เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 03:53:03
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ข่าวจำนำข้าว..อั้นนี้ของจริงไม่โคมลอยครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 พิมพ์
ผู้เขียน ข่าวจำนำข้าว..อั้นนี้ของจริงไม่โคมลอยครับ  (อ่าน 1668 ครั้ง)
may111
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,104



« เมื่อ: วันที่ 07 มิถุนายน 2013, 09:13:15 »

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการประชุม คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่มี นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ว่า นอกเหนือไปจากการกำหนดราคารับจำนำข้าวรอบที่ 2 หรือข้าวนาปรังปี 2556 ให้เท่ากับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2555/2556 กล่าวคือข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 16,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 15,000-16,000 บาท โดยคาดว่าจะมีปริมาณข้าวนาปรังเข้าสู่โครงการประมาณ 7 ล้านตัน จากผลผลิตรวม 9 ล้านตันนั้นปรากฏที่ประชุมยังมีการหารือกันถึงการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ (zoning) มาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในปีต่อไปด้วย

"การรับจำนำ ข้าวนาปี 2556/2557 จะยังใช้ราคาเดิมในการรับจำนำ แต่นาปรัง 2557 จะมีการทบทวนราคาใหม่ให้สอดคล้องกับแผนการปรับเขตพื้นที่ปลูก (zoning) ที่กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ กำลังดำเนินการอยู่ว่าจะปรับ zoning อย่างไร หากพื้นที่ไหนไม่ได้ผลผลิตข้าวที่ดี หรือขาดทุน อาจจะมีการส่งเสริมให้ปลูกพืชทดแทน หรือมีแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือลดต้นทุนอย่างไร คาดว่า 1-2 เดือนจากนี้จะเรียบร้อย" นายบุญทรงกล่าว

ทั้ง นี้ นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามในประกาศกระทรวงเกษตรฯ เรื่องการกำหนดเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556

โดย เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว รวมทั้งประเทศ 76 จังหวัด 809 อำเภอ 5,880 ตำบล แบ่งเป็น ภาคเหนือ 17 จังหวัด 189 อำเภอ 1,332 ตำบล, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด 322 อำเภอ 2,494 ตำบล, ภาคกลาง 19 จังหวัด 132 อำเภอ 1,122 ตำบล, ภาคตะวันออก 7 จังหวัด 55 อำเภอ 323 ตำบล และภาคใต้ 13 จังหวัด 111 อำเภอ 609 ตำบล

อย่างไรก็ตามการนำ zoning มาใช้กับโครงการรับจำนำข้าวในอนาคตนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ร่วมกับการออกใบรับรองเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จากเกณฑ์ 1)ผลผลิตข้าวจะต้องอยู่ในเกณฑ์ผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดตามที่กำหนด กับ 2)เกษตรกรต้องปลูกข้าวสายพันธุ์ที่ได้รับการส่งเสริม ส่วนเกษตรกรที่ปลูกข้าวอายุสั้นที่มีอายุต่ำกว่า 110 วัน หรือพันธุ์ที่เป็นข้าวคุณภาพต่ำจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรับจำนำได้ ซึ่งเกณฑ์นี้ได้เริ่มใช้กับโครงการรับจำนำข้าวนาปรังปีนี้แล้ว

