เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 20:50:18
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ขายสมุนไพร "หญ้าหวาน" หวาน-ธรรมชาติ-เพื่อสุขภาพ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ขายสมุนไพร "หญ้าหวาน" หวาน-ธรรมชาติ-เพื่อสุขภาพ  (อ่าน 1537 ครั้ง)
LP
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 931



« เมื่อ: วันที่ 09 กรกฎาคม 2015, 13:59:19 »





หญ้าหวานค่ะ
กระถางละ 50 บาท
แบบแห้งกิโลละ 700 บาท
ขนาด100 กรัม ราคา 100 บาท
ขนาด 50 กรัม ราคา 50 บาท
สนใจติดต่อ 085-7183237

สรรพคุณ







http://frynn.com/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99/

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/107/%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หวานเป็นรสที่คนขาดไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันคนให้ความสำคัญกับสุขภาพมาก จึงเลือกบริโภคเครื่องดื่มโดยพิจารณาสารปรุงแต่งรสหวานที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มหันมาสนใจใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติแทนสารสังเคราะห์มากขึ้น

หญ้าหวาน

เป็นพืชที่ให้ความหวานโดยธรรมชาติ ใบหญ้าหวานสด สกัดด้วยน้ำได้สารหวานแห้งประมาณร้อยละหนึ่ง ซึ่งสารหวานนี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 150 - 300 เท่า และทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส จึงไม่สลายตัวหรือเปลี่ยนสภาพจากความร้อนในการปรุงอาหาร

สารให้ความหวานจากหญ้าหวานเป็นสารสกัดที่มาจากธรรมชาติอย่างแท้จริง เป็นความหวานที่ปราศจากแคลอรี่ และไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลในร่างกาย เพราะเมื่อรับประทาน ร่างกายสามารถขับออกมาได้ทันทีไม่มีการสะสม จึงเหมาะกับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ที่เป็นเบาหวาน ที่ยังต้องการรสหวานในอาหารและเครื่องดื่ม

รูปแบบของหญ้าหวานที่คนนิยมรับประทานกันมี 2 แบบคือ นำใบหญ้าหวานมาผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อเติมรสหวานเป็นชาสมุนไพร ยาชงสมุนไพรต่างๆ หรืออาจใช้ในรูปของสารสกัดจากหญ้าหวานเป็นผงสำเร็จรูปบรรจุซองสำหรับเติมลงในชา กาแฟ หรืออาหารต่างๆ

มารู้จักกับพืชและสารสกัดจากหญ้าหวานกันเถอะ

หญ้าหวานมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia Rebaudiana Bertoni หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า Stevia อยู่ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ตามแนวพรมแดนระหว่างประเทศบราซิลและปารากวัย ซึ่งชาวปารากวัยมีการใช้ใบหญ้าหวานผสมกับชาดื่มมานานกว่า 1500 ปีแล้ว หญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 20 - 26 องศาเซลเซียส และขึ้นได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 - 700 เมตร มีการนำมาปลูกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมคือทางภาคเหนือ และบริเวณเขาใหญ่ หญ้าหวานเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กสูงประมาณ 30 - 90 เซนติเมตร ใบเดี่ยว รูปใบหอกกลับ ขอบใบหยัก มีดอกช่อสีขาว ลักษณะคล้ายต้นโหระพา หากมีการปลูกไว้ในบริเวณบ้านเป็นพืชผักสวนครัวจะมีประโยชน์มาก เพราะใบสดหรือตากแห้งต้มกับน้ำก็จะให้สารหวานใช้ปรุงอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างดี ขอแนะนำให้หาพันธ์มาปลูกกันเถอะ

นอกจากนี้มีงานวิจัยพบว่ากากหญ้าหวานที่ผ่านการสกัดสารหวาน(ที่พัฒนาเป็นผงแห้งบรรจุซองสำหรับเติมลงในชา กาแฟ หรืออาหาร) ยังคงมีความหวาน สามารถใช้ทดแทนน้ำตาลในการให้ความหวานในเครื่องดื่มชาชงได้ ซึ่งบรรจุเป็นถุงสำเร็จพร้อมชงดื่มได้ทุกช่วงเวลา ดื่มได้ง่าย ช่วยดับกระหาย จากการประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์จากกากหญ้าหวาน ผสมอัญชัน มะลิ กระเจี๊ยบแดง และเตยหอม พบว่าชากากหญ้าหวานผสมมะลิซึ่งประกอบด้วยกากหญ้าหวาน 250 มิลลิกรัม และ มะลิ 80 มิลลิกรัม เป็นสูตรที่มีสี กลิ่น และรสชาติเป็นที่น่าพึงพอใจที่สุด ซึ่งการพัฒนาหาสูตรผสมที่ถูกใจเฉพาะบุคคลก็ทำได้ง่าย ลองทำดูนะคะ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 กรกฎาคม 2015, 15:06:32 โดย ŠÄßÁ¥ŠHÕÞ@ÇhIàn§®âï ™ » IP : บันทึกการเข้า
x27
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 665


