เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 17:31:59
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ข้อถกเถียงที่ไม่มีวันสิ้นสุด..!!! ระหว่าง {พ่อขุน}{พญา}มัง(เม็ง)ราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ข้อถกเถียงที่ไม่มีวันสิ้นสุด..!!! ระหว่าง {พ่อขุน}{พญา}มัง(เม็ง)ราย  (อ่าน 2874 ครั้ง)
Singhakara
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 03 มิถุนายน 2011, 19:55:52 »

เจิญหื้อความคิดเห็นได้เลยครับ อาจจะเป็นประโยชน์ในอนาตคภายหน้า
IP : บันทึกการเข้า
nansom
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 461



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 04 มิถุนายน 2011, 21:01:48 »

พญามังฮาย (ผะ-ญา-มัง-ฮาย) ของเมืองเจียงฮาย ต่างหาก
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 05 มิถุนายน 2011, 08:14:55 »

พรญา
IP : บันทึกการเข้า
natta2533
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 199


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 05 มิถุนายน 2011, 09:56:13 »

ส่วนตั๋วยังคุ้นกับกำว่าพ่อขุนนะคับ  แต่เต้าตี้ฮู้ๆมาพญาถูกต้องแน่นอนคับ ล้านนาบ่เก่าบ่หันมีเขียนว่าพ่อขุนนะคับขนาดพ่อขุนรามบ้านเฮายังฮ้องพญาร่วงเลย  แต่กันจะมาเถียงกันแถมว่ากำว่าพญาจะเขียนอย่างไดนี้ก่ถ้าจะยาวละคับ  แล้วพระนามป้อพญาจะเปนมังเปนเมงกะถ้าจะยาว ยังมีผดมาแถมว่าเปนมังราย กาว่ามังฮาย  อันนี้กะถ้าแถมยาวววววววววววววววว  ถ้าจะจนกว่าเฮาปากันสนไจ๋มาเศิกษาถี่ๆนั้นนะคับถ้าจะจบข้อถกเถียงหมู่นี้ได้
IP : บันทึกการเข้า
ALPHA1
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 55



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 05 มิถุนายน 2011, 12:41:22 »

"จากหลักศิลาจารึกวัดพระยืน จ.ลำพูน(พ.ศ.๑๙๑๓)อันเป็นหลักฐานเก่าแก่ที่สุดเขียนว่า พญามังรายหลวง ,หลักศิลาจารึกลำดับกษัตริย์ราชวงศ์มังราย(พ.ศ.๑๙๕๘)เขียนว่า มังรายและหลักศิลาจารึกวัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่(พ.ศ.๒๑๒๕)เขียนว่า พญามังรายเจ้า พ่อขุนเป็นตำแหน่งกษัตริย์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัยปรากฏใช้ในยุคต้นสุโขทัยเช่นพ่อขุนบางกลางหาว,พ่อขุนศรีอินทราทิตย์,พ่อขุนรามคำแหฯลฯส่วนตำแหน่ง ขุน ในล้านนาตามหลักฐานจารึกและตำนานมักหมายถึง เจ้าเมืองแว่นแคว้นขนาดเล็กที่สำคัญคือไม่พบว่ากษัตริย์พระองค์ใด?ในล้านนามีตำแหน่งเป็นพ่อขุน ดังนั้น การเรียกขานพระนาม พญามังราย พระมหากษัตริย์องค์สำคัญที่มีคำว่า มหาราช ต่อท้ายพระนามว่า พ่อขุนเม็งราย จึงไม่ถูกต้อง  คำว่า เม็งราย/มังรายมาจากหนังสือ พงศาวดารโยนก ผู้แต่งคือ พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค)ครั้งแรกได้รับการตีพิมพ์เป็นตอนๆลงหนังสือวชิรญาณ (พ.ศ.๒๔๔๑-๒๔๔๒)ต่อมาได้รวบรวมเป็นเล่มแล้วพิมพ์ครั้งที่๒ เมื่อวันที่ ๙ ธค.พ.ศ.๒๔๕๙ในบทนำ ผู้แต่งหนังสือ เขียนพระนามว่า พระยาเมงราย/เมงราย ส่วนเนื้อหาเขียนเป็น เมงราย ตลอดเล่ม อันเป็นการขัดแย้งกับหลักฐานที่ได้จากการอ่านหลักศิลาจารึกต่างๆที่ได้กล่าวอ้างมาแล้วในเบื้องต้น

