เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 22 กรกฎาคม 2025, 19:46:12
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  คิดอย่างไรกับค่าติดกลับกรณีงดจ่ายไฟ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 4 พิมพ์
ผู้เขียน คิดอย่างไรกับค่าติดกลับกรณีงดจ่ายไฟ  (อ่าน 4637 ครั้ง)
noipharma
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 11:27:00 »

ตามหัวข้อเลยค่ะ  ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับ ค่าติดกลับกรณีงดจ่ายไป จำนวนเงิน 107 บาท
ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เมื่อเลยกำหนดไปแล้้วเพียงวันเดียวจากช่วงที่กำหนด
IP : บันทึกการเข้า
yodying
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 281



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 11:34:29 »

ไม่ควรเก็บนะ

เอาความเดือดร้อนในการไม่มีไฟฟ้าใช้ มาเป็นเครื่องมือต่อรองประชาชนผู้ใช้ไฟ ที่หาเงินมาจ่ายไม่มัน

น่าจะมีมาตรการที่ผ่อนปรนดีกว่านี้
IP : บันทึกการเข้า
©®*
cr-nettech ltd.,part.
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 11:45:17 »

เมื่อวานไปจ่ายก็โดนไป 107 บาทครับ เกินจากกำหนดไปเจ็ดวัน ยอมครับเพราะจ่ายช้าเอง

ตามที่ผมเข้าใจนะ ถ้าจ่ายตามกำหนดในบิลจ่ายในเซเว่นได้ แต่ถ้าเกินให้ไปจ่ายที่การไฟฟ้า

แต่ถ้าเกินไปมากกว่า 7 วัน โดนปรับเพิ่ม ถูกปะเนี่ย ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

noipharma
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 11:58:25 »

พี่ที่ไฟฟ้าบอกว่า นับจากที่เค้านับมิเตอร์ ภายใน 10 วัน ค่ะ ก็คือช่วงที่กำหนดไว้บนบิล
บนบิลสิ้นสุดวันที่ 4 ก.ค. พอ วันที่ 5 ก.ค. ไปจ่าย ก็เก็บเลยค่ะ 107 บาท โดยที่เจ้าหน้า
ยังไม่ได้มาทำการใดๆในการตัดไฟเลยค่ะ

ถึงแม้ว่า เราจะ เสียค่าไปเพียง 300 บาท หรือเป็น พัน บาท ค่าปรับก็เท่ากันค่ะ

แล้วเงินส่วนนี้  การไฟฟ้า จะได้ไปสักเท่าไรต่อเดือน โดยที่เจ้าหน้าที่ที่ทำการตัดสายออกจากมิเตอร์
ยังไม่ได้ออกมาทำงานเลยด้วยซ้ำ
IP : บันทึกการเข้า
ttyy
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,953


ซ่อม/ซื้อ/ขาย มือถือทุกรุ่น


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 12:01:44 »

ผมก็เซ็งครับ แต่เอาเค้ามาใช้ก่อน ก็ต้องไปจ่าย พอใบเสร็จมาปุ๊บ เข้า 7-11 ปั๋บ

แค่จ่าย ก็จบ  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

รับซื้อ-ขาย-ฝาก-ขายฝากคอมพิวเตอร์ PC Notebook โทรศัพท์มือถือ nokia iPhone samsung ทีวี LCD เครื่องเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดราคาสูง รุ่นเก่า รุ่นใหม่ โทรมาคุยกันได้ครับ
noipharma
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 12:10:42 »

ผมก็เซ็งครับ แต่เอาเค้ามาใช้ก่อน ก็ต้องไปจ่าย พอใบเสร็จมาปุ๊บ เข้า 7-11 ปั๋บ

แค่จ่าย ก็จบ  ยิงฟันยิ้ม

กด like ค่ะ

เห็นพี่ที่เคาเตอร์บอกกับพี่ที่ทำหน้าเซ็งๆว่า
ุ้ถ้าอย่างไรซะน้องจะเขียนร้องเรียนไม่พอใจเรื่องค่าธรรมเนียม 107 บาทนี้ก็ได้นะ
ไปที่ชั้น สอง ครับ   ขยิบตา ขยิบตา
IP : บันทึกการเข้า
©®*
cr-nettech ltd.,part.
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 12:21:07 »

แล้วทำไมการประปาไม่เห็นเก็บละครับ  ทั้งๆที่เคยได้รับหนังสือเกี่ยวกับการแจ้งเตือนให้จ่ายตรงกำหนดถ้าไม่ตรงจะมีค่าปรับ

