เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 23 กรกฎาคม 2025, 16:33:25
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ฉันจะเป็นชาวนา
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 [8] 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 ... 27 พิมพ์
ผู้เขียน ฉันจะเป็นชาวนา  (อ่าน 49317 ครั้ง)
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,174



« ตอบ #140 เมื่อ: วันที่ 05 ตุลาคม 2012, 10:16:35 »

อิสระจริงๆเจ้า


* 246463_10151175891682731_521690698_n.jpg (66.74 KB, 500x375 - ดู 1179 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
masterwan
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 94


« ตอบ #141 เมื่อ: วันที่ 05 ตุลาคม 2012, 12:04:50 »

http://www.youtube.com/watch?v=XfqffFNf2jg&feature=youtu.be
ผมเองก็ชาวนาครับ เพียงแต่ม่ได้ทำนาล็อคสั้นๆแบบทางเหนือครับ ผมทำแบบที่บ้านผม นนทบุรีทำครับกว้างๆใหญ่ๆ
IP : บันทึกการเข้า
seklampang
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 771



« ตอบ #142 เมื่อ: วันที่ 05 ตุลาคม 2012, 23:31:34 »

ผมก็อยากทำนาไหญ่ๆเหมือนทางใต้แต่ทำไงได้นาทางเหนือเป็นที่หลั่นไม่เสมอกันนาไหนเสมอกันดีผมก็ปรับให้ไหญ่มั่งแล้วครับ วันนี้ไปตัเหญ้าคันนา อากาศร้อนมาก
IP : บันทึกการเข้า

เสกสรรค์ พรมมินทร์ โทร 0873583610 LINE  demons_rieve
https://www.facebook.com/DemonsGrieve
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #143 เมื่อ: วันที่ 06 ตุลาคม 2012, 14:03:41 »

ยิ้มกว้างๆ....รูปแรกนี่มองผ่านหน้าต่างห้องนอนครับ...

บ้านสวยที่นาสวย ถ่ายภาพก็สวยครับ เยี่ยมเลย
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #144 เมื่อ: วันที่ 06 ตุลาคม 2012, 14:22:40 »

ตอนนี้เพลี้ยระบาดแล้ว   ชาวนาแถวบ้านใช้แต่สารเคมีกันอย่างแรง. เอาน้ำส้มควันไม้ไปเสนอ มีไม่กี่คนที่สนใจ  นอกนั้นไม่มีทางเปลี่ยนแนวคิดเค้าได้ วิ่งเข้าใส่สารเคมีอย่างเดียว.

ใจเย็น ๆ ครับชาวบ้านยังยึดติดกับสารเคมีเพราะการเห็นผลเร็วแต่ไม่รู้ผลตามมาหลายอย่างทั้งสุขภาพ การปรับตัวของแมลงทั้งการดื้อยา ปกติสูตรขับไล่แมลงที่เห็นผล ก็นิยมเอา

-  เครื่องแกงเผ็ด  3 ช้อนโต๊ะ
-  น้ำส้มควันไม้  1 ลิตร
-  น้ำสะอาด 200 ลิตร ฉีดพ่นทุกสัปดาห์

มีประโยชน์อีกอย่างของน้ำส้มควันไม้คือ
การใช้น้ำส้มควันไม้สามารถช่วยเพิ่มผลิตได้ 50-80 กก/ไร่ เพราะจากการวิจัยแล้วพบว่า   น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากกว่า 200 ชนิด ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำ 85% กรดอินทรีย์ประมาณ 3% และสารอินทรีย์อื่นๆ อีกประมาณ 12%

 ทั้งนี้ สารประกอบที่สำคัญ มีดังนี้ 1.กรดอะซิตริก (กรดน้ำส้ม) เป็นสารกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส 2.สารประกอบฟีนอล เป็นสารกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของพืชและสารฆ่าแมลง 3.ฟอร์มัลดีไฮด์ เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค แมลงศัตรูพืช 4.เอธิล เอ็น วาเลอเรด เร่งการเจริญเติบโตของพืช 5.เมธานอล แอลกอฮอล์ที่ดื่มกินไม่ได้ เร่งการงอกของเมล็ดและราก ใช้ฆ่าเชื้อโรค และออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส 6.อะซีโตน สารละลายวัตถุ ใช้ทำน้ำยาทาเล็บและเป็นสารเสพติด 7.น้ำมันทาร์ เป็นสารจับใบช่วยลดการใช้สารเคมี

การนำไปใช้คือ

ก่อนหว่านข้าว ใช้แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสารละลายน้ำส้มควันไม้ เจือจาง 300 เท่า เป็นเวลา 2 วัน หลังจากข้าวเติบโตตั้งตัวแล้ว ใช้น้ำส้มควันไม้ที่เจือจาง 300 เท่า ฉีดพ่นทางใบทุก 2 สัปดาห์ จะได้ผลผลิตเพิ่มเฉลี่ย 50-80 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากข้าวแตกกอมาก เมล็ดใหญ่ น้ำหนักรวงเพิ่มขึ้น  แต่ก็เหมาะสำหรับคนทำนาที่ไม่มากครับถ้าทำนามาก ๆ แต่มีเวลาก็ไม่มีปัญหาครับเพราะต้องหมั่นพ่นครับ

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ผศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร สาขาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร.0-4334-2949 ต่อ 14

 

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #145 เมื่อ: วันที่ 06 ตุลาคม 2012, 14:38:22 »

รู้เรื่องว่าพืชต้องการธาตุตัวไหนสำหรับส่วนใดไปบ้าง มองกลับไปที่ข้าวก็ไม่ใช่เรื่องยาก ต้องรู้การเจริญเติบโตของข้าวว่าช่วงไหนต้องการธาตุตัวไหนมากเป็นพิเศษ  ชาวนาหลายคนยังใส่แบบผิด ๆ อยู่ทำให้เปลืองปุ๋ยโดยใช่เหตุ

ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยเคมี N - P - K
หน้าที่หลักของธาตุอาหารพืชบางชนิด

-   N   ไนโตรเจน ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ใบใหญ่ มีสีเขียวเข้ม เร่งการขยายขนาดผลและเพิ่มผลผลิต
-   P   ฟอสฟอรัส ส่งเสริมการเจริญของรากฝอยและรากแขนง ช่วยการออกดอกและสร้างเมล็ด
-   K   โปตัสเซี่ยม ส่งเสริมการสะสมแป้งและน้ำตาล โดยเฉพาะในพืชหัว ไม้ผลและพืชที่ให้แป้งและน้ำตาลช่วยทำให้ผลไม้มีผิวสวย เนื้อเยื่อของผลไม้มีคุณภาพและรสชาติดีขึ้น

คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่วางขายตามท้องตลาด ทั้งที่เป็นปุ๋ยเดี่ยวและปุ๋ยผสมต่าง ๆ เช่น
แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเดี่ยว  มีธาตุอาหารพืชหลักเพียงธาตุเดียว เช่น
สูตร 46-0-0 ( ยูเรีย )                  สูตร 0-46-0 ( ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต )
สูตร 0-0-60 (โปตัสเซี่ยมคลอไรด์ )  สูตร 21-0-0 ( แอมโมเนี่ยมซัลเฟต )
สูตร 0-3-0 ( ร๊อกฟอสเฟต )

ปุ๋ยสูตรรวม มีธาตุอาหารพืชตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป เช่น
สูตร 16-20-0         สูตร 20-20-0            สูตร 16-16-8
สูตร 25-7-7                 สูตร 21-10-10                      สูตร 15-15-15   
สูตร 12-24-12         สูตร 9-24-24            สูตร 13-13-21   

สูตรปุ๋ย เช่น 15-15-15 จะเป็นตัวเลขบอกปริมาณสารอาหารสุทธิ N 15 กก.ในหนักปุ๋ย 100 กก. P 15 ในน้ำหนักปุ๋ย 100 กก. K15 ในน้ำหนักปุ๋ย 100

ถามหน่อยนะครับว่าอย่าง 16-20-0 ตัวไหน ตัวn ตัวp ตัวk ตัวหน้า กลางหรือหลังครับเพื่อความแน่นอนขอบคุณมากๆครับ

