เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 24 กรกฎาคม 2025, 22:35:18
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ฉันจะเป็นชาวนา
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 5 6 [7] 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 ... 27 พิมพ์
ผู้เขียน ฉันจะเป็นชาวนา  (อ่าน 49340 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #120 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 22:21:44 »

เห็นหน่อกล้วยแล้วนึกถึงจุลินทรีย์ครับ เลยเอามาให้อ่าน

บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร

    1. ย่อยสลาย (กิน) อินทรียวัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า "กรดอินทรีย์" ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ใน "รูป" ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ ออกซิน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน.  อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ.ฯลฯ)และส่วนที่เป็นท็อกซิน.ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืช ได้
    2. ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ทำให้ดินเป็นกลาง
    3. จับยึดธาตุอาหารพืชจากอากาศไปไว้ในตัวเองแล้วปลดปล่อยให้แก่ต้นพืช
    4. ปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ถูกดิน (กรดจัด) ตรึงไว้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นพืช
    5. ตรึงปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไปไว้แล้วปลดปล่อยให้ออกมาช้าๆ เพื่อให้พืชได้มีเวลาดูดซับไปใช้งานได้ทันทีและสม่ำเสมอ
    6. สลายฤทธิ์สารที่เป็นพิษต่อพืชให้เจือจางลงๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด
    7. กำจัดจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ (เชื้อโรค) ต่อต้นพืช
    8. เกิดได้เองตามธรรมชาติภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

       ประโยชน์ของฮิวมัส
    1. ป้องกันการชะล้างหน้าดิน
    2. ป้องกันเม็ดดินอัดตัวกันแน่นจนเป็นดินเหนียวจัด
    3. รักษาความชุ่มชื้นของเม็ดดิน (ปุ๋ยอินทรีย์ 10 กก.เก็บน้ำได้ 19.66 ล.)
    4. ลดและสลายสารพิษในดิน
    5. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
    6. เสริมประสิทธิภาพของธาตุอาหารพืชที่ได้จากการสังเคราะห์แสง

       เกร็ดความรู้เรื่อง "จุลินทรีย์" เพื่อการเกษตร

    1. จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตแต่ไม่ใช่สัตว์หรือพืช เรียกว่า "สัตว์เซลล์เดียว" อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีความชื้นตั้งแต่ระดับความชื้น 1-100 เปอร์เซ็นต์ องค์การนาซาได้รายงานว่าพบจุลินทรีย์ในก้อนเมฆ และรายการ ทีวี.ดิสคัฟเวอรี่ แชลแนล ได้ให้ข้อมูลว่า ดิน 1 ลบ.ซม.มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ถึง 78 ล้านตัว

    2. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร หมายถึง จุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรมโดยเฉพาะ

    3. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรเกี่ยวกับพืชโดยมีหน้าที่อนุรักษ์ดิน น้ำ สภาพแวดล้อม ผลิตและจัดการธาตุอาหาร กำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคและอื่นๆ ที่เป็นการส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตดี และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีภายใต้ความชื้น 25-50 เปอร์เซ็นต์

    4. จุลินทรีย์ขยายพันธุ์โดยการแบ่งตัวเองแบบทวีคูณ เช่น 1 ตัวเมื่อโตเต็มที่จะแบ่งตัวเองออกเป็น 2 ตัว และ 2 ตัวเมื่อโตเต็มที่ก็จะแบ่งตัวเองออกเป็น 4 ตัว หรือจุลินทรีย์ 1 แสนตัวเมื่อโตเต็มที่ต่างก็แบ่งตัวเองกลายเป็น 2 แสนตัวเป็นต้น

    5. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย. ไวรัส. ยีสต์. และรา. ซึ่งกลุ่มใหญ่ๆ เหล่านี้แยกออกเป็นประเภทต่างๆ อีกหลายประเภท เช่น
       - ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) มีประสิทธิภาพในการสร้างและส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-อุณหภูมิ-สายพันธุ์-โรค) ให้พืชเจริญเติบโต
       - ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเชื้อโรค (ฝ่ายอธรรม) มีประสิทธิภาพในการทำลายปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตหรือตาย
       - ประเภทไม่ต้องการอากาศ ชอบและอยู่ในดินลึกที่อากาศลงไปถึงได้น้อยหรือไม่มีอากาศเลย แต่ยังเป็นจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช  มีพลังในการย่อยสลายเหนือกว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ
       - ประเภทต้องการอากาศ ชอบและอยู่บริเวณผิวหน้าดินที่อากาศผ่านหรือถ่ายเทสะดวก
       - ประเภทต้องการความชื้นน้อย เจริญเติบโต ขยายพันธุ์ได้ดีภายใต้สภาพความชื้นน้อยๆ หรือแห้งแล้ง
       - ประเภทต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ภายใต้สภาพความชื้นที่เหมาะสม เช่น ชื้นพอดี ชื้นแฉะ น้ำขังค้าง
       - ประเภทเกิดได้เร็ว เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายใน 3-10 วัน
       - ประเภทเกิดได้ช้า เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต้องใช้ระยะเวลานาน นับเดือนหรือหลายๆ เดือนทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดได้เร็วและเกิดได้ช้า ถ้าเป็นจุลินทรีย์ฝ่ายธรรมะย่อมมีประโยชน์ต่อพืชเหมือนๆ กันดังนั้นการใช้จุลินทรีย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงควรใช้ทั้งจุลินทรีย์ ประเภทหมักใหม่และหมักนานแล้วร่วมกัน

      6. จุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์แห้งที่ได้จากการหมักอินทรียวัตถุ (ซากพืชและสัตว์) จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงที่อินทรียวัตถุเริ่มสลายตัวและอุณหภูมิในกอง เริ่มเย็นลง

      7. จุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากการหมักอินทรียวัตถุ (ซากพืชและสัตว์) จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อกระบวนการหมักหมดฟองใหม่ๆ

      8. การใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่เกี่ยวกับพืชให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรใช้ "ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง" หรือ "ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ" ที่หมักนานข้ามปีแล้วกับที่หมักใช้การได้ใหม่ๆ ผสมกัน 1:1 จะได้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดเร็วและประเภทเกิดช้า

      9. อาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ คือ "รำละเอียด" และ "สารรสหวาน" เช่น กากน้ำตาล น้ำตาลในครัว น้ำหวานในเครื่องดื่มต่างๆในอัตราที่เหมาะสม  ปริมาณของสารรสหวานมีผลต่อการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งสองชนิด  กล่าวคือ                 
         - สารรสหวานปริมาณมากเกินจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งจุลินทรีย์ดีและจุลินทรีย์โทษ
         -สารรสหวานปริมาณที่น้อยเกินไปจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดีและส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ             
         - สารรสหวานปริมาณที่พอดีจะส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดี  และยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ

     10. จุลินทรีย์ในถังหมักจะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง และขยายพันธุ์ได้ดีมากภายใต้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส มีอากาศหมุนเวียน มีสารอาหาร และค่ากรด-ด่างที่เหมาะสมสำหรับชนิดของจุลินทรีย์

     11. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ดีที่สุด คือ "จุลินทรีย์ธรรมชาติ" หรือ "จุลินทรีย์ประจำถิ่น" ซึ่งมีอยู่ในแปลงเกษตรนั้นๆ เป็นจุลินทรีย์ที่อยู่มานานแล้วและจะคงอยู่ที่นั่นต่อไปตราบเท่าที่สภาพแวด ล้อมต่างๆ เหมาะสม

     12. การบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่นสามารถทำได้โดยการโรยรำละเอียดบางๆ รดด้วยน้ำเจือจางสารรสหวานพอหน้าดินชื้น ใส่หรือคลุมทับด้วยอินทรียวัตถุ แสงแดดส่องถึงได้เล็กน้อย อากาศถ่ายเทสะดวก มีระดับความชื้นพอดี เมื่อจุลินทรีย์ได้รับสารอาหารและสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์และทำหน้าที่ได้ดีเอง

     13. จุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ......ถ้าเป็นกรดจัด หรือด่างจัดจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้

     14. จุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (ฝ่ายอธรรม) หรือเชื้อโรค สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินที่เป็นกรดจัดหรือด่างจัด.......ถ้าดินเป็นกรด อ่อนๆ หรือเป็นกลางจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรคพืช) นี้จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้หรือตายไปเอง

     15. เนื่องจากพืชกินธาตุอาหารที่เป็นของเหลวด้วยการดูดซึม ไม่สามารถกินอาหารที่เป็นชิ้น แม้ว่าอาหารชิ้นนั้นจะมีขนาดเท่าปลายเข็มก็กินไม่ได้ แต่หากอาหารชิ้นเท่าปลายเข็มนั้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวแล้วนั่นแหละพืชจึง จะดูดซึมไปใช้ได้.........จุลินทรีย์ คือ ตัวทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารพืชที่สภาพยังเป็นชิ้นๆ (อินทรียวัตถุ) ให้กลายเป็นของเหลวจนพืชสามารถดูดซึมผ่านปลายรากไปใช้ได้ จุลินทรีย์จึงเปรียบเสมือน "แม่ครัว" หรือผู้สร้างอาหารของต้นพืชนั่นเอง