ฮักเจียงฮายคับ


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 09 กรกฎาคม 2015, 22:25:25 »

อยากได้ซัก 2 กระถาง ส่งได้ไม๊ครับ ในเมืองแถวเกาะลอย
08สี่-170757สอง เปรมครับ ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า
jackle_ripper
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 260


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 09 กรกฎาคม 2015, 22:29:52 »

น่าสน ขายที่ไหนค่ะ อยากได้ 2 กระถาง  ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
LP
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 931



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 10 กรกฎาคม 2015, 09:32:01 »

ในเมืองยินดีส่งฟรีถึงบ้านค่ะ โทร 085-7183237 แนนนี่


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


หญ้าหวาน เป็นพืชที่มีคุณสมบัติเป็นรสหวานที่ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน จึงมีความสำคัญต่อการนำมาใช้กับผู้ที่มีปัญหาทางการเกิดโรค เช่น พวกโรคอ้วน โรคเบาหวาน ปัญหาหญ้าหวานอยู่ที่ใด คำตอบคือ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่อ้างว่ายังไม่พอ นักวิจัยได้ร่วมกันทบทวนผลงานวิจัย ที่จัดโดยสถาบันการแพทย์แผนไทย เมื่อ 21 เมษายน 2542 ที่กระทรวงสาธารณสุข ได้มีข้อสรุปปัญหาและคำถามต่างๆที่น่าสนใจดังนี้

หญ้าหวานคืออะไร ใครกินบ้าง



หญ้าหวานเป็นพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana  Bertoni พืชพื้นเมืองของบราซิล มีการค้นพบ โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาใต้ เมื่อปี 1887  คือ 113 ปีมาแล้ว โดยมีชาวพื้นเมืองปารากวัย ใช้สารหวานนี้ผสมกับชากินมากว่า 1500 ปี ต่อมา ญี่ปุ่นนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ปี 1982 คือ 17 ปีมาแล้ว จัดอยู่ในวงศ์ Astcraceac เป็นพืชล้มลุกระยะยาว มีลักษณะคล้ายต้นกะเพราหรือต้นแมงลัก เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบราซิลและปารากวัยในทวีปอเมริกาใต้ มีการนำมาปลูกและเผยแพร่ในไทยเป็นระยะเวลามากกว่า 20 ปี

พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในฐานะเลขานุการมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา การค้นพบสารหวานจากสมุนไพรที่มีชื่อว่าหญ้าหวานถือเป็นอีกความสำเร็จหนึ่ง ที่นักวิทยาศาสตร์ไทยทำได้ เพราะความหวานจากหญ้าหวานนั้น สามารถนำมาใช้แทนน้ำตาล เนื่องจากมีความหวานคล้ายคลึงน้ำตาลมาก

ในหญ้าหวานมีสารกลัยโคซัยด์(glycosides) 88 ชนิด สารสำคัญคือ Rcbaudiosides A,B,C,D,E ; Dulcoside A และ Stevioside สาร Stevioside ซึ่งเป็นสารหวานคล้ายคลึงกับน้ำตาลทรายมาก โดยปริมาณสูงสุดในหญ้าหวานทั่วไปและเป็นสารที่มีรสหวานจัดจะมีความหวาน ประมาณ 300 เท่าของน้ำตาลซูโครส

หญ้าหวานปลอดภัยหรือไม่

          หญ้าหวานเป็นพืชที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า สารสกัดจากหญ้าหวาน "สตีวิโอไซท์" มีความหวานกว่าน้ำตาล 100-300 เท่า ปัจจุบันไทยปลูกได้ทางภาคเหนือ และมีสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ ไทยสกัดสารหวาน สตีวิโอไซด์ได้ด้วยตนเอง โดยทีมนักวิจัย ม.เชียงใหม่ และในไทยมีโรงงานผลิตสารตัวนี้แล้วด้วยซ้ำ

