เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 กรกฎาคม 2025, 15:41:09
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  37 ปีที่จากไป - บุญสนอง บุณโยทยาน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน 37 ปีที่จากไป - บุญสนอง บุณโยทยาน  (อ่าน 5255 ครั้ง)
T Nakamura
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 347



« เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2012, 16:32:56 »

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556
เป็นวันครบรอบ 37 ปี การเสียชีวิตของคนเชียงรายที่สำคัญคนหนึ่ง
คือ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน


ใคร คือ บุญสนอง บุณโยทยาน?

ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน เป็นชาวเชียงรายโดยกำเนิด
เป็นบุตรของนายสนอง  บุญโยทยาน มีน้องชายร่วมบิดา มารดา อีก 1 คน

ดร.บุญสนอง เป็นอดีตหัวหน้าแผนกวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย

ดร.บุญสนองสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2502
แล้วเข้าทำงานกับหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้แปลเอกสารทางการเป็นภาษาอังกฤษ
ทักษะภาษาอังกฤษบวกกับความคุ้นเคยที่เขามีต่อโครงสร้างของหน่วยงานรัฐไทย
ทำให้ต่อมาเขาได้ทำงานเป็นนักเขียนและนักวิจัยให้กับสำนักข่าวสารอเมริกัน (United States Information Service, USIS) ในกรุงเทพฯ

ในปีพ.ศ. 2505 บุญสนองได้รับทุนการศึกษา Fulbright-Hayes Scholarship ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยแคนซัส
(ในพ.ศ. 2518 บุญสนองเป็นแกนนำนักศึกษาเดินขบวนมาปลดตราสัญลักษณ์นกอินทรีย์ออกจากประตูของสถานทูตอเมริกาบนถนนวิทยุ อย่างที่เขาทำหลังจากเกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างกองทัพสหรัฐอเมริกาและกองกำลังเขมรแดงจากเหตุยึดเรือสินค้า SS Mayaguez)

บุญสนองศึกษาปริญญาโทสังคมวิทยา ที่มหาวิทยาลัยแคนซัส สหรัฐอเมริกา หัวข้อวิทยานิพนธ์ "คำอธิบายทางสังคมวิทยาของต้นกำเนิดการพัฒนาที่แตกต่างกันในญี่ปุ่นและประเทศไทย" (A Sociological Explanation of the Origins of Differential Development in Japan and Thailand) ปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล หัวข้อวิทยานิพนธ์ "การเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบเลือกปฏิบัติของไทย: การศึกษาด้วยการอ้างอิงเปรียบเทียบกับญี่ปุ่น" (Thai Selective Social Change: A Study with Comparative Reference to Japan)

ช่วงเวลาที่บุญสนองศึกษาอยู่ที่คอร์แนล เป็นช่วงเดียวกับที่ ฉลาดชาย รมิตานนท์, ยุพา คลังสุวรรณ, บัณฑร อ่อนดำ, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ปรานี วงษ์เทศ, ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์, วารินทร์ วงศ์หาญเชาวน์, ปราโมทย์ นาครทรรพ, และอานันท์ กาญจนพันธ์ ซึ่งต่อมาจะเป็นนักวิชาการสำคัญในประเทศไทย ก็ศึกษาอยู่ที่คอร์แนลเช่นกัน



ภายหลังได้รับปริญญามหาบัณฑิต บุญสนองเดินทางกลับประเทศไทย และเข้ารับตำแหน่งอาจารย์ทางสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในปีพ.ศ. 2510 เขากลับสู่อเมริกาอีกครั้งและใช้เวลา 5 ปีที่นั่นอย่างเป็นประโยชน์เต็มที่ เขาจบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ตีพิมพ์บทความจำนวนมาก ใช้เวลาหนึ่งปีที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และอีกปีในฐานะอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยฮาวาย

เมื่อเขาเดินทางกลับประเทศไทยใน พ.ศ. 2515 เขาได้ประสบความสำเร็จเป็นนักวิชาการสังคมวิทยาที่ได้รับความยอมรับในระดับนานาชาติ ถือเป็นความสำเร็จที่เพื่อนร่วมงานชาวไทยของเขาน้อยคนจะเทียบได้ แม้กระทั่งผู้ที่อาวุโสสูงกว่าเขาหลายปีก็ตาม