เรียงตามสูตรเลยครับ  N-P-K     16-20-0

N ไนโตรเจน = 16  กก ที่น้ำหนักปุ๋ย 100 กก
P  ฟอสฟอรัส = 20  กก  ที่น้ำหนักปุ๋ย 100 กก
K  โพแทสเซียม = 0  กก  ที่น้ำหนักปุ๋ย 100 กก

การใส่ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพอาจต้องมีการวิเคราะห์ค่าดินในไร่ของเราเสียก่อน แต่หากไม่มีเวลาก็ต้องใช้วิธิสังเกตุการเจริญเติบโตของข้าวครับและปริมาณการใส่ปุ๋ยของเรา  แต่หากท่านใดได้ผลวิเคราะห์ค่าดินมาก็ดีครับ เพราะเราสามารถนำค่าที่ได้มาคำนวณค่าในการผสมปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพและอาจช่วยลดต้นทุนได้ครับ

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #146 เมื่อ: วันที่ 06 ตุลาคม 2012, 16:05:00 »

ไปเที่ยวประเทศลาวครับเลยถ่ายภาพทุ่งนามาฝาก  แม้พันธุ์ข้าวในโลกมีมากกว่า 1.2 แสนสายพันธุ์  ประเทศไทยนิยมปลูกข้าว กข. เนื่องจากมีการพัฒนาให้ได้ผลผลิตสูง ตอบสนองต่อเคมี แต่ชาวลาวตามพื้นที่ชนบทก็ยังนิยมปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้าน ตลอดเส้นทางที่ผ่าน บ่อแก้วไปหลวงน้ำทาระยะทางประมาณ 200 กม. ผมพยายามหาดูร้านขายปุ๋ยเคมีแล้วหาไม่เจอ อาจจะมีแต่ก็มีน้อย สอบถามชาวลาวแล้ว  การทำนาของชาวหลวงน้ำทายังนิยมปลูกข้าวด้วยนาดำยังไม่ค่อยรู้จักการใช้สารเคมีเท่าไหร่แต่ก็มีบางส่วนที่เริ่มใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตเพราะข้าวมีราคาแพง แหล่งปลูกข้าวสำคัญของคนลาวอยู่ที่สะหวันนะเขต รองลงมาก็เวียงจันทน์ ซึ่งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ทางเหนือที่นาอาจมีน้อยกว่าอาจเพราะพื้นที่เป็นเทือกเขาและป่าไม้ซะส่วนใหญ่และยังขาดระบบชลประทานที่จะช่วยให้นาได้ทั้งปี


* IMG_5692_resize.JPG (47.52 KB, 700x525 - ดู 695 ครั้ง.)

* IMG_5757_resize.JPG (54.53 KB, 700x525 - ดู 716 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 ตุลาคม 2012, 19:21:30 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #147 เมื่อ: วันที่ 06 ตุลาคม 2012, 16:13:13 »

แต่ถ้าเป็นพื้นที่ปลูกยางพาราแล้ว แขวงบ่อแก้ว แขวงหลวงน้ำทาแล้วล่ะก็ มีพื้นที่เพาะปลูกมากเคยเห็นการปลูกยางพาราที่ไร่บุญรอดมีมากแล้ว มาเห็นที่นี่ถือว่าเล็กไปเลย บางจุดก็เป็นหมื่น ๆไร่ เป็นการส่งส่งกล้าพันธุ์จากทางจีนเพื่อให้ชาวลาวปลูกและนำส่งผลผลิตให้จีน เช่นเดียวกับข้าวทางจีนก็เล็งใช้ลาวเป็นพื้นที่ปลูกข้าวเช่นกัน จึงไม่แปลกใจที่จีนยินดีพัฒนาระบบคมนาคมให้กับลาว



* IMG_5953_resize.JPG (115.71 KB, 700x525 - ดู 688 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #148 เมื่อ: วันที่ 06 ตุลาคม 2012, 16:15:30 »

ที่ลาวรถอีแต๋นมีน้อยมากไม่ค่อยเห็น ส่วนใหญ่จะใช้รถแบบนี้เป็นรถนำเข้าจากจีน ราคาไม่กี่หมื่นบาท บางรุ่นสามารถดั้มได้ ถือว่าเป็นรถสารพัดประโยชน์ของชาวลาวเลยทีเดียว


* IMG_5746_resize.JPG (177.75 KB, 700x525 - ดู 833 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #149 เมื่อ: วันที่ 06 ตุลาคม 2012, 16:31:56 »

ทางภาคเหนือของลาว จะมีชาวเขาค่อนข้างมากทางไปหลวงน้ำทาจะเป็นเผ่าขมุซะส่วนใหญ่ เผ่าม้งก็มีบ้าง  การเรียนเด็กที่นู่นจะไม่เหมือนกับคนไทย หยุดพักเที่ยงจะต้องกลับมากินข้าวบ้าน ทั้งเด็กและเณรเรียนด้วยกัน การเดินทางไกล ๆ เณรก็ปั่นจักรยานกัน บ้านเราจะแปลกตาบ้าง  และเป็นที่รู้กันของเด็กลาว ถ้าเห็นคนไทยหยุดรถตามร้านขายของเค้าจะมาดูห่าง ๆ ไม่ได้มาตื้อ เด็กเค้าพูดง่าย และหากเราซื้อหนมให้เด็กลาวจะชอบมากแม้ว่าจะเป็นขนมชิ้นละไม่กี่บาท  ที่จริงรูปและข้อมูลอีกมาก  ปกติเที่ยวไม่ใช่ว่าเที่ยวเพื่อคลายเครียดอย่างเดียวแต่เพื่อ ศึกษาและเก็บข้อมูลหลายอย่างที่เราสนใจด้วยครับแต่พอก่อนเดี๋ยวออกนอกเรื่องเกษตรไปใหญ่ครับ.... ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม


* IMG_5668_resize.JPG (158.01 KB, 700x525 - ดู 740 ครั้ง.)

* IMG_5847_resize.JPG (165.01 KB, 700x525 - ดู 963 ครั้ง.)

* IMG_5858_resize.JPG (219.76 KB, 700x525 - ดู 739 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #150 เมื่อ: วันที่ 06 ตุลาคม 2012, 19:30:53 »

บรรยากาศธรรมชาติน่าอยู่จริงๆคับ
IP : บันทึกการเข้า
chetta2499
เชษฐา 2499
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,138


จุดเทียนไขดีกว่านั่งแช่งความมืด


« ตอบ #151 เมื่อ: วันที่ 07 ตุลาคม 2012, 07:46:12 »

สิ่งดี ๆ ที่เหลืออยู่ ต้องช่วยกันรักษาไว้
ถ้าหาไม่ วันหนึ่งลูกหลานของเราจะรู้จักป่าและทุ่งนา
ในหนังสือตำราเรียนเท่านั้นเอง
IP : บันทึกการเข้า

ฟาร์มผลิตไก่ชนคุณภาพ จังหวัดเชียงราย
ซุ้มไก่ชนลูกพ่อขุนฯเชียงราย

htt://www.facebook.com/chetta worapitbenja

โทร 0892576293/0808979330
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,174



« ตอบ #152 เมื่อ: วันที่ 07 ตุลาคม 2012, 16:41:18 »

แม่ฝากมาบอก พี่ubuntuthaith ว่า ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ แม่เข้ามาอ่านทุกวัน แถมจดไว้ด้วย ตอนนี้แม่อยู่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เจ้า แม่บอกว่าพี่ ubuntuthaith ไม่หวงความรู้เลย มีความรู้ก็เผยแพร่ให้คนอื่นได้รู้ เป็นคนดีจริงๆ แม่ฝากขอบคุณ ต๋วยเน้อเจ้า (แม่บอกว่าตอบกระทู้ ไม่เป็น เข้าอ่านทุกอัน) แต่ตอนนี้ทางเว็บก็ปิดรับสมัครยูสใหม่อยู่ใช่ป่าวค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,576


canon eos


« ตอบ #153 เมื่อ: วันที่ 07 ตุลาคม 2012, 19:03:10 »

