เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 02:33:18
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  เจ้าเหล่านี้คือใคร ใช่ทายาทพ่อขุนเม็งราย หรือเปล่า...
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน เจ้าเหล่านี้คือใคร ใช่ทายาทพ่อขุนเม็งราย หรือเปล่า...  (อ่าน 16795 ครั้ง)
Cr-Blockprasan
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 17



« เมื่อ: วันที่ 17 สิงหาคม 2014, 19:55:47 »

เจ้าเหล่านี้คือใคร  ใช่ทายาทพ่อขุนเม็งราย หรือเปล่า หรือคนละเชื้อสายไม่เกี่ยวข้องกัน
ผู้รู้ประวัติล้านนา ช่วยไขหน่อยครับ..

เจ้าอู่เมือง (อยู่ที่เชียงตุง)




เจ้าจายหลวง (อยู่ที่เชียงตุง)
 



เจ้าสุรินทร์ และ เจ้าแสนดา  (ลี้ภัยอยู่ในแคนาดา)


IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 19 สิงหาคม 2014, 11:06:04 »

ใช่ครับ เป็นทายาทพญามังรายเพียงสายเดียวที่ยังเหลืออยู่

นอกจากในล้านาที่มีการสืบสายราชวงศ์มังราย(แต่ได้สิ้นสุดวงศ์ไปแล้ว) ยังมีในอีก 2 นครรัฐที่เป็นสายราชวงศ์มังราย คือ
1. เมืองนาย(ในรัฐฉานปัจจุบัน) เชื้อสายขุนเครือ โอรสพญามังราย และ
2. เขมรัฐเชียงตุง(ในรัฐฉานปัจจุบัน) เชื้อสายเจ้าน้ำท่วม โอรสพญามังราย(บางตำราว่าเป็นราชนัดดา)

วงศ์มังรายสายเมืองนายได้เคยมีบทบาทค้ำจุนการเมืองการปกครองในล้านนา เช่น รัชสมัยพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ ทรงเป็นเจ้าฟ้าเมืองนายมาก่อน ล้านนาอยู่ในช่วงที่อ่อนแอไร้ผู้นำ ด้วยทรงมีเชื้อสายของขุนเครือราชโอรสพญามังราย ราชบริพารล้านนาจึงอัญเชิญพระองค์มาปกครองล้านนาต่อจากพระไชยเชษฐา เป็นกษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 16 เป็นพระองค์สุดท้าย(หรือเกือบสุดท้ายหากนับรวมพระนางวิสุทธิเทวี)ก่อนถูกพม่ายึดครอง

พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ทรงต่อต้านอำนาจของกษัตริย์พม่าคือบุเรงนอง จึงถูกกุมตัวไปไว้ที่กรุงหงสาวดีและสิ้นพระชนม์ ณ ที่นั้น (บางตำนานว่าถูกปลงพระชนม์ที่เชียงใหม่)

การล้มสลายของล้านนาในรัชสมัยพระเจ้าเมกุฏินั้น แท้จริงแล้วมีเค้าลางบ่มเพาะมาก่อนหน้านั้นจากหลายสาเหตุตั้งแต่การที่กษัตริย์อ่อนแอทำให้ขุนนางมีอำนาจมาก  เกิดความขัดแยังภายในนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองตกต่ำ จนเกิดการ “ลัดเบี้ย” หรือการลดค่าเงิน เช่น '...สมัยพระเมืองแก้วแต่งเบี้ยร้อยละ 98 หื้อเป็น 100 พญาเกศแต่งเบี้ยร้อยละ 80 หื้อเป็น 100 ท้าวซายแต่งเบี้ยร้อยละ 70 หื้อเป็น 100 พระไชยเชษฐาแต่งเบี้ยร้อยละ 60 หื้อเป็น 100  พระเมกุฎิแต่งเบี้ยร้อยละ 58 หื้อเป็น 100...'  

