เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 21:21:46
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ทำสมาธิไม่สำเร็จ ทำใจให้นิ่งไม่ได้ ใครแนะนำได้ ช่วยด้วยค่ะ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 พิมพ์
ผู้เขียน ทำสมาธิไม่สำเร็จ ทำใจให้นิ่งไม่ได้ ใครแนะนำได้ ช่วยด้วยค่ะ  (อ่าน 12278 ครั้ง)
Alisa_An
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2012, 15:29:56 »

อยากดับทุกข์ที่อัดแน่นอยู่ตอนนี้ แต่นั่งสมาธิ ทำใจให้ว่างไม่ได้เลย แค่ใช้ชีวิตให้เป็นปกติยังไม่ได้ ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ทำอะไร มันเหมือนทุกอย่างรอบตัวเป็นเข็ม ทิ่มแทงเราอยู่ตลอดเวลา เคยปฏิบัติธรรมมาบ้างก่อนหน้า ศึกษาเรื่องนี้มาพอสมควร แต่พอมาเจอทุกข์ครั้งนี้กลับตั้งรับไม่ได้เลย ความทุกข์มันบังตา พยายามจะใช้เหตุผล ใช้ธรรมมะ แต่ไม่สำเร็จ เหมือนคนหลงทางเลย ทั้งที่รู้ว่าทำยังไงถึงจะดับทุกข์ได้ แต่กลับทำไม่ได้ ฉันสับสน ไม่รู้จะหาทางออกยังไง รอให้เวลาช่วยรักษา ก็คงยาก ฉันพยายามทำสมาธิ แต่สิ่งที่ทำให้ทุกข์ใจมันวนเวียนรบกวนใจตลอด ฉันจะทำยังไงดี
IP : บันทึกการเข้า
Yai Oros
สมาชิกลงทะเบียน
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 452


ดูดวงเปรียบเหมือนดูแผนที่ของชีวิต เส้นทางของชีวิตคุณเป็นคนเลือก


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2012, 18:49:30 »

ความตั้งใจที่จะทำสมาธินั้นเป็นความตั้งใจที่ดีครับ การทำสมาธิต้องค่อยๆทำ พระอาจารย์ที่สอนเรื่องสมาธิให้กับผมท่านสอนว่า ถ้าใจจะคิดไปเรื่องอื่นๆตอนนั่งสมาธิก็เป็นเรื่องปกติ พอเราระลึกได้ว่ากำลังนั่งสมาธิอยู่ก็กลับมาทำสมาธิใหม่ แรกๆยังไงก็อดนึกถึงที่มีปัญหาอยู่ครับ ครั้งแรกๆได้สัก 5-10นาที โดยไม่คิดเรื่องอื่นๆก็ว่าดีแล้วครับ เอาใจช่วยและเป็นกำลังใจให้ครับ ชีวิตคนเราก็เป็นอย่างงั้แหละครับ วันหนึ่งมีขึ้นก็ต้องมีลงเป็นเรื่องธรรมดาครับ  มีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ และก็มีดับไป ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์หรือว่าความสุข และสรรพสิ่งครับ
IP : บันทึกการเข้า

รับดูดวงทางโทรศัพท์ ด้วยไพ่ยิปซี 085-0396222
วันจันทร์-ศุกร์ 18.00-21.30 วันเสาร์-อาทิตย์ 10.00-21.30
www.moryai.com
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2012, 22:29:11 »

    อาศัยคำขอร้องของ จขกท.จึงพอมีเหตุสมควรให้ผู้ที่มีสถานะ"กัลยาณมิตร"ของสาธุชน
ผู้เป็นเพื่อนร่วมทุกข์อย่างอาตมาควรเข้ามาให้ข้อแนะนำ เท่าที่ประสบการณ์จากการภาวนา
ในแนวทางตาม สติปัฏฐาน ซึ่งเป็นทางดับทุกข์ตามมรรควิธีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พอเป็นเบื้องต้นดังนี้.
    จู่ๆด้วยก้อนทุกข์ที่อัดแน่นเต็มหทัยรูปหรือกลางหว่างอกด้วยอาการ อึดอัด ขัดข้อง รุ่มร้อน กระวนกระวาย หายใจไม่เต็มอิ่ม ผุดลุกผุดนั่ง หวาดกังวล สับสน จับต้นชนปลายไม่ถูกเหล่านี้
พลันอยากดับมันในทันใดแล้วทำใจให้ว่างในพริบตานั้น มันเป็นไปไม่ได้เลยในบุคคลผู้ไม่ได้ฝึกเจริญสติจนอยู่ในขั้นชำนาญ,เปรียบเสมือนคนวิ่งมาอย่างเต็มกำลังแล้วหยุดลงกระทันหัน ผลที่เกิดขึ้นคืออาการหัวใจเต้นเร็วแรง ผิดจังหวะ มีอาการเหมือนดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นบางคนถึงกับเกิดอาการช็อคอาจถึงขั้นอันตรายน่ากลัว,
    ฉันใด,การนั่งสมาธิการนั่งสมาธิเพื่อให้จิตนิ่งในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้จึงเป็นไปไม่ได้เลย
เพียงแค่คิดที่จะทำสมาธิเพื่อให้เกิดความสงบนั้นก็ผิดแล้วล่ะ.เรื่องนี้ยกไว้ยังไม่ขอกล่าว มาพูดถึงปัญหาของ จขกท.ก่อนดีกว่า
     ตอนนี้คุณกำลังเกิดความทุกข์มากมายมหาศาลและพยายามที่จะหาวิธีดับมัน จึงได้ใช้วิชาที่ได้ศึกษาเรียนรู้มาเพื่อหวังว่าจะดับทุกข์ได้ แต่ผลกลับตรงกันข้ามรังแต่จะเพิ่มความทุกข์ให้มากขึ้นโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้ยิ่งฟุ้งซ่านทุกข์เลยทับถมทวีคูณ,อันที่จริงในมุมมองของนักภาวนามืออาชีพสภาวะที่เกิดกับคุณถือได้ว่าคือวิกฤติในโอกาสเลยทีเดียว,ใครกันจะ "เห็น"ทุกข์ได้ขนาดนี้
     เพราะเมื่อเห็นทุกข์เท่ากับเห็นเหตุที่เกิดทุกข์ด้วยและสภาวะดังกล่าวก็จะทำให้เห็นถึงความดับทุกข์และเห็นทางแห่งความดับทุกข์ไปพร้อมๆกัน,แต่นั่นเป็นเรื่องภายหลังต่อเมื่อคุณฝึกเจริญสติถึงระดับหนึ่งแล้วเท่านั้น.
     อาตมากำลังจะบอกว่าในเรื่องทุกข์นี้อย่าพยายามใช้เหตุผลกับมันเชียว,เพราะการใช้เหตุผลมันเป็นเรื่องของทางโล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 เมษายน 2012, 23:50:09 โดย jitdee » IP : บันทึกการเข้า
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2012, 23:37:52 »