แม่ฝากมาบอก พี่ubuntuthaith ว่า ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ แม่เข้ามาอ่านทุกวัน แถมจดไว้ด้วย ตอนนี้แม่อยู่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เจ้า แม่บอกว่าพี่ ubuntuthaith ไม่หวงความรู้เลย มีความรู้ก็เผยแพร่ให้คนอื่นได้รู้ เป็นคนดีจริงๆ แม่ฝากขอบคุณ ต๋วยเน้อเจ้า (แม่บอกว่าตอบกระทู้ ไม่เป็น เข้าอ่านทุกอัน) แต่ตอนนี้ทางเว็บก็ปิดรับสมัครยูสใหม่อยู่ใช่ป่าวค่ะ


 ยิ้มกว้างๆ.....ไม่ได้ปิดรับสมัครสมาชิกเน้อครับ....
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
สบายแมน
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,485



« ตอบ #154 เมื่อ: วันที่ 07 ตุลาคม 2012, 20:43:13 »

แต่ล่ะท่านนี้ความรู้แน่นเอี๊ยด ได้เห็นทุ่งน่าแล้วสบายใจยังไงไม่รู้
ว่าแต่ตูบอ้ายบีเอ็มใช้หลังคาแบบนั้นมันบ่าฮ้อนกาครับ  เอาคาปกถ้าจะเย็น
ลมพัดมาเย็นๆ อากาศสดซื่นแจ่มใส ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #155 เมื่อ: วันที่ 07 ตุลาคม 2012, 21:53:20 »

แม่ฝากมาบอก พี่ubuntuthaith ว่า ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ แม่เข้ามาอ่านทุกวัน แถมจดไว้ด้วย ตอนนี้แม่อยู่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เจ้า แม่บอกว่าพี่ ubuntuthaith ไม่หวงความรู้เลย มีความรู้ก็เผยแพร่ให้คนอื่นได้รู้ เป็นคนดีจริงๆ แม่ฝากขอบคุณ ต๋วยเน้อเจ้า (แม่บอกว่าตอบกระทู้ ไม่เป็น เข้าอ่านทุกอัน) แต่ตอนนี้ทางเว็บก็ปิดรับสมัครยูสใหม่อยู่ใช่ป่าวค่ะ

แหะ ๆ  ยิ้มกว้างๆ  ยิ้มกว้างๆ ไม่เป็นไรครับ เห็นชาวนาตัวน้อยเลือกทำนาอินทรีย์ก็ดีใจ  ผมเริ่มทำนาด้วยเกษตรเคมีเต็มตัวแทบไม่มีความรู้ด้วยซ้ำอาศัยทำตามชาวบ้านจนได้รู้ว่าทำไมชาวนาจึงเป็นหนี้หากราคาข้าวตกต่ำเพราะต้นทุนสูงต้องพึ่งพาสารเคมี ต้นทุนหลักของชาวนาจ่ายไปกับค่าปุ๋ยเคมีมาก   ประเทศไทยแม้จะมีบริษัทปุ๋ยหลายแห่งแต่วัตถุดิบในการผลิตโดยเฉพาะแม่ปุ๋ยก็ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยด้านการเงิน ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็ส่งผลให้ปุ๋ยมีราคาที่เพิ่มขึ้น เราผู้ใช้ก็ได้แต่แบกภาระ  การใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น  แต่การใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม  ทั้งดิน แหล่งน้ำบนดินและใต้ดินที่เสื่อมลงแถมยังทำให้เกิดก๊าฐไนตรัสออกไซต์ ที่มาจากปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้เกิดก๊าฐเรือนกระจก และปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  ถ้าถามทำไมรัฐไม่ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ที่หาได้ตามท้องถิ่นแบบเต็มตัว มันก็ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง อย่างไทยเซ็นทรัลเคมี ( หัววัวคันไถ ) บริษัทปุ๋ยเคมีที่ใหญ่ทีสุดในประเทศ รัฐก็ริเริ่มก่อตั้งกระทรวงการคลังก็ยังเคยถือหุ้นรายใหญ่ 49% ปัจจุบัน SOJITZ CORPORATION ของญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แทน แต่ก็ยังดีที่รัฐเริ่มมีการส่งเสริมให้ชาวนาเริ่มทำเกษตรอินทรีย์แต่บริษัทและผู้ถือหุ้นคงไม่ Happy แน่ เอาไว้จะเอาข้อมูล การทำนาข้าวอินทรีย์มาลงให้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #156 เมื่อ: วันที่ 07 ตุลาคม 2012, 22:16:42 »

ข้าวอินทรีย์
ข้าวอินทรีย์ เป็นข้าวจากการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่มีการใช้สารเคมี สารสังเคราะห์โดยมนุษย์ ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารคุมและฆ่าวัชพืชทางเคมี สารเคมีป้องกันโรค สารเคมีฆ่าแมลง  สารเคมีฆ่าสัตว์ศัตรูพืชทุกชนิด สารเคมีฮอร์โมน แต่จะใช้วัสดุธรรมชาติและสารสกัดจากพืช สัตว์ ที่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์มาใช้ทดแทน ตลอดจนไม่มีสารพิษตกค้างในข้าว หรือตกค้างในนา ในน้ำ จนทำลายสิ่งแวดล้อม

          การผลิตข้าวอินทรีย์เน้นความยั่งยืน โดยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฟื้นฟูดิน สร้างสมดุลระบบนิเวศน์ การปรับปรุงบำรุงดิน โดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ วัสดุอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ ชีวภาพ การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรค รักษาความสมดุลของศัตรูธรรมชาติทางโรคและแมลง การจัดการพืชต้นข้าว น้ำ อากาศ ตามจังหวะที่ต้นข้าวต้องการ ตั้งแต่ต้นกล้า วัยรุ่น ออกดอก ออกรวง การจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้โรคระบาดได้ง่าย โดยเฉพาะความโปร่งแสง ความชื้น  อากาศ น้ำขัง หรือน้ำแห้ง จนทำให้พืชต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี ได้ผลิตสูง

          การผลิตข้าวอินทรีย์ จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ปราศจากสารเคมี หลังการเก็บเกี่ยวด้วย มีการขนส่ง การเก็บ การสีข้าว การบรรจุหีบห่อ จนถึงมือผู้บริโภคให้ปราศจากสารเคมี หรือสารพิษต่างๆ

          การปรับปรุงบำรุงดิน ต้องมีเทคนิคการไถกลบตอซัง ย่อยสลายตอซัง การใช้จุลินทรีย์ ตามภารกิจหน้าที่ ไม่ว่าเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์  ปุ๋ยน้ำฮอร์โมน จุลินทรีย์ป้องกันโรคเน่า  จุลินทรีย์สกัดสมุนไพร เกิดธาตุอาหาร NPK ในซากพืช ซากสัตว์ในดิน สลายออกมาให้พืชต้นข้าว สามารถกินได้ เลิกเผาตอซังในนาข้าว เพื่อรักษาชีวิตจุลินทรีย์  แมลงและสัตว์ที่เป็นประโยชน์ให้อยู่ในภาวะสมดุลต่อไป

ขั้นตอนการปลูกข้าวอินทรีย์มีดังนี้

1) การสำรวจพื้นที่แปลงนา

-         สภาพน้ำ (น้ำใช้ น้ำฝน สถิติน้ำฝน คุณภาพน้ำ แหล่งน้ำ)
-         สภาพดิน (ความสมบูรณ์ของดิน  pH , N-P-K จุลินทรีย์ในดิน สารเคมีตกค้างในดิน
-         สภาพความเป็นอยู่ของโรคพืช แมลง และศัตรูพืช (โรคเน่า หนอนแมลง หอยเชอรี่ โรคระบาด โรคประจำถิ่น)
-         สภาพลม (หน้าหนาว ทิศทางลม)
-         สภาพวัชพืช (ข้าววัชพืช โสน กก หญ้าขาว)
-         สภาพสัตว์ (กบ เขียด ปูนา แมงดา อึ่ง หนู งู)
-         สภาพเกษตรรอบๆ (การปลูกข้าวรอบๆ การเลี้ยงเป็ด วัว เลี้ยงปศุสัตว์ การปลูกอ้อยข้างๆ)

2) การเลือกพืชพื้นที่ปลูก

          พื้นที่เหมาะสมการปลูกมี
-         แปลงใหญ่
-         ความสมบูรณ์ดินสูง
-         อยู่ไกลจากพื้นที่เกษตรเคมีที่ใช้มากๆ มาอย่างยาวนาน
-         สารเคมีตกค้างในดินต่ำ

