เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 03:39:51
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ประวัติ คนสำคัญของโลก
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 พิมพ์
ผู้เขียน ประวัติ คนสำคัญของโลก  (อ่าน 74522 ครั้ง)
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« เมื่อ: วันที่ 05 มีนาคม 2010, 23:52:09 »

ว่างๆ ไม่มีอะไรทำ เลยมานั่งหา อะไรดีๆ มาให้ชาวเชียงรายได้ิ่อ่านกันครับ


จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ (John F. Kennedy)

    จอห์น ฟิทเชอรัลด์ เคนเนดี้ เป็นประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา ในปี 1961 เมื่อเขาอายุได้ 43 ปี นับเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุน้อยที่สุด และเป็นชาวแคธอลิคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาถูกยิงถึงแกชีวิตในเมืองดัลดาส โดย ลี ฮาร์เวย์ ออสวอสด์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ปี 1963
    เคเนดี้เกิดเมื่อปี 1917 ในบรุกคลิน แมสซาจูเซทส์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี 1940 และได้แสดงความเป็นวีรบุรุษโดยเป็นผู้บังคับการเรือตอร์ปิโดในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามเคนเนดี้ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจากมลรัฐแมนซาจูเซทส์ เขาได้รับชัยชนะเหนือริชาร์ด นิกสันเล็กน้อยในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 1960
    วิกฤติการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดของรัฐบาลเคนเนดี้ เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 1962 เคนเนดี้ยืนยันให้สหภาพโซเวียตถอนอาวุธนิวเคลียร์ออกจากประเทศคิวบา ในที่สุดสหภาพโซเวียตก็ได้ปฏิบัติตามการถูกฆาตกรรมของเขาทำให้ชาวอเมริกาและชาวโลกตะลึงและเศร้าโศกเสียใจ






* Untitled-1กลม.jpg (7.21 KB, 309x340 - ดู 64078 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 05 มีนาคม 2010, 23:54:27 »

วินสตัน เชอร์ชิล(Winston Churchill)

เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของศตวรรษที่ 20 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาได้นำประเทศอังกฤษสู่ชัยชนะในฐานะนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ เขายังเป็นนักเขียนและนักประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณคดี
    เชอร์ชิลเป็นบุตรของลอร์ดชาวอังกฤษและมีแม่เป็นชาวอเมริกัน เขาเกิดในประเทศอังกฤษในปี 1874 ในช่วงอายุ 20 ปี เขาได้เดินทางไปอัฟริกาใต้เพื่อเขียนเรื่องสงครามโบเออร์ (Boer War) เขาถูกจับแต่หนีมาได้และได้กลับมายังประเทศอังกฤษในฐานะวีรบุรุษ เขาได้รับเลือกเข้าไปในรัฐสภาและได้รับตำแหน่งหลายตำแหน่งในเวลาต่อมา
    เขาได้นายกรัฐมนตรีในปี 1940 หลังจากได้มีการประกาศสงครามโลกครั้งที่ 2ได้ไม่นาน นับเป็นช่วงเวลาที่อันตรายอังกฤษอยู่อย่างโดดเดี่ยว ในการต่อต้านเยอรมันความกล้าหาญของเชอร์ชิล และวิญญาณของการต่อสู้ที่ปลุกให้คนอังกฤษลุกขึ้นต่อต้านสงครามเครื่องยนต์จากเยอรมัน
    เชอร์ชิลพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังสงคราม แต่เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีขึ้นอีกครั้งในปี 1951 สองปีต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัศวิน เชอร์ชิลเสียชีวิตในปี 1965


* Untitled-1กลม.jpg (6.2 KB, 150x234 - ดู 59648 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 05 มีนาคม 2010, 23:56:12 »

อับราฮัม ลิงคอล์น (Abraham Lincoln) ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ผลงานที่สำคัญของเขาได้แก่การเลิกทาสในปี ค.ศ. 1863 ลิงคอล์นถูกยิงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1865

อับราฮัม ลิงคอล์น เป็น 1 ใน 4 ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่รูปใบหน้าได้รับการสลักไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมานต์รัชมอร์ (Mount Rushmore) ใบหน้าของเขาปรากฏอยู่บนธนบัตรราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ และเหรียญราคา 1 เซนต์ ชื่อของเขาถูกนำมาตั้งเป็นชื่อเรือดำน้ำนิวเคลียร์ และเรือบรรทุกเครื่องบิน


* Untitled-1กลม.jpg (39.45 KB, 547x720 - ดู 60195 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 05 มีนาคม 2010, 23:57:59 »

จูเลียส ซีซาร์ มีชื่อเต็มว่า เดอุส จูเลียส ซีซาร์ เป็นรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เขาได้สถาปนาตนเองขึ้นปกครองกรุงโรม และได้ทำให้อาณาจักรโรมมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของชาวโลกมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ จูเลียสได้สร้างชื่อซีซาร์อันยิ่งใหญ่นี้ขึ้น และเป็นต้นแบบของกษัตริย์โรมในสมัยต่อมาที่ใช้ชื่อซีซาร์นี้ถึงสิบสององค์ แม้คำว่า ชาห์ แห่งอิหร่าน ซาร์ แห่งรัสเซีย ไกเซอร์ แห่งเยอรมัน ล้วนแล้วแต่มีรากศัพท์มาจากคำว่าซีซาร์ทั้งสิ้น และได้สืบทอดคำเรียกเหล่านี้มาจนถึงปัจจุบัน
     ชีวประวัติและผลงาน
ช่วงต้นของชีวิต
จูเลียส เกิดในวันที่ 12 กรกฎาคม เมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตศักราช(พ.ศ. 444) ในตระกูลขุนนางเก่าตระกูลหนึ่ง มีบิดาชื่อเคอุส จูเลียส และมารดาชื่ออรอเรเลีย บิดาของเขาแม้จะมั่งคั่งร่ำรวย แต่ก็มิได้มีตำแหน่งสูงนักในทางราชการ จูเลียสเป็นกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุยังน้อย คงมีแต่มารดาซึ่งคอยให้ความปกป้องคุ้มครองดูแลต่อมา

นับตั้งแต่เด็กมา จูเลียสไม่เคยคิดที่จะยึดเอาการทหารเป็นอาชีพอย่างแท้จริงเลยทั้ง ๆ ที่เขาเคยเข้าฝึกทหารอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เขาตั้งใจจะเป็นทนายความ หรือเป็นนักกฎหมายซึ่งเป็นอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในสมัยนั้นมากกว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกโจรสลัดจับตัวไปเรียกค่าไถ่ เมื่อเขารอดชีวิตกลับมาเขากลับรวบรวมสมัครพรรคพวกและเรือทั้งหลาย กลับไปยังเกาะที่เขาเคยถูกนำตัวไปกักไว้ ได้สู้รบกับบรรดาโจรสลัดจนได้ชัยชนะนำพวกโจรกลับมารับการลงโทษ เหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นว่า จูเลียสนั้นเป็นผู้ที่ชอบการสู้รบมาตั้งแต่เด็กๆ และก็ดูเหมือนว่าเขาจะมีชื่อเสียงที่สุดในด้านการทหาร เมื่ออายุ 21 ปี เขาได้รับเหรียญกล้าหาญในฐานะที่ได้ช่วยชีวิตทหารคนหนึ่งไว้ได้จากการรบ สามารถตีชนะประเทศต่าง ๆ ถึง 300 ประเทศ ได้เมืองต่าง ๆ ไว้ในอำนาจถึง 800 เมือง แม้แต่ในวงการทหารสมัยปัจจุบันก็ยังอดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมจูเลียส ซีซาร์ จึงสามารถเดินทัพ และทำสงครามเผด็จศึก ได้อย่างรวดเร็วถึงเพียงนั้น ทัพของโรมันได้ชัยชนะตั้งแต่ยุโรปทางตอนเหนือจรดยุโรปตอนใต้ จากสเปนไปจนถึงอาเซียน้อยและเรื่อยไปจนถึงอียิปต์ ตลอดเวลาของการเดินทัพ จูเลียสจะกินอยู่หลับนอนร่วมกับทหารเลวทั้งหมด ทั้งมักจะชอบแสดงถึงความกล้าหาญ ปราศจากความกลัวในภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงให้เหล่าทหารได้เห็น ครั้งหนึ่งเขาควบม้าอย่างรวดเร็ว เต็มฝีเท้าแต่กลับปล่อยมือจากสายบังเหียน แล้วยกขึ้นประสานไว้เหนือศีรษะ และอีกครั้งหนึ่งเขาได้ขอลองขึ้นขี่ม้าที่ขึ้นชื่อว่าดุที่สุด จนไม่มีใครกล้าขี่ ในการบุกทุกครั้ง จูเลียสจะเข้าร่วมอยู่ในกลุ่มทหาร ปฏิเสธไม่ยอมใส่แม้แต่หมวกเหล็กเพื่อให้ทหารจำได้ เขาไม่เคยตกใจจนทำอะไรไม่ถูกและไม่ว่าจะทำอะไรเขาจะทำอย่างเชื่อมั่นในตนเอง ตลอดเวลาเขามักจะคิดถึงแต่ความสง่างามความยิ่งใหญ่ของเขาในฐานะเป็นผู้นำ

ครั้งหนึ่งในการทำสงครามที่เฟซาเลีย ซึ่งในที่สุดโรมันก็เป็นฝ่ายได้ชัยชนะ ฟาร์เนเซส เจ้าผู้ครองแคว้นได้ก่อการกบฎขึ้น โดยปฏิเสธไม่ยอมสวามิภักดิ์ด้วย จูเลียสจึงยกทัพเข้าตะลุมบอน และได้ชัยชนะภายในเวลาเพียงวันเดียว ผลจากการสู้รบครั้งนี้เอง ทำให้เราได้รู้จักคำพูดที่เป็นอมตะประโยคหนึ่งของจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งได้รายงานกลับมาโรมว่า Veni, Vedi, Vici! ซึ่งแปลว่า "ข้าไปถึงแล้ว ข้าได้เห็น และข้าก็ได้ชัยชนะ"

เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในสมัยที่ซีซาร์ครองโรม
เหตุการณ์ที่สำคัญนั้นก็คือ การยกทัพเข้ารุกรานเกาะอังกฤษ ที่เรียกว่าสำคัญก็ด้วยเหตุผลประการหนึ่งคือ ทำให้คนรุ่นหลังได้รู้จักประวัติของเกาะเล็ก ๆ เกาะหนึ่งซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยมีอยู่บนแผนที่เลยด้วยซ้ำ ปีนั้นตรงกับปีที่ 55 ก่อนคริสตศักราช ซีซาร์ได้ครองอาณาจักรโกล ซึ่งปัจจุบันคือประเทศฝรั่งเศสเรียบร้อยแล้ว แต่พวกโกลมักจะได้รับความช่วยเหลือจากชนชาติหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงข้ามเมืองคาเล่ส์ให้ก่อการกบฎอยู่เสมอ และถ้าพ่ายแพ้ พวกนี้ก็มักจะอพยพหนีไปพำนักพักพิงชั่วคราวอยู่ ณ เกาะเล็ก ๆ แห่งนั้น เกาะนั้นจะเป็นเกาะอะไร มีพลเมืองมากน้อยเพียงใด มีความเป็นอยู่อย่างไร จูเลียส ซีซาร์ หาได้มีความรู้แม้แต่น้อยไม่ แต่กระนั้น เขาก็ตัดสินใจยกทัพเข้ารุกรานทันที จูเลียส สั่งเตรียมทหารให้มาพร้อมกันลงเรือที่เมืองบูโลญราว 10,000 คน เพียงข้ามคืนเดียว กองทัพโรมก็จะขึ้นฝั่งได้แถบบริเวณโดเวอร์ แต่ชาวพื้นเมืองเตรียมต่อสู้อย่างเต็มที่ ทำให้จูเลียสต้องสั่งทหารให้แล่นเรือต่อไปรอบ ๆ เกาะจนถึงดีส จึงขึ้นบกและขับไล่ชาวพื้นเมืองให้หนีไปได้ เหตุการณ์เป็นปกติเรียบร้อย จนถึงวันที่สี่นับจากการยึดครองเกาะได้ คืนนั้นเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวง น้ำทะเลขึ้นสูง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ชาวโรมันไม่เคยได้รู้จักมาก่อน กำลังน้ำทำลายเรือเสียมากต่อมาก ในที่สุดซีซาร์ต้องออกคำสั่งให้ถอยทัพกลับยุโรป พอดีกับเหตุการณ์วุ่นวายในแถบยุโรปตะวันออก ซึ่งซีซาร์ต้องเสียเวลาปราบปรามอยู่พักหนึ่ง

เดือนเมษายนปีต่อมา จูเลียส ซีซาร์ สั่งให้เตรียมกองทัพเรืออีกครั้ง คราวนี้มีเรือถึง 600 ลำ กองทหารถึง 28 กอง และเมื่อถึงวันที่ 20 กรกฎาคม ก็เริ่มออกเดินทาง คราวนี้ชาวเกาะมิได้คิต่อสู้เลย คงจะเกิดความกลัวตั้งแต่เห็นความยิ่งใหญ่ของกองเรือ จึงพากันอพยพหนีขึ้นไปทางเหนือ ซีซาร์ยกทัพตามขึ้นไปจนถึงเมืองเซนต์ อาลลานส์ เมื่อฤดูหนาวใกล้เข้ามาก็ตัดสินใจยกทัพกลับโรม โดยนำเชลยติดมาด้วยเป็นจำนวนมาก ชาวโรมันตื่นเต้นกันมากในชัยชยะครั้งนี้

เมื่อวัยหนุ่ม ซีซาร์ได้เดินทางไปรับการศึกษา ณ เกาะโรดส์ระหว่างนั้นได้เกิดสงครามขึ้น และซีซาร์ก็ได้ไปร่วมรบด้วย ทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้น และเมื่อกลับมายังโรม เขาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นมอนติเฟดส์ และเริ่มสนใจทางการเมือง เขาร่วมมือกับปอมเปย์ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทัพโรมัน และเครสซัส เศรษฐีคนหนึ่งเรียกคณะของตนว่า ไตรอุมวิเรท มีอำนาจควบคุมกิจการบริหารในสมัยนั้นอย่างมากมาย

ต่อมาราว 59 ปี ก่อนคริสตศักราช จูเลียสได้รับเลือกเป็นกงสุลและได้มีการแบ่งอำนาจกันระหว่างคู่สัญญาทั้งสาม ซึ่งทำให้จูเลียสได้โอกาสแผ่ขยายอำนาจต่อไปได้เต็มที่ จนปอมเปย์อิจฉา จนในที่สุดเกิดเป็นสงครามขึ้น ตอนนี้แครสซัสตายแล้ว จูเลียสได้ชัยชนะ ปอมเปย์หนีไปอียิปต์ และไปถูกฆ่าตายที่นั้น ราว 48 ปี ก่อนคริสตศักราช เขาได้เข้าเมืองอียิปต์ช่วยจัดการให้คลีโอพัตรา ซึ่งกำลังมีเรื่องแย่งราชสมบัติกับพระอนุชาให้ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ จนมีเรื่องลื่อกระฉ่อนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับพระนางคลีโอพัตรา

อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้จูเลียสก็ได้มีอำนาจเต็มที่ในโรมเขากลับมาถึงโรม และได้รับการยกย่องให้เป็น "ผู้มีอำนาจปกครองโดยเผด็จการ" โดยกำหนดให้มีอำนาจอยู่ครั้งละสิบปี และต่อมาเมื่อเขาปราบปรามตีดินแดนทางแถบอาฟริกาและสเปนได้ เขาจึงได้รับการอนุมัติให้เป็น "หัวหน้าผู้เผด็จการ" ตลอดชีวิต

ด้านมืด และจุดจบของซีซาร์
ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะไม่มีความชั่วติดตัวเลย จูเลียส ซีซาร์เอง แม้ว่าจะมีความสามารถเก่งกล้ายิ่งนักในการสงคราม แต่ก็มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ มีความทะเยอทะยานอย่างรุนแรง เมื่อเล็ก ๆ เขามีชื่อเสียงในเรื่องการใช้เงินเปลืองจนเป็นหนี้สินเมื่อเติบโตมีอำนาจในมือ เขาก็จับจ่ายใช้สอยเงินอย่างไม่อั้นทั้ง ๆที่เงินนั้นเป็นของหลวง ในด้านการสงคราม จูเลียส ซีซาร์ ก็ถูกโจมตีว่าพาคนไปตายเสียมากต่อมาก แต่ในการรบในสมัยโน้น แต่ละฝ่ายต่างก็ยอมเสียทหารเป็นจำนวนมากเสมอ การสั่งประหารชีวิตแม่ทัพโกล ซึ่งย่อมแพ้ต่อทัพโรมันเมื่อครั้งจูเลียส ซีซาร์ พากองทัพอันเกรียงไกรเข้าไปบุกโกล เป็นจุดด่างดำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา จูเลียสสั่งขังแม่ทัพโกลไว้ถึงหกปี แล้วจึงสั่งให้ประหารชีวิตทั้ง ๆ ที่มิได้มีความผิดใด ๆ เพียงแต่ต้องการให้เป็นเครื่องส่งเสริมบารมีของเขาเพียงคนเดียวเท่านั้น

แต่ก็น่าแปลกที่ครั้งหนึ่งจูเลียส ซีซาร์ ได้ทราบข่าวว่าปอมเปย์ คู่อริที่ยิ่งใหญ่ของเขาถูกฆ่าแล้วในอียิปต์ จูเลียสก็ถึงกับทรุดนั่ง และร้องไห้

อย่างไรก็ตาม แม้จูเลียสจะได้ชื่อว่าทารุณ โหดร้าย แต่เขาก็เป็นแม่ทัพที่ทหารพากันจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง จนแทบจะพูดได้ว่า ไม่เคยมีทหารในสมัยใดจะ รักเจ้านายของตนยิ่งไปกว่าทหารรักซีซาร์ ที่ไหนมีอันตราย ที่นั่นซีซาร์จะเป็นคนแรกที่บุกเข้าไปก่อน ถ้าในการเดินทางกองทหารจำเป็นจะต้องข้ามแม่น้ำสักสายหนึ่งที่น่ากลัวที่สุด จูเลียสจะเป็นคนแรกที่ลงว่ายน้ำนำบรรดาทหารทั้งหลายลงไป

ผู้ยิ่งใหญ่ทุกคนย่อมมีศัตรู ในโลกนี้มีคนอีกหลายคนที่ทนเห็นความสำเร็จของผู้อื่นไม่ได้ จูเลียส ซีซาร์ เป็นคน ๆ หนึ่งที่ถูกอิจฉาริษยา เขาเองก็รู้ตัวดี แต่เขาจำเป็นต้องทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็นเสียบ้าง คนที่คิดปองร้ายเขา คือนักโทษคนหนึ่งที่ซีซาร์เองเป็นผู้ออกคำสั่งให้ไว้ชีวิต จูเลียสไม่เคยคิดเลยว่า คน ๆ นี้จะเป็นคนที่ไว้ใจไม่ได้ เขาผู้นั้นมีชื่อว่า มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ซึ่งเขารับเป็นลูกเลี้ยงในเวลาต่อมา

การลอบฆ่าเป็นไปอย่างง่ายดาย ซีซาร์เองไม่เคยได้คิดถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย จึงไม่มีการระวังตัวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในวันที่ 14 มีนาคมก่อนคริสตศักราช 44 ปี ซึ่งเป็นวันก่อนวันเกิดเหตุร้ายเพียงหนึ่งวัน ก็ได้มีสัญญาณหลายอย่างที่แสดงว่า โลกเรากำลังจะต้องสูญเสียผู้ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่ง พายุพัดแรงจัด มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้าคัลเฟอร์เนีย ภรรยาของจูเลียสนึกสังหรณ์ใจจนถึงกับกราบขอร้องอ้อนวอนมิให้สามีเธอเดินทางไปประชุมสภาเซเนทในวันรุ่งขึ้น แต่จูเลียสกลับหัวเราะเยาะราวกับเห็นเป็นเรื่องขบขันเสียเต็มประดา จูเลียสดื้อรั้นที่จะไปประชุมในวันนั้นให้ได้ เมื่อเขาเดินผ่านห้องโถง รูปปั้นตัวเขาเองก็หล่นลงมาแตกละเอียดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย นอกจากนั้นระหว่างทาง มีชายคนหนึ่งแอบส่งจดหมายให้เขาฉบับหนึ่งขอร้องให้เขาอ่านก่อนที่จะเข้าประชุม แต่จูเลียสเพียงแต่กำไว้ในมือโดยไม่ทันได้อ่าน ถ้าเพียงแต่เขาจะได้มีโอกาสอ่านจดหมายฉบับนั้น ประวัติศาสตร์โรมันก็คงจะเปลี่ยนไปอีกเป็นคนละรูป เพราะในจดหมายฉบับนั้นมีรายชื่อของผู้ที่คิดวางแผนจะเอาชีวิตเขาทั้งหมด รวมทั้งแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการนั้นด้วย

11.00 น. เช้าวันที่ 15 มีนาคม ก่อนคริสตศักราช 44 ปี ขณะที่จูเลียส ซีซาร์กำลังยืนอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการประชุมในสภาเซเนท แคสซิอุส มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ลูกเลี้ยงของเขา หนึ่งในจำนวนผู้วางแผนทรยศก็ได้ปักดาบคู่มือทะลุผ่านลำคอ ซีซาร์ยกมือขึ้นรับ แต่ก็ไม่สำเร็จ เขาล้มลงขาดใจตายจมกองเลือดอยู่ ณ ที่นั่นเอง

การตีความคำพูดสุดท้ายของซีซาร์
ซีซาร์เป็นเผด็จการแต่ก็ไม่เคยเป็นจักรพรรดิ แม้ว่าเขาจะมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนั้น อันเป็นเหตุให้ถูกลอบสังหารในที่สุด คำพูดสุดท้ายของซีซาร์ได้แก่ καὶ σύ, τέκνον (kaì sú, téknon)ในภาษากรีก ภาษาของบุคคลชั้นสูงในกรุงโรม (หรือแปลเป็นภาษาละตินโดยซูเอโทนว่า "Tu quoque, fili" ซึ่งแปลว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า") มีความเห็นต่างๆกันไปเกี่ยวกับความหมายในคำพูดสุดท้ายของจูเลียส ซีซาร์
การตีความที่พบบ่อยที่สุด คือซีซาร์รู้สึกประหลาดใจที่บุตรชายของตนเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้วางแผนทรยศ
บางคนเชื่อว่านี่เป็นคำสาปที่ซีซาร์แช่งให้บรูตุสได้รับชะตากรรมเดียวกับตน
การตีความอีกรูปแบบมีการอ้างอิงถึงสุขภาพที่ทรุดโทรมของซีซาร์ก่อนถึงแก่อสัญกรรม เขาอาจจะเป็นโรคเรื้อน ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียนอย่างรุนแรง ไม่ฟังเสียงทัดทานของคนรอบข้าง และเลือกจะจบชีวิตตนเองในที่สุด คำพูดสุดท้ายของซีซาร์จึงอาจตีความได้ว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า เจ้าจะต้องแก่และอ่อนแอ และมีชะตากับเดียวกับข้า"
และท้ายสุด เป. อาร์โนด์ ได้เสนอแนวทางตีความต่อไปนี้ เราพบว่าซูเอโทนก็ใช้คำว่า καὶ σύ, τέκνον เมื่อ ซีซาร์ออกุสตุส กล่าวถึง กัลบา บุตรชาย (ซึ่งได้กลายเป็นจักรพรรดิในเวลาต่อมา) ในความหมายว่า "เจ้าก็ด้วย บุตรของข้า เจ้าจะสืบทอดอำนาจข้าต่อไป" แม้แต่ดิออน ซาสซิอุส ก็ใช้คำนี้เพื่อบอกเล่าเรื่องของ 'ทิเบรุส เคลาดิอุส เนโร' กล่าวกับกัลบา คนเดียวกัน ดังนั้น เมื่อซีซาร์ถูกลอบสังหารอย่างเป็นทางการเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ เขาจึงได้กล่าวโทษบรูตุสซึ่งต้องการขึ้นสู่อำนาจเช่นเดียวกับเขา และได้กล่าวทำนายการลอบสังหารบรูตุสในอนาคตว่าจะเป็นเหตุผลเดียวกันกับที่เขาถูกลอบสังหาร
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:44:54 โดย ^~ฮักแม่จัน~^ » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:00:02 »

จอร์จ วอชิงตัน (George Washington, 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2275 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2342) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2332 และสิ้นสุดวาระเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2340และเป็นนายพลของกองทัพอเมริกันในช่วงประกาศเอกราช

จอร์จ วอชิงตัน เป็น 1 ใน 4 ประธานาธิบดีสหรัฐที่รูปใบหน้าได้รับการสลักไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมานต์รัชมอร์ ใบหน้าของเขาปรากฏบนธนบัตรราคา 1 ดอลลาร์สหรัฐ และเหรียญควอเตอร์ (25 เซนต์)

บัญญัติ 10 ประการ ของ จอร์จ วอชิงตัน

1.ไม่พูดถึงเรื่องโศกเศร้า ในเวลาที่กำลังรื่นเริง
2.เมื่อเห็นคนผิดถูกลงโทษ จงแสดงความสงสารเห็นอกเห็นใจเขา
3.ไม่พูดถึงสิ่งโง่เขลาใดๆ ในระหว่างผู้รู้
4.ไม่พยายามโต้เถียงกับผู้สูงอายุกว่า
5.เวลาผู้อื่นพูด อย่าหลับ อย่านั่งเวลาที่คนอื่นเขายืน อย่าพูดถ้าเราต้องการความสงบ
6.จงประพฤติตนอย่างคนสมคน อย่าประพฤติตนอย่างคนบาป
7.เวลาไปเยี่ยมคนป่วย อย่าทำตัวเป็นหมอ
8.เวลาใครเขาทำอะไร อย่าคิดว่า เขาจะทำอะไรไม่สำเร็จ และอย่าทำให้คนอื่นเขาเสียกำลังใจ
9.อย่าทำเล่นๆ หรือส่งเดช ในเรื่องสำคัญ อย่าแสดงความขบขันต่อผู้ทำอะไรพลาด ถ้าเกิดหัวเราะขึ้นมา จงรีบระงับอาการนั้นเสีย
10.จงทำงานหนัก ตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจอยู่ อย่างผู้รู้ผิดรู้ชอบ


* Untitled-1กลม.jpg (22.63 KB, 369x450 - ดู 58945 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:04:33 »

แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ (Franklin Delano Roosevelt) เกิดวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1882 เสียชีวิตวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1945 เป็นประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด (ค.ศ. 1933-1945) และเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากกว่า 2 สมัย

แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ เป็นผู้นำของประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และแนวคิดของเขายังก่อให้เกิดองค์กรระหว่างประเทศ คือ สหประชาชาติ ถึงแม้ว่าเขาจะประสบปัญหาด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตของประเทศก็ตาม โรสเวลต์เสียชีวิตขณะยังดำรงตำแหน่งเมื่อ ค.ศ. 1945 โดยไม่ได้เห็นชัยชนะของสหรัฐฯ และฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง อายุรวม 62 ปี

นามสกุล

นามสกุล โรสเวลต์ (Roosevelt) มาจากภาษาดัตช์ว่า ฟาน โรสเวลต์ (van Rosevelt) ซึ่งมีความหมายว่า "ทุ่งดอกกุหลาบ" โดยตัวแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ เองมักจะเรียกนามสกุลตัวเองว่า "โรสเวลต์" แต่ลูกพี่ลูกน้องของเขา ทีโอดอร์ รูสเวลต์ นิยมเรียกนามสกุลตัวเองว่า "รูสเวลต์"


* Untitled-1กลม.jpg (23.92 KB, 328x300 - ดู 58433 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:05:56 »

มหาตมะ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi มักเรียกกันว่า Mahatma Gandhi) (2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 - 30 มกราคม ค.ศ. 1948) เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดีย

มหาตมะ คานธี เป็นผู้นำคนสำคัญกับการเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพของอินเดียจากการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร โดยใช้วิธีอหิงสา ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นต้นแบบของการประท้วงแบบสันติที่ได้รับการยกย่อง

โมหันทาส กรรมจันทร์ คานธี เกิดเมื่อปี 1869 ในครอบครัวชาวฮินดู รัฐคุชราต อินเดียตะวันตก เขาเข้าพิธีแต่งงานกับกัสตูร์ (กะปะเธีย สกุลเดิม) คานธี เมื่ออายุ 13 ปี ต่อมา เขาได้ไปเรียนต่อด้านกฎหมายที่ลอนดอน และในปี 1891 เขาเข้าร่วมกลุ่ม Inner Temple เขาทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงเรื่องสิทธิของผู้อพยพชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ และเขาได้พัฒนาลัทธิต่อต้านความอยุติธรรมขึ้นที่นั่น เขามักถูกจับขังคุกบ่อย ๆ เพราะการประท้วงที่เขาเป็นผู้นำ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เขาจะเดินทางกลับอินเดียพร้อมครอบครัวในปี 1915 เขาก็สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอินเดียในแอฟริกาได้อย่างมาก

ในเวลาไม่นานหลังกลับมาอินเดีย เขาก็กลายเป็นผู้นำการต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ เขาไม่เคยลังเลในความเชื่อที่มั่นคงเกี่ยวกับการประท้วงโดยไม่ใช้ความรุนแรงและความอดทนตามหลักศาสนา ไม่ว่าเมื่อประชาชนชาวมุสลิมและชาวฮินดูก่อเหตุรุนแรงต่อชาวอังกฤษผู้ปกครองอินเดีย หรือเมื่อทั้งสองกลุ่มสู้รบกันเอง เขาจะอดอาหารประท้วงจนความรุนแรงยุติลง การที่อินเดียได้รับเสรีภาพจากอังกฤษในปี 1947 ไม่ได้เกิดจากชัยชนะทางการทหาร แต่เป็นชัยชนะแห่งความพยายามของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม คานธีรู้สึกหมดหวังที่ประเทศต้องถูกแบ่งแยกเป็นฝ่ายฮินดูในอินเดีย และมุสลิมในปากีสถาน ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของชีวิต เขาพยายามจะยุติความรุนแรงที่น่าหวาดกลัวซึ่งเป็นผลจากการแบ่งแยกประเทศ ทำให้คานธีต้องอดอาหารประท้วงจนเกือบเสียชีวิต เหตุจลาจลจึงสงบลงได้ ในเดือนมกราคม ปี 1948 คานธีมีอายุ 79 ปี เขาถูกลอบสังหารขณะกำลังเดินผ่านฝูงชนที่แออัดในสวนแห่งหนึ่งในกรุงนิวเดลีเพื่อไปสวดมนต์ตอนเย็น