          หญ้าหวานไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน นักวิชาการจึงสนใจประเด็นสารสกัดสตีวิโอไซด์ ว่ามีพิษหรือไม่ และควรกินเท่าใดจึงปลอดภัย ซึ่งได้คำตอบว่า สตีวิโอไซด์ ปลอดภัยในทุกกรณี และค่าสูงสุดกินได้ถึง 7.938 มก/กก. น้ำหนัก ซึ่งกินได้สูงมาก ในความเป็นจริง มีผู้บริโภคได้ทั่วไป แค่ 2 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก. ก็หวานมากแล้ว เป็นเครื่องยืนยันว่า การบริโภคหญ้าหวานในรูปสตีวิโอไซด์ มีความปลอดภัยสูง แถมได้ผลพลอยได้ คือลดน้ำตาลในเลือด และอาจลดความดันโลหิตได้ด้วย

หญ้าหวานทำให้เป็นหมันจริงหรือ?

          มีรายงานระบุถึงความหน้าเป็นห่วงว่า ชาวปารากวัยกินหญ้าหวานทำให้คุมกำเนิดหรือลดอสุจิลง เป็นเรื่องที่สงสัย ทำให้ประเทศไทยใช้ประเด็นนี้อ้างไม่อนุญาตหญ้าหวานให้คนกิน จากรายงานต่างๆ ที่ประชุมได้สรุปข้อมูลจากรายงานต่างๆ แล้วยืนยันสารสกัดจากหญ้าหวาน คือสตีวิโอไซด์ เมื่อป้อนหนูถึง 3 ชั่วอายุ 3 รุ่น ไม่พบการก่อกลายพันธุ์, แต่อย่างใดยังคงขยายพันธุ์ได้ตามปกติ ญี่ปุ่นกลับไม่กลัวประเด็นนี้ใช้กันมา 17 ปี ไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดพิษแต่อย่างใด

คนไทยกินหญ้าหวานแบบใด?

          คนไทยกินหญ้าหวาน 2 แบบ แบบสมุนไพรมีการนำใบหญ้าหวานผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อเติมรสหวานในชาสมุนไพรหรือยาชงสมุนไพร และแทนน้ำตาลในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน มีการใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มหมอเมือง กลุ่มสันติอโศก และมีการนำสมุนไพรมาใส่ซองผสมกับสมุนไพรอื่นทั้งๆ ที่มีประกาศห้ามใช้ในประเทศ จึงเป็นเรื่องหนักใจที่หมอเมืองถูกจับซ้ำซากที่พยายามใช้หญ้าหวานในรูปแบบ ดังกล่าว และนักวิจัยที่ทำเรื่องนี้ต่างก็ท้อใจไปตามๆกัน

          คนไทยกลุ่มหนึ่งยังคงใช้สารหวานสังเคราะห์ยี่ห้อดังๆ จากต่างประเทศในรูปแบบโดยตรงและโดยอ้อม คือ ผสมในเครื่องดื่มต่างๆ จากข้อสรุปของ อย. เมื่อได้รับข้อเสนอจากสถาบันฯ ให้ยกเลิกประกาศหลังจากประชุม เมื่อ 21 เมษายน 2542 ที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญมีมติว่าหญ้าหวานไม่ปลอดภัยยังไม่ควรเลิกประกาศนั้น เพราะข้อมูลไม่พอเพียง เป็นข้อคิดเห็นที่ขัดแย้งกับญี่ปุ่น อเมริกา

ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) อนุญาตให้นำสารสกัด stevioside มาขึ้นทะเบียนเป็นสารหวานแทนน้ำตาลได้

          ข้ออ้างคืองานวิจัยในรูปแบบสารสกัดหยาบ คือต้มน้ำชงน้ำธรรมดาแบบชาวบ้านกิน มีงานวิจัยสนับสนุนน้อย มีแต่งานวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดสตีวิโอไซด์ เป็นส่วนใหญ่ เป็นข้ออ้างที่ทีมวิจัยชุดแรกที่ประชุมโดยสถาบันฯ ต้องตกตะลึงว่า ประเทศไทยมีมาตรฐานสูงกว่าอเมริกาและญี่ปุ่นมาก หญ้าหวานจึงขมต่อไป และต้องขอชมเชยทีมงานจากเชียงใหม่นำโดย ภก.รศ.ดร.จีรเดช มโนสร้อย , รศ.ดร.ด้วง พุธศุกร์, อจ.ไมตรี สุทธจิตต์ และคณะทั้งหลาย จำนวนกว่า 20 คน ได้กลับไปทบทวนปัญหาอีกครั้งและได้ทำวิจัยเพิ่มเติม เพื่อปิดจุดโหว่หญ้าหวานต่อไป ไม่หยุดยั้งด้วยปรารถนาให้เกษตรกรผู้ยากไร้ได้มีทางเลือกต่อไป

