เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 20:53:47
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  กำแพงเมืองน่าน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน กำแพงเมืองน่าน  (อ่าน 7717 ครั้ง)
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 20:18:22 »

เมืองน่านในอดีตถูกย้ายไปมาหลายครั้ง ตัวเมืองน่านปัจจุบันหันหน้าเมืองออกสู่แม่น้ำน่านซึ่งเป็นเบื้องตะวันออก มีกำแพง ๔ ด้าน ด้านยาวทอดไปตามลำน้ำน่านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวกำแพงสูงจากพื้นดินประมาณ ๒ วา มีเชิงเทินกว้าง ๓ ศอก ประกอบด้วยในเสมาตรงมุมกำแพงก่อป้อมไว้ทั้ง ๔ แห่ง มีปืนใหญ่ประจำป้อมๆละ ๔ กระบอก มีประตู ๗ ประตู ที่ประตูก่อเป็นซุ้ม ประกอบด้วยใบทวารแข็งแรง กำแพงด้านตะวันออกมีประตูชัย, ประตูน้ำเข้ม ด้านตะวันตกมีประตูปล่องน้ำ, ประตูหนองห้า ด้านใต้มีประตูเชียงใหม่, ประตู่ท่าลี่ มีคูล้อม ๓ ด้าน เว้นด้านตะวันออกซึ่งเป็นลำแม่น้ำน่านเดิมกั้นอยู่

การก่อสร้างกำแพงเมืองเมื่อครั้งแรกมาตั้งเมืองนี้ มีเรื่องเล่ากันสืบมาเป็นทำนองเทพนิยายว่า ครั้งนั้นตกอยู่ในวัสสันตฤดู มีโคอศุภราชตัวหนึ่งวิ่งข้ามแม่น้ำน่านมาจากทางทิศตะวันออก ครั้นมาถึงที่บ้านห้วยไค้ก็ถ่ายมูลและเหยียบพื้นดินทิ้งรอยไว้ เริ่มแต่ประตูชัยบ่ายหน้าไปทิศเหนือแล้ววกไปทางทิศตะวันตกเป็นวงกลมสี่เหลี่ยมมาบรรจบรอยเดิมที่ประตูชัย แล้วก็นิราศอันตรธานไป ลำดับกาลนั้น พระยาผากองดำริที่จะสร้างนครขึ้นใหม่ ครั้นได้ประสบรอยโคอันหากกระทำไว้เป็นอัศจรรย์ พิเคราะห์ดูก็ทราบแล้วว่าสถานที่บริเวณรอบโคนั้นเป็นชัยภูมิดี สมควรที่จะตั้งนครได้ จึงได้ย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านห้วยไค้นั้น และก่อกำแพงฝังรากลงตรงแนวทางที่โคเดินถ่ายมูลไว้มิได้ทิ้งรอยแนวกำแพงจึง มิสู้จะตรงนัก เพราะเป็นกำแพงโดยโคจร เรื่องนี้จะมีความจริงหรือไม่เพียงไรก็ตามเห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติของเมืองนี้ ซึ่งชาวเมืองก็ยังนิยมเชื่อถือว่าเป็นความจริง และนำเอาคติที่เชื่อว่าโคเป็น ผู้บันดาลเมืองมาทำรูปโคติดไว้ตามจั่วบ้านเรือนเพื่อเป็นศิริมงคลอยู่ทั่วไป จึงนำมากล่าวไว้ด้วย

ประตูเมืองเป็นด่านสำคัญชั้นในของเมือง ในเวลาที่บ้านเมืองไม่ใคร่จะปกติราบคาบจึงต้องมีการรักษากันแข็งแรง ประตูเมืองทั้ง ๗ นี้ มีนายประตูเป็นผู้รักษา มีหน้าที่ในการปิดเปิดประตูตามกำหนดเวลา คือ ปิดเวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. และเปิดในเวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น. ถ้าเป็นเวลาที่ประตูปิดตามกำหนดเวลาแล้ว จะเปิดให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าออกไม่ได้ และทั้งมีอาชญาของเจ้าผู้ครองบังคับเอาโทษแก่ผู้ที่ปีนข้ามกำแพงไว้ด้วย นายประตูเป็นผู้ที่เจ้าผู้ครองได้แต่งตั้งไว้ได้รับศักดิ์เป็นแสนบ้าง ท้าวบ้าง มีบ้านเรือนประจำอยู่ใกล้ๆ ประตูนั่นเอง ให้มีผลประโยชน์คือในฤดูเดือนยี่หรือเดือนสาม ซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เจ้านายท้าวพญาและราษฎรภายในกำแพงเมืองทั้งปวง เมื่อขนข้าวจากนาเข้ามาในเมืองทางประตูใด ก็ให้นายประตูนั้นมีสิทธิเก็บกักข้าวจากผู้นำเข้ามาได้หาบละ ๑ แคลง (ประมาณ ๑ ทะนาน) นอกจากนี้ นายประตูยังได้สิ่งของโดยมากเป็นอาหารจากผู้ที่ผ่านเข้าออกประตูเป็นประจำวันโดยนำตะกร้าหรือกระบุงไปแขวนไว้ที่หน้าประตูอันสุดแล้วแต่ใครจะให้อีกด้วย

อาชญาของเมืองที่ต้องมีนายประตูดังกล่าวแล้วนี้ ได้เลิกไปเมื่อสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นเจ้าผู้ครองนคร

อ้างอิง
http://www.lannatouring.com/Nan/Destination-guide/Nan-History.htm
http://www.nan2day.com/info/hinfo9.htm


* 001.jpg (254.41 KB, 768x614 - ดู 4285 ครั้ง.)

* 002.jpg (109.07 KB, 500x493 - ดู 2810 ครั้ง.)

