บริษัทก็เป็นบริษัทของคนไทยด้วยกัน ส่วนรูปแบบสัญญาก็จะเป็นแบบการตกลงทางธุรกิจ ที่ไม่คิดว่าจะเป็นการได้เปรียบเหนือคู่แข่ง เพราะรายอื่นก็มีขีดความสามารถ และปรับตัวไปตามกลไกตลาด ถือเป็นการแข่งขันที่ท้าทายทางด้านการวางยุทธศาสตร์และการลงทุน เชื่อว่าใน 2 ปีนี้จะมีลูกค้าในระบบ HSPA เพิ่มอีก 3 ล้านเลขหมาย" กก.ผจก.ใหญ่ บ.ทรูฯ กล่าว

นายศุภชัย กล่าวต่อว่า ก่อนที่จะเข้าซื้อฮัทช์ได้ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยเชื่อว่าจะไม่เข้าช่าย พรบ.ร่วมทุนฯ และจะเป็นมิติใหม่ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมระบบเสรี จากที่รัฐเคยผูกขาดทรัพยากรสัญญาสัมปทานมือถือระบบ 2 จี ที่มองว่ายังไม่มีคำตอบ 100% อีกทั้งยังไม่มีการรับรองได้ว่า จะได้ใช้คลื่นภายหลังการหมดสัญญาสัมปทาน อย่างไรก็ตามมองว่ากสทช.ควรนำคลื่นออกมาให้ประมูลก่อนหมดสัญญา ทั้งนี้คิดว่าจะมีอายุใช้ได้อีก 8 ปี

ด้าน นายจิรายุ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ถือเป็นโอกาสที่ดีของอุตสหากรรมโทรคมนาคมไทยทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงความรู้ ข้อมูลข่าวสารด้วยเทคโนโลยี3จีระบบซีดีเอ็มเอและเอชเอสพีเอ ทั้งยังทำให้ กสท.สามารถก้าวสู่การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี 3 จีอย่างเต็มรูปแบบเชื่อว่าจะสามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี 3 จีได้ทันที และครอบคลุมทั่วประเทศภายในระยะเวลา 2 ปี ในการเซ็นสัญญาครั้งนีคณะกรรมการ(บอร์ด) ได้อนุมัติให้ลงนามตั้งแต่การประชุมครั้งก่อน โดยกำหนดเงื่อนไขเพียงหากมีการแก้ไขสาระสำคัญ ก็ให้นำเข้าที่ประชุมอีกครั้ง

กจญ.กสท กล่าวด้วยว่า ในส่วนของสหภาพแรงงาน กสท ก็ได้รับทราบเรื่องดังกล่าวด้วย และมีความพยายามให้แก้เรื่องซีดีเอ็มเอ ที่เรื้อรังอยู่นานแล้วได้เปลี่ยนเป็นระบบเอชเอสพีเอ นอกจากนี้ยังมองว่าสัญญาเดิมยังมีความซับซ้อน ไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจใหม่ รวมถึงข้อพิพาทที่มีกับกลุ่มฮัทชิสัน ขณะนี้ บริษัท มีรายได้จากฮัทช์และ กสท ที่ติดลบปีละ 1,000 ล้านบาท เชื่อว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้บริษัทฯกลับมามีรายได้เป็นบวกในทันที หรือประมาณปีละ 2,000 ล้านบาท เพราะเป็นการส่งเสริมลูกค้าทั้งของทรูและของฮัทช์ ทั้งนี้ กสท.จะเป็นผู้ลงทุนเครือข่าย และทรูเป็นผู้ลงทุนอุปกรณ์ และเป็นผู้เช่าใช้ผ่านสัญญาเช่าดังกล่าว
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #65 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2011, 16:04:00 »

"สามารถ-ล็อกซเล่ย์"คว้า 3G TOT เคาะราคาที่ 16,290 ล้านบาท


กิจการร่วมค้าเอสแอลที่มีกลุ่มสามารถและล็อกซเล่ย์ร่วมด้วย คว้างานสร้างโครงข่ายมือถือ 3G TOT หลังเคาะด้วยระบบอี-ออกชัน 17 ครั้ง ทำราคาต่ำสุดที่ 16,290 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 1,150 ล้านบาท หรือ 6.59% พร้อมเสนอกรรมการผู้จัดการใหญ่ 31 ม.ค.นี้ ก่อนให้บอร์ดเห็นชอบ คาดเซ็นสัญญาได้กลาง ก.พ. 54 ตามแผนที่วางไว้
       
       งานประมูลโครงการสร้างโครงข่ายมือถือ 3G TOT มูลค่า 17,440 ล้านบาทเริ่มขึ้นวันที่ 28 มกราคม 54 โดยการเสนอราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) ตามกำหนดการตั้งแต่เวลา 9.00-12.00 น. เริ่มเคาะราคากันเวลาประมาณ 9.45 น. สิ้นสุดเวลาประมาณ 10.45 น. สู้ราคากันทั้งหมด 17 ครั้ง จากผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาทางเทคนิค 2 กลุ่ม คือกิจการร่วมค้า (คอนซอร์เตียม) เอสแอล ซึ่งประกอบด้วย บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น บริษัท ล็อกซเล่ย์ บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี และบริษัท โนเกีย-ซีเมนส์ อีกกลุ่มคือ เอยู คอนซอร์เตียม ประกอบด้วย บริษัท ยูคอม อินดัสเตรียล (ยูเทล) บริษัท แอดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี (เอไอที) และบริษัท อัลคาเทล-ลูเซ่น
       
       การเสนอราคาแข่งกันครั้งนี้ เอสแอล คอนซอร์เตียม ใช้รหัส GGG 222 ขณะที่ เอยู คอนซอร์เตียม ใช้รหัส GGG 333 มีการเคาะราคากันทั้งหมด 17 ครั้ง และจบที่ GGG 222 เสนอราคาต่ำสุด 16,290 ล้านบาท ขณะที่ GGG 333 เสนอราคา 16,777 ล้านบาท ซึ่งราคาต่ำสุดที่ได้อย่างไม่เป็นทางการต่ำกว่าราคากลาง 1,150 ล้านบาท หรือประมาณ 6.59%
       
       “ราคา ที่ได้อย่างไม่อย่างเป็นส่วนตัวแล้วพอใจ เพราะทุกอย่างทำตามขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมาย และจากนี้อีก 1-2 วันจะมีการต่อรองราคา หากไม่ได้ต่ำกว่า 16,290 ล้านบาทคนที่เสนอราคานี้ก็ไม่เป็นไร เพราะเขาทำถูกต้องตามกระบวนการทุกอย่าง” นายอานนท์ ทับเที่ยง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานโครงข่าย บริษัท ทีโอที ในฐานะประธานคณะทำงานประมูล 3G TOT กล่าว
       
       ทั้งนี้ ตัวเลขที่ได้จากการทำอี-ออกชันจะมีการนำเสนอกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที ซึ่งขณะนี้มีนายนพณัฏฐ์ หุตะเจริญ ทำหน้าที่รักษาการ ในวันจันทร์ที่ 31 ม.ค.นี้ ก่อนจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอที เห็นชอบก่อนกลางเดือน ก.พ. และจะมีการลงนามในสัญญาได้ภายในวันที่ 15-18 ก.พ. 54 ซึ่งจะทำให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้คือ เดือน เม.ย.54 สามารถเปิดให้บริการได้บางส่วน และจะครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศภายใน 365 วัน
       
       “พอ ถึงเดือนเม.ย.จะทำให้พื้นที่การให้บริการ 3G ในกรุงเทพฯที่มีอยู่ขณะนี้ 548 สถานีฐานครอบคุลมพื้นที่มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการให้บริการสูงขึ้น”
       
       ด้านนายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่าการประมูลครั้งนี้ ต้องเตรียมการอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (พาร์ตเนอร์) รวมถึงงานเกี่ยวกับการติดตั้ง
       
       “ที่ ผ่านมาถือว่าโชคดีด้วยที่ไม่มีการประมูล 3G ทั่วไปของเอกชนทำให้ซัปคอนแทกต์หรือผู้ที่รับการติดตั้งยังมีอยู่อีกมาก ซึ่งจะช่วยให้การติดตั้งโครงข่ายกว่า 5,000 สถานีฐานได้ทันตามระยะเวลา 1 ปี ตามทีโออาร์กำหนด”
       
       ส่วนการแบ่งความรับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตั้ง ล็อกเลย์จะรับผิดชอบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มสามารถจะรับผิดชอบกรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคตะวันออก และภาคใต้ เพื่อให้งานติดตั้งเสร็จเร็วที่สุด
       
       ผู้บริหารสามารถเชื่อว่า หากบริษัทดำเนินการ 3G จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัท 1 หมื่นล้านบาท ส่วนล็อกซเลย์ อยู่ที่ประมาณ 6 พันล้านบาท ซึ่งน่าจะช่วยเสริมกลุ่มสามารถให้เติบโตขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการประมูลครั้งนี้โปร่งใส และดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้องหลังจากวันที่ 27 ม.ค. ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางได้พิจารณายกเลิกคำร้องขอให้คุ้มครองชั่วคราว 3G TOT ของอีริคสัน (ประเทศไทย) กับแซดทีอี ประเทศไทย
       
       “ช่วง เวลา 1 ปี หลังมีการเซ็นสัญญาต้องรีบดำเนินการอย่างเร็วที่สุด และต้องโค-ไซต์ กับบริษัทเอกชนรายอื่นด้วย เพื่อประหยัดงบในการลงทุน ขณะเดียวกัน ก็ต้องรีบดำเนินการติดตั้งสถานีฐานกว่า 5 พันสถานีฐานทั่วประเทศ ซึ่งเวลา 365 วัน ต้องติดตั้งให้ได้วันละ 10 กว่าสถานีฐาน” นายวัฒน์ชัยกล่าว
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #66 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2011, 01:53:06 »

"2 ซีอีโอ" ถอดรหัส "3 Win" อภิดีลสายฟ้าแลบ "ทรู-ฮัทช์-กสทฯ"


เสร็จ สมอารมณ์หมายเรียบร้อยโรงเรียน "ทรู คอร์ปอเรชั่น" ไปแล้ว หลังปิดดีลซื้อ "ฮัทช์" จากฮัทชิสันวัมเปาแล้ว 07.45 น. วันที่ 27 ม.ค. 2554 "ทรู" ก็ขยับตามแผนจดปากกาเซ็นสัญญากับ บมจ.กสท โทรคมนาคม ทั้งเช่าใช้โครงข่ายซีดีเอ็มเอร่วมกัน และขายต่อบริการ 3G บนเทคโนโลยี HSPA จนถึงปี 2569

ท่ามกลางเสียงวิจารณ์อึงมี่จากเพื่อนร่วม สังเวียนธุรกิจ ไม่เว้นแม้แต่พนักงาน และผู้บริหารของ กสทฯเอง โดยมองดีลสายฟ้าแลบนี้จัดมาเพื่อ "ทรู" โดยเฉพาะ

บ่ายวันเดียวกัน "ศุภชัย เจียรวนนท์" ซีอีโอกลุ่มทรู และ "จิรายุทธ รุ่งศรีทอง" ซีอีโอ บมจ.กสท โทรคมนาคม ควงแขนกันมาแจกแจงที่มาที่ไป และข้อ

สงสัยหลายต่อหลายเรื่องเกี่ยวกับดีล

ดังต่อไปนี้

- ที่มาที่ไปของดีลนี้

จิรายุทธ-เริ่มเจรจาตั้งแต่ 4 เดือนก่อน ตั้งแต่ กสทฯมีนโยบายไม่ซื้อ

กิจการ ซีดีเอ็มเอของฮัทช์ในไทย จึงคิดหาวิธีทำธุรกิจมือถือต่อไป เมื่อซื้อฮัทช์ไม่ได้เราก็ถึงทางตัน เนื่องจากมีสัญญาการตลาดกับฮัทช์อีก 5 ปี ขณะที่เราก็มี

แบรนด์ของเราเอง การทำตลาด 2

แบรนด์มี ปัญหา โครงข่ายก็แยกกัน ใน 25 จังหวัดภาคกลางของฮัทช์มีศักยภาพทางธุรกิจสูง แต่อัพเกรดไม่ได้ ปล่อยให้เดินต่อไปถึงจุดจบของธุรกิจมือถือของ กสทฯแน่นอน

ช่วงนั้นมี โอเปอเรเตอร์ต่างประเทศติดต่อมา ทรูก็เข้ามาจึงบอกไปว่าคงต้องไปเจรจากับฮัทช์เอง เพราะ กสทฯไม่สามารถไปบังคับให้ขายกิจการให้ใครได้ ซึ่งการเจรจาธุรกิจรูปแบบใหม่กับ กสทฯก็ดำเนินไปควบคู่กัน

