เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 06:09:57
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ทำไมพระธาตุสำคัญทางเหนือจึงห้ามผู้หญิงเข้าใกล้
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 [3] 4 พิมพ์
ผู้เขียน ทำไมพระธาตุสำคัญทางเหนือจึงห้ามผู้หญิงเข้าใกล้  (อ่าน 18584 ครั้ง)
corolado4
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,835


บ้านสวน ดอยพระบาท11 (ธารน้ำกรณ์2)


« ตอบ #40 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 15:04:03 »

"....จารีตกับกฏหมาย ปฏิบัติตามกฏหมายดีกว่า....
.....เป็นวิทยาศาสตร์ และสากล กว่ากันเยอะ....."
ความนี้ ถ้ามองคำเดียว คือ จารีต  ตีความไปทางลบ คือ ไม่ยอมทำจารีตประเพณี?
แต่ถ้าตีความไปทางบวก คือ การเป็นพลเมืองไทย เป็นคนไทย อยู่ภายใต้กฎหมาย
ได้ปฏิบัติตาม โดยไม่บิดพลิ้ว  แล้วนอกจากนั้นล่ะ?
แม้การใดๆ ที่หากมีการละเมิดแบบกรณีจำกัดสิทธิคนต่างเพศ จะเข้าข่ายผิดกฎหมาย
แต่กว่าจะได้ตัดสินว่าผิดจริงๆ มันผ่านกันกี่ขั้นตอน
กี่ศาล  แล้วนี่พวกเรามาแสดงความคิดเห็นขัดแย้ง  ซึ่งเริ่มต้นมาดีด้วยสร้างสรร แต่.....
พอมีหลายความคิดเห็น และต่างเริ่มยืนยัน จุดยืนของตนเอง การขัดแย้งกำลัง
จะกลายเป็นการเอาชนะ เหมือนกับข้างบน กับคำว่า จารีต ที่ได้เริ่มจั่วหัวไว้
ขอให้เป็นความคิดเห็นแบบสร้างสรร อาจขัดแย้ง ก็ควรให้สิทธิในความคิดเห็นของเขา
ไม่จำเป็นต้องไปหักล้างให้เปลี่ยนแปลงกลับกลายความคิด ให้มาเป็นพวก เป็นข้างเดียวกัน
ให้ทุกประเด็น เป็นข้อคิดเห็นที่หลากหลาย  อาจไม่มีบทสรุป แต่อาจมีบางคนได้บทสรุป
และอาจมีหลายคน มาอ่านกระทู้นี้แต่กรอบแรก ที่ไม่เคยได้รู้ได้รับทราบ ก็จะได้ความรู้และ
มีความเข้าใจลึกซึ้ง  ถ้าถึงขนาดบรรลุธรรม มองเห็นสัจจธรรมได้ด้วย 
ประโยชน์เชิงบวกของกระทู้นี้ ไม่น้อยนะครับ
วิน วิน วิน และ วิน กันทุกฝ่าย
IP : บันทึกการเข้า

Mr.R
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #41 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 18:55:17 »


ผมคิดว่าเรื่องนี้สามารถขยายไปสู่เรื่องที่จะต้องทบทวนการ
ห้ามตามจารีต ว่าเข้าข่ายผิดกฏหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ?

จะส่งให้คณะกฤษฏีกาตีความหรือนิติกรผู้ดูแลด้านกฏหมาย
ของพระธาตุที่สำคัญ ๆ ตีความก็ตาม

หรือจะปฏิบัติตามจารีตที่เคยปฏิบัติมาโดยสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง
ก็สุดแท้แต่ครับ...

 ตกใจ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
taekeuk_poomse
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #42 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 19:05:45 »

กฏหมายกับจารีตมันคนละอย่าง และจารีต ก็เป็นสิ่งที่ยึดถือกันมานาน คนในสังคมต่างก็ยอมรับ แล้ว จะสร้างกฏหมายมาทำลายจารีตนั้นลงเพื่อ?ฮืมฮืมฮืมฮืม?

และในความเป็นจริงของสังคมไทย ก็ยังคงปฏิบัติตามทำเนียม จารีตประเพณี แล้ว จะมีใครกล้ามาสร้างกฏหมายทำลายจารีตนั้นได้?ฮืมฮืมฮืมฮืม? หรือว่าคนที่จะมาทำลายจารีตนั้นเป็นเสื้อแดงเช่นคุณ???!!!!!!
IP : บันทึกการเข้า
Mr.R
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #43 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 19:12:26 »

กฎหมายสิทธิสตรี  
 
ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 อันเป็นบทกฎหมายหลักสูงสุดของประเทศ ได้มีการบัญญัติรับรองสิทธิสตรีไว้กล่าวคือ

ความเสมอภาคกันในกฎหมาย และ การห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมมาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

ชาย และ หญิง มีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพ ทางกาย หรือ สุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือ ความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้…
 
ที่มา...http://www.classifiedthai.com/content.php?article=14544

คุณ บ่าวสองเมือง คุณเคยอ่านกฏหมายรัฐธรรมนูญ แล้วหรือยัง
มันมีมานานแล้วครับ คณะผู้ร่างกฏหมายและประชาชนที่ประชามติต่างหาก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 19:14:34 โดย Mr.R » IP : บันทึกการเข้า
taekeuk_poomse
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #44 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 19:15:17 »

แล้วกฏหมายสิทธิสตรี มัน เกี่ยวอะไรกะจารีตครับ?ฮืม??