     16. การดูด้วยสายตาให้รู้ว่าบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช หรือมีจุลินทรีย์ประเภทมีโทษต่อพืช ดูได้จากการเจริญเติบโตของพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้น ถ้าระบบรากสมบูรณ์ อวบอ้วน มีจำนวนมาก แสดงว่าดินดี หรือสังเกตการณ์ตอบสนองของพืชต่อปุ๋ยทางราก ทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยเพียงน้อยนิดแต่ต้นพืชยังเจริญเติบโตได้ดี ก็แสดงว่าดินดีอีกเช่นกัน และการที่ดินดีได้ก็เพราะมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ (ธรรมะ) ทำหน้าที่อนุรักษ์ให้ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบบรากไม่ดีหรือต้นพืชไม่เจริญงอกงามทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วก็แสดงว่าดินไม่ดี และดินไม่ดีก็คือดินที่เป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรค/อธรรม) นั่นเอง   

     17. แหล่งจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ ได้แก่
         - บาซิลลัส ซับติลิส.   มีอยู่ในตาติดเปลือกสับปะรดสด
         - ฟังก์จัย.   จินเจียงลินซิส.   มีอยู่ในฟางเพาะเห็ด
         - คีโตเมียม.  ไรโซเบียม.  ไมโครไรซา.  มีอยู่ในเปลือกถั่วลิสง
         - แอ็คติโนมัยซิส.  มีอยู่ในเหง้า/รากกล้วย  มูลสัตว์กินหญ้า
         - แล็คโตบาซิลลัส. มีอยู่ในยาคูลท์ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
         - แฟลงเกีย. มีอยู่ในสนทะเล สนประดิพัทธ์
         - แอ็คติโนมัยเกรต.  ซีอะโนแบคทีเรีย.   อัลเกีย.   ฟังก์จัยลิเซ่.    เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้เองจากดินที่มีสภาพโครงสร้างเป็นกลาง ดีอย่างต่อเนื่อง และมีอินทรียวัตถุสะสมมานาน
         - ไบโอโพลิเมอร์.   คลาไมโดโมแนส.   มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืด
         - นอสท็อก. มีอยู่ในรากต้นปรง
         - อะโซโตแบ็คเตอร์.   มีอยู่ในเหง้าหญ้าขน และหญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น

     18. ทดสอบจุลินทรีย์โดยการใส่จุลินทรีย์น้ำลงไปในขวด ใช้ลูกโป่งไม่มีลมสวมปากขวดรัดให้แน่น ทิ้งไว้ 2-5 วัน ถ้าลูกโป่งค่อยๆ พองโตขึ้นแสดงว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมากสมบูรณ์ แข็งแรงดี แต่ถ้าลูกโป่งพองโตช้าหรือไม่พองโตก็แสดงว่ามีจุลินทรีย์น้อยและไม่สมบูรณ์ แข็งแรง

     19. ช่วงแรกๆ ลูกโป่งจะพองโตขึ้น แสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศเกิดขึ้น แต่ครั้นนานๆ ไปลูกโป่งจะยุบแล้วถูกดูดเข้าไปในขวดทดสอบก็แสดงว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการ อากาศตายหมดแล้ว แต่มีจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน กรณีนี้ไม่เป็นปัญหาเพราะจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศก็เป็นจุลินทรีย์ เพื่อการเกษตรที่มีประโยชน์ต่อพืชเช่นกัน

     20. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรมีหลายชนิดหรือหลายประเภท แต่ละชนิดหรือแต่ละประเภทที่ผ่านกรรมวิธีในการหมักหรือขยายเชื้อดี แล้วสามารถนำมาใช้รวมกันหรือใส่ลงไปดินพร้อมๆ กันแล้วให้อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์มากกว่าการใช้จุลินทรีย์เพียงอย่างเดียวหรือตัวเดียว

     21. จุลินทรีย์ไม่ใช่ธาตุอาหารหรือฮอร์โมนพืช แต่เป็นผู้สร้างหรือผลิตอาหารหรือฮอร์โมนให้แก่พืช  ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าจุลินทรีย์ คือ "ผู้อารักขาพืช" ก็ได้   เพราะนอกจากผลิตอาหารหรือฮอร์โมนให้แก่แล้วยังปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อม ที่อยู่ที่กินของพืชอีกด้วย           

     22. จุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งจะมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เปลี่ยนสภาพเป็นธาตุ
อาหารพืชตัวหนึ่ง  กล่าวคือ  อินทรีย์วัตถุชิ้นหนึ่ง (ชิ้นเดียวกัน) เมื่อถูกจุลินทรีย์กลุ่มใดเข้าย่อยสลายก็จะได้สารอาหารพืชตัวนั้น  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยจุลินทรีย์หลากหลายกลุ่มเข้าย่อยสลายอินทรีย์ วัตถุชิ้นนั้น  จึงจะได้สารอาหารพืชกลากหลายชนิด  เช่น         
        - AZOSPIRILLUM  SPP.เป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่ทำให้  N. ในบรรยากาศคงที่เพื่อให้พืชได้รับอย่างสม่ำเสมอ  ช่วยให้สีสันของใบพืชเขียวสด  ส่งเสริมกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชดำเนินไปอย่างราบรื่น  ป้องกันและแก้ปัญหาใบเหลืองในพืช......           
        - PHOSPHATE  SOLUBILIZING  BACTERIA  ช่วยย่อยสลาย P.  (ในอินทรีย์วัตถุ) ที่ยังอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ไม่ได้ให้เปลี่ยนรูปมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำ ไปใช้ได้               
        - LACTOBACILLUS  มีประสิทธิภาพในการสร้างสารละลาย K. ให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้  ช่วยเพิ่มระดับ K.  ให้เพียงพอต่อความต้องการของพืชเพื่อใช้ในการพัฒนาผลผลิต  ช่วยในการสร้างรูปร่างลักษณะและแบบของดอก-ผล  และน้ำหนัก               
        - LAIN-LAIN  BACTERIA & OTHER BACTERIA มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสารพิษในแอมโมเนีย  ให้เป็น แอมโมเนีย ไนเตรท.  เพื่อเสริมประสิทธิระบบการดูดซึมสารอาหารในลำต้นพืช
        - YEAST  GROUP  SERIES มีประสิทธิภาพในการสร้างฮอร์โมนที่จำเป็น  ช่วยย่อยสลายสารอนินทรีย์ให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ดี  ช่วยเพิ่มสมรรถภาพและความแข็งแรงในการกำจัดเชื้อโรค
        - ACTINOMYCES  SERIES มีประสิทธิภาพในการสร้างสารกำจัดเชื้อโรค  ช่วยเพิ่มความ ต้านทานต่อสภาวะความรุนแรงอันเกิดจากเชื้อโรค               
        - GROWTH  FACTOR  PRODUCING  BACTERIA  SERIES มีประสิทธิภาพใน การสร้างฮอร์โมน  เพื่อเสริมสร้างความเจริญทางด้าน  ต้น.  กิ่ง.  ใบ               

    23. น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (เน้น..... เลือกวัสดุส่วนผสมเฉพาะตัว และกรรมวิธีในการหมัก) หมักข้ามปี  หลังจากกากส่วนผสมทั้งหมดจมลงนอนก้นถังแล้วไม่มีการคนให้อากาศตลอดระยะเวลา ข้ามปี  จะมีจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัส.ที่ไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นจำนวนมาก  จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะผลิตสาร  "ท็อกซิก"  ซึ่งเป็นสารพิษต่อศัตรูพืช (โรค-แมลง-หนอน) เมื่อใช้ให้ทางใบประจำจะช่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้.......ในถังหมักน้ำ หมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง  ไม่มีแมลงวันตอม  เป็นสิ่งบอกเหตุว่าในน้ำหมักนั้นมีสารท็อกซิก.
           
