|
|
|
jirapraserd
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 06 พฤศจิกายน 2012, 09:36:29 » |
|
แนวทางการปฎิบัติภาวนาในศาสนาพุทธมี 4 ดังนี้ 1. แนวสมถยานิก หรือสมาธินำปัญญา หรือแนวพระป่า ในพระไตรปิฎก จะเรียกว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า คือการที่ทำสมถะจนถึง ฌานสองขึ้นไป แล้วเอาผู้รู้ที่เกิดในฌานมาเจริญวิปัสสนา เมื่อตัวผู้รู้หมดกำลังลง ก็ต้องเริ่มต้นทำสมาธิใหม่ ทำแบบนี้สลับกันไปมา ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาว่างมากๆ และจริตนิสัยไปทาง ประเภทรักสวยรักงาม รักสงบ 2. แนววิปัสสนายานิก หรือปัญญานำสมาธิ ในพระไตรปิฎกจะเรียกว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า คือการเจริญสติ ตามรู้กาย ตามรู้ใจ ตามความเป็นจริงเลย เพราะขณะเจริญสติจะเกิดการสลับระหว่าง สมถะและวิปัสสนา เหมาะสำหรับคนทำงานอย่างเรา ๆ ที่ไม่มีเวลาว่างในการทำสมาธิ เพราะต้องยุ่งกับงานทั้งวัน จริตนิสัยไปทาง คนที่ชอบคิด จ้าวความคิด จ้าวความเห็น 3. แนวสมาธิควบปัญญา ในพระไตรปิฎกจะเรียกว่า เจริญสมถะและวิปัสสนา ควบคู่กันไป
4. แนวนี้ไม่รู้จะเรียกอะไรแต่ในพระไตรปิฎกเรียกว่า ใจของภิกษุปราศจาก อุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิด ดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ (ตามความเข้าใจของผม จะหมายถึง อภิญญา ที่มีชื่อว่า อาสวักขยญาณ) [ แนวทางนี้มีบันทึกอยู่ใน ยุคนัทธสูตร พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ซึ่งพระอานนท์ได้ กล่าวถึง ภิกษุที่บรรลุอรหันต์ในสำนักท่านที่มีอยู่ โดยมีรายละเอียดในพระสูตรดังนี้
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง- *โกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุ อรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อม- *สิ้นสุด ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอ เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอ เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้น ย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
อย่างไรก็ตาม อรรถกถาสรุปว่า ไม่ว่าจะเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า หรือเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้าก็ตาม เมื่อถึงขณะที่อริยมรรคเกิดขึ้น ทั้งสมถะและวิปัสสนาจะต้องเกิดขึ้นด้วยกันอย่างควบคู่เป็นการแน่นอนเสมอไป ที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าโดยหลักพื้นฐานแล้ว สมถะและวิปัสสนาก็คือองค์ของมรรคนั่นเอง วิปัสสนาได้แก่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ สมถะได้แก่องค์มรรคที่เหลืออีก 6 ข้อ ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่องค์มรรคเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะบรรลุอริยภูมิ
|
|
|
|
|
|
|
jirapraserd
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 09 พฤศจิกายน 2012, 09:10:54 » |
|
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค หมวดจิตานุปัสนา
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่ เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
จบจิตตานุปัสสนา ** ไม่มี่ข้อความในส่วนไหนเลย ที่บอกว่าเมื่อรู้แล้ว ให้ดึงจิตกลับมา เมื่อรู้แล้วว่าจิตเป็นอย่างไร ท่านให้รู้เฉย ๆ การดึงจิตกลับ มันจะหนัก ๆ เพราะอัดกลับเข้ามา มีผลต่อระบบประสาท มีความเห็นผิดว่าตัวเราเก่ง สามารถควบคุมจิตได้ พลาดตกจากวิปัสนา