* Untitled-1กลม.jpg (31.06 KB, 436x600 - ดู 61849 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:07:36 »

อาร์คิมิดีส (ภาษากรีก: Αρχιμήδης) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักฟิสิกส์ และวิศวกรชาวกรีก เกิดเมื่อ 287 ปีก่อนคริสตกาล ในเมืองไซราคัส ซึ่งในเวลานั้นเป็นนิคมท่าเรือของกรีก บิดาเป็นนักดาราศาสตร์ ชื่อฟิดิอัส และอาจเป็นญาติกับพระเจ้าไฮเออรอนที่ 2 แห่งไซราคัส นักประวัติศาสตร์คณิตศาสตร์บางท่านถือว่าอาร์คิมิดีสเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เทียบเท่ากับ นิวตัน เกาส์ และ ออยเลอร์

ประวัติ

อาร์คิมิดีสน่าจะได้รับการศึกษาในเมืองอเล็กซานเดรีย ของอียิปต์ โดยได้ศึกษากับศิษย์ของยุคลิด เมื่อกลับมาบ้านเกิด ก็ได้พัฒนาความรู้ทั้งด้านคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และกลศาสตร์ ด้วยความปราดเปรื่อง และมีส่วนช่วยในการสร้างยุทโธปกรณ์ของกองทัพได้อย่างมาก ประวัติอื่นๆ ของอาร์คิมิดีสแม้จะเล่าไว้หลายกระแส แต่ก็ไม่มีการยืนยันอย่างชัดเจน ที่ยืนยันได้ก็คือ หลักการทางคณิตศาสตร์ที่ปรากฏในตำรา และการอ้างอิงของนักปราชญ์ชั้นหลัง แต่ก็ไมได้เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวเท่าใดนัก

สิ่งประดิษฐ์

ผู้คนส่วนมากจดจำอาร์คิมิดีสได้ดี จากเรื่องที่เขาลงอ่างอาบน้ำ แล้วนำหลักการแทนที่น้ำไปใช้พิสูจน์มงกุฎของพระราชาไฮเออรอนได้ และนั่นก็คือผลงานที่สำคัญชิ้นหนึ่งของเขา ภายหลังเรียกว่า หลักการอาร์คิมิดีส (Archimedes' principle) โดยมีหลักการคร่าวๆ คือ ปริมาตรของน้ำที่ล้นออกมา เท่ากับปริมาตรของวัตถุที่ใส่ลงไปในน้ำนั้น

ผลงานอีกชิ้นที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้ ก็คือเกลียวอาร์คิมิดีส (Archimedes' screw) เป็นอุปกรณ์ช่วยผันน้ำขึ้นจากที่ต่ำ โดยอาศัยเกลียวยาวบรรจุในท่อ หมุนพาน้ำขึ้นไปยังปากท่อ

ตำรา

ผลงานที่สำคัญของอาร์คิมีดิสมีด้วยกันหลายเล่ม โดยมากเป็นเรื่องของเรขาคณิตและกลศาสตร์ ในทีนี้ขอยกตัวอย่างมาเพียงบางส่วน ดังนี้
·      ว่าด้วยทรงกลมและทรงกระบอก (On Connoids and Spheroids) เขียนไว้สองเล่ม กล่าวว่า พื้นที่ของผิวทรงกลมใดๆ มีค่าเป็น 4 เท่าของพื้นที่วงกลมที่ใหญ่ที่สุดที่บรรจุในทรงกลมนั้น และปริมาตรของทรงกลมเป็น 2/3 เท่าของปริมาตรทรงกระบอกที่สูงเท่ากัน
·      การวัดวงกลม (Measurement of the Circle) เป็นงานสั้นๆ กล่าวถึงค่าพาย (pi) ซึ่งเป็นอัตราส่วนของเส้นรอบวง ต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 3 1/7 – 3 10/71 อาร์คิมิดีสใช้รูปทรงหลายเหลี่ยม เพื่อหาค่าพาย จนมีการพัฒนาเรื่องอนุกรมขึ้นในปลายคริสตศตวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ยังแสดงค่าประมาณที่แม่นยำของ รากที่สอง ของ 3 และค่ารากที่สองของเลขอื่นๆ อีกหลายจำนวน
·      ว่าด้วยทรงกรวย และทรงกลม (On Connoids and Spheroids) เกี่ยวกับการพิจารณาปริมาตรของเสี้ยวทรงตัน ที่เกิดจากการหมุนภาคตัดกรวย (วงกลม วงรี พาราโบลา หรือ ไฮเพอร์โบลา) รอบแกนของตัวเอง ปัจจุบันนี้เราถือว่านี่เป็นปัญหาการใช้อินทีเกรชั่น
·      ว่าด้วยเส้นเกลียว (On Spirals) อาร์คิมิดีสบรรยายถึงโลคัสของจุดที่เคลื่อนที่ (ด้วยความร็วคงที่)ไปตามแนวเส้นตรง (ที่กำลังหมุนรอบตัวเองอยู่ด้วยความเร็วคงที่) ณ จุดใดๆ
·      ว่าด้วยดุลยภาพของระนาบ (On the Equilibrium of Planes) หรือ จุดศูนย์ถ่วงของระนาบ (Gravity of Planes) เขียนไว้สองเล่ม กล่าวถึงการศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วงของระนาบตรงใดๆ เล่มแรกกล่าวถึงกฎของคาน (ความสูงบนคานที่ระยะไกลจากจุดหมุน เป็นอัตราส่วนผกผันกับน้ำหนัก) จากผลงานดังกล่าวทำให้อาร์คิมิดีสได้รับการยกย่องเป็นผู้วางรากฐานวิชากลศาสตร์ทฤษฎี (Theoretical Mechanics)
·      เสี้ยวของพาราโบลา (Quadrature of the Parabola) ตอนแรกว่าด้วยเรื่องกลศาสตร์ และจากนั้นเป็นการคำนวณว่าพื้นที่ของส่วนใดๆ ของพาราโบลา จะเท่ากับ 4/3 ของพื้นที่สามเหลี่ยม ที่มีตำแหน่งและความสูงเท่ากับส่วนเสี้ยวนั้น
·      นักคำนวณทราย (The Sand-Rekoner) เป็นตำราสั้นๆ อธิบายระบบความคิดเรื่องจำนวนของกรีก แสดงวิธีการนับจำนวนที่มีค่ามากๆ เช่น นับเม็ดทรายที่จะถมจนเต็มจักรวาล ทั้งยังได้พิจารณาเส้นผ่าศูนย์กลางของพระอาทิตย์ โดยการสังเกตด้วยเครื่องมือ
·      วิธีการอันเกี่ยวกับทฤษฎีบทกลศาสตร์ (Method Concerning Mechanical Theorems) ว่าด้วยกระบวนการค้นพบในทางคณิตศาสตร์ เล่าถึงการใช้วิธีการเชิงกลศาสตร์ในการค้นหาคำตอบ เช่น พื้นที่ของเสี้ยวพาราโบลา รวมทั้งพื้นที่ผิวและปริมาตรของทรงกลม
·      ว่าด้วยเทหวัตถุลอย (On Floating Bodies) นับเป็นงานชิ้นแรกที่ว่าด้วยเรื่องไฮโดรสแตติกส์ กล่าวว่าตำแหน่งที่ของแข็งจะปรากฏเมื่อลอยอยู่ในของเหลว จะขึ้นกับรูปร่างและการแปรเปลี่ยนตามความถ่วงจำเพาะ

อาร์คิมิดีสได้เขียนตำราไว้มาก แต่หลงเหลือต่อมาเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น เราทราบได้จากคำกล่าวอ้างอิงในผลงานของนักปราชญ์ท่านอื่นๆ หลังอาร์คิมิดีสไม่มากนัก เช่น การแก้โจทย์ที่มีตัวแปรที่ไม่ทราบถึง 8 ตัว หรือการเขียนสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบ่งเป็น 14 ส่วน เพื่อเล่นเกมบางอย่าง นอกจากนี้ยังมีผลงานบางชิ้นที่มีการแปลออกเป็นภาษาอาหรับด้วย แม้จะไม่ปรากฏชื่ออาร์คิมิดีส ก็เชื่อได้ว่ามีเค้าความคิดของท่านอยู่ชัดเจน
ผลงานของอาร์คิมิดีสเริ่มปรากฏแพร่หลายเมื่อคริสตศตวรรษที่ 16-17 และสะท้อนอยู่ในผลงานของนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น เคปเลอร์ และกาลิเลโอ แม้กระทั้งในสมัยหลัง ก็ยังมีอิทธิพลต่อนักคณิตศาสตร์หลายท่าน โดยเฉพาะ เรอเน เดส์การตส์ และ ปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์ นับว่าอาร์คิมิดีสมีส่วนอย่างมากในการปูพื้นความรู้ทางคณิตศาสตร์แก่โลกยุคใหม่
อาร์คิมิดีสเสียชีวิตในราว 212-211 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีประวัติเล่าไว้ในแน่ชัด ในบ้านเกิดของตน มีประวัติเล่าว่าทหารโรมันคนหนึ่งใช้ดาบสังหารอาร์คิมิดีสจนเสียชีวิต เนื่องจากไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของตน
 


* Untitled-1กลม.jpg (91.23 KB, 450x600 - ดู 59346 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:08:35 »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1889 เวลา06.30น. ที่เมืองเบราเนา ประเทศออสเตรีย เป็นผู้นำ(ฟือเร่อ)ของประเทศเยอรมนีระหว่างปี (ค.ศ. 1933-1945) และเป็นผู้นำของพรรคกรรมกรสังคมนิยมแห่งเยอรมนี หรือพรรคนาซี(nazi)

ภายใต้การนำของฮิตเลอร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเยอรมันและฝ่ายอักษะ(ญี่ปุ่นและอิตาลี)ได้ยึดครองยุโรปได้เกือบทั้งทวีป ฮิตเลอร์ได้ใช้นโยบายด้านเชื้อชาติฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปอย่างน้อย 11 ล้านคน ซึ่งนับเป็นชาวยิวถึง 6 ล้านคนฮิตเลอร์เปลี่ยนแปลงเยอรมนีจากประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมาเป็นมหาอำนาจของโลก แต่ฝ่ายพันธมิตร นำโดยประเทศแกนนำได้แก่สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต (รัสเซียในปัจจุบัน) สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน แคนาดา สเปน สาธารณรัฐโปรตุเกส ฟิลิปปินส์ สามารถเอาชนะเยอรมนีลงได้ใน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 ฮิตเลอร์จบชีวิตโดยการยิงตัวตายพร้อมภรรยาชื่อ อีวา บราวน์ซึ่งกินยาพิษเป็นการฆ่าตัวตาย ในหลุมหลบภัยเบอร์ลินเพื่อหนีการถูกจับเป็นเชลย


* Untitled-1กลม.jpg (157.33 KB, 660x913 - ดู 59104 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:09:24 »

สมเด็จพระจักรพรรดิเจงกีส ข่าน (Genghis Khan หรือ Jingis หรือ Chingis Khan - พ.ศ. 1705 หรือ 1708 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 1770) เจนกีส แปลว่า “ผู้ปกครองที่มีอำนาจมาก” จักรพรรดินักรบชาวมองโกลผู้พิชิต ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมองโกล เดิมชื่อ เตมูจิน (Temujin) ตามสถานที่เกิดริมฝั่งแม่น้ำโอนอน ขึ้นครองราชย์แทนพระบิดาเมื่ออายุเพียง 13 ขวบ และต้องดิ้นรนต่อสู้ขับเคี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ ที่เป็นอริอยู่หลายปี ปราบ “ไนมาน” เอามาเป็นเมืองขึ้น พิชิต “ตันกัต” และยอมรับการจำนนของชาว “อุยกูร์เติร์ก”

ในปี พ.ศ. 1749 เตมูจิน ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น เจงกีส ข่าน และจากปี พ.ศ. 1754 ด้วยการรบพุ่งหลายครั้ง เจงกีส ข่าน สามารถยึดครองจีนตอนเหนือ จักรวรรดิคารา-จิไต (Kara-Chitai Empire) จักรวรรดิคาเรสม์ และดินแดนอื่นๆ อีกมากมาย นับถึงเวลาเมื่อเจงกีส ข่านสิ้นชีพตักษัย จักรวรรดิมองโกลได้แผ่ขยายตั้งแต่ทะเลดำไปจดมหาสมุทรแปซิฟิก

เจงกีส ข่าน มีชีวิตอยู่ตรงกับประมาณ 1 ศตวรรษ ก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงสุโขทัย ปัจจุบัน เจงกีส ข่าน ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักการทหารที่เก่งที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของโลก


* Untitled-1กลม.jpg (31.7 KB, 269x399 - ดู 58333 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:10:12 »

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เกิด ณ เมืองปิซา ประเทศอิตาลี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1564) – เสียชีวิต ณ เมืออาร์เซทิ (Arcetri) ฟลอเรนซ์ ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) มีบิดาชื่อ วินเซนซิโอ กาลิเลอิ ซึ่งมีอาชีพเป็นนักดนตรี และมีมารดาชื่อ จูเลีย กาลิเลอิ กาลิเลโอ เป็นนักวิทยาศาสตร์ และยัง ถูกขนานนามในชื่อต่างๆ เช่น "father of modern astronomy" (บิดาแห่งวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่), "father of modern physics" (บิดาแห่งวิชาฟิสิกสมัยใหม่) หรือ "father of science" (บิดาแห่งวิทยาศาสตร์) เป็นผู้ค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มากมาย เช่น "กฏแห่งการแกว่งของลูกตุ้ม" และ "กฏการตกของวัตถุ"

เหตุที่กาลิเลโอได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ เพราะเขาและโยฮันส์ เคปเลอร์ เป็นผู้ที่ก่อให้เกิด การปฏิวัติวิทยาศาสตร์(Scientific revolution)ขึ้น จริงอยู่ที่ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ เราเรียนรู้ที่จะสร้างอารยธรรมขึ้นมา จากการค้นคว้า ทดลอง และจดบันทึกองค์ความรู้สืบทอดต่อๆกันมา จากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หากพิจารณาจริงๆกระบวนการดังกล่าวก็มีขั้นตอนครบถ้วนตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับในแบบเรียนทุกประการ แล้วจะนับกาลิเลโอจะเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์ ได้อย่างไร ในเมื่อเขาคงก็ไม่ได้เป็นคนแรกแน่ๆที่เริ่มใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในโลกใบนี้ ประเด็นอันละเอียดอ่อนนี้คงจะเป็นประเด็นเปิดให้ถกเถียง กันอีกยาว แต่หากเรามองอีกแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนกว่า คือจากมุมของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ โดยนับการตีพิมพ์หนังสือPhilosophiae Naturalis Principia Mathematica ของนิวตันเป็นการสิ้นสุดการปฏิวัติ กาลิเลโอก็นับว่าเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เพราะงานในยุคนั้นหลายๆชิ้นที่มีส่วนสำคัญต่อ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ มีเพียงงานของกาลิเลโอเพียงคนเดียวที่โดดเด่นที่สุดในแง่ของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

