เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 23 พฤษภาคม 2024, 16:07:52
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ราคาลำใยปีนี้และความรู้เกี่ยวกับการทำสวนลำใยครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 [12] 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 ... 34 พิมพ์
ผู้เขียน ราคาลำใยปีนี้และความรู้เกี่ยวกับการทำสวนลำใยครับ  (อ่าน 76068 ครั้ง)
เมือง_ คนเจียงฮาย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 158



« ตอบ #220 เมื่อ: วันที่ 03 กันยายน 2012, 08:19:00 »

ของผมก็ แต่งกิ่งเสร็จ ละก็ ปุ๋ยลงครับ รอซักพักให้ใบโผล่ก่อนค่อยพ่นปุ๋ยทางใบพร้อมยากันแมลงไว้ครับ อ้อข้างล่าง จัดการหญ้าเรียบร้อยพร้อมกันทีเดียว ครับ


หล่ะปูนถ้าใกล้น้ำปิงน้ำกวงบ่าต้องห่วงเรื่องน้ำแล้งครับมีสุดปี๋ ยิงฟันยิ้ม
ผมถ้าอยู่ใกล้น้ำ ทำนอกฤดูแน่นอนครับ มันดีกว่ากันเยอะ ทั้งเรื่องคนงาน และราคา เมื่อเทียบกับการลงทุน มีตลาดรองรับ ครับผม
IP : บันทึกการเข้า

จงฝืนกระแสแห่งใจที่ไหลลงต่ำในทุกเวลาเถิด ฮักห้วยน้ำฮาก
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #221 เมื่อ: วันที่ 09 กันยายน 2012, 10:58:34 »

ฝนตกเยอะว่าจะไปตัดหญ้าให้เสร็จก็ยังบ่ได้เตื่อแหมก้าพรุ่งนี้
 ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #222 เมื่อ: วันที่ 16 กันยายน 2012, 18:27:48 »

ช่วงนี้ฝนตกตลอดไม่ได้เข้าสวนเลยยังไงขอดันกระทู้ไว้ก่อนครับ
IP : บันทึกการเข้า
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #223 เมื่อ: วันที่ 16 กันยายน 2012, 18:53:08 »

นำความรู้มาฝากนะครับ

 
กันยายน
ระยะหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต
 การตัดแต่งกิ่ง  หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรตัดกิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งฉีกหัก กิ่งน้ำค้าง กิ่งไขว้ซ้อนกัน เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งขึ้น ถ้าเป็นกิ่งขนาดใหญ่ควรใช้ปูนแดงที่แผลเพื่อป้องกันโรคเข้าทำลาย
การใส่ปุ๋ย

ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 10-20 กิโลกรัมต่อตัน
ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่นสูตร 15-15-15 ประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อตัน (อายุ 7 ปี ถ้าอายุมากหรือต่ำกว่านี้ก็เพิ่มหรือลดลงตามความเหมาะสม)
ถ้าการแตกใบอ่อนไม่สม่ำเสมอ หรือแตกใบอ่อนช้าควรเร่งให้แตกใบอ่อนเร็วขึ้น โดยใช้ปุ๋ย ไทโอยูเรีย อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทั่วทรงพุ่ม 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน จะช่วยให้การแตกใบอ่อนออกมาพร้อมกันและเร็วขึ้นด้วย
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงที่มีระบาดในระยะนี้ เช่น ลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนเจาะกิ่ง แมลงค่อมทอง หนอนคืบกินใบอ่อน หนอนม้วนใบ เช่น เคลเทน, โมโนโครโตฟอส,คาร์บาริล

การให้น้ำ

ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น
ถ้าใบมีความสมบูรณ์ต่ำ ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10, 20-20-20 อัตรา ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของใบให้มากขึ้น
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ควรฉีดพ่นสารเคมี เช่น เคลเทน, โมโนโครโตฟอส, คาร์บาริล ป้องกันกำจัดโรคแมลงที่มีการระบาดในระยะนี้ เช่นไรลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนเจาะกิ่งแมลงค่อมทอง หนอนคืบกินใบอ่อน หนอนม้วนใบ
การกำจัดวัชพืช  ถ้ามีวัชพืชขึ้นในสวนมาก ควรกำจัดให้หมด
 

ระยะใบแก่
การตัดแต่งกิ่ง  ควรมีการตัดแต่งกิ่งอีกครั้ง โดยตัดเฉพาะกิ่งแตกออกมาเป็นกระจุก กิ่งที่ไขว้กัน กิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งน้ำค้าง
การใส่ปุ๋ย

ในระยะใบแก่จัดควรใส่ปุ๋ยเคมีตัวกลางและตัวท้ายสูง เช่นสูตร 9-24-24 ประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อตัน เพื่อบำรุงต้นเพื่อให้มีการสะสมอาหารและสร้างตาดอกต่อไป
ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เพื่อช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้นและช่วยป้องกันการแตกใบอ่อน หากมีฝนตกในช่วงนี้
การให้น้ำ  หลังจากหมดฝนแล้วงดการให้น้ำเพื่อให้ต้นพักตัวเร็วขึ้น
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ถ้ามีการระบาดของโรคพุ่มไม้กวาดให้ทำการตัดทิ้ง และพ่นสารเคมีป้องกันโรคแมลงตามการระบาดของโรคแมลง เช่น หนอนเจาะกิ่ง หนอนคืบกินใบ เช่น คาร์บาริล โมโนโครโตฟอส และโรคราน้ำค้าง เช่น แมนโคเซบ
 

ธันวาคม
ระยะใบแก่
ในระยะนี้ควรกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดสวน และใต้ทรงพุ่ม เพื่อให้ดินใต้ทรงพุ่มแห้งเร็วขึ้น
การใส่ปุ๋ย  ควรพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงให้ต้นมีความสมบูรณ์ และกระตุ้นการสร้างตาดอก เช่น ปุ๋ยสูตร 10-52-17,10-45-10 อัตรา 20-30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  พ่นสารเคมีป้องกันโรคแมลง ที่มีระบาดในระยะนี้ เช่น มวนลำไย หนอนเจาะกิ่ง
การให้น้ำ  งดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นลำไยมีการสร้างตาดอก
หรือหากใครต้องการใช้สารโปรแตสเซี่ยมคลอเรทเพื่อจะกระตุ้นการออกดอกของลำไย(ตามฤดู)ก็สามารถทำได้ในช่วงนี้ครับ เวลาที่ทำจะทำในวันที่ 5 - 10 ธันวาคม
 

มกราคม
ระยะแทงช่อดอก
 
การให้น้ำ  เมื่อเห็นเป็นช่อดอกแล้วควรมีการให้น้ำเล็กน้อยและเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ
การใส่ปุ๋ย   ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงช่อดอกและการติดผลที่ดี เช่น ปุ๋ยสูตร 10-45-10, 10-52-17 อัตรา 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ระยะนี้อาจมีการระบาดของแมลงศัตรูช่อดอกเช่นหนอนกินดอก หนอนเจาะก้านดอก มวน ลำไย ควรทำการพ่นสารเคมีเป็นระยะ เช่น คาร์บาริล,โมโนโครโตฟอส
 
 

 |       
กุมภาพันธ์
ระยะดอกบาน
การให้น้ำ  ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
การช่วยผสมเกสร  ควรน้ำผึ้งมาเลี้ยงในระยะนี้เพื่อช่วยในการผสมเกสร
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  งดการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิดในระยะนี้ เพื่อให้มีแมลงมาช่วยในการผสมเกสรให้มากที่สุด
 