3) การดูแลความสมบูรณ์ของดิน

          สร้างความสมบูรณ์ของดินโดย

-         ไม่เผาตอซัง เพราะทำให้จุลินทรีย์ตาย และดินแข็งแน่น ตลอดจนไล่คาร์บอนในดินสู่บรรยากาศ
-         นำอินทรีย์วัตถุจากแปลงนาและแหล่งใกล้เคียงมาลงสู่แปลงนา อยู่เป็นระยะๆ
-         ปลูกพืชตระกูลถั่ว โสน แล้วไถกลบ เพิ่มไนโตรเจนในดิน
-         ปลูกพืชคลุมดินช่วงที่ไม่ได้ปลูกข้าว เพื่อคลุมหน้าดินดี ไม่ให้ถูกชะล้างออกไป
-         ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี เช่นมูลสัตว์ ซากพืช
-         ราดพ่นน้ำจุลินทรีย์หมักย่อยสลายตอซังข้าวแล้วไถกลบ
-         ใช้อนินทรีย์วัตถุและอินทรีย์วัตถุ ราดแทนปุ๋ยเคมี เช่น

N: แหนแดง สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว กากเมล็ดสะเดา เลือดสัตว์แห้ง กระดูกป่น
P:  หินฟอสเฟต กระดูกป่น มูลไก่ มูลค้างคาว กากเมล็ดพืช ขี้เถ้าไม้ สาหร่ายทะเล
K:  ขี้เถ้า หินปูน หินดินดาน
Ca:          ปูนขาว โคโลไมต์ เปลือกหอยป่น กระดูกป่น

-         ปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกถั่วสลับปลูกข้าว

4) การคัดเลือกพันธุ์ข้าว

-         เหมาะสำหรับพื้นที่นั้น คืออยู่ในที่ดินสมบูรณ์ต่ำได้  ต้านทานโรค ทนแมลง ตรงตามต้องการตลาด
-         พันธุ์ข้าว และลักษณะเด่น ของแต่ชนิดพันธุ์ข้าว เลือกใช้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยว ทนดินเค็ม ต้านทานไส้เดือนฝอย ทนโรคไหม้ โรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง โรคจู๋ ทนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทนเพลี้ยจักจั๋นสีเขียว  ทนหนอนกอ ทนแมลงบั่ว  นวดง่าย กลิ่นหอม หุ้งต้มง่าย แตกกอดี ฟางแข็งไม่ล้มง่าย ทนน้ำท่วม ทนโรคกาบใบเน่า คอรวงยาว  เกี่ยวง่าย จำนวนเมล็ดต่อรวงมาก ทนโรคใบหงิก ทนโรคเขียวเตี้ย
-         ควรเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวจากแปลงเกษตรอินทรีย์ เอามาปลูก ปราศจากโรคแมลง
-         ทดสอบ% การงอกและความแข็งแรง
-         ปราศจากเมล็ดวัชพืช
-         อาจป้องกันโรคติดต่อมากับเมล็ดพันธุ์ โดยการแช่ในน้ำจุนสี (0.1%) นาน 20 ชั่วโมง แล้วล้างน้ำสะอาดก่อนนำไปปลูก
-         ปราศจากการปนเปื้อนสารเคมีในขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมดหากมีให้แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50-55  ํซ นาน 10-30 นาที

5) การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนปลูก

          - เป็นพันธุ์ข้าวมาตรฐาน
          - ผลิตจากแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าว
          - %  ความงอกสูง
          - ปราศจากโรคแมลง
          - ปราศจากเมล็ดวัชพืช
          - แช่ข้าวเปลือกในน้ำจุลินทรีย์  1% นาน 20 ชั่วโมง ก่อนนำไปหว่านปลูก

6) การเตรียมดินในแปลงนา

     วัตถุประสงค์เตรียมดินเพื่อ

-         สร้างสภาพเหมาะสะดวกในการปลูก
-         ทำให้ข้าวเจริญเติบโตดี
-         ช่วยควบคุมวัชพืชโรคและแมลง
     การเตรียมดินโดยการไถ
-         ไถดะ เพื่อทำลายวัชพืช พลิกกลับหน้าดิน กลบให้วัชพืชตาย ไถกลบตอซังให้ย่อยสลาย ไถกลบแล้วทิ้งไว้ 1 สัปดาห์
-         ไถแปร เพื่อตัดรอยไถดะ ทำให้รอยไถดะแตกออกเป็นก้อนเล้กๆ จนวัชพืชหลุดออกจากดิน อาจไถมากกว่า 1 ครั้ง ก็ได้ ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในนา ชนิด และปริมาณวัชพืช
-         ไถคราด  เพื่อคราดเอาวัชพืชออกจากผืนนาและปรับที่นาให้ราบเสมอกัน เพื่อให้ข้าวได้รับน้ำเสมอกันทั่วแปลง และสะดวกในการไขน้ำในนาออก

วิธีปักดำ
                 โดยการตกกล้า แล้วนำไปปักดำในนา ซึ่งได้ในการเตรียมดิน โดยการไถดะ 

     ตากดิน ปล่อยน้ำท่วมแปลง ไถแปร ไถคราดแล้ว

-         ตกกล้าคือ การเอาเมล็ดพันธ์ข้าวไปหว่านให้งอก 100 กรัม/ตรม. ในดินเปียก หรือในดินแห้ง คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ในน้ำเกลือ 1.7 กก. ต่อน้ำ  10 ลิตร คัดเอาเมล็ดลอยออกไป เมล็ดใส่ถุงไปแช่น้ำธรรมดา 12-24 ชม. แล้วเอาไปวางบนแผ่นกระดานให้ระบายอากาศดี แล้วเอาผ้าเปียกหรือกระสอบเปียกคลุมไว้นาน 36-48 ชั่วโมง พอเมล็ดงอกก็เอาไปหว่านลงแปลง

-         วิธีตกกล้าดินเปียก โดยหว่านเมล็ดงอกลงบนดินที่สูงกว่าระดับน้ำโดยรอบ 3 ซม. ทำเป็นร่องกว้าง 50  ซม.  เว้นคนเดิน  30 ซม. แนวยาวตามลม

-         วิธีตกกล้าดินแห้งโดยการเปิดร่องเล็กๆ ขนาดยาว 1 ม. หลายแถว ห่างกัน 10 ซม. หว่านเมล็ดในร่อง ใช้อัตรา 7-10 กรัม/ม. แล้วกลบดิน กันนกหนูรบกวน รดน้ำด้วยฝักบัว วันละ 2-3 ครั้ง

-         การดูแลแปลงกล้า ในกล้าดินแบบเปียก รักษาระดับน้ำ 2-3 ซม.   15 วัน แล้วระบายน้ำออก 2 วัน จากนั้นเอาน้ำแข็งแช่ 3-5 ซม. จนอายุกล้า 25 วัน ปล่อยกล้าขาดน้ำอีก 2-3 วัน จนอายุกล้า 28 วัน  ก็เอาน้ำเข้าอีก พอครบ 30 วัน ก็ถอนไปปักดำ ลักษณะต้นกล้าที่จะไปปักดำสีเขียวอมเหลืองหากพบเพลี้ยไฟ ให้ไขน้ำท่วมมิดต้นข้าว 6-12 ชั่วโมง สลับ 3-4 วัน

-         การถอนกล้า อายุ 25-30 วัน ล้างรากจับแยกรากที่โคนต้นสลัดในน้ำ มัดเป็นกำ ตบกล้าให้รากเสมอกัน กำละ 800-1,000 ต้น  ปักดำ 100 กำต่อไร ย้ายไปแปลงดำ  วางเรียงกระจายทั่วแปลงนา ให้รากแช่น้ำตลอดเวลา

-         วิธีปักดำ กล้าอายุ 30 วัน ถอดมัดเป็นกำๆ ตัดปลายทิ้ง ยกเว้นกล้าเล็ก ล้างเอาดินที่รากออก เอาไปปักดำในนาที่มีน้ำท่วม 5-10 ซม. ใช้กล้าประมาณ 7 กกต่อไร่ ดำระยะ 20 X
20 ซม. จำนวน 3-5 ต้น/กอ ระดับน้ำน้อยกล้าจะล้มง่าย ระดับน้ำสูงกล้าจะแข่งยึดต้น จะแตกกอน้อย