ตลอดช่วงเวลาที่เขาอยู่ในอเมริกา บุญสนองได้สั่งสมมากกว่าความรู้และตำแหน่งทางวิชาการ บริบททางสังคมและการเมืองส่งผลต่อเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทศวรรษดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่ขบวนการนักศึกษาต่อต้านสงครามเวียดนามเริ่มเติบโตตามมหาวิทยาลัยอเมริกัน และการรวมตัวของ Committee of Concerned Asian Scholars (CCAS) จากสถาบันเอเชียศึกษาต่างๆ รวมทั้งสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยคอร์แนล ที่บุญสนองกำลังศึกษาอยู่

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2513 เขาได้เข้าร่วมการประชุมของ CCAS ที่ซาน ฟรานซิสโก และนำเสนอบทความชื่อ "False assumptions: the sources of difficulty in Thai economic development" เมื่อเขากลับมาเมืองไทย เขามักถูกมองว่าเป็น “อเมริกัน” เสียเหลือเกิน เพราะเขาไม่สามารถรักษาระยะห่างทางสังคมจากมวลชน ตามที่ชนชั้นนำอื่นๆ คาดหวังว่าเหมาะสมสำหรับผู้ที่มีภูมิหลังและสถานภาพเช่นเขา เขาเป็นคนเปิดกว้าง ไม่ถือตัว และไม่ละโอกาสที่จะร่วมสนทนากับผู้คน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคณบดีในมหาวิทยาลัยหรือคนขายบะหมี่รถเข็นตามท้องถนน

เมื่อกลับเข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2515 เขาได้กลายเป็นหนึ่งในนักกิจกรรมแนวหน้าของมหาวิทยาลัยในทันที ในส่วนของบุญสนอง เขาเขียนบทความ เข้าร่วมการประชุม ทำงานวิจัย จัดกิจกรรมและบรรยายให้คนหนุ่มสาวที่ตื่นตัวกระตือรือล้นหลายร้อยคนฟัง ขบวนการนักศึกษาซึ่งจะได้ล้มล้างเผด็จการทหารในเวลาต่อมายังเพิ่งเริ่มก่อตัว และธรรมศาสตร์ก็เป็นศูนย์กลางของความเคลื่อนไหวนี้


ดร.บุญสนอง บุณโยทยานเสียชีวิตด้วยกระสุนปืนของผู้ลอบสังหารเมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2519 ขณะดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย หลังจากที่บุญสนองกำลังขับรถกลับจากงานเลี้ยงสังสรรค์ เขาถูกยิงสามนัด นัดหนึ่งเข้าที่คอและทำให้เขาเสียชีวิต
  
แทบไม่น่าสงสัยเลยว่าสาเหตุของการลอบสังหารครั้งนี้เกี่ยวพันกับการเมือง ทำให้ไม่ค่อยมีใครคาดหวังว่าจะมีการจับกุมฆาตกรมาดำเนินคดี อย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้คนอีกมากมายที่อาลัยถึงเขาอย่างสุดซึ้ง ซึ่งรวมถึงภรรยาและลูกสาวทั้งสองของเขา เพื่อนนักวิชาการ และประชาชนชาวไทย

การลอบสังหารดังกล่าว เกิดขึ้นในบรรยากาศทางการเมืองที่มีความตึงเครียดอย่างมาก มีการลอบสังหารผู้นำชาวนา กรรมกร นิสิตนักศึกษา และนักการเมืองหัวก้าวหน้าถูกสังหารไปแล้วหลายราย และหลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519

อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/บุญสนอง_บุณโยทยาน
http://thaienews.blogspot.com/2010/02/blog-post_6173.html
http://www.free-webboard.com/view.php?nm=saedang&qid=462
http://tusocant.posterous.com/?tag=บุญสนองบุณโยทยาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 16:56:56 โดย T Nakamura » IP : บันทึกการเข้า
Yim sri
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,753



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2012, 16:38:58 »

เคยได้เรียนกับอาจารย์ ๑ เทอม ในวิชาสังคมวิทยา

ตอนที่รู้ข่าว พวกเราถึงกับช็อค เข้าใจว่าน่าจะเกี่ยวด้วยการเมือง
เพราะอาจารย์ลงสมัครเลือกตั้งสส.ด้วย
IP : บันทึกการเข้า

ธ สถิตย์ในใจตราบนิรันดร์กาล
AIT
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,914



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2012, 21:41:17 »

เคยได้เรียนกับอาจารย์ ๑ เทอม ในวิชาสังคมวิทยา

ตอนที่รู้ข่าว พวกเราถึงกับช็อค เข้าใจว่าน่าจะเกี่ยวด้วยการเมือง
เพราะอาจารย์ลงสมัครเลือกตั้งสส.ด้วย

