ขอบคุณกำฮู้ดีๆๆๆคับอ้าย แต่ขอเปลี่ยนน้อยได้ก่อ ในเรื่องที่ว่ากบฏป้อพญาผาบขอเลี่ยงใจ้กำว่ากบฏเตอะคับ อ่านแล้วแสลงใจ๋
อั้นใจ้กำว่าอะหยังดีครับมันคงบ่ามีกำตี้ดีกว่านี้ละคับ
ที่มาที่ไปสืบหายาก

ลองอ่านผ่อแล้วเซาะกำอู้ที่เปิงใจ๋มาผ่อกันน่อ
ในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าหลวงผู้ครองเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ ๗
(ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๓-๒๔๔๐)
กบฏพญาปราบสงครามเกิดขึ้นเมื่อ
วันที่ ๓ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๒ ในตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย
มูลเหตุเกิดมาจาก น้อยวงษ์เป็นเจ้าภาษีนายอากรผูกขาด ภาษีหมาก ภาษีพลู มะพร้าว
ข้าวเปลือก และ วัวควาย ในแขวงเมืองเชียงใหม่ในอัตราปีละ ๔๑๐๐๐รูปี (สี่หมื่นหนึ่งพันรูปี)
ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าเจ้าเดิมถึง ๑๖๐๐๐รูปี ดังนั้น
จึงทำหื้อน้อยวงษ์ต้องเก็บภาษีพืชผลการเกษตรเอากับชาวบ้านอย่างเข้มงวดละเอียดถี่ยิบ
เพื่อให้ได้เงินจนคุ้มทุนและคุ้มกำไรในการดำเนินการผูกขาดสัมปทานภาษีในครั้งนี้
ชาวบ้านชาวเมืองเดือดร้อนกันไปหมดทุกหย่อมหญ้า จ๋นปอมีกำอู้ที่ว่า
จะเกี้ยวหมากสักกำ ต้องหลบหลี้ดีๆ เดียวน้อยวงษ์จะหัน มันจะมาเก็บก๊อก
(ก๊อก เป็นกำเมือง แปลว่า ภาษี ) ในที่สุดความอดทนของชาวบ้านก็ถึงจุดสิ้นสุด
ในเช้าของวันที่ ๓ กันยายน ๒๔๓๒ มีชาวบ้านหนองจ๊อม ๔ คน บ่อมีเงินเสียภาษี
จึงเอาผลิตผลกล้วยอ้อยมาเสียแทนเงิน น้อยวงษ์บ่ายอม ได้จับชาวบ้านทั้งสี่คนใส่ขื่อคาน
แล้วเอามาประจานที่กลางข่วงบ้านป้อแค่วน (บ้านกำนัน) ทำให้พญาปราบสงคราม
ตำแหน่งแม่ทัพเมืองเชียงใหม่ ปกครองแค่วนหนองจ๊อม แค่วนแม่คือ แค่วนกอก
เกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมากที่น้อยวงษ์มันมาข่มเหงรังแกคนในปกครองของท่าน
พญาปราบสงคราม โกรธขนาดหนัก ประกอบกับชาวบ้านก็ทนไม่ไหวแล้วเหมือนกัน
เลยบุกเข้าปลดขื่อคาหิ้อชาวบ้านที่ถูกจับทั้งสี่คนออกทันที
และพร้อมใจกันไล่พวกที่มาเก็บภาษีออกไปจากพื้นที่ แถมยังประกาศไปว่า
ต่อไปนี้ห้ามเข้ามาเก็บภาษีในเขตปกครองเด็ดขาด
น้อยวงษ์ ไปฟ้องเจ้าหลวง ชาวบ้านก็รวมตัวกันได้สอง-สามพันคน อาวุธครบมือ
จึงได้ทำพิธีสาบานดื่มน้ำสัจจะกันที่วัดฟ้ามุ่ย บ้านหนองจ๊อม
หลังจากนั้นก็ได้ตกลงยกพญาปราบขึ้นเป็นเจ้าเมืองสันทราย (แข็งเมือง) หมู่ป้อแค่วน
แก่บ้าน ป้อหลวงบ้าน หลายบ้านหลายจองก็มาร่วมสมทบเป็นกองทัพใหญ่
จากเริ่มต่อต้านการเก็บภาษี ก็ลามไปเป็นการแข็งเมือง
ต่อต้านเจ้าหลวงและต่อต้านกรุงเทพในที่สุด พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์