แต่ไปจ่ายทีไรเกินกำหนดไม่เห็นเค้าปรับ ไม่พอแถมยังยิ้มให้และขอบคุณอีก

แต่ไฟฟ้านี่ยากครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

::เศษสังคม::
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 698



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 12:52:19 »

หมดเวลาอ่านแล้วจ้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 01:07:39 โดย ::เศษสังคม:: » IP : บันทึกการเข้า
m.16 ฮาละก่าย
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 13:43:32 »

พี่ที่ไฟฟ้าบอกว่า นับจากที่เค้านับมิเตอร์ ภายใน 10 วัน ค่ะ ก็คือช่วงที่กำหนดไว้บนบิล
บนบิลสิ้นสุดวันที่ 4 ก.ค. พอ วันที่ 5 ก.ค. ไปจ่าย ก็เก็บเลยค่ะ 107 บาท โดยที่เจ้าหน้า
ยังไม่ได้มาทำการใดๆในการตัดไฟเลยค่ะ

ถึงแม้ว่า เราจะ เสียค่าไปเพียง 300 บาท หรือเป็น พัน บาท ค่าปรับก็เท่ากันค่ะ

แล้วเงินส่วนนี้  การไฟฟ้า จะได้ไปสักเท่าไรต่อเดือน โดยที่เจ้าหน้าที่ที่ทำการตัดสายออกจากมิเตอร์
ยังไม่ได้ออกมาทำงานเลยด้วยซ้ำ

อย่างนี้ต้องรวมตัวกัน(บอกผมด้วยจะไปด้วยคน)ฟ้องเป็นคดี ฉ้อโกงประชาชนครับ เพราะเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ตัดสายไฟแล้วจะเรียกว่าเป็นค่าติดกลับมิเตอร์ได้อย่างไรหละ อย่างนี้ต้องบอกมันว่าให้เจ้าหน้าที่ไปตัดไฟที่บ้านก่อนแล้วจะยอมจ่าย 107 บาทเพื่อให้มาต่อไฟครับ จะได้ยุติธรรม อีกอย่างก็ต้องเปลี่ยนถ้อยคำจากที่ว่า ค่าติดกลับมิเตอร์ เปลี่ยนเป็น ค่าปรับชำระเงินล่าช้าแทน ทุกอย่างถึงจะถูกต้อง และเรียกร้องให้จ่ายเงินค่าติดกลับมิเตอร์คืนให้ประชาชนย้อนหลัง อีกอย่างค่าเอฟทีมันไม่โปร่งใส น่าจะมีการแจกแจงรายละเอียดกับประชาชนทุกเดือนไม่ใช่ขึ้นอย่างตามใจชอบอย่างทุกวันนี้ (หลังจากที่ ปตท.เป็นเอกชนไปแล้วคาดว่าอีกไม่นานไอ้พวกนักกินเมืองเฮงซวยก็คงจะขายการไฟฟ้าต่อ และเมื่อถึงคราวนั้นก็รอดูค่าไฟว่าจะโหดร้ายมากกว่านี้เพราะว่ามีผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าเป็นไปได้คิดว่าจะไม่ใช้แล้วหละไฟฟ้าเนี่ย)
เก่งจริงๆครับ นับถือๆ ข้าน้อยฯ ขอคารวะ
IP : บันทึกการเข้า
::เศษสังคม::
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 698



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 19:36:34 »

หมดเวลาอ่านแล้วจ้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 01:08:05 โดย ::เศษสังคม:: » IP : บันทึกการเข้า
GEN-Z
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,099


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 20:11:18 »

ทุกวันนี้คนทำงานไฟฟ้าเงินเดือนสูงดีนะ สวัสดิการก็ดี  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
::เศษสังคม::
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 698



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 20:14:31 »

หมดเวลาอ่านแล้วจ้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 01:08:19 โดย ::เศษสังคม:: » IP : บันทึกการเข้า
liveus
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 128



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 20:17:19 »

ผมก็ไปจ่ายมาคับโดนปรับ 100 vat อีก 7 บาท
เลยเวลามา 3 วัน

แต่รู้แล้วว่าโดนปรับ คริคริ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
เอาตังไปเที่ยว เดี๋ยวเดวก็กลับ

