เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 02:41:38
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน อำลาจอ .. <<<
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 พิมพ์
ผู้เขียน >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน อำลาจอ .. <<<  (อ่าน 42470 ครั้ง)
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 06:14:45 »

วันนี้วันที่ 14 มิถุนายน 2555
..................

* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - เกิดอุบัติเหตุโป๊ะที่ท่าเรือพรานนก เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ล่มลงในแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากมีผู้โดยสารมากเกินขีดจำกัด เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 24 คน และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
วันนี้เมื่อ พ.ศ. 2538  โป๊ะล่มที่ท่าเรือพรานนก มีผู้เสียชีวิตราว 29 คน
เกิดอุบัติเหตุโป๊ะรับส่งผู้โดยสารบริเวณท่าเรือพรานนกล่มลง เนื่องจากมีผู้โดยสารลงไปรอเรือบนโป๊ะจำนวนมาก ประกอบกับเป็นช่วงที่เรือเข้าเทียบท่า ทำให้มีคลื่นกระทบกับโป๊ะแล้วทำให้ทุ่นเอียงและมีน้ำเข้าไปในทุ่นจนไม่สามารถรับน้ำหนักต่อไปได้ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต ราว 29 คน  

     วันนี้เมื่อ พ.ศ. 2530  ลี คยุงยุนได้รับตำแหน่งแชมป์โลกรุ่น 105 ปอนด์ คนแรกในประวัติศาสตร์วงการมวย
ลี คยุงยุน (Kyung Yun Lee) นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้ ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกรุ่น 105 ปอนด์ คนแรกในประวัติศาสตร์วงการมวย ในรุ่นมินิฟลายเวท IBF ที่ว่างโดยการชนะน๊อค มาซาฮารุ คาวาคามิ ในยกที่ 2 ที่ประเทศเกาหลีใต้

วันนี้เมื่อ พ.ศ. 2528  ผู้ก่อการร้ายชาวเลบานอนและกลุ่มฮิซโบลลาห์จี้เครื่องบิน
ผู้ก่อการร้ายชาวเลบานอนและกลุ่มฮิซโบลลาห์จี้เครื่องบินของสายการบิน TWA เที่ยวบิน 847 ซึ่งกำลังเดินทางจากกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ จะไปยังกรุงโรม ประเทศอิตาลี ผู้ก่อการร้ายสังหารนักประดาน้ำกองทัพเรือสหรัฐ 1 คน และทิ้งศพลงไว้ที่ลานในท่าอากาศยาน

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 29 ตุลาคม 2012, 08:09:26 โดย Siranoi » IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 15 มิถุนายน 2012, 06:13:34 »

วันนี้วันที่ 15 มิถุนายน 2555
..................
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2310 (ค.ศ. 1767) – พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตีได้เมืองจันทบุรี หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ๒ เดือน
การกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (1)


      ในช่วงที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น พระยาวชิระปราการ (ตำแหน่งสุดท้ายของพระยาตาก) เจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งถูกเรียกตัวมาช่วย
รักษากรุง เห็นว่าจะรักษากรุงไว้ไม่ได้ จึงรวบรวมผู้คนได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าแนวรบของทหารพม่าออกไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก
เมื่อผ่านเมืองใดก็จะส่งทหารเข้าไปชักชวนให้เจ้าเมืองมาร่วมมือกัน ถ้าเมืองใดไม่ยอมก็จะใช้กำลังเข้าโจมตี ทำให้พระยาตากมีกำลังมากขึ้น
พระยาตากเห็นว่าการจะกู้ชาติบ้านเมืองให้สำเร็จนั้นจะต้องมีบารมีเป็นที่นับถือยำเกรงของคนทั้งหลาย จึงประกาศตั้งตนเป็นเจ้าที่เมืองระยอง
ด้วยความเห็นชอบของบรรดาทหารและประชาชน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังจันทบุรี แต่ได้รับการต่อต้าน พระเจ้าตากจึงทรงแสดงความ
สามารถใช้กลวิธีปลุกใจทหารและสร้างแรงบันดาลใจโดยให้ทหารทุบหม้อข้าวหม้อแกงก่อนเข้าตี หวังจะไปกินอาหารมื้อต่อไปในเมือง
ซึ่งได้ผลเพราะทหารเกิดกำลังใจที่จะต้องตีเมืองจันทบุรีให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีอาหารกิน การตีจันทบุรีจึงสำเร็จ และพระเจ้าตากสินจึง
ใช้เมืองจันทบุรีเป็นศูนย์กลางในการกู้เอกราช การยกทัพของพระเจ้าตากสินที่ตีฝ่าพม่าออกไปมีเส้นทางเดินทัพผ่านไปตามเมืองต่างๆ
ถ้าพิจารณาตามสถานที่ของจังหวัดในปัจจุบันก็จะผ่าน อยุธยา----นครนายก-----ปราจีนบุรี-----ฉะเชิงเทรา-----ชลบุรี-----ระยอง-----จันทบุรี

      เมื่อพระเจ้าตากสินมีกำลังไพร่พลมากขึ้น จึงได้ยกทัพมาตีธนบุรีเป็นด่านแรก ได้ปะทะกับกำลังของนายทองอิน คนไทยที่พม่าแต่งตั้ง
ให้เป็นผู้รักษากรุง พระยาตากสินชนะจับนายทองอินประหารชีวิต จากนั้นจึงเดินทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาในค่ำวันเดียวกันนั่นเอง

      ศึกกู้ชาติอย่างแท้จริงได้เริ่มขึ้นในเช้าวันเพ็ญเดือน 12  ตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ณ ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งอยู่เหนือ
กรุงศรีอยุธยาขึ้นไปเล็กน้อย  มีกองกำลังของพม่าคุมเชิงอยู่  มีสุกี้พระนายกองเป็นผู้บังคับบัญชา   พระเจ้าตากสินรบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์
สามต้น   ซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชคืนจากพม่าได้สำเร็จโดยใช้เวลาเพียง  7  เดือนเศษเท่านั้นนับจากเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310
ปีต่อมาพระเจ้าตากได้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยาไปอยู่ที่กรุงธนบุรีซึ่งมีชื่อเต็มว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” และได้ปราบดาภิเษก
ขึ้นเป็นกษัตริย์  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4

 
 ความรู้เพิ่มเติม......

      พิธีปราบดาภิเษก เป็นพิธีขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ผู้ซึ่งปราบเอาชนะผู้อื่น แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ ต่างจากพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งเป็นพิธีขึ้นครองราชย์ ของกษัตริย์ที่ได้รับสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา   

      เมื่อขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แล้ว พระองค์ยังมิได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จครอบคลุมอาณาจักรไทยทั้งหมด เพราะว่าหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว
แผ่นดินว่างกษัตริย์ บ้านเมืองระส่ำระสาย คนไทยแตกแยกออกเป็นชุมนุมใหญ่น้อยมากมายแต่ละชุมนุมต่างรบราฆ่าฟันกันเองเพื่อแย่งชิงเสบียง
อาหารและปล้นสะดมทรัพย์สินหรือเสริมสร้างอำนาจ ซึ่งพระเจ้าตากได้ทรงวางแผนการที่จะรวบรวมชุมนุมต่างๆการปราบปรามชุมนุมต่างๆ
เป็นความจำเป็นทางการเมือง เพราะชุมนุมเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความได้เปรียบพระเจ้าตากทั้งสิ้น ทั้งนี้พิจารณาได้จากชาติกำเนิดอำนาจวาสนา
ของผู้นำชุมนุม นอกจากชุมนุมของสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้ว ยังมีชุมนุมขนาดใหญ่อีก 4 ชุมนุม ดังนี้

      1. ชุมนุมเจ้านคร ตั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช มีหลวงสิทธินายเวร(หนู) เป็นผู้นำหลวงสิทธินายเวรเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
มีอำนาจสิทธิขาดในเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ในภาคใต้ มีผู้คนมาก มีกำลังเข้มแข็งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกจึงถือโอกาสตั้งตัว
เป็นอิสระ
      2. ชุมนุมเจ้าพิมาย ตั้งอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ผู้นำคือ กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งเป็นโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
มีผู้คนมาเข้าด้วยเป็นอันมากเพราะถือว่าเป็นเจ้านายอาวุโสในราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นผู้ที่เหมาะสมจะขึ้นครองราชย์อย่างถูกต้อง
ตามทำนองครองธรรม
      3. ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ผู้นำชื่อ เรือง ปกครองหัวเมืองเหนือ พิษณุโลกเป็นชุมนุมใหญ่มีกำลังมาก
ผู้นำมีความสามารถในการรบ เป็นความหวังของคนทางเหนือว่าจะเป็นผู้นำในการกอบกู้บ้านเมือง ชุมนุมนี้จึงแข็งแกร่งกว่าชุมนุมใดๆ
      4. ชุมนุมเจ้าพระฝาง ตั้งอยู่ที่สวางคบุรี อุตรดิตถ์ ผู้นำเป็นพระชื่อ เรือน เป็นพระสังฆราชาเมืองสวางคบุรี อยู่ที่วัดพระฝาง
เชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์วิชาอาคม มีผู้คนศรัทธามาก จึงมีคนมาเข้าด้วยจำนวนมาก

      ทั้ง 4 ชุมนุมมีข้อได้เปรียบสมเด็จพระเจ้าตากสินตรงที่มีอำนาจอยู่ในหัวเมืองของตนเองอยู่แล้ว ผู้คนเคารพยำเกรงมาก่อนไม่ต้องแสดงความ
สามารถในการรบเพื่อสร้างศรัทธาเพียงแต่อาศัยชาติกำเนิดและอำนาจที่มีอยู่ และยังมีฐานที่มั่นที่มั่นคงแข็งแรง มีกำลังคนมากมายในขณะที่
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีชาติกำเนิดเป็นคนธรรมดาสามัญ ลูกครึ่งไทย-จีน ตำแหน่งเดิมเป็นพระยาตาก เจ้าเมืองตากซึ่งเป็นเมืองเล็กๆไม่สำคัญ
ฉะนั้นเมื่อคิดตั้งตนเป็นใหญ่ ก็ต้องแสดงความสามารถหลายด้านให้ประจักษ์ ทั้งการรบการตัดสินใจที่เด็ดขาดและวางแผนกลยุทธ์ต่างๆด้วย
ความสามารถโดยแท้เท่านั้น จึงจะทำให้ผู้คนมาเข้าด้วย แม้แต่ที่มั่นศูนย์อำนาจก็ต้องใช้ความสามารถในการตีหักเอาเมืองมา เช่น
ระยอง จันทบุรี และธนบุรี 


IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 16 มิถุนายน 2012, 06:10:54 »

     วันนี้วันที่ 16 มิถุนายน 2555
.............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - วันสถาปนาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เป็นสถาบันผลิตแพทย์ทหารแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ก่อตั้งเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 7 ของประเทศ จากกระแสพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โดยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก และดำรงสถานะสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล
ประวัติในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้อนุมัติจัดตั้งโรงเรียนเสนารักษ์กองทัพบกขึ้น โดยเป็นหลักสูตรแพทย์ประกาศนียบัตร ระยะเวลาศึกษา 4 ปี 6 เดือน ดำเนินการผลิตแพทย์เพื่อรับใช้กองทัพจนถึงปี พ.ศ. 2490 รวมทั้งสิ้น 4 รุ่น แล้วหยุดไปเนื่องจากขาดแคลนบุคลากรอาจารย์แพทย์และอุปกรณ์การเรียนการสอน อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมมีความตระหนักถึงภารกิจที่สำคัญของแพทย์ทหาร จึงได้หาแนวทางปฏิบัติต่างๆ อาทิ การรับแพทย์ภายในประเทศเข้ารับราชการ ตลอดจนให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนเตรียมทหารเข้าศึกษาวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในระหว่างปีการศึกษา 2511 ถึงปีการศึกษา 2516 แล้วก็ต้องยุติไป เนื่องจากกระแสต่อต้านที่รุนแรงจากหลายฝ่าย ที่เกรงว่าจะทำให้ผลิตแพทย์ที่ไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่
 