กอปรกับอีกสาเหตุหนึ่งคือพระเจ้าเมกุฏิที่ถูกอัญเชิญมาจากหัวเมืองห่างไกล แต่น่าจะด้วยขัติยะมานะกษัตริย์เชื้อสายของราชวงศ์มังรายจึงทรงแข็งข้อต่อพม่า และทรงช่วยเหลือหัวเมืองไทใหญ่ให้มีกำลังกล้าแข็ง พม่าจึงจำต้องยกทัพมาปราบและใช้เชียงใหม่เป็นฐานในการตีกรุงศรีอยุธยาต่อไป

เชื้อสายเมืองนายได้สิ้นวงศ์ไปแล้ว จึงกล่าวได้ว่า ปัจจุบันเชื้อสายราชวงศ์มังรายที่ยังเหลืออยู่เพียงสายเดียวก็คือ ราชวงศ์มังรายสายเชียงตุง

เชื้อวงศ์เชียงตุงมีการสืบสายต่อกันลงมาอย่างไม่ขาด มีเจ้าฟ้าปกครองอย่างต่อเนื่องโดยมีเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงเป็นเจ้าฟ้าลำดับที่ 40 (พ.ศ. 2439-2478) ซึ่งเป็นยุคที่เกิดความผันผวนทางการเมืองจากการล่าอาณานิคม เชียงตุงรวมทั้งรัฐฉานทั้งหมดตกเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ

ในห้วงนั้น ล้านนาก็เผชิญกับภัยคุมคามทั้งจากอังกฤษและสยาม ล้านนาได้ดำเนินนโยบาย 2 หน้า ด้านหนึ่งได้ประนีประนอมกับสยามโดยยอมส่งเจ้าดารารัศมีไปเป็นบาทบริจาริกาตามคำขอของราชสำนักสยาม(มีการหมั้นไว้ก่อนด้วย) เหตุการณ์นี้เนื่องมาจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งจักรวรรดิ์อังกฤษได้ทาบทามขอเจ้าดารารัศมีไปเป็นราชบุตรีบุญธรรม สยามทราบข่าวจึงชิงขอตัดหน้าเสียก่อน  อีกด้านหนึ่งล้านนาก็เปิดช่องทางไมตรีกับอังกฤษโดยการส่งรัชทายาท คือเจ้าศุขเกษม ณ เชียงใหม่ ไปศึกษาวิทยาการในดินแดนบังคับอังกฤษ ที่เมืองเมาะละแหม่ง ซึ่งเป็นเมืองท่าและเมืองการศึกษาสำคัญ  

ในยุคนั้น เศษฐกิจล้านนาเชื่อมโยงเส้นทางการค้าผ่านด่านระแหงเมืองซอด(แม่สอด) ผาอัน ไปออกสู่เมืองท่าเมาะละแหม่ง ด้านเหนือใช้คาราวานวัวต่างผ่านรัฐฉานเชื่อมเข้าไปถึงสิบสองปันนา ใช้เงินแถบ หรือเงินรูปี เป็นสกุลเงินตราหลักในการแลกเปลี่ยนค้าขายตลอดจนเก็บภาษีเข้าคลัง(และยังคงมีการใช้สกุลเงินโบราณอยู่ คือ เงินเจียง เงินท้อก และเบี้ย ซึ่งเป็นสกุลเงินดั้งเดิมของล้านนา) สมัยนั้นการค้าขายกับสยามยังมีน้อยมาก พ่อค้าข้าหลวงจากสยามที่เดินทางมาทำการค้าในล้านนาจึงอาจต้องใช้ล่ามแปลภาษาและเปลี่ยนสกุลเงินก่อน

ภายหลังการปลดแอกจากอังกฤษ ผู้นำรัฐฉานและรัฐอื่นๆเลือกที่จะอยู่ร่วมกับรัฐพม่า(รวมกันเป็นสหภาพ)ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง ก่อนเตรียมที่จะแยกตัวกันเป็นรัฐเอกราชภายใน 10 ปีตามสนธิสัญญาปางหลวง(ลงนาม 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947) แต่ต่อมาผู้นำพม่าตระบัดสัตย์ ลวงสังหารผู้นำรัฐฉาน พร้อมยึดอำนาจใว้แก่รัฐพม่าแต่เพียงรัฐเดียว เชียงตุงรวมทั้งรัฐฉานทั้งหมดจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพพม่าโดยบังคับนับแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน

ในการสืบเชื้อวงศ์ต่อจากเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงนั้น กล่าวโดยกระชับได้ว่า  เจ้าฟ้ากองไท นับเป็นรัชกาลที่ 41
เจ้าจายหลวง ณ เชียงตุง เป็นเจ้าฟ้าลำดับที่ หรือ รัชกาลที่ 42 จึงสิ้นสุดระบอบเจ้าฟ้า(สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2540 พระชนมายุ 72 ชันษา ที่ย่างกุ้ง ภายใต้การกักกุมโดยทางการพม่า)