เพราะการใช้เหตุผลมันเป็นเรื่องทางโลกความจริงโดยสมมติแต่ความทุกข์ที่คุณประสบมันเป็นเรื่องทางธรรมความจริงโดยสภาวะมันจึงเดินสวนทางกันเสมอดังนั้นวิธีแก้ทุกข์ที่หวังผลได้และไม่มีผลข้างเคียงควรกระทำดังนี้.พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า  - หน้าที่ต่อทุกข์คือ  รู้
                                                                            - หน้าที่ต่อสมุทัยคือ  ละ
                                                                            - หน้าที่ต่อนิโรธคือ  ทำให้แจ้ง
                                                                            - หน้าที่ต่อมรรคคือ  ทำให้เจริญ
     เมื่อเป็นเช่นนี้เมื่อเกิดความทุกข์ขึ้นเราต้องยอมรับในสภาวะที่เป็นจริงด้วยการเผชิญหน้ากับความจริงนั้นๆด้วยวิธีนี้.
                   1.ก่อนอื่นคุณควรปลีกตัวอยู่ในที่เงียบๆคนเดียวเช่นในห้องแอร์ที่เงียบกริบ
                   2.นั่งในท่าขัดสมาธิ ด้วยกิริยาผ่อนคลายมากที่สุด
                   3.สูดลมหายใจลึกๆแรงๆทั้งเข้าและออก 4-5 ครั้ง
                   4.หายใจตามปรกติ
                   5.สังเกตความรู้สึกในปัจจุบันขณะว่าเป็นอย่างไร
                   6.รู้สึกตัวให้ทันกับความรู้สึกในปัจจบันขณะเช่น รู้สึกถึงจังหวะการสูบฉีดเลือดของหัวใจ,รู้สึกถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ,รู้สึกถึงการเต้นตุบๆของอวัยวะภายในส่วนใดส่วนหนึ่ง,รู้สึกต่อความรู้สึกในการหายใจออก,รู้สึกต่อความรู้สึกในการหายใจเข้า,รู้สึก
ต่อความรู้สึกที่อึดอัดกลางทรวงอก,รู้สึกต่อความรู้สึกที่เจ็บแปลบเสียว,รู้สึกต่อความรู้สึกทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้นอย่าให้พลาดแต่ถ้าพลาดก็จงเริ่มต้นรู้สึกที่ปัจจุบันขณะทันที
                   7,คอยสังเกตจิตใจว่าเป็นอย่างไรและรู้สึกให้ทัน รู้แล้วจบตรงที่รู้ไม่คิดวิจารณ์
ปรุงแต่ง ถ้าใจมันหนีไปคิดจงกลับมาเริ่มรู้สึกที่ปัจจุบันขณะเสมอๆ
           ทั้งหมดนี้ควรกระทำด้วยสภาวะตามความเป็นจริงโดยไม่ต้องไปคิดถึง สมาธิ ฌาน หรือแม้กระทั่งความสงบใดๆ  นี้เป็นวิธีหนึ่งซึ่งขอยืนยันว่าสามารถแก้ปัญหาเรื่องทุกข์ได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และคุณสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมากมายอะไรเลย
เมื่อคุณมีทุกข์จงอาศัยทุกข์นั่นแหละเป็นทางออกด้วยการเผชิญหน้ากับมันอย่างมีสติดังได้กล่าวไปแล้ว  อ้อ...วิธีนี้ใช้ได้โดยธรรมไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับผู้หนึ่งผู้ใดเป็นการเฉพาะ ลงมือเถอะอาจบางทีทุกข์ครั้งนี้จะส่งผลให้ท่านเกิดดวงตาเห็นธรรมก็เป็นได้.
                                                    เจริญธรรม.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 เมษายน 2012, 09:27:25 โดย ap.41 » IP : บันทึกการเข้า
ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,008


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2012, 09:31:28 »

แก้ให้แล้วนะครับ เหตุผลที่กระทู้ขึ้นไม่ครบ เพราะ อาจารย์ไปใช้ [.............. ] ซื่งเป็นโค้ดของ HTML คือสำหรับการเขียนเว็บนะครับ มันจะขึ้นเป็นสัญญาลักษ์ครับ ให้ใช้ (.................. )  ตัวนี้แทนครับ
IP : บันทึกการเข้า

Alisa_An
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2012, 10:59:41 »

ขอขอบพระคุณสำหรับทุกๆคำตอบค่ะ ดิฉันจะพยายามทำตามคำแนะนำ แต่แค่ได้อ่านก็ทำให้รู้สึกดีขึ้นมาก ขอบพระคุณจริงๆค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
poupoushop.com
~..Rose Apple..~
สมาชิกลงทะเบียน
มัธยม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 719


แม่ค้า-คนเชียงใหม่.