    24. จุลินทรีย์ดีมีประโยชน์กินกากน้ำตาลหรือสารรสหวานเป็นอาหาร  ในขณะที่จุลินทรีย์โทษ (เชื้อโรค) ไม่กินสารรสหวาน  การมีสารรสหวานในอัตราส่วนที่เหมาะสมจะช่วยให้จุลินทรีย์ดีมีประโยชน์เจริญ พัฒนาแล้วกำจัดจุลินทรีย์โทษได้เองตามธรรมชาติวิสัยของ จุลินทรีย์               

    25. ในถังหมักที่เป็นของเหลวและมีจุลินทรีย์เป็นองค์ประกอบหนึ่งทุกชนิด  ย่อมมีจุลินทรีย์หลากหลายชนิด  ทั้งที่เจาะจงใส่ลงไปและที่เกิดเองตามธรรมชาติ  เมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้ตายจะเกิดเป็นฝ้าบนผิวหน้าของๆเหลวที่หมักนั้น  ถ้าเป็นจุลินทรีย์ดีมีประโยชน์ ฝ้านั้นจะไม่มีกลิ่น  ครั้นเมื่อคนให้ฝ้าจมลงจะกลายเป็นอาหารอย่างดีของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตอยู่ .........แต่ถ้าเป็นจุลินทรีย์โทษ (เชื้อโรค) จะมีกลิ่นเหม็น แสดงว่าอัตราส่วนวัสดุที่ใช้หมักกับกากน้ำตาลไม่สมดุลกัน  จึงเกิดจุลินทรีย์โทษได้  แก้ไขโดยเติมเพิ่มกากน้ำตาล  คนเคล้าให้เข้ากันดีทั่วถัง จากนั้นจะลินทรีย์ดีจะกินกากน้ำตาลแล้วเจริญพัฒนาขึ้นและกินฝ้าจุลินทรีย์ โทษจนจุลินทรีย์โทษจะค่อยๆตายแล้วหมดไปในที่สุดไป               
     26. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ขยายเชื้อใน  "น้ำ + สารรสหวาน + อากาศ"  หลังจากผ่านขั้นตอนการขยายเชื้อเรียบร้อยแล้ว  จะต้องนำขึ้นจาก  "น้ำขายเชื้อ"  ออกใช้งานทันที  หรือนำไปฝากหรือส่งไปอยู่ในที่ชื้น เช่น  ปุ๋ยอินทรีย์.  ปุ๋ยคอก  หรือลงดินไปเลย......การเก็บนานจุลินทรีย์ที่ผ่านการขยายเชื้อแล้วไว้ในน้ำ สารรสหวาน จะทำให้จุลินทรีย์ชุดแรกที่ได้ตายแล้วเกิดจุลินทรีย์ชุดใหม่ขึ้นมาแทน  เป็นเหตุให้ไม่ได้จุลินทรีย์ประเภทที่ต้องการ                 
         การใช้จุลินทรีย์ชนิดน้ำจากท่องตลาดซึ่งมีสารรสหวาน (น้ำ) เป็นแหล่งอาศัย  จึงเท่ากับได้เพียง  "สารอาหาร"  จุลินทรีย์เท่านั้น  โดยไม่มีตัวจุลินทรีย์แต่อย่างใด  เมื่อไม่มีตัวจุลินทรีย์หรือมีแต่น้ำสารอาหารจุลินทรีย์เปล่าๆ แล้ว  "ใช้ได้ผล"  นั้น  เป็นผลโดยตรงของ  "จุลินทรีย์ประจำถิ่น"  ซึ่งอดีตที่ผ่านมาไม่เคยได้รับสารอาหารใดๆเลย  ครั้นเมื่อได้รับสารอาหารก็ย่อมเจริญพัฒนาเป็นธรรมดา                   
         การเก็บจุลินทรีย์เพื่อใช้งานนานๆ  ต้องเก็บใน  "ความชื้น-อากาศ-อุณหภูมิ.ควบคุม"   เช่น  เก็บในผงคาร์บอนเบา.  แป้งข้าวฟ่าง.  มูลม้า.  รำพวนข้าว. เป็นต้น           

     27. เทคนิคการใช้จุลินทรีย์ท้องตลาดให้ได้ผลสูงสุด  ทำดังนี้   เตรียม  "น้ำ (พีเอช 6.0) 10 ล. + น้ำมะพร้าว 1 ล. + กากน้ำตาล 1 ล."  คนเคล้าให้เข้ากันดีแล้วเติม  "จุลินทรีย์ (ผง) 100 กรัม"  คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้ง......เติมอากาศ (ปั๊มออกซิเจน) ตลอดเวลานาน 48 ชม.  ครบกำหนดแล้วให้นำออกใช้ทันที           

     28. ในกากน้ำตาลมีสารพิษต่อ 18 ชนิด  ก่อนใช้งานขยายเชื้อจุลินทรีย์ควรนำขึ้นความร้อน 70 องศาเซลเซียส นาน 30 นาทีก่อน  ความร้อนจะช่วยสลายฤทธิ์ความเป็นพิษในกากน้ำตาลได้           

     29. สารรสหวานตามธรรมชาติ  ได้แก่  น้ำผึ้ง.  น้ำอ้อย.  น้ำตาลจากมะพร้าว-ตาล.  น้ำต้มฝักก้ามปูสุก.  เป็นสารรสหวานที่ปราศจากสารเคมีอย่างแท้จริง           

     30. การใส่  "อินทรีย์วัตถุ"  ลงไปในดิน พีเอช 6.0  แล้วราดรดด้วย   "สารรสหวาน"  เดี่ยวๆ  คือการให้อาหารแก่จุลินทรีย์ ที่มีอยู่เดิมในอินทรียวัตถุและในดิน  เทคนิคนี้  นอกจากจะได้ประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล เหนือกว่าการใส่จุลินทรีย์จากแหล่งอื่นแล้วยังประหยัดและไม่ต้องเสี่ยงกับ จุลินทรีย์โทษที่อาจแฝงปนเปื้อนมาด้วย
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #121 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 22:32:14 »

การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ ซึ่งจุลินทรีย์มีหลายกลุ่มหลายพันธุ์ และความสามารถไม่เหมือนกัน
อย่างที่น้องดรีมนำรูปมาก็จะเป็นจุลินทรีย์หน่อกล้วย
 
เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :

       1. เลือกหน่อกล้วยความสูง 1 ม.จากพื้นถึงยอด เป็นหน่อชนิดที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรค เกิดจากต้นแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตดี ทั้งต้นแม่และหน่ออยู่ในบริเวณที่ดินมีค่ากรด-ด่างเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ
       2. ขุดหน่อขึ้นมาให้มีเหง้าติดรากมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สลัดดินทิ้งไปให้เหลือติดรากไว้เล็กน้อย ไม่ต้องล้างน้ำ 
       3. สับเล็กหรือบดละเอียดทั้งต้น (ราก เหง้า ต้น ใบ) อัตราส่วน หน่อกล้วย 3 ส่วน : กากน้ำตาล 1 ส่วน (3:1) เติมน้ำมะพร้าวอ่อนพอเหลว บรรจุในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง คนบ่อยๆ เพื่อเร่งอากาศให้แก่จุลินทรีย์ หมักนาน 7-10 วันกรองเอากากออก น้ำที่ได้คือ “น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้มข้น” พร้อมใช้งานขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการนำไปใช้เหมือนจุลินทรีย์ประจำถิ่น อายุการเก็บนาน 6 เดือนหลังจากหมดอายุแล้วนำมาขยายเชื้อด้วยจุลินทรีย์เริ่มต้นชุดใหม่ได้

          ประโยชน์ :
        - ใช้ในการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนพืช บ่มดิน ปรับปรุงดิน ฯลฯ
        - ราดลงดินช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่งร่วนซุย ช่วยกำจัดเชื้อโรคในดิน
        - ผสมกับปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ให้ได้ความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์ ช่วยเร่งให้ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอกใช้งานได้เร็วและดีขึ้น
        - ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรียวัตถุที่ใส่ลงไปในดินช่วงปรับดินให้เกิด  “ฮิวมิค แอซิด”  ได้เร็วและจำนวนมาก
        - ช่วยย่อยสลายฟางในนาข้าวที่ไถกลบช่วงทำเทือกให้เปื่อยยุ่ยเร็วขึ้น
        - ฉีดพ่นทางใบช่วยกำจัดเชื้อรา ทำให้หนอนไม่ลอกคราบไม่กินอาหาร (ทำลายพืช) ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักออกมาเป็นตัวหนอนไม่ได้ และขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่
        - กำจัดเชื้อโรคในน้ำในร่องสวน สระกักเก็บน้ำ และคอกปศุสัตว์

          หมายเหตุ :
        - ในหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์กลุ่ม “แอ็คติโนมัยซิส” ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูง
        - ฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วยทางใบให้ทั่วทรงพุ่มตอนกลาวันช่วงหลังฝนหยุด (ฝนต่อแดด) เพื่อล้างน้ำฝนออกจากต้นไม่ให้น้ำฝนแห้งคาต้นช่วยกำจัดเชื้อราแอนแทร็คโนส. ไม่ให้เข้าทำลายใบ ยอด ดอก ผล และส่วนต่างๆ ของพืชได้.....ฉีดพ่นตอนเช้ามืดเพื่อล้างน้ำค้างและหมอกออกจากต้นก่อนที่น้ำ ค้างและหมอกจะแห้งคาต้น ช่วยกำจัดเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม. ไม่ให้เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของต้นพืชได้
        - จุลินทรีย์กลุ่มแอ็คติโนมัยซิส. มีประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคพืชประเภทเชื้อราในดิน เช่น เชื้อไฟธอปเทอร่า. พิเทียม. ฟูซาเลียม. สเคลโรเทียม. และไรช็อคโธเนีย. ได้ผลดีมาก
        - ถ้าไม่ใช้หน่อกล้วยทั้งหน่อ สามารถใช้เฉพาะส่วนลำต้นของต้นกล้วยแก่ตัดเครือใหม่ๆ แทนก็ได้ ด้วยอัตราส่วนและวิธีการเดียวกัน
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #122 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 22:47:56 »