 
มีนาคม-เมษายน
ระยะติดผลขนาดเล็ก
 
 การให้น้ำ  ระยะนี้ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ผลแคระแกร็นและร่วงมาก
การใส่ปุ๋ย  ระยะติดผลขนาด 5 มิลลิเมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 1-3 กิโลกรัม ต่อต้นเพื่อบำรุงผลให้โตอย่างสม่ำเสมอระยะผลโตปานกลาง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตราประมาณ 1-3 กิโลกรัมต่อตัน
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในระยะนี้อาจมีการระบาดของ หนอนเจาะขั้วผล มวนลำไย แมลงปีกแข็ง ควรฉีดพ่นสารเคมีอย่างต่อเนื่อง เช่น โมโนโครโตฟอส คาร์บาริล
 
 | 
พฤษภาคม-กรกฎาคม
ระยะผลกำลังเจริญเติบโต
 การให้น้ำ  ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
การใส่ปุ๋ย  ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 วัน ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตรตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21 เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น
การค้ำกิ่ง  ระยะนี้ผลกำลังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ กิ่งจะรับน้ำหนักมากขึ้น ควรทำการค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่ เพื่อช่วยพยุงกิ่งไม่ให้ฉีกหัก
การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในสวนบางท้องที่ ในระยะนี้อาจมีการทำลายของค้างคาว ควรใช้ตาข่ายไนล่อนกันตามแนวช่องระหว่างต้น เพื่อดักจับไปทำลาย นอกจากนี้ยังมีผีเสื้อมวนหวาน แมลงวันทอง ควรรีบทำการป้องกันกำจัดโดยใช้กับดัก เหยื่อพิษ และฉีกพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล

 |
สิงหาคม
ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต
การให้น้ำ  ควรงดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
การเก็บเกี่ยว  การขึ้นไปเก็บผลผลิตควรใช้บันไดหรือพะองพาดกิ่งขึ้นไป ใช้กรรไกรตัดช่อผลให้ลึกเข้าไปประมาณ 1 ฟุต จากปลายช่อไม่ควรใช้มือหัก ช่อผลโดยตรงเพราะจะทำให้ปลายกิ่งที่เหลืออยู่เป็นแผลซ้ำ หรือมีรอยฉีกขาดเข้าไปในกิ่ง ทำให้การแตกยอดอ่อนใหม่รวมทั้งการแทงช่อดอกในปีต่อไปจะไม่ดีด้วย ควรทยอยเก็บช่อผลที่แก่เต็มที่แล้วประมาณ 5-7 วันต่อครั้ง จนหมด ต้นอย่าให้ผลแก่จัดตกค้างอยู่บนต้นนานจะทำให้คุณภาพต่ำลง
 
IP : บันทึกการเข้า
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #224 เมื่อ: วันที่ 16 กันยายน 2012, 19:02:23 »

การตัดแต่งกิ่งลำใยครับ
IP : บันทึกการเข้า
chetta2499
เชษฐา 2499
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,138


จุดเทียนไขดีกว่านั่งแช่งความมืด


« ตอบ #225 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2012, 13:22:47 »

ตำบลห้วยสัก อ.ป่าแดด
ก็เป็นแหล่งผลิตลำใยที่ใหญ่เหมือนกันครับ
ไปศึกษาดูได้ครับ
และเห็นด้วยกับ คุณ แอ๊ด โมบาย สำหรับการเตรียมต้น
เพื่อฟดูกาลใหม่ เลยขออัพเพื่อเป็นประโยชน์ครับ
IP : บันทึกการเข้า

ฟาร์มผลิตไก่ชนคุณภาพ จังหวัดเชียงราย
ซุ้มไก่ชนลูกพ่อขุนฯเชียงราย

htt://www.facebook.com/chetta worapitbenja

โทร 0892576293/0808979330
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« ตอบ #226 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2012, 13:34:26 »



     เพิ่งปลูกปีนี้ 250  ต้น ยิงฟันยิ้ม อีก6 ปีคงได้ขายกับเค้าบ้าง ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« ตอบ #227 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2012, 13:35:47 »

ตำบลห้วยสัก อ.ป่าแดด
ก็เป็นแหล่งผลิตลำใยที่ใหญ่เหมือนกันครับ
ไปศึกษาดูได้ครับ
และเห็นด้วยกับ คุณ แอ๊ด โมบาย สำหรับการเตรียมต้น
เพื่อฟดูกาลใหม่ เลยขออัพเพื่อเป็นประโยชน์ครับ
ใช่แล้วครับ ที่ป่าแดด ลำใยเยอะมากๆครับ ทำเป็นอาชีพหลักก็ว่าได้มีโรงอบ 3-4 ที่
IP : บันทึกการเข้า
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #228 เมื่อ: วันที่ 19 กันยายน 2012, 09:56:24 »

การปลูกลำไยทรงเตี้ย
IP : บันทึกการเข้า
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #229 เมื่อ: วันที่ 19 กันยายน 2012, 09:57:25 »

การชักนำการออกดอก
IP : บันทึกการเข้า
~pong03~
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 899



« ตอบ #230 เมื่อ: วันที่ 23 กันยายน 2012, 07:30:53 »

ลำไย อย่าไปเชื่อนักวิชาการเยอะเลยนะครับ  ยิงฟันยิ้ม
บางพื้นที่ บางจุด มันไม่เหมือนกันกับ ที่นักวิชาการ มาบอก
ตัวเราเองต่างหากครับ ที่จะทำให้ลำไย มีผลหรือไม่ ถ้า!! เชื่อนักวิชาการมาก
นั่นก็หมายถึงเราจะต้องลงทุนมากขึ้น เพราะ พื้นที่ของเรา เราไม่รู้ว่าจะต้องเสริมอะไร
หากเราทำตาม นักวิชาการ ผมเห็นล้มมาหลายรายแล้วล่ะ
.................................................................................
จุดที่หนึ่ง ที่เราจะต้องสังเกตุ ว่าทำไม ลำไยไม่มีผล ดูรอบๆสวน มีไม้ชนิดอื่นปกคลุมหรือไม่
ถ้า!!ใช่ ก็จัดการให้เรียบร้อย เพราะจะไม่มีลมพัด จะทำไห้ ลำไยแตกตากิ่งช้า!! และทำให้มีใบมาก
จุดที่สอง สังเกตุ มีกิ่งลำไยมากเกินไปหรือเปล่า หากใช่จัดการซะ !! ให้มันโล่งโปร่ง จะได้กิ่งใหม่ ที่สมบูณร์กว่า
และไวต่อแสงในการแตกกิ่ง และไวต่อสารอาหารที่จะหล่อเลี้ยงให้กิ่งสมบูรณ์ พร้อมที่จะให้ผลผลิตร ในปีนั้นๆ
จุดที่สาม สังเกตุดูพื้นดินของเราว่าดินอะไร และมีอัตตราการซึมซับต่อน้ำมากขนาดไหน เช่นดินรวน ไวต่อการซึมซับ
ของน้ำ (ข้อนี้ดี) ลำไยมีผลไวต่อการใส่สาร แต่หากพื้นที่เป็นดินดานและแข็ง ช่วงนี้ ดินได้รับน้ำฝนมาก และอ่อน
ควรที่จะไถหรือขุดรอบๆต้นลำไยและใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะทำให้ดินร่วนชุ่ย และจะมีรากลำไยที่อยู่ลึกขึ้นมากินปุ๋ยที่เราใส่เอาไว้
ข้อนี้ก็เป็นข้อที่ดี และจะมีปฎิกิริยาตอนที่เราใส่สาร ก็จะได้ผลเกือบๆ100% หากปล่อยให้ถึงหน้าแล้ง ดินก็จะแข็ง เวลาราดสารลงไป ก็จะไหล ไปทางอื่นหมด ไม่ได้ผลเสียเงินเปล่า
จุดที่สี่ จะต้องมีระเบียบในการทำงาน เช่น ระยะให้น้ำ 7 วันก็คือ 7วัน อย่าพลัดวันประกันพรุ้ง เพราะต้นลำไยจะไม่ได้รับน้ำไปหล่อเลี้ยงไม่สม่ำเสมอ จะมีผลกับการชักนำ ยอดและดอกได้ อาจจะทำให้ดอกไม่สมบูรณ์และร่วง และควรจะพ่นอาหารเสริม
เช่น จุลินทรีย์
จุดที่ห้า เรื่องการแต่งกิ่งก็สำคัญนะครับ หากมี 20 ไร่ ควรแต่งกิ่งให้เสร็จไม่เกิน 3 วัน เพราะหากเกินกว่านี้ ก็จะมีผลในการแตกกิ่งที่ต่างกัน และจะเป็นปัญหากับ ที่เราจะราดสาร เพราะ หากใบไม่สมบูรณ์เท่ากันทุกต้น ต้นที่ใบพร้อม ก็จะได้ผลในการราดสาร แต่ต้นที่ใบไม่พร้อมก็จะเป็นปัญหาในการราดสารของลำไย ฉนั้นวางแผนในการแต่งกิ่งให้ดีนะครับ ..

