เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 กรกฎาคม 2025, 13:50:18
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ราคาลำใยปีนี้และความรู้เกี่ยวกับการทำสวนลำใยครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 [13] 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 ... 34 พิมพ์
ผู้เขียน ราคาลำใยปีนี้และความรู้เกี่ยวกับการทำสวนลำใยครับ  (อ่าน 78640 ครั้ง)
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #240 เมื่อ: วันที่ 21 พฤศจิกายน 2012, 19:58:00 »

ทำอะไรกันบ้างแล้วครับพี่น้องจาวสวนลำใยตอนนี้ที่สวนท่าน ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #241 เมื่อ: วันที่ 03 ธันวาคม 2012, 11:01:09 »

ดันกระทู้หน่อยครับช่วงนี้บางต้นแตกใบอ่อนบางต้นใบพร้อมบ่เท่ากั๋นเน๊าะครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
sabaidree
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 565


« ตอบ #242 เมื่อ: วันที่ 18 ธันวาคม 2012, 15:59:37 »

ฮอร์โมนเปลี่ยนเพศหาซื้อได้ตี่ไหน ราคาเต่าใด หรือว่ายี่ห้อไหนดีผ่องคับคับ
IP : บันทึกการเข้า
sabaidree
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 565


« ตอบ #243 เมื่อ: วันที่ 31 ธันวาคม 2012, 23:13:21 »

ช่วงนี้เป๋นใดผ่องหา ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
sabaidree
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 565


« ตอบ #244 เมื่อ: วันที่ 01 มกราคม 2013, 16:39:01 »

นำความรู้มาฝากนะครับ

 
กันยายน
ระยะหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต
 การตัดแต่งกิ่ง  หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรตัดกิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งฉีกหัก กิ่งน้ำค้าง กิ่งไขว้ซ้อนกัน เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งขึ้น ถ้าเป็นกิ่งขนาดใหญ่ควรใช้ปูนแดงที่แผลเพื่อป้องกันโรคเข้าทำลาย
การใส่ปุ๋ย

ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 10-20 กิโลกรัมต่อตัน
ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่นสูตร 15-15-15 ประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อตัน (อายุ 7 ปี ถ้าอายุมากหรือต่ำกว่านี้ก็เพิ่มหรือลดลงตามความเหมาะสม)
ถ้าการแตกใบอ่อนไม่สม่ำเสมอ หรือแตกใบอ่อนช้าควรเร่งให้แตกใบอ่อนเร็วขึ้น โดยใช้ปุ๋ย ไทโอยูเรีย อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทั่วทรงพุ่ม 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน จะช่วยให้การแตกใบอ่อนออกมาพร้อมกันและเร็วขึ้นด้วย
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงที่มีระบาดในระยะนี้ เช่น ลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนเจาะกิ่ง แมลงค่อมทอง หนอนคืบกินใบอ่อน หนอนม้วนใบ เช่น เคลเทน, โมโนโครโตฟอส,คาร์บาริล

การให้น้ำ

ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น
ถ้าใบมีความสมบูรณ์ต่ำ ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10, 20-20-20 อัตรา ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของใบให้มากขึ้น
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ควรฉีดพ่นสารเคมี เช่น เคลเทน, โมโนโครโตฟอส, คาร์บาริล ป้องกันกำจัดโรคแมลงที่มีการระบาดในระยะนี้ เช่นไรลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนเจาะกิ่งแมลงค่อมทอง หนอนคืบกินใบอ่อน หนอนม้วนใบ
การกำจัดวัชพืช  ถ้ามีวัชพืชขึ้นในสวนมาก ควรกำจัดให้หมด
 

ระยะใบแก่
การตัดแต่งกิ่ง  ควรมีการตัดแต่งกิ่งอีกครั้ง โดยตัดเฉพาะกิ่งแตกออกมาเป็นกระจุก กิ่งที่ไขว้กัน กิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งน้ำค้าง
การใส่ปุ๋ย

