เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 22 กรกฎาคม 2025, 20:34:44
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  อบต. เทศบาล ในเชียงรายมีความพร้อมการรับมือกับแผนแผ่นดินไหวหรือไม่ครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน อบต. เทศบาล ในเชียงรายมีความพร้อมการรับมือกับแผนแผ่นดินไหวหรือไม่ครับ  (อ่าน 1515 ครั้ง)
johin
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,001


« เมื่อ: วันที่ 28 มิถุนายน 2014, 22:59:03 »

อบต. เทศบาล ในเชียงราย มีการรับมือกับแผนแผ่นดินไหวหรือไม่ครับเท่าที่ติดตามและสังเกตุดูอบต. เทศบาลในเขตอำเภอเมือง ไม่ค่อยเห็นมีการจัดการเรื่องแผนอพยพแผ่นดินไหวตามหมู่บ้านและตำบลเลยครับว่าเมื่อเกิดเหตุแล้วควรทำอย่างไรใครมีหน้าที่อะไรในแต่ละหมู่บ้านหรือชุมชนย่อยไม่มีการจัดการพื้นที่เตรียมพร้อม เหตุดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใดไม่มีใครทราบน่าจะใส่ใจกันมากๆนะครับผู้นำชุมชน เอาเวลาล่ารายชื่อกล่องทีวีดิจิตอลมาทำในสิ่งที่ควรทำดีกว่านะครับท่านผู้นำชุมชนมันคือหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงของพวกท่านเลยผมย้ำนะครับ คำว่าหน้าที่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 30 มิถุนายน 2014, 11:31:14 โดย johin » IP : บันทึกการเข้า
johin
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,001


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 30 มิถุนายน 2014, 11:19:14 »

ถ้าจะพร้อมจริงๆ
IP : บันทึกการเข้า
theheroman
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 30 มิถุนายน 2014, 11:23:18 »

 ฮืม ฮืม ฮืม""
IP : บันทึกการเข้า
tiger-red
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,007



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 30 มิถุนายน 2014, 11:29:53 »

พร้อมในที่ตั้ง
IP : บันทึกการเข้า
Sing ha
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,345



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 30 มิถุนายน 2014, 11:45:53 »

เขาคิดว่า...เขาพร้อมแล้วมั้ง.   ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
mana.
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 357


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 30 มิถุนายน 2014, 14:09:10 »

อบต. เทศบาล ในเชียงราย มีการรับมือกับแผนแผ่นดินไหวหรือไม่ครับเท่าที่ติดตามและสังเกตุดูอบต. เทศบาลในเขตอำเภอเมือง ไม่ค่อยเห็นมีการจัดการเรื่องแผนอพยพแผ่นดินไหวตามหมู่บ้านและตำบลเลยครับว่าเมื่อเกิดเหตุแล้วควรทำอย่างไรใครมีหน้าที่อะไรในแต่ละหมู่บ้านหรือชุมชนย่อยไม่มีการจัดการพื้นที่เตรียมพร้อม เหตุดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใดไม่มีใครทราบน่าจะใส่ใจกันมากๆนะครับผู้นำชุมชน เอาเวลาล่ารายชื่อกล่องทีวีดิจิตอลมาทำในสิ่งที่ควรทำดีกว่านะครับท่านผู้นำชุมชนมันคือหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงของพวกท่านเลยผมย้ำนะครับ คำว่าหน้าที่

ในส่วนของฝ่ายการศึกษาของ สพฐ. โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เห็นว่าอบรมให้กับผู้บริหารโรงเรียนและครู เมื่อ 27-28 มิย.ที่ผ่านมามีวิทยากรจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่ 15  มาให้ความรู้และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม  นับว่าดีมาก โดยมีโรงเรียนบ้านห้วยแม่ซ้าย เป็นโรงเรียนต้นแบบในการป้องกัน มีการซ้อมปฏิบัติจริง จำลองเหตุการณ์ และอีกหลาย ๆ อย่าง  ไปทัศนศึกษาดูงานก็น่าจะได้  ทำดีแล้วเราต้องประชาสัมพันธ์ให้หน่อย ....
IP : บันทึกการเข้า
benzto
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,443