จะไปกึ๊ดนักคับ ตังร้อยเดียวเอง (กินเหล้าเสี้ยงนักกว่านี้ก่อนหนา  ยิงฟันยิ้ม)
 กฏ ก็ต้องเป็นกฏครับ
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
GEN-Z
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,099


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 20:18:49 »

การแปรรูป ปตท. สู่การเป็นมหาชน นั้น ในช่วงแรกมีกระแสหลายด้าน เกิดความสับสน เพราะถือว่าเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจองค์กรแรกๆ ที่แปรรูปสู่การเป็น “มหาชน”

โดยก้าวเข้าสู่การเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยการแปลงสภาพภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ (พ.ร.บ.ทุน) และกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปลายปี 2544 และยังคงมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยกระทรวงการคลัง จึงไม่ต้องกลัวว่า ปตท. จะตกเป็นของเอกชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะ (ดูตารางโครงสร้างผู้ถือหุ้น)

จากการที่ ปตท. เป็น มหาชน ทำให้เกิดการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น โดยอิงมูลค่ากับกลไกตลาด ซึ่งทำให้ทั้งศักยภาพในการทำงาน และการจัดสรรเงินทุนดีขึ้น มีแหล่งเงินทุนที่ไม่จำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสิน ทำให้มีความคล่องตัวในการบริหารมากขึ้น รวมทั้งมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ทำให้ ปตท. ในวันนี้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร และทำให้สามารถส่งเงินปันผลและภาษีเงินได้ให้กับรัฐบาล สำหรับปี             2545-2549       กว่า 1.4 แสนล้านบาท โดยในปี             2550-2554       คาดว่า สามารถนำส่ง เงินปันผลและภาษีเงินได้ให้กับรัฐบาล อีกกว่า 300,000 ล้านบาท เพื่อนำไปพัฒนาชาติต่อไป

ถึงแม้จะเป็น “มหาชน” แล้ว ทาง ปตท. เอง ก็ยังช่วยพยุงราคาน้ำมัน และก๊าซหุงต้ม อย่างสุดความสามารถ ที่ถึงแม้ว่าปลายปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน ราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้มในตลาดโลกถีบตัวขึ้นสูงกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ราคาในประเทศไทยเองกลับขึ้นเพียง 37-50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เนื่องจาก ปตท. มีนโยบายสนับสนุนด้านราคาเชื้อเพลิง เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ความเข็มแข็งของ ปตท. ในระยะยาว, รายได้มหาศาลให้รัฐบาล และการช่วยพยุงราคาเชื้อเพลิงให้กับประชาชน จึงเป็น คำตอบ ของการแปรรูป ปตท. นั่นเอง

อันนี้ก๊อบเขามาให้ดูอีกด้านหนึ่งคร่าวๆ
IP : บันทึกการเข้า
::เศษสังคม::
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 698



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 20:33:43 »

หมดเวลาอ่านแล้วจ้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 01:08:44 โดย ::เศษสังคม:: » IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 20:36:47 »

ถ้าไม่มีวินัยก็สมควรต้องเสียครับ
กฏกติกามีไว้เพื่อควบคุม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
GEN-Z
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,099


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 20:37:09 »

จ่ายค่าไฟฟ้าก็ขู่ตัดไฟ อย่างเช่นรอบบิลเก็บค่าไฟฟ้าของเราวันที่ 20 ช่วงนี้เรายังไม่ได้รับเงินจากเงินเดือนหรือเงินอื่นๆ ปลายเดือนเงินเหลือน้อย เคยถามไปว่าเราจะขอเปลี่ยนรอบบิลเก็บได้หรือไม่อยากให้เลื่อนไปสิ้นเดือน คำตอบคือไม่ได้ นี่เป็นอีกสาเหตุที่บางเดือนเกิดเราติดขัดขึ้นมา โดนค่าปรับอีก
 อย่างเช่นค่าติดกลับกรณีงดจ่ายไฟนี่น่าจะยกเลิกได้แล้วเหมือนกับโทรศัพท์ที่เคยมีกรณีแบบนี้
IP : บันทึกการเข้า
GEN-Z
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,099


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 20:43:39 »

การแปรรูป ปตท. สู่การเป็นมหาชน นั้น ในช่วงแรกมีกระแสหลายด้าน เกิดความสับสน เพราะถือว่าเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจองค์กรแรกๆ ที่แปรรูปสู่การเป็น “มหาชน”