* 003.jpg (40.58 KB, 575x451 - ดู 2738 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 20:33:58 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 20:32:40 »

สร้างบ้าน แปงเมืองน่าน จากอดีตสู่ยุคปัจจุบัน

เมืองเล็กๆ ทางตะวันออกสุดของภาคเหนือที่ชื่อเมืองน่านนั้น จะซุกซ่อนตัวเองในท่ามกลางเทือกเขาผีปันน้ำและหลวงพระบาง บ่มเพาะเก็บงำเรื่องราววัฒนธรรมประเพณีอันเป็นรากเหง้าของตัวเองได้สมบูรณ์แบบจนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีที่ใดเหมือน ด้วยความที่เมืองน่านถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขานี่เองทำให้มีลำน้ำอยู่มากมายก่อให้เกิดแม่น้ำหลายสาย ทั้งยังมีประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของผู้คนล้านนาอันอุดมสมบูรณ์ไม่แพ้กัน

เมืองน่าน เป็นนครรัฐตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 18 ยุคเดียวกับนครรัฐอื่นๆ ในล้านนา พญาภูคาได้ขยายอาณาเขตโดยส่งราชบุตรคือ ขุนนุ่นและขุนฟองไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ ขุนนุ่นผู้เป็นพี่ได้สร้างเมืองหลวงพระบาง ขุนฟองผู้น้องได้สร้างเมืองวรนคร (ปัว)

ปี พ.ศ.1825 สมัยพญาการเมืองปกครอง เมืองวรนครได้ขยายตัวมากขึ้นและมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พระมหาธรรมราชาลิไทได้ทูลเชิญพญาการเมืองไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัยที่เมืองสุโขทัย หลังจากที่พญาการเมืองจะเสด็จกลับวรนคร พระมหาธรรมราชาลิไทได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ และพระพิมพ์เงินให้กับพญาการเมืองมาสักการะ

เมื่อเสด็จมาถึงเมืองน่านพญาการเมืองได้เลือกชัยภูมิบริเวณภูเพียงแช่แห้งเป็นที่สร้างพระธาตุเจดีย์และย้ายผู้คนลงมาสร้างเมืองใหม่ ชื่อ ภูเพียงแช่แห้ง เมื่อปี พ.ศ.1902

กระทั่งถึงปี พ.ศ.1911 สมัยของพญาผากอง ราชบุตรของพญาการเมือง ได้โปรดให้ย้ายเมืองภูเพียงแช่แห้งมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่าเมืองภูเพียงแช่แห้งกันดารน้ำเพราะอยู่บนเนินสูงห่างแม่น้ำ

พญาผากองอพยพผู้คนมาตั้งเมืองที่ริมแม่น้ำน่านแล้ว จากนั้นมีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อมากันหลายพระองค์ ปี พ.ศ.2360 น้ำน่านได้ไหลเข้าท่วมตัวเมือง พัดกำแพงเมืองทิศตะวันตกพังทลายลงทั้งแถบ นอกจากนั้นกระแสน้ำยังพัดบ้านเรือนชาวบ้านและวัดวาอารามเสียหายอีกเป็นจำนวนมาก พญาสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครในสมัยนั้น จึงได้ย้ายเมืองไปอยู่เวียงเหนือเมื่อ พ.ศ.2362 กาลต่อมาแม่น้ำน่านได้เปลี่ยนเส้นทางห่างจากกำแพงเมืองไปมาก เจ้าอนันตวรฤทธิเดช จึงได้ย้ายเมืองมาอยู่ ณ สถานที่ตั้งปัจจุบันและบูรณะกำแพงเมืองจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2400

เมืองน่านได้ชื่อว่าเป็นเมืองเจ็ดประตู หนึ่งหนอง สิบสองวัด ซึ่งคนน่านโบราณได้ผูกไว้คล้องจองกัน ตามทักษาเมืองน่านกล่าวถึงการสร้างประตูเมืองในปี พ.ศ.2450 ว่ามีการสร้างประตูอมรและถนนมหายศมาวัดสวนตาล สำหรับประตูเมืองน่านที่สำคัญได้แก่ ประตูชัย ทางทิศตะวันออก สำหรับเจ้านายเสด็จเมื่อน่าน ประตูน้ำเข้ม สำหรับให้ราษฏรติดต่อค้าขาย ทิศเหนือมีประตูริมและประตูอมร ทิศตะวันตกมี ประตูหนองห้าและประตูปล่องน้ำ เพื่อระบายไม่ให้ท่วมขังในเมือง ทิศใต้มีประตูเชียงใหม่ เพื่อออกไปสู่เมืองแพร่ และประตูท่าลี่ ซึ่งเป็นประตูที่นำศพออกไปเผานอกเมือง

ปัจจุบันเมื่อเดินทางไปเมืองน่าน ยังสามารถพบเห็นร่องรอยของประตูเมืองและกำแพงเมืองน่าน นอกจากนั้นน่านยังมีสถาปัตยกรรมระดับคลาสสิกที่สร้างขึ้นเมื่อร้อยกว่าปี ได้รับการอนุรักษ์มาถึงปัจจุบัน ได้แก่ หอคำ หรือ คุ้มหลวง (อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.2446 โดยเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้านครน่าน ลักษณะหอคำ เป็นอาคารทรงไทยผสมศิลปะตะวันตกแบบตรีมุข 2 ชั้น ตัวอาคารก่ออิฐฉาบด้วยปูน บานประตูหน้าต่างเป็นแบบบานเกล็ด อาคารหอคำเดิมมีบันไดไม้สักทั้งสองข้างของมุขหน้า แต่ถูกรื้อไปแล้ว

เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย ถึงแก่พิราลัยเมื่อ พ.ศ. 2474 อาคารหอคำถูกใช้เป็นศาลากลางจังหวัด ระหว่าง พ.ศ.2476 - 2517 หลังจากนั้น อาคารหอคำได้โอนให้กรมศิลปากรดูแลเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

ใกล้กับหอคำ เป็นที่ตั้งของคุ้มเจ้าราชบุตร ตั้งอยู่หัวมุมถนนผากอง ด้านทิศเหนือของวัดพระธาตุช้างค้ำ คุ้มเจ้าราชบุตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2409 เพื่อเป็นที่อยู่ของเจ้าน้อยมหาพรหม ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 จึงยกคุ้มให้เจ้าประพันธ์พงษ์ (เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน) และให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าราชบุตร ลักษณะอาคารสร้างขึ้นจากไม้สักสองชั้น ระเบียงมีลวดลายฉลุ บริเวณห้องโถงของคุ้มตั้งแสดงอาวุธโบราณ เครื่องยศและภาพถ่ายสมัยเก่าที่หาชมได้ยาก

นอกจากนั้นในเมืองน่านยังพบเรือนแถวไม้ที่ถนนสุมนเทวราช ซึ่งเป็นย่านการค้าตั้งแต่อดีต เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวและสองชั้นมีระเบียงประดับลายฉลุ และยังใช้เป็นที่บังแดดบังฝนให้หน้าร้านอีกด้วย ที่สี่งแยกประตูน้ำเข้ม ระหว่างถนนสุมนเทวราชกับถนนมหาวงศ์ มีอาคารไม้รูปทรงหักเหลี่ยม เดิมเป็นห้องแถวซึ่งเจ้าราชวงศ์สุทธิสารให้เช่า ต่อมาภายหลังได้ขายให้กับเอกชนไปแล้ว

ที่มา
www.chiangmainews.co.th
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 21:17:55 »

เมืองน่านในอดีตเป็นรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำปัว ทางตะวันออกของภาคเหนือ แบ่งเป็นยุคประวัติศาสตร์ได้ดังนี