พระราชวังพญาไท


วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 โดยกรมแพทย์ทหารบกได้เสนอเรื่องขอจัดตั้ง "โรงเรียนแพทย์ทหาร" เนื่องเกิดความขาดแคลนแพทย์ทหารอย่างมากในกองทัพ ทำให้มีการรื้อฟื้นแนวคิดในการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ทหารขึ้นมาอีกครั้ง และได้รับอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 แต่ต้องชะลอโครงการไว้ เนื่องจากไม่ได้รับสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ทหารได้เริ่มขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงพระราชทานจากกระแสพระบรมราโชวาทแก่นิสิตแพทย์ ณ หอประชุมราชแพทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2516 มีใจความสำคัญว่า "เดิมทางทหารมีความจำเป็นที่จะรับสมัครแพทย์ สำหรับโรงพยาบาลทหารและกิจการของทหาร เพราะว่าเวลารับสมัครแล้วไม่มีใครสมัคร และทำไมไม่มีใครสมัคร ก็เข้าใจว่า เพราะว่าการเป็นแพทย์ทหารนั้นเหนื่อย การเป็นแพทย์นี้ก็เหนื่อยอยู่แล้ว คือต้องรักษาพยาบาลคนไข้ไม่เลือก มีงานในเวลาราชการแล้ว นอกเวลาราชการก็ต้องมีงานอีก นอกจากนั้นเป็นแพทย์ทหารก็ยังมีว่า ต้องออกไปปฏิบัติงานสนาม ซึ่งอาจต้องฝ่าอันตราย คนเราที่จะต้องฝ่าอันตรายก็อาจกลัวได้ อาจเสียวว่าอาจต้องเสียชีวิต หรือจะต้องเหน็ดเหนื่อยเมื่อไหร่ก็ได้ นอกจากนี้เวลาเป็นแพทย์ทหาร ไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ก็ต้องปฏิบัติงานของตน เครื่องมือเครื่องใช้ก็อาจจะไม่ครบถ้วน ก็เกิดความรู้สึกที่ท้อใจ เพราะว่าเรียนมาแล้วมีความรู้ดี ไม่สามารถที่จะเรียนต่อ ไม่สามารถที่จะค้นคว้า ไม่สามารถที่จะมีเครื่องมือ ที่ทันสมัยที่ใหญ่โต นอกจากนั้นก็มีอื่นๆ ก็คือเงินเดือนไม่มาก ทั้งการไปดูงานเมืองนอกก็ไม่ค่อยมีนัก ฉะนั้นก็ไม่มีใครอยากเป็นแพทย์ทหาร ก็มีความจำเป็นที่จะมีแพทย์ทหารทางราชการทหาร ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในด้านวิชานี้ ซึ่งก็มีเหตุผลอยู่เมื่อมีการแสดงความไม่พอใจ หรือไม่เห็นด้วยในการนี้ก็ทำตาม คือระงับการเรียนในมหาวิทยาลัย ก็เป็นอันว่าการวุ่นวายก็ได้ผลดีคือ ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้ ซึ่งจุดประสงค์อันนี้ก็ไม่ต้องขอบอกว่า ไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง คิดเอาเอง ครั้นมาถึงเวลาที่บอกว่าไม่มาฝากแล้ว ทางราชการทหารจะตั้งโรงเรียนแพทย์เอง คือ โรงเรียน สำหรับแพทย์ทหาร ก็เกิดโวยวายขึ้นมาใหม่โวยวายว่า ทำไมทหารต้องมีแพทย์ทหาร มีโรงเรียนแพทย์ทหารตั้งขึ้นมาใหม่ ก็ในการที่ทหารมาฝากเรียนก็มากินที่คนอื่น เมื่อกินที่คนอื่นเขาก็ต้องทำที่ที่อื่น ไม่มาเบียดเบียน ทำไมเมื่อเขาตั้งโรงเรียนแพทย์ทหารขึ้นมาจะต้องโวยวาย อันนี้ก็ต้องมีเหตุผลในสมอง ไม่ขอผ่าสมองดูว่าคิดถูกหรือไม่ถูก หรืออาจเป็นคนละคนก็ได้ หรืออาจไม่ได้ทันคิดว่าคำพูดสองอย่างนี้มันขัดกัน ฉะนั้นก็ถึงขอร้องท่านทั้งหลายว่า ถ้าจะคิดอะไรหรือจะปฏิบัติการใดๆ ก็ขอให้คิดให้รอบคอบเสียก่อน ว่าจะเอาอะไรแน่ ถ้าเอาอะไรแน่แล้วก็ปฏิบัติไปจะได้ผลดี" อันเป็นผลสำคัญยิ่งให้สภาการศึกษาวิชาทหารได้ให้ความเห็นชอบ ในการจัดตั้งวิทยาลัยแพทย์ทหารเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2516

ต่อมาเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2517 กรมแพทย์ทหารบกได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเป็นชื่อของสถาบัน จึงขออนุมัติเปลี่ยนชื่อจาก "วิทยาลัยแพทย์ทหาร" เป็น "วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า" จนถึงปัจจุบัน

วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ในการประชุมร่วมระหว่างกองบัญชาการทหารสูงสุดและผู้แทนสามเหล่าทัพ ได้อนุมัติให้วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เป็นหน่วยงานในความรับผิดชอบของกองทัพบก โดยให้กรมแพทย์ทหารบก มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการผลิตนักเรียนแพทย์ทหารปีละ 32 นาย ในโครงการจัดตั้ง 10 รุ่น (รุ่นที่ 1 จบปีการศึกษา 2524 ถึงรุ่นที่ 10 จบปีการศึกษา 2534)

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2518 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าได้รับอนุมัติเข้าสมทบกับมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อประสาทปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต ทำให้การก่อตั้งวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้ามีความสมบูรณ์ กระทรวงกลาโหมจึงมีคำสั่งลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ให้วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เป็นหน่วยขึ้นตรงกรมแพทย์ทหารบก และอนุมัติให้เปิดดำเนินการได้ จึงถือเอาวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2518 เป็นวันสถาปนาวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าใช้หลักสูตรของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้เวลาในการศึกษา 7 ปี (เตรียมแพทย์ 2 ปี ปรีคลินิก 2 ปี คลินิก 2 ปี และแพทย์ฝึกหัด 1 ปี) แต่ปี พ.ศ. 2518 ถึงปี พ.ศ. 2523 จนมีการเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตเป็น 6 ปี (เตรียมแพทย์ 1 ปี ปรีคลินิก 2 ปี คลินิก 3 ปี) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ผู้บัญชาการทหารบกอนุมัติห้ผลิตนักเรียนแพทย์ทหารเพิ่มจาก 32 เป็น 65 นายต่อปี ประกอบกับในขณะนั้นรัฐบาลมีโครงการผลิตแพทย์เพิ่มให้พอกับความต้องการของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2544 จากนั้นชะลอโครงการประมาณ 2 ปีเนื่องจากสภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ แต่ภายหลังในปี พ.ศ. 2547 จึงกลับมารับนักเรียนแพทย์ทหารเป็น 65 นายต่อ

ในปี พ.ศ. 2548 ความขาดแคลนแพทย์และศักยภาพของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขให้งบประมาณสนับสนุน รับนักเรียนแพทย์ทหารได้เป็น 100 นายต่อปี แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านกำลังพลของกองทัพ ไม่สามารถบรรจุแพทย์ทหารเข้ารับราชการได้ทุกนาย วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าจึงได้ทำข้อตกลงกับสถาบันพระบรมราชชนก ให้รับบัณฑิตแพทย์เข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุข ทำให้เกิดนโยบายการรับบุคคลเข้าศึกษา 100 คนแบ่งเป็น นักเรียนแพทย์ทหาร และนักศึกษาแพทย์ชาย-หญิง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน

เนื่องในโอกาสที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าก่อตั้งครบ 20 ปี จึงได้ก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ขึ้น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานนามว่า "พระมงกุฎเกล้าเวชวิทยา" นอกจากนี้ยังทรงรับเป็นองค์อุปถัมถ์ "มูลนิธิเพื่อวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า" อีกด้วย
     วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าในปัจจุบันวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้ามีการพัฒนาทั้งทางด้านวิชาการและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน อาทิเช่น สนับสนุนการวิจัยให้แก่นักเรียนแพทย์ทหาร ตลอดจนอาจารย์แพทย์ทั้งชั้นปรีคลินิก และให้ทุนการศึกษาแก่ผู้มีผลการเรียนดีไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ การสนับสนุนการศึกษาต่อและดูงานต่างประเทศของอาจารย์และนักเรียนแพทย์ทหาร การก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ สระว่ายน้ำ อาคารหอพัก โรงประกอบเลี้ยงและซักรีด ทั้งยังหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อให้เพียงพอต่อการเรียนการสอน และการเรียนรู้ของนักเรียนแพทย์ทหาร เป็นต้น

จนถึงปี พ.ศ. 2552 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าได้ผลิตบัณฑิตแพทย์ทหารมาแล้ว 30 รุ่น ซึ่งได้จัดสรรให้แก่เหล่าทัพต่างๆ ทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองบัญชาการทหารสูงสุด รวมทั้งกระทรวงสาธารณุสข กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อช่วยเหลือกำลังพล ครอบครัว ตลอดจนประชาชนที่อยู่ห่างไกล หรือพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งเป็นการบรรเทาการขาดแคลนแพทย์ในกองทัพ และในชนบทของประเทศได้เป็นอย่างดี



IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 16 มิถุนายน 2012, 21:21:07 »

 ยิงฟันยิ้ม ขอบคุณครับท่าน ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
poupoushop.com
~..Rose Apple..~
สมาชิกลงทะเบียน
มัธยม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 719


แม่ค้า-คนเชียงใหม่.