อย่าพึ่งงงนะครับค่อย ๆ อ่านกัน

ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช          พืชมีความต้องการธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชจะมีอยู่ด้วยกัน 16 ธาตุ คือ คาร์บอน, ไฮโดรเจน, ออกซิเจน, ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, แคลเซียม, เหล็ก, แมงกานีส, สังกะสี, ทองแดง, โบรอน, โมลิบดีนัม และคลอรีน โดยธาตุคาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซเจน พืชได้จากน้ำและอากาศ ส่วนที่เหลืออีก 13 ธาตุ แบ่งออกเป็นธาตุหลัก 6 ธาตุ และธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ ดังนี้

          ธาตุหลัก 6 ธาตุ ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช และพืชต้องการในปริมาณที่มากจากดินคือ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, แคลเซียม

          ธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ ที่พืชใช้ในปริมาณที่น้อง แต่พืชจะขาดธาตุเหล่านี้ไม่ได้เช่นกัน คือ เหล็ก, แมงกานีส, สังกะสี, ทองแดง, โบรอน, โมลิบดีนัม และคลอรีน

          ปกติแล้วธาตุอาหารเหล่านี้จะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว แต่ในปริมาณที่น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ดังนั้นเราจึงต้องมีการเสริมธาตุในดินทดแทน

         เมื่อเราทราบถึงความต้องการของพืชว่าต้องการธาตุต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตแล้ว เรามาดูถึงหน้าที่และความสำคัญของธาตุต่าง ๆ กันดีกว่า


--------------------------------------------------------------------------------

          ธาตุไนโตรเจน

          หน้าที่และความสำคัญต่อต้นพืช

          ช่วยทำให้พืชตัวตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ช่วยเสริมใบและลำต้นให้มีสีเขียวเข้ม และช่วยเพิ่มปริมาณโปรตีนให้แก่พืชที่ใช้เป็นพืชอาหาร เช่น ข้าวหรือหญ้าเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องควบคุมการออกดอกออกผลของพืช ช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ให้ผลและเมล็ด

          อาการของพืชที่ขาดธาตุไนโตรเจน

ใบจะเหลืองผิดปกติจากใบล่างไปสู่ยอด
ลำต้นจะผอม กิ่งก้านลีบเล็ก และมีใบน้อย
พืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นสีเหลือง หรืออาจจะมีสีชมพูเจือปนด้วย
ใบพืชที่มีสีเหลือง ปลายใบและขอบใบจะค่อย ๆ แห้งและลุกลามเข้ามาเรื่อย ๆ จนใบร่วงจากลำต้นก่อนกำหนด
พืชจะไม่เติบโต หรือโตช้ามาก

--------------------------------------------------------------------------------

          ธาตุฟอสฟอรัส

          หน้าที่และความสำคัญต่อต้นพืช

ช่วยให้ราดดึงดูดโปแตสเซียมเข้ามาใช้เป็นประโยช์ได้มากขึ้น
ช่วยแก้ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป
ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากฝอยและรากแขนงในระยะแรกของการเจริญเติบโต
ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว ช่วนในการออกดอก และสร้างเมล็ดของพืช
เพิ่มความต้านทานต่อโรคบางชนิด ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี
ทำให้ลำต้นของพืชจำพวกข้างแข็งขึ้นไม่ล้มง่าย 
          อาการของพืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส

พืชจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน พืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นบิดเป็นเกลียว เนื้อไม้จะแข็ง แต่เปราะและหักง่าย
รากจะเจริญเติบธตและแพร่กระจายลงในดินช้างกว่าที่ควร ดอกและผลที่ออกมาไม่สมบูรณ์ หรือบางครั้งอาจหลุดร่วงไป หรืออาจมีขนาดเล็ก
พืชจำนวกลำต้นอวบน้ำหรือลำต้นอ่อน ๆ จะล้มง่าย
ใบแก่จะเปลี่ยนสีหรือพืชบางชนิดใบจะเป็นสีม่วง
อาการจะเกิดขึ้นกับใบล่าง ๆ ของต้นขึ้นไปหายอด
--------------------------------------------------------------------------------

          ธาตุโปแตสเซียม

       หน้าที่และความสำคัญต่อต้นพืช

ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทำให้รากดูดน้ำได้ดีขึ้น
มีความจำเป็นต่อการสร้างเนื้อของผลไม้ให้มีคุณภาพดี
ทำให้พืชมีคามต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ
ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ
ช่วยป้องกันผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับพืช เนื่องจากการได้รับไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเมากเกินไป
ช่วยเพิ่มคุณภาพของพืชผักและผลไม้ โดยทำให้พืชมีสีสัน ขนาด ความหวาน และคงทนต่อสภาวะแวดล้อมได้
          อาการของพืชที่ขาดธาตุโปแตสเซียม

ขอบใบเหลือง และกลายเป็นสีน้ำตาล โดยเริ่มต้นจากปลายใบเข้าส่งกลางใบ ส่วนที่เป็นสีน้ำตาลจะแห้งเหี่ยวไป จะเกิดจากใบล่างก่อน แล้วจึงค่อย ๆ ลามขึ้นข้างบน พืชที่เห็นชัดคือข้าวโพด
ทำให้ผลผลิตตกต่ำ พืชจำนวกธัญพืชจะทำให้เมล็ดลีบ มีน้ำหนักเบา พืชหัวจะมีแป้งน้อยและน้ำมาก ข้าวโพดจะมีเมล็ดไม่เต็มฝัก ฝักจะเล็กมีรูปร่างผิดปกติ ใบยาสูบมีคุณภาพต่ำ ติดไฟยาก กลิ่นไม่ดี พืชจำพวกฝ้ายใบจะมีสำน้ำตาลปนแดง สมอฝ้ายที่เกิดขึ้นจะไม่อ้าเต็มที่เมื่อแก่

--------------------------------------------------------------------------------

           ธาตุแคลเซียม

        เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตในตัวพืช ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้เห้เป็นประโยชน์มากขึ้น ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ดพืชจะมีความจำเป็นมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป
          อาการของพืชที่ขาดแคลเซียมจะพบมากในบริเวณยอด และปลายราก ยอดอ่อนจะแห้งตาย และใบจะมีการการม้วนงอไปข้างหน้าและขาดเป็นริ้ว ๆ ซึ่งจะเกิดที่ใบอ่อนก่อน แก้ไขโดยการใส่ปูนขาว หินปูนบด หินปูนเผา เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หรือการใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน


--------------------------------------------------------------------------------

           ธาตุกำมะถัน

          กำมะถันมีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืช เป็นองค์ประกอบของวิตามินบางตัวที่มีผลทางอ้อมต่อการสร้างสีเขียวของพืช ซึ่งจะช่วยให้เกิดการหายใจและการปรุงอาหารพืช
          พืชที่ขาดกำมะถันจะมีเสียเขียวอ่อน หรือเหลืองคล้าย ๆ อาการขาดไนโตรเจน ใบขนาดเล็กลง ยอดของพืชจะชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นและกิ่งก้านลีบเล็ก อาการขาดธาตุกำมะถันจะมีอาการแตกต่างจากขาดธาตุไนโตรเจน คือจะปรากฏที่ยอดอ่อนก่อน ส่วนใบล่างยังคงปกติ ถ้าอาการรุนแรงใบล่างก็จะมีอาการด้วยเช่นกัน ซึ่งจะตรงข้ามกับอาการของการขาดไนโตรเจน จะแสดงอาการที่ใบล่างก่อน
          ดินที่มักพบเสมอว่าขาดธาตุกำมะถันคือ ดินทราย ซึ่งมีอินทรีย์วัตถุน้อย การเพิ่มกำมะถันในดิน นอกจากจะมีการใส่กำมะถันผงโดยตรงแล้ว การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด ก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดธาตุกำมะถันในดินได้เช่นกัน
          แต่ข้อควรระวังในการใส่กำมะถันก็คืน หากใส่มากเกินความจำเป็นจะทำให้ดินเป็นกรดได้


--------------------------------------------------------------------------------

           ธาตุแมกนีเซ๊ยม

          เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขีย ทั้งที่ใบและส่วนอื่น ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างอาหารและโปรตีนพืช
          อาการขาดแมกนีเซียมจะสั่งเกตได้จาบใบพืช ที่เหลืองซีดบริเวณเส้นกลางใบที่อยู่ใกล้กับผล ถ้าหากอาการขาดรุ่นแรงใบแก่จะมีอาการมากกว่าใบอ่อน
          การขาดธาตุแมกนีเซียม จะทำให้ผลผลิตลดน้อยลงและต้นพืชทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียมนั้น เพราะปริมาณแมกนีเซียมที่อยู่ในดินถูกชะล้างลึกลงไปเกินกว่าที่รากพืชจะดึงดูดมาใช้ได้ และการที่มีปริมาณโปแตสเซียมสะสมในดินมากเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ
          การแก้ไข สามารถทำได้โดยการปรับปรุงสภาพดิน ความเป็นกรด ด่างของดินให้เหมาะสมต่อการดูดเข้าไปใช้ของพืช และมีการใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมที่พอเหมาะ ที่สำคัญก็คือ การฉีดพ่นทางใบด้วยธาตุอาหารเสริม ซึ่งมีธาตุแมกนีเซียมในรูปที่พืชสามารถนำปใช้ได้ทันที