ราชวงศ์ภูคาสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว
ประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ.1825 ภายใต้การนำของพญาภูคา เจ้าเมืองย่าง ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอย ชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ ต่อมาพญาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองหลวงพระบาง) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำของ (แม่น้ำโขง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนคร (เมืองปัว) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ การที่ให้ชื่อว่าเมือง "วรนคร" ก็เนื่องมาจาก พญาภูคา ได้เลือกชัยภูมิที่ดี เหมาะสมในการสร้างเมือง เสร็จแล้วจึงขนานนามว่าเมือง "วรนคร" ซึ่งหมายถึง เมืองดี นับว่าเป็นการเริ่มต้นราชวงศ์ภูคา

เมื่อบ้านเมืองวรนครเริ่มมั่นคงเป็นปึกแผ่น เจ้าขุนฟองก็ได้เป็นพญาแล้วเสวยราชสมบัติในเมืองวรนคร ทรงมีพระโอรส 1 พระองค์ ใส่ชื่อเบิกบายว่า "เจ้าเก้าเกื่อน" ต่อมาไม่นานักพญาขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองภูคาหรือเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ แต่เจ้าเก้าเกื่อนไม่ค่อยเต็มใจนัก เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่าง และมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปิน ซึ่งทรงครรภ์อยู่คอยปกครองดูแลรักษาเมืองวรนคร(เมืองปัว) แทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน

ในช่วงที่เมืองวรนคร (เมืองปัว) ว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่คือพญาภูคา พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองปัวทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายท่ามกลางท้องไร่นั้น ชื่อว่า "เจ้าขุนใส" ปรากฎว่านายบ้านห้วยแร้งนั้น เป็นพ่อครัวพญาเก้าเกื่อนมาก่อน จึงรับนางพญาแม่ท้าวคำปินและกุมารไปเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ อายุได้ 16 ปี ก็นำไปไหว้สาพญางำเมือง เมื่อพญางำเมืองเห็น ก็มีใจรักเอ็นดูรับเลี้ยงดูไว้ แลเติบใหญ่ได้เป็นขุนนาง รับใช้พญาคำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็น เจ้าขุนใสยศ ครองเมือง เป็นเจ้าเมืองปราดภาย หลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา แล้วกลับมาเป็นพญาเสวยเมืองวรนคร (เมืองปัว) และได้รับการสถาปนาเป็น "พญาผานอง" เมืองวรนคร จึงกลายชื่อมาเป็นเมืองปัว ซึ่งหันไปมีความสัมพันธ์กับกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ดังปรากฎชื่อเมืองปัวอยู่ในหลักศิลาจารึก หลักที่ 1

ความสัมพันธ์ด้านอารยธรรมระหว่างเมืองน่านกับกรุงสุโขทัย 
พญาผานองเสวยเมืองปัวอยู่ได้ 30 ปี มีโอรส 6 คน คนแรกชื่อเจ้าการเมือง คนสุดท้องชื่อ เจ้าขุนใส พอพญาผานองถึงแก่พิราลัยไปแล้ว เสนาอำมาตย์ทั้งหลายก็อภิเษกให้เจ้าขุนใสผู้น้องเสวยเมืองแทน เพราะเป็นผู้มีความรู้เฉลียวฉลาด แต่อยู่ได้ 3 ปี ก็ถึงแก่พิราลัยไปอีก เสนาอำมาตย์ทั้งหลายจึงเชิญเจ้าการเมืองขึ้นเสวยเมืองแทน

ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัว ได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากกษัตริย์เมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัวด้วย

สร้างเวียงภูเพียงแช่แห้ง
ครั้งนั้น พญาการเมือง ได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลและได้เลือกสถานที่ บรรจุพระบรมธาตุ จึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง ด้วยความเชื่อว่าเป็นที่เคยบรรจุพระบรมธาตุมาแต่ปางก่อน ดอยภูเพียงแช่แห้งเป็นเนินไม่สูงนัก ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเตี๋ยนกับน้ำลิง ทางฟากตะวันออกของแม่น้ำน่าน จึงได้ระดมผู้คนก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่เนินแล้วอัญเชิญพระบรมธาตุมาบรจุไว้ พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัว ลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า "เวียงภูเพียงแช่แห้ง" เมือปี พ.ศ.1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง

เวียงใต้
พญาการเมืองครองเมืองภูเพียงแช่แห้งได้นานถึง 5 ปี ก็ถึงแก่พิราลัย หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือ พญาผากอง ขึ้นครองแทน ต่อมาอีก 6 ปี พญาผากอง ตระหนักได้ถึงปัญหาน้ำไม่พอใช้ เพราะเวียงแช่แห้งอยู่บนเนินสูงและลำน้ำลิงที่แหล่งน้ำสำคัญนั้น มีขนาดเล็ก น้ำแห้งขอดในฤดูแล้งไม่พอกับพลเมืองที่เพิ่มขึ้น เกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณ บ้านห้วยไคร้ (ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน) เรียกว่า "เวียงน่าน" ซึ่งเมื่อมีการอพยพหนีน้ำท่วมไปเวียงเหนือจึงเรียกอีกชื่อว่า "เวียงใต้"

ในปี พ.ศ.1911 พญาผากอง ครองเมืองน่านนี้อยู่ได้ 21 ปี ก็ถึงแก่พิราลัย และได้มีรัชทายาทครองเมืองน่านมาอีก 1 องค์ คือ เจ้าคำตัน และครองเมืองน่านได้ 11 ปี ก็ถึงแก่พิราลัีย เจ้าศรีจันตะได้ครองเมืองน่านแทน พระยาแพร่ 2 องค์ ก็ยกทัพมาตีเมืองน่าน และครองเมืองน่านอยู่ได้ชั่วเวลาอันสั้น ราชวงศ์เมืองน่านก็ตีกลับคืนมาได้ ในสมัยเจ้าปู่เข่ง

ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ.1950 - 1960 ก็ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร, วัดพระธาตุเขาน้อย, วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อนพญางั่วฬารผาสุม ผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้าง พระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