มิตรภาพซื้อไม่ได้ด้วยเงิน


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 30 มิถุนายน 2014, 14:11:26 »

น่าจะมั๊งครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ขออภัยในบางลีลา
johin
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,001


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 30 มิถุนายน 2014, 14:55:59 »



ในส่วนของฝ่ายการศึกษาของ สพฐ. โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เห็นว่าอบรมให้กับผู้บริหารโรงเรียนและครู เมื่อ 27-28 มิย.ที่ผ่านมามีวิทยากรจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่ 15  มาให้ความรู้และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม  นับว่าดีมาก โดยมีโรงเรียนบ้านห้วยแม่ซ้าย เป็นโรงเรียนต้นแบบในการป้องกัน มีการซ้อมปฏิบัติจริง จำลองเหตุการณ์ และอีกหลาย ๆ อย่าง  ไปทัศนศึกษาดูงานก็น่าจะได้  ทำดีแล้วเราต้องประชาสัมพันธ์ให้หน่อย ....
[/quote]
หน้าเอาเป็นแบบอย่างครับ เพราะเวลามีเหตุจะได้รับมือได้ครับ ไอ้เสียงตามสายก็เช่นเดียวกันน่าจะเป็นการให้ความรู้ได้นะครับเปิดทุกวันจะได้ซึม
IP : บันทึกการเข้า
johin
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,001


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 01 กรกฎาคม 2014, 15:38:04 »

อยากให้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือครับ เวลาเกิดเหตุแน่นอนสิ่งของเสียหายแต่ชีวิตนี่สิครับน่าจะมีการให้ความรู้มากๆครับ
IP : บันทึกการเข้า
johin
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,001


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 03 กรกฎาคม 2014, 12:13:07 »

สงสัยรองบมาดำเนินการ
IP : บันทึกการเข้า
johin
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,001


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 04 กรกฎาคม 2014, 22:31:02 »

ไม่อยากให้คิดเป็นเรื่องไกลตัวครับท่านสังเกตุไหมอะไรที่มันเกิดขึ้นแล้วมักจะมีซ้ำตามมา อยากให้พวกท่านให้ความรู้กับประชาชนมากๆและจัดเตรียมความพร้อมในทุกๆด้านถ้าท่านไม่พร้อมก็จงทำให้พร้อมซะตั้งแต่ตอนนี้นะครับ
IP : บันทึกการเข้า
corolado4
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,841


บ้านสวน ดอยพระบาท11 (ธารน้ำกรณ์2)


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2014, 05:10:25 »