IP : บันทึกการเข้า
Mr.R
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #45 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 19:26:09 »

1. ประเด็นของกระทู้คือการห้ามผู้หญิงเข้าใกล้พระธาตุ

2. ซึ่งมีการแสดงความคิดเห็นว่าการปฏิบัติเช่นนั้นเป็นจารีต

3. ผมคิดว่าการห้ามจะเข้าข่ายผิดกฏหมายรัฐธรรมนูญ เรื่องสิทธิสัตรี

อันที่จริงด้วยเจตนาความเป็นห่วงว่าหากในอนาคตจะมีการฟ้องร้องเกี่ยวกับเรื่องนี้
ผู้ที่เกี่ยวข้องจะหาวิธีการป้องกันหรือแก้ไขอย่างไร ?
IP : บันทึกการเข้า
taekeuk_poomse
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #46 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 19:34:47 »

แล้วท่านคิดว่าในอนาคต คนไทย ที่มีธรรมเนียมจารีตประเพณี เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ จะยอมให้เกิดเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นหรือ?ฮืม?? จะยอมให้ มีการนำกฏหมาย มาบังคับใช้ เพื่อทำลาย จารีตนั้นลงอย่างนั้นหรือ?ฮืม?

มีสิ่งอื่นที่ให้ทำเยอะแยะ สำหรับหญิงชาย ที่สามารถทำได้อย่างเท่าเทียมกัน

เว้น จารีตประเพณีที่มีมาแต่โบราณไม่ได้หรือ?ฮืมฮืมฮืมฮืม?

IP : บันทึกการเข้า
~KT 2 U~
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,601


♥ แม่ค้าออนไลน์ ผู้ซึ่งเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ♥


« ตอบ #47 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 19:40:43 »

แล้วกฎหมายที่ตราขึ้น จะย้อนไปมีผลในอดีตด้วยมั้ยคะ

แบบว่า เอาผิดกับคนที่เป็นผู้สั่งห้าม ตั้งแต่สมัยโน้นนนนนนนนนนนนนนนนน  น่ะค่ะ   ฮืม ฮืม ฮืม

สมมุติ นะคะ สมมุติ คนที่เป็นคนสั่งห้ามเลยคือ เจ้าเมือง สมัย พ.ศ. 1111   อะไรงี้อะค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 20:09:22 โดย ~หมูllว่ีีullดง~ » IP : บันทึกการเข้า

Mr.R
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #48 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 20:21:58 »

มีมุมมองสองด้านครับ

ด้านหนึ่งเป็นมุมมองของผู้เลื่อมใสศรัทธา
ด้านหนึ่งเป็นมุมมองของหลักสิทธิมนุษยชน
ซึ่งกฏหมายมักจะล้อตามหลักสากล

เห็นว่ามีวิธีแก้ไข 2 วิธี

1. ปฏิบัติตามกฏหมาย

2. แก้ไขกฏหมาย
IP : บันทึกการเข้า
taekeuk_poomse
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #49 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 20:27:22 »

มีมุมมองสองด้านครับ

ด้านหนึ่งเป็นมุมมองของผู้เลื่อมใสศรัทธา
ด้านหนึ่งเป็นมุมมองของหลักสิทธิมนุษยชน
ซึ่งกฏหมายมักจะล้อตามหลักสากล

เห็นว่ามีวิธีแก้ไข 2 วิธี

1. ปฏิบัติตามกฏหมาย

2. แก้ไขกฏหมาย


เยี่ยมมาก สุดยอดจริงๆ
IP : บันทึกการเข้า
~KT 2 U~
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,601


♥ แม่ค้าออนไลน์ ผู้ซึ่งเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ♥


« ตอบ #50 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 20:31:30 »

อ๋อ...........

แล้ว กฎหมาย ฯลฯ  เป็นคำตอบในประเด็นไหนหรือคะ จากหัวข้อกระทู้น่ะค่ะ  ฮืม ฮืม ฮืม
 ลังเล ลังเล
IP : บันทึกการเข้า

ttyy
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,952


ซ่อม/ซื้อ/ขาย มือถือทุกรุ่น


« ตอบ #51 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 20:56:37 »

แล้วกฎหมายที่ตราขึ้น จะย้อนไปมีผลในอดีตด้วยมั้ยคะ

แบบว่า เอาผิดกับคนที่เป็นผู้สั่งห้าม ตั้งแต่สมัยโน้นนนนนนนนนนนนนนนนน  น่ะค่ะ   ฮืม ฮืม ฮืม

สมมุติ นะคะ สมมุติ คนที่เป็นคนสั่งห้ามเลยคือ เจ้าเมือง สมัย พ.ศ. 1111   อะไรงี้อะค่ะ

ขอตอบในประเด็นนี้แทนนะครับ

การให้กฎหมายมีผลย้อนหลังกระทำได้โดยเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (หลักการทั่วไป)
1. ระบุไว้ในกฎหมายนั้นโดยโจ่งแจ้งว่าจะให้ใช้บังคับย้อนหลัง
2. การใช้กฎหมายย้อนหลังต้องไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
หลักกฎหมายดังกล่าวเป็นการห้ามการออกกฎหมายไปลงโทษซึ่งหรือเพิ่มโทษแก่บุคคลเป็นการย้อนหลัง ดังนั้น ในทางอาญาจึงปฏิเสธผลย้อนหลังของกฎหมายเป็นเด็ดขาด เว้นแต่เข้าข่ายห้าประการดังต่อไปนี้
2.1 เป็นการย้อนไปเลิกล้มความผิด
2.2 เป็นการย้อนไปเป็นคุณแก่ผู้มีความผิด
2.3 เป็นการบัญญัติถึงวิธีการเพื่อความปลอดภัย
2.4 เป็นการแปลหรือตีความกฎหมายเดิมอันคลุมเคลือในความหมายหรือวัตถุประสงค์
2.5 เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติหรือกฎหมายวิธีพิจารณาความ  แม้ความจะอยู่ในกระบวนพิจารณาอยู่ก็สามารถนำกฎหมายใหม่มาใช้ได้ทันที
IP : บันทึกการเข้า