ผลการวิจัยประเด็นกินแบบชาวบ้านมิใช่สารสกัด ถูกรายงานนำเสนอดังนี้

          สารสกัดโดยน้ำหรือสกัดอย่างหยาบของหญ้าหวานไม่มีผลต่อการก่อกลายพันธุ์ ไม่มีผลต่อการเป็นหมันทั้งในระยะเฉียบพลันหรือเรื้อรัง, และไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพ ตับ ไต และค่าทางโลหิตวิทยา นอกจากนี้ยังได้พิจารณาตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานวัตถุดิบไว้พร้อม นอกจากนี้ยังได้ทดลองเอาหญ้าหวานผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น มะตูม ก็ไม่มีอะไรและถึงความเป็นพิษอันตรายแต่อย่างใด ข้อมูลเหล่านี้ คงทำให้ผู้เชี่ยวชาญ 2-3 คน ยังติดใจอยู่ สบายใจได้มากขึ้น และอาจารย์วีรสิงห์ เมืองมั่น จาก รพ.รามาธิบดี ก็ได้วิจัยหญ้าหวานให้อาสาสมัครแล้วพบว่าปลอดภัย และการใช้หญ้าหวานอย่างปลอดภัย คือ ประมาณ 1-2 ใบต่อเครื่องดื่ม 1 ถ้วยหรือสูงสุดกินได้ถึง 7.9 กรัม / วัน ซึ่งสูงมากเปรียบได้กับกินผสมกาแฟ หรือเครื่องดื่มถึง 73 ถ้วย / วัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับคนเราส่วนใหญ่กิน 2-3 ถ้วย/วัน หญ้าหวานในรูปสมุนไพรมิใช้สารสกัดจึงปลอดภัยมาก

ข้อมูลทางการเกษตร

รูปประกอบมาจาก http://www.stevia.co/opportunity/opportunity-overview

          หญ้าหวานเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-50 ซม. ลักษณะทั่วๆ ไปคล้ายต้นโหระพา ใบเล็กลำต้นแข็ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ประเทศไทยปลูกได้ดีช่วงปลายฝนต้นหนาวในที่ดอน เช่น ภาคเหนือสูง 400-1,2000 ม. เหนือระดับน้ำทะเล บางคราวปลูกหลังทำนา 1 ไร่ ใช้ต้นกล้า 10,000-12,000 ต้น ดูแลน้ำอย่างสม่ำเสมอและกำจัดวัชพืช เก็บเกี่ยวใบทุก 3-4 เดือน ได้ผลผลิต 600-1,000 กก. สดต่อไร่ ต่อปี ลงทุน 12,000 / ไร่ จะได้รายได้ 20,000 ไร่ กำไร 8,000 บาทต่อไร่

*จากข้อมูลดังกล่าว หญ้าหวานปลอดภัยทั้งกินแบบสมุนไพร และในรูปแบบสารสกัดสตีรีโงไซค์ สมควรสนับสนุนเป็นพืชเศรษฐกิจครบวงจรต่อไป

ประเด็นการเมือง

          หญ้าหวานมีผลกระทบต่อบริษัทผู้ผลิตสารหวานจากการสังเคราะห์อย่างแน่นอน เพราะต้องแบ่งส่วนแบ่งของตลาด สารหวานสังเคราะห์ ซึ่งเป็นของต่างประเทศที่ต้องนำเข้า หรือผลิตโดยนำสารสกัดจากต่างประเทศ รัฐต้องตัดสินใจว่าจะเอาผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก หรือบริษัทข้ามชาติเป็นหลัก บริษัทที่ทำสารหวานเคมีน่าจะหันมาช่วยสารหวานจากหญ้าหวานแทน และเข้ามาช่วยดำเนินการด้วยซ้ำไป ให้มีการใช้อย่างกว้างขวางและเข้ามาทำธุรกิจนี้ด้วยก็ได้