 
ที่มาของข้อมูล : "เวทีชำระประวัติศาสตร์เชียงรายภาคประชาชน :พญามังรายไม่ใช่พ่อขุนเม็งราย,เชียงรายสร้างขึ้นเมื่อไหร่กันแน่" ณ ห้องประชุม กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ขอขอบคุณนักวิชาการตลอดจนผู้ดำเนินการเวทีนี้ทุกท่านครับ
IP : บันทึกการเข้า

"คุณภาพคู่คุณธรรม"
ALPHA1
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 55



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 05 มิถุนายน 2011, 14:05:50 »


      "ต้องแก้ไขครับ"
IP : บันทึกการเข้า

"คุณภาพคู่คุณธรรม"
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 05 มิถุนายน 2011, 16:43:43 »

ประชาคมเชียงรายประกาศใช้ ‘พญามังราย’ ไม่ใช่ พ่อขุนเม็งราย วาระครบรอบ ๗๗๑ ปีชาตกาล
 

คนเชียงรายบวงสรวงบูชาพญามังราย เรียกร้องแก้ไขและใช้พระนาม พญามังราย ไม่ใช่ พ่อขุนเม็งราย ก้าวแรกของการขับเคลื่อนเฉลิมฉลองวาระครบรอบ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย และเพื่อการศึกษาฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นล้านนาให้สามารถกำหนดอนาคตท้องถิ่นที่พัฒนาอย่างมีรากฐานทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องต่อไป

เย็นวันที่ ๒๓ ตุลาาคม ๒๕๕๓ ณ อนุเสาวรีย์พญามังราย จังหวัดเชียงราย นักวิชาการท้องถิ่นเชียงรายและภาคเหนือ สถาบันยวนเชียงราย เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา คณะทำงานบูรณาการจังหวัดเชียงราย ภายใต้โครงการสร้างสุขด้วยประวัติศาสตร์ กวีและศิลปินล้านนา ร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงบูชาพญามังรายขึ้น เนื่องในวันประสูติกาลพญามังราย ครบรอบ ๗๗๑ ปีชาตกาล พร้อมชี้แจงข้อมูลทางประวัติศาสตร์พระนามที่ถูกต้องคือ พญามังราย ไม่ใช่ พ่อขุนเม็งราย เรียกร้องให้มีการแก้ไขความเข้าใจที่ผิดพลาดมานาน เพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ถูกต้องในอนาคต เป็นกิจกรรมเบิกโรงการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ ๗๕๐ ปีเมืองเชียงราย

บดินทร์ จันวัน อดีตข้าราชการครูและศึกษานิเทศน์ ปัจจุบันประธานสถาบันยวนเชียงรายที่มีส่วนร่วมในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์เมืองเชียงรายและพญามังราย มหาราชผู้สร้างเมืองเชียงรายกล่าวถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า


“จากการศึกษาเอกสารต่างๆ ของสถาบันยวนกลุ่มเชียงราย เราได้เทียบเคียงวันประสูติของพญามังรายพบว่าใกล้เคียงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม แต่คนส่วนใหญ่กลับละเลยวันนี้ไปให้ความสำคัญกับวันที่ ๒๖ ซึ่งตามพับสาว่าเป็นวันที่สร้างเมืองเชียงราย ซึ่งผมศึกษาเอกสารต่างๆ แล้วยังไม่แน่ชัดว่าเป็นเดือนใด เพราะเอกสารบางฉบับว่าเป็นเดือน ๕ บางฉบับเป็นเดือน ๖
จากจุดนี้เราคิดกันในกลุ่มว่าในวันที่ ๒๓ ตุลาคม เราน่าจะมีการดำเนินการอะไรสักอย่างเพื่อรำลึกถึงพระองค์ เพราะท่านเป็นมหาราชที่สร้างเมืองเชียงราย อีกประเด็นคือเราต้องการชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่พวกเราละเลยกันมานานคือ พระนามของพระองค์ เราใช้คำว่าพ่อขุนเม็งรายมานานจนลืม พญามังรายไปแล้ว พวกเราจึงเห็นว่าน่าจะใช้เงื่อนไขวาระครบรอบ ๗๕๐ ปีเมืองเชียงราย เพื่อให้มีการทบทวนว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องปรับเปลี่ยนพระนามของพระองค์ ซึ่งผมได้ประเด็นจากประวัติศาสตร์มีหลายพระนามของกษัติรย์ที่ตรวจสอบแล้วก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และของเราเอกสารหลักฐานต่างๆ ทั้งจากพับสาต่างๆ ของทางเหนือ ศิลาจารึก รวมถึงงานวิจัย หัวข้อประชุมต่างๆ ของนักวิชาการที่มี คิดว่าเพียงพอกับการที่จะเปลี่ยนพระนามจาก พ่อขุนเม็งรายเป็น ‘พญามังราย’ ได้ ณ วันนี้หลักฐานที่ตรวจสอบได้และเก่าแก่ที่สุดระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นพญามังราย ซึ่งรายละเอียดค่อนข้างจะยาวเราจึงรวบรวมจัดทำเป็นหนังสือเผยแพร่ไว้แล้ว