รับซื้อ-ขาย-ฝาก-ขายฝากคอมพิวเตอร์ PC Notebook โทรศัพท์มือถือ nokia iPhone samsung ทีวี LCD เครื่องเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดราคาสูง รุ่นเก่า รุ่นใหม่ โทรมาคุยกันได้ครับ
ttyy
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,952


ซ่อม/ซื้อ/ขาย มือถือทุกรุ่น


« ตอบ #52 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 20:59:00 »

ส่วนเรื่องผู้หญิงกับพระธาตุ ผมขอเอาแนวความคิดของท่าน นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ มาลงไว้ด้วยละกันครับ  ผมอ่านดูแล้ว อยากนำมาแบ่งปันครับ

ผู้หญิงกับพระธาตุ

 

นิธิ เอียวศรีวงศ์



ป่านนี้อารมณ์ร้อนแรงเกี่ยวกับผู้หญิงและพระธาตุในภาคเหนือ คงบรรเทาความฉุนเฉียวลงแล้ว จึงเป็นเวลาสมควรที่เราจะคิดถึงเรื่องนี้อย่างคนในสังคมอารยะที่เป็นประชาธิปไตยกันได้

ตามความเข้าใจของผม แม้รัฐธรรมนูญถูกใช้เป็นข้ออ้างของฝ่ายที่อยากให้เอาป้าย "ห้ามสตรีเข้าบริเวณนี้ ออก แต่เอาเข้าจริงแล้วรัฐธรรมนูญตัดสินให้ไม่ได้

เพราะถึงรัฐธรรมนูญจะให้สิทธิเท่าเทียมกันแก่หญิงใน ม.30 แต่รัฐธรรมนูญก็รับรองสิทธิที่จะอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นไว้ใน ม.46 ด้วย

ต้องมาเถียงกันว่าประเพณีวัฒนธรรมที่ห้ามผู้หญิงเข้าไปในเขตรั้วของพระธาตุที่ฝังพระบรมสารีริกธาตุไว้เบื้องล่างนั้น "อันดี" แล้วหรือยัง

อันที่จริง การห้ามไม่ให้ใครเหยียบย่ำสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นพระบรมสารีริกธาตุนั้น เป็นวัฒนธรรมที่คนไทยทั่วไปเข้าใจอยู่แล้ว และโดยปรกติเขาก็ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงหรือผู้ชายเข้าไปเดินเล่นหลังรั้วที่กั้นไว้ทั้งนั้น เพียงแต่ว่าหากมีความจำเป็น เช่น ต้องซ่อมหรือปิดทองพระธาตุ เขาก็ใช้แต่แรงงานผู้ชาย ไม่เอาผู้หญิงขึ้นไปเหยียบย่ำ

เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะผู้หญิงนั้น "สกปรก" ล่ะสิครับ ข้อนี้ไม่ใช่ความเชื่อในพระพุทธศาสนา แต่เป็นความเชื่อที่ปรากฏในหลายวัฒนธรรมมาแต่โบราณ และคนล้านนาก็เชื่ออย่างเดียวกันนี้ แม้ไม่ใช่ความเชื่อในพระพุทธศาสนาก็ตาม... ก็ใครบอกเล่าครับว่าคนไทยเชื่อแต่พระพุทธศาสนาอย่างเดียว

นักมานุษยวิทยาบางคนอธิบายความเชื่อว่าผู้หญิง "สกปรก" ไว้สนุกดี ว่า แต่เดิมนั้นผู้หญิงเป็นเพศที่มีเกียรติยศ, เป็นสายหลักของการสืบมรดก (คือมรดกอาจตกเป็นของผู้ชาย แต่โดยอาศัยการสืบสิทธิจากแม่), เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ, และมีอำนาจ มากกว่าผู้ชาย

ครั้นเกิดความเปลี่ยนแปลงบางอย่างในวิถีการดำรงชีวิต ผู้ชายกลับเป็น "ใหญ่" กว่า จึงมีความเชื่อและพิธีกรรมหลายอย่างที่จะกีดกันมิให้ผู้หญิงเข้าใกล้อำนาจได้เท่าผู้ชาย เพราะความกลัวว่าผู้หญิงจะชิงเอาอำนาจกลับคืนไป ฉะนั้น จึงต้องหวงแหนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายซึ่งเป็นที่มาของอำนาจมิให้ผู้หญิงเข้าใกล้

ที่ผมบอกว่าคำอธิบายนี้สนุกดีก็เพื่อจะเตือนว่าอย่าเพิ่งรีบเชื่อ เพราะนักมานุษยวิทยาคนอื่นอาจชี้ที่ผิดของความคิดนี้ได้เยอะแยะ อย่างไรก็ตาม ในหลายวัฒนธรรมมีความเชื่อและพิธีกรรมที่กีดกันมิให้ผู้หญิงเท่าเทียมกับผู้ชาย ไม่ว่าในเชิงสิทธิหรือในเชิงอำนาจ

อันที่จริง จะค้นหาความไม่เท่าเทียมอย่างนี้ในความเชื่อและพิธีกรรมของคนไทยภาคกลาง, อีสาน, ใต้ ก็จะพบอยู่ทั่วไป เพียงแต่ไม่ถึงกับปิดป้ายบอกเท่านั้น