อิทธิพลการแสวงหาความรู้ที่มีแม่แบบจากหนังสือ The Elements ของ Euclidทรงพลังมากในสมัยของกาลิเลโอ เพราะเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าการวัดจะไม่นำเราคลาดเคลื่อนจากความแท้จริง ยกตัวอย่างเช่น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสามด้านของสามเหลี่ยมมุมฉากจะต้องสอดคล้องกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสทุกรูป ? ความจริงข้อนี้คงไม่สามารถหาได้จากการทดลองสร้างสามเหลี่ยมมุมฉากขึ้นมาเป็นหมื่นๆรูปแล้ววัด? หากเราทดลองกับรูปสามเหลี่ยมุมฉากจำนวน 105รูปแล้วพบว่าจริง เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจะจริงกับรูปที่105 + 1จะจริงด้วย? ดังนั้นเป็นที่น่าสงสัย(โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของกาลิเลโอ)ว่าความจริงที่หาได้จากการทดลองและการวัด กับความจริงที่หาได้การอนุมาน(deduction)จากสิ่งที่ทุกคนยอมรับว่าจริงอยู่แล้ว อย่างไหนเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือกว่ากัน ซึ่งแน่นอนที่ความจริงแบบเรขาคณิตของEuclid ที่รู้จักกันดีว่าเป็นเรขาคณิตของ"วงเวียนและสันตรง"(สันตรงคือไม้บรรทัดที่ไม่มีเสกลที่ใช้ขีดเส้นตรงได้เพียงอย่างเดียว=ไม่มีการวัดความยาว)

ดูจะมีอิทธิพลเหนือกว่าความรู้ที่ได้จากการสังเกต ทดลอง และวัดค่าเป็นตัวเลขออกมาเป็นตัวเลขในแบบของกาลิเลโอ

แต่ข้อมูลจากการสังเกต ทดลองวัดค่าเป็นตัวเลขในงานกฏการตกของวัตถุมีส่วนสำคัญที่ทำให้นิวตันค้นพบ

กฏแรงของโน้มถ่วง( )ในครั้งแรก และงานที่ได้จากการทดลอง ทางกลศาสตร์ของกาลิเลโอก็เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้นิวตันสามารถสรุปกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน 3 ข้อ ออกมาได้ ซึ่งกฏทั้งสี่ข้อนี้ คือ ชัยชนะของวิทยาศาสตร์ที่เหนือกว่า กระบวนการแสวงหาความรู้เดิมที่ได้รับอิทธิพลจากนักปราชญ์ชาวกรีกซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงมาเป็นพันๆปี

มีข้อสังเกตว่างานที่ใช้ตัดสินชี้ขาดชัยชนะของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์น้ำหนักน่าจะอยู่ที่งานของเคปเลอร์ที่เป็นถือข้อพิสูจน์ กฏแรงของโน้มถ่วงที่นิวตันพิสูจน์ได้เป็นครั้งที่สอง มากกว่างานของกาลิเลโอ แต่งานของเคปเลอร์อาจไม่ได้มีความหมายตรงกับ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานทั่วไป เราจึงไม่นับว่าเคปเลอร์เป็นบิดาวิทยาศาสตร์

กาลิเลโอ นำเรื่อง ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล

งานเขียนของกาลิเลโอ
Two New Sciences, ค.ศ. 1638 Lowys Elzevir (Louis Elsevier) Leiden (ในภาษาอิตาเลียน , Discorsi e Dimostrazioni Matematiche, intorno á due nuoue scienze Leida, Appresso gli Elsevirii 1638)
Letters on Sunspots
The Assayer (ในภาษาอิตาเลียน, Il Saggiatore)
Dialogue Concerning the Two Chief World Systems, ค.ศ. 1632 (ในภาษาอิตาเลียน, Dialogo dei due massimi sistemi del mondo)
The Starry Messenger, ค.ศ. 1610 Venice (ในภาษาลาติน, Sidereus Nuncius)
Letter to Grand Duchess Christina
ลำดับเวลา
ปี พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1564) - วันที่ 15 กุมภาพันธ์ กาลิเลโอ เกิด ณ เมืองปิซา ประเทศอิตาลี
ปี พ.ศ. 2117 (ค.ศ. 1574) - ย้ายที่อยู่ไปยังเมืองฟลอเรนซ์ และเข้าศึกษาต่อที่โบสถ์วอลลอมโบรซา
ปี พ.ศ. 2124 (ค.ศ. 1581) - เข้าศึกษาในคณะแพทย์ศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยปิซา
ปี พ.ศ. 2126 (ค.ศ. 1583) - ได้ค้นพบ กฏการแกว่งของลูกตุ้ม จากการแกว่งของโคมไฟ ณ มหาวิทยาลัยปิซา
ปี พ.ศ. 2127 (ค.ศ. 1584) - มีทุนทรัพย์ไม่พอในการเรียน จึงลาออกจากมหาวิทยาลัยปิซา และกลับมายังเมืองฟลอเรนซ์
ปี พ.ศ. 2132 (ค.ศ. 1589) - ได้รับตำแหน่งเป็นอาจารย์วิชาคณิตศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยปิซา
ปี พ.ศ. 2133 (ค.ศ. 1590) - ได้ค้นพบ กฏการตกของวัตถุ โดยมีการทดลองที่ หอเอนเมืองปิซา
ปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) - ได้เป็นอาจารย์วิชาคณิตศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยปาดัว
ปี พ.ศ. 2142 (ค.ศ. 1599) - เริ่มชีวิตคู่ โดยแต่งงานกับ มารีนา กัมเบอร์
ปี พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609) - กาลิเลโอ ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์
ปี พ.ศ. 2153 (ค.ศ. 1610) - ในเดือน มกราคม ได้ค้นพบดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี และได้ออกหนังสือชื่อ The Starry Messenger และยังได้กลับมาเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยปิซาอีกครั้ง ด้วยความอนุเคราะห์ของ ดยุคเมดิชี
ปี พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) - วันที่ 8 มกราคม กาลิเลโอ เสียชีวิตท่ามกลางลูกศิษย์ไม่กี่คน
 


* Untitled-1กลม.jpg (54.43 KB, 330x405 - ดู 56343 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:12:18 »

เติ้งเสี่ยวผิง(Deng Xiaoping ปีค.ศ.1904-1997) นักลัทธิ มาร์กซ์ผู้ยิ่งใหญ่ นักปฏิวัติ นักการเมือง นักการทหารและ นักการทูตของชนชั้นคนจน ผู้นำสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทหารปลดแอกประชาชนจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้วางแผนการปฏิรูป เปิดประเทศและการสร้างสรรค์ประเทศ ให้เป็นแบบทันสมัยด้านสังคมนิยมของจีน และผู้ริเริ่มทฤษฎี เติ้งเสี่ยวผิง
เติ้งเสี่ยวผิงเป็นชาวกว่างอัน(Guang'an)แห่งมณฑลสื้อชวน(Sichuan) ของจีน เกิดเมื่อวันที่22สิงหาคมปีค.ศ.1904 เคยชื่อเติ้งเซียนเสิ้ง (Deng Xiansheng) ส่วนชื่อที่ใช้ในการเข้าเรียนครั้งแรกในโรงเรียนคือ เติ้งซีเสียน(Deng Xixian) เมื่ออายุ5ขวบก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา เมื่อสำเร็จการเรียนในระดับประถมศึกษาเป็นเวลา6ปีก็ได้ สอบเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาแห่งอำเภอกว่างอัน เมื่อ ฤดูใบไม้ร่วงปีค.ศ.1919 นายเติ้งเสี่ยวผิงได้สอบเข้าเรียนต่อใน โรงเรียนเตรียมการแห่งนครจุงกิงเพื่อไปศึกษาที่ฝรั่งเศส เมื่อฤดูร้อนปีค.ศ.1920ได้ไปศึกษาต่อที่ฝรั่งเศส แต่เขาต้องทำงานหนักในโรงงาน เพื่อประหยัดค่าเล่าเรียน เมื่อปีค.ศ.1922 เติ้ง เสี่ยวผิง ได้สมัครเข้าร่วมสันนิบาตเยาวชนสังคมนิยมแห่งชาติจีน เมื่อปีค.ศ.1924 ได้สมัครเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างเป็นทางการ และเมื่อต้น ปีค.ศ.1926ได้ไปศึกษาต่อที่โซเีวียต
เมื่อช่วงฤดูใบไม้ผลิปีค.ศ.1927 นายเติ้ง เสี่ยวผิงสำเร็จการศึกษาและ กลับสู่จีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กำหนดให้เขาทำงานด้านการเมือง ที่ทหารพันธมิตรราษฎรซึ่งนำโดยนายพลเฝิง ยี่เสียง(Feng Yuxiang)ในเมืองซีอัน(Xi'an) หลังจากความร่วมมือครั้งแรก ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคก๊กมิ่นตั๋งได้แตกหักลง นายเติ้งเสี่ยวผิงเริ่มใช้ืชื่อเติ้งเสี่ยวผิงชื่อนี้ เมื่อวันที่7สิงหาคม ปีค.ศ.1927 นายเติ้งเสี่ยวเผิงได้เข้าร่วมการประชุมวิสามัญของ คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เมืองอู่ฮั่น(Wu Han) เมื่อปลายปีเดียวกันได้ย้ายไปทำงานที่นครเซี่ยงไฮตามองค์กร คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในระหว่างปีค.ศ.1928- 1929 นายเติ้งเสี่ยวเผิงดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่สำนัก เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อช่วงฤดูร้อน ปีค.ศ.1929 นายเติ้งเสี่ยวเผิงในฐานะเป็นตัวแทนของ คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เดินทางไปที่มณฑลกว่าง ซี(Guangxi)(ในเวลานั้นยังไม่ใช่เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วง กว่างซี)เพื่อเป็นนำการลุกขึ้นต่อสู้ที่กว่างซี เมื่อเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1929และเดือนกุมภาพัณธ์ปีค.ศ.1930ได้ร่วมกับ นายจังหยุนยี่(Zhang Yunyi)และสหายอื่นๆก่อการลุกขึ้น สู้ ไบ๋สื้อ(Baise)และการลุกขึ้น สู่หลุงโจว(Longzhou)ตามลำดับ และจัดตั้งกองทัพที่7และกองทัพที่8ของกองทัพกรรมกรและ กสิกรจีนขึ้นและก่อตั้งเขตฐานปฏิวัติจั๋วเจียง(Zuojiang)และ เขตฐานปฏิวัติโย่เจียง(Youjiang) ดำรงตำแหน่งกรรมการทาง การเมืองและเลขาธิการคณะกรรมการแนวหน้าของกองทัพที่7และกองทัพที่8 เมื่อฤดูร้อนปีค.ศ.1931 เดินทางถึงเขตฐานกลาง เจียงซี(Jiangxi) ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอำเภอ รุ่ยจิน(Ruijin)พรรคคอมมิวนิสต์จีน เลขาธิการคณะกรรมการอำเภอ หุ้ยชัง(Huichang)พรรคคอมมิวนิสต์จีน ผู้อำนวยการฝ่าย ประชาสัมพันธ์คณะกรรมการมณฑลเจียงซีพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตามลำดับ เนื่องจากสนับสนุนแนวนโยบายที่ถูกต้องของนาย เหมาเจ๋อตุง ได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้นำของพรรคโดยผู้นำฝ่าย ซ้ายจัดของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในเวลานั้น หลังจากนั้น นายเติ้งเสี่ยวผิงได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่สำนักเลขาธิการ ของกรมการเมืองใหญ่แห่งกองทัพแดง หัวหน้ากองบรรณธิการของ หนังสือพิมพ์"หุงซิง"หรือ"ดาวแดง"ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ทางการของ กรมการเมืองใหญ่แห่งกองทัพแดง เมื่อเดือนตุลาคมปีค.ศ.1934 เติ้งเสี่ยวผิงได้เข้าร่วมการเดินทัพทางไกลตามกองทัพแดง กลาง เมื่อช่วงปลายปีเดียวกันเริ่มดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่สำนัก เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อเดือน มกราคมปีค.ศ.1935เติ้งเสี่ยวผิงได้เข้าร่วมการประชุมกรม การเมืองคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้แก่การประชุมจุงอี้(Zunyi) โดยการประชุมได้กำหนดคณะผู้นำของคณะกรรมการกลาง พรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดใหม่ซึ่งนำโดยเหมาเจ๋อตุง หลังจากนั้น นายเติ้งเสี่ยวผิงได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย ประชาสัมพันธ์กรมการเมือง รองผู้อำนวยและผู้อำนวยการกรม การเมืองของกองพลที่1ของกองทัพแดงตามลำดับ


* Untitled-1กลม.jpg (57.76 KB, 252x312 - ดู 56695 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:17:56 »

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King, Jr. 15 มกราคม พ.ศ. 2472-4 เมษายน พ.ศ. 2511) เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง (civil right) และหมอสอนศาสนานิกายแบปติส เกิดที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เป็นบุตรชายของพระแบปติส ได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยมอร์เฮาส์ แอตแลนตา จากวิทยาลัยการศาสนาโครเซอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย และจากมหาวิทยาลัยบอสตัน ต่อมาได้กลายเป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิเสมอภาคของชาวผิวดำเนื่องจากนโยบาย และแนวทางต่อต้านที่ใช้ความนุ่มนวลตามแนวทางของมหาตมะ คานธี และจากทักษะการพูดต่อสาธารณะที่เป็นที่เลื่องลือ คิงได้เป็นผู้นำในการคว่ำบาตรไม่ยอมรับการแบ่งแยกคนผิวดำที่ไม่ให้โดยสารรถประจำทาง ร่วมกับคนผิวขาวที่เมืองมอนต์โกเมอรี รัฐแอละบามาและจัดประชุมผู้นำศาสนาคริสเตียนตอนใต้ ในระหว่างนี้เขาถูกจับขังคุกหลายครั้ง

ในปี พ.ศ. 2506 คิงเป็นผู้นำในการเดินขบวนอย่างสันติที่อนุสาวรีย์ลิงคอล์นในวอชิงตัน ดี.ซี. โดยมีผู้เข้าร่วมเดินมากถึง 200,000 คน ในการประชุมครั้งนี้เองที่คิงได้แสดงสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสีงคือ "ข้าพเจ้ามีความฝัน" (I Have a Dream)ในโอกาสนี้เขายังได้ประกาศว่า อเมริกาจะปราศจากความลำเอียงและไม่มีอคติต่อคนผิวสีในปี พ.ศ. 2507

ในปี พ.ศ. 2507 มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับรางวัลสันติภาพเคเนดี (Kendy Peace Prize) รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ความสำเร็จสูงสุดของเขาได้แก่การท้าทายอำนาจของกฎหมายแบ่งแยกผิวในภาคใต้ของสหรัฐฯ หลังจากปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นไป มาร์ติน ลูเธอร์ คิงได้หันความสนใจไปเน้นการรณรงค์ให้มีการปรับปรุงสภาพสังคมของคนผิวดำ และคนยากจนในภาคเหนือของประเทศซึ่งพบว่าง่ายกว่า นอกจากนี้ คิงได้รณรงค์ต่อต้านการทำสงครามเวียดนามและจะจัดการชุมนุมใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อีกครั้งหนึ่ง