แสดงว่าอายุท่านไม่ต่ำกว่า 55+  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
superguy
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,087



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2012, 22:03:36 »

ขอบคุณที่นำเรื่องราวแบบนี้มาเผยแพร่ครับ เกิดไม่ทันจริง ๆ ครับ เพิ่งอายุได้เดือนเดียวตอนท่านเสีย  อายจัง
IP : บันทึกการเข้า

เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2012, 22:12:10 »

บุญสนอง บุญโยทยาน เป๋น 1 ในบุคคลสำคัญของเมืองเจียงฮายตี้ถูกลืม
(ในหนี้ก็มี เจ้าหลวงทั้ง 4 องค์, พระครูปัญญาลังการ, หมอบริกส์, หมอด็อดด์,
หมอเสม, พ.ต.ท.โทวัลเซน, อเล็กซานเดอร์ โทรางกูร (โทวัลเซน), ฯลฯ)


บ้านของบุญสนองบ่าเดี่ยวเป๋นฮ้านอาหารเจียงฮายรำลึก เป๋นโลโบ้
ไผไปต๋ำหมู่หั้นจะปะป้ายจื่อขะหนนส่วนบุคคล "ถนนบุณโยทยาน"
น้องบ่าวของบุญสนองเป๋นเปื้อนกับลุงหวัน (ถวัลย์ ดัชนี)
ปัจจุบัน น้องบ่าวยังอาศัยอยู่ในเมืองเจียงฮาย

สมัยสงครามโลกเตื้อตี้ 2 บุญสนองกับน้องบ่าวต้องโตยแม่ไปอยู่เมืองพาน
ย้อนว่าบ้านเปิ้น (โลโบ้) ถูกทหารญี่ปุ่นยึดเป๋นก๋องบัญชาก๋าร
ส่วนป้อของเปิ้นเซิ่งเป๋นปลัด ก็โดนเกณฑ์ไปฮบตี้เจียงตุ๋ง
หลังสงครามสงบ ครอบครัวหนี้เถิงได้ปิกมาอยู่โตยกั๋น ได้ปิกมาอยู่บ้านในเวียง
ส่วนแม่ของเปิ้นก็ได้ปิกไปเป๋นครูโฮงเฮียนดำรงฯเหมือนดังเก่า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 12 มีนาคม 2012, 22:16:28 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
T Nakamura
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 347



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2012, 22:25:19 »

บุญสนอง บุญโยทยาน เป๋น 1 ในบุคคลสำคัญของเมืองเจียงฮายตี้ถูกลืม
(ในหนี้ก็มี เจ้าหลวงทั้ง 4 องค์, พระครูปัญญาลังการ, หมอบริกส์, หมอด็อดด์,
หมอเสม, พ.ต.ท.โทวัลเซน, อเล็กซานเดอร์ โทรางกูร (โทวัลเซน), ฯลฯ)


บ้านของบุญสนองบ่าเดี่ยวเป๋นฮ้านอาหารเจียงฮายรำลึก เป๋นโลโบ้
ไผไปต๋ำหมู่หั้นจะปะป้ายจื่อขะหนนส่วนบุคคล "ถนนบุณโยทยาน"
น้องบ่าวของบุญสนองเป๋นเปื้อนกับลุงหวัน (ถวัลย์ ดัชนี)
ปัจจุบัน น้องบ่าวยังอาศัยอยู่ในเมืองเจียงฮาย

สมัยสงครามโลกเตื้อตี้ 2 บุญสนองกับน้องบ่าวต้องโตยแม่ไปอยู่เมืองพาน
ย้อนว่าบ้านเปิ้น (โลโบ้) ถูกทหารญี่ปุ่นยึดเป๋นก๋องบัญชาก๋าร
ส่วนป้อของเปิ้นเซิ่งเป๋นปลัด ก็โดนเกณฑ์ไปฮบตี้เจียงตุ๋ง
หลังสงครามสงบ ครอบครัวหนี้เถิงได้ปิกมาอยู่โตยกั๋น ได้ปิกมาอยู่บ้านในเวียง
ส่วนแม่ของเปิ้นก็ได้ปิกไปเป๋นครูโฮงเฮียนดำรงฯเหมือนดังเก่า


ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ
IP : บันทึกการเข้า
T Nakamura
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 347



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2012, 22:39:50 »