ศุภชัย -ทรูเข้ามาทำธุรกิจร่วมกับ กสทฯ แทนฮัทชิสันฮ่องกง เกิดขึ้นหลังรู้ว่ากระบวนการประมูล 3G จะล่าช้าออกไป ในราวเดือน ต.ค.จึงต้องหาทาง เพราะสัมปทานทรูเองก็ใกล้หมดแล้ว โชคดีที่เรามีความร่วมมือกับฮัทช์ในหลายประเทศ ผ่านทางเครือ ซี.พี. เช่น ในมาเลเซียและจีน ทำให้การเจรจาเป็นไปด้วยดี

จนเราได้ตัดสินใจเข้า ซื้อโดยมีเงื่อนไขที่ต้องคุยกับ กสทฯ เรื่องการปรับปรุงสัญญาบางส่วน รวมถึงโครงสร้างสัญญาให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

โครง สร้างที่ปรับปรุงถือว่าสมบูรณ์กว่าที่ฮัทช์ทำไว้มาก ทำให้ กสทฯปรับปรุงโครงข่ายเป็น HSPA ทำให้ทรูดำเนินกิจการไร้สายต่อไปได้อีก 14 ปี ผ่านความร่วมมือกับ กสทฯ ถือเป็นโปรเจ็กต์ win-win-win คือ กสทฯปลดล็อกจากสัญญา CDMA เก่า ทรูก็มองอนาคตด้านรีเซลเลอร์ต่อไปได้ win สุดท้ายคือประเทศไทยมีทางออกในการเข้าสู่เทคโนโลยี 3G เต็มรูปแบบ

- ดูจะเป็นดีลที่เร่งรีบมาก

ศุภ ชัย-จริง ๆ แล้วช้ามาก ทั้ง ๆ ที่เร่งมาก ฮัทช์กำหนดระยะเวลาการเจรจาไว้ว่าต้องให้จบก่อนสิ้นเดือนนี้ ใจจริงพยายามจะปิดดีลฮัทช์ให้ทันสิ้นปี 2553 แต่ไม่ทันเพราะมีรายละเอียดที่ต้องเจรจากับ กสทฯเยอะมาก ก่อนที่จะมีการลงนามสัญญาได้ในวันนี้

จิรายุทธ-ไม่ได้รีบเลย ทุกอย่างผ่านกระบวนการทาง กม.ถูกต้อง สัญญาที่ลงนามอัยการสูงสุดตรวจสอบแล้ว คุยกันมา 4 เดือน เนื่องจากธุรกิจมีความเป็นไปได้ในหลายรูปแบบ ต้องหาแนวทางที่อยู่ภายในกรอบ กทช.และ กสทช. รวมถึงรูปแบบของต่างประเทศที่เป็นสากล เมื่อได้ข้อยุติ สัญญาผ่านการตรวจสอบก็เซ็นทันทีเพื่อหยุดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสัญญา เดิม ความเสียหายจากสัญญาเดิม กสทฯติดลบกว่าพันล้านบาท แต่โมเดลนี้จะมีรายได้จากโฮลเซลและรีเซลทันทีในปีแรกราว 2 พันล้านบาท

- เซ็นโดยบอร์ดยังไม่อนุมัติ

จิ รายุทธ-ไม่ได้เซ็นโดยพลการแน่ การประชุมบอร์ดครั้งที่แล้ว (14 ม.ค.) มีมติรับรองแล้ว หากเป็นการลงนามภายในกรอบที่บอร์ดอนุมัติไว้ไม่จำเป็นต้องนำเข้าที่ประชุม อีก เว้นแต่จะมีการแก้ไขในสาระสำคัญ ซึ่งตามร่างสัญญาที่อัยการสูงสุดส่งกลับมาไม่ได้คอมเมนต์ในประเด็นเหล่านี้

- สาระสำคัญของสัญญานี้คือ

จิ รายุทธ-โมเดลนี้โฟกัสที่จุดแข็งของตนเอง คือการเป็นเจ้าของเน็ตเวิร์ก ตัวเสา สถานีฐาน ทรานส์มิสชั่น ไฟเบอร์ออปติกที่เชื่อมโยงแต่ละสถานีฐาน เทคโนโลยีในจุดนี้เปลี่ยนน้อย ไม่ว่าจะเป็น 3G หรือ 4G สอดคล้องกับความเป็นรัฐวิสาหกิจของ กสทฯ ที่มีความคล่องตัวในการลงทุนต่ำ และขาดความเชี่ยวชาญในการทำตลาด

กสทฯจึงจะเป็น net-co (network company) ลงทุนโครงข่ายหลัก ให้ทรูทำ op-co (operation company) ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนตามเทคโนโลยี ส่วนความจุของ net-co กสทฯจะนำไปขายให้โอเปอเรเตอร์ต่าง ๆ นี่คือโมเดลธุรกิจที่ลงนามกัน

สัญญา ที่ลงนามร่วมกันมี 4 สัญญา คือส่วนที่เป็น CDMA และ HSPA เนื่องจากช่วง 2 ปีแรกยังต้องมีการดูแลลูกค้า CDMA จึงต้องมีสัญญาดูแลลูกค้าฮัทช์ และสัญญาในการถ่ายโอนลูกค้า CDMA ไปสู่ HSPA ขณะที่สัญญาในส่วน HSPA มี 2 ส่วน คือที่ กสทฯจะเช่าโครงข่ายหลักใน 25 จังหวัดภาคกลางที่เป็นของฮัทช์ กับสัญญาเช่าใช้ op-co จากทรู และสัญญาให้ทรูเป็นรีเซลเลอร์

เรื่อง ผลตอบแทนส่วน CDMA เหมือนเดิมคือ กสทฯได้ 20% จากส่วนแบ่งค่าบริการ แต่การเช่าอุปกรณ์จากทรู คงไม่สามารถเปิดเผยได้เพราะเป็นต้นทุนในการทำธุรกิจ จะมีการคำนวณแยกตามชนิดของอุปกรณ์ ปริมาณที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกับที่เอไอเอส ดีแทคใช้

ส่วนสัญญารีเซลโฮลเซลจะมีการปรับไปตามสภาพการแข่งขันในตลาด

- เป็นดีลที่เอื้อประโยชน์ทรูโดยเฉพาะ

จิ รายุทธ-ไม่ได้มีทรูแค่รายเดียวที่เข้ามายื่นข้อเสนอ แต่เท่าที่เจรจามีทรูที่เหมาะสมในการทำธุรกิจร่วมกัน และมีความคืบหน้าในการเจรจากับฮัทช์มากที่สุด เราคงไม่ดีลกับคนที่ไม่สามารถเจรจาซื้อฮัทช์ได้

ทรูเองเป็นผู้รับ สัมปทานจากเรา เป็นบริษัทไทยรายเดียวในบรรดาค่ายมือถือ และมีข้อจำกัดในสัมปทานและการใช้คลื่นความถี่ ต่างกับอีก 2 ราย หากเราไม่ทำอะไร เบอร์ 3-4 ในตลาดอย่าง กสทฯและทรูจะประสบความยากลำบากในการแข่งขัน เมื่อดูทุกปัจจัยแล้ว ดีลนี้จะช่วยให้ธุรกิจของทั้ง 2 ฝ่ายดีขึ้น

- ฮัทช์หนี้เยอะ ทรูจะได้ประโยชน์ยังไง

ศุภ ชัย-ในกระบวนการซื้อ จะซื้อที่มูลค่า 6,300 ล้านบาทเท่านั้น หนี้สินต่าง ๆ เป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นเดิมต้องหักกลบลบไปให้หมดตามวิธีการของเขา ไม่มีหนี้สินพ่วงมาด้วยในการซื้อฮัทช์ ขณะที่สัญญา 2G ยังไม่มีคำตอบ 100% ว่าจะไปอย่างไร ในเบื้องต้นเราได้ขออนุญาตเช่าใช้อีก 5 ปี แต่ไม่มีการันตีว่าจะได้ใช้คลื่นความถี่ต่อ อาจต้องส่งคลื่นคืนให้ กสทฯ ซึ่งเชื่อว่าก่อนหมดสัมปทาน กทช.ต้องมีการนำคลื่นมาประมูลหรือตั้งราคาเบื้องต้น แต่เชื่อว่า 2G จะมีอายุการใช้ไปอีก 8 ปี

- จะพลิกขาดทุนเป็นกำไรได้ยังไง

ศุภ ชัย-ในช่วงต้นยังต้องมีการลงทุนขยายโครงข่าย การลงทุน co-op ทรูจะลงทุน 5-6 พันล้านบาท ประมาณ 3,000 สถานีฐาน เพื่อให้ครอบคลุมโครงข่าย CDMA เดิมก่อน ทรูมูฟจึงยังขาดทุนอยู่ แต่จะกำไรเมื่อมีลูกค้ามากพอ คาดว่าจะอยู่ในปีที่ 3-4 แต่ทรูจะเริ่มรับรู้รายได้ใน ม.ค.นี้เลย รายได้ฮัทช์ที่ผ่านมา ปีละ 4,300 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 3,500-3,700 ล้านบาท ผลประกอบการฮัทช์เดิมก็เป็นบวก แต่ต้องดูเรื่องค่าเสื่อมของโครงข่าย CDMA ที่จะเลิกใช้ภายในไม่เกิน 2 ปี หลัง HSPA เข้ามา ซึ่งต้องเร่งลงทุนเพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า

เงินทุนเบื้องต้น ยังพอ แต่ในระยะยาวต้องวางแผนร่วมกับ กสทฯ ซึ่งมีบทบาทในส่วนที่เป็นเสาและสัญญาณเชื่อมโยงโครงข่ายหลัก ฉะนั้นลักษณะการวางแผนต้องมองร่วมกัน

- ทรูมีเงินลงทุนพอ

ศุภชัย-เงินลงทุนเบื้องต้นเป็นเงินกู้จากไทยพาณิชย์ยังพอ แต่ถ้าจะเร่งสร้างอาจต้องหารือ กสทฯ และต้องหารูปแบบระดมเงินลงทุน

- จะยังประมูลคลื่น 3G

ศุภ ชัย-ยืนยันว่าจะประมูลคลื่น 3G เพราะไม่ว่าคลื่น 800 ที่มีหรือ 2100 ยังไม่เพียงพอกับการนำมาให้บริการ ยิ่งบ้านเราขาดแคลนบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ยิ่งต้องการคลื่นมาให้บริการโมบายอินเทอร์เน็ต

ตลาด 3G ที่จะเกิดขึ้นเชื่อว่าไม่สามารถรองรับลูกค้า 2G ได้หมดใน 2-3 ปี แม้สัมปทานจะหมดแล้วก็ยังมีลูกค้า 2G เหลือ จะไปบังคับลูกค้าให้เปลี่ยนคงไม่ได้ และจริง ๆ กลุ่มทรูได้รับใบอนุญาตให้บริการจาก กทช.แล้ว แต่ยังไม่ได้รับคลื่น เมื่อสิ้นสุดสัมปทานเข้าใจว่าคลื่นต้องส่งคืนไปยัง กทช. เพื่อให้จัดสรรอีกครั้ง ซึ่งเราจะหารือกับ กทช. เพื่อให้มีความชัดเจนว่าจะให้มีการประมูล หรือตั้งราคาคลื่นให้ดำเนินการต่อไปได้

- มั่นใจว่าสัญญานี้ไม่ขัดกฎหมาย

จิ รายุทธ-สัญญารีเซลโฮลเซล เป็นไปตามประกาศ กทช. ซึ่งเดิม กสทฯก็มีการทำสัญญาประเภทนี้ อาทิ การเช่าเคเบิลใต้น้ำแล้วนำไปขายต่อให้ไอเอสพีทำอินเทอร์เน็ต ส่วน op-co กสทฯก็ไม่ได้เช่าโครงข่ายทั้งหมดของทรู แต่เช่าแค่อุปกรณ์บางส่วน โครงข่ายหลักยังเป็นของ กสทฯ และเป็นผู้ขายส่งให้รายอื่นตามระเบียบพัสดุจึงไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน และไม่ต้องรายงาน ครม.

เงื่อนไขทางพาณิชย์ของสัญญาได้พยายามทำให้ถูก ต้องตามกฎกติกาของ กทช. และมีความเสมอภาค ไม่ใช่รูปแบบสัมปทานเดิมที่เอกชนทำธุรกิจไปแล้วแบ่งรายได้ รัฐแค่รอส่วนแบ่ง โมเดลนี้ทั้ง 2 ฝ่ายจะมีบทบาทของตนเอง กสทฯจะเป็นเน็ตเวิร์กโพรไวเดอร์ขายส่ง ส่วนทรูจะลงทุนในส่วน op-co และขายรีเซลด้วย

โมเดลนี้ กสทฯคือคนทำธุรกิจหลัก จึงมั่นใจว่าไม่เข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน ได้ให้ที่ปรึกษา กม.มีที่ปรึกษาประธานบอร์ดดูให้แล้ว ตัวสัญญาก็ผ่านการตรวจร่างจากอัยการสูงสุดมาแล้ว ไม่ได้มีคอมเมนต์ในประเด็นนี้เลย ยืนยันว่ารูปแบบสัญญาต่างกันมากกับสัญญาสัมปทานเดิม

ศุภชัย-ก่อนลง นามได้ศึกษาข้อกฎหมาย และ พ.ร.บ.ร่วมทุน ตามความเข้าใจคือการใช้ทรัพย์สินของรัฐเพื่อหาประโยชน์ทั้งเอกชนและรัฐ แต่ในส่วนนี้ไม่ได้ใช้ทรัพย์สินของรัฐ คลื่นความถี่ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของ แต่เช่าใช้ โฮลเซลรีเซลเป็นตามประกาศ กทช.