          มีผลต่อการผลิตน้ำตาลในประเทศหรือไม่ ไม่น่ามีผลเพราะตลาดคนละส่วนกัน น้ำตาลทราย น้ำตาลปีบ มีรสชาติในการประกอบอาหาร การใช้หญ้าหวานไปแทนน้ำตาลในการใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปเป็นไปได้ยากมาก แทนที่จะขัดแย้งอาจเชิญชวนเกษตรกรปลูกอ้อย ภาคเหนือหันมาปลูกหญ้าหวานบ้าง ก็ยิ่งเป็นรายได้เสริม สามารถแบ่งตลาดสารหวานอีกนอกจากรายได้จากน้ำตาลดังกล่าว

ข้อสรุปเชิงนโยบาย

          ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ การกู้เศรษฐกิจต้องใช้กิจการเกษตร และผลิตภัณฑ์ทางเกษตรเป็นตัวนำ เพราะบ้านเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ชาวเหนือปลูกหญ้าหวาน ก็ไม่ต้องมาล้มละลายขายที่ ขายตัว นำทรัพย์ในดินให้เป็นเงินทอง เจรจากับประเทศที่เราเป็นหนี้รับซื้อหญ้าหวานและสารสกัดจากเราก็เป็นการทำ รายได้เข้าประเทศ และการใช้หญ้าหวานที่เราปลูกได้แทนสารหวานสังเคราะห์ก็จะทำให้ประหยัดเงิน มิให้รั่วไหลในต่างประเทศได้เช่นกัน

แหล่งข้อมูล :

ฝ่ายวิชาการ สถาบันการแพทย์แผนไทย , http://ittm.dtam.moph.go.th/data_all/herbs/herbal09.htm

stevia, http://www.docstoc.com/docs/84482312/Stevia---PDF
IP : บันทึกการเข้า
Khaokwan
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 10 กรกฎาคม 2015, 20:50:25 »

อยากได้สั้ก4กระถาง ยังพอมีมั้ยครับ
IP : บันทึกการเข้า
LP
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 931



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 10 กรกฎาคม 2015, 21:11:27 »

ผู้ที่สนใจนัดเจอกันที่ถนนคนเดินวันเสาร์นี้ได้นะคะ โทรมาแจ้งด้วยค่ะ085-7183237
IP : บันทึกการเข้า
LP
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 931



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 15 กรกฎาคม 2015, 09:13:56 »

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          หญ้าหวาน พืชสมุนไพรรสชาติหวาน สรรพคุณหญ้าหวาน และประโยชน์หญ้าหวาน มีมากมายจนคุณต้องประหลาดใจเลยเชียวล่ะ

          ในทุกวันนี้ผู้คนต่างหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพมากขึ้น มีหลายคนที่เลือกใช้สมุนไพรในการช่วยรักษาสุขภาพ และหนึ่งในสมุนไพรที่ปัจจุบันนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากนั้นก็คือ หญ้าหวาน ที่เริ่มมีหลาย ๆ คนนำมาใช้ในการผสมเครื่องดื่มหรือทำอาหารด้วย เพราะเป็นพืชที่มีรสชาติหวานกว่าน้ำตาลแต่ไม่ทำให้อ้วน จึงถูกนำมาใช้เพิ่มความหวานแทนน้ำตาลกันมากขึ้น แต่ก็เชื่อว่ายังมีหลายคนที่ยังไม่รู้จักหญ้าหวานกันใช่ไหมล่ะ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับหญ้าหวานให้ดีมากขึ้นกันเถอะ

          หญ้าหวาน (Stevia) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni เป็นพืชที่ถูกจัดอยู่ในวงศ์ ASTERACEAE เป็นพืชล้มลุกระยะยาว มีลักษณะคล้ายต้นกะเพราหรือต้นแมงลัก ลำต้นกลมและแข็ง มีใบเดี่ยว รูปหอก ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบให้สารที่มีรสหวาน และมีช่อดอกสีขาว หญ้าหวานเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบราซิลและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัย ซึ่งมีการค้นพบว่าชาวพื้นเมืองปารากวัย ได้ใช้หญ้าหวานนี้ผสมกับชาเพื่อดื่มมาแล้วมากกว่า 1,500 ปี ต่อมาประเทศญี่ปุ่นก็ได้นำมาใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับในประเทศไทยได้เริ่มมีการนำหญ้าหวานมาใช้กันอย่างแพร่หลายเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาเองค่ะ โดยนิยมปลูกในภาคเหนือ เพราะหญ้าหวานขึ้นได้ดีในสภาพอากาศค่อนข้างเย็น