วิธีหว่านข้าวแห้ง
          หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในนาที่ไถเตรียมไว้ หลังจากไถดะและไถแปรแล้ว  เหมาะสำหรับพื้นที่ฝนตกน้อย วัชพืชน้อย นาลุ่ม เมล็ดข้าวจะตกอยู่ตามซอกดิน รอยไถ พอฝนตกความชื้นถึงก็จะงอก  และดินจะลงไปกลบ อัตราการหว่าน 20-25 กก. /ไร่

วิธีหว่านน้ำตม
เตรียมดินเหมือนนาดำ มีไถดะ ไถแปร ไถคราด เก็บวัชพืช ปรับระดับพื้นที่นา ทิ้งให้ดินตกตะกอนจนน้ำใส ให้หว่านลงในนา นี้มีระดับน้ำไม่มากกว่า  2 ซม.  ใช้ 15-20 กก/ไร่ พอข้าวงอกก็จะโตพ้นน้ำขึ้นมา  วิธีนี้เหมาะสมสำหรับในพื้นที่เขดน้ำชลประทาน

การควบคุมวัชพืช
วัชพืชในนาข้าว

-         นาหว่านมีวัชพืชมากกว่านาดำ เพราะนาดำมีการเตรียมดินเก็บวัชพืชออกไปจากแปลงนาก่อนปักดำ

-         วัชพืชมี 5 ประเภท ดังนี้

1.     วัชพืชใบกว้าง เช่น แพงพวยน้ำ เทียนนา สาหร่ายหางกระรอก ผักปราบนา ผักปอด ผักตับเต่า
2.     วัชพืชใบแคบ เช่น หญ้าขาวนก หญ้านกเขา หญ้าแดง หญ้ากระดูกไก่ หญ้าก้านธูป หญ้าชันอากาศ
3.     กกมีลำต้นเป็นเหลี่ยมสามแฉก เช่น แห้วหมูนา
กก  แห้วทรงกระเทียม หนวดปลาดุก หนวดแมว
4.     สาหร่าย เช่น สาหร่ายไฟ สาหร่ายเส้นด้าย
5.     เฟิร์น เช่น ผักแว่น ผักกูดนา ผักกูดน้ำ

การควบคุมวัชพืช และศัตรูพืชในนา
-         หว่านถั่วเขียว คุมหญ้า หว่านพร้อมเมล็ดข้าว
-         ใช้แรงคนถอน
-         คุมระดับน้ำในแปลงนา ในระยะ 1-2 เดือน หลังปักดำ
-         ปลูกพืชหมุนเวียน เช่นปลูกถั่วเขียวก่อนข้าว
-         เลือกพันธุ์ข้าวต้านทานทนทาน

โรคในนาข้าว
  -   โรคไหม้ เกิดจากเชื้อรา ไพริดูลาเลีย ออไรซี ปลิวมากับลม ถูกใบจะเป็นแผล
       เป็น สีน้ำตาลรูปตาคน ทำให้เกิดใบแห้งตาก ทำให้คอรวงข้าวเน่า
       ทำให้เมล็ดลีบ  โรคจะรุนแรง หากข้าวไม่ทน และดินมี N สูง
       แก้โดยฉีดน้ำสมุนไพรบอระเพ็ด

-         โรคถอดฝักดาบ เกิดจากรา ยิบเบอเรลลา ฟูจิคูรอย เส้นใยสีชมพู ทำให้ข้าวแตกกอน้อย ใบเหลืองชัด และต้นสูง แพร่เชื้อราหางเมล็ด แก้ไขโดยวิธีถอนมาเผาทิ้ง เลือกพันธุ์ข้าวทนโรค ฉีดสมุนไพรบอระเพ็ด

-         โรคใบจุดสีน้ำตาล เกิดจากรา เฮลมินโทสพอเรียบออไรซี ทำให้เมล็ดข้าวมีรอยด่างเทา ทำลายแป้งในเมล็ด น้ำหนักเบา ให้ฉีดสมุนไพรบอระเพ็ด

-         โรคขอบใบแห้ง เกิดจากบัคเตรี  แซนโทโมนัส ออไรซี มักเกิดในที่น้ำขังนาน ทำลายต้นข้าวที่ใบและราก แก้โดยให้ฉีดสมุนไพร และงด N  ทุกชนิด

-         โรคใบสีส้ม เกิดจากเชื้อไวรัส เยลโล โอเรนจ์ลีฟ แพร่โดยจักจั่นสีเขียว เกิดรอยด่าง แตกกอน้อย รากเดินไม่ดี รวงข้าวมีเมล็ดน้อย เมล็ดเปลี่ยนเป็นสีดำ น้ำหนักเบา ใช้กำจัดแมลงพาหะโรค และฉีดสมุนไพรบอระเพ็ด

-         โรครากปมจากไส้เดือนฝอย ที่ชื่อ เมลอยโคไกเนเกรมินิโคลา ทำให้รากระยะแตกกอมีปมเล็กๆ จำนวนมาก ใบเหลืองชัด แคระแกร็น แก้โดยอย่าปล่อยในนาขาดน้ำ ให้น้ำท่วมนา เพื่อทำลายไส้เดือนฝอย ใช้ฉีดสมุนไพร บอระเพ็ด ระหุ่ง สะเดา

แมลงในนาข้าว

-  เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากแหงดูดกินน้ำเลี้ยงต้นกล้า ตรงที่เป็นสีเขียว พืชจะใบเหลือง ต้นแคระแกร็น ใบม้วนตามความยาว แก้โดยอย่าให้ข้าวขาดน้ำ จมข้าวมิดยอดทิ้งไว้ 1-2 วัน ฉีดพ่นด้วยสมุนไพร สะเดา สาบเสือ น้อยหน้า บอระเพ็ด

-  หนอนม้วนใบ ทำให้ข้าวม้วนเข้าหากัน หุ้มตัวไว้ และกัดกินใบ พบช่วง ข้าวกำลังแตกกอ แก้โดยจุดไฟล่อตัวแก่ให้มาเล่นไฟ แล้วจับทำลาย ฉีดพ่นสารสกัดสะเดา

-  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงปากแหงดูดน้ำเลี้ยงกาบใบ ทำให้ใบเหี่ยวแห้ง และพบราสีดำเกาะติดต้นข้าวด้วย ทำให้เมล็ดไม่สมบูรณ์ น้ำหนักเบา ล้มง่าย แก้โดยจุดไฟล่อให้มาเล่นไฟ เว้นระยะการปลูกข้าวหากระบาดหนัก ระบายน้ำทิ้งเพื่อลดความชุ่มชื้น ฉีดพ่นสมุนไพร บอระเพ็ด น้อยหน่า สะเดา สาบเสือ

- เพลี้ยจักจั่นสีเขียว แมลงปากแหงดูดทำลายข้าวทุกระยะ ทำให้ใบแห้งเหี่ยวมีสีเหลือง ต้นข้าวอาจตายได้ แก้โดยจุดไฟล่อให้บินมาเล่นไฟ ฉีดพ่นน้ำสมุนไพรน้อยหน่า และสะเดา

- แมลงสิง  ดูดกินน้ำนมจากเมล็ดข้าว หลังจากออกดอก 1-2 สัปดาห์ ทำให้เมล็ดลีบ บางครั้งดูดน้ำเลี้ยงที่คอรวงและยอดต้นอ่อน ให้ฉีดพ่น บอระเพ็ด สะเดา และสาบเสือ

- แมลงบั่ว ตัวคล้ายยุง ลำตัวสีชมพู วางไข่ฝักเป็นตัวหนอนเข้าไปในลำต้นข้าว ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นหลอด คล้ายธูป ไม่ออกรวง แคระแกร็น แตกกอมากมีรวงน้อย แก้โดยฉีดพ่นสมุนไพร

- หนอนกอ มีสีครีม สีชมพู ทำลานต้นข้าวในระยะที่เป็นตัวหนอน เจาะเข้าทำลายต้นข้าว กัดกินใบ จนใบอ่อนแห้งตาย ทำให้คอรวงขาด ให้จุดไฟล่อแมลงและฉีดพ่น สารสมุนไพร บอระเพ็ด สะเดา และสาบเสือ