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม   
IP : บันทึกการเข้า

Facebook -https://www.facebook.com/pin.manora
Line Pin manora
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #231 เมื่อ: วันที่ 25 กันยายน 2012, 13:20:58 »

ครับขอบคุณท่าน~pong03~มากครับ
นำสาระเกี่ยวกับโรคและศัตรูลำใยมาฝากครับ

 
            
    
โรคแมลงศัตรูลำไย

โรคพุ่มไม้กวาด (Witches broom) (A)
สาเหตุเกิดจากเชื้อ Mycroplasma
ลักษณะอาการเหมือนพุ่มไม้กวาดลำไยที่เป็นโรครุนแรงจะโทรม     เมื่อออกดอกติดผลน้อยพันธุ์ลำไยที่อ่อนแอต่อโรคนี้เคยพบในพันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน

อาการปรากฎที่ส่วนยอดและส่วนที่เป็นตา โดยเริ่มแรกใบยอดแตกใบออกเป็นฝอย มีลักษณะเหมือนพุ่มไม้กวาด ใบมีขนาดเล็กเรียวยาว ใบแข็งกระด้างไม่คลี่ออก   กลายเป็ยกระจุกสั้นๆขึ้นตามส่วนยอด หากยอดที่เป็นโรคเมื่อถึงคราวออกช่อดอก ถ้าไม่รุนแรงก็จะออกช่อชนิดหนึ่งติดใบบนดอกและช่อสั้นๆ ซึ่งอาจติดผลได้ 4-5 ผลถ้าเป็นโรครุนแรงต้นจะออกดอกติดผลน้อย พันธุ์ลำไยที่อ่อนแอต่อนโรคนี้คือพันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
สาเหตุเกิดจากเชื้อมายโคพลาสมา (Mycroplasma) แพร่ระบาดได้ทางกรรมพันธุ์คือ สามารถแพร่ระบาดไปโดยการตอนกิ่งลำไยจากต้นที่เป็นโรค โรคนี้มีแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาลเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่ต้นอื่นๆ ได้

การป้องกันและกำจัด
1. คัดเลือกกิ่งพันธุ์จากต้นที่ไม่เป็นโรคไปปลูก
2. ป้องกันแมลงจำพวกปากดูดพวกเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาล โดยใช้สารเคมีเช่น ฟอสซ์ อัตรา 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ มิพซิน อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือลอร์สแมน อัตรา 80 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. สำหรับต้นที่เป็นโรคถ้าเป็นไม่มาก ควรตัดกิ่งที่เป็นโรคนำมาเผาทำลายซึ่งชาวสวนจะต้องพร้อมใจกันและกำจัดทุกๆ สวน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ระบาด

โรคหงอย
ลักษณะอาการ
การเจริญเติบโตทางกิ่งน้อย ใบเล็ก และคดงอมองไกลๆ คล้ายใบลิ้นจี่ลำต้นซีดลง เมื่อตัดกิ่งของลำไยที่เป็นโรคนี้มาตรวจจะพบว่าไส้กลางเป็นสีน้ำตาล ชาวบ้านมักเรียกว่า โรคไส้ดำโรคนี้เป็นกับต้นลำไยที่ออกดอกติดผลดี บางสวนเป็น ทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่

สาเหตุของโรค
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

โรคจุดสาหร่ายสนิม
ลักษณะอาการ
ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดที่ใบ เกิดจุดค่อนข้างกลม มีขนาด 0.5 - 1 ซม. แรกๆ เป็นขุยสีเขียวต่อมาในระยะเกิดสปอร์จะเป็นสีแดงสีสนิมเหล็ก ผิวมีลักษณะเป็นขุยคล้ายกำมะหยี่ เป็นที่ใบไม่รุนแรงมากนัก แต่ความรุนแรงจะปรากฎที่กิ่งโดยเฉพาะถ้าเป็นมากก็จะทำให้ต้นทรุดโทรม กิ่งที่ถูกแสงจะถูกทำลายโดยเกิดเป็นขุยเช่นเดียวกับใบ จะเป็นจุดหรือเกิดต่อเนื่องเป็นขุยสนิมเหล็ก ต่อมาขุยก็จะแห้งหายไป จุดที่ถูกทำลายเปลือกจะแตกและแห้งทำให้ใบเหลืองร่วง แสดงอาการทรุดโทรม ทั้งนี้เป็นเพราะรากเทียมของสาหร่ายเข้าไปชอนไชในเนื้อเยื่อดูดกินน้ำเลี้ยงและเซลล์เน่าตาย ทำให้ส่วนนั้นแห้งตายไป

การแพร่ระบาด
ทำลายพืชได้หลายชนิด ระบาดในที่ๆ มีความชื้นสูงโดยเฉพาะในฤดูฝน แพร่ระบาดโดยสปอร์จะปลิว ไปตามลมนอกจากนี้ น้ำก็เป็นพาหะนำสปอร์ไปสู่ต้นอื่นได้เช่นเดียวกัน

การป้องกันและกำจัด
โดยการพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราพวกสารประกอบของทองแดง เช่น ค๊อปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

โรคราสีชมพู
ลักษณะอาการ
อาการที่เกิดที่กิ่งโดยเฉพาะตรงง่ามของกิ่งหรือลำต้น กิ่งที่เป็นโรคใบจะปรากฎสีเหลืองซีดและเมื่อโรครุนแรงอาจทำให้ใบร่วงเหลือแต่กิ่ง บริเวณกิ่งที่ถูกทำลายจะมีคราบของเชื้อราสีขาวอมชมพูแผ่ขยายปกคลุมคล้ายทาด้วยสีชมพู เมื่อกิ่งแห้งจะเห็นคราบนี้ชัดขึ้นเป็นสีชมพูหรือสีปูนแห้ง เมื่อผ่าตรวจดูเปลือกจะผุ เนื้อไม้ยุ่ยและกิ่งแห้งตายไปในที่สุด ทั้งนี้เพราะเกิดคล้ายรากเทียมที่ใต้ผิวแผ่นเชื้อรา ที่แนบติดกับผิวของกิ่งเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงและทำลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้น

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
เกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor ระบาดในฤดูฝนสปอร์ของเชื้อราระบาดไปกับลมและน้ำฝน โดยเฉพาะกิ่งล่างมักจะถูกเชื้อรานี้เข้าทำลายเกิดเป็นโรคอยู่ทั่วไป ทรงพุ่มที่หนาทึบ ย่อมจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้มากและเร็วขึ้น

การป้องกันและกำจัด
ควรตัดแต่งกิ่งเป็นโรคออกไปเผา เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคและให้มีการถ่ายเทอากาศดีขึ้น แล้วพ่นด้วยสารเคมีตรงส่วนที่เป็นโรคด้วยคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเอดิเฟนฟอส 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

มวนลำไย
มวนลำไย หรือที่ชาวบ้านทางภาคเหนือเรียก “แมงแกง” มีชื่อทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำความ เสียหายให้กับลำไยโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนทำให้ยอดอ่อนและใบอ่อนแห้งเหี่ยว ดอกเสียหาย ไม่ติดผลหรือทำให้ร่วงหล่นตั้งแต่ยังเล็ก มีการระบาดอยู่ ประจำในแหล่งปลูกลำไยจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนโดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มติดกับแม่น้ำปิง

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง รูปร่างลักษณะคล้ายโล่ มีขนาดยาวประมาณ 25 - 31 ซม. และส่วนกว้างประมาณ 15 - 17 ซม. ตัวเต็มวัยตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามใบหรือเรียงตามก้านดอก ไข่กลุ่มหนึ่งจะมีจำนวนโดยเฉลี่ย 14 ฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนประมาณ 7 - 14 วัน ตัวอ่อนจะมีสีแดงมีการลอกคราบ 5 ครั้ง ระยะตัวอ่อนกินเวลาประมาณ 61 - 74 จึงจะเจริญออกมาเป็นตัวเต็มวัย

ศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติของมวนลำไยเท่าที่มีการสำรวจพบได้แก่ แตนเบียนไข่ Ooencyrtus sp. และ Anastatus sp. ซึ่งจะคอยเป็นตัวทำลายไข่ ของมวนลำไยในธรรมชาติ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดแต่งกิ่งลำไยไม่ให้ต้นหนาจนเกินไป จนเป็นที่หลบซ่อน และพักอาศัยของตัวเต็มวัย
2. จับตัวเต็มวัย ตัวอ่อน และไข่ไปทำลาย
3. ถ้าพบระบาดมากใช้ยาฆ่าแมลงพวก โมโนโครโตฟอส ฉีดพ่นในอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือยาฆ่าแมลงคาร์บาริล อัตรา 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ช่วงเวลาที่ลำไยกำลังเกิดช่อดอกและติดผล ซึ่งช่วงดังกล่าว จะพบทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สำหรับยาฆ่าแมลงพวกคาร์บาริลจะใช้ได้ผลดีในระยะที่แมลง เป็นตัวอ่อนในวัย 1 - 2 เท่านั้น ถ้าพ่นในวัยอื่นจะไม่ได้ผล

