สถาณ์ของเกษตรกรในปัจจุบันเป็นอย่างไร?
อนาคตของเรา(เกษตรกร)จะเป็นอย่างไร?
ความมั่นคงทางอาหารของเราจะมีทางเดินอย่างไร?
เราจะทำอย่างไร เพื่อความยั่งยืนของเกษตรกรเรา?
อนาคตประเทศไทยจะไปทางไหน(ในมุมมองของเกษตรกร)?
อยากรับฟังความคิดเห็นของเรา(เกษตรกร)จะทำประการได?
เชิญครับ.......................
ทิศทางและแนวโน้มการเกษตรในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ในทศวรรษหน้า โดย Mr.Hseu Ming-Lii
บทนำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค เป็นภูมิภาคที่ได้มีการพัฒนาทางด้านการเกษตรที่สำคัญภูมิภาคหนึ่งของโลก นับตั้งแต่ประเทศเกาหลี ซึ่งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเรื่อยมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จีนแผ่นดินใหญ่ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค รวมไปถึงเขตเกาลูน แต่ละประเทศมีนโยบายการพัฒนาทางการเกษตรที่แตกต่างกันแต่ประเทศเหล่านี้เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคทางการเกษตร โดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งการคมนาคมสะดวก ผลผลิตทางการเกษตรในภูมิภาคนี้จึงกระจายไปทั่วโลก และได้ชื่อว่าเป็นภูมิภาค ที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่โดดเด่นมากของโลก
การพัฒนาการเกษตรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคสภาวะการตลาดของแต่ละประเทศ การบริโภค สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม มีผลกระทบต่อจังหวะการพัฒนาการเกษตรในรูปภูมิภาคเอเชีย จึงขอแบ่งประเภทของการพัฒนาทางการเกษตรในภูมิภาคนี้ไว้ดังนี้
1. สภาวะการเกษตรคงที่ : ประเทศที่มีการเกษตรในรูปแบบนี้ได้แก่ ญึ่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ประเทศเหล่านี้มีทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัดในขณะที่จำนวนประชากรมีมาก จึงได้มีการพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภคอย่างเต็มที่ทั้งปริมาณและคุณภาพ การพัฒนาการเกษตรภายในประเทศเองทำได้ไม่ง่ายนัก เมื่อต้องแข่งขันกับอีกหลายประเทศในโลก ดังนั้นการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรจากประเทศอื่น เป็นหนทางที่ทำได้ง่ายกว่า
2. การเกษตรส่งออก : ประเทศในอินโดจีน ซึ่งประกอบด้วย ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียตนาม เหล่านี้มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่ มีวัตถุดิบมากมาย ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีภาคอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ที่อุดหนุนภาคการเกษตรอยู่ด้วย ผลผลิตทางการเกษตรจึงมีความสำคัญต่อการส่งออก ในการที่จะนำเงินตราต่างประเทศ แต่ข้อเสียที่ตามมาคือ เมื่อมีผลิตมาก ราคาจะตกต่ำการผลิตในปริมาณมากย่อมทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ทรัพยากรถูกทำลายไปมากเกษตรกรได้ผลตอบแทนน้อย ผลประโยชน์ตกอยู่กับธุรกิจการนำเข้าส่งออกเสียเป็นส่วนใหญ่ แม้ประเทศเหล่านี้จะพึ่งพาภาคเกษตรกรรมแต่ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรกลับพัฒนาไปอย่างเชื่องช้า
3. การเกษตรนำเข้า : ประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศในแถบแปซิฟิคอื่นๆ เป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ไม่มีเงินลงทุนมากนัก ผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดล้วนต้องนำเข้าจากต่างประเทศในราคาที่สูง ถ้าต้องการคุณภาพสูงประชากรในประเทศแบกรับภาระราคาต้นทุนนำเข้าเหล่านี้ไม่ได้ทั้งหมด จำนวนการบริโภคสินค้าเกษตรจากต่างประเทศจึงต่ำในขณะที่การเกษตรภายในประเทศเองก็ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
4. การเกษตรพัฒนา : สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้สั่งปิดประเทศและการตลาดเป็นเวลานานกว่า 10 ปี แต่ปัจจุบันได้มีการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนภายในประเทศจากนักลงทุนชาวต่างประเทศมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรภายในประเทศจึงเพิ่มมากขึ้น จากการที่เคยส่งออกปัจจุบันต้องมีการนำเข้าสินค้าเกษตรบางประเภท ขณะเดียวกันก็ได้มีการขยายการผลิตทางการเกษตร และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้ก้าวหน้าขึ้นด้วย
แนวโน้มการพัฒนาการเกษตรในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิครัฐบาลทุกประเทศต่างหวังที่จะให้ประเทศของตนมีผลผลิตทางการเกษตรให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ และเหลือพอที่จะส่งออกไปขายต่างประเทศได้ แต่ความหวังดังกล่าวถูกจำกัดอยู่ด้วยเงื่อนไขสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ถึงกระนั้นก็ยังมีความร่วมมือในหลายประเทศของภูมิภาคนี้
1. แต่ละประเทศมีการแบ่งปันทรัพยากรและเงินทุน โดยความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่างพ่อค้า ต่างเป็นหุ้นส่วนในการลงทุนที่ต่างฝ่ายต่างรักษาผลประโยชน์ของตนไว้
2. การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน เช่น ญี่ปุ่น กับไต้หวัน แลกเปลี่ยนกล้วยหอมกับแอปเปิ้ล เกาหลีกับไต้หวัน แลกเปลี่ยนกล้วยหอมกับสาลี่และท้อ เป็นต้น