สงครามเชียงใหม่กับเมืองน่าน
ต่อมาอีกไม่นาน เชียงใหม่ก็มีกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพเกิดขึ้น นั่นคือ พระเจ้าติโลกราช และในปี พ.ศ.1993 พระเจ้าติโลกราช มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่านและแหล่งเกลือ บ่อเกลือสินเธาว์ของเมืองน่าน (ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยาก เพื่อจะได้ส่งส่วยค้ำจุนเชียงใหม่ พระเจ้าติโลกราชจึงได้จัดกองทัพผ่านมาทางเมืองลอ เมืองปง เมืองควัน ดอยวาว เข้าตีและยึดเมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าว ไม่อาจต้านทาน จึงได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) แต่ก็ยังมีเจ้าผู้ครองนครน่านเป็นราชวงศ์ภูคาอยู่จนถึง พญาผาแสงถึงแก่พิราลัย ฐานะเมืองน่านก็เปลี่ยนเป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่นั้นมาตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปี เมืองน่านอยู่ในครอบครองของ อาณาจักรล้านนา ได้ค่อยๆ ซึมซับเอาศิลปวัฒนธรรมของเชียงใหม่มาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบเชียงใหม่เข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัย อย่างชัดเจน ดังเช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบเชียงใหม่ไปจนหมดสิ้น

จนกระทั่งพระเจ้าติโลกราชแต่งตั้งให้ "ท้าวขาก่าน" มาครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ.2019-2023 ได้บูรณะพระธาตุแช่แห้ง จากสภาพรกร้างเป็นจอมปลวกอยู่ในป่าไผ่ โดยการก่อสร้างเป็นเจดีย์ครอบองค์พระธาตุเดิมให้สูงขึ้นอีก 6 วา นอกจากนั้น ยังได้ปราบญวนที่ยกมาตีเมืองน่านได้ราบคาบ ชาวเมืองน่านดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ต่อมา ท้าวขาก่านได้ย้ายไปเป็นเจ้าเมืองเชียงราย

เมืองน่านขึ้นกับพม่า
พ.ศ.2101 เจ้าฟ้าหงสามังตรา (บุเรงนอง) ได้ยึดเมืองเชียงใหม่เป็นประเทศราช พญาพลเทพฤชัยหนีไปเมืองล้านช้าง นับตั้งแต่นั้นมา เมืองน่านต้องขี้นตรงต่อการปกครองของพม่า เป็นระยะเวลาร่วม 200 ปีเศษในระหว่างปี

พญาหน่อคำเสถียรชัยสงคราม ครองเมืองน่านระหว่าง พ.ศ.2103-2134 ไดู้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุแช่แห้ง ร่วมกับเจ้าฟ้าสาระวดี พญาเชียงใหม่ (มังนรธาช่อ-โอรสบุเรงนอง)

เจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ โอรสพญาหน่อคำ ครองเมืองน่าน พ.ศ.2134-2146 สร้างวัดดอนแท่านที่เมืองป้อ (อำเภอเวียงสา) และสร้างวัดพรหมินทร์ ได้พยายามแข็งเมืองกับพม่า (ตรงกับสมัยของสมเด็จพระนเรศวร) แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกจับไปประหารชีวิตที่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2146

เจ้าอุ่นเมือง ครองเมืองน่าน พ.ศ.2158-2168 และเมื่อ พ.ศ.2167 พระเจ้าสุทโธธรรมราชยกทัพมาตีเมืองน่าน ชาวเมืองน่านจำนวนมากถูกกวาดต้อนไปไว้ที่เมืองหงสาวดี

เมืองน่านคราวเป็นจลาจล
พระยาหลวงเมืองนคร (เจ้าเมืองลำปาง) ยกกำลังจากลำปางมาชิงเมืองน่าน

เจ้าพญาแหลมมุม (พ.ศ.2192-2205) ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยายกทัพมาตีเมืองน่าน และจับตัวไป

พระเมืองราชา (พ.ศ.2232-2246) สมคบกับลาวแสนแก้ว แข็งเมืองกับพม่า พระเจ้ากรุงอังวะรู้ข่าวจึงยกทัพมาปราบปราม เมืองน่านถูกเผาทำลายเสียหายหนัก ผู้คนหลบหนีหลบซ่อนตามป่าเขา เมืองน่านถูกทิ้งร้างไปนานร่วม 5 ปี

เจ้าเมืองอังวะแต่งตั้งให้พญานาซ้ายรักษาเมือง เพื่อรวบรวมไพร่พลเมืองน่านที่หลบซ่อนอยู่ในป่า ให้ออกมาร่วมสร้างเมืองขึ้นใหม่

เจ้าฟ้าเมืองคอง (เงี้ยว) ครองเมืองน่านร่วมกับพญานาซ้าย (พ.ศ.2251-2257) รวบรวม ผู้คนสร้างเมืองน่านให้เป็นปึกแผ่นและมิให้ก่อการกระด้างกระเดื่อง

เจ้าฟ้าเมียวซา (พม่า) ครองเมืองน่านร่วมกับพญานาซ้าย (พ.ศ.2257-2259) บูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุแช่แห้ง พร้อมทั้งยกฉัตร 7 ชั้น

สกุลเจ้าพญาหลวงติ๋น ต้นวงศ์เจ้านครเมืองน่าน
เมื่อพระนาขวาดูแลเมืองน่านร่วม 11 ปี ก็ได้ไปทูลพระเจ้ากรุงอังวะเพื่อขอเจ้าพระยาตื่นหลวงเมืองเชียงใหม่ ชาวเมืองตื่น (ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่) มาเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้าพญาหลวงตื่นมหาวงศ์ครองเมืองน่านระหว่าง พ.ศ.2269-2294 เป็นลำดับที่ 51 นับเป็นบรรพบุรุษสกุล "ณ น่าน" ปัจจุบัน

เมืองน่านในฐานะประเทศราชของสยาม
ในช่วง พ.ศ.2297-2327 หัวเมืองล้านนาต่างๆ พยายามแข็งข้อต่อพม่า มีการสู้รบกันตลอดมา พระเจ้าตากสินสามารถโจมตีขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.2317 แต่เมืองน่านยังตกอยู่ในฝ่ายพม่า เจ้าน้อยวิฑูร เจ้าเมืองน่านถูกจับและถูกคุมตัวส่งไปยังกรุงธนบุรี (พ.ศ.2321) เมืองน่านจึงขาดผู้นำ

พม่าได้ยกทัพกวาดต้อนผู้คนไปอยู่ที่เชียงแสน ทำให้เมืองน่านถูกทิ้งร้างว่างเปล่า จนกระทั่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแต่งตั้งให้เจ้ามงคลวรยศ หลานเจ้าพญาหลวงตื่น มาปกครองเมืองน่านที่รกร้างว่างเปล่า ในปี พ.ศ.2328 เจ้ามงคลวรยศได้ยกเมืองน่านให้เจ้าฟ้าอัตวรปัญโญปกครองสืบไป อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในเมืองน่านยังไม่แน่นอน เพราะมีความแตกแยกภายในชนชั้นปกครอง ระหว่างกลุ่มที่นิยมพม่ากับกลุ่มที่นิยมสยาม