โรคราดำ
การทำลายของแมลงพวกปากดูด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย แล้วถ่าย น้ำหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลำไย เชื้อราที่มีอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา Capnodium ramosum, Meliola euphoriae. จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ำหวาน

ลักษณะอาการ
สีดำของเชื้อราขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก และผิวของผล ทำให้เห็นเป็นคราบสีดำคล้ายเขม่า บนใบที่ถูกเคลือบด้วยแผ่นคราบดำของเชื้อรานี้ เมื่อแห้งจะหลุดออกเป็นแผ่นได้ง่าย เชื้อราไม่ได้ทำลายพืช โดยตรงแต่ไปลดการปรุงอาหารของใบ อาการที่ปรากฎที่ช่อดอกถ้าเป็นรุนแรงทำให้ดอกร่วงไม่สามารถผสมเกสรได้ จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ดอกร่วงเพราะถูกเชื้อราดำเข้ามาเคลือบ

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
ลักษณะอาการเช่นนี้ เกิดจากผลของการทำลายของแมลงพวกปากดูด ที่ดูดกินส่วนอ่อนของลำไย แล้วถ่ายน้ำหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลำไย เชื้อราที่มีอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา   จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ำหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา แล้วเจริญเป็นคราบสีดำ แมลงปากดูดเท่าที่พบ เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอยเพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยอ่อน เป็นต้น

การป้องกันและกำจัด
ป้องกันและกำจัดแมลงพวกปากดูดดังกล่าว โดยพ่นสารเคมีเช่น คาร์บาริล 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร อาจพ่น ควบคู่กับสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ หรือ ไซฟลูธริน 40 - 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

หนอนม้วนใบ
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Archips micaceana Walker.หนอนจะกัดกินใบอ่อนและช่อดอก ตัวหนอนจะห่อม้วนใบเข้าหากันหรือชักใยดึงเอาหลายๆ ใบ มารวมกันหรือดึงเอาช่อดอกเข้ามารวมกันแล้วอาศัยอยู่ภายใน ถ้าระบาดมากทำให้ยอดอ่อนและช่อดอกเสียหาย

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดเล็กสีน้ำตาลแดง หลังจากผสมพันธุ์ผีเสื้อจะวางไข่เป็นกลุ่มๆ คล้ายเกล็ดปลา มีสีเหลืองอ่อน กลุ่มหนึ่งจะมีไข่ประมาณ 70 - 200 ฟอง ระยะไข่ 5 - 9 วัน หนอนมีสีเหลืองปนเขียว หัวสีน้ำตาลแดง มีตุ่มตามลำตัวแต่ละตุ่มจะมีขนเล็กสีขาว 1 - 2 เส้น เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 1.3 - 1.5 ซม. ระยะหนอน 14 - 48 วัน แล้วเข้าดักแด้ในใบที่ม้วนนั้นเป็นดักแด้อยู่นาน 5 - 7 วัน ก็จะออกเป็นตัวเต็มวัย

การป้องกันกำจัด
1. หมั่นตรวจตามยอดอ่อนและช่อดอก ถ้าพบให้เก็บทำลาย
2. ถ้าระบาดรุนแรงมากควรฉีดพ่นด้วยยาโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพ่นด้วยไพรีทรอยด์ อัตรา 10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

หนอนคืบกินใบ (แมลงบุ้งลำไย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyodes scrobicularta Fabr.
หนอนผีเสื้อชนิดนี้ระบาดอยู่ทั่วไปตามแหล่งปลูกลำไยและลิ้นจี่ พบมากในบางแห่งโดยเฉพาะระยะที่ลำไยแตกยอดอ่อน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนให้เสียหาย ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต

ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืน อาศัยผลลำไยและลิ้นจี่เป็นอาหาร ตัวสีน้ำตาลอ่อน มีคู่ที่สองสีน้ำตาลลายดำ ขอบปีกด้านบนเป็นแถบสีดำ ขนาดของผีเสื้อกางปีกกว้างประมาณ 5 ซม. ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวผู้และตัวเมียมีขนาดไล่เรี่ยกัน ตัวเมียจะวางไข่ไว้เดี่ยวๆ ไข่มีขนาดเล็กกลมสีขาวไม่มีสิ่งปกคลุม และมักจะไข่ไว้บนยอดอ่อนใบอ่อน หนอนเมื่อฟักไข่ออกมาใหม่ๆ ตัวจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล มีแถบสีน้ำตาลตลอดลำตัว ขนาดตัวหนอนที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 3 - 4 ซม. ระยะตัวหนอน 9 - 14 วัน ตัวหนอนจะเข้าทำลายใบอ่อนและยอดอ่อน มีนิสัยชอบทิ้งตัวเมื่อได้รับความกระทบกระเทือนใกล้เข้าดักแด้ตัว จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงใช้ใบห่อหุ้มแล้วเจริญเป็นดักแด้

การป้องกันกำจัด
1. เขย่ากิ่งให้หนอนร่วงหล่นแล้วเก็บรวบรวมไปทำลายหรือนำไปเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่
2. เก็บรวบรวมดักแด้ไปทำลาย เช่น ฝัง หรือเผาไฟ
3. เมื่อลำไยแตกยอดอ่อน ถ้าพบมีการระบาดควรจะพ่นยาฆ่าแมลงคาร์บาริลใน อัตรา 30 - 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่ถ้าหนอนระบาดมากทำความเสียหายให้อย่าง รุนแรงควรพ่นด้วยยาฆ่าแมลงโมโนโครโตฟอสในอัตรา 15 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

แมลงค่อมทอง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypomeces squamosus Fab.การทำลายโดยกัดกินใบอ่อนและดอก ทำให้ใบเสียหายและชงักการเจริญเติบโต ดอกไม่เจริญ มักพบมากในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม และจะลดน้อยลงไปเองตามธรรมชาติในเดือนเมษายนและพบน้อยมากระหว่างฤดูฝน

รูปร่างและชีวประวัติ
เป็นแมลงจำพวกด้วงปีกแข็ง ตัวสีเหลืองถึงเขียวอ่อน มีปากกัดกินเป็นงวงยื่นเห็นได้ชัด ชอบอาศัยอยู่ใต้ใบเวลาถูกตัวหรือได้รับความกระเทือนจะทิ้งตัวลง ตัวแก่จะวางไข่ไว้ในดินเมื่อฟักและเจริญเป็นตัวหนอนจะอาศัยกินราก พืชอยู่ในดินและเป็นดักแด้อยู่ในดินจนกระทั่งเจริญเป็นตัวแก่ จะออกมากัดกินพืชและทำการผสมพันธุ์ต่อไป ระยะเป็นไข่กินเวลา 10 - 11 วัน ระยะหนอนอยู่ในดินนาน 5 - 6 เดือน ระยะเป็นดักแด้ 14 - 15 วัน

การป้องกันกำจัด
1. เขย่าต้นให้แมลงหล่นลงไปแล้วนำไปทำลาย
2. ใช้ยาฆ่าแมลงพวกคาร์บาริล ในอัตรา 30 - 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาเมท (แลนเนท) ในอัตรา 10 - 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
3. ถ้ามีการระบาดมากใช้ยาโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 15 - 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

ผีเสื้อมวนหวาน
ทางภาคเหนือเรียกว่า “กำเบ้อแดง” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Othreis fullonica พบระบาดในระยะที่ผลลำไยเริ่มแก่และใกล้เก็บเกี่ยว ทำลายผลโดยการใช้ส่วนของปาก (proboscis) เจาะแทงเข้าไปในผลไม้ที่ใกล้สุกหรือผลไม้สุก ทำให้ผลแก่และร่วงในที่สุด สำหรับลำไยเมื่อถูกผีเสื้อมวนหวานดูดกินแล้วจะร่วงภายใน 3 - 4 วัน ผลที่ร่วงเมื่อบีบดูจะมีน้ำหวานไหลเยิ้มออกมาตามรูที่ถูกเจาะ และเมื่อแกะผลดูจะพบว่าเนื้อในของลำไยจะเน่าเสียเนื่องจากเชื้อโรคหรือเชื้อยีสต์เข้าทำลาย แมลงชนิดนี้ออกหากินในเวลากลางคืน ระยะเวลาที่พบผีเสื้อมากที่สุดคือ 20.00 - 24.00 น.