เคยได้เรียนกับอาจารย์ ๑ เทอม ในวิชาสังคมวิทยา

ตอนที่รู้ข่าว พวกเราถึงกับช็อค เข้าใจว่าน่าจะเกี่ยวด้วยการเมือง
เพราะอาจารย์ลงสมัครเลือกตั้งสส.ด้วย

ขอบคุณครับที่ร่วมมาแบ่งปันประสบการณ์

ช่วงก่อนหน้านั้น ดร.บุญสนองสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งซ่อมที่เชียงใหม่
หลังการเสียชีวิตของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนเดิม
ซึ่งก็มีกระแสตอบรับที่ดี
แต่ก็มีฝ่ายตรงข้ามหลายๆ กลุ่มก็ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อหยุดเขา
มีการใช้ระเบิดมือทำลายป้ายหาเสียงของเขาตามหมู่บ้านต่างๆ
มีการพบอาวุธปืน M16 ผิดกฎหมายจำนวนหนึ่ง
สุดท้ายแล้วเขาก็พ่ายแพ้ที่สนามเลือกตั้งที่เชียงใหม่

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 ดร.บุญสนองตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคสังคมนิยม
เพื่อกลับมาทำงานวิชาการ เขาต้องเผชิญกับการปิดกั้นแม้แต่ในหนทางวิชาการ
กลุ่มฝ่ายตรงข้ามพร้อมกันให้ร้ายเขาทันทีที่เขาพยายามจะกลับเข้ามารับตำแหน่งในมหาวิทยาลัย
ดังนั้น แม้ว่าเขาจะไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519
เขาก็ยังคงเป็นเลขาธิการพรรคและให้ความช่วยเหลือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งคนอื่นๆ ของพรรคฯ
โดยวางแผนว่าจะลาออกภายหลังสิ้นสุดการเลือกตั้ง

แต่ก็ไม่ได้ทำตามดังที่ได้ตั้งใจไว้ เนื่องจากต้องมาเสียชีวิตก่อนในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2519
IP : บันทึกการเข้า
T Nakamura
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 347



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2012, 22:54:56 »

ถนนบุณโยทยานครับ
ถ้ามีโอกาส ฟ้าใส ใจ๋ฮ่มๆ
จะลองไปถ่ายฮูปเก็บบรรยากาศมาฝากครับ

อันนี้ยืมของคนอื่นมาก่อนครับ


* ซอยบุณโยทยาน.JPG (30.51 KB, 452x299 - ดู 1872 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
pollaa
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2012, 01:44:02 »

คนสำคัญของเชียงราย...ที่เรียนที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล ..ซึ่งขณะนี้มีการเขียนถึงอเมริกาที่อยู่เบื้องหลังอดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยคอร์แนล ในปัจจุบัน(โดยส่วนตัวไม่เชื่อเรื่องนี้)..จึงกลับไปอ่านหนังสือเรื่อง Made in USA และโง่เง่าเต่าตุ่นIN USAของสุจิตร วงษ์เทศ ...ได้บรรยากาศแบบย้อนยุคของนักศึกษา มหาวิทยาลัยคอร์แนล
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2012, 06:26:29 »

ผมเป็นสมาชิกพรรคฯ สมัยที่ท่านเป็นหัวหน้าพรรคฯ เคยถูกค้นบ้านเพราะอ่านหนังสือ "ซ้าย" แต่อาศัยคบกับลูกสาวกำนัน เลยรู้ตัวก่อน รอดตัวไป "ปัจจุบันยังคงเกลียดเผด็จการอย่างไม่เสื่อมคลาย"
IP : บันทึกการเข้า
พอใจ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 300



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2012, 14:53:39 »

จำได้ว่า ช่วงปี 2521-23  ที่อาคารราชเดชดำรง โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์  เคยมีห้อง (ถ้าจำไม่ผิดจะอยุ่ในห้องแนะแนวนะ) ชื่อห้องบุญสนอง บุณโยทยาน จำชื่อชื่อนี้มานานแต่ไม่เคยทราบรายละเอียดมากอย่างนี้
ขอบคุณ จขทก.ที่นำมาตั้งกระทู้ค่ะ  โรงเรียนน่าจะมีข้อมูลให้นักเรียน ได้สืบค้นนะคะ
IP : บันทึกการเข้า

"อย่าใจร้อน มันจะร้อนใจ"
teetee2011
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 664


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2012, 18:39:21 »