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2012, 16:37:02 »

 
นั่งสมาธินานไม่ได้เหมือนกันเลยค่ะ เพราะตัวเองเป็นคนสมาธิสั้น คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา ^^
IP : บันทึกการเข้า

ชุดผ้าปูที่นอนราคาถูก http://poupoushop.com
ร้านLine https://shop.line.me/@poupoushop
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 24 เมษายน 2012, 01:31:15 »

ฝึกปฏิบัติ ก็ดี ที่ ได้เรียนใน ห้องปฏิบัติการทดลอง(lab)
เจอ ภาวะจริง คือ ได้ลงภาคสนาม

อลิสา คุณ เจอ ของจริง แบบ ทดสอบกัมมัฏฐาน ถ้าผ่าน เดี๋ยว ก็ คงเจอข้อใหม่อีก ดั่ง นักมวยไต่อันดับไปเพื่อมุ่งสู่ แชมป์ (นิพพาน)

อริยสัจจ์ 4
คุณเจอ ด่านแรก ของจริง ไม่ใช่ ของจำ
ผมเขียนมา ว่าคุณ เจอ ทุกข์อริยสัจจะ นีี่่่่้้้้้้้แค่ ของจำ ทฤษฎีจากผมจำมา
ถ้าผมเจอเองเช่นคุณ อาจนั่งสมาธิ แล้วฟุ้งสร้าน เข้าโรงบาลบ้า ก็ได้ครับ
 ขอเป็นกำลังใจ สู้ ๆ ครับ


สำหรับ
คุณสมาธิสั้น
 ผม ว่า คุณ คิดไปเองครับ
สมมุติ ว่า เราเข้าใจ ว่าตนบ้า ครูบาอาจารย์นักปฏิบัติ ลป.ชา มั้ง ท่านว่า ไม่ใช่ คนบ้า ครับ
ฝึกตนฝึกใจ เสาะหาใจตน หา กัลยาณมิตร อาจเจอ สายบุญสัมพันธ์ ของท่านได้ครับ

ลามะทิเบต ท่านไม่ได้ หลง ครู หลงอาจารย์ หรือ ผู้ใด ไม่ติดกระแส(ไม่ อินเทรน กะใครๆ) สมมุติ ว่าท่านอธิษฐานรู้แล้วว่า อาจารย์ ที่ท่านจะต้องพบในอนาคตอันใกล้ ต้องใครก่อน ใครหลัง ท่าจักไปหา ตามลำดับ ลำดา ไม่ได้ แบบว่า ใครดัง ตอนนี้ ก็จะไป หาก่อนเสียให้ได้ไกล ใกล้ ไม่เกี่ยง เอาไว้คุย เช่น พวกเขียนบนเสื้อยืด
เมืองปาย ไปมาแว้ววววววววววววว
ไป เกาะช้างงงงงงงงงงงง  มาแล้วววววววววววววววว

ผมลูกศิษย์ อาจารย์อิทธิพัทยาแห่ง ปัณฑิตารมย์ สำนัก ที่คนกรุงเทพ ชอบมาฝึก บ้างมา บ่อย บ้างมา แค่คืนเดียว บ้างมา ไม่ข้ามคืน น่า จะเอาแบบอินเทรน กันการตกกระแส

บ้างมาฝึกแล้ว ได้ปิติสุข คุณภาพจิตพัฒนา
 แต่ ผม ศิษย์โข่ง ไปยังไม่ ถึงไหน ไม่ง่วง ก็ ฟุ้ง ประจำ ครับ

เปิดดูโปรแกรม อาจารย์อิทธิ จาก กูเกิล ได้ ครับ
ไม่มีการสมาทานศีล อยาก ถือ ศีล5 ศีล 8 ก็ถือเอง

แต่เน้น การปฏิบัติเริ่ม และ เลิกพร้อมกัน
นอกเวลาฝึก ก็ฝึกเองตามสบาย


โชคดีครับ สาธุ

หนานธง 081 87 54 209
IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 25 เมษายน 2012, 17:50:07 »

แก้ให้แล้วนะครับ เหตุผลที่กระทู้ขึ้นไม่ครบ เพราะ อาจารย์ไปใช้ [.............. ] ซื่งเป็นโค้ดของ HTML คือสำหรับการเขียนเว็บนะครับ มันจะขึ้นเป็นสัญญาลักษ์ครับ ให้ใช้ (.................. )  ตัวนี้แทนครับ
ขอบพระคุณครับท่านอาจารย์ครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
GTO
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 617


ติดต่อ 0864412428


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 26 เมษายน 2012, 12:42:10 »

ตัดไปแต่ต้นลมครับ   คุณคิดหรือกลุ้มใจเรื่องอะไร  ก็ตัดสินใจให้เด็ดขาด  แค่นั้นแหละต้นไปทีละเรื่องๆ สุดท้ายก็ไม่ เหลือเรื่องอะไรให้คิด
IP : บันทึกการเข้า
koyjang
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 132


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 26 เมษายน 2012, 13:18:26 »

ขอเอาใจช่วย จขกท ให้ผ่านพ้นวิกฤิตนี้ไปได้นะคะ  ตามที่ท่าน jitdee แนะนำนั่นแหละค่ะ ถูกตรงที่สุด ดิฉันก็เคยผ่านช่วงนี้มาแล้วเหมือนกัน เวลานั่งสมาธิก็จะคิดไปถึงคนที่ทำให้เราโกรธ หรือขุ่นเคืองใจ ไม่อยากให้อภัย  แต่สักพักใหญ่ ๆ สติจะเป็นตัวมาเตือนใจเราเองแหละค่ะให้คิดถึงโลกธรรม ๘ มีสุข ก็มีทุกข์ มีลาภ ก็เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสรรเสริญ มีนินทา ทำให้เข้าใจธรรมมะมากขึ้น จิตใจก็ลดความร้อนรุ่มลงไปได้  ให้ถือเสมือนเขามาเป็นครูสอนเรานะคะ ขอให้โชคดีค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
Alisa_An
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 28 เมษายน 2012, 14:18:55 »

ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
ปกาสัย
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 89


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 12 พฤษภาคม 2012, 16:00:48 »

โลกนี้เต็มไปด้วยทุกข์เป็นเรื่องปกติ แต่ความทุกข์นั้นก็ไม่พ้นไตรลักษณ์มาแล้วก็ไป เกิดแล้วก็ดับ เป็นปกติ ไม่ว่าเรื่องอะไรๆ ก็ตาม สุขที่เรารู้สึกกันนั้นแท้ก็คือ ทุกข์น้อย เวียนมาก็เวียนไปเดี๋ยวทุกข์หนักก็เข้ามาอีกเป็นธรรมดาของโลก ให้เรามองทุกข์นี้เป็นเรื่องของธรรมดา แม้แต่ร่างกายเรานี้ก็ที่สุดก็ต้องสลายไปเป็นธรรมดาไม่วันใดก็วันหนึ่ง หากเรามองและพิจารณาเห็นความธรรมดานี้บ่อยๆ ควบคู่กับการทำสมาธิด้วยวิธีการอานาปาณสติรู้สึกลมหายใจเข้าออกบ่อยๆ โดยไม่ต้องบังคับลมหายใจ ความทุกข์ ความฟุ้งจะงับเบาบางลง สมาธิจะตั้งมั่นขึ้นตามกำลัง ในขณะที่ทำสมาธิ (อานาปาณสติ รู้สึกลมหายใจเข้าออก) หากมีเรื่องฟุ้งซ่านเผลอเข้ามาในความนึกคิด ไม่ต้องไปนึกคิดปรุงแต่งความคิดนั้นแค่รู้และปล่อยไป หรือถ้าระงับไม่ได้ให้ ให้กำหนดรู้ว่าคิดหนอ สักพักความนึกคิดฟุ้งซ่านจะหายไป แล้วกลับมาอยู่กับลมหายใจต่อ เมื่อออกจากสมาธิไม่ว่าจะนานหรือช้า จิตใจจะโปร่งใสสงบเหมาะแก่การเจริญปัญญา ให้พิจารณาถึงความธรรมดาของโลกที่ทุกอย่างมีเกิดขึ้น แปรปรวนอยู่ในท่ามกลาง และสลายไปในที่สุด ทุกอย่างไม่เว้นแม้แต่ความรู้สึก และความนึกคิดก็เกิดดับเหมือนกัน อารมณ์โกรธ เศร้า หดหู่ ดีใจ ทั้งหลายก็เกิดดับ สรุปคือ ทำบ่อยๆ รู้สึกลม (สมาธิ) ไม่ต้องนึกคิดอะไรรู้ลมอย่างเดียวให้นานที่สุด เมื่อจิตอิ่มเริ่มอยากจะนึกคิด ก็ให้คิดพิจารณาธรรม...
IP : บันทึกการเข้า
khonmieng
เพื่อชีวืต โบราณคลาสสิค
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 532


ซื้อขายเขาควาย


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 12 พฤษภาคม 2012, 20:03:18 »

อย่าไปอยากนิ่ง มันเป็นกิเลสแฝงตัวหนึ่ง นั่งอย่างปรกติธรรมดา ตามธรรมชาติ ไม่ตึงไม่หย่อน ไม่เครียด เป็นกลาง สบายๆ แนวทางจริงแล้วเขาให้ปล่อยวาง ไม่ได้ให้แบกให้หาม ให้อยาก ให้สงบ ให้อยุ่อย่างธรรมดา ธรรมชาติ มีสติรู้สภาวะของอารมณ์ ไม่เดินตามกิเลส เป็นอันใช้ได้ครับ... ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ซื้อขายเขาควาย ปลอกเขาควาย โทรศัพย์มือถือรุ่นเก่า ธนบัตรเก่า ตะเกียงเก่า ของโบราณ ไอดีไลน์ khonmieng โทร 062-2862152
@เชียงแสน
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


..ทุกลมหายใจคือการเปลี่ยนแปลง..


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 14 พฤษภาคม 2012, 17:41:31 »

อยากดับทุกข์ที่อัดแน่นอยู่ตอนนี้ แต่นั่งสมาธิ ทำใจให้ว่างไม่ได้เลย แค่ใช้ชีวิตให้เป็นปกติยังไม่ได้ ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ทำอะไร มันเหมือนทุกอย่างรอบตัวเป็นเข็ม ทิ่มแทงเราอยู่ตลอดเวลา เคยปฏิบัติธรรมมาบ้างก่อนหน้า ศึกษาเรื่องนี้มาพอสมควร แต่พอมาเจอทุกข์ครั้งนี้กลับตั้งรับไม่ได้เลย ความทุกข์มันบังตา พยายามจะใช้เหตุผล ใช้ธรรมมะ แต่ไม่สำเร็จ เหมือนคนหลงทางเลย ทั้งที่รู้ว่าทำยังไงถึงจะดับทุกข์ได้ แต่กลับทำไม่ได้ ฉันสับสน ไม่รู้จะหาทางออกยังไง รอให้เวลาช่วยรักษา ก็คงยาก ฉันพยายามทำสมาธิ แต่สิ่งที่ทำให้ทุกข์ใจมันวนเวียนรบกวนใจตลอด ฉันจะทำยังไงดี

..ทุกข์เรื่องอะไรละครับ เงิน หนี้สิน ความรัก...ผมผ่านช่วงนั้นมาได้ โดยไม่ได้ใช้สมาธิ เพราะยิ่งทำในยามที่ใจไม่สงบ มีทุกข์ นั่งสมาธิยังไง ก็ยิ่งฟุ้งซ่านไปกันใหญ่..ใช้สติ เรียนรู้กับปัญหา และยอมรับมันครับ ให้มันเบา ๆ เพลา ๆ ลงก่อน...หากจิตใจปลอดโปร่ง การทำสมาธิคงจะได้ผลดีมากกว่าในสภาวะที่ใจเหมือนกับไม่พร้อมครับ...

...ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผิดถูกไม่รู้ แต่ผมก็เจอปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นมาไม่นาน...และก็ผ่านมันมาได้
IP : บันทึกการเข้า
น่าคิด
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 114



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 14 พฤษภาคม 2012, 17:52:00 »

ลอง อ่านดูนะคับ(ยาวไปนิด) ยิ้ม :)เผื่อจะได้ขอคิดอะไรบ้าง
 ขยิบตา ขยิบตา
มรรค ๘ ยิ้มเท่ห์

มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้
สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบคนอื่น ๆ มากเกินไป
สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ ทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา
ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)
คำเทศน์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ ชื่อกัณฑ์เทศน์ "โลกในเรือนจำกับโลกนอก"
...สัมมากัมมันตะ ก็มีแต่เดินจงกรม นั่งสมาธิ ซึ่งเป็นงานชอบ สัมมากัมมันตะ คือ งานชอบ เพราะเข้าถึงงานอันละเอียดที่ใจรวมเข้ามา จิตเป็น มรรคสมังคี คือมรรครวมตัวเข้ามาสู่ใจดวงเดียว สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป ได้แก่เรื่องของปัญญา ค้นคว้าอยู่ตลอดเวลา เกี่ยวกับเรื่องธาตุเรื่องขันธ์ เรื่องต่าง ๆ ที่ปรากฏหรือสัมผัส เกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งดีทั้งชั่วทั้งอดีตและอนาคต ที่ขึ้นมาปรากฏภายในใจ สติปัญญาเป็นผู้ฟาดฟันหั่นแหลกไปโดยลำดับ ไม่รอให้เสียเวล่ำเวลา สัมมากัมมันตะ การงานชอบที่เกี่ยวกับกาย ก็คือการนั่งภาวนาหรือเดินจงกรม อันเป็นความเพียรละกิเลสในท่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางใจก็คือวิริยะ ความพากเพียรทางใจ
สัมมาวาจา พูดกันแต่เรื่องอรรถเรื่องธรรม การสนทนากันก็มีแต่เรื่อง “สัลเลขธรรม” ธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา หรือชำระล้างกิเลสอาสวะออกจากจิตใจ ว่าเราจะทำด้วยวิธีใดกิเลสจึงจะหมดไปโดยสิ้นเชิง นี่คือสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ อารมณ์อันใดที่เป็นข้าศึกต่อจิต เมื่อนำเข้ามาเป็นอารมณ์ของใจเรียกว่า “เลี้ยงชีพผิด” เพราะเป็นข้าศึกต่อจิต จิตต้องมีความมัวหมองไม่ใช่ของดี ต้องเป็นทุกข์ขึ้นมาภายในใจมากน้อยตามส่วนแห่งจิตที่มีความหยาบละเอียดขึ้นไปโดยลำดับ นี่ก็ชื่อว่า“เป็นยาพิษ” เลี้ยงชีพไม่ชอบ ต้องแก้ไขทันที ๆ
อารมณ์ของจิตที่เป็นธรรม อันเป็นไปเพื่อความรื่นเริง เป็นไปเพื่อความสุขความสบายนั่นแล คืออารมณ์ที่เหมาะสมกับจิต และเป็นอาหารที่เหมาะกับใจ ทำให้ใจเกิดความสงบสุข การเลี้ยงชีพชอบจึงเลี้ยงอย่างนี้ โดยทางธรรมขั้นปฏิบัติต่อจิตเป็นขั้น ๆ ขึ้นไป ส่วนการเลี้ยงชีพชอบทางร่างกายด้วยอาหารหรือบิณฑบาตนั้น เป็นสาธารณะสำหรับชาวพุทธทั่ว ๆ ไปจะพึงปฏิบัติให้เหมาะสมกับหน้าที่ของตน ๆ
สัมมาวายามะ เพียรชอบ เพียรอะไร ? นี่เราก็ทราบ ท่านบอกเพียรใน ๔ สถาน คือพยายามระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตนหนึ่ง พยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป การระวังบาปต้องระวังด้วยความมีสติ พยายามสำรวมระวังอย่าให้บาปเกิดขึ้นด้วยสติ คือระวังจิตที่จะคิด เที่ยวกว้านเอาความทุกข์ความทรมานเข้ามาสู่จิตใจนั่นเอง เพราะความคิดความปรุงในทางไม่ดีนั้นเป็นเรื่องของ “สมุทัย” จึงพยายามระวังรักษาด้วยดี อย่าประมาทหนึ่ง พยายามเจริญสิ่งที่เป็นกุศล เป็นความเฉลียวฉลาด ให้มีมากขึ้นโดยลำดับ ๆ หนึ่ง และเพียรระวังรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น อย่าให้เสื่อมไปหนึ่ง