   ในขั้นต้นเราได้ทำหนังสือพร้อมระบุเอกสารหลักฐานต่างๆ ส่งไปทางจังหวัด ถึงผู้ว่าฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับใดๆ เราจึงคิดกันว่าจากนี้ไปคงต้องมีการขับเคลื่อนและทำหนังสืออีกสักรอบเพราะเราจะทำในเชิงวิชาการด้วย และผมเองก็พยายามเข้าไปผลักดันในที่ประชุมฝ่ายวิชาการที่จัดงาน ๗๕๐ ปีเมืองเชียงราย ซึ่งในที่ประชุมนี้เห็นชอบหมดแล้ว เพียงแต่ยังติดว่าจะทำอย่างไรที่จะผลักดันเรื่องนี้ไปสู่ระดับจังหวัดให้เขาเห็นชอบกับเรา”

สถาบันยวนเชียงรายเป็นกลุ่มการแลกเปลี่ยนรู้เกี่ยวกับเชียงรายศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ของชุมชนของจังหวัดเชียงราย เป็นการเผยแพร่การศึกษาและการเรียนรู้ท้องถิ่นศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งทางความคิดให้กับชุมชนในท้องถิ่น เพราะเชียงรายเราค่อนข้างถูกละเลยในด้านการศึกษา เราขาดเอกสารการเรียนรู้ตลอดจนหนังสือต่างๆ เกี่ยวกับเชียงราย

   ด้าน นายนิวัติ ร้อยแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา ผู้ขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมโดยใช้แนวทางประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรมชี้ถึงเหตุจำเป็นของการทบทวนประวัติศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระนามว่า
“ปัจจุบันเราจะเห็นว่าผู้คนทางเหนือหรือล้านนาโดยเฉพาะคนเชียงราย ตั้งแต่เยาวชนถึงคนเฒ่าคนแก่เรียกพญามังรายว่า พ่อขุนเม็งราย แม้แต่อนุเสาวรีย์ของพระองค์ท่านที่เชียงรายก็ยังใช้คำว่า พ่อขุนเม็งราย ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันมานาน กว่าจะถึงวันนี้ได้ผ่านการศึกษากันมามากพอสมควรจากนักวิชาการท้องถิ่น ผู้ที่สนใจ

ในเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้ค้นคว้ากันว่า แท้จริงแล้วพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้คือ พญามังราย เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่ต้องเปลี่ยน เพราะหลักฐานทุกอย่างเห็นชัด วันนี้จึงถือเป็นวันประกาศเพื่อให้มีการทบทวนเรื่องนี้อย่างจริงจัง และต้องมีการแก้ไขเพื่อให้สอดรับกับการเฉลิมฉลอง ๗๕๐ ปีเมืองเชียงราย เพราะหากยังไม่แก้ไขก็จะทำให้เข้าใจผิดกันต่อไปในการศึกษาประวัติศาสตร์
ผมคาดหวังว่าอย่างน้อยงานวันนี้จะทำให้สาธารณชน ผู้คนเชียงรายและคนทางเหนือเราได้เข้าใจร่วมกันว่า พระนามที่แท้จริงของพระองค์คือ พญามังราย ก้าวต่อไปของการขับเคลื่อนเรื่องนี้จะสัมพันธ์กับการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมวิถีในอดีตของล้านนาเราให้ถูกต้อง เป็นประวัติศาสตร์ที่หนุนเสริมกับภูมิปัญญาในอดีตสู่ปัจจุบัน ไม่ใช่เป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกตัดตอนเป็นช่วงๆ และบางส่วนไม่ถูกต้อง ทำให้คนล้านนาเรา คนทั้งประเทศเข้าใจผิด นี่คือเป้าหมายของเรา เพื่อจะพัฒนาการไปสู่การทำให้ประวัติศาสตร์ถูกต้อง และให้เด็กๆ เยาวชนเข้าใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตนเองที่ถูกต้อง ปัจจุบันเราต้องมีการแก้ไขการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในหลายๆ เรื่อง เพราะเราไม่ได้ร่ำเรียนประวัติศาสตร์ของตัวตนที่แท้จริง มันเป็นประวัติศาสตร์ที่ห่างไกลและไม่ได้ช่วยหนุนเสริมให้เกิดความรัก ความเข้าใจและการพัฒนาที่ยั่งยืนทางด้านภูมิปัญญาวัฒนธรรม”