บุญสนอง บุญโยทยาน เป๋น 1 ในบุคคลสำคัญของเมืองเจียงฮายตี้ถูกลืม
(ในหนี้ก็มี เจ้าหลวงทั้ง 4 องค์, พระครูปัญญาลังการ, หมอบริกส์, หมอด็อดด์,
หมอเสม, พ.ต.ท.โทวัลเซน, อเล็กซานเดอร์ โทรางกูร (โทวัลเซน), ฯลฯ)


บ้านของบุญสนองบ่าเดี่ยวเป๋นฮ้านอาหารเจียงฮายรำลึก เป๋นโลโบ้
ไผไปต๋ำหมู่หั้นจะปะป้ายจื่อขะหนนส่วนบุคคล "ถนนบุณโยทยาน"
น้องบ่าวของบุญสนองเป๋นเปื้อนกับลุงหวัน (ถวัลย์ ดัชนี)
ปัจจุบัน น้องบ่าวยังอาศัยอยู่ในเมืองเจียงฮาย

สมัยสงครามโลกเตื้อตี้ 2 บุญสนองกับน้องบ่าวต้องโตยแม่ไปอยู่เมืองพาน
ย้อนว่าบ้านเปิ้น (โลโบ้) ถูกทหารญี่ปุ่นยึดเป๋นก๋องบัญชาก๋าร
ส่วนป้อของเปิ้นเซิ่งเป๋นปลัด ก็โดนเกณฑ์ไปฮบตี้เจียงตุ๋ง
หลังสงครามสงบ ครอบครัวหนี้เถิงได้ปิกมาอยู่โตยกั๋น ได้ปิกมาอยู่บ้านในเวียง
ส่วนแม่ของเปิ้นก็ได้ปิกไปเป๋นครูโฮงเฮียนดำรงฯเหมือนดังเก่า

ขอความเมตตาเจ้าของกระเอาประวัติของทั้งสี่ท่านตี๊อ้างถึงเอาลงเปื้อศึกษาจิ่มครับ  โดยเฉพาะหลวงพ่อปัญญาลังการ  ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า
superguy
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,087



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2012, 21:52:33 »

บุญสนอง บุญโยทยาน เป๋น 1 ในบุคคลสำคัญของเมืองเจียงฮายตี้ถูกลืม
(ในหนี้ก็มี เจ้าหลวงทั้ง 4 องค์, พระครูปัญญาลังการ, หมอบริกส์, หมอด็อดด์,
หมอเสม, พ.ต.ท.โทวัลเซน, อเล็กซานเดอร์ โทรางกูร (โทวัลเซน), ฯลฯ)


บ้านของบุญสนองบ่าเดี่ยวเป๋นฮ้านอาหารเจียงฮายรำลึก เป๋นโลโบ้
ไผไปต๋ำหมู่หั้นจะปะป้ายจื่อขะหนนส่วนบุคคล "ถนนบุณโยทยาน"
น้องบ่าวของบุญสนองเป๋นเปื้อนกับลุงหวัน (ถวัลย์ ดัชนี)
ปัจจุบัน น้องบ่าวยังอาศัยอยู่ในเมืองเจียงฮาย

สมัยสงครามโลกเตื้อตี้ 2 บุญสนองกับน้องบ่าวต้องโตยแม่ไปอยู่เมืองพาน
ย้อนว่าบ้านเปิ้น (โลโบ้) ถูกทหารญี่ปุ่นยึดเป๋นก๋องบัญชาก๋าร
ส่วนป้อของเปิ้นเซิ่งเป๋นปลัด ก็โดนเกณฑ์ไปฮบตี้เจียงตุ๋ง
หลังสงครามสงบ ครอบครัวหนี้เถิงได้ปิกมาอยู่โตยกั๋น ได้ปิกมาอยู่บ้านในเวียง
ส่วนแม่ของเปิ้นก็ได้ปิกไปเป๋นครูโฮงเฮียนดำรงฯเหมือนดังเก่า

ขอความเมตตาเจ้าของกระเอาประวัติของทั้งสี่ท่านตี๊อ้างถึงเอาลงเปื้อศึกษาจิ่มครับ  โดยเฉพาะหลวงพ่อปัญญาลังการ  ขอบคุณครับ

+1
IP : บันทึกการเข้า

AIT
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,914



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2012, 21:59:20 »

เข้ามาอ่านอีกรอบ
ความรู้ประวัติศาสตร์ทั้งนั้น
IP : บันทึกการเข้า
ohio888
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 782