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 16 มิถุนายน 2012, 22:42:32 »


ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ ^^
IP : บันทึกการเข้า

ชุดผ้าปูที่นอนราคาถูก http://poupoushop.com
ร้านLine https://shop.line.me/@poupoushop
tonkla
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,334


ธรรม=ธรรมชาติ ธรรมดา ธรรมนูญ


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 17 มิถุนายน 2012, 12:53:44 »

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ครับ
IP : บันทึกการเข้า

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง"(ไว้เตือนตนเอง)
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 17 มิถุนายน 2012, 18:21:09 »

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ครับ
+1 คับ มีแห๋มก่อ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 14:47:12 »

     วันนี้วันอังคารที่ 19  มิถุนายน  2555
............
*** วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1623) – วันเกิดของ ออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ในประเทศพม่า
19 มิถุนายน พ.ศ. 2488  : วันเกิด ออง ซาน ซู จี ผู้นำการเรียกร้องเสรีภาพชาวพม่า

     19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 วันเกิด ออง ซาน ซู จี (Aung San Suu Kyi) หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy : NLD) ผู้นำการเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยด้วยสันติวิธี เกิดที่กรุงย่างกุ้ง เป็นบุตรของ นายพลออง ซาน (Aung San) ผู้นำในการเจรจาเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ และนายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่า ซึ่งถูกลอบสังหารขณะซู จูอายุเพียง 2 ขวบ วัย 15 ปี เธอตามมารดาไปรับตำแหน่งฑูตพม่าประจำประเทศอินเดีย และเรียนมัธยมที่นั่น และเรียนปริญญาตรีสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ พบรักและแต่งงานกับ ไมเคิล อริส (Michael Vaillancourt Aris) นักวิชาการวิชาอารยธรรมทิเบต ในปี 2515 ซู จีเริ่มงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิจัยกระทรวงการต่างประเทศพม่า ณ องค์การสหประชาชาติ ปี 2531 กลับพม่าเพื่อดูแลแม่ซึ่งป่วยหนัก ขณะนั้นบ้านเมืองกำลังร้อนระอุ นักศึกษาประชาชนกำลังต่อต้านรัฐบาลเผด็จการของ นายพลเน วิน (Ne Win) ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ซู จีเข้าร่วมปลุกเร้าประชาชนให้มีขวัญกำลังใจ เรียกร้องเอกราชคืนจากรัฐบาลเผด็จการ โดยใช้หลักอหิงสาเผชิญหน้ากับกระบอกปืนอย่างไม่เกรงกลัว ซู จีปราศรัยครั้งแรกต่อประชาชนนับหมื่นที่เจดีย์ชเวดากองเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2531 ก่อให้เกิด “พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย” หรือ “เอ็นแอลดี” และพรรคการเมืองอื่น ๆ จำนวนมาก เดือนกรกฎาคม 2532 ซู จีถูกทหารกักตัวไว้ที่บ้านพัก พฤษภาคม 2533 พรรคเอ็นแอลดีชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น แต่ทหารปฏิเสธการถ่ายโอนอำนาจแล้วกักบริเวณซู จี พร้อมจับกุมสมาชิกพรรคจำนวนมากไปคุมขังไว้ที่คุกอินเส่งอันโหดร้ายทารุณ ทหารยื่นข้อเสนอให้เธอยุติบทบาททางการเมือง ออกนอกประเทศไปพร้อมครอบครัว แต่เธอปฏิเสธ และเลือกที่จะอยู่เป็นกำลังใจให้ประชาชนพม่าในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย วันที่ 14 ตุลาคม 2534 คณะกรรมการโนเบลประกาศชื่อออง ซาน ซู จีเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ อเล็กซานเดอร์และคิม บุตรชายทั้งสองประคองภาพถ่ายมารดาขึ้นรับรางวัลที่กรุงออสโล ท่ามกลางเสียงปรบมือให้เกียรติกึกก้อง เงินรางวัล 1.3 ล้านเหรียญ ที่ได้ เธอมอบให้เป็นกองทุนเพื่อสุขภาพและการศึกษาของประชาชนพม่า ทุกวันนี้ ซู จียังถูกควบคุมตัว ไม่ได้รับอนุญาติให้ไปร่วมพิธีศพสามีซึ่งจากไปด้วยโรคมะเร็ง แม้จะมีเสียงเรียกร้องของนานาชาติให้คืนอิสรภาพแก่ออง ซาน ซู จี แต่รัฐบาลทหารของพม่าก็ยังไม่สนใจ   
ออง ซาน ซู จี (Aung San Suu Kyi) 
 
 


 

...................

IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 20 มิถุนายน 2012, 06:12:05 »

     วันนี้วันพุธที่ 20 มิถุนายน 2555
................
*** วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2309 (ค.ศ. 1766) - ค่ายบางระจัน ของชาวบ้านบางระจันแตกแก่พม่า
พ.ศ. 2307 กองทัพพม่าภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดียกมาจากพม่า ซึ่งแต่เดิมแล้วมีภารกิจที่จะปราบปรามกบฎต่ออาณาจักรพม่าเท่านั้น แต่เนื่องจากความอ่อนแอของอาณาจักรอยุธยา เนเมียวสีหบดีจึงตั้งเป้าหมายที่จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาไปด้วย

ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2308 กองทัพของเนเมียวสีหบดีรุกเข้าสู่อาณาจักรอยุธยาจากทางเหนือ ได้มาหยุดอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ และจัดให้ทหารพม่ากองหนึ่งเที่ยวกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนทางเมืองวิเศษชัยชาญ ราษฎรต่างพากันโกรธแค้นต่อการกดขี่ข่มเหงของทหารพม่า จึงแอบคบคิดกันต่อสู้ ในเดือน 3 พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรคบุรี และชาวบ้านใกล้เคียงพากันคบคิดอุบายเพื่อล่อลวงทหารพม่า ทั้งรวบรวมผู้คนไว้เพื่อทำการต่อไป ในบรรดาชาวบ้านที่ร่วมกันอยู่นี้มีหัวหน้าที่สำคัญคือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ซึ่งได้หลอกลวงทหารพม่านำไปหาทรัพย์สิ่งของที่ต้องการ ทหารพม่าหลงเชื่อตามไป ก็ถูกนายโชติและพรรคพวกซุ่มอยู่บุกเข้ามาฆ่าฟันพม่าตายประมาณ 20 คน แล้วจึงพากันหนีไปยังบางระจัน

ในเวลานั้นชาวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต่างก็เข้ามาหลบอาศัยอยู่ที่บางระจันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ข้าศึกตามเข้าไปได้ยาก ชาวบ้านทั้งหลายจึงพาพรรคพวกครอบครัวอพยพหันมาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งมีกิตติศัพท์ว่ามีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมมาก ต่อมานายแท่นและผู้มีชื่ออื่น ๆ ชักชวนชาวบ้านได้อีกประมาณ 400 คนเศษพากันมาอยู่ที่บ้านบางระจัน หลังจากนั้นก็ตั้งค่ายขึ้นล้อมรอบบ้านบางระจัน 2 ค่าย เพื่อป้องกันทหารพม่าที่จะยกติดตามมาและเพื่อจัดหากำลังและศัตราวุธในแถบตำบลนั้น นอกจากนี้มีคนไทยชั้นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วยอีก 7 คน คือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ นายดอก และนายทองแก้ว รวมหัวหน้าที่สำคัญของค่ายบางระจันครั้งนั้นรวม 11 คน ตั้งซ่องสู้กับกองทัพพม่า