น่าจะเป็นมิติใหม่ของโทรคมนาคมที่เป็นเสรีหลุดจากระบบเดิมที่รัฐผูกขาด

- สรุปว่าโครงข่าย 25 จังหวัดที่ทรูซื้อ ใครเป็นเจ้าของ

ศุภ ชัย-ตัวเสาสถานีฐาน CDMA เดิมของฮัทช์ เนื่องจาก กสทฯต้องการเป็นเน็ตเวิร์กโพรไวเดอร์ จึงมีออปชั่นให้ กสทฯซื้อ 1,400 เสา ในราคาประเมินของหน่วยงานกลาง แต่ทั้งหมดต้องเจรจาให้จบใน 2 ปีจากนี้ แต่ส่วน co-op คือโมเดลนี้ กสทฯเป็นคนลงทุนเน็ตเวิร์กหลัก เป็นคนประกอบอุปกรณ์โครงข่าย ทรูลงทุนอุปกรณ์โครงข่าย และบำรุงรักษาจนหมดสัญญา 14 ปี เมื่อหมดสัญญา กสทฯมีออปชั่นว่าจะซื้อในราคาตามมูลค่าบัญชี

จิรายุทธ-สุดท้ายต้องดูก่อนว่าเช่าหรือซื้อจะคุ้มค่ากว่ากัน

- ลูกค้าเดิม CDMA ทำอย่างไร

ศุภ ชัย-ยังใช้ได้เหมือนเดิม โปรโมชั่นฮัทช์ก็ยังใช้ได้ แต่โปรฯต่อไปจะมีโปรฯใหม่ให้ลูกค้าได้ข้ามมาใช้บริการทั้ง 2G HSPA และ 3G ที่ทรูให้บริการอยู่ เพื่อดึงดูดให้เกิดการย้ายมาใช้ HSPA ตามที่ทยอยสร้าง

จิ รายุทธ-ส่วน CAT CDMA กสทฯยังดูแลเอง ไม่ได้ให้ทรูทำตลาดให้ แต่จะไม่ได้รุกทำตลาดเพิ่มลูกค้ามากมาย เมื่อโครงข่าย HSPA พร้อมจะย้ายลูกค้ามาทันที เพราะการรันโครงข่าย 2 เทคโนโลยี ต้นทุนสูง เมื่อย้ายลูกค้ามาให้บริการบนโครงข่าย HSPA แล้ว กสทฯก็ยังทำตลาดอยู่ แต่เป็นนิชมาร์เก็ต เพราะไม่มีความยืดหยุ่นจะไปแข่งกับเอกชนได้ อาจเป็นลูกค้าองค์กร ภาครัฐ หรือทำเป็นแพ็กเกจคู่กับเซอร์วิสเดิมของ กสทฯ

- กระบวนการจากนี้

จิ รายุทธ-คงต้องมีการวางแผนร่วมกัน กสทฯต้องทำแผนธุรกิจของตัวเอง ทั้งแผนการโอนย้ายลูกค้า แผนลงทุนโครงข่าย และรีเซลโฮลเซล HSPA รวมถึงการเตรียมระบบแบ็กออฟฟิศให้พร้อม คงไม่มีการตั้งบริษัทลูกร่วมกันอีก หุ้น 26% ที่ กสทฯมีในฮัทช์ เมื่อทรูซื้อไป เราก็ยังถือหุ้นเหมือนเดิม ส่วนการลงทุนโครงข่ายหลักยังต้องวางแผนอีกครั้งว่าต้องลงทุนขยายจุดไหนบ้าง ตามความต้องการของตลาด

ศุภชัย-ต้องหารือกับผู้บริหารฮัทช์ให้ ชัดเจนเรื่องบุคลากร เราไม่มีนโยบายเลิกจ้าง ส่วนแบรนดิ้งและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ต้องหารือทั้งภายในและกับ กสทฯ เนื่องจากเป็นรีเซลเลอร์ของ กสทฯ การทำตลาดต้องทำแบบ co-brand ชื่ออาจเป็นรีเซลเลอร์ บายแคท

- เก้าอี้ซีอีโอ กสทฯสะเทือนจากกรณีนี้

จิ รายุทธ-ไม่ทราบ ไม่ได้อยู่ในอำนาจผม แต่ยืนยันว่าไม่ได้ลงนามโดยพลการ กระบวนการต่าง ๆ บอร์ดและรัฐมนตรีไอซีทีทราบเรื่อง ทุกอย่างลงนามไว้หมดแล้ว กว่าจะถึงวันนี้เหนื่อยมาก แต่ กสทฯคุ้ม เพราะสัญญานี้เป็นทางรอดของธุรกิจมือถือ
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #67 เมื่อ: วันที่ 04 กุมภาพันธ์ 2011, 00:32:45 »

สบท.เผยชาวบ้านร้องเรียนถูก 3BB ยกเลิกบริการ คาดมีกว่าหมื่นรายทั่วประเทศ
[/u]


สบท.เตือนลูกค้าอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ "3BB" กว่าหมื่นรายทั่วประเทศถูกทิ้ง หลังผู้ใช้บริการจาก 20 จังหวัดร้องเรียนถูกยกเลิกบริการดื้อๆ แฉเหตุ3BB ต้องอาศัยโครงข่ายทีทีแอนด์ที ขณะที่มีปัญหาตกลงกันไม่ได้ สบท.ชี้การกระทำของ3BBไม่ชอบด้วยกฎหมาย



นายประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่กลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา สบท.ได้รับเรื่องร้องเรียนเข้ามาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการให้บริการของ บริษัท ทริปเปิลทรี อินเทอร์เน็ต จำกัด เนื่องจากผู้ใช้บริการถูกตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า เมื่อผู้ใช้บริการสอบถามก็ได้รับแจ้งว่า บริษัทฯยุติการให้บริการแล้ว   ซึ่งจากข้อมูลการร้องเรียนที่เข้ามาถึงสบท.โดยตรง และที่เป็นกระทู้ในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ พบว่ามีผู้เดือนร้อนมากกว่า 20 จังหวัดครอบคลุมทุกภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ศรีสะเกษ สุราษฏร์ ตรัง
  


นายประวิทย์กล่าวว่า จากเหตุร้องเรียนดังกล่าวพบว่า 3BB ได้ลดการใช้งานวงจรเช่าของบริษัท ทีทีแอนด์ที จากที่เคยใช้งานอยู่ 320,278 วงจร เหลืออยู่เพียง 12,333วงจรเท่านั้น และมีแผนว่าจำนวนวงจรเช่าที่ใช้งานก็จะลดลงไปอีกตามลำดับ โดยจะลดลงเหลือ 0 ภายในระยะเวลาไม่นานนี้  จึงเป็นไปได้ว่า สำหรับลูกค้าต่างจังหวัดที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตของ 3BB แบบมีเบอร์โทรศัพท์ของทีทีแอนด์ทีจะถูกแจ้งยกเลิกการให้บริการทั้งหมดในที่ สุด
  

"พื้นที่ที่ถูกร้องเรียนก็คือต่างจังหวัดเกือบทั้งหมด จากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตของทริปเปิลทรี บรอดแบนด์  ที่ใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีเลขหมายซึ่งเป็นโครงข่ายของทีที แอนด์ที  อันนี้เป็นข้อสังเกตว่าจะถูกยกเลิกสัญญา ส่วนใครที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่มีเลขหมายของทริปเปิลทรี  ซึ่งเข้าใจได้ว่าเป็นโครงข่ายของบริษัทอยู่แล้วจะไม่เจอปัญหานี้   ตามตัวเลขประมาณการณ์ แสดงว่า บริษัทฯวางแผนที่จะยกเลิกการให้บริการกับผู้บริโภคอีก  ถ้าเป็นเช่นนั้นจะทำให้มีผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศอย่างน้อย 12,000 ราย" ผอ.สบท.กล่าวและว่า
  

ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตของ3 BBในต่างจังหวัดของ 3BB ในหลายจุดยังเป็นการทำสัญญาใช้บริการวงจรเช่าจาก บริษัททีทีแอนด์ที แต่เมื่อทีทีแอนด์ทีประสบปัญหาทางการเงิน และมีการตั้งบริษัทเอกชนเข้ามาทำแผนฟื้นฟูกิจการ ส่งผลต่อการเข้าไปใช้สิทธิของ 3BBในการใช้วงจรเช่าตามสัญญา เช่น  การเปลี่ยนกุญแจล็อคชุมสายทำให้ 3BB ไม่สามารถให้บริการได้ การสร้างเงื่อนไขการเข้าพื้นที่ชุมสายและมีเหตุรุนแรงถึงขั้นฟ้องร้องกันกับ พนักงานบริษัท  และเป็นเหตุให้3BB ไม่อาจใช้วงจรเช่าในพื้นที่ชุมสายของทีทีแอนด์ที เพื่อให้บริการกับลูกค้าได้  ซึ่งที่ประชุม กทช. ได้มีมติให้ทีทีแอนด์ทีระงับการรื้อถอนคู่สายหรือการหยุดการให้บริการแล้ว  ดังนั้น 3BB จึงยังคงมีสิทธิ์ใช้โครงข่ายทีทีแอนด์ทีเพื่อให้บริการต่อไปก่อนตามสัญญา เดิม  การกระทำของ 3BB ในการยกเลิกบริการผู้บริโภคโดยพลการเช่นนี้ ถือเป็นการยกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  

"ตามกฎหมายมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม ระบุว่า ห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการยกเลิกการให้บริการตามสัญญา ถ้าผู้บริโภคไม่ใช่ฝ่ายผิด และตาม พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคมระบุว่า ผู้รับใบอนุญาตจะพักหรือหยุดการให้บริการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาต ซึ่งสบท.จะได้เชิญผู้ให้บริการมาชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้" ผอ.สบท.กล่าว
          

จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์  จำกัด (มหาชน) มีกรรมการบริษัท 7 คน  คือ นายพิชญ์ โพธารามิก นายสุพจน์ สัญญพิสิทธิ์กุล นางสาวสายใจ คีตสิน นางนงลักษณ์ พงษ์ศรีหดุลชัย นางสาวจงรัก โรจนวิภาต นายวสุ ประสานเนตร และนายอนุพงษ์ โพธารามิก  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 04 กุมภาพันธ์ 2011, 00:44:02 โดย หนอนน้อย » IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #68 เมื่อ: วันที่ 04 กุมภาพันธ์ 2011, 00:34:26 »

ไอซีทีสั่งสอบสัญญา"ทรู-กสทฯ" เรียกบอร์ด-เอ็มดีเข้าชี้แจงด่วน


"กสทฯ-ทรู" งานเข้า กระทรวงไอซีทีสั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสัญญาเช่าโครงข่าย "HSPA-รีเซลเลอร์"ขีดเส้นส่งข้อสรุปภายใน 15 วัน ทั้งยืนยันไม่เลือกปฏิบัติเช็กบิลสัมปทานมือถือ ดันเข้า ครม.พร้อมกันครบทุกสัญญา


นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ได้เตรียมตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบการทำสัญญาระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับบริษัทในกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น กรณีเข้าซื้อกิจการบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด และบริษัท บีเอฟเคที จำกัด พร้อมกับการทำสัญญาเช่าใช้และอัพเกรดโครงข่ายบนเทคโนโลยี HSPA รวมถึงการทำสัญญาขายส่งขายต่อบริการ (โฮลเซล-รีเซล) เพราะมีการร้องเรียนถึงความไม่โปร่งใสและการเร่งรีบเซ็นสัญญาดังกล่าว โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวต้องรายงานข้อสรุปภายใน 15 วัน

นอกจากนี้ ภายในวันที่ 1 หรือ 2 ก.พ. 2554 จะให้คณะกรรมการ บมจ.กสท โทรคมนาคม และนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เข้าพบเพื่อชี้แจงกรณีดังกล่าวด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาไม่เคยมีการรายงานให้ทราบเลย

"ผมไม่เคยได้รับ รายงานเรื่องนี้จากคุณจิรายุทธ เพราะติดต่อโดยตรงกับประธานบอร์ด (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ) เท่านั้น จึงไม่เคยทราบเรื่องนี้ ส่วนกรณีที่พูดกันว่า ตนเดินทางไปพบนายธนินท์ เจียรวนนท์ ที่ฮ่องกงนั้น ตนไปเที่ยวส่วนตัว ซึ่งคุณธนินท์เองก็ให้สัมภาษณ์แล้วว่าอยู่เมืองไทยในช่วงเวลานั้น" นายจุติกล่าวและว่า