--------------------------------------------------------------------------------

          ธาตุเหล็ก

         ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบของโปรตีน และมีบทบาทสำคัญในการปรุงอาหารของพืช ช่วยกระตุ้นให้การหายใจและการปรุงอาหารของพืชเป็นไปอย่างสมบูรณ์
          อาการขาดธาตุเหล็กจะแสดงออกทั้งทางใบและทางผล อาการเริ่มแรกจะสังเกตพบว่าใบอ่อนบริเวณเส้นใบยังคงมีคามเขียว แต่พื้นใบจะเริ่มเหลืองซีด ส่วนใบแก่ยังคงมีอาการปกติ ระยะต่อมาจะเหลืองซีดทั้งใบ ขนาดใบจะเล็กลงกว่าปกติและจะร่วงไปก่อนใบแก่เต็มที่ กิ่งแห้งตาย ส่วนอาการที่เกิดขึ้นกับผลผลิตคือผลผลิตจะลดลง ขนาดของผลเล็กและผิวไม่สวย ผิวเรียบและเกรียม การขาดธาตุเหล็กยังมีผลต่อการนเจริญของยอดอ่อนด้วย

          การแก้ไข ตามปกติช่งความเป็นกรด-ด่างของดินที่พืชสามารถนำธาตุเหล็กไปใช้ได้คือ ค่า pH ระหว่าง 5.5-5.6 แต่ถ้าค่า pH ต่ำกว่านี้ จะทำให้ปริมาณของธาตุเหล็กมีมากเกินไปจนก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืชได้ ธาตุเหล็กจะไปตรึงธาตุฟอสฟอรัสไว้จนพืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ การแก้ไขด้วยการฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมทางใบ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดธาตุเหล็กได้


--------------------------------------------------------------------------------

           ธาตุทองแดง

          หน้าที่ของธาตุทองแดง มีผลต่อพืชโดยอ้อม ในการสร้างส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช ช่วยเพิ่มโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ และป้องกันการถูกทำลายส่วนสีเขียว นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในพืช ซึ่งมีผลต่อการปรุงอาหารยังผลต่อการเจริญเติบโตและการติดดอกออกผล
          ธารุทองแดงยังช่วยให้ต้นพืชสามารถดูดเอาธาตุเหล็กที่อยู่ในดินนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

          อาการของพืชที่ขาดธาตุทองแดง

          ใบพืชจะมีสีเขียวจัดผิดปกติ แล้วต่อมาจะค่อย ๆ เหลืองลง ๆ โดยแสดงอาการจะยอดลงมาถึงโคน อาการขาดธาตุทองแดงพบมากในเขตดินเปรี้ยว การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอาจช่วยได้ หรือฉีดพ่นด้วยธาตุอาหารเสริม (ที่มีทองแดงประกอบ) ทางใบ


--------------------------------------------------------------------------------

          ธาตุสังกะสี

          สังกะสีมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช กล่าวคือ พืชที่ขาดธาตุสังกะสีจะให้ปริมาณฮอร์โมน IAA ในตายอดลดลง ทำให้ตายอดและข้อปล้องไม่ขยาย ใบออกมาซ้อน ๆ กัน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยของพืชหลายชนิดในการสร้างอาหารและสังเคราะห์แสง จึงมีผลทางอ้อมในการสร้างส่วนสีเขียวของพืช
          การแก้ไขที่และและให้ผลแน่นอนคือการฉีดพ่นทางใบ ด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีธาตุสังกะสีเป็นองค์ประกอบ


--------------------------------------------------------------------------------

          ธาตุแมงกานีส

         ธาตุนี้มีผลกระทบต่อใบ เนื่องจากมีบทบาทในการสั่งเคราะห์แสง เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยในต้นพืช และยังควบคุมกิจกรรมของธาตุเหล็กและไนโตรเจนในต้นพืชอีกด้วย
          พืชที่ขาดธาตุแมงกานีสใบจะออกสีเหลือง ๆ ส่วนเส้นใบจะเขียวอยู่ปกติ โดยเฉพาะใบอ่อนอาจเกิดเป็นจุดขาว ๆ หรือจุดเหลืองที่ใบ ต้นโตช้า ใบไม่สมบูรณ์ พุ่มต้นโปร่ง
          พืชที่แสดงอาการขาดธาตุแมงกานีส ต้องฉีดพ่นเข้าทางใบด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีองค์ประกอบของธาตุแมงกานีส


--------------------------------------------------------------------------------

          ธาตุโบรอน

         มีบทบาทเกี่ยวข้องต่อการดูดดึงธาตุอาหารพืช ช่วยให้พืชดูดเอาธาตุแคลเซียมและไนโตรเจนไปใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชใช้ธาตุโปแตสเซียมได้มากขึ้น มีบทบาทในการสังเกคราะห์แสง การย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเพิ่มคุณภาพทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักของผล เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต เพราะโบรอนจะควบคุมการดูดและคายน้ำของพืชในขบวนการปรุงอาหารอีกทางหนึ่ง
          หากขาดธาตุโบรอน ส่วนที่จะแสดงอาการเริ่มแรกคืนยอดและใบ่อ่อน ส่วนที่ยอดและตายอดจะบิดงอ ใบอ่อนบางและโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหนากร้าน และตกกระ มีสารเหนียว ๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น กิ่งก้านจะแลดูเหี่ยว ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหน้า บางทีผลแตกเป็นแผลได้
          อาการขาดธาตุนี้จะเห็นเด่นชัดเมื่อต้นพืชกระทบแล้งหรือขาดน้ำมาก ๆ ควรทำการปรับปรุงดินอย่าให้เป็นกรด-ด่างมาก และควรฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบที่มีองค์ประกอบของโบรอนด้วย


--------------------------------------------------------------------------------

          ธาตุโมลิบดินัม

         บทบาทและหน้าที่ของธาตุโมลิบดินัมในพืชนั้น ทำให้การทำงานของธาตุไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น นอกจากนี้ ยังจำเป็นสำหรับขบวนการสร้างสารสีเขียวและน้ำย่อยภายในพืชบางชนิดด้วย
          พืชที่ขาดธาตุนี้ ที่ใบแจะเป็นจุดด่างเป็นด้วย ๆ ในขนะที่เส้นใบยังเขียวอยู่ ถ้าขาดธาตุนี้รุนแรง ใบจะม้วยเข้าข้างใน ลักษณะที่ปลายและขอบใบจะแห้ง ดอกร่วง และผลเคระแกรนไม่เติบโตเต็มที่


--------------------------------------------------------------------------------

          ธาตุคลอรีน

          คอลรีนมีความสำคัญต่อขบวนการสังเคราะห์แสง มีผลทำให้พืชแก่เร็วขึ้น พืชที่ขาดธาตุคลอรีนใบจะซีด เหี่ยว และใบสีเหลืองบรอนซ์ ถ้ามีคลอรีนมากจำทำให้ของใบแห้ง ใบจะเหลืองก่อนกำหนด

 
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #123 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 22:49:25 »

ธาตุอาหารพืชในธรรมชาติ

ไนโตรเจน

ในพืช :
- ส่วนสีเขียวเข้มแก่จัดของพืชทุกชนิด. ต้นถั่วทุกชนิด. พืชตระกูลถั่ว (ก้ามปู. พุทรา. มะขามเทศ. มัยราบ. ทองหลาง. กระถินทุกชนิด. โสนทุกชนิด). สาหร่ายน้ำจืดทุกชนิด.
ในสัตว์ :
- เมือก-คาว-เลือด-เนื้อ สดๆ จากปลายังมีชีวิต.
ในน้ำ :
- น้ำฝน. น้ำค้าง. น้ำในแหล่งธรรมชาติ.

