เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 18:48:48
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  อยากฮู้ประวัติเจ้าป้อกิ่วทัพยั้ง
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8 พิมพ์
ผู้เขียน อยากฮู้ประวัติเจ้าป้อกิ่วทัพยั้ง  (อ่าน 34367 ครั้ง)
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #100 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 22:31:19 »

ขอบคุณ คุณCk401 มากๆครับ

ผมไม่ทราบว่า กิ่วทัพยั้ง อยู่ตรงส่วนไหนของจังหวัดเชียงรายครับ
ทำได้แค่หาข้อมูลการสงครามในช่วงร้อยปีที่เกิดขึ้นในบริเวณจังหวัดเชียงรายเอามาเป็นข้อมูลดิบกันครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะครับคุณคนแม่จัน

สงครามเชียงตุง
ไทยรบกับพม่า ครั้งสุดท้าย เมื่อปีฉลู พ.ศ.๒๓๙๖
ในสมัยรัชกาลที่  ๔ 
ต่อจากนั้นก็มิได้รบพุ่งกันอีกเลยตราบเท่าทุกวันนี้

จึงทรงพระกรุณาให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นแม่ทัพใหญ่  ยกไปตีเมืองเชียงตุงใน พ.ศ.๒๓๙๕  (ค.ศ.๑๘๕๒)   เจ้าพระยายมราชเป็นแม่ทัพหน้า

บทเรียนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขซึ่งแม่ทัพใหญ่ได้ขอพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ               
  ๑. ขอกำลังพลจากหัวเมืองชั้นในเพิ่มอีก  ๑ เท่าตัว               
  ๒. ขอปืนใหญ่ขนาดใหญ่ขึ้น และจำนวนเพิ่มมากขึ้น   พร้อมทั้งกระสุนดินดำให้มากยิ่งขึ้นด้วย             
  ๓. เกณฑ์คนจากเมืองอุบลไปถึงเมืองหลวงพระบางเพิ่มเติมอีกเพื่อใช้เป็นพลลำเลียง

             
  ๔. เปลี่ยนที่ประชุมทัพมาที่เมือง....# เชียงราย #....แห่งเดียว

               
  ๕. จะเริ่มเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่การรบตั้งแต่เนิ่นๆ  (เดือน  ๓)  เพื่อได้มีเวลารบพุ่งนานๆ
เมื่อสิ้นฤดูฝน  กรมหลวงวงศาฯ ทรงจัดทัพที่เมืองน่าน  ส่วนเจ้าพระยายมราชไปจัดทัพที่เมืองเชียงใหม่  กำหนดไปพร้อมกันที่เมืองเชียงรายในต้นเดือน ๓  (ประมาณ เดือน กุมภาพันธ์)

สงครามสยาม เชียงตุง เป็นสงครามของสยามและพม่าในรัชสมัยรัชกาลที่4 หรือเมื่อ 158ปีมาแล้ว มีการประชุมทัพที่จังหวัดเชียงราย(เชียงแสน) และเดินทัพขึ้นไปตีเชียงตุงออกทางอำเภอแม่สาย น่าจะผ่านกิ่วทัพยั้ง นะครับ

http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711130


* KengTung_Marching_to2.jpg (63.09 KB, 433x422 - ดู 2139 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #101 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 22:48:00 »

ปี 2111 อโยธยา แตก
ปี 2135 เชียงใหม่ยกทัพไป อโยธยา
ปี 2203 เชียงใหม่ เชียงแสนพ่ายแก่ อโยธยา
จากปี 2111 ถึง 2203 เป็นเวลา 92 ปี
จากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ 700 ปี
ตั้งแต่ปี 2111 ถึง ปี 2203 กล่าวถึงการศึกระหว่าง อโยธยา และเชียงใหม่แค่เนี้ยะ
แล้วตอน อโยธยา แตก พระนเรศ อายุเท่าไหร่ แล้วตอนที่ เชียงใหม่เชียงแสนเสียแก่ อโยธยา มันผ่านไป 92 ปี แสดงว่าตอนที่พระนเรศ ยกทัพมาเชียงใหม่ เชียงแสน ตอนอายุเป็นร้อยแล้ว และก็ไม่ได้เอ่ยถึงพระนเรศที่เวียงแหงเลย
   อันนี้ผมไม่ได้มาขัดแย้งผู้ใด แต่อาศัยอ่านประวัติศาสตร์ล้านนา ที่เขียนโดยคนล้านนามาถ่ายทอดไว้ให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณา
ตำนานพี้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ 700 ปี
เรียบเรียง ชำระและตรวจสอบโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเช่น ศจ.ด.อุดม รุ่งเรืองศรี
ผ.ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล  ดร.ฮันส์ เพนธ์ และผู้รอบรู้อีกหลายท่าน
ซึ่งได้นำเอาตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ฉบับพระงาม จังหวัดเชียงใหม่ จ.ศ.1216(พ.ศ.2397)และฉบับ จ.ศ.1288(พ.ศ.2469)จาก ดร.ฮันส์ เพนธ์ มาเป็นหลัก ยิ้ม

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่จบลงที่ปี  พ.ศ.2370  และฉบับวัดพระงามจารไว้ปี 2397
หลังจบตำนาน 27 ปี จึงนับได้ว่าเป็นเอกสารที่น่าเชื่อถือมากที่สุด

-############################################-
พระเจ้าตั๋วบ่ไหว้ ไปไหว้พระเจ้าเปิ้น   หมายถึงอรหันต์ในบ้าน คือ พ่อ -แม่
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #102 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 23:50:17 »