“สัมมัปปธาน สี่” ที่ท่านว่าก็อยู่ที่ตัวเรานี้แล “สัมมาสติ” ก็ดูอยู่ในใจของเรานี่ การเคลื่อนไหวไปมา ความระลึก ความรู้ตัวนี้ รู้อยู่ตลอดเวลา อะไรมาสัมผัสทางตาทางหูทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ไม่เข้าไปสู่ใจจะไปที่ไหน ใจเป็นสถานที่ใหญ่โตคอยรับทราบเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งดีทั้งชั่วอยู่ตลอดเวลา ปัญญาเป็นผู้วินิจฉัยใคร่ครวญ สติเป็นผู้คอยดูตรวจตราพาชีอยู่เสมอ ในเมื่ออะไรเข้ามาเกี่ยวข้องกับใจ เป็นดีหรือเป็นชั่ว อารมณ์ชนิดใด สติปัญญาใคร่ครวญเลือกเฟ้นในอารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับใจ อันใดที่เห็นว่าไม่ชอบธรรม จิตจะสลัดปัดทิ้งทันที ๆ คือปัญญานั่นแหละเป็นผู้ทำการสลัดปัดทิ้ง แน่ะ
“สัมมาสมาธิ” การงานเพื่อสงบกิเลสโดยสมาธิก็มั่นคงอยู่ตลอดเวลา จนปรากฏผลเป็นความสงบเย็นแก่ใจที่พักงานอย่างแท้จริง ไม่มีความฟุ้งซ่านเข้ามากวนใจในขณะนั้นประการหนึ่ง
ในขณะที่จะเข้าสมาธิเป็นการพักผ่อนจิต เพื่อเป็นกำลังของปัญญาในการค้นคว้าต่อไปก็พักเสีย พักในสมาธิ คือเข้าสู่ความสงบ ได้แก่หยุดการปรุงการแต่งการคิดค้นคว้าทางด้านปัญญาโดยประการทั้งปวง ให้จิตสงบตัวเข้ามาอยู่อย่างสบาย ไม่ต้องคิดต้องปรุงอะไรซึ่งเป็นเรื่องของงาน พักจิตให้สบายโดยความมีอารมณ์เดียว หากว่าจิตมีความเพลิดเพลินต่อการพิจารณาไปมากจะยับยั้งไว้ไม่ได้ เราก็เอา “พุทโธ” เป็นเครื่องฉุดลากเข้ามา ให้จิตอยู่กับ “พุทโธ ๆๆ”
คำบริกรรมกับ “พุทโธ” นี้ แม้จะเป็นความคิดปรุงก็ตาม แต่เป็นความคิดปรุงอยู่ในธรรมจุดเดียว ความปรุงอยู่ในธรรมจุดเดียวนั้นเป็นเหตุให้จิตมีความสงบตัวได้ เช่น คำว่า “พุทโธ ๆๆ” หากจิตจะแย็บออกไปทำงานเพราะความเพลิดเพลินในงาน งานยังไม่เสร็จ เราก็กำหนดคำบริกรรมนั้นให้ถี่ยิบเข้าไป ไม่ยอมให้จิตนี้ออกไปทำงาน คือจิตขั้นที่เพลินกับงานนั้นมีอยู่ ถ้าพูดแบบโลกก็ว่า “เผลอไม่ได้” แต่จะว่าจิตเผลอก็พูดยาก การพูดที่พอใกล้เคียงก็ควรว่า “รามือไม่ได้” พูดง่าย ๆ ว่ายังงั้น เรารามือไม่ได้ จิตจะต้องโดดออกไปหางาน ตอนนี้ต้องหนักแน่นในการบริกรรม บังคับจิตให้อยู่กับอารมณ์อันเดียว คือ พุทโธ เป็นเครื่องยับยั้งจิต กำหนด พุทโธ ๆๆๆ ให้ถี่ยิบอยู่นั้น แล้ว พุทโธ กับจิตก็เป็นอันเดียวกัน ใจก็แน่ว สงบลง สงบลงไป ก็สบาย ปล่อยวางงานอะไรทั้งหมด ใจก็เยือกเย็นขึ้นมา นี่คือสมาธิที่ชอบ
ในขณะที่จะพักต้องพักอย่างนี้ ท่านเรียกว่า “สัมมาสมาธิ” เป็นสมาธิชอบ พอสมควรเห็นว่าใจได้กำลังแล้ว เพียงปล่อยเท่านั้นแหละจิตจะดีดตัวออกทำงานทันทีเลย ดีดออกจากความเป็นหนึ่ง ความเป็นอารมณ์อันเดียวนั้น แล้วก็เป็นสองกับงานละทีนี้ ใจทำงานต่อไปอีก ไม่ห่วงกับเรื่องของสมาธิในขณะที่ทำงาน ในขณะที่ทำสมาธิเพื่อความสงบก็ไม่ต้องห่วงกับงานเลยเช่นเดียวกัน