โดยก้าวเข้าสู่การเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยการแปลงสภาพภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ (พ.ร.บ.ทุน) และกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปลายปี 2544 และยังคงมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยกระทรวงการคลัง จึงไม่ต้องกลัวว่า ปตท. จะตกเป็นของเอกชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะ (ดูตารางโครงสร้างผู้ถือหุ้น)

จากการที่ ปตท. เป็น มหาชน ทำให้เกิดการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น โดยอิงมูลค่ากับกลไกตลาด ซึ่งทำให้ทั้งศักยภาพในการทำงาน และการจัดสรรเงินทุนดีขึ้น มีแหล่งเงินทุนที่ไม่จำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสิน ทำให้มีความคล่องตัวในการบริหารมากขึ้น รวมทั้งมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ทำให้ ปตท. ในวันนี้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร และทำให้สามารถส่งเงินปันผลและภาษีเงินได้ให้กับรัฐบาล สำหรับปี             2545-2549       กว่า 1.4 แสนล้านบาท โดยในปี             2550-2554       คาดว่า สามารถนำส่ง เงินปันผลและภาษีเงินได้ให้กับรัฐบาล อีกกว่า 300,000 ล้านบาท เพื่อนำไปพัฒนาชาติต่อไป

ถึงแม้จะเป็น “มหาชน” แล้ว ทาง ปตท. เอง ก็ยังช่วยพยุงราคาน้ำมัน และก๊าซหุงต้ม อย่างสุดความสามารถ ที่ถึงแม้ว่าปลายปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน ราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้มในตลาดโลกถีบตัวขึ้นสูงกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ราคาในประเทศไทยเองกลับขึ้นเพียง 37-50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เนื่องจาก ปตท. มีนโยบายสนับสนุนด้านราคาเชื้อเพลิง เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ความเข็มแข็งของ ปตท. ในระยะยาว, รายได้มหาศาลให้รัฐบาล และการช่วยพยุงราคาเชื้อเพลิงให้กับประชาชน จึงเป็น คำตอบ ของการแปรรูป ปตท. นั่นเอง

อันนี้ก๊อบเขามาให้ดูอีกด้านหนึ่งคร่าวๆ
พอเป็นมหาชนแล้วไม่แสวงหาผลกำไรหรือครับ ผลกำไรก็รีดมาจากเงินในกระเป๋าประชาชนนั่นแหละทั้งในรูปของน้ำมันหรือไฟฟ้า เคยได้ยินผู้บริหาร ปตท.ชักชวนประชาชนให้ใช้ก๊าซ cng ว่า cng นี้เราสามารถขุดได้จากแหล่งในไทยเราจะสามารถขายลิตรละเท่าใหร่ก็ได้เรากำหนดเองได้แม้แต่ลิตรละ 1 บาทก็ทำได้ แต่เดี๋ยวนี้เป็นไงครับ ราคาขึ้นเอา ขึ้นเอา ๆ เพราะอะไรครับ แน่นอน ผลประโยชน์ล้วน ๆ ถ้าหาก ปตท.ไม่เป็นมหาชน ปตท.ต้องส่งผลกำไร เกือบ 100% เข้าคลังหลวง แต่นี่ต้องแบ่งส่วนหนึ่งให้กับผู้ถือหุ้น (บุคคลพิเศษ)  คุณลองคิดดูสิครับ
กระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่อยู่ครับ แล้วเม็ดเงินที่นำมาลงทุนจากการที่ต้องกู้เสียดอกเบี้ยอีก มันก็มีข้อดีและเสียบ้าง ตอนเป็นรัฐวิสาหกิจทำไมราคาน้ำมันไม่ถูกกว่าเอกชนล่ะครับ เรื่องหุ้นใครอยากถือก็ซื้อได้ครับ หุ้นขึ้นลงเป็นตามกลไก ช่วงแรกๆหุ้นก็ไม่ได้แพงนัก
IP : บันทึกการเข้า
::เศษสังคม::
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 698



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 20:45:03 »

หมดเวลาอ่านแล้วจ้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 01:09:07 โดย ::เศษสังคม:: » IP : บันทึกการเข้า
GEN-Z
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,099


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 20:47:21 »

ทำไม หลังแปรรูป ปตท. มีผลประกอบการแบบก้าวกระโดด ทั้งๆที่มีผู้บริหาร และพนักงานคณะเดิม