ในปี พ.ศ.2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อขอเป็นข้าขอบขันฑสีมา เจ้าอัตถวรปัญโญ หลังจากขึ้นครองเมืองน่าน ยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียว เนื่องจากเมืองน่านยังรกร้างอยู่ ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) หลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านแล้ว พร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่าน และรัชกาลที่ 1 จึงทรงพระกรุณาโปรดเก้าฯ ให้เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เป็นเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน และแต่งตั้งเจ้าสุมนเทวราชขึ้นเป็นเจ้าพระยาหอหน้าฯ

ในปี พ.ศ.2347 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญนำกำลังทัพร่วมกับเมืองเชียงใหม่และลำปาง ตีเมืองเชียงแสนคืนจากพม่าได้
- กวาดต้อนไทลื้อจากสิบสองพันนาและลาวเหนือเข้ามาตั้งถิ่นฐานในลุ่มน้ำน่าน
- ถวายพระเกศาธาตุเจ้า
- บูรณะปฏิสังขรณ์และพุทธาภิเษกเฉลิมฉลอง วัดพระธาตุแช่แห้งครั้งใหญ่
- สร้างกำแพงและบูรณะเวียงเก่าน่านขึ้นใหม่
- บูรณะสร้างเวียงป้อ (เวียงสา) ขึ้นมาใหม่
- สร้างฝาย กั้นแม่น้ำสา
- สร้างวัดบุญยืนที่เวียงสา

ถึงแม้เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญเป็นข้าขอบขัณฑสีมากรุงรัตนโกสินทร์ และเจ้าผู้ครองนครมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองพลเมือง แม้ว่าการขึ้นครองนครจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรุงรัตนโกสินทร์ก็ตาม แต่โดยทางปฏิบัติแล้ว พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงให้เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ในเมืองน่าน เลือกตัวเจ้านายผู้มีอาวุโสเป็นเจ้าผู้ครองนครกันเอง มิได้ทรงยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายใน

เจ้าผู้ครองนครเมืองน่านในชั้นหลังทุกพระองค์ ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญๆ หลายครั้งหลายคราวด้วยกัน เช่น ช่วยราชการสงครามเมืองเชียงแสนในรัชกาลที่ 1 ปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ในรัชการที่ 3 ช่วยราชการสงครามเมืองเชียงตุง ในรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ ทำนุบำรุงกิจการพระพุทธศาสนาในเมืองน่าน ซ่อมแซมวัดวาอารามต่างๆ อยู่เป็นนิจ ทำให้เมืองน่านกลับคืนสู่สันติสุข ร่มเย็น ต่างจากระยะแรกๆ ที่ผ่านมา

เวียงเหนือ
ในปี พ.ศ.2360 (ในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ น้ำในแม่น้ำน่านไหลเข้าสู่ตัวเมืองน่านด้วยความแรงและเชี่ยว ได้พัดพากำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกพังทลายลงทั้งแถบ บ้านเรือนพังทลายเกือบหมด วัดวาอารามในนครน่านหักพังเป็นอันมาก พ.ศ.2362 พญาสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน จึงได้ย้ายเมืองไปอยู่บริเวณดงพระเนตรช้าง ซึ่งเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึงอยู่ทางทิศเหนือของเมืองเดิม ใช้เวลาสร้าง 6 เดือน จึงแล้วเสร็จ เรียกว่า "เวียงเหนือ" (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านมหาโพธิ์ และบ้านสถารส อ.เืมือง) ห่างจากเวียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร

เวียงเหนือ ทอดไปตามลำน้ำน่าน ห่างจากแม่น้ำน่านประมาณ 800 เมตร มีคูเมืองล้อมรอบ ซึ่งปัจจุบัน ยังพบร่องรอยคูน้ำคันดินเวียงเหนือ สันนิษฐานว่า ครั้งที่ย้ายเมืองนั้น มีวัดสถารสเป็นวัดหลวงของเขตเวียงเหนือในปัจจุบัน คือ ถนนหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
ด้านเหนือ จดบ้านหัวเวียงเหนือ
ด้านใต้ จดทุ่งนาริน
ด้านตะวันออก ยาวไปตามถนนสุมนเทวราช
ด้านตะวันตก ตั้งแต่มุมรั้วสนามกีฬา จังหวัดน่าน ทิศเหนือ และทุ่งควายเฒ่าข้าวสาร
วัดสถารสเป็นวัดเดียวในเวียงเหนือ ที่มีพระธาตุเจดีย์ จึงสันนิษฐานว่าเป็นวัดหลวง

ศูนย์กลางนครน่าน อยู่ที่เวียงเหนือสืบกันมาได้ 36 ปี จนถึงปี พ.ศ.2397 สมัยเจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ ผู้ครองนครน่าน จึงได้ย้ายเมืองมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน

เวียงน่าน "เจ็ดประตู หนึ่งหนอง สิบสองวัด"
หลังจากที่ย้ายเมืองมาเวียงเหนือแล้ว ต่อมาแม่น้ำน่านเปลี่ยนเส้นทางเบี่ยงห่างจากกำแพงเวียงใต้ไปมาก ในปี พ .ศ. 2397 เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ย้ายเมืองน่านจากเวียงเหนือ (บริเวณดงพระเนตรช้าง) กลับไปยังเวียงใต้ ปฏิสังขรณ์กำแพงเมือง ส่วนที่เคยถูกกระแสน้ำพัดพังทลายและซ่อมแซมสิ่งชำรุดทรุดโทรมให้ดีดังเดิม จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2400 (ภาพถ่ายทางอากาศ แสดงทำเลที่ตั้งของเวียงเหนือ เวียงใต้ และเมืองน่านปัจจุบัน และแนวแม่น้ำน่านซึ่งเบี่ยงไปทางตะวันออก) อนึ่ง แม่น้ำส่วนที่เบี่ยงไปนั้น ความยาวเพียง 1 กิโลเมตรเศษ ลำน้ำที่เบี่ยงเกิดจากธรรมชาติหรือคนขุดมิอาจสรุปได้ เพราะไม่มีหลักฐานบันทึกไว้

ตัวเมืองน่านมีกำแพง 4 ด้าน มีคูเมือง 3 ด้าน เว้นด้านติดแม่น้ำ กำแพงสูงประมาณ 2 วา กำแพงด้านตะวันออก มีประตูไชย (ประตูน้ำเข้ม) กำแพงด้านตะวันตก มีประตูปล่อง ประตูหนองห่าน กำแพงด้านทิศเหนือ มีประตูริม กำแพงด้านใต้มี ประตูเชียงใหม่ ประตูท่าลี่ จนคนน่านผูกเป็นคำคล้องจองว่า เจ็ดประตู หนึ่งหนอง สิบสองวัด (หนองในที่นี้คือ หนองแก้ว และวัดลำดับที่สิบสอง คือวัดน้อยในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านในปัจจุบัน)

เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครน่านองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน
สมัยเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้ไขวิธีการปกครองแผ่นดินขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ.2435 โดยแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็นมณฑลเทศาภิบาล ได้ทรงส่งข้าราชการผู้ใหญ่ที่วางพระราชหฤทัยจากกรุงเทพฯ เป็นผู้แทนต่างพระเนตรพระกรรณ มากำกับดูแลการบริหารบ้านเมืองของเจ้าผู้ครองนคร เรียกชื่อตามตำแหน่งทำเนียบว่า "ข้าหลวงประจำเมือง"

ในปี พ.ศ.2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่านได้ประกอบคุณงามความดีแก่ราชการบ้านเมือง เป็นที่รักใคร่นับถือของเจ้านายท้าวพระยาและพลเมืองโดยทั่วไป จึงได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลือนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า "พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ พระเจ้านครน่าน" เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรก และองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สร้าง หอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของ เจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำ มีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่างๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จหรือขบวนรักแขกเมืองสำคัญ

เมื่อพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ถึงแก่พิราลัย เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้าอุปราช) ได้ขึ้นครองเมืองน่าน ในสมัยนี้อำนาจของเจ้าผู้ครองนครลดน้อยลง ทางกรุงเทพฯ ได้จัดส่งข้าราชการ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด คลังจังวหัด และสรรพากรจังหวัด มาประจำหน่วยงาน เรียกกันว่า "เค้าสนามหลวง" ส่วนตัวเจ้าผู้ครองนครได้กำหนดรายได้เป็นอัตราเงินเดือน ส่วยอากรต่างๆ ต้องเก็บเข้าท้องพระคลังทั้งสิ้น

และในปี พ.ศ.2474 เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็น ศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ.2511 จังหวัดน่าน ได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน จนกระทั่งปัจจุบัน

อ้างอิง
http://www.lannatouring.com/Nan/Destination-guide/Nan-History.htm


* 004.jpg (73.71 KB, 550x654 - ดู 2588 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 21:24:28 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
perf
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 127


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 21:32:13 »

ขอบคุณคับ  ยิงฟันยิ้ม

ไปอยู่เมืองน่านมา 3 ปี กำลังจะฮู้ เห่อเห่อ  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 21:44:03 »

หอคำใจกลางเมืองน่าน ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน
ด้านหน้ามีข้วง (สนาม) กว้าง สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ
โดยฝั่งตรงกันข้ามคือ วัดช้างค้ำ


* อนุสาวรีย์พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน.jpg (45.52 KB, 300x450 - ดู 3023 ครั้ง.)

* หอคำเมืองน่าน 01.jpg (43.3 KB, 400x294 - ดู 2806 ครั้ง.)

* หอคำเมืองน่าน 02.jpg (63.63 KB, 350x263 - ดู 2716 ครั้ง.)

* หอคำเมืองน่าน 03.jpg (57.03 KB, 410x307 - ดู 2681 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 21:52:23 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
perf
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 127


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 21:53:23 »

จากภาพนี้ด้านหน้าที่เห็นเป็นเจดีย์คือ พระธาตุช้างค้ำ ตั้งอยู่บนที่วัดหลวงกลางเวียง หรือวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร(หลวงพ่อเจ้าคณะจังหวัดก็อยู่ที่วัดนี้คับ  ยิงฟันยิ้ม) และในพื้นที่ของวัดก็จะมีโรงเรียนนันทบุรีวิทยาคับ


* หอคำเมืองน่าน 02.jpg (63.63 KB, 350x263 - ดู 2515 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 21:55:26 »

รายการพินิจนคร ช่องทีวีไทย
นันทบุรีศรีนครน่าน 7 ประตู 1 หนอง 12 วัด นครรัฐประวัติศาสตร์ล้านนา






IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 22:11:52 »

.


* 001.jpg (85.06 KB, 728x234 - ดู 2517 ครั้ง.)

* ตราประจำจังหวัดน่าน.jpg (99.32 KB, 494x500 - ดู 2904 ครั้ง.)

* ตราบนผ้าพันคอลูกเสือจังหวัดน่าน.jpg (69.23 KB, 595x600 - ดู 4715 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 22:30:20 »

ศาลท้าวขาก่าน บริเวณวัดพระธาตุแช่แห้ง
ท้าวขาก่านครองเมืองน่านในสมัยพระเจ้าติโลกราช
โดยได้บูรณะวัดพระธาตุแช่แห้ง
และทำสงครามขับไล่กองทัพแกว (เวียดนาม) ออกจากเมืองน่านและหลวงพระบาง
ขณะนั้นเวียดนามปกครองโดยจักรพรรดิเลทันต์ตอง
ต่อมา พ.ศ.2023 พระเจ้าติโลกราชได้เลื่อนให้ท้าวขาก่านมาปกครองเมืองเชียงราย


สงครามระหว่างล้านนากับเวียดนาม ทำให้ท้าวขาก่านมีชื่อเสียงมาก
จักรพรรดิเฉิงฮว่า (Chenghua) แห่งราชวงศ์หมิง
ต้องส่งคนมาวาดภาพท้าวขาก่านเก็บไว้ในหอตำราหลวง
สาเหตุที่จีนชื่นชมล้านนาและท้าวขาก่านก็ไม่มีอะไรมาก
นั่นก็เพราะล้านนาช่วยแก้แค้นแทนจีน
เนื่องจากจีนพ่ายแพ้เวียดนามหลายครั้ง
และไม่สามารถแผ่อำนาจเข้าไปปกครองเวียดนามได้เลยในสมัยราชวงศ์หมิง

ปัจจุบัน ในบริเวณวัดพระธาตุแช่แห้ง อ.ภูเพียง จ.น่าน
มีศาลของท้าวขาก่านในผู้คนสักการะ โดยท้าวขาก่านเป็นที่รู้จักดีของผู้คนในละแวกนั้น
เพราะเคยเป็นถึงเจ้าเมืองน่านมาก่อน
อย่างไรก็ตาม ในเมืองเชียงรายซึ่งเป็นอีกเมืองที่ท้าวขาก่านได้มาปกครอง
กลับพบว่าไม่มีผู้ใด้รู้จักท้าวขาก่านเลย
สาเหตุอาจจะมาจาก มิได้มีการบันทึกผลงานของท้าวขาก่านไว้ในช่วงที่ปกครองเมืองเชียงราย


* ศาลท้าวขาก่าน 01.jpg (98.99 KB, 552x400 - ดู 2647 ครั้ง.)

