เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 22 กรกฎาคม 2025, 02:45:05
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบ้านร่องเบ้อ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบ้านร่องเบ้อ  (อ่าน 946 ครั้ง)
aut
การพัฒนาต้องสอดคล้องกับ "ภูมิสังคม"
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20



« เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2014, 21:34:02 »

ผมกำลังจะทำงานวิจัยที่เรียนอยู่ครับผม ฝากตวยครับ
สาขาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน ม.แม่โจ้ ทำที่หมู่บ้านของผมเองครับ
แนะนำ หรือติชมได้ที่  เฟสบุค https://www.facebook.com/pharloung2
ข้อมูลเพิ่มเติม บล็อก/เว็ป http://pharloung.blogspot.com
/

แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ
กรณีศึกษา  : ลำน้ำร่องเบ้อ หมู่ที่ 12 ,19 และ 29 ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง
 จังหวัดเชียงราย

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการหาแนวทางในการสร้างเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ เพื่อสร้างให้เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์ของสัตว์น้ำตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับแหล่งทรัพยากรประมงของชุมชน โดยใช้การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมาเป็นแนวทางแก้ไข ให้ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการในการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์สัตว์น้ำโดยยึดหลักความสอดคล้องและเหมาะสมของสภาพภูมิสังคม ซึ่งจะเป็นการคืนความอุดมสมบูรณ์ยั่งยืนให้แก่แหล่งทรัพยากรประมง  อันจะก่อให้เกิดการสร้างความมั่นคงยั่งยืนทางด้านอาหารของชุมชน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.   เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพของชุมชนในการสร้างเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำของชุมชน
2.   เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
3.   เพื่อค้นหาแนวทางการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์สัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วมของชุมชน


แนะนำ หรือติชมได้ที่  เฟสบุค https://www.facebook.com/pharloung2
ข้อมูลเพิ่มเติม บล็อก/เว็ป http://pharloung.blogspot.com
/


[/b][/b]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 24 พฤษภาคม 2014, 23:11:47 โดย aut » IP : บันทึกการเข้า

tonkla
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,333


ธรรม=ธรรมชาติ ธรรมดา ธรรมนูญ


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2014, 22:29:43 »

มาช่วยดันกระทู้ครับ 
IP : บันทึกการเข้า

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง"(ไว้เตือนตนเอง)
tung 7737
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,801



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 25 พฤษภาคม 2014, 09:22:09 »

ดีมากๆครับ จัดไป
IP : บันทึกการเข้า

ทำดี ขยัน อดทน ความจนอยู่ได้ไม่นาน
คนขาย น่ะ ..ไม่รีบ แต่คนชื้อ น่ะ..รีบๆหน่อยนะ
aut
การพัฒนาต้องสอดคล้องกับ "ภูมิสังคม"
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 27 พฤษภาคม 2014, 10:29:55 »

ขอบคุณกำลังใจมากๆ ครับผม
IP : บันทึกการเข้า

beebank
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 247



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 27 พฤษภาคม 2014, 13:43:33 »

เขตป่าที่อยู่หมู่บ้านร่องเบ้อ หมู่9 ก็เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งต้นน้ำ และยังมีอ่างเก็บน้ำห้วยตาด ที่เป็นพี้นที่รองรับน้ำจากป่าที่เป็นส่วนใหญ่ด้วย ไม่อยู่ในแผนพัฒนาด้วยหลอครับ
IP : บันทึกการเข้า
aut
การพัฒนาต้องสอดคล้องกับ "ภูมิสังคม"
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2014, 00:19:26 »


เขตป่าที่อยู่หมู่บ้านร่องเบ้อ หมู่9 ก็เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งต้นน้ำ และยังมีอ่างเก็บน้ำห้วยตาด ที่เป็นพี้นที่รองรับน้ำจากป่าที่เป็นส่วนใหญ่ด้วย ไม่อยู่ในแผนพัฒนาด้วยหลอครับ

      ทีแรกก็มีคนถามเหมือนกันครับว่าทำไมไม่ทำ ทั้ง 4 บ้าน และเสนอให้ทำตรงห้วยตาด ส่วนตัวผมก็คิดว่าตรงจุดต้นน้ำแถบนั้น ก็มีโครงการปิดทอง ฯ ทำร่วมกับชุมชนอยู่แล้ว จึงเลือกเอาจุดอื่น ครับ และงานวิจัยก็เป็นเพียงงานวิจัยเล็กๆที่ผมทำอยู่ระหว่างเรียนโทอยู่ครับ พอดีก็มีพื้นฐานและทำงานทางด้านประมงด้วยเลยโฟกัสไปในด้านการสร้างเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ เลยเลือกเอาจุดบริเวณ ช่วงของลำน้ำที่ไหลผ่าน หมู่ที่ 12 19 และ 29 ครับ เพราะจุดนั้น ใกล้ชุมชนดูแล และหาทีมงานง่ายครับ จึงเว้นหมู่ที่ 9 เอาไว้ก่อนครับเพราะไกลจากจุดที่จะทำพอสมควร  อีกอย่างถ้าจะทำพืนที่กว้างกว่านี้ก็ จะเกรงว่าจะกระทบในด้านต่างๆของชุมชน เพราะการทำเขตอนุรักษ์ต้องสร้างความเข้าใจให้ชุมชนอย่างมากให้ชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ผมเลยเกรงว่าการทำงานอาจจะไม่ดีเท่าที่ควรถ้าทำในพื้นที่กว้างๆครับ อีกอย่างผมก็ติดในด้านของงบประมาณซึ่งเป็นงบประมาณส่วนตัวซึ่งมีจำกัด กับทั้งเวลาที่จะลงไปกับการวิจัยที่มีไม่มาก ซึ่งตัวผมตอนนี้ก็อยู่ที่ชลบุรี ต้องเทียวไปเรียนที่เชียงใหม่ แล้วต้องไปทำงานวิจัยอีก ก็ลำบากพอสมควร  จึงเลือกทำเฉพาะจุดเล็กๆ ก่อนครับ แล้วหากทำสำเร็จก็จะให้ชุมชนบริหารจัดการเอง และหวังว่าจะขยายผลไปสู่แหล่งน้ำอื่นใกล้เคียงด้วยครับ