หาก ปตท. ทำเพียงจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนและระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เท่านั้น โดยยังบริหารงานอย่างเดิมๆ ก็คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่กว่า ปตท. และบริษัทในเครือจะประสบ ความสำเร็จได้มากขนาดนี้ ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ ต้องเป็นองค์กรที่ดี มีผู้บริหารที่ดีมีวิสัยทัศน์ บุคลากรในบริษัทต้องมีคุณภาพ ต้องดำเนินงานอย่างมีความเที่ยงธรรม สิ่งสำคัญที่สุดต้องมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นรู้จักปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ความจริงแล้ว การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ในปี 2540 เป็นแรงกระตุ้นทำให้ ปตท. และบริษัทในเครือต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างทางธุรกิจให้มีความเข้มแข็งในระยะยาว พร้อมรับกับสถานการณ์ทุกรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการแปรรูปเป็นคำตอบหนึ่งที่ ทำให้ ปตท.เข็มแข็งในระยะยาว ดังตัวอย่างในปี 2536 ที่ปตท. ได้นำ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด มหาชน (ปตท.สผ.) ซึ่งเป็นบริษัทแรกในเครือ ปตท. เข้ากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะธุรกิจของ ปตท.สผ. ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ซึ่งในขณะนั้น บริษัทแม่ก็ คือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถให้เงินสนับสนุนในจำนวนจำกัด จึงจำเป็นต้องหาวิธีการระดมทุน แบบอื่นๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินทุนจากบริษัทแม่ ดังนั้น การเข้ากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของ ปตท.สผ. จึงเป็นทางหนึ่งในการระดมทุนเพื่อให้มีเงินมากพอที่จะซื้อทรัพย์สินได้ใหญ่ขึ้น จนวันนี้ ปตท.สผ. มีทรัพย์สินมูลค่ามหาศาล ทำให้มีศักยภาพเพียงพอในการเข้าไปลงทุนในสัมปทาน แหล่งก๊าซธรรมชาติ และ น้ำมันทั้งในและต่างประเทศ เช่น แหล่ง S1 แหล่งบงกช แหล่งไพลิน แหล่งยาดานา แหล่งเยตากุน เป็นต้น

วันนั้นถ้า ปตท.ไม่ทำให้ ปตท.สผ. มีเงินทุนเพื่อไปลงทุนได้ ปตท.สผ. คงมีสัมปทาน เพียงแหล่ง S1และแหล่งอื่นอีกเล็กน้อย จะไม่มีแหล่งบงกช แหล่งไพลิน แหล่งยาดานา แหล่งเยตากุน รวมถึง แหล่งเจดีเอ เพราะฉะนั้นหาก ปตท.สผ.ไม่ได้แปรรูป และ ปตท.เป็นเจ้าของ 100% จะมีมูลค่าเพียง 5 หมื่นล้านบาท แต่วันนี้ ปตท. เป็นเจ้าของ 60 % ของมูลค่าบริษัทที่ 3 แสนล้านบาท พร้อมกับ ศักยภาพ ในการหาแหล่งพลังงานได้มากขึ้น

การแก้ปัญหาบริษัทในเครือ หลังระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ

หลังปี 2540 ทุกบริษัทประสบปัญหาขาดทุน และภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น เพราะค่าเงินบาทตกต่ำลง ทำให้ภาระหนี้เมื่อคิดเป็นเงินบาทเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันราคาผลิตภัณฑ์อยู่ในช่วงขาลง หลายบริษัทอยู่ในขั้นไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ ปตท.เองก็อยู่ในภาวะตึงตัว อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในอัตรา 5:1 แต่ประโยชน์ที่ได้ จากการแปรรูป และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คือ ทำให้ ปตท. ได้รับเงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุนประมาณ 26,000 ล้านบาท โดย ปตท. ได้นำมาลดหนี้สินและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนบางส่วน ซึ่งมีผลให้ โครงสร้างทางการเงินของ ปตท. แข็งแรงขึ้น มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2 :1 .ในระยะแรก และ มีเงินสดเพียงพอ สำหรับให้ความช่วยเหลือบริษัทในเครือที่ประสบปัญหาทางการเงิน นอกจากนั้นปตท. ยังมีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น สามารถตัดสินใจเข้าลงทุน เข้าบริหารจัดการได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งดำเนินการเจรจาปรับลดหนี้ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างทางการเงิน และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัทในเครือที่ประสบปัญหาจนกลับมาแข็งแรง เป็นบริษัทที่มีผลดำเนินงานที่ดี และสามารถขยายกิจการเพิ่มเติม ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หาก ปตท.ไม่ได้แปรรูป และระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์