ขณะที่พักต้องพัก เช่นในขณะที่รับประทานต้องรับประทาน ไม่ต้องทำงานอะไรทั้งนั้น นอกจากทำงานในการรับประทาน จะพักนอนหลับก็นอนหลับให้สบาย ๆ ในขณะที่นอนไม่ต้องไปยุ่งกับงานอะไรทั้งสิ้น แต่เวลาที่เริ่มทำงานแล้วไม่ต้องไปยุ่งในเรื่องการกินการนอน ตั้งหน้าทำงานจริง ๆ นี่ได้ชื่อว่าทำงานเป็นชิ้นเป็นอัน ทำงานเป็นวรรคเป็นตอน ทำงานถูกต้องโดยกาลโดยเวลาเหมาะสมกับเหตุการณ์ เรียกว่า สัมมากัมมันตะ “สัมมากัมมันตะ” คือการงานชอบ ไม่ก้าวก่ายกัน เป็นงานที่เหมาะสม
เรื่องสมาธิปล่อยไม่ได้ การปฏิบัติเพื่อความรื่นเริงของใจ การเห็นว่า “สมาธิ” อยู่เฉย ๆ ไม่เกิดประโยชน์นั้นไม่ถูก ถ้าผู้ติดสมาธิไม่อยากออกทำงานเลยอย่างนั้น เห็นว่าไม่ถูกต้องควรตำหนิ เพื่อให้ผู้นั้นได้ถอนตัวออกมาทำงาน แต่ถ้าจิตมีความเพลิดเพลินในงานแล้ว เรื่องของสมาธิก็มีความจำเป็นในด้านหนึ่ง ในเวลาหนึ่งจนได้ คนเราทำงานไม่พักผ่อนนอนหลับบ้างเลยนี้ทำงานต่อไปไม่ได้ แม้จะรับประทานอาหาร สมบัติเสียไปด้วยการรับประทานก็ให้มันเสียไป ผลที่ได้คือธาตุขันธ์มีกำลังจากการรับประทาน ประกอบการงานตามหน้าที่ต่อไปได้อีก เงินจะเสียไป ข้าวของอะไรที่นำมารับประทานจะเสียไป ก็เสียไปเพื่อเกิดประโยชน์ เพื่อเป็นพลังในร่างกายเราจะเป็นอะไรไป ให้มันเสียไปเสียอย่างนี้ ไม่เสียผลเสียประโยชน์อะไร ถ้าไม่รับประทานจะเอากำลังมาจากไหน ต้องรับประทาน เสียไปก็เสียไปเพื่อกำลัง เพื่อให้เกิดกำลังขึ้นมา
นี่การพักในสมาธิ ในขณะที่พักให้มีความสงบ ความสงบนั้นแลเป็นพลังของจิต ที่จะหนุนทางด้านปัญญาได้อย่างคล่องแคล่ว เราต้องพักให้มีความสงบ ถ้าไม่สงบเลยมีแต่ปัญญาเดินท่าเดียว ก็เหมือนกับมีดไม่ได้ลับหิน ฟันตุ๊บ ๆ ตั๊บ ๆ ไม่ทราบว่าเอาสันลงเอาคมลง มีแต่ความอยากรู้อยากเห็น อยากเข้าใจ อยากถอนกิเลสโดยถ่ายเดียว โดยที่ปัญญาไม่ได้ลับจากการพักสงบ อันเป็นสิ่งที่หนุนหลังให้เป็นความสงบเย็นใจ ให้เป็นกำลังของใจ แล้วมันก็เหมือนกับมีดที่ไม่ได้ลับหินน่ะซี ฟันอะไรก็ไม่ค่อยขาดง่าย ๆ เสียกำลังวังชาไปเปล่า ๆ
เพราะฉะนั้นเพื่อความเหมาะสม ในขณะที่พักสงบจิตในเรือนสมาธิต้องให้พัก การพักผ่อนจึงเหมือนเอาหินลับปัญญานั่นเอง การพักธาตุขันธ์ คือสกลกายก็มีกำลัง การพักจิต จิตก็มีกำลังด้วย
พอมีกำลังแล้ว จิตออกคราวนี้ก็เหมือน “มีดได้ลับหินแล้ว” อารมณ์อันเก่านั้นแล ปัญญาอันเก่านั้นแล ผู้พิจารณาคนเก่านั้นแล แต่พอกำหนดพิจารณาลงไป มันขาดทะลุไปเลย คราวนี้เหมือนกับคนที่พักผ่อนนอนหลับ รับอาหารให้สบาย ลับมีดพร้าให้เรียบร้อยแล้ว ไปฟันไม้ท่อนนั้นแล คน ๆ นั้น มีดก็เล่มนั้น แต่มันขาดได้อย่างง่ายดาย เพราะมีดก็คม คนก็มีกำลัง
นี่อารมณ์ก็อารมณ์อันนั้นแล ปัญญาก็ปัญญาอันนั้นแล ผู้ปฏิบัติคนนั้นแล แต่ได้ “ลับหิน” แล้ว กำลังของจิตก็มีแล้วเป็นเครื่องหนุนปัญญา จึงแทงทะลุไปได้อย่างรวดเร็ว ผิดกับตอนไม่ได้พักในสมาธิเป็นไหน ๆ
เพราะฉะนั้นเรื่องของสมาธิกับเรื่องของปัญญา จึงเป็นธรรมเกี่ยวเนื่องกัน เป็นแต่เพียงทำงานในวาระต่าง ๆ กันเท่านั้น วาระที่จะทำสมาธิก็ทำเสีย วาระนี้จะพิจารณาทางด้านปัญญาให้เต็มอรรถเต็มธรรม เต็มเม็ดเต็มหน่วย เต็มสติกำลัง พิจารณาลงไปให้เต็มเหตุเต็มผล เวลาจะพักก็พักให้เต็มที่เต็มฐานเหมือนกัน ให้เป็นคนละเวลาไม่ให้ก้าวก่ายกัน แบบทั้งจะพิจารณาทางด้านปัญญา ทั้งเป็นห่วงสมาธิ เวลาเข้าสมาธิแล้วก็เป็นอารมณ์กับเรื่องปัญญา อย่างนี้ไม่ถูก จะปล่อยทางไหน จะทำงานอะไรให้ทำงานนั้นจริง ๆ ให้เป็นชิ้นเป็นอัน นี่ถูกต้องเหมาะสม สัมมาสมาธิ ก็เป็นอย่างนี้จริง ๆ...
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_%E0%B9%98