    จริงๆแล้วยังมีสงครามอีกครั้งที่สยามไปตีเชียงตุง
คือเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเมื่อ 70 ปีที่แล้ว
เวลานั้นสยามเข้าร่วมสงครามกับประเทศญี่ปุ่นโดยกองทัพไทยสมัยจอมพล ป.
มีหน้าที่เข้าทำการยึดสหรัฐไทยใหญ่จากการยึดครองจากอังกฤษ
โดยญี่ปุ่นเข้าตีอังกฤษด้านพม่าผ่านทางจังหวัดกาญจนบุรี
การศึกครั้งนี้   กองทัพพายัพสามารถยึดพื้นที่ของสหรัฐไทยใหญ่ได้ทั้งหมดภายในเดือน มกราคม พ.ศ.2486
กองทัพไทยได้ล้างตา "เชียงตุง" และรวมไทยน้อย  ไทยใหญ่ ได้สำเร็จ แต่ก็รักษาไว้ได้ชั่วเวลาหนึ่ง
สุดท้ายญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่2 กองทัพพายัพจำต้องถอนตัวออกมาจากสหรัฐไทยใหญ่ทั้งหมดอย่างทุลักทุเล

ทหารในสมรภูมิเชียงตุง ต้องเดินนับไม้หมอนกลับบ้านเพราะ "ถูกปลด" ในสนามรบ

ภายหลังสงคราม    บ้านเมืองอยู่ในสภาพ ที่เรียกได้ว่าทรุดโทรมที่สุด ทั้งใน  ทางทหาร  ทางเศรษฐกิจ  ทางสังคมจิตวิทยา
และในทางการเมือง  ซึ่งจำต้องบูรณะฟื้นฟูอย่างมากในทุกๆ ด้าน     ทางการเมืองระหว่างประเทศ  ต้องดำเนินวิเทโศบาย
เพื่อให้ประเทศเสียหายน้อยที่สุด     แต่ในวงการเมืองภายในประเทศ ก็ยังคงหวาดระแวง  แก่งแย่ง  ช่วงชิงอำนาจรัฐ

สงครามครั้งนี้เกี่ยวกับจังหวัดเชียงรายโดยตรงเพราะเป็นที่ตั้งของกองพลที่3และ4 กองบัญชาการกองพลทหารม้าและหน่วยขึ้นตรงรวมทั้งเป็นเส้นทางเดินทัพและถอนทัพและเป็นสนามบินส่วนหน้าไปโจมตีเมืองเชียงตุงด้วย

 ผมไม่สามารถจะดึงศึกใดศึกหนึ่งมาโยงเกี่ยวกับเจ้าพ่อกิ่วทัพยั้ง ได้ คงให้สงครามทั้ง2ครั้งเป็นข้อมูลดิบสำหรับการศึกสงครามครั้งอดีตในพื้นที่จังหวัดเชียงรายแล้วกันนะครับ


* Shan_State_map.gif (44.76 KB, 400x519 - ดู 3434 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #103 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 02:32:30 »

ไม่ได้มาขัดแย้งผู้ใดครับ ค่อยๆอ่านไล่ดูนะครับ 

ในปีพ.ศ. 2124 พระเจ้าบุเรงนองประชวรและสวรรคตลงราชบุตรองค์โตของพระเจ้าบุเรงนองที่รัชทายาทขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้านันทบุเรง
      พ.ศ. 2126  พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ  เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ  จึงแข็งเมืองทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงคิดกำจัดสมเด็จพระนเรศวร
พระนเรศวรทรงประกาศทำพิธีหลั่งน้ำทักษิโณทกประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยาที่เมืองแครงเมื่อเดือน 6 ปี พ.ศ. 2127
      พ.ศ. 2127 พระองค์ได้ยกทัพไปตีทัพของพระยาพะสิม ซึ่งยกมาจากหงสาวดี และสมทบกับกองทัพของนรธามังช่อ ซึ่งยกลงมาจากเชียงใหม่เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้
แต่ก็ถูกพระนเรศวรตีแตกพ่ายไปทั้งสองทัพ
      พ.ศ. 2128 ทัพเชียงใหม่ยกมาตีกรุงศรีอยุธยาซ้ำอีก พระนเรศวรก็ตีแตกกระเจิงกลับไปอีก ทัพเชียงใหม่พ่ายแพ้อย่างยับเยิน
      พ.ศ. 2129  พระเจ้านันทบุเรงยกทัพใหญ่มาด้วยพระองค์เอง กองทัพพม่าล้อมกรุงอยู่ได้ 5 เดือน ก็ไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ 
      พ.ศ. 2130  สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกกองทัพออกไปตีกรุงกัมพูชา  ตีได้เมืองพระตะบองและโพธิสัตว์
      พ.ศ.2133 พระมหาธรรมราชา พระราชบิดาของพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมีพระชนมายุได้ 35 ปี  พระองค์ได้ขึ้นเสวยราชย์
 และได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถให้เป็นพระมหาอุปราช 
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #104 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 02:41:44 »

     พ.ศ. 2133เมื่อพระองค์เสวยราชย์ได้แปดเดือนก็เกิดศึกพม่าอีก
ทัพพม่าภายใต้การนำทัพของพระมหาอุปราชายกเข้ามาทางเมืองสุพรรณบุรี  กองทัพของพระนเรศวรก็บุกเข้าตีแตกยับเยินอีก
พระมหาอุปราชาพ่ายแพ้จนแทบจะเอาชีวิตไม่รอด พม่าต้องถอยกลับไป
     พ.ศ. 2135 พระมหาอุปราชาจัดทัพใหญ่ยกมาตีกรุงศรีอยุธยาเป็นการแก้ตัวอีกครั้งกำลังทัพของพระมหาอุปราชาซึ่งยกมาครั้งนี้ประกอบด้วยชาวพม่ามอญ และไทยใหญ่ ได้แก่กองทัพหงสาวดี ทัพเมืองตองอู ทัพเมืองแปร ได้ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์เข้าตีกรุงศรีอยุธยาส่วนพระเจ้าเชียงใหม่คุมกองเรือลงมาเช่นคราวก่อน
จึงเป็นที่มาของสงครามยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรทรงเงื้อพระแสงของ้าวขึ้นฟันพระมหาอุปราชาที่ไหล่สิ้นพระชมน์บนคอช้างนั่นเอง
     พ.ศ.2136 ตีได้เมืองทวายและตะนาวศรี
     พ.ศ. 2137 เข้าตีเมืองละแวก จับนักพระสัตถาเจ้ากรุงกัมพูชาได้  แล้วให้ประหารชีวิตนักพระสัตถาเสียในพิธีปฐมกรรม 
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว  ได้มีพระราชดำรัสสั่งให้ตั้งหัวเมืองเหนือ ที่ได้ทิ้งให้ร้างตั้งแต่เริ่มทำสงครามกู้อิสรภาพ