เริ่มจากบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เดิมมีทุนจดทะเบียนอยู่ 20 ล้านบาท แต่มีหนี้อยู่เกือบแสนล้านบาท เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลให้ไทยออยล์ประสบปัญหาทางการเงิน เมื่อรวมกับค่าการกลั่นในขณะนั้นซึ่งอยู่ที่ระดับต่ำมากคือประมาณ 2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล รายได้จากการดำเนินงานนำมาหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดเหลือจ่ายดอกเบี้ยได้น้อยมาก จึงมีความจำเป็นต้องทำการปรับโครงสร้างหนี้

วิธีปรับโครงสร้างหนี้ของไทยออยล์ ที่มีหนี้ทั้งหมดประมาณ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปตท.ได้เจรจาขอลดหนี้ลงประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีเงื่อนไขว่า ปตท.ต้องเพิ่มทุนในไทยออยล์ เป็นเงิน 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 11,000 ล้านบาท) และส่วนของเจ้าหนี้ ให้แปลงหนี้เป็นทุน 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่ากับลดหนี้ได้ 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้เหลือหนี้ ประมาณ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ นำมาจัดโครงสร้างในการชำระหนี้ใหม่ โดยกำหนดให้มีระยะเวลาในการชำระหนี้มากกว่า 10 ปี อัตราดอกเบี้ยจ่ายก็จะจ่ายในช่วงปีแรกน้อย และเพิ่มขึ้นในช่วงปีหลัง

การปรับโครงสร้างหนี้ของ ไทยออยล์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันทั้งหมด ทั้งผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ และพนักงานในบริษัท ทำควบคู่กันไป โดยในส่วนของบริษัทเองมีการให้พนักงานลาออกโดยสมัครใจ ซึ่งมีคนสมัครเข้าโครงการ 200 กว่าคน พนักงานส่วนที่เหลือไม่ขึ้นเงินเดือน 3 ปี มีลาออกไปบางส่วน ขายธุรกิจ
บางอย่าง ส่วนฝ่ายบริหารเปลี่ยนรถประจำตำแหน่งจากเบนซ์มาเป็นวอลโว่ ผู้บริหารระดับรองลงมานั่งโตโยต้า ส่วนระดับล่างไม่มี มีการขายธุรกิจเรือออกไปได้เงิน ประมาณ 10 กว่าล้านเหรียญฯ และขายหุ้นโรงไฟฟ้าออกไป 25%

จน ปี 2546 ไทยออยล์ เริ่มมีกำไร 6,750 ล้านบาท และในครึ่งปีแรกของปีนี้ มีกำไร 7,222 ล้านบาท ถ้า ปตท. ไม่มีกำลังเข้าไปปรับโครงสร้างในขณะนั้น ไทยออยล์วันนี้จะกลายเป็นของเจ้าหนี้ ซึ่งอาจจะมีการขายออกไปให้ต่างชาติ เพราะผู้ที่อยู่ในธุรกิจการเงินไม่ต้องการที่จะมาลงทุนในธุรกิจที่ตัวเองไม่ถนัด วันนี้โรงกลั่นไทยออยล์ก็อาจจะกลายเป็นของต่างชาติ

สำหรับการดำเนินการกับโรงกลั่นน้ำมันระยอง ( RRC) ซึ่ง ปตท. ถือหุ้นอยู่ 36% บริษัทขาดทุนสะสม มาตลอดจากวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะความต้องการใช้น้ำมันลดลง ค่าการกลั่นต่ำมาก ทำให้ประสบปัญหาการเงินจากภาระหนี้สูง โดยมีหนี้อยู่ 1,335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปตท. ใช้วิธีในการเจรจากับเจ้าหนี้ ทำให้ลดหนี้ได้ประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และใช้เงิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 200 ล้านบาท ในการซื้อหุ้นอีก 64% จาก บริษัท เชลล์ ทำให้ ปตท. มีหุ้นในโรงกลั่นระยอง 100% ซึ่งถือเป็นโชคดีเพราะหลังจากที่ ปตท. เป็นเจ้าของโรงกลั่นระยอง ในครึ่งปีแรกค่าการกลั่นดีขึ้น ทำให้มีกำไรถึง 11,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการรวมกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( ประมาณ 7,700 ล้านบาท ) ด้วยแล้ว และโดยที่ค่าการกลั่นดีขึ้น ส่งผลให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น จึงสามารถนำกำไรส่วนนี้ไปทยอยคืนหนี้ของบริษัท ทำให้วันนี้ โรงกลั่นระยองมีภาระหนี้ลดลงจาก 1,135 ล้านเหรียญฯ เหลือเพียง 600 กว่าล้านเหรียญสหรัฐฯ