ประชาชน ชาวบ้าน เรียนรู้เบื้องต้น ในการช่วยเหลือตนเอง เมื่อเกิดเหตุ ณ ตอนนั้น มีสติ ควรทำอะไร?
หน่วยงาน มีการฝึกอบรม การส่งตัวไปเรียนรู้ นำมาขยายผล วางแผน เตรียมพร้อม เตรียม จนท เตรียม งบ
ปกครอง มีการวางแผน ระบบการบริหารจัดการ การฝึกซ้อมแก้ปัญหา มีหน่วยหลัก หน่วยรอง มีทีมงาน
หน่วยงานหลัก ป้องกันภัย หน่วยงานรองท้องถิ่น อปพร หน่วยงานเสริม ทหาร อาสาสมัคร ตร พลเรือน
มีการแบ่งงาน แบ่งพื้นที่ช่วยเหลือ
สงเคราะห์ กาชาด จิตอาสา มีระบบการรับมา จ่ายไป ระดมทุนโปร่งใส ไม่มั่ว ช่วยแบบเอาหน้า ไม่เข้าเป้า
ช่วยแบบเข้าไม่ถึงมือคนเดือดร้อน..ไม่มีแผนงาน จ่ายแจกตามใจฉัน ตามใจสื่อไม่ได้..ต้องจัดระเบียบ
..ทุกวันนี้ หรือที่ผ่านมา ไม่ว่าจะตั้งแต่ ซึนามิ  ตึกถล่ม  โคลนถล่ม น้ำท่วม...ฯลฯ..เราได้บทเรียนเยอะแยะ
มีการฝึกอบรม ทบทวน แต่ไม่เอามาใช้จริง..วางแผนไว้บนกระดาษ  ถึงเวลา ไม่เอามาใช้จริงๆ
...แผ่นดินไหว ช.ร.  ที่ผ่านมา คงเห็นบทเรียนที่ว่าแล้ว..
..สรุป..กระทู้นี้ จะให้ท้องถิ่นพร้อมรับมือ..หรือจะให้ทุกภาคส่วน พร้อมรับเหตุการณ์
หรือจะให้ชาวบ้าน อยู่และเผชิญภัย...ตามยถากรรมกันต่อไป
IP : บันทึกการเข้า

ramill
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,102


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2014, 06:57:46 »

การเตรียมตัวเบื้องต้น ถ้าปฎิบัติได้ก็ลองเตรียมดูครับ ตอนนี้ช่วยเหลือตนเองไปก่อนนะครับ ... "ศูนย์เฝ้าระวัง"

สิ่งของจำเป็นที่ต้องติดกระเป๋าฉุกเฉิน   ( โดย...อุทิศ ๗  โทร. 081 - 9615258 )

๑.  แว่นตาสำรอง ( กรณีที่ท่านจำเป็นต้องสวมแว่นตา เผื่อตกหล่นเสียหาย )
๒. เงินสดย่อย ( เผื่อต้องใช่จ่ายด่วน ๆ กด เอทีเอ็ม ไม่ทันแน่ )
๓. ไฟฉายเล็ก ( ควรใช้ถ่าน ๒ เอ หรือ ๓ เอ เพราะหาซื้อง่าย )
๔. มัดพับเอนกประสงค์  ( ควรเลือกที่มีคีมด้วย เผื่อตัด หรือขันน็อต )
๕. ผ้าห่มฉุกเฉิน ห่มได้ประมาณ ๓ วัน ที่อุณหภูมิ ๐ องศา ( ถ้าหาได้ )
๖. ผ้าขาวม้า ( ใช้ได้หลายอย่าง ปิดจมูก คุมไหล่ ไล่ยุง เช็ดตัว )
๗. อาหารแห้ง ขนมปังกรอบ นมถั่วเหลือง อาหารกระป๋อง อาหารอวกาศ หรือคุกกี่พลังงานสูง               ๘. ไฟแช็ค ไม้ขีดไฟ เทียนไข แปรงฟัน – ยาสีฟัน ( ชุดเล็ก )
๙.  วิทยุ AM / FM  หรือวิทยุสื่อสาร ( เครื่องแดง ใช้งานง่าย ไม่ผิดกฎหมาย )
๑๐. น้ำดื่มขวดเล็ก ยากันแมลงกัดต่อย ยาสำหรับท่านที่มีโรคประจำตัว
๑๑. หมวกผ้าปีกกว้าง ( แบบมีสายรัดคางเผื่อกันปลิว )
๑๒. ถุงพลาสติกใบใหญ่ หรือเสื้อกันฝน  ( รีดเก็บ บาง ๆ )

และนี้คือประมวลสถานการณ์ ที่จะเกิดขึ้น ในช่วงภัยพิบัติ

ความจริงในสถานการณ์ภัยพิบัติ เช่น ภัยแผ่นดินไหว   ( โดย. อุทิศ ๗ โทร. 081 - 9615258 )