* ศาลท้าวขาก่าน 02.jpg (71.01 KB, 360x480 - ดู 2778 ครั้ง.)

* ศาลท้าวขาก่าน (เก่า).jpg (133.68 KB, 350x232 - ดู 2541 ครั้ง.)

* Chenghua Emperor.jpg (73.18 KB, 291x352 - ดู 2625 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 22:45:10 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2011, 22:37:35 »

ศาลเจ้าหลวงท้าวขาก่าน ที่ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของคนในท้องถิ่น อดีตท่านผู้ครองนครน่าน และผู้ที่ได้บนบานศาลกล่าว ขอพรสิ่งใดไว้กับท่านแล้วสำเร็จ ต่างเดินทางมาทำบุญบวงสรวงแก้บนปีใหม่กับเจ้าหลวงท้าวขาก่าน ทั้งนี้ถือเป็นประเพณีที่พ้นปีใหม่ไปแล้วจะทำบุญเป็นประจำทุก ๆ ปี ซึ่งสิ่งของที่นำมาถวายบวงสรวงสักการะ ส่วนใหญ่จะเป็นหัวหมู หมูทั้งตัว ไก่ นอกจากนี้มีสุรา ข้าวปลาอาหาร ผลหมากรากไม้ อาทิ กล้วย อ้อย มะพร้าว ส้ม มะขาม น้ำเปล่า ข้าวต้ม ขนมหวาน ทองหยิบทองหยอด ขนมชั้น ขนมใบเตย พวงมาลัยดอกไม้สด หมาก เมี่ยงที่ห่อด้วยเกลือเม็ด บุหรี่ที่มวนจากใบตองแห้ง เพื่อขอพรเจ้าหลวงท้าว ขาก่าน อดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน ให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ซึ่งการบนบานศาลกล่าวถือเป็นสัจจะวาจาต่อกัน ระหว่างผู้ที่เคารพเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อขอพรแล้วสมประสงค์ จึงกลับมาสักการะบวงสรวงท่าน ตามประเพณีที่ถือสืบทอดกันมานานหลายชั่วอายุคน ส่วนมากมักจะทำกันช่วงปีใหม่เพื่อให้เกิดสิริมงคลและถือเอาเป็นวันเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วย

ศาลเจ้าหลวงท้าวขาก่านได้รับการสร้างขึ้นใหม่เมื่อ ปี 2550 ผู้ใดที่ไม่เคยได้มาบูชาท่านอาจไม่เคยเห็นสภาพศาลหลังเดิม ก่อนการสร้างศาลหลังใหม่พระสงฆ์และชาวบ้านได้ช่วยกันยกรูปปั้นของท่านออกมาประดิษฐานภายนอกชั่วคราว และเมื่อสร้างศาลแล้วเสร็จเมื่องานหกเป็งที่ผ่านมาได้ทำพิธีและสัการะนำมาประดิษฐานไว้ ณ ศาลที่ตั้งปัจจุบัน

สำหรับประวัติเจ้าหลวงท้าวขาก่าน เมื่อ พ.ศ. 2019 หรือ จุลศักราช 838 พระเจ้าติโลกราชผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้แต่งตั้งให้ท้าวขาก่าน มาปกครองเมืองน่าน ต่อมาท้าวขาก่าน ได้สร้าง พระธาตุภูเพียงแช่แห้งขึ้นใหม่ ในขณะที่แผ้วถางป่าและถาวัลย์ ขุดพบพระธาตุ 7 พระองค์ จึงนำมารวมกับพระพิมพ์เงินพิมพ์ทอง 20 องค์ ที่พญาการเมืองได้มาจากสุโขทัยใต้ นำมาบรรจุไว้ในภูเพียงแช่แห้ง แล้วก่อพระเจดีย์ทับ ซึ่งต่อมาก็คือพระธาตุแช่แห้งองค์ปัจจุบัน ต่อมาจุลศักราช 842 หรือ พ.ศ.2023 ท้าวขาก่าน ได้รับแต่งตั้งให้ไปครองเมืองเชียงราย

รูปปั้นท้าวขาก่าน มีลักษณะเด่นประจำตัว คือ ขาท่านจะเต็มไปด้วยลายสักหมึกรูปพญานาคและเถาวัลย์จนเต็มขา เวลาเดินจะคล่องแคล่วว่องไว ท้าวขาก่าน ถือเป็นอดีตเจ้าผู้ครองนครน่านอีกพระองค์หนึ่ง ที่สร้างความเจริญและสืบทอดพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง จนทำให้มีความผูกพันกับชาวน่านและจังหวัดน่าน อันเป็นเมืองพระพุทธศาสนา มีพระธาตุแช่แห้ง ที่ท้าวขาก่านสร้างไว้ให้ได้เคารพบูชา ประชาชนให้ความเคารพสักการะ โดยได้สร้างรูปปั้นท่านไว้ในบริเวณวัดพระธาตุแช่แห้ง เพื่อให้คนรุ่นหลังไว้รำลึกสักการบูชาตลอดจน ชั่วลูกหลานเพื่อให้เกิดสิริมงคล

ที่มา
http://www.nan2day.com/forum/index.php?topic=356.0
IP : บันทึกการเข้า
คำอ้ายบ้านดู่
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,033


คำอ้ายบ้านดู่


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2011, 10:57:33 »

ศาลท้าวขาก่าน บริเวณวัดพระธาตุแช่แห้ง
ท้าวขาก่านครองเมืองน่านในสมัยพระเจ้าติโลกราช
โดยได้บูรณะวัดพระธาตุแช่แห้ง
และทำสงครามขับไล่กองทัพแกว (เวียดนาม) ออกจากเมืองน่านและหลวงพระบาง
ขณะนั้นเวียดนามปกครองโดยจักรพรรดิเลทันต์ตอง
ต่อมา พ.ศ.2023 พระเจ้าติโลกราชได้เลื่อนให้ท้าวขาก่านมาปกครองเมืองเชียงราย


สงครามระหว่างล้านนากับเวียดนาม ทำให้ท้าวขาก่านมีชื่อเสียงมาก
จักรพรรดิเฉิงฮว่า (Chenghua) แห่งราชวงศ์หมิง
ต้องส่งคนมาวาดภาพท้าวขาก่านเก็บไว้ในหอตำราหลวง
สาเหตุที่จีนชื่นชมล้านนาและท้าวขาก่านก็ไม่มีอะไรมาก
นั่นก็เพราะล้านนาช่วยแก้แค้นแทนจีน
เนื่องจากจีนพ่ายแพ้เวียดนามหลายครั้ง
และไม่สามารถแผ่อำนาจเข้าไปปกครองเวียดนามได้เลยในสมัยราชวงศ์หมิง