นายสันติพงษ์ ช้างเผือก นักวิชาการอิสระและหัวหน้าโครงการสร้างสุขด้วยประวัติศาสตร์ในนามคณะทำงานบูรณาการจังหวัดเชียงราย หนึ่งในเครือข่ายที่เข้าร่วมการขับเคลื่อนแก้ไขประวัติศาสตร์ในครั้งนี้กล่าวว่ากิจกรรมนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของคนในท้องถิ่นที่เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ว่าสามารถนำไปใช้ในการกำหนดทิศทางอนาคตของท้องถิ่นตนเองได้ โดยต้องเริ่มต้นจากการเรียนรู้และทำความรู้จักตนเองให้ชัดเจนก่อน

“งานที่พวกเราเครือข่ายในเชียงรายกำลังทำอยู่ขณะนี้โครงการสร้างสุขด้วยประวัติศาสตร์ ซึ่งแกนยึดโยงของโครงการใช้ประวัติศาสตร์สังคมอยู่แล้ว และเรามีการทำงานร่วมกับนักวิชาการในท้องถิ่นก็ได้มานำเสนอกับภาคีที่ทำงานร่วมกันทราบว่า โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีในจารึกที่เก่าที่สุดยืนยันว่าพระนามของมหาราชที่สร้างเมืองเชียงรายคือ พญามังราย เมื่อกลับไปค้นหลักฐานที่ใกล้ที่สุดประมาณ ๕๐ ปีก่อนของ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ อดีตสส.เชียงรายก็เคยเสนอในหนังสือ ‘งานโยนก’ ไว้ว่าควรจะเปลี่ยนพระนามของท่านให้ตรงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ แต่คำถามคือผ่านมา ๕๐ ปีแล้วทำไมจึงไม่มีการขับเคลื่อนใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดขึ้นเลย

   วาระโอกาสนี้ที่มีนักวิชาการและคนท้องถิ่นหลายๆ กลุ่มมาร่วมบวงสรวงครบรอบวันประสูติเราก็จะเริ่มประกาศให้สาธารณชนในเชียงรายและที่อื่นๆ ทราบถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เรื่องนี้ นี่เป็นหมุดหมายแรกของการทำงานเฉลิมฉลอง ๗๕๐ ปีเมืองเชียงราย คือขอให้มีการเปลี่ยนพระนามให้ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จากพ่อขุนเม็งรายเป็นพญามังราย เมื่อมีความถูกต้อง ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่สอดคล้องกับท้องถิ่นก็อาจเปิดที่ทางให้คนจำนวนมากได้พูดคุยเรื่องประวิศาสตร์ท้องถิ่นกันต่อไป ซึ่งเราก็กำลังทำกันอยู่ในหลายพื้นที่ นอกจากเราแล้วยังมีอีกหลายกลุ่มที่กำลังตื่นตัวในเรื่องการนำประวัติศาสตร์มาใช้ เพื่อเรียนรู้ตนเองและกำหนดอนาคตที่จะไปข้างหน้าร่วมกัน”


ที่มา โครงการสื่อชุมชนลุ่มน้ำโขง

รายละเอียดติดต่อ :
รุ่ง ใจมา สถาบันยวนเชียงราย  0897005830
นพรัตน์ ละมุล โครงการสื่อชุมชนลุ่มน้ำโขง  0877171278
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 05 มิถุนายน 2011, 16:48:17 »

หลักฐาน “ปวศ.” ชี้ชัด พญามังราย ไม่ใช่ พ่อขุนเม็งราย
 
เชียงราย: เมื่อวันพุธที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา อันเป็นวันคล้ายวันสถาปนาเมืองเชียงราย  ทางสถาบันยวนเชียงรายจึงร่วมกับศูนย์เชียงรายศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา  มูลนิธิกระจกเงา  โครงการสร้างสุขด้วยประวัติศาสตร์ (วาระครบรอบ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย) คณะทำงานบูรณาการจังหวัดเชียงราย ฯลฯ จัดเวที “ชำระประวัติศาสตร์เชียงรายภาคประชาชน:พญามังรายไม่ใช่พ่อขุนเม็งราย,เชียงรายสร้างขึ้นเมื่อไหร่กันแน่” โดยได้รับความสนใจจากประชาชน นิสิตนักศึกษา และนักวิชาการประวัติศาสตร์ล้านนาเข้าร่วมหลายคน อาทิ อาจารย์ชรินทร์ แจ่มจิตต์  อาจารย์บดินทร์ กินาวงศ์ อาจารย์อุดร  วงษ์ทับทิม  ศ.สรัสวดี  อ๋องสกุล  ณ ห้องประชุมกาสะลองคำ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