หนอนกินดอกลำไย
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eublemma versicolora ตัวหนอนจะกัดกินดอกลำไยโดย ใช้ขี้หนอนและใยทำเป็นทางสีน้ำตาลไปตามกิ่งหรือช่อดอก ตัวหนอนกินไปถึงทางไหนจะมีทางไปถึงนั่น ซึ่งใช้เป็นที่สังเกตได้ง่าย หนอนจะทำลายดอกจนหมด

รูปร่างและชีวประวัติ
ลักษณะตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนหัวสีดำ ขนาดยาว 1.5 - 2.0 ซม. ตัวอ้วนใหญ่ ระยะตัวอ่อน 14 - 16 วัน ระยะเข้าดักแด้ 6 - 8 วัน ขนาดตัวและกางปีกแล้วประมาณ 2 - 3 ซม. ปีกสีน้ำตาลปนเทา ทั้งปีกคู่หน้าและคู่หลังมีทางสีน้ำตาลเข้มพาดยาวๆ จนถึงกลางปีก107

การป้องกันกำจัด
1. จับทำลายตัวหนอนที่พบตามช่อดอกเสีย
2. ถ้ามีระบาดมากควรใช้ยาฆ่าแมลงโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 15 - 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในระยะที่ดอกยังไม่บาน

หนอนเจาะกิ่งและลำต้น
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeuzera coffcae Nieten.เกิดจากผีเสื้อที่วางไข่ตามเปลือกของกิ่งแล้วฟักออกมาเป็นตัวหนอนเข้าเจาะกินกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหรือลำต้นแห้งตาย

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยของผีเสื้อขนาดเมื่อกางปีกประมาณ 4 ซม. ปีกคู่แรกและคู่หลังมีสีขาวและมีจุดดำทั้งปีกคู่แรก และจุดดำรอบขอบปีกคู่หลัง ผีเสื้อจะวางไข่มีสีเหลืองแดง และจะฟักเป็นตัวหนอนใน 9 - 10 วัน ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนมีจุดดำทั้งตัว พอโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีความยาวประมาณ 2 - 8 ซม. จากนั้นจะเข้าดักแด้อยู่ในรอยเจาะ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดส่วนที่ถูกทำลายที่มีตัวหนอนแล้วเผาไฟเสียและจับตัวแก่ที่มาเล่นไฟกลางคืนไปทำลาย
2. ใช้ยาดีดีเวพ (Dedevap) ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 5 ส่วน ฉีดเข้าไปตามรูที่มีหนอนแล้วใช้ดินเหนียวอุดไว้

หนอนเจาะกิ่งและลำต้น
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeuzera coffcae Nieten. เกิดจากผีเสื้อที่วางไข่ตามเปลือกของกิ่งแล้วฟักออกมาเป็นตัวหนอนเข้าเจาะกินกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหรือลำต้นแห้งตาย

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยของผีเสื้อขนาดเมื่อกางปีกประมาณ 4 ซม. ปีกคู่แรกและคู่หลังมีสีขาวและมีจุดดำทั้งปีกคู่แรก และจุดดำรอบขอบปีกคู่หลัง ผีเสื้อจะวางไข่มีสีเหลืองแดง และจะฟักเป็นตัวหนอนใน 9 - 10 วัน ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนมีจุดดำทั้งตัว พอโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีความยาวประมาณ 2 - 8 ซม. จากนั้นจะเข้าดักแด้อยู่ในรอยเจาะ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดส่วนที่ถูกทำลายที่มีตัวหนอนแล้วเผาไฟเสียและจับตัวแก่ที่มาเล่นไฟกลางคืนไปทำลาย
2. ใช้ยาดีดีเวพ (Dedevap) ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 5 ส่วน ฉีดเข้าไปตามรูที่มีหนอนแล้วใช้ดินเหนียวอุดไว้

เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง
แมลงจำพวกนี้ทำความเสียหายให้กับต้นลำไยโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน ช่อดอก และผล ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเหี่ยวแห้งไปในที่สุด นอกจากนี้ทั้งเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งยังขับของเหลวชนิดหนึ่งออกมา ของเหลวนี้จะเป็นอาหารของมด และเป็นแหล่งอาหารของราดำ เมื่อราดำเกิดขึ้นที่ผลจะทำให้ผลดูสกปรก ราคาผลผลิตจะต่ำ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดส่วนของพืชที่มีเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งอาศัยอยู่ไปเผาไฟเสีย
2. เมื่อพบเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งเริ่มระบาด ควรพ่นด้วยมาลาไธออน อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไพรีทรอยด์ อัตราส่วนตามฉลาก พ่นให้ทั่ว 2 - 3 ครั้งห่างกัน 10 วัน

 
 อ้างจาก
   
    
สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่
13 ถนนอารักษ์ ซอย 5 ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทร. 053 221228, 053 211448, โทรสาร 053 211868
    
    
    
    
    
    
    
    
    
    
    
    
    
IP : บันทึกการเข้า
สบายแมน
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,485



« ตอบ #232 เมื่อ: วันที่ 26 กันยายน 2012, 20:45:16 »

ท่านครับบำรุงต้นกันไว้ดีๆเน้อครับ ถ้าใส่สารบ่าต้องกลัว ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #233 เมื่อ: วันที่ 06 ตุลาคม 2012, 18:20:34 »


 
ท่านครับบำรุงต้นกันไว้ดีๆเน้อครับ ถ้าใส่สารบ่าต้องกลัว ยิงฟันยิ้ม
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