ในระยะใบแก่จัดควรใส่ปุ๋ยเคมีตัวกลางและตัวท้ายสูง เช่นสูตร 9-24-24 ประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อตัน เพื่อบำรุงต้นเพื่อให้มีการสะสมอาหารและสร้างตาดอกต่อไป
ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เพื่อช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้นและช่วยป้องกันการแตกใบอ่อน หากมีฝนตกในช่วงนี้
การให้น้ำ  หลังจากหมดฝนแล้วงดการให้น้ำเพื่อให้ต้นพักตัวเร็วขึ้น
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ถ้ามีการระบาดของโรคพุ่มไม้กวาดให้ทำการตัดทิ้ง และพ่นสารเคมีป้องกันโรคแมลงตามการระบาดของโรคแมลง เช่น หนอนเจาะกิ่ง หนอนคืบกินใบ เช่น คาร์บาริล โมโนโครโตฟอส และโรคราน้ำค้าง เช่น แมนโคเซบ
 

ธันวาคม
ระยะใบแก่
ในระยะนี้ควรกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดสวน และใต้ทรงพุ่ม เพื่อให้ดินใต้ทรงพุ่มแห้งเร็วขึ้น
การใส่ปุ๋ย  ควรพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงให้ต้นมีความสมบูรณ์ และกระตุ้นการสร้างตาดอก เช่น ปุ๋ยสูตร 10-52-17,10-45-10 อัตรา 20-30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  พ่นสารเคมีป้องกันโรคแมลง ที่มีระบาดในระยะนี้ เช่น มวนลำไย หนอนเจาะกิ่ง
การให้น้ำ  งดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นลำไยมีการสร้างตาดอก
หรือหากใครต้องการใช้สารโปรแตสเซี่ยมคลอเรทเพื่อจะกระตุ้นการออกดอกของลำไย(ตามฤดู)ก็สามารถทำได้ในช่วงนี้ครับ เวลาที่ทำจะทำในวันที่ 5 - 10 ธันวาคม
 

มกราคม
ระยะแทงช่อดอก
 
การให้น้ำ  เมื่อเห็นเป็นช่อดอกแล้วควรมีการให้น้ำเล็กน้อยและเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ
การใส่ปุ๋ย   ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงช่อดอกและการติดผลที่ดี เช่น ปุ๋ยสูตร 10-45-10, 10-52-17 อัตรา 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ระยะนี้อาจมีการระบาดของแมลงศัตรูช่อดอกเช่นหนอนกินดอก หนอนเจาะก้านดอก มวน ลำไย ควรทำการพ่นสารเคมีเป็นระยะ เช่น คาร์บาริล,โมโนโครโตฟอส
 
 

 |       
กุมภาพันธ์
ระยะดอกบาน
การให้น้ำ  ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
การช่วยผสมเกสร  ควรน้ำผึ้งมาเลี้ยงในระยะนี้เพื่อช่วยในการผสมเกสร
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  งดการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิดในระยะนี้ เพื่อให้มีแมลงมาช่วยในการผสมเกสรให้มากที่สุด
 

 
มีนาคม-เมษายน
ระยะติดผลขนาดเล็ก
 
 การให้น้ำ  ระยะนี้ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ผลแคระแกร็นและร่วงมาก
การใส่ปุ๋ย  ระยะติดผลขนาด 5 มิลลิเมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 1-3 กิโลกรัม ต่อต้นเพื่อบำรุงผลให้โตอย่างสม่ำเสมอระยะผลโตปานกลาง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตราประมาณ 1-3 กิโลกรัมต่อตัน
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในระยะนี้อาจมีการระบาดของ หนอนเจาะขั้วผล มวนลำไย แมลงปีกแข็ง ควรฉีดพ่นสารเคมีอย่างต่อเนื่อง เช่น โมโนโครโตฟอส คาร์บาริล
 
 | 
พฤษภาคม-กรกฎาคม
ระยะผลกำลังเจริญเติบโต
 การให้น้ำ  ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
การใส่ปุ๋ย  ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 วัน ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตรตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21 เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น
การค้ำกิ่ง  ระยะนี้ผลกำลังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ กิ่งจะรับน้ำหนักมากขึ้น ควรทำการค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่ เพื่อช่วยพยุงกิ่งไม่ให้ฉีกหัก
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในสวนบางท้องที่ ในระยะนี้อาจมีการทำลายของค้างคาว ควรใช้ตาข่ายไนล่อนกันตามแนวช่องระหว่างต้น เพื่อดักจับไปทำลาย นอกจากนี้ยังมีผีเสื้อมวนหวาน แมลงวันทอง ควรรีบทำการป้องกันกำจัดโดยใช้กับดัก เหยื่อพิษ และฉีกพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล

 |
สิงหาคม
ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต
การให้น้ำ  ควรงดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
การเก็บเกี่ยว  การขึ้นไปเก็บผลผลิตควรใช้บันไดหรือพะองพาดกิ่งขึ้นไป ใช้กรรไกรตัดช่อผลให้ลึกเข้าไปประมาณ 1 ฟุต จากปลายช่อไม่ควรใช้มือหัก ช่อผลโดยตรงเพราะจะทำให้ปลายกิ่งที่เหลืออยู่เป็นแผลซ้ำ หรือมีรอยฉีกขาดเข้าไปในกิ่ง ทำให้การแตกยอดอ่อนใหม่รวมทั้งการแทงช่อดอกในปีต่อไปจะไม่ดีด้วย ควรทยอยเก็บช่อผลที่แก่เต็มที่แล้วประมาณ 5-7 วันต่อครั้ง จนหมด ต้นอย่าให้ผลแก่จัดตกค้างอยู่บนต้นนานจะทำให้คุณภาพต่ำลง
 
หามาเมินแล้วคับ ข้อมูลก๋านจัดก๋านแบบนี้ ขอบคุณนักๆคับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ลุงใจ
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 85


« ตอบ #245 เมื่อ: วันที่ 02 มกราคม 2013, 02:41:09 »

แอบเอาของเปิ่นมาฝากเน้อ ยิงฟันยิ้ม
การทำแคลเซียมโบรอนไว้ใช้เอง
-วิธีทำ ผสมปุ๋ยสูตร 15-0-0 (แคลเซียมไนเตรท) จำนวน 6 ขีด กับน้ำ 5 ลิตร และผสมกรดบอริก/โบรอน/บอแร็กซ์ 2 ขีด กับน้ำ 5 ลิตร คนให้ละลาย แล้วนำส่วนผสมทั้ง 2 มาผสมกันอีกครั้ง(รวมเป็น 10 ลิตร) บรรจุในภาชนะปิดฝา และเก็บไว้ในที่ร่ม          
-วิธีใช้ ผสมแคลเซียมโบรอนที่ได้ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นพืชได้ในทุกระยะ  
-ประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับพืช ทนต่อโรคและเชื้อรา เพิ่มการแตกตายอด-ดอก ขยายรังไข่ในดอก ผสมเกสรติดง่าย ผลดก ขั้วดอกเหนียว เปลือกหนา ป้องกันผลร่วง ผลแตก ช่วยในการขยายผลให้ผลใหญ่ เนื้อแน่น เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มรสชาติที่ดีให้กับผลผลิต

เปรียบเทียบราคา
-แคลเซียมโบร่อนตามท้องตลาด ราคาประมาณ250บาท/ลิตร ใช้ผสมน้ำ 100 ซีซี./ถัง(200ลิตร) ต้นทุนจะตกอยู่ประมาณ 25 บาท/ถัง
-แคลเซียมโบร่อนที่ทำเอง ปุ๋ย 15-0-0 ราคา 20บาท/กก. บอเเรกซ์ ราคา 60 บาท/กก. ต้นทุนจะตกอยู่ประมาณ 2 บาท/ถัง                                                                                                                                                    
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 02 มกราคม 2013, 13:02:19 โดย ลุงใจ » IP : บันทึกการเข้า
ลุงใจ
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 85


« ตอบ #246 เมื่อ: วันที่ 02 มกราคม 2013, 02:43:58 »