สัตว์และหอยศัตรูข้าว
- ปูนา กัดกินต้นข้าวที่ปักดำใหม่ๆ ทำคันนาเป็นรู  แก้โดยไขน้ำให้นาแห้ง 10-15 วัน ให้ดินร้อน เอาปลาร้าใส่ลงในปีบ ฝังไว้ในนา ปากเสมอพื้น ปูลงไปกินแล้วขึ้นไม่ได้

-  หนู กัดกินต้นข้าวระยะแตกกอ ระยะตั้งท้องมีหนูพุกเล็ก หนูนา หนูสวน หนูจิ๊ด หนูขยะ หนูหริ่ง แก้ไขโดย ใช้กับดับ ทำความสะอาดคันนา ยุ้งฉาง

- หอยเชอรี่ กัดข้าวระยะต้นอ่อน แก้โดยใช้ต้นกล้า อายุ 35-45 วัน ปลูก ดักหอยที่น้ำไหล ใช้มะละกอล่อ  เลี้ยงเป็ดในนาข้าว ฉีดพ่นน้ำเอ็นไซด์จากหอยเชอรี่และมะละกอ

หลักการป้องกันโรคแมลงสัตว์ศัตรูข้าว
                   - ไม่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด
                   - ใช้ข้าวพันธุ์ต้านทานโรคและแมลง
                   -  เตรียมแปลง ปลูกพืชหมุนเวียน ตัดวงจร ทำสมดุล ธาตุอาหาร จัดการระดับน้ำ
                   - จัดสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาด
                   - รักษาความสมดุลทางธรรมชาติ สร้างแมลง มีประโยชน์ พวกตัวห้ำตัวเบียน
                   - ปลูกพืชขับไล่แมลงตามคันนา เช่น ตะไคร้หอม
                   - ใช้สารสกัดจากพืชไล่แมลง เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ใบแคฝรั่ง
                   - ใช้ไฟล่อ กับดัก ยางเหนียว

แมลงที่เป็นประโยชน์ในนาข้าว
          ควรอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติมีดังนี้

-         ด้วงดิน เป็นตัวหำที่แข็งแรงว่องไว จะกินหนอนห่อใบข้าว กินเพลี้ยกระโดด
-         ด้วงเต่า มีด้วงเตาลายจุด ด้วงเต่าลายขวาง ด้วงเต่าแดง ด้วงเต่าจะกิน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดด เพลี้ยหอย แมลงวี่ขาว และไร้ กินหนอนตัวเล็กๆ และไข่แมลง
-         มวนเพชฌฆาต เป็นตัวห้ำ มีสีน้ำตาลมีหนามแหลม 3 อันที่หลัง กินหนอนผีเสื้อ
-         จิ้งหรีดหางดาบ มีสีดำ ตัวอ่อนมีสีน้ำตาล จะกินไข่แมลงศัตรูข้าว ไข่หนอนผีเสื้อ หนอนกอ หนอนห่อใบ หนอกระทู้ ไข่แมลงวัน เจาะยอดข้าวตัวอ่อนเพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น
-         มวนจิงโจ้น้ำเล็ก มีขนาดเล็ก เคลื่อนที่เร็ว มีทั้งมีปีกและไม่มีปีก จะกินตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดที่ตกลงไปในน้ำ
-         แมลงหางหนีบ มีหางคล้ายคีมยื่นออกมาคู่หนึ่งไว้ใช้ป้องกันตัว จะกินและตัวหนอนผีเสื้อ
-         แมลงปอเข็ม ปีกแคบ บินไม่เก่ง มีสีเขียว แกมเหลือง ท้องยาวเรียง จะกินตัวอ่อนเพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น

 การจัดการน้ำ
          น้ำทำให้ข้าวเจริญเติบโต การให้ผลผลิต หากระดับน้ำสูง จะทำให้ต้นข้าวสูงหนีน้ำ จะทำให้ต้นอ่อนล้มง่ายหากน้ำขาดก็จะทำให้วัชพืชรกเติบโตแข่งกับข้าวตลอดฤดูกาลปลูก  เลี้ยงน้ำไว้ที่ระดับ 5-15 ซม. และก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ให้ระบายน้ำออกเพื่อให้ข้าวสุกพร้อมกัน และพื้นนาแห้งเหมาะสำหรับการเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยว
          หลังข้าวออกดอก 30 วัน เมล็ดในรวงข้าวจะเปลี่ยนเป็นสีฟาง เรียกว่า ข้าวพลับพลึง
          ขณะเก็บเกี่ยวข้าวมีความชื้น 18-24% ต้องลดให้เหลือ 14% หรือต่ำกว่า เพื่อให้เหมาะสำหรับการเก็บรักษา
          การตากข้าวในลานตากหลังเก็บเกี่ยว เกลี่ยให้หนา5 ซม. ตากแดดจัด 1-2 วัน พลิกข้าววันละ 3-4 ครั้ง
          การตากข้าวในกระสอบถุงปุ๋ย ขนาด 40-60 กก. วางกระสอบตากแดด 5-9 วัน พลิกกระสอบวันละ 2 ครั้ง
          การตากฟ่อนข้าวแบบสุ่มซังในนา แขวนไว้ 2-3 แดด อย่าให้ข้าวเปียกน้ำหรือเปื้อนโคลน

สนใจอ่านเพิ่มเติม       ปลูกข้าวอินทรีย์ เปลี่ยนวิถีชาวนาไทย
                                        ดร. รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์





IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #157 เมื่อ: วันที่ 07 ตุลาคม 2012, 22:37:27 »

ชีวิตชาวนายุคโลกาภิวัฒน์สู่ชาวนานักปราชญ์
โดยลุง ลุงทองเหมาะ   แจ่มแจ้ง  ปราชญ์ชาวนา  อำเภอศรีประจัน  จังหวัดสุพรรรณบุรี 

ชาวนาขาดความรู้เรื่องทำนา
       ชาวนาไม่รู้ว่าจุลินทรีย์มีประโยชน์ในการทำนา  จุลินทรีย์อยู่ในดินเหมือนแม่พระธรณี พอ ถึงยุคเคมีเข้ามาในวงการเกษตรในปี  2512  มีทั้งปุ๋ยและยา   ดินเริ่มตาย  พันธุ์ข้าวโบราณที่ชินต่อการปลูกแบบไร้สารเคมีเริ่มเปลี่ยนไป  เป็นข้าวที่ปรับปรุงพันธุ์ที่ตอบสนองกับปุ๋ยเคมี  ข้าวนาปีเริ่มหายไป  มีข้าวนาปรังเข้ามาแทนที่   เอาข้าวนาปรังไปปลูกข้าวนาปี พอหน้าน้ำท่วม  ข้าวนาปรังไม่ชอบน้ำออกไม่ได้  ข้าวออกรวงไม่สุดเพราะหนาวได้ข้าวแค่ปลายรวง

ข้าวเขียวมากออกรวงสั้น
        ทำนาต้นข้าวเหลืองกี่ครั้ง  ตั้งแต่ปลูกเป็นเมล็ดจนเป็นต้นกล้าเล็กๆ  จนต้นยาวใหญ่จนเกี่ยวได้ชาวนาไม่รู้  พอเห็นข้าวเหลืองก็คิดว่าเป็นเพลี้ย ก็เอาสารเคมีมาใส่  ข้าวก็กลับมาเขียวใหม่  ชาวนารู้หรือเปล่าว่า  ในช่วง  40-60  วัน ใบข้าวจะเหลืองกี่ครั้ง  ข้าวใบเหลืองกี่ใบใบที่  1-4  แต่ใบที่  5-6  และใบหาอาหารให้ใบที่  1,2  กิน  ใบที่  5  จะต้องปลดใบที่  1  ทิ้ง  แล้วมาสร้างรังไข่รวงใหญ่ยาว  พอเอาปุ๋ยไปใส่ใบที่  1,2  เขียว  ใบที่  5-6  ก็หาอาหารมาให้ใบที่  1,2  กิน  รังไข่ก็เลยเล็กสั้นรวงสั้นทั้งประเทศ  ทั้งประเทศผลผลิตลดลงไม่รู้เท่าไร
       ข้าวก็เหลือแต่รวงละ  110  เมล็ด  แทนที่จะเป็น  230  เมล็ดให้ใบเขียว  ใบข้าวนั้นก็เหลืองเป็นธรรมชาติของเขา
       หากรวงข้าวสั้นลง ผลผลิตก็จะลดลง  110  เมล็ด  40-50  ถัง/ไร่  หากเต็มก็จะประมาณ  100-200  ถัง/ไร่  ที่เมืองจีน  กัมพูชา  ได้ถึง  200  ถัง/ไร่  เมืองไทยอย่างเก่งแค่ 70-120  ถัง/ไร่
       ข้าวถังหนึ่งมีประมาณ  378,000  เมล็ด  ชาวนาหว่าน  ข้าว  3  ถัง/ไร่  หรือประมาณ  1.1   ล้านเมล็ด  ชาวนาไม่รู้หรอกว่า มีกี่ต้นข้าวต่อตารางวา  แล้วต้องใช้ปุ๋ยไปเท่าไร  น้ำยาเท่าไร  ใส่ปุ๋ยเคมีเข้าไปราคาแสนแพง