ฉะนั้น อย่างไรเสียก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ธรรมเนียมการปิดป้ายห้ามผู้หญิงเข้าไปในบริเวณรั้วที่ล้อมรอบพระธาตุนั้น เป็นธรรมเนียมโบราณที่คงจะสืบเนื่องมากับธรรมเนียมประเพณีอีกมากมายที่ไม่ยอมรับความเท่าเทียมระหว่างหญิงและชาย

ผมไม่เข้าใจด้วยว่า จะปฏิเสธกันไปทำไม และเมื่อปฏิเสธไม่ได้ก็ควรยอมรับด้วยว่า มันขัดกับหลักการความเสมอภาคระหว่างเพศซึ่งกลายเป็นหลักการที่มีคนจำนวนมากขึ้นในปัจจุบันยึดถือว่าสำคัญ

แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อฝ่ายที่ต้องการให้รักษาธรรมเนียมนี้ไว้ยืนยันว่า เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ทำกันมานานมากในภาคเหนือ จึงต้องการรักษาเอาไว้ให้คงเดิมตลอดไป แม้ฟังดูในตอนแรกไม่ค่อยมีเหตุผลนัก เพราะธรรมเนียมประเพณีอะไรๆ ก็เลิกได้ทั้งนั้นแหละ อีกทั้งในความเป็นจริงก็ได้เลิกกันไปเสียนับไม่ถ้วนแล้วด้วย แต่พอคิดๆ ไปอีกที ผมกลับมีอคติลำเอียงเข้าข้างฝ่ายที่อยากรักษาขนบธรรมเนียมของท้องถิ่น

อคตินี้ไม่ได้เกิดจากความอยากรักษาป้ายกีดกันผู้หญิง หรือไม่อยากให้ผู้หญิงเข้าใกล้อำนาจหรอกนะครับ แต่เกิดจากการที่เข็ดขยาด หวาดกลัว และระแวงกับอะไรก็ตามที่อ้างความเป็นสากล

ผมคิดว่าเราอยู่ในโลกที่ผู้คนส่วนใหญ่ถูกบรรษัทข้ามชาติสร้างกติกาหรือใช้หลักการบางอย่างที่อ้างความเป็นสากลกดหัวขูดรีดอย่างทารุณโหดร้าย เช่นเปิดการค้าเสรีภายใต้กติกาเดียวกันทั่วไปหมด เพราะการค้าเสรีมีความดีเป็นสากล แต่ครั้นเผชิญกับปัญหาสากลอย่างแท้จริง เช่น ภาวะเรือนกระจก กลับยืนยันให้ต่างคนต่างแก้ปัญหาเอาเอง ที่จะร่วมกันลดปริมาณคาร์บอนลงตามเป้าหมายนั้นไม่เอาดีกว่า

ไม่มีความหมายใดๆ เลยนอกจากผลประโยชน์ของฝ่ายที่มีอำนาจ

และในนามของ "สากล" นี่แหละ ที่นักการเมืองไทยชอบใช้อ้างเพื่อกดหัวคนอื่นเหมือนกัน จะรับใช้บรรษัทข้ามชาติด้านจีเอ็มโอก็อ้างจีเอมโอเป็นสากล, อยากกินหัวคิวสร้างเขื่อน ก็อ้างว่าการจัดการน้ำด้วยโครงสร้างขนาดใหญ่อย่างนี้เป็นสากล, พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ อยากหาประโยชน์จากนโยบายรัฐเรื่องใด ก็อ้างความเป็นสากลให้แก่นโยบายนั้น

เพราะรู้ว่าคนไทยขี้เกรงใจสากล

ผมจึงค่อนข้างลำเอียงเข้าหาท้องถิ่น แต่ก็ไม่ได้ลำเอียงถึงขนาดที่คิดว่าท้องถิ่นถูกทุกเรื่อง เพียงแต่คิดว่าต้องมีจุดที่สมดุลระหว่างหลักการที่อ้างความเป็นสากล กับอะไรที่เป็นเรื่องเฉพาะของท้องถิ่นอันคนในท้องถิ่นอยากรักษาเอาไว้ แม้ว่าไม่สอดคล้องกับหลักการที่อ้างว่าสากลก็ตาม

ผมควรบอกด้วยว่า ผมก็มีอุดมคติส่วนตัวซึ่งอยากให้มันเป็นสากลเหมือนกัน เช่น สิทธิมนุษยชน ความเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, หรือแม้แต่ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ นั่นก็คือผมกำลังบอกว่าไม่ได้ปฏิเสธความเป็นสากลไปทั้งหมด

เพียงแต่ว่า ผมไม่อยากให้ความเป็นสากลถูกสถาปนาด้วยอำนาจ แต่น่าจะผ่านกระบวนการต่อรองโดยสันติ และอย่างเท่าเทียมระหว่างท้องถิ่นกับหลักการสากล เพราะผมไม่เชื่อใครจะมีคำตอบสำเร็จรูปสำหรับทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผู้หญิงกับพระธาตุ หรือจีเอมโอ หรือการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ

ฉะนั้น ผมจึงไม่อยากเห็นใครเอาป้าย "ผู้หญิงห้ามเข้า" ลงด้วยอำนาจรัฐ แต่อยากเห็นการโต้เถียงกันด้วยเหตุผลว่าธรรมเนียมเช่นนี้มีผลร้ายอย่างไร หรือการไม่รักษาขนบธรรมเนียมดังกล่าวมีผลร้ายอย่างไร