สรรพคุณหญ้าหวาน กับประโยชน์ทางยา

          หญ้าหวานถึงแม้จะเป็นสมุนไพรที่ไม่ได้ให้พลังงานกับร่างกายเหมือนพืชสมุนไพรชนิดอื่น ๆ แต่หญ้าหวานก็มีสรรพคุณทางยาที่สำคัญหลายประการ โดยเฉพาะช่วยลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงตับอ่อน ลดไขมันในเส้นเลือดและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงและโรคอ้วนได้ แถมยังช่วยสมานแผลทั้งภายนอกและภายใน ทำให้แผลหายไวขึ้นได้ รวมทั้งทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ใครที่รู้สึกไม่ค่อยมีแรงล่ะก็ลองดื่มเครื่องดื่มที่ผสมหญ้าหวานก็จะช่วยให้มีกำลังวังชาเพิ่มขึ้นด้วยล่ะ และด้วยความที่หญ้าหวานเป็นพืชที่ไม่มีพลังงานนี่ล่ะ จึงมีการนำไปใช้ในการลดความอ้วนกันอย่างกว้าง ไม่ว่าจะใช้ผสมดื่ม หรือไปผลิตเป็นอาหารเสริม

หญ้าหวาน สมุนไพรพิชิตเบาหวาน

          แม้ว่าหญ้าหวานจะเป็นสมุนไพรที่ให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาล 300 เท่า แต่ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์เพราะระดับความหวานเหล่านั้นไม่ได้ทำให้ระดับน้ำตาลในเพิ่มสูงขึ้น แถมยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และบำรุงตับอ่อนได้อีกต่างหาก ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานไม่ต้องกลัวถึงผลข้างเคียงของหญ้าหวานกันแล้วล่ะค่ะ สามารถบริโภคหญ้าหวานได้อย่างแน่นอนค่ะ

ประโยชน์หญ้าหวาน สิ่งดี ๆ ไม่ควรมองข้าม

          ในปัจจุบันหญ้าหวานถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น ใบอบแห้ง, ใบแห้งบดสำหรับชงแบบสำเร็จรูป (ชาหญ้าหวาน), ใบสด, ใบแห้งบดสำหรับใช้แทนน้ำตาล (หญ้าหวานผง) และแบบสารสกัดจากใบแห้งด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนำมาชงดื่มหรือนำไปผสมกับเครื่องดื่มเสียมากกว่า เพราะในหญ้าหวานมีสารที่เรียกว่า สารสตีวิโอไซด์ ซึ่งให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200-300 เท่า มีความทนทานต่อกรดและความร้อน และไม่ถูกย่อยสลายด้วยสารจุลินทรีย์ เมื่อใช้หญ้าหวานกับอาหารหรือเครื่องดื่มจึงไม่ทำให้เกิดการเน่าเสีย และไม่กลายเป็นสีน้ำตาลเมื่อผ่านความร้อนสูงอีกด้วย ซึ่งก็ทำให้ถูกนำไปใช้ในการผลิตอาหารหรือเครื่องดืมบางชนิดอย่างเช่น น้ำอัดลม น้ำชาเขียว ขนมเบเกอรี่ แยม เยลลี่ ไอศกรีม ลูกอม หมากฝรั่ง ซอสปรุงรส นอกจากนี้ สารสตีวิโอไซด์ยังถูกใช้ในการผลิตยาสีฟันในปัจจุบันอีกด้วย
IP : บันทึกการเข้า
LP
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 931



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2015, 09:05:01 »


กระถางละ 50 และ 100 บาท ตามขนาด

สนใจติดต่อ 085-7183237

Facebook : แก่นตะวันเชียงราย 085-7183237
IP : บันทึกการเข้า
LP
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 931



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2015, 15:20:54 »

กระถางละ 50 และ 100 บาท ตามขนาด

สนใจติดต่อ 085-7183237

Facebook : แก่นตะวันเชียงราย 085-7183237
IP : บันทึกการเข้า
∞◌ลมเย็น◌∞
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 213



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2017, 16:14:54 »

ยังมีหญ้าหวานขายอยู่ไหมค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!