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 พฤศจิกายน 2012, 11:58:22 โดย jirapraserd »
|
IP :
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
saluman
เตรียมอนุบาล

ออฟไลน์
กระทู้: 46
|
 |
« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 10 พฤศจิกายน 2012, 01:29:21 » |
|
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค หมวดจิตานุปัสนา
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่ เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
จบจิตตานุปัสสนา ** ไม่มี่ข้อความในส่วนไหนเลย ที่บอกว่าเมื่อรู้แล้ว ให้ดึงจิตกลับมา เมื่อรู้แล้วว่าจิตเป็นอย่างไร ท่านให้รู้เฉย ๆ การดึงจิตกลับ มันจะหนัก ๆ เพราะอัดกลับเข้ามา มีผลต่อระบบประสาท มีความเห็นผิดว่าตัวเราเก่ง สามารถควบคุมจิตได้ พลาดตกจากวิปัสนา
อันนี้ผมถามคุณนะครับ เมื่อคุณมีสติ รู้ว่าจิตคุณรับรู้อะไรแล้วคุณทำไงต่อครับ คุณวางจิตไว้ตรงใหน ถามคุณนะครับ (เมื่อรู้แล้วว่าจิตเป็นอย่างไร ท่านให้รู้เฉย ๆ การดึงจิตกลับ มันจะหนัก ๆ)แล้วไอ้ตัวรู้เฉยๆนี่มันคือจิตใช่มั้ยครับหรือสติ ใครเป็นคนรู้ครับ แล้วให้ปล่อยจิตไปใครจะเป็นคนรู้ครับ (เพราะคุณบอกการดึงจิตกลับมามันจะหนักๆ การดึงจิตกลับ มันจะหนัก ๆ เพราะอัดกลับเข้ามา มีผลต่อระบบประสาท) ที่คุณพูดปล่อยไปนี่คือจิตใช่มั้ยครับ แล้วใครจะเป็นผู้รู้เฉยๆครับ ใครเป็นคนรู้ว่าจิิตออกไป ตอบหน่อยครับ
|
|
|
|
jirapraserd
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 10 พฤศจิกายน 2012, 16:33:39 » |
|
จิตดวงถัดไป ที่ต่อจากจิตที่หลงไป จิตที่หลงไป เรียกว่า อกุศลจิต จิตดวงถัดไป ที่ไปรู้ คือ มหากุศลจิต
จิตไม่มีที่ตั้ง เกิดดับสืบเนื่องกันไป มีช่องว่างมาคั่น เรียกว่า ภวังคจิต คือรอยต่อ ของจิตแต่ละดวง
รู้กับหลง คือ เกิดกับดับ สืบเนื่องกันไป การที่จิตดวงถัดไป ไปรู้ว่าจิตดวงแรกมันหลงไป เพราะมันจำสภาวะธรรมได้แม่น ว่าจิตดวงแรกมันหลงไป และเกิดสมาธิตั้งมั่นมาชั่วขณะนึง เรียกว่า ขณิกะสมาธิ เกิดเอง ไม่ได้เชื้อเชิญให้เกิด
|
|
|
|
|
jirapraserd
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 11 พฤศจิกายน 2012, 15:50:14 » |
|
**---------------------------------------------** แล้วจิตก้อมีที่ตั้งครับตั้งอยู่ในขันธ์ทั้งสี่ เกิดดับในขันธ์ทั้งสี่ เกิดดับในแต่ละขันธ์ตลอดวันตลอดคืน **---------------------------------------------** พุทธองค์ให้วางจิตอยู่กับเสาเขื่อนเสาหลัก คือกาย หรือ กายคตาสติ พอจิตหลุดไปหรือดับจากลมหายใจ ก้อมีสติดึงจิตดวงที่เกิดใหม่ให้เกาะกับลม ให้นานที่สุด **----------------------------------------------**
เอามาจากตำราไหนครับ หรือได้ยิน ได้ฟัง รับรู้มาจากใครครับ
**-------------------------------------------------** พุทธองค์ให้วางจิตอยู่กับเสาเขื่อนเสาหลัก คือกาย หรือ กายคตาสติ พอจิตหลุดไปหรือดับจากลมหายใจ ก้อมีสติดึงจิตดวงที่เกิดใหม่ให้เกาะกับลม ให้นานที่สุดผมเรียกว่าดึงส่วนท่านจะเรียกว่าให้มาเกาะหรืออะไรก้อแล้วแต่ แต่นานขนาดใหนมันก้อดับ แล้วตัวสติที่เฝ้าดูจิตที่เกิดดับ **--------------------------------------------------** มันเป็นสมถะกรรมฐาน และวิปัสนากรรมฐาน ในแบบของคุณ ถ้าคุณคิดว่ามันดีอยู่แล้ว และถูกต้องก็ทำต่อไปเถอะครับ และที่คุณพูดมา ผมก็ไม่ทราบว่าคุณทำวิปัสนาในหมวดใหน เท่าที่อ่านทำทั้งสองหมวด ทั้ง กายา และจิตตา สติ และความรู้สึกตัว ผมก็ไม่ทราบ ว่าคุณสร้างมันมาด้วยวิธีไหน จนมันกลายมาเป็นตัวรู้
** ความรู้สึกที่หนัก ๆ แน่น ๆ แข็ง ๆ ซึม ๆ ทื่อ ๆ ผิดแน่นอน ** ความรู้สึกเบา ๆ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 11 พฤศจิกายน 2012, 16:09:18 โดย jirapraserd »
|