ก่อน หน้านี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกับกรมการข้าว ได้ทำการวิจัยการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ (zoning) ของข้าวในประเทศไทย แล้วเสร็จในปี 2556 และเตรียมจะออกประกาศเขต zoning ภายในเดือนมิถุนายน โดยผลการวิจัยระบุว่า กลุ่มพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรปลูกในปัจจุบันมี 3 กลุ่มพันธุ์ คือ กลุ่มข้าวเจ้า กลุ่มข้าวหอม และกลุ่มข้าวเหนียว และได้กำหนดเขตเหมาะสมที่จะปลูกข้าวไว้ 3 เขต คือ 1)เขตปลูกข้าวหอมมะลิ (พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15) ได้แก่ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กับภาคอีสานตอนบน 2)เขตปลูกข้าวเหนียว (พันธุ์ กข 6 และ กข 10) ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กับภาคเหนือตอนบน และ 3)เขตปลูกข้าวขาว (พันธุ์สุพรรณบุรี 1, ชัยนาท 1, พิษณุโลก 2, กข 41 และปทุมธานี 1) ได้แก่ เขตภาคเหนือตอนล่าง กับภาคกลาง โดยอัตราผลผลิตภายใต้เทคโนโลยีของชาวนาให้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 493 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตภายใต้เทคโนโลยีที่เหมาะสมตามคำแนะนำของกรมการ ข้าว จะให้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 20% เป็น 592 กิโลกรัม/ไร่

แหล่ง ข่าวจากวงการค้าข้าวตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุที่ กขช.จะนำการกำหนดเขตพื้นที่ปลูกข้าว หรือ zoning มาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ก็เพื่อที่จะลดจำนวนข้าวเปลือกที่รัฐบาลจะรับจำนำลง จากเดิมที่รัฐบาลประกาศจะรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดทั่วประเทศ

ทั้ง นี้การดำเนินโครงการรับจำนำตลอด 2 ปีที่ผ่านมา (2554/2555-2555/2556) ปรากฏมีข้าวเปลือกไหลเข้ามาในสต๊อกรัฐบาล แบ่งเป็น ปี 2554/2555 ข้าวเปลือกนาปี 6-7 ล้านตัน และนาปรัง 14-15 ล้านตัน กับปีการผลิต 2555/2556 รับจำนำข้าวเปลือกอีก 9.2 ล้านตัน ใช้วงเงินรับจำนำ 410,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 92% จากปี 2554/2555 ขณะที่ปริมาณการส่งออกข้าวปี 2555 มีเพียง 6.9 ล้านตัน หรือลดลง 35% จากปี 2554 ส่งผลให้เสียแชมป์มาอยู่อันดับ 3 เม็ดเงินรายได้จากการส่งออกข้าวมูลค่า 147,122 ล้านบาท ลดลง 24% จากปี 2554

"การ รับจำนำข้าวทุกเมล็ดของรัฐบาล ทำให้รัฐต้องแบกสต๊อกข้าวสารและปลายข้าวมากกว่า 10 ล้านตัน นอกจากจะทำลายตลาดส่งออกข้าวของเอกชน เกิดการทุจริตในโครงการ ไม่มีความโปร่งใสในการระบายข้าวที่ทุกวันนี้ รัฐบาลก็ยังตอบคำถามเรื่องข้าว G to G ถูกส่งไปที่ไหนไม่ได้แล้ว โครงการยังประสบภาวะการขาดทุนจากการขายข้าวต่ำกว่าต้นทุนการรับจำนำและต่ำ กว่าราคาตลาด ส่งผลให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ประสบปัญหาเงินหมุนเวียนในการรับจำนำข้าว เมื่อกระทรวงพาณิชย์ในฐานะผู้ระบายข้าวในสต๊อกไม่สามารถนำเงินมาคืนตามแผน การระบายข้าวที่วางเอาไว้ได้"

ดังนั้นการนำระบบ zoning ข้าวมาใช้ จึงกลายเป็น "ทางออก" ทางเดียวที่จะลดปริมาณข้าวเปลือกที่จะเข้าสู่โครงการรับจำนำข้าวต่อไปใน อนาคตได้ เบื้องต้นมีการคำนวณว่า หลังจากนำระบบนี้มาใช้ ประเทศไทยจะมีพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกข้าวประมาณ 38% ของพื้นที่ปลูกข้าวในปัจจุบัน ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปีราว 67 ล้านไร่ และข้าวนาปรังราว 16 ล้านไร่ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ขี้เหล้าอาวุโส
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,062



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 08 มิถุนายน 2013, 06:44:32 »

ว้าวๆๆๆๆๆๆ ตกใจ ตกใจ ตกใจ
IP : บันทึกการเข้า

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
jaroen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 425