[แก้] การเข้าตีค่ายบางระจันการรบครั้งที่ 1
ทหารพม่าที่เมืองวิเศษชัยชาญยกพลมาประมาณ 100 เศษ มาตามจับพันเรืองเมื่อถึงบ้านบางระจัน ก็หยุดอยู่ ณ ฝั่งลำธารบางระจัน นายแท่นจัดคนให้รักษาค่ายแล้วนำคน 200 ข้ามแม่น้ำไปรบกับพม่า ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวยิงปืนได้เพียงนัดเดียวชาวไทยซึ่งมีอาวุธสั้นทั้งนั้นก็กรูเข้าไล่ฟันแทงพม่าถึงขั้นตะลุมบอน พลทหารพม่าล้มตายหมดเหลือแต่ตัวนายสองคนขึ้นม้าหนีไปได้ ไปแจ้งความให้นายทัพพม่าที่ค่ายแขวงเมืองวิเศษชัยชาญทราบ และส่งข่าวให้แม่ทัพใหญ่คือเนเมียวสีหบดี ซึ่งตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ปากน้ำพระประสบทราบด้วย
การรบครั้งที่ 2
เนเมียวสีหบดีจึงแต่งให้งาจุนหวุ่น คุมพล 500 มาตีค่ายบางระจัน นายแท่นก็ยกพลออกรบ ตีทัพพม่าแตกพ่ายล้มตายเป็นอันมาก แม่ทัพพม่าได้เกณฑ์ทหารเพิ่มเป็น 700 คน ให้เยกินหวุ่นคุมพลยกมาตีค่ายบางระจัน ทัพพม่าก็ถูกตีแตกพ่ายอีกเป็นครั้งที่ 2
การรบครั้งที่ 3
เมื่อกองทัพพม่าต้องแตกพ่ายหลายครั้ง เนเมียวสีหบดีเห็นว่าจะประมาทกำลังของชาวบ้านบางระจันต่อไปอีกไม่ได้ จึงเกณฑ์พลเพิ่มเป็น 900 คน ให้ติงจาโบ เป็นผู้คุมทัพครั้งนี้ชาวบ้านบางระจันมีชัยชนะพม่าอีกเช่นครั้งก่อนๆ
การรบครั้งที่ 4
การที่พม่าแพ้ไทยหลายครั้งเช่นนี้ ทำให้พม่าขยาดฝีมือคนไทย จึงหยุดพักรบประมาณ 2-3 วัน แล้วเกณฑ์ทัพใหญ่เพื่อมาตีค่ายบางระจัน มีกำลังพลประมาณ1,000 คน ทหารม้า 60 สุรินจอข่องเป็นนายทัพ พม่ายกทัพมาตั้งที่บ้านห้วยไผ่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง) ฝ่ายค่ายบางระจันได้จัดเตรียมกันเป็นกระบวนทัพสู้พม่าคือ นายแท่นเป็นนายทัพคุมพล 200 พันเรืองเป็นปีกซ้ายคุมพล 200 ชาวไทยเหล่านี้มีปืนคาบศิลาบ้าง ปืนของพม่าและกระสุนดินดำของพม่า ซึ่งเก็บได้จากการรบครั้งก่อนๆ บ้าง นอกจากนั้นก็เป็นอาวุธตามแต่จะหาได้ ทัพไทยทั้งสามยกไปตั้งที่คลองสะตือสี่ต้น อยู่คนละฟากคลองกับพม่า ต่างฝ่ายต่างยิงตอบโต้กันฝ่ายไทยชำนาญภูมิประเทศกว่า ได้ขนไม้และหญ้ามาถมคลอง แล้วพากันรุกข้ามรบไล่พม่าถึงขั้นใช้อาวุธสั้น พม่าล้มตายเป็นอันมาก ตัวสุรินทรจอข้องนายทัพพม่า ขี่ม้ากั้นร่มระย้าเร่งให้ตีกองรบอยู่กลางพล ถูกพลทหารไทยวิ่งเข้าไปฟันตาย ณ ที่นั้น ส่วนนายแท่นแม่ทัพไทยก็ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บสาหัสต้องหามออกมาจากที่รบ ทัพไทยกับพม่ารบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง ต่างฝ่ายต่างอิดโรย จึงถอยทัพจากกันอยู่คนละฟากคลอง พวกชาวบ้านบางระจันในค่ายก็นำอาหารออกมาเลี้ยงดูพวกทหาร ขณะพม่าต้องหุงหาอาหารและมัวจัดการศพแม่ทัพไม่ทันระวังตัว กองสอดแนมของไทยมาแจ้งข่าว พวกทหารไทยกินอาหารเสร็จแล้วก็ยกข้ามคลองเข้าโจมตีพม่าพร้อมกันทันที ทหารพม่าแตกพ่ายไม่เป็นกระบวน ที่ถูกอาวุธล้มตายประมาณสามส่วน และเสียเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นอันมาก ไทยไล่ติดตามจนใกล้ค่ำจึงยกกลับมายังค่าย กิตติศัพท์ความเก่งกล้าของชาวบ้านบางระจันแพร่หลายออกไปมีชาวบ้านอื่นๆ อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในค่ายบางระจันเพื่อขึ้นอีกเป็นลำดับ
การรบครั้งที่ 5
พม่าเว้นระยะไม่ยกมาตีค่ายบางระจันอยู่ประมาณ 10-11 วัน ด้วยเกรงฝีมือชาวไทย หลังจากนั้นจึงแต่งทัพยกมาอีกครั้งหนึ่ง มีแยจออากาเป็นนายทัพ คุมทหารซึ่งเกณฑ์แบ่งมาจากทุกค่ายเป็นคนประมาณ 1,000 คนเศษ พร้อมด้วยม้าและอาวุธต่างๆแต่กองทัพพม่านี้ก็ปราชัยชาวบ้านบางระจันแตกพ่ายไป
การรบครั้งที่ 6
นายทัพพม่าครั้งที่ 6 นี้คือ จิกแก ปลัดเมืองทวาย คุมพล 100 เศษ ฝ่ายไทยมีชัยชนะอีกเช่นเคย
การรบครั้งที่ 7
เนเมียวสีหบดีได้แต่งกองทัพให้ยกมาตีค่ายบางระจันอีก ให้อากาปันคยีเป็นแม่ทัพคุมพล 1,000 เศษ อากาปันคยียกกองทัพไปตั้ง ณ บ้านขุนโลก ทางค่ายบางระจันดำเนินกลศึกคือ จัดให้ขุนสรรค์ซึ่งมีฝีมือแม่นปืน คุมพลทหารปืนคอยป้องกันกองทัพม้าของพม่า นายจันหนวดเชี้ยวเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล 1,000 เศษออกตีทัพพม่าและล้อมค่ายไว้ ทหารไทยใช้การรบแบบจู่โจม พม่ายังไม่ทันตั้งค่ายเสร็จก็ถูกโอบตีทางหลังค่าย ทหารพม่าถูกฆ่าตายเกือบหมดเหลือรอดตายเป็นส่วนน้อย แม่ทัพก็ตายในที่รบครั้งนี้ทำให้พม่าหยุดพักรบนานถึงครึ่งเดือน
การรบครั้งที่ 8
การที่พม่าส่งกองทัพมาปราบค่ายบางระจันถึง 7 ครั้ง แต่ต้องแตกพ่ายยับเยินทุกครั้งนั้น ทำให้แม่ทัพใหญ่ของพม่าวิตกมาก เนื่องจากชาวบ้านบางระจันมีกำลังเข้มแข็งขึ้นทุกที และทหารพม่าก็พากันเกรงกลัวฝีมือไทย ไม่มีใครอาสาเป็นนายทัพ ขณะนั้นมีชาวรามัญผู้หนึ่งเคยอยู่เมืองไทยมานาน รู้จักนิสัยคนไทยและภูมิประเทศดี ได้เข้าฝากตัวทำราชการอยู่กับพม่าจนได้รับตำแหน่งสุกี้ หรือพระนายกอง สุกี้เข้ารับอาสาจะขอไปตีค่ายบางระจัน เนเมียวสีหบดีจึงแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพคุมพล 2,000 พร้อมทั้งม้าและสรรพาวุธทั้งปวง สุกี้ดำเนินการศึกอย่างชาญฉลาด เมื่อเวลาเดินทัพไม่ตั้งทัพกลางแปลงอย่างทัพอื่น ให้ตั้งค่ายรายไปตามทาง 3 ค่าย และรื้อค่ายหลังผ่อนไปสร้างข้างหน้าเป็นลำดับ ใช้เวลาถึงครึ่งเดือนจึงใกล้ค่ายบางระจัน สุกี้ใข้วิธีตั้งมั่นรบอยู่ในค่าย ด้วยรู้ว่าคนไทยเชี่ยวชาญการรบกลางแปลง พวกหัวหน้าค่ายบางระจันนำกำลังเข้าตีค่ายพม่าหลายครั้งไม่สำเร็จกลับทำให้ไทยเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งนายทองเหม็นดื่มสุราแล้วขี่กระบือนำพลส่วนหนึ่งเข้าตีค่ายพม่า สุกี้นำพลออกรบนอกค่าย นายทองเหม็นถลำเข้าอยู่ท่ามกลางข้าศึกแต่ผู้เดียว แม้ว่าจะมีฝีมือสามารถฆ่าฟันทหารพม่ารามัญล้มตายหลายคน แต่ในที่สุดก็ถูกทหารพม่ารุมล้อมจนสิ้นกำลังและถูกทุบตีตายในที่รบ (เล่าขานกันมาว่านายทองเหม็นเป็นผู้รู้ในวิชาคงกระพันชาตรี และมีของขลังป้องกันภยันตราย ฟันแทงไม่เข้า หากจะทำร้ายคนมีวิชาเช่นนี้จะต้องตีด้วยของแข็ง) ทัพชาวบ้านบางระจันเมื่อเสียนายทัพก็แตกพ่าย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในการรบกับพม่า ทัพพม่ายกติดตามมาจนถึงบ้านขุนโลกใกล้ค่ายบางระจัน แล้วตั้งค่ายมั่นอยู่ ทัพบางระจันพยายามตีค่ายพม่าอีกหลายครั้งไม่สำเร็จก็ท้อถอย สุกี้จึงให้ทหารขุดอุโมงค์เข้าใกล้ค่ายน้อยบางระจัน ปลูกหอรบขึ้นสูงนำปืนใหญ่ขึ้นยิงเข้าไปในค่ายถูกผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ค่ายน้อยบางระจันก็แตกพ่ายลงนอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านบางระจันเสียกำลังใจลงอีกคือ นายแท่นหัวหน้าค่ายที่ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บครั้งที่สุรินทรจอข่องเป็นแม่ทัพยกมาเมื่อการรบครั้งที่ 4 นั้นได้ถึงแก่กรรมลง ในเดือน 6 ปีจอ พ.ศ. 2309 หัวหน้าชาวบ้านบางระจันคนอื่น ได้พยายามจะนำทัพไทยออกรบกับพม่าอีกหลายครั้ง วันหนึ่งทัพพม่าสามารถตีโอบหลังกระหนาบทัพไทยได้ ขุนสรรค์และนายจันหนวดเขี้ยวได้ทำการรบจนกระทั่งตัวตายในที่รบ ยังเหลือแต่พันเรืองและนายทองแสงใหญ่เป็นหัวหน้าสำคัญ ชาวค่ายบางระจันเห็นว่าตนเสียเปรียบ ผู้คนล้มตายลงไปมาก เหลือกำลังที่จะต่อสู้กับพม่าแล้ว จึงมีใบบอกเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาขอปืนใหญ่ 2 กระบอก พร้อมด้วยกระสุนดินดำเพื่อจะนำมายิงค่ายพม่า ทางพระนครปรึกษากันแล้วเห็นพร้อมกันว่าไม่ควรให้เนื่องจากกลัวว่าพม่าจะแย่งชิงกลางทางบ้าง หรือหากพม่าตีค่ายบางระจันแตก พม่าก็จะได้ปืนใหญ่นั้นมาเป็นกำลังรบพระนคร พระยารัตนาธิเบศร์ไม่เห็นด้วยในข้อปรึกษา จึงออกไป ณ ค่ายบางระจัน เรี่ยไรเครื่องภาชนะทองเหลืองทองขาวจากพวกชาวบ้านหล่อปืนใหญ่ขึ้นมาสองกระบอก แต่ปืนทั้งสองนั้นร้าวใช้ไม่ได้ พระยารัตนาธิเบศร์เห็นว่าการศึกจะไม่เป็นผลสำเร็จจึงกลับพระนคร เมื่อขาดที่พึ่งชาวบ้านบางระจันก็เสียกำลังใจมากขึ้น ฝีมือการสู้รบกับพม่าก็พลอยอ่อนลง บางพวกก็พาครอบครัวหลบหนีออกจากค่าย ผู้คนในค่ายก็เบาบางลง ในที่สุดพม่าก็สามารถตีค่ายใหญ่บางระจันได้ ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนแปด ปีจอ พ.ศ. 2309 (วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2309) รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือนแปด ปีจอ พ.ศ. 2309 เป็นเวลาทั้งสิ้น 5 เดือน พม่าได้กวาดต้อนชาวไทยในค่ายบรรดาที่รอดตายทั้งหลายกลับไปยังค่ายพม่า ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยให้กำลังใจให้ชาวบ้านบางระจันสู้รบกับพม่าอย่างห้าวหาญนั้น ไม่ปรากฏว่าท่านมรณภาพอยู่ในค่าย ถูกกวาดต้อน หรือหลบหนีไปได้
[แก้] อนุสาวรีย์
อนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจัน
ตราประจำจังหวัดสิงห์บุรีในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 แสดงภาพอนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจันกองหัตถศิลป กรมศิลปากรเริ่มดำเนินการหล่ออนุสาวรีย์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2509 จนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะนำไปติดตั้งได้ใน พ.ศ. 2512[8] โดยกรมศิลปากรสร้างอนุสาวรีย์ไว้ตรงกันข้ามวัดโพธิ์เก้าต้น อยู่ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรี ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางสายสิงห์บุรี-สุพรรณบุรี หมายเลข 3032 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาในวโรกาสเปิดอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519[9] ทรงมีพระราชดำรัสไว้ว่า "วีรกรรมในครั้งนั้นเป็นของผู้ที่รักแผ่นดินไทย เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยทั้งมวล ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีกำลังใจและเตือนสติให้มีความสามัคคีและรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง เพื่อรักษาประเทศไทยให้ตนเองและเพื่อความมั่นคงของแผ่นดิน....."[ต้องการอ้างอิง]

ฐานของอนุสาวรีย์มีคำจารึกไว้ว่า "สิงห์บุรีนี่นี้ นามใด สิงห์แห่งต้นตระกูลไทย แน่แท้ ต้นตระกูล ณ กาลไหน วานบอก หน่อยเพื่อน ครั้งพม่ามาล้อมแล้ ทั่วท้องบางระจัน"

จารึกอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน:

"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด
ณ วันที่... เดือน... พุทธศักราช ๒๕๑๙

เมื่อเดือนสาม ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘
นายจันหนวดเขี้ยว นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว
นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่ นายแท่น นายเมือง
พันเรือง ขุนสรรค์ และนายอิน
ได้เป็นหัวหน้ารวบรวมชาวบ้านตั้งค่ายต่อสู้พม่าที่บ้านบางระจัน
มีพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคมบำรุงขวัญ

ตั้งแต่เดือนสี่ ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘ จนถึงเดือนเจ็ด ปีจอ พุทธศักราช ๒๓๐๙
วีรชนค่ายบางระจันได้ต่อสู้พม่าด้วยความกล้าหาญและด้วยกำลังใจอันเด็ดเดี่ยว
ยอมสละแม้เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อรักษาแผ่นดินไทย
รบชนะพม่าถึงเจ็ดครั้ง จนพม่าครั่นคร้ามฝีมือ

รัฐบาลและประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์นี้ขึ้น
เพื่อประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจันให้ยั่งยืนชั่วกาลนาน


* imagesCA46BFS0 (WinCE).jpg (8.2 KB, 240x168 - ดู 2634 ครั้ง.)

* imagesCAL91ULS (Small) (WinCE).jpg (15.86 KB, 213x320 - ดู 2637 ครั้ง.)