หัวเมืองมอญฝ่ายใต้  ตั้งแต่เมืองเมาะตะมะ ตลอดมาจนต่อกับแดนไทย ส่งทูตเข้ามาขอสวามิภักดิ์กับกรุงศรีอยุธยา
     พ.ศ. 2138 พระองค์ทรงเตรียมทัพอยุธยายกขึ้นไปตีกรุงหงสาวดีเป็นครั้งแรก
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #105 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 02:52:25 »

     พ.ศ.2140 ฝ่ายพระหน่อแก้ว  เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต  ได้หนุนให้พระยาน่านซึ่งขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ ให้แข็งเมืองต่อเชียงใหม่ พระเจ้าเชียงใหม่ชื่อมังนรธาช่อ ซึ่งเป็นน้องของพระเจ้าหงสาวดี  ก็คอยขัดขวางเพื่อรักษาประโยชน์ของพม่า  พระหน่อแก้วจึงเตรียมกองทัพ มารับครัวล้านช้างไปจากเมืองเชียงใหม่  พระเจ้าเชียงใหม่ทราบเรื่องก็ร้อนตัว ประกอบกับการที่ตนเป็นพม่าเข้ามาปกครองชาวไท เมื่อพม่าทำสงครามแพ้อยุธยา ราษฎรก็จะไม่กลัวเกรงพม่าอีกต่อไป  ถ้ากองทัพกรุงศรีอยุธยาหรือกรุงศรีสัตนาคนหุตยกมาตี  เกรงว่าราษฎรจะไปเข้ากับฝ่ายข้าศึก  เมื่อเห็นสถานการณ์เป็นเช่นนั้น จึงหาทางออกด้วยการมาสวามิภักดิ์กับทางอยุธยา  พระเจ้าเชียงใหม่จึงส่งทูตเชิญราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ต่อสมเด็จพระนเรศวร  และขอพระราชทานกองทัพขึ้นไปช่วยคุ้มกันเมืองเชียงใหม่  สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้เจ้าพระยาสุรสีห์  เจ้าเมืองพิษณุโลก คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นไปห้ามปราม มิให้ทางล้านช้างมารุกรานเมืองเชียงใหม่  และให้พาตัวพระยารามเดโช  ซึ่งเป็นท้าวพระยาเมืองเชียงใหม่  ที่หนีพม่ามาพึ่งสมเด็จพระนเรศวรที่กรุงศรีอยุธยา ขึ้นไปช่วยพระเจ้าเชียงใหม่รักษาบ้านเมืองต่อไปด้วย
เจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพขึ้นไปถึงเมืองเชียงแสน  ห้ามทัพกรุงศรีสัตนาคนหุต  ซึ่งยกกำลังมาตั้งติดเมืองเชียงแสนอยู่ ให้ยุติการรุกรานเมืองเชียงใหม่  ด้วยพระเจ้าเชียงใหม่ได้ยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงศรีอยุธยาแล้ว  กองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุต ได้ทราบเรื่อง ก็เกรงพระบรมเดชานุภาพสมเด็จพระนเรศวร พากันเลิกทัพกลับไป  แต่เวลานั้นเมืองน่านและเมืองฝาง ยังไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าเชียงใหม่  เจ้าพระยาสุรสีห์จึงให้พระยารามเดโช  เป็นข้าหลวงอยู่ที่เมืองเชียงแสน  เพื่อให้เกลี้ยกล่อมหัวเมืองที่ยังกระด้างกระเดื่อง  และคอยระวังมิให้เกิดเหตุ

            ตั้งแต่นั้นมาดินแดนล้านนาไทย  ก็เข้ามาอยู่ในพระราชอาณาเขตของสมเด็จพระนเรศวร  เป็นการเริ่มรวมชนชาติไทย เข้ามาเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกัน
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #106 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 03:02:32 »

     พ.ศ. 2142 พระนเรศวรก็ได้ยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีเป็นครั้งที่ 2 การยกไปครั้งนี้พระเจ้านันทบุเรงทิ้งเมืองหนีไปอยู่ที่ตองอู ยะไข่เผากรุงหงสาวดีวอดวาย
พระองค์ตามไปที่เมืองตองอู แต่ก็ไม่สามารถตีได้สำเร็จ ประกอบกับล่วงเข้าต้นฤดูฝน  จึงทรงให้ถอยทัพกลับจากเมืองตองอู เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 6 ปีชวด พ.ศ. 2143 
กองทัพไทยกลับมาทางตรอกหม้อ  เมื่อถึงตำบลคับแค 
ก็โปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรถ  ยกกองทัพแยกมาทางเมืองเชียงใหม่  เพื่อระงับเหตุวิวาทระหว่างพระเจ้าเชียงใหม่กับพระยารามเดโช  ส่วนสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับทางเมืองเมาะตะมะ   
  ฝ่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ  เมื่อเสด็จยกกองทัพถึงเมืองเถิน  ก็ให้ตั้งทัพอยู่ ณ ที่นั้น  แล้วมีรับสั่งให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ และเจ้าเมืองใหญ่น้อยในดินแดนลานนา  ให้มาเฝ้าพระองค์ที่เมืองเถิน  เพื่อทรงจัดการระงับเรื่องวิวาทที่เกิดขึ้น 
 อันมีสาเหตุมาจากที่มีผู้คนมาเข้ากับพระยารามเดโชเป็นอันมาก พวกเจ้าเมืองที่กระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้าเชียงใหม่ ก็มีพระยาราม และพระยาฝาง 
 อาณาเขตล้านนาจึงแตกเป็นสองฝ่าย  ฝ่ายเหนือขึ้นต่อพระยารามเดโช  เป็นข้าหลวงอยู่ที่เมืองเชียงแสน  ฝ่ายใต้ขึ้นต่อพระเจ้าเชียงใหม่   
  บรรดาเจ้าเมืองใหญ่น้อยในแคว้นล้านนา  ต่างพากันมาเฝ้าถวายต้นไม้ทองเงิน และเครื่องราชบรรณาการถึงเมืองเถินทุกเมือง  เว้นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้บุตรคุมเครื่องราชบรรณาการมาแทน    
   สมเด็จพระเอกาทศรถจึงเสด็จยกทัพขึ้นไปยังเมืองลำพูน  แล้วให้ข้าหลวงเข้าไปบอกพระเจ้าเชียงใหม่  ถึงเรื่องที่สมเด็จพระนเรศวรทรงมอบหมายมา
 พระเจ้าเชียงใหม่ได้แจ้งกระแสรับสั่งดังนั้น  ก็มีความเกรงกลัว  มาเฝ้าที่เมืองลำพูน  แล้วถวายพระทุลองราชบุตร ให้ลงมาทำราชการที่กรุงศรีอยุธยา และถวายพระราชธิดาอีกองค์หนึ่งด้วย
            สมเด็จพระเอกาทศรถทรงเห็นว่า  พระเจ้าเชียงใหม่สิ้นทิษฐิแล้ว  จึงมีรับสั่งให้ตั้งการพิธีที่พระธาตุหริภุญชัย  ให้พระเจ้าเชียงใหม่ถือน้ำกระทำสัตย์ต่อกรุงศรีอยุธยา 
แล้วให้เจ้าเมืองใหญ่น้อยทั้งปวง ถือน้ำกระทำสัตย์ต่อพระเจ้าเชียงใหม่  แล้วเสด็จกลับพระนคร
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #107 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 03:15:33 »

    ตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกกองทัพกลับจากเมืองตองอูแล้ว  กรุงศรีอยุธยาก็ว่างศึกกับพม่ามอญถึงสามปี  ตั้งแต่ พ.ศ. 2143 ถึง พ.ศ. 2146 
    ในระหว่างนั้น ดินแดนพม่าทางภาคใต้  ตั้งแต่กรุงหงสาวดีลงมา ตกเป็นของอยุธยาทั้งหมด  ส่วนดินแดนทางพม่าเหนือ อันประกอบด้วยรัฐไทยใหญ่ต่าง ๆ นั้น  ตั้งแต่รัฐแสนหวี ยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของสมเด็จพระนเรศวรแล้ว  รัฐไทยใหญ่อื่น ๆ เช่น เมืองนาย (เมืองหน่าย)  เมืองหาง  (เมืองห้างหลวง)  ก็เข้ามาเป็นข้าขอบขันฑสีมาเพิ่มขึ้นอีก 
   พม่าที่ก่อนหน้านี้เป็นประเทศใหญ่  ก็กลายเป็นประเทศเล็กลงมาก  ครั้งนั้น อาณาเขตไทยทางด้านทิศเหนือ จึงแผ่เข้าไปจนต่อกับดินแดนประเทศจีน

     พ.ศ. 2146 พระเจ้าอังวะ มีพระประสงค์จะขยายอาณาเขตเข้ามาสู่หัวเมืองไทยใหญ่ พระนเรศวรจึงยกกองทัพไปปราบพระเจ้าอังวะ เพื่อยับยั้งการรุกรานและขับไล่ศัตรูไป แต่พระองค์เกิดประชวรเสียกลางทางและเสด็จสวรรคตลงที่เมืองหาง เมื่อปี พ.ศ. 2148
ขณะมีพระชนมายุได้ 50 พรรษา พระองค์ทรงครองราชย์ปกครองกรุงศรีอยุธยามาเป็นเวลา 15 พรรษา
    พระเอกาทศรถพระอนุชาได้อัญเชิญพระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา


      พ.ศ. 2180 ในตอนต้นรัชสมัยของพระเจ้าปราสาททอง พม่าอังวะเข้ามาปกครองล้านนา อีกครั้ง

ส่วน พ.ศ. 2203  พญาแสนหลวง เมืองเชียงใหม่   มีหนังสือมาขอความช่วยเหลือเพราะเกรงจะถูกพวกฮ่อโจมตี   
   สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพขึ้นไปช่วยและพระองค์เองทรงยกทัพหลวงขึ้นไปด้วย ต่อมาปรากฏว่าพวกฮ่อไม่ได้ยกกองทัพมา เมืองเชียงใหม่จึงกลับใจไม่ขอสวามิภักดิ์ สมเด็จพระนารายณ์ทรงขัดเคือง
 จึงสั่งให้กองทัพขึ้นไปตีเมืองต่างๆ ตีได้เมืองนคร   เมืองเถิน   เมืองตัง   เมืองลอง   เมืองรามตี   เมืองนครลำปาง เป็นต้น
     พ.ศ. 2205  สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้ออกญาโกษาธิบดี เป็นแม่ทัพขึ้นไปตีกรุงอังวะ กวาดต้อนพม่าเข้ามาเป็นเชลยจำนวนมาก และตีได้เมืองเชียงใหม่ในปีนี้ด้วย
IP : บันทึกการเข้า
ⒷⒼ*
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,369

นิพพานคือนิรันดร์


« ตอบ #108 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 03:40:18 »

ขอบคุณข้อมูลดีๆ ของท่าน khao e to   ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #109 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 04:35:20 »