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 08 มิถุนายน 2013, 20:11:14 »

มีทั้งข้อดีและข้อเสีย รัฐให้จำนำข้าวไม่กี่สายพันธุ์ ข้าวพื้นเมือง อายุสั้นสูญพันธุ์ รัฐแบกภาระไม่ไหว แต่ก็กลัวฐานเสียงหายจึงจัดโซนนิ่ง ไม่ได้เป็นฝ่ายไหน แต่คนรับกรรมก็คือชาวนาครับ
IP : บันทึกการเข้า
pradi
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 148


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 08 มิถุนายน 2013, 20:53:20 »

กรรม ของ ชาวนา โกรธ
IP : บันทึกการเข้า
c_nupong
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 239


อริยทรัพย์ที่ต้องแสวงหา


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 08 มิถุนายน 2013, 21:49:44 »

ประกายความคิด อดีตเด็กเลี้ยงควาย (ลูกชาวนา)
อยากเห็นชาวนาไทย มีฐานะความอยู่อย่างชาวนาญี่ปุ่นจังเลย(ภาครัฐของญี่ปุ่นให้ความคัญกับชาวนาเป็นอันมากแม้แต่การค้าเปิดเสรีเขาก็ยังปกป้องชาวนาของเขา)
แต่ก่อนชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ฟังดูแล้วมันหน้าภาคภูมิใจ(เหมือนรั้วของชาติ)
แต่เดียวนี้ไม่รู้หน้าใหนมาเหยียบชาวนาลงเป็นรากหญ้าชะงั้น มีหลายคนฉลาดแต่ก็หลับหูหลับภูมิใจ มันอนาถใจมั้ยครับ

IP : บันทึกการเข้า
attacha1
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 649



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 08 มิถุนายน 2013, 23:22:40 »

มะลิ105จำนำ15000/ตันหรือครับ
IP : บันทึกการเข้า
may111
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,104



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 10 มิถุนายน 2013, 16:28:59 »

แล้วนาปรังหมู่เฮาจะปลูกข้าวหยังกันนิ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
ขี้เหล้าอาวุโส
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,062



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 10 มิถุนายน 2013, 18:32:21 »

แล้วนาปรังหมู่เฮาจะปลูกข้าวหยังกันนิ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
ข้าวนึ่งก่อถูกปลูกข้าวจ้าวก่อบ่าได้อยู่ในโซนนิ่ง ยุ่งไปติกๆล่ะก่าผมว่า
IP : บันทึกการเข้า

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
chetta2499
เชษฐา 2499
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,138


จุดเทียนไขดีกว่านั่งแช่งความมืด


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 10 มิถุนายน 2013, 19:51:22 »

ทางออก ของชาวนาไทย ก็น่าจะมาใส่ใจเรื่องการแปรรูปข้าว โดยการส่งเสริม
ให้มีสถาบันวิจัยการแปรรูป เช่นเดียวกัย "ข้าวญี่ปุ่น" ขึ้นห้าง ก้อนเท่าหัวแม่มือราคา..?
ไก่เคเอฟซี  ตัวหนึ่งได้ราคาหลายเท่าตัว
เชื่อเถอะว่า ไม่กี่ปีข้างหน้า พื้นที่ทำนาจะลดลงแน่นอน เพราะ ๑.ปริมาณน้ำที่จะนำมาทำนาจะน้อยลง
เพราะต้องนำไปเป็นน้ำบริโภคส่วนหนึ่ง ๒. การส่งเสริมปลูกพืชทดแทนก็จะน่าจะมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น เช่นยางพารา  ปาล์มน้ำมัน  ถั่วอินคา  หญ้าเจียวกู่หลาน(ซาโปนิน) คนก็จะหันไปทำกันมากขึ้น ในขณะที่อ้อย/มันสัมประหลัง ก็ยังเป็นพืชที่ยังขาดแคลน