กล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย ยังมีข้อถกเถียงกันในหลายประการ โดยเฉพาะพระนามของกษัตริย์ผู้สร้างเมืองเชียงราย  คนส่วนใหญ่รู้จักในนาม พ่อขุนเม็งราย หรือ พญาเม็งราย นั้น  ปัญญาชนและนักวิชาการแวดวงประวัติศาสตร์ล้านนาหลายท่านชี้ว่าพระนามดังกล่าวไม่ถูกต้อง รวมถึงข้อสงสัยที่ว่าเมืองเชียงรายสร้างขึ้นเมื่อใด นักประวัติศาสตร์ล้านนาส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า น่าจะเป็นวันที่ ๒๖ มกราคม ๑๘๐๕

ส่วนประเด็นพระนามของพญามังรายนั้น  ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของล้านนาพบแต่คำว่า “พญามังราย” ไม่มีปรากฏคำว่า พญาเม็งราย หรือ พ่อขุนเม็งราย แต่อย่างใด ยืนยันได้จากหลักศิลาจารึกหลายหลักด้วยกัน อาทิ หลักศิลาจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน พ.ศ.๑๙๑๓ อันเป็นหลักฐานเก่าแก่ที่สุด เขียนว่า” พญามังรายหลวง”  ส่วนหลักศิลาจารึกลำดับกษัตริย์ราชวงศ์มังราย พ.ศ.๑๙๕๔ เขียนว่า “มังราย” และหลักศิลาจารึกวัดเชียงมั่น พ.ศ.๒๑๒๕ เขียนว่า “พญามังรายเจ้า” นอกจากหลักฐานที่พบตามศิลาจารึกข้างต้นแล้วใน “โคลงมังทรารบเชียงใหม่” ที่แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๑๕๘ ตลอดทั้งฉบับก็พบแต่คำว่า “มังราย” เท่านั้น 

อีกทั้งล้านนามีแต่ “ขุน” ไม่มี “พ่อขุน” คำว่าพ่อขุนเป็นตำแหน่งกษัตริย์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ปรากฏใช้ในยุคต้นสุโขทัย เช่น พ่อขุนบางกลางหาว พ่อขุนรามคำแหง ฯลฯ ส่วนตำแหน่งขุนในล้านนาตามหลักฐานจากจารึก และตำนาน มักหมายถึงเจ้าเมืองหรือแว่นแคว้นขนาดเล็ก ที่สำคัญคือไม่พบว่า กษัตริย์ องค์ใดในล้านนา มีตำแหน่งเป็น พ่อขุน การเรียกพญามังรายว่าพ่อขุนเม็งรายจึงไม่ถูกต้อง

ฉะนั้นยืนยันได้ตามหลักฐานต่าง ๆ ข้างต้นว่า พญามังราย ไม่ใช่ พ่อขุนเม็งราย หรือ พญาเม็งรายตามที่เข้าใจกันในปัจจุบันแน่นอน

ส่วนที่มาของคำว่า เม็งราย หรือ เมงราย นั้นมาจากหนังสือ “พงศาวดารโยนก” แต่งโดยพระยาประชากิจกรจักร หรือ แช่ม บุนนาค พ.ศ.๒๕๐๗-๒๔๕๐ ครั้งแรกได้รับการตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ลงหนังสือวชิรญาณ พ.ศ.๒๔๔๑-๒๔๔๒ (ตีพิมพ์ครั้งแรก) ต่อมาได้รวบรวมเป็นเล่มและตีพิมพ์เป็นครั้งที่สองเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๔๙ โดยท่านเขียนพระนามว่า “พระยาเมงราย/เมงราย” ไว้ในบทนำและเนื้อหาเขียนเป็น   “เมงราย” ตลอดเล่ม ซึ่งขัดแย้งกับหลักฐานจากศิลาจารึกตำนานและเอกสารต่าง ๆ ที่พบ

ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล แสดงทัศนถึงประเด็นนี้ว่า “นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถแก้ชื่อคนได้ มันผิดจรรยาบรรณ เราต้องยืนตามหลักฐานที่ปรากฏเท่านั้น ” ทั้งยังพูดทิ้งท้ายว่า “หนังสือ “พงศาวดารโยนก” ผู้เขียนมีการแก้ไขและชำระตามความคิดของตนเอง เวลาอ่านต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ”