การโต้เถียงจะทำให้เกิดการเรียนรู้ทั้งสองฝ่าย ในที่สุดคนในท้องถิ่นเองก็อาจเห็นชอบกับการยกเลิกธรรมเนียมนี้ หรืออย่างน้อยก็มีการปรับเปลี่ยนขนบธรรมเนียมนี้ไปในทางที่เอื้อต่อสิทธิเสมอภาคของผู้หญิงมากขึ้น หรือตรงกันข้าม ฝ่ายที่อยากให้เอาป้ายออกอาจเห็นดีเห็นงามกับขนบธรรมเนียมอย่างนี้ก็ได้

ไม่ว่าจะออกอย่างไร ทั้งสองฝ่ายก็จะได้เรียนรู้อะไรอีกมากทั้งนั้น

ผมคิดว่า ความขัดแย้งระหว่าง "สากล" และ "ท้องถิ่น" ในเมืองไทยจะเกิดมากขึ้นกว่านี้อีกมาก เพราะ "ท้องถิ่น" ของไทยมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แต่เราจะขัดแย้งกันโดยวิธีเผาพริกเผาเกลือตลอดไปไม่ได้ เพราะที่จริงเป็นการปะทะกันของอำนาจนั่นเองไม่เกิดผลดีแก่ใครเลย

จุดสมดุลของสากลและท้องถิ่นจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการแลกเปลี่ยนกันโดยสันติในความขัดแย้ง ฉะนั้นผมคิดว่าเราควรมีกติกาในการจัดการด้านความขัดแย้งเช่นนี้อย่างน้อยสามอย่าง

อย่างแรก คือห้ามใช้ความรุนแรงอย่างเด็ดขาด การเผาพริกเผาเกลือก็เป็นความรุนแรงอย่างหนึ่ง การกล่าวประณามหยามเหยียดด้วยถ้อยคำที่หยาบคายก็เป็นความรุนแรงอีกอย่างหนึ่ง การกีดกันฝ่ายตรงข้าม เช่นไม่ใช่คนเมืองหรือเป็นคนนอก ก็เป็นความรุนแรงอีกอย่างหนึ่ง ผมพบว่าคนเหนือเองที่เห็นด้วยกับการเอาป้ายออก ยังไม่กล้าเสนอความเห็นด้วยซ้ำ

อย่างที่สอง คือต้องเปิดความให้ความเห็นของทั้งสองฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกัน การแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่กล้า หรือไม่ได้รับโอกาสให้เสนอความเห็นของตัว

อย่างที่สาม ความขัดแย้งเช่นนี้ไม่ใช่การโต้วาที ทั้งสองฝ่ายต้องมองนัยยะทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองให้กว้างออกไปด้วย การยืนยันจุดยืนซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น รัฐธรรมนูญกำหนดให้หญิงชายเท่าเทียมกันก็ดี เป็นเพียงการประกาศจุดยืน ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ใดๆ เพิ่มขึ้นมากนัก

และดังที่กล่าวแหละครับ ถึงทำสามอย่างนี้แล้ว ก็อาจไม่บรรลุความตกลงพร้อมใจกันได้ทั้งสองฝ่าย ความขัดแย้งก็ยังอาจดำรงอยู่ต่อไป แต่ทั้งสองฝ่ายได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นมากอย่างแน่นอน ยิ่งกว่านั้น คนทั้งสังคมก็ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นตามไปด้วยจากการฟังการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน
IP : บันทึกการเข้า

รับซื้อ-ขาย-ฝาก-ขายฝากคอมพิวเตอร์ PC Notebook โทรศัพท์มือถือ nokia iPhone samsung ทีวี LCD เครื่องเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดราคาสูง รุ่นเก่า รุ่นใหม่ โทรมาคุยกันได้ครับ
~KT 2 U~
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,601


♥ แม่ค้าออนไลน์ ผู้ซึ่งเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ♥


« ตอบ #53 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 21:12:44 »

ส่วนเรื่องผู้หญิงกับพระธาตุ ผมขอเอาแนวความคิดของท่าน นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ มาลงไว้ด้วยละกันครับ  ผมอ่านดูแล้ว อยากนำมาแบ่งปันครับ

ผู้หญิงกับพระธาตุ

 

นิธิ เอียวศรีวงศ์



ป่านนี้อารมณ์ร้อนแรงเกี่ยวกับผู้หญิงและพระธาตุในภาคเหนือ คงบรรเทาความฉุนเฉียวลงแล้ว จึงเป็นเวลาสมควรที่เราจะคิดถึงเรื่องนี้อย่างคนในสังคมอารยะที่เป็นประชาธิปไตยกันได้

ตามความเข้าใจของผม แม้รัฐธรรมนูญถูกใช้เป็นข้ออ้างของฝ่ายที่อยากให้เอาป้าย "ห้ามสตรีเข้าบริเวณนี้ ออก แต่เอาเข้าจริงแล้วรัฐธรรมนูญตัดสินให้ไม่ได้

เพราะถึงรัฐธรรมนูญจะให้สิทธิเท่าเทียมกันแก่หญิงใน ม.30 แต่รัฐธรรมนูญก็รับรองสิทธิที่จะอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นไว้ใน ม.46 ด้วย

ต้องมาเถียงกันว่าประเพณีวัฒนธรรมที่ห้ามผู้หญิงเข้าไปในเขตรั้วของพระธาตุที่ฝังพระบรมสารีริกธาตุไว้เบื้องล่างนั้น "อันดี" แล้วหรือยัง