ในขณะที่พวกเราส่งลูกหลานไปเรียน ในสถบันต่าง ๆ ในสายสามัญ ซึ่งใช้เวลานาน+เงินทองที่ต้องจ่าย จนกว่าจะจบ หางานทำ  แต่เราละเลย สถาบันที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรโดยตรงก็คือ "วิทยาเกษตรและเทคโนโลยี่" ต่าง ๆ กลับไม่มีคนเรียน ถึงแม้จะเรียนฟรีก็ตามที แล้วอย่างนี้ ผลผลิตทางการเกษตรของพวกเรา จะมีทางออกอื่นไหม นอกจากรอให้รัฐบาลเข้ามาอุ้ม ให้รอดไปวัน ๆ ด้วยนโยบายหาเสียงเอาใจประชาชน  แต่มันไม่ใช่ออกที่ดีที่สุดนั่นเอง
IP : บันทึกการเข้า

ฟาร์มผลิตไก่ชนคุณภาพ จังหวัดเชียงราย
ซุ้มไก่ชนลูกพ่อขุนฯเชียงราย

htt://www.facebook.com/chetta worapitbenja

โทร 0892576293/0808979330
Black majic
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 265


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 10 มิถุนายน 2013, 19:59:13 »

ในความเป็นจริงนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลไม่ได้มุ่งที่จะดูแลให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ต้องการที่จะได้คะแนนเสียงในการเข้ามาบริหารประเทศ เงินที่ใช้ก็เป็นเงินภาษีของชาติ ขาดทุนก็ชาติขาดทุน แต่ตัวเองได้คะแนนเสียง ได้เป็นรัฐบาลได้มีอำนาจ ถ้าจะพูดกันตรงๆนโยบายที่เป็นนโยบายประชานิยมนั้นเป็นนโยบายที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งความยั่งยืน ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงและความถูกต้อง เพราะเป็นนโยบายเสกสรรปั้นแต่ง ต้องใช้เงินเยอะทำให้คนชอบที่จะได้อะไรมาง่ายๆ เปรียบเราเลี้ยงลูกโดยวิธีปนเปรอเงินให้ลูกใช้จ่าย ลูกก็ชินการการได้เงินมาง่ายๆเมื่อวันหนึ่งพ่อแม่หมดเงิน หรือไม่มีพ่อแม่ก็ทำมาหากินไม่เป็น
IP : บันทึกการเข้า
pradi
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 148


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 10 มิถุนายน 2013, 21:16:41 »

ในความเป็นจริงนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลไม่ได้มุ่งที่จะดูแลให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ต้องการที่จะได้คะแนนเสียงในการเข้ามาบริหารประเทศ เงินที่ใช้ก็เป็นเงินภาษีของชาติ ขาดทุนก็ชาติขาดทุน แต่ตัวเองได้คะแนนเสียง ได้เป็นรัฐบาลได้มีอำนาจ ถ้าจะพูดกันตรงๆนโยบายที่เป็นนโยบายประชานิยมนั้นเป็นนโยบายที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งความยั่งยืน ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงและความถูกต้อง เพราะเป็นนโยบายเสกสรรปั้นแต่ง ต้องใช้เงินเยอะทำให้คนชอบที่จะได้อะไรมาง่ายๆ เปรียบเราเลี้ยงลูกโดยวิธีปนเปรอเงินให้ลูกใช้จ่าย ลูกก็ชินการการได้เงินมาง่ายๆเมื่อวันหนึ่งพ่อแม่หมดเงิน หรือไม่มีพ่อแม่ก็ทำมาหากินไม่เป็น
รอบๆตัวผมมีแต่คนที่ชอบนโยบายอัปลักษณ์ทั้งนั้นแหละ เราก็เลยฟังเงียบๆ แล้วคอยหาช่องพูดทำให้ตาสว่างบ้าง แต่อย่างว่าแหละ ศรัทธามันอยู่เหนือเหตุผล ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ขี้เหล้าอาวุโส
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,062



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 11 มิถุนายน 2013, 09:39:00 »