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ถูกลอบยิงถึงแก่ชีวิตที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี โดยเจมส์ เอิร์ล เรย์ ชาวผิวขาว ซึ่งต่อมาถูกจับกุมได้ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและถูกศาสลพิพากษาจำคูก 99 ปี

หลังจากเขาถูกลอบสังหารในปี 1968 เขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติจวบจนทุกวันนี้

วันที่ 15 มกราคมทุกๆ ปี ซึ่งเป็นวันเกิดของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับการประกาศให้เป็น "วันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง" วันนักขัตรระดับชาติและค่อยๆ ได้รับทยอยการยอมรับจากรัฐต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา

คิงมีชื่อเสียงในเรื่องการพูดต่อสาธารณชน สุนทรพจน์ "I Have a Dream" ที่เขากล่าวในการเดินขบวนปี 1963 ได้รับการยกย่องอย่างสูง ว่าทรงพลังและเป็นแบบอย่างของการพูดในที่สาธารณะ

 


* Untitled-1กลม.jpg (26.81 KB, 434x599 - ดู 56110 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:21:47 »

สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1  แห่งอังกฤษ
(Elizabeth I of England -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146)
และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฝรั่งเศส และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนสวรรคต บางกรณีทรงได้รับการกล่าวถึงในพระนาม “ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์


สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1

เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงครองราชย์ในเวลาเดียวกันกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ประสูติที่พระราชวังกรีนิช ทรงเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงแค่ 3 ปี เมื่อพระบิดาอภิเษกสมรสครั้งที่ 3 กับสมเด็จพระราชินีเจน เซมัวร์ ใน พ.ศ. 2079 พระองค์และเจ้าฟ้าหญิงแมรี พระพี่นางต่างพระมารดาถูกประกาศว่าเป็นบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยรัฐสภาเนื่องจากการเอนเอียงมาทางพระราชโอรสของพระนางเจน (ซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นเถลิงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ 6)

สมัยยังทรงพระเยาว์
ชีวิตในวัยเด็กของพระองค์ยากลำบากมากและล่อแหลมเต็มไปด้วยอันตราย ต้องทนทุกข์ระทมจากการถูกประหารชีวิตของพระมารดา และการไม่ชอบของพระบิดา แต่พระองค์ก็ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดียิ่ง และได้รับการเลี้ยงดูท่ามกลางศรัทธาในนิกายโปรแตสแตนท์ ในระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ 6 (พ.ศ. 2090-2096) เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 16 พรรษา ลอร์ดทอมัส ซีมัวร์ ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพเรือได้วางแผนพยายามขออภิเษกสมรสด้วยเพื่อใช้พระองค์เป็นเครื่องมือหาทางล้มล้างรัฐบาล แต่ทรงหลบเลี่ยงได้อย่างนุ่มนวลและลอร์ดซีมัวร์ก็ได้ถูกประหารชีวิตในความผิดฐานกบฏ ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 (พ.ศ. 2096-2101) การแสดงตนเป็นโปรแตสแตนท์ของพระองค์ทำให้สมเด็จพระราชินีแมรีพี่สาว ซึ่งเป็นคาทอลิก รู้สึกหวั่นไหว พระนางเอลิซาเบทจึงถูกจองจำไว้ที่หอคอยแห่งลอนดอน
 

สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ในชื่อภาพว่า “พิธีราชาภิเษกของอลิซาเบธ” (The Coronation of Elizabeth)
การขึ้นเสวยราชย์ของพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2101 อันเนื่องมาจากการสวรรคตของพระราชินีแมรีที่ 1 ได้รับการแซ่ซ้องและยอมรับเป็นอย่างมากจากผู้คนที่หวังจะได้มีเสรีภาพทางศาสนามากขึ้นหลังจากที่ได้ถูกกดขี่มาโดยตลอดในรัชกาลก่อนๆ ภายใต้การนำอย่างแข็งขันของเซอร์วิลเลียม เซซิล ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ (ต่อมาเลื่อนเป็นลอร์ดเบอร์กเลย์) กฎหมายสนับสนุนคาทอลิกของพระนางแมรีที่ 1 ได้ถูกยกเลิกและนิกายโบสถ์อังกฤษ (Church of England) ก็ได้รับการสถาปนาขึ้น (ระหว่าง พ.ศ. 2102-2106) นอกจากนี้ เซอร์เซซิลยังได้ให้การสนับสนุนการปฏิรูปสกอตแลนด์ ซึ่งทำให้พระราชินีแมรีแห่งสกอตแลนด์กลับคืนบัลลังก์ได้อีกในปี พ.ศ. 2104 ยังผลให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นกับพวกลัทธิแคลวิน โดยจอห์น นอกซ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งนิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งได้จับพระนางจองจำและบังคับให้สละราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2110 ทำให้พระองค์ต้องหลบหนีไปประทับในอังกฤษแต่ก็ถูกจับกักบริเวณอีก ซึ่งต่อมาเหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นจุดสนใจและเป็นศูนย์รวมชาวคาทอลิกที่รวมตัวกันต่อต้านนิกายโปรแตสแตนท์ ในปี พ.ศ. 2113 ได้มีการประกาศให้พวกคาทอลิกเลิกนับถือสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธเป็นราชินี ซึ่งรัฐบาลเริ่มแก้เผ็ดชาวคาทอลิกอังกฤษด้วยการจำกัดสิทธิ์บางอย่างและค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นขึ้นถึงขั้นปราบปรามในช่วงปี พ.ศ. 2123-2133

แผนการล้มล้างสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ถูกเปิดเผยบ่อยครั้งขึ้น และอีกครั้งหนึ่งโดยการสนับสนุนลับๆ ของพระนางแมรีใน พ.ศ. 2129 ทำให้พระนางถูกประหารชีวิตในปีต่อมา นโยบายต่อต้านและเข้มงวดกับพวกนับถือศาสนาโรมันคาทอลิกเพิ่มความรุนแรงขึ้น มีผลให้อังกฤษสนับสนุนฝ่ายกบฏชาวฮอลันดาที่ต่อต้านสเปน มีการ “แต่งตั้งโจรสลัด” อย่างเป็นงานเป็นการ ดังเช่นจอห์น ฮอว์ลีน และ ฟรานซิส เดรกเพื่อคอยดักปล้นทรัพย์สินของพวกสเปนในโลกใหม่ ปรากฏการณ์เหล่านี้ยั่วยุให้สเปนก่อสงครามรุกรานอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2101 กองเรืออาร์มาดาอันยิ่งใหญ่ของสเปนได้บุกเข้ามาปิดช่องแคบอังกฤษ แต่ก็ถูกทำลายจากทั้งพายุและการตีโต้กลับจากฝ่ายอังกฤษจนสูญเสียเรือเป็นจำนวนมากพ่ายแพ้อย่างบอบช้ำจนต้องถอยกลับสเปน

ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระองค์ได้เพิ่มพันธมิตรและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่นิกายโปรแตสแตนท์มากขึ้น และในขณะเดียวกันก็แบ่งแยกศัตรูฝ่ายคาทอลิกรุนแรงมากขึ้นด้วย พระนางแสร้งยอมให้เชื้อพระวงศ์ต่างประเทศหลายรายเจรจาขออภิเษกสมรสกับพระองค์ แต่ก็พระองค์ก็ไม่จริงจังและไม่ได้ทรงกำหนดให้มีการสืบรัชทายาทไว้แต่อย่างใด และด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระราชินีแมรีแห่งสกอตแลนด์ ทำให้พระนางได้ทรงทราบด้วยความพอพระทัยว่าองค์รัชทายาท คือพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เป็นโปรแตสแตนท์ พระองค์ได้มีสัมพันธ์ลึกซึ้งกับขุนนางสำคัญคือ โรเบิร์ต ดัดเลย์ เอิร์ลแห่งลีเซสเตอร์ และต่อมากับโรเบิร์ต เดอเวรัวซ์ เอิร์ลแห่งเอสเซกซ์ จนกระทั่งท่านเอิร์ลถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากบฏในปี พ.ศ. 2144

ยุคสมัยของพระนางอลิซาเบธ ได้รับการเรียกว่ายุคอลิซาเบธัน หรือยุคทอง เนื่องจากเป็นยุคที่อังกฤษขยายแสนยานุภาพไปทั่วโลก ในยุคสมัยนี้ ได้มีชาวอังกฤษผู้โด่งดังในสาขาวิชาต่างๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น กวีชื่อก้องโลก เช่น วิลเลียม เชกสเปียร์ คริสโตเฟอร์ มาโลว์ และ จอห์น เบ็นสัน ก็ได้มีเริ่มมีชื่อเสียงในยุคนี้ ฟรานซิส เดร็ก ได้เป็นชาวอังกฤษคนแรกที่เป็นนักเดินเรือสำรวจรอบโลก ฟรานซิส เบคอน ได้เสนอความคิดทางปรัญชาและทางการเมือง เซอร์ วอลเตอร์ ราลเลจห์ และ เซอร์ ฮัมเฟรย์ กิลเบิร์ต ได้สร้างอาณานิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ

เมื่อพ.ศ. 2131 เนื่องในวาระพิชิตกองเรออามาดาของสเปน โปรดสังเกตพระหัตถ์ขวาที่กุมลูกโลกเป็นสัญญลักณ์แห่งอำนาจของอังกฤษในระดับนานาชาติ
การแผ่อำนาจในระดับนานาชาติ
นโยบายด้านการงบประมาณของพระองค์สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างแก่ประชาชน มีการขึ้นอัตราภาษีเพื่อระดมเงินให้เพียงพอกับการทำสงครามในต่างประเทศ การเกิดความอดอยากข้าวยากหมากแพงในช่วงประมาณ พ.ศ. 2135-40 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจตกต่ำและเกิดความไม่สงบในสังคม รัฐบาลจึงพยายามแก้ด้วยการออก “กฎหมายคนจน” (Poor Law) เมื่อ พ.ศ. 2140 โดยเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากท้องถิ่นไปอุดหนุนคนยากไร้ การอวดอำนาจทางทะเลของอังกฤษก่อให้เกิดการเดินทางท่องทะเลเพื่อค้นหาอาณานิคมใหม่ เซอร์ฟรานซิส เดรกเดินทางโดยเรือรอบโลกสำเร็จเป็นครั้งแรก เซอร์วอลเตอร์ ราเลย์เดินทางสำรวจพบชายฝั่งอเมริกาเหนือและเดินทางไปมาอีกหลายครั้งระหว่าง พ.ศ. 2125-32 แต่อาณานิคมที่แท้จริงเพียงแห่งเดียวของอังกฤษในสมัยของพระองค์คือ “ไอร์แลนด์” ซึ่งเป็นที่ซึ่งชาวอังกฤษเข้าไปหาผลประโยชน์ด้วยการเอารัดเอาเปรียบคนพื้นถิ่นชาวไอร์แลนด์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นเหตุให้การก่อกบฏที่รุนแรงภายใต้การนำของฮิวจ์ โอนีล เอิร์ลแห่งไทโรนเมื่อ พ.ศ. 2140

ราชินีเอลิซาเบธทรงมีพระอารมณ์ร้อน และบางครั้งทรงเป็นผู้นำที่ไม่เด็ดขาด บ่อยครั้งที่ที่เหล่าที่ปรึกษาส่วนพระองค์ต้องช่วยพระองค์จากศัตรูทางการเมืองและเหล่าข้าศึก อย่างไรก็ดี พระองค์ทรงมีความสุนทรีย์ทางบทกวีเป็นอย่างมาก ดังเช่น พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 พระบิดาของพระองค์ พระองค์ทรงเขียนวรรณกรรมไว้หลายเรื่อง และพระองค์ยังทรงตั้ง Royal Charters คือ หน่วยงานหลวงมาดูแลกิจการของอังกฤษหลายแห่ง วิทยาลัยทรินิตี้ ณ กรุงดับบลิน (Trinity College, Dublin) ในปี พ.ศ. 2135(ค.ศ. 1592) และ บริษัทบริติชอินเดียตะวันออก (British East India Company) ในปี พ.ศ. 2143(ค.ศ. 1600)

เวอร์จิเนีย หนึ่งในอาณานิคมอเมริกาเหนือของอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันคือรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ถูกตั้งชื่อขึ้นตามสมญานามของราชินีเอลิซาเบทที่ 1 ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์

สวรรคต
จากการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2146 ราชวงศ์ทิวดอร์ก็สิ้นสุดลงไปด้วย การสืบต่อราชบัลลังก์โดย พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งราชวงศ์สจวร์ตเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การครองราชย์ที่ยาวนานของพระองค์ตรงกับช่วงที่อังกฤษเริ่มมีแสนยานุภาพทางทะเลของโลกและช่วงที่เรียกว่าเป็น "ยุคฟื้นฟูศิลปะของอังกฤษ" (English Renaissance) การเป็นตำนาน "พระราชินีพรหมจรรย์" ของพระองค์ที่พระองค์เองก็มีส่วนสนับสนุนให้เรียกพร้อมกับกวีและนักแต่งบทละครในราชสำนักเพื่อให้คนทั่วไปที่รู้จักไปในทางนั้น กลายเป็นสิ่งบดบังบทบาทของพระองค์ในฐานะเป็นผู้สร้างสำนึกแห่งความเป็นชาติของอังกฤษไปสิ้น

ภาพยนตร์
สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมประเภทภาพยนตร์ หลายต่อหลายเรื่อง ที่โด่งดังที่สุด คือ ในเรื่อง Elizabeth ในชื่อภาษาไทยว่า " อลิซาเบธ ราชินีบัลลังก์เลือด " ในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) (มีภาคต่อคือ Elizabeth : The Golden Age ในปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008)) เป็นชีวประวัติของพระองค์ตั้งแต่ก่อนขึ้นเสวยราชย์จนถึงจุดพลิกผันในชีวิต นำแสดงโดย เคท บลานเชทท์ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการกล่าวขานอย่างมาก และได้ถูกเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์ในปีนั้นถึง 7 รางวัล รวมทั้งรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ดารานำหญิงยอดเยี่ยม และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และอีกเรื่อง คือ Shakespeare in Love ซึ่งฉายในปีเดียวกันนี้ เป็นเรื่องราวในรัชสมัยของพระองค์ โดยกล่าวถึงเรื่องราวความรักของวิลเลี่ยม เชคสเปียร์ และความรุ่งเรืองของศิลปะละครเวทีภายใต้การอุปถัมภ์ของพระองค์ ซึ่งนักแสดงที่รับบทสมเด็จพระนาง เจ้าอลิซาเบธที่ 1 คือ จูดี้ เดนช์ ซึ่งได้รับรางวัลออสการ์ดาราประกอบหญิงในปีนั้นด้วย ทั้ง ๆ ที่ บทของพระองค์ปรากฏตัวในเรื่องเพียง 2 ครั้งเท่านั้นเอง อีกทั้งภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รางวัลออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย เท่ากับว่าในปี พ.ศ. 2541 (ประกาศผลในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)) นั้น มีดาราหญิงที่ถูกเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์ในบทของสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 1 พร้อมกันถึง 2 คน



* Untitled-1กลม.jpg (103.41 KB, 413x604 - ดู 59289 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:23:05 »

เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) (4 มกราคม พ.ศ. 2186-31 มีนาคม พ.ศ. 2270 (ตามปฏิทินเกรกอเรียน) หรือ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2185- 20 มีนาคม พ.ศ. 2270 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ นิวตันเกิดที่เมืองวูลสธอร์ป ลิงคอนไชร์ ประเทศอังกฤษ