ลัทธิเคมี  40  ปี  แห่งความหลัง
       ลัทธิเคมีเข้ามาตั้งแต่ปี  2512  สอนมาว่า  ต่อไปเราจะผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกไม่ทัน  หากไม่ใช้สารเคมี เป็นความคิดที่ผิด  เพราะเขาหลอกเรา  ทำให้จุลินทรีย์  (แม่พระธรณี)ของ เราตาย  และเสียเงินให้  ฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ก็ทำให้แม่พระพายก็ตาย  (เราหายใจไม่ได้  มีแต่อากาศเป็นพิษ)  เคมีทำลายหมดทุกอย่าง  ทำลายจุลินทรีย์  ทำลายสุขภาพคนด้วย

เกษตรอินทรีย์ต้องมีจุลินทรีย์ด้วย
        หากหันมาทำเกษตรอินทรีย์ต้องมาใช้จุลินทรีย์ที่เดิมเคยมีอยู่  ก็ใส่เข้าไปช่วยย่อยอาหารอินทรีย์วัตถุกลับไปเป็นอาหารของพืชต่อไป  การเอาอินทรีย์วัตถุไปใส่นาทั้งพืชทั้งสัตว์โดยไม่มีจุลินทรีย์ชีวภาพ  พืชก็กินไม่ได้ เกิดน้ำเน่าแทน  ดินไม่มีชีวิตแล้ว  ไม่มีจุลินทรีย์ เพราะสารเคมีลงไปทำลายฆ่าจุลินทรีย์ตายหมดแล้ว

ผลกระทบโลกร้อนต่อข้าว
        ปุ๋ยอินทรีย์เป็นเม็ดก็มีค่าแค่ขี้วัวกระสอบเดียว มีแต่เน่า หากไม่มีจุลินทรีย์  พอเอาปุ๋ยอินทรีย์ไปใส่นา ไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลาย  น้ำในนาก็จะเน่า เวลาเดินย้ำนา  น้ำเน่าจะกัดเท้า  คันไปหมด  เกิดเป็นแก๊สมีเทน ระเหยขึ้นในอากาศ เป็นฝ้าเรือนกระจก เป็นเหตุให้โลกร้อน  ข้าวจะผสมพันธุ์เองยาก  ข้าวผสมพันธุ์โดยไม่อาศัยแมลง จะผสมพันธุ์เอง  เกสรตัวผู้แห้ง  6  ตัว  ร่วงหล่นไปโดนเกสรตัวเมีย  2  อัน  ข้างล่าง  พอรับเกสรตัวผู้ได้ เป็นโรคปากหุบไม่ลง เป็นโรคปากอ้า  หากเกสรตัวผู้ถูกภาวะโลกร้อน ก็ไม่มีคุณภาพ  พอหล่นใส่เกสรตัวเมียก็ไม่ติดเมล็ด  ชาวนาจึงจนเพราะภาวะโลกร้อนด้วย

มาทำหัวเชื้อจุลินทรีย์กันเองเถอะ
        การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องใส่เชื้อจุลินทรีย์เข้าไปทำงานย่อยสลายด้วย  พืชจึงจะกินได้เป็นจุลินทรีย์มีชีวิต เป็นจุลินทรีย์กู้ชาติ  ไปหาได้จากธรรมชาติป่าดงดิบในป่าใหญ่  เช่นแถบเขาใหญ่ แล้วเอามาขยายหัวเชื้อ ได้ดินจากป่าลึก ก็จะมีชีวิตมีจุลินทรีย์หลายสายพันธุ์ สามารถเอาไปขยายทำหัวเชื้อได้  เอาไปทำปุ๋ย  เอาไปบำบัดน้ำเสีย  มูลสัตว์หมู  เป็ด  ไก่  วัว  ควาย  ให้หายเหม็นได้  เอาดินจากป่าใหญ่แค่  0.5-1.0  กิโลกรัม  (ไม่ต้องเอามาก)  ก็เอามาขยายได้  โดยใช้รำ แกลบ  1  ปี๊บ  ใบไผ่แห้ง  1  ปี๊บ   และน้ำเปล่า  1  บัวรดน้ำ  เข้าสู่กระบวนขยายหัวเชื้อ  ในขั้นตอน

การทำ  ดังนี้
       1.  นำแกลบสดและใบไม้แห้ง  มาผสมคลุกเค้า ให้เข้ากันกับดินป่าลึก แล้วรดน้ำให้ชุ่ม  50% 
       2.  นำรำข้าวมาคลุกให้เข้ากันเพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์  ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ  15  วัน
       3.  เมื่อครบ  15  วัน  นำส่วนผสมที่ได้ใส่ลงถุงตาข่ายขนาด  8x12  นิ้ว
       4.  เตรียมถังน้ำ  200  ลิตร  เติมน้ำเปล่าปริมาณ  175  ลิตร  ผสมกับกากน้ำตาล  15  ลิตร  แล้วคนให้เข้ากัน
       5.  นำถุงตาข่ายที่เตรียมไว้ลงแช่ในถังน้ำแล้วปิดฝาให้สนิท  ทิ้งไว้  15  วัน  ก็จะได้  “หัวเชื้อจุลินทรีย์”

ทำเพื่อให้ธรรมชาติทำงานต่อ
        เมื่อมีจุลินทรีย์เหมือนมีแก้วสารพัดนึก แต่ปลูกข้าวแบบเคมี เหมือนทำเพราะมีหน้าที่ต้องทำ  ปลูกอีกก็ต้องเอาเคมีมาใส่และเพิ่มขึ้นทุกๆ  ปี  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปีแรกๆ  ใส่  100  กก/ไร่  พร้อมฉีดน้ำจุลินทรีย์  ปีต่อไปใส่ปุ๋ยอินทรีย์แค่  50  กก/ไร่  ปีต่อไปลดเหลือ  30  กก/ไร่  ใส่ต่ออีก  2-3  ปี  ปีละ  30  กก/ไร่  จากนั้นก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์เลย  ฉีดแต่น้ำจุลินทรีย์อย่างเดียว  อย่างนี้เป็นการทำเพื่อจะไม่ต้องทำ  พอเข้าที่ ก็ปล่อยให้ธรรมชาติทำงานทั้งดินอากาศ  จุลินทรีย์ปีต่อๆ  ไปก็ปลูกข้าวโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเลย  เป็นไปได้  เป็นการคืนชีวิตให้กับแผ่นดิน  การปลูกพืชแบบเคมีเหมือนปลูกพืชแบบเลี้ยงสัตว์  เลี้ยงหมูถึงเวลาไม่ให้อาหารหมูโจมร้องอิ๊ตๆ  เลี้ยงวัวไม่เปิดคอกให้ไปกิน  วัวก็จะร้องมอๆ  เวลาเอาอาหารให้หมูกิน  หมูหยุดร้อง  แต่เวลาปลูกพืช  เราเอาเคมีไปใส่  ต้นพืชร้องไม่ได้  แต่จะแสดงออกมาเป็นใบเหลือง

ข้าวติดสารเคมีแบบยาเสพติด
        ถ้าทำด้วยอินทรีย์ชีวภาพ  รากพืชจะมีสีขาว  หากเป็นสารเคมีปลายรากจะดำ  ให้ลองถอนต้นข้าวมาดูราก  เพราะปุ๋ยเคมีจะมีปูนผสมไปอุดทางเดินน้ำที่จะลำเลียงในลำต้น  ต้นพืชจะกินปุ๋ยได้ เพราะมีเคมีมาใส่  ถูกฝึกมาแบบนั้น  ต้นพืชโง่เพราะเคมี  พอเอาปุ๋ยอินทรีย์มา พืชกินไม่เป็น  พืชติดเคมีเหมือนติดยาเสพติด