โดยก่อนยุติเวทีเสวนาอาจารย์บดินทร์ จันวัน ประธานสถาบันยวนเชียงราย กล่าวแสดงจุดยืนอันแน่วแน่ว่า “เอกสารกว่า ๒๐ ชุดของล้านนากล่าวถึงพระนามของ พญามังราย ว่า มังราย  มีเพียงหน่วยงานราชการเท่านั้นที่ใช้ เม็งราย เรายืนยันจะขับเคลื่อนเรื่องนี้ต่อไป ถ้าไม่สำเร็จในวาระ ๗๕๐ ปี ก็เคลื่อน ๗๕๑ -๗๕๒ ไปเรื่อย” พร้อมเน้นย้ำให้สถาบันอุดมศึกษาของล้านนากล้าที่จะจัดกิจกรรมลักษณะดังกล่าวในโอกาสต่อ ๆ ไปข้างหน้าด้วย

ที่มา http://www.mekonglover.com/news_pop.asp?NewsId=229


* ชำระประวัติศาสตร์เชียงรายภาคประชาชน พญามังรายไม่ใช่พ่อขุนเม็งราย.jpg (65.86 KB, 500x375 - ดู 510 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 05 มิถุนายน 2011, 16:51:03 »

เมื่อวันที่ ๑๐ – ๑๒ กันยายน ๕๓ ที่ผ่านมา คณะทำงานบูรณาการจังหวัดเชียงราย ร่วมกับ ๑๔ ภาคีองค์กรหลักทั้งจาก หน่วยงานราชการ นักวิชาการท้องถิ่น เครือข่ายชาวบ้านและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รวมกว่า ๕๐ คน ร่วมกันถกสร้างสุขด้วยประวัติศาสตร์ได้อย่างไร ในวาระครบรอบ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย และฝึกศักยภาพการทำงานในแนวทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมให้กับคนทำงานในพื้นที่ตำบล อำเภอ และเชิงประเด็น ภายใต้โครงการสร้างสุขด้วยประวัติศาสตร์ (วาระครบรอบ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ สันนาวิวดอยรีสอร์ท ต.แม่คำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

ประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่นเชียงรายมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่ครั้งแว่นแคว้นอาณาจักรดั้งเดิมจนกระทั่งปัจจุบัน มีเอกลักษณ์ภูมิปัญญาในการจัดการตนเอง สะท้อนจากวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละชุมชน แต่ในยุคสมัยใหม่เข้ามาเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวตนหลายอย่าง ทำให้ชนรุ่นหลังหลงลืมองค์ความรู้ที่เคยมีอยู่ในท้องถิ่น และยังมองไม่เห็นถึงความสำคัญของภูมิปัญญาดั้งเดิมว่าจะสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน และมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตได้อย่างไร

นายธวัช มณีผ่อง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า ระบบนิเวศน์ที่เสื่อมโทรมซึ่งได้รับการแก้ไขจากรัฐโดยไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ทำให้ความสุขในการดำรงชีวิตของชุมชนเริ่มหายไป และเพื่อแก้ไขปัญญาการใช้ชีวิตให้มีความสุขโดยใช้วาระ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงรายเป็นตัวกระตุ้นและสนับสนุนให้ผู้คนในชุมชน สังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมสร้างเชียงรายให้เป็นเมืองแห่งสุขภาพ เป็นการสร้างคนสร้างความรู้ เชื่อมโยงผู้คน และร่วมสร้างประวัติศาสตร์ของตนเองขึ้นมา และเป็นการวางรากฐานของชุมชนให้มีความเข้มแข็งโดยยึดการพัฒนาท้องถิ่นเป็นที่ตั้ง เพื่อให้เกิดเป็นพลังการเรียนรู้ พลังทางสังคม พลังท้องถิ่น ที่สามารถพัฒนาความสามารถของท้องถิ่นให้เข้มแข็งด้วยตนเองมากที่สุด

นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว จากเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง – ล้านนา กล่าวว่า ในการศึกษาประวัติศาสตร์นั้นจะครอบคลุมไปทุกๆ รื่องตั้งแต่เรื่อง การก่อตั้งชุมชน ภูมิปัญญา ทรัพยากร ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ความสำพันธ์ของคนกับคน ความสัมพันธ์ของคนกับธรรมชาติ และการจัดการของชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตจึงทำให้เกิดความสุข เมื่อเปรียบเทียบความสุขในการดำรงชีวิตของคนรุ่นก่อนๆ นั้นคนแต่ก่อนมีการความสุขกับการใช้วิถีชีวิต แล้วทำไมทุกวันนี้ความสุขจึงได้เริ่มหายไป จึงต้องมีการเก็บรวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ยังคงเหลืออยู่ เพื่อทำให้เกิดความสุขในการดำรงชีวิตของผู้คนในชุมชนแบบยั่งยืน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน เพื่อนำองค์ความรู้ ความเชื่อ ในการจัดการชุมชนแบบดั้งเดิมของแต่ละบ้านให้สามารถนำออกมาใช้และสามารถก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจ เพื่อให้คนในท้องถิ่นมองเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ของตัวเองที่สามารถจัดการตนเองได้ ในการจะทำให้คนอื่นมองเห็นความสำคัญนั้นจำเป็นต้องใช้เรื่องของประวัติศาสตร์เข้ามามีส่วนร่วม โดยเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของตัวตน เพื่อรักษาตัวตน และต่อรองกับสิ่งเร้าภายนอก