ฟอสฟอรัส
ในพืช :
- รากสดแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. ใบแก่ชะอม-ขจร-ถั่วพู-กระถิน-มะระ-บัวบก-ผักบุ้งจีน-สะระแหน่-หน่อไม้ฝรั่ง. งาดำ. ถั่วดำ. ถั่วลิสง. ถั่วเหลือง. เมล็ดบัว. ลูกเดือย. ดอกตูมและเกสร. สาหร่ายทะเล
- เนื้อผลไม้รสหวานสนิทแก่จัดสุกงอมจนออกกลิ่นฉุน เช่น กล้วย. เงาะ. มะละกอ. ทุเรียน. ละมุด. ฝรั่ง. น้อยหน่า. แก้วมังกร. มะปรางหวาน. มะยงชิด. ลองกอง. ลางสาด. มะขามหวาน. แตงโม. แคนตาลูป.
ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกปลาทะเล สด/แห้ง-เก่า/ใหม่
ในอาหารคน :
- มัสตาส. นมผงขาดมันเนย. เนยแข็ง. ลูกชิ้นกุ้ง. กะปิเคย

โปแตสเซียม
ในพืช :
- เปลือกและเนื้อของผลไม้รสหวานสนิทแก่จัดสุกงอมจนออกกลิ่นฉุนเหมือนฟอสฟอรัส
- ผลดิบแก่จัด เช่น ฟักทอง. แตงทุกชนิด. กระเจี๊ยบ. พริกสด. มะเขือพวง.
- ผักสด เช่น บล็อกโคลี่. ผักกาดขาว. ผักกาดหอม. ป๊วยเหล็ง.
- เปลือกแห้ง/สด/ใหม่ของผลไม้รสหวาน เช่น ทุเรียน. กล้วย. มะละกอ (ยกเว้น มังคุดและเงาะ)
ในสัตว์ :
- เนื้อสดสัตว์น้ำจืด/ทะเล. เครื่องในสัตว์บก/ทะเล

แคลเซียม
ในพืช :
- ผักผลสดแก่จัด เช่น ถั่วลันเตา. กระเจี๊ยบ. แตงดิบทุกชนิด. มะขามเทศมัน. กระถิน. มะระ. มะเขือเทศดิบ. บวบเหลี่ยม. งาดำ
- ผักใบสดแก่จัด เช่น คะน้า. โขม. กะเฉด. บล็อกโคลี่. ยอดปอ. ใบแก่ฟักทอง
- ผลดิบสดแก่จัดรสฝาดยังไม่สุก เช่น ฝรั่ง. อะโวคาโด. ผล/เมล็ดแตงแก่สดทุกชนิด. เมล็ดถั่วเขียว. มะขามเทศฝาด. มะขามป้อม. ขุยมะพร้าว.
ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกของปลาสดมีชีวิต. เปลือกไข่. เปลือกหอยสด/แห้ง/เก่า/ใหม่. นมสดสัตว์รีดใหม่. กุ้งฝอยสด/แห้ง. หอยจูน. หอยทราย
ในอาหารคน :
- นมพร่องมันเนย. เนยแข็ง. ผงกะหรี่. ไข่สด
ในธรรมชาติ :
- ยิบซั่มธรรมชาติ. ปูนหินเผา. ปูนเปลือกหอมเผา.  ปูนมาร์ล.  โดโลไมท์.

แม็กเนเซียม
ในพืช :
- เปลือก-ใบ-ตา-ต้นสีเขียวเข้มแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. เนื้อ/เปลือกผลไม้สดแก่จัดสุกงอมรสหวานอมเปรี้ยว เช่น สับปะรด. สตรอเบอรี่. มะเฟือง. ระกำ. สละ. เชอรี่. มะเขือเทศดิบ
ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกสัตว์สด/แห้ง-ใหม่/เก่า.  ปลาทะเล.
ในธรรมชาติ :
- ปูนมาร์ล. โดโลไมท์.
              
กำมะถัน
ในพืช :
- พืชสด/แห้งแก่จัดที่มีกลิ่นฉุน เช่น หอมแดง. หอมหัวใหญ่. กระเทียม. ขึ้นฉ่าย. ผักชี. สะตอ. พริกสด/แห้ง
ในสัตว์ :
- เมือก-เลือด-เนื้อสดใหม่จากปลาทะเลมีชีวิต
ในอาหารคน :
- ไข่สด
ในธรรมชาติ :
- ยางติดเปลือกมังคุด. กำมะถันผง

เหล็ก
ในพืช :
- ตาที่กำลังอั้นเต็มที่. ยอดอ่อน. เนื้อ/ใบสดแก่จัดของฟักทอง-ฟักเขียว-เผือก-กะเฉด-ผลพริกสด-ยอดปอ. มะเขือพวง. เมล็ดถั่วแขกแห้ง. เมล็ดบัว. เมล็ดกระถิน. ถั่วลิสง. ลูกเดือย. ยอดขี้เหล็ก. ผักดูด. เห็ดหูหนู. มัสตาด. จมูกข้าว.
ในสัตว์ :
- เมือก-เลือด-เครื่องในสดจากปลาทะเลมีชีวิต. เลือดวัว/ควาย/ไก่/แพะ. นมสดสัตว์รีดใหม่.
ในอาหารคน :
- มัสตาด. นมกล่องจืด/เปรี้ยว. ไข่สด.

ทองแดง
ในพืช :
- ส่วนสีเขียวสดแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. พืชตระกูลถั่ว.
ในสัตว์ :
- เครื่องในสดจากปลาทะเลมีชีวิต

สังกะสี
ในพืช :
- หัวสดแก่จัดเป็นเสี้ยนจนกินไม่ได้ เช่น ไชเท้า. แครอท. มันเทศ. มันแกว
- เหง้าหรือไหลสดแก่จัด เช่น ผักปอด. พุทธรักษา. กล้วย. เตย. ตำลึง.
- เมล็ดสดแก่จัด เช่น ฟักทอง. บวบ. แตง. ถั่วเขียว.
ในสัตว์ :
- หอยทะเล.  ปลาทะเล.

แมงกานิส
ในพืช :
- มะเขือเทศสุก. ผลตำลึงสุก. ผลวัชพืชสุก.
ในสัตว์ :
- เครื่องในสดปลาทะเล.
ในพืช :
- เมล็ดอ่อน. ส่วนที่เป็นน้ำหรือเยื่อเจริญของพืช.

โมลิบดินั่ม
ในพืช :
- เยื่อเจริญ                

โบรอน
ในพืช :
- ผลอ่อน-ยอดอ่อน-ใบอ่อน-รากอ่อน ลักษณะกรอบ เปราะ เด็ดได้ด้วยมือ เช่น ผล/ยอดแตง-กะเฉด-ตำลึง-ผักบุ้ง-ยอดอ่อนของพืชเลื้อยทุกชนิด-เปลือกสดเขียว ส่วนปลายกิ่งที่กำลังมีผลอ่อน.  ทะลายปล์ม.
ในสารสังเคราะห์ :
- น้ำประสานทอง. โบรอนพืช (เกรด 10 โมเลกุลน้ำ).

ซิลิก้า
ในพืช :
- แกลบดิบ. หญ้าคา. หญ้าขน. กากน้ำตาล.
ในธรรมชาติ :
- หินภูเขาไฟ

โซเดียม
ในสัตว์ :
- เครื่องในสดใหม่ปลาทะเลมีชีวิต. มูลควาย.
ในธรรมชาติ :
- เกลือสมุทร. คาร์บอน
.ในสารธรรมชาติ :
- แกลบดำ. ถ่าน. ขี้เถ้า. ควันไฟ.

จิ๊บเบอเรลลิน
ในพืช :
- เมล็ดเริ่มงอก. น้ำมะพร้าวอ่อน. ผลอ่อนของผลไม้ที่มีลักษณะยาว. ยอดอ่อนพืชเด็ดได้ด้วยมือ. เถาบอระเพ็ดสดแก่จัดช่วงความสูง 1 ม.แรกจากพื้น. เปลือกสดปลายกิ่งส่วนที่เป็นสีเขียวขณะมีผลแก่.
ในสัตว์ :
- น้ำล้างเขียงทำปลา.

ไซโตคินนิน
ในพืช :
- หัวไชเท้า. ผักปรัง. ข้าวโพดหวาน. ข้าวระยะน้ำนม. โสมไทย. หน่อไม้ฝรั่ง. หน่อไม้ไผ่ตง.   น้ำมะพร้าวแก่.  แป้งในพืชหัวระยะกำลังเจริญเติบโต.  สาหร่ายทะเล.
ในสัตว์ :
- สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง. เคย. ปู. หนอน. แมลง. กิ้งกือ. ไส้เดือน. กระดองเต่า/ตะพาบ. ปลิงทะเล/น้ำจืด. ลิ้นทะเล. รกสัตว์. ไข่อ่อน. ไข่ขาว.  น้ำหอยเผา.    

อะมิโน
ในพืช :
- น้ำเต้าหู้พร้อมดื่ม.  
ในสัตว์ :
- ปลาทะเล. เยื่อหุ้มเมล็ดเลือด.
ในอาหารคน :
- ซุปไก่สกัด.  น้ำก้นหม้อนึ่งปลา.  น้ำเนื้อตุ๋น. ผงชูรส.

โอเมก้า
ในสัตว์ :
- เครื่องในสัตว์ทะเลสดมีชีวิต. หนอน. เนื้อปลาทะเลสด.
ในอาหารคน :
- ไข่สด. นมสด.

เอ็นเอเอ.
ในพืช :
- หัวกวาวเครือขาวสดแก่จัด

พาโคลบิวทาโซล
ในพืช :
- เหง้าตำลึงสดแก่จัดเป็นเสี้ยน ใบข่อยสดแก่จัด ผักปรังต้นแก่จัด ผักเสี้ยนต้นแก่จัด. หัวสดแก่จัดจนเนื้อเป็นเสี้ยนกินไม่ได้ เช่น หัวไชเท้า. มันเทศ. มันแกว.

วิตามิน บี.
ในพืช :
- เมล็ดทานตะวัน. น้ำมันพืช.
ในอาหารคน :
- ไข่สด
ในสัตว์ :
- หนังปลาสดใหม่

วิตามิน อี.
ในสัตว์ :  
- ไข่แดง.  หนังปลา.
ในพืช :
- แตงกวา

โปรตีน.
ในพืช :
- ถั่วเหลือง.
ในสัตว์ :  
- เนื้อสัตว์สดใหม่
ในอาหารคน :  
- เนื้อสัตว์ทุกชนิด (ในปลามากที่สุด).  นม.  ไข่.  น้ำเต้าหู้.  น้ำต้มตุ๋น.  