อันที่จริง การห้ามไม่ให้ใครเหยียบย่ำสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นพระบรมสารีริกธาตุนั้น เป็นวัฒนธรรมที่คนไทยทั่วไปเข้าใจอยู่แล้ว และโดยปรกติเขาก็ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงหรือผู้ชายเข้าไปเดินเล่นหลังรั้วที่กั้นไว้ทั้งนั้น เพียงแต่ว่าหากมีความจำเป็น เช่น ต้องซ่อมหรือปิดทองพระธาตุ เขาก็ใช้แต่แรงงานผู้ชาย ไม่เอาผู้หญิงขึ้นไปเหยียบย่ำ

เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะผู้หญิงนั้น "สกปรก" ล่ะสิครับ ข้อนี้ไม่ใช่ความเชื่อในพระพุทธศาสนา แต่เป็นความเชื่อที่ปรากฏในหลายวัฒนธรรมมาแต่โบราณ และคนล้านนาก็เชื่ออย่างเดียวกันนี้ แม้ไม่ใช่ความเชื่อในพระพุทธศาสนาก็ตาม... ก็ใครบอกเล่าครับว่าคนไทยเชื่อแต่พระพุทธศาสนาอย่างเดียว

นักมานุษยวิทยาบางคนอธิบายความเชื่อว่าผู้หญิง "สกปรก" ไว้สนุกดี ว่า แต่เดิมนั้นผู้หญิงเป็นเพศที่มีเกียรติยศ, เป็นสายหลักของการสืบมรดก (คือมรดกอาจตกเป็นของผู้ชาย แต่โดยอาศัยการสืบสิทธิจากแม่), เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ, และมีอำนาจ มากกว่าผู้ชาย

ครั้นเกิดความเปลี่ยนแปลงบางอย่างในวิถีการดำรงชีวิต ผู้ชายกลับเป็น "ใหญ่" กว่า จึงมีความเชื่อและพิธีกรรมหลายอย่างที่จะกีดกันมิให้ผู้หญิงเข้าใกล้อำนาจได้เท่าผู้ชาย เพราะความกลัวว่าผู้หญิงจะชิงเอาอำนาจกลับคืนไป ฉะนั้น จึงต้องหวงแหนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายซึ่งเป็นที่มาของอำนาจมิให้ผู้หญิงเข้าใกล้

ที่ผมบอกว่าคำอธิบายนี้สนุกดีก็เพื่อจะเตือนว่าอย่าเพิ่งรีบเชื่อ เพราะนักมานุษยวิทยาคนอื่นอาจชี้ที่ผิดของความคิดนี้ได้เยอะแยะ อย่างไรก็ตาม ในหลายวัฒนธรรมมีความเชื่อและพิธีกรรมที่กีดกันมิให้ผู้หญิงเท่าเทียมกับผู้ชาย ไม่ว่าในเชิงสิทธิหรือในเชิงอำนาจ

อันที่จริง จะค้นหาความไม่เท่าเทียมอย่างนี้ในความเชื่อและพิธีกรรมของคนไทยภาคกลาง, อีสาน, ใต้ ก็จะพบอยู่ทั่วไป เพียงแต่ไม่ถึงกับปิดป้ายบอกเท่านั้น

ฉะนั้น อย่างไรเสียก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ธรรมเนียมการปิดป้ายห้ามผู้หญิงเข้าไปในบริเวณรั้วที่ล้อมรอบพระธาตุนั้น เป็นธรรมเนียมโบราณที่คงจะสืบเนื่องมากับธรรมเนียมประเพณีอีกมากมายที่ไม่ยอมรับความเท่าเทียมระหว่างหญิงและชาย

ผมไม่เข้าใจด้วยว่า จะปฏิเสธกันไปทำไม และเมื่อปฏิเสธไม่ได้ก็ควรยอมรับด้วยว่า มันขัดกับหลักการความเสมอภาคระหว่างเพศซึ่งกลายเป็นหลักการที่มีคนจำนวนมากขึ้นในปัจจุบันยึดถือว่าสำคัญ

แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อฝ่ายที่ต้องการให้รักษาธรรมเนียมนี้ไว้ยืนยันว่า เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ทำกันมานานมากในภาคเหนือ จึงต้องการรักษาเอาไว้ให้คงเดิมตลอดไป แม้ฟังดูในตอนแรกไม่ค่อยมีเหตุผลนัก เพราะธรรมเนียมประเพณีอะไรๆ ก็เลิกได้ทั้งนั้นแหละ อีกทั้งในความเป็นจริงก็ได้เลิกกันไปเสียนับไม่ถ้วนแล้วด้วย แต่พอคิดๆ ไปอีกที ผมกลับมีอคติลำเอียงเข้าข้างฝ่ายที่อยากรักษาขนบธรรมเนียมของท้องถิ่น

อคตินี้ไม่ได้เกิดจากความอยากรักษาป้ายกีดกันผู้หญิง หรือไม่อยากให้ผู้หญิงเข้าใกล้อำนาจหรอกนะครับ แต่เกิดจากการที่เข็ดขยาด หวาดกลัว และระแวงกับอะไรก็ตามที่อ้างความเป็นสากล

ผมคิดว่าเราอยู่ในโลกที่ผู้คนส่วนใหญ่ถูกบรรษัทข้ามชาติสร้างกติกาหรือใช้หลักการบางอย่างที่อ้างความเป็นสากลกดหัวขูดรีดอย่างทารุณโหดร้าย เช่นเปิดการค้าเสรีภายใต้กติกาเดียวกันทั่วไปหมด เพราะการค้าเสรีมีความดีเป็นสากล แต่ครั้นเผชิญกับปัญหาสากลอย่างแท้จริง เช่น ภาวะเรือนกระจก กลับยืนยันให้ต่างคนต่างแก้ปัญหาเอาเอง ที่จะร่วมกันลดปริมาณคาร์บอนลงตามเป้าหมายนั้นไม่เอาดีกว่า