๑. ไฟฟ้าจะขัดข้อง และ อาจจะดับเป็นบริเวณกว้าง ใช้เวลาซ่อมแซมหลายวันกว่าจะปรกติ
๒. ผู้คนจะหนีไปในที่ปลอดภัย หรือออกที่โล่งแจ้ง เช่น ลานกว้าง ถนน หรือตามชนบท พื้นที่สูง
๓. สัญญาณโทรศัพท์จะขัดข้อง ( เนื่องจากใช้กันมาก )
๔. โรงพยาบาลอพยพผู้ป่วยโดยด่วน ไม่สามารถรับผู้ป่วยเพิ่มได้  และอาจหยุดให้บริการ
๕. การจราจรติดขัด และมีอุบัติเหตุหลายจุด ( เนื่องจากทุกคนที่ใช้ถนน เร่งรีบกัน )
๖. ผู้ประสบภัยไม่ได้รับประทานอาหาร และขาดแคลนอาหาร และน้ำดื่มสะอาด                                                                    ๗. ผู้คนอยู่ในภาวะ ใครช่วยใครไม่ได้ ขาดสติ ทั้งผู้นำชุมชน องค์กรต่าง ๆ และหน่วยงานของรัฐ               ๘. มีสถานการณ์เพิ่มเข้ามา หรือมีแผ่นดินไหว หรืออ็าฟเตอร์ช็อค ซ้ำ ( ปัญหาข้อที่ ๑ ถึง ๘ เกิด ซ้ำ ขึ้นอีก เพิ่มความยุ่งยากในการแก้ไขปัญหามากยิ่งขึ้น )
๙. มีกระแสข่าวลือ ต่าง ๆ เกิดความยุ่งยากในการแจ้งเตือนข่าวสาร เพราะต้องเช็คการข่าวอย่างละเอียด       ( ขั้นตอนนี้ ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ และลงพื้นที่ เพื่อรายงานข้อเท็จจริงเข้ามา ความช่วยเหลือจึงช้า )
๘. หน่วยงานต่าง ๆ แบ่งปันข้อมูลกัน อย่างไม่เป็นระบบ ทำให้เกิดการเข้าใจผิด จนเกิดความโกลาหล
๙. สังคมออนไลด์ แชร์ข้อมูลกันอย่างรวดเร็ว ทั้งจริง และเท็จ ผสมกันไป และสภาพความเสียหายที่แท้จริง      ที่อยู่ห่างไกลยังไม่ได้เผยแพร่ออกมา  ทำให้ใช้เวลามาก กว่าความช่วยเหลือจะไปถึงพื้นที่ประสบภัย )
๑๐.หน่วยงานราชการ หรือ ผู้ดูแลพื้นที่นั้น ๆ เริ่มเข้าใจสถานการณ์แล้วจึงลงพื้นที่ บางทีเกิดความล้าช้า



* ของฉุกเฉิน ๑.jpg (91.22 KB, 510x458 - ดู 224 ครั้ง.)

* ของฉุกเฉิน ๒.jpg (76.53 KB, 514x521 - ดู 218 ครั้ง.)

* ฉุกเฉิน ๓.jpg (35.54 KB, 469x227 - ดู 218 ครั้ง.)

* ฉุกเฉิน ๕.jpg (62.8 KB, 438x543 - ดู 219 ครั้ง.)

* aaaaa.jpg (263.27 KB, 900x767 - ดู 225 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 กรกฎาคม 2014, 07:53:09 โดย ramill » IP : บันทึกการเข้า
ramill
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,102


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2014, 07:07:51 »

นี้สำหรับ สถานศึกษา เอาไปปรับใช้ได้ครับ

การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินในสถาบันการศึกษา ( โดย..อุทิศ ๗ โทร... 081-9615258 )