นายคำ ชาวบ้านสันนากล่าวว่า ทุกวันนี้มีความเจริญในเรื่องของวัตถุ เทคโนโลยี ที่เข้ามามีบทบาทกับวิถีชีวิตของเยาวชนเป็นอย่างมาก ทำให้เยาวชนรุ่นหลังไม่สนใจเรื่องขององค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น และหลงลืมความเป็นตนเองไป คนเฒ่าคนแก่จึงต้องเป็นแบบอย่าง เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่รุ่นหลังๆ เพื่อคงความเป็นตัวตนให้สืบไป

ภายในงานค่ายมีการแลกเปลี่ยนการทำงานของแต่ละองค์กร ถกเถียงย่างก้าวทางยุทธศาสตร์และการสนทนาระดับนโยบายในการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การฝึกภาคสนามโดยใช้เครื่องมือประวัติศาสตร์ชีวิตผู้คนมาร้อยเรียงเรื่องเล่าในราวตากผ้าของเส้นทางประวัติศาสตร์ทั้งระดับชุมชนร่องก๊อ ชุมชนแม่คำ ท้องถิ่นแม่คำ และระดับเหนือชุมชนมีการเติมเต็มความรู้และเส้นทางประวัติศาสตร์จากสมัยสุวรรณโคมคำ สมัยพญามังราย อาณาจักรล้านนา จนกระทั่งเมืองเชียงแสนแตก และการอพยพย้ายถิ่นไปมาของคนยอง โดยมีนักวิชาการท้องถิ่นจากสถาบันยวนเชียงรายเป็นผู้ช่วยเติมเส้นทางลำดับประวัติศาสตร์ให้เห็นการเชื่อมร้อยของวาระ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย ที่มาบรรจบกับปัจจุบัน

“โดยหมุดหมายแรกของการขับเคลื่อนวาระ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย ของภาคเอกชนคือการผลักดันความจริงที่ว่า พญามังรายไม่ใช่พ่อขุนเม็งราย ให้ปรากฏในเชิงประจักษ์และมีรูปธรรม โดยสถาบันยวนเชียงรายเชิญชวนคนเชียงรายทุกคนมาร่วมกันครั้งแรกในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ที่จะถึงนี้ซึ่งเป็นวันเกิดของพญามังราย ณ อนุสาวรีย์ ห้าแยกฯ” นายรุ่ง ใจมา กล่าวทิ้งท้ายการเติมเต็มลำดับเหตุการณ์วาระ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย

โดย : นิพนธ์ บำรุงคีรี

http://www.mekonglover.com/news_pop.asp?NewsId=195
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 06 มิถุนายน 2011, 02:12:58 »


ชำระประวัติศาสตร์เชียงราย : ขอคืนพระนาม

มีโอกาสเข้าเสวนาชำระประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย 2 วัน ที่ ม.ราชภัฎเชียงราย ซึ่งมีหลายหัวข้อที่พูดคุยกัน หนึ่งในนั้นคือการสืบค้น “พญามังราย ไม่ใช่พ่อขุนเม็งราย“
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะประมาณ ๒๐-๓๐ ปีที่แล้ว กลุ่มพระสงฆ์และปราชญ์ชาวบ้านผู้รู้ตัวเมืองได้ร่วมกันศึกษา ปั๊บสา (คัมภีร์ใบลาน) ล้านนา เืพื่อหาข้อสรุปการใช้”ล้านนาหรือลานนา” (ซึ่งได้ข้อสรุปว่าล้านนา ทำให้ล้านนาถูกใช้มาตั้งแต่นั้น) …พบว่าหลักฐานทุกชิ้นล้วนกล่าวพระนามองค์ท่านว่า”มังราย” และได้พูดเรื่องนี้มานาน แต่ไม่มีการขับเคลื่อนจริงจัง ด้วยหลายสาเหตุซึ่งหนึ่งในนั้นคือ มังราย กับ เม็งราย เหมือนกันหรือไม่  เพราะเหตุใดถึงเป็นพ่อขุนเม็งราย ?
เมื่อวานจึงได้ข้อสรุปหลายอย่างตามที่ ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล , อ.ชรินทร์  แจ่มจิตต์ , อ.อุดร  วงษ์ทับทิม , และ อ.บดินทร์ (ทั้งสอง บดินทร์) ร่วมกันอภิปรายว่า