เอสโตรเจน.
ในพืช :
น้ำมะพร้าวแก่.
ในสัตว์ :  
- น้ำเชื้อ.
ในอาหารคน :  
- ยาเม็ดคุมกำเนิดแถวบำรุง.   ไวอากร้า.  เอสไพริน.

      หมายเหตุ :
    - เกษตรกรสหรัฐอเมริการู้จักการทำและใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพมานานกว่า 50 ปีแล้ว โดยปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ใช้ทำจากวัสดุส่วนผสมแบบเลือกสรรพิเศษพบว่ามีธาตุอาหาร พืชกลุ่ม “อะมิโน โปรตีน”  เป็นหลัก และวันนี้ เกษตรกรเกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ก็ได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางและจริงจัง
    - ผู้ค้นพบปุ๋ยหมักครั้งแรก คือ นักวิชาการเกษตรอินเดียได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว ถึงวันนี้ก็ยังได้รับความนิยมและความเชื่อถือจากเกษตรไทยน้อยมาก
    - ปัจจุบันเกษตรกรเยอรมันที่มีเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การเกษตรสูงมาก ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางทำการเกษตรแบบเคมีวิทยาศาสตร์ล้วนๆ มาสู่รูปแบบ “อินทรีย์ชีวภาพนำ-เคมีวิทยาศาสตร์เสริม” อย่างกว้างขวาง โดยมีหลักวิชาการเข้ามาประกอบการใช้ ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตการทำอาชีพเกษตรกรรมดีขึ้น    

         แนวความคิดในการทำธาตุอาหารพืช

1. รู้......พืชต้องการธาตุอาหารตัวใด ?
2. รู้......ธาตุอาหารที่พืชต้องการนั้นมีอยู่ในวัสดุใด ?
3. รู้......วิธีแปรสภาพวัสดุนั้นให้เป็นธาตุอาหารสำหรับพืชได้อย่างไร ?
4. รู้......วัสดุที่แปรสภาพแล้วนั้นได้ธาตุอาหารพืชตัวใด ?
5. รู้......วิธีให้ธาตุอาหารที่แปรรูปแล้วแก่พืชอย่างไร ?
6. รู้......ธาตุอาหารแต่ละตัวที่แปรสภาพแล้วบำรุงพืชเพื่ออะไร ?


IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,046



« ตอบ #124 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 23:09:31 »

รู้เรื่องว่าพืชต้องการธาตุตัวไหนสำหรับส่วนใดไปบ้าง มองกลับไปที่ข้าวก็ไม่ใช่เรื่องยาก ต้องรู้การเจริญเติบโตของข้าวว่าช่วงไหนต้องการธาตุตัวไหนมากเป็นพิเศษ  ชาวนาหลายคนยังใส่แบบผิด ๆ อยู่ทำให้เปลืองปุ๋ยโดยใช่เหตุ

ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยเคมี N - P - K
หน้าที่หลักของธาตุอาหารพืชบางชนิด

-   N   ไนโตรเจน ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ใบใหญ่ มีสีเขียวเข้ม เร่งการขยายขนาดผลและเพิ่มผลผลิต
-   P   ฟอสฟอรัส ส่งเสริมการเจริญของรากฝอยและรากแขนง ช่วยการออกดอกและสร้างเมล็ด
-   K   โปตัสเซี่ยม ส่งเสริมการสะสมแป้งและน้ำตาล โดยเฉพาะในพืชหัว ไม้ผลและพืชที่ให้แป้งและน้ำตาลช่วยทำให้ผลไม้มีผิวสวย เนื้อเยื่อของผลไม้มีคุณภาพและรสชาติดีขึ้น

คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่วางขายตามท้องตลาด ทั้งที่เป็นปุ๋ยเดี่ยวและปุ๋ยผสมต่าง ๆ เช่น
แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเดี่ยว  มีธาตุอาหารพืชหลักเพียงธาตุเดียว เช่น
สูตร 46-0-0 ( ยูเรีย )                  สูตร 0-46-0 ( ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต )
สูตร 0-0-60 (โปตัสเซี่ยมคลอไรด์ )  สูตร 21-0-0 ( แอมโมเนี่ยมซัลเฟต )
สูตร 0-3-0 ( ร๊อกฟอสเฟต )

ปุ๋ยสูตรรวม มีธาตุอาหารพืชตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป เช่น
สูตร 16-20-0         สูตร 20-20-0            สูตร 16-16-8
สูตร 25-7-7                 สูตร 21-10-10                      สูตร 15-15-15   
สูตร 12-24-12         สูตร 9-24-24            สูตร 13-13-21   

สูตรปุ๋ย เช่น 15-15-15 จะเป็นตัวเลขบอกปริมาณสารอาหารสุทธิ N 15 กก.ในหนักปุ๋ย 100 กก. P 15 ในน้ำหนักปุ๋ย 100 กก. K15 ในน้ำหนักปุ๋ย 100
IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« ตอบ #125 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 12:20:29 »

รู้เรื่องว่าพืชต้องการธาตุตัวไหนสำหรับส่วนใดไปบ้าง มองกลับไปที่ข้าวก็ไม่ใช่เรื่องยาก ต้องรู้การเจริญเติบโตของข้าวว่าช่วงไหนต้องการธาตุตัวไหนมากเป็นพิเศษ  ชาวนาหลายคนยังใส่แบบผิด ๆ อยู่ทำให้เปลืองปุ๋ยโดยใช่เหตุ

ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยเคมี N - P - K
หน้าที่หลักของธาตุอาหารพืชบางชนิด

-   N   ไนโตรเจน ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ใบใหญ่ มีสีเขียวเข้ม เร่งการขยายขนาดผลและเพิ่มผลผลิต
-   P   ฟอสฟอรัส ส่งเสริมการเจริญของรากฝอยและรากแขนง ช่วยการออกดอกและสร้างเมล็ด
-   K   โปตัสเซี่ยม ส่งเสริมการสะสมแป้งและน้ำตาล โดยเฉพาะในพืชหัว ไม้ผลและพืชที่ให้แป้งและน้ำตาลช่วยทำให้ผลไม้มีผิวสวย เนื้อเยื่อของผลไม้มีคุณภาพและรสชาติดีขึ้น

คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่วางขายตามท้องตลาด ทั้งที่เป็นปุ๋ยเดี่ยวและปุ๋ยผสมต่าง ๆ เช่น
แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเดี่ยว  มีธาตุอาหารพืชหลักเพียงธาตุเดียว เช่น
สูตร 46-0-0 ( ยูเรีย )                  สูตร 0-46-0 ( ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต )
สูตร 0-0-60 (โปตัสเซี่ยมคลอไรด์ )  สูตร 21-0-0 ( แอมโมเนี่ยมซัลเฟต )
สูตร 0-3-0 ( ร๊อกฟอสเฟต )

ปุ๋ยสูตรรวม มีธาตุอาหารพืชตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป เช่น
สูตร 16-20-0         สูตร 20-20-0            สูตร 16-16-8
สูตร 25-7-7                 สูตร 21-10-10                      สูตร 15-15-15   
สูตร 12-24-12         สูตร 9-24-24            สูตร 13-13-21   

สูตรปุ๋ย เช่น 15-15-15 จะเป็นตัวเลขบอกปริมาณสารอาหารสุทธิ N 15 กก.ในหนักปุ๋ย 100 กก. P 15 ในน้ำหนักปุ๋ย 100 กก. K15 ในน้ำหนักปุ๋ย 100

ถามหน่อยนะครับว่าอย่าง 16-20-0 ตัวไหน ตัวn ตัวp ตัวk ตัวหน้า กลางหรือหลังครับเพื่อความแน่นอนขอบคุณมากๆครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 13:55:37 โดย กระเจียว » IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,576


canon eos


« ตอบ #126 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 16:34:39 »

 ยิ้มกว้างๆ...เอาของเรามาอวดมั่ง....เพิ่งทำบ้านพักเสร็จเมื่อเดือนที่แล้วนี้ครับ...


* bm4246.jpg (243.5 KB, 850x600 - ดู 620 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 16:44:19 โดย bm1234 » IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,576


canon eos


« ตอบ #127 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 16:36:33 »

 ยิ้มกว้างๆ....รูปแรกนี่มองผ่านหน้าต่างห้องนอนครับ...


* bm4493.jpg (80.05 KB, 640x480 - ดู 663 ครั้ง.)

* bm4496.jpg (238.13 KB, 850x600 - ดู 779 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,576


canon eos


« ตอบ #128 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 16:42:53 »

 ยิ้มกว้างๆ...นาข้าวบ้าง....แปลงนี้มีพื้นที่25ไร่(ทำ2ที่อีกแปลงมีพื้นที่23ไร่)...ทำนาแบบผสมผสานครับ....ใช้เคมีแบบปลอดภัย...ปุ๋ยหมัก,ปุ๋ยน้ำหมักนี่ก็ใช้ครับ...