ทางด้านกรณีของ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ทีโอซี และ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ เอทีซี ใช้วิธีเดียวกันในการแก้ปัญหาโครงสร้างเงินทุนคือ ทำการลดทุน ลดหุ้นบริษัทเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อให้บริษัทมีความน่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากสามารถจ่ายเงินปันผล โดยกรณี ทีโอซี ได้ทำการเพิ่มทุนใหม่ในภายหลัง และเข้ากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อนำเงินที่ได้จากการระดมทุนมาใช้ในการชำระหนี้ และลงทุนในการขยายงานของบริษัท ซึ่งปัญหาของ ทีโอซี และ เอทีซี ในด้านปฏิบัติการจะคล้ายกันคือ กำลังการผลิตของโรงงานที่มีอยู่ไม่
อยู่ในระดับโลก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าผู้ผลิตปิโตรเคมีรายอื่น เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายคืนเงินต้น แต่มีความสามารถเพียงการจ่ายค่าดอกเบี้ยเท่านั้น จึงต้องมีการขอยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไป และจะต้องมีการลดต้นทุนการผลิต โดยในส่วนของ ทีโอซี ต้องมีการขยายกำลังการผลิตปิโตรเคมีขั้นต้น (เอทธิลีน) เพิ่มเติมอีก 3 แสนตันต่อปี จากเดิมที่มีกำลังการผลิตอยู่แล้ว 5.75 แสนตันต่อปี โดยโรงงานส่วนขยายนี้จะต้องมีการลงทุนเพิ่มอีก 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่จะช่วยทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงมา อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ ปตท. จึงได้ตัดสินใจที่จะใส่เงินลงไปใน ทีโอซี อีก 70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 2,800 ล้านบาท) ส่วนอีก 70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทีโอซี กู้จากสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ปตท. ยังให้เงินหมุนเวียนเพื่อใช้ในการดำเนินงานของ ทีโอซี อีก 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( ประมาณ 4,000 ล้านบาท ) โดยในเดือนธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา โรงงานก็ได้ก่อสร้างเสร็จ แม้ว่าราคาปิโตรเคมีจะตกลงในช่วงปีนี้ แต่ด้วย
ต้นทุนการผลิตที่ลดลงจากการขยายกำลังการผลิตเพิ่ม ทำให้กำไรครึ่งปีนี้ของ ทีโอซี เพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว แต่หากไม่ขยายกำลังการผลิตเลยกำไรในปีนี้จะน้อยกว่าปีที่แล้ว

สำหรับในส่วนของ เอทีซี ก็ลงทุนขยายโรงงาน (Debottleneck) ซึ่ง ปตท.คาดการณ์ว่า ราคาผลิตภัณฑ์น่าจะดีขึ้น และจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 1-2 ปี ปตท. ได้ให้เงินทุนหมุนเวียน จำนวน 90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 3,600 ล้านบาท ) ซึ่งก็เป็นไปตามคาด นอกจากนั้น ปตท. ได้เข้ามาช่วยเจรจาปรับ
โครงสร้างหนี้ ทำให้ฐานะการเงินของ เอทีซี เกิดความเข้มแข็ง กอปรกับผลดำเนินงานที่ดีขึ้น เอทีซี จึงสามารถเจรจาหาเงินกู้มาลงทุนในโรงอะโรเมติกส์ โรงที่ 2 เองได้