IP : บันทึกการเข้า

ถ้าเราได้ทุกอย่างดังที่คิด
สิ้นชีวิตจะเอากองไว้ที่ไหน
teetee2011
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 664


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 15 พฤษภาคม 2012, 23:33:59 »

อยากดับทุกข์ที่อัดแน่นอยู่ตอนนี้ แต่นั่งสมาธิ ทำใจให้ว่างไม่ได้เลย แค่ใช้ชีวิตให้เป็นปกติยังไม่ได้ ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ทำอะไร มันเหมือนทุกอย่างรอบตัวเป็นเข็ม ทิ่มแทงเราอยู่ตลอดเวลา เคยปฏิบัติธรรมมาบ้างก่อนหน้า ศึกษาเรื่องนี้มาพอสมควร แต่พอมาเจอทุกข์ครั้งนี้กลับตั้งรับไม่ได้เลย ความทุกข์มันบังตา พยายามจะใช้เหตุผล ใช้ธรรมมะ แต่ไม่สำเร็จ เหมือนคนหลงทางเลย ทั้งที่รู้ว่าทำยังไงถึงจะดับทุกข์ได้ แต่กลับทำไม่ได้ ฉันสับสน ไม่รู้จะหาทางออกยังไง รอให้เวลาช่วยรักษา ก็คงยาก ฉันพยายามทำสมาธิ แต่สิ่งที่ทำให้ทุกข์ใจมันวนเวียนรบกวนใจตลอด ฉันจะทำยังไงดี

..ทุกข์เรื่องอะไรละครับ เงิน หนี้สิน ความรัก...ผมผ่านช่วงนั้นมาได้ โดยไม่ได้ใช้สมาธิ เพราะยิ่งทำในยามที่ใจไม่สงบ มีทุกข์ นั่งสมาธิยังไง ก็ยิ่งฟุ้งซ่านไปกันใหญ่..ใช้สติ เรียนรู้กับปัญหา และยอมรับมันครับ ให้มันเบา ๆ เพลา ๆ ลงก่อน...หากจิตใจปลอดโปร่ง การทำสมาธิคงจะได้ผลดีมากกว่าในสภาวะที่ใจเหมือนกับไม่พร้อมครับ...

...ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผิดถูกไม่รู้ แต่ผมก็เจอปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นมาไม่นาน...และก็ผ่านมันมาได้
การที่ท่านใช้สติเรียนรู้กับปัญหา  แปลก็คือการทำสมาธิตั้งใจมั่น หรือตั้งจิตให้มั่นคือสมาธินั่นเอง   การทำสมาธิในความหมายของคนทั่วไปคือการเข้าไปนั่งภาวนาขัดสมาธ ในอุโบสถหรือในศาลา   การทำเช่นที่คุณพี่คอมเมนต์มานั้นก็เรียกว่าสมาธิครับคือการมีสติ  ระลึกรู้ครับเป็นสัมมาสติ ในมรรค 8 ประการ  สติ เป็นเหตุ  สมาธิเป็นผล ครับ
IP : บันทึกการเข้า
Toy88
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,730


โลกจะสงบสุขถ้าทุกคนมอบความรักให้แก่กัน


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 27 พฤษภาคม 2012, 22:16:55 »

อ่านทุกกระทู้ที่ตอบและแนะนำทุกท่านเยี่ยมมากครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

เหนือฟ้ายังมีฟ้่า เหนือคนยังมีคน
 แต่ไม่มีอะไรเหนือกฎแห่งกรรม
love sud sud
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 29 พฤษภาคม 2012, 10:45:30 »

อ่านมาทุกกระทู้ดีจังค่ะ แต่สำหรับตัวเราแล้ว ได้ฝึกมาเป็นเวลาอันสมควรจนถึงทุกวันนี้ก็ยังคงปฏิบัติอยู่ ไหว้พระสวดมนต์สมาธิ ครั้งแรกทำไม่ได้เหมือนกันเกิดความเจ็บปวดทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ วนเอาแต่เรื่องเข้ามาจนทำให้นั่งไปคิดไป555 แต่ทุกวันนี้ดิฉันใช้หลักนี้ ถ้าเรายึดเอาลมหายใจ พุทโธ พอนั่งสักพักก็คิดอีกแล้วปล่อยให้คิดไปค่ะแล้วพอรู้ตัวก็กลับมาที่ลมหายใจทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ถ้ายังคิดอีกถึงเรื่องหรือบุคคลที่เข้ามาในความคิดที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บ แผ่เมตตาให้เขาไปนะคะ ดิฉันฝึกแบบนี้มาเป็นเวลา 9 ปีแล้ว และชอบในทางปฏิบัติเพื่อเจริญรอยตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จนสามารถนั่งสมาธิได้นานและไม่รู้สึกเจ็บปวดอีกเลย สบายตัวมากที่สำคัญใจที่แน่วแน่ที่จะปฏิบัตินั่นแหละค่ะที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จ จำเอาไว้ว่านะคะว่าธรรมคือหนทางดับทุกข์
IP : บันทึกการเข้า
sibuke
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 261


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 02 มิถุนายน 2012, 17:16:24 »

เป็นธรรดมาของจิตทั่วไป หรือของปุถุชนอย่างเราท่านทั้งหลาย  ผมถึงเริ่มหัดนั่งสมาธิและศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้า ความจริงแล้วชีวิตเรานี้ไม่มีอะไรซับซ้อน เราเป็นผู้กำหนดขีดเส้นให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เองทั้งนั่น อย่างท่านทั้งหลายได้กล่าวไว้เบื้องต้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดาและธรรมชาติอย่างนี้เอง แม้ความทุกข์ หรือสุข ฉะนั่นขึ้นอยู่กับว่าท่านเข้าใจในธรรมขาติของจิตหรือของชีวิตแค่ไหน   สุดท้ายก็ปล่อยวาง ปล่อยวางได้แล้วก็จะว่าง  ว่างแล้วก็สุข
 
เป็นความคิดส่วนตัวนะครับไม่ได้อ้างมาจากไหน แต่ผมรู้สึกว่าชีวิตผมง่ายขึ้น ดีขึ้นจิตใจไม่ค่อยเศร้าหมองเหมือนแต่ก่อน ผมพึ่งเริ่มมาสัก 2 เดือนเอง เป็นกำลังใจให้กับทุกชีวิตนะครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!