ขอโทษด้วยครับ ยาวไปหน่อย
สรุปนะครับ
ตั้งแต่ พ.ศ.2101 เชียงใหม่ปกครองภายใต้อำนาจของพม่า
ตั้งแต่ พ.ศ.2127ถึงพ.ศ.2135 ทัพเชียงใหม่ตามทัพหงสาวดีมาเข้าตีอยุธยาทุกครั้งที่มีการศึก (รวมแล้วก็ 5ครั้งใน  8 ปีครับ) 
  พ.ศ.2140 พระเจ้าเชียงใหม่ส่งทูตเชิญราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ต่อสมเด็จพระนเรศวร  (รวมล้านนาขึ้นกับหงสาวดี39ปี)
  พ.ศ.2143 สมเด็จพระเอกาทศรถ  รับสั่งให้พระเจ้าเชียงใหม่ และเมืองใหญ่น้อย ถือน้ำกระทำสัตย์ต่อกรุงศรีอยุธยาที่พระธาตุหริภุญชัย 
และพระเจ้าเชียงใหม่ได้ถวายพระทุลองราชบุตร ให้ลงมาทำราชการที่กรุงศรีอยุธยา และถวายพระราชธิดาอีกหนึ่งองค์
  พ.ศ.2148 พระนเรศวรยกกองทัพไปปราบพระเจ้าอังวะ การเดินทัพครั้งนี้ ใช้พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่เป็นที่ประชุมพล
  พ.ศ.2180 พม่าอังวะเข้ามาปกครองล้านนา อีกครั้ง (รวมล้านนาเป็นเมืองขึ้นอยุธยาช่วงนี้ 40ปี)
  พ.ศ.2203 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีได้เมืองนครลำปาง เถิน
  พ.ศ.2205 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีได้เมืองเชียงใหม่ (25ปีหลังจากพม่าอังวะปกครองล้านนา)
เมื่อปราบเชียงใหม่และตีกองทัพพระเจ้าอังวะพ่ายไปแล้วก็ได้อัญเชิญ “พระพุทธสิหิงค์” อันเป็นพระราชสมบัติของพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยกลับมาไว้ยังพระนครศรีอยุธยา


* แผนที่สมัยอยุธยา.jpg (59.77 KB, 393x599 - ดู 2675 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #110 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 11:25:32 »

ปี 2111 อโยธยา แตก
ปี 2135 เชียงใหม่ยกทัพไป อโยธยา
ปี 2203 เชียงใหม่ เชียงแสนพ่ายแก่ อโยธยา
จากปี 2111 ถึง 2203 เป็นเวลา 92 ปี
จากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ 700 ปี
ตั้งแต่ปี 2111 ถึง ปี 2203 กล่าวถึงการศึกระหว่าง อโยธยา และเชียงใหม่แค่เนี้ยะ
แล้วตอน อโยธยา แตก พระนเรศ อายุเท่าไหร่ แล้วตอนที่ เชียงใหม่เชียงแสนเสียแก่ อโยธยา มันผ่านไป 92 ปี แสดงว่าตอนที่พระนเรศ ยกทัพมาเชียงใหม่ เชียงแสน ตอนอายุเป็นร้อยแล้ว และก็ไม่ได้เอ่ยถึงพระนเรศที่เวียงแหงเลย
   อันนี้ผมไม่ได้มาขัดแย้งผู้ใด แต่อาศัยอ่านประวัติศาสตร์ล้านนา ที่เขียนโดยคนล้านนามาถ่ายทอดไว้ให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณา
ตำนานพี้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ 700 ปี
เรียบเรียง ชำระและตรวจสอบโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเช่น ศจ.ด.อุดม รุ่งเรืองศรี
ผ.ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล  ดร.ฮันส์ เพนธ์ และผู้รอบรู้อีกหลายท่าน
ซึ่งได้นำเอาตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ฉบับพระงาม จังหวัดเชียงใหม่ จ.ศ.1216(พ.ศ.2397)และฉบับ จ.ศ.1288(พ.ศ.2469)จาก ดร.ฮันส์ เพนธ์ มาเป็นหลัก ยิ้ม

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่จบลงที่ปี  พ.ศ.2370  และฉบับวัดพระงามจารไว้ปี 2397
หลังจบตำนาน 27 ปี จึงนับได้ว่าเป็นเอกสารที่น่าเชื่อถือมากที่สุด

-############################################-
พระเจ้าตั๋วบ่ไหว้ ไปไหว้พระเจ้าเปิ้น   หมายถึงอรหันต์ในบ้าน คือ พ่อ -แม่


ข้อความนี้เพียงแสดงว่า ที่แม่สรวย และแม่จัน แม่สาย พระนเรศ ไม่เคยไป แค่นั้น
ถูกผิดจะไดขอสูมาตวย
แต่ที่เอามาให้อ่านเพราะเป็นประวัติศาสตร์ที่เขียนโดยคนเมือง คนบ้านเฮา
ชนชาติใดเขียนประวัติศาสตร์ของตัวเอง ย่อมใส่สีใส่ไข่ให้ตัวเองเป็นพระเอก เป็นธรรมดา
IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #111 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 12:35:33 »

ขอบคุณ คุณCk401 มากๆครับ

ผมไม่ทราบว่า กิ่วทัพยั้ง อยู่ตรงส่วนไหนของจังหวัดเชียงรายครับ
ทำได้แค่หาข้อมูลการสงครามในช่วงร้อยปีที่เกิดขึ้นในบริเวณจังหวัดเชียงรายเอามาเป็นข้อมูลดิบกันครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะครับคุณคนแม่จัน

สงครามเชียงตุง
ไทยรบกับพม่า ครั้งสุดท้าย เมื่อปีฉลู พ.ศ.๒๓๙๖
ในสมัยรัชกาลที่  ๔ 
ต่อจากนั้นก็มิได้รบพุ่งกันอีกเลยตราบเท่าทุกวันนี้

จึงทรงพระกรุณาให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นแม่ทัพใหญ่  ยกไปตีเมืองเชียงตุงใน พ.ศ.๒๓๙๕  (ค.ศ.๑๘๕๒)   เจ้าพระยายมราชเป็นแม่ทัพหน้า

บทเรียนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขซึ่งแม่ทัพใหญ่ได้ขอพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ               
  ๑. ขอกำลังพลจากหัวเมืองชั้นในเพิ่มอีก  ๑ เท่าตัว               
  ๒. ขอปืนใหญ่ขนาดใหญ่ขึ้น และจำนวนเพิ่มมากขึ้น   พร้อมทั้งกระสุนดินดำให้มากยิ่งขึ้นด้วย             
  ๓. เกณฑ์คนจากเมืองอุบลไปถึงเมืองหลวงพระบางเพิ่มเติมอีกเพื่อใช้เป็นพลลำเลียง