สำหรับการตรวจสอบสัญญาระหว่างกลุ่มทรูกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม เป็นการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในฐานะกระทรวงไอซีทีเป็นหน่วยงานต้น สังกัด หากตรวจสอบแล้วพบประเด็นที่ส่งผลถึงความสมบูรณ์ของสัญญา ก็ต้องมีการพิจารณากันอีกครั้ง

นายจุติกล่าวด้วยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 1 ก.พ. 2554 กระทรวงไอซีทีจะนำเสนอผลสอบการแก้ไขสัญญาสัมปทานของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือ ถือทุกราย ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บมจ.โทเทิ่ล แอ็สเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(ดีแทค) และบริษัททรูมูฟ ซึ่งทั้ง 3 รายได้แก้ไขสัญญาสัมปทานโดยไม่ผ่านกระบวนการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน

"ไอซีทีจะนำข้อสรุปของทั้ง 3 ค่ายมือถือเข้าที่ประชุม ครม.อย่างแน่นอน ส่วนใครที่เชื่อว่าจะไม่มีการนำเข้าในวันดังกล่าว หรือบอกว่าผมไม่กล้านำเข้า ครม. ก็อยากให้ลองติดตามดูก็แล้วกัน"

รายงาน ข่าวแจ้งด้วยว่า ในวันที่ 1 ก.พ.นี้ เวลา 08.00 น. Chua Sock Koong กรุ๊ป ซีอีโอ สิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่น หรือสิงเทล มีคิวเข้าพบนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #69 เมื่อ: วันที่ 04 กุมภาพันธ์ 2011, 00:35:39 »

ข้อเสนอยักษ์สื่อสาร กับแผน "บรอดแบนด์แห่งชาติ"


นอก จากเรื่องการผลักดันการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี ให้เกิดในประเทศไทยที่ตกเป็นประเด็นความสนใจของชาวไทยตาดำ ๆ ที่อยากใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงทุกที่ทุกเวลาแบบคนในประเทศเพื่อน บ้านกันเสียที

อีกเรื่องหนึ่งที่เข้ามาพอแก้ขัดความต้องการให้มีอิน เทอร์เน็ตเร็ว ๆ (และถูก) ในตอนนี้คือการผลักดัน "นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ" เพื่อให้เกิดความทั่วถึงในการใช้อินเทอร์เน็ตของชาวไทย

ด้วยนโยบาย ดังกล่าวมีจุดประสงค์สำคัญอยู่ 2 ประการ คือการเชื่อมต่อเครือข่ายบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตให้ทั่วถึงพื้นที่ห่างไกล และการลดค่าบริการอินเทอร์เน็ตให้อยู่ในระดับที่ชาวบ้านทั่วไปสามารถจ่ายได้ โดยไม่ขัดสน

ในโอกาสครบรอบ 20 ปี สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ใน พระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีการจัดสัมมนาเพื่อหาแนวทางพัฒนาเครือข่ายบรอดแบนด์ที่ดีต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือประชาชน

โดย ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึง รายละเอียดของแผนซึ่งกำลังร่างอยู่ในขณะนี้ว่า ระบุให้มีการจัดตั้งบริษัทที่เป็นอิสระจากฝ่ายต่าง ๆ สำหรับจัดการ บริหารเครือข่าย "เนชั่นแนล ไวด์ บรอดแบนด์" พร้อมกำหนดให้ภาครัฐและเอกชนต้องลงทุนร่วมกัน ขณะเดียวกันจะเป็นการปรับโครงสร้างของทั้ง กสท โทรคมนาคมและทีโอที เพื่อการอยู่รอดในระยะยาว

สำหรับผู้ให้บริการภาคเอกชน นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานบริการเสริม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า หากต้องการให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ครอบคลุมอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ ภาครัฐต้องช่วยคือการให้เงินทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ (ยูเอสโอ) ในกรณีที่ต้องให้เอกชน ลงทุนวางเครือข่ายนอกเมืองในระยะทางไกล ๆ

"การวางเครือข่าย บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตแบ่งเป็น 2 ส่วน คือในเมืองและนอกเมือง พื้นที่ในเมืองมีอัตราการเติบโตของบรอดแบนด์สูงอยู่แล้ว จึงมีผู้เข้าร่วมแข่งขยายโครงข่ายหลายราย แต่พื้นที่นอกเมืองการจะให้เอกชนไปวางโครงข่ายเองคงขาดทุนแน่ ๆ จุดนี้ต้องมีคนเข้ามาช่วยเสริมด้านเงินทุน โดยอาจจะใช้กลไกของกองทุนยูเอสโอ กับการทำอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ในพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่เมืองที่ผู้อาศัยมีรายได้ต่ำ ก็จะทำให้บรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตไปได้ทั่วถึงในประเทศไทย" นายปรัธนากล่าว

ด้านนายนนท์ อิงคุทานนท์ ผู้จัดการทั่วไป ไวร์-ไลน์ บรอดแบนด์ แอนด์ เซอร์วิส บิสซิเนส บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แสดงความเห็นในอีกมุมมองว่า โดยหลักการของธุรกิจบรอดแบนด์ในไทย ถือว่ามีการเปิดเสรีอยู่แล้ว เพียงแต่ภาครัฐควรจะเข้ามากำหนดให้ชัดเจนไปเลยว่าต้องการให้ บรอดแบนด์แห่งชาติมีความเร็วมาตรฐานเท่าไหร่ ต้องการให้บริการอะไรเป็นหลัก นอกจากนี้ภาครัฐควรจะลงทุนทำคอร์เน็ตเวิร์กของประเทศ เพื่อให้เอกชนต่อยอดการลงทุนเพื่อให้บริการพื้นที่ต่าง ๆ

ส่วนผู้ให้ บริการอินเทอร์เน็ตอย่าง บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) นายสุขุม เชาวน์ลิลิตกุล ผู้อำนวยการสายงานบริหารงาน โครงข่าย กล่าวในทิศทางเดียวกับทรูว่า ภาครัฐควรจะเป็นเจ้าภาพลงทุนคอร์ เน็ตเวิร์กเพื่อใช้ร่วมกันก่อน และให้ผู้ประกอบการเช่าใช้ในราคาต้นทุน เพื่อให้บรรดาผู้ประกอบการสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตราคาถูกได้ ขณะที่ ผู้ประกอบการเอกชนแต่ละราย รวมถึง กสทฯและทีโอที ควรจะเอาข้อมูล โครงข่ายที่แต่ละรายมีมาหารือร่วมกัน เพราะหากต่างคนต่างทำก็จะไม่คุ้ม

ขณะ ที่รัฐวิสาหกิจอย่าง กสทฯและทีโอทีก็เห็นไปในทางเดียวกันในเรื่องของการแชร์คอร์เน็ตเวิร์ก โดย ดร.อภิรักษ์ ปรีชญสมบูรณ์ ผู้จัดการส่วนวิทยากรและพัฒนาหลักสูตร สถาบันวิชาการ ทีโอที บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ประเทศไทยถือว่ามี คอร์เน็ตเวิร์กค่อนข้างครอบคลุมทั่วทั้งประเทศอยู่แล้ว หากบริหารจัดการให้ดีอาจไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติม

แต่ในทางปฏิบัติการ รวมเครือข่ายกลางเหล่านี้เพื่อเอามาแชร์กันเป็นเรื่องค่อนข้างลำบาก เพราะจะมีปัญหาจากเรื่องการบริหารจัดการ, การแบ่งผลประโยชน์ และราคาค่าใช้บริการ แต่ถึงอย่างไรก็ควรทำเพราะจะทำให้ต้นทุนต่ำลงมาก ซึ่งส่งผลโดยตรงให้ค่าบริการ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ถูกลง ทำให้ ทั้งโอเปอเรเตอร์และผู้บริโภคได้ประโยชน์ทั้งคู่

ส่วน นายสมพล จันทร์ประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจ บรอดแบนด์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ภาครัฐควรจะบริหารจัดการเครือข่ายที่ซ้ำซ้อนอยู่ในขณะนี้ให้ดี สำหรับบริษัทที่ทำหน้าที่จัดการเรื่อง คอร์เน็ตเวิร์กก็ต้องห้ามเข้าไปเกี่ยวกับเซอร์วิสโพรไวเดอร์ ซึ่งถ้าภาครัฐบริหารจัดการโครงข่ายได้ดีเอกชนก็จะสนใจเข้ามาร่วม
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #70 เมื่อ: วันที่ 04 กุมภาพันธ์ 2011, 20:11:35 »

3BB ปิดปากกรณีลอยแพผู้บริโภค



    3BB ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประกาศพร้อมรับฟังปัญหาจากผู้บริโภค กรณี 3BB ยกเลิกการให้บริการลูกค้าโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า จนทำให้มีผู้ใช้บริการจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 20 จังหวัดครอบคลุมทุกภูมิภาค เบื้องต้น 3BB ยังไม่ให้ข้อมูลนโยบายดำเนินการเพิ่มเติมในขณะนี้ แต่ยืนยันจะไปรับฟังความเห็นจากเวทีสาธารณะเรื่อง “ผู้ใช้ 3BB ถูกลอยแพ ใคร? แก้ปัญหา” ซึ่ง สบท.จะจัดขึ้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย
      
       ปัญหาลอยแพผู้บริโภคของ 3BB เริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่าได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการให้บริการของบริษัท ทริปเปิลทรี อินเทอร์เน็ต จำกัด เนื่องจากผู้ใช้บริการถูกตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า เมื่อผู้ใช้บริการสอบถามก็ได้รับแจ้งว่า บริษัทฯยุติการให้บริการแล้ว ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต และประชาชนทั่วไปในพื้นที่มากกว่า 20 จังหวัด เช่น เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ศรีสะเกษ สุราษฏร์ ตรัง
      
       สบท. ระบุว่า ต้นเหตุของเรื่องคือ 3BB ได้ลดการใช้งานวงจรเช่าของบริษัท ทีทีแอนด์ทีจากที่เคยใช้งานอยู่ 320,278 วงจร เหลืออยู่เพียง 12,333 วงจรเท่านั้น และมีแผนว่าจำนวนวงจรเช่าที่ใช้งานก็จะลดลงไปอีกตามลำดับ โดยจะลดลงเหลือ 0 ภายในระยะเวลาไม่นานนี้ จึงเป็นไปได้ว่า สำหรับลูกค้าต่างจังหวัดที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตของ 3BB แบบมีเบอร์โทรศัพท์ของทีทีแอนด์ทีจะถูกแจ้งยกเลิกการให้บริการทั้งหมดในที่ สุด
      
       “พื้นที่ที่ถูกร้องเรียนก็คือต่างจังหวัดเกือบทั้งหมด จากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตของทริปเปิลทรี บรอดแบนด์ แต่ใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีเลขหมายซึ่งเป็นโครงข่ายของทีที แอนด์ที อันนี้เป็นข้อสังเกตว่าจะถูกยกเลิกสัญญา ส่วนใครที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่มีเลขหมายของทริปเปิลทรี ซึ่งเข้าใจได้ว่าเป็นโครงข่ายของเขาอยู่แล้วจะไม่เจอปัญหานี้ ตามตัวเลขประมาณการณ์ แสดงว่า บริษัทฯวางแผนที่จะยกเลิกการให้บริการกับผู้บริโภคอีก ถ้าเป็นเช่นนั้นจะทำให้มีผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศอย่างน้อย 12,000 ราย” ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สบท. กล่าว
      
       การให้บริการอินเทอร์เน็ตในต่างจังหวัดของ 3BB ในขณะนี้ หลายจุดยังเป็นการทำสัญญาใช้บริการวงจรเช่าจาก บริษัททีทีแอนด์ที แต่เมื่อทีทีแอนด์ทีประสบปัญหาทางการเงิน และมีการตั้งบริษัทเอกชนเข้ามาทำแผนฟื้นฟูกิจการ ส่งผลต่อการเข้าไปใช้สิทธิของ 3BB ในการใช้วงจรเช่าตามสัญญา เช่น การเปลี่ยนกุญแจล็อคชุมสายทำให้ 3BB ไม่สามารถให้บริการได้ การสร้างเงื่อนไขการเข้าพื้นที่ชุมสายและมีเหตุรุนแรงถึงขั้นฟ้องร้องกันกับ พนักงานบริษัท และเป็นเหตุให้3BB ไม่อาจใช้วงจรเช่าในพื้นที่ชุมสายของทีทีแอนด์ที เพื่อให้บริการกับลูกค้าได้ ทั้ง หมดนี้ที่ประชุม กทช. ได้มีมติให้ทีทีแอนด์ทีระงับการรื้อถอนคู่สายหรือการหยุดการให้บริการแล้ว 3BB จึงยังคงมีสิทธิ์ใช้โครงข่ายทีทีแอนด์ทีเพื่อให้บริการต่อไปก่อนตามสัญญา เดิม
      