การผลิตลำไยในประเทศไทยส่วนใหญ่พื้นที่การผลิตอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ในอดีตการปลูกลำไยมีปัญหาที่สำคัญและเป็นปัญหาหลักของเกษตรกรเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้ผู้ปลูกลำไยเองสูญเสียรายได้ต่อปีเป็นจำนวนมาก ปัญหานั้นก็คือการออกดอกและติดผลไม่สม่ำเสมอของต้นลำไย แต่ปัจจุบันปัญหาเรื่องการออกดอกของลำไยสามารถแก้ไขได้ โดยการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) เพื่อกระตุ้นหรือชักนำการออกดอกของลำไย โดยเฉพาะในแหล่งผลิตลำไยที่จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย และพะเยา หรือที่ในแถบจังหวัดตาก กำแพงเพชร และจันทบุรี ส่วนการผลิตลำไยนอกฤดูเป็นอีกทางเลือกที่เกษตรชาวสวนลำไย โดยจะทำให้ผลผลิตลำไยออกมาไม่ตรงกับผลผลิตตามฤดูกาล เพื่อเป็นการเพิ่มราคาของผลผลิตลำไย หรือแม้กระทั่งช่วงในฤดูกาลเกษตรกรก็มีการใช้สารเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการออกดอกและติดผลของลำไยในฤดูกาล โดยการผลิตลำไยนอกฤดูมีข้อพิจารณาหลายๆ อย่างประกอบกันเพราะในแต่ละสภาพพื้นที่อาจจะมีการปฏิบัติไม่เหมือนกัน เช่นในที่ลุ่มที่มีระดับน้ำใต้ดินตื้น หรือที่สูงที่มีระดับน้ำใต้ดินลึก การทำลำไยนอกฤดูน้ำเป็นปัจจัยที่ค่อนข้างสำคัญ รวมทั้งต้องบำรุงต้นลำไยให้สมบูรณ์ เพราะการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต มีผลเฉพาะกระตุ้นให้ต้นลำไยออกดอกเท่านั้น การติดผลขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ให้ คุณภาพของผลผลิตและการฟื้นตัวของต้นลำไยขึ้นอยู่กับการจัดการของเจ้าของสวนเอง
การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตอย่างปลอดภัย
การใช้สารอย่างปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้
 เกษตรกรต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเอง โดยขณะใช้ต้องอย่าสัมผัสสาร ควรใส่ถุงมือทุกครั้งขณะให้สารทางดิน หรือหากให้สารทางใบจะต้องมีการป้องกันร่างกายโดยการสวมชุดป้องกันทุกครั้ง  ขณะพ่น และไม่ควรนึกว่า ไม่เป็นไรนิดเดียว เพราะเราควรถือคติว่าป้องกันไว้ก่อนที่จะสายเกินไป รวมทั้งการเก็บรักษา การเตรียมสารจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำจากนักวิชาการอย่างเคร่งครัด เพราะไม่เช่นนั้นแล้วหากเกิดผลร้ายตามมา จะได้ไม่คุ้มกับที่เสียไป และไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ วัวหายแล้วจึงล้อมคอก เป็นประจำครั้งแล้วครั้งเล่า การปฏิบัติในช่วงใช้สาร ต้องเตรียมอุปกรณ์ได้แก่ ชุดป้องกันที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ รองเท้าบู๊ตที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ แว่นตาชนิดที่กระชับลูกตาและอุปกรณ์ปิดจมูก ถุงมือยางและหมวก การพ่นสารโพแทสเซียมคลอเรตทางใบให้ปกิบัติเช่นเดียวกับการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงเพื่อป้องก้นการสัมผัสสารโดยตรง ต้องสวมชุดป้องกันให้มิดชิด การปฏิบัติหลังการใช้สาร หลังราดสารหรือหลังจากพ่นสารแล้วควรมีการทำความสะอาดชุดสวมใส่และทำความสะอาดร่างกาย   ระวังสัตว์เลี้ยงอย่าให้มากินหญ้าในบริเวณที่ให้สาร  ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ เช่นถังน้ำที่ใช้ผสมสาร หรือ ถังพ่นสารเคมี และเก็บสารเคมีที่เหลือไว้ให้มิดชิด และเก็บในที่ปลอดภัย
การใช้สารเพื่อให้ปลอดภัยต้นลำไย
 ต้นลำไยก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิตทั่วๆไป คือหากกินไม่อิ่ม ก็จะเกิดการไม่สมบูรณ์ ไม่แข็งแรง ดังนั้นหากเราให้ต้นลำไยออกดอกติดผลมากเกินไป และมีการจัดการไม่ดีแล้วต้นลำไยของท่านก็มีโอกาสทรุดโทรมได้ เนื่องจากการใช้สารทางดิน จะทำให้ลำไยออกดอกมาก ซึ่งจะต้องการการจัดการต่างๆ มากขึ้นไปด้วย ดังนั้น เกษตรกร  ควรไม่ปล่อยให้ลำไยมีการติดผลมากเกินไป ถ้าเป้นไปได้ควรมีการตัดออกบ้าง เพื่อเป็นการลดภาระของต้นลำไยในการหาเลี้ยงผล รวมทั้งควรมีการจัดการต่างๆเป็นอย่างดี ส่วนการให้สานนั้นเกษตรกร ไม่ควรไส่สารมากกว่าที่นักวิชาการแนะนำ เนื่องจากมีเกษตรกรบางราย มีการใส่สารซ้ำทางดินหลังจากที่ใส่ไปแล้ว 20 กว่าวันเมื่อลำไยไม่ออกดอก และจะใส่ซ้ำอีกมาลำไยยังไม่แทงช่อเพราะเกษตรกรชาวสวนลำไยใจร้อน แต่ในความเป้นจริงแล้วข้อมูล จากงานวิจัยนั้นลำไยอาจใช้เวลาถึง 45 วันถึงออกดอกก็ยังมี รวมถึงยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ยังไม่ทราบอีกมากมาย เช่น แสง ความชื้นและอุณหภูมิเป็นต้น ดังนั้นเกษตรกรจึงไม่ควรใส่สารซ้ำอีก  รวมทั้งเราอาจลดปริมาณการใช้สารที่อาจตกค้างในดิน ซึ่งอาจส่งผลต่อลำไยในระยะยาว มาเป็นการให้สารทางใบเพราะใช้สารน้อยกว่าทางดินถึง 20-30 เท่า และไม่มีผลตกค้างในดิน วิธีการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตที่นิยมใช้ 2 วิธีคือ
2.1. การปฏิบัติในการให้สารทางดิน
โดยการหว่านสารภายในทรงพุ่มแล้วให้น้ำตามหรืออาจทำเป็นร่องรอบทรงพุ่มแล้วให้สารในร่องแล้วให้น้ำตามหรือใช้สารละลายน้ำแล้วราดในทรงพุ่มก็ได้ และจะต้องมีการใสถุงมือและร้องเท้าบู๊ตในการราดสาร ห้ามสูบบุหรี่ขณะที่ราดสาร และต้องระวังอย่าให้สารสัมผัสกับผิวหนังหรืออวัยวะต่างๆ โดยตรงการให้สารทางดิน โดย โดยพันธุ์ดอ พันธุ์แห้ว พันธุ์ใบดำ พันธุ์พวงทอง พันธุ์เบี้ยวเขียวและพันธุ์พื้นเมือง ใช้สาร 5  ถึง10 กรัมต่อตารางเมตรของทรงพุ่ม ส่วนพันธุ์สีชมพู ใช้สาร 2.5-5  กรัมต่อตารางเมตรของทรงพุ่มระยะเวลาการออกดอกขึ้นอยู่กับฤดูกาลประมาณ 21-35 วันหลังการให้สาร และการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตทางดินยังส่งผลทำให้รายของต้นลำไยบางส่วนถูกทำลายเนื่องจากได้รับสารในระดับที่ความเข้มข้นสูง
2.2. การปฏิบัติในการพ่นสารทางใบ
ใช้ความเข้มข้นเท่ากันประมาณ 1-2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร (20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 2-4 ขีดต่อน้ำ 200 ลิตร) โดยพ่นให้ทั่วทรงพุ่มควรเน้นบริเวณปลายยอดสามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ แต่ในช่วงหน้าฝนถ้ามีฝนตกควรมีการพ่นสาร 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน การพ่นสารในช่วงก่อนฤดูกาล หรือให้ลำไยออกในฤดูกาลหรือหลังฤดูกาลไม่เกิน 2 เดือนจะทำให้ต้นลำไยมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกสูง และการพ่นสารทางใบควรมีการป้องกันแมลงในช่วงที่มีการแทงช่อดอก เพราะถ้าช่อดอกถูกทำลายช่อนั้นจะไม่มีการแทงช่อดอกตามมาอีก ซึ่งอาจเนื่องจากการพ่นใช้สารในปริมาณ จึงมีผลตกค้างในต้นน้อยจึงไม่สามารถชักนำให้ลำไยออกดอกได้อีก ซึ่งจะแตกต่างจากการให้สารทางดิน จะสามารถกระตุ้นให้ลำไยออกดอกได้ตามมาอีกหารมีการใช้สารมากเกินไป สารโพแทสเซียมคลอเรตที่ใช้จะไม่มีการผสมสารอื่นและไม่ต้องมีการผสมสารใดในการพ่น ไม่ควรใช้สารในปริมาณสูงกว่านี้ หากใช้ในอัตราสูงอาจทำให้ลำไยใบไหม้และร่วงได้ จากการทดลองพ่นเพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ แต่ถ้าจะให้มีการออกดอกเพิ่มขึ้นควรพ่น 2 ครั้ง การเตรียมสารโดยนำสารมาละลายสารกับน้ำเปล่าให้หมดก่อนแล้วนำสารเทใส่ถังพ่นยา และผสมสารจับใบตามอัตราที่กำหนดข้างสลาก
ควรพ่นในตอนเช้าหรือช่วงอากาศไม่ร้อน ถ้าพ่นช่วงอาการร้อนอาจทำให้เกิดอาการใบไหม้และถ้ามีฝนตก 1-2 วันหลังจากพ่นแล้วควรพ่นสารใหม่อีกครั้ง ควรพ่นในช่วงที่ลำไยมีใบแก่เท่านั้น เพราะหากพ่นในใบอ่อนลำไยอาจออกดอกไม่ดี คือช่อที่แตกออกมาจะมีการพัฒนาใบก่อนแล้วแตกดอกตามอาจทำให้ช่อดอกสั้นและการพ่นควรพ่นให้โดนส่วนของปลายยอดลำไยให้มากที่สุดเพราะจะเป็นจุดที่มีการออดอก
ผลกระทบจากการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต
หลังจากมีการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตกระตุ้นการออกดอกของลำไย 3-4 ปีที่ผ่านมาพอจะสรุปผลของการใช้สาร ทั้งทางด้านผลกระทบต่อต้นลำไย ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งผลกระทบทางด้านราคาซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้
1. การออกดอกและติดผลมากเกินไป เนื่องจากเกษตรกรปล่อยให้ต้นลำไยมีจำนวนกิ่งมากทำให้ต้นลำไยมีการออกดอกมากทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ การใช้สารครั้งแรกกับต้นลำไยที่ยังไม่เคยให้สารมาก่อน พบว่าต้นลำไยมีการออกดอกและติดผลมากเกินไปทำให้ผลผลิตมีขนาดเล็กไม่ได้คุณภาพ แนวทางแก้ไขโดยการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ จัดการดินและปุ๋ยอย่างเหมาะสมหรือการตัดแต่งช่อผล หรือการตัดแต่งกิ่งให้เหลือเฉพาะกิ่งที่สมบูรณ์ก่อนการให้สาร
2. การออกดอกซ้ำซ้อนหลังการให้สาร เกิดจากเกษตรกรมีการให้สารมาก โดยเฉพาะการให้สารทางดิน ส่วนมากจะเกิดกับต้นลำไยหรือกิ่งลำไยที่มีการออกดอกและติดผลน้อยหรือไม่ติดผล ต้นลำไยจะมีการแทงช่อดอกซ้ำ มีผลทำให้มีการติดผลซ้ำซ้อนทำให้ยากในการปฏิบัติดูแลรักษา ทำให้ช่อดอกค่อนข้างสั้นและได้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ (ภาพที่ 3)
3. การให้สารแล้วต้นลำไยแทงช่อดอกช้า ก่อนการให้สารไม่ว่าจะพ่นทางใบหรือให้ทางดิน จะต้องงดการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในช่วงก่อนการใช้สาร ควรใส่ในช่วงที่ต้นลำไยมีการแทงช่อดอกแล้วและการให้สารในช่วงฤดูฝนต้นลำไยมีการออกดอกน้อย จากการทดลองของ พาวินและคณะ (2544) พบว่า การให้สารกับต้นลำไยในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนมีการออกดอกได้ดีกว่าช่วงฤดูฝน ซึ่งลำไยมีการออกดอกค่อนข้างช้าเนื่องจากเป็นช่วงที่มีฝนตกบ่อยมากทำให้เกิดการชะล้างสารมาก และในฤดูฝนอากาศจะมืดครึ้มมีแสงแดดน้อย ทำให้ต้นลำไยออกดอกช้าหรือออกดอกน้อย และการผลิตลำไยในช่วงฤดูฝนมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงระบาดก็ฉีดสารป้องกันกำจัดลำบากเนื่องจากฝนตกบ่อยทำให้ชะล้างสารเคมีที่พ่น
 4. การติดผลต่ำ มักจะเกิดกับการให้สารในช่วงก่อนฤดูกาลและดอกลำไยไปบานในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอาจเกิดจากในช่วงฤดูหนาว การงอกของละอองเกสรต่ำ และแมลงช่วยผสมเกสรอาจจะออกหาอาหารน้อยในช่วงอากาศเย็น (โดยเฉพาะทางภาคเหนือ) ซึ่งหลังให้สารในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน นั้นหลังจากต้นลำไยมีการออกดอกและดอกบานในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำในเดือนธันวาคมถึงมกราคม มีผลทำให้การติดผลต่ำ หรือดอกบานในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันอาจทำให้การติดผลต่ำ
5. การให้สารซ้ำ คือให้สารซ้ำต้นเดิมในปีการผลิต โดยไม่ให้ลำไยแตกช่อใบและให้ต้นลำไยแตกช่อใบ 1 ชุด พบว่าต้นลำไยสามารถออกดอกได้ แต่ถ้าต้นที่ไม่ค่อยสมบูรณ์จะมีผลทำให้ช่อดอกสั้นและช่อดอกไม่ค่อยสมบูรณ์ หรือการให้สารในช่วงฤดูฝน ต้นลำไยกำลังแทงช่อใบถ้ามีการให้สารต้นลำไยจะมีการแทงใบอ่อนทันที บางครั้งออกดอกตามหรือบางครั้งเป็นช่อดอกน้อยมากทำให้เกษตรกรมีการให้สารซ้ำอีก อาจจะทำให้ต้นลำไยโทรมได้ เพราะรากลำไยถูกทำลายมาก
 การใช้สารให้ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม
 การให้สารทางดินนั้นคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ให้มีสารเหลือตกค้างในดิน ในแหล่งน้ำหรือในสภาพแวดล้อม ทางที่ดีเกษตรกรควรจะทำก็คือ ทำอย่างไรให้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด การให้สารทางดินนอกจากมีผลทำให้รากถูกทำลายแล้วยังส่งผลต่อจุลินทรีย์ในดินในจุดที่ให้สารบางส่วนตาย การแก้ไขโดยการใส่สารในระดับความเข้มข้นตามที่นักวิชาการแนะนำไม่ใส่มากเกินความจำเป็นดังที่ได้กล่าวมาแล้ว หรืออาจมาใช้กระตุ้นการออกดอกโดยการพ่นสารทางใบ เป็นต้น
ปัญหาของการทำลำไยนอกฤดูในอนาคตคือการเตรียมต้นลำไยให้มีความสมบูรณ์ก่อนการใช้สารกระตุ้นการออกดอกและทำอย่างไรไม่ให้ต้นลำไยมีการออกดอกและติดผลมากเกินไป  หรือออกดอกมากแต่ไม่ค่อยติดผล ที่สำคัญคือการผลิตลำไยให้มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการหรือทำให้ผลผลิตลำไยได้เกรดจัมโบ้มากๆ ซึ่งต้องอาศัยการจัดการหลายๆ ด้าน เช่นการควบคุมโรคและแมลง การจัดการด้านธาตุอาหารและการจัดการเรื่องน้ำ ซึ่งในอนาคตการผลิตลำไยจะแข่งขันกันในด้านคุณภาพมากขึ้น การใช้สารเคมีหรือสารกระตุ้นการออกดอกของลำไยผู้ใช้จะต้องมีความระวัดระวัง และให้คิดเสมอว่าสารเคมีที่ใช้มีอันตรายจะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องและทำอย่างไรกับการใช้สารเคมีให้มีความปลอดภัยสูงที่สุด รวมทั้งผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึง การลดต้นทุนการผลิตซึ่งสามารถทำได้โดยการลดการใช้สารเคมีทุกชนิดลงหรือใช้ให้เหมาะสม และผลผลิตต้องมีคุณภาพ
 
เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการเกษตร. 2542. คำแนะนำ การใช้สารกลุ่มคลอเรตเร่งการออกดอกลำไยอย่างปลอดภัย. พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 22 น.
ชิติ ศรีตนทิพย์ สันติ ช่างเจรจาและยุทธนา เขาสุเมรุ. 2542. ผลของสารโพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) ต่อการออกดอกนอกฤดูของลำไยพันธุ์ดอ. รายงานการสัมมนาฮอร์โมนพืชเพื่อการผลิตไม้ผลนอกฤดู. จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. วันที่ 9-11 มิถุนายน 2542 ณ โรงแรมเคพีแกรนด์. จันทบุรี.
ชิติ  ศรีตนทิพย์  ยุทธนา  เขาสุเมรุ สันติ ช่างเจรจาและรุ่งนภา โพธิ์รักษา. 2544. ผลของโพแทสเซียมคลอเรต โซเดียมไฮโปคลอไรท์ และแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ ต่อการออกดอกของลำไยพันธุ์ดอ. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 1. จัดประชุมโดย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. ระหว่าง วันที่ 11-13 กรกฎาคม 2544 ณ. โรงแรมมิราเคิลแกรนด์. กรุงเทพ ฯ.
พาวิน มะโนชัย วรินทร์ สุทนต์ วินัย วิริยะอลงกรณ์ นภดล จรัสสัมฤทธิ์ และเสกสันต์ อุสสหตานนท์. 2544. การผลิตลำไยนอกฤดูและการใช้สารโพแทเซียมคลอเรต. ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรม เรื่อง การจัดการสวนลำไย จากงานวิจัยสู่เกษตรกร ครั้งที่ 1 ในระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2544 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายน 2544 ณ. สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับสมาคมผู้ปลูกลำไยแห่งประเทศไทย.
 