3. แบ่งขั้นตอนความร่วมมือ ทุกประเทศปรารถนาที่จะเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ แม้จะต้องกู้ยืมเงินลงทุนการแสวงหาเทคโนโลยีการผลิต แรงงานในการผลิต การขนส่ง การตลาด การผลิตเพื่อการส่งออก ความร่วมมือในการผลิตและแรงงานการผลิตในประเทศโลกที่ 3 ทุกประการเหล่านี้จะต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตที่น้อยที่สุด เพื่อให้ได้กำไรมากที่สุดในแต่ละขั้นตอนจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
4. การรวมกลุ่มผลิต น่าจะได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตตามสภาพพื้นที่ของประเทศ เช่น รวมกลุ่มประเทศ ไทย กัมพูชา เวียตนาม เป็นกลุ่มผู้ผลิต ยิ่งมีการรวมกลุ่ม ยิ่งทำให้ตลาดมีขนาดใหญ่สะดวกในการขนส่งผลผลิตไปจำหน่ายทั่วโลกด้วย
นับตั้งแต่นั้นมา ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคจึงได้คาดหวังว่าการพัฒนาการเกษตรในภูมิภาคนี้น่าจะมีแนวทางความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเริ่มจากการพัฒนาทางด้านวิชาการ และการลงทุน เพื่อนำไปสู่การยกระดับภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคในสูงขึ้น เพื่อขจัดความเห็นแก่ตัวซึ่งจะทำให้สามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นคงต้องให้ระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร
แนวโน้มการพัฒนาการเกษตรของไต้หวันกระทรวงเกษตรของไต้หวันได้กำหนดโครงการพัฒนาโครงการไว้อย่างชัดเจนภายใต้การดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน1. โครงการพัฒนาด้านการผลิตพืชโดยดำเนินการพัฒนาอย่างจริงจังเพียง 5-7 ประเภท เพื่อส่งเสริมแนะนำเกษตรกร ที่เหลือนอกจากนี้ให้การตลาดเป็นตัวกำหนดว่าเกษตรกรควรจะผลิตพืชอะไร
2. ส่งเสริมการลงทุนความร่วมมือจากต่างประเทศ รัฐบาลจะให้คำแนะนำและส่งเสริมการลงทุนความร่วมมือจากต่างประเทศ เนื่องจากผลงานการวิจัยของไต้หวัน น่าจะได้มีการกระจายไปสู่การปฏิบัติภายในประเทศให้ทั่วถึง และออกสู่ต่างประเทศ เพื่อนำผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลงานเหล่านั้นกลับไปสู่ไต้หวัน
3. การพัฒนาที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมส่งเสริมการทำการเกษตรแบบยั่งยืนด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดการใช้สารเคมี และส่งเสริมการปลูกป่าปัญหาการพัฒนาการเกษตรของไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมขนาดใหญ่ในอันดับต้นๆ ของโลก แต่ระบบภายในค่อนข้างมีปัญหา ที่สำคัญคือ1. ใช้ปัจจัยการผลิตเกินความเหมาะสมมีการทำลายป่าเพื่อการเพาะปลูก ทรัพยากรน้ำทรัพยากรดินถูกทำลาย งบประมาณค่าใช้จ่ายในการลงทุนทางการเกษตรของประเทศสูงแต่ผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับน้อย ผลผลิตมีมากราคาตกต่ำ คือปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอๆ
2. การนำเสนอเทคโนโลยีล่าช้า การอาศัยเทคโนโลยีจากต่างประเทศมักจะนำเข้ามาเฉพาะส่วนยอด ไม่ได้นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ นอกจากนี้การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศมักจะนำเข้ามาเฉพาะส่วนยอด ไม่ได้นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ นอกจากนี้การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ผู้รับการถ่ายทอดยังไม่เข้าใจหรือเข้าถึงเทคโนโลยีนั้นๆ อย่างแท้จริง
3. รัฐบาลให้การสนับสนุนการวิจัยเพื่อให้มีการใช้ให้เกิดผล แต่งานวิจัยส่วนมากกลับใช้เพียงการบรรยายและอ้างอิงเท่านั้น ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรมีมากมาย งบประมาณสนับสนุนการวิจัยจึงถูกจัดสรรให้หน่วยงานต่างๆ ในสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ
4. ไม่มีระบบตรวจสอบข้อมูล ข้อมูลพื้นฐานทางการเกษตรที่จัดทำขึ้นเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำของแต่ละหน่วยงาน บางหน่วยงานก็มิไดมีการตรวจสอบข้อมูล จึงไม่ทราบผลสะท้อนกลับ
5. ต้องปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามหลักวิชาการต้องมีต้นทุนต่ำแต่เพิ่มผลกำไรมิใช่เพิ่มการผลิตเพิ่มต้นทุน ผลกำไรน้อยลง
6. ต้องพัฒนาแรงงานการเกษตรในพื้นที่การพัฒนาการเกษตรไม่จำกัดอยู่เฉพาะการผลิต การแปรรูป การคมนาคมขนส่ง การเก็บรักษา การส่งออก และการจำหน่ายเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงแรงงานที่มีความชำนาญ
บทสรุป ช่วงเวลานี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจการเงินและบริการได้รับผลกระทบ บางกิจการไม่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ต้องล้มไป มีแต่เพียงการเกษตรได้หยั่งรากลึกในระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง จึงเป็นโอกาสและจังหวะที่ดีที่จะมีการขยายการผลิตทางการเกษตรพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและสามารถเพิ่มมูลค่าได้ การเกษตรที่ได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริง คือ การพัฒนาที่ทำให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์ ไม่เพียงแต่ดูที่การอยู่ดีกินดีของเกษตรกรเท่านั้น แต่ต้องดูที่ความมั่งคั่งของเกษตรกรด้วย