       อย่างไรก็ตาม การกระทำของ 3BB ด้วยการยกเลิกบริการผู้บริโภคเองโดยพลการเช่นนี้ ถือเป็นการยกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
      
       “ตามกฎหมายมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม ระบุว่า ห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการยกเลิกการให้บริการตามสัญญา ถ้าผู้บริโภคไม่ใช่ฝ่ายผิด และตาม พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคมระบุว่า ผู้รับใบอนุญาตจะพักหรือหยุดการให้บริการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาต ซึ่งสบท.จะได้เชิญผู้ให้บริการมาชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้” ผอ.สบท.กล่าว
      
       ทั้ง หมดนี้ จากการสอบถามไปยังบริษัท 3BB พบว่าบริษัทปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลนโยบายแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยระบุว่าบริษัทจะประกาศแนวทางดำเนินงานโดยเร็วที่สุดในทันทีที่ได้รับ นโยบายจากผู้บริหาร โดยล่าสุด สบท. ออกประกาศสนับสนุนผู้ใช้บริการ 3BB ให้อย่ายอมเลิกสัญญา หากถูกระงับสัญญาณ โดยระบุว่าเป็นหน้าที่ของ 3BB ในฐานะผู้ให้บริการที่ต้องรับผิดชอบให้บริการตามที่ได้สัญญาไว้
      
       “มีกรณีที่ จ. สุราษฏร์ธานี ผู้ใช้บริการรวมตัวกันไม่ยอมยกเลิกบริการ บริษัทฯก็ต้องให้บริการต่อไป เพราะอยู่ผู้ให้บริการ จะมายกเลิกสัญญาไม่ได้ มันมีเงื่อนไขตามกฎหมาย ดังนั้นผู้บริโภคมีสิทธิยืนยันที่จะไม่ยกเลิก และหากบริษัทฯอ้างว่า หากไม่ยกเลิกจะเก็บค่าบริการไปเรื่อยๆ ก็ไม่ต้องกลัวครับ เพราะ ถ้าเกิดเหตุขัดข้องที่ไม่ได้มาจากผู้ใช้บริการ ผู้ใช้บริการไม่ต้องจ่าย ดังนั้น ผู้บริโภคจึงมีสิทธิที่จะไม่ยกเลิก และถ้าถูกระงับสัญญาณปั๊บ ก็มีสิทธิไม่จ่าย จ่ายเฉพาะส่วนที่ใช้บริการจริงเท่านั้น เพราะเมื่อไหร่ที่ยินยอมยกเลิกสัญญา เท่ากับบริษัทฯพ้นหน้าที่ในการให้บริการเราทันทีเลย แต่ถ้าเรายืนยันเขามีหน้าที่ต้องเปิดบริการต่อ เพราะสัญญาเกิดมาก่อนแล้ว เป็นหน้าที่ที่ต้องเปิดให้บริการ ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม จะเช่าโครงข่ายทีทีแอนด์ที หรือเจ้าอื่น หรือให้บริการผ่านดาวเทียม ผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่คุณภาพต้องได้ตามที่ตกลงกันไว้ ” ผอ.สบท. กล่าว
      
       ท่าม กลางปัญหาความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการจำนวนมากจากการถูก 3BB เลิกให้บริการ แต่ 3BB ยังคงมีการเผยแพร่สื่อโฆษณาเกี่ยวกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ ทั้งทางสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ จุดนี้ นายประวิทย์ระบุว่า 3BB มีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับผู้บริโภคโดยไม่ปิดบังว่า พื้นที่ไหนเปิดให้บริการ พื้นที่ไหนจะยุติบริการ
      
       "อย่า ใช้กลยุทธ์เหมือนที่เคยทำมาในอดีตคือโฆษณาไปก่อน จากนั้นก็เก็บทั้งค่าติดตั้งและเก็บค่าบริการล่วงหน้า แต่พอพื้นที่ไหนไม่คุ้มก็ไม่ขยายโครงข่าย แล้วจึงเรียกลูกค้าไปรับเงินคืน เพราะถือว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ใช้บริการ"
      
       จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด สบท. ระบุว่าจะรวบรวมรายงานถึง เลขาธิการ กสทช. เพื่อพิจารณาให้มีคำสั่งทางปกครองต่อไปและในวันที่ 7 กุมภาพันธ์นี้ โดย สบท.จะจัดให้มีเวทีสาธารณะ เรื่อง “ผู้ใช้ 3BB ถูกลอยแพ ใคร? แก้ปัญหา” เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย
      
       จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) มีกรรมการบริษัท 7 คน คือ นายพิชญ์ โพธารามิก นายสุพจน์ สัญญพิสิทธิ์กุล นางสาวสายใจ คีตสิน นางนงลักษณ์ พงษ์ศรีหดุลชัย นางสาวจงรัก โรจนวิภาต นายวสุ ประสานเนตร และนายอนุพงษ์ โพธารามิก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 04 กุมภาพันธ์ 2011, 20:17:33 โดย หนอนน้อย » IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #71 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2011, 13:17:23 »

มาเจอคำตอบในกระทู้สุดท้ายนี่แหละ ครับ
ของผม อยู่ ป่ากล้วย เปิ้นมาดึงสายให้ ต่างหาก ตั้งแต่ปีที่แล้วล่ะครับ
ความแรงเนตดีมาก(ถ้าไม่เล่นเกมท์ออนไลท์ เหอๆๆ)
ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #72 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2011, 13:18:26 »

กสท + ทรูมูฟ แชมป์คู่ 3G HSPA


ความเคลื่อนไหวตลอดช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ถือว่าเป็นเดือนแห่งการแสวงหาโอกาสในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่ดุเดือดที่สุดก็ ว่าได้ ตั้งแต่การประกาศขยายเครือข่ายของดีแทค ตามมาด้วย เอไอเอส ต่างทุ่มงบนับหมื่นล้านบาทในการบุกตลาดโมบายอินเทอร์เน็ตและขยายสถานีฐานใน การให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ที่ตนเองถือครองอยู่
       
       ขณะที่ทรูมูฟ หลังอกหักจากการล้มประมูล 3G คลื่นความถี่ 2.1 GHzเมื่อปีที่ผ่านมา จึงต้องขยับตัวหาช่องทางใหม่ในการต่อยอดธุรกิจ เพราะอายุสัมปทานที่มีอยู่ในมือจะหมดลงในปี 2556 และเมื่อมองไปในอุตสาหกรรมแล้วผู้ที่มีศักยภาพพอที่จะช่วยให้กลุ่มทรูหลุด พ้นบ่วงกรรมอายุสัมปทานที่เหลือเพียงน้อยนิดหนีไม่พ้นบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย (ฮัทช์) ซึ่งโอกาสเปิดกว้างสำหรับกลุ่มทรู หลังจากที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม ไม่สามารถปิดดีลซื้อฮัทช์ เพื่อแก้ปัญหาการดำเนินธุรกิจมือถือ CDMA ที่มี 2 เครือข่าย 2 แบรนด์ได้ จนถึงขั้นประกาศว่า มีแผนที่จะเปลี่ยนเทคโนโลยีมาใช้ HSPA หรือ 3G แทนให้สิ้นเรื่องสิ้นราว
       
       'เมื่อ ซื้อฮัทช์ไม่ได้เราก็ถึงทางตัน เนื่องจากมีสัญญาการตลาดกับฮัทช์อีก 5 ปี ขณะที่เราก็มีแบรนด์ของเราเอง การทำตลาด 2 แบรนด์มีปัญหา โครงข่ายก็แยกกัน ใน 25 จังหวัดภาคกลางของฮัทช์มีศักยภาพทางธุรกิจสูง แต่อัปเกรดไม่ได้ ปล่อยให้เดินต่อไปถึงจุดจบของธุรกิจมือถือของกสท แน่นอน' จิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม เปิดใจถึงปัญหาหนักอกของกสทในเวลานั้น
       
       เมื่อทั้งทรูมูฟและกสท ต่างมีปัญหาในการทำธุรกิจมือถือ การหันหน้าเข้าหากันหาโซลูชั่นที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ประโยชน์จึงเกิดขึ้น และเป็นที่มาของดีลระหว่างกลุ่มทรูกับฮัทชิสัน ที่ใช้เวลาเจรจากว่า 4 เดือน
       
       โดยทาง บริษัท เรียล มูฟ และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ บริษัทในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน ประกอบไปด้วย บริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) Rosy Legend Limited และ Prospect Gain Limited โดยทางฝ่ายกลุ่มบริษัทฮัทชิสันได้ทำการเคลียร์หนี้สินระหว่างกลุ่มบริษัทที่ ซื้อขายกัน ซึ่งมีการประเมินว่า มูลค่าการซื้อในครั้งนี้ประมาณ 6,300 ล้านบาท
       
       ขณะที่กลุ่มทรูได้ลงนามในสัญญากับกสททั้งหมด 4 ฉบับ โดย 2ฉบับแรกเป็นสัญญาโอนถ่ายลูกค้าที่ใช้ระบบโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอ แบ่งเป็นสัญญาดูแลลูกค้าเพื่อถ่ายโอนไปยังเทคโนโลยี HSPA และสัญญาดูแลโครงข่ายเดิมในระบบ CDMA ซึ่งเป็นสัญญาที่มีอายุ 2ปี และสัญญาอีก 2 ฉบับจะเป็นสัญญาให้ดำเนินการธุรกิจระบบโทรศัพท์มือถือ3G แบ่งเป็นสัญญาเช่าใช้อุปกรณ์บางส่วนในการใช้บริการเครือข่าย และสัญญาขายส่ง-ขายปลีก ซึ่งเป็นสัญญาที่มีอายุ 15 ปี การเข้าซื้อฮัทช์ ของทรูมูฟแทน กสทในครั้งนี้ ถือเป็นดีลตอบโจทย์ของทั้งฝ่ายทรูมูฟและกสท ได้อย่างลงตัว โดยมีโมเดลการทำธุรกิจในลักษณะที่ทางกสท จะเป็น Network Companyลงทุนในส่วนเครือข่ายหลัก และเป็นผู้ขายส่งความจุของเน็ตเวิร์ก ขณะที่ทรูจะเป็น Operation Company และเป็นผู้ขายปลีกแทน
       
       ผล ประโยชน์ที่เกิดกับ กสท.โทรคมนาคม จากดีลนี้ จะทำให้ กสท ประหยัดเงินจากการซื้อกิจการฮัทช์ได้ถึง 6,300 ล้านบาท เมื่อรวมกับงบลงทุนในการขยายปรับปรุงเครือข่าย HSPA ในลักษณะ Operation Companyที่กสท เป็นผู้ลงทุนเครือข่ายหลัก ขณะที่ทรูจะเป็นผู้ลงทุนอุปกรณ์เครือข่ายในส่วนนี้ให้ประมาณ 5-6 พันล้านบาท ประมาณ 3,000 สถานีฐาน
       
       โดยกสทจะทำการเช่าอุปกรณ์จากทรูแทน และเป็นผู้ดูแลการขายส่งให้กับบริษัทผู้สนใจนำไปขายต่อ ใกล้เคียงกับโมเดล MVNO ของTOT 3G ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ทำให้กสทมีความคล่องตัวในการขยายเครือข่ายมากขึ้นเมื่อเทียบกับการที่กสท ต้องลงทุนเองที่มีขั้นตอนในการดำเนินการมากและใช้เวลานาน
       
       ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะกรรมการผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การลงทุนในช่วงแรกเพื่อพัฒนาสถานีฐานให้รองรับการใช้งาน HSPA จะใช้เงินลงทุนราว 5-6 พันล้านบาท บนสถานีฐานเดิมที่ให้บริการ CDMA ประกอบด้วยฟากฮัทช์ที่ครอบคลุมส่วนกลาง 25 จังหวัด และอีก 51 จังหวัดในส่วนภูมิภาคจากทาง กสท รวมกัน 3,000สถานีฐาน
       
       'โมเดล นี้ กสท เป็นคนลงทุนโครงข่ายหลัก เป็นคนประกอบอุปกรณ์โครงข่าย ทรูลงทุนอุปกรณ์และบำรุงรักษาจนหมดสัญญา 14 ปี เมื่อหมดสัญญา ก็มีออปชั่นให้กสทเลือกว่าจะซื้ออุปกรณ์ในราคาตามมูลค่าบัญชีได้'
       
       ด้านจิรายุทธเห็นว่าการที่ กสท เป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนบริษัทเอกชน ทำให้ต้องไปโฟกัสในจุดแข็งของตนเองคือ เน็ตเวิร์ก ตัวสถานีฐาน ตัวทรานมิชชัน (ระบบสื่อสัญญาณ) ที่เชื่อมต่อระหว่างสถานีฐานเข้าด้วยกัน ซึ่งถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็น 3G ,4G หรือ WiMax ในอนาคต ก็แค่อัปเกรดอุปกรณ์ให้รองรับแบนด์วิธที่โตขึ้นเท่านั้นเอง
       