ข้าหลวงพิเศษ ทรงออกคำสั่งลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๓๒
ให้พญาปราบเข้ามอบตัวภายใน ๕ วัน
พญาปราบฯ ไม่ยอม ซ้ำยังวางแผนเข้าตีเมืองเชียงใหม่อีกต่างหาก
เช้าวันที่ ๑๘ จะเข้าตีเมือง
โดยมุ่งหมายสังหารข้าราชการจากส่วนกลางและเจ้าภาษีชาวจีนในฐานะผู้สร้างความเดือดร้อน
โดยเฉพาะน้อยวงษ์นั้นจะเอามาใส่ครกตำให้แหลก
แต่แผนการล้มเหลว เพราะก่อนจะเข้าตีเมือง คืนนั้นฝนตกหนัก น้ำท่วมสันทราย
ชาวบ้านก็เลยแตกทัพกลับไปบ้านไปช่วยเมียขนข้าวขนของหนีน้ำ
ดังนั้น ในวันที่ ๒๑ กันยายน เจ้าอุปราช เจ้าบุรีรัตน์
จึงออกปราบปรามจับกุมชาวบ้านและหัวหน้ากบฏได้โดยง่าย
ส่วนตัวพญาปราบหนีไปได้พร้อมลูกเมีย หัวหน้า ๑๒ คนโดนประหาร ชาวบ้านลูกสมุน
หลายร้อย โดนเฆี่ยนคนละ ๙๐ หวายพ่อง ๖๐ หวายพ่อง เบาสุด ๓๐ หวาย แล้วปล่อยตัวไป
พญาปราบหนีไปเพิ่งเจ้าเมืองเชียงตุง และ เข้ายึดเอาเมืองฝางใน วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๓
หนานอินต๊ะ เจ้าเมืองฝาง ยอมแต่โดยดี ยกเมืองฝางหื้อพญาปราบขึ้นปกครองแทน
พญาปราบได้รวบรวม ชาวเขา ชาวไทใหญ่ ชาวฮ่อ และหมู่ลูกสมุนเก่าๆตั้งตนแข็งเมืองแหมรอบ
ประกาศแยกเมืองฝางเป็นอิสระ
กองทัพลำปางที่เจ้าหลวงลำปางส่งมาช่วยเจ้าหลวงเชียงใหม่ปราบกบฏในครั้งนี้ก็
เลยยกทัพไปเมืองฝาง ไปปะทะกับกองทัพเมืองฝางใน วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๓๓ ไปเจอกันที่
ผานกกิ่ว เขตเมืองพร้าว กองทัพฝางแตกพ่ายไป ลูกชาย ๒ คน
ของพญาปราบฯ ตายในสนามรบ พญาปราบฯ หนีไปอยู่เชียงตุงอีกครั้ง
เจ้าเมืองเชียงตุงจึงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองโก
กบฏพญาปราบสงครามในครั้งนี้ ทำให้กรุงเทพหวาดระแวงและเริ่มไม่ไว้ใจ
พระเจ้าประเทศราชฝ่ายเหนือมากขึ้น เพราะมีความรู้สึกว่า พระเจ้าเมืองเชียงใหม่
ไม่ค่อยจะกระตือรือร้นในการเข้าจัดการปราบปรามกบฏซักเท่าไหร่
เนื่องจากตอนแรกพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้ออกคำสั่งให้ เจ้าอุปราช
(ซึ่งต่อมา คือ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์) นำทัพออกไปปราบพญาปราบ
ซึ่งเป็นแม่ทัพในปกครองของเจ้าอุปราช
เจ้าอุปราชถึงกับมีหนังสือตอบคำสั่งไปว่า
" หากมีการศึกใด จักไปให้ แต่ศึกพญาปราบ ไม่ไป "
ครั้งนั้นทางการบ้านเมืองได้ออกกฎหมายให้เก็บภาษี ต้นหมาก(ภาษีสมพัตร) แต่ไม่ได้เก็บด้วยตนเองปล่อยให้ นายอากร เป็นผู้รับเหมาเก็บจากราษฎรอีกต่อหนึ่ง นายอากรผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการก็ออกสำรวจสวนหมากทุกๆแห่งในเมืองเชียงใหม่เรื่อย