* Desktop 20-5-2557 2-18-20-115.jpg (177.95 KB, 990x580 - ดู 168 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

พอใจ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 300



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2014, 07:32:46 »

สุดยอด เน้อ
เป็นคนในชุนชนทำงานเกี่ยวกับประมง  งานวิจัยน่าสนใจมาก
ทำในแนว R&D (Research & Development). จะอี้ละ ที่จะเป็นประโยชน์นำไปใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งมันสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน สมกับหัวข้อ ที่ว่า การพัฒนาต้องสอดคล้องกับภูมิสังคม ขะใจ๋ทำงานแล้วย้ายกลับมาช่วยกันพัฒนาบ้านเฮาเน้อ
IP : บันทึกการเข้า

"อย่าใจร้อน มันจะร้อนใจ"
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2014, 08:23:01 »

เป็นกำลังใจให้ครับ(ลูกแม่เหมือนกัน)
ที่ ปัว น่าน ก็ทำแบบนี้ครับ แม่น้ำสาขาของแม่น้ำน่าน
บางหมู่บ้านกำหนดเขตห้ามจับปลา ใครจับปรับแรงมากครับ
ปลาในแม่น้ำน่านถึงอุดมสมบูรณ์ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
aut
การพัฒนาต้องสอดคล้องกับ "ภูมิสังคม"
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2014, 14:00:09 »

ขอบคุณครับผม จะทำอย่างสุดความสามารถเพื่อแผ่นดินบ้านเกิดครับ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

corolado4
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,841


บ้านสวน ดอยพระบาท11 (ธารน้ำกรณ์2)


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2014, 14:40:33 »

ถ้ายังมีอยู่นะ ทุกชุมชน เขาจะมีเขตอภัยทาน เป็นวังน้ำที่มีขอบเขตหวงห้ามเข้าไปรบกวน
นั่นคือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดมาแต่โบราณ แม้แต่เรื่องเหมืองฝายทดน้ำ ร่องรางน้ำไปจ่ายน้ำให้
แปลงนาที่อยู่ใต้น้ำแต่ห่างลำน้ำ ไปศึกษาวิจัยดูเถอะ ตำแหน่ง แก่น้ำ หายไปแล้วมั้ง? ยุคนี้
และไม่แน่ใจ วังน้ำ(เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบ้านร่องเบ้อ) คงจะมีก่อนหน้า แล้วมันสูญหายไป
อาจเป็นเพราะลำน้ำตื้นเขิน ภูมิประเทศแปรเปลี่ยน ฯ ก็ลองเอาแนวทางนี้ไปศึกษาดูนะครับ
IP : บันทึกการเข้า

aut
การพัฒนาต้องสอดคล้องกับ "ภูมิสังคม"
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2014, 14:53:52 »

ถ้ายังมีอยู่นะ ทุกชุมชน เขาจะมีเขตอภัยทาน เป็นวังน้ำที่มีขอบเขตหวงห้ามเข้าไปรบกวน
นั่นคือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดมาแต่โบราณ แม้แต่เรื่องเหมืองฝายทดน้ำ ร่องรางน้ำไปจ่ายน้ำให้
แปลงนาที่อยู่ใต้น้ำแต่ห่างลำน้ำ ไปศึกษาวิจัยดูเถอะ ตำแหน่ง แก่น้ำ หายไปแล้วมั้ง? ยุคนี้
และไม่แน่ใจ วังน้ำ(เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบ้านร่องเบ้อ) คงจะมีก่อนหน้า แล้วมันสูญหายไป
อาจเป็นเพราะลำน้ำตื้นเขิน ภูมิประเทศแปรเปลี่ยน ฯ ก็ลองเอาแนวทางนี้ไปศึกษาดูนะครับ

 ขอบคุณสำหรับแนวทางครับผม ซึ่งดีมากๆครับ ผมจะลองดูในด้านภูมิปัญญาโบราณที่ชุมชนใช้มาเป็นแนวทางหรือกุศโลบาย ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมด้วยครับผม ว่าจะนำกลับมาใช้ หรือประยุกต์ใช้กับการทำวิจัยด้วยครับผม ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า

tonkla
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,333


ธรรม=ธรรมชาติ ธรรมดา ธรรมนูญ


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 29 พฤษภาคม 2014, 23:36:09 »

มาช่วยดันกระทู้อีกครั้งครับ
IP : บันทึกการเข้า

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง"(ไว้เตือนตนเอง)
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!