ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ป่าช้าเป็นสถานที่ ที่จะอยู่ห่างจากตัวหมู่บ้านนิดหน่อย ถ้าพูดตามหลักก็คือ วัดส่วนมากจะอยู่ใจกลางของหมู่บ้านครับ ส่วนการฌาปนกิจศพของชาวล้านนานิยมเผาบนกองฟอน ซึ่งจะไม่เผาในเตาเผาเหมือนสมัยปัจจุบัน และการเผาบนกองฟอนซึ่งมีทั้งโลงศพและปราสาทศพ รวมไปถึงการจุดพลุ และบั้งไฟต่างๆ ส่งผลให้เกิดเปลวไฟและประกายไฟมากมาย ลองคิดดูว่าถ้าเผาในวัดซึ่งอยู่กลางหมู่บ้าน มันอาจจะเกิดอันตรายจากอัคคีภัยได้ อีกทั้งกลิ่นจากการเผาศพอีก ดังนั้นผมคิดว่าเหตุผลนี้แหละที่วัด และป่าช้าจึงแยกกัน ปล.ส่วนเหตุผลของคนโบราณเค้าจะมีเหตุผลแบบสอดแทรกข้อคิดต่างๆไว้อีกอย่างนึงครับ...
เคยพาเพื่อนจากดอยแม่สลองไปเที่ยวสงขลาครับท่าน NumKan เขาก็สงสัยว่า "ทำไมที่เผาศพ" อยู่ในวัด แต่เขาก็ว่า ก็ดีนะพระสวดเสร็จยกศพเข้าเมรเผาเลย สะดวกดี

....สองความเห็นนี้ ได้อธิบายได้ชัดเจนดี..
ทางเหนือ ได้ทำที่เผาศพไว้นอกชุมชน เผาแบบโล่งๆ บนจิตตกาธาน มีปราสาทประกอบโลง
ทำกันมาจนเป็นประเพณี และสถานที่นั้นก็กลายเป็นที่สาธารณะสำหรับการเผาศพเท่านั้น
จนกลายมาเป็นประเพณี คนตาย ตั้งศพที่บ้าน หรือที่วัด ตามความสะดวก แล้วก็แห่มาจัดการ
กันที่ป่าเฮี้ยว(สุสานประจำชุมชน..)
ทางภาคอื่น มีวัด มีเมรุ ฌาปนสถาน ไว้พร้อมกันมาตั้งแต่นานกาล
สร้างวัด ก็ต้องมีเมรุ ไว้บริการแก่ชาวบ้านในชุมชนนั้นสำหรับเรื่องการ ตาย
จะเห็นมีการนำกระดูกบรรพบุรุษ ไปบรรจุเก็บไว้ตามกำแพงรั้ววัดด้วย..
ก็เป็นประเพณีที่ปรับไปตามลักษณะความเป็นอยู่
.....คนอีกที่หนึ่ง ได้ไปดูงานอีกที่หนึ่ง ได้รู้ ได้เห็น ได้ศึกษา
และนำมาถ่ายทอด สู่คนอีกรุ่นหนึ่ง..
..ความอยากรู้ อยากทราบที่เจ้าของกระทู้ต้องการ ได้รับการบอกเล่า
ก็คงได้ทราบ และนำไปบอกเล่าต่อ สู่รุ่นลูกหลานต่อไป...ดีครับกระทู้นี้