ไป จนถึงอำเภอสันทรายซึ่งเป็นถิ่นของพญาผาบ เป็นนายแคว้นหนองจ๊อม(ผาบ แปลว่า ปราบ) นายอากรผู้รับอาสามาสำรวจสวนหมาก ได้ทำการสำรวจมาถึงท้องที่อำเภอสันทรายอันเป็นท้องที่บ้านของพญาผาบ ท่านมาถึงท้องที่อำเภอสันทรายอันเป็นท้องที่บ้านของพญาผาบ ท่านพญาได้สังเกตเห็นวิธีการสำรวจของนายอากรคือ เอาเส้นตอกไปมัดต้นหมากไว้ทุกต้นแล้วแก้ออกนับดูจำนวนตอกว่าจะมีสักกี่สิบเส้น ตามกำหนดก็ต้องใช้ตอกมัดต้นละหนึ่งเส้นเท่านั้น แต่นายอากรสมัยนั้นกลับเล่นลวดลายเอากับราษฎรคือ แทนที่จะใช้ตอกเส้นหนึ่งต่อหมากต้นหนึ่ง กลับกลายเป็นว่าต้นหมากต้นหนึ่งมีเส้นตอกมัดไว้หลายเส้น ซึ่งหมายความว่าประชาชนผู้เป็นเจ้าของต้นหมาก จะต้องเสียภาษีเพิ่มมากขึ้นจากที่ควรเสีย เพราะ จำนวนตอกกับจำนวนเส้นตอกของนายอากรเกิดไม่ตรงกัน
พญาผาบเห็นกลโกงของนายอากรก็กล่าวทักท้วงขึ้นทันทีแต่นายอากรก็ไม่ยอมฟังเสียงทักท้วง มุ่งแต่จะทำตามที่ตนมุ่งหวังท่าเดียว พญาผาบขัดใจก็นำความเข้ากราบทูลพ่อเจ้าชีวิตให้ทรงทราบ แต่ครั้งนั้นกิจการบ้านเมืองและอำนาจส่วนใหญ่ได้ถูกลิดรอนไปมากแล้ว การปกครองบ้านเมืองมีทั้งตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑล และอุปราช พ่อเจ้าชีวิตก็อ้ำอึ้งอึดอัดพระทัย ไม่สามารถจะช่วยให้ความเป็นธรรมแก่ท่านพญาได้
ดังนั้น พญาผาบ บุรุษผู้กล้าหาญแห่งสันทราย ก็บ่ายหน้าไปหาสหายรักที่ชื่อว่า พญาคูหา ปรึกษาหารือกันถึงเรื่องที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการเก็บภาษีต้นหมากซึ่งกำลังเดือดร้อนทุกครัวเรือน
“เราจะปล่อยให้อ้ายพวกนี้มากดขี่พวกเราน่ะไม่ได้หรอก ท่านพญา เราจะต้องร่วมมือกันต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม” พญาผาบว่า
“ข้าก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน” พญาคูหาตอบคำปรารภของสหายรักอย่างหนักแน่น “เราจะต้องแข็งข้อไม่ยอมมัน เอาละเราต้องไปป่าวประกาศบอกราษฎรให้ช่วยกันประท้วงการกระทำของนายอากรครั้งนี้”
“แต่เราจะทำการประท้วงด้วยวิธีใดล่ะ ท่านพญา” พญาคูหาถามภายหลังจากนิ่งไปครู่หนึ่งแล้วพญาผาบก็ยังมิได้ต่อคำเพราะกำลังให้หัวคิดตรึกตรองอย่างเคร่งเครียดพอพญาคูหาถามขึ้นเช่นนั้น ท่านพญาผาบก็ตกลงใจได้ในทันที
“ข้าว่าเอาอย่างนี้ดีไหม ในเมื่อพ่อเจ้าชีวิตก็ช่วยอะไรไม่ได้ เราจะรวบรวมกำลังคนออกไปทำการปิดเส้นทางระหว่าง อำเภอสันทรายนี้เสีย ไม่ยอมให้พวกในเวียงมันล่วงล้ำเข้ามาในเขตอำเภอสันทรายได้”
พญาคูหามองตาพญาผาบอย่างยกย่องในความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว การขัดอาญาอันหมายถึงคำสั่งเจ้านายสมัยนั้นมีโทษหนักนัก แต่ด้วยความเป็นลูกผู้ชาย พญาคูหาก็มิได้ย่อท้อกลัวตายเมื่อสหายพญาว่าดังนั้นก็พยักหน้าหงึก