ไม่มีความหมายใดๆ เลยนอกจากผลประโยชน์ของฝ่ายที่มีอำนาจ

และในนามของ "สากล" นี่แหละ ที่นักการเมืองไทยชอบใช้อ้างเพื่อกดหัวคนอื่นเหมือนกัน จะรับใช้บรรษัทข้ามชาติด้านจีเอ็มโอก็อ้างจีเอมโอเป็นสากล, อยากกินหัวคิวสร้างเขื่อน ก็อ้างว่าการจัดการน้ำด้วยโครงสร้างขนาดใหญ่อย่างนี้เป็นสากล, พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ อยากหาประโยชน์จากนโยบายรัฐเรื่องใด ก็อ้างความเป็นสากลให้แก่นโยบายนั้น

เพราะรู้ว่าคนไทยขี้เกรงใจสากล

ผมจึงค่อนข้างลำเอียงเข้าหาท้องถิ่น แต่ก็ไม่ได้ลำเอียงถึงขนาดที่คิดว่าท้องถิ่นถูกทุกเรื่อง เพียงแต่คิดว่าต้องมีจุดที่สมดุลระหว่างหลักการที่อ้างความเป็นสากล กับอะไรที่เป็นเรื่องเฉพาะของท้องถิ่นอันคนในท้องถิ่นอยากรักษาเอาไว้ แม้ว่าไม่สอดคล้องกับหลักการที่อ้างว่าสากลก็ตาม

ผมควรบอกด้วยว่า ผมก็มีอุดมคติส่วนตัวซึ่งอยากให้มันเป็นสากลเหมือนกัน เช่น สิทธิมนุษยชน ความเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, หรือแม้แต่ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ นั่นก็คือผมกำลังบอกว่าไม่ได้ปฏิเสธความเป็นสากลไปทั้งหมด

เพียงแต่ว่า ผมไม่อยากให้ความเป็นสากลถูกสถาปนาด้วยอำนาจ แต่น่าจะผ่านกระบวนการต่อรองโดยสันติ และอย่างเท่าเทียมระหว่างท้องถิ่นกับหลักการสากล เพราะผมไม่เชื่อใครจะมีคำตอบสำเร็จรูปสำหรับทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผู้หญิงกับพระธาตุ หรือจีเอมโอ หรือการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ

ฉะนั้น ผมจึงไม่อยากเห็นใครเอาป้าย "ผู้หญิงห้ามเข้า" ลงด้วยอำนาจรัฐ แต่อยากเห็นการโต้เถียงกันด้วยเหตุผลว่าธรรมเนียมเช่นนี้มีผลร้ายอย่างไร หรือการไม่รักษาขนบธรรมเนียมดังกล่าวมีผลร้ายอย่างไร

การโต้เถียงจะทำให้เกิดการเรียนรู้ทั้งสองฝ่าย ในที่สุดคนในท้องถิ่นเองก็อาจเห็นชอบกับการยกเลิกธรรมเนียมนี้ หรืออย่างน้อยก็มีการปรับเปลี่ยนขนบธรรมเนียมนี้ไปในทางที่เอื้อต่อสิทธิเสมอภาคของผู้หญิงมากขึ้น หรือตรงกันข้าม ฝ่ายที่อยากให้เอาป้ายออกอาจเห็นดีเห็นงามกับขนบธรรมเนียมอย่างนี้ก็ได้

ไม่ว่าจะออกอย่างไร ทั้งสองฝ่ายก็จะได้เรียนรู้อะไรอีกมากทั้งนั้น

ผมคิดว่า ความขัดแย้งระหว่าง "สากล" และ "ท้องถิ่น" ในเมืองไทยจะเกิดมากขึ้นกว่านี้อีกมาก เพราะ "ท้องถิ่น" ของไทยมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แต่เราจะขัดแย้งกันโดยวิธีเผาพริกเผาเกลือตลอดไปไม่ได้ เพราะที่จริงเป็นการปะทะกันของอำนาจนั่นเองไม่เกิดผลดีแก่ใครเลย

จุดสมดุลของสากลและท้องถิ่นจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการแลกเปลี่ยนกันโดยสันติในความขัดแย้ง ฉะนั้นผมคิดว่าเราควรมีกติกาในการจัดการด้านความขัดแย้งเช่นนี้อย่างน้อยสามอย่าง

อย่างแรก คือห้ามใช้ความรุนแรงอย่างเด็ดขาด การเผาพริกเผาเกลือก็เป็นความรุนแรงอย่างหนึ่ง การกล่าวประณามหยามเหยียดด้วยถ้อยคำที่หยาบคายก็เป็นความรุนแรงอีกอย่างหนึ่ง การกีดกันฝ่ายตรงข้าม เช่นไม่ใช่คนเมืองหรือเป็นคนนอก ก็เป็นความรุนแรงอีกอย่างหนึ่ง ผมพบว่าคนเหนือเองที่เห็นด้วยกับการเอาป้ายออก ยังไม่กล้าเสนอความเห็นด้วยซ้ำ

อย่างที่สอง คือต้องเปิดความให้ความเห็นของทั้งสองฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกัน การแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่กล้า หรือไม่ได้รับโอกาสให้เสนอความเห็นของตัว

อย่างที่สาม ความขัดแย้งเช่นนี้ไม่ใช่การโต้วาที ทั้งสองฝ่ายต้องมองนัยยะทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองให้กว้างออกไปด้วย การยืนยันจุดยืนซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น รัฐธรรมนูญกำหนดให้หญิงชายเท่าเทียมกันก็ดี เป็นเพียงการประกาศจุดยืน ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ใดๆ เพิ่มขึ้นมากนัก