เจ้าอู่เมือง ผู้เป็นราชบุตร จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบเชื้อวงศ์ลำดับที่ 43 (ไม่ใช่รัชกาลที่ 43)
(เจ้าอู่เมือง ณ เชียงตุง เป็นราชบุตรของ เจ้าจายหลวง ณ เชียงตุง กับ เจ้านางจันแก้วมหาเทวี)

ส่วนลูกหลานของท่านในชั้นต่อมาจะเป็นลำดับที่เท่าไหร่ ก็นับเรียงกันไปตามนั้น

เชื้อสายเจ้านายในวงศ์เชียงตุง จะใช้นามสกุลหลัก เช่น  'ขุนศึกเม็งราย' 'มังราย' 'ณ เชียงตุง'   


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 กันยายน 2014, 17:00:48 โดย LingJakJak » IP : บันทึกการเข้า
puping
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 20 สิงหาคม 2014, 15:27:06 »

ได้ความฮู้แหมละ จะเก็บไว้เล่าฮื้อลูกหลานฟัง
IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 20 สิงหาคม 2014, 19:54:26 »

สรียินดี สูเจ้าร่วมอ่าน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 20 สิงหาคม 2014, 19:58:25 โดย LingJakJak » IP : บันทึกการเข้า
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 21 สิงหาคม 2014, 17:30:11 »

ขอบคุณความรู้ดีๆครับ
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
WH_Y
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,222



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2014, 20:48:35 »

สรียินดีเจ้าสำหรับข้อมูล..
IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 09 กันยายน 2014, 17:14:16 »

สายใยรักสองแผ่นดิน


ภาพถ่ายในวันเสกสมรส ระหว่างเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่(โอรสองค์สุดท้ายในพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ) และเจ้านางสุคันธา ณ เชียงตุง(พระธิดาแห่งเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง) เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 ณ หอคำเชียงตุง


ภาพถ่ายครอบครัวในวันมงคลเสกสมรส


เจ้านางสุคันธา ณ เชียงใหม่ (ณ เชียงตุง) สุรคตเมื่อชันษา 90 ปี เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2546 ที่จังหวัดเชียงใหม่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 กันยายน 2014, 23:04:15 โดย LingJakJak » IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 09 กันยายน 2014, 21:46:14 »


เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช พรหมลือ ณ เชียงตุง (ราชบุตรในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง) เสกสมรสกับ เจ้าทิพวรรณ ณ ลำปาง (ธิดาเจ้าไชยสงคราม และนัดดาในพลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต) เมื่อ พ.ศ. 2465 ณ นครลำปาง ท่ามกลางแรงเสียดทานทางการเมือง
ทั้งสองพระองค์ได้ไปประทับใช้ชีวิตคู่ที่นครเชียงตุง จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงอพยพมาพำนักที่นครลำปางและนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2488
เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2498



คุณหญิง เจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง(ณ ลำปาง) ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2532 ณ คุ้มสี่แยกกลางเวียงเชียงใหม่ สิริชันษา 86 ปี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 กันยายน 2014, 21:59:39 โดย LingJakJak » IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 09 กันยายน 2014, 22:47:04 »





งานพระราชทานเพลิงศพ(พิธีส่งสการ) เจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง มีขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2533 ณ ข่วงหน้าสุสานหลวง วัดสวนดอก นครเชียงใหม่
IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 09 กันยายน 2014, 22:55:24 »

ราชบริพารชาวเชียงตุงที่ทราบข่าวการถึงแก่พิราลัยของมหาเทวี ต่างอุตสาห์พากันร่อนแรมข้ามประเทศมาช่วยเตรียมงาน และเข้าร่วมพิธีส่งสการ
เป็นการแสดงความจงรักภักดีและส่งเสด็จเจ้าเหนือหัวครั้งสุดท้าย




IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2014, 17:17:51 »

ใช้คำว่า "ทายาท" นี้ไม่น่าจะถูกต้องนัก น่าจะใช้คำว่าเชื่อสายมากกว่า

ตามจริงแล้วบรรดาเจ้าไทใหญ่ทางภาคเหนือล้วนเกี่ยวพันกันทั้งสิ้น เพราะจะแต่งงานกันระหว่าง

เครือญาติและแต่ละเมือง และเป็นเจ้าไทใหญ่ทางเมือง เชียงตุง เชียงรุง

และสิบสอง ปันนา แสนหวี

ที่ถึงแม้จะเป็นประเทศราชแต่ก็ให้ปกครองกันเอง แต่ต้องให้ส่งส่วยให้พม่า     ส่วนที่เมืองเชียงใหม่