“เอาเลย ท่านพญาผาบ ข้าเองจะเป็นคนออกป่าวประกาศร้องให้ราษฎรยกหมู่ไปปิดกั้นแดน แล้วส่งคนไปเจรจากับทางการบ้านเมืองแถมครั้งหนึ่ง แต่เราจะกำหนดเอาที่ตรงไหนเป็นที่มั่นกันเล่า”
“อ๋อ ข้าตกลงว่าจะเอาตรงลำน้ำแม่คาวนั่นหละท่านพญา” พญาผาบตอบ “เราจะถือเอาลำน้ำแม่คาวเป็นแดนเส้นขนาน ไผจักล่วงล้ำเข้ามามิได้” ด้วยประการฉะนี้ ชายฉกรรจ์ทุกหมู่บ้านในเขตอำเภอ สันทราย ต่างก็ยกกันมาปิดกั้นแดนระหว่างอำเภอสันทรายจนแน่นขนัดไปหมดทุกคนต่างก็มีมีดพร้ากะท้า
ขวานตามมีตามเกิด แต่ส่วนใหญ่ก็ดาบยาวอันเป็นอาวุธประจำมือของแต่ละคน มีพญาผาบเป็นหัวหน้าพญาคูหาเป็นรอง หากเจรจาไม่สำเร็จก็จะพากันแข็งข้อ ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าการทำเช่นนั้นไม่ผิดกับการเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง แต่พญาทั้งสองกับประชาชนชาวสันทรายก็มิได้ย่อท้อ แต่ผลการเจรจากลับล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่ามิหนำซ้ำยังถูกกล่าวหาว่า “พญาผาบเป็นกบฏ” เสียอีก
บุรุษใจเพชรแห่งสันทราย หมายพึ่งความยุติธรรมไม่ได้แล้วความหวังเพื่อสันติสุขของประชาชนถูกมองผิด ก็เสียใจเป็นอันมาก เมื่อทางฝ่ายบ้านเมืองส่งไพร่พลมาทำการ “ปราบกบฏ” พญาผาบก็พาพวกพ้องของตนต่อสู้กับพวกที่มา “ปราบ” แต่กำลังคนกำลังอาวุธมีไม่เพียงพอ อีกอย่างหนึ่งก็ไม่ได้คิดหมายความว่าจะตั้งตนเป็นกบฏดังกล่าวหา พญาผาบเห็นท่าจะสู้กับฝ่ายบ้านเมืองไม่ได้ก็สู้พลางถอยพลาง เพราะมาจินตนาการว่า หากสู้ไปก็จะพาชาวบ้านทั้งหมดล้มตายไปโดยไร้ประโยชน์ทั้งเป็นการผิดต่อบ้านเมือง แทนที่จะเข้าใจว่าการกระทำของตนเป็นเพียงการประท้วงขอความเห็นใจ ไม่ใช่จะเป็นการคิดกบฏต่อบ้านเมืองก็หามิได้ แต่เมื่อทางฝ่ายบ้านเมืองไม่พยายามเข้าใจ ไม่ยอมสืบสวนหาข้อเท็จจริงที่นายอากรเป็นฝ่ายคดโกงไม่เป็นไปโดยซื่อ เมื่อประท้วงไปก็มาต้องข้อหาว่าเป็นกบฏดังนั้น พญาผาบผู้รักราษฎรยิ่งกว่าตนเองก็ตัดสินใจที่จะรับผิดเสียคนเดียว
พญาผาบผู้กล้าหาญ ผู้ต่อสู้กับฝ่ายบ้านเมือง เพื่อขอความเป็นธรรมเมื่อประสบกับความผิดหวังก็มิได้คิดจะเอาตัวรอดกลับก้มหน้ารับผิดเสียคนเดียว ในที่สุดก็ยอมพลีชีพเพื่อเป็นการป้องกันประชาชนมนท้องถิ่นของตนทั้งหมดด้วยน้ำใจของชายชาติเสือ
การตายของท่านนั้นไม่เป็นการตายเปล่าเพราะต่อมาไม่นานนักทางการก็ได้ประกาศเลิกเก็บภาษีต้นหมากทั่วไป แต่ท่านพญาผาบก็ได้ตายไปแล้ว ตายเพราะการต่อสู้เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมจนวาระสุดท้าย...........
น่านับถือยิ่งนัก