และดังที่กล่าวแหละครับ ถึงทำสามอย่างนี้แล้ว ก็อาจไม่บรรลุความตกลงพร้อมใจกันได้ทั้งสองฝ่าย ความขัดแย้งก็ยังอาจดำรงอยู่ต่อไป แต่ทั้งสองฝ่ายได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นมากอย่างแน่นอน ยิ่งกว่านั้น คนทั้งสังคมก็ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นตามไปด้วยจากการฟังการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน



ขอบคุณแนวคิดดีๆ ที่นำมาฝากกันค่ะ   ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

monmaprangsity
หลานอุ้ยหม่อนตั๋น
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92



« ตอบ #54 เมื่อ: วันที่ 30 มีนาคม 2011, 10:19:39 »

ที่วัดโบสถ์ก่ห้ามเข้าเหมือนกันค้ับ
IP : บันทึกการเข้า

ไม่มีทุกข์ใด .. จะอยู่ตลอดไป .. ถ้าเราไม่กักขังมันไว้ .. ในใจของเราเอง
คำอ้ายบ้านดู่
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,033


คำอ้ายบ้านดู่


« ตอบ #55 เมื่อ: วันที่ 30 มีนาคม 2011, 12:59:07 »

ความจริงมันมีรายละเอียดปลีกย่อยมากกว่าห้ามเข้าไป แล้วถ้าบ่มีภาระกิจหน้าที่หยังจะเข้าไปในหั้นจะเข้าไปทำไม? ไหว้สาอยู่ด้านนอกก็มีความสุขดีอยู่แล้ว?
IP : บันทึกการเข้า
คำอ้ายบ้านดู่
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,033


คำอ้ายบ้านดู่


« ตอบ #56 เมื่อ: วันที่ 30 มีนาคม 2011, 13:07:32 »

มันก็เหมือนกับผู้หญิงชาวมุสลิมที่เปิ้นต้องใส่ผ้าคลุมปิดใบหน้า ... ถามว่า "ผิดกฏหมายสิทธิสตรีไหม?" ถ้าตอบข้อนี้ได้ ก็เหมือนกันนะครับ
IP : บันทึกการเข้า
ลูกหล้าแม่อุ้ย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 332



« ตอบ #57 เมื่อ: วันที่ 30 มีนาคม 2011, 17:19:27 »

มันก็เหมือนกับผู้หญิงชาวมุสลิมที่เปิ้นต้องใส่ผ้าคลุมปิดใบหน้า ... ถามว่า "ผิดกฏหมายสิทธิสตรีไหม?" ถ้าตอบข้อนี้ได้ ก็เหมือนกันนะครับ

คุณ Mr. มาตอบข้อนี้ตวยเน้อ 555  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #58 เมื่อ: วันที่ 30 มีนาคม 2011, 19:50:30 »

ไม่ต้องคิดมากครับ อุ้ยผม แม่ผม บ่หันเปิ้นเดือดร้อนหยัง กราบตางนอกก็เหมือนกัน
เมียผมก็บ่หันจ่มหยัง เปิ้นบ่หื้อเข้า ก็บ่เข้า คางเหนือเปิ้นบ่มีไผเดือดร้อน คนที่อื่นทั้งนั้น
ที่มันเดือดร้อน บ้านบ่หื้อเข้า บ่ปอใจ๋ก็บ่ต้องมาแอ่ว
ถามว่าที่สตรีเรียกร้องสารพัดเรียกร้องสิทธิ เวลามีปอย บ่เกยหันแม่ญิงกางเต๊นท์ ยกของหนักน่อยฮ้องหาป้อจาย ฝนตกฟ้าฮ้องแผ่นดินไหว สั่นโจ๊ะ ๆ เป็นไห้ เป็นหุย ยะหยังปอบ่ถูกบ่เถือ
IP : บันทึกการเข้า
คำอ้ายบ้านดู่
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,033


คำอ้ายบ้านดู่


« ตอบ #59 เมื่อ: วันที่ 30 มีนาคม 2011, 19:56:08 »

ไม่ต้องคิดมากครับ อุ้ยผม แม่ผม บ่หันเปิ้นเดือดร้อนหยัง กราบตางนอกก็เหมือนกัน
เมียผมก็บ่หันจ่มหยัง เปิ้นบ่หื้อเข้า ก็บ่เข้า คางเหนือเปิ้นบ่มีไผเดือดร้อน คนที่อื่นทั้งนั้น
ที่มันเดือดร้อน บ้านบ่หื้อเข้า บ่ปอใจ๋ก็บ่ต้องมาแอ่ว
ถามว่าที่สตรีเรียกร้องสารพัดเรียกร้องสิทธิ เวลามีปอย บ่เกยหันแม่ญิงกางเต๊นท์ ยกของหนักน่อยฮ้องหาป้อจาย ฝนตกฟ้าฮ้องแผ่นดินไหว สั่นโจ๊ะ ๆ เป็นไห้ เป็นหุย ยะหยังปอบ่ถูกบ่เถือ


กด Like สามร้อยล้านรอบ บ่ใช่ว่าอั้นว่าอี้น่ะ จะเรียกร้องหยังมันก็ต้องมีขอบเขตความพอดีของมัน ถ้าจะเรียกร้อง 100% กำนี้ก็บ่ต้องมาบอกว่า Laday first หรือว่า สุภาพบุรุษมีไหม ? ? ถ้าจะเอาหัวเปียงกั๋นหมด
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!