การทำสารจับใบ      
-วิธีทำ ผสมสาร เอน 70หรือสารชำระล้าง(90บาท/กก.) จำนวน 1 กก./น้ำ 5 ลิตร โดยผสมน้ำลงไปทีละลิตร ค่อยๆคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน    
-วิธีใช้ ผสมสารจับใบที่ได้ 10 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร    
-ประโยชน์ ช่วยในการยึดเกาะพื้นผิว ทำให้น้ำยาแผ่กว้าง จับใบแล้วดูดซึมเข้าใบหรือลำต้นได้ดี และเร็วขึ้น ทำให้ละอองน้ำยามีขนาดเล็ก กระจายทั่วต้นได้ดี และแห้งเร็วกว่าปกติ เพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ย และยา ลดการสูญเสียของสารเคมี เนื่องการการชะล้างของฝนหรือน้ำ ช่วยรักษาอุปกรณ์พ่นยา ป้องกันการอุดตันของหัวฉีด                                                                                                                                                                                                          
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 02 มกราคม 2013, 11:36:33 โดย ลุงใจ » IP : บันทึกการเข้า
ลุงใจ
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 85


« ตอบ #247 เมื่อ: วันที่ 02 มกราคม 2013, 02:54:18 »

การทำปุ๋ยน้ำ   
ส่วนผสม   
1.ส่วนประกอบของพืชชนิดต่างๆ เช่น ยอดผักต่างๆ ต้นถั่วสด เมล็ดถั่ว สาหร่าย ฟักทองสุก มะละกอสุก กล้วยน้ำหว้า(ดิบ-สุก) หยวก เปลือกสับปะรด เปลือกไข่ เปลือกหอย กระดูก ก้าง เกล็ดปลา มะเฟือง ชมพู่ ฝรั่ง และมูลสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นต้น  จำนวน 3 กก.                      2.กากน้ำตาล   1 กก.     
3.พด.2      1-2ซอง     
4.น้ำสะอาด      10 ลิตร   
คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันในถังหมัก ปิดฝาไม่ต้องสนิท ทิ้งไว้ 20 วันขึ้นไป(คนทุกวันๆละ 1-2 ครั้ง)             
-วิธีใช้ ผสมปุ๋ยน้ำที่ได้ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นพืชได้ในทุกระยะ   
-ประโยชน์ เป็นแหล่งของธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม กรดอินทรีย์และฮอร์โมนชนิดต่างๆ(เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน) ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของรากพืช เพิ่มการขยายตัวของใบ และการยืดตัวของลำต้น ชักนำให้เกิดการงอกของเมล็ด และส่งเสริมการออกดอกและติดผลดีขึ้น                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   
IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« ตอบ #248 เมื่อ: วันที่ 02 มกราคม 2013, 09:12:42 »

 แถวบ้านติดดอกแล้ว
IP : บันทึกการเข้า
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #249 เมื่อ: วันที่ 02 มกราคม 2013, 12:04:37 »

ไปสวนมาเมื่อวานเริ่มติดดอกแล้วเหมือนกันครับ
IP : บันทึกการเข้า
noungjj
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 212


}{MR.ONE}{


« ตอบ #250 เมื่อ: วันที่ 04 มกราคม 2013, 03:14:45 »

ควรพ่นเปิดตาดอกกี่วันหลังจากพ่นสารทางใบครับและถ้าใบไหม้ใบหล่นจะเป็นไรไหมครับ
IP : บันทึกการเข้า
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #251 เมื่อ: วันที่ 04 มกราคม 2013, 09:57:21 »

ควรพ่นเปิดตาดอกกี่วันหลังจากพ่นสารทางใบครับและถ้าใบไหม้ใบหล่นจะเป็นไรไหมครับ
ที่สวนพ่นสารทางใบเสร็จรอประมาณ15วันถึงจะพ่นเปิดตาดอกครับ
ส่วนสาเหตุใบร่วงนั้นผมได้คัดบางบทความจากอินเตอร์เนตมาลองวิเคราะห์กันดูครับ
การให้ทางใบ   ทางใบความเข้มข้น 2,000 มก/ล.  สามารถชักนำให้ออกดอกได้ การให้สารวิธีนี้มีข้อดีคือ ใช้สารในปริมาณที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ทางดิน แต่มีข้อจำกัดคือใบลำไยบางส่วนจะร่วง    จากผลการศึกษาของผู้เขียน (ข้อมูลยังไม่ได้ตีพิมพ์) พบว่าการให้ทางใบนั้นในระยะใบกึ่งอ่อนกึ่งแก่ และระยะใบแก่ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน และมีใบบางส่วนร่วง การร่วงของใบจะมากหรือน้อยเท่าใดนั้นอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความเข้มข้นที่ใช้  ถ้ามากเกินกว่า 2,000 มก/ล.               ใบจะร่วงมาก การฉีดพ่นในขณะที่แสงแดดจัดใบก็จะร่วงมากได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรพ่นในช่วงที่อากาศเย็นเช่น ฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าการฉีดพ่นสารกับ       ต้นลำไยที่ขาดน้ำมาก ๆ จะทำให้ใบร่วงมาก การร่วงของใบนั้นคงต้องมีการศึกษาทดลองหาวิธี   ลดการร่วงต่อไป