1. หลักฐานที่เก่าแแก่ที่สุดคือ ศิลาจารึกวัดพระยืน จ.ลำพูน (พศ.๑๙๑๓ : ๖๔๑ ปีที่แล้ว) จารึกด้วยอักษรสุโขทัย เพราะพระเถระที่มาอยู่เป็นคนสุโขทัย บรรทัดที่สี่ เขียนว่า “พญามังรายหลวง”  …คำว่าพญา แปลว่ากษัตริย์ และ หลวง คือกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ เทียบเท่าได้กับมหาราช  …หลักฐานชิ้นนี้สำคัญที่สุดเพราะจารหลังจากสวรรคต ๕๙ ปี ถือว่าใกล้เคียงกับยุคสมัยของพระองค์มาก

2.  ศิลาจารึกลำดับกษัตริย์ราชวงศ์มังราย (พศ.๑๙๕๔ : ๖๐๐ ปีที่แล้ว) (อักษรฝักขาม : อักษรสุโขทัย+ตัวเมือง)  บรรทัดที่ 6 เขียนว่า มังราย  (ไม่มีคำว่าพญานำหน้า) “งัแต(อาทิ) มงัร าย กินเมิงเนิงมาเถิงคราม(ตาม)ตอเถิงทาวแสน” แปล “ตั้งแต่(อาทิ) มังราย กินเมือง เนื่องมาเถิงคราม (ตาม)ต่อเถิงท้าวแสน”…

3.  ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น (พศ.๒๑๒๔ : ๔๓๐ ปีที่แล้ว) บรรทัดที่ 3 เขียนว่า

นมีนยราศี พรญามงัรายเจ้าแลพรญางำเงืองพรญาร่วงทงัสามตน

ที่ใช้ศิลาจารึกเป็นหลักเพราะเป็นหลักฐานชั้นต้นที่สำคัญกับการชำระประวัติศาสตร์เนื่องจาก 1. จารลงหินลบเลือนยาก  ไม่ได้คัดลอกซ้ำจากที่ใด ผู้จารรู้หลักภาษา ใช้คำสั้นๆ ทำให้โอกาสผิดพลาดมีน้อย  2. เป็นหลักฐานที่ผู้มีอำนาจในขณะนั้นเป็นผู้สั่งให้จาร และเป็นวงศ์วานว่านเครือขององค์ท่าน

หลักฐานชิ้นอื่นๆ เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ (พศ.๒๓๗๐)  โคลงมังทรารบเชียงใหม่ (พศ.๒๑๕๘ : ยุคพม่าปกครองล้านนา) ทั้งเล่มพบแต่คำว่ามังราย…รวมทั้งคัมภีร์ใบลาน(ปั๊บสา)มากมาย

ศ.สรัสวดีร่วมกับท่านอื่นๆ จึงสรุปว่า ทั้งจารึก ตำนาน วรรณกรรม หลักฐานเก่าแก่ พบแต่คำว่า”มังราย”


สรุป ควรใช้คำว่า “พญามังราย” ตามหลักฐานเก่าแก่ที่สุด (จารึกวัดพระยืน) ตลอดจนจารึก / คัมภีร์ใบลานที่เชื่อถือได้ล้วนเขียนพระนามชัดเจนว่า “พญามังราย

สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการขับเคลื่อนอย่างจริงจังเพื่อถวายพระนามคืนให้องค์ท่าน ตั้งแต่อนุสาวรีย์”พ่อขุนเม็งรายมหาราช” , งานพ่อขุนเม็งรายมหาราช , วันพ่อขุนเม็งรายมหาราช ( ๒๖ มกราคม ) แม้แต่ อ.พญาเม็งรายก็ควรจะได้รับการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน


อ่านต่อที่นี่ครับ :http://lanpanya.com/seasonschange/archives/621


* ศิลาจารึกวัดพระยืน จ.ลำพูน.gif (39.5 KB, 200x300 - ดู 1065 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
Jeekuk
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 06 มิถุนายน 2011, 10:36:08 »

3.  ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น (พศ.๒๑๒๔ : ๔๓๐ ปีที่แล้ว) บรรทัดที่ 3 เขียนว่า

นมีนยราศี พรญามงัรายเจ้าแลพรญางำเงืองพรญาร่วงทงัสามตน

IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!