       ส่วนประเด็นรายได้ของ กสทที่หลายฝ่ายมองว่าจะเสียเปรียบกลุ่มทรูนั้น จิรายุทธเห็นว่าไม่น่าเป็นอย่างนั้น เพราะเมื่อกสทเห็นว่ากลุ่มทรูตกลงซื้อฮัทช์ได้ ก็เลยเริ่มต้นคิดค้นรูปแบบการทำธุรกิจ ซึ่งต้องเป็นรูปแบบที่ไม่ขัดกับสิ่งที่กสทช.จะประกาศในอนาคต โดยกสทจะพิจารณาจากรูปแบบการให้บริการที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศแล้วนำ มาปรับใช้ให้เข้ากับจุดแข็งของแต่ละคน และในจุดนี้จะทำให้กสท มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละ 35-38% จากการที่กลุ่มทรูต้องมีการนำส่งรายได้ในส่วนค่าเช่า และการทำตลาด
       
       จิรายุทธ ยังย้ำว่าการลงนามในสัญญาระหว่างกสทกับกลุ่มทรูนั้นไม่เข้าข่ายพรบ.ร่วมทุนฯ ปี 2535เพราะเป็นการทำสัญญาที่ให้ทรูเช่าใช้อุปกรณ์บางส่วนไม่ใช่เช่าเน็ต เวิร์ก เพราะกสทยังคงเป็นผู้บริหารจัดการเน็ตเวิร์กและได้ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย รวมทั้งมีมติอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารเมื่อวันที่ 14 ม.ค.ให้ลงนามได้ทันที
       หากอัยการตรวจสอบหนังสือลงนามแล้วเสร็จ
       
       'หลัง หนังสือสัญญาผ่านการตรวจสอบของอัยการสูงสุด ผมจึงรีบลงนามสัญญาทันทีเพื่อหยุดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ กสท เนื่องจากสัญญาที่ทำกับฮัทช์ไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ แต่การทำสัญญากับทรูจะทำให้มีรายได้จากสัมปทานที่เคยขาดทุนปีละ 1,000 ล้านบาท เปลี่ยนเป็นกำไรทันทีปีละ 2,000 ล้านบาท'
       
       สำหรับผลประโยชน์ด้านกลุ่มทรูที่ได้รับ ประการแรก ก็คือ เป็นทางออกสำคัญของกลุ่มทรูในการปลดล็อกสัญญาสัมปทานเดิมบนเทคโนโลยี 2G ที่เหลือเพียง 2 ปี โดยจะได้รับสิทธิเป็นผู้ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์มือถือบนเทคโนโลยี HSPA ของกสท เป็นระยะเวลา 14 ปี เท่ากับเป็นการขยายระยะเวลาในการให้บริการโทรศัพท์มือถือของทรูมูฟออกไป ทันที แทนที่จะต้องรอลุ้นการเปิดประมูลโทรศัพท์มือถือ 3G คลื่นความถี่ 2.1 Ghzจากกสทช.ที่ยังไม่รู้อนาคตว่าจะเริ่มได้เมื่อไร
       
       ประการ ที่สอง เท่ากับเป็นการเพิ่มฐานผู้ใช้บริการและรายได้จากฮัทช์ที่มีรายได้ 4,300 ล้านบาทต่อปี มีจำนวนผู้ใช้บริการประมาณ 8 แสนราย ซึ่งทรูจะรับรู้รายได้ตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้เลย และยังมีสถานีฐานอีก 1,400 สถานีฐาน ภายใต้เทคโนโลยี CDMA ในส่วนกลาง 25 จังหวัด ที่สามารถพัฒนาเป็นเทคโนโลยี HSPA ได้ ซึ่งทำให้ทรูมูฟมีเครือข่ายรองรับการเติบโตของโมบายอินเทอร์เน็ตได้เร็วกว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายอื่น
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #73 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2011, 13:19:39 »

Speedtest.or.th พบคนไทยได้ความเร็วเพียง 71%


สบท. และ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยเผย ผู้บริโภคชาวไทยได้ความเร็วอินเทอร์เน็ตใช้งานเพียง 71% จากคำโฆษณา ชี้ทิศทางการใช้งานอินเทอร์เน็ตควมเร็วสูงมีมากขึ้น ผู้เข้าร่วมทดสอบส่วนใหญ่ความเร็วอยู่ที่ 4 Mbps ขณะที่อัตราการอัปโหลดยังอยู่ที่ 512 Kbps เช่นเดิม
       
       จากการเก็บผลสำรวจและทดสอบคุณภาพความเร็วอินเทอร์เน็ต หรือ Speedtest ใน ช่วงปี 2553 ที่เป็นโครงการร่วมกันระหว่าง สถานบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) และสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม ถึงปลายธันวาคม
       
       พตอ.ญาณพล ยั่งยืน รองอธิบดี ดีเอสไอ และ นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวว่า มีผู้เข้ามาร่วมทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตมากถึง 5,286,196 ครั้ง หรือเฉลี่ย 14,483 ครั้งต่อวัน โดยมาจากผู้ใช้ทีโอที 26.5% ทรู 25.96% และ 3BB 13.09% หรือคิดเป็นจำนวนครั้งที่ 1,400,655 ครั้ง 1,372,101 ครั้ง และ 691,764 ครั้งตามลำดับ
       
       "การที่มีจำนวนผู้ใช้ ISP อื่นๆ เป็นจำนวนถึง 27.89% หรือ 1,474,300 ครั้ง เกิดขึ้นจากการที่ตัวเลขไอพีที่ผู้ให้บริการใช้ของทาง กสท และ 3BB ใช้เลขไอพีที่ไม่ได้ลงทะเบียน ทำให้ไม่สามารถแสดงผลได้ จึงต้องมีการประสานงานให้นำเลขไอพีมาลงทะเบียนต่อไป"
       
       ส่วนจังหวัดที่มีผู้เข้าร่วมทดสอบมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ 16.78% ชลบุรี 2.47% เชียงใหม่ 2.31% และ 2.19% ตามลำดับ และมีข้อมูลที่ไม่ระบุจังหวัดมากถึง 43.29% ส่วนจังหวัดที่มีผู้เข้าทดสอบน้อยสุดคืออำนาจเจริญ
       
       ขณะที่แนวโน้มการใช้งานบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่ม มากขึ้น จากการที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็ว 4 Mbps เข้าทดสอบมากถึง 15% รองลงมาเป็น 3 Mbps ที่ 8% และ 6 Mbps ที่ 7% ส่วนความเร็วมาตรฐานเดิมที่ 2 Mbps มีผู้เข้าทดสอบเพียง 2% แต่ทั้งนี้ยังมีจำนวนข้อมูลที่ไม่มีการระบุความเร็วถึง 55%
       
       "ความเร็วในการดาวน์โหลด สามารถทำได้เฉลี่ยที่ 71% จากค่าดาวน์โหลดที่โฆษณากัน ขณะที่ค่าอัปโหลดทำได้เพียง 10% จากที่โฆษณาไว้เท่านั้น"
       
       การวิเคราะห์ความเร็วดาวน์โหลดในช่วง 4 Mbps ของ 3 เจ้าใหญ่ ไล่ตั้งแต่ทรูมีผู้ใช้ที่ทดสอบได้ในช่วง 4 Mbps ถึง 38% และมีมากกว่า 3.5 Mbps ถึง 48% ส่วนทีโอที ความเร็วเฉลี่ยสูงสุดของผู้ใช้บริการ 4 Mbps อยู่ที่ 3.5 Mbps ซึ่งถ้ารวมผู้ใช้ที่มีความเร็วสูงกว่า 3.5 Mbps มีเพียง 15% เท่านั้น ขณะที่ 3BB มีผลทดสอบใกล้เคียงกับของทรู ถ้านับค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.5 Mbps ขึ้นไปมีถึง 48%
       
       ส่วนความเร็วอัปโหลดส่วนใหญ่ทั้ง 3 รายหลัก จะอยู่ที่ประมาณ 512 Kbps เป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าจะมีความเร็วในการดาวน์โหลด 2, 3, 4 และ 6 Mbps ก็ตาม ส่วนภาพรวมในปี 2554 คาดว่าจะมีการปรับค่าอัปโหลดให้ขึ้นมาอยู่ที่ 1 Mbps มากขึ้น
       
       ผู้ใช้งานส่วนใหญ่รู้จัก Speedtest.or.th มากขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาส่วนเสริมของเว็บเบราว์เซอร์ทุกราย ไม่ว่าจะเป็น Internet Explorer, Firefox, Chrome และ Safari และมีการเปิดระบบสมาชิก ให้สามารถย้อนดูผลการทดสอบย้อนหลัง เพื่อช่วยวิเคราะห์ประมวลผล หรือนำไปใช้เป็นหลักฐานในการร้องเรียน จากความเร็วอินเทอร์เน็ตได้
       
       "สำหรับคนที่สมัครเป็นสมาชิก ทางสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย จะมีการนำสมาชิกมาจับฉลากแจกไอแพด เป็นการตอบแทนผู้ที่เข้ามาใช้งาน ขณะเดียวกันผู้ทำเว็บไซต์ ที่ต้องการนำระบบไปติดตั้งที่เซิร์ฟเวอร์ก็สามารถติดต่อเข้ามาเพื่อร่วม โครงการลุ้นรับไอแพดด้วยเช่นเดียวกัน"
       
       อัตราส่วนการใช้งานเว็บไซต์ Speedtest.or.th มีผู้เข้าใช้จากหน้าเว็บ 40% ขณะที่มากกว่า 50% ที่เหลือเข้าจากเว็บไซต์พอร์ทัลที่เข้าร่วมติดตั้งระบบทดสอบในหน้าเว็บไซต์
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #74 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2011, 13:21:01 »

3BB ฟ้องทีทีแอนด์ทีแอบตัดสัญญาณเน็ต : ลูกค้าหาย 3 แสนราย เพิ่มเครือข่ายรับลูกค้าล้านราย



ทริปเปิลทีเตรียมฟ้อง TT&T หลังถูกตัดสัญญาณเน็ต สูญลูกค้ากว่า 3 แสนราย ส่งผลภาพลักษณ์แบรนด์ 3BB เสียเสนอ กสทช. หาทางออกลูกค้าที่ยังใช้โครงข่าย TT&T ที่เหลืออยู่ประมาณ 1.2 หมื่นราย รับอยู่ระหว่างสร้างโครงข่ายเพิ่มหวังดึงลูกค้าเพิ่ม มั่นใจสิ้นปีมีลูกค้ากว่า 1 ล้านราย ปัจจุบันเหลือเพียง 7 แสนราย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการให้บริการบริษัท ทริปเปิลทรี อินเทอร์เน็ต จำกัด หรือ 3BB บริษัทในเครือของ บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ เนื่องจากผู้ใช้บริการถูกตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตโดยไม่แจ้งให้ทราบ ล่วงหน้า โดยผู้ใช้บริการสอบถามก็ได้รับแจ้งว่า บริษัทยุติการให้บริการแล้ว ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำธุรกิจเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต และประชาชนทั่วไป ล่าสุดจากการร้องเรียนทั้งที่เข้ามาถึง สบท. โดยตรงและที่เป็นกระทู้ในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ พบว่ามีผู้เดือดร้อนมากกว่า 20 จังหวัด ครอบคลุมทุกภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ศรีสะเกษ สุราษฎร์ธานี และตรัง

นายวสุ ประสานเนตร กรรมการ บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ กล่าวว่า บริษัทเตรียมที่จะพิจารณาการฟ้องร้องทางแพ่งกับ บมจ.ทีทีแอนด์ที หรือ TT&T เนื่องจากทำให้บริษัทเสียชื่อเสียงและสูญเสียรายได้จากการที่ลูกค้าต้องได้ รับผลกระทบและต้องยกเลิกการใช้บริการกับบริษัท โดยปัจจุบัน บริษัทมีอัตราการใช้งานเฉลี่ยของลูกค้าอยู่ที่ 590 บาทต่อเดือน และมียอดลูกค้าที่หายไปหลังจากที่ประสบปัญหาอยู่ที่ 3 แสนราย

ทั้งนี้ ปัจจุบัน 3BB มีลูกค้าทั่วประเทศประมาณ 7 แสนราย ตั้งแต่กลางปี 2552 เมื่อ บมจ.ทีทีแอนด์ที เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ทำให้เกิดกรณีฟ้องร้องระหว่างกัน ส่งผลให้ 3BB ได้ลดการใช้งานวงจรเช่าของ TT&T จากที่เคยใช้งานอยู่ 320,278 วงจร เหลืออยู่เพียง 12,333 วงจร ส่งผลให้ลูกค้าขอยกเลิกใช้บริการกว่า 2 แสนราย และตั้งเป้าจะมีลูกค้าภายในสิ้นปี 2554 ไว้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านราย หลังจากที่บริษัทเริ่มติดตั้งโครงข่ายใช้งานเอง