ปัจจุบัน ในบริเวณวัดพระธาตุแช่แห้ง อ.ภูเพียง จ.น่าน
มีศาลของท้าวขาก่านในผู้คนสักการะ โดยท้าวขาก่านเป็นที่รู้จักดีของผู้คนในละแวกนั้น
เพราะเคยเป็นถึงเจ้าเมืองน่านมาก่อน
อย่างไรก็ตาม ในเมืองเชียงรายซึ่งเป็นอีกเมืองที่ท้าวขาก่านได้มาปกครอง
กลับพบว่าไม่มีผู้ใด้รู้จักท้าวขาก่านเลย
สาเหตุอาจจะมาจาก มิได้มีการบันทึกผลงานของท้าวขาก่านไว้ในช่วงที่ปกครองเมืองเชียงราย


ได้ความฮู้ดี ยินดีที่มาแบ่งปัน
IP : บันทึกการเข้า
SAWBWA
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2011, 18:53:45 »

ยินดีตี่เอากำฮู้มาปั๋นกั๋นครับ
IP : บันทึกการเข้า
Benzram
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 216


หนุ่มน้อย ไร้ร้อยตีนกา


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 16 มีนาคม 2011, 21:31:35 »

เกยอ่านหนังสือท่องเที่ยวน่านครับ เขาว่าคนน่านโบราณเป็น คนกาว คนกาวเป๋นไผครับ เป๋นคนไทเหมือนเฮาก่อ แล้วต๋อนนี้เขาไปใหนหมดครับ อ้ายเจียงฮายพันธุ์แท้จ่วยตอบน่อยครับ ใหนๆก่อเล่าเรื่องเมืองน่านแล้วครับ
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 16 มีนาคม 2011, 21:46:56 »

เกยอ่านหนังสือท่องเที่ยวน่านครับ เขาว่าคนน่านโบราณเป็น คนกาว คนกาวเป๋นไผครับ เป๋นคนไทเหมือนเฮาก่อ แล้วต๋อนนี้เขาไปใหนหมดครับ อ้ายเจียงฮายพันธุ์แท้จ่วยตอบน่อยครับ ใหนๆก่อเล่าเรื่องเมืองน่านแล้วครับ

ยังบ่มีก๋านสรุปน่อว่าก๋าวเป๋นคนในตระกูลไทก่อ แต่ก็มีความเป๋นไปได้นักสุด
ตอนนี้โด๋นกลืนก๋ายเป๋นคนเมืองไปละครับ
บ่าเดี่ยวในเมืองน่านมีชาติพันธุ์อื่นๆ ก๋าวเลยหายไปละ
ขนาดเจื้อสายเจ้าหลวงเมืองน่านเปิ้นยังลุกแม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เจียงใหม่ มาเลยครับ
ส่วนตางท่าวังผาก็มีก้าลื้อ บนดอยก็มีแหมหลายเผ่า
คนน่านรุ่นเก่าหายไปจ้าดนักครับ เพราะเมืองน่านร้างไปหลายเตื้อ คนโดนกวาดต้อนไปตี้อื่น


เรื่องเจื้อสายของคนล้านนามันก็บ่ได้เพียว (pure) น่อ สนใจ๋อ่านต่อลิงค์นี้ครับ
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=73092.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 16 มีนาคม 2011, 21:52:41 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
Benzram
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 216


หนุ่มน้อย ไร้ร้อยตีนกา


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 16 มีนาคม 2011, 22:00:24 »

เกยอ่านหนังสือท่องเที่ยวน่านครับ เขาว่าคนน่านโบราณเป็น คนกาว คนกาวเป๋นไผครับ เป๋นคนไทเหมือนเฮาก่อ แล้วต๋อนนี้เขาไปใหนหมดครับ อ้ายเจียงฮายพันธุ์แท้จ่วยตอบน่อยครับ ใหนๆก่อเล่าเรื่องเมืองน่านแล้วครับ

ยังบ่มีก๋านสรุปน่อว่าก๋าวเป๋นคนในตระกูลไทก่อ แต่ก็มีความเป๋นไปได้นักสุด
ตอนนี้โด๋นกลืนก๋ายเป๋นคนเมืองไปละครับ
บ่าเดี่ยวในเมืองน่านมีชาติพันธุ์อื่นๆ ก๋าวเลยหายไปละ
ขนาดเจื้อสายเจ้าหลวงเมืองน่านเปิ้นยังลุกแม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เจียงใหม่ มาเลยครับ
ส่วนตางท่าวังผาก็มีก้าลื้อ บนดอยก็มีแหมหลายเผ่า
คนน่านรุ่นเก่าหายไปจ้าดนักครับ เพราะเมืองน่านร้างไปหลายเตื้อ คนโดนกวาดต้อนไปตี้อื่น

ขอบคุณจ๊าดนักครับ อ้าย
เรื่องเจื้อสายของคนล้านนามันก็บ่ได้เพียว (pure) น่อ สนใจ๋อ่านต่อลิงค์นี้ครับ
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=73092.0
ขอบคุณจ๊าดนัก ครับอ้าย
IP : บันทึกการเข้า
>:l!ne-po!nt:<
~: ดาบราชบุตร :~
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,257

~>: แขกดอย :<~


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 17 มีนาคม 2011, 07:42:29 »

ความรู้เพียบเลยห้องนี้  ตกใจ ตกใจ
IP : บันทึกการเข้า

!!!!!  กว่า ๑,๑๐๐ กม.จากยอดดอยสู่ทะเล...ตะวันออก  !!!!!

www.facebook.com/1100kilometer

||||| ธรรมชาติสร้างอากาศบริสุทธิ์    ส่วนมนุษย์นั้นสร้างอาวุธเพื่อทำลาย |||||
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 17 มีนาคม 2011, 09:12:52 »

ชอบคนน่านอู้ครับ
สมัยเฮียนมีเปื้อนลุกน่านมาเฮียนตวยกั๋น
อยู่กั๋นจนติดสำเนียงน่านตังนาน้อยมาเลยครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
hananyong
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2011, 15:49:24 »

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
ลูกหล้าแม่อุ้ย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 332



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 29 มีนาคม 2011, 18:27:52 »

สาวน่าน งามแต๋ๆ
IP : บันทึกการเข้า
ohyes
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 04 เมษายน 2011, 23:15:26 »

บ่าวเมืองน่านหล่ออะ...จั๋ยดีโตย บ่าจั๋ยฮ้ายอย่างบ่าวเจียงฮาย เนาะ ว่าก่อ 555
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 04 เมษายน 2011, 23:17:38 โดย ohyes » IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!