แทบจะเกล่าได้ว่าสิ้นสุดแล้ว   เพราะตกอยู่ใต้อำนาจพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง(2094-2124--

ครองราช) ยกทัพมาตีเชียงใหม่แตก (พศ 2101) และอยุธยาครั้งที่ 2 จนกรุงแตกเมื่อ 2112 แต่

ทางกรุงศรีฯสามารถประกาศเอกราชได้ ในปี 2127 (ตกเป็นเมืองขึ้น 15 ปี)    

ส่วนทางล้านนายังตกเป็นประเทศราชของพม่าอยู่ จนถึงสมัยพระเจ้าตากที่ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่

มีพระเจ้ากาวิละและพญาจ่าบ้านเข้าร่วมและตีเมืองเชียงใหม่(พม่าครอง)       สำเร็จในปี พ.ศ.2317

จากนั้นในปี 2319 พม่าได้ยกเข้ามาตีเชียงใหม่อีกรอบแต่ไม่สามารถตีได้ พระเจ้าตากพิจาณาว่าหาก

ตอนนั้นมีกำลังน้อยเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่ หากพม่ายกมาตีอีกจะขาดกำลังป้องกันจึงให้อพยพ

ผู้คนออกจากเมืองและประกาศให้เป็นเมืองร้าง (อพยพคนไปอยู่ลำปาง--ผุ้เขียน)

ปี พศ 2328 พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาตีกรุงเทพ เป็นสงคราม 9 ทัพ ทางเหนือให้ หวุ่นคะยีฯ ยกมา

ทางเหนือ ทางเมืองเชียงแสน เข้าตีเมืองลำปาง สวรรคโลก สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์  และใน

สงครามนี้ สยามได้ชัยชน่ะอย่างงดงาม หลักจากเสร็จศึก ร.1 จึงให้พระเจ้ากาวิละนำกำลังพลกลับ

เข้ามาอยู่ที่เชียงใหม่แต่กำลังคนไม่เพียงพอจึงเกิด ยุค"เก็บผักใส่ซ่า เก็บข้าใส่เมือง" ยกไปตีเมือง

เชียงตุง สิปสองปันนา เพื่อกวาดต้อนผู้คนมาอยู่เชียงใหม่ ดังจะเห็นเจ้านายไทใหญ่เมืองต่างๆมาอยุ่

ที่เชียงใหม่มากมาย  และเป็นการเริ่มต้นราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ ที่ครองเชียงใหม่

จากช่วงเวลาจะเห็นได้ว่าเชียงใหม่ ตกเป็นเมืองประเทศราชของพม่า(พศ2101) 200 กว่าปี ตกเป็น

เมืองร้างช่วงหนึ่งและเพิ่งจะได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจังในสมัยพระเจ้ากาวิละ (2325-2356) ดังนั้นจะ

เห็นว่าจะหากษัตริย์ที่ปกครองเป็นทายาทของพญามังรายไม่มีแล้วในเมืองเชียงใหม่

ราชวงสุดท้ายเชื่อสายโดยตรงก็ พระยอดเชียงใหม่(2029-2036) แต่นั้นก็ 200 กว่าปีมาแล้วนับถึง

สมัยพระเจ้ากาวิละ (ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกันแล้ว)






**แก้ไขจัดรูปแบบ

1.http://journeystokengtung.com
2.http://thainet5.blogspot.in/2011/05/blog-post_21.html
3.http://www.army33.net/historykawila.php
4.หนังสือ:ประวัติสาสตร์พม่า แผ่นดินแห่งคสามแตกแยก,อาณัติ อนันตภาค
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 18 กันยายน 2014, 17:20:58 โดย เมฆพัตร » IP : บันทึกการเข้า
Number9
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,760



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 10 พฤศจิกายน 2014, 15:38:33 »


ขอบคุณข้อมูลดีดีที่เอามาลงให้ได้อ่านเจ้า

IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 11 พฤศจิกายน 2014, 04:02:28 »

ไต้ความหู้แห๋มละ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
คนแม่จัน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,403

ทำเดี๋ยวนี้ให้ดีที่สุด....จบ


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2015, 19:06:42 »

สุดยอดแต้ๆ ท่านผู้เฒ่าทั้งหลาย  นับถือๆ
IP : บันทึกการเข้า
suriya jisuk
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 735


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2015, 19:54:45 »

ไม่ใช่ครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!