ขอแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหนึ่งก็ตามพินัยกรรมที่ระบุไว้ว่าใครคือผู้รับพินัยกรรม แต่พินัยกรรมนั้นกฎหมายบังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือและถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ (รายละเอียดหาอ่านเอานะ)
อีกส่วนหนึ่งถ้าไม่ได้เขียนพินัยกรรมไว้หรือทรัพย์สินที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมก็ตกเป็นของทายาทโดยชอบธรรมโดยแบ่งตามลำดับทายาทโดยชอบธรรม (รายละเอียดหาอ่านเอานะ)
: ลูกของเมียคนก่อนที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะสามารถฟ้องร้องเอามรดกของพ่อเรา จากแม่เราได้ไหมค่ะ
ส่วนลูกภรรยาเก่ามีสิทธิ์ในมรดกพ่อไหมทั้งๆที่ไม่ได้จดทะเบียสมรสนั้น ก็ต้องดูว่าตัวคุณพ่อได้จดรับรอง/มีพฤติการณ์ รับรองเป็นบุตรไหม เช่น อนุญาตให้ใช้นามสกุลของตน หรือพาบุตรไปฝากเข้าโรงเรียน หรือใครถามก็บอกว่าเป็นบุตรของตน เป็นต้น ถ้าเคยจด/มีพฤติการณ์ รับเป็นบุตรเขาจะมีสิทธิ์ในมรดกในส่วนของพ่อเขาเสมือนบุตรโดยชอบธรรมเลย
: แต่มรดกทั้งหมดที่พ่อแม่เขาหามาด้วยกันกับแม่เพียงคนเดียว
คือว่าทรัพย์สินของคุณพ่อและคุณแม่คุณที่หามาระหว่างที่จดทะเบียนสมรสกันอยุ่นั้นถือเป็นสินสมรสระหว่างสามีภรรยา เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก็ถือว่าการสมรสสิ้นสุดลงต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาคนละครึ่งเท่าๆกัน ซึ่งครึ่งหนึ่งในส่วนของพ่อคุณนี่แหละที่ทางลูกของภรรยาเก่าเขาจะมีสิทธิ์ถ้าลูกคนที่ว่าอยู่ในเงื่อนไขข้อข้างบนนะ แต่ก็ต้องแบ่งๆหารๆกันในหมู่บรรดาทายาทในชอบธรรมนะ ไม่ใช่ลูกภรรยาเก่าจะเอาไปหมดในส่วนของพ่อเขา เพราะคุณเองก็เป็นลูกคุณพ่อคุณเหมือนกัน
เบื้องต้นก็ประมาณนี้ครับ รอท่านอื่นตอบต่อครับ