สรุปภาพรวม ตั้งแต่ แปรรูป ปตท.มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและใช้ศักยภาพที่มีเพื่อการลงทุนทั้งในบริษัทในเครือ และในธุรกิจของ ปตท. เอง ( สร้างโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 5 / เพิ่มประสิทธิภาพการส่งก๊าซฯ ของระบบท่อส่งก๊าซฯ เดิม และเร่งก่อสร้างท่อส่งก๊าซฯ สายประธานเส้นที่ 3 ฯลฯ ) รวมทั้งการปรับโครงสร้างการบริหารภายในของ ปตท. เอง จนทำให้ในปีที่ผ่านมา และ ในปีนี้เป็นปีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จอย่างชัดเจนของ ปตท. ในรูปของผลการดำเนินงาน โดยจะเห็นได้ว่ากำไรส่วนใหญ่ของ ปตท. มาจากส่วนแบ่งเงินกำไรจากบริษัทในเครือ ที่เป็นผลจากเม็ดเงินที่ ปตท. เพิ่มการลงทุนในบริษัทในเครือทั้งสายการกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมี ทำให้บริษัทในเครือที่ประสบปัญหาตั้งแต่ช่วงปี 2543 และ 2544 สามารถพลิกฟื้นธุรกิจกลับมาได้ในปัจจุบัน และส่งผลกำไรจำนวนมากกลับมาให้กับ ปตท. ในวันนี้

นอกจากนี้ ในส่วนของธุรกิจก๊าซธรรมชาติที่เป็นธุรกิจหลักของ ปตท.เอง ก็มีกำไรเพิ่มขึ้น เป็นเพราะมีการขายผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น (สินค้าในธุรกิจนี้ คือ ก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ) เนื่องจาก ในช่วง 3-4 ปีหลังแปรรูป ปตท.ได้ลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 5 ซึ่งใหญ่ที่สุด
ในประเทศไทยแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2547 ทำให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซฯออกมาขายได้มากขึ้นถึง เกือบ 50% และนำก๊าซธรรมชาติจากหลุมขึ้นมาขายเพิ่มขึ้นอีก 20%

ถ้า ปตท. ไม่แปรรูปวันนี้รัฐบาลก็เป็นเจ้าของ ปตท. 100% แต่ธุรกิจนั้นอาจจะกำไร 2-3 หมื่นล้านบาท แต่วันนี้ รัฐ / กองทุนของคนไทย ถือหุ้นกว่า 70% ปตท. และบริษัทในเครือมีกำไร 7-8 หมื่นล้านบาท จะเห็นว่าเมื่อแปรรูปแล้ว ปตท. ไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่ทำหลายอย่างให้บริษัทในเครือเจริญเติบโตขึ้นด้วย และที่สำคัญการปรับโครงสร้างหนี้ของไทยออยล์ และ RRC มีผลทำให้หนี้ของประเทศลดลงด้วย ในทางกลับกัน ถ้าไม่ได้ทำ หรือไม่มีกำลังที่จะทำ นอกจากไม่มีวันนี้วันที่รายได้ของทุกบริษัทดีขึ้น และกลับมาสู่ ปตท. แล้ว แต่ธุรกิจเหล่านั้นก็อาจจะไปอยู่ในมือธนาคารต่างประเทศ และจะขายต่อให้ใครก็ไม่มีใครรู้

ปัจจุบัน ปตท.ดำเนินธุรกิจ ในกรอบของกฎระเบียบเดิมเหมือนกับบริษัทน้ำมันอื่นๆ เหมือนกับโรงกลั่นแห่งอื่นๆ ของเอกชน และเหมือนกับโรงงานปิโตรเคมีของเอกชนอื่นๆ ทุกประการ ดังนั้น การแปรรูปจึงไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้ ปตท.กลายเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศ แต่ต้องประกอบด้วยหลายปัจจัย อาทิ ความยืดหยุ่นในการทำงาน ระบบบริหารงานที่เอื้อต่อการดำเนินงาน พนักงานต้องพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถมองการลงทุนในระยะยาวได้ การลงทุนจะต้องลงทุนอย่างระมัดระวัง รอบคอบ และมีการศึกษาอย่างดี บางครั้งจะต้องมีการคิดนอกกรอบ แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือจะต้องมีความแข็งแกร่งทางด้านฐานะการเงิน และ ท้ายสุดหากต้องการซื้อคืนก็สามารถทำได้ และไม่ว่าก่อน หรือหลังการแปรรูป ความเข้มแข็งของ ปตท. ทั้งที่ผ่านมาและในอนาคตต้องเป็นไปเพื่อความมั่นคงทางพลังงานและเศรษฐกิจของประเทศ โดยยืนอยู่บนการทำธุรกิจที่สมเหตุสมผล และเป็นธรรม

เอามาจาก Blog นี้ครับ
http://www.o2blog.com/myblog/blog.php?month=&year=&user=spiral&page=&syear=&smonth=&sdate=&style=1&id=89
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 08 กรกฎาคม 2011, 21:02:00 โดย GEN-Z » IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!