นายไกรภพ แพ่งสภา ตัวแทนคอตตอน ยูเอสเอ ภูมิภาคอาเซียน
กล่าวว่า คอตตอน ยูเอสเอได้ทำการสำรวจวิจัยตลาดในหัวข้อ
“Global Lifestyle Monitor” โดยจะทำการสำรวจทุกๆ 2 ปี
กับผู้บริโภคใน 10 ประเทศ ได้แก่ บราซิล โคลัมเบีย เยอรมนี
อิตาลี สหราชอาณาจักร ตุรกี อินเดีย จีน ญี่ปุ่น และประเทศไทย
เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการจับจ่าย ใช้สอยของผู้บริโภคทั่วโลก
และนำผลสำรวจที่ได้มาวิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลอันเป็น
ประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเสื้อผ้า และ
เครื่องนุ่งห่มในหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ พฤติกรรม
การจับจ่ายใช้สอย ปัจจัยที่ผู้บริโภคใช้ประกอบการตัดสินใจ
ซื้อเสื้อผ้า เทรนด์การช้อปปิ้งของผู้บริโภค ช่องทางหลักใน
การเลือกซื้อสินค้า
รวมไปถึง การจัดลำดับประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่อยู่
ในตู้เสื้อผ้าของผู้บริโภคคนไทย เพื่อให้ผู้ประกอบการ
สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปวางแผนพัฒนาสินค้า รวม
ถึงช่องทางการจัดจำหน่ายให้ตอบโจทย์ความต้องการ
และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น
นายไกรภพ กล่าวต่อว่า “สำหรับในประเทศไทย เราได้
สำรวจกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 คน แบ่งเป็นเพศชาย
500 คน และเพศหญิง 500 คน ในกลุ่มเป้าหมายอายุ
ระหว่าง 15-55 ปี มีระดับรายได้อยู่ที่ 15,000 – 60,000
บาทขึ้นไป และพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และ
หัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ โคราช ชลบุรี และหาดใหญ่
ซึ่งจากการสำรวจพบว่า 6 ใน 10 ของผู้บริโภคชาวไทย
ชอบซื้อเสื้อผ้า และกว่าร้อยละ 58 ซื้อเสื้อผ้าเดือนละหนึ่งครั้ง
หรือมากกว่า
จากผลสำรวจพบว่า ผู้บริโภคชาวไทยมีแนวโน้มซื้อเสื้อผ้า
เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ในทุกๆ ปี และต่อเนื่องไปจนถึง
ปี 2563
โดยใน ปี 2557 นี้ มูลค่าโดยรวมของการซื้อเสื้อผ้าของ
ผู้บริโภคชาวไทยอยู่ที่ราว 2,763 พันล้านบาท โดยจากผล
สำรวจพบว่า 6 ใน 10 มีพฤติกรรมชื่นชอบการซื้อเสื้อผ้า
โดยร้อยละ 58 ต่างยอมรับว่าซื้อเสื้อผ้าอย่างต่ำเดือนละ
หนึ่งครั้งหรือมากกว่า และร้อยละ 63 ของผู้บริโภคชอบ
ซื้อเสื้อผ้าตอนลดราคามากที่สุด
และเมื่อถามถึงปัจจัยสำคัญในการซื้อเสื้อผ้า พบว่า กว่า
ร้อยละ 93 มองว่า “คุณภาพที่ดี” เป็นปัจจัยสำคัญในการ
ซื้อเสื้อผ้า ซึ่งผู้บริโภคร้อยละ 57 ยินดีที่จะจ่ายมากขึ้นเพื่อ
คุณภาพที่ดีของสินค้า
ในส่วนของวัตถุดิบหลักในการตัดเย็บเสื้อผ้า 8 ใน 10 ของ
ผู้บริโภคเห็นพ้องต้องกันว่าเส้นใยฝ้ายเป็นเส้นใยที่มี
คุณภาพดี และเป็นเส้นใยที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุด
ในขณะที่ 6 ใน 10 ผู้บริโภคตระหนักถึงเส้นใยอื่นๆ ที่ถูก
นำมาทดแทนเส้นใยจากฝ้าย และ ร้อยละ 64 ไม่พึงพอใจ
ที่เส้นใยอื่นๆ มาทดแทนฝ้ายในเสื้อผ้า และ ร้อยละ 67 ยินดี
ที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อให้เก็บส่วนผสมของฝ้ายไว้ในเสื้อผ้า
จากผลวิจัยดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้บริโภคคนไทยมีพฤติกรรม
ซื้อเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้จากแนวโน้มการ
เลือกซื้อเสื้อผ้าที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3 ในทุกๆ ปี และต่อเนื่องไป
จนถึงปี 2563 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 3,186
พันล้านบาท
อีกทั้งผู้บริโภคโดยส่วนมากยินดีที่จะจ่ายเงินในราคาที่สูงขึ้น
เพื่อแลกกับคุณภาพที่ดีซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ
ซื้อสินค้า รวมถึงส่วนผสมของเส้นใยที่ผู้บริโภคชาวไทย
รับรู้ได้ถึงการนำเส้นใยอื่นๆมาทดแทนเส้นใยฝ้ายที่เป็นเส้นใย
ที่ชาวไทยชื่นชอบและรับรู้ว่าเส้นใยที่มีคุณภาพดี
ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพและ
ส่วนผสมเส้นใยฝ้ายที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการตัดเย็บเสื้อผ้า
สนับสนุนข้อมูลโดย
นิตยสารแมกเก็ตติ้ง (Magketing)
สามารถดาวน์โหลดนิตยสารฉบับเต็ม...ฟรี...ได้ที่
http://www.ebooks.in.th/ebook/32206/magketing_vol7/(วิธีดาวน์โหลดไฟล์ให้ Click ปุ่ม >> คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์)