* imagesCAP10ZFL (WinCE).jpg (8.26 KB, 240x138 - ดู 2614 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 20 มิถุนายน 2012, 06:18:51 โดย Siranoi » IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2012, 07:01:36 »

     วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2555
..............
*** วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากก่อรัฐประหารรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
....ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ... เป็นสุภาษิตที่เหมาะแก่การทหาร ข้าพเจ้าจึงเลือกไว้เป็นบทประจำดวงตรา พหลโยธิน (พจน์ พหลโยธิน
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 : 21 มิถุนายน 2476 -16 ธันวาคม 2476

สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 : 16 ธันวาคม 2476 - 22 กันยายน 2477

สมัยที่ 3 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 : 22 กันยายน 2477 - 28 กรกฎาคม 2480

สมัยที่ 4 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 : 9 สิงหาคม 2480 - 21 ธันวาคม 2480

สมัยที่ 5 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 8 : 21 ธันวาคม 2480 - 11 กันยายน 2481







[แก้ไข] ประวัติ
        พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ชื่อเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2430 เวลา 03.30 น. ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (ถิ่น พหลโยธิน) กับคุณหญิงจับ สมรสกับท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา


        เริ่มการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) และย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย จนกระทั่งเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมาเมื่ออายุ 16 ปี ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกในเมืองโกรสลิสเตอร์ เฟล เด ประเทศเยอรมันนี ศึกษาอยู่ 3 ปีต่อจากนั้นได้เข้าประจำอยู่ในกองทัพบกเยอรมัน สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ในปี พ.ศ. 2455 ได้เดินทางไปศึกษาต่อวิชาช่างแสงที่ประเทศเดนมาร์กเรียนได้ปีเดียวก็ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากเงินทุนการศึกษาไม่เพียงพอ


        พระยาพหลพลพยุหเสนาเข้ารับราชการครั้งแรกประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี อีกสามปีต่อมาได้เข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ พระนคร และในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายไปเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา ในชีวิตราชการนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงและพระตามลำดับในราชทินนามเดียวกันว่า "สรายุทธสรสิทธิ์" และได้เลื่อนยศทางทหารมาตามลำดับ กระทั่งได้เป็น พันเอก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2471


        เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2471มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพลพยุหเสนา มีราชทินนามเดียวกับบิดา


        เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ร่วมกับคณะราษฎรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด


        พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2476 โดยการทำรัฐประหารรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ตลอดระยะเวลาที่บริหารประเทศ ต้องเผชิญปัญหานานัปการ จนต้องลาออกจากตำแหน่งหลายครั้ง และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ ในที่สุดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2481 พระยาพหลพลพยุหเสนาได้ตัดสินใจยุบสภาและลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ถึงแม้พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาจะวางมือจากตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองแล้ว ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ และได้รับยศ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

อนุสรณ์แห่งความดี
ถนนพหลโยธิน หรือทางหลาวแผ่นดินหมายเลข ๑ เป็นถนนเชื่อมภาคเหนือ จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดทุมธานี อยุธยา สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ลำปาง เชียงราย ระยะทางยาวประมาณ ๑.๐๐๕ กม.


โรงงานน้ำตาลไทยลำปางเป็นโรงงานน้ำตาลสมัยใหม่ โรงงานแรงของประเทศไทย ได้ริเริ่มจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ สมัยรัฐบาลคณะ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๙๕ พระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานชื่อค่ายของ ศูนย์การทหารปืนใหญ่นี้ว่า ค่ายพหลโยธิน เพื่อเป็นเกียรติแก่ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อดีตนายทหารปืนใหญ่ อดีตนายกรัฐมนตรี
ท่านได้ริเริ่มจัดตั้งโรงงานกระดาษไทยขึ้นในจังหวัดกาญจนบุรี นับว่าเป็นโรงงานกระดาษแห่งแรกในประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ท่านในชุดเดินป่าไว้หน้าโรงงาน
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ พล.ต. สาธร กาญจนรักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารปืนใหญ่ และทหารปืนใหญ่ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นสมควรที่จะมีสิ่งอนุสรณ์ คือ อนุสาวรีย์ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ขึ้นไว้ในสถานที่อันสมควรในบริเวณค่ายพหลโยธิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทอดทูนเกียรติประวัติอันดีงามของท่านเพื่อเป็นอนุสรณ์ความดีของท่านที่มีต่อประเทศชาติและจังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่ท่านถือเสมือนภูมิลำเนาท่าน กระทรวงมหาดไทย โดยมติคณะรัฐมนตรีจึ่งสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเรี่ยไรเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๔๙๓ เพื่อจัดสร้างโรงพยาบาล และอนุสาวรีย์ของ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ไว้เป็นอนุสรณ์ขึ้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
        พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2490 รวมอายุ ได้ 60 ปี


IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2012, 04:08:38 »


.............................

............................................

...................................................................
     วันนี้วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555
................
*** วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) -เป็นวันมรณะภาพของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) (เกิด 17 เมษายน พ.ศ. 2331)
      22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) พระเกจิอาจารย์รูปสำคัญแห่งต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มรณภาพ ท่านสมภพเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2331 ที่ จ.พิจิตร บวชเป็นสามเณรที่วัดเกศไชโย จ.พิจิตรเมื่ออายุ 13 ปี ภายหลังได้ย้ายไปศึกษาธรรมะกับ พระอรัญญิก เถระ (ด้วง) ที่ วัดบางขุนพรหมนอก (วัดอินทรวิหาร) จากนั้นได้ย้ายไปศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่ วัดระฆังโฆษิตาราม ท่านเป็นเณรนักเทศน์ที่หาตัวจับยาก แสดงธรรมได้ลึกซึ้งเข้าถึงจิตใจชาวบ้าน ในปี 2352 กลับไปอุปสมบทที่ วัดตะไกร อ.เมืองพิจิตร โดยมีท่าน เจ้าคุณพระธรรมาจารย์ วัดท่าหลวง เป็นประธานที่พระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้น พระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง ได้นิมนต์พระภิกษุโตกลับบางกอก เพื่อเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดระฆังฯ ต่อไป พระภิกษุโตมีความรู้แตกฉานลึกซึ้งในพระไตรปิฎก เป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชนทั่วไปรวมถึงเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และพระเจ้าแผ่นดิน ในสมัยรัชกาลที่ 3 ท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อฝึกจิตนานถึง 15 ปี เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงนิมนต์ท่านกลับบางกอกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม หลังจากที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศฯ ถึงแก่มรณภาพ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ องค์ที่ 5 ในสมัยรัตนโกสินทร์ ในวัย 76 พรรษา ท่านเป็นผู้ค้นพบคัมภีร์โบราณที่วัดเก่าแห่งหนึ่งต่อมาเรียกว่า คาถาชิญบัญชร ท่านเป็นภิกษุขึ้นชื่อในเรื่องการเทศนาธรรม โดยจะเลือกเทศให้เหมาะกับบุคคล กาละและเทศะเสมอ บางครั้งก็เทศเป็นปริศนาธรรม สามารถเทศให้คนฟังถึงกับหัวเราะ ร้องให้ หรือให้เข้าใจธรรมะ
..........
เครดิตประวัติโดยละเอียดของท่าน....
http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B9%82%E0%B8%95-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5-4575.html
IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 23 มิถุนายน 2012, 01:22:35 »

     วันนี้วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2555
.......................
*** วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2403 สหรัฐฯ สถาปนาหน่วยสืบราชการลับขึ้นและพัฒนาจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลกในนาม หน่วยซีไอเอ
ประวัติสหรัฐ ดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมข่าวกรองต่างประเทศตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรก ต่อมาเริ่มมีการประสานงานบนพื้นฐานระดับรัฐบาลอย่างกว้างขวางตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการพัฒนาโครงการที่โดดเด่นสามโครงการเพื่อการประสานงานข่าวกรองพื้นฐานคือ

การศึกษาข่าวกรองร่วมกองทัพบกและกองทัพเรือ
การสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ
หนังสือความจริงของโลก
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ข่าวกรองพื้นฐานจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา มีความซ้ำซ้อนและมีความขัดแย้งของข่าวสาร การโจมตีของญี่ปุ่นต่อเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในปี พ.ศ. 2484 ทำให้ผู้นำในรัฐสภาและผู้บริหารสาขาต่าง ๆ ต้องการที่จะสรุปการรายงานต่าง ๆ ให้แก่ผู้กำหนดนโยบายของชาติ รายละเอียดและการประสานงานข่าวสาร มีความต้องการไม่ได้เพียงแต่ประเทศที่มีมหาอำนาจเช่น เยอรมนี หรือญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงดินแดนต่าง ๆ ที่มีผลประโยชน์เพียงเล็กน้อย เช่น ในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพเรือและนาวิกโยธินได้ปฏิบัติการยกพลขึ้นบกต่อเกาะจำนวนมากที่ซึ่งข่าวสารไม่ได้รับการยืนยันหรือไม่มีมาก่อน ผู้มีอำนาจการข่าวกรองได้แก้ปัญหาเช่นนั้นก็เพื่อไม่ต้องการให้สหรัฐถูกกระทำแบบที่ไม่มีการเตรียมตัวมาก่อนเกิดขึ้นอีก

ปี พ.ศ. 2486 นายพล จอร์จ สตรอง และนายพลเรือ เทรน (สำนักงานข่าวกรองกองทัพเรือ) และ นายพล วิลเลี่ยม โดโนแวน (ผู้อำนวยการสำนักงานบริการยุทธศาสตร์) มึความตกลงร่วมกันที่จะสถาปนาหน่วยงานความพยายามร่วม คณะกรรมาธิการได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2486 โดยได้เสนอแนะการจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาและเผยแพร่ข่าวกรองร่วม เพื่อก่อตัว แก้ไข ประสานงาน และตีพิมพ์ การศึกษาข่าวกรองร่วมกองทัพบกและกองทัพเรือ (JANIS : เจนิส) เจนิส จึงเป็นโครงการข่าวกรองพื้นฐานระหว่างกระทรวงหน่วยแรกที่ตอบสนองความต้องการของรัฐบาลสหรัฐ สำหรับการประเมินการประสานงานและการแบ่งมอบอำนาจของข่าวกรองยุทธศาสตร์พื้นฐาน ในระหว่างเดือนเมษายน ค.ศ. 1943 – กรกฎาคม ค.ศ. 1947 คณะกรรมการได้ตีพิมพ์ การศึกษาของเจนิสจำนวน 34 ฉบับ เจนิสได้ปฏิบัติงานได้ดีระหว่างสงคราม และความต้องการข่าวกรองพื้นฐานที่ละเอียดซับซ้อนมีสูงขึ้นหลังสงครามโลก

 
ทางเข้าสำนักงานซีไอเอซีไอเอได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 และเริ่มปฏิบัติการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2490 ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลางเริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2490 โดยรับมอบความรับผิดชอบงานต่อจาก เจนิส เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2491 สภาความมั่นคงแห่งชาติได้ออกคำสั่ง กำหนดการปฏิบัติการข่าวกรอง หมายเลข 3 ที่มอบอำนาจให้ โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติทำหน้าที่ระหว่างช่วงสันติแทนช่วงสงครามของโครงการเจนิส ก่อนแผนกประเทศ ของ โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ จะผลิตข่าวกรองได้อย่างเพียงพอ หน่วยงานของรัฐบาลจะต้องพัฒนาอักขรานุกรมภูมิศาสตร์และแผนที่ที่ดีขึ้น คณะกรรมการสหรัฐเรื่องชื่อภูมิศาสตร์รวบรวมรายชื่อ กระทรวงมหาดไทยผลิตอักขรานุกรมภูมิศาสตร์และ หน่วยข่าวกรองกลางผลิตแผนที่

คณะกรรมการฮูเวร์ของคณะกรรมมาธิการคล้าก ถูกตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2497 เพื่อศึกษาโครงสร้างและระบบการบริหารของหน่วยข่าวกรองกลาง และได้รายงานต่อรัฐสภาในปี พ.ศ. 2498 ว่า “โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ เป็นสิ่งตีพิมพ์ที่หาค่ามิได้ซึ่งให้ข้อมูลข่าวกรองพื้นฐานที่จำเป็นของทุกพื้นที่ทั่วโลก ดังนั้นจึงมีความต้องการดังกล่าวยังคงมีอยู่ต่อไปเพื่อรักษาให้การสำรวจข้อมูลมีความทันสมัยตลอดไป” หนังสือความจริงของโลก ได้จัดทำขึ้นเป็นสรุปรายงานประจำปีและปรับปรุงให้เป็นสารานุกรมของการศึกษาโครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ หนังสือความจริงของโลกฉบับมีชั้นความลับเล่มแรกจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2505 และฉบับไม่จำกัดชั้นความลับพิมพ์ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2514 โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2516 ยกเว้นส่วนของ หนังสือความจริงของโลก แผนที่ และอักรานุกรมภูมิศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1975 หนังสือความจริงแห่งโลกได้รับการจัดจำหน่ายเป็นครั้งแรกต่อสาธารณาชนโดยผ่านสำนักพิมพ์รัฐบาล ในปี พ.ศ. 2547 เป็นปีที่ 57 ของการจัดตั้งหน่วยข่าวกรองกลาง และปีที่ 61 ของความต่อเนื่องข่าวกรองพื้นฐานที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลสหรัฐโดยการจัดทำ หนังสือความจริงของโลก



............................

IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Yim sri
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,753



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 23 มิถุนายน 2012, 01:30:57 »

ขยันจริงๆเลยนะคะ ท่านอาจารย์ศิรา ไม่ยอมหลับ ยอมนอน ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ธ สถิตย์ในใจตราบนิรันดร์กาล
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 24 มิถุนายน 2012, 09:19:24 »

     วันนี้วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2555
..............
*** วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - พิธีเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่บริเวณต้นทางหลวงประชาธิปัตย์ กรุงเทพมหานคร (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนพหลโยธิน)

     ในปีพ.ศ. 2485 ได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิที่บริเวณต้นทางหลวงประชาธิปัตย์ กรุงเทพมหานคร (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนพหลโยธิน) อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (Victory Monument) โดยรอบเป็นวงเวียนอยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 5.0 ถนนพหลโยธิน โดยที่ กม. 0 ของถนนพหลโยธินอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยซึ่งอยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ชัย สมรภูมิเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจและพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสีย ชีวิต 59 นาย พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 และจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485 สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล

ก่อนที่จะมีการสร้างวงเวียนอนุสาวรีย์ บริเวณจุดตัดของถนนพญาไท ถนนราชวิถี และถนนพหลโยธิน นี้มีชื่อเรียกว่า "สี่แยกสนามเป้า" การออกแบบอนุสาวรีย์ของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล มีแรงบันดาลใจห้าประการ คือ

๐ ปฏิบัติการของกองทัพทั้ง 4
๐ ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญของกำลังพลโดยเฉพาะ
๐ อาวุธที่ทหารใช้สู้รบ
๐ เหตุการณ์ที่สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ
๐ ความสนใจของประชาชน

นอกจากเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญและเป็นที่จารึกรายนามทหารที่เสียชีวิต ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (สงครามอินโดจีน) สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลีแล้ว ยังเป็นต้นทางของถนนพหลโยธิน





IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2012, 06:43:52 »

     วันนี้วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555
............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) - ไมเคิล แจ็กสัน นักร้องชาวอเมริกันเสียชีวิต (เกิด 29 สิงหาคม พ.ศ. 2501)
          สำนักข่าวบีบีซีรายงาน เมื่อเวลา 03.00 น. วันนี้ (26 มิถุนายน)  ว่า "ไมเคิล แจ็คสัน" ราชาเพลงป็อปชื่อดัง ถูกนำส่งโรงพยาบาลยูซีแอลเอ ในนครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐฯ หลังหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ก่อนที่แพทย์ในโรงพยาบาลลอสแองเจลิส จะแถลงยืนยันว่า ไมเคิล แจ็คสัน ได้เสียชีวิตลงเมื่อเวลา 14.26 น. ตามเวลาในท้องถิ่น หรือตรงกับเวลาในประเทศไทย 02.26 น. ของเช้าวันศุกร์ ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน พร้อมยืนยันว่า ก่อนที่ราชาเพลงป็อปจะมาถึงโรงพยาบาลนั้น หัวใจได้หยุดเต้นไปแล้ว และแพทย์ได้พยายามยื้อชีวิตอย่างสุดความสามารถ แต่ไม่สำเร็จ

          ด้าน ไบรอัน อ็อกแมน ทนายประจำครอบครัวของไมเคิล แจ็คสัน เปิดเผยว่า ครอบครัวของไมเคิลยังไม่ได้เปิดเผยว่า จะจัดการอย่างไรต่อไป เพราะทุกคนกำลังเสียใจอย่างมากกับการจากไปอย่างกะทันหันของไมเคิล แจ็คสัน ขณะที่แฟนเพลงจำนวนมากของไมเคิล แจ็คสัน เมื่อทราบข่าวต่างหลั่งไหลและทยอยมารวมตัวกันที่หน้าโรงพยาบาล เพื่อส่งกำลังใจให้เป็นครั้งสุดท้าย ท่ามกลางบรรยากาศที่โศกเศร้า

          นอกจากนี้ ไบรอัน ยังเปิดเผยว่า ก่อนที่ไมเคิล แจ็คสัน จะเสียชีวิต ได้รับประทานยา เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างการฝึกซ้อม ก่อนเปิดคอนเสิร์ตที่กรุงลอนดอนของอังกฤษในเดือนหน้า โดยไบรอัน ระบุว่า เขาเป็นห่วงมานานแล้วที่ไมเคิล แจ็คสัน รับประทานยาหลายขนาน
          ส่วน ไมเคิล เลอวีน อดีตโฆษกส่วนตัวของไมเคิล แจ็คสัน บอกว่า เขาไม่รู้สึกแปลกใจกับข่าวการเสียชีวิตของแจ็คสัน เพราะแจ็คสันได้ใช้ชีวิตที่ทำร้ายตัวเองมาตลอดหลายปี ความสามารถของเขาเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสงสัย แต่เขาก็อึดอัดมากกับการอยู่ในสายตาของคนทั่วโลก และคนธรรมดาคนหนึ่งไม่อาจทนรับความเครียดอย่างยาวนานได้

          ด้าน มาดอนน่า ราชินีเพลงป็อป เมื่อได้ทราบข่าวการจากไปของไมเคิล แจ็คสัน ถึงกับร่ำไห้เสียใจ และบอกว่าชื่นชมแจ็คสันมาโดยตลอด แม้โลกสูญเสียบุคคลที่ยิ่งใหญ่ แต่เสียงเพลงของเขาจะคงอยู่ไปตลอดกาล และขอส่งกำลังใจให้ลูกๆ ทั้ง 3 คน และครอบครัวแจ็คสันด้วย

          ขณะที่พี่ชายเจอร์เมน แจ็คสัน เปิดเผยว่า คณะแพทย์พยายามช่วยชีวิตไมเคิล นานกว่า 1 ชั่วโมง แต่ก็ไม่สำเร็จ โดยน้องชายหมดสติตั้งแต่ถูกนำส่งโรงพยาบาลแล้ว ทั้งนี้ ทางครอบครัวอยากขอร้องสื่อ กรุณาให้ความเป็นส่วนตัวระหว่างช่วงเวลานี้ด้วย พร้อมทั้งขอให้พระอัลเลาะห์คุ้มครองไมเคิล

          ส่วนเพื่อนสนิทของซุปเปอร์สตาร์ ยูริ เกิลล่าร์ กล่าวว่า เขารู้สึกเสียใจมากๆ เมื่อรู้ข่าว โดยเขารู้จักกับไมเคิล แจ็คสันมากว่า 35 ปี เมื่อใดที่ไมเคิลมีปัญหาเขาจะโทรมา และยังหวังว่า ประวัติศาสตร์จะจดจำและจารึกมากกว่าการเป็นข่าวแล้วเงียบหายไป

          ล่าสุดตำรวจแอลเอพีดี เข้าไปสอบสวนสาเหตุการเสียชีวิตของราชาเพลงป็อป โดยระบุว่าจะสอบสวนให้เสร็จสิ้นภายในวันนี้ (ตามเวลาท้องถิ่น)
         ทั้งนี้ ไมเคิล แจ็คสัน อยู่ในระหว่างการเตรียมตัวกลับคืนเวทีคอนเสิร์ตอีกครั้ง ในรอบ 12 ปี ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 13 กรกฎาคม และมีโปรแกรมทัวร์คอนเสิร์ตไปต่อเนื่องจนถึงเดือนมีนาคม ปี 2010 โดยตั๋วคอนเสิร์ตของไมเคิล ที่กรุงลอนดอนนั้น ได้เปิดขายเมื่อเดือนมีนาคม และจำหน่ายหมดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง โดยมีกำหนดจะแสดงถึง 50 รอบ

          สำหรับไมเคิล แจ็คสัน (Michael Jackson) นั้น มีชื่อเต็มว่า ไมเคิล โจเซฟ แจ็คสัน (Michael Joseph Jackson)หรือเรียกย่อๆ ว่า เอ็มเจ (MJ) หรือ แจ็คโก้ (Jacko) เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2501 โดยเป็นนักร้องชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ด้วยท่าเต้น "มูน วอล์ค" และ "ลูบเป้า" อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนได้รับฉายาว่า ราชาเพลงป็อป หรือ King of Pop

          ไมเคิล แจ็คสัน แต่งงานกับ "ลิซ่า มารี เพรสลีย์" ลูกสาวของราชาเพลงร็อค "เอลวิส เพรสลีย์" ก่อนจะเลิกรากันไปในปี พ.ศ.2539 โดยไม่มีบุตรด้วยกัน แต่ภายหลังไมเคิล มีบุตร 2 คน จากการผสมเทียมกับ "เด็บบี โรวว์" พยาบาลสาวใหญ่ และมีเพิ่มอีก 1 คน จากสาวผู้ไม่เปิดเผยนาม ด้วยการผสมเทียมเช่นเดียวกัน
          ทั้งนี้ ไมเคิล แจ็คสัน ได้เคยมาเปิดการแสดงคอนเสิร์ตที่เมืองไทย 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ.2536 ซึ่งถือเป็นคอนเสิร์ตของนักร้องต่างประเทศครั้งแรกในเมืองไทย และได้รับความนิยมอย่างมาก แต่กระนั้นก็ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา ถึงความไม่เหมาะสมของท่าเต้น "ลูบเป้า"

          นอกจากนี้ไมเคิล ยังมีข่าวคราวอื้อฉาวปรากฎอยู่บ่อยๆ ตามสื่อ ทั้งข่าวที่เขาชอบทำตัวแปลกๆ ใช้ชีวิตอย่างแปลกๆ รวมถึงข่าวการล่วงละเมิดทางเพศเด็กผู้ชาย ที่มีออกมาให้เห็นอยู่เป็นประจำ โดยในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2548 ไมเคิลต้องขึ้นศาลฟังคำพิพากษาในคดีข่มขืนเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งศาลก็พิพากษาให้รอดพ้นคดีนั้นไป






IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 26 มิถุนายน 2012, 06:15:55 »

     วันนี้วันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2555
.............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น และกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็น วันสุนทรภู่
พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 26 มิถุนายน 2012, 06:20:04 โดย Siranoi » IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 27 มิถุนายน 2012, 07:11:48 »

     วันนี้วันพุธที่ 27 มิถุนายน 2555
.........
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - การปฏิวัติสยาม: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เรียกชื่อว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475

1.ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

การที่คณะนายทหารหนุ่มภายใต้การนำของ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์(เหล็ง ศรีจันทร์) ได้วางแผนยึดอำนาจการปกครอง เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบที่จำกัด พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในฐานะประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อพ.ศ.2454 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะถูกจับกุมก่อนลงมือปฏิบัติงาน แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของระบอบนี้อย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ที่ไม่ดุลกับรายรับ ทำให้มีการกล่าวโจมตีรัฐบาลว่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินไป ครั้งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ก็ถูกโจมตีว่าทรงตกอยู่ใต้อิทธิพลของอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง และบรรดาพระราชวงศ์ก็มีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองมากเกินไป ควรจะให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองด้วย ปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจต่อระบอบการปกครองที่มีพระ มหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งนับวันจะมีปฏิกิริยาต่อต้านมากขึ้น

2.การได้รับการศึกษาตามแนวความคิดตะวันตกของบรรดาชนชั้นนำในสังคมไทย

อิทธิพลจากการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้คนไทยส่วนหนึ่งที่ไปศึกษายังประเทศตะวันตก ได้รับอิทธิพลแนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่ และนำกลับมาเผยแพร่ในประเทศไทย ทำให้คนไทยบางส่วนที่ไม่ได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศรับอิทธิพลแนวความคิดดัง กล่าวด้วย อิทธิพลของปฏิรูปการศึกษาได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแลปงการ ปกครองมากขึ้น นับตั้งแต่คณะเจ้านายและข้าราชการเสนอคำกราบบังคมทูลให้เปลี่ยนแปลงการ ปกครองใน พ.ศ.2427

นักหนังสือพิมพ์อย่าง เทียนวรรณ (ต.ว.ส.วัณณาโภ) ก.ศ.ร. กุหลาบ (ตรุษ ตฤษณานนท์) ได้เรียกร้องให้ปกครองบ้านเมืองในระบบรัฐสภา เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และยังได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์สังคม กระทบกระเทียบชนชั้นสูงที่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ ซึ่งตัวเทียนวรรณเองก็ได้กราบบังคมทูลถวายโครงร่างระบบการปกครองที่เป็น ประชาธิปไตยแด่รัชกาลที่ 5 ต่อมาในรัชกาลที่ 6 กลุ่มกบฏ ร.ศ.130 ที่วางแผนยึดอำนาจการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็เป็นบุคคลที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกแต่ไม่เคยไปศึกษาในต่างประเทศ

แต่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 เป็นคณะบุคคลที่ส่วนใหญ่ผ่านการศึกษามาจากประเทศตะวันตกแทบทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงอัทธิพลของความคิดในโลกตะวันตกที่มีต่อชนชั้นผู้นำของไทยเป็น อย่างยิ่ง เมื่องคนเลห่านี้เห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข การเปลี่ยนแปลงกรปกครองจึงเกิดขึ้น

3.ความเคลื่อนไหวของบรรดาสื่อมวลชน

สื่อมวลชนมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปกครองแบบใหม่และ ปฏิเธระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น

น.ส.พ.ตุลวิภาคพจนกิจ (พ.ศ.2443-2449)

น.ส.พ.ศิริพจนภาค (พ.ศ.2451)

น.ส.พ.จีนโนสยามวารศัพท์ (พ.ศ.2446-2450)

น.ส.พ.บางกอกการเมือง (พ.ศ.2464)

น.ส.พ.สยามรีวิว (พ.ศ.2430)

น.ส.พ.ไทยใหม่ (พ.ศ.2474)

ต่างก็เรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการ ปกครองประเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงความดีงามของระบอบประชาธิปไตยที่จะเป็นแรงผลักดันให้ประชา ชาติมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่ ดังเช่นที่ปรากฎเป็นตัวอย่างในหลายๆประเทศที่มีการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ การะแสเรียกร้องของสื่อมวลชนในสมัยนั้นได้มีส่วนต่อการสนับสนุนให้การดำเนิน ของคณะผู้ก่อการในอันที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองบรรลุผลสำเร็จได้เหมือนกัน

4.ความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

รัชกาลที่ 7 ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ และทรงเต็มพระทัยที่จะสละพระราชอำนาจมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อถึงเวลาที่ เหมาะสม

แต่เมื่อพระองค์ทรงมีกระแสรับสั่งให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อประกาศใช้ พระองค์ได้ทรงนำเรื่องนี้ไปปรึกษาอภิรัฐมนตรีสภา แต่อภิรัฐมนตรีสภากลับไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่าประชาชนยังขาดความพร้อมและเกรงจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี

ทั้งๆที่รัชกาลที่ 7 ทรงเห็นด้วยกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่ออภิรัฐมนตรีสภาคัด ค้าน พระองค์จึงมีน้ำพระทัยเป็นประชาธิปไตยโดยทรงฟังเสียงทัดทานจากอภิรัฐมนตรี สภาส่วนใหญ่

ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงยังไม่มีโอกาสได้รับการประกาศใช้ เป็นผลให้คณะผู้ก่อการชิงลงมือทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ในที่สุด

5.สถานะการคลังของประเทศและการแก้ปัญหา

การคลังของประเทศเริ่มประสบปัญหามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เพราะการผลิตข้าวประสบความล้มเหลว เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมและฝนแล้งติดต่อกันใน พ.ศ. 2460 และ พ.ศ.2462

ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการผลิตข้าวอย่างรุนแรง ภายในประเทศก็ขาดแคลนข้าวที่จะใช้ในการบริโภค และไม่สามารถส่งข้าวไปขายยังต่างประเทศได้

ทำให้รัฐขาดรายได้เป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงต้องจัดสรรเงินงบประมาณช่วยเหลือชาวนา ข้าราชการ และผู้ประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น มีทั้งรายจ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้นจนเกินงบประมาณรายได้

ซึ่งใน พ.ศ. 2466 งบประมาณขาดดุลถึง 18 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลได้นำเอาเงินคงคลังที่เก็บสะสมไว้ออกมาใข้จ่ายจนหมดสิ้น ในขณะที่งบประมาณรายได้ต่ำ

รัชกาลที่ 6 ทรงแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อให้มีเงินเพียงพอกับงบประมาณรายจ่าย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างไม่ประหยัด ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังคับขัน

ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายของรัฐบาลลดจำนวนข้าราชการในกระทรวงต่างๆให้น้อยลง และทรงยินยอมตัดทอนงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ให้น้อยลง

เมื่อ พ.ศ.2469 ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 3 ล้านบาท แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของโลกเริ่มตกต่ำมาเป็นลำดับตั้งแต่ พ.ศ. 2472 ทำให้มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง

รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นอันมาก จัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารของข้าราชการ รวมทั้งการประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ


พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะการเก็บภาษีเงินเดือนจากข้าราชการ แต่มาตรการดังกล่าวมก็ไม่สามารถจะกอบกู้สถานะการคลังของประเทศได้กระเตื้องขึ้นได้

จากปัญหาเศรษฐกิจการคลังที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขให้มีสภาพเป็นปกติได้ ทำให้คณะผู้ก่อการใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีประสิทธิภาพการบริหารงานของ รัฐบาล จนเป็นเงื่อนไขให้คณะผู้ก่อการดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จ

การเตรียมการเปลี่ยนแปลง

กลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้ริเริ่มความคิดที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งแรกหรือที่เรียกว่า “คณะผู้ก่อการ นั้นมี 7 คน ที่สำคัญคือ

นายปรีดี พนมยงค์
ร.ท.แปลก ขีตตะวังคะ
ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี เป็นต้น
คณะบุคคลทั้ง 7 คนได้เริ่มเปิดประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2469 ที่พักแห่งหนึ่งในถนน รู เดอ ซอมเมอรารด์ ณ กรุงปารีส

การประชุมครั้งนั้นดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน โดยที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นประธานที่ประชุม และที่ประชุมตกลงดำเนินการจัดตั้งคณะผู้ก่อการขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์รวมในการดำเนินงานต่อไป

โดยที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ จนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมเป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการต่อไป ที่ประชุมได้ตกลงในหลักการที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้กฎหมายหรือที่เรียกกันว่า ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ คณะผู้ก่อการได้กำหนดหลักการในการปกครองประเทศไว้ 6 ประการ
1) รักษาความเป็นเอกราชของชาติในทุกๆด้าน เช่น เอกราชทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางการศาล ฯลฯ ให้มีความมั่นคง

2) รักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้มีการประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลง

3) บำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทำทุกคน โดยจะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติและไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

4) ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคทัดเทียมกัน

5) ให้ราษฎรมีเสรีภาพที่ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการข้างต้น

6) ให้การศึกษาแก่ราษฎรทุกคนอย่างเต็มที่

ภายหลังจากเสร็จการประชุมในครั้งนั้นแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมายแล้ว ได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย ทางสมาชิกที่อยุ่ในกรุงปารีสจึงได้เลือกเฟ้นผู้ที่สมควรเข้าร่วมเป็นสมาชิกต่อไป และได้สมาชิกเพิ่มในคณะผู้ก่อการอีก 8 คน ที่สำคัญ คือ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน เป็นต้น

ภายหลังเมื่อบรรดาสมาชิกของคณะผู้ก่อการที่กรุงปารีสกลับคืนสู่ประเทศไทยแล้ว ก็ได้มีการชักชวนบุคคลที่มีความเห็นร่วมกันเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะผู้ก่อการอีกเป็นจำนวนมาก

จนกระทั่งปลายปี พ.ศ.2474 จึงได้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ ดังนั้นสมาชิกคณะผู้ก่อการฝ่ายทหารที่สำคัญ ได้แก่ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม น.ต.หลวงสินธุ์สงครามชัย ฯลฯ สำหรับสมาชิกคณะผู้ก่อการหัวหน้าฝ่ายพลเรือนที่สำคัญคือ นายปรีดี พนมยงค์ นายทวี บุญยเกตุ นายควง อภัยวงค์ เป็นต้น

คณะผู้ก่อการได้วางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองดำเนินไปอย่างละมุนละม่อมและหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อให้มากที่สุด โดยมีแผนจับกุมผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเอาไว้ก่อน ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน นอกจากนี้ยังมีแผนการจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์องค์อื่นๆ รวมทั้งเสนาบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ และผู้บังคับบัญชาทหารที่สำคัญๆ อีกหลายคนด้วยกัน เพื่อเป็นข้อต่อรองให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทย

ขั้นตอนการยึดอำนาจ

คณะผู้ก่อการได้เริ่มลงมือปฏิบัติงานในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการนำคณะนายทหารพร้อมด้วยกำลังหน่วยทหารที่เตรียมการเอาไว้ เข้ายึดพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นฐานบัญชาการ และได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดวังบางขุนพรหม พร้อมทั้งได้ทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเสด็จมาประทับยัง พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นผลสำเร็จ จากการที่คณะผู้ก่อการได้พยายามดำเนินการอย่างละมุนละม่อมดังกล่าว ทำให้สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีซึ่งมีผลต่อชาติบ้านเมืองโดยส่วนรวม