 
IP : บันทึกการเข้า
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #234 เมื่อ: วันที่ 17 ตุลาคม 2012, 10:25:54 »

ดันกระทู้หน่อยครับไม่ทราบว่าเพื่อนสมาชิกชาวสวนลำใยทำ
อะไรบ้างกับสวนลำใยของท่านนะครับตอนนี้ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
nattae
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 319


« ตอบ #235 เมื่อ: วันที่ 22 ตุลาคม 2012, 20:19:12 »

ที่สวนผมกำลังแตกใบอ่อนรอบสอง ถ้าจะราดสาร ควรจะทำในช่วงใหนดีครับ แล้วช่วงนี้เราควรที่จะบำรุงต้นลำไยยังไงครับ ตอนนี้ผมให้ ทางใบ 0-52-34 ยาฆ่าแมลง ทางดิน 8-24-24 ต้นละ 2 ขีด จะทำแบบนี้ 4 อาทิตย์ แล้วจะราดสาร ไม่ทราบว่าแบบนี้จะได้ใหมครับ เพิ่งทำลำไยปีนี้ปีแรก ขอคำแนะนำด้วยนะครับ
IP : บันทึกการเข้า
ittisara
วิถีชีวิตที่ดีย่อมไม่หยุดยั้งการพัฒนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 426


มีดคมอยู่ในฝักคนล๊วกอยู่ในใจ


« ตอบ #236 เมื่อ: วันที่ 24 ตุลาคม 2012, 13:10:06 »

พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงลำไยตางหลายส่งเสียงดันกระทู้หน่อยครับ
IP : บันทึกการเข้า
maimo
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 255



« ตอบ #237 เมื่อ: วันที่ 05 พฤศจิกายน 2012, 13:41:54 »

สวนผมเพิ่งพ่นยาฆ่าแมลงผสมกับปุ๋ยเกล็ด 0 52 34 ไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้วคับ ช่วงนี้ฝนตกกำลังแตกใบออ่นพอดี
กะว่าจะใส่สารเดือน ธ.ค. เพราะต้องดูใบก่อนว่า แก่ได้ที่หรือยัง แต่ถ้าสวนใครสมบูรณ์ก่อน ยี่สิบ พ.ย. ก็ 25 พ.ย. เป็นต้นไปก็ราดสารได้เลยครับ ผมทำแบบนี้มาสองสามปีละ ได้ผลครับ แต่ต้องดูใบว่าแก่หรือยังนะครับ ไม่เกิน 10 ม.ค.แทงช่อแน่นอนครับ
IP : บันทึกการเข้า
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,174



« ตอบ #238 เมื่อ: วันที่ 05 พฤศจิกายน 2012, 14:35:30 »

มีท้ายสวน 7 ต้นเจ้า บ่ได้เก็บหน่วย บ่ได้แต่งกิ่ง มีคนบอกว่าให้ใส่ สาร หรือว่ามีวิธีบำรุงอย่างอื่นเจ้า
IP : บันทึกการเข้า
Addmobile
สวัสดีครับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,735


จริงจังจริงแต่จริงใจ


« ตอบ #239 เมื่อ: วันที่ 09 พฤศจิกายน 2012, 10:19:27 »

มีท้ายสวน 7 ต้นเจ้า บ่ได้เก็บหน่วย บ่ได้แต่งกิ่ง มีคนบอกว่าให้ใส่ สาร หรือว่ามีวิธีบำรุงอย่างอื่นเจ้า
ที่สวนส่วนมากฉีดพ่นทางใบครับถามว่าพ่นทางใบกับราดสารผลผลิตพอๆกันครับ
แต่ถ้ามีเวลาดูแลเยอะก็ลองราดสารดูก่อได้ครับ




วิธีราดสารลำไย
ราดสารลำไย
การราดสารลำไย หรือใส่สารลำไยทำอย่างไร..?
การราดสารมีอยู่หลายวิธีการ และได้ผลสรุปที่ต่างกัน ในพื้นที่ปลูก ที่แตกต่างกัน เช่น
* พื้นที่ปลูก มีความลาดเอียง
* รอบต้นที่ปลูก มีคอกกั้นน้ำล้อมรอบ
* ปลูกเป็นเนิน ขอบทรงพุ่มต่างระดับ จากการเช็ทตัวของดิน และดินที่อุ้มน้ำมีความแตกต่าง วิธีราดสารจึงต่างกันไป รวมถึงการใช้สารพ่นด้วย
ที่ทราบกัน
วิธีการที่ 1 ใช้สารโปรแตสเชียมผสมในน้ำ 200 ลิตร ( ปริมาณ แล้วแต่ไม่ทราบแน่นอน /** หรือหาค่าคำนวนจาก ต้นที่ต้องการราดสาร เช่น 10 ต้น ใช้สาร 5 กิโลกรัม / น้ำ 200 ลิตร - พ่นทางดิน ค่าการใช้ 20 ลิตร ต่อต้น - ได้ 10 ต้นพอดี ประมาณนี้.) ผสมแล้วใช้เครื่องฉีดพ่นลงดินทรงพุ่ม ที่เตรียมเรียบร้อยแล้วให้ทั่ว โดยการให้น้ำล่วงหน้าก่อนแล้วพอเปียกชุ่ม – หลังจากนี้ให้น้ำพอชุ่มอย่างสม่ำเสมอ 3/3/4/5/6วัน รอบ 21 วัน
*(หมายเหตุ ส่วนจะฉีดพ่นทางใบหรือเปล่านั้นแล้วแต่ละท่านต้องการ หากฉีด หลัง 7 – 14 วัน พ่น 2 ครั้ง ฉีดพ่น 2 ครั้งดีมาก )
*วิธีการที่ 2 ราดทางดินโดยการผสมสารโปรแตสเชียมกับน้ำในบัวรดน้ำ ตามอัตราที่ต้องการใช้ ราดทรงพุ่ม ที่เตรียมโคนต้นเรียบร้อยแล้ว – หลังจากนี้ให้น้ำพอชุ่มอย่างสม่ำเสมอ 3/3/4/5/6วัน รอบ 21 วัน
*(หมายเหตุ ส่วนจะฉีดพ่นทางใบหรือเปล่านั้นแล้วแต่ละท่านต้องการ หากฉีด หลัง 7 – 14 วัน พ่น 1-2 ครั้ง ฉีดพ่น 2 ครั้งดีมาก)
*วิธีการที่ 3 โปรยสารราดลำไย ราดลำไยในทรงพุ่ม แล้วให้น้ำโดยสปริงเกอร์ หรือราดน้ำตามให้สารละลาย หลังจากนี้ให้น้ำพอชุ่มอย่างสม่ำเสมอ 3/3/4/5/6วัน รอบ 21 วัน
*(หมายเหตุ ส่วนจะฉีดพ่นทางใบหรือเปล่านั้นแล้วแต่ละท่านต้องการ หากฉีด หลัง 7 – 14 วัน พ่น 1-2 ครั้ง ฉีดพ่น 2 ครั้งดีมาก)
*วิธีการที่ 4 ฉีดพ่นทางใบ 3 ครั้ง ฉีดพ่น 1 - 7 - 14 โดยไม่ราดสารทางดิน กรณีดินเปียกไม่สามารถบังคับทางดินได้ หลายๆวิธีที่ใช้กันอาจได้ผล และไม่ได้ผลต่างกัน
*วิธีการที่แน่นอน และเป็นหลักประกันการราดสารลำไยให้ได้ผลดี ทำตามขั้นตอน ผนวกกับการเตรียมความพร้อม เพราะขั้นตอนการราดสาร หรือฉีดพ่นสาร เป็นสิ่งสำคัญขั้นตอนหนึ่ง ที่เราท่านควรทราบ และนำไปประยุกต์ตามแบบของแต่ละที่ พื้นที่ในการปลูกที่ต่างกัน มันต้องประยุกต์เปลี่ยนแบบวิธีการได้ด้วย
พ่นสารทางใบ

*วิธีการที่ 4 วิธีฉีดพ่นทางใบอย่างเดียว แรกสุดเรื่องต้นลำไยต้องสมบูรณ์ก่อน ไม่น้อยไปกว่า 75 – 95 เปอร์เช็นต์ และจังหวะใบที่พร้อมในการที่จะฉีดพ่นด้วย ต้องเขียวพร้อมเต็มที่ ใบไม่ควรอ่อนจนเกินไป หรือแตกใบอ่อนบ่งบอกถึงความไม่พร้อม หากสีของใบเขียวเข้มสมบูรณ์จะได้ผลดี ( โดยเฉพาะในฤดูกาลได้ผลดีมาก )
(คัดมาคร่าวๆในเวปนะครับ)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 [12] 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 ... 34 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!