    ข้อควรระวังในการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตฉีดพ่นทางใบ

1.ไม่ควรใช้สารในปริมาณสูงกว่าคำแนะนำเพราะจะทำให้ใบลำไยไหม้และร่วงได้

2. ควรฉีดพ่นในระยะใบเพสลาดถึงใบแก่ (ใบอายุ 45-60 วัน)

3. ควรพ่นในตอนเช้าหรือเย็นในขณะที่อากาศไม่ร้อน
IP : บันทึกการเข้า
noungjj
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 212


}{MR.ONE}{


« ตอบ #252 เมื่อ: วันที่ 04 มกราคม 2013, 14:20:41 »

ควรพ่นเปิดตาดอกกี่วันหลังจากพ่นสารทางใบครับและถ้าใบไหม้ใบหล่นจะเป็นไรไหมครับ
ที่สวนพ่นสารทางใบเสร็จรอประมาณ15วันถึงจะพ่นเปิดตาดอกครับ
ส่วนสาเหตุใบร่วงนั้นผมได้คัดบางบทความจากอินเตอร์เนตมาลองวิเคราะห์กันดูครับ
การให้ทางใบ   ทางใบความเข้มข้น 2,000 มก/ล.  สามารถชักนำให้ออกดอกได้ การให้สารวิธีนี้มีข้อดีคือ ใช้สารในปริมาณที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ทางดิน แต่มีข้อจำกัดคือใบลำไยบางส่วนจะร่วง    จากผลการศึกษาของผู้เขียน (ข้อมูลยังไม่ได้ตีพิมพ์) พบว่าการให้ทางใบนั้นในระยะใบกึ่งอ่อนกึ่งแก่ และระยะใบแก่ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน และมีใบบางส่วนร่วง การร่วงของใบจะมากหรือน้อยเท่าใดนั้นอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความเข้มข้นที่ใช้  ถ้ามากเกินกว่า 2,000 มก/ล.               ใบจะร่วงมาก การฉีดพ่นในขณะที่แสงแดดจัดใบก็จะร่วงมากได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรพ่นในช่วงที่อากาศเย็นเช่น ฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าการฉีดพ่นสารกับ       ต้นลำไยที่ขาดน้ำมาก ๆ จะทำให้ใบร่วงมาก การร่วงของใบนั้นคงต้องมีการศึกษาทดลองหาวิธี   ลดการร่วงต่อไป

    ข้อควรระวังในการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตฉีดพ่นทางใบ

1.ไม่ควรใช้สารในปริมาณสูงกว่าคำแนะนำเพราะจะทำให้ใบลำไยไหม้และร่วงได้

2. ควรฉีดพ่นในระยะใบเพสลาดถึงใบแก่ (ใบอายุ 45-60 วัน)

3. ควรพ่นในตอนเช้าหรือเย็นในขณะที่อากาศไม่ร้อน
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและข้อมูลดีๆครับผม ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า
~pong03~
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 899



« ตอบ #253 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 07:51:18 »

แอบมาอ่านครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

Facebook -https://www.facebook.com/pin.manora
Line Pin manora
noungjj
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 212


}{MR.ONE}{


« ตอบ #254 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 22:11:21 »

พ่นสารลำใยทางใบแล้วยอดอ่อนสีแดงๆแห้งกรอบไปเลย อายจัง จะมีผลกระทบต่อการออกดอกของลำใยไหมครับผมแล้วถ้ามีผลกระทบมีวิธีแก้ไหมครับ พึ่งหัดทำลำใยปีนี้ปีแรกขอความรู้จากทุกท่านด้วยนะครับ ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« ตอบ #255 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 12:30:31 »