ในความเป็นจริงนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลไม่ได้มุ่งที่จะดูแลให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ต้องการที่จะได้คะแนนเสียงในการเข้ามาบริหารประเทศ เงินที่ใช้ก็เป็นเงินภาษีของชาติ ขาดทุนก็ชาติขาดทุน แต่ตัวเองได้คะแนนเสียง ได้เป็นรัฐบาลได้มีอำนาจ ถ้าจะพูดกันตรงๆนโยบายที่เป็นนโยบายประชานิยมนั้นเป็นนโยบายที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งความยั่งยืน ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงและความถูกต้อง เพราะเป็นนโยบายเสกสรรปั้นแต่ง ต้องใช้เงินเยอะทำให้คนชอบที่จะได้อะไรมาง่ายๆ เปรียบเราเลี้ยงลูกโดยวิธีปนเปรอเงินให้ลูกใช้จ่าย ลูกก็ชินการการได้เงินมาง่ายๆเมื่อวันหนึ่งพ่อแม่หมดเงิน หรือไม่มีพ่อแม่ก็ทำมาหากินไม่เป็น
รอบๆตัวผมมีแต่คนที่ชอบนโยบายอัปลักษณ์ทั้งนั้นแหละ เราก็เลยฟังเงียบๆ แล้วคอยหาช่องพูดทำให้ตาสว่างบ้าง แต่อย่างว่าแหละ ศรัทธามันอยู่เหนือเหตุผล ยิ้ม
+2
IP : บันทึกการเข้า

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
naveeone
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 185



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 11 มิถุนายน 2013, 11:49:45 »

ชอบกระทู้นี้ขนาด ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
may111
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,104



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 11 มิถุนายน 2013, 12:27:03 »

การเลือกตั้งมันเป็นโปรโมชั่นอย่างหนึ่งเนาะ...คิดว่าใช่ป่ะครับ555+
IP : บันทึกการเข้า
เมือง_ คนเจียงฮาย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 158



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 11 มิถุนายน 2013, 20:56:10 »

ในความเป็นจริงนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลไม่ได้มุ่งที่จะดูแลให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ต้องการที่จะได้คะแนนเสียงในการเข้ามาบริหารประเทศ เงินที่ใช้ก็เป็นเงินภาษีของชาติ ขาดทุนก็ชาติขาดทุน แต่ตัวเองได้คะแนนเสียง ได้เป็นรัฐบาลได้มีอำนาจ ถ้าจะพูดกันตรงๆนโยบายที่เป็นนโยบายประชานิยมนั้นเป็นนโยบายที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งความยั่งยืน ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงและความถูกต้อง เพราะเป็นนโยบายเสกสรรปั้นแต่ง ต้องใช้เงินเยอะทำให้คนชอบที่จะได้อะไรมาง่ายๆ เปรียบเราเลี้ยงลูกโดยวิธีปนเปรอเงินให้ลูกใช้จ่าย ลูกก็ชินการการได้เงินมาง่ายๆเมื่อวันหนึ่งพ่อแม่หมดเงิน หรือไม่มีพ่อแม่ก็ทำมาหากินไม่เป็น

รอบๆตัวผมมีแต่คนที่ชอบนโยบายอัปลักษณ์ทั้งนั้นแหละ เราก็เลยฟังเงียบๆ แล้วคอยหาช่องพูดทำให้ตาสว่างบ้าง แต่อย่างว่าแหละ ศรัทธามันอยู่เหนือเหตุผล ยิ้ม
+2x100
IP : บันทึกการเข้า

จงฝืนกระแสแห่งใจที่ไหลลงต่ำในทุกเวลาเถิด ฮักห้วยน้ำฮาก
jaroen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 425


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 11 มิถุนายน 2013, 21:17:14 »

ผมทำนาโดยอาศัยน้ำแม่กกผันน้ำเข้าเหมืองส่งน้ำเข้าแปลงนา ตอนนี้พม่าสร้างเขื่อนปิดน้ำกก ถ้าเขาแห้งแล้ง เขาต้องกักเก็บน้ำไว้แน่ น้ำที่ปล่อยลงมาก็จะน้อยลง ก็ยังนึกห่วงเหมือนกันว่าอนาคตการทำนาบ้านเราจะเป็นอย่างไร
IP : บันทึกการเข้า
may111
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,104