ทำนาอินทรีย์ต้องใจเย็นต่อการรอคอย
        ทำนาอินทรีย์เริ่มใหม่ ผลผลิตอาจลดลงเล็กน้อย เพราะยังมีเคมีตกค้างอยู่  แต่ราคาต้นทุนถูกกว่า  เช่นว่าเคยทำเคมีได้  100  ถัง/ไร่  แต่พอเริ่มทำอินทรีย์ได้แค่  50  ถัง/ไร่  ปีแรกอาจหายไปครึ่งหนึ่งแต่ไม่ต้องเสียเงินค่าปุ๋ยเคมี  ที่แน่ๆ  ได้กำไรชีวิต  ทำเคมีต้องฉีดพ่นละอองเคมีเข้าร่างกายทางลมหายใจ  พอฉีดยาฆ่าหญ้ามันก็ซึมขึ้นมาทางเท้า กลายเป็นโรคตับโรคไต  เดี๋ยวนี้โรงพยาบาลสูงละฟ้า  มีแต่เกษตรกรเจ็บป่วยไปนอน

นาอินทรีย์ไม่ต้องกลัวเพลี้ย
       เพลี้ยมาจะทำอย่างไร  ชาวนามักคิดว่าหากเราทำเกษตรอินทรีย์  รอบๆ  ข้างทำเคมี  เพลี้ยจะแห่มาอยู่ที่แปลงอินทรีย์หมดเลย  เป็นที่พักเพลี้ยเป็นความรู้ที่ผิด  ผิดหมด  การทำเกษตรอินทรีย์ใช้สิ่งมีชีวิตจุลินทรีย์ไปยับยั้งการเกิดแมลงในแปลงนาได้เอง

หอยเชอรี่สัตว์ต่างแดนถูกทำให้ไข่สั้นลง
        หอยเชอรี่มาจากไหนเมื่อก่อนในนามีแต่หอยโข่ง เสียเมืองไปเลย  นาทั่วประเทศไทยไม่มีหอยโข่งกินแล้ว  พอหอยเชอรี่มา  ก็กัดกินต้นข้าว  ก็เอาสารเคมีแฟนโดเอาไปหยอด  หอยตาย  ถ้าแน่จริง  หอยเชอรี่ต้องสูญพันธุ์ไปแล้ว  ตายไปหนึ่งเกิดใหม่  300  เต็มนาไปหมดแล้ว นาอินทรีย์มีหรือเปล่า ก็ทำให้ไม่ให้มันไข่  ฆ่ามันไม่ได้  มันมีหัวใจลิงลมใส่ฆ่าหนึ่งเกิดร้อย  ต้องทำให้มันขยายพันธุ์ลดลง  จากไข่ยาวๆ  มาเป็นไข่สั้นๆ  ลดปริมาณลง นกมากินได้  ปลามากินได้  วิธีการก็คือเอาเหล้าขาว  2  ส่วน  น้ำส้ม  อสร.  1  ส่วน  กากน้ำตาลและจุลินทรีย์สายพันธุ์เขาใหญ่  1  ส่วน  ใส่ลงในขวดเขย่าไว้  24  ชั่วโมง  แล้วเอาไปผสมน้ำให้ได้  300  ซม.  ผสมน้ำ  20  ลิตร  เอาไปหยดลงในนาเวลาเปิดน้ำใส่แปลงนา ก็เอาถังไปวางติดก๊อก  น้ำไหลช้าๆ  ก็หยดแบะๆ  ถ้าน้ำไหลแรงขึ้นก็หยดเร็วขึ้นตามลำดับ  หอยปกติฝังตัวอยู่ในดินพอหอยได้น้ำมาใหม่ๆ  มันก็อ้าปากกระเดือกเข้าไปในท้องมันก็ไปทำลายรังไข่  แทนที่จะไข่ยาวก็จะสั้นลง พอปีนขึ้นมาไข่ตามกิ่งไม้  ยอดข้าว  สังเกตได้เลยดูที่ไข่กลุ่มไข่สั้นลง  ก็จะกลายเป็นอาหารนกอาหารปลาไปเลย  ประชากรหอยเชอรี่ก็จะลดลงๆ  เป็นการกู้ชาติ  เอาธรรมชาติชนะให้ได้

ข้าวเกษตรอินทรีย์ใบแข็งคมทนแมลงกัด
        การที่เราไม่เอาเคมีใส่ลงไป  ต้นข้าวมาจากธรรมชาติ  ต้นไม้ในป่าธรรมชาติไม่ค่อยพบเพลี้ยกิน  หนอนกิน  ต้นข้าวใบใหญ่  เอาปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปใส่  ใบข้าวจะคม เอามือไปถูก จะบาดเอาจนเลือดออก  ถ้าเราเอาปุ๋ยเคมีไปใส่  เอายาเคมีไปฉีด ลองสูดดมใบข้าวจะนิ่ม  เหมือนขนหน้าแข้งบอบบาง  แมลงจะมีฟันเป็นไฟเบอร์  พอเราเอาเคมีไปใส่  แมลงกินหมด เหมือนเป็นขนมนุ่มๆ  แต่ถ้าเป็นธรรมชาติจะสร้างเกาะป้องกันตัวเอง  มีภูมิคุ้มกันเอง  ถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไม่มีใครพาไปเที่ยวไม่มีใครจัดโต๊ะเลี้ยง  หากใช้ปุ๋ยเคมีคนขายจะทำส่งเสริมการขาย  จับฉลาก  พาไปเที่ยวกรุงเทพ  ภูเก็ต  เชียงใหม่  เชียงราย

ยุคเครื่องจักรกลเกษตร
            ตอนนั้นจะเรียนทีก็ลำบาก  ค่านิยมชาวบ้านว่าที่ดินมีเยอะ พลิกแผ่นดินกินดีกว่าไปเรียน  คนโบราณให้เราทำนากิน  เริ่มซื้อที่นาเป็น  100  ไร่  เริ่มมีรถไถนาเป็นยุคใหม่แห่งเครื่องจักรกลการเกษตรมาทดแทนควายไถนา  มีรถไถก็ซื้อรถไถมารับจ้างไถนา ตามคำขวัญพลิกแผ่นดินกิน  ก็เอารถไถพลิกแผ่นดิน  โดนฝรั่งหรอกเพราะไถลงไปลึกพระแม่ธรณีตายหมด  นาลึกก็เอาหน้าดิน  (ดินดี)  บนลงล่างแล้วเอาดินล่าง  (ดินไม่ดี)  ขึ้นมาข้างบน  เดี๋ยวนี้ยิ่งแย่  ยาฆ่าหญ้าฉีดพ่นแล้วก็ฝังลงในดิน  4-25  ปี  ก็เลยต้องใช้เคมีต่อ  เพราะเอาดินดีลงล่างไปฝังลึกๆ  แล้ว  ทำนาจึงไม่ได้ผล  ทำนาเป็นร้อยไร่ คือ  140  ไร่  แล้วก็ขาดทุน  มีรถไถเองอีกต่างหาก  ชาวนาก็เลยจนเหมือนเดิม
IP : บันทึกการเข้า
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,174



« ตอบ #158 เมื่อ: วันที่ 09 ตุลาคม 2012, 12:43:38 »

วันนี้หักข้าวโพด ฮ้อนๆๆ อิดๆๆ ขนาด แต่เงินๆๆทั้งนั้น เห็นเขาว่ากิโล หกบาทปลาย ป๊าดโถะ........ แต่ข้าวโพดมันล้มหมดเจ้า มันโดนลม หญ้าหวันมันต๋วย กำนี้บ่ใส่ละเจ้า หลาบ...
IP : บันทึกการเข้า
attacha1
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 650



« ตอบ #159 เมื่อ: วันที่ 09 ตุลาคม 2012, 12:45:45 »

แต่วันนี้เกี่ยวหญ้าบ่าตันมีฝักเตื่อ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 [8] 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 ... 27 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!