“บริษัทไม่มีนโยบายยกเลิกการให้บริการอินเตอร์เน็ตกับลูกค้า โดยจะรับคำร้องดังกล่าวไปปรึกษากับผู้บริหารเพื่อหาทางแก้ไข ซึ่งตั้งแต่ปี 2552 ทริปเปิลที บรอดแบนด์ มีปัญหามาโดยตลอดกับ TT&T จากการเช่าใช้วงจรเช่า ซึ่งมีปัญหาเรื่องคุณภาพในการให้บริการที่มีทั้งสัญญาณหลุด และซ่อมช้า ดังนั้นแนวทางแก้ปัญหาตั้งแต่ปี 2552-2553” นายวสุ กล่าว

นอกจากนี้ บริษัทได้ใช้งบประมาณบางส่วน ซึ่งไม่ขอเปิดเผยงบประมาณดังกล่าวเพื่อสร้างโครงข่ายขึ้นเองหวังรองรับการ ใช้งานและการให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อรักษาฐานลูกค้า ดังนั้น การที่ทริปเปิลทีพยายามเร่งลงทุนในการขยายโครงข่ายเพื่อแก้ไขปัญหานั้น ก็ยังติดปัญหาในเรื่องของการเข้าไปในพื้นที่ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการเข้าไปบริหารจัดการและซ่อมบำรุง ทั้งนี้ การแก้ไขดังกล่าวต้องมีการประสานงานร่วมกันระหว่างเจ้าทุกข์คือ ทริปเปิลที และ TT&T ด้วย

“กรณีที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของ 3BB ประมาณ 20 รายร้องเรียนเรื่องถูกยกเลิกการให้บริการอินเตอร์เน็ตของ 3BB เบื้องต้นจะรับเรื่องไปพิจารณาและขอให้ผู้บริโภคที่มีปัญหาเข้าไปในพื้นที่ กับเจ้าหน้าที่ของทริปเปิลที บรอดแบนด์ ส่วนอีก 12,000 รายที่ยังใช้งานอินเตอร์เน็ตบนวงจรเช่าของ TT&T ขณะนี้ ทริเปิลที บรอดแบนด์ กำลังเร่งขยายโครงข่ายการใช้งานพร้อมโอนย้ายลูกค้ามาใช้งานบนโครงข่ายของทริ ปเปิลที บรอดแบนด์”

สำหรับการเจรจาปัญหาดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันตามกฎหมายหลังจากบริษัท พี แพลนเนอร์ จำกัด ซึ่งจัดตั้งโดยกลุ่มเจ้าหนี้ของ TT&T และเป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีข้อกำหนดข้อหนึ่งที่ระบุถึงการไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือสิทธิตามสัญญา ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้รับ และมีการกำหนดถึงสิทธิที่จะไม่ยอมรับสัญญาและข้อตกลงระหว่าง บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ และ TT&T หากการเจรจาไม่ได้ข้อยุติอาจขอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. หาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่มีโครงข่ายไว้รองรับในบริเวณที่เป็นปัญหา เพื่อให้ลูกค้าที่ย้ายไปใช้บริการ ขณะที่ค่าใช้จ่าย  กสทช. ต้องพิจารณาว่าจะให้ใครรับผิดชอบอีกครั้ง

น.พ.ประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า หากต้องระงับการให้บริการต้องแจ้งผู้บริโภคล่วงหน้า 30 วัน และห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการยกเลิกการให้บริการตามสัญญา ถ้าผู้บริโภคไม่ใช่ฝ่ายผิด ซึ่งปัญหานี้มีแนวโน้มที่จะขยายวงกว้างไปยังลูกค้าในต่างจังหวัด ซึ่งลูกค้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะไม่มีปัญหานี้ เพราะมีโครงข่ายที่ทริปเปิลที บรอดแบนด์สร้างขึ้นเอง ซึ่งตามกฎหมายแล้วผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนต้องมาร้องเรียนเพื่อ สบท. สามารถเดินเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายได้ ส่วนกรณีนี้ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องเรียนก็จะมีการดำเนินงานอยู่แล้วเพราะเกิด กรณีร้องเรียนเข้ามาแล้ว

รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. กล่าวว่า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในวันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์นี้จะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมกรรมการ กสทช. เพื่อให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ร้องเรียน และผู้บริโภคที่ไม่ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนแต่อยู่ในสภาพเดียวกัน ซึ่งจะประกาศบังคับใช้ตามมาตรา 45 วรรค 3 ตามพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ที่ต้องเชื่อมต่อบริการให้แก่ผู้บริโภคหากมีการตัดสัญญาณ

นายประสงค์ บุศปพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ TT&T กล่าวว่า ก่อนหน้านี้บริษัทได้ส่งหนังสือเรียกบริษัท ทริปเปิลที เข้ามาเจรจากรณีดังกล่าว แต่ทริปเปิลที ปฏิเสธการเข้ามาเจรจา ทำให้ TT&T ต้องทำหนังสือเรียกมาพิจารณาค่าเช่าวงจรและสัญญาร่วมบริการอีกครั้ง ทั้งนี้มีกำหนด 60 วัน โดยจะสิ้นสุดสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้     

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากเหตุร้องเรียนดังกล่าว พบว่า 3BB ได้ลดการใช้งานวงจรเช่า TT&T จากที่เคยใช้งานอยู่ 320,278 วงจร เหลืออยู่เพียง 12,333 วงจรเท่านั้น และมีแผนว่าจำนวนวงจรเช่าที่ใช้งานก็จะลดลงไปอีกตามลำดับ โดยจะลดลงเหลือ 0 ภายในระยะเวลาไม่นานนี้ จึงเป็นไปได้ว่าสำหรับลูกค้าต่างจังหวัดที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ตของ 3BB แบบมีเบอร์โทรศัพท์ของ TT&T จะถูกแจ้งยกเลิกการให้บริการทั้งหมดที่สุด

สำหรับการให้บริการอินเตอร์เน็ตในต่างจังหวัดของ 3BB ในหลายจุดยังเป็นการทำสัญญาใช้บริการวงจรเช่าจาก TT&T แต่เมื่อ TT&T ประสบปัญหาทางการเงิน และมีการตั้งบริษัทเอกชนเข้ามาทำแผนฟื้นฟูกิจการ ส่งผลต่อการเข้าไปใช้สิทธิของ 3BB ในการใช้วงจรเช่าตามสัญญา เช่น การเปลี่ยนกุญแจล็อกชุมสายทำให้ 3BB ไม่สามารถให้บริการได้ การสร้างเงื่อนไขการเข้าพื้นที่ชุมสายและมีเหตุรุนแรงถึงขั้นฟ้องร้องกันกับ พนักงานบริษัท และเป็นเหตุให้ 3BB ไม่อาจใช้วงจรเช่าในพื้นที่ชุมสายของ TT&T เพื่อให้บริการกับลูกค้าได้ ซึ่งที่ประชุม  กสทช. ได้มีมติให้ TT&T ระงับการรื้อถอนคู่สายหรือการหยุดการให้บริการแล้ว 3BB จึงยังคงมีสิทธิ์ใช้โครงข่าย TT&T เพื่อให้บริการต่อไปก่อนตามสัญญาเดิม

ทั้งนี้ จากข้อมูล บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์  ได้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานภายใต้สัญญาสัมปทานกับองค์การโทรศัพท์แห่ง ประเทศไทย ปัจจุบันเป็น บมจ.ทีโอที โดยสร้างโครงข่ายและให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในเขตภูมิภาค 1.5 ล้านเลขหมาย โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ใน TT&T ได้แก่กลุ่ม บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JAS เป็นกลุ่มบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ ต่อมา TT&T ได้ตั้ง บมจ. ทริปเปิลที บรอดแบนด์ เพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงภายใต้ชื่อ “3BB” โดยบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ ได้ใช้วงจรเช่าของ TT&T

จนกระทั่ง TT&T เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2552 โดยให้ศาลล้มละลายพิจารณา และบริษัท พี แพลนเนอร์ จำกัด ซึ่งจัดตั้งโดยกลุ่มเจ้าหนี้ของ TT&T เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีข้อกำหนดข้อหนึ่งที่ระบุถึงการไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือสิทธิตามสัญญา ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้รับ และมีการกำหนดถึงสิทธิที่จะไม่ยอมรับสัญญาและข้อตกลงระหว่าง บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ และ TT&T

ส่งผลให้วันที่ 24 มีนาคม 2553 บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ มีหนังสือเพื่อรายงานถึง กทช. เกี่ยวกับผลกระทบและปัญหาในการให้บริการ และขอให้กทช. กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณะ อันเกิดจากการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของ TT&T เนื่องจาก  บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ และ TT&T มีสัญญาให้บริการวงจรเช่าระหว่างกัน ดังนั้น สำนักงาน กสทช. (สำนักงาน กทช.เดิม) จึงได้มีหนังสือที่ ทช 3300/3636 ลงวันที่ 28 มกราคม 2554 แจ้งไปยัง TT&T ให้ยุติการให้บริการวงจรเช่าและยุติการรื้อถอนคู่สายที่ใช้เชื่อมโยงสัญญาณ ในส่วนที่กระทบต่อการให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมของ  บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
zombie01
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,516


ความสุขเกิดขึ้นได้ เพียงแต่รู้จักใช้ชีวิต


« ตอบ #75 เมื่อ: วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2011, 18:55:38 »

ทิศทางของ CDMA ดูไม่ค่อยดีเลย มีโปรไหนค่ายไหนที่พอ ๆ กันบ้างครับ ตอนนี้ใช้โทร 8.00-20.00 เดือนละ 514 บาท
IP : บันทึกการเข้า

หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #76 เมื่อ: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2011, 11:06:55 »

ทิศทางของ CDMA ดูไม่ค่อยดีเลย มีโปรไหนค่ายไหนที่พอ ๆ กันบ้างครับ ตอนนี้ใช้โทร 8.00-20.00 เดือนละ 514 บาท
ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #77 เมื่อ: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2011, 11:08:00 »

ลูกค้า 3BB ทนไปก่อน กสทช.รอกม.ใหม่ชี้อำนาจสบท.


บอร์ดกสทช.ยังไม่นำกรณีลูกค้า 3BB ถูกลอยแพเข้าบอร์ด อ้างสบท.ยังไม่ออกประกาศคุ้มครอง รอการยืนยันอำนาจหน้าที่หลังมีพ.ร.บ. กสทช. ขณะเดียวกันรื้อการให้ใบอนุญาตนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคมจากแบบควบคุมเป็นอัตโนมัติมีผล 9 ก.พ. 54
       
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวหลังการประชุมบอร์ดกทช.ปฏิบัติหน้าที่แทนกสทช.เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ว่าที่ประชุมยังไม่นำเรื่องประกาศคุ้มครองผู้บริโภคชั่วคราว กรณีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ของบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ ที่ให้บริการภายใต้ชื่อ 3BBถูกตัดสัญญาณเข้าที่ประชุม เนื่องจากที่ประชุมครั้งนี้ได้นำเรื่องหน้าที่การปฏิบัติงานของสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ซึ่งตั้งขึ้นตามประกาศพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ขณะที่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2553 ให้ตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (คบท.)
       