* bm4497.jpg (253.54 KB, 850x475 - ดู 743 ครั้ง.)

* bm4502.jpg (289.85 KB, 850x600 - ดู 791 ครั้ง.)

* bm_4491.jpg (183.15 KB, 850x567 - ดู 728 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #129 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 16:49:37 »

ท่าน bm1234 ต๋อนแลงใส่เบ็ดก่องตวยเน้อ อิอิ คิดถึงบ้านทันที ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,576


canon eos


« ตอบ #130 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 16:51:31 »

รถมอไซด์ชาวนาครับ ตอนแรกจะซื้อรุ่นของ ชัยพล ยิ้มไทร แล้วครับแต่รุ่นนั้นลุยถนนเละ ๆ มาก ๆ ไม่ได้เนื่องจาก น้ำหนักรถเยอะ    ทำนาครั้งแรกจำได้เลยครับ  นา 22 ไร่ ขายข้าวได้เงิน แสนสามกว่าบาท ต้นทุนเจ็ดหมื่นกว่าบาทได้เงินเหลือไร่ละสามพันกว่าบาทเกือบถอดใจไม่ทำต่อแล้วครับ สาเหตุเพราะขาดความรู้ ไปซื้อปุ๋ย ร้านจัดปุ๋ยให้ไร่ละ กส เลย ยาคลุมหญ้า  ฮอโมนขวดละ สองพันกว่าบาท แถมไม่พอข้าวเป็นโรคต้องจ้างเค้ามาพ่นยาอีกหมดไปอีกหลายพัน  พอดีค้นดูในเน็ตพบบทความของอาจารย์เดชา ศิริภัทร ก็เลยเปลี่ยนความคิดและปรุงปรุงวิธีการทำนาใหม่หมด แต่ก็มีกระแสต้านจากญาติ และชาวนาใกล้เคียง  ตอนนี้ไม่มีใครว่าแล้วครับ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม


 ยิ้มกว้างๆ....อิจฉาครับ....มีที่นาติดคลองชลประทานแบบนี้....รถมอไซค์ก็สวย
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,174



« ตอบ #131 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 18:27:42 »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเจ้า เดี๋ยวคืนนี้ค่อยอ่านเจ้า

ตอนนี้ดรีมกำลังจ้างลุงไปเอาหน่อกล้วยในป่า จะหมัก 60 กิโล อ่ะเจ้า จ้างลุงไปเอากิโล 5 บาท

จะเอาไปสลายตอซัง อ่ะเจ้า (ก็อปแล้วปริ้นเก็บไว้อ่านท่าจะดีเนาะเจ้า)

แต่ที่แน่ๆๆ ตอนนี้ข้างโพดดรีมล้มหมดเลย ฝนตกเมื่อแลงนี้ ลงทุนเกือบหมื่น สี่ไร่ ท่าจะบ่ได้คืนสักบาทละเจ้า ไข้ไห้ขนาด ข้าวโพดยังบ่แห้งเลย ได้เก้าสิบวันอยุ่เลยเจ้า ซื้อยาเคมีพ่น ทั้งคลุมหญ้า สะปะสะเปด ก่ายขนาดเจ้า ป่อละดรีมบ่ยะแล้ว ปลูกผลไม้ ปลูกอย่างอื่นดีกว่าเจ้า เอาไว้กินดีกว่า บ่ปลูกละข้าวโพดทุนนักขนาดเลยเจ้า
IP : บันทึกการเข้า
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,174



« ตอบ #132 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 18:32:55 »

ยิ้มกว้างๆ...นาข้าวบ้าง....แปลงนี้มีพื้นที่25ไร่(ทำ2ที่อีกแปลงมีพื้นที่23ไร่)...ทำนาแบบผสมผสานครับ....ใช้เคมีแบบปลอดภัย...ปุ๋ยหมัก,ปุ๋ยน้ำหมักนี่ก็ใช้ครับ...
บ้านน้อยคอยรัก ก่อนิเจ้า ท่านbm1234 ข้าวงามขนาดเลยเจ้า ไว้มีข้าวพันธุ์ดีๆมาขายหื้อน้องดรีมผ่องเน้อเจ้า
IP : บันทึกการเข้า
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,174



« ตอบ #133 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 18:34:41 »

http://www.homebankstore.com/dl/sread/017.html

ช่วยลองเปิดอ่านดูหน่อยนะครับว่าครบไหมครับ
โหลดมาไว้ละเจ้า ขอบคุณเจ้า
IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #134 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 19:21:30 »

:D....เดี๋ยวเย็นๆจะเอาฮูปนามาอวดเน้อ.....ช่วงนี้ไปลุยงานในนาทุกวัน....
[/color]
ยินดีกะน้องดรีมด้วยครับ ที่มาสร้าง and กระตุ้นต่อมอยาก ขอหื้อประสบความสำเร็จในอาชีพนะครับ
การเกษตรไม่มีสูตรตายตัว ตำราที่ได้เล่าเรียนศึกษามาเป็นแค่แนวทางเท่านั้นเองผลสำเร็จของการเกษตรนั้นอยู่ที่ตัวเราและประสบการณ์ที่สั่งสมมมาครับ

แอดมินท่านนี้มีนาหลายร้อยไร่ละครับ
นกเอี้ยงมาฮ้อง ป้อเลี้ยงๆ ๆๆๆ
ตี้หน้าบ้านกู้เจ๊า
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,174



« ตอบ #135 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 19:27:25 »

:D....เดี๋ยวเย็นๆจะเอาฮูปนามาอวดเน้อ.....ช่วงนี้ไปลุยงานในนาทุกวัน....
[/color]
ยินดีกะน้องดรีมด้วยครับ ที่มาสร้าง and กระตุ้นต่อมอยาก ขอหื้อประสบความสำเร็จในอาชีพนะครับ
การเกษตรไม่มีสูตรตายตัว ตำราที่ได้เล่าเรียนศึกษามาเป็นแค่แนวทางเท่านั้นเองผลสำเร็จของการเกษตรนั้นอยู่ที่ตัวเราและประสบการณ์ที่สั่งสมมมาครับ

แอดมินท่านนี้มีนาหลายร้อยไร่ละครับ
นกเอี้ยงมาฮ้อง ป้อเลี้ยงๆ ๆๆๆ
ตี้หน้าบ้านกู้เจ๊า
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
อิอิ ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ดีใจเหมือนกันเจ้า คิดอยู่นานว่าจะตั้งกระทู้ก่อ พอตั้งไว้ได้ความรู้จากประสบการณ์จริง ขอบคุณเจ้าที่มีพื้นที่ดีๆ ให้ชาวนาได้แชร์ความรู้กันเจ้า

IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,576


canon eos


« ตอบ #136 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 19:27:38 »

ท่าน bm1234 ต๋อนแลงใส่เบ็ดก่องตวยเน้อ อิอิ คิดถึงบ้านทันที ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

 ยิ้มกว้างๆ....ก่องเบ็ดบ่จ่างครับ....ผมย่ะก๋านในนาต๋อนเจ๊ากับต๋อนแลงครับ....เมื่อตอนแดดมันฮ้อน.......อยู่ตี้นาต๋อนแลงๆนี้อากาศดีขนาดครับ...
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
~Oo เบียร์ _ ซ่าส์ oO~
ผลิตและจัดจำหน่ายถ่านอัดแท่งและน้ำส้มควันไม้ 0846103310
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 688



« ตอบ #137 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 19:53:08 »

ตอนนี้เพลี้ยระบาดแล้ว   ชาวนาแถวบ้านใช้แต่สารเคมีกันอย่างแรง. เอาน้ำส้มควันไม้ไปเสนอ มีไม่กี่คนที่สนใจ  นอกนั้นไม่มีทางเปลี่ยนแนวคิดเค้าได้ วิ่งเข้าใส่สารเคมีอย่างเดียว.
IP : บันทึกการเข้า

ขายถ่านไม้ ถ่านอัดแท่ง น้ำส้มควันไม้  โทร 0846103310(เบียร์)
Line ID :  patama.khanthaya
Fb: น้ำส้มควันไม้แม่ลาวถ่านอัด

บัญชีออมทรัพย์เลขที่1542009436 ธ.กสิกรไทย ชื่อบัญชี น.ส.ปัทมา ขันธยา
seklampang
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 771



« ตอบ #138 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 21:08:06 »

ผมก็ทำงานครับ สมัยนี้ทำนาไม่ยากเหมือนสมัยก่อนแล้วครับผมก็คิดว่าจะทำไร่ทำนานี่ละดี


* 556111_207686762686146_1649244470_n[1].jpg (124.68 KB, 960x720 - ดู 636 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

เสกสรรค์ พรมมินทร์ โทร 0873583610 LINE  demons_rieve
https://www.facebook.com/DemonsGrieve
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,174



« ตอบ #139 เมื่อ: วันที่ 04 ตุลาคม 2012, 21:23:55 »

ผมก็ทำงานครับ สมัยนี้ทำนาไม่ยากเหมือนสมัยก่อนแล้วครับผมก็คิดว่าจะทำไร่ทำนานี่ละดี
ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 6 [7] 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 ... 27 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!