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 12 มิถุนายน 2013, 09:33:39 »

สงสัยว้าแดงจะกึดการใหญ่ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ขี้เหล้าอาวุโส
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,062



« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 12 มิถุนายน 2013, 09:56:18 »

ในความเป็นจริงนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลไม่ได้มุ่งที่จะดูแลให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ต้องการที่จะได้คะแนนเสียงในการเข้ามาบริหารประเทศ เงินที่ใช้ก็เป็นเงินภาษีของชาติ ขาดทุนก็ชาติขาดทุน แต่ตัวเองได้คะแนนเสียง ได้เป็นรัฐบาลได้มีอำนาจ ถ้าจะพูดกันตรงๆนโยบายที่เป็นนโยบายประชานิยมนั้นเป็นนโยบายที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งความยั่งยืน ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงและความถูกต้อง เพราะเป็นนโยบายเสกสรรปั้นแต่ง ต้องใช้เงินเยอะทำให้คนชอบที่จะได้อะไรมาง่ายๆ เปรียบเราเลี้ยงลูกโดยวิธีปนเปรอเงินให้ลูกใช้จ่าย ลูกก็ชินการการได้เงินมาง่ายๆเมื่อวันหนึ่งพ่อแม่หมดเงิน หรือไม่มีพ่อแม่ก็ทำมาหากินไม่เป็น

รอบๆตัวผมมีแต่คนที่ชอบนโยบายอัปลักษณ์ทั้งนั้นแหละ เราก็เลยฟังเงียบๆ แล้วคอยหาช่องพูดทำให้ตาสว่างบ้าง แต่อย่างว่าแหละ ศรัทธามันอยู่เหนือเหตุผล ยิ้ม
+2x100
ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
may111
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,104



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 17 มิถุนายน 2013, 09:40:00 »

มีข่าวเรื่องจำนำข้าวเยอะมาก เห็นว่าวันนี้จะมีการสรุปตัวเลขขาดทุน และมีการประชุมของอะไรไม่รู้อีก..(ลืม) ใครมีข่าวสาร หรือมีความคิดเห็นยังไงตอบกันด้วยนะครับ อิอิ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
may111
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,104



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 17 มิถุนายน 2013, 09:53:57 »

กขช.นัดสรุปผลตัวเลขขาดทุนรับจำนำข้าวบ่ายนี้

 วันที่ 17 มิ.ย. นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้มีตัวเลขจำนำข้าวชี้แจงอยู่ 2 โครงการ ที่ทำมาตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. 2556 ส่วนฤดูปี 2555/2556 กำลังถกเถียงเรื่องสต๊อกข้าวอยู่ประมาณ 2 ล้านตัน ซึ่งทางคณะอนุกรรมการปิดบัญชีจำนำข้าว จะเป็นผู้ประชุมในเช้าวันนี้ และจะสามารถสรุปได้ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ในช่วงบ่าย และจะสามารถนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ได้ ส่วนตัวเลขหากจะให้ชัดเจน จะต้องมีการปิดบัญชี 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม แต่ตัวเลขที่ใช้เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น

 ทั้งนี้ การตั้งราคา 15,000 บาท แต่ชาวนาได้ 13,000 บาท จำนวนเงินที่หายไป 2,000 บาทนั้น เป็นเพราะรัฐบาลจ่ายตามคุณภาพของข้าว ส่วนต้นทุนข้าวที่พบว่ายังมีความคิดที่แตกต่างกัน คงไม่มีปัญหาเพราะจะคำนวณตามผลค่าใช้จ่ายมากที่สุด ทั้งนี้ ในส่วนขั้นตอนจำนำข้าวที่ล่าช้า รัฐบาลดำเนินการแก้ไขแล้ว 
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ของผมจำนำได้10บาทปาย  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!