             
  ๔. เปลี่ยนที่ประชุมทัพมาที่เมือง....# เชียงราย #....แห่งเดียว

               
  ๕. จะเริ่มเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่การรบตั้งแต่เนิ่นๆ  (เดือน  ๓)  เพื่อได้มีเวลารบพุ่งนานๆ
เมื่อสิ้นฤดูฝน  กรมหลวงวงศาฯ ทรงจัดทัพที่เมืองน่าน  ส่วนเจ้าพระยายมราชไปจัดทัพที่เมืองเชียงใหม่  กำหนดไปพร้อมกันที่เมืองเชียงรายในต้นเดือน ๓  (ประมาณ เดือน กุมภาพันธ์)

สงครามสยาม เชียงตุง เป็นสงครามของสยามและพม่าในรัชสมัยรัชกาลที่4 หรือเมื่อ 158ปีมาแล้ว มีการประชุมทัพที่จังหวัดเชียงราย(เชียงแสน) และเดินทัพขึ้นไปตีเชียงตุงออกทางอำเภอแม่สาย น่าจะผ่านกิ่วทัพยั้ง นะครับ

http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711130
ครับท่าน khao e to
กิ่วทัพยั้ง จะอยู่บนเส้นทางจากเชียงรายไปอ.แม่จันแม่สายครับ
ปัจจุบันเป็นด่านสกัดยาเสพติดของอ.แม่จันครับ
(ถ้าออกจากเชียงรายไปแม่สายจะพบด่านสกัดก่อนถึงอ.แม่จันสัก 4 กม.
มีศาลตั้งอยู่คือตรงนั้นนะครับ
โดยชัยภูมิที่มองเห็นคือเป็นช่องทางผ่านระหว่างช่องเขาครับ
(คือมาจากที่ราบกว้างมาถึงตำแหน่งนี้จะกิ่วเป็นคอขวดไปเลย)
การเดินทัพสมัยก่อนที่จะไปตีด้านเหนือ(เชียงตุง)ขึ้นไปเส้นทางนี้ใกล้สุด
ถ้าอ้อมออกขวามุ่งทางเชียงแสนก็ติดน้ำโขงอีก
ผมว่าเมื่อเดินทางมาถึงคอขวดตรงนี้คงหยุดพักทัพกันก่อน
อาจมีบุคคลสำคัญมาเสียชีวิตที่นี่แล้วสร้างศาลเพียงตาขึ้นมา
ตามความเชื่อของคนโบราณ
ผมเคยคุยกะแม่อุ้ยชาวยอง อายุ 70 กว่าปี
ที่บ้านแม่คำสบเปิน อ.แม่จัน
ว่าตอนอพยพมาจากลำพูนโดยวัวเทียมเกวียนตอนอายุสิบกว่าปี
มาตั้งรกรากที่บ้านแม่คำสบเปินอ.แม่จัน แกก็บอกว่ามีศาลตรงนี้อยู่แล้ว
เคยนอนพักตรงนี้เหมือนกันตอนเดินทางมา
พ่อค้าวัวที่ไปค้าเชียงตุงก็มาพักกันด้วยหลายคณะ
ผมคิดว่าคงไม่มีใครบันทึกที่มาที่ไปหรอกครับ
คงตั้งกันตามความเชื่อที่เห็นกันมานาน
ปัจจุบันศาลเจ้าพ่อ
มีคนนิยมเอารูปปั้นไก่ชนมาถวายกัน
เหมือนศาลสมเด็จพระนเรศวรเต็มไปหมด
คงเข้าใจว่ากองทัพสมเด็จพระนเรศวรมายั้งทัพที่นี่
กิ่วทัพยั้ง อาจเพี้ยนมาจาก กิ่วตั๊บยาง
ตามที่เพื่อนสมาชิกให้ข้อมูลมาก็ได้ครับ
ด้วยความอยากรู้ของ จขกท เอง
เลยมีผู้รู้จริงมาตอบในกะทู้มากมาย
ดีมากครับห้องนี้จะได้ไม่เงียบเหงา ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
คนแม่จัน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404

ทำเดี๋ยวนี้ให้ดีที่สุด....จบ


« ตอบ #112 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 22:06:56 »

ขอบคุณครับสำหรับทุกข้อมูล บางท่านก็สั้นๆ บางท่านก็ยาวๆ ถือว่าทุกท่านมีส่วนร่วมชำระประวัติศาสตร์ส่วนนี้ครับ ขอบคุณครับ ขอบคุณ
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #113 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2011, 20:02:04 »


ชนชาติใดเขียนประวัติศาสตร์ของตัวเอง ย่อมใส่สีใส่ไข่ให้ตัวเองเป็นพระเอก เป็นธรรมดา
ข้อความโดย: makorlan  ข้อความเมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 11:25:32

ถูกต้องครับ อยุธยาแตกถึงสองครั้ง ยังเขียนประวัติศาสตร์ให้ดูว่าไม่ได้แพ้พม่าแต่แพ้เพราะอยุธยาแตกความสามัคคี
ไม่มีใครอยากเป็นผู้แพ้หรอกครับ ล้านนาก็คงเช่นกัน(มั๊ง)
ด้วยความเคารพครับ คุณ makorlanผมไม่ทราบว่าตำนานล้านนาเขียนประวัติศาสตร์ไว้อย่างไรบ้าง
รู้เพียงแต่ว่าในตำนานโยนกกล่าวว่า  พญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้วเสร็จในปีพ.ศ.1839   
มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 16 พระองค์ (หรือถ้าจะนับ พระนางวิสุทธิเทวี ด้วยก็เป็น 17 พระองค์)
มีกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถหลายพระองค์เช่น พญากือนา พระเจ้าติโลกราช (ไม่ใช้พญานำหน้าพระนาม)รวมระยะเวลา ราชวงศ์มังราย ปกครองล้านนารวม 262 ปี
ปีพ.ศ.2101 ในรัชกาลพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ไม่ใช่พญานำหน้าพระนาม) อาณาจักรล้านนาได้ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง รบกันอยู่เพียง   3 วัน ก็สามารถยึดเชียงใหม่ได้
จริงๆแล้วอาณาจักรล้านนาเริ่มเสื่อมอำนาจหลังจาก พญาแก้ว สิ้นพระชนม์ ขุนนางมีอำนาจมากกว่ากษัตริย์ เมืองขึ้นต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของเชียงใหม่จึงแยกตัวเป็นอิสระ
ก่อนหน้าที่หงสาวดีจะเข้ายึดถึง 33ปี (จากการที่ต้องไปเชิญพระไชยเชษฐาจากล้านช้างขึ้นเป็นกษัตริย์(ไม่ใช้พญานำหน้าพระนาม)1 ปี และว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง ๔ ปี)
เมื่อ พระนางวิสุทธิเทวี  สวรรคตแล้วพม่าได้แต่งตั้งเจ้านายและข้าราชการของพม่ามาปกครองเชียงใหม่รวม 17 คน
รวมพม่าปกครองล้านนายาวนานถึง 216 ปี  (พ.ศ.2101 จนถึง พ.ศ.2317)
แต่จะมีบางช่วง ที่เชียงใหม่ขึ้นกับทางกรุงศรีอยุธยา เช่น สมัยพระนเรศวร และสมัยพระนารายณ์
และมีบางช่วงที่เชียงใหม่ และเมืองต่าง ๆ แยกเป็นรัฐอิสระ เช่น ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #114 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2011, 20:07:17 »