IP :
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
jirapraserd
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 12 พฤศจิกายน 2012, 17:32:00 » |
|
สาธุครับ ผมศึกษาคำสอนของ พุทธองค์พระพุทธเจ้าครับ ตอบที่ถาม พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๕ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเรา ทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืน ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์ แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภท ๕ เป็นไฉน ขันธ์ ๕ อย่าง ๑. รูปขันธ์ [กองรูป] ๒. เวทนาขันธ์ [กองเวทนา] ๓. สัญญาขันธ์ [กองสัญญา] ๔. สังขารขันธ์ [กองสังขาร] ๕. วิญญาณขันธ์ [กองวิญญาณ] ฯ วิญาณตั้งอยู่ในกองขันธ์ ครับหรือของคุณไปอยู่นอกเหนือจากนี้ครับ ต่อ กายคาสติ ที่ถาม พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า หลักหรือ เสาอันมั่นคงนั้น เป็นชื่อของกายคตาสติ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กาย คตาสติ เราทั้งหลายจักอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ สีลานุสสติ... จาคานุสสติ...เทวตานุสสติ... อานาปานสติ... มรณสติ... กายคตาสติ... อุปสมานุสสติดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อ ความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ
คุณอ่านและคุณเข้าใจในมุมของคุณแบบนั้น ก็ถูกในแบบของคุณ
แต่ผมอ่านแล้ว แต่ไม่ใช่ที่คุณโพสมา ผมเข้าใจอีกแบบนึง ในมุมของผมเอง เหตุผลเหรอครับ
เพราะ จิต ความหมายมันก็คือ ธรรมชาติรู้ และผมไม่มีความรู้สึกเลย ว่าจิตผมมันตั้งอยุ่ ตรงนั้น ตรงนี้ ในร่างกาย หรือในจิตใจ ส่วนใด ๆ เลย
แต่มีความรู้สึกว่า
จิตที่มันรับรู้ทางตา มันเกิด แล้วมันก็ดับหายไป (เรียกว่า จักขุวิญญาณจิต) จิตที่มันเกิดทางหู มันเกิด แล้วมันก็หายไป มันสลับกัน มอง นึกคิด ได้ยิน นึกคิด คนธรรมดาก็เป็นแบบนี้ทุกคน อยู่เฉย ๆ มันก็นึกคิดของมันเอง
ที่นี้พอเอาจิตมันมาตั้งปุ๊บ ตั้งลงเสาที่ว่านี้แหละ คือกลางอกเรา กลางตัวเรา เริ่มด้วยการตั้งท่าก่อน จะเอาละน๊ะ (บิดเบือนความเป็นจริงของกายของใจ) มันจะเริ่มมีความรู้สึก ตึง ๆ เกร็ง ๆ เหมือนมันเป็นก้อน ๆ พอจิตมันทำหน้าที่ปรุงแต่งอะไร มันจะเคลื่อนจากตรงจุดเสาหลักนี้ไป ไม่ให้มันไป หรือรู้แล้วว่ามันไป ก็ดึงกลับมันมาที่เสาหลักเหมือนเดิม มันก็หมายถึง การทำสมถะกรรมฐาน การที่เอาจิตไปแนบกับเสานั่นแหละ คือการบังคับจิต พอเพ่งมาก ๆ เข้า ๆ ความรู้สึกว่าร่างกายเรามี มันจะค่อย ๆ จางหายไป เพราะจิตมันไม่สนใจร่างกายแล้ว มันไปสนใจแนบอยู่กับเสาที่ว่านี่แหละ มันไปสร้างเสานี้มาแทน ที่มันไปแนบกับเสานี้มันยังไม่ใช่ตัวรู้ แต่มันกำลังเพิ่มพลังให้กับจิต เพื่อก่อเป็นตัวรู้ ขึ้นมา จนกว่าจิตมันจะสลัดเสานี้ทิ้งไป ตัวรู้มันถึงจะเด่นดวงออกมา มันจะสักแต่รู้อยู่เฉย ๆ รู้แล้วปล่อย ไม่แทรกแซง แต่ถ้าจิตมันยังสลัดเสาออกไปไม่ได้ ม้นก็จะแช่ซื่อบื้ออยู่แบบนั้น จนมันออกจากสมาธิ มันจะมึน ๆ งง ๆ ทื่อ ๆ เหมือนคนตื่นนอนใหม่ ๆ เพราะจิตมันโดน บังคับเพ่งแนบติดกับเสา จนมันเครียดติดออกมาถึงโลกข้างนอก แต่มันมีความรู้สึกภูมิใจ ว่าวันนี้ทำสมาธิได้เก่ง เข้าสมาธิได้ลึก บังคับได้ วันอื่น ๆ ไปทำอีก มันไม่เหมือนเดิม เพราะ จิตมันสอนธรรมมะให้เรา ว่า ไม่มีใครบังคับจิตได้ และจิตก็ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของเรา
|
|
|
|
|
|
|
|