วัยเด็ก
นิวตันเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ บิดา (ชื่อเดียวกัน) ได้เสียชีวิตตั้งแต่ก่อนนิวตันถือกำเนิด 3 เดือน มารดาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ นิวตันได้แต่งงานใหม่เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบและได้ทิ้งนิวตันไว้ให้ยายของนิวตันเลี้ยงจนสามีคนที่สองตายเมื่อนิวตันอายุ 11ขวบ นิวตันจึงได้อยู่กับมารดาอีกครั้งหนึ่ง

การศึกษา
นิวตันได้รับการศึกษาที่โรงเรียนหลวงแกรนแธมและคาดหวังว่าจะดำเนินชีวิตเป็นเกษตรกรตามประเพณีของครอบครัว แต่มารดาได้รับการชักจูงให้ส่งนิวตันเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2204 นิวตันก็ได้เข้าศึกษาในทรินิตีคอลเลจ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในฐานะนิสิตยากจนที่ต้องทำงานเป็นผู้ช่วยงานวิชาการเพื่อหาเงินจุนเจือค่าเล่าเรียน

ในระหว่างเรียนปีแรกๆ นิวตันไม่ได้แสดงให้เห็นแววความสามารถในด้านใดเป็นพิเศษ แต่ “ไอแซก บาร์โรว์” ผู้ดำรงตำแหน่ง “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” (Lucasian Chair of Mathematics) ได้ส่งเสริมและให้กำลังใจแก่นิวตันเป็นอย่างมาก นิวตันจบการศึกษาได้รับปริญญาตรีเมื่อ พ.ศ. 2208 โดยไม่ได้เกียรตินิยม ในขณะที่เตรียมการเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทเมื่อปี พ.ศ. 2207 ก่อนรับปริญญาก็ได้เกิดโรคกาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอนเป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยปิดไม่มีการเรียนการสอนในปีต่อมา

ในระหว่างช่วงพักการระบาดของกาฬโรค นิวตันต้องอยู่บ้านแต่ก็ได้ศึกษาธรรมชาติของแสงสว่างและได้สร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้น นิวตันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแสงอาทิตย์อย่างหลากหลายด้วยแท่งแก้วปริซึมและสรุปว่ารังสีต่างๆ ของแสงซึ่งนอกจากจะมีสีแตกต่างกันแล้วยังมีภาวะการหักเหต่างกันด้วย การค้นพบที่เป็นการอธิบายว่าเหตุที่ภาพที่เห็นภายในกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้เลนส์แก้วไม่ชัดเจนก็เนื่องมาจากการหักเหของพู่กันรังสีของลำแสงที่ผ่านแก้วเลนส์ทำให้มุมหักเหต่างกันมีผลให้ระยะโฟกัสต่างกันด้วย จึงเป็นไม่ได้ที่จะได้ภาพที่ชัดด้วยเลนส์แก้ว การค้นพบนี้ได้กลายเป็นพื้นฐานให้มีการพัฒนากล้องโทรทรรศน์แบบกระจกเงาสะท้อนแสงที่สมบูรณ์โดยวิลเลียม เฮอร์สเชล และ เอิร์ลแห่งโรส ในเวลาต่อมา ในเวลาเดียวกับการทดลองเรื่องแสงสว่าง นิวตันก็ได้เริ่มงานเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่องการโคจรของดาวเคราะห์

ในการกลับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อีกครั้งในปี พ.ศ. 2210 นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ในทรินิตีคอลลเลจและได้รับปริญญาโทในปี พ.ศ. 22 11 ปีต่อ ไอแซก บาร์โรว์ได้ลาออกจากตำแหน่ง “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” เพื่อเปิดโอกาสให้นิวตันผู้เป็นศิษย์รับตำแหน่ง ชุดปาฐกถาของนิวตันในตำแหน่งนี้มีผลให้เกิดตำรา “ทัศนศาสตร์” เล่ม 1 (Optics Book 1)

การทำงาน
การหล่นของผลแอปเปิลทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนยันความคิดนี้แต่ก็ยังไม่แน่ชัดจนกระทั่งการการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและโรเบิร์ต ฮุก ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการกลศาสตร์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่ ในปีเดียวกันนั้น เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ได้มาเยี่ยมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การวงโคจรรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตามกฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปให้ฮัลเลย์ดูในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง "หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” (Philosophiae naturalist principia mathematica หรือ The Mathematical Principles of Natural Philosophy) ก็ได้รับการตีพิมพ์ซึ่งเนื้อหาในเล่มอธิบายเรื่องความโน้มถ่วงสากล และเป็นการวางรากฐานของกลศาสตร์ดั้งเดิม (กลศาสตร์คลาสสิก) ผ่านกฎการเคลื่อนที่ ซึ่งนิวตันตั้งขึ้น. นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนาแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์อีกด้วย



งานตีพิมพ์สำคัญชิ้นแรกของนิวตัน

งานสำคัญชิ้นนี้ซึ่งถูกหยุดไม่ได้พิมพ์อยู่หลายปีได้ทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกส์กายภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผลกระทบมีสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทห์วัตถุที่มีมาแต่เดิมโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของกาลิเลโอเป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อๆ มา

ในขณะเดียวกัน การมีส่วนในการต่อสู้การบุกรุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอย่างผิดกฎหมายจากพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ทำให้นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี พ.ศ. 2232-33 ต่อมาปี 2239 นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิตกษาปณ์เนื่องจากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับการปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากขึ้นในขณะนั้นซึ่งต่อมา นิวตันก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการในปี พ.ศ. 2242 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม และในปี พ.ศ. 2244 นิวตันได้รับเลือกเข้าสู้รัฐสภาอีกครั้งหนึ่งในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2247 นิวตันได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” หรือ Optics ฉบับภาษาอังกฤษ (สมัยนั้นตำรามักพิมพ์เป็นภาษาละติน) ซึ่งนิวตันไม่ยอมตีพิมพ์จนกระทั่งฮุก คู่ปรับเก่าถึงแก่กรรมไปแล้ว

บั้นปลายของชีวิต
ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก ไลบ์นิซ และแฟลมสตีด ซึ่งนิวตันได้แก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจิตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของนิวตันเอง นิวตันตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่เคยแต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งเป็นนายกสภาราชบัณฑิตของอังกฤษที่ได้รับสมญา “นายกสภาผู้กดขี่”

เซอร์ไอแซก นิวตันมีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัยกรุงศรีอยุธยา

 


* Untitled-1กลม.jpg (138.41 KB, 407x559 - ดู 55980 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:25:10 »

ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) (12 ก.พ. 2351 - 19 เม.ย. 2425) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ. เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) ในหนังสือชื่อ "The Origin of Species" (กำเนิดของสรรพชีวิต), ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา. การเดินทางออกไปยังท้องทะเลทั่วโลกกับเรือบีเกิล (HMS Beagle) และโดยเฉพาะการเฝ้าสำรวจที่หมู่เกาะกาลาปากอส เป็นทั้งแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งเขานำมาใช้ในทฤษฎีของเขา
 
ประวัติ
ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbvery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England) ในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและมีชื่อเสียงครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ บิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน (Robert Waring Darwin) บิดาของดาร์วินต้องการให้เขาศึกษาวิชาแพทย์ เพื่อเป็นแพทย์ แต่ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาไม่ว่าจะวิชาอะไร เขามักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเที่ยวเล่นยิงนก ตกปลาไล่จับแมลงชนิด ต่าง ๆ และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ บิดาจึงบังคับให้ดาร์วินเรียนวิชาแพทย์ ถึงแม้ว่าดาร์วินจะไม่ต้องการแต่บิดาของเขาก็ยังบังคับให้ดาร์วินเรียนแพทย์ จนได้ ขณะเดียวกันดาร์วินก็ยังคงศึกษาวิชาต่าง ๆ ที่เขาสนใจต่ออีก 1 ปี
ทางราชนาวีอังกฤษมีโครงการจะออกเดินทางสำรวจสภาพภูมิประเทศ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่มีผู้ใดเคยทำการสำรวจมาก่อน โดยจะใช้เรือหลวงบีเกิ้ล (H.M.S.Beagle) เป็นเรือที่ใช้ในการเดินทางสำรวจ พร้อมกับกับกัปตันวิทซ์รอย (Captain Witzroy) เป็นผู้บังคับการเรือ กัปตันวิทซ์รอยต้องการนักธรรมชาติวิทยาเดินทางไปกับคณะสำรวจครั้งนี้ด้วย กัปตันได้ประกาศรับอาสาสมัครอยู่เป็นเวลานาน แต่ไม่มีผู้ใดสนใจการเดินทางไปกับเรือลำนี้จะต้องออกต่าใช้จ่ายในการเดินทาง ครั้งนี้เองทั้งหมด กัปตันจึงเดินทางไปพบกับศาสตราจารย์เฮนสโลว์ เพื่อขอร้องให้ช่วยหา และศาสตราจารย์เฮนสโลว์จึงนำข่าวนี้มาบอกแก่ดาร์วิน และรับอาสาออกสำรวจดินแดน ทั้งเขาต้องขอค่าใช้จ่ายในการเดินทางในครั้งนี้อีกด้วย แต่พ่อเขาจึงไม่อนุญาตให้เดินทาง ด้วยความเป็นห่วง เขาจึงเดินทางไปหาโจเซียร์ เวดจ์วูด (Josiah Wedgwood) ลุงของเขาจึงไปพูดขอร้องแทนกับพ่อของดาร์วิน ในที่สุดพ่อเขาก็อนุญาตให้ดาร์วินออกเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิ้ลได้


เส้นทางการเดินทางสำรวจของเรือหลวงบีเกิ้ล
เรือหลวงบีเกิ้ลออกเดินทางจากท่าเรือเมืองดาเวนพอร์ต (Davenport Harbor) เมืองพลายเมาท์ (Plymount) ประเทศอังกฤษในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1831 โดยแล่นเข้ามหาสมุทรแอตแลนติกเลียบไปตามชายฝั่งทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกาโดยเข้าสู่หมู่เกาะคานาร์ ต่อจากนั้นจึงข้างฝั่งไปยังทวีปอเมริกาใต้เข้าสู่ประเทศบราวิลที่เมืองเรซิเฟ(Recife) ซัลวาดอร์( Salavdor) และริโอเดอ จาเนโร ( Rio de Janeiro) เพื่อสำรวจลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ( Amazon) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้โดยแล่นอ้มไปทางแหลมฮอร์น (Cape Horn) เพื่อเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสำรวจประเทศซิลี ( Chile) เมืองวาลปาเรส (Valparais) เรือบีเกิ้ลแล่นเรียบชายฝั่งไปจนถึงประเทศเปรู ซึ่งระหว่างทางเรือได้แวะตามเกาะต่าง ๆ มาโดยตลอด เมื่อสำรวจประเทศเปรูเสร็จ เรือบีเกิ้ลออกเดินทางไปยังเกาะตาฮิติ (Tahiti Island) ต่อจากนั้นก็เดินทางสำรวจต่อไปยังตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสู่ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่เกาะแทสมาเนีย (Tasmania Island) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะออสเตรเลีย และเข้าสำรวจประเทศออสเตรเลียในเวลาต่อมา หลังจากเรือได้เดินทางเพื่อเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ผ่านเกาะสุมาตราและชวา เข้าสู่แหลมมะละกา (Malaga Cape) จากนั้นจึงเข้าสู่เกาะมอริเทียส (Mauritius Island) ซึ่งตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย และเดินทางต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงเมืองปอร์ต หลุยส์ (Port Louis) ผ่านแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope) เข้าสู่เกาะเซนต์เฮเลนา (St. Helena) และเข้าสู่ประเทศบราซิลอีกครั้งหนึ่ง ที่เมืองเปอร์นัมบูโก ( Pernumbugo) ต่อจากนั้นเรือบีเกิ้ลได้เข้าจอดที่อ่าวเปอร์โต ปาร์ยา (PortoPraya) ในหมู่เกาะเคปเวิร์ด (Cape de Verd) และแวะที่เมืองอาโซส (Azores) เป็นแห่งสุดท้ายก่อนเข้าจอดเทียบท่าที่เมืองฟอลมัธ (Falmouth) เมืองท่าทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ ใช้เวลาในการเดินทางครั้งนี้ทั้งหมด 5 ปี โดยถึงประเทศอังกฤษในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836
การเดินทางครั้งนี้ดาร์วินต้องเผชิญกับอาการเมาคลื่น และอาการเจ็บป่วยอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในแต่ละวัน และสภาพอากาศที่แตกต่างไปจากที่ดาร์วินคุ้นเคย จากการเดินทางครั้งนี้เขามีโอกาสได้พบเห็นพิช สัตว์สภาพภูมิประเทศที่แปลกตา รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น เมื่อเรือบีเกิ้ลเดินทางไปถึงหมู่เกาะเคปเวิร์ด และจอดที่ท่าเรือเมืองปราเวีย (Pravia)ดาร์วินได้พบกับพืชเขตร้อน ที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น กล้วยหอม ปาล์ม และต้นมะขาม เป็นต้น อีกทั้งเขายังได้เห็นหินสีขาวที่แข็งมาก และจากการวิเคราะห์ดาร์วินสรุปว่าหินสีขาวนี้เกิดจากซากหอย และปะการังจากทะเล ซึ่งต่อมาถูกลาวาไหล ลงมาทับอีกชั้นหนึ่ง ทำให้หินมีความเข็งมากเป็นพิเศษต่อจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ทำให้หินสีขาวดันขึ้นมาอยู่เหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 45 ฟุต
เมื่อดาร์วินกลับบ้านเขาก็ยังหมกหมุ่นอยู่กับการศึกษาแยกหมวดหมู่ ให้กับซากพืช ซากสัตว์ ที่เขาเก็บมา และในปีเดียวกันได้ตีพิมพ์ผลงานของเขาออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า A Naturalist's Voyage Around the World เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพบเห็นมาตลอดระยะเวลา 5 ปี ในการเดินทางสำรวจโลกไปกับเรือบีเกิ้ล
หนังสือเล่มสุดท้ายก่อนที่ดาร์วินจะเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารเวสเตอร์์ ผลงานหนังสือที่ตีพิมพ์ของดาร์วินเป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งทางชีววิทยา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา
 


* Untitled-1กลม.jpg (118.88 KB, 386x480 - ดู 55389 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:27:21 »

โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท

เกิดที่ ซาลสเบร์ก ออสเตรีย 27 มกราคม ค.ศ.1756

ตายที่ เวียนนา ออสเตรีย 5 ธันวาคม ค.ศ. 1791

    โมสาร์ท เป็นนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่ง ที่มีอัจฉริยภาพทางดนตรีมาแต่กำเนิด เมื่อเขายังเล็ก ๆ อยู่นั้น มักจะไปยืนเกาะฮาร์พซิคอร์ด ดูพ่อกำลังสอน Nannerl พี่สาวของเขาให้เล่นคลาเวียร์อยู่ด้วยความตั้งอกตั้งใจ ดูไปดูมาก็อยากจะเล่นได้อย่างพี่สาว ก็เลยเอ่ยปากขอเล่นบ้าง แต่พ่อบอกว่ายังเด็กยังเล็กอยู่จะเล่นเห็นจะยังไม่เหมาะ ขอให้โตกว่านี้อีกหน่อยซิพ่อจะสอนให้
เมื่อโมสาร์ทอายุได้ 4 ขวบ พ่อก็เริ่มฝึกหัดให้เขาเรียนดนตรีอย่างจริงจัง โมสาร์ทสามารถเรียนรู้อะไร ๆ จากพ่อได้อย่างรวดเร็ว หูของเขาสามารถฟังเสียงดนตรีได้อย่างแม่นยำ และบอกเสียงต่าง ๆ ได้ถูกต้อง พ่อเริ่มเห็นความสามารถพิเศษที่สวรรค์ประทานพรมาให้ลูกชายของเขาแล้ว จึงได้ตั้งใจทุ่มเทเวลามาฝึกหัด และวางรากฐานทางดนตรีตลอดจนหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ถูกต้องให้แก่ลูกชายของเขา
โวล์ฟกัง อมาเตอุส โมสาร์ท เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ.1759 (พ.ศ.2295) ที่เมืองซาลสเบอร์ก ออสเตรีย เป็นลูกชายของ เลโอโปลด์ โมสาร์ท นักดนตรีผู้มีชื่อเสียงของออสเตรีย เป็นนักแต่งเพลงและครูสอนดนตรี มีความสามารถทางไวโอลินเป็นเยี่ยม มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าวงดนตรีประจำสำนักของอาร์ชบิชอพ ที่ซาลสเบอร์ก แม่ชื่อ เฟรา อันนา โมสาร์ท เป็นผู้หญิงธรรมดาที่พอใจในงานแม่บ้านแม่เรือน และมีความรักลูก ๆ เหมือนแม่ทั้งหลาย โมสาร์ทมีพี่น้องทั้งหมด 7 คน แต่ตายไปเสีย 5 คน คงเหลือแต่เพียงมาเรีย แอนนา หรือ Nannerl พี่สาวซึ่งมีอายุแก่กว่าเขา 4 ปี และตัวเขาเอง เพียง 2 คนเท่านั้น เด็กน้อยโมสาร์ทเป็นคนที่มีรูปร่างสง่า มีใบหน้าสวย มีริมฝีปากงามละไม จมูกโด่ง มีแววตาอ่อนโยนคล้ายผู้หญิง มีกิริยาละมุนละม่อมสงบเสงี่ยมและเป็นคนช่างคิดช่างฝัน
เมื่ออายุเพียง 5 ขวบเท่านั้น โมสาร์ทก็มีความสามารถในการแต่งเพลงได้แล้ว เพลงแรกที่เขาแต่งนั้นคือการแต่งเติมเพลง minuet ของพ่อที่ได้แต่งค้างไว้ยังไม่เสร็จ ความไพเราะของเพลงตอนที่โมสาร์ทแต่งเติมนั้นไพเราะยิ่งนัก ทำความประหลาดใจแก่ผู้ได้ฟังเป็นอย่างมาก เมื่ออายุ 6 ปี ในวันเกิดนั้น โมสาร์ทได้รับไวโอลินเล็กๆ อันหนึ่ง เป็นของขวัญ จึงได้เริ่มเอาใจใส่กับเครื่องดนตรีชิ้นนี้ และขอร้องให้พ่อสอนให้ แต่พ่อไม่เอาใจใส่บอกว่าเพียงแต่การเล่นคลาเวียร์ และการแต่งเพลงก็นับว่ามากพออยู่แล้ว แต่โมสาร์ทก็ไม่ยอมแพ้ จึงได้ยายามฝึกฝนด้วยตนเอง
ต่อมาไม่นานนัก โมสาร์ทก็แสดงความสามารถทางไวโอลินให้ปรากฏในวันหนึ่ง ขณะที่มีการเล่นดนตรีกันที่บ้าน มีนักดนตรีมาร่วมเล่นกับพ่อของเขา โมสาร์ทขอร่วมวงด้วยพ่อไม่อนุญาต แต่ทนความรบเร้าของลูกชายไม่ไหวก็เลยอนุญาตให้เล่นด้วย แต่ให้เล่นเพียงเบา ๆ เมื่อเพลงทริโอเริ่มเล่นไปได้สักครู่ ทุกคนก็ต้องประหลาดใจเพราะโมสาร์ทสามารถเล่นได้อย่างมหัศจรรย์ ทุกคนพากันหยุดเล่น ได้แต่มองดูตากันไปมา และปล่อยให้โมสาร์ทเล่นไปคนเดียวจนจบเพลง จากความสามารถของโมสาร์ทครั้งนี้ ทำความทึ่งให้แก่พ่อของเขาไม่น้อย การศึกษาทางไวโอลินของโมสาร์ทจึงดำเนินไปอย่างจริงจังและพ่อก็ทำการซ้อมเล่น ไวโอลินให้เขาพร้อมกับ Nannerl พี่สาวเกือบทุกวัน พ่อของโมสาร์ทได้ตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่าจะปั้นให้ลูกชายเป็นนักไวโอลินเอก ของโลกให้ได้
โมสาร์ท นอกจากจะมีความสามารถในการเล่นไวโอลินแล้วยังสามารถในการเล่นดนตรีชนิดอื่น อีก เช่น ออร์แกน คลาเวียร์ เพลงที่เขาแต่งก็ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของวิชาดนตรีทุกประการ เมื่อพ่อได้ประจักษ์ในความสามารถของลูกชายแล้ว จึงพาโมสาร์ทพร้อมด้วยมาเรีย แอนนาออกเดินทางไปแสดงดนตรีในที่ต่าง ๆ หลายแห่งทั่วยุโรป ปรากฎว่าได้รับความสำเร็จอย่างงดงามทุกแห่ง ผู้ฟังชื่นชมในอัจฉริยภาพของโมสาร์ทน้อยอยู่ทั่วกัน ชื่อเสียงของโมสาร์ทจึงรุ่งโรจน์มาตั้งแต่เยาย์วัย เขาได้รับความยกย่องนับถือจากวงสังคมทุกแต่ง ตั้งแต่ประชาชนเดินถนนจนถึงราชสำนัก โมสาร์ทได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากราชสำนักทุกแห่ง เช่น ออสเตรีย เยอรมันนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ การเดินทางไปแสดงดนตรีครั้งนี้พ่อของโมสาร์ทต้องการให้ลูกสาวและลูกชายได้มี โอกาสแสดงฝีมือทางดนตรีและเป็นการท่องเที่ยวไปด้วย
สถานที่แห่งแรกของการเดินทางในครั้งนี้ก็คือ เมืองมิวนิคที่นั้นโมสาร์ทและพี่สาวได้เล่นดนตรีถวายเจ้าชายแห่งบาวาเรีย และพระเจ้าโยเซฟที่ 3 จากนั้นก็เดินทางไปเล่นดนตรีถวาย พระนางมาเรีย เทเรซา ที่กรุงเวียนนา ออสเตรีย ซึ่งเป็นราชินีที่ยิ่งใหญ่พระหนึ่ง โมสาร์ทได้รับการจุมพิตจากสมเด็จพระราชินีพระองค์นี้ที่ได้ประทานให้แก่เขาด้วยความเอ็นดู
แต่เหตุการณ์สำคัญที่โมสาร์จะลืมไม่ได้ก็คือ ระยะเวลาที่อยู่แสดงดนตรีในกรุงเวียนนานั้น โมสาร์ทได้มีโอกาสคลุกคลีอยู่กับบรรดาพระราชโอรส และพระราชธิดาของพระนางมาเรีย เทเรซา ในขณะนั้นมาสาร์ทอายุ 6 ขวบ พระราชธิดาพระองค์หนึ่งของพระนางมาเรีย เทเรซาได้ให้ความสนิทสนมต่อเขาอย่างมาก เคยกอดรัดโมสาร์ท เคยปลอบประโลมให้เขาหายเศร้า เป็นเพื่อนที่ดีของเขาในยามทุกข์ยากและยามสุข วึ่งจะเห็นได้ว่า ครั้งหนึ่งโมสาร์ทเข้าเฝ้าพระนางมาเรีย เทเรซา ซึ่งมีพระราชโอรสและพระราชธิดาอยู่พร้อม โมสาร์ทได้สะดุดดาบที่แขวน ขณะที่แต่งเครื่องแบบเต็มยศเข้าเฝ้าเพราะความไม่คุ้นเคย พระราชธิดาพระองค์นั้น ยังเข้าไปจูบปลอบเขาซึ่งกำลังร้องได้อยู่ให้คายได้ ซึ่งโมสาร์ทเองก็รู้สึกซาบซึ้งในมิตรภาพของพระราชธิดามาก จึงกล่าวตามประสาเด็ก ๆ ออกมาว่าเขาขอสัญญาว่าเมื่อเขาโตเป็นหนุ่มเขาจะขอแต่งงานกับพระนาง แต่โมสาร์ทในขณะนั้นคงไม่รู้หรอกว่า ขณะนั้นเขากำลังเผชิญหน้าอยู่กับพระราชินีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่งในเวลาต่อมา เพราะพระราชธิดาพระองค์นั้น ต่อมาก็คือพระนางมารี อังตัวเนตต์ มเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสนั่นเอง
การได้รับการจุมพิตจากพระนางมาเรีย เทเรซา และการโอบกอดจากพระราชธิดา ควรนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ดีและรุ่งโรจน์สำหรับโมสาร์ทอย่างยิ่ง แต่อนิจจา สวรรค์หาได้โอบอุ้มชีวิตของเขาตลอดไปไม่ สวรรค์ช่างใจร้ายเหลือเกิน พรที่สวรรค์ประทานแก่โมสาร์ทในทางดนตรีเกือบจะไม่มีความหมายต่อเขาเลยแม้แต่น้อย ทั้งนี้เพราะสวรรค์มิได้ประสาทพรในด้านความรักให้แก่เขาเลย ดังนั้นแม้ว่าโมสาร์ทจะเป็นคนรูปหล่อน่ารัก เฉลียวฉลาด และมีอัจฉริยะในทางดนตรีก็ตาม แต่ในด้านความรักแล้วเขาค่อนข้างจะอาภัพอยู่สักหน่อย ซึ่งเราจะได้ดูกันต่อไป
   สำหรับงานทางดนตรี ในระหว่างที่โมสาร์ทยังเป็นเด็กนั้นเป็นงานที่มีผลทำให้ชื่อเสียงของเขาขจรขจายไปทั่วยุโรป จักรพรรดิ์ฟรังซิส ถึงกับทรงเรียกเขาว่า “ผู้วิเศษน้อย” เมื่ออายุ 7 ขวบ เขาแต่งเพลงไวโอลินโซนาตาเสร็จเป็นเพลงแรก อีกปีหนึ่งต่อมาเมื่ออายุ 8 ขวบ ก็แต่งซิมโฟนีได้สำเร็จ
ในการเดินทางไปแสดงดนตรีที่อิตาลีนั้น โมสาร์ท ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิก สมาคมชื่อ Philharmonic Society ในเมือง Bologna แต่ยังคงไม่ได้รับเกียรติเท่าที่ควร เนื่องจากโมสาร์ทยังเป็นเด็กอยู่ สันตปาปาก็ชื่นชมในความสามารถของเขาถึงกับแต่งตั้งให้เขาเป็น Cavalier และเป็น King of the Golden Cross ด้วย ซึ่งเป็นยศอัศวิน การให้เกียรติแก่นักดนตรีอย่างนี้ เคยให้แก่คริสโตฟ วิลลิบาลด์ กลุ๊ค มาแล้วเมื่อ 14 ปีก่อนหน้านี้
อิตาลี ในสายตาของโมสาร์ท เป็นนครที่เขารักมากที่สุดในชีวิต กล่าวได้ว่าโมสาร์ทหลงใหลใฝ่ฝันต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของอิตาลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปรากรของอิตาลี แม้กระทั่งชื่อโมสาร์ทก็พยายามเปลี่ยนให้เหมือนชาวอิตาเลียน โดยได้เปลี่ยนชื่อกลางซึ่งเดิมชื่อ Gottlieb แปลว่า ผู้เป็นที่รักของพระเจ้า มาเป็น Amadeus ซึ่งแปลว่าผู้เป็นที่รักของพระเจ้าเช่นเดียวกัน ตอนนั้นโมสามาร์ทหายใจเข้าออกเป็นอิตาลีไปหมด จนมีผู้กล่าวว่าโมสามาร์ทถูกมนต์ขลังของอิตาลีครอบงำจิตใจเสียแล้ว
อนาคตอันบรรเจิดจ้า เปล่งแสงงามระยับรอคอยโมสาร์ทอยู่ตลอดมานั้น ดูเหมือนจะดับวูบลงโดยกระทันหัน เพราะหลังจากที่โมสาร์ทและพ่อกลับมาซาลสเบอร์กแล้ว ก็ได้เข้าไปเล่นไวโอลินอยู่ในวง Orchestra ของ อาร์ชบิชอบ ซึ่งมีน้ำใจกว้างขวาง โอบอ้อมอารี แต่แล้วอาร์ชบิชอบ ผู้อารีก็สิ้นชีวิตลง
ขณะที่ อาร์ชบิชอบ ไฮโรนีมุส ผู้อารียังมีชีวิตอยู่นั้น ได้สนับสนุนให้โมสาร์ทกับพ่อได้เดินทางไปเล่นไวโอลินในที่ต่าง ๆ เป็นประจำ ซึ่งทำให้สองพ่อลูกได้มีโอกาสสร้างชื่อเสียงและมีรายได้ไม่ขาดระยะ เมื่อ ไฮโรนีมุสHeironymus ตายไป Colloredo ได้ดำรงตำแหน่งแทน โมสาร์ทและพ่อถูกห้ามไม่ให้เดินทางไปเล่นไวโอลิน โดยคำสั่งของท่านอาร์ชบิชอบคนใหม่ ดังนั้น โมสาร์ทจึงจำต้องลาออกจากวงดนตรีของอาร์ชบิชอบ
เมื่อขาดผู้ส่งเสริมให้เดินทางไปเล่นดนตรีในสถานที่ต่าง ๆ เช่นนั้น โมสาร์ทก็รู้สึกอึดอัดใจ เพราะนั่นหมายถึงว่าครอบครัวของเขาจะต้องทรุดหนักในด้านการเงิน ดังนั้น เขาจึงตั้งใจเดินทางไปต่างประเทศเผื่อว่าจะประสบโชคเข้าบ้าง เขาเดินทางออกจากซารค์ลสเบอร์กไปพร้อมกับแม่ด้วยความอาลัยรักของผู้เป็นพ่อ เพราะตั้งแต่เด็กมาจนกระทั่งเป็นหนุ่ม โมสาร์ทไม่เคยแยกจากพ่อเลย เห็นพ่อที่ไหนจะเห็นโมสาร์ทที่นั่น หรือเห็นมาสาร์ทที่ไหนก็จะต้องเห็นพ่อของเขาที่นั่น ทั้งสองเป็นประหนึ่งบุคคลคนเดียวกัน ดังนั้นเมื่อต้องมาแยกจากกันเป็นครั้งแรกเช่นนี้ ความรักความอาลัยของผู้เป็นพ่อย่อมจะต้องมีเป็นธรรมดา พ่อของโมสาร์ทยืนน้ำตาคลอหน่วยโบกมือให้แก่โมสาร์ท ผู้ซึ่งกำลังจะเดินทางไปหาความมั่นคงมาให้แก่ครอบครัว พ่อของโมสาร์ทนั้น ถึงแม้จะเศร้าใจเพียงใดก็ต้องตัดใจปล่อยให้ลูกไป โดยกำชัยผู้เป็นแม่ให้คอยควบคุมดูแลลูกให้ดี นี่จะเห็นได้ว่า โมสาร์ท่ถึงแม้ในขณะนั้นจะเป็นหนุ่มแล้ว แต่ก็ยังเป็นเด็กในสายตาของพ่อแม่เสมอ
การเดินทางของโมสาร์ท พร้อมกับแม่ครั้งนี้ ไม่ได้ผลสมปรารถนา เพราะเขาไม่ได้รับการต้อนรับเท่าที่ควร ดังนั้นเงินทองที่นำติดตัวไปด้วยก็ร่อยหรอลงไปทุกวัน แม่ของเขารู้สึกเศร้าใจในโชคชะตาของลูกและครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง
ขณะที่อยู่ใน มันน์ไฮม์ โมสาร์ทพบวง Orchestra ดีที่สุดในยุโรป ณ ที่นี้เองเขาได้แต่งเพลงให้แก่เจ้าเมืองของมันน์ไฮม์ หลายเพลงด้วยกัน โดยหวังว่าคงได้รับตำแหน่งอยู่ในราชสำนักบ้าง แต่ว่าสิ่งที่โมสาร์ทได้รับนั้น มันไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่อะไรที่ไหน มันเป็ฯเพียงคำเยินยอหลอกใช้เท่านั้นเอง ณ ที่มันน์ไฮม์นี่เองโมสาร์ทเริ่มสนใจเปียโน ซึ่งเขาชอบมากกว่าฮาร์พซิคอร์ด และคลาวิคอร์ด โมสาร์ทเล่นได้ดีมากทีเดียว ทำความพิศวงแก่ผู้ที่ได้ฟังทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง
นิยายรักของดมสาร์ทได้เริ่มขึ้นที่ มันน์ไฮน์นี้เช่นกัน โดยที่โมสาร์ทได้ตกหลุมรักของหญิงสาวคนหนึ่ง ชื่อ อลอยเซีย เวเบอร์ แม่ของโมสาร์ทรีบรายงานพฤติการณ์ณ์ของลูกชายไปให้ผู้เป็นพ่อทราบทันที พ่อของโมสาร์ทรู้สึกตกใจมาก เขียดจดหมายสั่งให้โมสาร์ทรีบไปหางานทำในปารีสทันที
เมื่อกลับมายังปารีสอีกครั้ง ปรากฎว่าขุนนางและชาวฝรั่งเศสซึ่งครั้งหนึ่งเคยให้การต้อนรับเขาอย่างเกรียวกราว เคยเข้าไปรุมล้อมจูบโมสาร์ททั้งหน้าหลัง เมื่อครั้งเขาไปเล่นไวโอลินในขณะที่ยังเป็นเด็ก แต่การกลับมาคราวนี้ โมสาร์ทต้องประสบความผิดหวังอย่างมาก ซึ่งเพิ่มความช้ำใจให้แก่เขาอีก หลังจากต้องพรากจาก อลอยเซียมาแล้ว ทั้งนี้เพราะโมสาร์ทไม่ได้รับนิยมเสียแล้ว ชีวิตของเขาต้อนนี้ดูเหมือนจะถูก “ผีซ้ำด้ำพลาย” เป็นการใหญ่ เพราะในขณะที่อยู่ในนครปารีสนั้นเอง แม่ของเขาก็สิ้นชีวิตลงโดยกระทันหัน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1778 ก่อให้เกิดความเศร้าสลดแก่โมสาร์ทเป็นอย่างมาก
ดังนั้นโมสาร์ทจึงกลับไปซาร์ลสเบอร์ก และได้เข้าร่วมอยู่ในวงดนตรีของอาร์ชบิชอบ โคลโลเรโดอีก โคลโลเรโดได้นำวงดนตรีเดินทางไปแสดงที่กรุงเวียนนา ในฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ.1781 การเดินทางไปครั้งนี้เป็นที่พอใจของโมสาร์ทมาก เพราะเขาจะได้ไปยังเมืองที่เขารักมากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อ โคลโลเรโด สั่งให้วงดนตรีย้ายไปเล่นที่อื่น โมสาร์ทรู้สึกไม่พอใจจึงลาออก
โมสาร์ท ได้แต่งงานกับ คอนสตันซ์ เวเบอร์ น้องสาวของอลอยเซีย เวเบอร์ ซึ่งเขาเคยรักมาก่อนนั่นเอง โมสาร์ทได้นำเอาชื่อของเมียไปตั้งเป็นชื่อของนางเอกในอุปรากรที่เขาเขียน ขึ้นชื่อ The Escape from Seraglio โมสาร์ทได้นำอุปรากรเรื่องนี้ไปแสดงที่กรุงเวียนนา แต่ก็ไม่ได้ผล คนดูเดินออกก่อนอุปรากรเลิกทุกรอบ แต่อย่างไรก็ตามจากอุปรากรเรื่องนี้ จักรพรรดิ์โจเซป ได้รับโมสาร์ทไว้ในวงดนตรีของพระองค์ เพราะพระองค์ชอบอุปรากรของโมสาร์ทมาก ถึงกับออกปากชมเชยอยู่เรื่อย ๆ ถึงแม้วาจักรพรรดิ์โจเซฟจะทรงอุปถัมภ์โมสาร์ทด้วยความพอพระทัยในฝีมือเขียน อุปรากรของเขาก็ตาม แต่พระองค์ให้เงินค่าตอบแทนต่อนักแต่งเพลงผู้นี้น้อยเหลือเกิน จนกระทั่งโมสาร์ทกล่าวกับตนเองอยู่เสมอว่า เขาพยายามสร้างสรรค์ทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อคนอื่นจนสุดความสามารถของตน แต่ผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่ากันเลย
งานในด้านแต่งเพลงของโมสาร์ทเด่นขึ้น เมื่อเขาได้มีโอกาสรู้จักกับไฮเดิน นักคนตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งเวียนนาและได้เป็นผู้สอนการเขียนเพลง ควอเตท ให้แก่โมสาร์ท จากนั้นโมสาร์ทได้แต่งเพลง String quartets ขึ้นหลายเพลง ซึ่งไพเราะมาก เขาได้อุทิศ quartet ตลอดจนให้กำลังใจแก่เขา ความจริงไฮเดินก็ได้บางสิ่งบางอย่างไปจากโมสาร์ทเหมือนกัน ไฮเดินมีความชื่นชมในการเล่นเปียโนของโมสาร์ทมาก ไฮเดินเคยกล่าวกับพ่อของโมสาร์ทเมื่อครั้งที่เลโอโปลด์ไปเยี่ยมลูกชายที่ เวียนนา “ผมขอประกาศต่อท่านด้วยเกียรติยศว่า ลูกชายของท่านเป็นนักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมา” (I declare to you upon my honor that I consider you son the greatest composer that I have heard)
ในเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวของเขา หลังจากการแต่งงานได้ 9 ปี โมสาร์ทได้รับความสุขบ้างพอสมควร เขา มีลูกกับคอนสตันซ์ เวเบอร์ ทั้งหมดด้วยกัน 6 คน หลังจากนั้นการดำรงชีพชักฝืดเคืองเพราะมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น รายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย เมียเป็นคนใช้เงินเก่ง ทั้งการบ้านการเรือนไม่ค่อยเอาใจใส่เท่าที่ควร ครอบครัวของโมสาร์ทจึงประสบมรสุมทางการเงินอย่างหนัก ต้องกู้หนี้ยืมสินมาประทังชีวิตในครอบครัว และตัวโมสาร์ทเองก็ต้องทำงานอย่างหนัก
งานของโมสาร์ทีมากกว่า 200 ชิ้น นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแต่งเพลงชั้นยอดเยี่ยมผู้หนึ่ง เริ่มตั้งแต่เพลง String quartets ที่เด่นที่สุด 10 เพลง, Piano quartets 2 เพลง, Piano quintets อีก 2 เพลง, Piano concertos 30 กว่าเพลง, Violin concertos 7 เพลง, Flute concertos 3 เพลง, อุปรากร 22 เรื่อง, ซิมโฟนีเขียนไว้ 41 เพลง นอกจากนั้นยังมีอื่น ๆ อีกมาก
งานด้านอุปรากรนั้น ในปี ค.ศ.1786 โมสาร์ทได้ร่วมมือกับ ลอเรนโซ ดา พอนเต้ ซึ่งเป้นผู้เชียวชาญประจำโรงละครหลวงในกรุงเวียนนา เขียน ‘Marriage of Figaro’ ขึ้น อุปรากรเรื่องนี้เมื่อแสดงครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จดังหวัง แต่ต่อมามีคนนำไปแสดงที่กรุงปร๊าค นครหลวงของโบเฮเมีย (เชคโกสโลวาเกีย) ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม ค.ศ.1787 เขียนอุปรากรเรื่อง ดอน โจวันนี สำเร็จ ซิมโฟนีรุ่นสุดท้ายมี 3 เพลง ซึ่งเป็นซิมโฟนีอันยิ่งใหญ่ของโมสาร์ทสำเร็จลงภายในระหว่างฤดูร้อนของปี ค.ศ.1788 ได้แก่เพลงซิมโดนีนัมเบอร์ 39 E Flat Major, นับเบอร์ 40 G Minor, นับเบอร์ 41 C Major (‘Jupiter’) ซึ่งมีความเด่นเป็นเอกกว่าซิมโฟนีทั้งหลายของโมสาร์ท สำหรับนับเบอร์ 41 ที่ชื่อ Jupier นี้ไม่ทราบว่าใครเป็นคนตั้ง เพราะโมสาร์ทไม่ได้เป็นคนตั้ง อุปรากรที่ร่วมกับลอเรนโซ ดา พอนเต้ เมื่อปี ค.ศ.1790 อันหลังสุดได้แก่ Cosi Fan Tutte
โมสาร์ทได้เขียนเพลงมากมาย ยิ่งเขียนมากขึ้นเท่าไหร่แนวการเขียนก็ยิ่งแปลกขึ้นเท่านั้น และไม่ค่อยจะซ้ำแบบเดิม ซึ่งเป็นการยากที่นักแต่งเพลงอื่น ๆ จะทำได้ อุปรากรเรื่องสุดท้ายในชีวิตของโมสาร์ท คือ The Magic Flute ซึ่งเขียนขึ้นขณะที่กำลังป่วยและอยู่ในภาวะเศร้าโศก เพราะมีเรื่องคับแค้นในเรื่องครอบครัว แต่ถึงอย่างนั้นก็ปรากฏว่าท่วงทีทำนองและลีลาของเพลงเต็มไปด้วยชีวิตและ ร่าเริงแจ่มใส เพลงนี้เขียนขึ้นในปี ค.ศ.1791
โมสาร์ทได้พยายามแต่งเพลง Requiem (เพลงเกี่ยวกับงานศพ) ให้แก่เคาน์ท์ลัวเซกก์ เพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่ภรรยาที่ตายไปแล้ว โมสาร์ทแต่งไปได้ไม่มากนักก็เสียชีวิตเสียก่อน ตกลงก็เป็นอันว่าเพลง Requiem นี้แต่งขึ้นเพื่องานศพของตนเอง เพราะต่อมาวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.1791 โมสาร์ทก็จากโลกไปด้วยโรคไข้ไทฟลอย์ที่เวียนนา เขาตายขณะที่กำลังยากจนแสนเข็ญ และมีหนี้สินรุงรัง ภรรยาไม่มีเงินจะทำศพให้สามี เอเฟน ฟาน สวีเดน ผู้ใจบุญได้ช่วยจัดการในพิธีฝังศพให้