1. ให้ความรู้แก่บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน - นิสิต - นักศึกษา ถึงสาเหตุการเกิดภัยพิบัติ   และภัยพิบัติชนิดต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในพื้นที่                                                                                                                                              1.1 สภาพภูมิประเทศ  พิกัดทางภูมิศาสตร์ ที่ตั้งของสถาบัน  อาคารสถานที่โดยรอบ                                                                                                1.2 การบริหาร และจัดสรรความรับผิดชอบในสถานศึกษา กรณีเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน                                                                         1.3 ทรัพยากรที่สามารถใช้รองรับ หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน                                                                    1.4 การวางแผนในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีตัวแทนแต่ละส่วน ของสถานศึกษาเข้าร่วมวางแผน เช่น ผู้บริหาร - ผู้รับผิดชอบช่วงชั้นหรือแต่ละตึก - เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย - หัวหน้าชั้นแต่ละห้อง  โดยทำเป็นบันทึกและทำเป็นรูปเล่ม แจกจ่ายเผยแพร่ให้เข้าใจทั่วทุกคนในสถานศึกษา                         2. การซ้อมแผนในสถานการณ์เสมือนจริง                                                                                            2.1 สร้างความเข้าใจให้ นักเรียน นิสิต นักศึกษา - ผู้ปกครอง - บุคลากรการศึกษา - ชุมชน ว่าการซ้อมแผนเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ก่อนการซ้อมแผนทุกครั้ง                                                                                                         2.2 นำแผนที่ได้ทำบันทึก มาทดลองปฏิบัติ โดยมีผู้ชำนาญในเรื่องการซ้อมแผนมาช่วยควบคุมการฝึกซ้อม เพื่อความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการฝึกซ้อมแผน                                                                                                                             2.3 นำผลการซ้อมฝึกแผน มาวิเคราะห์และแก้ไขจุดบกพร่อง หากมีโอกาสให้ซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอ                                                                                                                                                   3. สร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครอง - ชุมชน ถึงการความเตรียมพร้อมในการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ของสถาบัน จะช่วยลดความวิตกกังวล และสร้างความมั่นใจให้ทุกฝ่าย หากเกิดสถานการณ์จริง

สำหรับการให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา ลองเอาไปปรับใช้ดูครับ

การเตรียมตัวให้พร้อมในสถานการณ์ฉุกเฉินและวิธีปฏิบัติ (โดย..อุทิศ ๗ โทร.081-9615258)


1. การมีอุปกรณ์ยังชีพฉุกเฉินชุดเล็ก ติดตัวอยู่เสมอ                                                                                                   2. ติดตามข่าวสาร และการประกาศของหน่วยงานเฝ้าระวังภัย ที่แจ้งเตือนอยู่เสมอ เช่น อส.ปภ.ชร.                                                            3. ตื่นตัวและรู้จักสังเกตความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติรอบข้างอย่างมีสติ หากผิดปรกติให้รีบแจ้งทันที                                                                 4. รักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง  และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ                                                        5. เข้าร่วมการซ้อมแผนการรับมือภัยพิบัติทุกครั้ง อย่างตั้งใจและปฏิบัติเสมือนกับเกิดสถานการณ์จริง     จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยแก่ตัวเราและผู้อื่น                                                                                                                                        6. ศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและหากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะภูมิอากาศ หรือ สภาวะสิ่งแวดล้อมอันจะก่อให้เกิดภัย ต้องพร้อมรับมือเสมอ   7. นำความรู้ที่ได้เรียนรู้มา ไปเผยแพร่และแนะนำผู้อื่นหากมีโอกาส จะสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนของเรา                                                           8. หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน  ให้ปฏิบัติตามที่ได้ฝึกมาอย่างเคร่งครัด  และเชื่อฟังผู้ดูแลพื้นที่นั้นๆ ภายใต้การตั้งสติและไม่แตกตื่น ให้ไปรวมตัวกัน ณ จุดนัดหมายตามที่ได้ซ้อมมา และใช้โทรศัพท์ให้น้อยที่สุด                                                                                                                                              9. ช่วยเหลือผู้อ่อนแอกว่าหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บตามแต่ละสถานการณ์ และรายงานให้ผู้ดูแลพื้นที่ทราบ     10. หากต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาต้องศึกษาเส้นทาง และรับฟังข่าวสารให้ชัดเจนก่อน จึงเดินทางกลับ




* a4.jpg (96.44 KB, 993x444 - ดู 220 ครั้ง.)