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2012, 22:32:11 »

ผมเป็นสมาชิกพรรคฯ สมัยที่ท่านเป็นหัวหน้าพรรคฯ เคยถูกค้นบ้านเพราะอ่านหนังสือ "ซ้าย" แต่อาศัยคบกับลูกสาวกำนัน เลยรู้ตัวก่อน รอดตัวไป "ปัจจุบันยังคงเกลียดเผด็จการอย่างไม่เสื่อมคลาย"

+1 น่าเสียดายที่บ้านเรายังไม่รู้ถึงผลเสียของการยึดอำนาจ การโค่นอำนาจฝ่ายตรงข้ามโดยใช้ทหาร พม่าก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่าง แต่ก็ยังไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรกัน ถ่ายรูป ตกเบ็ด shopping chat facebook ไร้สาระไปวันๆ แล้วที่สำคัญไม่ยอมศึกษาและหาความรู้เพิ่ม และอ้างเหตุผลสั้นๆ คือเบื่อ น่าเบื่อ ที่แท้ไม่สามารถเข้าใจมันได้เลยอ้างเบื่อไง
IP : บันทึกการเข้า

อย่าคลั่งชาติจนมากไป
ประเทศไทยยังมีขอทาน
(อย่าโลกสวย)
์Nate4paul
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 15 มีนาคม 2012, 22:03:57 »


 อยากรู้ว่าทุกวันนี้คนที่มันอยู่เบื้องหลังมันยังหน้าด้านมีชีวิตอยู่เปล่า อยากเห็นชะมัดคนพวกนี้
IP : บันทึกการเข้า
เด็กลำธารไม้ไผ่
ชั้นประถม
*
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 337



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 15 มีนาคม 2012, 22:08:32 »

เข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ทางประว้ติศาสตร์
IP : บันทึกการเข้า


Thanks: �ҡ�ٻ [url=h
ไฮเวย์
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 417



« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 16 มีนาคม 2012, 23:09:52 »

แล้วพี่น้องที่เหลื่ออีกคนชื่ออะหยังครับ แล้วตอนนี้ท่าอยู่ที่ไหนครับ แต่มีลุงท่านหนึ่งมีนามสกุลเดียวกับ ดร บุญสนอง บุญโยทยาน   ชื่อว่า ทรัพย์สิน  บุญโยทยาน  บ่อฮู้ว่าเป็นญาติกันก่อครับ  มีใครที่รู้จักดีช่ยตอบหน่อยให้หายสงสัยโตยครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
T Nakamura
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 347



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2012, 22:09:39 »

คนสำคัญของเชียงราย...ที่เรียนที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล ..ซึ่งขณะนี้มีการเขียนถึงอเมริกาที่อยู่เบื้องหลังอดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยคอร์แนล ในปัจจุบัน(โดยส่วนตัวไม่เชื่อเรื่องนี้)..จึงกลับไปอ่านหนังสือเรื่อง Made in USA และโง่เง่าเต่าตุ่นIN USAของสุจิตร วงษ์เทศ ...ได้บรรยากาศแบบย้อนยุคของนักศึกษา มหาวิทยาลัยคอร์แนล

ขอบคุณครับที่แนะนำหนังสือ แต่ละเล่มนี่น่าอ่านทั้งนั้นครับ

IP : บันทึกการเข้า
T Nakamura
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 347



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2012, 22:42:22 »

แล้วพี่น้องที่เหลื่ออีกคนชื่ออะหยังครับ แล้วตอนนี้ท่าอยู่ที่ไหนครับ แต่มีลุงท่านหนึ่งมีนามสกุลเดียวกับ ดร บุญสนอง บุญโยทยาน   ชื่อว่า ทรัพย์สิน  บุญโยทยาน  บ่อฮู้ว่าเป็นญาติกันก่อครับ  มีใครที่รู้จักดีช่ยตอบหน่อยให้หายสงสัยโตยครับ ยิงฟันยิ้ม

เปิ้นเป๋นน้องจาย ดร.บุญสนอง บุญโยทยาน ครับ
ตะก่อนเปิ้นใจ้จื้อ "กองสิน" แล้วเปลี่ยนมาใจ้จื้อ "ทรัพย์สิน" กำหลัง
เดวไปเซาะหาหนังสือของลุงเปิ้นครับ เปิ้นเกยเขียนไว้ แล้วพิมพ์กับล้อล้านนาครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 20 มีนาคม 2012, 09:13:11 โดย T Nakamura » IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!