       ที่ประชุม กสทช.จึงมีมติให้ คบท.ดำเนินงานตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ส่วน สบท.ยังคงให้ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคตามเดิมโดยให้มีหน้าที่เสมือนเป็นเลขานุการของ คบท. ทั้งนี้ เมื่อทั้ง 2 หน่วยงานได้รับคำยืนยันอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนแล้วสัปดาห์หน้าจะสามารถนำเรื่องประกาศคุ้มครองผู้บริโภคชั่วคราว กรณีลูกค้า 3BB ถูกตัดสัญญาณเข้าที่ประชุมได้
       
       สำหรับผู้ใช้บริการ 3BB ถูกตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนม.ค.ที่ผ่านมา และมีการตั้งกระทู้ในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และพบว่ามีผู้เดือดร้อนมากกว่า 20 จังหวัดครอบคลุมทุกภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ศรีสะเกษ สุราษฏร์ และตรัง เป็นต้น
       
       จากเหตุร้องเรียนดังกล่าวพบว่า 3BB ได้ลดการใช้งานวงจรเช่าของบริษัท ทีทีแอนด์ทีจากที่เคยใช้งานอยู่ 320,278 วงจร เหลืออยู่เพียง 12,333 วงจรเท่านั้น และมีแผนว่าจำนวนวงจรเช่าที่ใช้งานจะลดลง และคาดว่าจะลดลงเหลือ 0 วงจรภายในระยะเวลาอีกไม่นาน เพราะจากการจัดเวทีสาธารณะ ผู้ใช้ 3BB ถูกลอยแพ..ใคร? แก้ปัญหา ของ สบท.เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา
       
       นายวสุ ประสานเนตร กรรมการ ทริปเปิลทีบรอดแบนด์ กล่าวว่า จากปัญหาข้อพิพาทกันระหว่างทีทีแอนด์ที กับ ทริปเปิลที บรอดแบนด์ หลัง ทีทีแอนด์ที เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2552 และมีบริษัท พี แพลนเนอร์ ซึ่งจัดตั้งโดยกลุ่มเจ้าหนี้ของ ทีทีแอนด์ที เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ส่งผลให้ทริปเปิลที บรอดแบนด์ทยอยสร้างโครงข่ายเพื่อรองรับการใช้งานและโอนย้ายลูกค้ามาใช้งานบนโครงข่ายที่ทริปเปิลที บรอดแบนด์ ที่สร้างขึ้นเอง
       
       ขณะที่ลูกค้าที่ใช้ 3BB อีก 12,000 รายที่ยังใช้งานอินเทอร์เน็ตบนวงจรเช่าของทีทีแอนด์ที ขณะนี้ทริเปิลที บรอดแบนด์ กำลังเร่งขยายโครงข่ายการใช้งานพร้อมโอนย้ายลูกค้ามาใช้งานบนโครงข่ายของทริปเปิลที บรอดแบนด์ โดยจะใช้เวลาเจรจาภายใน 60 วันตามที่กฎหมายกำหนดหลังจาก บริษัท พี แพลนเนอร์ เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ หากการเจรจาไม่ได้ข้อยุติอาจขอให้กสทช.หาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่มีโครงข่ายรองรับในบริเวณที่เป็นปัญหาเพื่อให้ลูกค้าย้ายไปใช้บริการ ขณะที่ค่าใช้จ่าย กสทช.ต้องพิจารณาว่าจะให้ใครรับผิดชอบ
       
       ปัจจุบัน 3BB มีลูกค้าทั่วประเทศประมาณ 7 แสนราย ตั้งแต่กลางปี 2552 เมื่อ ทีทีแอนด์ที เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ทำให้เกิดกรณีฟ้องร้องระหว่างกัน 2 บริษัท ส่งผลให้ 3BB ได้ลดการใช้งานวงจรเช่าของบริษัท ทีทีแอนด์ทีจากที่เคยใช้งานอยู่ 320,278 วงจร เหลือเพียง 12,333วงจร ทำให้ลูกค้าขอยกเลิกใช้บริการกว่า 2 แสนราย
       
       พ.อ.นทีกล่าวว่า ส่วนที่บอร์ดมีมติเห็นชอบในการประชุมครั้งนี้คือ 1.ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมสามารถนำเข้าอุปกรณ์ประเภทคอนซูเมอร์ โปรดักส์หากมีเอกสารครบถ้วนถูกต้อง ซึ่งการประชุมครั้งนี้ทำให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น หลังการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาบอร์ดได้เห็นชอบในหลักการ โดยจะเปลี่ยนรูปแบบการนำเข้าอุปกรณ์จากเดิมเป็นการควบคุมเป็นการกำกับดูแล ทำให้การนำเข้าอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นไปแบบอัตโนมัติ
       
       2.ผู้ประกอบการที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่เกิดความรู้สึกว่ามีความล่าช้าในการนำเข้าอุปกรณ์ บอร์ดมีมติให้สามารถนำเข้าอุปกรณ์สถานีฐาน เพื่อการบำรุงรักษา ขยายโครงข่าย หรืออัปเกรดโครงข่ายสามารถยื่นขอมาที่ กสทช.โดยตรง หลังมีการแจ้งให้คู่สัญญาสัมปทานทราบเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ถูกต้องและรวดเร็ว
       
       3.กรณีการขอนำเข้าอุปกรณ์ของบริษัท กสท โทรคมนาคม กับบริษัท ทีโอที ซึ่งถือเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเช่นกัน การนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคมก็จะพิจารณาเป็นกรณีไป หากไม่เกี่ยวข้องกับคำสั่งของศาล
       
       'การนำเข้าเครื่องลูกข่ายมือถือ อุปกรณ์กระจายเสียง และโทรทัศน์ใช้อี-ไลเซนส์ไม่เกิน 5 วันได้'
       
       ส่วนเรื่องการเซ็นสัญญาระหว่าง กสท กับกลุ่มทรู และฮัทช์ กสทช. มีมติให้สำนักงาน กสทช.ไปหารายละเอียดก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่เรียบร้อย บอร์ดจึงให้ไปหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม รวมถึงเงื่อนไขสัญญาว่าส่วนไหนที่ต้องรายต่อ กสทช. จากนั้นให้รายงานบอร์ดภายใน 7 วัน
       
       'สัญญาระหว่าง กสท กับทรูไม่ทราบเป็นแบบไหนกำลังให้สำนักงาน กสทช. หารายละเอียดเพิ่มเติม'
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #78 เมื่อ: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2011, 11:09:02 »

ทีโอทีเปิดฉาก “ไทย เน็ต” ลุยบรอดแบนด์ 2เมก199 บาททั่วประเทศ

ทีโอที สนองนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ลุยโครงการไทย เน็ต บรอดแบนด์ 2 เมกะบิต 199 บาท ดีเดย์วันนี้ ขณะที่ ตั้งเป้าโกยลูกค้าเบอร์บ้านทีโอทีอีก 5 หมื่นรายใน 2 เดือน...

วันที่ 9 ก.พ. นายบุญมาก ศิริเนาวกุล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลประกาศนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ หรือ โครงการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากรไม่ต่ำ กว่า 80% ของประชากรภายในปี 2558  หรือ อีก 4 ปีข้างหน้า และไม่ต่ำกว่า 95% ภายในปี 2563 หรืออีก 9 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ทีโอทีได้รับมอบหมายให้บริการบรอดแบนด์ในโครงการ ไทยเน็ต (Thai Net) ด้วยความเร็ว 2 เมกะบิต ค่าบริการ 199 บาท/เดือน จำกัดเลขหมายใช้งาน 5 หมื่นเลขหมาย โดยเปิดให้สมัครได้ถึง 30 เม.ย.นี้ เจาะกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์บ้านของทีโอทีอีก 2.5 ล้านรายทั่วประเทศที่ยังไม่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากลูกค้าโทรศัพท์บ้านของ ทีโอทีทั้งหมด 3.7 ล้านราย

นายนพณัฏฐ์ หุตะเจริญ รักษาการกรรมผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า ประชาชนที่สนใจ สามารถใช้บริการบรอดแบนด์ในโครงการ “ไทย เน็ต” ด้วยความเร็ว 2 เมกะบิตจำนวน 60 ชั่วโมง ราคา 199 บาท/เดือน ซึ่งส่วนเกินที่ใช้คิดค่าบริการชั่วโมงละ 10 บาท โดยค่าบริการสูงสุดไม่เกิน 490 บาท รวมกับการใช้งานเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐาน หรือ โทรศัพท์บ้าน เท่านั้น และไม่สามารถใช้บริการกับเอดีเอสแอล แบบไม่มีเลขหมายได้
 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หนอนน้อย
กระดื๊บ กระดื๊บ
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,399


รักในสิ่งที่ทำ แล้วอะไรก็จะดี


« ตอบ #79 เมื่อ: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2011, 11:09:44 »

บอร์ดทีโอทีไม่วุ่น ถก 3G


ประธานบอร์ดยันพิจารณา 3G ทีโอที บ่ายวันนี้ (11 กุมภาพันธ์ 2554) ถกแบบรอบคอบและรัดกุม แต่ไม่เห็นด้วยหากต้องรอศาลปกครองกลางพิพากษาแล้วถึงเดินหน้าเซ็นสัญญา เพราะเหมือนขุดหลุมฝังรัฐวิสาหกิจ ด้าน 'ชิต' ปัดจ้องล้มโครงการ หากฝ่ายบริหารชี้แจงเรื่องคดีความได้ชัดเจน แจ่มแจ๋ว ก็ไม่มีปัญหา
       
       นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานบอร์ด ทีโอที กล่าวก่อนการประชุมบอร์ดว่าในช่วงบ่ายวันที่ 11 ก.พ.นี้ ที่ประชุมจะมีการพิจารณาในวาระการขยายโครงข่าย TOT 3G มูลค่า 17,440 ล้านบาท ที่ได้ผู้ชนะโครงการคือ เอสแอล คอนซอร์เตี้ยม ที่ประกอบด้วยสามารถ ล็อกซเล่ย์ หัวเว่ย โนเกีย-ซีเมนส์ เพื่อเข้าพิจารณาอนุมัติในบอร์ด หลังจากผ่านขั้นตอนต่อรองราคาลดลงจากราคาสุดท้ายที่ชนะประมูลไปแล้ว ซึ่งหากบอร์ดเห็นชอบก็จะกำหนดวันลงนามสัญญาจัดจ้างกันได้ภายในเดือนก.พ.นี้ ต่อไป
       
       ทั้งนี้ เอสแอลคอนซอร์เตี้ยมได้ลดราคาลงมาอีก 40 ล้านบาทในเบื้องต้น จากราคาที่ชนะ 16,290 ล้านบาทเหลือ 16,250 ล้านบาท
       
       สำหรับ ข่าวที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งระบุว่ากรรมการบอร์ดมีความขัดแย้งนั้น ไม่ทราบข้อมูล และไม่สามารถยืนยันได้ โดยเฉพาะข่าวลือที่ระบุว่ากรรมการสายกระทรวงการคลัง ไม่เห็นด้วยที่จะอนุมัติให้ทีโอทีลงนามสัญญากับเอสแอล คอนซอร์เตี้ยมเพราะยังมีคดีความค้างอยู่ที่ศาลปกครอง
       
       'คน ที่จะค้านกับคนที่ให้ข่าว เป็นคนเดียวกันหรือไม่ เพราะจริงๆแล้วกรรมการสายคลังไม่มีการแบ่งใครเป็นใคร ไม่มีโควตา เพราะล้วนตั้งมาจากรมว.ไอซีที แต่คนชอบคิดว่ามาจากสายคลังโดยดูจากงานประจำที่ทำ'
       
       ทั้งนี้บอร์ดจะใช้ความรอบคอบ และนึกถึงประโยชน์สูงสุดของทีโอทีเพราะในมุมหนึ่งหากหยุดโครงการเพียงเพราะ มีเอกชนฟ้องร้องคาศาลอยู่ โครงการของรัฐวิสาหกิจก็มีปัญหาในอนาคตแน่นอน จนไม่สามารถเดินหน้าอะไรได้เลย เพราะใครที่ตกรอบหรือแพ้ประมูลก็ยื่นฟ้องให้คดีคาศาลไว้ เพราะความจริงคือไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าศาลปกครองจะพิจารณาจนสิ้นสุดเมื่อ ไหร่
       
       'ถ้า เราหยุดโครงการนี้ไปเลยเพราะศาลยังไม่พิพากษา ทุกอย่างก็จะมีปัญหาได้ อาจล้มเหลวไปหมด เพราะรัฐบาลก็อยากผลักดันให้โครงการนี้เกิด ถึงขนาดวางตารางเวลาเลยว่าจะเริ่มเปิดบริการบางส่วนในเดือนเมษายนและติดตั้ง ได้ครบเมื่อไหร่ ซึ่งผมขอไปคุยให้จบในบอร์ด และต้องเลือกโซลูชั่นดีที่สุดให้องค์กร'
       
       ด้านชิต เหล่าวัฒนา กรรมการบอร์ดทีโอทีกล่าวก่อนการประชุมบอร์ดว่า บอร์ดทีโอทีจะพิจารณาอย่างรอบคอบ และระมัดระวังที่สุด แน่นอนว่าบอร์ดไม่ใช่ตรายางเอาไว้แค่คอยประทับ แต่บอร์ดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากอนุมัติโครงการใดๆไปแล้วก็ตาม โดยหลักการฝ่ายบริหารต้องชี้แจงให้ได้ว่า คดีที่ศาลปกครองถึงแม้ศาลไม่รับคุ้มครองชั่วคราว แต่คดียังอยู่ ฝ่ายบริหารต้องตอบให้ได้ว่าแล้วต่อไปจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะประเด็นที่คนฟ้องถูกตีตกไป
       
       'ผมขอยืนยันว่าไม่ได้ต้องการล้มโครงการ เพราะโครงการนี้เป็นประโยชน์กับภาพรวมของประเทศ และเป็นนโยบายของรัฐบาลและรมว.ไอซีที เพียงแต่ฝ่ายบริหารต้องตอบคำถามบอร์ดให้ได้แบบชัดถ้อยชัดคำว่าคดีความที่ ค้างอยู่เป็นอย่างไร ผมไม่ได้บอกว่าต้องรอให้ศาลพิพากษาเสร็จก่อนแล้วถึงเดินหน้าโครงการได้ เพราะขั้นตอนศาลไม่สามารถคาดเดาระยะเวลาได้อยู่แล้ว เพียง แต่ฝ่ายบริหารต้องชี้แจงให้บอร์ดมั่นใจได้ว่าขั้นตอนและกระบวนการถูกต้อง โปร่งใสจริง และที่สำคัญผมก็อยากรู้เหมือนพวกคุณว่า กรรมการบอร์ด 4 คนที่ค้านเป็นใครบ้าง'

 
IP : บันทึกการเข้า

Tel.087-7268139
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!