* a5.jpg (114.51 KB, 658x431 - ดู 217 ครั้ง.)

* กลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน.jpg (180.92 KB, 896x626 - ดู 220 ครั้ง.)

* aa.jpg (108.15 KB, 641x315 - ดู 216 ครั้ง.)

* อุตรดิษถ์.jpg (74.59 KB, 780x496 - ดู 214 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
johin
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,001


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2014, 22:33:05 »

ผมดีใจนะครับที่มีหลายท่านที่ให้ความรู้และคำแนะนำที่ดีมากๆ อยากให้หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นและที่รับผิดชอบได้เข้ามาอ่านไม่ใช่วันๆทำแต่เรื่องไม่เป็นเรื่องอย่านั่งรองบประมาณอย่างเดียวบางอย่างทำได้ทำเลยครับ โดยเฉพาะผู้นำชุมชนประชาชนเขาเลือกท่านมาท่านก็ทำหน้าที่ของท่านให้เต็มที่ให้สมกับที่เขาเลือกมานะครับไม่ใช่เหตุเกิดแล้วเก่งที่หลัง
IP : บันทึกการเข้า
johin
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,001


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 09 กรกฎาคม 2014, 20:55:44 »

ตอนนี้ฝนก็ตกหนักถ้าเกิดเหตุแผ่นดินไหวตอนนี้จะทำอย่างไรรับมือกันได้ไหมอบต. เทศบาล หรือตัวใครตัวมัน
IP : บันทึกการเข้า
joeyfire
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 312



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 09 กรกฎาคม 2014, 23:48:03 »

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เตรียมพร้อมไว้ก่อนเถอะครับ อย่ารอความหวังจาก จนท.
หรอกครับ เพราะบางครั้งบ้าน จนท.ก็โดนเหมือนกัน... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ramill
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,102


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 10 กรกฎาคม 2014, 10:59:47 »

มีเวลา เปิดดูนะครับ องค์ความรู้เรื่องแผ่นดินไหว ครั้งร้ายแรงของจังหวัดเชียงราย...อุทิศ ๗
http://rsutv.tv/index.php/detail/index/5118


* 10320576_861683387180270_6021991205576463830_n.jpg (45.86 KB, 599x450 - ดู 149 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
johin
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,001


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 14 กรกฎาคม 2014, 08:51:37 »

ทั้งน้ำท่วมแผ่นดินไหวหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมไหมครับ
IP : บันทึกการเข้า
น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,910



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 14 กรกฎาคม 2014, 09:26:14 »

ทั้งน้ำท่วมแผ่นดินไหวหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมไหมครับ

ถ้ามาถามในนี้ คงไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนมายืนยันให้ได้หรอกครับ ไม่มีใครกล้าแสดงตัว

แต่ถ้าอยากได้คำตอบโดยตรง ก็ต้องไปสอบถามหน่วยงานที่ท่านอยากทราบเอาเองครับ

หรือที่ตั้งกระทู้นี้ก็เพื่ออยากจะกระตุ้นให้มีการดำเนินการใดๆอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแค่ประชดประชันหน่วยงาน

ถ้าข้อมูลต่างๆ ก็มีเพื่อนสมาชิกท่านอื่นๆได้ตอบและแสดงความเห็นไว้ให้ และมีประโยชน์พอสมควร

แต่ถ้าจะให้หน่วยงานออกมาตอบหรือออกหน้า คงจะเป้นไปได้ยากครับ

ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!