ประเด็นอยู่ที่ว่า ตำนานพี้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ 700 ปี มีจดเหตุการณ์ไว้แค่
ปี 2111 อโยธยา แตก
ปี 2135 เชียงใหม่ยกทัพไป อโยธยา (ห่าง 24 ปี)ปี 2203 เชียงใหม่ เชียงแสนพ่ายแก่ อโยธยา ( ห่าง 68 ปี)
ทำไมไม่จดบันทึกรายละเอียดช่วงเหตุการณ์ระหว่างปี พ.ศ.2127 ถึงปี พ.ศ.2134 ที่พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพลงมาตีอยุธยาถึง 4ครั้ง (ไม่รวมปี พ.ศ.2135 ที่ได้จดไว้)
และช่วงปีพ.ศ.2140 ถึง พ.ศ.2180 ที่มาสวามิภักดิ์กับทางอยุธยา  (สมเด็จพระนเรศวร)
มาจดอีกทีก็เป็นปี พ.ศ.2203 ที่สมเด็จพระนารายณ์ตีเมืองเชียงใหม่ได้ เวลาก็ห่างกันเข้าไปแล้วตั้ง 68 ปี

เรื่องจริงเป็นอย่างไรผมไม่ทราบนะครับ แต่ถ้าเป็นอย่างที่คุณ makorlan บอกไว้ ผมก็ขอวิเคราะห์จากความเห็นของผมคนเดียว ไม่เกี่ยวกับใคร
เป็นไปได้มั๊ยครับ ว่าช่วงนั้นพระเจ้านอรธาสอ หรือ มังนรธาช่อ ปกครองเชียงใหม่ พ.ศ. 2121 - 2150 (29 ปี)
พระชัยทิพ  หรือมองกอยต่อ ปกครองอาณาจักรล้านนา ใน พ.ศ. 2151 - 2156
พระช้อย หรือมองซองเทา ครองราชย์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2150 - 2151 (1 ปี)และกลับมาครองราชย์อีกครั้งใน พ.ศ. 2156 - 2158 (2 ปี)
จากนั้นค่อยเป็นหลวงทิพเนตรปกครองถึง พ.ศ. 2198 และอีกหลายท่านซึ่งล้วนอยู่ในปกครองของพม่าทั้งนั้น
เลยไม่ได้สนใจที่จะจดรายละเอียดต่างๆ หรือถ้ามีการจดบันทึกก็คงจดในตำนานของราชวงศ์ของพม่าไม่เกี่ยวกับทางล้านนา
จนมาถึงปีพ.ศ. 2203 เจ้าเมืองแพร่ได้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ซึ่งขึ้นกับอยุธยาสมัยพระนารายณ์จึงมีการจดบันทึกกันอีกครั้ง
จะพูดไปแล้วช่วงเวลาที่พม่าปกครองล้านนา 216 ปี  (พ.ศ.2101 จนถึง พ.ศ.2317) หาข้อมูลอ่านได้ยากมากครับ
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #115 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2011, 20:14:10 »


เวลาที่หายไปไม่ได้มีการจดบันทึก หายไปไหน ? (จริงๆแล้วผมก็อยากอ่านตำนานที่ต่างออกไปจากกระแสหลักเหมือนกันครับ)
ผมไม่ค่อยเห็นมีใครเขียนหรือเผยแพร่ข้อมูลช่วงเวลานี้เลย ว่าช่วงเวลาที่หายไปสองร้อยกว่าปีนี้เกิดอะไรขึ้นกับล้านนาบ้าง และช่วงเวลาเหตุการณ์ระหว่างล้านนารวมกับสยามผ่าวิกฤติยุคล่าอาณานิคมตะวันตกเป็นอย่างไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง รวมถึงล้านนากับสงครามโลกครั้งที่2และวิกฤติคอมมิวนิสต์
เราจะได้รู้ถึงว่า ล้านนาได้ผ่านอะไรมาบ้าง เรารอดมาจนถึงวันนี้ได้อย่างไร ความคิดของคนรุ่นปู่รุ่นทวดบรรพบุรุษท่านคิดอะไร ทำอะไรยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับอาณาจักรข้างเคียงเช่น พม่า มอญ กระฉิน ไทยใหญ่ ล้านช้าง ด้วยก็ดีครับ เพราะทุกอย่างมีผลเกี่ยวพันกันทั้งหมดเราจึงจะทราบความเป็นมาจนถึงกาลปัจจุบัน