ขณะที่โมสาร์ทตายนั้น เขาอายุเพียง 35 ปีเท่านั้น เขาตายอย่างน่าอนาถ เพราะเขาต้องเผชิญกับความหิว ความหนาวและเข็ญใจ ไร้ญาติขาดมิตร ขณะที่นำศพไปฝังในตอนบ่ายวันที่เขาตายนั้น มีพายุฝนอย่างรุนแรง หิมะและลูกเห็บตกลงมาอย่างหนัก ทำให้คนเดินติดตามไปฝังศพต้องยอมแพ้ไม่ยอมตามไป ภรรยาของเขาก็ไม่ได้ตามไปด้วยเพราะกำลังป่วยอยู่ ฉะนั้น จึงไม่มีญาติมิตรคนใดไปดูการฝังศพของเขา คงปล่อยให้สัปเหร่อ 2-3 คน จัดการไปตามลำพัง ณ ป่าช้าสำหรับคนอนาถาที่ เซนต์ มารุกซ ในกรุงเวียนนา โดยไม่ได้ทำเครื่องหมายอันใดไว้เลย เพราะทำกันอย่างรีบ ๆ จึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่ง พอมีการระลึกถึงคุณค่าทางดนตรีของเขาขึ้นมา ต้องการที่จะคาราวะศพ และจะจัดสร้างอนุสาวรีย์ให้แก่เขา ก็ไม่สามารถจะค้นหาหลุมฝังศพของเขาพบ นี่แหละคือชีวิตของ โวล์ฟ กัง อมาเดอุส โมสาร์ท นักดนตรีชื่อก้องโลกผู้อาภัพที่สุด


* Untitled-1กลม.jpg (16.67 KB, 200x240 - ดู 56022 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:32:32 »

ชื่อ ดร.เออร์เนสโต ราฟาเอล เกวารา เดอ ลาเซอร์นา(Dr. Ernesto Rafael Guevara de la same)รู้จักในชื่อ เช เกวารา (Che Guevara) เชื้อชาติ : อาร์เจนตินา ช่วงชีวิต:พ.ศ. 2471 - 2508 ผลงานที่สำคัญ : รัฐมนตรีในรัฐบาลประธานาธิบดีฟิเดล คาสโตร ผู้อยู่เบื้องหลัง การปฏิวัติยึดอำนาจล้มล้างรัฐบาลประธานาธิบดีบาติสตา จนประสบความสำเร็จ แต่ท้ายที่สุดก็ถูกยิงสนเสียชีวิต


* Untitled-1กลม.jpg (8.04 KB, 180x243 - ดู 62850 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:34:02 »

คนต่อไปเป็นคู่อริกับเช ชื่อ ฟิเดล คาสโตร (Fidel Castro เชื่อชาติ คิวบา ช่วงชีวิตพ.ศ.2469 - ปัจจุบัน ผลงานสำคัญ ประธานาธิบดีของคิวบาผู้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากประธานาธิบดีบาติสตาและพรรคพวก ซึ่งเขาเห็นว่า พวกนี้เป็นทรราชที่กดขี่ข่มเหงประชาชนชาวคิวบา


* Untitled-1กลม.jpg (28.51 KB, 242x350 - ดู 54486 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2010, 00:36:29 »

ชื่อ โรแนลด์ เรแกน (Ronald Reagan) เชื้อชาติ อเมริกัน ช่วงชีวิต พ.ศ.2454 - ปัจจุบัน ผลงานที่สำคัญ ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาผู้เน้นหนักในการสนับสนุน งบประมาณการสร้างอาวุธ โดยเฉพาะโครงการอาวุธทางอากาศหรือสตาร์วอร์


* Untitled-1กลม.jpg (13.53 KB, 248x315 - ดู 56415 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
หน้า: [1] 2 3 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!