สำหรับทางฝ่ายพลเรือนนั้น สมาชิกคณะผู้ก่อการกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (นายควง อภัยวงศ์) ได้ออกตระเวนตัดสายโทรศัพท์และโทรเลขทั้งในพระนครและธนบุรี เพื่อป้องกันมิให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตและผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในกรุงเทพฯ ขณะนั้น โทรศัพท์และโทรเลขติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ ได้จัดทำใบปลิว คำแถลงการณ์ของคณะผู้ก่อการออกแจกจ่ายประชาชน

คณะผู้ก่อการสามารถยึดอำนาจและจับกุมบุคคลสำคัญฝ่ายรัฐบาลไว้ได้โดยเรียบร้อย และได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะราษฎร ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งออกประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎร เพื่อชี้แจงที่ต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองให้ประชาชนเข้าใจ นอกจากนี้คณะราษฎรได้แต่งตั้งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารขึ้น 3 นาย ได้แก่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์ โดยให้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน ขณะที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการบริหารประเทศ

หลังจากนั้น คณะราษฎรได้มีหนังสือกราบบังคับทูลอันเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ หัวเสด็จกลับคืนสู่พระนคร เพื่อดำรงฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรต่อไป ด้วยความที่พระองค์ทรงมีน้ำพระทัยที่เป็นประชาธิปไตย และทรงพร้อมที่จะเสียสละเพื่อประชาชนและประเทศชาติ พระองค์ทรงตอบรับคำกราบบังคับทูลอัญเชิญของคณะราษฎร โดยพระองค์ทรงยินยอมที่จะสละพระราชอำนาจของพระองค์ด้วยการพระราชทานรัฐ ธรรมนูญตามที่คณะราษฎรได้มีเป้าหมายเอาไว้ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนสู่พระนครเพื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวง ชนชาวไทย

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของไทย แต่ถ้าพิจารณาถึงผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแล้ว ผลกระทบทางการเมืองจะมีมากกว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เป็นเพราะความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นคนร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจเพื่อนำเสนอนั้น มิได้รับการยอมรับจากคณะราษฎรส่วนใหญ่ ดังนั้นระบบเศรษฐกิจภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังคงเป็นแบบทุนนิยมเช่นเดิม และโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังคงเน้นที่การเกษตรกรรมมากว่าอุตสาหกรรม ซึ่งต่างจากประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ได้พัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว

ผลกระทบทางด้านสังคม

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สังคมไทยได้รับผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงพอสมควร คือ ประชาชนเริ่มได้รับเสรีภาพและมีสิทธิต่างๆ ตลอดจนความเสมอภาคภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง ในขณะที่บรรดาเจ้าขุนมูลนาย ขุนนาง ซึ่งมีอำนาจภายใต้ระบอบการปกครองดั้งเดิมได้สูญเสียอำนาจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เคยมีมาก่อน โดยที่คณะราษฎรได้เข้าไปมีบทบาทแทนบรรดาเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าเหล่านั้น

เนื่องจากที่คณะราษฎรมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาของราษฎรอย่างเต็มที่ ตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎรข้อที่ 6 ดังนั้น รัฐบาลจึงได้โอนโรงเรียนประชาบาลที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นให้เทศบาลเหล่านั้นรับไปจัดการศึกษาเอง เท่าที่เทศบาลเหล่านั้นจะสามารถรับโอนไปจากกระทรวงธรรมการได้ ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงการศึกษาของบุตรหลานของตนเอง นอกจากนั้นรัฐบาลได้กระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร มีสภาเทศบาลคอยควบคุมกิจการบริหารของเทศบาลเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ โดยมีเทศมนตรีเป็นผู้บริหารตามหน้าที่

พ.ศ.2479 รัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2479 โดยกำหนดแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเภท คือ สายสามัญศึกษาและสายอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นการเน้นความสำคัญของอาชีวศึกษาอย่างแท้จริง โดยได้กำหนดความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เรียนจบการศึกษาในสายสามัญแตะละประโยคแต่ละระดับการศึกษา ได้เรียนวิชาอาชีพเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากเรียนวิชาสามัญ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการที่จะออกไปประกอบอาชีพต่อไป

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 จึงได้นำไปสู่การปรับปรุงให้ราษฎรได้รับการศึกษา และสามารถใช้วิชาการความรู้ที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ประกอบอาชีพต่อไปอย่างมั่นคงและมีความสุข

การเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้ชนชั้นเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าถูกลิดรอนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น พระมหากษัตริย์จะได้รับเงินจากงบประมาณเพียงปีละ 1-2 ล้านบาท จากเดิมเคยได้ประมาณปีละ 2-10 ล้านบาท เงินปีของพระบรมวงศานุวงศ์ถูกลดลงตามส่วน ขุนนางเดิมถูกปลดออกจากราชการโดยรับเพียงบำนาญ และเจ้านายบางพระองค์ถูกเรียกทรัพย์สินสมบัติคืนเป็นของแผ่นดิน





* images (Small).jpg (17.76 KB, 315x480 - ดู 2592 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 28 มิถุนายน 2012, 07:08:17 »

     วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2555
................
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ชราชนาวิกโยธิน เป็นเพลงประจำหน่วยทหารนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินจึงถือเอาวันนี้ของทุกปีเป็น วันทหารนาวิกโยธิน
“มาร์ชราชนาวิกโยธิน”
ประวัติเพลงมาร์ชราชนาวิกโยธิน เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 29 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2502 แล้วพระราชทานแก่กรมนาวิกโยธินตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานจาก พลเรือตรี สนอง นิสาลักษณ์ ผู้บังคับบัญชากรมนาวิกโยธินขณะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วงดนตรีประจำกองเรือที่ ๗ ของสหรัฐอเมริกานำออกบรรเลงครั้งแรก ณ สนามกีฬาแห่งชาติ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ในงานแสดงของราชนาวีไทย-นาวิกโยธินอเมริกัน เพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิ “มหิดล” ในโอกาสที่นาวิกโยธินอเมริกันประจำกองเรือที่ 7 ของสหรัฐอเมริกาเดินทางมาเยือนประเทศไทย สำหรับคำร้องภาษาไทย พลเรือโท จตุรงค์ พันธุ์คงชื่น และพลเรือโท สุม
 
มาร์ชราชนาวิกโยธิน
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้องโดย พลเรือโทจตุรงค์ พันธุ์คงชื่น และ พลเรือโทสุมิตร ชื่นมนุษย์

รุกรันฟันฝ่าในธาราสีคราม
สมเป็นดังนามราชนาวีไทย
รบรันฟัดฟาดไม่ขลาดหวั่นไหว
มีศึกมาใกล้ไม่หวั่นครั่นคร้ามริปู

เราราชนาวิกโยธินของไทย
เราร่วมกายใจกันไว้เชิดชู
เป็นแนวปราการรุกรานรบผลาญต่อต้านพร้อมพรู
เข้าฟาดฟันรบรันศัตรูขอสู้ขาดใจ

เมื่อเราเข้าประจัญ
จะผลาญให้สิ้นไป
ยอมพลีชีพเพื่อชาติไทย
รีบรุกบุกเข้าตี
ไม่หนีสู้เพื่อชัย
กายใจชีวิตมอบเป็นราชพลี

เราราชนาวิกโยธินของไทย
ชีวิตมลายคงไว้ศักดิ์ศรี
วิญญาณยืนยงคู่ธงนาวี
ดำรงเสรีศัตรูหลีกลี้หนีไป

แม้ชีวาเราจำต้องสิ้นสูญลง
แหลมทองยังคงเป็นขวัญคู่ไทย
นย.เกรียงไกรไว้ลายแม้ตายชื่อไม่สูญไป
ปกป้องไทยทั้งกายและใจขอไทยอยู่คง.




IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 29 มิถุนายน 2012, 07:01:18 »

     วันนี้วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2555
...............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - เกิดกบฏแมนฮัตตัน นำโดยทหารเรือจำนวนหนึ่ง ขณะมีพิธีส่งมอบเรือขุดแมนฮัตตันจากสหรัฐอเมริกา กบฏจับตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นตัวประกันไปไว้ที่เรือหลวงศรีอยุธยา ฝ่ายรัฐบาลซึ่งสนับสนุนโดยทหารและตำรวจ ปราบปรามอย่างรุนแรงนาน 3 วัน 2 คืน
29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เกิดเหตุการณ์ "กบฎแมนฮัตตัน" นำโดย นาวาโทมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ได้บุกจี้ตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ขณะกำลังทำพิธีรับมอบ "เรือขุดแมนฮัตตัน" ซึ่งสหรัฐอเมริกามอบให้แก่ประเทศไทย ที่ท่าราชวรดิฐ (จึงเป็นที่มาของ "กบฎแมนฮัตตัน") จากนั้นได้เชิญตัวจอมพล ป. ไปขังไว้ที่เรือหลวงศรีอยุธยา ซึ่งจอดอยู่ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ หัวหน้าผู้ก่อการคือ นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา ได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เกิดการสู้รบกันหลายแห่งในพระนคร ระหว่างฝ่ายทหารเรือกับฝ่ายรัฐบาลคือทหารอากาศ ทหารบกและตำรวจ จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงสามารถหลบหนีออกมาได้ ในที่สุดฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนสำเร็จ
 


* 154322jan02 (WinCE).jpg (14.22 KB, 259x320 - ดู 2460 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 30 มิถุนายน 2012, 06:16:03 »

     วันนี้วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2555
.............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - ขบวนการพูโลลอบวางระเบิด 6 จุดในย่านชุมชนของกรุงเทพฯ และมีจดหมายขู่จะระเบิดให้ครบ 400 จุด

ย้อนรอยบึ้มกรุงปี 2523 ขบวนการพูโลบุกป่วน6จุด///มติชนฯ/
อันที่จริงเหตุการณ์ระเบิดทั่วกรุงไม่ต่ำกว่า 5 จุด เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม คืนส่งท้ายปีเก่า ไม่ใช่เหตุการณ์รุนแรงครั้งแรกในกรุงเทพมหานคร (กทม.)

ก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุการณ์ที่สร้างความอกสั่นขวัญแขวนให้กับคนเมืองกรุงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนมาแล้ว เมื่อขบวนการโจรพูโลบุกขึ้นมาก่อความไม่สงบในกรุงเทพฯหลายแห่ง ลอบวางระเบิดกันถึง 6 จุดใหญ่ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2523 แต่ระเบิดทั้งหมด 4 จุด ได้แก่ 1.โรงภาพยนตร์ฮาวาย ย่านวงเวียนใหญ่ มีผู้บาดเจ็บ 1 คน 2.สถานีรถไฟบางกอกน้อย มีบาดเจ็บ 1 คน 3.บริษัทไทยเดินรถ บางกอกน้อย มีผู้บาดเจ็บ 36 คน และ 4.บนรถเมล์สาย 58 มีผู้บาดเจ็บ 8 คน

ต่อจากนั้นมา กรุงเทพฯตกอยู่ภายใต้ข่าวลือถึงสถานที่ต่างๆ จะมีระเบิด เนื่องจากมีจดหมายข่มขู่จะระเบิดให้ครบ 400 จุด ทำให้ตำรวจต้องทำงานอย่างหนักวิ่งวุ่นกันไปทั้งเมือง


* imagesCAOKAOAA (WinCE).jpg (12.91 KB, 240x161 - ดู 2395 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!