ถ้าประวัติศาสตร์ที่ขาดๆหายๆดังเช่นทุกวันนี้ก็คงยากที่จะเข้าใจตัวเราเพราะไปดูถึงแต่ความที่เคยยิ่งใหญ่ พระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดีเป็นผู้ชนะสิบทิศที่ยิ่งใหญ่ สุดท้ายแค่รุ่นลูกหงสาวดีก็ถึงกาลล่มสลาย ประเทศพม่าทุกวันนี้เป็นอย่างไร เพราะอะไร
อาณาจักรมอญผู้เคยครองทั้งแผ่นดินล้านนาและพม่า วันนี้ไม่มีแผ่นดินจะอยู่ เพราะอะไร
ทำไมเจ้าฟ้าเชียงตุง ไทยใหญ่ นำพาประชาชนไปสิ้นชาติสิ้นแผ่นดิน เพราะอะไร
ทำไมล้านช้างถึงกาลสิ้นราชวงศ์หลวงพระบาง ทั้งๆที่หลุดออกจากอำนาจของสยามไปได้แล้ว เพราะอะไร
ทำไมคนเขมรถึงฆ่าล้างเผ่าพันธ์กันเองตายไปเป็นล้าน เพราะอะไร
ทำไมเกาหลีทุกวันนี้ยังแบ่งเป็นเหนือเป็นใต้ ทั้งๆที่เป็นคนเชื้อชาติเกาหลีด้วยกัน เพราะอะไร


ด้วยความเคารพอีกครั้งครับ
เราถกกันด้วยข้อมูลประวัติศาสตร์ด้วยความเป็นจริง เพื่อผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาจะได้เข้าใจถูกต้อง ในแบบที่ไม่มีพระเอกและผู้ร้ายจะถูกหรือผิดก็ช่วยกันถกประเด็นเพื่อก่อให้เกิดความกระจ่างที่ถูกต้องกันต่อไปคงต้องรบกวนคุณเชียงรายพันธ์แท้  คุณบก.ล้อล้านนา และผู้รู้ทุกท่านมาช่วยเล่าให้ฟังด้วยนะครับ



IP : บันทึกการเข้า
ล้อล้านนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 444


« ตอบ #116 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2011, 14:40:33 »

เรียน คุณเขาอีโต้
    ประวัติศาสตร์ช่วงนี้ไม่ได้หายไปไหนครับ เพียงแต่ช่วงนี้ล้านนาถูกปกครองโดยพม่าถึง 3 ราชวงศ์
     - ราชวงศ์ตองอู พ.ศ. 2101-2139
     - ราชวงศ์ยองยาน พ.ศ. 2157-2295
     - ราชวงศ์คอนบอง พ.ศ. 2306-2317
   เป็นธรรมดาในประวัติศาสตร์ที่จะจดบันทึกเฉพาะเรื่องที่ดีของตัวเองทั้งนั้น สืบเนื่องด้วยล้านนาถูกปกครองโดยพม่า ประวัติศาสตร์ทั้งหมดก็คงต้องเป็นหน้าที่ของพม่าที่จดบันทึกไว้ หรือแม้กระทั่งล้านนาเองก็บันทึกไว้เช่นกัน ที่เราไม่ค่อยได้รับรู้ก็อาจมีสาเหตุมาจาก
     1. หลักฐานเหล่านี้ถูกทำลาย หรือเคลื่อนย้าย สาปสูญ โดยผู้ชนะเป็นผู้กระทำ
     2. ผู้คนไม่สนใจจะศึกษาอดีต เพราะคิดว่าไม่มีประโยชน์
     3. ผู้มีอำนาจมากกว่าจะปกครองโดยเงื่อนไขต่างๆ ที่ตัวเองจัดให้เป็น
     สามข้อหลักๆ นี้เราไม่อาจปฏิเสธได้อย่างแน่นอน ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ที่สนใจเอาเอง สำหรับหนังสือดีๆ มีขายทั่วไปหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ล้านนา ของ ศ.สรัสวดี  อ๋องสกุล, 200 ปี พม่าในล้านนา ของ ลัดดาวัลย์  แซ่เซียว ฯลฯ http://www.thaispecial.com/bookshop/newbookpreview1.asp?booklist=9742726612 ก็น่าสนใจ ไปหาอ่านดูนะครับ
     ส่วนประเด็นอื่นๆ มันยาว แต่ขอตอบข้อโต้แย้งที่ว่า "ไม่เคยมีกษัตริย์อโยธยาองค์ใดมาเหยียบแผ่นดินเชียงรายเลย" ผมอาจไม่ได้แยกประวัติศาสตร์ให้เห็นภาพ สำหรับอดีตก่อนที่จะมาเป็น "จังหวัด" เมืองเชียงราย ก็คือเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสนก็คือเมืองเชียงแสน เมืองพานก็เป็นเมืองพาน ฯลฯ ที่บอกว่าไม่เคยมาเหยียบ "เชียงราย" ก็ด้วย "กิ่วตั๊บยาง" อยู่ในพื้นที่ระหว่าง "เมืองเชียงราย" กับ "เมืองเชียงแสน" ส่วนจะมาหรือไม่มา "แม่สรวย" นั้น ผมไม่ทราบ แต่ผมพูดถึงเมืองไม่ได้พูดถึง "จังหวัด"


* scover.jpg (2.58 KB, 100x145 - ดู 1204 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 20 เมษายน 2011, 15:16:38 โดย ล้อล้านนา » IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #117 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2011, 21:12:52 »

หายไปหลายวัน กลับมาอีกที ป้าดโทะ ยาวเหยียด ม่วนขนาด
ผมว่า เรื่องเจ้าพ่อ"กิ่วตั๊บยาง"คงจะจบตั้งแต่หน้าที่ 4 แล้ว
แต่ก็ยินดีที่มีผู้รู้เข้ามาเสนอเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจและประเทืองปัญญาเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะท่านเขาอีโต้ ท่านล้อล้านนา และท่าน Ck401
กระทู้นี้ม่วนครับ
IP : บันทึกการเข้า
n.md
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 624


อดทนเพื่อสองสิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก ~~~~~~~~~


« ตอบ #118 เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2011, 10:10:24 »

ได้ความรู้ดีค่ะ
อยู่แม่จันใช้เส้นทางนี้ประจำ ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

>>หนึ่งก้าวแรกที่พลาดพลั้ง คือก้าวหลังที่มั่นใจ<<
>>สองก้าวหนึ่งที่พลาดไป   คือก้าวใหม่ที่มั่นคง<<
ssss99
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #119 เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2011, 13:27:52 »

ได้ความรู้เยอะเลย
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!