พ่นสารลำใยทางใบแล้วยอดอ่อนสีแดงๆแห้งกรอบไปเลย อายจัง จะมีผลกระทบต่อการออกดอกของลำใยไหมครับผมแล้วถ้ามีผลกระทบมีวิธีแก้ไหมครับ พึ่งหัดทำลำใยปีนี้ปีแรกขอความรู้จากทุกท่านด้วยนะครับ ยิ้มเท่ห์
ของผมก็เหมือนกันครับยอดอ่อนๆแห้งไปเลยแต่ตอนนี้สังเกตูเห็นเริ่มแทงยอดอ่อนออกมาแทนแล้วนะครับ
IP : บันทึกการเข้า
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #256 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 12:56:37 »

มาลุ้นดอกผลลำใยกันต่อครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #257 เมื่อ: วันที่ 14 มกราคม 2013, 15:29:20 »

มาผ่อป้อเลี้ยงหน่อม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
~pong03~
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 899



« ตอบ #258 เมื่อ: วันที่ 17 มกราคม 2013, 13:09:41 »

มาลุ้นดอกผลลำใยกันต่อครับ ยิงฟันยิ้ม

สวนของท่านเป๋นจะไดผ้อง  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

Facebook -https://www.facebook.com/pin.manora
Line Pin manora
~pong03~
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 899



« ตอบ #259 เมื่อ: วันที่ 17 มกราคม 2013, 13:13:34 »

ควรพ่นเปิดตาดอกกี่วันหลังจากพ่นสารทางใบครับและถ้าใบไหม้ใบหล่นจะเป็นไรไหมครับ
ที่สวนพ่นสารทางใบเสร็จรอประมาณ15วันถึงจะพ่นเปิดตาดอกครับ
ส่วนสาเหตุใบร่วงนั้นผมได้คัดบางบทความจากอินเตอร์เนตมาลองวิเคราะห์กันดูครับ
การให้ทางใบ   ทางใบความเข้มข้น 2,000 มก/ล.  สามารถชักนำให้ออกดอกได้ การให้สารวิธีนี้มีข้อดีคือ ใช้สารในปริมาณที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ทางดิน แต่มีข้อจำกัดคือใบลำไยบางส่วนจะร่วง    จากผลการศึกษาของผู้เขียน (ข้อมูลยังไม่ได้ตีพิมพ์) พบว่าการให้ทางใบนั้นในระยะใบกึ่งอ่อนกึ่งแก่ และระยะใบแก่ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน และมีใบบางส่วนร่วง การร่วงของใบจะมากหรือน้อยเท่าใดนั้นอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความเข้มข้นที่ใช้  ถ้ามากเกินกว่า 2,000 มก/ล.               ใบจะร่วงมาก การฉีดพ่นในขณะที่แสงแดดจัดใบก็จะร่วงมากได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรพ่นในช่วงที่อากาศเย็นเช่น ฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าการฉีดพ่นสารกับ       ต้นลำไยที่ขาดน้ำมาก ๆ จะทำให้ใบร่วงมาก การร่วงของใบนั้นคงต้องมีการศึกษาทดลองหาวิธี   ลดการร่วงต่อไป

    ข้อควรระวังในการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตฉีดพ่นทางใบ

1.ไม่ควรใช้สารในปริมาณสูงกว่าคำแนะนำเพราะจะทำให้ใบลำไยไหม้และร่วงได้

2. ควรฉีดพ่นในระยะใบเพสลาดถึงใบแก่ (ใบอายุ 45-60 วัน)

3. ควรพ่นในตอนเช้าหรือเย็นในขณะที่อากาศไม่ร้อน
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและข้อมูลดีๆครับผม ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มเท่ห์

ถ้า!! ใบลำไยร่วง ถือว่าสารตี้ใส่สุดยอดครับ
ถ้า!! ใบลำไยไม่ร่วง พ่นก็ไม่ร่วง ราดสารลงดินแล้วให้น้ำเท่าไหร่ ใบลำไยก็ไม่ร่วง ข้อนี้แย่แน่ๆ  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

Facebook -https://www.facebook.com/pin.manora
Line Pin manora
หน้า: 1 ... 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 [13] 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 ... 34 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!